1. ความหลากหลายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ แนวปะการัง จัดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ ในระดับใด 1. ความหลากหลายของสปีชีส์ 2. ความหลากหลายของโครโมโซม 3. ความหลากหลายของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต 4. ความหลากหลายของแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต 5. ความหลากหลายของสารเคมีต่างๆ รอบ สิ่งมีชีวิต 2. ความหลากหลายทางชีวภาพ ตรงกับ ภาษาอังกฤษ ว่าอะไร 1. Biology Disity 2. Biologi Diversity 3. Biological Disity 4. Biologica Diversity 5. Ecosystem Diversity 3. ข้อความใดเป็นองค์ประกอบของความ หลากหลายทางชีวภาพ Biological diversity ก. ความหลากหลายของสปีชีส์ Specific diversity ข. ความหลากหลายทางพันธุ์กรรม Genetic diversity ค. ความหลากหลายของระบบนิเวศ Ecological diversity ข้อความใดกล่าวถูกต้อง 1. ก) และ ข) 2. ก) และ ค) 3. ข) และ ค) 4. ก) ข) และ ค) 5. ไม่มีข้อถูก 4. ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง 1. ระบบนิเวศมีความอุดมสมบรูณ์ 2. สิ่งมีชีวิตหลากชนิด ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง 3. สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง จำนวนมาก ณ บริเวณนั้น 4. การมีสภาพแวดล้อมทางชีวภาพแตกต่างกัน 5. สิ่งมีชีวิต ชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวนมาก ณ บริเวณนั้น ผลการเรียนรู้ที่ 2 อธิบายการเกิดเซลล์เริ่มแรก และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (ข้อ 5 – 8 = 1.5 คะแนน) 5. ข้อความใดเป็นวิวัฒนาการ 1. การหดหายไปของขางู 2. การงอกหางของจิ้งจกหลังหางขาด 3. การเปลี่ยนแปลงจากลูกน้ำเป็นยุงที่มีปีก 4. การเพิ่มปริมาณฮีโมลโกลบินในเลือดของคน ที่ขึ้นไปอยู่บนภูเขา 5. การลดปริมาณฮีโมลโกลบินในเลือดของคนที่ ขึ้นไปอยู่บนภูเขา 6. เซลล์เริ่มแรกมีวิวัฒนาการมาจากอะไร 1. ยูคาริโอต 2. โปรโทเซลล์ 3. โพรแคริโอต 4. กรดนิวคลีอิก 5. สโตรมาโทไลต์ 7. หลักฐานหรือข้อมูลใดที่เหมาะสมที่สุดในการ แบ่งให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิด มีสายวิวัฒนาการ ใกล้เคียงกันมาที่สุด 1. หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 2. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต 3. ข้อมูลสนับสนุนจากการวิภาคเปรียบเทียบ 4. ข้อมูลสนับสนุนจากศัพภะวิทยาเปรียบเทียบ 5. ถูกทุกข้อ 8. เซลล์หลายๆ เซลล์ ทำงานร่วมกัน เรียกว่าอะไร 1. เนื้อเยื่อ 2. อวัยวะ 3. สัตว์ 4. พืช 5. ระบบร่างกาย
ผลการเรียนรู้ที่ 3 อธิบายลักษณะสำคัญ และ ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตกลุ่ม โพรทิสต์สิ่งมีชีวิตกลุ่มพืช สิ่งมีชีวิตกลุ่มฟังไจ และ สิ่งมีชีวิตกลุ่มสัตว์(ข้อ 9 – 10 = 0.75 คะแนน) 9. สิ่งมีชีวิตกลุ่มไหนจัดอยู่ในอาณาจักรโพรติสตา 1. ลิเวอร์เวิร์ต – สาหร่ายสีเขียว – อะมีบา 2. สาหร่ายสีแดง – ลิเวอร์เวิร์ต - ยูกลี 3. นาไลโคโปดียม –สาหร่ายสีน้ำตาล –แอนาบีนา 4. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง – วอลวอกซ์ - แอนบีนา 5. พลาสโมเดียม – สาหร่ายสีแดง – ยูกลีนา – เห็ดโคน 10. สัตว์ในไฟลัมใดที่เป็นปรสิตของทั้งสัตว์และพืช หลายชนิด 1. ฝังไจ 2. แอนนีลิดา 3. ซีเลนเตอราตา 4. แพลธีเฮลมินธิส 5. นีมาเธลมินธิส 11. ถ้ากำหนดให้ A= ไฟลัม B= จีนัส C= คลาส D= แฟมิลี่ E= อาณาจักร F= ดิวิชั่น G= ออร์เดอร์ H= สปีชีส์ I= ซับสปีซีส์ ข้อใดเรียงลำดับขั้นหมวดหมู่ จากลำดับใหญ่ไปเล็ก ถูกต้อง 1. E -----> A -----> D -----> C -----> G 2. C -----> G -----> D -----> B-----> H 3. F -----> E -----> G -----> D -----> B 4. A -----> C-----> D -----> G -----> H 5. D -----> E ----> B -----> E -----> H 12. หลักสำคัญในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตใน ปัจจุบันคือ สิ่งมีชีวิตที่จะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันต้อง มีลักษณะตามข้อใด 1. มีรูปร่างคล้ายกัน 2. มีโครงสร้างเหมือนกัน 3. มีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน 4. มีความสัมพันธ์กันทางวิวัฒนาการ 5. มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน 13. ชื่อวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพราะเหตุใด 1. ขจัดปัญหาการเรียกชื่อซ้ำ ๆ กัน 2. ระบุบริเวณการกระจายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ 3. เพื่อระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกัน 4. สามารถบอกลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิด นั้นได้ 5. ให้มีความเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงสิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกัน 14. การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง 1. 1 ส่วนคือ ชื่ออาณาจักร 2. 2 ส่วนคือ ชื่อสกุลและชื่อสปีชีส์ 3. 3 ส่วนคือ ชื่อสกุล ชื่อวงศ์ ชื่ออันดับ 4. 2 ส่วนคือ ชื่อสกุลและชื่อที่ระบุสปีชีส์ 5. 3 ส่วนคือ ชื่อสกุล ชื่อวงศ์ ชื่ออาณาจักร 15. ไดโคโตมัสคีย์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ใด มีลักษณะดังต่อไปนี้ “ไม่มีขน – ไม่มีครีบคู่ – ผิวหนังมีเกล็ด” 1. จระเข้ 2. คางคก 3. ตุ่นปากเป็ด 4. ตัวกินมด 5. พังพอน
16. สุชาดาต้องทำรายงานเรื่องไดโคโตมัสคีย์ของ สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนเป็นเส้น สุชาดา จะต้องศึกษาข้อมูลจากสัตว์ประเภทใด 1. สัตว์เลือดอุ่น 2. สัตว์เลือดเย็น 3. สัตว์เลื้อยคลาน 4. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 5. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ผลการเรียนรู้ที่ 6 วิเคราะห์อธิบาย และ ยกตัวอย่างกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในระบบ นิเวศ (ข้อ 17 – 20 = 1.5 คะแนน) 17. การถ่ายทอดสารอาหารจากห่วงโซ่อาหารหนึ่ง ไปอีกห่วงโซ่อาหารหนึ่ง เรียกว่าอะไร 1. food cycle 2. food web 3. food panda 4. pyramid of energy 5. complex food chain 18. ในระบบนิเวศทั่ว ๆไป ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต 3 กลุ่ม คือ ....1.......... มีหน้าที่สังเคราะห์อาหารซึ่ง เป็นอนินทรียสาร โดยใช้วัตถุดิบที่ไร้ชีวิตกับ พลังงาน ......2........... ต้องการพลังงานและ สารอาหารที่ได้จากการย่อยอินทรียสารจาก สิ่งมีชีวิต ........3.......... เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยน สารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วหรือจากของ เสียของสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์ ทั้งนี้ 1,2,3คือ 1. ผู้บริโภค, ผู้ย่อยสลาย, ผู้ผลิต, 2. ผู้ย่อยสลาย, ผู้ผลิต, ผู้บริโภค 3. ผู้ย่อยสลาย, ผู้บริโภค, ผู้ผลิต 4. ผู้ผลิต, ผู้ย่อยสลาย, ผู้บริโภค 5. ผู้ผลิต, ผู้บริโภค, ผู้ย่อยสลาย 19. ถ้าปราศจากผู้ย่อยสลาย บนพื้นโลกน่าจะเกิด เหตุการณ์ใด 1. ซากพืช ซากสัตว์ รวมทั้งอินทรียสารเต็มไปหมด 2. พืชเริ่มตายเนื่องจากขาดธาตุที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิต 3. เหตุการณ์ปกติ เพราะธรรมชาติย่อมรักษา สมดุลของมันได้เอง 4. อาจเป็นไปได้ทั้ง ข้อ ก และ ข 5. ไม่มีข้อถูก 20. “ต้นกุหลาบหน้าบ้านพอใจมีหนอนที่เกิดจาก ไข่ผีเสื้อมากินใบอ่อนเสมอ และยังพบว่ามีนกมาจิก กินหนอน ซึ่งนกนี้จะถูกแมวที่พอใจเลี้ยงจับกิน เสมอ” จากข้อมูลดังกล่าวเราสามารถเขียนโซ่ อาหารได้แบบใด 1. กุหลาบ หนอน นก แมว 2. แมว นก หนอน กุหลาบ 3. ผีเสื้อ กุหลาบ หนอน นก แมว 4. หนอน นก แมว ผีเสื้อ กุหลาบ 5. กุหลาบ ผีเสื้อ หนอน นก แมว 21. เมื่อนำเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยาในสระ น้ำทั่วไปมาตรวจหาปริมาณสารกำจัดแมลงชนิด หนึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้ำ พบว่า มีการสะสมของสารนี้ สูงสุดในปลาซ่อนเสมอ แสดงว่าปลาซ่อนเป็น 1. ผู้บริโภคทั้งสัตว์และพืช 2. ผู้บริโภคพืชลำดับแรกของโซ่อาหาร 3. ผู้บริโภคพืชลำดับสุดท้ายของโซ่อาหาร 4. ผู้บริโภคสัตว์ลำดับแรกของโซ่อาหาร 5. ผู้บริโภคสัตว์ลำดับสุดท้ายของโซ่อาหาร 22. ถ้ามีสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตใดที่ จะได้รับสารพิษสะสมมากที่สุด 1. ผู้ผลิต 2. ผู้ย่อยสลาย
3. ผู้บริโภคสัตว์ 4. ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ 5. ผู้ที่อยู่บนสุดของพีระมิดนิเวศวิทยา 23. การฉีดสารกำจัดศัตรูพืชให้แครอต สิ่งมีชีวิตใด จะมีการสะสมสารพิษในโซ่อาหารมากที่สุด แครอต → กระต่าย → กวาง → เสือ 1. เสือ 2. กวาง 3. แครอต 4. กระต่าย 5. ถูกทุกข้อ 24. จากแผนภาพข้างล่างนี้สิ่งที่อยู่ในช่องว่าง 1-4 ตามลำดับคือ 1. แอมโมเนีย ไนไตรด์ ไนโตรเจน ไรโซเบียม 2. แอมโมเนีย ไนไตรต ไนโตรเจน ไรโซเบียม 3. แอมโมเนีย ไนไตรด์ ไนเตรต ไรโซเบียม 4. แอมโมเนีย ไนเตรต ไนไตรด์ ไรโซเบียม 5. แอมโมเนียร์ ไนไตรต ไนโตรเจน ไรโซเบียม 25. จากภาพวัฎจักรคาร์บอน สิ่งมีชีวิตที่สามาถใช้ C จากแหล่งสะสมในบรรยากาศได้ คือ สิ่งมีชีวิต กลุ่มใด 1. ผู้ผลิต 2. ผู้บริโภคพืช 3. ผู้บริโภคสัตว์ 4. ผู้ย่อยสลาย 5. ผู้บริโภคพืช และสัตว์ 26. วัฏจักรใดที่ไม่จำเป็นต้องผ่านผู้ผลิตและ บริโภค 1. น้ำ 2. กำมะถัน 3. คาร์บอน 4. ไนโตรเจน 5. ฟอสฟอรัส 27. ถ้าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หมดสิ้นไปจากโลก สิ่งมีชีวิตที่จะตายก่อนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆคืออะไร 1. ผู้ผลิต 2. ผู้บริโภค 3. ผู้สลายอินทรียสาร 4. ผู้บริโภค และผู้สลายอินทรียสาร 5. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา 28. การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การบริโภค การเผาไหม้ จะอยู่ในวัฎจักรใด 1. วัฏจักรน้ำ 2. วัฎจักรกำมะถัน 3. วัฎจักรคาร์บอน 4. วัฎจักรไนโตรเจน 5. วัฎจักรฟอสฟอรัส
ผลการเรียนรู้ที่ 9 สืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่าง และ อธิบายลักษณะของไบโอมที่กระจายอยู่ตามเขต ภูมิศาสตร์ต่างๆ บนโลก (ข้อ 29 – 32 = 1.5 คะแนน) 29. ไบโอมใดมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด? 1. ไบโอมป่าพรุ 2. ไบโอมป่าสน 3. ไบโอมบนบก 4. ไบโอมป่าดิบแล้ง 5. ไบโอมป่าดิบชื้น 30. ไบโอมชนิดใด ไม่มี ความสอดคล้องกันเมื่อใช้ ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด 1. ก 2. ข 3. ค 4. ง 5. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา 31. ไบโอมน้ำจืด (น้ำนิ่ง) คือ? 1. แม่น้ำ บึง สระ 2. ธารน้ำไหล แม่น้ำ บึง 3. ทะเล บึง สระ 4. แม่น้ำ บึง หนอง 5. หนอง สระ ทะเลสาบ 32. ไบโอม (biome) แบบใดที่พบได้เฉพาะในเขต ขั้วโลกเหนือเท่านั้น 1. ป่าสน 2. ไทกา 3. ทุนดรา 4. สะวันนา 5. ทะเลทราย ผลการเรียนรู้ที่ 10 สืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่าง อธิบาย และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแทนที่ แบบปฐมภูมิและการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติย ภูมิ(ข้อ 33 – 34 = 0.75 คะแนน) 33. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เกิดใน พื้นที่ใด 1. ชุมชนเมือง 2. ป่าดิบแล้ง 3. ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น 4. พื้นที่ที่มีสิ่งมีชีวิตบุกเบิกเจริญเติบโต 5. เกิดหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ 34. จากภาพ A และ B เป็นการเปลี่ยนแปลง แทนที่ แบบใด 1. A และ B การแทนที่แบบทุติยภูมิ 2. A และ B การแทนที่แบบปฐมภูมิ ก ข ค ง A B
3. A การแทนที่แบบทุติยภูมิ B การแทนที่แบบ ปฐมภูมิ 4. A การแทนที่แบบปฐมภูมิ B การแทนที่แบบ ทุติยภูมิ 5. ถูกทุกข้อความที่กล่าวมา 35. ปัจจัยใดมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาด ของประชากร 1. อัตราการเกิด 2. อัตราการตาย 3. อัตราการอพยพ 4. ปัจจัยทางชีวภาพ 5. ข้อ 1 2 และ 3 ถูก 36. จากแผนภาพพีระมิดอายุ (age pyramid) A, B, C คืออะไร 1. A = วัยเด็ก, B = วัยรุ่น, C = วัยผู้ใหญ่ 2. A = ระยะก่อนสืบพันธุ์, B = ระยะสืบพันธุ์, C = ระยะหลังสืบพันธุ์ 3. A = ช่วงอายุ 1 – 15 ปี, B = ช่วงอายุ 16-30, C = ช่วงอายุ 31 ปีขึ้นไป 4. A = วัยทารก, B = วัยเจริญพันธุ์, C = วัยชรา 5. A = ช่วงอายุ 1 – 15 ปี, B = วัยทารก, C = วัยชรา 37. ข้อความใดที่ทำให้ประชากรมีการเพิ่มแบบ exponential 1. ไม่มีปัจจัยจำกัดและสืบพันธ์ุครั้งเดียวในช่วงชีวิต 2. มีการสืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศและสืบพันธ์ุได้ หลายครั้งในช่วงชีวิต 3. สืบพันธ์ุได้หลายครั้งในช่วงชีวิต และเพิ่ม จำนวนตามศักยภาพสูงสุดทางชีวภาพ 4. ทนต่อการเปลี่ยนแปลงขงปัจจัยทางกายภาพ และเพิ่มจำนวนได้จนถึงความจุของสิ่งแวดล้อม 5. ไม่มีข้อใดถูก 38. เป็นกราฟแสดงการเติบโตของประชากร แบบลอจิสติก (logistic growth) 1. 2. 3. 4. 5. 39. ปัจจัยใดมีผลทำให้ขนาดประขากรในสภาพ ธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน (random fluctuations) B
1. ฤดูกาล 2. โรคระบาด 3. ภัยธรรมชาติ 4. ข้อ ข. และ ค. ถูก 5. ข้อ ก. และ ค. ถูก 40. ปัจจัยใดมีโอกาสเป็นตัวกำหนด carrying capacity ของประชากรงูมากที่สุด 1. จำนวนแหล่งน้ำ 2. จำนวนของเหยื่อ 3. อุณหภูมิภูมิอากาศ 4. ความหนาแน่นประชากร 5. ความควบแน่นของอุณหภูมิ
ตอนที่ 2 แบบอัตนัย โดยเขียนคำตอบลงในข้อสอบ (2 ข้อ 5 คะแนน) 1. ให้นักเรียนนำคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ไปใส่ให้ถูกต้องตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต สุนัขคอกเดียวที่มีขนต่างกัน ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ระบบนิเวศบ่อน้ำ พี่น้องมีสีผมต่างกัน กล้วยไม้หลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่างกัน ดอกกุหลาบสายพันธุ์เดียวกันแต่มีสีต่างกัน มะม่วงหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่างกัน ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าชายเลน แมวหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่างกัน สุนัขหลายสายพันธุ์ที่มีลักษระต่างกัน ระบบนิเวศทะเล ดอกคุณนายตื่นสายพันธ์เดียวกันแต่มีสีต่างกัน หอยลายมีเปลือกที่มีลักษณะลายต่างกัน ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของสปีชีส์ ความหลากหลายของระบบนิเวศ
2. ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ 2.1 โซ่อาหารกับสายใยอาหารเหมือนกันหรือแต่งต่างกันอย่างไร 2.2 พิจาณาภาพสายใยอาหารที่กำหนดให้ แล้วระบุว่าสามารถแยกเป็นโซ่อาหารได้กี่สาย อะไรบ้าง จากสายใยอาหารที่กำหนดให้สามารถแยกเป็นโซ่อาหารได้จำนวน โซ่อาหาร ดังนี้ พืช งู หนู กระต่าย นกฮูก แพะ หมาไน สิงโต แมวป่า เหยี่ยว