The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by coop.sbc, 2019-06-10 22:08:31

คู่มือสหกิจศึกษา 2560

คูมือสหกิจศึกษา




Cooperative




Education Handbook






















































เรียบเรียงโดย


ศูนยประสานงานและสงเสริมสหกิจศึกษา


วิทยาลัยเซาธอีสทบางกอก

ศูนยประสานงานและสงเสริมสหกิจศึกษา











วิสัยทัศน์วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก



“วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ”


อัตลักษณ์


บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพด้านการจัดการและเทคโนโลยี



เอกลักษณ์


องค์กรสร้างนักปฏิบัติมืออาชีพ



ปรัชญาศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา


พัฒนาคุณค่า สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ


ปณิธานศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา



ให้บริการและส่งเสริม เพื่อพัฒนานักศึกษา ให้มีความพร้อมที่จะเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการ

ของตลาดแรงงานและสังคม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

คํานํา



วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีความเชียวชาญทั้งภาค

ทฤษฏีและภาคปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วิทยาลัยฯ

จึงได้จัดให้มีโครงการสหกิจศึกษาขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมาและปัจจุบันวิทยาลัยฯ มีนโยบายที่จะให้

นักศึกษาต้องผ่านสหกิจศึกษาก่อนสําเร็จการศึกษา



สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบใน

สถานประกอบการ โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาปฏิบัติงานจริง ณ สถาน

ประกอบการที่ให้ร่วมมือในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว ทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงระหว่างโลกของ

การศึกษาและโลกของการทํางานจริง นักศึกษาจะได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานและเป็นการพัฒนา

ศักยภาพบัณฑิต ให้มีคุณภาพตรงตามที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับการ

ยอมรับว่าก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสามฝ่าย คือ สถานประกอบการ นักศึกษาและสถาบันการศึกษา


คู่มือสหกิจศึกษาเล่มนี้ จัดทําขึ้นเพื่อประโยชน์ในการประสานงานระหว่าง สถานประกอบการ นักศึกษา

และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับ แนวความคิด กระบวนการของสหกิจศึกษาตลอดจน

เอกสารประกอบการบริหารจัดการงานธุรการ ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ

นักศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง สหกิจศึกษาวิทยาลัยฯ ขอขอบคุณทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดทําจนสําเร็จเป็นรูปเล่ม


สมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสหกิจศึกษาเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการ นักศึกษา อาจารย์ที่
ปรึกษาสหกิจศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน





ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา

วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

สารบัญ



เรื่อง หน้า


บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจศึกษา

1.1 ความเป็นมาสหกิจศึกษา 1

1.2 สหกิจศึกษาคืออะไร 2

1.3 วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา 3

1.4 ลักษณะงานสหกิจศึกษา 3

บทที่ 2 สหกิจศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

2.1 หลักสูตรสหกิจศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 4


2.2 การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา 5
2.3 บทบาทและหน้าที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา 6


บทที่ 3 บทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

3.1 บทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษา 7

3.2 บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 8

บทที่ 4 บทบาทหน้าที่ของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

4.1 คุณสมบัติพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา 9

4.2 หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Job Supervisor) 9

4.3 การจัดเตรียมข้อมูลสําหรับการนิเทศงานนักศึกษา 11

4.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 11

4.5 การเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการ 12

4.6 ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ 12

สารบัญ (ต่อ)



เรื่อง หน้า


บทที่ 5 กระบวนการและขั้นตอนสหกิจศึกษา

5.1 กระบวนการก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 13

5.2 กระบวนการระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ 16

5.3 กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 19

5.4 ขั้นตอนการศึกษาในระบบสหกิจศึกษา 21

บทที่ 6 ข้อแนะนําและแนวปฏิบัติสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา

6.1 แนวปฏิบัติสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา 22


6.2 การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา 23
บทที่ 7 การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


7.1 รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 24

ภาคผนวก

- รูปแบบการทํารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

- รูปแบบการทําบทความ

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกิจ






สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทําให้การแข่งขันในตลาดแรงงานมีแนวโน้มค่อนข้างสูง ลักษณะบัณฑิตที่พึง

ประสงค์ตามความต้องการของตลาดแรงงานได้เปลี่ยนแปลงไป ความรู้และทักษะที่สถานประกอบการต้องการ

ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ การเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ในการทํางาน การพัฒนาตนเอง
การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การมีมนุษย์สัมพันธ์ การสื่อสารและการนําเสนอ ความสามารถในการรับรู้ ระเบียบ

วินัย ความรับผิดชอบ คุณธรรมและจริยธรรม และการเป็นผู้นํา เป็นสิ่งสําคัญต้องมีในตัวบัณฑิต และสิ่งที่ท้าทาย

สําหรับบัณฑิตในปัจจุบันคือ การได้มีโอกาสนําความรู้จากการศึกษาในชั้นเรียนมาสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใน
การทํางานในสถานการณ์จริง เพื่อให้เกิดทักษะวิชาชีพและทักษะในการพัฒนาตนเอง นอกเหนือจากทักษะด้าน

วิชาการจากสถานศึกษา ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเรียนรู้และพัฒนาได้โดยเร็วเมื่อนักศึกษาได้มีโอกาสไปปฏิบัติงานจริง

ณ สถานประกอบการ


1.1 ความเป็นมาของสหกิจศึกษา




คําว่า “สหกิจศึกษา” (Cooperative Education) เป็นศัพท์บัญญัติที่ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่ง

เป็นบุคคลแรกที่นําระบบสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยเริ่มนํามาใช้จัดการศึกษาที่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต่อมาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสหกิจศึกษาจึงได้เริ่มเป็นที่รู้จักและขยายไปสู่

สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ในยุคแรก เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร

เหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.2545 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้ประกาศ

นโยบายให้การสนับสนุนแก่สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสหกิจศึกษาทําให้มีสถาบันอุดมศึกษาตระหนักและ

เริ่มนําสหกิจศึกษามาจัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น จวบจนปัจจุบันสหกิจศึกษาได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและ

ขยายสู่ระดับชาติโดยมีสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นภาคีสําคัญของภาครัฐทําหน้าที่ดูแลด้าน

นโยบายและให้การสนับสนุนด้านการเงิน








1 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

การดําเนินงานสหกิจศึกษาในช่วงเริ่มต้นอยู่ในรูปของทวิภาคี คือ มีเพียงสถานศึกษาร่วมมือกับสถาน

ประกอบการ โดยภาครัฐมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง หากมีแต่หน่วยงานภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่ง

ประเทศไทยและสภาหอการค้าไทยที่ได้ให้การสนับสนุนการดําเนินงานสหกิจศึกษา

ต่อมาในปี พ.ศ.2545 การดําเนินงานสหกิจศึกษาได้พัฒนาเข้าสู่ลักษณะพหุภาคีกล่าวคือ มีหน่วยงานหลาย

ภาคส่วนร่วมกันรับผิดชอบดําเนินงานสหกิจศึกษา ได้แก่ สถานศึกษา สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และ

หน่วยงานภาคเอกชน เช่น สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภา

หอการค้าไทย สมาคมวิชาการในประเทศไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย (Thai Association for Coopertive

Education - TACE) และสมาคมสหกิจศึกษาโลก (Word Association for Coopertive Education - WACE)


นับว่าการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันมีภาคีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทครบทุกภาคส่วนใน

ลักษณะเครือข่ายพหุภาคี


1.2 สหกิจศึกษาคืออะไร



สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษา

สลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการอย่างเป็นระบบ ด้วยความร่วมมือ

จากสถานประกอบการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตรงกับสาขาวิชา

ของนักศึกษา และการปฏิบัติงานของนักศึกษาเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานประจําหรือพนักงานทดลองงานของสถาน

ประกอบการ สหกิจศึกษาจึงเป็นระบบการศึกษาที่ผสมผสานการเรียนกับการปฏิบัติงาน (Work Integrated

Learning) รูปแบบการจัดการศึกษา สหกิจศึกษาจึงมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีโอกาสปฏิบัติงานจริงในสถาน

ประกอบการสลับกับการเรียนทฤษฏีในห้องเรียนก่อนที่จะสําเร็จการศึกษาและออกไปประกอบวิชาชีพ เป็นการ

เตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ (Career Development) เสริมทักษะประสบการณ์ให้


พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทํางาน (Employability) และเสริมคุณภาพบัณฑิตให้มีคุณภาพตรงตามที่สถาน

ประกอบการต้องการ นอกจากนั้นสหกิจศึกษายังถือเป็นกลไกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา

และสถานประกอบการอีกด้วย







2 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

1.3 วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา


1.3.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์วิชาการและวิชาชีพจากการไป

ปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ


1.3.2 เพื่อเปิดโอกาสให้สถานประกอบการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อชุมชน
สังคม และประเทศชาติ


1.3.3 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถานประกอบการและวิทยาลัย

เซาธ์อีสท์บางกอก

1.3.4 เพื่อให้มีการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย ได้มาตรฐานและตอบสนองกับ

ความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน


1.4 ลักษณะงานสหกิจศึกษา




1.4.1 เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานประจําหรือพนักงานทดลองงานของสถานประกอบการ

1.4.2 มีหน้าที่รับผิดชอบงานที่แน่นอนและตรงตามสาขาวิชา

1.4.3 ทํางานเต็มเวลา (Full Time)

1.4.4 ระยะเวลาปฏิบัติงานเต็ม 1 ภาคการศึกษา หรืออย่างน้อย 16 สัปดาห์ หรือมากกว่าตามความ

เหมาะสม


1.4.5 มีค่าตอบแทนในอัตราเทียบเท่าหรือมากกว่าที่จ่ายให้กับลูกจ้างรายวันหรือตามความเหมาะสมของ

สถานประกอบการหรืออาจจ่ายในรูปของสวัสดิการตามสถานประกอบการกําหนด เช่น การจัดที่พักและอาหารใน

ระหว่างการปฏิบัติงาน















3 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 2 สหกิจศึกษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก





วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ได้เข้าร่วมโครงการการจัดการศึกษาสหกิจ

ศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ตามประกาศนโยบายให้การสนับสนุนของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น

โดยระยะแรกของการดําเนินงานเป็นการศึกษากระบวนการและขั้นตอนการดําเนินงานสหกิจศึกษา และต่อมาในปี

พ.ศ. 2552 คณะบริหารธุรกิจ เป็นหน่วยงานแรกที่ได้ดําเนินงานสหกิจศึกษา มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจ

ศึกษา จํานวน 5 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี จํานวน 2 คน และสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

จํานวน 3 คน


ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ผู้บริหารวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับงานสหกิจศึกษาและเพื่อ

รองรับการขยายงานและพัฒนางานสหกิจศึกษาของวิทยาลัยฯ จึงได้มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการ

บริหารงานสหกิจศึกษาใหม่ โดยให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม

พ.ศ.2554 และให้บริหารงานอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ



2.1 หลักสูตรสหกิจศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก


วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้มีการจัดการศึกษาในระบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาจะประกอบไปด้วย

2 ภาคการศึกษาปกติและ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยในการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาจะกําหนดให้นักศึกษาไป

ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ 1 ภาคการศึกษา (16 สัปดาห์ หรือ มากกว่า ตามความเหมาะสม) ในช่วงเวลา

ของภาคการศึกษาปกติ หลักสูตรสหกิจศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มีลักษณะดังนี้



2.1.1 จัดเป็นรายวิชาในหลักสูตร

สหกิจศึกษาเป็นรายวิชาที่คณะ/สาขาวิชา เป็นผู้กําหนดขึ้นโดยระบุไว้ในกลุ่มวิชาเอกเลือกประจํา

สาขาวิชาของแต่ละคณะมีค่าหน่วยกิต 6 หน่วยกิต ซึ่งสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดจะเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

คัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าหลักสูตรรายวิชาสหกิจศึกษา

2.1.2 สหกิจศึกษาจัดไว้ในภาคการศึกษาที่ 1 หรือ 2 ของชั้นปีที่ 4







4 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

สหกิจศึกษาเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการเพื่อเสริมทักษะ

ประสบการณ์ทางวิชาการวิชาชีพ ดังนั้น สาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดจึงได้กําหนดภาคการศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงาน

สหกิจศึกษาไว้ในแผนการเรียน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาวิชา แต่โดยส่วนใหญ่จะกําหนดไว้ในภาคการศึกษา

ปกติคือภาคการศึกษาที่ 1 หรือ 2 ของชั้นปีที่ 4

2.1.3 ระยะเวลาการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเต็ม 1 ภาคการศึกษา หรือ อย่างน้อย 16 สัปดาห์หรือ

มากกว่าตามความเหมาะสม

2.1.4 ปฏิบัติงานตรงตามสาขาวิชาของนักศึกษา

นักศึกษาจะมีหน้าที่รับผิดชอบงานที่ชัดเจน แน่นอนโดยลักษณะของงานที่นักศึกษาได้รับ


มอบหมายจากสถานประกอบการให้ปฏิบัติควรเป็นโครงงานพิเศษ (Project) หรือชิ้นงานหรืองานประจําที่เป็น

ประโยชน์ต่อสถานประกอบการ ทั้งนี้ลักษณะงานจะต้องตรงตามสาขาวิชาของนักศึกษา

2.1.5 จัดให้มีการอบรมเตรียมความพร้อมนักศึกษา

กระบวนการสําคัญอย่างหนึ่งในการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาคือการจัดให้มีการปฐมนิเทศ และ

อบรมการเตรียมความพร้อมสําหรับการปฏิบัติงานให้นักศึกษาในภาคการศึกษาก่อนที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงาน

สหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ อย่างน้อย 30 ชั่วโมง


2.2 การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา




การวัดผลและประเมินผลการศึกษา เป็นการวัดผลและประเมินผลการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาน

ประกอบการและวิทยาลัยฯ ทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติงาน โดยมีเกณฑ์ดังนี้



 สถานประกอบการ 50%

 วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 50%

- การอบรมเตรียมความพร้อม 5%

- การนิเทศงาน 10%

- การนําเสนอผลการปฏิบัติงาน 15%

- รูปเล่มรายงาน 20%

รวม 100%




5 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

ระดับคะแนน ลําดับชั้น ความหมาย แต้มระดับคะแนน


90-100 A ดีเยี่ยม 4.00

85-89 B+ ดีมาก 3.50

80-84 B ดี 3.00

75-79 C+ ค่อนข้างดี 2.50

70-74 C พอใช้ 2.00


65-69 D+ ค่อนข้างอ่อน 1.50

60-64 D อ่อน 1.00

55-59 F ตก 0




2.3 บทบาทและหน้าที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา


ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา เป็นหน่วยงานกลางในระดับสถาบัน บริหารงานภายใต้การ

กํากับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ทําหน้าที่กํากับดูแลส่งเสริมสนับสนุนให้การดําเนินงานสหกิจศึกษา

เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเป็นแนวทางสําหรับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความพร้อมที่


จะสามารถทํางานได้ทันทีหลังสําเร็จการศึกษา และยังมุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการได้งานทําและพัฒนาอาชีพ
อย่างต่อเนื่องให้แก่บัณฑิต/ศิษย์เก่า โดยมีภารกิจหลักดังนี้


2.3.1 การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยฯ เกี่ยวกับโครงการสหกิจศึกษา

2.3.2 การจัดทําแผนและดําเนินงานสหกิจศึกษา

2.3.4 สรุปและประเมินผลการดําเนินงานสหกิจศึกษา

2.3.5 ติดต่อและประสานงานกับสถานประกอบการ

2.3.6 สร้างเครือข่ายใหม่ และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ

2.3.7 จัดทําฐานข้อมูลสถานประกอบการ

2.3.8 รับผิดชอบงานเว็บไซต์ของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา




6 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 3 บทบาทและหน้าที่ ของนักศึกษาสหกิจศึกษา



และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา




3.1 บทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษา


3.1.1 คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา คณะ/สาขาวิชาเป็นผู้คัดเลือกที่มีคุณสมบัติดังนี้

 สอบผ่านวิชาเอกบังคับหรือรายวิชาเทียบเท่า ตามที่คณะ/สาขาวิชากําหนด


 มีผลการศึกษา เฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป

 มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เคยผิดระเบียบวินัยถึงขั้นพักการศึกษา

 มีความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการที่วิทยาลัยฯ

กําหนด

 มีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบ รวมถึงสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้

3.1.2 หน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษา

 ติดตามข่าวสารการจัดหางานและประสานงานกับศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา

ตลอดเวลา

 ต้องผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมและปฐมนิเทศ ตามที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา

เป็นผู้กําหนด

 ต้องไปรายงานตัวภายในวันและเวลาที่กําหนด พร้อมด้วยหนังสือส่งตัว บัตรประจําตัวนักศึกษา และ


บัตรประจําตัวบัตรประชาชน คําแนะนําของสถานประกอบการและคู่มือสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา

 ตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาอย่างเต็มกําลังความสามารถ

 ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยหรือข้อบังคับของสถานประกอบการ และหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้ง

ในสถานประกอบการ ทุกกรณี

3.1.3 ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

 ได้รับประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชาชีพที่เรียนเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน

 เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง รู้จักการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบและมีความมั่นใจใน

ตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ


7 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

 ได้พบปัญหาต่างๆ ที่แท้จริงในการทํางาน และคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง

 ส่งผลให้มีผลการเรียนดีขึ้นภายหลังการปฏิบัติงานเนื่องด้วยมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้นจาก

ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ


 เกิดทักษะการสื่อสารข้อมูลการทํางานภายในสถานประกอบการ
 สามารถเลือกสายอาชีพได้ถูกต้องเนื่องจากได้ทราบความถนัดของตนเองมากขึ้น


 สําเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทํางาน และมีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนที่สําเร็จ

การศึกษา


3.2 บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา


อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Cooperative Education Advisor-CA) ต้องเป็นอาจารย์ประจําสาขาวิชาที่

นักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา และได้รับการ

อบรมการนิเทศงานโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สกอ. และทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่นักศึกษา และ

ประสานงานระหว่างศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา นักศึกษา และสถานประกอบการ อีกตําแหน่งหนึ่ง

นอกเหนือจากเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ และมีหน้าที่ประสานงานด้านสหกิจศึกษา

ดังนี้

3.2.1 พิจารณาคุณสมบัติของนักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด

3.2.2 ให้คําแนะนําปรึกษาการลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษาในทุกๆ ด้าน

3.2.3 ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกสถานประกอบการและตําแหน่งงานแก่


นักศึกษา
3.2.4 ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการกรอกใบสมัครงาน ประวัตินักศึกษา และการเขียนจดหมายสมัครงาน


3.2.5 คัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษาให้กับสถานประกอบการ โดยพิจารณาตําแหน่งตามความเหมาะสม

3.2.6 ให้คําปรึกษาเมื่อนักศึกษามีปัญหาระหว่างไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

3.2.7 นิเทศงานระหว่างที่นักศึกษาไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

3.2.8 ประเมินผลปฏิบัติงานของนักศึกษา เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ






8 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 4



บทบาทหน้าที่ของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา


สถานประกอบการเป็นองค์กรที่มีความสําคัญที่จะพัฒนานักศึกษาโดยวิธีการของสหกิจศึกษาให้เกิดผล

ทางรูปธรรม ในทางปฏิบัติงานสหกิจศึกษามีรูปแบบ และขั้นตอนที่จําเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิด

จากสถานประกอบการ โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ และพนักงานที่ปรึกษา

สหกิจศึกษา (Job Supervisor) ซึ่งจะเป็นผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้สนับสนุน และส่งเสริมให้การ

ปฏิบัติงานของนักศึกษาประสบความสําเร็จสูงสุดในระหว่างการปฏิบัติงาน โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

 ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ แจ้งรายละเอียดลักษณะงานที่ต้องการให้นักศึกษาปฏิบัติ รวมถึง

กฎระเบียบวินัยของสถานประกอบการนั้น ๆ แก่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาล่วงหน้าก่อน 1

ภาคการศึกษาที่นักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

 ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ดําเนินการปฐมนิเทศ อบรม เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงระเบียบวินัย

วัฒนธรรม การรักษาความปลอดภัยในการทํางาน ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับสถานประกอบการ

โครงสร้างการบริหารงานและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ของสถานประกอบการที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ

 แต่งตั้งพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Job Supervisor)



4.1 คุณสมบัติพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา



4.1.1 คุณวุฒิไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี หรือเป็นผู้มีความชํานาญพิเศษและมีประสบการณ์การทํางานไม่น้อย

กว่า 6 เดือน

4.1.2 ให้คําปรึกษา ติดตาม และแนะนําการปฏิบัติงาน

4.1.3 ตรวจรายงาน และให้ข้อเสนอแนะ

4.1.4 ประเมินผลการปฏิบัติงาน


4.2 หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Job Supervisor)


พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Job Supervisor) หมายถึง บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่สถานประกอบการ

มอบหมายให้ทําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา อาจจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานในการ



9 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

ปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา จึงเปรียบเสมือนอาจารย์ของนักศึกษา ณ สถานประกอบการ เป็นผู้ที่

ให้คําแนะนํา และเป็นที่ปรึกษาทั้งทางด้านปฏิบัติงานและการปรับตัวเข้ากับการปฏิบัติงานของนักศึกษา ดังนั้น

พนักงานที่ปรึกษาจึงเป็นผู้ที่มีความสําคัญที่สุดที่จะทําให้การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสําเร็จไปด้วยดี

โดยมีหน้าที่หลักดังนี้

4.2.1 กําหนดลักษณะงาน (Job Description)

กําหนดลักษณะงาน (Job Description) และแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (Co-op Work Plan)

กําหนดตําแหน่งงาน ขอบข่ายหน้าที่งานของนักศึกษาที่จะต้องปฏิบัติและแจ้งให้นักศึกษารับทราบถึงงานที่ได้รับ

มอบหมายโดยจะมีลักษณะงานตรงตามสาขาวิชาของนักศึกษา ซึ่งได้มีการกําหนดแผนงานการปฏิบัติรายสัปดาห์


ให้แก่นักศึกษา

4.2.2 การให้คําปรึกษา

ให้คําปรึกษาชี้แนะแนวทางการทํางานและการแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่มีให้กับนักศึกษารวมทั้งให้

ความร่วมมือด้านการประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและนักศึกษา

4.2.3 แนะนําการจัดทํารายงานสหกิจศึกษา

นักศึกษาต้องจัดทํารายงานเสนอต่อ สถานประกอบการ และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา โดย

รายงานอาจประกอบด้วยเนื้อหาที่สถานประกอบการจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป หรืออาจมีลักษณะดังนี้

 ผลงานวิจัยที่นักศึกษาปฏิบัติ

 โครงงานหรือชิ้นงานที่นักศึกษาปฏิบัติ

 รายงานการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ

 รายงานวิชาการที่นักศึกษาสนใจซึ่งสอดคล้องกับสาขาวิชาและได้รับการรับรองทั้งจากพนักงานที่

ปรึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

 การสรุปข้อมูลหรือสถิติบางประการที่เกี่ยวข้องและสะท้อนองค์ความรู้ในสาขาวิชา


 การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเบื้องต้น

 กรณีที่งานได้รับมอบหมายเป็นงานประจํา (Routine) เช่น งานในสายการผลิต งานระบบคุณภาพ

งานบํารุงรักษา งานตรวจสอบคุณภาพ ฯลฯ รายงานของนักศึกษาอาจจะเป็นรายงานและขั้นตอน

การปฏิบัติงานประจําที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

กําหนดหัวข้อรายงานแล้ว นักศึกษาต้องจัดทํา Report Outline (ตามแบบที่กําหนด) โดยหารือ



10 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

กับพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาแล้วจัดส่งให้ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา เพื่อส่ง

มอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ประจําสาขาวิชาให้ความเห็นชอบ ลักษณะรายงานการ

ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา จะมีรูปแบบรายงานตามรายงานวิชาการ นักศึกษาจะต้องจัดพิมพ์รายงาน

ให้เรียบร้อย และส่งให้พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาตรวจสอบและประเมินผลอย่างน้อย 2

สัปดาห์ก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา



4.3 การจัดเตรียมข้อมูลสําหรับการนิเทศงานนักศึกษา

ระหว่างการปฏิบัติงานของนักศึกษา ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะประสานงานกับ


อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา เพื่อขอนัดหมายเข้านิเทศนักศึกษา ณ สถานประกอบการโดยจะมีหัวข้อการ

หารือ กับผู้บริหารสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล/พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ดังนี้

4.3.1 ข้อมูลเพิ่มเติมจากการดําเนินการโครงการสหกิจศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตร

4.3.2 ลักษณะงานที่มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติ

4.3.3 แผนการปฏิบัติตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

4.3.4 หัวข้อรายงานสหกิจศึกษาและความก้าวหน้า

4.3.5 การพัฒนาตนเองของนักศึกษา

4.3.6 ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาและความประพฤติ

4.3.7 ปัญหาต่าง ๆ ที่สถานประกอบการพบเกี่ยวกับการมาปฏิบัติงานของนักศึกษา



4.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


4.4.1 พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาต้องตรวจแก้ไขรายงานให้นักศึกษาและประเมินผลเนื้อหา และ

การเขียนรายงานภายใน 2 สัปดาห์สุดท้ายของการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยแก้ไขรายงานให้สมบูรณ์ก่อนกลับ

วิทยาลัยฯ

4.4.2 แจ้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยอาจจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ จากนั้นมอบผลการประเมิน


ให้นักศึกษานําส่ง หรือจัดส่งให้กับ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ทราบโดยตรงต่อไป







11 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

4.5 การเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการ


4.5.1 กําหนดกรอบงานและจัดโปรแกรมการทํางานของนักศึกษา

4.5.2 กําหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบและพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

4.5.3 กําหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่ต้องการรับเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

4.5.4 แนะนําหรือจัดหาที่พักให้กับนักศึกษา ในกรณีที่บ้านพักอาศัยของนักศึกษาอยู่ไกลจากสถาน

ประกอบการ

4.5.5 พร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์ค่าตอบแทนในอัตราที่สมควร และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ


หรือสวัสดิการตามนโยบายของสถานประกอบการ

4.5.6 พร้อมที่จะดูแลนักศึกษา ให้คําแนะนํา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้งานให้เต็มศักยภาพที่

สถานประกอบการจะพึงให้ได้


4.6 ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ


4.6.1 เกิดความร่วมมือทางวิชาการและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับวิทยาลัยฯ

4.6.2 เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและช่วยพัฒนา

บัณฑิตของชาติ

4.6.3 ได้นักศึกษาที่มีความกระตือรือร้น มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของสถาน

ประกอบการ

4.6.4 เป็นวิธีการช่วยคัดเลือกบัณฑิตเข้าเป็นพนักงานประจําในอนาคตต่อไป

4.6.5 พนักงานประจํามีเวลามากขึ้นที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ซึ่งมีความสําคัญมากกว่า





















12 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 5





กระบวนการและขั้นตอนสหกิจศึกษา





5.1 กระบวนการก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

5.1.1 การเตรียมความพร้อมทางวิชาการ


สาขาวิชาต่างๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดแผนการเรียนของนักศึกษาในสังกัดเพื่อเตรียมความ
พร้อมให้นักศึกษามีความรู้เพียงพอในสาขาวิชาชีพก่อนไปปฏิบัติงาน อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจในการ


ปฏิบัติงานแก่นักศึกษาและสร้างความเชื่อถือแก่สถานประกอบการ

5.1.2 การประชาสัมพันธ์โครงการสหกิจศึกษา

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาร่วมกับคณะ/สาขาวิชาต่าง ๆ ทําการประชาสัมพันธ์

หลักสูตรสหกิจศึกษาแก่นักศึกษา เพื่อแจ้งข่าวสาร กําหนดการต่างๆ สําหรับการดําเนินงานสหกิจศึกษาในแต่ละ

รุ่น และทําการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสหกิจศึกษาแก่สถานประกอบการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

สหกิจศึกษา ร่วมหารือเกี่ยวกับลักษณะงานสหกิจศึกษาและแนวปฏิบัติที่จําเป็นในการดําเนินงานสหกิจศึกษา

5.1.3 การสมัครเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา

นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นของการสมัครตามแบบพิจารณาคุณสมบัตินักศึกษา

สหกิจศึกษา (สก.01) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ตามที่แจ้ง

5.1.4 การประชาสัมพันธ์ตําแหน่งงานและรายละเอียดของงาน

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะประกาศรายชื่อสถานประกอบการที่มีความประสงค์

รับนักศึกษาสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาทราบ เพื่อทําการสมัครโดยกรอกข้อมูล

และรายละเอียดในใบสมัครงาน (สก.03)











13 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

5.1.5 การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา

การคัดเลือกนักศึกษาจะดําเนินการคัดเลือกโดยอาจารย์ประจําสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัด โดยจะ

แยกการคัดเลือกออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้

1. การคัดเลือกเบื้องต้น จะทําการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาโดยพิจารณา

ตามคุณสมบัติของนักศึกษาที่ได้กําหนดไว้

2. การคัดเลือกเพื่อเข้ารับการปฏิบัติงาน จะพิจารณาตามความเหมาะสมเกี่ยวกับการจับคู่

นักศึกษากับสถานประกอบการ ตามลําดับที่นักศึกษามีความประสงค์ หรือ ตามที่สถาน

ประกอบการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก


5.1.6 ประกาศผลการคัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษา

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะประกาศผลสถานประกอบการที่นักศึกษาต้องไป

ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาทราบและเตรียมตัวก่อนไปปฏิบัติงาน ในกรณีที่นักศึกษาไม่มีรายชื่อใน

ประกาศผลการคัดเลือกให้รีบติดต่อ ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาโดยด่วน เพื่อจัดหาสถาน

ประกอบการให้ใหม่โดยเร็วที่สุด โดยภายหลังการประกาศผลการคัดเลือกแล้ว นักศึกษาทุกคนจะต้องไป

ปฏิบัติงานตามกําหนดจะขอสละสิทธิ์การไปปฏิบัติงานไม่ได้โดยเด็ดขาด ยกเว้นป่วยอย่างรุนแรง

5.1.7 การลงทะเบียนเรียนวิชาสหกิจศึกษา

นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา จะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสหกิจ

ศึกษาตามช่วงระยะเวลาที่วิทยาลัยฯ กําหนด ทั้งนี้เมื่อลงทะเบียนเรียนแล้ว จะไม่สามารถเพิ่มถอนรายวิชา

สหกิจศึกษาได้ และหากนักศึกษาไม่ผ่านรายวิชาสหกิจศึกษา นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ หรือ ถ้าไม่

สามารถไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาได้ เพราะเหตุอันสมควรทางคณะ/สาขาวิชา จะจัดหารายวิชาใหม่ให้

ลงทะเบียนเรียนแทน

5.1.8 การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาร่วมกับคณะ/สาขาวิชาต่างๆ จัดการอบรมเพื่อเตรียม

ความพร้อมให้แก่นักศึกษาก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้











14 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

1. การอบรมเตรียมความพร้อมและปฐมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา ศูนย์ประสานงานและ

ส่งเสริมสหกิจศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการอบรมโดยจะเน้นความรู้ความเข้าใจใน

หลักการสหกิจศึกษา ความสําคัญและประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ กระบวนการและขั้นตอน

สหกิจศึกษา แนวปฏิบัติของนักศึกษาที่ต้องปฏิบัติ

2. การอบรมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเฉพาะเพื่อเตรียมความพร้อมทางวิชาการ สาขาวิชา

จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอบรม ส่วนใหญ่การอบรมจะเน้นหัวข้อองค์ความรู้ที่

เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มเติมความรู้และทักษะให้แก่นักศึกษา

ก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


3. การอบรมทักษะที่ทําให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจ

ศึกษาร่วมกับคณะ/สาขาวิชาต่างๆ จัดอบรมในหัวข้อต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการ

ทํางานและการใช้ชีวิต เช่น ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสําหรับการปฏิบัติงาน ทักษะด้าน

ภาษาต่างประเทศ ทักษะการเขียนจดหมายสมัครงาน เทคนิคการสัมภาษณ์งาน เทคนิคการ

เขียนรายงานและนําเสนอ การพัฒนาบุคลิกภาพ วัฒนธรรม องค์กร คุณธรรมและจริยธรรมใน

การทํางาน เป็นต้น

5.1.9 การประชุมร่วมกันระหว่าง อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและ

นักศึกษาสหกิจศึกษา

ก่อนถึงกําหนดเวลาที่นักศึกษาสหกิจศึกษาจะไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการควรมีการพูดคุย

เพื่อทําความรู้จัก และสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และ

นักศึกษา รวมทั้งเพื่อยืนยันลักษณะงานที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ

5.1.10 การส่งจดหมายส่งตัวนักศึกษา

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา จะดําเนินการจัดทําจดหมายส่งตัวนักศึกษาเพื่อมอบ

ให้แก่นักศึกษาถือไปส่งมอบให้สถานประกอบการ ในวันที่ไปรายงานตัวเข้าปฏิบัติงาน ทั้งนี้จะทําการส่งสําเนา

จดหมายส่งตัวนักศึกษาไปล่วงหน้าเพื่อแจ้งสถานประกอบการทราบ










15 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

5.2 กระบวนการระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ


5.2.1 การรายงานตัวเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ

นักศึกษาจะต้องเดินทางไปยังสถานประกอบการเพื่อรายงานตัวเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามวัน

เวลา ที่ได้กําหนดไว้ โดยจะต้องไปติดต่อยื่นเอกสารจดหมายส่งตัวและเอกสารที่เกี่ยวข้องยังหน่วยงานที่ระบุ พร้อม

รับฟังรายละเอียดงาน ข้อแนะนําในการปฏิบัติงาน กฎระเบียบต่างๆ ของสถานประกอบการ

5.2.2 ในระหว่างสัปดาห์แรกของการปฏิบัติงาน

นักศึกษาจะต้องส่งแบบแจ้งรายละเอียดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.07) มายังศูนย์

ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาเพื่อจัดส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาได้ทราบถึงสถานที่ปฏิบัติงาน


พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

5.2.3 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 ของการปฏิบัติงาน

นักศึกษาจะต้องส่งแบบแจ้งแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.08) มายังศูนย์ประสานงานและ

ส่งเสริมสหกิจศึกษาเพื่อจัดส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาได้ทราบถึงแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

5.2.4 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของการปฏิบัติงาน

นักศึกษาจะต้องส่งแบบแจ้งโครงร่างรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.09) มายังศูนย์

ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาเพื่อจัดส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาได้ตรวจสอบและให้คําแนะนํา ทั้งนี้

นักศึกษาสามารถเริ่มเขียนรายงานได้ทันที โดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาอาจจะให้คําแนะนําเพิ่มเติมระหว่าง

การไปนิเทศงานก็ได้ และในกรณีที่พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาไม่มีเวลาเขียนข้อมูลในแบบฟอร์มต่างๆ นักศึกษา

อาจจะแก้ไขปัญหา โดยการสอบถามข้อมูลด้วยวาจาแล้วเป็นผู้เขียนข้อมูลด้วยตนเอง จากนั้นนําไปให้พนักงานที่

ปรึกษาสหกิจศึกษาตรวจและลงนามรับทราบ

5.2.5 การนิเทศงานสหกิจศึกษา

อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาซึ่งเป็นอาจารย์ประจําสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดจะต้องเดินทางไป

นิเทศงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ อย่างน้อย 2 ครั้ง ระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ

สถานประกอบการ โดยอาจจะไปนิเทศงานในช่วงระหว่าง สัปดาห์ที่ 2-16 ของการปฏิบัติงาน ทั้งนี้อาจมีอาจารย์


ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาท่านอื่นร่วมเดินทางไปนิเทศด้วยก็ได้สําหรับการนิเทศงานสหกิจศึกษามีวัตถุประสงค์ ดังนี้







16 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

1. เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้กับนักศึกษาที่กําลังปฏิบัติงานโดยลําพัง ณ สถาน

ประกอบการ ซึ่งนักศึกษาจะต้องอยู่ห่างไกลครอบครัว เพื่อน และคณาจารย์

2. เพื่อดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา

3. เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ทั้ง

ปัญหาด้านวิชาการและปัญหาด้านการปรับตัวของนักศึกษาในการปฏิบัติงานจริง

4. เพื่อขอรับทราบและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้บริหาร/พนักงานที่ปรึกษาในสถานประกอบการ

เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักศึกษาในระบบสหกิจศึกษาตลอดจนการแลกเปลี่ยน

ความก้าวหน้าทางวิชาการซึ่งกันและกัน


5. เพื่อประเมินผลการดําเนินงาน และรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัยฯ และการ

ดําเนินงานสหกิจศึกษา

ขั้นตอนการนิเทศงานสหกิจศึกษา

 ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจํา

สาขาวิชาต่างๆ เพื่อกําหนดแผนการนิเทศของสาขาวิชาโดยนักศึกษาทุกคนที่ไปปฏิบัติงาน

จะต้องได้รับการนิเทศงานอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระหว่างที่ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

 ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะประสานงานกับสถานประกอบการพร้อมส่งแนบแจ้ง


ยืนยันการออกนิเทศงานนักศึกษาสหกิจศึกษา (สก.12) ไปยังสถานประกอบการเพื่อนัดหมายวัน

และเวลาที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จะเดินทางไปนิเทศงานนักศึกษา ณ สถานประกอบการ

 ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา จะรวบรวมแฟ้มประวัตินักศึกษา พร้อมรายละเอียด

เกี่ยวกับสถานประกอบการ รายละเอียดงาน และความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานของนักศึกษา

สหกิจศึกษา รวมทั้งเอกสารข้อมูลอื่นๆ ที่จําเป็นส่งมอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

ทําการศึกษาข้อมูลก่อนวันเดินทางอย่างน้อย 7 วันทําการ

 อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเดินทางไปนิเทศงานตามกําหนดนัดหมาย ซึ่งการเข้านิเทศงานสห


กิจศึกษานั้นควรได้พบปะพูดคุยกับพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา นักศึกษา และได้มีโอกาสหารือ
ร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ระหว่างพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและ


นักศึกษา





17 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

 ภายหลังการเดินทางกลับ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะต้องประเมินผลการนิเทศงานสหกิจ

ศึกษา ตามแบบประเมินผลการนิเทศงานสหกิจศึกษา (สก.13) และส่งข้อมูลมายังศูนย์


ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา
5.2.6 การให้คําปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา


อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะต้องติดตามนักศึกษาสหกิจศึกษาอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง

เพื่อให้คําแนะนํา ช่วยเหลือนักศึกษาในกรณีต่างๆ แก้ไขปัญหา และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยในการ

ติดตามนักศึกษาสหกิจศึกษานั้นจะต้องครอบคลุมทั้งในส่วนของชีวิตส่วนตัวความเป็นอยู่ และเกี่ยวกับงานที่

นักศึกษาปฏิบัติ ทั้งนี้ในการให้คําปรึกษาและติดตามนั้นอาจใช้สื่อต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ เครือข่าย Network

ต่าง ๆ เป็นต้น

5.2.7 นักศึกษาต้องส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

นักศึกษาต้องส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาให้แก่พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาอย่างน้อย 2

สัปดาห์ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานและจะต้องแก้ไขตามพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาแนะนําให้เรียบร้อย และ

นักศึกษาต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาทันทีที่กลับมาจากสถานประกอบการ

5.2.8 การนําเสนอผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ

ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีโอกาสนําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาต่อผู้บริหาร

พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการได้ร่วมรับฟังและให้

ข้อคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยควรจัดให้มีขึ้นภายในสัปดาห์ที่ 16 ของการปฏิบัติงาน

5.2.9 การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา

พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาซึ่งใกล้ชิดโดยตรงและกํากับดูแลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจ


ศึกษาจะต้องให้ความเห็นโดยทําการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาตามแบบประเมินผลการ
ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.15) และบรรจุซองพร้อมผนึกซองให้เรียบร้อย และนักศึกษานําซองส่งมอบแก่ศูนย์


ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา ทั้งนี้ซองจะต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีร่องรอยของการเปิดอย่างเด็ดขาด












18 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

5.3 กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


5.3.1 การรายงานตัวของนักศึกษาสหกิจศึกษา

ภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการตามระยะเวลาที่กําหนด นัก

ศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องเข้ารายงานตัวกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจําสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัด โดย

อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะสัมภาษณ์นักศึกษาถึงปัญหา อุปสรรคข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานประกอบการ การ

ดําเนินงานสหกิจศึกษา และให้คําแนะนําเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการนําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจ

ศึกษาต่อไปตามวัน เวลา ที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษากําหนด

5.3.2 การนําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะกําหนดให้มีการนําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

ของนักศึกษาสหกิจศึกษา ภายในสัปดาห์ที่ 18 หลังจากนักศึกษากลับจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยมีอาจารย์

ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ประจําสาขาวิชา นักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และนักศึกษาปัจจุบันที่

สนใจเข้าร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งนี้จะมีการประเมินผลให้คะแนนการนําเสนอผลการปฏิบัติงานโดย

คณะกรรมการของคณะ/สาขาวิชา

5.3.3 การประเมินผล

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา จะประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทําการสรุปคะแนน

ในส่วนต่างๆ เพื่อประเมินผลรายวิชาสหกิจศึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษา ตามเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหลักสูตร

สหกิจศึกษา

5.3.4 การแจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานที่ปรึกษา

อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการประเมินการปฏิบัติงานของ

นักศึกษาสหกิจศึกษา ที่ได้จากพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา แจ้งให้นักศึกษา

สหกิจศึกษาทราบเพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการพัฒนาตนเองและเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่สายงานอาชีพต่อไป

5.3.5 การแจ้งผลสะท้อนกลับไปยังสถานประกอบการ

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา จะดําเนินการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามนักศึกษา


สหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเกี่ยวกับสถานประกอบการ (สก.14) เพื่อใช้เป็นข้อมูลแนะนําข้อมูล
แจ้งกลับยังสถานประกอบการเพื่อเป็นผลสะท้อนกลับสําหรับการพัฒนาและปรับปรุงการดําเนินงานสหกิจศึกษา


ร่วมกันต่อไป



19 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

5.3.6 จัดทําฐานข้อมูล

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษาจะดําเนินการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูล

สถานประกอบการ นักศึกษาสหกิจศึกษา ผลงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา ปัญหา/อุปสรรค และข้อมูลอื่นๆ ที่

เกี่ยวข้องไว้เป็นฐานข้อมูลสําหรับการดําเนินงานสหกิจศึกษาต่อไป

















































20 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

5.4 ขั้นตอนการศึกษาในระบบสหกิจศึกษา



เริ่มต้นกระบวนการ
นักศึกษาลงทะเบียนเรียน
ตามปกติ

แบบพิจารณาคุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา (สก.01) นักศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา



ไม่ผ่าน
ตรวจสอบ

คุณสมบัติขั้นต้น
แบบสํารวจและเสนองานสหกิจศึกษา (สก.02)
ใบสมัครงาน (สก.03) ผ่าน
แบบคําร้องขอหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษา - นักศึกษากรอกแบบฟอร์มการสมัครงาน
สหกิจศึกษา (สก.04) - นักศึกษาเลือกสถานประกอบการ
แบบยืนยันการตอบรับนักศึกษาสหกิจศึกษา (สก.05)

ไม่ผ่าน


ตรวจสอบคุณสมบัติ
ขั้นสุดท้าย

หนังสือสัญญาการเข้ารับการปฏิบัติงาน ผ่าน
สหกิจศึกษา(สก.06)
อบรมเตรียมความพร้อมและปฐมนิเทศ
นักศึกษาก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

แบบแจ้งรายละเอียดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา(สก.07)
แบบแจ้งแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.08) นักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (16 สัปดาห์)
แบบแจ้งโครงร่างรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.09)
แบบบันทึกรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.10) นักศึกษานําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
แบบขออนุมัติการออกนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา (สก.11)
แบบแจ้งยืนยันการออกนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา (สก.12) ประเมินผล
แบบประเมินผลการนิเทศงานสหกิจศึกษา (สก.13)
ผ่าน

นักศึกษาผ่านรายวิชาสหกิจศึกษา
แบบสอบถามนักศึกษาสหกิจศึกษาเกี่ยวกับสถานประกอบการ (สก.14)
แบบประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.15)
แบบประเมินผลการนําเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.16) จบกระบวนการ
แบบประเมินผลรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.17)









21 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 6 ข้อแนะนําและแนวปฏิบัติ


สําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา






6.1 แนวปฏิบัติสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา



เพื่อให้การเตรียมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ

เพื่อให้นักศึกษาสหกิจศึกษามีคุณสมบัติพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการศูนย์ประสานงานและส่งเสริม

สหกิจศึกษา ได้กําหนดระเบียบให้นักศึกษาสหกิจศึกษาถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับสหกิจศึกษา ดังนี้

6.1.1 การขอเปลี่ยนการปฏิบัติงาน เมื่อนักศึกษายื่นใบสมัครงานแล้วประสงค์จะขอเลื่อนการไป

ปฏิบัติงานให้ยื่นคําร้องทั่วไป ขอเลื่อนการไปปฏิบัติงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา/หัวหน้าสาขาวิชา/

คณบดี/ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา ก่อนวันประกาศผลการปฏิบัติงานในภาคการศึกษา

นั้น

6.1.2 เมื่อประกาศผลการคัดเลือกแล้ว นักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานทุกคนจะลาออกหรือเลื่อนการออก

ปฏิบัติงานไม่ได้

6.1.3 นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานแล้วจะลาออกจากโครงการฯ หรือเลื่อนเวลาไปปฏิบัติงานไม่ได้โดยเด็ดขาด

ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น

6.1.4 นักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาตามภาคการศึกษาปกติที่กําหนดโดย

คณะ/สาขาวิชา


6.1.5 การยื่นขอคําร้องสําเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาสามารถทําได้โดย

จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ การลงทะเบียนเรียน และระเบียบการแจ้งขอสําเร็จการศึกษาตามที่วิทยาลัยฯ กําหนด

ไว้ วันสําเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนจบนั้น จะถือเอาวัน

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ เป็นวันกําหนดที่นักศึกษาสําเร็จการศึกษา ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมหลัง

ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาให้ครบถ้วนตามกําหนดระยะเวลาที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษากําหนดไว้






22 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

6.2 การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุสําหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา


ทางวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้เล็งเห็นความสําคัญในเรื่องสุขภาพของนักศึกษา จึงได้จัดทําประกัน

อุบัติเหตุกับบริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด ให้นักศึกษาทุกคนเพื่อเป็นสวัสดิการแก่นักศึกษา ดังนี้

6.2.1 นักศึกษาจะได้รับการคุ้มครองอุบัติเหตุ ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดปีการศึกษา

6.2.2 นักศึกษาจะได้รับค่าสินไหม ค่ารักษาพยาบาลของการประสบอุบัติเหตุ แต่ละครั้งในวงเงินไม่เกิน

12,000 บาท และในกรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าตอบแทนในวงเงิน 120,000 บาท

6.2.3 นักศึกษาจะได้รับบัตรประกันอุบัติเหตุทุกคนโดยสามารถนําบัตรประกันอุบัติเหตุยื่นเพื่อขอเข้ารับ


การรักษาตามโรงพยาบาลดังต่อไปนี้ โดยไม่ต้องชําระค่าใช้จ่ายใดๆ ดังนี้

 โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1,3,9

 โรงพยาบาลเมืองสมุทร

 โรงพยาบาลสําโรงการแพทย์

 โรงพยาบาลศิครินทร์

 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี

 โรงพยาบาลอ่าวอุดม

 ฯลฯ

ในกรณีที่นักศึกษาสํารองค่าใช้จ่ายไปก่อน นักศึกษาสามารถติดต่อขอรับเงินค่าสินไหมทดแทน โดยนําใบ


เสร็จรับเงินพร้อมใบรับรองแพทย์ตัวจริง มายื่นขอรับเงินคืนได้ที่ห้องสํานักการคลัง วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
ในเวลาทําการ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.























23 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 7





การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา




มาตรฐานสหกิจศึกษาด้านนักศึกษาได้กําหนดมาตรฐานให้นักศึกษาจะต้องจัดทําและส่งรายงานการ

ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ดังนั้น การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน

สหกิจศึกษาจึงเป็นกิจกรรมบังคับของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาสําหรับนักศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อฝึกฝน


ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication Skill) ของนักศึกษาและเพื่อจัดทําข้อมูลที่เป็นประโยชน์สําหรับสถาน
ประกอบการ


7.1 รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา



รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (Co-op Report) เป็นรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย

หรือโครงงานหรือรายงานการปฏิบัติงานที่นักศึกษาปฏิบัติหรือที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งนักศึกษาจะต้องเขียนใน

ระหว่างการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการภายใต้การกํากับดูแลของพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (Job

Supervisor) อย่างไรก็ตามนักศึกษาควรขอรับคําปรึกษาจากพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเพื่อร่วมกันพิจารณา

กําหนดหัวข้อรายงานที่มีคุณภาพ เหมาะสมสอดคล้อง โดยคํานึงถึงความต้องการและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อ

สถานประกอบการเป็นหลักสอดคล้องกับความสนใจของนักศึกษาและสามารถสะท้อนองค์ความรู้ในสาขาวิชา ทั้งนี้

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอาจจะจัดทําเป็นกลุ่มมากกว่า 1 คนก็ได้ ขึ้นอยู่กับ

ลักษณะของงานปริมาณคุณภาพของงาน ตัวอย่างของหัวข้อรายงาน ได้แก่

7.1.1 ผลงานวิจัยที่นักศึกษาปฏิบัติ

7.1.2 โครงงานหรือชิ้นงานที่นักศึกษาปฏิบัติ

7.1.3 รายงานการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ

7.1.4 รายงานวิชาการที่นักศึกษาสนใจซึ่งสอดคล้องกับสาขาวิชาและ

ได้รับการรับรองทั้งจากพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา


7.1.5 การสรุปข้อมูลหรือสถิติบางประการที่เกี่ยวข้องและสะท้อนองค์ความรู้ในสาขาวิชา
7.1.6 การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเป็นต้น



24 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

ภายหลังจากการร่วมพิจารณากําหนดหัวข้อรายงานกับพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาได้เรียบร้อยแล้ว

นักศึกษาจะต้องจัดทําโครงร่างเนื้อหารายงานตามแบบแจ้งโครงร่างรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (สก.09)

และจัดส่งข้อมูลดังกล่าวมาที่ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสหกิจศึกษา ภายในสัปดาห์ที่ 3 เพื่อจัดส่งให้อาจารย์ที่

ปรึกษาสหกิจศึกษาต่อไป

อย่างไรก็ตามในการเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่ดีจะต้องมีความถูกต้องชัดเจน กระชับ และ

มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่จะนําเสนอ สําหรับรูปแบบของรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจะต้องประกอบด้วย

หัวข้อต่างๆ ดังนี้

1.ส่วนนํา เป็นส่วนประกอบตอนต้นของเล่มรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาก่อนที่จะเข้าถึงเนื้อหาของ


รายงาน ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและเข้าถึงรายละเอียดเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ ของรายงาน โดยในส่วนนําจะ

ประกอบด้วย

 ปกนอก

 ปกใน

 จดหมายนําส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

 หน้าอนุมัติรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

 กิตติกรรมประกาศ

 บทคัดย่อภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ

 สารบัญเรื่อง


 สารบัญตาราง

 สารบัญภาพ

2. ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนสําคัญที่สุดของรายงานที่นักศึกษาจะต้องเขียนรายงานข้อมูลรายละเอียดเกี่ยว

กับเกี่ยวกับการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ โดยรายละเอียดในส่วนเนื้อเรื่องประกอบด้วย

บทที่ 1 บทนํา โดยเนื้อหาในบทนี้จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลรายละเอียดของสถานประกอบการที่

นักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ เช่น

 หลักการและเหตุผล ของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือของโครงงานที่นักศึกษาได้รับ

มอบหมายให้ปฏิบัติ






25 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

 วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย

โดยนักศึกษาอาจขอรับคําปรึกษาจากพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเพื่อกําหนดว่าตลอด

ระยะเวลาการปฏิบัติงานนักศึกษาจะต้องได้รับผลสําเร็จอะไรบ้างจากการปฏิบัติงานใน

หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

 ขอบเขตของการปฏิบัติงาน/โครงงาน โดยเป็นการระบุว่างานที่ปฏิบัติหรือโครงงานนั้น

ครอบคลุมเนื้อหาเป้าหมาย ระยะเวลาในการดําเนินงานอย่างไร


 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการและงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อาทิ

 ชื่อและที่ตั้งของสถานประกอบการ

 ลักษณะการประกอบการ ผลิตภัณฑ์/ผลิตผล หรือการให้บริการหลักขององค์กร


 รูปแบบการจัดองค์กรและการบริหารงานขององค์กร

 ตําแหน่งและลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ

 พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และตําแหน่งงานของพนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา


 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

 ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย

บทที่ 2 รายละเอียดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เนื้อหาในบทนี้จะเป็นรายละเอียดของลักษณะ

งานและขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน โดยนักศึกษาจะต้องเขียนอธิบายการ

ปฏิบัติงานอย่างละเอียด ชัดเจน พร้อมแสดงภาพ แผนภูมิ ตาราง แบบฟอร์ม ต่างๆ ที่จําเป็นและเกี่ยวข้องกับการ

ปฏิบัติงาน ในกรณีงานที่ปฏิบัติมีการคํานวณจะต้องแสดงหลักการคํานวณที่ชัดเจนถูกต้อง หากเป็นโครงงานหรือ

งานประจําที่ต้องทําในห้องปฏิบัติการทดลอง จะต้องอธิบายเครื่องมือปฏิบัติการที่ใช้ด้วย

บทที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการสรุปข้อมูลที่มีความจําเป็น

สําหรับการวิเคราะห์ โดยนําข้อมูลเหล่านั้นมาทําการวิเคราะห์โดยอ้างอิงหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องประกอบ รวมทั้งมี

ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยเน้นในด้านการนําไปใช้ประโยชน์ได้ใน

อนาคต และสรุปผลที่นักศึกษาได้รับจากการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้ง


ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการทั้งหมด







26 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

บทที่ 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะ เนื้อหาในบทนี้จะบอกถึงปัญหาและอุปสรรคจากการ

ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เช่น ระบบการทํางาน , วัฒนธรรมขององค์กร , ความรู้สึกในการร่วมงานกับหัวหน้างาน

พนักงานที่ปรึกษาสหกิจศึกษา หรือเพื่อนร่วมงานอื่นๆ รวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา หรือปัญหาต่างๆ ที่

เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ

3.ส่วนประกอบตอนท้าย เป็นส่วนเพิ่มเติมเพื่อทําให้รายงานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นประกอบด้วย

 เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม


 ภาคผนวก (ต้องมี)

- ใบรับรองการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (จากสถานประกอบการ)

- แบบบันทึกการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (16 สัปดาห์)

- รูปถ่ายอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (ตอนไปนิเทศ)

- รูปถ่ายนักศึกษาสหกิจศึกษาขณะปฏิบัติงาน

เพื่อให้การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษามีรูปแบบและเป็นบรรทัดฐาน

เดียวกัน จึงขอกําหนดการจัดทํารูปเล่มรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยใช้รูปแบบดังต่อไปนี้

 จัดพิมพ์บนกระดาษขนาดมาตรฐาน A4 สีขาวสุภาพ โดยจัดพิมพ์หน้าเดียว

 จัดพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 ปกติ และขนาด

ตัวอักษร 20 หนา สําหรับ บทที่ และ ชื่อของบทแต่ละบท

 จัดพิมพ์ในแนวตั้งเป็นหลัก โดยอาจจะมีรูปภาพหรือตารางแสดงในแนวนอนได้ตาม

ความจําเป็นของข้อมูลที่จะต้องนําเสนอ

 การเว้นขอบกระดาษกําหนดให้มีรูปแบบ ดังนี้


- ขอบบน 1.5 นิ้ว

- ขอบล่าง 1.0 นิ้ว

- ขอบซ้าย 1.5 นิ้ว

- ขอบขวา 1.0 นิ้ว

 การตั้ง Tab

- ตําแหน่งของ Tab หยุด 1.6 , 2.06 , 2.54 , 3.02 , 3.5 และ Tab เริ่มต้น

1.6 ซม.



27 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

 ความหนาของรายงานประมาณ 40-70 หน้า ไม่รวมส่วนนําและภาคผนวกและต้องระบุ

เลขหน้าด้านขวามุมบนของกระดาษ

 ปกนอกของรายงานให้ใช้ปกแข็งสีม่วงอ่อนไม่มีลวดลาย

 การเข้าเล่มรายงานให้เข้าเล่มแบบสันกาวเท่านั้น


 ให้นักศึกษาจัดทําบทความสหกิจศึกษา (ตามรูปแบบที่กําหนด) หลังจากรายงานฉบับ
สมบูรณ์เสร็จเรียบร้อย


 บันทึกเนื้อหาทั้งหมด ประกอบด้วย รายงานฉบับสมบูรณ์ และ บทความสหกิจศึกษา

ใส่ CD



จํานวนการจัดทําและจัดส่ง มีดังนี้

เล่มรายงาน บทความ CD


อาจารย์ประจําสาขา 1 - 1

ศูนย์สหกิจฯ - 1 1


รวม 1 1 2




หมายเหตุ : CD ให้ติดที่ข้างในของปกหลัง




























28 | คู่ มื อสหกิ จศึ กษา

ภาคผนวก

รูปแบบ




การทํารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

การทํารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา



คู่มือการทํารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ ได้ทําการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับรูปเล่ม

รายงานการปฎิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาที่ออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ส่วนประกอบของรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยในส่วนนี้จะระบุถึงส่วนประกอบของ

เล่มรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนนํา ส่วนเนื้อหา และ ส่วนท้าย
ส่วนที่ 2 การพิมพ์รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในส่วนนี้จะอธิบายถึงข้อกําหนดต่างๆ ในการจัดทํา

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา อาทิ การตั้งค่าหน้ากระดาษ รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร การอ้างอิง ฯลฯ

เป็นต้น
โดยมีรายละเอียด ดังนี้


1. ส่วนประกอบของรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนนํา ส่วนเนื้อหา และ ส่วนท้าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ส่วนนํา ประกอบส่วนต่าง ๆ เรียงตามลําดับดังต่อไปนี้

1.1.1 ปกนอก เป็นปกแข็งสีม่วงอ่อน
1.1.2 ปกใน อยู่ถัดจากกระดาษเปล่า ตามด้วยปกใน ในกรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 1 คน ให้เว้น 1

บรรทัดระหว่างชื่อผู้แต่ง

1.1.3 ใบขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา อยู่ถัดจากปกใน
1.1.4 ใบอนุมัติรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา อยู่ถัดจาก ใบขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจ

ศึกษา ประกอบด้วย
1.1.4.1 ชื่อเรื่อง

1.1.4.2 ชื่อผู้จัดทํารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
1.1.4.3 สาขาวิชา

1.1.4.4 คณะ

1.1.4.5 อาจารย์ที่ปรึกษา
1.1.4.6 ปีการศึกษาที่จบ

1.1.4.7 ลายมือชื่อจริงของอาจารย์ที่ปรึกษา/พนักงานที่ปรึกษา รวมถึงลายมือชื่อคณบดี
ของแต่ละคณะ (กรณีมีพนักงานที่ปรึกษามากกว่า 1 คน ให้ใส่ชื่อคนใดคนหนึ่ง)

1.1.4.8 ระบุคําว่า ลิขสิทธิ์ของสาขาวิชา/คณะของตนเอง วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

1.1.5 บทคัดย่อ จัดทําเป็นบทคัดย่อภาษาไทย อยู่ถัดจากหน้าอนุมัติรายงาน โดยเนื้อหาของ

บทคัดย่อเป็นการย่อเนื้อหาทั้งหมดของโครงงานหรือการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา ต้องสรุปให้สั้น
กระชับ ชัดเจน ควรประกอบด้วยวัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงงาน/การปฏิบัติงาน วิธีการดําเนินงาน ผลการ

ดําเนินงาน รวมถึงข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ให้เขียนเป็นความเรียงต่อเนื่อง

1.1.6 กิตติกรรมประกาศ อยู่ถัดจากบทคัดย่อ เป็นข้อความกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือและ
ความร่วมมือจนโครงงานและการปฏิบัติงานในสถานประกอบการสําเร็จลุล่วงด้วยดี และหากโครงงานใดได้รับ

ทุนอุดหนุนในการดําเนินงาน ควรระบุแหล่งที่มาของทุนอุดหนุนด้วย
1.1.7 สารบัญ อยู่ถัดจากกิตติกรรมประกาศ เป็นรายการที่แสดงส่วนประกอบที่สําคัญทั้งหมดของ

รายงาน หากสารบัญไม่จบในหนึ่งหน้าให้พิมพ์คําว่า “สารบัญ (ต่อ)” กลางหน้ากระดาษถัดไป
1.1.8 สารบัญตาราง เป็นส่วนที่แจ้งหมายเลขหน้าของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในรายงานโดยจะอยู่ถัดจาก

สารบัญ หากสารบัญตารางไม่จบในหนึ่งหน้าให้พิมพ์คําว่า “สารบัญตาราง (ต่อ)” กลางหน้ากระดาษถัดไป

1.1.9 สารบัญภาพ เป็นส่วนที่แจ้งหมายเลขหน้าของภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในรายงานโดยจะอยู่ถัดจาก
สารบัญตาราง หากสารบัญภาพไม่จบในหนึ่งหน้าให้พิมพ์ “สารบัญภาพ (ต่อ)” กลางหน้ากระดาษถัดไป

1.1.10 คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อ (ถ้ามี) อยู่ถัดจากสารบัญภาพ เป็นส่วนที่อธิบายถึงสัญลักษณ์

และคําย่อต่าง ๆ ที่ใช้ในรายงานการปฏิบัติงาน ทั้งนี้สัญลักษณ์และคําย่อมีความหมายเดียวกันตลอดทั้งเล่ม และให้
พิมพ์เรียงตามลําดับตัวอักษร


1.2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

1.2.1 บทนํา เป็นบทแรกของรายงานการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.2.1.1 หลักการและเหตุผล

1.2.1.2 วัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน/โครงงาน โดยจัดลําดับความสําคัญของวัตถุประสงค์ที่

สําคัญที่สุดไว้ก่อน
1.2.1.3 ขอบเขตของการปฏิบัติงาน/โครงงาน โดยเป็นการระบุว่างานที่ปฏิบัติหรือโครงงาน

นั้นครอบคลุมเนื้อหาเป้าหมาย ระยะเวลาในการดําเนินงานอย่างไร
1.2.1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการและงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อาทิ

- ชื่อและที่ตั้งของสถานประกอบการ

- ลักษณะการประกอบการ ผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการ
- รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน

- ตําแหน่งและลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
- พนักงานที่ปรึกษา และตําแหน่งงานของพนักงานที่ปรึกษา

- ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน

1.2.1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.2.2 รายละเอียดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการทํา

โครงงาน หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ตําแหน่ง หน้าที่งานที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจจะระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตําแหน่ง
นั้น เช่น สังกัดในฝ่ายหรือแผนกใด หน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายหรือแผนกต่อสถานประกอบการ หน้าที่ความ

รับผิดชอบในตําแหน่งของนักศึกษา เป็นต้น
- รายละเอียดของงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ

- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในส่วนขั้นตอนการปฏิบัติงานควรมีการอธิบายถึงรายละเอียดของ
การปฏิบัติงาน แผนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน รวมถึงมีการแสดงภาพ แผนภูมิ ตาราง หรือการคํานวณ การ

ทดลองปฏิบัติการต่างๆ เพื่อประกอบการอธิบายอย่างชัดเจน ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ

- ผลการปฏิบัติงาน ควรแสดงให้เห็นถึงผลสําเร็จของการปฏิบัติงานหรือผลความสําเร็จของ
โครงงานอย่างชัดเจน อาจมีการแสดงข้อมูลประกอบ หรือมีการเปรียบเทียบผลที่ได้รับกับวัตถุประสงค์ของงาน

ปฏิบัติงานหรือโครงงานที่กําหนดไว้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

1.2.3 สรุปผลการปฏิบัติงาน นําเสนอผลการปฏิบัติงานโดยสรุป โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สรุปผลการปฏิบัติงาน

- ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับจากการปฏิบัติงาน/โครงงาน
- ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการปฏิบัติงาน/โครงงาน (อาจนําเสนอแนวคิดหรือทฤษฎีที่

นักศึกษาได้นํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประกอบ)
1.2.4 ปัญหาและข้อเสนอแนะ ควรมีการระบุประเด็นปัญหาที่พบในระหว่างปฏิบัติงาน/โครงงาน

และแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงงาน การนําไปใช้

ประโยชน์ของสถานประกอบการ และการพัฒนาทางด้านวิชาการของวิทยาลัย ทั้งนี้อาจมีหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- ปัญหาในการปฏิบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหา

- ข้อเสนอแนะสําหรับสถานประกอบการ
- ข้อเสนอแนะสําหรับวิทยาลัย (ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ด้านสหกิจศึกษา)

- ข้อเสนอแนะสําหรับนักศึกษา

ทั้งนี้ ข้อมูลในส่วนเนื้อหาควรได้รับการตรวจสอบจากผู้นิเทศงานสหกิจศึกษา (พนักงานพี่เลี้ยง) ก่อนเพื่อ
ป้องกันไม่ให้มีการนําเสนอข้อมูลส่วนที่เป็นความลับของสถานประกอบการทั้ง และในกรณีที่ข้อมูลที่เป็นความลับ

นักศึกษาควรทํารายงานขั้นมาสองฉบับ โดยฉบับแรกเป็นรายงานจริงสําหรับเก็บไว้ใช้ประโยชน์ ณ สถาน

ประกอบการ ส่วนอีกฉบับมีเป็นรายงานที่มีเฉพาะข้อมูลในส่วนที่สามารถเปิดเผยได้เท่านั้น เพื่อนําส่งต่อวิทยาลัย

ต่อไป


1.3 ส่วนท้าย ประกอบด้วย

1.3.1 เอกสารอ้างอิง เป็นส่วนที่แสดงรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่ใช้สําหรับการค้นคว้าอ้างอิง
ประกอบการเขียนรายงาน โดยจะอยู่ถัดจากส่วนเนื้อหาและก่อนภาคผนวก

1.3.2 ภาคผนวก (ถ้ามี) เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรายงาน
ให้มากขึ้น ซึ่งอาจมีหรือไม่มีก็ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น

1.3.3 ประวัตินักศึกษา เป็นส่วนแสดงข้อมูลของนักศึกษาผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา กรณีที่มีมากกว่า
1 คน ในพิมพ์ประวัติทุกคนในส่วนนี้



2. การพิมพ์รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา


2.1 กระดาษที่ใช้พิมพ์
กระดาษที่ใช้พิมพ์จะต้องเป็นกระดาษปอนด์สีขาวพิเศษ ไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 (กว้าง

210 ม.ม. และยาว 297 ม.ม.) น้ําหนัก 80 กรัมต่อตารางเมตร ใช้พิมพ์เพียงหน้าเดียวตลอดทั้งเล่ม

2.2 การตั้งขอบกระดาษ เว้นขอบระยะห่างจากริมกระดาษดังนี้
2.2.1 ขอบกระดาษด้านบนให้เว้น 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ยกเว้น หน้าที่ขึ้นบทใหม่ของแต่ละบท

ให้เว้น 5.08 เซนติเมตร (2 นิ้ว)

2.2.2 ขอบกระดาษด้านล่างและด้านขวามือ ให้เว้น 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว)
2.2.3 ขอบกระดาษด้านซ้ายมือ ให้เว้น 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

2.3 การลําดับหน้าและเลขหน้า
2.3.1 การลําดับหน้าในส่วนนํา ตั้งแต่ “ใบขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา” ถึง “คําอธิบาย

สัญลักษณ์และคําย่อ” (ถ้ามี) ให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลําดับพยัญชนะในภาษาไทย ก, ข, ค, . . . โดยให้พิมพ์ไว้
ด้านบนขวามือ ระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.27 เซนติเมตร (0.5 นิ้ว) ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New

ขนาด 16 พอยท์ ตัวปกติ

2.3.2 การลําดับหน้าในส่วนเนื้อหาและส่วนท้าย ให้ใช้ตัวเลขอารบิค 1, 2, 3, . . . กํากับหน้า
เรียงลําดับตลอดทั้งเล่ม โดยให้พิมพ์ไว้ด้านบนขวามือ ระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.27 เซนติเมตร (0.5

นิ้ว) ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 พอยท์ ตัวปกติ ยกเว้น หน้าแรกของบทที่ขึ้นบทใหม่ และหน้า
แรกของภาคผนวกแต่ละภาค ไม่ต้องใส่เลขหน้ากํากับแต่ให้นับจํานวนหน้ารวมไปด้วย

2.4 การพิมพ์

2.4.1 การพิมพ์ปกนอกรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ให้พิมพ์โดยใช้ตัวอักษรสีดํา แบบอักษร
TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 18 พอยท์ ตัวหนา ด้านบนมีตราวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ขนาด ยาว 3.15

cm (1.24 นิ้ว) กว้าง 3.12 cm (1.23 นิ้ว)






3.15





3.12

2.4.2 การพิมพ์ปกใน ให้ใช้สี แบบอักษร ขนาดอักษรเช่นเดียวกับปกนอก แต่ไม่ต้องมีตราวิทยาลัย

เซาธ์อีสท์บางกอก
2.4.3 การพิมพ์ในส่วนเนื้อหาตลอดทั้งเล่ม ให้ใช้อักษรสีดํา แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด

ตัวอักษร 16 พอยท์ โดยให้จัดบรรทัดเป็นแบบการกระจายแบบไทย (Thai Distributed)

ยกเว้นในส่วนของการพิมพ์หัวห้อสําคัญ ส่วนการอ้างอิง ข้อมูลหรือรายละเอียดภายในตาราง คําอธิบายรูปภาพ
และส่วนอื่นๆ ที่ได้มีการระบุรูปแบบการพิมพ์ และการจัดชิดขอบไว้เป็นอย่างอื่น

2.4.4 การพิมพ์บทที่ เมื่อขึ้นบทใหม่ให้ขึ้นหน้าใหม่เสมอและมีเลขประจําบทโดยให้ใช้เลขอารบิค
เท่านั้น เช่น การพิมพ์บทที่ 1 ให้พิมพ์คําว่า “บทที่ 1” ไว้ตรงกลางตอนบนสุดของหน้ากระดาษ ส่วนชื่อบทให้พิมพ์

ไว้กลางหน้ากระดาษในบรรทัดถัดไปโดยไม่ต้องเว้นบรรทัด การพิมพ์บทที่และชื่อบทให้ใช้ดํา แบบอักษร TH

Sarabun New ขนาดตัวอักษร 20 พอยท์ ตัวหนา สําหรับบรรทัดถัดไปให้เว้น 1 บรรทัดปกติจากชื่อบท (ขนาด 16
พอยท์)

2.4.5 หัวข้อใหญ่ คือ หัวข้อที่จัดแบ่งเนื้อเรื่องภายในบทนั้นออกเป็นส่วนๆ โดยให้พิมพ์เว้นจาก
บรรทัดด้านบน 1 บรรทัดปกติ (ขนาด 16 พอยท์) พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้ายมือ ให้ใช้หมายเลขประจําบทตาม

ด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยหมายเลขลําดับของหัวข้อใหญ่ แล้วเว้น 2 ตัวอักษร พิมพ์ชื่อหัวข้อ โดย
ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา สําหรับบรรทัดถัดไปให้เว้น 1/2 บรรทัดปกติ

(ขนาด 8 พอยท์)

2.4.6 หัวข้อย่อย คือ หัวข้อที่แบ่งย่อยจากหัวข้อใหญ่ โดยให้พิมพ์เว้นจากบรรทัดด้านบน 1/2
บรรทัดปกติ (ขนาด 8 พอยท์) พิมพ์ย่อหน้าโดยเว้นระยะให้ตรงกับตัวอักษรตัวแรกของชื่อหัวข้อใหญ่นั้น ๆ ให้ใช้

หมายเลขของหัวข้อใหญ่ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และตามด้วยหมายเลขลําดับของหัวข้อย่อยนั้นๆ พิมพ์

ด้วยแบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวปกติ บรรทัดต่อไปให้พิมพ์โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด
2.4.7 คําศัพท์ภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์เป็นภาษาไทยและวงเล็บเป็นภาษาต่างประเทศในครั้งแรก

ที่กล่าวถึง หลังจากนั้นไม่ต้องวงเล็บอีก สําหรับการพิมพ์เป็นภาษาไทยอาจยึดตามการบัญญัติศัพท์ที่ทําไว้แล้วโดย

ราชบัณฑิตยสถาน หรือตามความเหมาะสม แต่ให้ใช้เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม


ตัวอย่างการพิมพ์บทที่ หัวข้อใหญ่ และห้วข้อย่อย


บทที่ 2

รายละเอียดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา



1.1 ตําแหน่ง หน้าที่งานที่ได้รับมอบหมาย

1.1.1 ตําแหน่งที่ได้รับมอบหมาย



2.5 การพิมพ์ตาราง ภาพประกอบ และสมการ

การพิมพ์ตาราง ภาพประกอบ และสมการ ให้พิมพ์โดยใช้ TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16

พอยต์ สีดํา โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
2.5.1 ตาราง ให้พิมพ์กํากับไว้ด้านบนของตารางนั้น พิมพ์แทรกเข้าไปในส่วนของเนื้อเรื่องที่มีการ

กล่าวถึง โดยเว้น 1 บรรทัดจากบรรทัดบน พิมพ์คําว่า “ตารางที่” ชิดริมขอบกระดาษซ้ายมือ ตามด้วยเลขที่ลําดับ
ของตาราง หมายเลขลําดับของตารางให้ใช้หมายเลขบทนําหน้า แล้วตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) และ

หมายเลขลําดับของตารางนั้น โดยคําว่าตารางที่และหมายเลขลําดับของตารางให้พิมพ์ด้วยตัวหนา เช่น ตารางที่
1-1 (ตารางที่ 1 ในบทที่ 1), ตารางที่ 2-5 (ตารางที่ 5 ในบทที่ 2), ตาราง ก-1 (ตารางที่ 1 ในภาคผนวก ก) เป็น

ต้น ส่วนชื่อตารางให้พิมพ์ต่อจากหมายเลขลําดับตาราง โดยเว้นวรรค 2 ตัวอักษร พิมพ์ด้วยตัวปกติ ถ้าชื่อตาราง

ความยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้พิมพ์ตัวอักษรแรกของบรรทัดถัดไปตรงกับตัวอักษรแรกของชื่อตารางในบรรทัดที่
1 โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด ตัวอย่างเช่น


ตารางที่ 1.1 แผนการดําเนินงานโครงงานพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการคลังสินค้าของ

บริษัทฯ

ถ้าหากตารางมีความยาวมากจนไม่สามารถบรรจุไว้ในหน้าเดียว ให้พิมพ์ตารางต่อในหน้าถัดไป โดย

พิมพ์คําว่า (ต่อ) แบบตัวหนา ไว้ท้ายหมายเลขลําดับตาราง โดยเว้นวรรคก่อน 2 ตัวอักษร และไม่ต้องพิมพ์ชื่อ
ตารางอีก ดังตัวอย่าง



ตารางที่ 1.1 (ต่อ)


ขนาดของตารางจะต้องอยู่ภายในระยะห่างจากขอบกระดาษตามที่กําหนดในข้อ 2.2 คือ ขนาด
เดียวกับส่วนที่พิมพ์เนื้อเรื่อง ถ้าหากตารางมีความกว้างมากให้ย่อส่วนลงแต่ต้องสามารถอ่านได้ชัดเจน หรืออาจจะ

พิมพ์ตามแนวขวางของกระดาษก็ได้
2.5.2 ภาพ ให้พิมพ์ลําดับที่ของภาพและชื่อภาพเหมือนกับการพิมพ์ตาราง เช่น ภาพที่ 1.1 (ภาพที่

1 ในบทที่ 1), ภาพที่ 1.3 (ภาพที่ 3 ในบทที่ 1) เป็นต้น แต่ให้กํากับไว้ใต้ภาพประกอบกลางหน้ากระดาษโดยภาพ

ใด ๆ ก็ตาม จะต้องทําเป็นภาพอัดสําเนาบนกระดาษให้ชัดเจน ห้ามใช้วิธีการติดภาพ ตัวอย่างการพิมพ์เช่น


ภาพที่ 1.1 โครงสร้างองค์กร


2.5.3 สมการให้พิมพ์เรียงลําดับหมายเลขของสมการตามบทจาก 1 ไปจนจบบทอยู่ภายในวงเล็บ

โดยให้พิมพ์เป็นตัวอักษรธรรมดาและอยู่ชิดกรอบกระดาษด้านขวามือ เช่น สมการที่ 4 ในบทที่ 2 ให้พิมพ์ (2-4),
สมการที่ 3 ในภาคผนวก ข ให้พิมพ์ (ข-3)

2.6 การพิมพ์สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ
ให้พิมพ์คําว่า “สารบัญ” “สารบัญตาราง” “สารบัญภาพ” ไว้กลางหน้ากระดาษ โดยใช้แบบอักษร

TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 20 พอยท์ ตัวหนา แล้วเว้น 1 บรรทัดปกติ (ขนาด 16 พอยท์) แล้วจัดพิมพ์

ดังต่อไปนี้
ในส่วน “สารบัญ” ในบรรทัดถัดมาให้พิมพ์คําว่า “หน้า” โดยให้จัดตําแหน่งชิดขวา ใช้แบบอักษร

TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวหนา แล้วในบรรทัดต่อมาให้พิมพ์ชื่อแต่ละหัวข้อตั้งแต่บทคัดย่อ
ไปจนถึงประวัติผู้วิจัย ในตําแหน่งชิดซ้าย โดยใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวปกติ

โดยในส่วนของแต่ละบทให้แสดงเฉพาะหัวข้อใหญ่ ส่วนเลขหน้าของแต่ละหัวข้อให้จัดตําแหน่งหลักหน่วยไว้ตรงกัน

ในแนวขอบด้านขวา
ในส่วน “สารบัญตาราง” ในบรรทัดถัดมาให้พิมพ์คําว่า “ตารางที่” โดยให้จัดตําแหน่งชิดซ้าย คําว่า

“หน้า” โดยให้จัดตําแหน่งชิดขวา ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวหนา แล้วใน
บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ลําดับเลขที่ตาราง และชื่อตาราง ในตําแหน่งชิดซ้าย โดยใช้แบบอักษร TH Sarabun New

ขนาดตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวปกติ ส่วนเลขหน้าของแต่ละตารางให้จัดตําแหน่งหลักหน่วยไว้ตรงกันในแนวขอบ

ด้านขวา
ในส่วน “สารบัญภาพ” ในบรรทัดถัดมาให้พิมพ์คําว่า “ภาพที่” โดยให้จัดตําแหน่งชิดซ้าย คําว่า

“หน้า” โดยให้จัดตําแหน่งชิดขวา ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวหนา แล้วใน

บรรทัดต่อมาให้พิมพ์เลขลําดับภาพ และชื่อภาพ ในตําแหน่งชิดซ้าย โดยใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด
ตัวอักษร 16 พอยท์ ตัวปกติ ส่วนเลขหน้าของแต่ละภาพให้จัดตําแหน่งหลักหน่วยไว้ตรงกันในแนวขอบด้านขวา

ทั้งนี้ ระหว่างบทต่างๆ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ประวัติผู้วิจัย ให้เว้น 1 บรรทัด
2.7 การพิมพ์เอกสารอ้างอิง อยู่ต่อจากส่วนเนื้อหา และก่อนภาคผนวก ให้พิมพ์คําว่า “เอกสารอ้างอิง”

กลางหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบกระดาษพิมพ์เช่นเดียวกับการเริ่มบทใหม่ และให้เว้น 1 บรรทัดจึงเริ่มพิมพ์รายการ
ของเอกสารอ้างอิง สําหรับรายการของเอกสารอ้างอิงให้เรียงตามลําดับหมายเลขที่ได้กํากับไว้ภายในเครื่องหมาย

วงเล็บสี่เหลี่ยม “[ ]” ที่ได้อ้างถึงในเนื้อหาของรายงาน โดยไม่ต้องเรียงตามตัวอักษร และพิมพ์หมายเลขของทุก

เอกสารให้ชิดกับของกระดาษด้านซ้าย ถ้าข้อความในเอกสารอ้างอิงข้อใดข้อหนึ่งมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด ให้
พิมพ์บรรทัดถัดไปโดยย่อหน้าเว้นระยะ 1.5 เซนติเมตร (0.59 นิ้ว)

2.8 การพิมพ์ภาคผนวก อยู่ถัดจากเอกสารอ้างอิง โดยให้จัดตําแหน่งอยู่กึ่งกลางของหน้ากระดาษ และ

เว้น 1 บรรทัด จึงพิมพ์ชื่อของภาคผนวก ถ้าภาคผนวกมีภาคเดียว ให้ใช้เป็น “ภาคผนวก ก” แต่ถ้ามีหลายภาคให้
ใช้เป็น “ภาคผนวก ก”, “ภาคผนวก ข” ฯลฯ และให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อขึ้นภาคผนวกใหม่ ใช้แบบอักษร TH

Sarabun New ขนาดตัวอักษร 20 พอยท์ ตัวหนา
2.9 การพิมพ์ประวัติผู้แต่ง จะอยู่อยู่ถัดจากภาคผนวก ประกอบด้วยชื่อโครงาน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อ-

นามสกุล นักศึกษาผู้ทํารายงานการปฏิบัติงาน คณะ สาขา ที่อยู่ และประวัติการศึกษา (ดูจากตัวอย่างประกอบ)
2.10 การทําสําเนา จะต้องมีความชัดเจนและถูกต้องเช่นเดียวกันกับต้นฉบับ และทุกเล่มต้องมีลายมือชื่อ

จริงของคณะกรรมการสอบทุกคน

TH Sarabun New #20 หนา


ภาคผนวก ก



ตัวอย่างการพิมพ์รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

(การพิมพ์ข้อความปกนอก)







TH Sarabun New #18 หนา

ทั้งหน้า


รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา





(ชื่อหัวข้อรายงาน)

_________________________________________________
______________________________________

_________________________





(ชื่อผู้แต่งภาษาไทย)
ชื่อ**นามสกุล รหัสนักศึกษา











รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสหกิจศึกษา

สาขาวิชา คณะ

วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

ปีการศึกษา

(การพิมพ์ข้อความปกใน)


TH Sarabun New #18 หนา
ทั้งหน้า

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา





(ชื่อหัวข้อรายงาน)

_________________________________________________

______________________________________

_________________________







(ชื่อผู้แต่งภาษาไทย)

ชื่อ**นามสกุล รหัสนักศึกษา














ปฏิบัติงาน ณ
ชื่อบริษัท

ที่อยู่บริษัท

การพิมพ์หน้าจดหมายนําส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา




วันที่..........เดือน.............พ.ศ................
เรื่อง ขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

เรียน .......(ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา).......................
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาการ.........................


ตามที่ข้าพเจ้า นาย/นางสาว......................................................นักศึกษาสาขาวิชาการ................................

คณะ.........................วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาระหว่างวันที่.........เดือน...........พ.ศ..........

ถึงวันที่........เดือน...........พ.ศ......... ในตําแหน่ง...........ณ สถานประกอบการ บริษัท.................................................
และได้รับมอบหมายจากพนักงานที่ปรึกษาให้นักศึกษาจัดทํา....................................................................................

บัดนี้การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาได้สิ้นสุดลงแล้วข้าพเจ้าจึงใคร่ขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

ดังกล่าวมาพร้อมนี้จํานวน.........เล่ม เพื่อขอรับคําปรึกษาต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา







ขอแสดงความนับถือ

..................(ลายเซ็น)..............................
(นางสาว/นาย.........................................)

..................(ลายเซ็น)..............................
(นางสาว/นาย.........................................)







**กรณีทํารายงานการปฏิบัติงาน 2 คน/1 เล่ม ลงชื่อทั้ง 2 คน**

การพิมพ์ข้อความในหน้าอนุมัติรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
TH Sarabun New #16 หนา

ชื่อโครงงาน
ชื่อนักศึกษา


สาขาวิชา

คณะ

อาจารย์ที่ปรึกษา


ปีการศึกษา TH Sarabun New #16 ธรรมดา


อนุมัติให้โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์

บางกอก ประจําภาคเรียนที่...........ปีการศึกษา.................


รายชื่อผู้อนุมัติรายงาน ลายมือชื่อ

อาจารย์..........................................

อาจารย์ที่ปรึกษา

พนักงานที่ปรึกษา.............................

พนักงานที่ปรึกษา




( )

คณบดีคณะ

ลิขสิทธิ์ของสาขาวิชา
คณะ

วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

การพิมพ์บทคัดย่อ
TH Sarabun New #20 หนา

บทคัดย่อ


<เว้น 1 บรรทัด>
(ให้เว้นย่อหน้า 1 เซนติเมตร)__________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

การพิมพ์กิตติกรรมประกาศ


กิตติกรรมประกาศ

<เว้น 1 บรรทัด>

(ให้เว้นย่อหน้า 1 เซนติเมตร)__________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
______________________________________________________________________________

______________________________________________________________________________
<เว้น 2 บรรทัด>



ชื่อ-นามสกุล ผู้จัดทํารายงาน (ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ)


Click to View FlipBook Version