The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by neeno_ict, 2021-11-02 04:54:07

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ความรู้พืน้ ฐานโครงงานวิทยาศาสตร์ | หน้า 1

แนวทางการศึกษาชุดการเรียนรู้

การศึกษาเนือ้ หาสาระของหนว่ ยนี้ให้นักเรียนปฏบิ ัติดงั น้ี
1. ศึกษาขอบขา่ ยเน้ือหา สาระสำคัญ และจดุ ประสงค์การเรียนรู้
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรยี น
3. ศึกษาเนื้อหาสาระโดยละเอียดในแตล่ ะเร่ืองและทำกจิ กรรม
4. ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรยี นรู้

ถ้าได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 80 ใหก้ ลับไปศกึ ษาใหม่
จนกว่าจะได้คะแนนไม่ต่ำกวา่ รอ้ ยละ 80
5. ไมค่ วรเปิดดเู ฉลยก่อนทำแบบทดสอบ

ความรูพ้ ้ืนฐานโครงงานวิทยาศาสตร์ | หน้า 2

ขอบขา่ ยของเนอ้ื หา สาระสำคัญและจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้

➢ ขอบข่ายของเน้อื หา
เร่อื งท่ี 1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
เรือ่ งท่ี 2 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
เรอ่ื งท่ี 3 คุณค่าและความสำคญั ของโครงงานวทิ ยาศาสตร์

➢ สาระสำคัญ
1. โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง เป็นงานวิจัย ของนักเรียนซึ่งเป็นกิจกรรมท่ี นักเรียน

ไดค้ ิดทดลองสำรวจ หรือประดิษฐ์คิดคันตามที่นักเรียนสนใจโดยไดล้ งมือปฏิบัติจริงโดยนำวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรแ์ ละ เจตคตทิ างวิทยาศาสตรม์ าใชจ้ นสำเร็จ

2. โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ประเภททดลอง
ประเภทสำรวจรวบรวมขอ้ มูล ประเภทส่ิงประดษิ ฐ์ และโครงงานประเภททฤษฎี

3. การทำโครงงานและการจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมี คุณค่า
ทางด้านการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำเอาวิธีการทาง
วิทยาศาสตรไ์ ปใชใ้ นการแกป้ ญั หา ประดิษฐค์ ดิ ค้น หรอื คนั ควา้ หาความรตู้ ่าง ๆ ดว้ ยตนเอง
➢ จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
เม่ือศึกษากจิ กรรมการเรียนรโู้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์แล้วผู้เรียนสามารถ

1. บอกความหมายของโครงงานวทิ ยาศาสตร์ได้
2. บอกประเภทของโครงงานวิทยาศาสตรไ์ ด้
3. อธิบายคณุ คา่ และความสำคัญของโครงงานวทิ ยาศาสตรไ์ ด้

ความรู้พ้นื ฐานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ | หน้า 3

เร่ืองท่ี 1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมที่นักเรียนได้คิดทดลองสำรวจเพื่อค้นหาคำตอบ
ที่ นักเรียนสนใจโดยได้ลงมือปฏิบัติจริงทำให้สามารถตอบปัญหาโดยนำวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ เจตคติทางวิทยาศาสตร์มาใช้จน
สำเรจ็ (วมิ ลศรี สวุ รรณรัตน์ และมานะ ทิพยค์ รี ี ,2544 : 1)
โครงงานวิทยาศาสตร์
- เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนริเริ่มและเลือกท่ีจะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและ

ระดบั ความรูค้ วามสามารถ
- เปน็ กจิ กรรมทผ่ี ู้เรยี นใชว้ ธิ กี ารทางวทิ ยาศาสตรใ์ นการศึกษากนั ควา้ เพ่ือตอบปญั หาท่ีสงสัย
- เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการ

ปฏิบัติทดลองหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการแปลผล สรุปผลและเสนอผลการศึกษา
คน้ ควา้ ดว้ ยตนเอง โดยมคี รอู าจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒเิ ป็นผใู้ หค้ ำปรึกษา
- เปน็ กิจกรรมทีผ่ เู้ รียนริเริ่มและเลือกท่ีจะศึกษาค้นคว้าดว้ ยตนเอง ตามความสนใจและระดับ
ความรู้ความสามารถ (สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2536:2)

ดังน้ันโครงงานวิทยาศาสตร์ จงึ เป็นกจิ กรรมที่ผเู้ รยี นเปน็ ผสู้ นใจ ริเรม่ิ ศกึ ษา สำรวจ
ทดลอง ประดิษฐ์ พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมา ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการ
ดำเนินการโดยมีครู อาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการทำโครงงานเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนประสบความสำเร็จและสามารถนำเสนอผลงานได้อย่าง
ภาคภมู ใิ จ

ความรู้พ้นื ฐานโครงงานวิทยาศาสตร์ | หน้า 4

เรอื่ งที่ 2 ประเภทของโครงงานวทิ ยาศาสตร์

โครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (สถาบันสง่ เสรมิ การ
สอน วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2536:3)

- โครงงานประเภททดลอง
- โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
- โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
- โครงงานประเภททฤษฎี

โครงงานประเภททดลอง
ลักษณะเด่นของโครงงานประเภททดลองเป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลอง

เพื่อศึกษา ผลของตัวแปรหนึ่งท่ีมตี ่ออกี ตัวแปรหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆ
ที่อาจมีผลต่อตัวแปร ที่ต้องการศึกษาไว้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โครงงานที่จัดเป็น
โครงงานประเภทการทดลองได้ต้อง เป็นโครงงานที่จัดกระทำกับตัวแปรต้น หรือตัวแปร
อิสระ มีการวัดตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการศึกษา โดยทั่วไป ขั้นตอน
การทำโครงงานประเภทนี้ประกอบดว้ ย

- การกำหนดปัญหา
- การต้ังจุดประสงค์ หรือ การตั้งสมมตฐิ าน
- การออกแบบการทดลอง - การดำเนินการทดลอง - การรวบรวมขอ้ มูล
- การแปรผลข้อมลู
- การสรปุ ผลการทำลอง
โครงงานประเภทนี้สามารถศึกษาคน้ คว้าได้อยา่ งกวา้ งขวาง เพราะสามารถเลือกตัวแปร
อสิ ระท่จี ะศึกษาได้อย่างมากมาย

ความรพู้ ืน้ ฐานโครงงานวิทยาศาสตร์ | หน้า 5

โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล

โครงงานประเภทนแี้ ตกต่างกบั โครงงานประเภททดลองท่ีไม่มีการจดั หรือกำหนดตัว
แปรอิสระที่ต้องการศึกษาโครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้ ผู้ทำโครงงานเพียง
ตอ้ งการสำรวจและรวบรวมข้อมลู แลว้ นำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอ
ในรปู แบบต่างๆ เพ่อื ให้เห็นลกั ษณะหรือความสมั พนั ธใ์ นเรื่องทตี่ ้องการศกึ ษาไดช้ ัดเจนยง่ิ ขึ้น

การสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่นการออกไปเก็บ
รวบรวมข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งในบางครั้งบางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ท่ี
ตอ้ งการในท้องถนิ่ หรือสถานท่ตี ่างๆ ทตี่ ้องการศึกษาคน้ คว้าทนั ทีในขณะท่ีออกไปปฏิบัติการ
นัน้ โดยไม่ตอ้ งนำวัสดุตวั อยา่ งกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏบิ ัติการอีก ตัวอยา่ งเช่น

- การสำรวจประชากรและชนิดของสงิ่ ต่างๆ เชน่ สัตว์ พืช ดิน หนิ แร่ ฯลฯ ในท้องถน่ิ หรือ
บรเิ วณทตี่ อ้ งการศึกษา

- การสำรวจพฤตกิ รรมด้านต่างๆ ของสัตวต์ ่าง ๆ ในธรรมชาติ
- การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถ่ิน
- การสำรวจพรรณพชื ในท้องถน่ิ
- การสำรวจเมฆในท้องฟ้า

การออกภาคสนามในบางครั้งก็เพื่อไปเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
เพราะไม่สามารถที่จะวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลได้ทันที่ในขณะออกมาปฏิบัติการ
ภาคสนามนั้นตวั อยา่ งโครงงานประเภทน้ไี ดแ้ ก่

- การสำรวจคณุ ภาพน้ำ
- การศึกษาสมบตั ิของสาร เช่น จดุ เดอื ด จุดหลอมเหลว ความหนาแนน่
- การสำรวจคณุ ภาพของดนิ เช่น ความช้ืน ปริมาณสารอินทรีย์ ความเปน็ กรดเบส
- การศกึ ษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหลง่ ต่างๆ

ในการสำรวจรวบรวมข้อมูลบางอย่างแทนที่จะออกไปศึกษาสำรวจในท้องถิ่นตาม
ธรรมชาติ ซ่งึ เป็นการสน้ิ เปลืองงบประมาณและเสยี เวลามาก นอกจากนัน้ ยังไม่สะดวกในการ
ปฏิบัติ บางครั้งก็อาจจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการ แล้วสังเกตและศึกษารวบรวม
ข้อมูลตา่ ง ๆ ในธรรมชาตจิ ำลองนนั้ เชน่

- การศกึ ษาวงจรชวี ิตของไหมท่เี ลยี้ งในหอ้ งปฏบิ ตั ิการ
- การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนดิ ทเี่ ลย้ี งในหอ้ งปฏบิ ัตกิ าร

ความรพู้ นื้ ฐานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ | หนา้ 6

โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูลนี้แม้บางครั้งจะมีการศึกษาวิเคราะห์หรือ
ทดลองใน ห้องปฏิบัติการคล้าย ๆ กับโครงงานประเภททดลองก็ตามแต่จุดสำคัญที่แตกต่าง
กันคือโครงงานประเภท สำรวจข้อมูลไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษา
เหมือนโครงงานประเภทการทดลอง ตัวอย่างเช่น โครงงาน เรื่อง การศึกษาสมบัติบาง
ประการของสารที่สกัดได้จากเปลือกทุเรยี น นักเรียนเพียงสกดั สารจากเปลือกทุเรียนด้วยวิธี
หนึ่ง แล้วนำมาศึกษาสมบัติบางประการ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่นค่า Rf
ฯลฯ ของสารนั้น เพื่อรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน โครงงานนี้แม้จะมีการทดลองใน
ห้องปฏิบัติการก็จัดว่าเป็นโครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูลไม่ถือว่าเป็นโครงงาน
ประเภทการทดลอง แต่ถ้านักเรียนเปลี่ยนจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเป็นการศึกษาเปรียบเทียบ
ปริมาณและสมบตั บิ างประการของสารท่สี กัดได้จากสว่ นต่าง ๆ ของเปลือกทเุ รียนโครงงานน้ี
จะถูก จดั เปน็ โครงงานประเภทการทดลอง เพราะมีการกำหนดตัวเเปรอิสระทต่ี ้องการศึกษา
ซึ่งในที่นี้ได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของเปลือกทุเรียน เช่น ส่วนนอกที่เป็นหนาม ส่วนเปลือกด้านใน
และส่วนที่เป็นไส้หรือแกน ส่วนตัวแปรตามในที่นี้ ได้แก่ ปริมาณสารและสมบัติของสารที่
สกัดได้ หรือโครงงานที่ศึกษาวงจรชีวิตของไหมที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจัดเป็นโครงงาน
ประเกทสำรวจรวบรวมข้อมูล แต่ถ้าเปลี่ยนจุดม่งหมายของการศึกษา" เป็นการศึกษา
เปรียบเทียบวงจรชีวิตของไหมที่อยู่ในแสงสีที่ต่างกัน โครงงานนี้จะถูกจัดเป็นโครงงาน
ประเภทการทดลอง เพราะมีตัวแปรอสิ ระท่ตี ้องการศกึ ษา ไดแ้ ก่ ชนิดของแสงสี เป็นต้น
โครงงานประเภทสิง่ ประดษิ ฐ์

โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทาง
วิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจ
เป็นการคิดประดิษฐ์ ของใหม่ ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบาย
แนวความคิดตา่ ง ๆ ดว้ ยสง่ิ ประดษิ ฐ์วิทยาศาสตร์ หมายถงึ เคร่อื งมือ หรือนวตั กรรมเครื่องใช้
ที่ประดษิ ฐ์ตามหลักการวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซ่ึงมกี ารศึกษาทดลองตามลำดับข้ันตอนและ
สามารถใช้งานได้จริงมีประโยชน์ และใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้การทำสิ่งประดิษฐ์
สามารถนำเอาสิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่มาพัฒนาให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า
ประหยดั กวา่ หรอื สามารถพฒั นาต่อไปไดอ้ กี

ความรู้พืน้ ฐานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ | หน้า 7

ตัวอย่างโครงงานประเภทนีไ้ ด้แก่

- เครื่องโรยปุ๋ยยางพารา - ตู้อบพลงั งานแสงอาทิตย์

- เตาเผาขยะ - เคร่อื งจักรกลพลงั งานแม่เหลก็

- เครอื่ งอบมันสำปะหลงั - แบบจำลองบา้ นพลงั งานแสงอาทติ ย์

- แบบจำลองการใชพ้ ลงั งานใตพ้ ิภพ - เครอื่ งคดั ลำไย

โครงงานประเภททฤษฎี

เป็นหลักการหรือแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือ

คำอธิบายก็ได้ โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการ

แนวความคิด หรือจิตนาการของตนเองตามกติกา หรือข้อตกลงนั้น หรือ อาจใช้กติกาหรือ

ข้อตกลงเดิมมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ทฤษฎี หลักการแนวความคิด

หรือจินตนาการที่เสนอขึ้นน้ีอาจจะใหม่ยังไม่มีใครคิดมาก่อนหรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม

หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือแนวความคิดเดิมกไ็ ด้ การทำโครงงานประเภทนี้จุดสำคัญอย่ทู ี่

ผู้ทำตอ้ งมคี วามรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ อยา่ งดจี ึงจะสามารถเสนอโครงงานประเภทน้ีได้อย่าง

มีเหตุมีผลน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์ หรือ

วิทยาศาสตร์บริสทุ ธ์ิ ตัวอยา่ ง เชน่ การอธิบายอวกาศแนวใหม่ ทฤษฎีจำนวนเฉพาะ

การประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ปจั จบุ ันไดแ้ บ่งประเภทโครงงานเปน็ 3 สาขา ได้แก่

1. สาขากายภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ เคมี

ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ธรณวี ิทยา

2. สาขาชีวภาพ หมายถึง โครงงานที่ใชห้ ลกั การทางวิทยาศาสตร์ชวี ภาพ ได้แก่ สตั ววิทยา

พฤกษศาสตร์ จลุ ชีววิทยา ชีวเคมี เช่น การศึกษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทาง

ชวี ภาพ การย่อยสลายดว้ ยเอนไซม์

3. สาขาวิทยาศาสตรป์ ระยุกต์ หมายถงึ โครงงานทแ่ี สดงไดด้ ว้ ยชนิ้ งานซ่ึงประดิษฐ์ขึ้นมาโดย

อาศัยหลกั การวิทยาศาสตร์และมีข้อมูลการทดลองใชง้ านประกอบ

ความร้พู ้นื ฐานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ | หน้า 8

เรอ่ื งท่ี 3 คุณค่าและความสำคัญของโครงงานวทิ ยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง นักเรียนเกิด
สติปัญญาจากการเรียนรู้ ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะจดจำได้
นานยั่งยืนกว่าความรู้ที่ครูสอนในห้องเรียนอย่างเดียวเป็นกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพการ
เรยี นรขู้ องผเู้ รยี นจากการปฏิบัติการจรงิ

ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นักเรียนต้องไปหาความรู้จากเอกสารแหล่งความรู้
ผรู้ ู้ ผ้เู ช่ียวชาญเพื่อสนับสนนุ หรอื คน้ ควา้ งานท่ที ำข้นึ ทำให้ไดร้ บั ความรู้กว้างขวาง

นักเรียนมีความเชื่อมั่นกล้าแสดงออก เนื่องจากได้ข้อมูลมาด้วยตนเอง ทำให้เกิด
ความเชื่อมั่น เช่น นักเรียนที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้
นักเรียนไดใ้ ชก้ ระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐผ์ ลงานได้อย่างภาคภมู ิใจและช่วย
พัฒนาทักษะการคดิ ของนักเรยี นให้นำความรู้จากการเรยี นมาผสมผสานกันแล้วสรา้ งชิน้ งาน
ใหม่ เช่น การทำกระดาษรีไซเคิล โคมไฟประดิษฐจ์ ากขวดพลาสติกท่ีเหลอื ใช้

ความรพู้ ้ืนฐานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ | หนา้ 9

บรรณานกุ รม

ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์. (ออนไลน์). แหลง่ ทม่ี า :
http://school.obec.go.th/elp/mean_subject.htm. 2555.

ความหมายโครงงานวทิ ยาศาสตร์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://subingreen.blogspot.com/2007/05/2533-5-2531-1-2529-1-2.html. 2555.

ความหมายโครงงานวทิ ยาศาสตร์. (ออนไลน์). แหล่งทม่ี า :
http://www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=7135. 2555.

ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์. (ออนไลน์). แหลง่ ท่ีมา : pioneer.netserv.chula.ac.th/
~cpornth1/Web_SciProject/a01.htm. 2555.

ความหมายโครงงานวทิ ยาศาสตร์. (ออนไลน)์ . แหล่งที่มา : www.nc.ac.th/WEB%20E _BOOK/
unit1_1.htm. 2555.

ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์. (ออนไลน)์ . แหล่งที่มา : www.polytrang.th.gs/web-
p/olytrang/project/unit1.htm. 2555.

ถวัลย์ มาศจรัส และมณี เรืองขำ. แนวการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอน (Project)
เพื่อพฒั นาการเรียนร้ผู เู้ รียน. กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พิมพธ์ ารอกั ษร จำกดั , 2549.

บูรชยั ศริ ิมหาสาคร. การทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บคุ๊ พอยท,์ 2548.
ประดษิ ฐ์ เหล่าเนตร์. เทคนคิ การสอนและการทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์ระดบั ประถมศึกษา และ

มธั ยมศกึ ษา. กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ทั เซ็นเตอร์ ดีสคัฟเวอรี จำกดั , 2542.
ภพ เลาหไพบลู ย์. แนวการสอนวทิ ยาศาสตร์. พิมพ์ครง้ั ที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ไทยวฒั นาพานชิ

จำกดั , 2542.
วิมลศรี สุวรรณรตั น.์ กระบวนการเรยี นรโู้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์. สารปฏิรปู . ปีที่ 2 ฉบบั ท่ี 15

(มถิ นุ ายน), 2542.
สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี. คมู่ อื วัดผลประเมินผลวทิ ยาศาสตร์.

กรงุ เทพมหานคร : สกสค. ลาดพรา้ ว,. 2548.


Click to View FlipBook Version