The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Narawich Suklim, 2022-07-08 21:59:54

กาพย์เห่เรือ

บทเห่ชมเรือ

กาพย์เห่เรือ

บทเห่ชมเรือ

พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

คำนำ


E-book เล่มนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ทางวรรณคดี
เรื่องกาพย์เห่เรือ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง
พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยนำเสนอผ่าน
การยกตัวอย่างเนื้อเรื่องและการวิจารณ์วรรณคดี

ซึ่งเป็นการวิจารณ์ของในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นศึกษาปีที่6
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565 นำเสนออาจารย์ สิริมณี - ซึ่งรายงานนี้เป็น
ส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)
โดยเนื้อหาใช้อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจัก
ษ์ ของมัธยมศึกษาปีที่6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เข้าใจถึง
คุณค่าของวรรณคดีทั้งด้านอารมณ์และด้านวรรณศิลป์ รวมถึงเพื่อให้เกิดความ
คิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการกระบวนการคิด ความรักในวรรณคดีเพื่อให้
เกิดความเข้าใจ และ ทำให้เกิดความอยากที่จะอนุรักษ์วรรณคดีของไทย
วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วิถีชีวิตของไทย กลุ่มผู้จัดทำรายงาน
เล่มนี้หวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อผ่านหลักสูตรของมัธยมศึกษา
ปีที่6และประโยชน์ในการสร้างแรงบันดาลใจให้รักในวรรณคดีให้กับบุคคลที่ได้
อ่านรายงานเล่มนี้ต่อไป

กลุ่มผู้จัดทำรายงานวรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือ

11มิถุนายน2565

สารบัญ

กาพย์เห่เรือ 1
คุณค่าทางวรรณคดี 16

คุณค่าด้านเนื้อหา 16
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 17
คุณค่าด้านสังคม 18

ความน่าสนใจของเห่ชม 19
อ้างอิง 20
ผู้จัดทำ 21

กาพย์เห่เรือ 1
บท
เห่ชมเรือ

โคลง ชลาลัย
กิ่งแก้ว
ปางเสด็จประเวศด้าว แหนแห่
ทรงรัตนพิมานชัย เพริศพริ้งพรายทอง
พรั่งพร้อมพวกพลไกร
เรือกระบวนต้นแพร้ว

กาพย์ ( บท 1 )

พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือนงามเฉิดฉาย

กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน

ลักษณะของเรือ

พระมหากษัตริย์ได้เสด็จประทับบน
เรือต้นอันงดงาม
เพื่อเสด็จทางชลมารค
เรือกิ่งเองก็แพรวพราวระยิบระยับ
ขยับเคลื่อนไปด้วยฝีพายที่พร้อม
เพรียงงดงามน่ามอง

กาพย์ ( บท 2 ) 2

นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง

ลักษณะของเรือ

ขบวนเรือแน่นเป็นแถวเป็นแนว ประกอบด้วยเรือที่หัว
เรือเป็นรูปสัตว์หลาย ๆ ชนิด มองเห็นธงเด่นมาแต่
ไกล การเดินทางด้วยขบวนเรือทำให้เกิดเป็นคลื่นน้ำ
เป็นฟอง

3

กาพย์ ( บท 3 )

เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง

พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

ลักษณะของเรือ

เรือครุฑ ซึ่งบนเรือนั้นมีพลทหารกำลังพายเรืออย่าง
เป็นจังหวะ พร้อมกับเปล่งเสียงโห้ร้อง

4

กาพย์ ( บท 4 )

สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา

ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร

ลักษณะของเรือ

เรือสรมุขลอยมาสวยงามดั่งพิมานบนสวรรค์ที่กำลัง
เคลื่อนที่ผ่านหมู่เมฆเรือตกแต่งด้วยม่านถักสีทอง
หลังคา แดงมีลายมังกร

กาพย์ ( บท 5 ) 5

สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน

ลักษณะของเรือ

เรือสมรรถไชยซึ่งกำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุ
ขนั้นมีครบแก้วขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแสงแวววับสะท้อน
กับ แม่น้ำ งดงามดั่ง กำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลง
สู่พื้นดิน

6

กาพย์ ( บท 6 )

สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อ
ย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรมมิ
นทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

ลักษณะของเรือ

เรือสุวรรณหงส์ มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บน
สายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหม
เยื้องกรายมาให้ชม

7

กาพย์ ( บท 7 )

เรือไชยไวว่องวิ่ง
รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม
ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน

ลักษณะของเรือ

เรือไชยแล่นด้วยความเร็วดั่งลมมีเสียงเข้าคอยให้จังหวะ
ท้ายเรือให้แก่นเคียงคู่กันไปกับเรือพระที่นั่งลำอื่น

8

กาพย์ ( บท 8 )

คชสีห์ทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง

ลักษณะของเรือ

เรือคชสีห์ที่กำลังแล่นอยู่ดูแล้วชวนขบขัน ส่วนเรือ
ราชสีห์ที่แล่นเคียงกันมาดูมั่นคงแข็งแรง

กาพย์ ( บท 9 ) 9

เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง

ลักษณะของเรือ

เรือม้านั้นกำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้าที่ลักษณะที่
สูงโปร่งเหมือนกับม้าทรงของพระพาย

กาพย์ ( บท 10 ) 10

เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน

ลักษณะของเรือ

เรือสิงห์ที่ดูราวกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมี
ความลำพองใจนั้นก็แล่นเป็นแถวตามๆกันมา

11

กาพย์ ( บท 11 )

นาคาหน้าดังเปน ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี

ลักษณะของเรือ

เรือนาคนั้นมองดูเหมือนกับมีชีวิตแล้วชวนขบขัน
กำลังจะถูกเรือมังกรแล่นตามมาทัน

12

กาพย์ ( บท 12 )

เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี ทีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม

ลักษณะของเรือ

เรือเลียงผาทำท่าเหมือนกับกำลังจะกระโจนลง
แม่น้ำส่วนเรืออินทรีย์ก็มีปีกที่เหมือนกับกำลังจะ
ลอยไป ในอากาศ

13

กาพย์ ( บท 13 )

ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม

โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัศชื่นรื่นเริงพล

ลักษณะของเรือ

เสียงดนตรีงสั้นมีเสียงก้องมาจากแตรงอนเสียงพล
ทหารโห่ร้องอย่างครึกครื้นทำให้เกิดความความ
รื่นเริงใน หมู่พลทหาร

14

กาพย์ ( บท 14 )

กรีธาหมู่นำเวศ จากนคเรศโดยสาชล

เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี

ลักษณะของเรือ

เรือที่เคลื่อนขบวนออกมานั้นดูเข้มแข็งเป็นภาพที่ทำให้
ชื่นอกชื่นใจมองดูเหมือนฝูงปลาที่มีมากมายในสายน้ำ

ส่วนสรุปปิดท้าย15

บทเห่ชมเรือ

กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งมีจุดประสงค์ คือ
ใช้สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อ
ตามเสด็จทางชลมารค ไปยังพระพุทธบาท
จ.สระบุรี นอกจากนั้น การเห่เรือยังเป็นการ

ให้จังหวะแก่ฝีพายอีกด้วย





ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรือ นั้น
เรียกว่า “กาพย์ห่อโคลง” คือ โคลงสี่สุภาพ
ขึ้นต้นบท 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 1
บท ที่มีความหมายเหมือนโคลงต้นบท และ

ตามด้วยกาพย์ยานี 11 จนกว่าจะจบ
กระบวนความ

16

กาพย์เห่เรือมีลักษณะเหมือนกับการแต่ง
นิราศ ที่มีการพรรณนาธรรมชาติระหว่าง
การเดินทาง และมีการกล่าวถึงนางอันเป็น
ที่รัก ยกเว้น เห่ชมกระบวนเรือที่ไม่มีบท

รำพันนิราศ





จากเรื่องกาพย์เห่เรือ แสดงให้เห็นถึงสภาพ
ชีวิตของคนสมัยก่อน ที่ใช้การสัญจรทางน้ำ

อย่างเป็นปกติ และการเดินทางที่ใช้เวลา
นานโดยไม่มีเทคโลโนยีใดๆ ทำให้มีเวลาใน

การชื่นชมธรรมชาติ และมีโอกาส
สร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์หรือเพลงที่

ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

17

คุณค่าทางวรรณคดี




คุณค่าด้านเนื้อหา


บทประพันธ์

เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง

เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพรายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

คำอธิบาย

เนื้อหาเน้นพรรณนารูปลักษณ์สวยงามแปลกตา ลักษณะ
พิเศษของเรือพระที่นั่ง
และเรือลำต่าง ๆ ความสามัคคีพรักพร้อมของพลพายที่ร่วม
กระบวน

18

คุณค่าทางวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิล

ป์

บทประพันธ์

กาพย์ ( บท 1 )

พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือนงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน

กาพย์ ( บท 3 )

เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง

พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

คำอธิบาย

1.ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพและให้อารมณ์
ความรู้สึกดี

2.ศิลปะการแต่งดีมีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมาการ
เล่นคำ การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง
คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี

19

คุณค่าทางวรรณคดี



คุณค่าด้านสังคม


บทประพันธ์

กาพย์ ( บท 1 ) โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
เป็นแถวท่องล่องตามกัน
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง

กาพย์ ( บท 10 ) โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
เป็นแถวท่องล่องตามกัน
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง

คำอธิบาย

สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้
การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญเนื่องจากประเทศไทยมี
แม่น้ำลำคลองมาก

20

ความน่าสนใจของกาพย์เห่ชมเรือ

1.คณพศ นิตย์กานต์ ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่6

ความน่าสนใจ: ได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น
ประเพณีเห่เรือประเพณีการแต่งกาย

2.ชยณัฐ อรุณานนท์ชัย ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่11

ความน่าสนใจ: ได้รู้เทพนิยายระหว่างครุฑกับนาค

3.ชวภณ อัศวมันตา ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่12

ความน่าสนใจ: ได้รับรู้ถึงสภาพสังคม เช่น ถ้าผู้หญิงชั้นสูง ๆ
หรือมีฐานะ ห่มสไบทำด้วยตาด

4.ปานภัส นิลสุ ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่14

ความน่าสนใจ: ได้รู้จักชื่อสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำและชื่อต้นไม้

5.นราวิชญ์ สุขลิ้ม ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่19

ความน่าสนใจ: ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดขบวน
พยุหยาตราทาชลมารค และชนิดของเรือ

21

ความน่าสนใจของกาพย์เห่ชมเรือ

6.ณิชากร ธนณิชากร ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่22

ความน่าสนใจ: ได้รู้วิธีการบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็น
เครื่องบอกเปลี่ยนเวลา

7.ปวริศร์ คัมภิรานนท์ ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่23

ความน่าสนใจ: ได้รับรู้ถึง วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น เช่น
มักสัญจรทางน้ำเป็นหลัก

8.ภัทราพร ดำเกิงนิธิกุล ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่27

ความน่าสนใจ: การไว้ทรงผม ผู้หญิงไว้ผมยาวประลงมาถึง
บ่าแล้วเก็บไรถอนผมออกเป็นวงกลม

9.ธาม พัฒนวัตร ชั้นม.6 เอกวิทยาศาสตร์ เลขที่41

ความน่าสนใจ: ได้ความรู้เกี่ยวกับคำและวิธีการใช้คำ เช่น
ชดช้อย พรหมินทร์ เสด็จ สำอาง อร่าม

22

อ้างอิง

https://www.slideshare.net/Warodom
Techasrisutee/ss-63747901

https://writer.dek-d.com/sun-sun-
sun/writer/viewlongc.php?
id=1421784&chapter=1

https://pubhtml5.com/yaoj/tqlo/ba
sic

https://kruopas.files.wordpress.com/20
14/11/e0b980e0b8ade0b881e0b8aa
e0b8b2e0b8a3e0b89be0b8a3e0b8b
0e0b881e0b8ade0b89ae0b881e0b8
b2e0b8a3e0b8aae0b8ade0b899-
e0b881e0b8b2e0b89ee0b8a2.pdf

ผู้จัดทำ 23

1.คณพศ นิตย์กานต์ เลขที่6
(หาข้อมูล,หน้าปก)

2.ชยณัฐ อรุณานนท์ชัย เลขที่11
(หาข้อมูล,ตกเเต่ง)

3.ชวภณ อัศวมันตา เลขที่12
(หาข้อมูล)

4.ปานภัส นิลสุ เลขที่14
(ตกแต่ง,อ้างอิง)

5.นราวิชญ์ สุขลิ้ม เลขที่19
(ความน่าสนใจของเห่ชมเรือ)

6.ณิชากร ธนณิชากร เลขที่22
(คำนำ,หาข้อมูล)

7.ปวริศร์ คัมภิรานนท์ เลขที่23
(รวบรวมข้อมูล)

8.ภัทราพร ดำเกิงนิธิกุล เลขที่27
(ตกแต่ง,ทำ E-BOOK)

9.ธาม พัฒนวัตร เลขที่41
(คุณค่าทางวรรณคดี)

24


Click to View FlipBook Version