The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่องโรคระบาด โควิด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 60.12376, 2022-07-09 10:58:00

เรื่องโรคระบาด โควิด

เรื่องโรคระบาด โควิด

เรื่องโรคระบาด
โควิด

คำนำ

แผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) นี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นแนวทางการดำเนินงานในช่วง

สถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีแนวโน้ มคลี่คลายเป็ นไปใน
ทางที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงได้มีแผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เพื่อเป็ นการเตรียมการ และ

เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นอันเป็ นแนวปฏิบัติตาม
มาตรการการป้ องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID –19) อย่างเคร่งครัด

สารบัณ

หน้ า

ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 คืออะไร ? 1
2
ลักษณะของโรค 3
4
เชื้อก่อโรค
5
อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม

่ หรือไวรัสโควิด-19
6
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 7

หากมีอาการโควิด 19 ควรทำอย่างไร ?

วิธีป้ องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19
คืออะไร



ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 คืออะไร ?
ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี
1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่
เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมี
การค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสาย
พันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่
เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็น
ทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง

ลักษณะโรค




- การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการ
ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอด

อักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด
(Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic
bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้ และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุ
หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุ และหากแสดงอาการ

มักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ



- การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome;
SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอ และ

หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว



- การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อยในเด็ก


แรกเกิด และทารกอายุน้ อยกว่า 1 ปี หรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วย

ไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน



4. ระยะฟักตัวของโรค : โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วัน (อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 3 – 4 วัน) สำหรับโรคซาร์สอาจ
ใช้ระยะฟักตัว 4 – 7 วัน (อาจนานถึง 10 – 14 วัน)



5. วิธีการแพร่โรค : แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือ
แพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม

เชื้อก่อโรค

1. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded
RNA virus) ในFamily Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดย

สามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบ
ด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึง
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARSCoV) ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท

หรือระบบอื่นๆ



2. ระบาดวิทยาของเชื้อ : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลก โดยในเขตอบอุ่น
(temperate climates) มักพบเชื้อโคโรนาไวรัสในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ การติดเชื้อ
โคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของ
โรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15อาจ การติดเชื้อพบได้ในทุกลุ่มอายุ แต่
พบมากในเด็ก อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลัง
การติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (SARS CoV)

อ า ก า ร เ มื่ อ ติ ด เ ชื้ อ ไ ว รั ส โ ค โ ร น า ส า ย พั น ธุ์
ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19


อาการของไวรัสโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้


1.มีไข้

2.เจ็บคอ
3.ไอแห้ง ๆ
4.น้ำมูกไหล
5.หายใจเหนื่ อยหอบ

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา
สายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19




-เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
-ผู้สูงอายุ

-คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง

-คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
-คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)

-ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ฮ่องกงมาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
-ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่าง
ใกล้ชิด
-ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้ าที่ในโรง
พยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

หากมีอาการโควิด
19 ควรทำอย่างไร ?






-หากมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตาม 5 ข้อดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อทำการ
ตรวจอย่างละเอียด และเมื่อแพทย์ซักถามควรตอบตามความเป็ นจริง ไม่ปิ ดบัง
ไม่บิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพราะจะเป็ นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

มากที่สุด





-หากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้าง
นอกเป็ นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟั กตัว (ให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่ติด
เชื้อ)

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส
โคโรนา

1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
3. สวมหน้ ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อย

ครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่างๆก๊อก
น้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้ า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ
เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋ า ฯลฯ
5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้ อย 20 วินาที ความเข้มข้นของ
แอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
6. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้ องกัน
7. รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
8. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้ องกันเชื้อใน
ละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา


Click to View FlipBook Version