ไบโอมบนบก
ไบโอมบนบก
รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ว30103)
เสนอ
คุณครูรัตนา หมู่โยธา
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ สำนักงานเขต
มัธยมศึกษาอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ไบโอมบนบก
ไบโอมบนบก (Terrestrial
biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและ
อุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่
สำคัญ ได้แก่ ทุนดรา ป่าสน ป่า
ผลัดใบในเขตอบอุ่น ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
ป่าเขตร้อน สะวันนา ทะเลทราย
แผนที่ไบโอมบนบก
ทุนดรา (TUNDRA)
มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดู
ร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของ
ดินที่อยู่ต่ำกว่าผิวดินชั้นบนลงไปจะ
จับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร ไบโอมทุนดรา
พบในตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ
และยูเรเซียเหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลก
จะพบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยกว่า
ไบโอมอื่นๆ ชุมชนแบบทุนดราเป็น
ชุมชนแบบง่ายๆ ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล
แผนที่ไบโอมทุนดรา
ในช่วงฤดูหนาวสัตว์จะจำศีลหรือหลบอยู่ใต้หิมะ พืชหยุดชะงัก
การเจริญเติบโต ในฤดูร้อนน้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่
เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่
บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้น ๆ
สัตว์ที่พบมาก : กวางคาริบู กวางเรนเดียร์ กระต่าย
ป่าขั้วโลก หนูเลมมิง สุนัขป่าขั้วโลก นกทามิแกน
นกเค้าแมวหิมะ และแมลงที่อพยพเข้ามาในฤดูร้อน
พืชเด่น : ไลเคนส์ มอส กก หญ้าเซดจ์(Sedge) และ
ไม้พุ่มเตี้ย เช่น วิลโลแคระ
ป่าสน (CONIFEROUS FOREST)
ป่าไทกา (Taiga) และป่าบอเรียล (Boreal) เป็นไบโอมที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปี ป่า
ประเภทนี้จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าเขตหนาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และจัด
เป็นสังคมสิ่งมีชีวิตบนบกที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าไบโอมอื่น
มีฤดูหนาวยาวนาน พืชในป่าประเภทนี้เป็นไม้เนื้ออ่อนสามารถขึ้นได้ดีในสภาวะที่ดิน
เป็นกรด มันจะสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า โคน(cone) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า
coniferous forest หมายถึงป่าที่มีพืชที่สามารถสร้างโคนได้นั่นเอง
ป่ าสน แผนที่ไบโอมป่ าสน
สัตว์ที่พบมาก : กวางมูส นกฮูกเทาใหญ่ กวางเอลก์ หมีสีน้ำตาล
ฮันนี่แบดเจอร์ บีเวอร์
พืชเด่น : สน เช่น ไพน์ เฟอ สพรูซ เฮมลอค บลูเบอรี
กวางมูส ต้นสน
ป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่น
(TEMPERATE DECIDUOUS FOREST)
ป่าผลัดในใบเขตอบอุ่น (TEMPERATE DECIDUOUS FOREST)
พบกระจายทั่วไปในละติจูลกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่
ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100
เซนติเมตรต่อปี
มีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ต้นไม้จะทิ้งใบ หรือผลัดใบ
ก่อนที่จะถึงฤดูหนาวและจะเริ่มผลิใบอีกครั้งจากฤดูหนาวผ่านพ้น
ไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึง ไม้
ล้มลุก
สัตว์ที่พบมาก : กวางเอลก์ และสุนัขจิ้งจอก
พืชเด่น : ยูคาลิปตัส เมเปิล โอ๊ก
ตัวอย่างในไทย : ทุ่งแสลงหลวง พิษณุโลก
กวางเอลก์ แผนที่ไบโอมป่าสน ต้นเมเปิล
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (TEMPERATE GRASSLAND)
รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ ทุ่งหญ้าส
เตปส์ (Steppes) ในเขตยูเรเชีย และทุ่งหญ้าแพมพา (Pampa) ในทวีปอเมริกาใต้ สภาพ
ภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 250 – 500 มม. ต่อปีซึ่งถือว่าน้อย มักมีฝนตกในช่วง
ฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว
ทุ่งหญ้าในเขตร้อน แผนที่ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
สัตว์ที่พบมาก : ช้าง ม้าลาย สิงโตในแอฟริกา หมีโคอาลา จิงโจ้ และนกอีมูใน
ออสเตรเลีย
พืชเด่น : เบาบับ (baobab) กระถิน (acacia)
นกอีมู เบาบับ
ป่าเขตร้อน (TROPICAL FOREST)
พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของ
โลกในทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียตอนใต้ และ
บริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะ
ของภูมิอากาศจะร้อนและชื้น อากาศบริเวณนี้มี
การเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
ที่สำคัญมีฝนตกชุกตลอดปีซึ่งเป็นไบโอมที่
มีปริมาณฝนมากที่สุด ในป่าชนิดนี้พบพืชและ
สัตว์หลากหลายสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดม
สมบูรณ์สูงมาก
แผนที่ไบโอมป่าเขตร้อน
สัตว์ที่พบมาก : สมเสร็จ แรด กระจง เก้ง
พืชเด่น : ไม้เถา หวาย เฟิร์น กล้วยไม้
ตัวอย่างในไทย : ป่าฮาลา – บาลา นราธิวาส ,อุทยานแห่งชาติ
ไทรโยค กาญจนบุรี
สมเสร็จ เฟิร์น
ทุ่งหญ้าสะวันนา (SAVANNA)
พบในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร มีฤดูแล้งยาวนานหรือพบได้ในทวีป
แอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลียและพบบ้างทางตะวันออกเฉียง
ใต้ของทวีปเอเชีย มีฤดูแล้งยาวนานในฤดูแล้งฝนอาจไม่ตกเลย ทำให้ดิน
ในพื้นที่สะวันนา แห้งผาก แข็ง มีฝุ่นมาก และอาจเกิดไฟป่า ไบโอมทุ่ง
หญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่
หลากหลายสายพันธุ์มากที่สุดในโลก
สัตว์ที่พบมาก : ละมั่ง ควายป่า ช้าง แรด ยีราฟ สิงโต เสือดาว และไฮยีน่า
พืชเด่น : หญ้าต่างๆ เบาบับ กระถิน
ตัวอย่างในไทย : ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก
ไฮยีน่า แผนที่ไบโอมสะวันนา ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก
ทะเลทราย (DESERT)
แผนที่ไบโอมทะเลทราย สามารถพบได้ทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขต
หนาวในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 250 มม.
ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าไบโอมอื่นๆ ทะเลทรายบางแห่งร้อน
มากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียส
ตลอดวัน บางวันบางแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น
สัตว์ส่วนใหญ่หากินกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อน
ในตอนกลางวัน
สัตว์ที่พบมาก : อูฐ ตะกวดทะเลทราย โอนาเกอร์
พืชเด่น : กระบองเพชร อินทผาลัม
อูฐ กระบองเพชร
อ้างอิง
ไบโอมบนบก
https://shariff309209515.wordpress.com/I
wAR0jvS5gmrSRkFCUYXz7MEYGI0vVK
f4RhwXZiOGPIT9wmwMqioYw99Jo2uQ
จัดทำโดย ม.5/13
นางสาวอริสรา โพธิ์หล้า เลขที่ 23
ทำหน้าที่ : ค้นหาข้อมูล,ทำE-book
นางสาวอัจฉราพรรณ ธาตุวิสัย เลขที่ 24
ทำหน้าที่ : ทำสไลด์,รวบรวมข้อมูล
นางสาวศุภศิริ เย็นเหลือ เลขที่ 29
ทำหน้าที่ : นำเสนองาน
นางสาววัชราภา พรกูนา เลขที่ 38
ทำหน้าที่ : นำเสนองาน,ค้นหาข้อมูล