The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 14

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ประสาร ธาราพรรค์, 2021-03-15 05:06:32

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 14

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 14

พระประวัติ สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ (ปลด กติ ตฺ ิโสภโณ)
สมเดจ็ พระสงั ฆราชองคท์ ่ี 14

ประสาร ธาราพรรค์ เรยี บเรยี ง

สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ (ปลด กิตตฺ โิ สภโณ) เปน็ สมเด็จพระสงั ฆราช สกลมหา
สงั ฆปรณิ ายก พระองคท์ ่ี 14 แหง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ สถติ ณ วัดเบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม
ราชวรวหิ าร ทรงดารงตาแหนง่ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ
เบศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร

พระนามเดมิ “ปลด” นามบิดา ขนุ พษิ ณโุ ลกประชานาถ (ลา เกตทุ ตั ) นามมารดา
ทา่ นปลง่ั ประสตู เิ มอ่ื วนั จนั ทรท์ ่ี 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ตรงกบั วนั แรม 13 คา่ เดอื น 6
ปฉี ลเู อกศก จลุ ศกั ราช 1251 เวลา 10 ทมุ่ (04.00 น.) เศษ ทบ่ี า้ นในตรอกหลงั ตลาด
พาหรุ ดั ตดิ กบั วดั ราชบรุ ณราชวรวหิ าร ในพระนคร

ท่านขุนพิษณุโลกประชานาถ (ลา) เป็นมหาดเล็กใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระ
ปรมนิ ทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 และสมเด็จพระนางเจ้า
เสาวภาผอ่ งศรี สมเดจ็ พระศรพี ัชรนิ ทราบรมราชินนี าถ เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเดจ็ เจา้ ฟา้
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ในเวลาท่ีสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นันทรงกรมเป็นกรมขุน ฯ
และได้ลาออกเสียก่อนท่ีจะทรงกรมเป็นกรมหลวง ฯ เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ ถึงแก่
กรรมเม่ืออายุได้ 51 ปี ส่วนท่านปล่ัง มารดานัน ได้ไปตังหลักฐานอยู่ในตรอกหลัง
พระราชวังเดิม (โรงเรียนทหารเรือปัจจุบัน) และได้มีอาชีพค้าขายอยู่ท่ีตลาดท่าเตียน
ภายหลังไดต้ ดิ ตามมาอยูท่ บ่ี า้ นข้างวัดเบญจมบพิตรจนถึงแก่กรรมเมื่อวันท่ี 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2485 อายไุ ด้ 71 ปี

สมัยทรงพระเยาว์และเริ่มการศกึ ษา

พระราชวงั เดมิ
ทา่ นปลัง่ ไดพ้ าสมเดจ็ พระสงั ฆราช แต่ยังทรงพระเยาว์ ไปอยู่กับท่านตาหร่ังและท่าน
ยายน้อย (ทา่ นตาและทา่ นยายของสมเด็จพระสังฆราช) ท่ีบ้านเดิมในตรอกหลังพระราชวัง
เดมิ ธนบรุ ี ทรงเจรญิ วัย ณ บ้านนี
ไดท้ รงศึกษาอกั ขรสมัยพออ่านออกเขยี นไดแ้ ลว้ เรม่ิ เรยี นภาษาบาลแี ตเ่ มอื่ พระชนมไ์ ด้
8 ปี โดยท่านตาเป็นผู้พาไปเรียนกับอาจารย์และรับกลับบ้าน ได้เรียนมูลกัจจายน์กับ
อาจารยฟ์ ัก วัดประยูรวงศาวาส จนจบการก และเรียน ธมฺมปทฏฺฐกถากับพระอุบาลีคุณูป
มาจารย์ (เปีย) แต่ยังเป็นพระเทพมุนี วัดกัลยาณมิตร วัดพระเชตุพน และพระยาธรรม
ปรีชา (บญุ ) แตย่ ังเป็นพระวจิ ิตรธรรมปริวตั ร ซ่ึงเปน็ อาจารยห์ ลวงสอนพระปริยัติธรรม ณ
วัด สทุ ศั นเทพวราราม

บรรพชา

สาเณรปลด
เม่ือได้ทรงศึกษาบาลีภาษา มีความรู้พอจะเข้าสอบได้แล้ว จึงได้รับการบรรพชาเป็น
สามเณรอยู่ในสานักพระสาธศุ ีลสงั วร (บัว) วัดพระเชตุพน เม่ือพระชนม์ได้ 12 ปี ในปีชวด
พ.ศ. 2443 ต่อมาอีก 3 เดือนก็ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมในปลายปีนัน ท่ีวัดพระศรีรัตน
ศาสดาราม ซ่งึ พระวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ อรณุ นภิ าคุณากร วัดราชบพิธ ทรงเปน็ อธบิ ดกี าร
สอบไล่ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดาเนินมาทรงฟัง
การแปลในวันนนั ด้วย และเมื่อสามเณรปลด (สมเด็จพระสังฆราช) จับประโยค 1 เพื่อเข้า
แปลเป็นครังแรกนัน เปน็ วนั เดยี วกบั พระวดั เบญจมบพติ รเขา้ แปลเปน็ ปแี รกเชน่ เดียวกนั

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั

เมอื่ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ได้ทรงทอดพระเนตรเหน็ สามเณรปลด
เข้าแปลได้ประโยค 1 กร็ ับสง่ั ว่า “เณรเลก็ ๆ ก็แปลได้” และรับสั่งถามถงึ อาจารย์ ท่านเจ้า
คณุ พระสาธุศีลสงั วร (บวั ) จงึ นาถวายตวั ครนั ทรงสอบถามไดค้ วามวา่ เปน็ บตุ รเจา้ กรมลาก็
ยิ่งทรงพระกรุณา จึงโปรดให้อยู่วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ตังแต่วันนัน ต่อมาได้เข้า
แปลประโยค 2 และประโยค 3 ไดใ้ นการสอบไลค่ ราวนนั

ดังปรากฏตามรายการพระราชกุศล ในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม
ภาคทส่ี ่ี ร.ศ. 120 วา่

“สามเณรปลด ประโยค 1 แปลวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 119 ธรรมบทบัน
ต้น ผูก 18 หนังสือ10 บรรทัด ขึนต้น เตปิ วาณิชกา ราชกุล คนฺตวา ลงท้าย สาสน ปหิต
เทวตี ิ แปลสองพกั 20 นาที ความรู้เปน็ ชนั สอง

สามเณรปลด

ประโยค 2 แปลวันท่ี 4 เมษายน รัตน โกสินทรศก 120 ธรรมบทบันต้น ผูก 1
หนังสือ 10 บรรทดั ขึนต้น ตตถฺ กิญฺจาปิ มโนติ ลงท้าย มโน เสฎฺโฐ แปลสองพัก 15 นาที
ความรเู้ ป็นชันทีส่ อง

ประโยค 3 แปลวนั ท่ี 8 เมษายน รัตนโกสนิ ทรศก 120 ธรรมบทบนั ตน้ ผกู 3 หนงั สอื
40 บรรทัด ขึนต้นอสาเร สารมติโนติ อิม ลงท้าย ปธาน ปทหิตฺวา แปลพักเดียว 25 นาที
ความรเู้ ปน็ ชนั ทีส่ อง” ดังนีชื่อว่า สามเณรปลด สอบได้เปรียญ 3 ประโยค เม่ือได้มาอยู่วัด
เบญจมบพิตรแล้ว ก็ได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมสูงขึนโดยลาดับ ประโยค ป.ธ. 4 - 5 - 6 ได้
ศึกษากับท่านอาจารย์ คือ สมเด็จพระวันรัต ปุณณทัตตมหาเถระ (จ่าย) เจ้าอาวาสวัด
เบญจมบพิตรองค์ประถม และสมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) เจ้าอาวาส วัด
มหาธาตุ ผู้กากับการวัดเบญจมบพิตร และอาจารย์อ่ืน ๆ อีกหลายท่าน เช่นพระยาปริยัติ
ธรรมธาดา ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น ประโยค ป.ธ. 7-8-9 ได้ศึกษากับสมเด็จ

พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส เปน็ ประจา แตบ่ างครังไดไ้ ปศกึ ษากบั สมเดจ็
พระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) บ้าง สาหรับเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ องค์นี สมเด็จ
พระสงั ฆราชเคยรบั สงั่ วา่ ท่านแมจ้ ะเปน็ เปรียญเพียง 4 ประโยค แตค่ วามรแู้ ลว้ พระเปรยี ญ
9 ประโยคทาอะไรไมไ่ ด้

ประโยค 4 ได้เมอ่ื พระชนมไ์ ด้ 13 ปี (พ.ศ. 2444)
ประโยค 5 ไดเ้ มอ่ื พระชนม์ได้ 14 ปี (พ.ศ. 2445๕)
ประโยค 6 ไดเ้ มอ่ื พระชนม์ได้ 15 ปี (พ.ศ. 2446)
ประโยค 7 ได้เม่ือพระชนมไ์ ด้ 16 ปี (พ.ศ. 2447)
ประโยค 8 ไดเ้ มอ่ื พระชนม์ได้ 19 ปี (พ.ศ. 2450)

ประโยค 9 ได้เมื่อพระชนม์ย่างเข้าปีที่ 20 (พ.ศ. 2451) ซึ่งปรากฏตามรายการพระ
ราชกุศลในการสถาปนาวัดเบญจมบพติ รดุสิตวนาราม ภาคที่ 17 รัตนโกสินทร์ศก 128 ว่า
“สามเณรปลด ประโยค 9 แปลวันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 127 (พ.ศ. 2451)
ฎีกาอภธิ ัมมัตถสังคห ผกู 8 วา่ ด้วยอารมณข์ องอภญิ ญา หนงั สือ 10 บรรทดั ขนึ ต้น เอตถฺ หิ
อทิ ฺธวิ ิธญาณสฺส ตาว ฯลฯ ลงท้าย อยเมเตส อารมฺมณวิภาโค แปลพกั เดยี ว 14 นาที ความรู้
ชัน 1”

สามเณรประยทุ ธ์ (อารยางกรู ) ปยตุ โต (พระพรหมคณุ าภรณ์ ป.อ. ปยตุ โฺ ต)
การรับสามเณรปลดเป็นนาคหลวง กลายเปน็ ธรรมเนียมในระยะตอ่ มา เมอื่ สามเณร
รปู ใดสอบได้ประโยค 9 จะโปรดฯ ใหเ้ ป็นนาคหลวง สามเณรปลดนับเป็นสามเณรรูปที่สอง
แห่งกรงุ รัตนโกสินทร์ ทสี่ อบไดเ้ ปรียญเก้าประโยคในสมยั แปลปาก แตห่ ลังจากเปลี่ยนเป็น
สอบขอ้ เขียนแลว้ ไม่มใี ครสอบไดม้ าเปน็ เวลาหา้ สิบกวา่ ปี

จนกระทั่งในปีมสี ามเณรนอ้ ยจากมหาสารคาม ชอ่ื เสฐียรพงษ์ วรรณปก สอบไดเ้ ป็น
รูปแรกในรชั กาลที่ 9 ท่ีสอบได้ ป.ธ. 9 พ.ศ. 2503 สามเณรประยุทธ์ (อารยางกรู ) ปยตุ
โต (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต) ที่สอบได้ ป.ธ. 9 พ.ศ. 2504 ถัดจากสามเณร
ประยุทธ์ ก็มีตามมาอกี จานวนมาก เป็นตน้
อุปสมบท

พระมหาปลด
เม่อื อายคุ รบอปุ สมบท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง ทรงพระกรุณาจัดการในการอุปสมบททุกอย่าง
ตังแต่ทาขวัญนาค ณ พระที่นั่งทรงธรรมวัดเบญจมบพิตร ในวันอุปสมบท ในวันที่ 4
กรกฎาคม 2452 ทรงให้รถหลวง และรถท่ีขอแรงมา รวมทังสิน 54 คัน แห่สามเณรปลดไป

อุปสมบทท่ีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระองค์ทรงตรวจความเรียบร้อยที่วัดเบญจม
บพิตร แล้วเสด็จฯ ล่วงหน้าไปคอยทอดพระเนตรขบวนแห่นาคที่ประตูสวัสดิโสภา
พระบรมมหาราชวังเมือ่ ขบวนมาถึง จึงทรงพระกรุณาพาสามเณรปลดเข้าสู่พระอุโบสถวัด
พระศรีรัตนศาสดารามด้วยพระองค์เอง จากนันสามเณรปลดเข้าขอนิสัยจากสมเด็จพระ
วันรัต (ฑิต อุทยมหาเถระ) พระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า กิตฺติโสภโณ อุปสมบทแล้วมา
ประจาวัดเบญจมบพติ รตลอดมา

พระมหาปลด
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยรู่ ชั กาลทห่ี ก ทรงเปรยทานองจะชวนพระมหาปลดสึกมา
รับราชการ แตพ่ ระมหาปลดแสดงทา่ ทีว่ายนิ ดีอยู่ประพฤติพรหมจรรยม์ ากกวา่ ตอนนนั ทา่ น
เป็นพระราชาคณะหนุม่ ถวายพระธรรมเทศนาแดใ่ นหลวงเปน็ ท่ีโปรดปรานมาก ถา้ ท่านลา
สิกขาไปรับราชการ ทา่ นคงเจรญิ กา้ วหน้าในตาแหนง่ หน้าท่ีราชการแน่นอน

ทีพ่ ระมหาปลดไมส่ กึ นันเพราะ “รบั ฝากวัด” ไว้จากในหลวงรชั กาลทหี่ า้ เรอ่ื งมอี ยวู่ า่
กอ่ นอุปสมบทหนง่ึ วนั มกี ารประกอบพธิ ีทาขวญั นาคท่พี ระที่นั่งทรงธรรม ในหลวงรัชกาลท่ี
ห้าเสด็จในพธิ ดี ้วย ในตอนเสรจ็ พธิ ีกอ่ นจะเสดจ็ กลับ ทรงมีพระราชดารัสกับสามเณรปลด
ว่า “เณร ฝากวัดด้วยนะ” สามเณรปลดก็ได้เฝ้าวัดที่ทรงฝากไว้จนกระท่ังได้เป็นสมเด็จ
พระสงั ฆราช ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ ฯ รัชกาลที่หา้ ทรงทราบว่าสามเณร
น้อยรูปนนั ได้รักษาวดั ทที่ รงฝากไว้มาเปน็ อย่างดี พระองค์กค็ งทรงปีตแิ ละโสมนัสมใิ ชน่ อ้ ย

กิจการพระศาสนาทไี่ ดท้ รงปฏบิ ัตติ ลอดพระชนมชีพของพระองค์นนั พอจะสรุปลงได้
ในองค์การพระศาสนาทงั 4 องค์การ ดังตอ่ ไปนี

1. องคก์ ารปกครอง

วดั เบญจมบพติ ร

พอได้รับการอุปสมบทแล้ว ในฐานะที่เป็นเปรียญเอก 9 ประโยค ก็คงจะได้รับ
มอบหมายใหช้ ว่ ยการปกครองคณะเปน็ การภายในบ้าง แต่ไม่ปรากฏหลกั ฐาน ตอ่ ลว่ งมาอกี
6 ปี พระชนมายุได้ 26 ปี พรรษา 6 ในต้นรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานสมณศักด์ิเป็น
พระราชาคณะ ทพ่ี ระศรีวิสทุ ธวิ งศ์ เม่อื พ.ศ. 2457 งานปกครองคณะสงฆ์ของพระองค์จึง
ปรากฏเป็นหลกั ฐานตงั แต่นนั มา ซ่งึ มเี ปน็ ลาดบั ดงั นี

1. เป็นผชู้ ว่ ยเจ้าอาวาสวดั เบญจมบพติ ร ตงั แต่ พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2471
2. เปน็ เจา้ อาวาสวัดเบญจมบพติ รตังแต่ พ.ศ. 2471 ถงึ สนิ พระชนม์
3. เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง จงั หวัดพระนคร ตังแตพ่ .ศ. 2468 ถงึ พ.ศ. 2485
4. เปน็ เจา้ คณะมณฑลพายพั ตงั แต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2485
5. เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ตงั แต่ พ.ศ. 2473 ถึง พ.ศ. 2485
6. เปน็ เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก ตงั แต่ พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2484

สมเดจ็ พระสงั ฆราช (แพ ตสิ สเทโว)
7. เป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสสเทโว
มหาเถระ วดั สทุ ัศนเทพวราราม ตังแต่ พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2484

8. เปน็ สังฆนายก ตังแต่ พ.ศ. 2494 ถงึ พ.ศ. 2503

สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้ กรมหลวงวชริ ญาณวงศ์
9. เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงประชวรและไม่ทรง
สามารถปฏิบตั หิ นา้ ทีต่ ามปกตไิ ด้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแตง่ ตงั ใหเ้ ปน็ ผบู้ ญั ชาการคณะ
สงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ตังแต่วันท่ี 15 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และเม่ือสมเด็จ
พระสังฆราชเจ้าสินพระชนม์แล้ว โปรดให้รักษาการในตาแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ตังแต่
วนั ท่ี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501

2. องค์การศกึ ษา

สมเดจ็ พระสงั ฆราช ปลด
สมเด็จพระสังฆราช ปลด ได้ทรงรับภารกิจพระศาสนาในด้านการศึกษามาเป็นอัน
มาก เรม่ิ แตก่ ารศกึ ษาในสานักวดั เบญจมบพติ ร อาจกล่าวไดว้ า่ นับตังแต่จบการศึกษาตาม
หลักสูตรแลว้ กไ็ ดร้ ับแต่งตงั ให้เป็นครสู อนบาลผี ู้หนงึ่ ดงั ปรากฏตามรายการพระราชกศุ ลใน
การสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภาคที่ 17 รัตนโกสินทร 128 ว่าด้วยการเล่า
เรยี นพระปรยิ ัตธิ รรม พระสงฆ์สามเณรวัดเบญจมบพติ รไดจ้ ดั การเปลยี่ นแปลงใหม่ เพราะมี
พระสงฆส์ ามเณรและศษิ ยว์ ัดได้เล่าเรียนทวมี ากขึน มรี ะเบียบการสอนเป็นชัน ๆ ดงั นี ฯลฯ
ชันเปรียญสามญั ตงั แต่ประโยค 1 ถึง ประโยค 3 เรียนธรรมบทบันต้นบันปลาย พระมหา
โชติ เปรียญ 8 ประโยคเป็นผู้สอนประจาชัน แต่บางคราวให้พระมหาปลด เปรียญ 9
ประโยคเปน็ ผูส้ อนแทน” ดงั นี

ปรากฏว่าทรงเป็นครูท่ีดี สามารถถ่ายเทความรู้ให้แก่ศิษย์ได้เป็นอย่างดี ศิษย์ของ
พระองค์ได้สาเร็จการศึกษาเป็นเปรียญประโยคต่าง ๆ เป็นจานวนมาก ได้เป็นกาลังพระ
ศาสนา และท่ีออกไปรับราชการและประกอบอาชีพต่าง ๆ มีเป็นอันมากทรงรักงานสอน
หนังสือมาก เคยรับส่ังเสมอว่าเวลาที่สุขสบายใจ ก็คือการสอนและการแสดงธรรมโดย
ปฏภิ าณโวหาร ทรงทาการสอนดว้ ยพระองค์เอง และอานวยการใหพ้ ระภิกษุอ่นื ๆ สอน ทงั
ในสานักเรยี นวัดเบญจมบพิตรและในมณฑลพายัพ โดยส่งพระเปรียญจากจังหวัดพระนคร
ไปทาการสอนในจังหวัดต่าง ๆ เปน็ อันมาก ทาให้การศึกษาภาษาบาลีใน 7 จังหวัดมณฑล
พายัพไดเ้ จรญิ รุง่ เรอื งมาจนตราบเทา่ ทกุ วันนี

สมเดจ็ พระสงั ฆราช ปลด
สาหรับพระองค์เองได้สอนตังแต่ชันสามัญ คือประโยค 3 จนถึงประโยค 9
โดยเฉพาะประโยค 9 ทรงสอนมาจนถงึ พ.ศ. 2487 จึงได้ยุตกิ ารสอน เพราะมีพระเปรียญท่ี
เปน็ ศษิ ยส์ ามารถสอนแทนได้แล้ว และเพราะภาวะสงคราม พระภิกษุสามเณรต่างกลับไป

อยู่ตามภูมิลาเนาเดิมเสียเป็นส่วนมาก ครันเสร็จภาวะสงครามแล้ว ก็ต้องทรงรับภาระ
พระพุทธศาสนาในฝ่ายอ่ืนมาก ไม่มีเวลาท่ีจะทาการสอนได้ แต่ถึงอย่างนัน ในการสอน
พระภิกษุใหม่ซ่ึงเป็นสัทธิวิหาริกของพระองค์ ได้ทรงสอนนับแต่ได้รับมอบหมายจาก
สมเด็จ ฯ เจา้ อาวาสองค์ประถมเปน็ ต้นมา จนถงึ พรรษาสดุ ท้าย คอื พรรษาในปี พ.ศ. 2504
ในฝา่ ยการศกึ ษาพระปริยตั ิธรรม

ในส่วนการสร้างสถานที่ศึกษา โดยเฉพาะในวัดเบญจมบพิตร ทรงอานวยการให้
จัดการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึน 2 หลัง เป็นตึกสองชันก่ออิฐถือปูน และให้สร้าง
หอสมดุ ป. กิตติวนั ขึนอกี หลงั หนง่ึ ในส่วนการศกึ ษาวิชาสามัญทางคดโี ลก พระองค์ไดท้ รง
อุปการะอุปถัมภ์ในการศึกษาแผนกนีโดยสมควรแก่ความจาเป็น และได้สร้างโรงเรียน
เทศบาลขนึ ในวัดเบญจมบพติ ร หลังหน่ึง ทางการศึกษามตี าแหน่งดงั นี

1.เปน็ ผอู้ านวยการรกั ษาในสานกั เรยี นเบญจมบพติ ร ในฐานเปน็ อาจารยใ์ หญแ่ ละ
เจา้ สานกั เรยี น

2. เป็นพระคณาจารยโ์ ท ในทางภาษาบาลี พ.ศ. 2463

3. เป็นผอู้ านวยการรกั ษาในแขวงกลางจงั หวดั พระนคร ตังแต่ พ.ศ. 2468 ตลอด
พระชนมายุ

4. พ.ศ. 2471 เป็นเจา้ อาวาสวดั เบญจมบพติ ร และเปน็ กรรมการมหาเถรสมาคม

5. เป็นผอู้ านวยการรกั ษาในมณฑลพายพั นบั แตเ่ ปน็ ผชู้ ว่ ย และตงั แต่ พ.ศ. 2471
ถงึ พ.ศ. 2485

6. เปน็ แมก่ องสอบไลน่ กั ธรรมสาขามณฑลพายพั และเปน็ แมก่ องธรรมสนามหลวง
เองตงั แต่ พ.ศ. 2485 ถงึ พ.ศ. 2486

7. เป็นกรรมการสอบพระปรยิ ตั ธิ รรมในสนามหลวง ทว่ี ัดพระศรรี ตั นศาสดาราม
ตังแตพ่ รรษาแรกทไี่ ดอ้ ปุ สมบท และในสมยั ทสี อบโดยวธิ เี ขยี นกไ็ ดเ้ ปน็ กรรมการ
ตรวจขอ้ สอบประโยคบาลสี นามหลวง ตลอดมา

8. เป็นแมก่ องบาลสี นามหลวง ตงั แต่ พ.ศ. 2479 ถึง พ.ศ. 2503

สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสงั ฆราช (ปลด กติ ตฺ โิ สภโณ)
สมเดจ็ พระสงั ฆราชพระองคท์ ี่ 14 แหง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์

วดั เบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม ราชวรวหิ าร กรงุ เทพมหานคร
ทรงฉายพระรปู รว่ มกับ “คณะสงั ฆมนตรี พทุ ธศกั ราช 2503” จานวน 10 รปู

(นับเปน็ คณะสงั ฆมนตรชี ุดสดุ ทา้ ยในประวตั ศิ าสตรค์ ณะสงฆไ์ ทย)

9. เปน็ สงั ฆมนตรวี า่ การองคก์ ารศกึ ษาตงั แต่ พ.ศ. 2485 ถงึ พ.ศ. 2503 รวม 18 ปี

2. องค์การเผยแผ่

รชั กาลที่ 6
ในการเผยแผศ่ าสนธรรมคาสง่ั สอนของพระพุทธเจ้านนั สมเด็จพระสังฆราช
ทรงแสดงธรรมทังท่ีไดเ้ รยี บเรียงขึนแสดง และทรงแสดงโดยปฏิภาณโวหารในโอกาสต่าง ๆ
และในวันธรรมสวนะเป็นประจา ครังหน่ึงในรัชกาลท่ี 6 สมัยเม่ือยังดารงสมณศักด์ิเป็น
พระราชาคณะที่พระศรสี ทุ ธิวงศ์ ในปี พ.ศ. 2466 ได้ถวายพระธรรมเทศนาในงานพระราช
พธิ วี สิ าขบชู า ทีค่ า่ ยหลวงหาดเจ้าสาราญ จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอย่หู ัว พระมหาธรี ราชเจ้า ไดม้ พี ระราชดารสั ชมเชยพระธรรมเทศนาวสิ าขบชู าทถ่ี วายใน
คราวนันว่า “เป็นเทศนาที่เหมาะใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก เพราะพระศรีวิสุทธิวงศ์ได้เก็บคดี
ธรรมผสมกับคดีโลกอย่างสนิทสนมกลมกล่อมและใช้สานวนโวหารอันเข้าใจง่าย สาหรับ
บุคคลไม่เลือกวา่ ชนั ใด” หนังสือธรรมท่ที รงเรียบเรยี งและพิมพอ์ อกเผยแผ่กม็ มี าก เรื่องที่มี
ผู้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการมากที่สุดที่ควรยกขึนกล่าวในที่นีก็คือ “มงคลภาษิต”
“ปราภวภาษิต ศีลธรรมอนั ดีของประชาชน” เปน็ ตน้ พระองคไ์ ด้รับการยกย่องใหเ้ ป็นพระ
คณาจารยโ์ ททางเทศนา

3. องค์การสาธารณูปการ

พระพทุ ธชนิ ราช(จาลอง) ภายในพระอโุ บสถวดั เบญจมบพติ ร
ในการพระศาสนาส่วนนีทรงปฏิบัติได้ดีจนเป็นตัวอย่างและได้รับความชมเชย
โดยเฉพาะวัดเบญจมบพิตร ความสะอาดสะอ้านในพระอารามนับแต่สนามหญ้า, ต้นไม้,
เสนาสนะ, พระอุโบสถ, พระวิหาร, กุฏิท่ีอยู่อาศัย นอกจากนีพระองค์ได้ทรงอานวยการ
ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุอนั วจิ ติ รงดงามในพระอาราม รกั ษาศลิ ปกรรมประณตี ศลิ ปไ์ ว้
เป็นอันดี ความเป็นระเบียบของเสนาสนะ ไม่ทาการก่อสร้างขึนจนเสียแบบแปลนแผนผัง
ของวัด ไม่ให้มีบ้านคฤหัสถ์ติดกาแพงวัด และโดยเฉพาะศาสนสมบัติทังของวัดและศาสน
สมบัติกลาง พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่เป็นพิเศษ พยายามรักษามิให้รั่วไหล ด้วยการทรง
สอดสอ่ งดูแลเป็นอย่างดี

ในฐานะเจา้ คณะมณฑลพายพั พระองค์ได้เสด็จไปเกอื บทุกจังหวัด และโดยท่ีได้ดารง
ตาแหน่งประธานคณะบญั ชาการคณะสงฆ์พระองค์ได้ไปตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลปักษ์
ใต้ เกอื บจะกลา่ วได้ว่าทุกจงั หวดั เชน่ กัน

วดั เบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม

การในวัดเบญจมบพิตร

ในธุรกิจเกย่ี วกบั การบริหารวดั เบญจมบพติ รนนั นบั ตงั แตไ่ ดร้ บั มอบหมายใหเ้ ปน็ ผชู้ ว่ ย
เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสเอง เม่ือวันท่ี 11 ตุลาคม 2471 สืบต่อจาก
สมเด็จ ฯ เจ้าอาวาสองค์ประถมแล้ว พระองค์ได้ปฏิบัติกรณียกิจ อานวยให้เกิดประโยชน์
และความเจริญแก่วัดเบญจมบพติ รหลายสถาน

ในการปกครอง
ไดก้ วดขันให้ภิกษุสามเณรรกั ษาระเบียบแบบแผนประเพณอี นั เปน็ พระราชประสงคใ์ น

รชั กาลที่ 5 ไว้ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในการประพฤตปิ ฏิบัติตามพระธรรมวนิ ยั และเพอ่ื ใหก้ าร
ปกครองเปน็ ไปโดยเรยี บรอ้ ย พระองคไ์ ดอ้ อกระเบยี บกตกิ าของวดั ขนึ โดยเฉพาะในวนั ธรรม
สวนะ เวลาเช้าภิกษุสามเณรจะต้องลงทาวัตรฟังเทศน์เสมอ เว้นแต่มีกิจนิมนต์ แต่ก็ต้อง
บอกลาไวเ้ ปน็ หลกั ฐาน สาหรับการฟงั พระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนแล้วภิกษุรูปใดจะขาดมิได้
เวน้ แต่อาพาธหรอื มกี จิ นิมนต์จาเป็นจริง ๆ โดยเฉพาะพระองค์ได้ทรงทาเป็นตัวอย่างอันดี
เสมอ อนั นีเป็นทท่ี ราบกันดขี องบรรดาภิกษสุ ามเณรวัดเบญจมบพิตร

ในการศกึ ษา
โดยพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 5 ทรงต้องการให้วัดเบญจมบพิตรเป็นแหล่งกลาง

การศกึ ษาพระปรยิ ตั ิธรรมแห่งหนึง่ ซ่งึ จะเหน็ ได้จากการที่ทรงสนบั สนนุ ดว้ ยประการตา่ ง ๆ
เช่น ภายหลังจากการสอบไล่พระปริยัติธรรมแล้วหากภิกษุสามเณรใดสอบได้ ก็

พระราชทานรางวลั เปน็ พิเศษและเลยี งพระเปน็ การฉลองสมโภชด้วย ซ่ึงในการเลียงพระนี
ภิกษุสามเณรรูปใดสอบตก จะไม่ถูกนิมนต์เข้าร่วมในพิธีการนีเลยเป็นต้น และหากภิกษุ
สามเณรรปู ใดสอบตกติด ๆ กัน 3 ปีแลว้ ไมม่ พี ระราชประสงคจ์ ะใหอ้ ยูต่ ่อไป ฯ

พระราชประสงค์ดงั กลา่ วนสี มเดจ็ พระสงั ฆราชทรงทราบ ดีมาแต่ต้น พระองค์จึงทรง
เอาพระทัยใส่ในเร่ืองการศึกษาเป็นพิเศษ นับตังแต่เป็นครูอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
และอานวยการให้ภกิ ษอุ ื่น ๆ ไดช้ ว่ ยทาการสอน ควบคมุ วิธกี ารเรยี นการสอนดว้ ยพระองค์
เอง ทังในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและในฐานะเป็นเจ้าอาวาส ซ่ึงผลของการศึกษานัน
นับตงั แต่พระองคด์ ารงตาแหน่งเจา้ อาวาสเปน็ ต้นมา ปรากฏมผี ู้ทเี่ รียนพระปรยิ ัติธรรมและ
สอบไลไ่ ดเ้ ปน็ เปรยี ญเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะในสมัยท่ีทรงดารงตาแหนง่ เจา้ อาวาสนี มผี ู้
ท่ีสอบไล่ไดเ้ ปน็ เปรยี ญธรรม 9 ประโยค เกนิ กวา่ 10 รปู แล้ว นับเป็นเกียรติประวัติอันดียิ่ง
ของวัดเบญจมบพิตร ซ่ึงโดยปกติในจานวนภิกษุสามเณรอยู่ประจาพระอารามประมาณ
70 - 80 รูปนัน มีที่เป็นเปรียญธรรม ตังแต่ 3 ประโยค ถึง 9 ประโยค ประมาณ 60 - 70
รปู

ในการเผยแผ่
นอกจากจะทรงแสดงธรรมสง่ั สอนพทุ ธบริษทั โดยปฏภิ าณโวหารประจาวนั ธรรมสวนะ

แล้ว ได้ทรงอานวยการให้มีการเผยแผ่ด้วยประการอ่ืน ๆ อีกหลายประการ เป็นต้นว่า
กวดขันความเป็นอยู่ของภิกษุสามเณรให้อยู่ในระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี
ของวดั
ในการสาธารณปู การ

สมเดจ็ พระศรพี ชั รนิ ทราบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง
สาหรับพระอาราม พระองค์เคยรับสง่ั วา่ สมเดจ็ พระพนั ปหี ลวงเคยรบั สงั่ กบั พระองคไ์ ว้
วา่ การที่รชั กาลที่ 5 ทรงยกยอ่ งและอปุ ถมั ภบ์ ารุงพิเศษนัน กด็ ว้ ยมพี ระราชประสงคจ์ ะใหไ้ ด้
รกั ษาพระอารามสบื พระราชกศุ ลใหถ้ าวรมั่นคงตลอดไป ฉะนนั ในการดแู ลรกั ษาและจดั การ
เก่ียวกับการสาธารณูปการในพระอาราม เช่น ความสะอาด การปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม

ถาวรวัตถอุ ันวิจติ รงดงาม และการกฏุ เิ สนาสนะวหิ ารภายในพระอารามโดยทว่ั ไป จงึ ทรงเอา
พระทัยใส่เป็นพเิ ศษ ถึงแม้ในการปฏิสงั ขรณซ์ ่อมแซมถาวรวตั ถตุ ่าง ๆ เช่นพระอโุ บสถ พระ
วิหาร และกุฎิเสนาสนะ อันต้องทาการปฦิสังขรณ์เป็นอันมากนัน จักไม่มีทุนมาทาการ
ปฏสิ งั ขรณ์มาแต่เดิม พระองคไ์ ด้ทรงขวนขวายจดั ใหม้ ขี นึ โดยจดั การฟนื้ ฟพู ระราชประเพณี
มีการจัดงานมนัสการพระพุทธชินราชประจาปีขึนในพระบรมราชูปถัมภ์ และขอความ
อุปถัมภ์จากรัฐบาลและประชาชนมาทาการ

ซึ่งได้จัดทาการปฎิสังขรณ์สาเร็จมาแล้วเป็นอันดี และเสนาสนะอันจาเป็นแก่
การศกึ ษาเช่นโรงเรยี นพระปรยิ ตั ธิ รรม กไ็ ดจ้ ดั การใหก้ อสรา้ งหอศกึ ษาพระปรยิ ตั ธิ รรมขนึ 2
หลัง และหอสมดุ อีกหลังหนึง่ แม้วัตถุเครอื่ งประดบั ในพระอุโบสถ ซ่งึ แต่เดมิ ก็ไม่มบี รบิ รู ณก์ ็
ได้จัดใหม้ ขี นึ หลายประการ คอื

1. โต๊ะหมู่เครือ่ งบชู าหมู่ 9 หนา้ พระพทุ ธชนิ ราช
2. โคมตราพระเกียวแขวนเพดานพระอโุ บสถ

ภาพจอมเจดยี ์ 3 ใน 8 ในชอ่ งหนา้ ตา่ งตนั ในพระอโุ บสถวดั เบญจมบพติ ร

4. ภาพจอมเจดยี ท์ ัง 8 ในชอ่ งหนา้ ต่างตันในพระอุโบสถ

กระจกภาพเทพประนมลายสี บนกรอบหนา้ ต่างพระอุโบสถวัดเบญจมบพติ ร
4. กระจกภาพเทพประนมลายสี บนกรอบหน้าต่างพระอโุ บสถ เป็นต้น

โรงเรยี นมธั ยมวดั เบญจมบพติ รในอดตี

ในฝา่ ยการศกึ ษาทางคดีโลก

สมเด็จพระสังฆราชในฐานะเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ได้เอาพระทัยใส่สนับสนุน
การศกึ ษาฝ่ายนโี ดยสมควร คอื ไดร้ ว่ มกบั ทางราชการสรา้ งโรงเรยี นชนั ประถมศกึ ษาเทศบาล
ขึนหลงั หนึง่ ในการอปุ ถมั ภ์บารงุ นนั ในวัดเบญจมบพิตร มีโรงเรยี นท่สี อนวิชาสามญั 2 โรง
คือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และโรงเรียนเทศบาล 8 ท่ีได้สร้างขึน นัน สมเด็จ
พระสงั ฆราชได้ทรงอุปถัมภอ์ ุปการะตามโอกาส เชน่ อบรมส่ังสอนเดก็ และให้รางวลั แกเ่ ดก็
นักเรยี นที่สอบได้คะแนนเป็นเย่ยี ม เปน็ การสนบั สนุนการศกึ ษาของนกั เรยี นให้ดขี นึ

สมเดจ็ พระสงั ฆราช ปลด และพระภกิ ษุ อบุ าสก วดั เบญจมบพติ ร

สรปุ รวมความแล้ว วดั เบญจมบพติ รดุสิตวนาราม ในสมัยทีส่ มเด็จพระสังฆราช ปลด
ทรงดารงตาแหนง่ เจ้าอาวาส เปน็ เวลา 33 ปี 9 เดอื น และ 1 วัน ไดเ้ จรญิ ขึนโดยลาดับ ทัง
ในด้านการศึกษา การเผยแผ่ และในด้านการปกครองก็พยายามกวดขันภิกษุสามเณร ให้
ประพฤติดปี ฏบิ ตั ชิ อบตามพระธรรมวนิ ยั และระเบียบแบบแผนประเพณีอันดีของวัด ตาม
พระราชประสงคใ์ นรชั กาลที่ 5 และพยายามทานุบารงุ รักษาศลิ ปกรรมถาวรวตั ถตุ ่าง ๆ ใน
พระอารามเป็นอันดี สมกับความไว้วางพระราชหฤทัยในรัชกาลท่ี 5 และสมเด็จพระพันปี
หลวง

สมณศกั ด์ิ ดารงตาแหนง่

โดยทไี่ ดท้ รงรบั ภาระธรุ ะพระศาสนามาดว้ ยพระอตุ สาหะวริ ยิ ะ และดว้ ยความเอา
พระทยั ใสเ่ ปน็ อนั ดี ทางราชการและทางคณะสงฆไ์ ดเ้ หน็ พระคณุ ธรรมนนั ๆ ปรากฏ จงึ ได้
ยกยอ่ งใหม้ สี มณศกั ดิป์ ระดบั พระเกยี รตปิ ระวตั มิ าโดยลาดบั คือ:-

พ.ศ. 2457 เปน็ พระราชาคณะที่ พระศรวี สิ ทุ ธวิ งษ์
พ.ศ. 2466 เปน็ พระราชาคณะชนั ราชที่ พระราชเวที ตรปี ฎิ กภษู ติ ธรรมบณั ฑติ
ยตคิ ณศิ ร บวรสงั ฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2468 เปน็ เจา้ คณะแขวงกลาง จงั หวดั พระนคร
พ.ศ. 2469 เปน็ พระราชาคณะชนั เทพที่ พระเทพมนุ ี ศรวี สิ ทุ ธศลี าจารย์ ญาณนายก
ตรีปฎิ กธรา มหาคณฤศร บวรสงั ฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2471 เปน็ เจา้ คณะมณฑลพายพั
พ.ศ. 2473 เปน็ พระราชาคณะชนั ธรรมท่ี พระธรรมโกศาจารย์ สนุ ทรญาณดลิ ก
ตรปี ฎิ กธรรมภษู ติ ยตคิ ณสิ สร บวรสงั ฆาราม คามวาสี

พ.ศ. 2481 เปน็ เจา้ คณะมณฑลพษิ ณโุ ลกและเป็นประธานคณะบญั ชาการคณะสงฆ์
แทนองคส์ มเดจ็ พระสงั ฆราช (แพ ตสิ สฺ เทโว)

พ.ศ. 2482 เปน็ พระราชาคณะเจา้ คณะรองหนกลางท่ี พระพรหมมนุ ี ศรวี สิ ทุ ธญิ าณ
นายก ตรปี ฎิ กธรรมาลงั การวภิ ษู ติ มชั ฌมิ คณศิ ร บวรสงั ฆาราม คามวาสี สงั ฆนายก

พ.ศ. 2490 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิ
สงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาคณะปธานาดิศร บวรสังฆาราม
คามวาสี อรัณยวาสี

พ.ศ. 2501 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิร
ญาณวงศ์ และรักษาการในตาแหน่งสมเดจ็ พระสังฆราช

สมเดจ็ พระสงั ฆราช (ปลด)

พ.ศ. 2503 เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ท่ี 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สมเด็จ
พระอรยิ วงศาคตญาณ สุขมุ วธิ านธารง สกลมหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากสุ โลภาส ภมู พิ ล
มหาราชอนศุ าสนาจารย์ กิตติโสภณาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตตมโศภน วิมลศลี สมาจารวตั ร
พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรธรรม
บพติ ร สมเดจ็ พระสงั ฆราช

สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ (ปลด กิตตฺ โิ สภโณ) สมเดจ็ พระสงั ฆราช
เสดจ็ ตา่ งประเทศ 9 ครงั ดงั นี

ครังท่ี 1 เมื่อ พ.ศ. 2482 ในฐานประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนพระองค์
สมเดจ็ พระสังฆราช ตสิ สเทวมหาเถระ วัดสุทศั นเทพวราราม ไปตรวจการคณะสงฆ์ภาคใต้
ไดไ้ ปไทรบรุ ี ปนี งั ในสหพันธรฐั มลายา

ครังท่ี 2 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมปฏิบัติงานฉัฎฐ
สงั คายนาจตตุ ถสนั นบิ าต (สมัยไทย) โดยเปน็ ประธานกระทาพธิ เี ปดิ ประชมุ สงั คายนาสมยั ท่ี
ส่ีนัน ณปาสาณคูหา ประเทศสหภาพพมา่ เป็นเวลา 15 วัน

ครงั ที่ 3 เมื่อเดอื นพฤษภาคม และ มิถุนายน พ.ศ. 2499 ไดเ้ ปน็ หวั หนา้ คณะ ไปรว่ ม
พิธีฉลองพุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกาโดยผ่านไปพักท่ี
สงิ คโปร์ 3 วัน แล้วไปร่วมพิธีที่เมืองซีลอนหรือโคลัมโบ เมืองแคนดี เมืองอนุราชปุระ เมื่อ
เสรจ็ พธิ ที ี่ประเทศลงั กาแล้ว ได้เสดจ็ เลยไปสงั เกตการพระศาสนา ในประเทศอนิ เดยี อกี ดว้ ย
เป็นเวลา 30 วนั

ครังท่ี 4 เม่ือเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2501 ได้เป็นหัวหน้าคณะ ไปร่วมงานและเป็น
ประธานประกอบพิธบี รรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบบุ ผาราม เมอื งปีนงั สหพนั ธรัฐมลายา ซง่ึ ใน
การเสดจ็ ไปครงั นีได้เสด็จไปเมืองกวั ลาลมั เปอร์ เมืองหลวงเป็นเวลา 7 วัน

ครังท่ี 5 เมื่อเดือนมีนาคม และ เมษายน พ.ศ. 2502 ไดเ้ ปน็ หัวหน้าคณะ ไปร่วมพิธี
ฉลองพุทธยนั ตี 25 ศตวรรษแหง่ พระพุทธศาสนา ณ ประเทศญ่ปี ่นุ

เป็นเวลา 30 วนั
ครงั ที่ 6 เมอื่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ไดเ้ ป็นหวั หน้าคณะ นาพระสงฆ์ไทยไปอยู่

ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้เสด็จไปนมัสการปูชนียสถานสาคัญ คือ สังเวช
นยี สถาน 4 ตาบลด้วย เปน็ เวลา 10 วัน

ครังที่ 7 เมอ่ื เดือนเมษายน พ.ศ. 2503 ในการไปประกอบพธิ เี ปดิ โรงเรยี นพระปริยัติ
ธรรม ณ วัดโพธ์ิชัย จังหวัดหนองคาย ได้เลยไปเย่ียมคณะสงฆ์และเยี่ยมวัดต่าง ๆ ใน
ประเทศลาวด้วย

สมเดจ็ พรสงั ฆราช ปลด เสด็จประเทศสหรฐั อเมรกิ าและยโุ รป

ครังที่ 8 เม่ือเดือนมิถุนายน และ กรกฏาคม พ.ศ. 2504 ได้เสด็จไปสังเกตการพระ
ศาสนาการศกึ ษา และเยี่ยมประชาชน ในประเทศสหรฐั อเมริกาและยุโรปบางประเทศ ตาม
คาทูลอาราธนาของมลู นิธิเอเซยี เป็นเวลา 45 วนั

ครังที่ 9 เมื่อเดอื นเมษายน พ.ศ. 2505 ก่อนหน้าสินพระชนม์เดือนเศษ คือระหว่าง
วันที่ 7 เมษายน ถึงวันท่ี 27 เมษายน ได้เสด็จไปสังเกตการพระศาสนาและเย่ยี มประชาชน
อนิ เดยี ตามคาทลู อาราธนาของรฐั บาลอินเดีย เปน็ เวลา 20 วัน
ผลงานสาคญั สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ (ปลด กติ ตฺ โิ สภโณ) สมเดจ็ พระสงั ฆราช
มดี งั นี

ในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั ไดร้ ับมอบใหเ้ ปน็ ผชู้ าระคมั ภรี ์
อรรถกถาพระสตุ ตนั ตปฎิ ก ขทุ ทกนกิ าย 4 คมั ภรี ์ คอื อรรถกถาอทุ าน อติ วิ ุตตก มหานเิ ทศ
และจลุ นเิ ทศ

ในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดร้ ับมอบใหเ้ ปน็ ผชู้ าระคมั ภรี พ์ ระ
สตุ ตนั ตปฎิ ก ขทุ ทกนกิ าย 3 คมั ภรี ์ คอื มหานเิ ทศ จลุ นเิ ทศ และชาดก และไดช้ าระคมั ภรี ์
สารตั ถทปี นี ฎกี าพระวนิ ยั

ในรชั สมยั สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั อานนั ทมหดิ ล ไดเ้ ปน็ ประธานกรรมาธกิ ารแปล
พระไตรปฎิ กภาษาบาลเี ปน็ ภาษาไทย จนจบพมิ พเ์ ปน็ เลม่ ไดจ้ านวน 80 เลม่ เมอื่ ปี พ.ศ.
2500

เมอ่ื ปี พ.ศ. 2500 ไดเ้ ปน็ ประธานสงฆใ์ นงานรฐั พธิ ฉี ลอง 25 พทุ ธศตวรรษของไทย

พระอวสานกาล

พระโกศสมเดจ็ พระสงั ฆราช (ปลด)
ในวันท่ี 17 มิถุนายน 2505 เวลาเช้าพระอาการทั่วไปเป็นปกติ จะมีก็เพียงคงปวด
พระเศียรตามธรรมดาซึ่งไม่หนักอะไร เวลาเพลได้เสด็จไปเจริญพระพุทธมนต์และเสวย
ภัตตาหารเพล เน่ืองในงานทาบุญของท่านจอมพลสฤษฎ์ิ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้เป็น

ปกติ และเสด็จกลับมาถึงวัดเวลาประมาณ 13.00 น. แล้วก็ได้ทรงพักผ่อนตามท่ีทรงเคย
ปฏิบัติมา และในเวลาประมาณ 14.00 น.และได้ทรงสนทนากับบิดา มารดาของกุลบุตร
ผู้นาบุตรมาฝากบวชเป็นเวลานานพอสมควร จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. เศษ พระ
อาการท่วั ไปกย็ งั ปกตอิ ยู่ ครันผ้ทู นี่ าบุตรมาฝากบวชนันกลับแลว้ ก็เสดจ็ เขา้ สรงนาตามปกติ
เช่นเคยมา แต่แลว้ พระอาการทไ่ี มม่ ใี ครคาดฝนั กป็ รากฏขนึ นนั่ คอื พระอาการปวดพระเศยี ร
จนเกนิ กาลงั ความสามารถทท่ี รงอดทนได้ เมอ่ื พระปฏบิ ตั ริ บั ใชร้ บี เชญิ นายแพทยม์ าเฝา้ พระ
อาการ พอทรงเหน็ หนา้ นายแพทย์และรับส่งั ได้เพยี งไม่กค่ี าพระองค์ก็สินพระชนมด์ ้วยพระ
อาการอันสงบ ถึงแม้บรรดานายแพทย์จะพยายามช่วยเพื่อให้ทรงฟื้นขึนมาอย่างเต็ม
ความสามารถและความรู้ อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงฟ้ืนมาได้ไม่ คณะแพทย์ได้ลง
ความเหน็ พรอ้ มกนั ว่าสมเด็จพระสังฆราชได้สนิ พระชนมด์ ้วยพระโรคเส้นโลหิตใหญ่ในพระ
สมอง แตกอยา่ งปจั จบุ นั

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ กิตติโสภณมหาเถระ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา
สังฆปริณายก สินพระชนม์ เมื่อวันอาทิตย์ขึน 15 ค่า เดือน 7 ปีขาล ตรงกับวันท่ี
17 มิถุนายน 2505 เวลา 16.27 น. สิริพระชนมายุได้ 73 พรรษา กบั อีก 21 วัน

นับเป็นการสูญเสียท่ีย่ิงใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย ท่ีสมเด็จพระสังฆราช ท่ีทรงเป็น
ต้นแบบนาคหลวง สาหรับสามเณรประโยค 9 ทังหลายในปัจจุบัน สินพระชนม์แบบไม่
คาดคดิ มากอ่ น

.....................................................................

แหลง่ ขอ้ มลู อา้ งองิ

บทความพเิ ศษ สามเณรปลด โดย ศาสตราจารย์ (พเิ ศษ) เสฐยี รพงษ์ วรรณปก หนา้ 67
หนงั สอื มตชิ นสดุ สปั ดาห์ ฉบบั ที่ 1866 ประจาวนั ท่ี 20-26 พฤษภาคม 2559.

in.pinterest.com
koha.tulibs.net
mgronline.com
shopee.co.th
th.wikipedia.org › wiki
www.dharma-gateway.com
www.lungthong.com › product
www.posttoday.com

ขอขอบคณุ ภาพและขอ้ มลู จากเว็บไซตต์ า่ ง ๆ


Click to View FlipBook Version