การขายสินค้าออนไลน์เเละเตือนภัยเกี่ยวกับ
มิจฉาชีพที่มาในรูปเเบบออนไลน์
จุดเริ่มต้นสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์
เชื่อว่าในยุคนี้หลายๆคนสนใจที่จะทำธุรกิจออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ที่ดีควรมีอะไรบ้างโครงสร้างต้องเป็นแบบไหน ยังไม่
เข้าใจในกระบวนการ วิธีการทำธุรกิจออนไลน์ ยากไหม ถ้าเริ่มจาก 0
ควรรู้อะไรก่อน ที่นี่มีคำตอบสำหรับมือใหม่ที่อยากทำธุรกิจออนไลน์ "ที่
เริ่มต้นจาก 0 ในการทำธุรกิจออนไลน์" ปัจจัยหลักของการทำธุรกิจ
ออนไลน์ มีอยู่ 2 อย่าง คือ การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ และ วิธีการ
ทำการตลาดบนโลกธุรกิจออนไลน์
ปัจจุบันการทำธุรกรรมออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่
ทำให้
ทุก ๆ คนก็สามารถที่จะกลายเป็น ผู้ซื้อและ
ผู้ขาย ผ่านทาง Social Media ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจ E-Commerce
ที่สนับสนุนการให้กับผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น โดย
การทำธุรกรรมออนไลน์มีหลายรูปแบบ เช่น พรีออเดอร์ (การสั่งซื้อสินค้าต่าง
ประเทศโดยจ่ายเงินก่อนนัดส่งสินค้า) การซื้อขายตาม Social Media
เช่น Facebook , Instagram หรือ Line@ หรือ การทำธุรกรรมอื่น ๆ
ทางออนไลน์ ซึ่งกลโกงมักแอบแฝงอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ หาก
ไม่ระวัง ก็อาจตกเป็นเหยื่อ แก๊งมิจจฉาชีพได้ ยกตัวอย่างกลโกงที่พบบ่อย ๆ
มีดังนี้
1
1. ซื้อสินค้าออนไลน์แล้วไม่ได้รับสินค้าตามกำหนด
มิจฉาชีพอาจสร้างบัญชีเพจร้านค้าตาม Social Media ต่างๆ เช่น
Facebook , Instagram หรือ Line@ อาจมีการโพสรูปสินค้า
ทำโปรโมชั่นลดราคาถูกเกินท้องตลาดเพื่อจูงใจ เหยื่อที่ไม่รู้
หลงกลและโอนเงิน แต่เมื่อต้องการเลขพัสดุสินค้าก็ไม่มีการติดต่อ
กลับ หรือเมื่อติดต่อกลับไปไม่มีคนรับสาย ทำให้สูญเงินไปโดย
ไม่มีโอกาสได้คืน
วิธีสังเกตและวิธีป้องกัน
1. สังเกตยอดไลค์แฟนเพจ การรีวิวได้รับสินค้าจากผู้ซื้อต่าง ๆ
2. เช็คราคาจากเพจร้านค้าหลาย ๆ ที่ ว่าราคาใกล้เคียงกันหรือไม่
3. เช็คชื่อและเลขที่บัญชีผู้ขายจาก Social Media ต่าง ๆ เช่น
กระทู้ Pantip หรือ กลุ่มซื้อขายสาธารณะ Facebook ว่าเคยมีผู้
โดนโกงหรือไม่
4. ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ที่มีชื่อเสียง เพื่อหลีก
เลี่ยงการโอนเงินให้กับผู้ขายโดยตรง เช่น Lazada , Shopee
เป็นต้น
2. หลอกให้โอนเงินโดยใช้การสวมรอยบัญชีอีเมล หรือ Social
Network
มิจฉาชีพจะส่งอีเมล Phishing แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการอีเมล เพื่อ
หลอกให้กรอกข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เพื่อนำมาสวมรอยเข้าใช้
งานในบัญชีอีเมลของเจ้าของบัญชี หลังจากนั้นจะส่งอีเมลไปหาเพื่อน
ของเจ้าของบัญชีอีเมล เพื่อหลอกให้เพื่อนโอนเงินให้หรือถ้าเจ้าของ
บัญชี ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันใน Social Media ต่าง ๆ มิจฉาชีพอาจจะ
นำรหัสผ่านไป Login สวมรอยต่อใน Social Network ได้อีกด้วย
3. แอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กร หน่วย
งานราชการ หรือ ชาวต่างชาติจากแอปหาคู่รัก (Romance Scam)
ฯลฯ ซึ่งหลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของขวัญมาให้ พร้อมส่งหลักฐาน
โอนเงินปลอมเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ จากนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ต่าง ๆ จากเหยื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ค่าดำเนินการ ค่า
ภาษีศุลกากร ค่าทนาย โดยจะเรียกเก็บในจำนวนน้อยแล้วเพิ่ม
จำนวนเงินขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็อาจหมดเงินไป
จำนวนมากแล้ว
2
4. โฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ผ่านโฆษณาเว็บไซต์
กลุ่ม Facebook สาธารณะ หรือส่งอีเมลหาเหยื่อโดยตรง ใช้คำ
จูงใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บริการกู้นอกระบบ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติ
ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร เมื่อเหยื่อหลงกลติดต่อไป
แก๊งมิจฉาชีพจะส่งสัญญาและขอให้เหยื่อลงลายเซ็น พร้อมโอนเงิน
ชำระค่าทำสัญญา ค่าเอกสาร ค่ามัดจำ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่ง
เหยื่ออาจจะเสียรู้ด้วยความรีบร้อน เมื่อโอนและติดต่อกลับไปเพื่อ
ต้องการเงินกู้กลับไม่สามารถติดต่อผู้ให้กู้อีกได้เลยและสูญเงินไป
โดยไม่มีโอกาสได้คืน
5. โดนใช้บัญชีเป็นที่พักเงินจากมิจฉาชีพ
มิจฉาชีพจะประกาศรับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต หลอกเหยื่อว่าเป็น
บริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงขอ
ให้เหยื่อทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินให้ โดยจ่ายเป็นค่านายหน้า เมื่อ
มีเงินโอนเข้าบัญชีของเหยื่อ บริษัทจะแจ้งเหยื่อให้หักค่าจ้างไว้ แล้ว
โอนเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่บริษัทแม่ในต่างประเทศทันทีผ่านบริการ
โอนเงินที่ไม่ต้องใช้เอกสารแสดงตน โดยที่เหยื่อไม่รู้เลยว่า เงินที่
โอนเข้ามาในบัญชีเหยื่อนั้นเป็นเงินผิดกฎหมายที่มิจฉาชีพหลอกให้
คนอื่นโอนมาให้ กว่าเหยื่อจะรู้ตัวก็เมื่อพนักงานธนาคารติดต่อเพื่อ
อายัดบัญชีของเหยื่อหรือถูกตำรวจจับแล้ว
3
โดยสรุปแล้ว กลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย
แบ่งเป็นข้อ ๆ ตามนี้
1. ขายสินค้าถูกกว่าท้องตลาดเกินไป
2. ล่อลวงให้โอนเงินค่าสินค้าล่วงหน้า โดยไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
เพียงพอ
3. เมื่อโอนเงินแล้วผู้ขายจะหายตัวไป ปิดช่องทางการติดต่อทุกทาง
4. เปลี่ยนชื่อและเบอร์โทรฯ ไม่ซ้ำกัน
5. นัดเจอเพื่อรับของก่อนแล้วโอนทีหลัง
6. ปลอม SMS จากธนาคารเพื่อหลอกโอนเงิน หรือหลอกว่าให้โอน
เงินคืน เพราะโอนเงินเกิน
7. อ้างว่า เว็บซื้อขายสินค้า เป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า ให้
เหยื่อติดต่อรับเงินจากคืนเว็บไซต์นั้น ๆ เอง
วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น
1. เปิดเผยข้อมูลใน Social Network เท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่
ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปแอบอ้างใช้ทำธุรกรรม
2. ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (password) ในการเข้าใช้บัญชีอีเมลหรือ
บัญชี Social Network เป็นประจำ
3. เมื่อได้รับการติดต่อแจ้งให้โอนเงินให้ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริง
ก่อนโอนเงิน หรือติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมศุลกากร โทร.
1164 ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือสำนักงานตัวแทน
ในประเทศไทยของหน่วยงานต่างชาติ
4. ไม่โลภต่อเงินที่ไม่มีที่มา ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง หรือ ดอกเบี้ย
ต่ำ ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความเป็นไปได้ในความเป็นจริง
5. ตรวจหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันการ
ขโมยข้อมูลการใช้งาน
6. หากต้องการซื้อสินค้าทางออนไลน์ควรซื้อจากเว็บไซต์บัญชี
ทางการที่สามารถตรวจสอบได้
7. ติดตามข่าวสารกลโกงอย่างสม่ำเสมอ
4
หากเราประสบเหตุดังกล่าวและต้องการเอาผิดกับมิฉาชีพเหล่านี้
เราสามารถดำเนินการได้ ตามขั้นตอนที่กองปราบปรามได้แนะนำ
: 1. แจ้งความดำเนินคดีกับสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ(โอน
เงินที่ไหนให้ไปแจ้งความที่เขตนั้น) ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับ
แต่วันที่รู้ว่าโดนหลอก เช่น ถึงกำหนดส่งของแล้วไม่ส่ง ติดต่อไม่
ได้ เป็นต้น หรือ ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยว
กับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
อาคาร B ชั้น 4 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร. 02-142-2556-7 เว็บไซต์ tcsd.go.th
อย่าลืม! ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า “ขอให้เจ้า หน้าที่
ดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด” อย่าแจ้งเพียงว่า แจ้ง
ความไว้เป็นหลักฐาน (ถ้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน
เฉยๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจเพิกเฉย เพราะถือว่าการแจ้ง
แบบนี้แปลว่าเจ้าทุกข์จะดำเนินการทางศาลด้วยตนเอง
5
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความแล้วจะดำเนินการดังนี้
2.1 ลงบันทึกประจำวันรับแจ้งความดำเนินคดี (สามารถขอคัด
ถ่ายสำเนาได้)
2.2 สอบปากคำผู้แจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดพฤติการณ์ในคดี
2.3 ทำการออกหมายเรียก เจ้าของบัญชีที่ผู้เสียหายได้โอนเงิน
ไปให้ มาให้ปากคำ ถ้าไม่มาตามหมายเรียก 2 ครั้ง เป็นเหตุ
ตามกฎหมายเชื่อว่าจะหลบหนี
2.4 ตามข้อ 2.3 ตำรวจจะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออก
หมายจับ
3. การเตรียมเอกสาร
3.1 บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
3.2 หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาขายสินค้าใน Web
Board, ' Page, Facebook, Instagram, Line ที่โพสต์ขาย
สินค้าและทำให้หลงเชื่อ
3.3 หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, Statement,
Mobile Banking
3.4 หลักฐานในการติดต่อซื้อขายสินค้า พูดคุยต่างๆ เช่น ข้อ
ความแชท (Chat) ที่สั่งซื้อสินค้า, หมายเลขโทรศัพท์,
ข้อความ (SMS), Email Address, Line, Facebook
Messenger เป็นต้น
3.5 ข้อมูลผู้ขายสินค้าหรือผู้ร่วมขบวนการ เช่น ชื่อ นามสกุล,
หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์
ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
3.6 หลักฐาน/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการ
ดำเนินคดี
6
ตัวอย่างข่าว
กองปราบรวมหนุ่มเสเพล เเฮกเฟซบุ๊กโพสต์หลอกขายไม้ด่าง หาเงินเปย์หญิง-เสพยา
กองปราบจับหนุ่มเสเพลเเฮกเฟซบุ๊กแล้วไปโพสต์หลอกขายไม้ด่างในชื่อ
Be Plant มีผู้เสียหายหลายราย สืบจนพบตัวในแมนชั่นแห่งหนึ่งที่ จ.ตรัง
รับสารภาพทำจริง มีคดีเก่าเพียบ อ้างหาเงินเปย์สาว - เสพยา
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม
ผบก.ป. สั่งการให้ พ.ต.อ.พงศ์ปณต ชูแก้ว ผกก.6 บก.ป. พ.ต.ต.สวรรยา เอียดตรง
สว.กก.6 บก.ป. จับกุมนายธนพล สกุลกรุณา
อายุ 26 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรีที่ จ.397/2564 ลงวันที่ 2
ก.ค. 2564 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และ ร่วมกันนําเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่
ประชาชน” ได้ที่แมนชั่นแห่งหนึ่งในพื้นที่ ถ.เพลินพิทักษ์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีผู้เสียหายจำนวนหลายรายรวมตัวร้องทุกข์กับทาง กก.2
บก.ป. ว่าถูกผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า Be Plant หลอกขายไม้ด่างที่กำลังเป็นกระแสอยู่
ในความสนใจขณะนี้ จนได้รับความเสียหายหลายแสนบาท จึงแกะรอยสืบค้นจน
ทราบว่าผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวคือ นายธนพล
ผู้ต้องหารายนี้ ที่มักมีพฤติกรรมปลอมบัญชีเฟซบุ๊กหรือแฮกบัญชีเฟซบุ๊ก
ของผู้อื่น แล้วนำมาใช้โพสต์ประกาศหลอกขายสินค้าที่กำลังอยู่ในกระแส หรือ อยู่ใน
ความสนใจของผู้คน อาทิ พระเครื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า พันธุ์ไม้ด่างต่างๆ ซึ่งจากการ
ตรวจสอบประวัติพบก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้มาแล้วหลายครั้ง จนเคยถูกออกหมายจับ
7 คดี พร้อมกับถูกจับกุมดำเนินคดี กระทั่งพ้นโทษออกมาจึงกลับมาก่อเหตุดังกล่าว
ทางพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ป.
จึงรวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลออกหมายจับ จนนำมาสู่การจับกุมดังกล่าว
สอบสวน นายธนพล ให้การรับสารภาพว่า ทำไปเพราะต้องการหาเงินซื้อยาเสพติด
มาเสพ รวมถึง ปรนเปรอหญิงสาว และนำไปใช้เที่ยวเตร่ เพราะเป็นคนเสเพล เบื้อง
ต้นจึงนำตัวส่ง กก.2 บก.ป. ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
7
เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม จับกุม 2 ผู้ต้องหา คือ
นายธรรมนิตย์ อายุ 33 ปี ชาวบ้านต.หนองตะเคียนบอน
อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่
370/2558 ลงวันที่ 8 เมษายน 2558 ข้อหาร่วมกัน
ฉ้อโกงประชาชนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จฯ และ น.ส.ณัฎฐณิชา อายุ 27 ปี
ชาว อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี ผู้ต้องหาตามหมายจับ
ศาลอาญาที่ 1660/2559 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2559
ในข้อหาฉ้อโกง และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
หลังเมื่อช่วงปี พ.ศ.2557-2558 นายธรรมนิตย์ และ
น.ส.ณัฎฐณิชาฯ ได้ร่วมกันหลอกลวงโดยการโพสต์ขาย
แมว และสุนัข หลากหลายสายพันธุ์ ผ่านทางเว็ปไซด์ต่าง ๆ
จนมีผู้เสียหายหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก และถูกเจ้าหน้าที่
ตำรวจจับกุมตัวได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ต่อมา นาย
ธรรมนิตย์ และ น.ส.ณัฎฐณิชาฯ ได้ประกันตัวออกมา และ
ได้กลับมาโพสต์หลอกลวงแบบเดิมตั้งแต่ออกมาจนถึง
ปัจจุบัน ทำให้มีผู้เสียหายอีกจำนวนมาก รวมมูลค่าความ
เสียหายประมาณ 2 ล้านบาท
โดยทางผู้เสียหายได้นำเรื่องเข้ามาร้องเรียนที่กอง
บังคับการปราบปรามให้ช่วยติดตามตัวจับกุม ทั้งนี้เจ้า
หน้าที่ได้ทำการตรวจสอบพบว่าทั้ง 2 คนนั้น มีหมายจับ
รวมกันจำนวน 14 หมายจับ พ.ต.อ.จรูญเกียรติ ปานแก้ว
รอง ผบก.ป.จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กองกำกับการ 4 และ
6 กองบังคับการปราบปราม ติดตามจับกุมตัวนายธรรม
นิตย์ฯ และ น.ส.ณัฎฐณิชาฯ มาดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ต่อ
มาวันที่ 15 มิถุนายน 2561 เวลาประมาณ 15.30 น.
เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันเข้าทำการจับกุมตัวนายธรรมนิตย์
และ น.ส.ณัฎฐณิชา ได้ในที่สุด
8