The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kanok-on tunjit, 2020-02-28 03:59:59

การเสนอ 'ข่าวลวง' และข้อมูลบิดเบือน

24_feb_fake_news_thai

¡ÒÃàʹ͢‹ÒÇ
‘¢Ò‹ ÇÅǧ’ áÅÐ
¢ÍŒ ÁÙźԴàºÍ× ¹

¤ÙÁ‹ ×Íà¾Íè× ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒáÅнƒ¡ÍºÃÁ´ÒŒ ¹ÇÒÃÊÒÃÈÒʵÏ

ªØ´àÍ¡ÊÒÃà¾×Íè ¡ÒÃÈ¡Ö ÉÒ´ŒÒ¹ÇÒÃÊÒÃÈÒʵϢͧͧ¤¡ÒÃÂÙà¹Êâ¡

จดั พิมพใ์ นปี พ.ศ. 2563 โดย องค์การเพ่ือการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวฒั นธรรมแหง่ สหประชาชาติ 7, place de Fontenoy,
75352 Paris 07 SP, France
© UNESCO 2020
ISBN: 978-92-9223-654-0

คู่มือเล่มนี้สามารถเข้าถึงในรูปแบบเปิด (Open Access) ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาต
แบบเดยี วกนั (Attribution-ShareAlike 3.0 IGO [CC-BY-SA3.0 IGO]) (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/
igo/) ในการใชเ้ นอ้ื หาของคมู่ อื เลม่ น้ี ผใู้ ชย้ อมรบั ทจี่ ะผกู พนั ตามเงอื่ นไขการใชง้ านของคลงั เอกสารแบบเปดิ ของ ยเู นสโก (UNESCO
Open Access Repository) (http://www.unesco.org/open-access/terms-use-ccbysa-en)
การจัดทำ�และการนำ�เสนอข้อมูลในคู่มือเล่มนี้ มิได้สะท้อนการแสดงออกทางด้านความคิดใด  ๆ ของยูเนสโกเก่ียวกับ
สถานภาพทางกฎหมายของประเทศ อาณาเขต เมือง หรือพืน้ ทีก่ ารควบคมุ หรอื เกยี่ วขอ้ งกบั การกำ�หนดพรมแดนหรอื อาณาเขต
ใด ๆ ท้งั ส้ิน
แนวความคิดและความคิดเห็นในคู่มือเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่จำ�เป็นต้องสะท้อนความคิดเห็นของ
ยเู นสโกและไมเ่ ปน็ ข้อผกู มัดตอ่ องคก์ ารฯ

คมู่ อื “การเสนอขา่ ว ‘ขา่ วลวง’ และขอ้ มลู บดิ เบอื น” ฉบบั ภาษาไทยเลม่ น้ี แปลโดยกรมประชาสมั พนั ธ์ จากตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษชอ่ื
Journalism, ‘Fake News’ & Disinformation: Handbook for Journalism Education and Training ซง่ึ ตพี มิ พใ์ นปี พ.ศ. 2561
ทง้ั นกี้ รมประชาสมั พนั ธไ์ ดม้ กี ารตรวจทานการแปลภาษาไทยเพอื่ ใหถ้ กู ตอ้ งตามตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษ อยา่ งไรกต็ าม คมู่ อื เลม่ นี้ มใิ ช่
ฉบบั แปลอยา่ งเปน็ ทางการของยเู นสโก และไมจ่ ำ�เป็นตอ้ งเป็นการสะท้อนความคิดเหน็ รวมท้ัง ไม่ถือเป็นข้อผูกมดั ใดๆ ต่อยูเนสโก
บรรณาธิการ: เชอริลิน ไอรต์ ัน และ จลู ี โพเซ็ตติ
ผเู้ ขยี นรว่ ม: จลู ี โพเซต็ ต,ิ เชอรลิ นิ ไอรต์ นั , แคลร์ วอรเ์ ดลิ , โฮสเซน เดรคั หช์ าน, อลซิ แมตทวิ ส,์ แมกดา อาบ-ู ฟาดลิ , ทอม ทรนุ เนริ ด์ ,
เฟอรก์ สั เบลล,์ อเล็กซอิ อส มันตซ์ าร์ลสิ
คน้ ควา้ เพิ่มเติม: ทอม ลอว์
ออกแบบกราฟิก: มิสเตอร์ คลินตัน
ออกแบบปก: มิสเตอร์ คลนิ ตนั
ภาพประกอบ: UNESCO First Draft และ Poynter
เรยี งพิมพ:์ ยูเนสโก
พมิ พท์ ี:่ ประเทศไทย
TH/C2-3883/CI/20/013

-2-

เชอรลิ นิ ไอร์ตัน และ จลู ี โพเซต็ ติ

การเสนอขา่ ว
ข่าวลวง และ
ขอ้ มลู บดิ เบือน

คมู่ ือเพ่ือการศึกษาและอบรมดา้ นวารสารศาสตร์

-3-

สารบญั

คำำนำำ โดยกาย เบอร์์เกอร์ ์ 6

บทนำำ โดยเชอริิลิิน ไอร์์ตันั และ จูลู ีี โพเซ็ต็ ติิ 15

การใช้้คู่่�มืือนี้้เ� ป็น็ หลัักสูตู รต้น้ แบบ โดยจูลู ีี โพเซ็ต็ ติิ 29

หน่ว่ ยการเรีียนรู้้�ที่่� 1: เหตุุใดความจริงิ ความเชื่่�อถืือ และการเสนอข่า่ วจึึงสำำคััญ 37

โดยเชอรลิ นิ ไอรต์ นั 37
สาระสำ�คัญ 38
เค้าโครงเนือ้ หา 40
เป้าหมายของหนว่ ยการเรยี นร ู้ 47
ผลการเรยี นรู ้ 47
รปู แบบของหนว่ ยการเรยี นรู้ 48
งานมอบหมาย 49
เอกสารสำ�หรบั อ่านเพ่ิมเติม 50

หน่่วยการเรีียนรู้้�ที่่� 2: การพิจิ ารณาเรื่่�อง‘ความผิิดปกติขิ องข้อ้ มููลข่า่ วสาร’: รูปู แบบของข้อ้ มูลู ที่่�ผิดิ 51
ข้้อมููลบิิดเบืือนและข้อ้ มููลที่่�แฝงเจตนาร้้าย
51
โดยเแคลร์ วอร์เดิล และ โฮสเซน เดรัคห์ชาน 52
สาระส�ำ คัญ 52
เคา้ โครงเน้อื หา 60
เปา้ หมายของหนว่ ยการเรียนรู้ 61
ผลการเรียนรู้ 61
รปู แบบของหนว่ ยการเรยี นรู้ 63
งานมอบหมาย 63
เอกสารประกอบการสอน 63
เอกสารสำ�หรบั อ่านเพ่ิมเตมิ
65
หน่ว่ ยการเรีียนรู้้�ที่่� 3: การเปลี่่�ยนแปลงในอุตุ สาหกรรมข่า่ ว: เทคโนโลยีีดิจิ ิทิ ััล สื่่�อสังั คมและ
การแพร่่กระจายของข้อ้ มูลู ที่่�ผิิดและข้อ้ มููลบิิดเบืือน 65

โดยจลู ี โพเซ็ตติ 66
68
สาระส�ำ คญั 78
เคา้ โครงเนอ้ื หา 78
เป้าหมายของหน่วยการเรยี นรู้ 78
ผลการเรียนรู้ 80
รปู แบบของหน่วยการเรียนร ู้ 81
งานมอบหมาย
เอกสารสำ�หรับอ่านเพ่ิมเติม

-4-

หน่่วยการเรีียนรู้้�ที่่� 4: การต่่อสู้้�กับั ข้้อมูลู บิดิ เบือื นและข้อ้ มููลที่่�ผิิด ด้ว้ ยการรู้้�เท่่าทัันสื่่�อและสารสนเทศ 83

โดยแมกดา อาบ-ู ฟาดลิ 83

สาระส�ำ คญั 84
เค้าโครงเนอื้ หา 86
เป้าหมายของหนว่ ยการเรยี นร้ ู 90
ผลการเรยี นรู้ 90
รูปแบบของหนว่ ยการเรียนร ู้ 91
งานมอบหมาย 94
เอกสารประกอบ 94
เอกสารสำ�หรับอา่ นเพิ่มเตมิ 94

หน่่วยการเรีียนรู้้�ที่่� 5: การตรวจสอบข้้อเท็จ็ จริงิ 101 97

โดยอเลก็ ซิออส มนั ตซ์ ารล์ สิ 97

สาระส�ำ คญั 98
เคา้ โครงเนือ้ หา 98
เปา้ หมายของหนว่ ยการเรยี นรู้ 105
ผลการเรยี นร ู้ 105
รปู แบบของหน่วยการเรียนร ู้ 106
เอกสารสำ�หรับอา่ นเพิ่มเตมิ 112

หน่่วยการเรีียนรู้้�ที่่� 6: การตรวจสอบความจริิงในสื่่�อสัังคม:การประเมินิ แหล่่งที่่�มาและเนื้้อ� หาภาพ 115

โดยทอม ทรนุ เนริ ด์ และ เฟอรก์ ัส เบลล์ 115

เคา้ โครงเนือ้ หา 117
เปา้ หมายของหนว่ ยการเรียนร้ ู 123
ผลการเรยี นร ู้ 123
รปู แบบของหน่วยการเรยี นร ู้ 124
งานมอบหมาย 125
เอกสารประกอบ 126
เอกสารสำ�หรบั อ่านเพ่มิ เตมิ 126

หน่ว่ ยการเรีียนรู้้�ที่่� 7: การต่่อสู้้�กัับการล่่วงละเมิิดในช่่องทางออนไลน์์: เมื่่�อนัักข่่าวและ 131

แหล่่งข่่าวตกเป็น็ เป้า้ หมาย 132
133
โดยจลู ี โพเซ็ตติ 141
141
สาระสำ�คัญ 142
เคา้ โครงเนอ้ื หา 144
เป้าหมายของหนว่ ยการเรยี นรู้ 144
ผลการเรยี นรู้
รูปแบบของหนว่ ยการเรยี นรู้ 146
งานมอบหมาย 147
เอกสารสำ�หรับอา่ นเพิ่มเตมิ

ผูร่วมเขียน

เครดติ ภาพถา่ ย -5-

คำ� น�ำ

ยเู นสโกมุ่งม่นั ท�ำ งานเพอ่ื เสริมสรา้ งความแขง็ แกร่งให้กบั การศกึ ษาดา้ นวารสารศาสตร์ และคู่มือ
เล่มน้ีนบั เปน็ ผลงานล่าสุดทถี่ ือเปน็ แหลง่ ขอ้ มลู ความร้ทู ่ที ันยุคสมยั
คู่มือเล่มน้ีเป็นส่วนหน่ึงของ “โครงการระดับโลกเพ่ือความเป็นเลิศในด้านการศึกษาด้านวาร
สารศาสตร์” ซึ่งเป็นความสนใจของโครงการนานาชาติเพ่ือการพัฒนาการส่ือสารของยูเนสโก
(International Programme for the Development of Communication: IPDC) โดยมี
เป้าหมายเพื่อการมีส่วนร่วมในด้านการสอน การปฏิบัติ และการวิจัยด้านวารสารศาสตร์ใน
มมุ มองระดบั สากล ตลอดจนการแลกเปล่ยี นเรยี นรวู้ ิธกี ารปฏิบัตทิ ไ่ี ด้ผลระหว่างนานาประเทศ
ด้วยเหตุน้ี คู่มือเล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ใช้เป็นหลักสูตรต้นแบบที่ประเทศต่าง  ๆ สามารถ
น�ำ ไปใชห้ รอื ประยกุ ต์ อนั เปน็ การโตต้ อบกบั ขอ้ มลู บดิ เบอื นทก่ี �ำ ลงั เปน็ ประเดน็ ปญั หาระดบั โลก ซง่ึ
สงั คมโดยรวม โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ วงการขา่ ว กำ�ลงั เผชิญ
คมู่ อื เลม่ นห้ี ลกี เลยี่ งการใชค้ �ำ วา่ ‘ขา่ วลวง (Fake News)’ ในความหมายตรงตวั หรอื ในความหมาย
ท่ีเข้าใจกันโดยทั่วไป1 ด้วยเหตุท่ีคำ�ว่า ‘ข่าว’ น้ันหมายถึงข้อมูลข่าวสารท่ีตรวจสอบได้และ
เป็นประโยชนต์ ่อสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารทไ่ี มเ่ ป็นไปตามมาตรฐานนีย้ อ่ มไมส่ มควรเรยี กว่า
ข่าว ดังน้ัน ในกรณีนี้ คำ�ว่า ‘ข่าวลวง’ จึงเป็นคำ�ท่ีขัดแย้งในตัวเอง ซ่ึงบั่นทอนความน่าเช่ือถือ
ของขอ้ มลู ขา่ วสารทเ่ี ปน็ ไปตามมาตรฐานการตรวจสอบความจรงิ และเปน็ ประโยชนต์ อ่ สาธารณะ
อนั เป็นลักษณะของข่าวท่แี ท้จริง
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเก่ียวกับการจัดการการใช้ภาษาท่ีผิด และแบบแผนต่าง  ๆ ของข้อมูล
ประเภทขา่ ว คมู่ อื เลม่ นจ้ี งึ มงุ่ เนน้ ไปทล่ี กั ษณะการหลอกลวงเหลา่ นอี้ ยา่ งเครง่ ครดั นนั่ คอื ในฐานะ
ท่ีเป็นข้อมูลข่าวสารปลอมประเภทหน่ึงที่แอบแฝงอยู่ในข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ซ่ึงมี
หลากหลายรูปแบบมากข้ึนเรอ่ื ย  ๆ รวมทง้ั ในรูปแบบของความบนั เทงิ อยา่ งภาพ Meme (ภาพ
ล้อเลยี น) ดว้ ย
โดยทว่ั ไป ค่มู ือเล่มนใี้ ช้คำ�ว่า ข้อมลู บิดเบือน เพื่อหมายถงึ ความพยายามในการจงใจ (สว่ นใหญ่
เป็นการจัดฉาก) สร้างความสับสนหรือควบคุมประชาชนด้วยการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็น
จริง ซ่ึงมักเกิดข้ึนควบคู่และคาบเก่ียวไปกับกลยุทธ์การสื่อสารต่าง  ๆ และชุดกลวิธีอื่น  ๆ เช่น
การเจาะระบบหรือการทำ�ให้ผู้อ่ืนหมดความน่าเชื่อถือ ส่วนคำ�ว่า ข้อมูลท่ีผิด โดยทั่วไปใช้เพ่ือ
หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่ทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิดท่ีผลิตขึ้นหรือเผยแพร่ออกไปโดยปราศจาก

1 ดู Tandoc E; Wei Lim, Z and Ling, R. (2018). “Defining ‘Fake News’: A typology of scholarly definitions” in Digital
Journalism (Taylor and Francis) Volume 6, 2018 - Issue 2: ‘Trust, Credibility, Fake News’.

-6-

การดัดแปลงแก้ไขหรือเจตนาร้าย ข้อมูลท้ังสองประเภทต่างก็เป็นปัญหาของสังคม แต่ข้อมูล
บิดเบือนนั้นมีอันตรายมากเพราะมักเกิดจากการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีทรัพยากรใน
การดำ�เนินการ และมเี ทคโนโลยีระบบอตั โนมัตเิ ขา้ มาช่วยเสริม
ผู้เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนมีเป้าหมายอยู่ท่ีความเปราะบางหรือความเอนเอียงของผู้รับท่ีมี
แนวโน้มว่าจะเป็นผู้ช่วยกระจายข่าวและเพิ่มจำ�นวนผู้แพร่กระจายข่าวได้ ด้วยวิธีนี้ ผู้เผยแพร่
ข้อมูลบิดเบือนจึงพยายามใช้คนกลางในการกระจายข้อมูล โดยฉวยโอกาสจากแนวโน้มใน
การสง่ ตอ่ ขอ้ มลู ขา่ วสารของเราดว้ ยเหตผุ ลทแ่ี ตกตา่ งกนั ไป อนั ตรายของมนั กค็ อื วา่ ‘ขา่ วลวง’ ใน
ลกั ษณะนีม้ ักไดม้ าฟรี
หมายความวา่ คนที่ไม่สามารถจา่ ยเงนิ เพ่อื ซ้อื ขา่ วคณุ ภาพ หรือคนทีข่ าดชอ่ งทางการเขา้ ถงึ ข่าวที่
ผลิตโดยสื่อสาธารณะอิสระ มีความเสย่ี งสงู ท่จี ะได้รับท้งั ข้อมลู บิดเบอื นและขอ้ มูลทผ่ี ิด
การแพรก่ ระจายของขอ้ มลู บดิ เบอื นและขอ้ มลู ทผ่ี ดิ สว่ นใหญเ่ กดิ ขน้ึ เพราะเครอื ขา่ ยสอ่ื สงั คมและ
การสง่ ขอ้ ความในสอ่ื สงั คม ซง่ึ น�ำ ไปสกู่ ารตง้ั ขอ้ สงสยั เรอ่ื งขอบเขตของการก�ำ กบั ดแู ลและการก�ำ กบั
ดูแลตนเองของผู้ประกอบการเหล่าน้ี ท้ังนี้ ด้วยลักษณะของการเป็นตัวกลางในการให้บริการ
พ้ืนท่ี ไม่ใช่ผู้ผลิตเนื้อหาเอง ผู้ประกอบการเหล่านี้จึงถูกกำ�กับดูแลแบบหลวม  ๆ มาโดยตลอด
(ยกเว้นเรื่องลิขสิทธ์ิ) อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่พวกเขาได้รับแรงกดดันมากขึ้น และมี
ความเสยี่ งทจ่ี ะถกู จ�ำ กดั เสรภี าพในการแสดงออกอนั เปน็ ผลของการก�ำ กบั ดแู ลทเี่ ขม้ งวดจนเกนิ ไป
พบวา่ ขนั้ ตอนตา่ ง ๆ ในกรอบของการก�ำ กบั ดแู ลตนเองนน้ั มเี พมิ่ มากขน้ึ แมจ้ ะเปน็ บางสว่ นกต็ าม2
โดยในปี พ.ศ. 2561 ผตู้ รวจการพเิ ศษแหง่ สหประชาชาตดิ า้ นสทิ ธเิ สรภี าพในการแสดงความคดิ เหน็
และการแสดงออกได้เน้นยำ�้ ประเด็นน้ีในรายงานประจำ�ปี โดยเร่งรัดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
เรียนรู้การกำ�กับดูแลตนเองจากองค์กรข่าว และให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสหประชาชาติใน
ประเดน็ สทิ ธิในการเปิดเผย แสวงหา และรบั ข้อมูลขา่ วสาร3 ในระบบนิเวศของมาตรการตา่ ง ๆ
ของภาครัฐและบรษิ ัทเอกชนทมี่ ีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผสู้ ่ือขา่ วและองคก์ รขา่ วยังคงมีบทบาท
ท่สี �ำ คญั อย่างยิ่งยวด ซึง่ เปน็ ท่ีมาของการจัดทำ�คมู่ อื เล่มนี้

2 Manjoo, F. (2018). What Stays on Facebook and What Goes? The Social Network Cannot Answer. The New York
Times, 19 July, 2018. https://www.nytimes.com/2018/07/19/technology/facebook-misinformation.html [เขา้ ถึงเมอื่
20/07/2018]; https://www.rt.com/usa/432604youtube-invests-reputable-news/ [เข้าถงึ เมื่อ 15/07/2018];
https://youtube.googleblog.com/ [เข้าถงึ เมื่อ 15/07/2018]; https://sputniknews.com/asia/201807111066253096-
whatsapp-seeks-help-fake-news/ [เข้าถงึ เมือ่ 15/07/2018].

3 Report of the Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and
expression. UN Human Rights Council 6 April 2018. A/HRC/38/35. https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/
G18/096/72/PDF/G1809672.pdf?OpenElement [เข้าถงึ เมอื่ 20/07/2018].

-7-

การแยกแยะความแตกต่าง

ข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลที่ผิดน้ันแตกต่างจากงานข่าว (ที่มีคุณภาพ) ท่ีเป็นไปตามมาตรฐาน
และจริยธรรมวิชาชีพ ขณะเดียวกันก็ไม่เหมือนกับงานข่าวที่อ่อนแอและไม่เป็นไปตามค�ำ ม่ัน
สัญญาท่ีให้ไว้ ตัวอย่างงานข่าวท่ีเป็นปัญหาได้แก่ ข้อผิดพลาดต่าง  ๆ ท่ีพบเห็นได้ในปัจจุบัน
(และไมไ่ ดร้ บั การแกไ้ ข) อนั เกดิ จากการขาดการคน้ ควา้ หาขอ้ มลู หรอื ความหละหลวมในการพสิ จู น์
ข้อเท็จจริง ตลอดจนการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกด้วยการใช้ถ้อยคำ�เกินจริงเพ่ือสร้างกระแส
รวมทง้ั ความเอนเอียงในการเลือกนำ�เสนอข้อเท็จจริงจนขาดความเป็นธรรม
ท้ังน้ี มิได้หมายความว่าหลักวารสารศาสตร์ในอุดมคติต้องอยู่เหนือกว่าการเล่าเรื่องและมุมมอง
ทแี่ ฝงอยใู่ นเน้ือขา่ ว และข่าวท่ดี อ้ ยมาตรฐานตอ้ งถูกเดยี ดฉนั ทเ์ พราะอุดมการณ์ แตต่ ้องการชใ้ี ห้
เห็นว่าทุกอย่างประกอบไปด้วยการเล่าเร่ือง และปัญหาของการทำ�ข่าวท่ีด้อยมาตรฐาน
ไม่ใช่เพราะการเล่าเร่ือง แต่เป็นเพราะขาดความเป็นมืออาชีพ ซ่ึงเป็นเหตุผลท่ีทำ�ให้การข่าวท่ี
อ่อนแอแตกต่าง จากขอ้ มลู บิดเบอื นหรือขอ้ มลู ทผี่ ดิ
อย่างไรก็ตาม บางครั้งงานข่าวท่ีด้อยคุณภาพก็อาจเป็นจุดเร่ิมต้นหรือการร่ัวไหลของข้อมูล
บดิ เบอื นและข้อมลู ทผี่ ดิ ในระบบการทำ�ขา่ วท่ีแทจ้ ริงได้ แตส่ าเหตแุ ละการเยียวยางานข่าวท่ีด้อย
คุณภาพแตกตา่ งจากกรณีของข้อมลู บดิ เบือนและขอ้ มลู ทีผ่ ดิ
ในขณะเดียวกัน เห็นได้ชัดว่าวารสารศาสตร์ท่ีมีจริยธรรมเข้มแข็งน้ันมีความจำ�เป็นในฐานะทาง
เลือก รวมทั้งการกำ�จัดการปนเป้ือนในสิ่งแวดล้อมของข้อมูลข่าวสารและการกระจายความ
แปดเป้อื นไปสูว่ งการขา่ วโดยรวม
ปัจจุบันนักข่าวไม่ได้เป็นเพียงผู้พบเห็นการโหมกระหน่ำ�ของข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลท่ีผิด แต่
เป็นผู้ตกอยู่ในสถานการณ์น้ันเสียเองดว้ ย4 ซ่ึงหมายความว่า

Z วงการขา่ วกำ�ลังเผชญิ กบั ความเสยี่ งทีจ่ ะถกู กลืนไปกบั ความขดั แยง้
Z นักข่าวมีความเส่ียงที่จะถูกบงการโดยผู้ละเมิดจรรยาบรรณของการประชาสัมพันธ์

ด้วยการพยายามชกั จูงหรอื ตดิ สินบนนักขา่ วให้เผยแพร่ขอ้ มลู ทเี่ ปน็ เทจ็ 5

4 แมจ้ ะมกี ารคุกคาม แต่จากการวิจัยพบว่าสถานีขา่ วของประเทศหน่ึงไมม่ รี ะบบ งบประมาณ และพนกั งานทผ่ี ่านการฝึกอบรมเพือ่ การรบั มือ
กบั ขอ้ มูลบดิ เบือนโดยเฉพาะ ดู Penplusbytes. 2018. Media Perspectives on Fake News in Ghana. http://penplusbytes.org/
publications/4535/ [เขา้ ถงึ เมื่อ 12/06/2018].

5 Butler, P. 2018. How journalists can avoid being manipulated by trolls seeking to spread disinformation. http://ijnet.
org/en/blog/howjournalists-can-avoid-being-manipulated-trolls-seeking-spread-disinformation. See also Module
Three of this handbook.

-8-

Zนกั ขา่ วในฐานะนกั สอ่ื สารทที่ �ำ งานรบั ใชค้ วามจรงิ ซง่ึ รวมถงึ ‘ความจรงิ ทไ่ี มม่ ใี ครอยากรบั รู้
(inconvenient truth)’ อาจตกเป็นเปา้ หมายของการโกหก ข่าวลอื และข่าวลวง ทถ่ี ูก
ออกแบบมาเพื่อข่มขู่หรือทำ�ลายความน่าเช่ือถือของนักข่าวและงานข่าว โดยเฉพาะเม่ือ
ขา่ วน้ันคุกคามการปดิ บงั ตวั ตนของผู้วา่ จ้างหรอื ผเู้ ผยแพรข่ า่ วบดิ เบอื น6

นอกจากน้ี นักข่าวจำ�เป็นต้องรู้ด้วยว่าแม้พ้ืนที่ของข้อมูลบิดเบือนส่วนใหญ่อยู่ในสื่อสังคม และ
ทุกวันนี้ผู้เล่นที่มีอิทธิพลกำ�ลังใช้ ‘ข่าวลวง’ เป็นเครื่องมือสกัดก้ันข่าวที่แท้จริง กฎหมายใหม่
ท่ีเข้มงวดทำ�ให้สถาบันส่ือกลายเป็นแพะรับบาปประหนึ่งว่าสถาบันส่ือเป็นผู้สร้างข่าวข้ึนมา
เสียเอง หรือไม่ก็ทำ�ให้สถาบันสื่อตกอยู่ภายใต้กฎครอบจักรวาลท่ีกำ�หนดขึ้นมาใหม่เพ่ือจำ�กัด
ช่องทางการสื่อสารทั้งหมดโดยไม่แยกแยะ กฎระเบียบประเภทนี้มักไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
สากลท่ีกำ�หนดให้การจำ�กัดเสรีภาพในการแสดงออกนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากความจำ�เป็น
มีความเหมาะสม และด้วยเจตนาที่ถูกต้อง ผลของการจำ�กัดเสรีภาพดังกล่าวคือการทำ�ให้
องค์กรขา่ วทีแ่ ท้จรงิ สงั กัดอย่ภู ายใต้ ‘กระทรวงความจรงิ ’ (เปน็ การใช้คำ�อุปมาอุปไมยแบบคตู่ รง
ข้ามกบั ‘กระทรวงโฆษณาชวนเชือ่ ’ เพอ่ื เสียดสกี ารนำ�เสนอข่าวลวงเพอื่ เปา้ หมายทางการเมอื ง:
ผแู้ ปล) โดยใชอ้ �ำ นาจในการจ�ำ กดั ขอ้ มลู ขา่ วสารดว้ ยเหตผุ ลทางการเมอื งเพยี งประการเดยี ว แมว้ า่
จะไมไ่ ด้มีเจตนาเช่นน้นั ตลอดเวลากต็ าม
ในบริบทปัจจุบันของข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลที่ผิด สิ่งท่ีอันตรายท่ีสุดไม่ใช่กฎระเบียบของ
การทำ�ข่าวท่ีไม่สมเหตุสมผล แต่เป็นเร่ืองของการที่ประชาชนอาจไม่เชื่อถือเนื้อหาท้ังหมด ซึ่ง
รวมถึงเน้ือหาที่เป็นข่าวสาร ในกรณีเช่นนี้ เป็นไปได้ที่คนจะหันไปเช่ือเน้ือหาตามเครือข่าย
สื่อสังคมของตนที่ตรงกับใจโดยไม่ไตร่ตรองให้ถ่ีถ้วน ซ่ึงเราได้เห็นผลกระทบเชิงลบเช่นนี้เป็น
จ�ำ นวนมากในเรอื่ งเกยี่ วกบั ความเชอื่ ดา้ นสขุ ภาพ วทิ ยาศาสตร์ ความเขา้ ใจระหวา่ งวฒั นธรรม และ
สถานภาพของการเป็นผูเ้ ชยี่ วชาญตัวจรงิ
ผลกระทบต่อประชาชนเช่นนี้นา่ เป็นหว่ งเปน็ พิเศษส�ำ หรับการเลอื กตัง้ และแนวคดิ ประชาธปิ ไตย
อย่างเร่ืองสิทธิมนุษยชน ส่ิงที่เป็นเป้าหมายของข้อมูลบิดเบือน โดยเฉพาะในช่วงการสำ�รวจ
ความนิยม ไมใ่ ชก่ ารชักจงู ให้เชือ่ ว่าเนื้อหาเปน็ ความจรงิ เสมอไป แต่ต้องการสง่ ผลต่อการก�ำ หนด
ประเด็น (เรื่องท่ีคนคิดว่ามีความสำ�คัญ) และเพ่ือกวนนำ�้ ให้ขุ่นเพ่ือลดทอนการใช้เหตุผลในการ
ลงคะแนนเสยี ง7 ในท�ำ นองเดยี วกนั ประเด็นดา้ นการอพยพ การเปลย่ี นแปลงของสภาวะอากาศ
และอ่ืน  ๆ ก็อาจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากความไม่แน่นอนท่ีเกิดจากข้อมูลบิดเบือน
และข้อมูลท่ีผิด

6 ดูหน่วยการเรยี นรู้ท่ี 7
7 Lipson, D (2018) Indonesia’s ‘buzzers’ paid to spread propaganda as political elite wage war ahead of election,

ABC News: http://mobile.abc.net.au/news/2018-08-13/indonesian-buzzers-paid-to-spread-propaganda-ahead-of-
election/9928870?pfmredir=sm [เขา้ ถงึ เมือ่ 17/8/18].

-9-

อนั ตรายเหลา่ นคี้ อื เหตุผลทีก่ ารเผชิญหนา้ กบั การเพม่ิ ขน้ึ ของ ‘ข่าวลวง’ เปน็ เร่อื งจ�ำ เปน็ ส�ำ หรบั
วงการข่าวและการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ ในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามเหล่าน้ีก็ทำ�ให้เดิมพัน
เรื่องคุณค่าของสื่อมีสูงข้ึน ด้วยการเปิดโอกาสให้ส่ือเน้นยำ�้ จุดเด่นของวิธีปฏิบัติแบบมืออาชีพใน
การนำ�เสนอข้อมลู ทตี่ รวจสอบไดแ้ ละความคดิ เห็นที่ผา่ นการไตรต่ รองเปน็ อย่างดี เพื่อประโยชน์
สาธารณะ8

ส่ิงที่วงการข่าวต้องทำ�

ด้วยสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ ถึงเวลาแล้วที่ส่ือจะปฏิบัติตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพให้มาก
ขึ้น เพ่ือหลีกเลย่ี งการเผยแพรข่ ้อมูลข่าวสารโดยไมไ่ ดต้ รวจสอบ และถอยหา่ งจากขอ้ มลู ข่าวสาร
ทอ่ี ยู่ในความสนใจของคนบางส่วน แต่ไมไ่ ดเ้ ปน็ ประโยชนต์ อ่ สาธารณะ
คู่มือเล่มน้ีจึงตีพิมพ์ออกมาในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี เพื่อยำ�้ เตือนว่าสถาบันส่ือและนักข่าว
ไม่ว่าจะมีจุดยืนทางการเมืองในทิศทางใด ควรหลีกเล่ียงการเผยแพร่ข้อมูลท่ีเป็นเท็จและข้อมูล
ที่ผิด ท้ังโดยความผิดพลาดและโดยปราศจากวิจารณญาณ การลดตำ�แหน่งพนักงานท่ีมีหน้าท่ี
ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในองค์กรข่าวปัจจุบัน ทำ�ให้หน้าท่ีนี้ตกเป็นของ ‘ฐานันดรท่ีห้า (fifth
estate)’ อยา่ งบล็อกเกอร์และบคุ คลภายนอกท่ีคอยจบั ตาดูความผิดพลาดของนักข่าว แมว้ ่าจะ
เปน็ การตรวจสอบหลงั จากการเผยแพรข่ ้อมูลแล้วก็ตาม
ปรากฏการณ์นี้อาจได้รับการตอบรับจากส่ือ เพราะเป็นการช่วยให้สังคมสนใจข้อมูลข่าวสารที่
พิสูจน์ได้มากย่ิงข้ึน นักข่าวจึงควรเผยแพร่ผลงานของกลุ่มตรวจสอบความจริงอิสระเหล่าน้ี แต่
พึงระลึกไว้ว่าเมื่อใดก็ตามท่ีคนภายนอกแสดงให้เห็นว่าองค์กรสื่อแห่งใดมีความล้มเหลวเชิง
ระบบ ความคลางแคลงใจก็ย่อมเกิดข้ึน อย่างน้อยก็ต่อภาพลักษณ์ขององค์กรแห่งน้ันในฐานะ
แหล่งข่าวอาชีพ ส่ือจึงควรระมัดระวังไม่ให้การแก้ไขข้อผิดพลาดหลังจากการเผยแพร่ไปแล้ว
โดยบุคคลภายนอกเข้ามาแทนท่ีกระบวนการควบคุมคุณภาพภายใน เพราะนักข่าวต้องทำ�ให้ดี
กว่า และ ‘ท�ำ ให้ถกู ตอ้ ง’ ตง้ั แตแ่ รก ไม่เชน่ น้ันกจ็ ะกลายเป็นการลดิ รอนโอกาสทสี่ งั คมจะมีสอ่ื ท่ี
เช่ือถือได้
กลา่ วโดยสรปุ กค็ อื เกมไลต่ รวจแกข้ อ้ ผดิ พลาดโดยสนุ ขั เฝา้ บา้ นภายนอกนน้ั ไมใ่ ชเ่ กมทวี่ งการขา่ ว
เป็นผู้ชนะ นักข่าวจะปล่อยให้หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงมาทำ�หน้าที่ของนักข่าวใน
การตรวจสอบข้อความน่าสงสัยที่แหล่งข่าวกล่าวไว้ไม่ได้ (ไม่ว่าส่ือจะเป็นผู้รายงานข้อความนั้น
หรือปรากฏให้เห็นตาม

8 ดเู พมิ่ เตมิ : Nordic Council of Ministers. 2018. Fighting Fakes - the Nordic Way. Copenhagen: Nordic Council of Ministers.
http://www.nordicom.gu.se/en/latest/news/fighting-fakes-nordic-way [เขา้ ถึงเม่ือ 12/06/2018].

- 10 -

ส่ือสังคมโดยไม่ผ่านกระบวนการทางวารสารศาสตร์ก็ตาม) โดยต้องมีการพัฒนาความสามารถ
ของคนข่าวให้เป็นมากกว่าการทำ�ข่าวแบบ ‘เขากล่าว เธอกล่าว’ และการสืบหาความจริงของ
ขอ้ ความทปี่ รากฏในข่าว
วงการข่าวยังจำ�เป็นต้องเฝ้าจับตาและเปิดโปงประเด็นและรูปแบบของข้อมูลบิดเบือนใหม่  ๆ
อย่างเป็นนิจ ภารกิจนี้มีความสำ�คัญอย่างย่ิงยวดต่อสื่อ และเป็นวิธีการกำ�กับดูแล ‘ข่าวลวง’
ได้อีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากเป็นการตอบโต้ประเด็นร้อนท่ีก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง
ทันท่วงทีแล้ว ยังทำ�หน้าท่ีเติมเต็มและสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ระยะกลาง เช่น
การรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศ ซ่ึงสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ใช้สื่อในการแยกแยะว่าอะไรเป็นข่
าว อะไรเป็นข้อมูลบดิ เบือน และอะไรเปน็ ขอ้ มูลที่ผดิ ทัง้ น้ี ขอ้ มลู บดิ เบือนเปน็ เรอ่ื งทีส่ ำ�คัญ และ
การนำ�เสนอข่าวเกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือนอย่างจริงจังก็จะช่วยให้การทำ�ข่าวตอบโจทย์การรับใช้
สงั คมไดด้ ยี งิ่ ขึน้
คมู่ อื เลม่ นจ้ี งึ เปน็ การเรยี กรอ้ งใหเ้ กดิ การลงมอื ปฏบิ ตั ิ และยงั เปน็ การสง่ เสรมิ ใหน้ กั ขา่ วมสี ว่ นรว่ ม
กบั บทสนทนาในสงั คม เพอื่ จะไดร้ วู้ า่ ประชาชนสว่ นใหญม่ คี วามเหน็ อยา่ งไรตอ่ ความนา่ เชอ่ื ถอื และ
เพราะเหตใุ ดคนบางสว่ นจงึ เผยแพรข่ อ้ มลู ทไ่ี มไ่ ดต้ รวจสอบ นเี่ ปน็ โอกาสส�ำ คญั ส�ำ หรบั สถานศกึ ษา
และผู้เรียนวารสารศาสตร์ ตลอดจนผู้ให้การอบรมและผู้เข้าร่วมการอบรมด้านสื่อ เช่นเดียวกับ
องค์กรส่ือ ในการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับประชาชนท่ัวไป ตัวอย่างเช่น ‘การระดมความเห็น’
(crowd-sourcing) มคี วามส�ำ คญั อย่างมาก หากสอ่ื ตอ้ งการเปิดโปงและรายงานขอ้ มลู บิดเบือน
ท่เี ลด็ ลอดจากการตรวจพบซง่ึ แพรก่ ระจายอยตู่ ามส่อื สงั คมหรืออีเมล

บทบาทของยูเนสโก

ด้วยทุนสนับสนุนจากโครงการนานาชาติเพ่ือการพัฒนาการสื่อสารของยูเนสโก หรือ IPDC
(International Programme for the Development of Communication) คู่มือเล่ม
น้ีจึงเป็นแหล่งข้อมูลแบบองค์รวมและมีเอกลักษณ์เก่ียวกับเรื่องราวที่เป็นข้อมูลบิดเบือนในแง่
มุมต่าง  ๆ ร่วมกับการเพิ่มพูนทักษะเชิงปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในเนื้อหา
ให้สมบูรณ์ย่ิงข้ึน9 คู่มือเล่มน้ีเป็นส่วนหน่ึงของเอกสารของยูเนสโกในการส่งเสริมการทำ�งาน
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและการกำ�กับดูแลตนเองของนักข่าว เพ่ือเป็นทางเลือกใน
การหลกี เลย่ี งความเสยี่ งจากการถกู แทรกแซงของภาครฐั ในการจดั การกบั ปญั หา ซง่ึ อยใู่ นขอบเขต
ของเสรีภาพในการแสดงออก

9 การประชมุ ครงั้ ที่ 61 ของโครงการ IPDC Bureau ในปี พ.ศ. 2560 มมี ติใหก้ ารสนบั สนุนโครงการเพื่อความเป็นเลศิ ทางด้านการศึกษา
วารสารศาสตรโ์ ลกดว้ ยการจดั สรรงบประมาณพิเศษเพอื่ พัฒนาหลักสูตรใหม่สำ�หรบั วารสารศาสตร์ โดยมีการรายงานความคืบหน้าในการ
ประชมุ IPDC คร้งั ที่ 62 ในปี พ.ศ. 2561 ซึง่ มีมติใหจ้ ัดสรรงบประมาณเพิ่มเตมิ เพอ่ื สนบั สนุนหลักสูตรนี้

- 11 -

คมู่ อื เลม่ นเี้ ปน็ ผลงานตอ่ เนอื่ งจากงานสองเลม่ แรกของยเู นสโก อนั ไดแ้ ก่ “Teaching Journalism
for Sustainable Development: New Syllabi”10 ตพี มิ พใ์ นปี พ.ศ. 2556 และ “Model
Curriculum for Journalism Education: A Compendium of New Syllabi” ตพี มิ พใ์ นปี พ.ศ.
2556 ซ่ึงทงั้ หมดน้ีเป็นผลสบื เนือ่ งจากผลงานชน้ิ สำ�คัญของยูเนสโกเร่อื ง “Model Curriculum
on Journalism Education”11 ทต่ี ีพมิ พ์ในปี พ.ศ. 2550 ใน 9 ภาษา
เอกสารอนื่  ๆ ทท่ี รงคณุ คา่ และเปน็ สงิ่ พมิ พข์ องยเู นสโกทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การศกึ ษาและการฝกึ อบรม
ด้านวารสารศาสตร์ ไดแ้ ก่

Zหลกั สูตรตน้ แบบเก่ยี วกบั ความปลอดภัยของนกั ข่าว (พ.ศ. 2560)12
Z การก่อการรา้ ยและสอ่ื : คมู่ อื สำ�หรับนกั ขา่ ว (พ.ศ. 2560)13
Z การเปล่ียนแปลงสภาวะอากาศในแอฟริกา: คมู่ อื ส�ำ หรับนกั ขา่ ว (พ.ศ. 2556)14
Z กรณศี ึกษาท่ัวโลกในการทำ�ขา่ วเชิงสบื สวน (พ.ศ. 2555)15
Z การสืบสวนจากเรอื่ งเล่า: คมู่ อื สำ�หรบั นกั ข่าวเชิงสบื สวน (พ.ศ. 2552)16
Zการรายงานขา่ วออ่ นไหวตอ่ ความขัดแยง้ : ศาสตร์แหง่ ศลิ ป;์ หลักสตู รส�ำ หรับนักข่าวและ

ผู้สอนด้านวารสารศาสตร์ (พ.ศ. 2552)17
หนังสือแต่ละเล่มเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์คุณค่าจากนานาประเทศทั่วโลก ผู้ให้การศึกษาและ
การอบรมด้านวารสารศาสตร์ ตลอดจนนกั ศึกษาและนกั ข่าวอาชพี มกี ารนำ�ไปปรบั ใช้เพอ่ื พฒั นา
การทำ�งานในหลากหลายแนวทาง บางแห่งมกี ารดดั แปลงหลกั สตู รต่อเน่ืองทงั้ หมดใหส้ อดคลอ้ ง
กบั ความร้แู ละแรงบันดาลใจใหม ่ ๆ ขณะที่บางแหง่ ใช้วิธีการบรู ณาการองค์ประกอบต่าง ๆ จาก
แหลง่ ข้อมลู ของยเู นสโกเข้ากบั หลักสตู รเดิมที่มีอยู่ ทั้งน้ี เชอื่ วา่ คุณภาพและความสอดคล้องของ
คมู่ อื เลม่ น้จี ะสามารถสร้างคณุ คา่ ตอ่ ผอู้ า่ นไดเ้ ฉกเช่นเดียวกนั

10 http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-
materials/publications/full-list/teaching-journalism-for-sustainable-development/ [เข้าถงึ เม่อื 12/06/2018].

11 http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-
materials/publications/full-list/ model-curricula-for-journalism-education/ [เข้าถึงเมือ่ 12/06/2018].

12 https://en.unesco.org/news/unesco-releases-model-course-safety-journalists [เข้าถึงเม่อื 12/06/2018].
13 https://en.unesco.org/news/terrorism-and-media-handbook-journalists [เขา้ ถงึ เมื่อ12/06/2018].
14 http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-

materials/publications/full-list/climate-change-in-africa-a-guidebook-for-journalists/ [เข้าถึงเมอ่ื on 12/06/2018].
15 http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-

materials/publications/full-list/ the- global-investigative-journalism-casebook/ [เขา้ ถงึ เมอื่ 12/06/2018].
16 http://unesdoc.unesco.org/images/0019/001930/193078e.pdf [เขา้ ถึงเมอ่ื 12/06/2018].
17 http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-

materials/publications/full-list/ conflict-sensitive-reporting-state-of-the-art-a-course-for-journalists-and-journalism-
educators/ [เข้าถงึ เมอื่ on 12/06/2018].

- 12 -

เน่ืองจากยูเนสโกเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล จึงไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในความขัดแย้ง
ด้านสารสนเทศเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เป็นท่ีทราบกันดีว่ามีคำ�ยืนยันและการโต้ตอบคำ�ยืนยันที่
หลากหลายเกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือน ซ่ึงความเข้าใจนี้จะช่วยในการอ่านคู่มือเล่มนี้ และเป็นแรง
บนั ดาลใจใหผ้ ้อู ่านช่วยกันคน้ หาหลักฐานเพ่มิ เติมเกยี่ วกับประเดน็ ต่าง ๆ
ในขณะเดียวกัน เพื่อหลีกเล่ียงแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม คู่มือเล่มนี้จึงปลูกฝังชุดทักษะต่อไปนี้
ไวใ้ นทุก ๆ หนา้ เพือ่ วางรากฐานทม่ี นั่ คงส�ำ หรับการประเมินและการปฏิบัติ ดงั นี้

1. ความรู้ท่ีว่าข่าวซ่ึงผลิตโดยผู้ที่มีความโปร่งใสและพิสูจน์ความจริงได้นั้นเป็นส่ิงที่จำ�เป็น
อยา่ งยงิ่ ยวดตอ่ ระบอบประชาธปิ ไตย การพฒั นา วทิ ยาศาสตร์ สขุ ภาพ และความกา้ วหนา้
ของมวลมนษุ ย์

2. การตระหนกั วา่ ขอ้ มลู บดิ เบอื นไมใ่ ชเ่ รอื่ งเลก็ และการตอ่ สกู้ บั ขอ้ มลู เหลา่ นนั้ ถอื เปน็ ภารกจิ
ทส่ี �ำ คัญย่ิงของสื่อ

3. การยึดมั่นกับการยกระดับทักษะความสามารถของวิชาชีพวารสารศาสตร์เป็นสิ่งสำ�คัญ
หากตอ้ งการใหก้ ารเสนอขา่ วทคี่ รอบคลมุ และแมน่ ย�ำ เปน็ ตวั เลอื กทเี่ ชอ่ื ถอื ได้ เพอื่ แขง่ ขนั
กับเน้ือหาที่ถูกอุปโลกนข์ ึ้นมา

คู่มือเล่มนี้ยังรวบรวมการรอบรู้เท่าทันในด้านอ่ืน  ๆ ท่ีมีประสิทธิภาพและจำ�เป็นสำ�หรับนักข่าว
และสื่อทน่ี ำ�เสนอข่าวผ่านชอ่ งทางตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่

1. ความรแู้ ละทกั ษะในการสรา้ งระบบหอ้ งขา่ วเพอ่ื การเฝา้ ระวงั การสบื สวน และการรายงาน
การบิดเบอื นขอ้ มลู ขา่ วสารอยา่ งเปน็ ระบบ

2. ความรู้เก่ียวกับคุณค่าของการเป็นพันธมิตรระหว่างสถาบันสื่อ สถานศึกษาด้าน
วารสารศาสตร์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไร ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ชุมชน ผู้ให้บริการ
อินเทอร์เน็ต และหน่วยงานกำ�กับดแู ล เพอื่ จัดการกับมลพิษดา้ นข้อมลู ข่าวสาร

3. ความรู้เก่ียวกับความจำ�เป็นในการทำ�ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจความสำ�คัญของการ
ดแู ลและปกป้องวงการขา่ วจากการถูกปกคลุมโดยข้อมลู บดิ เบอื น หรือตกเปน็ เป้าหมาย
ของผู้ไมป่ ระสงค์ดที ส่ี ร้างขบวนการแพรก่ ระจายข้อมลู บิดเบอื นเพ่อื ทำ�ลายนักข่าว

ในภาพรวม คู่มือเล่มนี้น่าจะช่วยให้สังคมรับรู้มากข้ึนว่ามีการโต้ตอบทางสังคมต่อปัญหาข้อมูล
บิดเบือนอย่างไรบ้าง ท้ังจากภาครัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ กลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชน
กลุ่มผูใ้ ห้บรกิ ารอนิ เทอร์เน็ต และผู้ที่ท�ำ งานด้านการส่งเสรมิ การรเู้ ท่าทันส่ือและสารสนเทศ โดย
เนน้ ไปท่ีสง่ิ ท่ีนกั ขา่ วและผใู้ ห้การศกึ ษาและฝกึ อบรมดา้ นวารสารศาสตร์ควรทำ�

- 13 -

เราหวังว่าอย่างน้อยที่สุด คู่มือเล่มน้ีจะช่วยเน้นยำ�้ ความสำ�คัญของบทบาทของวารสารศาสตร์
ตอ่ สงั คม และเปา้ หมายการพฒั นาทย่ี งั่ ยนื ซงึ่ ระบถุ งึ การ “เขา้ ถงึ ขอ้ มลู ขา่ วสารของประชาชนและ
เสรภี าพขัน้ พน้ื ฐาน” ยูเนสโกขอขอบคณุ ทีมบรรณาธิการและผมู้ สี ว่ นร่วมในการจัดทำ�คมู่ ือเล่มนี้
และขอมอบคู่มือเล่มนแ้ี ด่ผ้อู ่านทุกท่าน และเรายนิ ดีน้อมรบั เสยี งสะท้อนจากท่าน
กาย เบอรเ์ กอร์
ผ้อู �ำ นวยการดา้ นเสรีภาพในการแสดงความคิดเหน็ และการพัฒนาสอ่ื ยูเนสโก
เลขาธกิ ารโครงการนานาชาตเิ พอ่ื การพฒั นาการส่ือสาร (IPDC)

- 14 -

บทน�ำ

โดยเชอริลนิ ไอรต์ ัน และ จลู ี โพเซ็ตต1ิ

เพ่ือให้คู่มือเล่มน้ีเป็นหลักสูตรต้นแบบ จึงออกแบบมาเพ่ือเป็นกรอบการทำ�งานและบทเรียน
สำ�หรับผู้สอนและผู้ให้การฝึกอบรมด้านวารสารศาสตร์ รวมถึงผู้เรียนวารสารศาสตร์ ใน
การศึกษาประเด็นต่าง  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ‘ข่าวลวง’ และเรายังหวังให้เป็นหนังสือแนะแนวที่
เป็นประโยชน์สำ�หรบั นกั ขา่ วอาชพี ดว้ ย
คู่มือเลม่ นเี้ ขยี นโดยผู้สอนวารสารศาสตร์ นักวิจัย และนกั คิดระดบั แนวหน้าจากนานาประเทศท่ี
ร่วมกันพัฒนาปฏิบัติการด้านการทำ�ข่าวให้ทันยุคสมัยเพื่อรับมือกับปัญหาข้อมูลที่ผิดและข้อมูล
บดิ เบือน บทเรยี นในคู่มือเลม่ น้อี ิงกับบริบทและทฤษฎี และใชง้ านได้จริง โดยเฉพาะในกรณีของ
การพสิ จู นเ์ นอื้ หาออนไลน์ บทเรยี นทกุ บท ไมว่ า่ จะสอนรวมกนั เปน็ หลกั สตู รหรอื สอนแยกรายบท
จะช่วยปรบั ปรงุ หลักสตู รการเรยี นการสอนเดิมหรือสร้างบทเรยี นใหม่ไดเ้ ปน็ อย่างดี โดยสามารถ
ศึกษาขอ้ แนะนำ� “การใช้คู่มอื เลม่ นเี้ ป็นหลกั สตู รต้นแบบ” ได้ในหวั ข้อถัดไป
การใชค้ �ำ วา่ ‘ขา่ วลวง’ ในชอื่ คมู่ อื และในบทเรยี นท�ำ ใหเ้ กดิ ขอ้ ถกเถยี ง เพราะปจั จบุ นั ค�ำ วา่ ‘ขา่ วลวง’
มคี วามหมายมากกวา่ การตตี ราขอ้ มลู ทไ่ี มถ่ กู ตอ้ งและท�ำ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ รวมทง้ั การอ�ำ พราง
และเผยแพรอ่ อกไปในรปู แบบของขา่ ว กลายเปน็ ค�ำ ทใี่ ชเ้ ปน็ อาวธุ ในการสรา้ งอารมณเ์ พอ่ื สกดั กนั้
และบ่อนท�ำ ลายความน่าเชือ่ ถือของวงการขา่ ว ด้วยเหตุน้จี ึงใชค้ �ำ วา่ ขอ้ มลู ทผี่ ดิ ขอ้ มลู บิดเบอื น
และ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ (information disorder) ดังที่วอร์เดิลและ
เดรัคห์ชาน2 เสนอไว้ แตไ่ ม่ใชค่ �ำ ศพั ทบ์ ญั ญตั 3ิ 4

‘ ’ปฏิญญาร่วมว่าด้วยหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และ ข่าวลวง ข้อมูลบิดเบือน

และโฆษณาชวนเช่ือ

คู่มือเล่มน้ีเกิดขึ้นจากความกังวลในระดับนานาชาติต่อกรณี ‘สงครามข้อมูลบิดเบือน’ ท่ีมี
เป้าหมายหลักคือวงการข่าวและนักข่าว ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 ยูเนสโกจัดให้มีโครงการน้ีขึ้น

1 อลิซ แมตทิวส์ จากบรรษัทกระจายเสยี งแห่งประเทศออสเตรเลีย และทอม ลอว์ จากเครือขา่ ยจริยธรรมนกั ข่าว สนับสนนุ ขอ้ มูลจากงาน
วจิ ัย แนวคดิ และทรพั ยากรส�ำ หรับบทน�ำ น้ี

2 หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 2
3 นักเขียนจำ�นวนมากและนักขา่ วเองมีขอ้ โตแ้ ยง้ เกย่ี วกบั การใชค้ �ำ วา่ ‘ข่าวลวง’ รวมถึง Basson, A. (2016) If it’s fake, it’s not

news. https://www.news24.com/Columnists/AdriaanBasson/lets-stop-talking-about-fake-news-20170706 [เข้าถึงเมอ่ื
12/06/2018].
4 Wardle, C et al. (2018). “Information Disorder: the essential glossary”. Shorenstein Center, Harvard University.
Available at: https://firstdraftnews.org/wp-content/uploads/2018/07/infoDisorder_glossary.pdf?x25702 [เข้าถึงเมือ่
21/07/2018].

- 15 -

และประกาศปฏิญญาร่วมกันระหว่างผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพการ
แสดงออก ตัวแทนด้านเสรีภาพของสื่อจากองค์การว่าด้วยความม่ันคงและความร่วมมือ
ในยุโรป (OSCE) ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพส่ือจากองค์การนานารัฐอเมริกัน และ
ผู้ ต ร ว จ ก า ร พิ เ ศ ษ ด้ า น เ ส รี ภ า พ ใ น ก า ร แ ส ด ง อ อ ก ข อ ง ส่ื อ แ ล ะ ก า ร เ ข้ า ถึ ง ส า ร ส น เ ท ศ
แห่งคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชนแห่งแอฟริกา โดยปฏิญญา
ฉบับนี้แสดงความกังวลต่อการแพร่กระจายของข้อมูลบิดเบือนและโฆษณาชวนเชื่อ รวมท้ัง
การโจมตีส่ือที่นำ�เสนอข่าวว่าเป็น ‘ข่าวลวง’ ซึ่งผู้รายงานพิเศษและตัวแทนได้แสดงการยอมรับ
ผลกระทบท่เี กิดขึน้ กับนกั ข่าวและวงการวารสารศาสตร์ ดังนี้

“(พวกเรา) ไม่สบายใจต่อกรณีท่ีภาครัฐกล่าวหา คุกคาม และข่มขู่ส่ือ รวมถึงกล่าวว่า
สอ่ื เปน็ ‘ฝา่ ยตรงขา้ ม’ หรอื ‘โกหก’ และมเี จตนาทางการเมอื งแอบแฝง ซง่ึ เปน็ การท�ำ ให้
นักข่าวมีความเส่ียงต่อภัยคุกคามและความรุนแรงเพ่ิมมากข้ึน อีกท้ังยังเป็นการทำ�ลาย
ความเช่ือถือและความม่ันใจท่ีประชาชนมีต่อวงการข่าวในฐานะสุนัขเฝ้าบ้าน และอาจ
ชักนำ�ให้ประชาชนเข้าใจผิด ด้วยการนำ�ข้อมูลบิดเบือนเข้ามาปะปนกับผลผลิตของส่ือที่
เป็นขอ้ เท็จจริงทสี่ ามารถพสิ ูจนไ์ ดอ้ ยา่ งเป็นอิสระ”5

ข้อมูลบิดเบือนคือเร่ืองเก่าท่ีขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่

การขับเคลื่อนและการดัดแปลงข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มาช้านาน ตั้งแต่ก่อน
การหนังสือพิมพ์สมัยใหม่จะกำ�หนดคำ�นิยามของข่าวว่าเป็นรูปแบบท่ีมีพื้นฐานบนกฎแห่งความ
ชอบธรรม หลกั ฐานยคุ ตน้ ถกู คน้ พบในสมยั จกั รวรรดโิ รมนั โบราณ6 เมอื่ แอนโทนไี ดพ้ บกบั พระนาง
คลโี อพตั รา และถกู อ็อกตาเวียนผเู้ ปน็ ศัตรูทางการเมืองรณรงค์ตอ่ ต้านดว้ ย “สโลแกนสน้ั  ๆ และ
เฉียบคมที่สลักไว้บนเหรียญกษาปณ์ดุจข้อความทวีตแห่งยุคโบราณ”7 จนผู้ร้ายกลับกลายเป็น
จกั รพรรดโิ รมนั องคแ์ รก และ“ขา่ วลวงท�ำ ใหอ้ อ็ กตาเวยี นเจาะระบบ(hack) สาธารณรฐั ไดใ้ นทสี่ ดุ ”8
ทว่าในศตวรรษท่ี 21 การใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นอาวุธเกิดข้ึนในระดับท่ีไม่เคยปรากฏมาก่อน
เทคโนโลยีใหม่อันทรงอานุภาพทำ�ให้การดัดแปลงและการสร้างเน้ือหาทำ�ได้โดยง่าย ในขณะท่ี

5 UN/OSCE/OAS/ACHPR (2017). Joint Declaration on Freedom of Expression and “Fake News”, Disinformation,
Propaganda: https://www.osce.org/fom/302796?download=true [เขา้ ถึงเมื่อ 29/03/2017]. See also: Kaye, D (2017)
Statement to the UN General Assembly on October 24th, 2017: https://www.ohchr.org/en/NewsEvents/Pages/
DisplayNews.aspx?NewsID=22300&LangID=E [เขา้ ถึงเมือ่ : 20/8/18].

6 ดลู �ำ ดบั เหตุการณ์การปรากฏตวั ของ ‘ความปน่ั ป่วนทางขอ้ มลู ข่าวสาร’ ต้ังแตย่ คุ คลีโอพตั ราถงึ ปจั จุบนั ในคมู่ ือที่จัดพมิ พโ์ ดย
ศูนยน์ ักขา่ วนานาชาติ (ICFJ) Posetti, J & Matthews, A (2018): https://www.icfj.org/news/short-guide-history-fake-news-
anddisinformation-new-icfj-learning-module [เข้าถงึ เมือ่ 23/07/2018].

7 Kaminska, I. (2017). A lesson in fake news from the info-wars of ancient Rome. Financial Times. https://www.ft.com/
content/aaf2bb08-dca211e6-86ac-f253db7791c6 [เขา้ ถึงเมือ่ 28/03/2018].

8 เรือ่ งเดยี วกัน

- 16 -

เครือข่ายสังคมเป็นตัวกระจายข้อความเท็จที่รัฐบาล นักการเมืองสายประชานิยม และองค์กร
ธุรกิจท่ีฉ้อฉลเป็นผู้ให้การสนับสนุน ผ่านการส่งต่อของกลุ่มเป้าหมายท่ีขาดวิจารณญาณ
ส่ือเครือข่ายสังคมกลายเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์สำ�หรับโฆษณาชวนเช่ือทางคอมพิวเตอร์9
เกรียนอินเทอร์เน็ต (trolling)10 และกองทัพโทรลล์ (troll army)11 เครือข่ายซ็อก-พัพเพ็ต
(sock-puppet network)12 และสปฟู เฟอร์ (spoofers) 13 ตลอดจนกลมุ่ แสวงหากำ�ไรทีท่ �ำ กนั
เป็นเครือขา่ ยท่ีเรียกวา่ ‘ฟารม์ โทรลล์’ (troll farm) ซ่ึงออกปฏิบตั ิการในชว่ งการเลือกต้งั 14
แม้จะต่างห้วงเวลาและเทคโนโลยี แต่ประวัติศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสาเหตุและ
ผลที่เกิดจากปรากฏการณ์ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ ในยุคปัจจุบันที่กล่าวถึงในคู่มือ
เล่มน้ี เพ่ือให้ม่ันใจว่าการรายงานวิกฤตการณ์น้ีจะเป็นไปในทางเดียวกัน นักข่าว ผู้สอนและ
ผฝู้ กึ อบรมดา้ นวารสารศาสตร์ (รว่ มกบั ผเู้ รยี น) จงึ ควรศึกษาเร่ืองขอ้ มูลบดิ เบือน โฆษณาชวนเช่อื
เร่ืองหลอกลวง และเรื่องเสียดสี ในฐานะองค์ประกอบเชิงประวัติศาสตร์ของระบบนิเวศ
การส่ือสาร15
ดว้ ยเหตนุ ี้ การพฒั นากลยทุ ธท์ างการขา่ วเพอ่ื ต่อสกู้ บั ข้อมูลบิดเบอื นจงึ ควรยอมรับขอ้ มลู ความรู้
ท่ีว่าการดัดแปลงข้อมูลข่าวสารนั้นมีมาช้านานนับศตวรรษ ในขณะที่วิชาชีพการหนังสือพิมพ์
เพงิ่ จะเกดิ ขน้ึ เมอื่ ไมน่ านมานเ้ี อง16 เมอ่ื การหนงั สอื พมิ พพ์ ฒั นาจนมบี ทบาทในเชงิ เปน็ บรรทดั ฐาน
ของสังคมปัจจุบัน สื่อท่ีนำ�เสนอข่าวส่วนใหญ่สามารถแยกตัวออกจากโลกของการสร้างข่าวและ
การลอบโจมตีได้ โดยอาศัยหลักวารสารศาสตร์ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่มาตรฐานวิชาชีพเรื่อง
การนำ�เสนอความจริง กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และจริยธรรมเพ่ือประโยชน์สาธารณะ
วงการขา่ วผา่ นขน้ั ตอนและการตอกย�ำ้ มามากมายหลายครงั้ เพอื่ แยกตวั ออกมา ทกุ วนั น้ี แมว้ า่ จะมี
‘การขา่ ว’ หลายรปู แบบ แตก่ ย็ งั คงเปน็ ไปไดท้ จี่ ะจ�ำ แนกแยกแยะความหลากหลายของเรอ่ื งเลา่ ใน
รายงานขา่ วทแี่ ทจ้ รงิ ในฐานะสว่ นหนงึ่ ของงานดา้ นการสอ่ื สารทมี่ จี รรยาบรรณแนช่ ดั และตอ้ งการ
เป็นอิสระทางด้านเน้ือหาจากการเมืองและผลประโยชน์ทางการค้า ซึ่งก่อนหน้าการพัฒนา

9 ดูโครงการโฆษณาชวนเชอ่ื ทางอนิ เทอร์เนต็ ของสถาบนั อินเทอรเ์ นต็ แห่งออกซฟอรด์ http://comprop.oii.ox.ac.uk/ [เขา้ ถงึ เมื่อ
20/07/2018].

10 ดูหนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 7 ของคมู่ ือเลม่ นสี้ ำ�หรับกรณศี ึกษาที่แสดงถึงภัยคุกคามเหลา่ น้ี
11 Rappler.com (2018) Fake News in the Philippines: Dissecting the Propaganda Machine https://www.rappler.com/

newsbreak/richmedia/199895-fake-news-documentary-philippines-propaganda-machine [เขา้ ถงึ เมอ่ื 20/07/2018].
12 Gent, E. (2017). Sock puppet accounts unmasked by the way they write and post. https://www.newscientist.com/

article/2127107-sockpuppet-accounts-unmasked-by-the-way-they-write-and-post/ [เขา้ ถงึ เม่ือ 19/07/2018].
13 Le Roux, J. (2017). Hidden hand drives social media smears. https://mg.co.za/article/2017-01-27-00-hidden-hand-

drives-social-media-smears [เขา้ ถึงเม่ือ 19/07/2018].
14 Silverman, C et al (2018) American Conservatives Played a Role in the Macedonian Fake News Boom of 2016

Buzzfeed https://www. buzzfeednews.com/article/craigsilverman/american-conservatives-fake-news-macedonia-
paris-wade-libert [เข้าถงึ เม่ือ 20/07/2018].
15 Posetti, J and Matthews, A (2018) A short guide to the history of ‘fake news’: A learning module for journalists and
journalism educators ICFJ https://www.icfj.org/news/short-guide-history-fake-news-and-disinformation-new-icfj-
learning-module [เขา้ ถึงเมื่อ 23/07/2018].
16 ดูหน่วยการเรียนรูท้ ่ี 3 ในคมู่ ือเล่มน้ี

- 17 -

มาตรฐานเหล่านี้ กฎระเบียบเกี่ยวกับความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่
มวลชนนนั้ มีอยู่นอ้ ยมาก
การแพร่หลายของเครื่องพิมพ์กูเทนเบิร์กตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมามีความสำ�คัญ
เปน็ อยา่ งยง่ิ ตอ่ การถอื ก�ำ เนดิ ของอาชพี นกั หนงั สอื พมิ พ์ แตเ่ ทคโนโลยกี ท็ �ำ ใหก้ ารแพรร่ ะบาดของ
การโฆษณาชวนเช่อื และข่าวหลอกลวงท่บี างคร้งั ทำ�ให้คนเข้าใจว่าสถาบันส่อื เป็นตัวการ17เป็นไป
ไดอ้ ย่างสะดวกง่ายดายย่ิงขึ้น การเกิดขึ้นของการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ทำ�ให้การแพร่
กระจายของโฆษณาชวนเชื่อ เร่ืองลวงโลก และเรื่องเสียดสีพัฒนาขึ้นไปอีกข้ัน ดังที่ปรากฏ
ในละครวทิ ยุเรื่อง War of the Worlds เม่อื ปี พ.ศ. 248118 การกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์
ข้ามประเทศยังเป็นช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารถูกใช้เป็นเคร่ืองมือเกินกว่าขอบเขตของความเป็น
มอื อาชพี และความเป็นอสิ ระ แม้วา่ เรือ่ งท่ี ‘ประดิษฐ์’ ขึ้นมาลว้ น ๆ และการจงใจดดั แปลงข่าว
โดยท่ัวไปเป็นขอ้ ยกเวน้ มากกว่าเป็นกฎระเบียบของเรอ่ื งเล่าโดยฝา่ ยตา่ ง ๆ
เราเรียนรู้อะไรบางอย่างได้เช่นกันจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของคนที่ถูกหลอกด้วยมุก ‘วัน
เมษาหน้าโง่’ (April Fool’s) ท่ีบางครั้งนักข่าวเองก็ยังถูกหลอกไปด้วย19 แม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังมี
ตวั อยา่ งใหเ้ หน็ อยบู่ อ่ ย ๆ วา่ ขา่ วเสยี ดสี ซงึ่ มบี ทบาทส�ำ คญั ตอ่ การท�ำ งานขา่ วทมี่ คี วามรบั ผดิ ชอบ20
ยงั ท�ำ ใหผ้ ใู้ ชส้ อ่ื สงั คมเขา้ ใจผดิ และสง่ ตอ่ ประหนง่ึ วา่ เปน็ ขา่ วจรงิ 2122 ในบางกรณที เ่ี คยเกดิ ขน้ึ มาแลว้
ในอดตี มคี วามซบั ซอ้ นหลายชน้ั อยา่ งทเี่ วบ็ ไซตซ์ ง่ึ อา้ งตวั วา่ เปน็ เวบ็ เสยี ดสี กลบั กลายเปน็ สว่ นหนง่ึ
ของเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อกอบโกยผลกำ�ไรจากโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตจากผู้บริโภคที่คลิก
และสง่ ตอ่ โดยไมร่ ู้ ซง่ึ ไมเ่ พยี งสง่ ผลกระทบตอ่ เนอื้ หาท่ี ‘สวมรอย’ มา แตย่ งั สง่ ผลกระทบตอ่ ความ
น่าเช่อื ถอื ของขา่ วดว้ ย23 นีจ่ ึงตอกย�ำ้ เหตผุ ลท่ีนกั ขา่ วต้องมุง่ ม่ันทำ�ใหร้ ายงานขา่ วมคี วามเทยี่ งตรง
ต้ังแต่แรก และยังเป็นเหตุผลท่ีสังคมควรติดต้ังชุดทักษะการรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศให้แก่

17 ตวั อย่างเชน่ ขา่ วหลอกลวงคร้งั ใหญค่ รั้งแรกคืออะไร นัน่ กค็ ือ ‘ขา่ วลวงเรือ่ งดวงจนั ทร์คร้ังใหญ่’ ในปี พ.ศ. 2378. รายละเอียดอา่ นได้ใน
Thornton, B. (2000). The Moon Hoax: Debates About Ethics in 1835 New York Newspapers, Journal of Mass
Media Ethics 15(2), pp. 89-100. http://www.tandfonline. com/doi/abs/10.1207/S15327728JMME1502_3 [เข้าถึงเมื่อ
28/03/2018].

18 Schwartz, A.B. (2015). The Infamous “War of The Worlds” Radio Broadcast Was a Magnificent Fluke,
The Smithsonian. http://www.smithsonianmag.com/history/infamous-war-worlds-radio-broadcast-was-magnificent-
fluke-180955180/#h2FAexeJmuCHJfSt.99 [เขา้ ถงึ เมื่อ 28/03/2018].

19 Laskowski, A. (2009). How a BU Prof April-Fooled the Country: When the joke was on the Associated Press, BU
Today. https://www.bu.edu/ today/2009/how-a-bu-prof-april-fooled-the-country/ [เข้าถึงเมอ่ื 01/04/2018].

20 Baym, G (2006) The Daily Show: Discursive Integration and the Reinvention of Political Journalism in Political
Communication Taylor and Francis Volume 22, 2005 - Issue 3 pp 259-276 https://www.tandfonline.com/doi/
abs/10.1080/10584600591006492 [เข้าถึงเมือ่ 20/07/2018].

21 Woolf, N. (2016) As fake news takes over Facebook feeds, many are taking satire as fact, The Guardian. https://
www.theguardian.com/ media/2016/nov/17/facebook-fake-news-satire [เข้าถึงเม่ือ 01/04/2018].

22 Abad-Santos, A. (2012). The Onion Convinces Actual Chinese Communists that Kim Jong-Un is Actually the Sexiest
Man Alive, The Atlantic. https://www.theatlantic.com/entertainment/archive/2012/11/onion-convinces-actual-
chinese-communists-kim-jong-un-actually-sexiest-manalive/321126/ [เขา้ ถงึ เมอ่ื 28/03/2018].

23 ดูหน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 3 ในคมู่ อื เลม่ นส้ี �ำ หรับคำ�อธบิ ายเพิม่ เติมเก่ยี วกบั แนวคดิ นี้

- 18 -

ผรู้ บั ขา่ วสาร24 เพ่ือใหเ้ ขา้ ใจเนอื้ หาสาระนานารูปแบบ ตลอดจนธรรมเนยี มปฏิบตั ิขององค์กรข่าว
โฆษณา การบันเทงิ และสื่อสงั คม ไดอ้ ย่างชัดเจนถอ่ งแทแ้ ละมีวจิ ารณญาณ
ประวัติศาสตร์ยังสอนเราอีกด้วยว่าอิทธิพลท่ีอยู่เบื้องหลังข้อมูลบิดเบือนน้ันไม่จำ�เป็นต้องมุ่งหวัง
ใหน้ กั ขา่ วหรอื คนทวั่ ไปเชอ่ื วา่ ขอ้ ความเทจ็ เหลา่ นน้ั เปน็ ความจรงิ เสมอไป แตย่ งั ตอ้ งการสรา้ งความ
คลางแคลงใจในข้อมูลที่ตรวจสอบได้ของผู้ผลิตข่าวอาชีพ เพราะเม่ือเกิดความสับสน ผู้บริโภค
ข่าวจำ�นวนมากก็จะเกิดความรู้สึกว่าต้องเลือกหรือสร้าง ‘ความจริง’ ของตัวเองข้ึนมา
มากขน้ึ เรอื่ ย ๆ บางครงั้ กด็ ว้ ยความชว่ ยเหลอื จากบรรดานกั การเมอื งทต่ี อ้ งการปกปอ้ งตนเองจาก
เสียงวิพากษว์ ิจารณ์ทเ่ี ป็นเหตเุ ปน็ ผล
ข้ามมาที่ปี พ.ศ. 2561 กับความรุ่งเรอื งของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมด้วยคุณลักษณะของส่ือสงั คม
และช่องทางการรับส่งข้อความต่าง  ๆ ที่ยังมีข้อจำ�กัดในด้านมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ
สำ�หรับใช้กำ�หนดว่าข่าวมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทำ�ให้การปลอมแปลงและการลอกเลียนข่าว
ของแท้น้ันทำ�ได้ง่ายดาย และมีความเป็นไปได้มากขึ้นท่ีจะดัดแปลงภาพและเสียงที่เกินกว่า
การตดั ตอ่ ภาพข่าว เพอ่ื ให้ดเู หมือนว่าบุคคลในภาพน้ันกล่าวหรือท�ำ สงิ่ ใด ณ สถานทใ่ี ด ๆ และ
นำ�ไปเผยแพรว่ ่าเปน็ เรอื่ งจริง25 จนกลายเป็นไวรัลในโลกของการสอื่ สารในสังคม
ทุกวันน้ีส่ือสังคมมีอิทธิพลมากข้ึนด้วยเน้ือหาหลากประเภท ตั้งแต่เร่ืองส่วนบุคคลไปจนถึง
เรื่องการเมือง หลายเร่ืองสั่งการแบบเปิดเผยหรือแบบลับโดยรัฐบาลและ/หรือบริษัทใน
อตุ สาหกรรมการประชาสมั พนั ธท์ ร่ี บั งานจากรฐั บาลหรอื ภาคธรุ กจิ ดว้ ยเหตนุ ้ี บลอ็ กเกอร์ ผนู้ �ำ ทาง
ความคดิ ในอนิ สตาแกรม และบคุ คลผมู้ ชี อื่ เสยี งจากยทู บู นบั ไมถ่ ว้ นตา่ งกพ็ ากนั โปรโมตสนิ คา้ และ
นกั การเมอื งโดยไมเ่ ปดิ เผยวา่ ตนไดร้ บั คา่ ตอบแทน นอกจากนย้ี งั มกี ารแอบจา่ ยเงนิ ใหก้ บั นกั วจิ ารณ์
(ซงึ่ มกั ใชช้ อ่ื ปลอม) เพอ่ื ชว่ ยยนื ยนั ขา่ ว ท�ำ ลายความนา่ เชอ่ื ถอื หรอื ขม่ ขใู่ นเวทอี อนไลนอ์ กี ดว้ ย สงิ่
ตา่ ง ๆ เหลา่ นที้ �ำ ใหว้ งการขา่ วเสยี หลกั และกลายเปน็ ทม่ี าของเสยี งวจิ ารณท์ ซ่ี อื่ สตั ยเ์ ปน็ ธรรม เชน่
เดียวกับการตกเปน็ เป้าหมายของเสียงโจมตี
ปัจจุบัน ส่ิงที่เป็นอันตรายคือการพัฒนา ‘การแข่งขันด้านอาวุธ’ ของข้อมูลบิดเบือนในระดับ
ชาตแิ ละนานาชาตทิ เ่ี ผยแพรผ่ า่ นองคก์ ร ‘ขา่ ว’ ทเ่ี ลอื กขา้ งและชอ่ งทางสอื่ สงั คมตา่ ง ๆ กลายเปน็
มลภาวะในสิ่งแวดล้อมของข้อมูลข่าวสารสำ�หรับทุกฝ่ายที่อาจย้อนกลับมาทำ�ร้ายตัวผู้สร้างข่าว
เอง26 เพราะเม่ือใดก็ตามที่ขบวนการแพร่กระจายข้อมูลบิดเบือนถูกเปิดโปง ผลที่เกิดขึ้นย่อม

24 ดหู นว่ ยการเรยี นรู้ที่ 4
25 Solon, O (2017) The future of fake news: Don’t believe everything you see, hear or read in The Guardian: https://

www.theguardian.com/ technology/2017/jul/26/fake-news-obama-video-trump-face2face-doctored-content
[เขา้ ถึงเมอื่ 20/07/2018].
26 Winseck, D (2008). Information Operations ‘Blowback’: Communication, Propaganda and Surveillance in the Global
War on Terrorism. International Communication Gazette 70 (6), 419-441

- 19 -

สรา้ งความเสยี หายใหก้ บั ทกุ ฝา่ ยทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ไมว่ า่ จะเปน็ ผเู้ ลน่ ทเี่ ปน็ ผดู้ �ำ เนนิ การและลกู คา้ จากฝงั่
การเมอื ง (ดกู รณศี กึ ษาแบลล-์ พอ็ ตทงิ เกอร์27282930 และเคมบรดิ จอ์ นาไลตกิ า3132 ทเี่ พง่ิ เกดิ เมอ่ื ไม่
นานมานี)้
จากทกี่ ลา่ วมาข้างตน้ สง่ิ ที่เกิดข้ึนตามมากค็ อื ในบรบิ ทของการแบ่งข้ัวทางการเมืองเชน่ น้ี ข้อมลู
บิดเบือนท่ีมีเทคโนโลยีดิจิทัลเก้ือหนุนมีโอกาสท่ีจะบดบังบทบาทของการทำ�งานข่าว ย่ิงไปกว่า
น้ี การเสนอขา่ วทตี่ รวจสอบได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (เป็นความสำ�เรจ็ ลา่ สุดที่บนั ทึกไว้
ในประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันใด  ๆ) อาจถูกทำ�ลายความน่าเช่ือถือ หากไม่มี
มาตรการปอ้ งกนั เพอ่ื หลกี เลยี่ งการถกู แกไ้ ขดดั แปลง เมอ่ื การท�ำ ขา่ วกลายเปน็ ชอ่ งทางส�ำ หรบั ขอ้ มลู
บดิ เบือน ก็ยิ่งทำ�ใหค้ วามไว้วางใจของสาธารณะลดลง และส่งเสรมิ ความคดิ ถากถางท่วี ่าขอ้ ความ
ท่ีอยู่ในข่าวและในข้อมูลบิดเบือนไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน น่ีจึงเป็นเหตุผลว่าทำ�ไม
การใช้เน้ือหาท่ีเป็นปัญหาในอดีตและรูปแบบที่หลากหลายของเนื้อหาเหลา่ นจ้ี งึ เปน็ บทเรยี นสอน
เรา การใหค้ วามส�ำ คญั กบั ววิ ฒั นาการของ ‘ความผดิ ปกตขิ องขอ้ มลู ขา่ วสาร’ ในแงม่ มุ ตา่ ง  ๆ ใน
ศตวรรษท่ี 21 น่าจะช่วยให้เข้าใจที่มาและผลจากภัยคุกคามระดับโลกที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
นไ้ี ดด้ ยี งิ่ ขน้ึ ตงั้ แตก่ ารใหร้ า้ ยนกั ขา่ วโดยกองทพั โทรลลท์ ร่ี ฐั เปน็ ผจู้ ดั จา้ งเพอื่ ควบคมุ ผลการเลอื กตง้ั
การสร้างความเสียหายให้กับการสาธารณสุข และความล้มเหลวในการตระหนักถึงอันตรายของ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภมู อิ ากาศ

คู่มือสำ�หรับรับมือกับวิกฤติข้อมูลบิดเบือน

เม่ือนำ�ไปใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน คู่มือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ สามหน่วย
การเรียนรู้แรกเป็นกรอบโครงของปัญหาและบริบท ขณะท่ีอีกสี่หน่วยการเรียนรู้เป็นการตอบโต้
‘ความผิดปกติของขอ้ มลู ข่าวสาร’ และผลของมนั

27 The African Network of Centers for Investigative Journalism, (2017). The Guptas, Bell Pottinger and the fake news
propaganda machine, TimeLive. https://www.timeslive.co.za/news/south-africa/2017-09-04-the-guptas-bell-
pottinger-and-the-fake-news-propaganda-machine/ [เขา้ ถึงเมือ่ 29/03/2018].

28 Cameron, J. (2017) Dummy’s guide: Bell Pottinger – Gupta London agency, creator of WMC, BizNews https://www.
biznews.com/globalcitizen/2017/08/07/dummys-guide-bell-pottinger-gupta-wmc [เขา้ ถงึ เม่ือ 29/03/2018] and Segal,
D. (2018) How Bell Pottinger, P.R. Firm for Despots and Rogues, Met Its End in South Africa. New York Times, 4
Feb 2018. https://www.nytimes.com/2018/02/04/business/bell-pottingerguptas-zuma-south-africa.html [เขา้ ถงึ เม่อื
29/03/2018].

29 Haffajee, F. (2017). Ferial Haffajee: The Gupta fake news factory and me. HuffPost South Africa. [online] Available
at: https://www.huffingtonpost.co.za/2017/06/05/ferial-haffajee-the-gupta-fake-news-factory-and-me_a_22126282/
[เขา้ ถงึ เม่ือ 06/04/2018].

30 ดหู น่วยการเรยี นรทู้ ่ี 7
31 Lee, G. (2018). Q&A on Cambridge Analytica: The allegations so far, explained, FactCheck, Channel 4 News. https://

www.channel4.com/news/ factcheck/cambridge-analytica-the-allegations-so-far [เขา้ ถงึ เมือ่ 29/03/2018].
32 Cassidy, J. (2018). Cambridge Analytica Whistleblower claims that cheating swung the Brexit vote, The New Yorker.

https://www.newyorker.com/news/our-columnists/a-cambridge-analytica-whistleblower-claims-that-cheating-swung-
the-brexit-vote [เข้าถึงเม่อื 29/03/18].

- 20 -

หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 เหตุใดความจริง ความเชื่อถือ และการเสนอข่าว จึงสำ�คัญ33 ส่งเสริมให้
คดิ อยา่ งรอบดา้ นถงึ ความส�ำ คญั และผลทเ่ี กดิ จากขอ้ มลู บดิ เบอื นและขอ้ มลู ทผ่ี ดิ และขอ้ มลู เหลา่ น้ี
หลอ่ เล้ียงวกิ ฤตคิ วามเชอื่ มัน่ ต่อการเสนอขา่ วอยา่ งไร
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การพจิ ารณาเรอ่ื ง ‘ความผดิ ปกตขิ องขอ้ มลู ขา่ วสาร’: รปู แบบของขอ้ มลู ทผี่ ดิ
ขอ้ มูลบิดเบอื น และ ขอ้ มูลทแี่ ฝงเจตนาร้าย34 เปิดประเด็นปัญหาและใหก้ รอบการทำ�งานเพอื่ ท�ำ
ความเข้าใจปญั หาในมติ ิต่าง ๆ
ในศตวรรษที่ 21 ความไวเ้ นอื้ เชอื่ ใจอนั เปราะบางทม่ี ใี หก้ บั สอ่ื ในแทบจะทกุ พน้ื ทที่ วั่ โลกนน้ั ลดนอ้ ย
ถอยลงตั้งแต่ก่อนท่ีสื่อสังคมจะก้าวเข้าสู่สนามข่าว และส่งมอบพ้ืนท่ีและเครื่องมือสำ�หรับ
การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร35 ด้วยเหตุผลท่ีหลากหลายและซับซ้อน โลกออนไลน์ที่ไม่มีวันหยุด
กับ ความต้องการเสพข่าวสารท่ีไม่มีวันส้ินสุดในช่วงเวลาท่ีสถานีข่าวลดรายจ่ายท�ำ ให้เกิดการ
เปลยี่ นแปลงในวงการขา่ ว ดังทป่ี รากฏในหนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 3 การเปลีย่ นแปลงในอุตสาหกรรม
ข่าว: เทคโนโลยีดิจิทัล ส่ือสังคม และการแพร่กระจายของข้อมูลท่ีผิดและข้อมูลบิดเบือน36
สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ปริมาณอันมหึมา การประกอบการ และการแพร่กระจายของข่าว
หลอกลวงในโลกออนไลน์สู่คนจำ�นวนมาก ทำ�ให้เกิดวิกฤติครั้งใหม่ในวงการวารสารศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับท้งั นกั ข่าว สื่อ และสังคม37
ถ้าเช่นน้ัน ผู้ท่ีต้องการส่งเสริมวารสารศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้การศึกษา ผู้อยู่ในวิชาชีพ
และผู้วางนโยบายสื่อ ควรทำ�อย่างไร การต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลท่ีผิด ด้วยการรู้
เทา่ ทนั ส่อื และสารสนเทศ38 จงึ เปน็ หัวขอ้ ของหนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4
ในทา้ ยท่ีสดุ การตรวจสอบข้อเทจ็ จริงคอื ส่ิงทแี่ บง่ แยกระหวา่ งนักขา่ วอาชีพกบั คนอื่น39 และน่ีคือ
หัวใจของหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การตรวจสอบข้อเท็จจริง 10140 ขณะท่ีหน่วยการเรียนรู้ที่
6 การตรวจสอบความจริงในส่ือสังคม: การประเมินแหล่งที่มาและเนื้อหาท่ีเป็นภาพ41
เน้นเรือ่ งการปฏบิ ัติ เชน่ การจัดการกับปญั หาเรอื่ งการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการท�ำ ขา่ วบนฐ
านของข้อมลู หลักฐาน ซง่ึ เป็นปญั หาทีม่ าพร้อมกับเทคโนโลยดี ิจิทลั และส่อื สงั คม

33 ดูหนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 1
34 ดูหน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2
35 Edelman. (2017). 2017 Edelman Trust Barometer- Global Results. Available at https://www.edelman.com/global-

results/ [เข้าถึงเมอ่ื 03/04/2018].
36 ดูหน่วยการเรยี นรู้ที่ 3
37 Viner, K. (2017). A mission for journalism in a time of crisis. [online] The Guardian. Available at https://www.

theguardian.com/news/2017/ nov/16/a-mission-for-journalism-in-a-time-of-crisis [เขา้ ถงึ เมอื่ 03/04/2018].
38 ดหู นว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 4
39 Kovach, B. & Rosenstiel, T. (2014). The elements of journalism: What newspeople should know and the public

should expect. New York: Crown Publishers.
40 ดหู น่วยการเรียนรทู้ ่ี 5
41 ดหู น่วยการเรยี นรู้ที่ 6

- 21 -

การที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการทำ�ข่าว ทำ�ให้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมขาดผู้ดูแล
ประตูข่าวสาร (gatekeeper) แบบรวมศูนย์42 วงการข่าวรู้สึกได้ถึงผลกระทบท่ีเกิดขึ้น แต่
การพลิกผันท่ีมีเทคโนโลยีเป็นแรงขับ ทำ�ให้การวัดและการประเมินความเสียหาย ตลอดจน
การหาทางแก้ไข เป็นกระบวนการท่ีต้องใช้เวลา ช่วงเวลาของการว่ิงไล่ตามเป็นสิ่งท่ียากจะ
หลกี เลยี่ ง ก่อนทงี่ านวิจัยและแนวปฏิบตั ทิ ี่ดีที่สดุ จะถือก�ำ เนิด
ขอ้ มลู บดิ เบอื นเปน็ ปญั หาระดบั โลกอยา่ งแทจ้ รงิ มนั ขยายขอบเขตจากการเมอื งออกไปสทู่ กุ แงม่ มุ
ของสารสนเทศ ไมว่ ่าจะเปน็ การเปล่ยี นแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบันเทงิ ฯลฯ อยา่ งไรก็ดี
กรณีศกึ ษาทม่ี กี ารบนั ทึกไว้จนถงึ ณ วนั นี้ จดุ เรมิ่ ตน้ ของการแกไ้ ขปัญหาและการใหเ้ งนิ สนับสนนุ
งานวิจัยรวมท้ังเคร่ืองมืออย่างทันท่วงที เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาซ่ึงเป็นศูนย์รวมของบริษัท
ผู้นำ�ด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลก และคำ�กล่าวหาของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ท่ีว่า
องค์กรสื่อและนักข่าวเป็นกระบอกเสียงของ ‘ข่าวลวง’ ก็กระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติและ
การให้ทุนสนับสนุน
การดำ�เนินงานระดับโลกในภาพรวมเกิดขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะการตอบรับจากรัฐบาลของแต่ละ
ประเทศ หลายประเทศอยูใ่ นระหวา่ งการพจิ ารณามาตรการทางกฎหมายและการก�ำ กบั ดแู ลเพอ่ื
แก้ไขปัญหานี้ ขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ก็เร่งเพิ่มมาตรการก�ำ จัดข้อมูลบิดเบือน
และขอ้ มูลทีผ่ ดิ ออกจากช่องทางของตน
ในระหว่างการจัดทำ�คู่มือเล่มน้ี คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดทำ�รายงาน43 ผลการสำ�รวจ44
ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลที่ผิดจะเป็นภัยต่อสังคมส่วนรวม45 ส่วน
นักการเมืองและหน่วยงานด้านนโยบายสาธารณะในแต่ละประเทศ ตั้งแต่ออสเตรเลียไปจนถึง
ฟิลิปปินส์ แคนาดา ฝร่ังเศส สหราชอาณาจักร บราซิล อินเดีย และอินโดนีเซีย ต่างก็อยู่ใน
ระหว่างการพิจารณาหามาตรการแก้ไขปัญหา46 ในส่วนของการออกกฎหมาย เยอรมนีเป็น
ประเทศแรกทอ่ี อกกฎหมายเพอื่ ลงโทษปรบั สอื่ ดจิ ทิ ลั อยา่ งหนกั หากไมล่ บ ‘เนอ้ื หาทผ่ี ดิ กฎหมาย’

42 Colón, A. (2017). You are the new gatekeeper of the news. [online] The Conversation. Available at
https://theconversation.com/you-are-thenew-gatekeeper-of-the-news-71862 [เขา้ ถงึ เม่ือ 03/04/2018].

43 European Commission (2018). Final report of the High-Level Expert Group on Fake News and Online Disinformation.
http://ec.europa.eu/ newsroom/dae/document.cfm?doc_id=50271 [เขา้ ถึงเม่อื 03/04/2018].

44 European Commission (2017). Next steps against fake news: Commission sets up High-Level Expert Group and
launches public consultation. [online] Available at http://europa.eu/rapid/press-release_IP-17-4481_en.htm
[เข้าถงึ เมื่อ 03/04/2018].

45 Ansip, A. (2017). Hate speech, populism and fake news on social media – towards an EU response. Available at
https://ec.europa.eu/ commission/commissioners/2014-2019/ansip/announcements/statement-vice-president-ansip-
european-parliament-strasbourg-plenarydebate-hate-speech-populism_en [เขา้ ถึงเม่อื 03/04/2018].

46 Malloy, D. (2017). How the world’s governments are fighting fake news. [online] ozy.com. Available at http://www.
ozy.com/politics-andpower/how-the-worlds-governments-are-fighting-fake-news/80671 [เข้าถึงเม่อื 03/04/2018].

- 22 -

ซง่ึ รวมถงึ ‘ขา่ วลวง’ และค�ำ พดู ทส่ี รา้ งความเกลยี ดชงั ภายใน 24 ชว่ั โมงหลงั จากไดร้ บั แจง้ 47 ขณะท่ี
รัฐสภาของมาเลเซยี กผ็ ่านกฎหมายต่อต้านข่าวลวง (Anti-Fake News Bill) เม่อื เดือนเมษายน
พ.ศ. 2561 แต่ยกเลิกในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน48 สำ�หรับรายชื่อรัฐบาลที่จัดการกับข่าวลวง
นั้นรวบรวมไว้โดยสถาบนั Poynter49
กลุ่มผู้สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกวิตกว่าการออกกฎหมายจะเป็นการทำ�ลายความเป็น
ประชาธิปไตยของข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นซึ่งเทคโนโลยีใหม่เอ้ือให้เกิดขึ้น
ได้ เน่ืองจากในบางประเทศ กฎหมายถูกใช้เป็นเคร่ืองมือในการปิดปากส่ือที่วิพากษ์วิจารณ์
การท�ำ งานของรฐั บาล50
สำ�หรับนักข่าวจำ�นวนมากท่ีเช่ือม่ันในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและมองตนเองเป็น
หัวเร่ียวหัวแรงในการสนับสนุนสังคมประชาธิปไตย51 การจัดการกับ ‘ความผิดปกติของ
ข้อมลู ขา่ วสาร’ เป็นปัญหาทซี่ บั ซ้อน อีกทงั้ ยงั เปน็ เรอ่ื งสว่ นบุคคลด้วย เชน่ การโจมตนี กั ขา่ วผ่าน
สอื่ ออนไลนซ์ ง่ึ พบเหน็ ไดท้ ว่ั ไป โดยเฉพาะกบั นกั ขา่ วทเี่ ปน็ ผหู้ ญงิ และในหลายกรณกี เ็ ปน็ การโจมตี
ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งทำ�ให้วงการข่าวหวาดหวั่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน ดูรายละเอียดของ
เรือ่ งนไ้ี ด้ในหนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 7 การตอ่ ส้กู บั การลว่ งละเมิดในช่องทางออนไลน:์ เมอ่ื นกั ข่าวและ
แหล่งข่าวตกเปน็ เป้าหมาย52
ข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลที่ผิดเป็นมากกว่าปัญหาเร่ืองช่ือเสียงและความปลอดภัยของนักข่าว
เพราะมนั ท�ำ ใหเ้ กดิ ขอ้ กงั ขาในเจตนาและความมปี ระสทิ ธภิ าพของการท�ำ งาน รวมถงึ ท�ำ ใหว้ งการ
ข่าวตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในวาทกรรมทางสังคมอย่างไม่รู้จบ ดังนั้น การพัฒนามาตรฐาน
และความสัมพันธ์กับสังคมจึงเป็นเรื่องท่ีนักวารสารศาสตร์ในอนาคตทุกคนและสังคมโดยรวม
ควรให้ความสนใจ คู่มือเลม่ นจี้ ะช่วยกระตุ้นใหน้ ักวจิ ยั นักศึกษา และผปู้ ระกอบวิชาชพี พิจารณา
ถกเถียงว่าการทำ�ข่าวควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตยในบริบท
ใหม่ เนอ่ื งจาก

47 Federal Ministry of Justice and Consumer Protection. (2017). Act to Improve Enforcement of the Law in Social
Networks (Network Enforcement Act, netzdg). [online]. Available at: http://www.bmjv.de/DE/Themen/fokusthemen/
netzdg/_documents/netzdg_englisch.html [เข้าถึงเม่ือ 03/04/2018].

48 Malaysia scraps ‘fake news’ law used to stifle free speech. The Guardian. https://www.theguardian.com/
world/2018/aug/17/malaysia-scrapsfake-news-law-used-to-stifle-free-speech [เขา้ ถึงเมอ่ื 18/08/2018].

49 Funke, D. (2018). A guide to anti-misinformation actions around the world (Poynter). Available at https://www.
poynter.org/news/guide-antimisinformation-actions-around-world [เขา้ ถึงเมือ่ 13/07/2018].

50 Nossel, S. (2017). FAKING NEWS: Fraudulent News and the Fight for Truth. [ebook] PEN America Available at https://
pen.org/wp-content/ uploads/2017/10/PEN-America_Faking-News-Report_10-17.pdf [เขา้ ถงึ เม่อื 03/04/2018].

51 McNair, B. (2009). Journalism and Democracy. In: K. Wahl-Jorgensen and T. Hanitzsch, ed., Handbook of Journalism Studies, 6th ed.
[online] New York: Routledge

52 ดูหน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 7

- 23 -

“หนังสือพิมพ์และประชาธิปไตยท่ีทำ�ตามหน้าท่ีของตนต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ ความ
โปร่งใส และยอมรับผลที่เกิดจากความผิดพลาดทางการข่าว เราทุกคนจำ�เป็นต้อง
แยกแยะข่าวออกจากการโกหกหลอกลวงให้ได้ มเิ ช่นนนั้ แล้ว....ข้อมูลขา่ วสารที่แท้จรงิ ก็
จะถูกป้ายสีให้เป็นความเท็จ และเร่ืองท่ีถูกกุขึ้นมา (ขยะ) จะถูกนำ�เสนอในฐานะเป็น
ข้อเทจ็ จรงิ ” เครก ซิลเวอร์แมน53

หมายเหตุเรื่องจริยธรรมและการกำ�กับดูแลตนเอง

มาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพและความรับผิดชอบในการเสนอข่าวเป็นเกราะกำ�บังสำ�คัญสำ�หรับ
การปอ้ งกนั ขอ้ มลู บดิ เบอื นและขอ้ มลู ทผี่ ดิ บรรทดั ฐานและคา่ นยิ มทเ่ี ปน็ แนวทางใหก้ บั คนท�ำ ขา่ ว
มีการพัฒนามานานหลายปี เพ่ือให้การหนังสือพิมพ์มีภารกิจและรูปแบบการทำ�งานที่ชัดเจน
ผลก็คือการยึดม่ันในข้อมูลข่าวสารท่ีตรวจสอบได้และความคิดเห็นที่ผ่านการศึกษาข้อมูลมาเป็น
อย่างดีถูกเผยแพร่ออกไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ นี่คือปัจจัยที่คำ�้ จุนความน่าเชื่อถือของ
วงการขา่ ว ซ่งึ ถกู เรยี งร้อยไวใ้ นทุกอณูของคูม่ อื เล่มน้ี
ในบรบิ ทนี้ เหน็ ควรอา้ งค�ำ กลา่ วสรปุ ของศาสตราจารย์ ชารล์ ี เบกเกตต์ จากวทิ ยาลยั เศรษฐศาสตร์
และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ถึงสิ่งท่ีน่าจะถือได้ว่าเป็นข้อดีของวิกฤติ ‘ข่าวลวง’ สำ�หรับวงการ
ขา่ ว ดงั น้ี

“…ขา่ วลวงเป็นส่ิงท่ีดีท่ีสดุ ในรอบหลายสบิ ปีทผ่ี า่ นมา เพราะมันเปิดโอกาสให้วงการขา่ ว
กระแสหลกั ทม่ี คี ณุ ภาพไดแ้ สดงใหเ้ หน็ วา่ คณุ คา่ ของการท�ำ ขา่ วนนั้ มาจากความเชยี่ วชาญ
จรยิ ธรรม หนา้ ที่ และประสบการณ์ เปน็ การปลกุ ใหส้ อื่ ท�ำ งานดว้ ยความโปรง่ ใสตรงประเดน็
มากยงิ่ ขนึ้ และเพม่ิ คณุ คา่ ใหก้ บั ชวี ติ ของประชาชน สอ่ื อาจจะพฒั นาตน้ แบบทางธรุ กจิ ขน้ึ
มาใหมเ่ พอ่ื ตรวจสอบขอ้ เทจ็ จรงิ สยบขา่ วลอื และสรา้ งตวั เองใหเ้ ปน็ ทางเลอื กทด่ี กี วา่ ขา่ ว
ที่ถูกปลอมแปลงขน้ึ มา”54
แม้จะพยายามเป็น ‘ผู้เล่าความจริง’ แต่นักข่าวก็ไม่อาจรับประกัน ‘ความจริง’ ได้เสมอไป
แม้กระนั้น การพยายามดิ้นรนเพ่ือให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและผลิตเนื้อหาที่สะท้อน
ขอ้ เทจ็ จรงิ ด้วยความเทย่ี งตรงกย็ ังคงเป็นหลักการพืน้ ฐานของวารสารศาสตร์ ทว่าการท�ำ ขา่ ว
ทีม่ ีจริยธรรมในยคุ ดิจทิ ัลนน้ั มหี นา้ ตาเปน็ อยา่ งไร

53 Silverman, C. (2018). I Helped Popularize The Term “Fake News” And Now I Cringe Every Time I Hear It. BuzzFeed.
Available at https://www. buzzfeed.com/craigsilverman/i-helped-popularize-the-term-fake-news-and-now-i-cringe
[เข้าถงึ เม่อื 03/04/2018].

54 Beckett, C. (2017). ‘Fake news’: The best thing that’s happened to Journalism at Polis. http://blogs.lse.ac.uk/
polis/2017/03/11/fake-news-thebest-thing-thats-happened-to-journalism/ [เขา้ ถงึ เมือ่ 04/03/2018].

- 24 -

จริยธรรมทางวารสารศาสตร์ที่ให้คุณค่ากับการปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความโปร่งใสและมีความรับ
ผิดชอบ คือช้ินส่วนท่ีสำ�คัญยิ่งของอาวุธสำ�หรับสมรภูมิแห่งการปกป้องข้อเท็จจริงและความ
จรงิ ในยคุ ของ ‘ความผดิ ปกตขิ องขอ้ มลู ขา่ วสาร’ นกั ขา่ วตอ้ งเปน็ เสยี งทม่ี คี วามเปน็ อสิ ระ หมายถงึ
ตอ้ งไมเ่ ปน็ ตวั แทนของผลประโยชนใ์ ดเปน็ การเฉพาะ ไมว่ า่ จะเปน็ ทางการหรอื ไมเ่ ปน็ ทางการ และ
ยงั หมายรวมถงึ การยอมรบั และประกาศใหท้ ราบโดยทวั่ กนั หากมสี งิ่ ใดทอี่ าจน�ำ ไปสกู่ ารขดั กนั ของ
ผลประโยชน์ ซง่ึ เปน็ หวั ใจของความโปรง่ ใส ดงั ทศ่ี าสตราจารย์ เอมลิ ี เบลล์ จากศนู ย์ Tow Center
for Digital Journalism แหง่ มหาวทิ ยาลยั โคลมั เบยี อธิบายไว้วา่ คณุ คา่ ของวิชาชพี นักขา่ วเป็น
เรื่องของ

“การท�ำ ให้แน่ใจว่าข่าวมีความถูกต้อง การแสดงความรับผิดชอบเม่ือเกิดความผิดพลาด
การมีความโปร่งใสในเร่ืองแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูล การเผชิญหน้ากับรัฐบาล กลุ่ม
กดดันทางการเมือง ผลประโยชน์ทางการค้า ตำ�รวจ เมื่อพวกเขาข่มขู่หรือเซ็นเซอร์
คุณ การปกป้องแหล่งข่าวจากการถูกจับกุมและการถูกเปิดเผย รู้ว่าเม่ือใดที่ต้องละเมิด
กฎหมายเพอ่ื ปกปอ้ งประโยชนข์ องสาธารณะ และเตรยี มพรอ้ มทจ่ี ะเขา้ คกุ เพอ่ื ปกปอ้ งขา่ ว
และแหลง่ ขา่ วของคณุ รวู้ า่ เมอ่ื ใดทกี่ ารตพี มิ พเ์ รอ่ื งบางเรอื่ งเปน็ การละเมดิ จรยิ ธรรม และ
หาสมดลุ ระหวา่ งสทิ ธคิ วามเป็นส่วนตัวของบคุ คลกบั สทิ ธิของประชาชนโดยรวม”55

ทา่ มกลางการทจุ รติ ทางการเมอื ง วกิ ฤติ ‘ความปนั่ ปว่ นทางขอ้ มลู ขา่ วสาร’ การแสดงความเกลยี ดชงั
ในโลกออนไลน์ การเฟอ่ื งฟขู อง ‘การตลาดเนื้อหา’(content marketing) โฆษณา และการปน่ั
กระแสเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนตัว องค์กรข่าวและนักข่าวยังคงต้องยึดถือจริยธรรมของ
การท�ำ ขา่ วเปน็ เสาหลกั ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี แมจ้ ะประสบภาวะทางการเงนิ และวกิ ฤตคิ วามไวว้ างใจ
ประชาธปิ ไตยเองกเ็ ชน่ กนั ควรมบี ทบาทในการยนื หยดั เพอื่ วงการขา่ ว และปกปอ้ งการท�ำ ขา่ วและ
แหลง่ ขา่ วเพอื่ ผลประโยชน์ของสาธารณะ

จรรยาบรรณ56 ซง่ึ มไี วเ้ พอื่ รองรบั กระบวนการหาขอ้ มลู และการตรวจสอบความจรงิ เพอื่ ประโยชน์
สาธารณะ เป็นสิ่งที่ทำ�ให้การเสนอข่าวตามหลักวารสารศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านการรายงาน
ข่าว แตกต่างจากการส่ือสารประเภทอื่น สิ่งน้ีย่ิงมีความสำ�คัญมากขึ้นในยุคดิจิทัลที่ไม่เพียง
ทำ�ให้เกิดประชาธิปไตยในการส่ือสาร แต่ยังทำ�ให้เกิดการไหลเวียนอย่างต่อเนื่องของข้อมูล
บิดเบือน ข้อมูลที่ผิด การโกหก และการล่วงละเมดิ สิทธอิ กี ด้วย ในบริบทดังกลา่ ว จรยิ ธรรมใน
การเสนอข่าวยิ่งมีความสำ�คัญมากข้ึน ในฐานะท่ีเป็นกรอบการทำ�งานสำ�หรับการสร้างต้นแบบ
การเสนอข่าวที่เน้นความเชื่อถือและการแสดงความรับผิดชอบในการสร้างความสัมพันธ์ที่
แน่นแฟ้นกบั ผู้รบั ขา่ วสาร

55 Bell, E. (2015). Hugh Cudlipp Lecture (Full text), The Guardian https://www.theguardian.com/media/2015/jan/28/
emily-bells-2015-hughcudlipp-lecture-full-text [เขา้ ถงึ เมอื่ 01/04/2018].

56 ตัวอยา่ งเช่น ดู ‘จรรยาบรรณนกั ข่าว’ ของสหพนั ธ์ส่ือ การบนั เทงิ และศิลปะแหง่ ออสเตรเลีย ได้ท่ี https://www.meaa.org/ meaa-
media/code-of-ethics/2018

- 25 -

ความเช่ือถือในการรายงานที่เท่ียงตรงแม่นยำ� การแสดงความรับผิดชอบ และความเป็นอิสระ
คือกุญแจสำ�คัญของการชนะใจคนและการสร้างพื้นที่สาธารณะร่วมสำ�หรับการอภิปรายโดยใช้
ข้อเท็จจริงชุดเดียวกัน ดังนั้น ผู้อ่านที่มีข้อมูลซึ่งเข้าไปมีส่วนร่วมและส่งต่อเนื้อหาที่เช่ือถือได้
จงึ เป็นยาต้านการแพร่กระจายของข้อมูลบิดเบอื นและขอ้ มลู ที่ผดิ
เพ่ือปลูกฝังและสร้างความแข็งแกร่งให้กับค่านิยมหลักเหล่านี้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของ
ส่ิงแวดล้อมส่ือ สถานีข่าวและองค์กรส่ือจึงใช้และประยุกต์หลักจรรยาบรรณ และสร้างกลไก
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสภาการหนังสือพิมพ์ ผู้ตรวจข่าวภายใน
นโยบายด้านการบรรณาธิการ และผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งต่างก็เป็นส่วนหน่ึงของโครงสร้าง
การกำ�กับดูแลตนเองที่ช่วยช้ีข้อผิดพลาดในลักษณะของการตรวจสอบโดยผู้ร่วมวิชาชีพ มันเอื้อ
ต่อการยอมรับผิดต่อสาธารณะและการแก้ไขข้อผิดพลาด รวมท้ังสร้างเสริมบรรทัดฐานทาง
วชิ าชีพในดา้ นมาตรฐานการเผยแพรข่ า่ วสารทเ่ี ป็นท่ีสนใจของประชาชน แม้นักวิจารณ์ทช่ี น่ื ชอบ
การก�ำ กับดแู ลสือ่ ด้วยองค์กรภายนอกมกั จะดูแคลนว่าเป็น ‘เสือทไ่ี ร้เขย้ี วเล็บ’ แตโ่ ครงสร้างเช่น
นม้ี ปี ระโยชนก์ บั จดุ มงุ่ หมายส�ำ คญั ในทา่ มกลางวกิ ฤตขิ อ้ มลู บดิ เบอื น กลา่ วคอื มนั ท�ำ ใหก้ ารแสดง
ความรับผิดชอบของวิชาชีพมีความโปร่งใสและมีพลังมากขึ้น ซ่ึงจะช่วยหนุนเสริมความเชื่อม่ัน
ของชุมชนที่มีต่อการเสนอข่าว อีกทั้งยังเป็นการเน้นให้เห็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของการเสนอ
ข่าวทปี่ ฏบิ ัติตามระเบียบของการตรวจสอบความจริงเพ่ือใหเ้ กิดความเที่ยงตรงและเชอ่ื ถือได้ ซง่ึ
แตกตา่ งจากข้อมลู บดิ เบอื น โฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณา และการประชาสมั พันธ์

จาก ‘นักข่าว’ สู่การทำ�ข่าว
ช่วงเวลาท่ีจริยธรรมส่ือถูกจำ�กัดกรอบโดยเหตุผลทางด้านธุรกิจ (ถึงแม้จะไม่ได้ก้มหน้ายินยอม
เสมอไป) หรืออาชีพ/วิชาชีพกลายเปน็ เรือ่ งราวในอดีต เรือ่ งนเ้ี ปน็ ท่รี บั รกู้ ันอยา่ งกวา้ งขวาง รวม
ทงั้ สหประชาชาติ ดังทป่ี รากฏในรายงานของเลขาธกิ ารสหประชาชาติ ฉบบั ปี พ.ศ. 2560 เรื่อง
ความปลอดภัยของนกั ขา่ ว เลขท่ี A/72/29057 ความว่า

“คำ�ว่า ‘นักข่าว’ หมายถึงนักข่าวและผู้ท่ีทำ�งานด้านส่ืออื่น  ๆ คำ�นิยามของคำ�
ว่า การทำ�ข่าว ในเอกสารเลขที่ CCPR/C/GC/34 ย่อหน้าที่ 44 คือ ‘หน้าที่ร่วม
กันระหว่างผู้เก่ียวข้องจำ�นวนมาก รวมถึงผู้ส่ือข่าวและนักวิเคราะห์มืออาชีพที่
ทำ�งานเต็มเวลา เช่นเดียวกับบล็อกเกอร์และคนอ่ืน  ๆ ท่ีเผยแพร่ผลงานรูปแบบต่าง  ๆ
ดว้ ยตนเองทางสอื่ สงิ่ พมิ พ์ อนิ เทอร์เนต็ หรอื อืน่  ๆ”58

57 เข้าถงึ ได้ทาง https://digitallibrary.un.org/record/1304392?ln=en [เขา้ ถึงเม่อื 16/06/2018].
58 ดเู พิ่มเติมในเอกสารของยเู อน็ เลขที่ A/HRC/20/17 ย่อหน้า 3-5, A/HRC/20/22 และ Corr.1 ยอ่ หนา้ 26, A/HRC/24/23 ยอ่ หนา้ 9, A/

HRC/27/35 ย่อหน้า 9, A/69/268 ยอ่ หนา้ 4 และ A/HRC/16/44 และ Corr.1 ยอ่ หน้า 47.

- 26 -

ในทำ�นองเดียวกนั การประชุมใหญส่ ามญั ของยเู นสโกใหค้ วามหมายไวว้ า่ “นักข่าวคอื ผู้ทีท่ �ำ งาน
ด้านสื่อและผู้ผลิตสื่อสังคมท่ีทำ�ให้เกิดงานด้านการข่าวจำ�นวนหนึ่ง ทั้งออนไลน์และออฟไลน”์
(มตทิ ปี่ ระชมุ สามญั คร้งั ท่ี 39, พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2560)59 ทัง้ นี้ แผนปฏบิ ตั ิการของสหประชาชาติ
เกี่ยวกับความปลอดภัยของนักข่าวและการไม่ต้องรับโทษ (UN Plan of Action on the
Safety of Journalists and the Issue of Impunity) ที่รับรองโดยคณะกรรมการบรหิ าร
แหง่ สหประชาชาติในปี พ.ศ. 2555 มีขอ้ ความวา่ “การคุม้ ครองนักขา่ วไมค่ วรจำ�กัดเพยี งบคุ คล
ท่ีรับรู้กันอย่างเป็นทางการว่าเป็นนักข่าว แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลอื่นอันประกอบไปด้วยผู้ที่
ทำ�งานด้านส่ือ นักข่าวพลเมือง และบุคคลอื่นที่อาจใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการส่งข่าวสารถึง
กลมุ่ เป้าหมาย”60
การทำ�ข่าวในมิตินี้อาจมองได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมของการตรวจสอบ
ความจริงของข้อมูลท่ีเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังน้ัน ผู้ที่เรียกตนว่าเป็นผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการข่าวอาจมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการเป็นนักข่าวอาชีพ ขณะท่ีผู้ท่ีรับจ้างหรือถูกระบุว่า
เป็นนักขา่ วอาจไมไ่ ด้ผลิตเนอ้ื หาขา่ วทถ่ี กู ตอ้ งแมน่ ย�ำ ยุติธรรม เปน็ มืออาชพี และเป็นอิสระเพอื่
ประโยชน์สาธารณะก็ได้ ส่ิงส�ำ คัญไม่ใชส่ ถานภาพอย่างเปน็ ทางการหรอื ตามทีก่ ล่าวอ้าง หากแต่
เป็นคุณลักษณะของเนือ้ หาท่ผี ลิตขึ้นมา
ขณะท่ีการทำ�ข่าวเป็นเรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเป็นสิทธิของทุกคน แต่ก็
เป็นปฏิบัติการเฉพาะทางที่กำ�หนดให้ต้องยึดมั่นกับเกณฑ์บางอย่างเพ่ือให้แตกต่างจากการ
แสดงออกในรปู แบบอนื่ (เชน่ บทกวีการประชาสมั พนั ธ์การโฆษณาขอ้ มลู บดิ เบอื นฯลฯ)เกณฑเ์ หลา่
น้ีมีความเกี่ยวโยงอย่างใกลช้ ดิ กับจรยิ ธรรมของการปฏบิ ตั ิงานในวิชาชพี ขา่ ว

ความโปร่งใสคือความเป็นกลางยุคใหม่ใช่หรือไม่

ความเปน็ กลาง มไี ดห้ ลายความหมาย ในแงม่ มุ ของการหา่ งไกลจากความเอนเอยี ง ความเปน็ กลาง
คือแนวคิดที่เป็นที่ถกเถียงในแวดวงวิชาชีพข่าว เราอาจบรรลุถึงความเป็นกลาง แต่มันก็เกิดขึ้น
ไม่บ่อยคร้ัง และอาจไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์เสมอไปในกรณีของความโหดร้ายทารุณหรือ
มนษุ ยธรรม (ตวั อย่างเชน่ การรายงานทีย่ ตุ ธิ รรมและเป็นอิสระนั้นไม่อาจสร้างความนา่ เชือ่ ถอื ให้
กับถ้อยคำ�ของคนที่มีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามได้แบบเดียวกับถ้อยคำ�ของคนที่รอด
ชีวิตจากอาชญากรรมสงคราม แม้ว่ากระทั่งผู้รอดชีวิตก็ไม่ควรอยู่เหนือการไต่สวน

59 Records of the General Conference. 39th session. Paris, 30 October – 14 November 2017. http://unesdoc.unesco.
org/images/0026/002608/260889e.pdf [เข้าถึงเม่อื 02/07/2018].

60 UN Plan of Action on the Safety of Journalists and the Issue of Impunity. 1CI-12/CONF.202/6 https://en.unesco.org/
sites/default/files/un-planon-safety-journalists_en.pdf [เขา้ ถงึ เมอ่ื 03/11/2017].

- 27 -

ความจรงิ ) แตค่ วามยตุ ธิ รรม ความเปน็ อสิ ระ ความถกู ตอ้ งแมน่ ย�ำ การใหบ้ รบิ ท ความโปรง่ ใส
การปกป้องแหล่งข่าว และการใชส้ ตปิ ญั ญา61 ในการรายงานข่าว คอื การสร้างความไว้ใจ ความ
เช่อื ถือ และความม่ันใจ
ในปี พ.ศ. 2552 ดร.เดวิด ไวน์เบอร์เกอร์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประกาศว่า
“ความโปร่งใสคือความเป็นกลางยุคใหม่”62 ในปีเดียวกัน ริชาร์ด แซมบรูก อดีตผู้อำ�นวยการ
ฝ่ายข่าวตา่ งประเทศของสำ�นักข่าวบบี ีซี อธบิ ายวา่ ความโปรง่ ใสตา่ งหากทีท่ �ำ ใหเ้ กิดความเช่อื ถอื
ใน ‘ยคุ สอื่ ใหม’่ ไมใ่ ชค่ วามเปน็ กลาง

“...ข่าวทุกวนั น้ียงั คงมคี วามถูกตอ้ งและยตุ ิธรรม แตก่ ารทผี่ ู้อ่าน ผ้ฟู งั และผชู้ ม เข้าใจว่า
ขา่ วถกู ผลติ ขนึ้ มาไดอ้ ยา่ งไร ขอ้ มลู มาจากทใี่ ด และท�ำ ใหเ้ กดิ ผลเชน่ ใด กม็ คี วามส�ำ คญั เชน่
กนั การเกิดขึน้ ของข่าวน้ันมีความสำ�คญั พอ ๆ กบั การน�ำ เสนอข่าว”63

ส่ิงที่แตกต่าง

องค์ประกอบหลักของการปฏิบัติงานในวิชาชีพข่าวข้างต้นไม่ได้หมายความว่าการเสนอข่าว
ทำ�ได้เพียงรูปแบบเดียว การบรรลุเป้าหมายของการเสนอข่าวมีรูปแบบและวิธีการเล่าเร่ือง
ได้หลากหลาย แต่ละวิธีก็ประกอบไปด้วยข้อความท่ีมาจากค่านิยมและมุมมองเก่ียวกับ
ความยุติธรรม บริบท ข้อเท็จจริงท่ีเก่ียวข้อง ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ส่ือแต่ละสำ�นัก
อาจมมี มุ มองทแี่ ตกตา่ งกนั ในประเดน็ ขา่ วหนงึ่ (บางรายอาจมองขา้ มดว้ ยซ�ำ้ ) โดยไมไ่ ดก้ า้ วออกจาก
‘ธุรกิจข้อมูลข่าวสาร’ ไปสู่อาณาจักรของข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลท่ีผิด (ดูบทต่อไป เรื่อง
การใชค้ มู่ อื เลม่ นเ้ี ปน็ หลกั สตู รตน้ แบบ และ หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 2 และ 3) แตเ่ มอ่ื ใดกต็ ามทเี่ นอ้ื หา
ก้าวข้ามหลักวารสารศาสตร์ในตัวของมันเอง และโดยเฉพาะเม่ือเน้ือหานั้นยังคงถูกนำ�เสนอใน
รูปแบบของข่าว นั่นหมายความว่าเนื้อหาน้ันมิใช่การเสนอข่าวตามหลักวารสารศาสตร์อีกต่อไป
หากแต่เป็นขอ้ มูลบดิ เบือนรูปแบบหนึ่ง
บทนำ�ชน้ิ น้ีช้ใี ห้เห็นประเด็นส�ำ คัญทเ่ี กดิ จากขอ้ ถกเถยี งเกี่ยวกับ ‘ข่าวลวง’ และใหบ้ รบิ ทสำ�หรับ
การท�ำ ความเขา้ ใจ การวเิ คราะห์ และการเรยี นรู้หนว่ ยการเรยี นรู้ในคมู่ ือเลม่ น้ี

61 ดู ‘หลกั วารสารศาสตร์’ ในบทถัดไป
62 Weinberger, D. (2009). Transparency is the new objectivity. http://www.hyperorg.com/blogger/2009/07/19/

transparency-is-the-newobjectivity/ [เข้าถงึ เมอื่ 28/03/2018].
63 Bunz, M. (2009). How Social Networking is Changing Journalism. https://www.theguardian.com/media/pda/2009/

sep/18/oxford-social-mediaconvention-2009-journalism-blogs [เขา้ ถงึ เมอ่ื 28/03/2018].

- 28 -

การใช้คูม่ อื น้เี ปน็ หลกั สตู รตน้ แบบ

โดยจููลีี โพเซ็็ตติิ

หลักสูตรนี้ใช้วิธีการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์1 อันหมายถึงการส่งเสริมให้
ผู้ใช้คู่มือนำ�ประสบการณ์ส่วนตนเข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนด้วย แต่ละบทเรียนไม่มี
ขอ้ ก�ำ หนดตายตวั การปรบั ใหเ้ หมาะสมกบั บรบิ ทของการเรยี นการสอนในแตล่ ะประเทศ วฒั นธรรม
สถาบัน และอตุ สาหกรรม เป็นสง่ิ ทีส่ ามารถทำ�ได้ และควรจะท�ำ อยา่ งไรก็ตาม แม้จะพยายาม
ท�ำ ใหห้ ลักสูตรมีความนา่ สนใจสำ�หรับทวั่ โลก แตก่ ็ยงั มขี อ้ จำ�กดั อย่บู า้ ง คณะผูเ้ ขยี นจงึ ขอแนะนำ�
ให้ผู้ใหก้ ารศกึ ษา ผู้บรรยาย และผเู้ ขา้ ร่วมหลักสูตร เพิม่ เตมิ กรณีศกึ ษา ตัวอยา่ ง และแหล่งข้อมลู
ทส่ี ะทอ้ นประสบการณใ์ นท้องทีแ่ ละภาษาของตนร่วมดว้ ย

ดว้ ยเหตนุ ีจ้ งึ เสนอวิธีน�ำ คูม่ อื เล่มนไี้ ปใช้งาน ดงั นี้
Z ใช้เป็นรายวิชา/หัวข้อแบบเร่งรัด สำ�หรับหลักสูตร/วิชาเอกด้านวารสารศาสตร์
นิเทศศาสตร์ ส่ือดิจิทัลหรือส่ือศึกษา สำ�หรับระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่แล้ว หรืออาจใช้
เป็นวิชาเลือกของหลักสูตรการเมืองและสังคมศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับประเด็นส่ือและ
การสอื่ สาร
Z ใชเ้ ปน็ แหลง่ ขอ้ มลู เพอ่ื เสรมิ หลกั สตู ร/รายวชิ าทมี่ อี ยู่ (เชน่ ประวตั ศิ าสตรส์ อื่ จรยิ ธรรมสอ่ื
การหาแหลง่ ขา่ วและการตรวจสอบข่าว การวจิ ารณส์ ือ่ การใช้ส่ือดจิ ทิ ัล วารสารศาสตร์
เพ่อื สังคม โดยอาจน�ำ กรณีศึกษา เอกสารประกอบการบรรยาย และเอกสารส�ำ หรับอา่ น
เพม่ิ เตมิ มาบรู ณาการเขา้ กบั หลกั สตู ร/รายวชิ าทม่ี อี ยู่ เพอื่ ใชเ้ ปน็ แนวทางในการปรบั ปรงุ
เนอ้ื หาให้ทันสมัยสำ�หรับจดั การกับวิกฤติขอ้ มูลบดิ เบือนที่เกดิ ข้ึนอยา่ งรวดเร็ว
Zใช้เป็นรายวิชาหรือหลักสูตรเร่งรัดสำ�หรับนักข่าว กลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชน และ
ผู้ปฏิบัติงานด้านข่าว ขององค์กรสื่อ หน่วยงานในอุตสาหกรรมข่าว หรือหน่วยงาน
พฒั นาดา้ นสือ่
Zใช้เป็นคู่มือการอบรม โดยผู้เข้าร่วมการอบรมด้านการทำ�ข่าวอาจนำ�หน่วยการเรียนรู้
เหลา่ นไ้ี ปประยกุ ตใ์ ชก้ บั ตนเอง โดยอาศยั รายการเอกสารทแ่ี นะน�ำ ใหอ้ า่ นและกรณศี กึ ษา
ร่วมกับแหล่งข้อมลู เฉพาะทางชุดอื่นส�ำ หรับนักขา่ วโดยเฉพาะ
Zใชเ้ ปน็ แรงบนั ดาลใจในการเขยี นบลอ็ กขององคก์ รในอุตสาหกรรมขา่ ว ช่องทางสื่อต่าง ๆ
หรอื หน่วยงานเพ่อื การพฒั นาสอื่ ส�ำ หรับกิจกรรมแบ่งปนั ความรู้

1 Banda, F (Ed) 2015 Teaching Journalism for Sustainable Development: New Syllabi (UNESCO, Paris http://unesdoc.
unesco.org/ images/0023/002338/233878e.pdf) [เขา้ ถึงเมอื่ : 28/03/2018].

- 29 -

Z ใช้เป็นแหล่งการอ่านสำ�หรับนักข่าวอาชีพเพ่ือเพ่ิมพูนความรู้และการพัฒนาทางวิชาชีพ
ตัวอย่างเช่น เทคนิคหลายอย่างท่ีกล่าวถึงในคู่มือ อาจนำ�มาใช้ในการรายงานข่าวด้วย
‘การเรียนรู้ด้วยตนเอง’ บางกรณีศึกษาอาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจสำ�หรับการรายงาน
ข่าวท่ีลึกซ้ึงยิ่งขึ้น โดยศึกษาหัวข้อข่าวในท้องถ่ินในบริบทท่ีซับซ้อนข้ึน (เช่น ข่าวเก่ียว
กับเร่ืองลวงโลกท่ีหลอกนักข่าวท้องถิ่นจนหลงเช่ือ อาจนำ�มารายงานในบริบทของ
ประวัติศาสตร์เรื่องลวงโลกระดับนานาชาติ โดยเน้นพัฒนาการล่าสุดของการแพร่
กระจายแบบไวรัลของขอ้ มูลบดิ เบอื นและขอ้ มลู ท่ีผดิ ทางสือ่ สังคม)

Z ใช้เป็นพ้ืนฐานสำ�หรับการอ่าน แหล่งข้อมูล และเคร่ืองมือท่ีออกแบบมาให้ใช้ต่อยอดได้
ในขณะทีก่ ารวจิ ัยและการปฏิบัติงานในสาขานข้ี ยายตวั

หลักวารสารศาสตร์

ด้วยการใช้กระบวนการเพื่อความโปร่งใสและการมีมาตรฐานจริยธรรมท่ีชัดเจน ทำ�ให้บทบาทท่ี
เดน่ ชดั ของการเสนอขา่ วในปจั จบุ นั อยทู่ ค่ี วามสามารถในการใหค้ วามกระจา่ งและการสรา้ งความ
เชอื่ ถอื ในเนอ้ื หาทต่ี รวจสอบได้ หลกั วารสารศาสตรเ์ จด็ ประการดา้ นลา่ งซง่ึ มรี ะดบั ของจรยิ ธรรมท่ี
แตกตา่ งกัน สามารถใชเ้ ปน็ แนวทางการเรยี นการสอนและแบบฝกึ ปฏิบตั ิ ตลอดจนการอภิปราย
และการประเมนิ ผลได2้

Z ความถูกต้อง: นักข่าวไม่สามารถรับประกัน ‘ความจริง’ ได้เสมอไป แต่การให้ข้อมูลที่
ถกู ต้องแม่นยำ�ยงั คงเป็นหลกั การท่ีส�ำ คัญท่สี ุดของวารสารศาสตร์

Zความเป็นอิสระ: นักข่าวต้องเป็นเสียงที่เป็นอิสระ หมายความว่าต้องไม่เป็นตัวแทน
ของผลประโยชนไ์ มว่ า่ จะเปน็ ทางการหรอื ไมเ่ ปน็ ทางการ และไมก่ ลา่ วสงิ่ ใดทอ่ี าจกอ่ ใหเ้ กดิ
การขัดกนั ของผลประโยชน์ เพื่อความโปร่งใส

Z ความยุติธรรม: การรายงานข้อมูล เหตุการณ์ แหล่งข่าวและคำ�ให้การของแหล่งข่าว
ด้วยความยุติธรรมประกอบด้วยการกลั่นกรอง การช่ังนำ�้ หนัก และการประเมินค่าของ
ขอ้ มลู ดว้ ยการเปดิ ใจกวา้ งและไตรต่ รองดว้ ยสตปิ ญั ญา การใหบ้ รบิ ททม่ี าทไ่ี ปและน�ำ เสนอ
มุมมองท่แี ตกตา่ งเป็นสิง่ ท่ีช่วยสรา้ งความเชื่อถอื และความมัน่ ใจให้กับการรายงาน

2 ข้อสงั เกต: หลักการห้าในเจ็ดข้อน้ีนำ�มาจาก ‘หลักวารสารศาสตร์หา้ ขอ้ ’ ของเครือข่ายจรยิ ธรรมวารสารศาสตร์
http:// ethicaljournalismnetwork.org/who-we-are/5-principles-of-journalism [เข้าถึงเมือ่ 22/4/2018] อยา่ งไรก็ตาม ในทนี่ ี้
(‘oคbวาjeมcยtตุivธิ itรyร)มแ’ลถะกู มเักลถือกูกเใขชา้ ้แใทจผนดิคว�ำ า่วต่า้อ‘งคมวกีาามรเปชง่ั็นนก้�ำ ลหานง’กั แเนหอ่ื ลงง่ จขาา่ กวคแ�ำลวะา่ ขค้อวเาทม็จเจปร็นงิ กอลยาา่ งงเ(ทim่าเpทaยี rมtiกalนั itทyง้ั)หมมักดปะนปจ่ี นึงเกปบั น็ คแำ�นววา่ คกิดาทรม่ีไมปี ่มญั ีอหคาติดว้ ย
เหตุผลเดียวกันกับการท่ี ‘ความไม่มีอคต’ิ เปน็ แนวคิดที่ถกู ต้งั คำ�ถามในปจั จบุ นั

- 30 -

Z การรักษาความลับ: หลักการพ้ืนฐานประการหน่ึงของการทำ�ข่าวเชิงสืบสวนคือ
การปกป้องแหล่งข่าว(ด้วยข้อยกเว้นท่ีน้อยท่ีสุด) ซึ่งมีความสำ�คัญต่อการรักษา
ความไว้ใจของแหล่งข่าว (รวมถึงผู้ท่ีนำ�ข้อมูลลับที่เกี่ยวกับการกระทำ�มิชอบขององค์กร
เผยแพรส่ สู่ าธารณะ และในบางกรณีกเ็ ปน็ การรักษาความปลอดภัยของแหลง่ ข่าวด้วย3

Zมนษุ ยธรรม: สงิ่ ทนี่ ักขา่ วเผยแพร่หรือออกอากาศนน้ั สรา้ งความเจ็บปวดได้ (เชน่ ความ
อบั อายทน่ี กั การเมอื งทจุ รติ ตอ้ งเผชญิ เมอื่ ถกู เปดิ โปงจากการท�ำ ขา่ วเชงิ สบื สวน) ทวา่ กต็ อ้ ง
คำ�นึงถึงผลของการเสนอข่าวท่ีเกิดขึ้นกับชีวิตของผู้อื่นอีกมากมายด้วยเช่นกัน ซ่ึงใน
กรณีน้ีสามารถนำ�หลักการเพ่ือประโยชน์ของส่วนรวมมาใช้เป็นแนวทางได4้ นอกจากนี้
มนษุ ยธรรมยงั หมายถึงการพิจารณาปัญหาของกลุ่มทีเ่ ป็นฝ่ายเสียเปรยี บดว้ ย แม้ว่าอาจ
ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งถึงขนาดใช้การทำ�ขา่ วทเ่ี นน้ ความเป็นธรรมทางสังคมเพยี งอยา่ งเดยี ว

ก Z ารแสดงความรับผิดชอบ: คือสัญญาณของความเป็นมืออาชีพและจริยธรรม
วารสารศาสตร5์ ไดแ้ ก่ การแก้ไขข้อผดิ พลาดอย่างทนั ทว่ งที ชัดเจน และดว้ ยความจริงใจ
การรบั ฟงั และตอบสนองตอ่ ความวติ กกงั วลของผรู้ บั ขา่ วสาร6 การปฏบิ ตั เิ ชน่ นอ้ี าจก�ำ หนด
ไว้ในบันทึกแนวทางปฏิบัติขององค์กรข่าวและหน่วยงานกำ�กับดูแลตนเองท่ีให้แสดง
ความรบั ผดิ ชอบดว้ ยการปฏบิ ตั ติ ามจรรยาบรรณวชิ าชพี โดยสมคั รใจ

Zความโปร่งใส ในทางปฏิบัติเป็นการสนับสนุนการแสดงความรับผิดชอบ และช่วยใน
การพฒั นาและดแู ลรกั ษาความเช่ือถอื ในวงการขา่ ว7

ในบริบทนี้ ประกอบกับความเป็นอิสระของการทำ�ข่าว ประเด็นปัญหาเก่ียวกับเสรีภาพสื่อและ
ความเป็นพหุนิยมก็มีความสำ�คัญเช่นเดียวกัน ความเป็นพหุนิยมของสถาบันและความ
หลากหลายของพนักงาน แหลง่ ข่าว และเอกสารค้นควา้ มีความส�ำ คัญ หากวงการข่าวต้องการมี
ส่วนร่วมในการส่งเสริมประชาธิปไตยและความย่ังยืนของสังคมเปิด ส่ือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
เช่น วิทยุชุมชนและสื่อสังคม ก็มีความสำ�คัญเช่นเดียวกันในการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของ
กล่มุ ทไ่ี ม่ไดร้ บั โอกาสหรือเสยี เปรียบจะไม่ถูกละเลยในกระบวนการผลิตข่าว พหุนิยมยงั หมายถึง
การสามารถแยกแยะความถูกต้องของเน้ือข่าวตามหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ ตลอดจน

3 Posetti, J. (2017). Protecting Journalism Sources in the Digital Age (UNESCO) http://unesdoc.unesco.org/
images/0024/002480/248054E.pdf [เขา้ ถงึ เม่ือ 28/03/2018].

4 ส�ำ หรับแบบจำ�ลองจริยธรรมใหม่ทีใ่ ช้ความเขา้ อกเขา้ ใจในยคุ ดจิ ทิ ัล ดู Shelton, A. G., Pearson, M. & Sugath, S. (2017) Mindful
Journalism and News Ethics in the Digital Era: A Buddhist Approach. Routledge, London. https://www.crcpress.
com/Mindful-Journalism-and-News-Ethics-inthe-Digital-Era-A-Buddhist-Approach/Gunaratne-Pearson-Senarath/p/
book/9781138306066 [เข้าถึงเมื่อ 01/04/2018].

5 ดู http://ethicaljournalismnetwork.org/what-we-do/accountable-journalism [เขา้ ถึงเมือ่ 22/4/2018].
6 Locker, K. & Kang, A. (2018). Focused listening can help address journalism’s trust problem, at American Press

Institute. https://www.americanpressinstitute.org/publications/focused-listening-trust/ [เขา้ ถงึ เม่ือ28/03/2018].
7 Aronson-Rath, R. (2017). Transparency is the antidote to fake news on NiemanLab, December 2017 http://www.

niemanlab.org/2017/12/transparency-is-the-antidote-to-fake-news/ [เข้าถงึ เมือ่ 15/06/2018].

- 31 -

ความสามารถในการแยกแยะข้อมูลบิดเบือน โฆษณาชวนเชื่อ และเน้ือหารูปแบบอ่ืน ที่อยู่
นอกเหนือจากมาตรฐานของความเป็นวชิ าชพี อกี ด้วย (ดหู นว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 2 และ 3)

คำ� ถามเพ่ือพจิ ารณา

การอภิปรายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจริยธรรมวิชาชีพในโลกที่ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลท่ีผิด และ
โฆษณาชวนเชื่อ แพร่กระจายเป็นไวรัลด้วยการเร่ิมจากการพิจารณาคำ�ถามต่อไปนี้ อาจเป็น
ประโยชน์

Zวารสารศาสตร์ในยคุ ดจิ ิทลั คอื อะไรกนั แน่ (คำ�ถามที่เริม่ จาก ‘นกั ข่าวคอื ใคร’ ไปส่คู วาม
เขา้ ใจท่ีลกึ ซึง้ ขนึ้ เกี่ยวกบั การทำ�ขา่ วในปจั จุบัน)

ก Z ารทำ�ข่าวตามหลักวารสารศาสตร์แตกต่างจากการผลิตและการตีพิมพ์เน้ือหาใน
ขอบเขตทก่ี ว้างข้นึ (ไมว่ ่าจะเปน็ โฆษณา การตลาด การประชาสมั พนั ธ์ ขอ้ มลู บิดเบือน
และขอ้ มูลทผี่ ดิ ) อยา่ งไร ท้ังทางออนไลนแ์ ละออฟไลน์

Z ผปู้ ระกอบวิชาชพี ขา่ วควรทำ�เพ่อื ผลประโยชน์ของใคร
Z ผู้ประกอบวิชาชีพข่าวสมควรแสดงความรับผิดชอบต่อเนื้อหาท่ีผลิตหรือตีพิมพ์หรือไม่

หากควร เปน็ เพราะเหตใุ ด และโดยใคร หากไมค่ วร เพราะเหตใุ ดจึงไมค่ วร
Zผู้ประกอบวิชาชีพข่าวต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมใดบ้างต่อแหล่งข่าว บุคคลในข่าว

และผู้รับข่าว
Zในบริบทของ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ ผู้ประกอบวิชาชีพข่าวต้องพิจารณา

ทางเลอื กทางจรยิ ธรรมใดบา้ ง

เกณฑ์การประเมนิ ผล

วัตถุประสงค์หลักของคู่มือเล่มนี้คือการเพ่ิมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้ลึกซ้ึง
ยิง่ ขนึ้ และสรา้ งเกราะท่ีแข็งแกรง่ ใหก้ ับนกั เรียนวารสารศาสตร์ นักข่าวอาชีพ และบคุ คลอนื่  ๆ ท่ี
“ทำ�งานด้านข่าว” ดังน้ันจึงควรใช้เกณฑ์ความถูกต้องและมาตรฐานในการตรวจสอบ ตลอดจน
การยดึ หลักค่านิยมด้านจริยธรรม การค้นคว้าเชงิ ลกึ และการวเิ คราะหอ์ ย่างมวี จิ ารณญาณ เปน็
หลักในการประเมินผล

- 32 -

ขอ้ เสนอแนะเกณฑ์การพจิ ารณาประเมนิ ผลส�ำ หรบั งานมอบหมายเชิงทฤษฎี
Z ความถูกต้องและการตรวจสอบความจริง (เช่น การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลถูกต้อง
หรือไม่ มีการใช้วธิ ีการตรวจสอบความจริงทีเ่ หมาะสมหรอื ไม่ เป็นต้น)
Zความเข้มข้นของการค้นคว้า (เช่น ผู้เรียนใช้ความพยายามมากน้อยเพียงใดในการหา
ข้อมูล/แหล่งข้อมูลท่ีแน่นพอและมีความเก่ียวข้อง เพ่ือสนับสนุนมุมมอง/ข้อค้นพบของ
ตน)
Z คุณภาพของการเสนอมุมมองและการวิเคราะห์ (มุมมองและการวิเคราะห์ท่ีนำ�เสนอมี
ความแปลกใหม่และความลึกซึง้ เพียงใด)
Zการแสดงออกผา่ นการเขียน (ตัวสะกด ไวยากรณ์ การเวน้ วรรค โครงสรา้ งประโยค)
Zบทความ/รายงานแสดงถึงผลการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากน้อยเพียงใด

ข้อเสนอแนะเกณฑ์การพิจารณาประเมนิ ผลสำ�หรบั งานมอบหมายเชิงปฏิบัติ/เชงิ ข่าว
Z ความถูกต้องและการตรวจสอบความจริง (เช่น การอ้างอิงแหล่งท่ีมาของข้อมูลถูกต้อง
หรือไม่ มกี ารใช้วธิ ีการตรวจสอบความจริงทีเ่ หมาะสมหรือไม่ เป็นต้น)
Zความเข้มข้นของการค้นคว้า (เช่น ผู้เรียนใช้ความพยายามมากน้อยเพียงใดในการหา
ข้อมูล/แหล่งข้อมูลที่แน่นพอและมีความเก่ียวข้อง เพ่ือสนับสนุนมุมมอง/ข้อค้นพบของ
ตน)
Z การวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (เช่น ผู้เรียนมีความรอบคอบเพียงใดสำ�หรับการตั้ง
ค�ำ ถามในประเดน็ สำ�คญั กบั ผ้อู า่ น)
Zความแปลกใหม/่ ความคดิ สรา้ งสรรค์
Zความแข็งแรงของเน้ือหา (เรื่อง/ผลงานการผลติ มีผลต่อผอู้ ่าน/ผูช้ ม/ผฟู้ งั เพียงใด)
Z คุณค่าด้านการผลิต (ศกั ยภาพในการตัดต่อ เสียง/ภาพ และองค์ประกอบมลั ตมิ ีเดีย)
Z การแสดงออกผา่ นการเขียน (ตวั สะกด ไวยากรณ์ การเวน้ วรรค โครงสร้างประโยค)
Zการยดึ ม่ันในคุณคา่ ของหลักจรยิ ธรรมตามแนวปฏบิ ตั ขิ องวิชาชพี

- 33 -

วิธีการสอน

หน่วยการเรียนร้เู หล่านีใ้ ช้สอนได้ทง้ั ในหอ้ งเรียนและชอ่ งทางออนไลน์ ผู้เรียนจะได้ประโยชนจ์ าก
การเรยี นรจู้ ากการท�ำ งานรว่ มกนั จากหลาย ๆ บทเรยี นในน้ี ทงั้ ออนไลน์ (ผา่ นแหลง่ เรยี นรอู้ อนไลน์
อย่าง Moodle หรือการใช้กลุ่มเฟซบุ๊ก) และการเรยี นในหอ้ งเรียน
บทเรยี นสว่ นใหญ่แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การเรียนรู้ในเชงิ ทฤษฎี (เชน่ การสมั มนา การอา่ น
หรอื การบรรยาย) เสรมิ ดว้ ยแบบฝกึ ปฏบิ ตั ทิ น่ี �ำ ไปใชง้ านไดจ้ รงิ (เชน่ กลมุ่ ท�ำ งานในแบบฝกึ ปฏบิ ตั ิ
เรอ่ื งการตรวจสอบความจริง) โดยทั่วไปใช้เวลา 60-90 นาที ส�ำ หรับภาคทฤษฎี และ 90 นาที
ถงึ 2 ช่ัวโมง ส�ำ หรบั ภาคปฏิบัติหรือการเรียนการสอนแบบเร่งรดั ซ่ึงสามารถขยายหรอื ลดเวลา
หรือแบง่ เป็นส่วน ๆ ในแตล่ ะวันไดต้ ามกรอบการสอน/การเรยี นของสถาบนั และมีขอ้ เสนอแนะ
ส�ำ หรับงานทคี่ วรมอบหมายผู้เรยี นในแตล่ ะหนว่ ยการเรยี นร้ดู ้วย
หากเป็นไปได้ ผู้บรรยายและผู้สอนควรเชิญนักวิชาชีพและผู้เช่ียวชาญเข้าร่วมในการบรรยาย
แบบมีส่วนร่วมในช้ันเรียนและการอภิปราย และควรรวมกรณีศึกษายุคปัจจุบัน ประเด็นปัญหา
และข้อถกเถียงไว้ในการเรยี นการสอนดว้ ย
นอกจากนี้ ผอู้ อกแบบหลักสูตรยังสนบั สนุนใหผ้ ู้บรรยาย/ผู้สอนใชเ้ อกสารประกอบการสอนและ
ตัวอยา่ งทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับทอ้ งถน่ิ /ภูมภิ าค ทงั้ ในเชิงภาษาและในเชงิ วฒั นธรรม ในการเรียนการสอน

เอกสารประกอบและแหลง่ ขอ้ มลู

ผู้สอนและผู้เรียนจำ�เป็นต้องใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และจะได้ประโยชน์จากการเข้าถึงฐาน
ขอ้ มลู ทางวชิ าการและ/หรอื เว็บไซต์กเู กลิ สกอลาร์
เว็บไซต์สำ�คัญสำ�หรับแหล่งข้อมูลการเรียนการสอนเพิ่มเติมท่ีเกี่ยวข้องกับการผลการเรียนรู้โดย
รวมท่ีใช้ได้ในภาคปฏบิ ตั ิ คอื เวบ็ ข่าว First Draft News8
โปรดสังเกต: ควรมกี ารอ้างอิงบรรณาธิการหลักสตู รและผู้เขียนอยา่ งเหมาะสมเมื่อนำ�เนอ้ื หาและ
แหล่งข้อมูลตา่ ง ๆ ในคมู่ อื ฉบบั นี้ไปใชง้ าน

8 https://firstdraftnews.com/ [เข้าถึงเมอ่ื 28/03/2018].

- 34 -

เทคนิคการเรียนการสอน

หลักสูตรต้นแบบเฉพาะด้านเล่มนี้เป็นไปตามหลักสูตรต้นแบบสำ�หรับการศึกษาวารสารศาสตร์
หลายหลกั สตู ร9 ที่พฒั นาขน้ึ โดยองค์การยเู นสโก โดยเริม่ ทำ�มาต้ังแต่ปี พ.ศ. 2550 ส่วนเทคนิค
การเรียนการสอนนำ�มาจากหลักสูตรการรู้เท่าทันส่ือและสารสนเทศสำ�หรับผู้สอน10 และราย
วชิ าตน้ แบบเรอ่ื งความปลอดภยั ของนกั ขา่ ว11 ขององคก์ ารยเู นสโก ซงึ่ เสนอแนะใหผ้ สู้ อนใชเ้ ทคนคิ
การสอนดังตอ่ ไปน้ี

Zวิธีการเรียนรู้โดยการสบื หา
Z วธิ กี ารเรยี นรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน (Problem-based Learning)
Z การเรยี นรโู้ ดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
Zกรณีศกึ ษา
Z การเรยี นรู้โดยการท�ำ งานรว่ มกัน
Zการวเิ คราะหต์ วั บท
Z การวเิ คราะหบ์ ริบท
Zการแปล
Zการจำ�ลองเหตกุ ารณ์
Z การผลิต
นอกจากน้ี ผู้สอนที่ใช้หลักสูตรนี้ควรศึกษาแนวคิด ‘การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน’
(project -based learning) ส�ำ หรบั งานวารสารศาสตร1์ 2 เพมิ่ เตมิ วธิ นี เ้ี ปน็ การพฒั นาผลการเรยี นรู้
ดว้ ยการทดลองใชแ้ ละฝกึ ฝนทกั ษะดา้ นการผลติ เนอื้ หาทางวารสารศาสตร์ โดยผเู้ รยี นควรค�ำ นงึ ถงึ
การผลติ เนอื้ หาดว้ ยความรวดเรว็ ฉบั ไวและแพรก่ ระจายไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ เพอื่ ตอบโตข้ อ้ มลู บดิ เบอื น
และโอกาสในการทดลองฝกึ ปฏิบตั จิ รงิ 133

9 UNESCO’s Model Curricula for Journalism Education (2007). http://unesdoc.unesco.org/
images/0015/001512/151209E.pdf [เข้าถึงเม่อื 28/03/2018]. ดูเพม่ิ เตมิ UNESCO’s Model Curricula For Journalism
Education: a compendium of new syllabi (2013). [accessed 28/03/2018: http://unesdoc.unesco.org/
images/0022/002211/221199E.pdf; and Teaching Journalism for Sustainable Development: new syllabi (2015).
http://unesdoc.unesco.org/images/0023/002338/233878e.pdf [เขา้ ถึงเมอ่ื 28/03/2018].

10 Wilson, C., Grizzle, A., Tuazon, R., Akyempong, K. and Cheung, C. (2011). Media and Information Literacy Curriculum
for Teachers. [ebook] Paris: UNESCO. http://unesdoc.unesco.org/images/0019/001929/192971e.pdf [เขา้ ถงึ เมื่อ
28/03/2018].

11 UNESCO (2017) Model Course on Safety of Journalists: A guide for journalism teachers in the Arab States.:
http://unesdoc.unesco.org/images/0024/002482/248297e.pdf [เข้าถงึ เม่อื 28/03/2018].

12 Posetti, J & McHugh, S (2017) Transforming legacy print journalism into a successful podcast format:
An ethnographic study of The Age’s Phoebe’s Fall. Peer reviewed conference paper presented at the International
Association of Media and Communications Researchers conference in Cartagena, Colombia 18/07/2017

13 ตัวอยา่ งท่ีนา่ สนใจคอื คลิปจากเพจ hashtag our stories https://www.facebook.com/hashtagoursa/
videos/679504652440492/ [เข้าถงึ เม่ือ15/06/2018].

- 35 -



เหตใุ ดความจรงิ ความเชื่อถอื และ
การเสนอขา่ ว จงึ ส�ำคัญ

โดยเชอรลิ ิน ไอร์ตัน

หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 1

- 37 -

สาระสำ� คญั

ความเชื่อถือในส่ือและการเสนอข่าวในหลายประเทศท่ัวโลกมีความเปราะบางและเส่ือมถอยลง
กอ่ นทส่ี อ่ื สงั คมจะถอื ก�ำ เนดิ ขน้ึ เสยี อกี 1 แนวโนม้ นเ้ี ปน็ เรอ่ื งเดยี วกนั กบั ความเชอ่ื ถอื ทลี่ ดนอ้ ยลงตอ่
สถาบันต่าง  ๆ ซึ่งพบได้ในหลายสังคม อย่างไรก็ตาม ปริมาณอันมหาศาลและการเข้าถึงข้อมูล
บิดเบือนและข้อมูลที่ผิดซ่ึงสวมรอยมาในรูปแบบของข่าวและเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมนั้นแพร่
ระบาดจนกลายเปน็ ภยั คกุ คามตอ่ ภาพลกั ษณข์ องวงการขา่ วมากยงิ่ ขน้ึ โดยเกยี่ วพนั กบั ทงั้ นกั ขา่ ว
สอ่ื ท่นี �ำ เสนอขา่ ว ประชาชน และสงั คมเปดิ 2

ในสื่อสังคมและอินเทอร์เน็ตท่ีข้อมูลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย ทำ�ให้ใคร  ๆ ก็ผลิต
สื่อได้ ซ่ึงผลที่ตามมาคือประชาชนต้องพยายามแยกให้ออกว่าอะไรเป็นความจริงและอะไร
ท่ีไม่จริง ในบรรยากาศของความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางใจ มุมมองความคิดแบบสุดขั้ว
ทฤษฎีสมคบคิด และประชานิยมนั้นเติบโตงอกงาม ขณะท่ีสถาบันและความจริงซ่ึงเคยเป็นท่ี
ยอมรับกลับถูกตั้งข้อสงสัย ในโลกใบนี้ ห้องข่าวต้องด้ินรนต่อสู้เพ่ือประกาศและแสดงบทบาท
ดง้ั เดมิ ในฐานะผดู้ แู ลประตขู า่ วสาร3 อนั เปน็ ภาระหนา้ ทที่ ชี่ ว่ ยกอ่ รา่ งสรา้ งความจรงิ ขณะเดยี วกนั
การเตบิ โตของตลาด “การสอื่ สารเชงิ กลยทุ ธ”์ และ “ปฏบิ ตั กิ ารดา้ นสารสนเทศ” ซงึ่ รวมถงึ ขอ้ มลู
บิดเบือนและข้อมูลท่ีแฝงเจตนาร้ายท่ีทำ�หน้าที่อย่างแข็งขัน ก็กลายเป็นปัจจัยสำ�คัญใน
ระบบนิเวศของข้อมลู ขา่ วสาร4

เมื่อระดับความรุนแรงและผลกระทบของ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ ต่อสังคม
เริ่มชัดเจนมากข้ึน แม้แต่สถาปนิกผู้สร้างสื่อสังคมก็ยังวิตกกังวล สามิธ จักราบาร์ติ
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมของเฟซบุ๊ก กล่าวไว้ว่า “ถ้าจะ
มีความจริงอะไรสักอย่างเกี่ยวกับผลกระทบของสื่อสังคมต่อประชาธิปไตย สิ่งน้ันก็คือ
การขยายเจตนาของมนุษย์ ทั้งในด้านดีและไม่ดี ในด้านดีคือมันทำ�ให้เราได้แสดงออก
และลงมือปฏิบัติ ในด้านไม่ดีคือมันอนุญาตให้ผู้คนเผยแพร่ข้อมูลผิดและบ่อนทำ�ลาย
ประชาธปิ ไตย”5

1 Edelman. (2017). Edelman Trust Barometer - Global Results. [online]. Available at: https://www.edelman.com/
global-results/ [accessed 03/04/2018].
2 Viner, K. (2017). A mission for journalism in a time of crisis. [online] the Guardian. Available at:
https://www.theguardian.com/news/2017/nov/16/a-mission-for-journalism-in-a-time-of-crisis [เข้าถึงเมอ่ื 03/04/2018].
3 Singer, J. (2013). User-generated visibility: Secondary gatekeeping in a shared media space.
New Media & Society, [online] 16(1), pp.55-73. Available at: https://pdfs.semanticscholar.
org/0d59/6a002c26a74cd45e15fbc20e64173cf2f912.pdf [เข้าถึงเมอ่ื 0/3/04/2018].
4 ดตู วั อยา่ งกรณศี ึกษาทอี่ ธบิ ายไว้ใน Gu, L; Kropotov, V and Yarochkin, F. (nd). The Fake News Machine How Propagandists
Abuse the Internet and Manipulate the Public. https://documents.trendmicro.com/assets/white_papers/wp-fake-
news-machine-how-propagandistsabuse-the-internet.pdf [เขา้ ถงึ เม่ือ 16/06/2018]. Another study is published by the
Data & Society Research Institute, New York (2017) Media Manipulation and Disinformation Online,
https://datasociety.net/output/media-manipulation-and-disinfo-online/ [เขา้ ถงึ เมอื่ 15/06/2018].
5 Chakrabarti, S. (2018). Hard Questions: What Effect Does Social Media Have on Democracy? Facebook Newsroom.
[online] Newsroom. fb.com. Available at: https://newsroom.fb.com/news/2018/01/effect-social-media-democracy/
[เขา้ ถงึ เมือ่ 03/04/2018].
- 38 -

เห็นได้ชัดว่าการจัดการกับปัญหานี้จำ�เป็นต้องมีการแทรกแซงทั้งในระดับใหญ่และระดับย่อย หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั
วิธีท่ีน่าสนใจวิธีหน่ึงคือการพยายามแก้ปัญหาด้วยการกำ�กับดูแล และหลายประเทศก็เลือกเดิน
เสน้ ทางน6้ี แตก่ ลมุ่ ผสู้ นบั สนนุ เสรภี าพในการแสดงออกเตอื นวา่ วธิ นี อ้ี าจสง่ ผลเสยี ตอ่ การเปดิ กวา้ ง
และการมีสว่ นรว่ มท่ีเทคโนโลยีสมยั ใหมส่ ร้างใหเ้ กิดขึ้น7
โดยเฉพาะหากเป็นผู้นำ�ท่ีมีความคิดแบบอำ�นาจนิยม พวกเขาก็จะมีอาวุธที่ทรงพลังและถูกต้อง
ตามกฎหมายในการใชต้ ัดสนิ วา่ อะไรเปน็ เร่ือง “เท็จ” ในรายงานขา่ วท่ีวิพากษว์ ิจารณก์ ารท�ำ งาน
ของพวกเขา
อกี ทางเลอื กหนงึ่ ทเ่ี สนอโดยภาคประชาสงั คมและการรเิ รมิ่ ของภาคธรุ กจิ ไดเ้ นน้ ทก่ี ารท�ำ ใหผ้ รู้ บั สอื่
รเู้ ท่าทนั ส่อื มากขน้ึ ด้วยการสง่ มอบเคร่ืองมือส�ำ หรับตคี วามและประเมนิ ข้อมลู ขา่ วสารที่พวกเขา
ได้รับ โดยมีตัวอย่างตั้งแต่แอฟริกาใต้8 ไปจนถึงเม็กซิโก9 ขณะที่องค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงก็
เพ่ิมจำ�นวนข้ึนอย่างรวดเรว็ ดังท่ีอธิบายไวใ้ นคมู่ ือเลม่ น้ี
ภายใต้บริบทดังกล่าว นักข่าวและนักศึกษาด้านวารสารศาสตร์จึงจำ�เป็นต้องรู้จักโครงการริเริ่ม
เหลา่ น้ี ตลอดจนบทบาทหนา้ ที่ของตนในปัจจบุ ัน ซงึ่ เป็นทมี่ าของคู่มือเล่มนี้
สำ�หรับนักข่าวท่ีถือว่าตนเองเป็นผู้สนับสนุนคนสำ�คัญสำ�หรับสังคมเปิดและเป็นประชาธิปไตย
ข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลท่ีผิดไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสถานะของพวกเขา ‘ความผิดปกติของ
ขอ้ มลู ขา่ วสาร’ ยงั สรา้ งความกงั ขาตอ่ เจตนารมณแ์ ละความมปี ระสทิ ธภิ าพของสอ่ื มวลชน รวมทงั้
ตอกย�ำ้ ถงึ ความจ�ำ เปน็ พนื้ ฐานของการเปน็ อสิ ระและมาตรฐานวชิ าชพี อนั สงู สง่ ของสอื่ มวลชนดว้ ย
อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่างานขา่ วจะปลอดจากอุดมการณ์ หรืออคตทิ างเพศ เชอ้ื ชาติ ภาษา
ชนชน้ั ฯลฯ หรอื ภมู หิ ลงั ของผผู้ ลติ ขา่ วสาร และไมไ่ ดล้ ะเลยประเดน็ เรอ่ื งอทิ ธพิ ลตอ่ สถาบนั สอ่ื ใน
บรบิ ทของเจา้ ของกจิ การ การประกอบธุรกจิ ความสนใจของผรู้ บั สื่อ “ร่างแห” ของข่าวสารจาก
แหลง่ ขา่ วราชการและการประชาสัมพันธ์ทรี่ ูก้ นั ดี ฯลฯ แต่เปน็ เรือ่ งของการยึดมั่นในความสำ�คญั
ของจรยิ ธรรมส่ือในฐานะแนวทางของการรายงานข่าวสาร และเพอ่ื ให้นกั ข่าวไดส้ ะทอ้ นโลกทัศน์
และบรบิ ทของตน มันคือการส่งสญั ญาณวา่ การเสนอขา่ วไม่ใช่ “ทศั นะที่ไรท้ ่มี าท่ีไป” แตเ่ ป็นวิถี

6 Funke, D. (2018) A guide to anti-misinformation actions around the world Poynter https://www.poynter.org/news/
guide-anti-misinformationactions-around-world [เข้าถงึ เมื่อ 22/05/2018].

7 Nossel, S. (2017). Faking News: Fraudulent News and the Fight for Truth. [ebook] PEN America. Available at:
https://pen.org/wp-content/ uploads/2017/10/PEN-America_Faking-News-Report_10-17.pdf [เข้าถงึ เมือ่ 03/04/2018].

8 #KnowNews คอื ส่วนขยายในเว็บเบราวเ์ ซอรท์ ีพ่ ัฒนาโดยองค์กรณ์เฝ้าระวังสอื่ ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึง่ เป็นองคก์ รพัฒนาเอกชนที่มีเปา้ ห
มายเพือ่ ชว่ ยให้ผู้รับขา่ วสารร้วู า่ เน้ือหาข่าวในเวบ็ ไซตท์ ก่ี �ำ ลังดอู ยูน่ นั้ เชื่อถอื ไดห้ รือไม่ https://chrome.google.com/webstore/search/
KnowNews [เข้าถึงเมอื่ 15/06/2018].

9 ดเู วบ็ ไซต์ https://verificado.mx/ ซง่ึ เป็นตวั อย่างการร่วมมือเปน็ พนั ธมิตรระหวา่ งสอ่ื ภาคประชาสังคม และมหาวทิ ยาลัย 60 แห่ง
โดยมุ่งเนน้ การพิสจู น์ขอ้ เท็จจรงิ ของเนือ้ หาขา่ วที่นา่ สงสยั ในชว่ งการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2561 ของประเทศเม็กซโิ ก [accessed 15/06/2018];
https://knightcenter.utexas.edu/blog/00-19906-media-collaboration-and-citizen-input-fueled-verificado-2018-fact-
checking-mexican-ele [เขา้ ถึงเมอ่ื 04/07/2018].

- 39 -

ปฏิบัติท่ีต้องมีความโปร่งใส หากจะให้ประชาชนเช่ือถือว่ามีการปฏิบัติตามมาตรฐานของการ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าประเด็นและมุมมองของการนำ�เสนอจะ
เป็นเชน่ ใด10
ในบทเรียนน้ี ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนครุ่นคิดอย่างจริงจังว่าวงการข่าวสารจะรับใช้สังคม
และระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ ส่งผลกระทบ และมี
ความเสี่ยงท่ีจะส่งผลยิ่งกว่านั้น ต่อสังคมเปิดและเป็นประชาธิปไตยอย่างไร วงการข่าวสารจะ
พฒั นาและกอบกคู้ วามเชอ่ื มน่ั กลบั คนื มาดว้ ยการแสดงใหเ้ หน็ ถงึ วธิ กี ารและมาตรฐานอนั โดดเดน่
ในการน�ำ เสนอขอ้ มลู ขา่ วสารทตี่ รวจสอบไดแ้ ละเปน็ ประโยชนต์ อ่ สาธารณะไดอ้ ยา่ งไร เรอ่ื งนไ้ี มใ่ ช่
การบอกให้ปิดหูปิดตาเช่ือผู้ผลิตข่าว แต่หมายถึงการตระหนักถึงคุณลักษณะและลักษณะ
เฉพาะ รวมถึงเป้าหมายของการทำ�งานที่เป็นไปตามกระบวนการและมาตรฐานของข้อมูลที่
ตรวจสอบได้เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ และประเมินคุณค่าของข่าวสารได้อย่างเหมาะสม น่ี
คือการบ่งบอกถึงการยอมรับในคุณค่าของความช่างสงสัย ซ่ึงตรงกันข้ามกับความหวาดระแวง
และความสามารถของประชาชนในการแยกแยะระหว่างคนท่ีแอบอ้างเป็นนักข่าวกับผู้ที่มุ่งมั่น
ทำ�งานข่าวอยา่ งแทจ้ รงิ (และผทู้ ่ีแสดงถงึ ความโปรง่ ใส ความรับผดิ ชอบในการกำ�กับดูแลตนเอง
และช่ือเสียงในด้านคุณภาพ) สำ�หรับนักข่าวและนักศึกษาวารสารศาสตร์ มันหมายถึงการทำ�
ความเข้าใจการเปลย่ี นแปลงสภาพแวดลอ้ มของข้อมลู และวธิ กี ารรับมือกบั ความท้าทายต่าง ๆ

เคา้ โครงเนือ้ หา

เพื่อทำ�ความเข้าใจผลกระทบของ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร’ ผู้เรียนจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึง
การเปลย่ี นแปลงขนานใหญใ่ นแวดวงการขา่ วและสอ่ื สารมวลชนแบบดง้ั เดมิ ทงั้ ในระดบั โครงสรา้ ง
วัฒนธรรม และธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งเปล่ียนไปตามความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
ดิจทิ ลั และอปุ กรณ์ส่วนบุคคลท่เี ชอ่ื มตอ่ กบั อินเทอร์เนต็ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความสัมพันธ์ระหวา่ ง
ปัญหาทเ่ี พมิ่ มากขนึ้ เรือ่ งความน่าเชอื่ ถือของข้อมลู ข่าวสารกับการใช้สื่อสังคม11
การกล่าวโทษว่าปัญหาทุกอย่างของการทำ�ข่าวเกิดข้ึนเพราะสื่อสังคมนั้นไม่ถูกต้องเสียทีเดียว
ความเชอ่ื ถอื นนั้ เกย่ี วพนั โดยตรงกบั ความสามารถในเชงิ วารสารศาสตร์ ขณะเดยี วกนั กข็ อ้ งเกยี่ วกบั
ความไวว้ างใจท่ลี ดน้อยลงในรฐั บาล ภาคธรุ กจิ และสถาบันต่าง ๆ ในหลายพืน้ ทที่ ่วั โลก12

10 ดู Rosen, J. (2010). The View from Nowhere: Questions and Answers. PressThink. http://pressthink.org/2010/11/the-
view-from-nowherequestions-and-answers/ [เข้าถึงเม่อื 15/06/2018].

11 ดู หน่วยการเรยี นรู้ที่ 3
12 Edelman. (2017) op cit

- 40 -

การเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งของการรวบรวมขอ้ มลู และการเผยแพรข่ า่ วสาร ตลอดจนการลม่ สลาย หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั
ของธุรกิจสื่อยุคด้ังเดิม คือการกัดกร่อนศักยภาพทางด้านวารสารศาสตร์ของอุตสาหกรรมข่าว
และส่งผลต่อความลุ่มลึก ความหลากหลาย และคุณภาพของการนำ�เสนอข่าวสาร13 ขณะท่ีเงิน
กองทุนสำ�หรับส่ือสาธารณะที่ลดน้อยลงและการควบคุมจากภาครัฐท่ียังคงอยู่ ก็ย่ิงทำ�ให้
การนำ�เสนอขา่ วอ่อนแอมากข้นึ

ขณะเดยี วกนั การเปลีย่ นแปลงของเทคโนโลยดี จิ ทิ ัลกท็ �ำ ให้เกิดวิธกี ารเลา่ เร่ืองใหม่ ๆ และท�ำ ให้
ผรู้ บั สารมสี ว่ นรว่ มในกระบวนการขา่ วเพม่ิ ขน้ึ อยา่ งมาก แตม่ นั กน็ �ำ มาซงึ่ ความทา้ ทายอนั ใหญห่ ลวง
สำ�หรับผู้ผลิตข่าวสารยุคเก่าที่อยู่ในสภาพย่ำ�แย่อยู่แล้ว อีกท้ังองค์กรท่ีผลิตข่าวสารดิจิทัลเพียง
อยา่ งเดยี วโดยทว่ั ไปกย็ งั ขาดทกั ษะทางดา้ นวารสารศาสตรใ์ นระดบั ทจ่ี ะชว่ ยหยดุ ยงั้ การเสอ่ื มถอย
ของวงการข่าวสาร14

ในระบบนเิ วศทเ่ี ป็นประชาธปิ ไตยและมขี อ้ มูลท่หี ลากหลายมากข้นึ การป้องกนั ผลกระทบที่เป็น
อันตรายของข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลที่ผิดไม่ได้เป็นเพียงความท้าทายสำ�หรับผู้ท่ีอยู่ในแวดวง
ขา่ วสาร แต่เปน็ ปญั หาของทุกคนในสังคม15

ก่อนยุคดิจิทัล วิถีปฏิบัติและวิธีการทางด้านวารสารศาสตร์น้ันหมายรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพ
รวมทงั้ ขน้ั ตอนการตรวจสอบและการควบคมุ จากสว่ นกลาง เพอื่ จดั การเรอื่ งความถกู ตอ้ ง คณุ ภาพ
และความยุติธรรมของข่าวสาร ขณะที่ผู้ส่ือข่าวภาคสนามก็ได้รับการสนับสนุนจากทีมงาน
ในหอ้ งขา่ วส�ำ หรบั การตรวจสอบความถกู ตอ้ งของเนอื้ หากอ่ นการตพี มิ พเ์ ผยแพร่ แมแ่ บบของ ‘ผู้
ดแู ลประตขู ่าวสาร’ เช่นนเ้ี องทีป่ ลูกฝงั ความรูส้ ึกของการเป็นนกั ข่าวอาชพี 16

ในด้านการนำ�เสนอข่าวสารสาธารณะและปัญหาในชุมชน การสืบหาข้อเท็จจริง การแสดง
ความคิดเห็น และการวิเคราะห์ นักข่าวเคยมีเคร่ืองมือที่มีประสิทธิภาพในการเรียกร้องให้
นักการเมืองและเจ้าหน้าท่ีของรัฐแสดงความรับผิดชอบ พวกเขาช่วยให้ประชาชนเลือกได้ว่าจะ
อยู่ภายใตก้ ารปกครองและกฎระเบียบแบบใด แนน่ อนวา่ สถาบันสอื่ จ�ำ นวนหนงึ่ ไมไ่ ดเ้ ป็นไปตาม
อดุ มคตแิ ละมาตรฐานทางดา้ นวารสารศาสตร์ แตโ่ ดยทวั่ ไปกป็ ระกอบกจิ การโดยมงุ่ เนน้ ขา่ วทเ่ี ปน็
เร่ืองจริง แม้จะผ่านการคัดสรรและการนำ�เสนอในรูปแบบของเรื่องราวท่ีเป็นความสนใจเฉพาะ
ด้าน แต่ก็อยู่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงท่ีสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง ธุรกิจ หรือความ
บันเทงิ

13 ดู หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 3
14 Greenspon, E. (2017). The Shattered Mirror: News, Democracy and Trust in the Digital Age. [ebook] Ottowa: Public
Policy Forum, Canada. Available at: https://shatteredmirror.ca/download-report/ [เข้าถึงเมือ่ 03/04/2018].
15 Ansip, A. (2017). Hate speech, populism and fake news on social media – towards an EU response. https://
ec.europa.eu/commission/ commissioners/2014-2019/ansip/announcements/statement-vice-president-ansip-
european-parliament-strasbourg-plenary-debate-hatespeech-populism [เขา้ ถึงเมอ่ื 03/04/2018].
16 Kovach, B. and Rosenstiel, T. (2010). Blur: How To Know What’s True In The Age of Information Overload. 1st ed.
New York: Bloomsbury, pp.171-184.
- 41 -

ในระดับวัฒนธรรม การท่ีภาคส่วนอ่ืนสามารถเป็นพยานรู้เห็น บันทึก แสดงความคิดเห็น และ
เผยแพร่ข่าวสารผ่านช่องทางสื่อสังคม ไม่เพียงทำ�ให้เกิดการเปล่ียนแปลงในระบบข่าว
แบบรวมศูนย์ แต่ยังส่งผลต่อการอภิปรายในพ้ืนที่สาธารณะ17 ทุกวันนี้ สื่อสังคมกลายเป็น
โครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญของวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมทางการเมือง ซึ่งคนจำ�นวน
หน่ึงเห็นว่าสิ่งนี้ผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยและสังคมเปิดเคลื่อนไปสู่ ‘การขาดดุลทาง
ประชาธิปไตย’18
บรษิ ทั เทคโนโลยแี ละสอ่ื สงั คมหลกี เลย่ี งภาระหนา้ ทใี่ นความรบั ผดิ ชอบของนกั ขา่ วและผจู้ ดั พมิ พ1์ 9
โดยยนื ยนั วา่ ตนไมใ่ ชส่ �ำ นกั ขา่ ว แตถ่ งึ แมจ้ ะไมไ่ ดใ้ ชน้ กั ขา่ วในการผลติ ขา่ วสาร ทวา่ การรวบรวมและ
การเรียบเรียงข้อมูลก็ทำ�ให้พวกเขาถอยห่างมากขึ้นเร่ือย  ๆ จากการทำ�หน้าที่เป็นเพียงแค่
‘ช่องทาง’ หรือคนกลาง
สงิ่ ทขี่ บั เคลอื่ นขอ้ มลู บดิ เบอื นและขอ้ มลู ทผ่ี ดิ หรอื ทส่ี ถาบนั วทิ ยาการคอมพวิ เตอรแ์ หง่ ออกซฟอรด์
เรยี กว่า “ขอ้ มลู ขยะ” คือพนื้ ท่สี อ่ื สงั คมและอลั กอรทิ ึมของเครอ่ื งมอื คน้ หา โดยใชป้ ระโยชนจ์ าก
ข้อมลู ในหนา้ เครือข่ายสงั คมออนไลนข์ องเพอ่ื นและครอบครวั ของผู้ใช้ ท�ำ ให้ข้อมูลบิดเบือนและ
ขอ้ มูลท่ีผิดมีตวั ตนและกลายเปน็ ส่ิงท่ถี กู ต้อง20
ดังนั้น เน้ือหาท่ีมีเจตนาทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิดที่แพร่กระจายอยู่ในพ้ืนท่ีเหล่าน้ีจึงส่ง
ผลกระทบตอ่ ความเขา้ ใจเร่อื งความจริงของประชาชน21 และบอ่ นทำ�ลายความน่าเชือ่ ถอื การพดู
คุยบนฐาน ของขอ้ มูล การรบั รคู้ วามจริงรว่ มกัน ความเห็นพอ้ งต้องกัน และการมีส่วนรว่ ม22 ส่ือ
สงั คมยงั ถูกกล่าว หาวา่ บ่อนท�ำ ลายประชาธิปไตยในอีกหลายรปู แบบ เช่น

Z สรา้ งหอ้ งกระจายข่าว การแบง่ ข้ัวทางความคดิ และการเลอื กข้างแบบสุดโต่ง
Z ปลย่ี นความนยิ มใหก้ ลายเป็นความชอบธรรม
Zอนญุ าตใหเ้ กิดการบิดเบอื นโดยผู้น�ำ ประชานิยม รฐั บาล และกลมุ่ นอกกระแส
Zส่งเสริมการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และมีเป้าหมายในการแฝงข้อมูลข่าวสารหรือโฆษณา

ทแ่ี ยบยล23

17 Nossel, S. (2017). Faking News: Fraudulent News and the Fight for Truth. [ebook] PEN America. Available at: https://
pen.org/wp-content/ uploads/2017/10/PEN-America_Faking-News-Report_10-17.pdf [เขา้ ถึงเมือ่ 03/04/2018].

18 Howard, P. (2017) เหมอื นข้างต้น
19 Howard, P. (2017) Ibid. ดู หน่วยการเรยี นรู้ที่ 3 ประกอบ
20 Pariser, E. (2011). The filter bubble: what the Internet is hiding from you. London, Viking/Penguin Press.
21 European Commission (2017). Next steps against fake news: Commission sets up High-Level Expert Group and

launches public consultation. [online] Available at: http://europa.eu/rapid/press-release_IP-17-4481_en.htm
[เขา้ ถงึ เม่ือ 13/06/2018].
22 Deb, A., Donohue, S. & Glaisyer, T. (2017). Is Social Media A Threat To Democracy? [ebook] Omidyar Group. Available
at: https://www.omidyargroup.com/wp-content/uploads/2017/10/Social-Media-and-Democracy-October-5-2017.pdf
[เข้าถึงเมือ่ on 03/04/2018].
23 Cadwalladr, C. and Graham-Harrison, E. (2018). How Cambridge Analytica turned Facebook ‘likes’ into a lucrative
political tool. The Guardian. [online] Available at: https://www.theguardian.com/technology/2018/mar/2017/

facebook-cambridge-analytica-kogan-dataalgorithm [ac-ce4s2sed- 03/04/2018].

Zทำ�ให้เกดิ ความขดั แย้งในพน้ื ท่สี าธารณะ24 หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั
เรอ่ื งแบบนไี้ มจ่ ำ�เปน็ ตอ้ งเกดิ ข้ึน เพราะส่ือสังคมสามารถเป็นพ้ืนที่หลกั ให้ผ้คู นในสงั คมมสี ว่ นรว่ ม
ในการน�ำ เสนอขา่ วสารเพอ่ื สง่ เสรมิ การอภปิ ราย คา่ นยิ มของสงั คม และการมสี ว่ นรว่ มตามระบอบ
ประชาธิปไตย ในสภาพแวดล้อมที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับสิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ ความรู้ และการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ด้วยเหตุนี้ การนำ�เสนอ
ขา่ วสาร ไมว่ า่ จะในพนื้ ทใี่ ด ควรน�ำ เสนอประเดน็ ทซี่ บั ซอ้ นตอ่ สาธารณะโดยไมข่ าดตกบกพรอ่ งเรอ่ื ง
ความถกู ตอ้ งเทยี่ งตรง และไมล่ ดทอนบรบิ ทแวดลอ้ ม อนั อาจท�ำ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ ความทา้ ทาย
ส�ำ หรบั นกั ขา่ วคอื การตรวจสอบความถกู ตอ้ ง หลกี เลยี่ งการสรา้ งกระแส และระมดั ระวงั การรายงาน
เรอื่ งทอ่ี าจสง่ ผลกระทบในอนาคต รวมทง้ั สามารถน�ำ เสนอทศั นะหรอื ขอ้ คน้ พบทแี่ ตกตา่ งกนั ของ
ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างสมดุล โดยเฉพาะในเร่ืองการแพทย์ระดับสูง (เช่น การโคลนนิ่ง) และความ
ก้าวหน้าทางดา้ นวทิ ยาศาสตร์ใหม่ (เชน่ ปญั ญาประดษิ ฐ)์

วงการข่าวสารสามารถตอบโตข้ อ้ มูลบดิ เบอื นและข้อมลู ท่ีผิดแบบตรงไปตรงมาได้หลายวิธี ตง้ั แต่
การต่อต้านการแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา ไปจนถึงการสืบสวนและเปิดโปงข้อมูลบิดเบือนโดยตรง
แตต่ อ้ งทำ�ควบคู่ไปกบั การพยายามพัฒนาวงการข่าวสารโดยรวม (ดดู ้านลา่ ง)

ปฏกิ ริ ยิ าของสงั คมตอ่ ‘ความผดิ ปกตขิ องขอ้ มลู ขา่ วสาร’ และความทา้ ทายทมี่ าพรอ้ มกบั สอื่ สงั คม
นั้นมีความหลากหลายและเกิดขึ้นในหลายระดับ วิธีแก้ปัญหาจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง
ซึ่งจำ�นวนหน่ึงก็เกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว หลายวิธีมีต้นกำ�เนิดในสหรัฐอเมริกาซ่ึงเป็นศูนย์รวมผู้ให้
บรกิ ารสอ่ื สงั คม รวมทง้ั กเู กลิ โดยแนวคดิ รเิ รมิ่ ดา้ นเทคโนโลยเี พอ่ื แกป้ ญั หาขอ้ มลู ทผ่ี ดิ ซงึ่ ก�ำ ลงั อยู่
ระหวา่ งการพัฒนา ได้แก่

Z ความมุง่ ม่นั ในการก�ำ จดั ผลการคน้ หาและฟีดขา่ วท่ผี ู้ให้บริการถือเปน็ ขา่ วหลอกลวง (ซึ่ง
ยอ่ มมีขอ้ โต้แย้ง)25 26 27

Z หยดุ แหลง่ ข้อมูลบิดเบอื นท่ตี ้องการรายได้จากการคลิกโฆษณา28
Zใชเ้ ทคโนโลยใี นการตรวจสอบความจริงของเน้ือหาและภาพดจิ ทิ ัล29

24 Deb, A., Donohue, S. & Glaisyer, T. (2017) Ibid
25 Ling, J. (2017). Eric Schmidt Says Google News Will ‘Engineer’ Russian Propaganda Out of the Feed. Motherboard

Vice.com. [online] Available at: https://motherboard.vice.com/en_us/article/pa39vv/eric-schmidt-says-google-news-
will-delist-rt-sputnik-russia-fake-news?utm_ campaign=buffer&utm_content=buffer41cba&utm_medium=social&utm_
source=facebook.com+Motherboard [เขา้ ถงึ เมอ่ื 03/04/2018]; https://www.rt.com/news/411081-google-russia-answer-rt/
26 Mosseri, A. (2018). Helping ensure news on Facebook is from trusted sources. Facebook. https://newsroom.fb.com/
news/2018/01/trustedsources/ [เขา้ ถงึ เม่อื 03/04/2018].
27 Stamos, A. (2018) Authenticity matters: Why IRA has no place on Facebook. Facebook. https://newsroom.fb.com/
news/2018/04/authenticitymatters/ [เข้าถงึ เมอื่ 03/04/2018].
28 Love, J. & Cooke, C. (2017). Google, Facebook move to restrict ads on fake news sites. Reuters. [online] Available at:
https://www.reuters.com/article/us-alphabet-advertising/google-facebook-move-to-restrict-ads-on-fake-news-sites-
idUSKBN1392MM [เข้าถงึ เม่อื 15/06/2018].
29 ดู หนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 6. ตวั อยา่ งที่ http://www.truly.media/ [เข้าถงึ เม่ือ 15/06/2018].

- 43 -

Z ให้เงินทุนสนบั สนนุ แนวคิดรเิ รม่ิ ในการเสนอขา่ วสารทเ่ี ป็นจดุ ร่วมของการศึกษาวิจยั ด้าน
วารสารศาสตร์ เทคโนโลยี และงานวิชาการ30

Zการพัฒนาและใช้มาตรฐานด้านเทคนิคหรือสัญญาณท่ีบ่งบอกความเชื่อถือได้ (trust
signals) เพ่ือช่วยให้ผู้บริโภค (และอัลกอริทึม) รู้ว่าข่าวน้ันมาจากผู้ให้บริการข่าว
ทเี่ ช่อื ถือได3้ 1

ณ วันท่ีเขียนหน่วยการเรียนรู้นี้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2561 หนึ่งในโครงการที่สำ�คัญท่ีสุดเก่ียวกับ
มาตรฐานทางด้านเทคนิคสำ�หรับองค์กรข่าวคือ เดอะทรัสต์โปรเจกต์ ซ่ึงเป็นโครงการร่วม
ระหว่างเว็บเครื่องมือค้นหารายใหญ่ สื่อสังคม และผู้ประกอบการสื่อมากกว่า 70 แห่งทั่วโลก
พนั ธกจิ ของโครงการคอื การท�ำ ใหส้ าธารณชนรวู้ า่ ขา่ วใดผลติ อยา่ ง “ถกู ตอ้ ง มคี วามรบั ผดิ ชอบ และ
มีจริยธรรม” โดยดจู ากสญั ลกั ษณค์ วามนา่ เชือ่ ถอื มาตรฐานทางเทคนคิ เบื้องตน้ 8 ประการ32 ท่ี
ผใู้ หบ้ รกิ ารขา่ วสารควรปฏบิ ตั ติ าม และท�ำ ใหม้ องเหน็ ไดง้ า่ ยในพน้ื ทอ่ี อนไลนข์ องตน เพอ่ื ใหไ้ ดร้ บั
การยอมรับว่าเป็นผู้ให้บริการข่าวสารที่เช่ือถือได้ ตัวบ่งช้ีความไว้ใจได้ของเดอะทรัสต์โปรเจกต3์ 3
มีดังนี้

Z แนวทางปฏิบัตทิ ดี่ :ี
> เกณฑ์มาตรฐานของคุณคอื อะไร
> ใครเป็นผใู้ หเ้ งนิ สนับสนุนช่องทางการเผยแพร่ข่าว
> พันธกจิ ของช่องทางเผยแพร่ขา่ วคอื อะไร
> ยดึ มนั่ ในจรยิ ธรรม ความเหน็ ทหี่ ลากหลาย ความถกู ตอ้ ง แกไ้ ขใหถ้ กู ตอ้ ง และมาตรฐาน
อืน่  ๆ

Zความเชี่ยวชาญของผู้เขียน/ผู้สื่อข่าว: ใครเป็นผู้รายงานข่าว รายละเอียดเกี่ยวกับ
นกั ขา่ ว ความเชย่ี วชาญ และเรือ่ งท่เี คยรายงาน

Z ประเภทของงาน: เปน็ งานประเภทใด แยกความคดิ เหน็ บทวเิ คราะห์ และโฆษณา (หรอื
ผสู้ นบั สนุน/เนอื้ หาทไี่ ดร้ ับเงนิ สนับสนนุ ) จากรายงานขา่ วอยา่ งชัดเจน

Zการอา้ งแหลง่ ขา่ วและเอกสารอา้ งองิ : ส�ำ หรบั ขา่ วเชงิ สบื สวนหรอื เชงิ ลกึ มกี ารระบแุ หลง่
ท่ีมาของขอ้ เท็จจริงและการยืนยนั ข้อมูล

30 ดู หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 5
31 The Trust Project (2017). The Trust Project – News with Integrity. [online] Available at: https://thetrustproject.

org/?nr=0 [เขา้ ถึงเม่ือ 03/04/2018].
32 The Trust Project (2017). Ibid
33 The Trust Project (2017). Ibid

- 44 -

Zวิธีการ: สำ�หรับข่าวเชิงลึกเช่นกัน มีข้อมูลท่ีบ่งบอกว่าเพราะเหตุใดนักข่าวจึงเลือก หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั
ติดตามเรอ่ื งนี้ และมีกระบวนการท�ำ งานอย่างไร (ชว่ ยในเรอ่ื งความโปร่งใส)

Zแหล่งข้อมูลท้องถ่ิน?: ทำ�ให้รู้ว่าเรื่องน้ีเกิดข้ึนในพ้ืนท่ีหรือมีความเช่ียวชาญ เป็น
การรายงานขา่ วในสถานทเี่ กดิ เหตุ โดยใชค้ วามรอู้ ยา่ งลกึ ซงึ้ เกย่ี วกบั สถานการณใ์ นทอ้ งที่
หรือชุมชนหรือไม่

Z มมุ มองทหี่ ลากหลาย: หอ้ งขา่ วแสดงความพยายามและความยดึ มนั่ ในการน�ำ เสนอมมุ มอง
ที่หลากหลาย (ผู้อ่าน/ผู้ชม/ผู้ฟังย่อมตระหนักเม่ือเสียงของคนบางกลุ่ม บางเชื้อชาติ
หรอื บางแนวคดิ ทางการเมอื งขาดหายไป)

Zเสียงสะท้อนท่ีนำ�ไปสู่การกระทำ�: ความพยายามของห้องข่าวในการให้ประชาชน
มีส่วนร่วมจัดลำ�ดับความสำ�คัญของข่าว มีส่วนช่วยในกระบวนการรายงานข่าว สร้าง
ความมน่ั ใจเร่ืองความถกู ตอ้ งแมน่ ยำ� และอ่นื  ๆ โดยผู้อา่ น/ผู้ชม/ผู้ฟังตอ้ งการมีส่วนร่วม
และสง่ เสยี งสะทอ้ นทอ่ี าจนำ�ไปสู่การเปล่ยี นแปลงหรือการขยายเรอื่ งราวของข่าว

ความเชอื่ ถอื ไวว้ างใจในงานขา่ วยงั ชว่ ยเพม่ิ ปรมิ าณ ความหลากหลาย และคณุ ภาพของแหลง่ ขอ้ มลู
สำ�หรับนกั ข่าว อนั มีผลกระทบต่อเน่ืองไปถึงผู้รบั ข่าวสาร

การตอบสนองจากรฐั บาล ภาคประชาสงั คม และนกั การศกึ ษานน้ั รวมถงึ การใหค้ วามส�ำ คญั อยา่ ง
มากกบั การรู้เท่าทันส่อื และสารสนเทศ รายละเอียดเรอ่ื งนอี้ ยูใ่ นหน่วยการเรยี นรู้ตอ่ ไป34

ประเดน็ เหลา่ น้ถี ูกหยิบยกข้ึนมาในปี พ.ศ. 2560 ในงานประชุมบรรณาธิการโลก โดยประธานคือ
มาร์เซโล เร็ช เสนอว่าบรรณาธิการทัว่ โลกควรยอมรบั หลกั การ 5 ขอ้ ตอ่ ไปน3ี้ 5

Z ในโลกทที่ ว่ มทน้ ดว้ ยขอ้ มลู ความนา่ เชอ่ื ถอื ความเปน็ อสิ ระ ความถกู ตอ้ งแมน่ ย�ำ จรยิ ธรรม
วชิ าชพี ความโปรง่ ใส และพหนุ ยิ ม เปน็ คา่ นยิ มทจี่ ะชว่ ยกระชบั ความสมั พนั ธท์ ตี่ งั้ อยบู่ น
ความเช่ือถือกับสาธารณชน

Zลำ�ดับต่อไปของการผลิตข่าวสารคือการสร้างความแตกต่างจากเนื้อหาอื่น  ๆ ด้วย
การหมั่นต้ังค�ำ ถามและการตรวจสอบขอ้ เทจ็ จริงของเร่ืองทีส่ ่งต่อกันทางสอ่ื สังคมอยา่ ง
ระมดั ระวัง โดยยอมรบั วา่ สือ่ สงั คมเป็นแหล่งข้อมูลหนง่ึ ส�ำ หรบั การตรวจสอบขอ้ เท็จจริง
และเป็นพ้ืนทเี่ พือ่ การใช้ประโยชน์จากเนอ้ื หาท่ีผลติ โดยมอื อาชีพ

Z พันธกิจลำ�ดับถัดไปของการผลิตข่าวสารคือการรับใช้สังคมด้วยการนำ�เสนอข้อมูล
ข่าวสารคุณภาพท่ีผ่านการตรวจสอบ และการสร้างอัตลักษณ์ของข่าวสารที่ได้รับ
การรับรองว่ามาจากผูผ้ ลติ เนอื้ หาทเี่ ช่ือถอื ได้

34 ดู หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 4
35 Ireton, C. (2016). World Editors Forum asks editors to embrace 5 principles to build trust https://blog.wan-ifra.

org/2016/06/14/world-editorsforum-asks-editors-to-embrace-5-principles-to-build-trust [เขา้ ถงึ เม่ือ 15/06/2018].

- 45 -

Z ขอ้ ก�ำ หนดของกา้ วตอ่ ไปในการผลติ ขา่ วสาร คอื การใหม้ ากกวา่ ขอ้ มลู ทว่ั ไป การสง่ เสรมิ
และทำ�ให้เกิดการวิเคราะห์ การรายงานเชิงบริบทและเชิงสืบสวน และการแสดงความ
คดิ เหน็ บนฐานของข้อมูล อนั เปน็ การพฒั นาจากการเสนอข่าวไปสู่การให้ความรู้

Zก้าวต่อไปของการทำ�ข่าวควรเป็นไปบนความเช่ือถือและใช้หลักการเพ่ือประโยชน์ต่อ
สังคม ผลประโยชนท์ ่ชี อบดว้ ยกฎหมาย และการพดู ความจริง

ส�ำ หรบั นกั ข่าวและห้องขา่ ว ต้องให้ความสนใจกบั การพัฒนาคณุ ภาพมากขึน้ ด้วยการปรับปรงุ

Zการแสดงความรบั ผดิ ชอบ การเสนอขา่ วอยา่ งมจี รยิ ธรรม และการรายงานตามหลกั ฐาน36
Zการตรวจสอบข้อเท็จจริง และการเปิดโปงข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลท่ีผิดให้ทราบโดย

ทวั่ กนั 37
Zการตรวจสอบขอ้ มูล แหลง่ ขอ้ มลู และภาพดจิ ิทัล38
Zการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่นักข่าวมีความเกี่ยวพัน และสร้างความม่ันใจว่าวาระของข่าว

เป็นไปตามความต้องการของสังคม39
ในประเด็นสุดท้ายข้างต้น หลักฐานท่ีแสดงถึงการขาดการเช่ือมต่อระหว่างสื่อกระแสหลักกับ
ผรู้ บั สอ่ื นนั้ เหน็ ไดช้ ดั เจนในชว่ งการลงคะแนนเสยี งในสหราชอาณาจกั รเพอื่ ออกจากสหภาพยโุ รป
(Brexit) และในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2559 จุดแข็งของการสื่อสารผ่านส่ือ
สงั คมคอื การมสี ว่ นรว่ มโดยตรง ผสู้ อนจงึ ควรศกึ ษาวา่ สอ่ื จะใหบ้ รกิ ารทด่ี ขี น้ึ กบั ผรู้ บั สอ่ื อนั หมายถงึ
การสร้างความน่าเช่ือถือและการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันรวมถึงชุมชนในวงกว้างได้
อย่างไร

หกหรือเจ็ดประการท่ีข่าวสารทำ�ได้เพื่อประชาธิปไตย ของชัดสัน40 นำ�มาใช้เป็นกรอบสำ�หรับ
การอภปิ รายได้เป็นอยา่ งดี ไดแ้ ก่

1. ข้อมูล: ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจทางการเมือง
ไดอ้ ย่างสมเหตุสมผล

36 Wales, J. (2017). What do we mean by evidence-based journalism? Wikitribune. https://medium.com/wikitribune/
what-do-we-mean-byevidence-based-journalism-3fd7113102d3 [เข้าถงึ เม่อื 03/04/2018].

37 ดู หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
38 Bell, F. (2018). In an age of data-journalism, verification is all the more complex. For instance, in cases of massive

data troves it is likely that not just inaccurate information exists, but also that it is entirely possible that deliberately
planned disinformation may be included within the records. See also Module Six of this course
39 Batsell, J. (2015). Engaged journalism: connecting with digitally empowered news audiences. New York. Columbia
University Press.
40 Schudson, M. (2008). Why Democracies Need an Unlovable Press. Polity. Chapter Two: Six
or Seven Things News Can Do For Democracy. Available at: https://books.google.co.uk/
frontcover&dq=schduson+michael+6+or+seven+ways&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwju_
ZGI6ozZAhWELsAKHc0vBlUQ6AEIKTAA - v=onepage&q&f=false [เขา้ ถงึ เมอ่ื 03/04/2018].

- 46 -

2. การตรวจสอบ: ตรวจสอบแหล่งอำ�นาจรวมศนู ย์ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ อ�ำ นาจของรัฐ หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั
3. การวิเคราะห์: ให้ขอบเขตท่ีแน่ชัดสำ�หรับการตีความ เพื่อช่วยประชาชนทำ�ความเข้าใจ

โลกทซี่ บั ซอ้ น
4. ความใส่ใจต่อสังคม: บอกเล่าเร่ืองราวของผู้คนในสังคมและในโลก เพ่ือให้เกิดการรับรู้

มุมมองความคดิ และชวี ติ ความเป็นอย่ขู องผอู้ น่ื โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงผูท้ ่ดี อ้ ยโอกาสกว่า
5. เวทีสาธารณะ: สร้างพื้นที่สำ�หรับการเสวนาของพลเมืองในแต่ละประเด็น โดยใช้วิธีท่ีมี

ลักษณะเป็นพหุนิยมและสหวิทยาการ ในฐานะพ้ืนท่ีเปิดสำ�หรับมุมมองที่แตกต่าง
หลากหลายของกลมุ่ คนแตล่ ะกลุม่ ในสงั คม
6. การขับเคลื่อน: ทำ�หน้าที่ (เม่ือเป็นที่ต้องการ) เป็นผู้สนับสนุนโครงการและจุดยืนทาง
การเมือง และขับเคลื่อนการสนับสนุนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการตรวจสอบ
ความจริงและประโยชน์สาธารณะ

เปา้ หมายของหนว่ ยการเรยี นรู้

Zส่งเสริมใหผ้ เู้ รียนคิดอยา่ งมีวิจารณญาณเกยี่ วกับการเสนอขา่ วและสื่อสังคม
Zส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินสถานะของตนเองในระบบนิเวศของ ‘ความผิดปกติของข้อมูล

ข่าวสาร’
Zใหผ้ เู้ รยี นคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณเกยี่ วกบั ผลกระทบของ ‘ความผดิ ปกตขิ องขอ้ มลู ขา่ วสาร’

ทม่ี ีตอ่ สงั คม

ผลการเรียนรู้

เม่ือเรยี นจบหนว่ ยการเรยี นร้นู ี้ ผู้เรยี นควร
1. มีความเข้าใจมากข้ึนว่าวงการข่าวสารสามารถรับใช้ประชาธิปไตยและสังคมเปิดได้
อยา่ งไรในสภาวะแวดลอ้ มทสี่ อื่ ขยายตวั อยา่ งมหาศาล และพษิ ภยั ของ ‘ความผดิ ปกตขิ อง
ข้อมลู ข่าวสาร’ ทีม่ ตี อ่ ประชาธิปไตย
2. เข้าใจปัจจัยที่ขับเคลื่อนความน่าเช่ือถือต่อการเสนอข่าวสาร และรู้ว่าจะรักษาหรือ
กอบกู้ความน่าเชอื่ ถือได้อยา่ งไร
3. อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าทำ�ไมการนำ�เสนอข่าวสารตามหลักวารสารศาสตร์จึงมี
ความส�ำ คัญ

- 47 -

รปู แบบของหนว่ ยการเรียนรู้

ขอ้ มลู ในเคา้ โครงเนอ้ื หาของหนว่ ยการเรยี นรนู้ สี้ ามารถใชเ้ ปน็ เนอื้ หาส�ำ หรบั การบรรยายความยาว
30 นาที ควบค่กู ับการตวิ เขม้ หรอื การอภปิ รายโตะ๊ กลมความยาว 30 นาที ในประเดน็ ว่าเพราะ
เหตุใดวารสารศาสตร์จึงมีความสำ�คัญ และจะรับใช้ประชาชนได้อย่างไร รวมทั้งใช้เป็นแบบ
ฝกึ หดั เชงิ ปฏบิ ตั คิ วามยาว 90 นาที โดยใชก้ ารสนทนาแบบมกี ารบรหิ ารจดั การ เพอื่ หาค�ำ ตอบวา่ จะ
โน้มน้าวคนที่ไม่ไว้วางใจในข้อมูลข่าวสารให้เชื่อว่าใช่ว่าข้อมูลข่าวสารทั้งหมดจะเช่ือถือไม่ได้
อย่างไร และสื่อมวลชนจะทำ�อะไรได้บ้างเพื่อสร้างความน่าเช่ือถือ ในสภาพแวดล้อมท่ีส่ือสังคม
ทำ�ให้ขอ้ มูลข่าวสารดูจะไมม่ ีอะไรแตกตา่ งกัน

การเชอ่ื มโยงแผนการเรยี นการสอนสู่ผลการเรยี นรู้

ก. ภาคทฤษฎี จ�ำ นวนชัว่ โมง ผลการเรยี นรู้
30 นาที 1, 2
แผนของหนว่ ยการเรียนรู้ 1, 2, 3
การบรรยายและอภิปรายโตต้ อบเก่ยี วกบั 30 นาที
ความจริงและความเชอ่ื ถอื ผลการเรียนรู้
การอภปิ รายเพ่ือหาค�ำ ตอบวา่ ทำ�ไม 3
วารสารศาสตร์จึงมคี วามส�ำ คญั และ
วารสารศาสตร์จะรบั ใช้ประชาชนไดอ้ ย่างไร

ข. ภาคปฏบิ ตั ิ จำ�นวนชว่ั โมง
90 นาที
แผนของหนว่ ยการเรียนรู้
แบบฝกึ หัดภาคปฏิบัติ

- 48 -

งานมอบหมาย หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 1: เหตใุ ดความจรงิ ความเช่อื ถอื และ การเสนอขา่ วจึงส�ำ คญั

งานมอบหมายมสี ามองค์ประกอบ โดยผู้เรียนทำ�งานเปน็ คู่หรอื กลุ่มยอ่ ย
Zใหผ้ เู้ ขา้ เรยี น (ท�ำ งานเป็นกลุ่มยอ่ ยหรอื จับคู่) สมั ภาษณผ์ ู้บรโิ ภคขา่ วสาร โดยขอใหบ้ อก
แหลง่ ทมี่ าของขอ้ มลู ขา่ วสารในระดบั ทอ้ งถน่ิ หรอื ระดบั ประเทศทพ่ี วกเขาเชอ่ื ถอื มากทส่ี ดุ
จากน้ันใช้แบบจำ�ลอง หกหรือเจ็ดประการที่ข่าวสารทำ�ได้เพื่อประชาธิปไตย ของชัดสัน
เปน็ แนวทางในการศกึ ษาสงิ่ พมิ พห์ นง่ึ ฉบบั หรอื ขอ้ เขยี นตา่ ง ๆ ในสอื่ ทก่ี �ำ หนด เพอ่ื ส�ำ รวจ
และวิเคราะห์ว่าข้อมูลเหล่าน้ันรับใช้ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ซึ่ง
เทคนิคการวิเคราะห์ตัวบทก็เป็นวิธีหน่ึงท่ีนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ องค์ประกอบที่สอง
คือให้ระบุว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีตัวบ่งชี้ความเช่ือมั่น 8 ข้อของเดอะทรัสต์โปรเจกต์หรือไม่
หากมีคือตัวใดบ้าง องค์ประกอบท่ีสามคือนำ�ผลการศึกษาที่ได้ไปจัดทำ�เป็นรายงานข่าว
หรือความคิดเห็นในบทบรรณาธิการ โดยทำ�ได้ทั้งในรูปแบบของการเขียน หรือ
ผลิตคลิปวิดีโอส้ัน  ๆ หรือคลิปเสียง เพื่ออธิบายว่าทำ�ไมการเสนอข่าวตามหลัก
วารสารศาสตรจ์ งึ มคี วามส�ำ คัญ

- 49 -

เอกสารสำ� หรบั อ่านเพ่มิ เตมิ

Deb, A., Donohue, S. & Glaisyer, T. (2017). Is Social Media A Threat To Democracy?
[ebook] Omidyar Group. Available at: https://www.omidyargroup.com/wp-
content/ uploads/2017/10/Social-Media-and-Democracy-October-5-2017.pdf

Edelman. (2017). 2017 Edelman TRUST BAROMETER - Global Results. [online]
Available at: https://www.edelman.com/global-results/

Howard, P. (2017) Is social media killing democracy? Oxford. Available at https://
www. oii.ox.ac.uk/videos/is-social-media-killing-democracy-computational-
propagandaalgorithms-automation-and-public-life/

Nossel, S. (2017). FAKING NEWS: Fraudulent News and the Fight for Truth. [ebook]
PEN America. Available at: https://pen.org/wp-content/uploads/2017/10/PEN-
America_ Faking-News-Report_10-17.pdf

Schudson, M. (2008). Why Democracies Need an Unlovable Press. Polity.
Chapter 5: Six or Seven Things News can do for Democracies, Available
at https://books.google.co.uk/s?id=hmYGMe9ecKUC&printsec=frontcover
&dq=schduson+michael+6+or+seven+ways&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEw
ju_ZGI6ozZAhWELsAKHc0vBlUQ6AEIKTAA - v=onepage&q&f=false

Viner, K. (2017). A mission for journalism in a time of crisis. [online] the Guardian.
Available at: https://www.theguardian.com/news/2017/ nov/16/a-mission-for-
journalism-in-a-time-of-crisis

- 50 -


Click to View FlipBook Version