วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาให้นักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะมีการศึกษา ที่มีคุณภาพโดยให้สอดคล้องกับ วิถีชีวิตอิสลาม และมีอาชีพที่เหมาะสมบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ 1.ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง 2.เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลาย 3.ส่งเสริม คุณธรรม นำความรู้สู้ความพอเพียง 4.พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เป้าประสงค์ 1.เยาวชนมุสลิมในสถาบันศึกษาปอเนาะได้รับการยกระดับการศึกษา 2.เยาวชนในสถาบันศึกษาปอเนาะได้รับการศึกษา สายสามัญควบคู่ศาสนา 3.นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงสามารถพัฒนาตนเองและสังคม 4.เปิดโอกาสให้ฝึกอาชีพตามความถนัด
บริบทพื้นฐาน สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกุรอาน
สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกูรอาน ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๗๙ หมู่ที่ ๘ บ้านกูแบปูยู ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๑๓๐ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเจาะไอร้อง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษา สังกัดของสถานศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของ สถาบันศึกษาปอเนาะ
สถาบันแห่งนี้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2537 ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เป็นบิดา มีเนื้อที่ทั้งหมด 12 ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นที่พักอาศัยของนักศึกษาชาย เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ ส่วนที่ 2 เป็นที่พักอาศัยของนักศึกษาหญิง เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ส่วนกลางใช้สร้างอาคารชายและอาคารเรียนหญิง และเป็นที่พักของโต๊ะครูและญาติ เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ สถาบันปอเนาะได้จดทะเบียนกับทางราชการเมื่อปีพุทธศักราช 2547 ได้จดทะเบียนเป็นทางการได้ตั้งชื่อว่า สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน ทะเบียนเลขที่ 3960500455984/2547 โดยมีนายมุสตอปา หะยีมะ เป็นผู้อำนวยการสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอานแห่งนี้ และมีอาคารหลักๆ ดังนี้ 1.1 บาลัยขนาดใหญ่ จำนวน ๒ หลัง 1.2 อาคารเรียน จำนวน ๒ หลัง 1.3 ที่พักโต๊ะครู จำนวน ๑ หลัง 1.4 ที่พักผู้เรียน จำนวน ๙๐ หลัง 1.5 ห้องธุรการ จำนวน ๐ ห้อง 1.6 ห้องสหกรณ์ จำนวน 1 ห้อง 1.7 ห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับผู้เรียน จำนวน ๑๔ ห้อง 1.8 คอมพิวเตอร์ จำนวน ๐ เครื่อง จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งสถาบัน เพื่ออบรมจริยธรรม คุณธรรม และหลักการศาสนาอิสลามตามแนวทางศาสนบัญญัติให้กับเยาวชนแลผู้นำท้องถิ่น เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังสืบไป ประวัติความเป็นมาของสถาบันศึกษาปอเนาะ
นโยบายของสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน เป็นสถาบันสอนศาสนาอิสลาม เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอัลกรุอานและกีตาบ โดยระบบการเรียนการสอนจะแยกระหว่างชาย – หญิง สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ เลขที่79 หมู่8 ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส 96130 การคมนาคม การคมนาคมของสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน มีความสะดวก และปลอดภัย เป็นการโดยสารด้วยทางบก
แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม ทางไปอำเภอเจาะไอร้องและสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเจาะไอร้อง บ้านยานิง ทางตัน ทางไปจังหวัดนราธิวาส บ้านมะรือโบออก ทางเข้าปอเนาะระยะทาง 1,200ม. ทางไปอำเภอสุไหงโกลก บ้านกำปงดาลัม บริเวณปอเนาะ ทางไปกองพันพัฒนาที่4 ค่ายปิเหล็ง
ชื่อเจ้าของสถาบัน -นายมุสตอปา หะยีมะ เป็นเจ้าของสถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน และผู้รับใบอนุญาต เบอร์โทรศัพท์ - จำนวนครูสกร. 1 คน จำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 315 คน ชาย 210 คน หญิง 105 คน ข้อมูลของนักศึกษา ที่ ประเภทนักศึกษา ชาย หญิง รวม หมายเหตุ 1. นักศึกษาทั้งหมด 210 105 315 2. นักศึกษาชั้นประถม - - - 3. นักศึกษาชั้น ม. ต้น 2๖ 20 42 4. นักศึกษาชั้น ม. ปลาย ๑0 11 21 5. นักศึกษากำพร้า - - - 6. นักศึกษาพิการ - - - 7. นักศึกษายากจน - - - 8. นักศึกษาสูงอายุ - - - ๙. นักศึกษาไม่ได้เรียนกับ สกร. 1๖๘ 70 238 * หมายเหตุ : ตัวเลขที่ได้ยังไม่คงที่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอน การเรียนการสอนที่สถาบันศึกษาปอเนาะดารุลกรูอาน ยึดหลักการศึกษาตามวิธีทางอิสลามเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ดังนั้นจะไม่มีลักษณะการจัดระบบการเรียน การสอนที่เป็นชั้นเรียน แต่จะใช้ตำราที่เรียกว่า “กีตาบ” เป็นแบบเรียนที่เป็นมารดกทางวรรณกรรมของศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุระยะเวลาเรียนของนักเรียนได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักการศึกษาเจตนารมย์แห่งอิสลาม - มุสลิมคือผู้เรียนรู้ตลอดเวลา
รายวิชาอิสลามศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะ 1.รายวิชาอัล-กรุอาน และกีรออาตี 2.รายวิชาอัล-หะดีษ (วัจนะ) 3.รายวิชาหลักการศรัทธา (เตาฮีด) 4.รายวิชาศาสนบัญญัติ (ฟิกฮ์) 5.รายวิชาจริยธรรม (อัลอัคลาก หรือตะเซาวุฟ) 6.รายวิชาอักษรวิธี (นะฮ) 7.รายวิชาวากะสัมพันธ์ (ซอร์ฟ์) 8.รายวิชาอรรถาธิบายอัล-กรุอาน (ตัฟซีร) 9.รายวิชาหลักการอ่านอัล-กรุอาน (ตัจวีด) 10.รายวิชาหลักการอรรถาธิบายอัล-กรุอาน (อูศัลตัฟซีร) 11.รายวิชาหลักการวัจนะ (อูศูลหะดีษ) 12.รายวิชาหลักศาสนบัญญัติ (อูศูลฟิกฮ์) 13.รายวิชาแบ่งมรดก (ฟารออิฎ) 14.รายวิชาศาสนประวัติ (ตารีต) 15.รายวิชาสำนวนโวหาร (อับ-บาลาเฆาะ) 16.รายวิชาตรรกวิทยา (มันฎิก)
ประวัติความเป็นมา "มะรือโบออก" เป็นภาษายาวี แปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ประเภทไม้เนื้อแข็ง เป็นต้นไม้ที่สูงใหญ่ ตั้งอยู่จุดกึ่งกลางหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่าบ้านมะรือโบ ชุมชนเดิมอพยพมา จากบ้านจูโว๊ะ หมู่ที่ 5 ต.มะรือโบตก เนื่องจากว่า "มะรือโบออก" มีแม่น้ำสายใหญ่ผ่าน และส้นทางคมนาคมสะดวก พื้นที่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเจาะไอร้อง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทั้งหมด 52,586 ตารางกิโลเมตร (32,866.52 ไร่) เขตพื้นที่ ทิศเหนือ ติดกับ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ทิศใต้ ติดกับ ต.จวบ , ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ไพรวัน อ.ตากใบ และ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทิศตะวันตก ติดกับ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง และ ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส อาชีพ อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวน/ทำไร่ อาชีพเสริม ทำจากมุงหลังคา สาธารณูปโภค จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,559 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.00 ของพื้นที่ สภาพของชุมชน
การเดินทาง จากจังหวัดนราธิวาส เดินทางโดยรถยนต์ระยะทาง 45 กม. ถึงตำบลมะรือโบออก จากตำบลมะรือโบ ถึงที่ว่าการอำเภอเจาะไอร้อง ประมาณ 6 กม. ระยะทางระหว่างหมู่ ที่ 1 - หมู่ที่ 11 ตำบลมะรือโบออก ประมาณ 15 กม. เส้นทางถนนลาดยาง ถนนหินคลุกบางส่วน ผลิตภัณฑ์ ทำจากมุงหลังคา (หมู่ที่ 5 บ้านจูโว๊ะ) แบ่งเขตการปกครอง เป็น 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านมะรือโบออก , หมู่2 บ้านตาโง๊ะ , หมู่3 บ้านโต๊ะแบ , หมู่4 บ้านโคกสิแด , หมู่5 บ้านจูโว๊ะ , หมู่6 บ้านปิเหล็งเหนือ , หมู่7 บ้านปิเหล็งใต้, หมู่8 บ้านกูแบปูยู ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง ๑. นายมุสตอปา หะยีมะ ประธานกรรมการ ๒. นางนูรีซา สอเหรบ รองประธานกรรมการ ๓. นายซอฮายมี ฮามอ กรรมการ ๔. นายมาหามะซูในดี สะตอปา กรรมการ ๕. นายมอฮามัดฮาต้า ฮามิ กรรมการ ๖. นายมักตา อาแซ กรรมการ ๗. นายสะแปอิง เจ๊ะโซ๊ะ กรรมการ ๘. นายเจ๊ะฮาเซ็ม กอเดย์ กรรมการ ๙. นายยะห์ยา เจ๊ะดอเลาะ กรรมการ ข้อมูลคณะกรรมการ สถาบันศึกษาปอเนาะ
๑๐. นายซูเด็ง ดาโอ๊ะ กรรมการ ๑๑. นายปาอูยี บินยา กรรมการ ๑๒. นายสะรี มือลี กรรมการ ๑๓. นายไซยีดีน อำดือราแม กรรมการ ๑๔. นายอุสมาน ยะปา กรรมการ ๑๕. นายมะนาปี บือราเฮง กรรมการ ๑๖. นายซาการียา มือเยาะ กรรมการ ๑๗. นายสือดรอฮิมา เจ๊ะดือราแม กรรมการ ๑๘. นายสามีสี บินบือราเฮง กรรมการและเลขานุการ ๑๙. นายอุสมาน สาแลแม ผู้ช่วยกรรมการและเลขานุการ ๑ แหล่งเรียนรู้(ศกร.ตำบล) ๒ แหล่งเรียนรู้(ภูมิปัญญาท้องถิ่น) - แหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย
๓ แหล่งเรียนรู้(สถานที่) ชื่อแหล่งเรียนรู้ ประเภทแหล่งเรียนรู้ ที่ตั้ง ห้องสมุดอำเภอเจาะไอร้อง ข้อมูลวิชาการ ม.๑ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง ศูนย์ไอที ข้อมูลวิชาการด้านเทคโนโลยี ม.๑ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง