The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การหมั้น รายวิชา กฎหมายครอบครัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by petch8525, 2021-09-30 15:38:42

การหมั้น

การหมั้น รายวิชา กฎหมายครอบครัว

การหมั้น

รายวิชา กฎหมายครอบครัว

การหมั้น คืออะไรกันนะ ?

การหมั้น คือ

การที่ชายและหญิงทำสั ญญาว่าจะสมรสอยู่กินด้วยกัน
ฉันสามีภริยา กฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีการหมั้นก่อนการสมรส
ชายหญิงจะสมรสกันทันทีโดยไม่ต้องหมั้นกันก่อนก็ได้

เงื่อนไขของการหมั้น

แบ่งได้ 2 ประการ ดังนี้ มาตรา 1435

1. ชายและหญิงที่หมั้นกันต้องมี บชราิยบูแรลกณ์ะาแหรลหญ้ิวมงั้นมีจอะาทยุำสิไบด้เตจ่็ดอเปมีื่อ
บัญญักตาิวรรหรมัค้นหท
ีน่ึฝ่ ่งาเฝปื็นนบโมทฆะ
อายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ทั้งสองคน
ตามมาตรา 1435


สามารถอธิบายได้ดังนี้

หากคนใดคนหนึ่ งมีอายุต่ำกว่า 17 ปี
การหมั้นนั้ น เป็นโมฆะ

ถือว่าเสี ยเปล่าเสมือนไม่มีสั ญญาหมั้น
เกิดขึ้น

ชายหรือหญิงที่อายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์จะขอให้ศาลอนุญาตให้
ทำการหมั้นโดยอ้างว่ามีเหตุอันสมควรโดยอนุโลมตามบทบัญญัติ
ที่ขอให้ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
ไม่ได้

Q&A

นายเมฆอายุ16ปีและนางฟ้าอายุ15ปี
ทำการหมั้นโดยได้รับความยินยอมจาก
บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายการหมั้นนี้

จะมีผลอย่างไรทางกฎหมาย ??



"การหมั้นจะมีผลเป็นโมฆะ" เนื่องจาก

การหมั้นนี้ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตาม
มาตรา 1435 วรรค 1

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547

ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้ น นางสาว บ. อายุยัง
ไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืน
บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 วรรค1 ย่อมตก
เป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรค 2

นอกจากนี้ มาตรา 172 วรรค 2 วางหลักไว้ว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สิน
อันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับแต่
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี
จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตาม
มาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ ตามอำเภอใจตามมาตรา
407 หาได้ไม่

ดังนั้ นการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และ
นางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการ
อยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสิ นสดและของหมั้นแก่
โจทก์จึงมีมูลหนี้ และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีล
ธรรมอันดีของประชาชนไม่

2. ผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตร

บุญธรรม หรือผู้ปกครองให้ทำการหมั้น มาตรา 1436

มาตรา 1436 โมฆียะ บอกล้าง
= โมฆะ
ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ ให้สั ตยาบัน
ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้ = มีผลสมบูรณ์

(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตาย
หรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือ
ฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้
เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตร
บุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้
ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3)หรือมีแต่บุคคล
ดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความ
ยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

สามารถอธิบายได้ดังนี้

ถ้าผู้เยาว์ทำการหมั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตร

บุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง การหมั้นถือเป็น โมฆียะ

บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครองมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาหมั้น
ที่เป็นโมฆียะนี้ ได้ ความยินยอมของบุคคลที่กล่าวไว้ข้างต้นให้ผู้เยาว์ทำการ
หมั้น อาจทำด้วยวาจา เป็นหนั งสือ หรือ โดยกิริยาท่าทางอันเป็นปริยายว่าให้
ความยินยอมก็ได้

- บุคคลที่บรรลุนิ ติภาวะแล้วมีสิทธิ์หมั้นได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอม
จากผู้ใด

- ผู้เยาว์ที่บิดามารดาถึงแก่กรรมตายไปหมดแล้ว หากจะทำการหมั้นต้องตั้ง
ผู้ปกครองขึ้นมาก่อนแล้วขอรับความยินยอมจึงจะทำการหมั้นได้

ไม่สามารถหมั้นโดยลำพังได้

Question ?

นางสาวลูกไก่ได้ผ่านการสมรสและได้หย่าร้างมาแล้ว
ต่อมานางสาวลูกไก่ต้องการจะหมั้นกับชายคนรักใหม่

นางสาวลูกไก่ยังต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีก
หรือไม่ ??

Answer

แม้นางสาวลูกไก่จะเคยผ่านการสมรสมาแล้วแต่ก็ต้อง
ทำตามที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามเกณฑ์อายุไม่ได้พิจารณา

ตามการบรรลุนิ ติภาวะและยังต้องได้รับความยินยอมจาก
บิดามารดา หรือ บุคคลตามมาตรา 1436

ของหมั้น

สั ญญาหมั้น มาตรา 1437
จะต้องมีของหมั้นมอบให้แก่หญิง
การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายชายได้
มิฉะนั้ นสัญญาจะถือว่าการหมั้น ส่ งมอบหรือโอนทรัพย์สิ นอันเป็นของ
หมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะ
"ไม่สมบูรณ์" หากมีการผิดสัญญาหมั้น สมรสกับหญิงนั้ น

โดยชายไม่ยอมสมรสกับหญิง หรือ เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็น
หญิงไม่ยอมสมรสกับชาย สิทธิแก่หญิง ...
ชายหญิงจะเรียกค่าทดแทนจากกัน
ไม่ได้


สัญญาหมั้นจะทำด้วยวาจา หรือ

ลายลักษณ์ อักษรก็ได้

ของหมั้น

ของหมั้นที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้หญิงนี้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงทันที
เมื่อหมั้นกัน แต่ถ้ายังไม่ส่งมอบแม้สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่หญิงเป็นของหมั้น
หญิงก็ฟ้องเรียกทรัพย์สินไม่ได้ของหมั้นจะมีราคามากน้ อยเท่าใดก็ได้แม้เป็นเพียง
หมากพลูใส่ พานกับผ้าขาวห่อกระดาษก็ถือว่าเป็นของหมั้นได้

การที่ชายเอาทรัพย์สิ นของบุคคลอื่นมาให้หญิงเป็นของหมั้นโดยเจ้าของทรัพย์
ไม่ยินยอมอนุญาต เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิติดตามเอาคืนจากหญิงได้ เว้นแต่ของ
หมั้นเป็นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริต เจ้าของเงินตราจึงมาเอาคืนไป
ไม่ได้

การให้ทรัพย์สิ นเป็นของหมั้นต้องเป็นการให้โดยมี เจตนาที่จะสมรสตามกฎหมาย
หากไม่มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมายทรัพย์สิ นที่ฝ่ายชายมอบให้แก่หญิง
ไม่ถือว่าเป็นของหมั้น แม้หญิงไม่ยอมสมรสกับชาย ชายก็เรียกคืนไม่ได้

- การที่ชายทำสัญญาจะสมรสกับหญิงแต่ไม่มีการมอบของหมั้นให้หญิงไม่
ถือว่าเป็นการหมั้นตามกฎหมาย
- หากชายไม่ยอมสมรสกับหญิง หญิงจะเรียกค่าทดแทนจากชายไม่ได้
การไม่มีประเพณี ท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้นไม่ใช่เหตุที่จะยกขึ้นมา
ลบล้างกฎหมายได้

แต่ ถ้าชายหญิงทำสัญญาหมั้นกันโดยชายมอบของหมั้นให้แก่หญิง
แม้จะมิได้จัดพิธีตามประเพณี หรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็น
สักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย หากชายไม่
สมรสกับหญิงจึงเป็นการผิดสั ญญาหมั้น

คำถาม ?? คำตอบ

ชายซื้อรถมอเตอร์ไซด์ให้หญิง ในเมื่อหญิงคืนเป็นทรัพย์สิ นที่
เป็นของหมั้น หญิงไม่พอใจเลย ได้ไปกลับคืนมาไม่ได้ หญิงจะ
เอารถมอเตอร์ไซด์ไปขายแล้ว ต้องคืนเป็นเงินในราคาที่ขาย
นำเงินที่ได้ไปออกรถยนต์ ต่อ ทรัพย์นั้ นได้คืนให้แก่ชาย
มาชายบอกเลิกสั ญญาหมั้นโดย

หญิงเป็นฝ่ายผิดสั ญญาจาก
กรณีนี้ ผลทางกฎหมายเป็น

อย่างไร

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3955/2557

โจทก์มิได้มอบเงินให้จำเลยแต่ ชำระเงินมัดจำ และ
จ่ายค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่ ส.

ผู้จะขายโดยตรง ทั้งเป็นการซื้อขายที่ดินที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากโจทก์และจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากัน

แล้ว 3 ปี จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่
จำเลยเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับจำเลยอันจะ
ถือว่าเป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา 1437 เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ของหมั้น

สิ นสอด

มาตรา 1437 วรรค 3 สิ นสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชาย มอบให้แก่พ่อแม่ของฝ่ายหญิง
ให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม เพื่อเป็นการตอบแทนที่ยินยอมให้
หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี ฝ่ายหญิงสมรส หรือ อาจถือได้ว่าเป็น
เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ค่าเลี้ยงดูและค่าน้ำนมตามธรรมเนี ยม
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอัน แล้วสิ นสอดจะตกเป็นสิ ทธิของพ่อแม่
เกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ ซึ่ง หรือ ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงทันที
ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่
สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้ น แม้ยัง ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม
ฝ่ายชายเรียกสิ นสอดคืนได้

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง สิ น ส อ ด มี 3 ประการ ดังนี้

1. ต้องเป็นทรัพย์สิน การตกลงจะให้สินสอดนั้นจะต้องตกลงให้กัน

ก่อนสมรส แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดซึ่งตกลงจะให้นั้ นจะมอบ
ให้ฝ่ายหญิงก่อนหรือหลังสมรสก็ได้

2. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ

ผู้ปกครองของหญิง บุคคลอื่นนอกจากนี้ ไม่สิทธิเรียก หรือ
รับสิ นสอด

3. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ทรัพย์สินที่เป็นสินสอด

เมื่อได้มอบไปแล้วย่อมตกเป็นกรรมสิทธิเด็ดขาดแก่บิดามารดา หรือ
ผู้ปกครองหญิงโดยทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อน แต่ต้องเป็น
การให้โดยมีเจตนาที่ชายและหญิงจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย

*หมายเหตุ การที่ชายมอบเงินให้แก่บิดามารดาหญิงเพื่อขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มี
เจตนาสมรสกันตามกฎหมายนั้ น ไม่ใช้สินสอดหรือของหมั้น เมื่อหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายจึงเรียกคืนเงินไม่ได้

QUESTION

ชายมอบเงินให้แก่มารดาฝ่ายหญิงเพื่อขอขมามารดาฝ่ายหญิง
เนื่ องจากได้พาหญิงหนี ไปอยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้สู่ขอ
ตามประเพณี กับบิดามารดาฝ่ายหญิงและซึ่งชายไม่ได้มีเจตนา

จะสมรสกับหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาฝ่ายชายต้องการ
เรียกทรัพย์นั้ นคืน ทรัพย์ที่มอบให้มารดาฝ่ายหญิงถือเป็นของ

หมั้นและสินสอดหรือไม่ ??

ANSWER

ไม่ถือว่าเป็นของหมั้นหรือสิ นสอดแต่เสมือนเป็นการ
ให้โดยเสน่ หา ถ้าต้องการเรียกคืนทรัพย์นั้ นสามารถ

เรียกคืนได้โดยลาภมิควรได้

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13672/2557

ฝ่ายหญิงมีสิ ทธิเรียกเอาสิ นสอดจากฝ่ายชายผู้ตกลงจะให้
สินสอดได้เมื่อกรณีไม่มีการสมรสอันเนื่ องมาจากความผิด

ของฝ่ายชาย

การผิดสั ญญาหมั้นและค่าทดแทน

การที่จะเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้นได้นั้ น ก่อนอื่น
ต้องได้ความว่า มีการหมั้นกันตามกฎหมายแล้ว ต่อมาคู่สัญญาฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ ง ผิดสัญญาหมั้น หากฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
หญิงนั้ นก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ กรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
ชายก็มีสิ ทธิเรียกค่าทดแทนและเรียกคืนของหมั้นจากหญิงได้

ค่าทดแทนความเสียหายอาจเรียกได้ ตามมาตรา 1440 ดังนี้

1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อ มาตรา 1440

กาย หรือ ชื่อเสียงแห่งชาย หรือ ค่าทดแทนนั้ นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
หญิงนั้ นคือ ค่าทดแทนความเสีย (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่ง
หายต่อกาย เช่น
- การกอดจูบลูบคลำ ชายหรือหญิงนั้ น
-การล่วงเกินกันบ้าง (2) ทดแทนความเสียหายเนื่ องจากการที่คู่หมั้น
ส่วนความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้ น
เช่น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดา
- การที่หญิงไม่ยอมสมรสกับชาย มารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่ องในการ
อาจทำให้ชายได้รับความรังเกียจแก่ เตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
หญิงอื่นๆ รวมทั้งความอับอายด้วย
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่ องจากการที่คู่หมั้น
แต่ ไม่รวมถึงความทางจิตใจ ได้จัดการทรัพย์สิ นหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือ
ที่คู่หมั้นได้รับเพราะไม่ถือเป็น ทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมาย
ว่าจะได้มีการสมรส
ความเสียหายตามมาตรา 1440
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจ
ชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้ นเป็นค่าทดแทน
ทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่ งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ
หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึ งถึงของหมั้นที่ตก
เป็นสิทธิแก่หญิงนั้ นก็ได้

ถามมาา ...

ชายหญิงหมั้นกันและแต่งงานกัน อีกทั้งอยู่
กินกันจนมีบุตรแต่ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรส

กับหญิง กรณีนี้ หญิงสามารถฟ้องเรียกค่า
ทดแทนได้หรือไม่ ??

ตอบไปป ...

สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ เนื่ องจาก
ก่อให้เกิดความอับอายแก่ฝ่ายหญิง และ ยากที่
จะสมรสใหม่

2. ค่าทดแทนความเสียหายเนื่ องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือ

บุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็น
ลูกหนี้ เนื่ องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร

คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการเตรียมการที่ชายหญิงจะอยู่กินเป็น
สามีภริยากันโดยตรง เช่น
- ค่าซ่อมแซมปรับปรุงบ้านของคู่สมรส
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสมรส
- ค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องเรือนต่างๆสำหรับเรือนหอ เป็นต้น

โดยค่าใช้จ่ายตามข้อนี้ กฎหมายจำกัดว่าต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียม
การสมรสโดยสุจริตและตามสมควรเท่านั้ น และไม่รวมค่าใช้จ่ายในการ
หมั้นด้วย

ถามไปป... ตอบมาา...

ค่าใช้จ่ายในวันงานหมั้นสามารถ ไม่ได้ เนื่ องจากงานหมั้นผ่าน
เรียกค่าทดแทนได้หรือไม่ ?? มาแล้วและเรียกคืนได้เฉพาะ
การเตรียมการสมรสที่จะเกิด
ในอนาคต ไม่สามารถเรียก

ย้อนหลังได้

3. ทดแทนความเสียหายเนื่ องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการ

ทรัพย์สิ นหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของ
ตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

คือ ค่าทดแทนในข้อนี้ จะจำกัดเฉพาะกรณีชายหญิงคู่หมั้นได้จัดการ
ทรัพย์สิ นหรือกิจการไปในทางที่เสี ยหายโดยคาดหมายว่าจะได้มีการ
สมรส เช่น หญิงขายทรัพย์สินเพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่าง
ประเทศ หรือหญิงสอบราชการได้แต่สละสิทธิเพื่อจะไปสมรสกับชาย
ในต่างประเทศ หากต่อมามีการผิดสัญญาหมั้น ก็ย่อมเรียกค่า
ทดแทนจากการจำหน่ ายทรัพย์สินดังกล่าวได้

Q&A

ชายสั่ งให้หญิงลาออกจากงานเพื่อเตรียมความ
เป็นอยู่เพื่อมาเป็นภริยาของตน ต่อมาฝ่ายชายมี
การผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายหญิงสามารถเรียกค่า

ทดแทนได้หรือไม่ ??

ได้ อีกทั้งศาลจะพิจารณาถึงหลักเกณฑ์
และ จำนวนเงินที่เสียไป

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2532

วินิ จฉัยว่า “ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีการหมั้น
หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรส ให้ฝ่ายนั้ นรับผิดใช้ค่าทดแทน
อย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้น ฉะนั้ นเมื่อโจทก์และจำเลยตกลงกัน
ว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอก
ขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้

โจทก์ก็ไม่มีสิ ทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

การที่โจทก์จะมีสิ ทธิเรียกค่าสิ นสอดทองหมั้นและค่าทดแทน
ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้ น ต้องเป็นกรณีที่มี

การหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของจำเลย
ตาม ป.พ.พ. ม. 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏ

ว่าโจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณี และจดทะเบียน
สมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ
ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้เพราะมิใช่

กรณี จำเลยผิดสั ญญาหมั้น

การเลิกสั ญญาหมั้นและค่าทดแทน

การหมั้นระหว่างชายและหญิงอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1.

คู่สั ญญาหมั้นทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสั ญญา
จะตกลงด้วยวาจาก็ได้ เมื่อเลิกสัญญาหมั้นกันแล้ว ฝ่ายหญิงต้อง
คืนของหมั้นและสินสอดให้แกฝ่ายชาย และคู่สัญญาจะเรียกค่า
ทดแทนอะไรจากกันไม่ได้

2. ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้น มาตรา 1441

ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1441 ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่ งตายก่อนสมรส
อีกฝ่ายหนึ่ งจะเรียกร้อง ค่าทดแทน
กรณีการตายนี้ มิใช่เป็นการผิด มิได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้ น
สัญญาหมั้น คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ ง ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิง หรือ
จะเรียกเอาค่าทดแทนจากกันไม่
ได้ แม้ความตายนั้ นจะเกิดจาก ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
ความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ ง เช่น
- หญิงเบื่อชายคู่หมั้น จึงฆ่าตัว
ตายเพื่อจะไม่ต้องสมรสกับชาย
คู่หมั้น หรือหญิงคู่หมั้นหรือบิดา
มารดาของหญิงคู่หมั้นจงใจฆ่า
ชายคู่หมั้นเพื่อที่จะไม่ต้องให้มี
การสมรสเกิดขึ้นก็ดี ในสอง
กรณีเช่นว่านี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้อง
คืนของหมั้นและสิ นสอดให้แก่
ฝ่ายชายเช่นเดียวกัน

3. การเลิกสัญญาหมั้นโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ งบอกเลิกสัญญาหมั้น
เนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น หรือชายคู่หมั้น

3.1 มาตรา 1442

ชายบอกเลิกสั ญญาหมั้นโดย ในกรณี มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่
มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิง
นั้ น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้
คู่หมั้น ตามมาตรา 1442
และให้หญิงคืนของ หมั้นแก่ชาย
ให้สิ ทธิชายที่จะบอกเลิก
สั ญญาหมั้นได้และหญิงคู่
หมั้นก็จะ ต้องคืน ของหมั้น
และสิ นสอดให้แก่ชายด้วย

มาตรา 1443 3.2

ในกรณี มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชาย หญิงบอกเลิกสั ญญาหมั้นโดยมี
คู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรส เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
กับชายนั้ น หญิงมีสิทธิบอกเลิก
สั ญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของ ตามมาตรา 1443
ให้สิ ทธิแก่หญิงคู่หมั้นที่จะ
หมั้นแก่ชาย
บอกเลิกสั ญญาหมั้นได้โดย
มิต้องคืน ของหมั้นและสินสอด
แก่ชาย

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่640/2494

โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี แต่
จำเลยที่ ไม่ยอมร่วมหลับนอนด้วย และแยกห้องนอน โจทก์
เข้าไปจับเอวจำเลยออกมาจากห้องที่จำเลยเคยนอน จำเลย
เอาแจกันตีศรีษะโจทก์แต่เลือดไหลเย็บถึง 7 เข็ม โจทก์รักษา
พยาบาลอยู่ 15 วันจึงหาย เมื่อโจทก์หายแล้วโจทก์ออกไป
จากบ้านจำเลย ฝ่ายจำเลยเชิญนายทะเบียนมาจดทะเบียนแต่

โจทก์ไม่ยอมจด เช่นนี้ การที่จำเลยเจตนาทำร้ายร่างกาย
โจทก์จนบาดเจ็บเช่นนี้ เป็นเหตุสำคัญพอที่โจทก์จะปฏิเสธ
การสมรสกับจำเลยได้จึงมีสิทธิเรียกเงินหมั้นคืนจาก ล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่234/2508



การที่ชายคู่หมั้นเลี้ยงหญิงโสเภณีไว้ในบ้านเป็นภริยา เป็นการ
กระทำอันเป็นปฎิปักษ์ต่อจิตใจหญิงคู่หมั้นอย่างร้ายแรง จึงเป็น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นจึงมีสิทธิบอกเลิก

สั ญญาหมั้นและมีสิ ทธิจะไม่ต้องคืนของหมั้น

ค่าทดแทนในการเลิกสั ญญาหมั้น
การเรียกค่าทดแทนจากบุคคลอื่นที่มาล่วงเกิน

หญิงคู่หมั้น หรือ ชายคู่หมั้น ทางประเวณี

1. ค่าทดแทนที่คู่หมั้นเรียกจากกันในกรณีบอกเลิกสัญญาหมั้น

เพราะ การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ตามมาตรา 1444

การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้ น จะต้องเกิดขึ้นภายหลังการหมั้นแล้ว

ปุจฉา มาตรา 1444

ผู้อื่นที่ร่วมล่วงเกินชาย ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิก
คู่หมั้นทางประเวณี จะอ้าง สัญญาหมั้นเป็นเพราะ การกระทำชั่วอย่าง
ความสุจริตได้หรือไม่ ?? ร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ งซึ่งได้
กระทำภายหลังการหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำ
วิสั จฉนา ชั่วอย่างร้ายแรงนั้ น ต้องรับผิดใช้ค่า
ทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิ ทธิบอกเลิกสั ญญา
หมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสั ญญาหมั้น

ไม่สามารถอ้างได้

2. ค่าทดแทนจาก ชายอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นทางประเวณี

ตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446

มาตรา 1445 2.1 การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
โดยหญิงคู่หมั้นยินยอม มีหลักดังนี้
ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียก
ค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณี - ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
กับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ - ชายอื่นนั้ นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชาย
คู่หมั้นแล้วและรู้ด้วยว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
ถึงการหมั้นนั้ น เมื่อได้บอกเลิก - ชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว
สัญญาหมั้นแล้วตามมาตรา 1442

หรือมาตรา 1443 แล้วแต่กรณี

2.2 การที่ ชายอื่นข่มขืนหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรา หญิงคู่หมั้น

มีหลักดังนี้

มาตรา 1446

- ชายอื่นจะต้องรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นแล้ว ชายหรือหญิงคู่หมั้น อาจเรียก
แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร ค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ข่มขืน
- ชายคู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิก
สั ญญาหมั้นก่อน กระทำชำเรา หรือ พยายาม ข่มขืน
กระทำชำเรา คู่หมั้นของตนโดยรู้
หรือ ควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้ นได้
โดยไม่จำต้องบอกเลิกสั ญญาหมั้น

อายุความ

การฟ้องคดีเรียกค่าทดแทนกรณี ผิดสั ญญาหมั้น

การเลิกสัญญาหมั้น เพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
การที่บุคคลอื่นมาล่วงเกินหญิงคู่หมั้น หรือ ชายคู่หมั้นทางประเวณี
และการเรียกของหมั้นคืนต้องฟ้องร้องภายในกำหนด 6 เดือน
นั บแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้นหรือวันรู้หรือควรรู้เหตุการกระทำ
มิฉะนั้ นคดีคาดอายุความ แต่การฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนจากฝ่าย
หญิงมีอายุความ 10 ปี

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 6305/2556

คืนของหมั้นบางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เวลาที่ล่วงไปก่อนหน้ านั้ น
ไม่นั บอายุความ เริ่มนั บใหม่นั บแต่วันที่นำของหมั้นบางส่วนนำมาคืน เมื่อส่วน
ที่เหลือยังมิได้คืนนั บถึงวันฟ้องเรียกคืนยังไม่เกิน 6 เดือนคดีจึงไม่ขาดอายุความ

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 4905/2543



โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537
แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยัง
มีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยัง
มีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้ นยังถือไม่ได้ว่าจำเลย
ผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงาน
พิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นั บแต่วัน
ดังกล่าว เมื่อนั บถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาด
อายุความ




สั ญญาว่าจ้างให้จัดหาคู่หมั้นหรือคู่สมรส

การที่ชายหรือหญิงประสงค์จะมีคู่หมั้นหรือคู่สมรสจึงทำสัญญาจ้างแม่สื่อ หรือ
บริษัทสื่อสมรสให้จัดหาคู่ให้หรือลงประกาศแจ้งความหาคู่ในนิ ตยสารที่เก็บค่า
ธรรมเนี ยมในสัญญาว่าจ้างนี้ ไม่ใช่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดี
ของประชาชน จึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

หากชายหรือหญิงมีคู่สมรสอยู่แล้วยังไปจ้างแม่สื่ อให้จัดหาหญิงหรือชายอื่นมา
เป็นคู่สมรสอีก สัญญานี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
จึงตกเป็นโมฆะ

การที่ชายหรือหญิงต้องการค้าประเวณี จึงว่าจ้างแม่สื่อให้ชักนำลูกค้ามาให้ตน
หรือชายหรือหญิงจ้างแม่สื่ อให้จัดหาบุคคลเพศเดียวกันกับตนให้มามีเพศสั มพันธ์
สัญญานี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมอัน
ดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้เช่นเดียวกัน

ฎีกาน่ าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 3972/2529

จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ทำสัญญากับโจทก์ซึ่งก็ทราบว่า
จำเลยมีภริยาอยู่แล้ว มีสาระสำคัญว่าโจทก์จำเลยยินยอมเป็นสามีภริยากัน
ตั้งแต่วันทำสัญญาโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ 1,000 บาท
สั ญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศี ลธรรมอันดี
ของประชาชนตกเป็นโมฆะ

จัดทำโดย

1. นางสาวณัฐนรี คงประดิษฐ์ 621081060

2. นางสาวทิตยา มีกว้าน 621081072

3. นางสาวนลินรัตน์ ขุนทอง 621081095

4. นางสาวนัฐกานต์ ชัยเพชร 621081096

5. นางสาวบัณฑิตา ปิติ 621081114

6. นางสาวศศิ วิมล เพชรนู 621081213

ก า ร ห มั้ น


Click to View FlipBook Version