ก คำนำ แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยในสถานศึกษา โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ปีการศึกษา 2567 จัดทำขึ้นเพื่อใหสถานศึกษาใชเป็นแนวทางทางในการปฏิบัติเมื่อเผชิญเหตุความไม่ปลอดภัย ตอนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีศูนย์ บริหารความสุขและความปลอดภัย มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไก ในการดูแล ความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากภัยคุกคามทุกรูปแบบเพื่อ คุ้มครองความปลอดภัย การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหา แก่นักเรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืน ในการนี้ โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ได้จัดให้มีแผนการเผชิญเหตุ (Incident Action Plan: IAP) เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีการ เตรียมความพร้อม สามารถปฏิบัติการเผชิญเหตุ เพื่อลดระดับความรุนแรง ระงับเหตุการณ์ความ ไม่ปลอดภัย รองรับและแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และหวังเปนอยางยิ่งวา แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยสถานศึกษา ปีการศึกษา 2567 เล่มนี้จะชวย อํานวยความสะดวกใหแกผูปฏิบัติงานในสถานศึกษา ไดเปนอยางดี ขอบคุณคณะทํางานทุกทานที่ได รวมกันจัดทําจนสําเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 31 พฤษภาคม 2567
ข สารบัญ หน้า คำนำ ………………………………………………………………………………………………………………..…... ก สารบัญ ………………………………………………………………………………………………………………..… ข สารบัญแผนภาพ …………………………………………………………………………………………………….. ค ข้อมูลพื้นฐาน .......................................................................................................................... 1 หลักการและแนวคิด ……………………………………………………………………………………………..… 3 มาตรการความปลอดภัย ………………………………………………..……………………………………..… 5 ขอบข่ายภัยสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………..… 6 แผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ……………………………………………………………..… 7 - ก่อนเกิดภัย แผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา ………………………………………………………..… 22 - ขณะเกิดภัย - หลังเกิดภัย บรรณานุกรม ………………………………………………………..…………………………………………...… 31 ภาคผนวก ............................................................................................................................. 33 คำสั่งโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ที่ 110/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ปีการศึกษา 2567 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ............................................................................................. 34
ค สารบัญแผนภาพ หน้า แผนภาพที่ 1 แผนที่โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา .....................................……….…..…... 2 แผนภาพที่ 2 แนวทางการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ……….…..…... 7 แผนภาพที่ 3 แนวทางดำเนินการเตรียมพร้อมการเผชิญเหตุ ………………..…………………... 22
1 ข้อมูลพื้นฐาน 1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่อโรงเรียน ดอนเมืองจาตุรจินดา ตั้งอยู่เลขที่ 154/34 บนเนื้อที่ 35 ไร่ หมู่ที่ 1 ถนน เชิดวุฒากาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10210 โทรศัพท์02-565-3725 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 6 1.3 ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป คุณกร จาตุรจินดา ได้บริจาคที่ดิน จำนวน 35 ไร่ พร้อมเงินสด 200,000 บาท เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ให้กรมสามัญศึกษา ตามหนังสือที่ ศธ. 1807237803 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2521 เพื่อสร้างโรงเรียน วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2522 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการประกาศให้จัดตั้งโรงเรียน “ดอนเมืองจาตุรจินดา” เป็นโรงเรียนสหศึกษา ในความดูแลของ นายเรือง ศรีขาว ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ๖ กรมสามัญศึกษา และแต่งตั้ง นายพนม วงศ์วิเศษ อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนอุดมศึกษาพัฒนาการ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารได้ไปปฏิบัติ หน้าที่ ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียน อาศัยอาคาร โรงเรียนตลาดใหม่ดอนเมือง เป็นที่เรียนชั่วคราว เพราะอาคารเรียนจริงยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อประกาศจัดตั้งครั้งแรกยังไม่มีอาคาร ได้ขอใช้อาคารโรงเรียนตลาดใหม่ดอนเมือง และโรงเรียน ดอนเมืองทหารอากาศบำรุงช่วยประกาศรับนักเรียน รุ่นแรกจำนวน 6 ห้องเรียน นักเรียน 268 คน มีครูรุ่นแรก 3 คน วันที่ 26 มกราคม พ.ศ 2523 มีการจัดตั้งชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ได้ตั้งมูลนิธิจาตุรจินดาขึ้น ปีการศึกษา 2524 มีอาคารเรียน 4 ชั้น เป็นอาคารหลังแรกมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ห้องเรียน และชั้นมัธยมปีที่ 3 จำนวน 6 ห้องเรียน วันที่ 14 ตุลาคม 2525 ได้ตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดาตามหนังสือ ของสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติที่ ต154/2525 โดยมีนายกสมาคมคนแรกคือ นาวาอากาศเอก เสน่ห์ สุนทรา
2 แผนที่ในบริเวณโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
3 2.ข้อมูลครูและบุคลากร บุคลากร ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่อื่นๆ รวม ปีการศึกษา 2567 4 62 18 84 4.ข้อมูลนักเรียน ชั้น จำนวนนักเรียน ชาย หญิง รวม มัธยมศึกษาปีที่ 1 52 67 119 มัธยมศึกษาปีที่ 2 74 56 130 มัธยมศึกษาปีที่ 3 60 60 120 มัธยมศึกษาปีที่ 4 140 122 262 มัธยมศึกษาปีที่ 5 133 127 260 มัธยมศึกษาปีที่ 6 115 170 285 รวมทั้งสิ้น 574 602 1,175 หลักการและแนวคิด ปัจจุบันสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา มีมากมายหลากหลาย สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดตั้งศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย สพฐ. (OBEC Happiness and Safety Center) และจำแนกขอบข่ายภัยสถานศึกษาไว้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) 3) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) 4) ภัยที่เกิดจาก ผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) ภัยเหล่านี้อาจเกิดความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ มีความ ซับซ้อน รุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ส่งผลกระทบต่อสภาพ ร่างกายและจิตใจในหลายปีที่ผ่านมาภัยจากการ คุกคามทางเพศ ภัยจากการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) รวมถึงภัย ที่เกิดจากโรคและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เป็น ต้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาที่อาจจะเกิดแก่นักเรียน ครู และ บุคลากรทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดนโยบาย 7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ข้อที่ 1 ความ ปลอดภัยของผู้เรียนให้หน่วยงานในสังกัดระทรวงศึกษาธิการนำไปปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยสถานศึกษาและได้บูรณา การความร่วมมือจาก 8 กระทรวงและอีก 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทยกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวง คมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนัก
4 นายกรัฐมนตรีได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความปลอดภัย ในสถานศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Center) ในการนี้ โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัดได้วางแผนการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นการศึกษาขั้น พื้นฐาน วิถีใหม่วิถีคุณภาพ มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาส ทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่า เทียม และบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัย ให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากภัยคุกคามทุกรูปแบบ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหาแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถแก้ไขปัญหาและ บริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการตามมาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และ ปราบปราม ให้เกิดความปลอดภัยให้มากที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่น ให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ เกิดความปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำแนวทางแผน เสริมสร้างและแผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา ให้กับสถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวปฏิบัติและปรับ ใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในการลดระดับความรุนแรงระงับเหตุการณ์ ความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้สถานศึกษาสร้างความปลอดภัย ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 2. เพื่อให้สถานศึกษาจัดทำและนำแผนเสริมสร้างและแผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อให้สถานศึกษาสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยสถานศึกษาให้กับ ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม เป้าหมาย 1. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 2. สถานศึกษามีระบบเสริมสร้างความปลอดภัยและแผนเผชิญเหตุตามมาตรการความปลอดภัยและ บริบทของสถานศึกษา
5 มาตรการความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนด มาตรการ 3 ป ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม เป็นมาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่น ให้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรทางการ ศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน ดังนี้ 1. การป้องกัน การป้องกัน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผนความปลอดภัย การจัดโครงสร้าง การบริหาร การวิเคราะห์ และการประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของสถานศึกษา ดังนี้ 1.1 การประเมินปัจจัยเสี่ยงความไม่ปลอดภัยสถานศึกษา 1.2 การกำหนดพื้นที่ความปลอดภัย 1.3 การจัดทำแผนความปลอดภัยสถานศึกษา 1.4 การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษา 1.5 การจัดโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา 1.6 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยสถานศึกษา 1.7 การสร้างการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย 1.8 การจัดระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยสถานศึกษา 1.9 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1.10 การประเมินนักเรียนรายบุคคล ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และความต้องการ 2. การปลูกฝัง การปลูกฝัง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างเจตคติที่ดีการมีจิตบริการ และเสริมสร้างทักษะ ความปลอดภัย ให้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความยั่งยืน 2.1 พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา 2.2 จัดกิจกรรมการสร้างเจตคติที่ดี การมีจิตบริการ และเสริมสร้างทักษะ ความปลอดภัยให้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. การปราบปราม การปราบปราม หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับการเผชิญเหตุ การเข้าถึงสถานการณ์ การแก้ไข ปัญหาความไม่ปลอดภัย และการดำเนินการกับบุคคลที่ละเมิด หรือประพฤติไม่เหมาะสม ด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมถึงการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู ดังนี้ 3.1 การจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา 3.2 การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู จิตใจบุคคลผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัย 3.3 ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว
6 ขอบข่ายภัยสถานศึกษา พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวด 7 มาตรา 63 ระบุว่า โรงเรียนและสถานศึกษาต้อง จัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนว ให้คำปรึกษา และฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัย แก่นักเรียน นักศึกษา ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ได้กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น สถานศึกษาควรมีแนวทาง ระบบ และการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) ได้จำแนกขอบข่ายภัยสถานศึกษาเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) 3) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) และ 4) ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) ดังนี้ 1. ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 1.1 การล่วงละเมิดทางเพศ 1.2 การทะเลาะวิวาท 1.3 การกลั่นแกล้งรังแก 1.4 การชุมนุมประท้วงและการจลาจล 1.5 การก่อวินาศกรรม 1.6 การระเบิด 1.7 สารเคมีและวัตถุอันตรายทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ 1.8 การล่อลวง ลักพาตัว 2. ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) 2.1 ภัยธรรมชาติ(แผ่นดินไหว น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ฯลฯ) 2.2 ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง 2.3 ภัยจากยานพาหนะ 2.4 ภัยจากการจัดกิจกรรม 2.5 ภัยจากเครื่องมือ อุปกรณ์ 3. ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) 3.1 การถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง 3.2 การคุกคามทางเพศ 3.3 การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม 4. ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) 4.1 โรคทางจิตเวช 4.2 การติดเกม 4.3 สารเสพติด 4.4 บุหรี่ไฟฟ้า 4.5 ภัยไซเบอร์ 4.6 การพนัน / การเล่นพนันอออนไลน์ 4.7 มลภาวะเป็นพิษ 4.8 โรคระบาดในสัตว์ 4.9 ภาวะทุพโภชนาการ
7 แผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ตามมาตรการความปลอดภัยและบริบท ของสถานศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการความปลอดภัยสถานศึกษา สร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา มีแนวทางการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัย สถานศึกษา 5 ขั้นตอน ดังนี้ แผนภาพที่1 แนวทางการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ภัยที่เกิดจากการใช้ ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากการอุบัติเหตุ ภัยที่เกิดจาก การถูกละเมิดสิทธิ์ ภัยที่เกิดจากผลกระทบทาง สุขภาวะทางกายและจิตใจ แต่งตั้งคณะกรรมการ ความปลอดภัยของสถานศึกษา การประเมินปัจจัยเสี่ยง ความไม่ปลอดภัยสถานศึกษา การจัดทำแผนเสริมสร้าง ความปลอดภัยของสถานศึกษา กำกับ ติดตาม และประเมินผล การป้องกัน การปลูกฝัง การ ปราบปราม แนวทางการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา มาตรการของสถานศึกษาปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุในสถานศึกษา มี 3 ขั้นตอน - ก่อนเกิดภัย - ขณะเกิดภัย - หลังเกิดภัย
8 ก่อนเกิดภัย 1. แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ดูแล แก้ไขปัญหาให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัดส่วนของ คณะกรรมการ ให้เป็นไปตามบริบทที่เหมาะสมของสถานศึกษานั้น ๆ ประกอบด้วย 1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา 1.2 เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ปกครอง 1.3 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.4 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับการมอบหมาย 1.5 คณะทำงานระดับสถานศึกษา (ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาครูแนะแนวครูฝ่ายปกครอง สภานักเรียน) 2. การประเมินปัจจัยเสี่ยงความไม่ปลอดภัยสถานศึกษา สถานศึกษาวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นที่จะส่งผลกระทบกับความไม่ปลอดภัยต่อ ผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา และจัดลำดับความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการ ความปลอดภัยสถานศึกษา 3. การจัดทำแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนเสริมสร้างปลอดภัยสถานศึกษา ตามมาตรการความปลอดภัย และ บริบทของสถานศึกษา ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงของสถานศึกษา จาก มาตรการ 3 ป ซึ่งประกอบด้วย การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม และให้ครอบคลุมภัย 4 กลุ่ม คือ ภัยที่ เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิด สิทธิ์ (Right) และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) 3.1 มาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา ตามหลัก 3 ป ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการ ปลูกฝังมาตรการปราบปราม ซึ่งมีรายละเอียดแนวทางปฏิบัติดังนี้ 3.1.1 การป้องกัน 3.1.1.1 กำหนดพื้นที่ความปลอดภัย 1) ประชุม ชี้แจง วางแผน การดำเนินงานด้านความปลอดภัยสถานศึกษา ร่วมกับบุคลากร ภาคีเครือข่าย และหน่วยงาน องค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) กำหนดพื้นที่ควบคุมความปลอดภัย รวมถึงป้ายสัญลักษณ์ และอุปกรณ์ ควบคุมความปลอดภัยส่วนบุคคล 3) จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงความเสี่ยงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 4) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความปลอดภัยสถานศึกษา 3.1.1.2 จัดทำแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา 1) แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมจากภาคี เครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) เสนอแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาต่อคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบงาน 4) กำหนดนโยบายความปลอดภัยสถานศึกษา
9 5) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์นโยบาย และแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา 3.1.1.3 การจัดสภาพสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในสถานศึกษา 1) จัดสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพภูมิทัศน์ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องน้ำ ห้องพิเศษ และห้องอื่น ๆ ให้มีความปลอดภัย 2) จัดทำแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาที่หลากหลาย 3.1.1.4 การจัดโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา 1) สำรวจและประเมินสภาพความเสี่ยงด้านความไม่ปลอดภัยสถานศึกษา 2) สถานศึกษาจัดทำโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา 3) กำหนดบทบาทหน้าที่ ภาระงานของคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา 4) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา 5) ประสานความร่วมมือของคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษาภาคีเครือข่าย และหน่วยงานต้นสังกัด 3.1.1.5 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยสถานศึกษา 1) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยสถานศึกษา 2) จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ 3) เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน 4) วิเคราะห์ข้อมูล จัดระบบหมวดหมู่สารสนเทศ 5) จัดทำรายงานระบบข้อมูลสารสนเทศ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ 3.1.1.6 การสร้างการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา และภาคีเครือข่าย 1) ประสานความร่วมมือในการสร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในพื้นที่และ ภาคส่วนต่าง ๆ 2) มีการประชุมวางแผนเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาร่วมกัน 3) มีกิจกรรมการดำเนินงานในการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา 4) มีการประเมินผลร่วมกัน 5) มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือมีการยกย่องชมเชยภาคีเครือข่าย 3.1.1.7 การจัดระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยสถานศึกษา 1) แต่งตั้งคณะทำงานด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์องค์กร 2) กำหนดรูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ช่องทาง ดังนี้ (1) On Ground ได้แก่ การจัดป้าย นิทรรศการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์การ จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ (2) On Line ได้แก่ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น Facebook, Line เป็นต้น (3) On Air ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเสียงตามสายในสถานศึกษาและชุมชน 3) ปรับรูปแบบระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของสถานศึกษา 3.1.1.8 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1) แต่งตั้งคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) คัดกรองนักเรียนแยกเป็น 3 กลุ่ม ได้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา
10 3) เก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม เช่น การเยี่ยม บ้านการสอบถาม การสัมภาษณ์ เป็นต้น 4) จัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ (1) กลุ่มปกติ จัดกิจกรรมส่งเสริม ความสามารถตามปกติ (2) กลุ่มเสี่ยง จัดกิจกรรมป้องกันปัญหา (3) กลุ่มมีปัญหา จัดกิจกรรมแก้ปัญหา และระบบส่งต่อ 5) สรุป รายงานผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3.1.1.9 การประเมินนักเรียน รายบุคคล ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและความต้องการ 1) มอบหมายให้ครูประจำชั้นครูที่ปรึกษามีหน้าที่ในการประเมินนักเรียนรายบุคคล 2) จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินนักเรียนรายบุคคลที่ครอบคลุมทุกด้าน 3) ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา ดำเนินการประเมินนักเรียนรายบุคคล 4) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ รายงานผลการประเมินนักเรียนรายบุคคล 3.1.2 การปลูกฝัง 3.1.2.1 การสร้างจิตสำนึก ความตระหนักการรับรู้ และความเข้าใจด้านความไม่ปลอดภัย ให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม 1) สำรวจข้อมูลด้านความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา 2) จัดลำดับความรุนแรงเร่งด่วนของความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา 3) ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยเพิ่มเนื้อหาด้านความไม่ปลอดภัย สถานศึกษาที่สอดคล้องกับความรุนแรง เร่งด่วน 4) จัดทำคู่มือ/แนวทางว่าด้วย ความปลอดภัยสถานศึกษา 5) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความไม่ปลอดภัยสถานศึกษาให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 6) จัดทำศูนย์บริการสื่อด้านความไม่ปลอดภัยสถานศึกษา เพื่อการศึกษา ค้นคว้า 3.1.2.2 พัฒนาองค์ความรู้โดยการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย ให้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง 1) ประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อชี้แจงแนวทางเกี่ยวกับความไม่ ปลอดภัยในสถานศึกษา 2) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยบูรณาการเนื้อหาความไม่ปลอดภัยสถานศึกษาใน รายวิชาต่าง ๆ 3) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและชุมชน 4) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องความไม่ปลอดภัยสถานศึกษาผ่าน กิจกรรม Classroom meeting ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง 3.1.2.3 การจัดกิจกรรมสร้างเจตคติที่ดี การมีจิตบริการ ทักษะ ประสบการณ์และ สมรรถนะด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 1) จัดเวทีประชาธิปไตยในสถานศึกษา ให้นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และข้อเสนอแนะต่าง ๆ 2) จัดกิจกรรมเสริมทักษะประสบการณ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับ การดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) จัดกิจกรรมสอดแทรกด้านความปลอดภัยสถานศึกษาในกิจกรรมวันสำคัญ
11 4) สรรหาต้นแบบผู้จัดกิจกรรม และการจัดกิจกรรมเสริมทักษะที่เป็นเลิศ 3.1.3 การปราบปราม 3.1.3.1 การจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา 1) กำหนดแนวทางปฏิบัติการจัดการ หรือการระงับเหตุ การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ ในสถานศึกษา และสร้างการรับรู้ร่วมกันทุกภาคส่วน 2) จัดตั้งคณะทำงานเคลื่อนที่เร็ว (Roving Team) ที่สามารถเข้าระงับเหตุ ได้อย่างทันเหตุการณ์ 3) เตรียมบุคลากร และเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่พร้อมรับสถานการณ์ 4) ติดตั้งระบบเตือนภัย เช่น กล้อง วงจรปิด สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เป็นต้น 5) ซ้อมระงับเหตุอย่างต่อเนื่อง เช่น การดับเพลิง การซ้อมหนีไฟ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 6) ประสานงานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ 7) ส่งต่อผู้ประสบเหตุ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 8) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน 3.1.3.2 การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู จิตใจบุคคลผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัย 1) จัดทำข้อมูลบุคคลและหน่วยงาน ในพื้นที่ตั้งของสถานศึกษา ที่สามารถติดต่อ ประสานงานและให้การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู จิตใจได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 2) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟู และให้คำปรึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายต่าง ๆ 3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม 4) ประสานงานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กร เพื่อให้การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูและให้คำปรึกษา 5) จัดระบบประกันภัยรายบุคคล หรือรายกลุ่มที่สามารถให้การคุ้มครองสำหรับ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 6) สร้างขวัญกำลังใจ โดยการติดตาม เยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.1.3.3 ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นธรรมและรวดเร็ว 1) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการด้านกฎหมาย ให้ผู้ประสบเหตุได้รับความ คุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด 2) รายงานเหตุการณ์ต่อผู้บังคับบัญชา หน่วยงานต้นสังกัด 3) ดำเนินคดี จำแนกประเภทของเหตุที่เกิด ติดต่อประสานงานผู้ปกครอง เพื่อดำเนินการหรือดำเนินการแทนผู้ปกครอง ให้การคุ้มครองนักเรียนให้อยู่ในความปลอดภัย 3.2 ภัยสถานศึกษา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจาก อุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทาง กายและจิตใจ (Unhealthiness) โดยมีรายละเอียด แนวปฏิบัติดังนี้ 3.2.1 ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 3.2.1.1 การล่วงละเมิดทางเพศ 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง 2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
12 4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียน ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 6) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน 7) ฝึกทักษะการปฏิเสธและการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ 8) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ 9) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนสามารถช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ 10) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ 11) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม 3.2.1.2 การทะเลาะวิวาท 1) จัดทำระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตนในสถานศึกษา 2) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการปฏิบัติตนตามระเบียบ 3) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบสื่อสาร เพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 6) ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และผลกระทบที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม 8) จัดเวทีกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 3.2.1.3 การกลั่นแกล้งรังแก 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งกลุ่มผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ 2) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 4) จัดระบบการสื่อสาร เพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 5) ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งรังแก 6) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 7) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม 8) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุ ทั้งในสถานศึกษา และชุมชน 9) ดำเนินการตามระเบียบข้อตกลง โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก 10) ติดตาม เยี่ยมเยือน ให้กำลังใจผู้ถูกกระทำ และสร้างความเข้าใจกับผู้กระทำ 3.2.1.4 การชุมนุมประท้วงและการจลาจล 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนในสถานศึกษาและชุมชน
13 5) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย สิทธิและหน้าที่พลเมือง 6) สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงและการจลาจล 7) จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ 8) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 3.2.1.5 การก่อวินาศกรรม 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษา และชุมชน 4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียน ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย สิทธิและหน้าที่พลเมือง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการก่อวินาศกรรม 7) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม 8) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 3.2.1.6 การระเบิด 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) สำรวจข้อมูลแหล่งที่มาของวัตถุประกอบระเบิด 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน 5) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ระเบิด 6) จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม 7) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม 8) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 9) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 10) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 3.2.1.7 สารเคมีและวัตถุอันตรายทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ 1) จัดทำมาตรการและแนวปฏิบัติในการดำเนินการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีและ วัตถุอันตราย 2) จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานที่ให้มิดชิด
14 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งในสถานศึกษา และชุมชน 4) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจาการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย 5) จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในการดำเนินชีวิต 6) จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานที่จริงในพื้นที่ 7) ติดต่อประสานงานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา 8) ดำเนินการตามมาตรการและข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน 3.2.1.8 การล่อลวง ลักพาตัว 1) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 2) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน ผู้ใกล้ชิด และบุคคลภายนอก 3) จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาชุมชน 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 5) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน 6) ฝึกทักษะการปฏิเสธ การเอาตัวรอด และการขอความช่วยเหลือ ในสถานการณ์ต่าง ๆ 7) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ทันเหตุการณ์ 8) แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ 9) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา 3.2.2. ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) 3.2.2.1 ภัยธรรมชาติ (แผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินถล่ม ฯลฯ) 1) สำรวจข้อมูลความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ 2) จัดทำแผนป้องกันภัยทางธรรมชาติ 3) จัดตรียมวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันภัยธรรมชาติ 4) ซักซ้อมการเผชิญเหตุภัยธรรมชาติ 5) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ 6) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเผชิญปัญหาภัยธรรมชาติ 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ทันเหตุการณ์ 9) ติดต่อสื่อสารภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา 10) ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูจิตใจ 3.2.2.2 ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง 1) สำรวจสภาพของอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้าง 2) ติดป้ายสัญลักษณ์ในอาคาร หรือพื้นที่ที่ไม่แข็งแรงและมีความเสี่ยง 3) ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
15 4) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักการสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต 5) ฝึกทักษะการสังเกตและหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง 6) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาตัวรอด เมื่อประสบภัยจากอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้าง 7) สร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมและดำเนินการช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่มี ประสิทธิภาพ 8) ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ 3.2.2.3 ภัยจากยานพาหนะ 1) สำรวจข้อมูลยานพาหนะในสถานศึกษา 2) จัดระบบสัญจรในสถานศึกษาสำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ และการเดินเท้า 3) จัดทำแผนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากยานพาหนะ 4) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อการช่วยเหลือ 5) ส่งเสริมสนับสนุนการทำประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ 6) จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการใช้รถ ใช้ถนนและเครื่องหมายจราจร 7) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อประสบภัยจากยานพาหนะ 8) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจร 9) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ ได้ทันเหตุการณ์ 10) ติดต่อสื่อสารภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหา 11) ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูจิตใจ 3.2.2.4 ภัยจากการจัดกิจกรรม 1) แต่งตั้งคณะทำงานประเมินความเสี่ยงในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ 2) จัดแยกกิจกรรมตามระดับความเสี่ยง 3) เสนอแนะแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงในกิจกรรมต่าง ๆ 4) สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ปลอดภัย 5) ฝึกทักษะการเลือกปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง 6) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยจากการปฏิบัติ 7) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทัน เหตุการณ์ 8) ติดต่อสื่อสารภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา 9) ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.2.5 ภัยจากเครื่องมือ อุปกรณ์ 1) สำรวจข้อมูลเครื่องมือ อุปกรณ์จัดแยกส่วนที่ชำรุดและส่วนที่ใช้งานได้ 2) จัดทำคู่มือการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ปลอดภัย 3) ดำเนินการซ่อมแซม บำรุงรักษาและการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ให้เป็นระบบ 4) จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ หลักการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ปลอดภัย 5) ฝึกทักษะการใช้การบำรุงรักษา การจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ 6) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของเครื่องมือ อุปกรณ์ 7) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทัน เหตุการณ์
16 8) ประสานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือ 9) ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.3 ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) 3.2.3.1 การถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง 1) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 2) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน และผู้ใกล้ชิด 3) จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ใน สถานศึกษา และชุมชน 4) กิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 5) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน 6) ฝึกทักษะการปฏิเสธการเอาตัวรอด และการขอความช่วยเหลือ 7) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถ ให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ 8) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย 9) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา 10) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.3.2 การคุกคามทางเพศ 1) สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เป็นจุดเสี่ยง 2) เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 4) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียน ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง 6) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตรอบด้าน 7) ฝึกทักษะการปฏิเสธ การเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ 8) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ 9) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ 10) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย 11) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม 12) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.3.3 การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการความขาดแคลนของนักเรียนรายบุคคล 3) จัดทำแผนให้ความช่วยเหลือนักเรียนตามความขาดแคลน 4) สร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อประสานความช่วยเหลือ 5) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคม 6) บริการให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในความเสมอภาค เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
17 8) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ ได้ทันเหตุการณ์ 9) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา 10) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.4 ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) 3.2.4.1 โรคทางจิตเวช 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) ติดต่อประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อประเมินภาวะจิตใจ 3) จัดหลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษรายบุคคล 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) จัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน 7) จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม 8) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ย ประนีประนอม ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก 12) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.4.2 ติดเกม 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) สำรวจข้อมูลพื้นที่แหล่งให้บริการร้านเกม 3) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการติดเกม 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 8) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียน 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันและแก้ปัญหาทั้งในสถานศึกษาชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามระเบียบข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน 12) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.4.3 สารเสพติด 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล 3) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัย และผลกระทบของการติดสารเสพติด
18 7) จัดกิจกรรมต่อต้านสารเสพติดในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ 8) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 9) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองความสนใจของนักเรียนหลากหลาย 10) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันและแก้ปัญหาในสถานศึกษาและชุมชน 11) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 12) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 13) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.4.4 บุหรี่ไฟฟ้า 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลดูประวัติครอบครัว 3) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัยและผลกระทบของการติดบุหรี่ฟ้า 7) ให้ครูที่ปรึกษาตรวจเช็คสิ่งของที่นักเรียนพกมาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ 8) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 9) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองความสนใจของนักเรียนหลากหลาย 10) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันและแก้ปัญหาในสถานศึกษาและชุมชน 11) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 12) ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายโดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตาม มาตรการจากเบาไปหาหนัก 13) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.4.5 โรคอุบัติใหม่ 1) สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนรายบุคคลและบุคคลใกล้ชิด 2) จัดทำแผนการป้องกันโรคอุบัติใหม่ ตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด 3) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคอุบัติใหม่ 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ 7) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคอุบัติใหม่ 8) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันและแก้ปัญหาในสถานศึกษาชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด 12) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.4.6 ภัยไซเบอร์ 1) สำรวจข้อมูลการใช้งานระบบไซเบอร์ของนักเรียนรายบุคคล 2) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา
19 3) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 4) จัดระบบสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 5) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานระบบไซเบอร์โดยขาด วิจารณญาณ 6) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 7) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองความสนใจนักเรียนอย่างหลากหลาย 8) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันแก้ปัญหาในสถานศึกษาและชุมชน 9) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 10) ดำเนินการลงโทษตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ 11) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.4.7 การพนัน การเล่นพนันออนไลน์ 1) สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงดูประวัติครอบครัว 2) สำรวจพื้นที่ที่เป็นแหล่งการพนัน และเว็บไซด์พนันออนไลน์ 3) จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการพนัน 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 8) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองความสนใจของนักเรียนหลากหลาย 9) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันแก้ปัญหาสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการลงโทษตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ 12) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.4.8 มลภาวะเป็นพิษ 1) สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่เกิดมลภาวะเป็นพิษในสถานศึกษาและชุมชน 2) จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงพื้นที่มลภาวะเป็นพิษ 3) จัดทำแผนในการแก้ปัญหาและลดมลภาวะเป็นพิษร่วมกัน 4) กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน 5) สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากมลภาวะเป็นพิษ 6) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการลดมลภาวะเป็นพิษ 7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการลดมลพิษร่วมกับชุมชน 8) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดมลภาวะเป็นพิษ ทั้งในสถานศึกษา และชุมชน 9) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 10) ดำเนินการลงโทษตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ 11) สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 3.2.4.9 โรคระบาดในสัตว์ 1) สำรวจข้อมูลสัตว์เลี้ยงของนักเรียนรายคน 2) จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์
20 3) บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ 4) สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 5) จัดระบบการสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง 6) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ 7) จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์ 8) จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 9)แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาทางป้องกันแก้ปัญหาทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 10) ประสานภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา 11) ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด 12) ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ 3.2.4.10 ภาวะทุพโภชนาการ 1) การสำรวจและจัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่ม ที่มีภาวะทุพโภชนาการ 2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง 4) จัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบพัฒนาการและความก้าวหน้า ในการลดภาวะทุพโภชนาการ 5) จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอ 6) การดูแลอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ 7) จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่นักเรียน 8) จัดกิจกรรมออกกำลังกาย และวิธีการรักษาสุขภาพให้กับนักเรียน 9) การบูรณาการความรู้ด้านโภชนาการในการจัดการเรียนการสอน 10) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ 11) แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทัน เหตุการณ์ 12) แต่งตั้งคณะทำงานกองทุนอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ 13) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม 4. การดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาขณะเกิดภัย การดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาขณะเกิดภัย มีขั้นตอนดังนี้ 4.1 การประเมินสภาพความเสี่ยงดานความไม่ปลอดภัยและจัดลำดับความเสี่ยง 4.2 การดำเนินการความปลอดภัยตามมาตรการและขอบข่ายของสถานศึกษา 4.3 การดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ 4.4 การกำกับ ติดตาม และประเมินผล
21 5. การกำกับ ติดตาม และประเมินผล สถานศึกษาดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดย การมีสวนร่วมของภาคีเครือขาย ตามแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางปฏิบัติโดยยึดตัวชี้วัดในการดำเนินการทุก ประเด็น มีการจัดทำเครื่องมือกำกับ ติดตาม และประเมินผล ที่มีคุณภาพและครอบคลุม มีการจัดทำแผนการ กำกับ ติดตาม และประเมินผลกำหนดปฏิทินดำเนินการ เพื่อให้มีผลการดำเนินการประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยกยองเชิดชูเกียรติสรุปรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยดำเนินการ ดังนี้ 5.1 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 5.2 ศึกษาแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางการปฏิบัติและตัวชี้วัดการดำเนินงานความปลอดภัย สถานศึกษา 5.3 จัดทำแผนการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา 5.4 กำหนดปฏิทินในการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา 5.5 จัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัย สถานศึกษาที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดในการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา 5.6 ดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา 5.7 สรุปผลการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา ใหขอเสนอแนะประเด็นที่เป็นจุดเด่นจุด ควรพัฒนา พร้อมแนวทางในการพัฒนาในปการศึกษาต่อไป 5.8 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาในช่องทางที่ หลากหลาย
22 แผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา สถานศึกษามีการเตรียมพร้อมการเผชิญเหตุความเพื่อปลอดภัยสถานศึกษา มีการซักซ้อมอย่าง เคร่งครัด สม่ำเสมอ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เหตุความไม่ปลอดภัยสถานศึกษาต้องมีความพร้อมในการเผชิญเหตุ เพื่อลดระดับความรุนแรง ระงับเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหา มีแนวทางดำเนิน การ เตรียมพร้อมการเผชิญเหตุดังนี้ 1. สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุแล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 2. รายงานผู้บริหารสถานศึกษา 2.1 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.2 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือ 2.3 แจ้งผู้ปกครอง 3. ดำเนินการระงับเหตุความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหา 4. ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 5. จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการดำเนินงานและรายงานหน่วยงาน ต้นสังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี แผนภาพที่ 2 แนวทางดำเนินการเตรียมพร้อมการเผชิญเหตุ ขณะเกิดภัย แนวทางการดำเนินการเผชิญเหตุ ขณะเกิดภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย สถานศึกษาปฏิบัติการเผชิญเหตุ เพื่อลดระดับความรุนแรง ระงับ เหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหา ตามขอบข่ายภัยสถานศึกษา 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 1.1 การล่วงละเมิดทางเพศ 1.1.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 1.1.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งครูที่ปรึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ช่วยเหลือและแจ้งผู้ปกครอง 1.1.3 ดำเนินการระงับเหตุความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหา 1.1.4 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 1.1.5 กรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงต้องให้ได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ในเบื้องต้นโดยทันที
23 1.1.6 กรณีนักเรียนต้องได้รับการสงเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ส่งต่อไปรับบริการสงเคราะห์ ตามระเบียบกระทรวงว่าด้วยการสงเคราะห์นักเรียน 1.1.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงาน ต้นสังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.2 การทะเลาะวิวาท 1.2.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 1.2.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งครูที่ปรึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหยุดเหตุการณ์นั้น หาก เกินกำลังให้หาคนช่วยเหลือในการระงับเหตุแล้วแจ้งให้ ผู้บริหารสถานศึกษาทราบทันที 1.2.3 ครูที่ปรึกษา ครูผู้ประสบเหตุ พูดคุย ให้กำลังใจ สร้างความไว้วางใจแก่นักเรียนรอจนนักเรียน ผ่อนคลายลง ประสานเชิญผู้ปกครองมาพบนักเรียนที่สถานศึกษา เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่าของนักเรียน ด้วยตนเอง แล้วร่วมกัน แสวงหาแนวทางช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้กลับไปกระทำพฤติกรรมความรุนแรงขึ้นอีก 1.2.4 หากคู่กรณีอยู่ในสถานศึกษาเดียวกันให้หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันและเมื่อความขัดแย้ง ลดลงครูฝ่ายกิจการนักเรียนจึงจัดให้ทั้งสองฝ่ายได้พบ เพื่อปรับความเข้าใจ และสร้าง ความรักความสามัคคีกัน 1.2.5 หากคู่กรณีเป็นบุคคลภายนอกสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย บุคลากรที่ เหมาะสมเป็นผู้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา 1.2.6 จัดให้มีนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาสำหรับนักเรียนที่อยู่ระหว่างปรับพฤติกรรมช่วยเหลือ แนะนำและให้คำปรึกษา 1.2.7 กรณีเหตุการณ์รุนแรง ให้รายงานข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นอย่างเป็นทางการต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด ภายใน 24 ชั่วโมง 1.2.8 เมื่อนักเรียนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว หรือมอบตัว สถานศึกษาต้องออกหนังสือ รับรองการเป็นนักเรียนให้ 1.2.9 กรณีต้องการประกันตัวนักเรียน สามารถใช้ตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการในการ ประกันตัวได้ 1.2.10 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานไปยัง หน่วยงานต้นสังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.3 การกลั่นแกล้งรังแก 1.3.1 สถานศึกษาได้รับแจ้ง แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ คัดกรองระดับความรุนแรงของการถูกกลั่นแกล้งรังแก 1.3.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา มอบหมายครูที่ปรึกษา หรือผู้เกี่ยวข้องให้คำแนะนำปรึกษาใน การแก้ปัญหา 1.3.3 ติดตามดูแลการให้ความช่วยเหลือส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา 1.3.4 จัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงาน และรายงาน หน่วยงานต้นสังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.4 การชุมนุมประท้วงและการจลาจล 1.4.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหา สถานการณ์ เพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา 1.4.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา 1.4.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 1.4.4 ประสานภาคีเครือข่ายการมีสวนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา ดำเนินการไกลเกลี่ย
24 ประนีประนอมตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก 1.4.5 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 1.4.6 จัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.5 การก่อวินาศกรรม 1.5.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ เพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา 1.5.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 1.5.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 1.5.4 ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุน ข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 1.5.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.5.6 ประสานหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแลบรรเทาความ เดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.5.7 ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตามมาตรการจาก เบาไปหาหนัก 1.5.8 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 1.5.9 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.6 การระเบิด 1.6.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหา สถานการณ์เพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา 1.6.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 1.6.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 1.6.4 ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 1.6.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.6.6 ประสานหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแลบรรเทา ความเดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.6.7 ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตามมาตรการ จากเบาไปหาหนัก 1.6.8 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 1.6.9 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงาน หน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.7 สารเคมีและวัตถุอันตรายทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ 1.7.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ เพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา 1.7.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 1.7.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ.
25 1.7.4 ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุน ข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 1.7.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.7.6 ประสานหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแลบรรเทาความ เดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 1.7.7 ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมตามมาตรการ จากเบาไปหาหนัก 1.7.8 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 1.7.9 จัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 1.8 การล่อลวง ลักพาตัว 1.8.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุหรือประสบเหตุ แล้วสถานศึกษาตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และ ประเมินปัญหาสถานการณ์ 1.8.2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือ และแจ้ง ผู้ปกครอง 1.8.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 1.8.4 ดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนด้านร่างกาย จิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 1.8.5 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือนักเรียนคุ้มครอง ติดตาม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน 1.8.6 กรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงต้อง ให้ได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ในเบื้องต้นโดยทันที 1.8.7 กรณีนักเรียนต้องได้รับการสงเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ส่งต่อไปรับบริการสงเคราะห์ตาม ระเบียบกระทรวงว่าด้วยการสงเคราะห์นักเรียน 1.8.8 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 2. ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ 2.1 ภัยธรรมชาติ(แผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินถล่ม ฟ้าผ่าฯลฯ) 2.1.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ เพื่อแจ้งสัญญาณเตือนภัย 2.1.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินและประเมินสถานการณ์ 2.1.3 แจ้งเหตุ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.1.4 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายการมีสวนร่วมเพื่อร่วมแกปญหา 2.1.5 อพยพนักเรียนเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัย 2.1.6 คัดแยกปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.1.7 ส่งต่อ ติดตาม ช่วยเหลือ เยียวยา รายกรณี 2.1.8 สำรวจความเสียหาย 2.1.9 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี
26 2.2 ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง 2.2.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหา สถานการณ์ เพื่อแจ้งสัญญาณเตือนภัย 2.2.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุ 2.2.3 แจ้งเหตุ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.2.4 ประสานภาคีเครือข่ายการมีสวนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา 2.2.5 ให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คุ้มครอง ติดตาม 2.2.6 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 2.3 ภัยจากยานพาหนะ 2.3.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุหรือประสบเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและประเมินปัญหา สถานการณ์ 2.3.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา ศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแจ้งผู้ปกครอง 2.3.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.3.4 ประสานงานติดตามอาการของนักเรียน และติดตาม เรื่องการประกันภัย แจ้งทะเบียนรถ ประเภทรถที่ประสบอุบัติเหตุ เพื่อสถานพยาบาลจะได้ดำเนินการค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยผู้ปกครองนักเรียนไม่ต้องสำรองจ่าย 2.3.5 แจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อเจ้าพนักงานไว้เป็นหลักฐาน ในการเรียกร้องสินไหมทดแทน 2.3.6 กรณีที่นักเรียนทำประกันอุบัติเหตุกับบริษัทประกันภัย ให้ดำเนินการเรียกค่าเสียหาย และ ค่าสินไหมทดแทน หากมีปัญหา ให้ติดต่อประสานกับสำนักงานคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) 2.3.7 กรณีนักเรียนเสียชีวิตให้ติดต่อขอรับหนังสือรับรองการตาย (ทร. 4/1) จากสถานพยาบาลในพื้นที่ 2.3.8 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 2.4 ภัยจากการจัดกิจกรรม 2.4.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ เพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา 2.4.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา 2.4.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.4.4 ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 2.4.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบอุบัติเหตุ 2.4.6 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 2.4.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงาน ต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 2.5 ภัยจากเครื่องมือ อุปกรณ์ 2.5.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์เพื่อ ระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
27 2.5.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา 2.5.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 2.5.4 ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 2.5.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบเหตุ 2.5.6 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 2.5.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงาน ต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 3. ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) 3.1 การถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง 3.1.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 3.1.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งครูที่ปรึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือ และแจ้งผู้ปกครอง 3.1.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 3.1.4 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนข้อมูล และอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 3.1.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบเหตุ 3.1.6 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 3.1.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษาสรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 3.2 การคุกคามทางเพศ 3.2.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุหรือประสบเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหา สถานการณ์ 3.2.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งครูที่ปรึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือและ แจ้งผู้ปกครอง 3.2.3 แจ้งเหตุ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 3.2.4 บันทึกข้อมูลในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2.5 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 3.2.6 กรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงต้อง ให้ได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ในเบื้องต้นโดยทันที 3.2.7 กรณีนักเรียนต้องได้รับการสงเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ส่งต่อไปรับบริการสงเคราะห์ตามระเบียบ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการสงเคราะห์นักเรียน 3.2.8 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้นสังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 3.3 การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม 3.3.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 3.3.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งครูที่ปรึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือ และ แจ้งผู้ปกครอง 3.3.3 แจ้งเหตุในระบบ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 3.3.4 ตรวจสอบข้อเท็จจริง
28 3.3.5 ประสานความร่วมมือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหารายกรณี 3.3.6 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 3.3.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้นสังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4. ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) 4.1 โรคทางจิตเวช 4.1.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 4.1.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แล้วแจ้งผู้ปกครอง เพื่อนำนักเรียนเข้าสู่กระบวนการคัดกรองโดย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 4.1.3 ประสานความร่วมมือหน่วยงาน/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.1.4 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาเดือดร้อนของนักเรียน 4.1.5 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.2 การติดเกม 4.2.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 4.2.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งผู้ปกครอง 4.2.3 แจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 4.2.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงาน/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.2.5 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาเดือดร้อนของนักเรียน 4.2.6 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.3 บุหรี่ไฟฟ้า 4.3.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุหรือประสบเหตุแล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและประเมินปัญหา สถานการณ์ 4.3.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษาครูที่ปรึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือและ แจ้งผู้ปกครอง 4.3.3 ดำเนินการแก้ไขปัญหารายกรณีให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมตามมาตรการจากเบาไปหาหนักและช่วยเหลือนักเรียนด้านร่างกายจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 4.3.4 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือคุ้มครอง ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 4.3.5 กรณีนักเรียนที่มีความเสี่ยงต้องให้ได้รับการคุ้มครอง/การสงเคราะห์ในเบื้องต้นโดยทันที 4.3.6 กรณีนักเรียนต้องได้รับการสงเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ส่งต่อไปรับบริการสงเคราะห์ตาม ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยการสงเคราะห์นักเรียน 4.3.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัดและผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.4 โรคอุบัติใหม่ 4.4.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์เพื่อ ระงับเหตุทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา 4.4.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 4.4.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ.
29 4.4.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.4.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกิดโรค คัดกรองและแยกผู้เกิดโรค อุบัติใหม่เพื่อรักษา และกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด 4.4.6 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกิดโรค 4.4.7 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 4.4.8 จัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.5 ภัยไซเบอร์ 4.5.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 4.5.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งผู้ปกครอง 4.5.3 แจ้งเหตุในระบบ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 4.5.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.5.5 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน 4.5.6 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.6 การพนัน / การเล่นพนันออนไลน์ 4.6.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 4.6.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา แจ้งผู้ปกครอง 4.6.3 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.6.4 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน 4.6.5 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.7 มลภาวะเป็นพิษ 4.7.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์เพื่อ แจ้งเตือนนักเรียน 4.7.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 4.7.3 แจ้งเหตุในระบบ รายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 4.7.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.7.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัยคัดกรองและแยกผู้ ประสบเหตุเพื่อรักษา และกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกัน 4.7.6 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัย 4.7.7 ติดตาม ดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่นักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 4.7.8 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.8 โรคระบาดในสัตว์ 4.8.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์เพื่อ แจ้งเตือนนักเรียน
30 4.8.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา ประสานศูนย์ฉุกเฉิน โทร. 1669 4.8.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 4.8.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.8.5 ตรวจสอบจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกิดโรค คัดกรองและแยกผู้เกิดโรค ระบาดเพื่อรักษา และกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด 4.8.6 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกิดโรค 4.8.7 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 4.8.8 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี 4.9 ภาวะทุพโภชนาการ 4.9.1 สถานศึกษาได้รับแจ้งเหตุ แล้วตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และประเมินปัญหาสถานการณ์ 4.9.2 รายงานผู้บริหารสถานศึกษา 4.9.3 แจ้งเหตุรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สพฐ. 4.9.4 ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา 4.9.5 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล บรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนที่ เกิดภาวะทุพโภชนาการ 4.9.6 ดำเนินการช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 4.9.7 จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปผลการทำงานและรายงานหน่วยงานต้น สังกัด และผู้เกี่ยวข้องทราบตามกรณี หลังเกิดภัย เมื่อเผชิญเหตุและได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้แล้ว หลังเกิดภัยต้องมีการดำเนินการกำกับ ติดตามและ ประเมินผล สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะต้องดำเนินการ เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น รับทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน โดยให้มีการ ดำเนินการดังนี้ 1.การปฏิบัติตามแผนเสริมสร้างและแผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา 2.การรายงานข้อมูลสารเทศที่สำคัญต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 3. ติดต่อผู้ปกครองนักเรียนให้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และพานักเรียนกลับบ้าน 4. สำรวจความเสียหาย เช่น อาคารเรียน ห้องเรียน ทรัพย์สินทางราชการต่างๆ 5. ประสานขอรับการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่างๆ 6. ทบทวน ประเมินสถานการณ์ ปรับปรุงการปฏิบัติการตามแผน 7. ฟื้นฟูความเสียหายที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน
31 บรรณานุกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2556). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555. (9 มกราคม 2556) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนที่2 ก. _______. (2556) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2546. (29พฤศจิกายน 2556) ราชกิจจานุเบกษา, 130 (113 ก), 9-19. _______. (2556). คู่มือโครงการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด. _______ (2556). พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (17 มกราคม 2554) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 128 ตอนที่4 ก. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2563). การปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19. นนทบุรี: โรงพิมพ์บริษัท คิวแอคเวอร์ไทซิ่งจำกัด. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก. สืบค้นเมื่อวันที่19 สิงหาคม 2565จากhttps://sites.google.com/site/songsermeducation2/prakas1/ matrthanrongreiynkhumkhrxngdeklaeabaebprameintnxeng _______. มาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก.สืบค้นเมื่อวันที่19 สิงหาคม 2565 จากhttps://www.thaichildrights.org/wp-content/uploads/dlm_uploads/2018/03/Safe -School-standard.pdf สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับพัฒนา พ.ศ. 2563).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. _______. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. _______. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. _______. (2565). แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา2565 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID19). กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
32 บรรณานุกรม (ต่อ) สำนักงานควบคุมภยันตรายเขตเมกุโระ. (2550). คู่มือการรับมือแผ่นดินไหว. สืบค้นเมื่อวันที่19 สิงหาคม 2565 จากhttps://site.thaiembassy.jp/th/damrongdhama/announcement-for-thai/4360/ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติสำนักมาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2562.สืบค้นเมื่อวันที่19 สิงหาคม 2565 จากhttp://www.ssko.moph.go.th /news2/details.php?id=4079
33 ภาคผนวก
34 คำสั่งโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ที่ 110/256๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนเผชิญเหตุ ประจำปีการศึกษา 2567 ......................................................................... ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายมุ่งเน้นการสร้างความปลอดภัย ในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบ และกลไกดูแลความปลอดภัยให้แก่ นักเรียน คณะครูและบุคลากร ทางการศึกษา เพื่อให้การบริหารจัดการโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ดำเนินงานด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการศึกษา จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และมาตรา 27(1) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินงานตามแผนเผชิญเหตุ ประจำปีการศึกษา 2567 1. ที่ปรึกษา 1.1 นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 1.2 นายสมจิต์ น้อยไม้ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 1.3 นาวาอากาศเอกหญิง อาทิมา บุญวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) 1.4 พันตำรวจเอก สุกฤต มังคละสวัสดิ์ ผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง 1.5 นายสาโรจน์ พลฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตดอนเมือง มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงาน 2. คณะกรรมการอำนวยการ 2.๑ นางสาวพรรณสินี เหมาะดีหวัง ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ 2.๒ นายนวพล รัตนรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน รองประธานกรรมการ 2.๓ ว่าที่ร้อยตรีสุธีระ เดชคำภู รองผู้อำนวยการโรงเรียน รองประธานกรรมการ 2.๔ นางสาวณัฏฐณิชา รัตนประทุม รองผู้อำนวยการโรงเรียน รองประธานกรรมการ 2.5 นางสาวสิริเนตร ไสยะหุต ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ กรรมการ 2.6 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล กรรมการ 2.7 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป กรรมการและเลขานุการ 2.8 นายจิรวัฒน์ พิมโยยง หัวหน้างานป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 2.8 นายณัฐวุฒิ คำป้อ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
35 มีหน้าที่ 1. อำนวยการเหตุต่างๆ ให้ปลอดภัย 2. ให้คำปรึกษา ประชุมวางแผน ชี้แจง กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา 3. ติดตามการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี 4. อำนวยความสะดวกให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการรักษา ความปลอดภัยในสถานศึกษา ตลอดจนหาทางป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น 3. คณะกรรมการดำเนินงาน 3.1. คณะกรรมการดำเนินการก่อนเกิดภัย 3.1.1 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ประธานกรรมการ 3.1.2 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รองประธานกรรมการ 3.1.3 นายสหพล อุดม หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กรรมการ 3.1.4 นายธิติพงษ์ สีสุมัง หัวหน้างานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม กรรมการ 3.1.5 นางสาวสุพิชชา ตระกูลสว่าง หัวหน้างานบุคลากร กรรมการ 3.1.6 นายณัฐวุฒิ คำป้อ หัวหน้างานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมฯ กรรมการ 3.1.7 นางสาวภาชินี นิลไชยพัฒน์ หัวหน้างานแนะแนว กรรมการ 3.1.8 นางธนพร บุญประสิทธิ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรรมการ 3.1.9 นายธีรภัทร ห้องโสภา หัวหน้างานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน กรรมการ 3.1.10 นางสาวทัชชกร มอญภาษา เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ กรรมการ 3.1.11 นางวรรณวิสา ชำนาญธรรม เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและสถิติบุคลากร กรรมการ 3.1.12 นางสาวอัญชลี รอดรั้ง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมกิจการนักเรียน กรรมการ 3.1.13 นางกนกพร เพ็ชรดำ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการ 3.1.14 นายอัฐพล ศุภโกวิทย์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาความประพฤติฯ กรรมการ 3.1.15 นายจิรวัฒน์ พิมโยยง หัวหน้างานป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน กรรมการและเลขานุการ 3.1.16 นายนราธิป สมสวย หัวหน้างานจัดระบบสาธารณูปโภค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. สำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงภัยและจุดปลอดภัยต่างๆ ในสถานศึกษา และพื้นที่ในชุมชน 2. กำหนดช่องทาง เตรียมอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น วิทยุสื่อสาร 3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้มีความพร้อมอยู่เสมอ เช่น ถังดับเพลิง ยา/เวชภัณฑ์ 4. กำหนดและจัดทำแผนเผชิญเหตุผังเส้นทางการอพยพ 5. จัดการความรู้และพัฒนาบุคลากร เช่น การทำ CPR 6. จัดทำระบบแจ้งเตือนภัยในสถานศึกษาตามลักษณะภัยต่าง ๆ 7. เฝ้าระวังเหตุทั้งในและนอกสถานศึกษาร่วมกับเครือข่าย 8. ฝึกซ้อมแผนแบบแห้ง(สมมติ) เดือนละครั้ง 9. ฝึกซ้อมแผนเต็มรูปอย่างน้อย เทอมละ 1 ครั้ง 10. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 3.2 คณะกรรมการดำเนินการขณะเกิดภัย 3.2.1 ผู้อำนวยการเหตุการณ์ 3.2.1.1 นางสาวพรรณสินี เหมาะดีหวัง ผู้อำนวยการโรงเรียน ลำดับที่ 1 3.2.1.๒ นายนวพล รัตนรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ลำดับที่ 2 3.2.1.3 ว่าที่ร้อยตรีสุธีระ เดชคำภู รองผู้อำนวยการโรงเรียน ลำดับที่ 3 3.2.1.4 นางสาวณัฏฐณิชา รัตนประทุม รองผู้อำนวยการโรงเรียน ลำดับที่ 4
36 3.2.1.5 นางสาวสิริเนตร ไสยะหุต ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลำดับที่ 5 3.2.1.6 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ลำดับที่ 6 3.2.1.7 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ลำดับที่ 7 มีหน้าที่อำนวยความสะดวก สั่งการ บริหารจัดการ ให้เหตุการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยปลอดภัยทุกฝ่าย 3.2.2 ผู้ประสานงานภายใน 3.2.2.1 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ประธานกรรมการ 3.2.2.2 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รองประธานกรรมการ 3.2.2.3 นายอัฐพล ศุภโกวิทย์ หัวหน้าระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรรมการ 3.2.2.4 นางสาวอัญชลี รอดรั้ง หัวหน้าระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรรมการ 3.2.2.5 นายธิติพงษ์ สีสุมัง หัวหน้าระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรรมการ 3.2.2.6 นายธีรภัทร ห้องโสภา หัวหน้าระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรรมการ 3.2.2.7 นายณัฐวุฒิ คำป้อ หัวหน้าระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กรรมการ 3.2.2.8 นางธนพร บุญประสิทธิ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรรมการ 3.2.2.9 นางสาวสาลินี ศรีพรหม หัวหน้างานสุขาภิบาลและโภชนาการ กรรมการ 3.2.2.10 นางสาวภาชินี นิลไชยพัฒน์หัวหน้างานแนะแนว กรรมการ 3.2.2.11 นางวรรณวิสา ชำนาญธรรม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรรมการ 3.2.2.12 ครูที่ปรึกษาทุกคน กรรมการ 3.2.2.13 นายจิรวัฒน์ พิมโยยง หัวหน้างานป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน กรรมการและเลขานุการ 3.2.2.14 นายนราธิป สมสวย หัวหน้างานจัดระบบสาธารณูปโภค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ เช่น การอพยพครูนักเรียนและเจ้าหน้าที่แจ้งผู้เกี่ยวข้องและผู้ปกครอง 2. จัดกิจกรรมการซักซ้อมสมมติสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. สำรวจครูนักเรียน และเจ้าหน้าที่ 4. ปฐมพยาบาล และนำผู้ได้รับบาดเจ็บต่างๆ ส่งโรงพยาบาล 5. ดูแลความปลอดภัย และทรัพย์สินของสถานศึกษา 3.2.3 ผู้ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก 3.2.3.1 นายสุรัตน์ชัย อมฤทธิ์ หัวหน้างานสัมพันธ์ชุมชน ประธานกรรมการ 3.2.3.2 นายสหพล อุดม หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ รองประธานกรรมการ 3.2.3.3 ส.ต.อ.ปรเมศวร์ วงศ์ประทุม ผบ.หมู่(จร) สน.ดอนเมือง กรรมการ/ที่ปรึกษา 3.2.3.4 นางสาวบุษราภรณ์ ทิวทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 กรรมการ/ที่ปรึกษา 3.2.3.5 ส.อ.ปราศรัย วันตา ผู้ประสานงานหน่วยกู้ภัยเขตดอนเมือง กรรมการ/ที่ปรึกษา 3.2.3.6 ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา กรรมการ 3.2.3.7 นางสาวทัชชกร มอญภาษา เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ กรรมการและเลขานุการ 3.2.3.8 นายณัฐวุฒิ คำป้อ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที 2. ติดตามรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ 3. จัดทำประกาศประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบ 4. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาสำนักงานเขตพื้นที่ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ เช่น มูลนิธิอบต. เทศบาล อบจ. ตำรวจ 6. จัดทำสารสนเทศช่องทางการสื่อสารหลักและรอง
37 7. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 3.3 คณะกรรมการดำเนินการหลังเกิดภัย 3.4.1 นางสาวณัฏฐณิชา รัตนประทุม รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ประธานกรรมการ 3.4.2 นายนวพล รัตนรัตน์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รองประธานกรรมการ 3.4.3 ว่าที่ร้อยตรีสุธีระ เดชคำภู รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป รองประธานกรรมการ 3.4.4 นางสาวสิริเนตร ไสยะหุต ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ กรรมการ 3.4.5 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง หัวหน้างานอาคารสถานที่ กรรมการ 3.4.6 นางสาววชิราภรณ์ แพทย์จะเกร็ง หัวหน้างานพัสดุและสินทรัพย์ กรรมการ 3.4.7 นางสาวธิดารัตน์ พลดงนอก หัวหน้างานบริหารการเงิน กรรมการ 3.4.8 นางดวงชีวัน บุญเกิด หัวหน้างานนโยบายและงานแผน กรรมการ 3.4.9 นางสาววนิดา แสนแก้ว หัวหน้างานระดมทรัพยากรฯ กรรมการ 3.4.10 นางกนกพร เพ็ชรดำ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการ 3.4.11 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล กรรมการและเลขานุการ 3.4.12 นายณัฐวุฒิ คำป้อ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 3.4.13 นายจิรวัฒน์ พิมโยยง หัวหน้างานป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. สำรวจทรัพย์สินและระดมทรัพยากรเพื่อฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. ติดต่อผู้ปกครองนักเรียนมารับทราบ และนำนักเรียนกลับบ้าน 3. สำรวจความเสียหาย เช่น อาคารเรียน ห้องเรียน ทรัพย์สินต่างๆ 4. ทบทวน/ปรับปรุงการปฏิบัติตามแผน (AAR) 5. ฟื้นฟูความเสียหายโดยด่วน 4. คณะกรรมการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน 4.1 ว่าที่ร้อยตรีสุธีระ เดชคำภู รองผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ 4.2 นายธีระยุทธ โพธิ์กระสัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป รองประธานกรรมการ 4.3 นางสาวธมนรัชต์ ลิมาภิรักษ์ หัวหน้างานสารบรรณกลุ่มบริหารทั่วไป กรรมการ 4.4 นางสาวกาญจนา จันทร์ชมภู เจ้าหน้าที่งานพัสดุและสินทรัพย์ กรรมการ 4.5 นายสหพล อุดม หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กรรมการ 4.6 นางสาวอรทัย วัฒนจินดา หัวหน้าแผนงานกลุ่มบริหารทั่วไป กรรมการ 4.7 นายเดวิด ด้วงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล กรรมการและเลขานุการ 4.8 นายณัฐวุฒิ คำป้อ เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4.7 นางสาวณาตยา มงคลเมฆ เจ้าหน้าที่ธุรการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4.8 นายจิรวัฒน์ พิมโยยง หัวหน้างานป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4.9 นายนราธิป สมสวย หัวหน้างานจัดระบบสาธารณูปโภค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ 1. สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน 2. ทบทวน ปรับปรุงการปฏิบัติตามแผน 3. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือขึ้นไป 4. วางแผนเตรียมซักซ้อมการเผชิญเหตุต่างๆ 5. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
38 ขอให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความวิริยะ อุตสาหะเพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อ ผู้เรียน และส่วนร่วมเป็นสำคัญ ตามเจตนารมณ์ของทางราชการ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2567 สั่ง ณ วันที่ 31 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2567 (นางสาวพรรณสินี เหมาะดีหวัง) ผู้อำนวยการโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
39 ล ำดับที่ ชื่อ - สกุล ต ำแหน่ง เบอร์โทรติดต่อ 1 นาวาอากาศเอกหญิง อาทิมา บุญวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) 0 2029 1688 2 นางสาวบุษราภรณ์ ทิวทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร 0 2565 5257 ต่อ 204 3 พันตำรวจเอก สุกฤต มังคละสวัสดิ์ ผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง 0 2566 2916 4 ส.ต.อ.ปรเมศวร์ วงศ์ประทุม ผบ.หมู่(จร) สน.ดอนเมือง 062 462 8154 5 ส.อ.ปราศรัย วันตา ผู้ประสานงานหน่วยกู้ภัยเขตดอนเมือง 083 441 4663 เบอร์โทรติดต่อประสำนงำนกับหน่วยงำนภำยนอก
มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ******************* 1. นโยบายและการวางแผนการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา นักเรียน คือ หัวใจของการจัดการศึกษา โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา มีความตระหนักในความสำคัญและเล็งเห็น ความจำเป็นเร่งด่วนที่สถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นไปตามหลักสูตรมีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลาง สภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุและอุบัติภัย ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ดังนั้นโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ซึ่งมีภารกิจและความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ความปลอดภัยของนักเรียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพราะนอกจากจะทำให้ นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขแล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ 1) เป้าประสงค์ (1) เพื่อให้มีรูปแบบแนวทางการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาด้านอุบัติเหตุ ด้านอุบัติภัย และด้านปัญหา ทางสังคม โดยอาศัยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ภายใต้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และยึดประโยชน์สูงสุดของ นักเรียนเป็นสำคัญ (2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งระบบการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาให้มีความพร้อม สามารถป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของนักเรียน ทั้งด้านอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปัญหาทางสังคมที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการปกป้อง และคุ้มครองความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ โดยนักเรียน จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข (4) เพื่อสร้างความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่ รับผิดชอบ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด 2) เป้าหมาย (1) นักเรียนทุกคนในโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ได้รับการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย (2) ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนมีแนวทางในการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยนักเรียน (3) เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักเรียน 3) ยุทธศาสตร์ (1) จัดระบบการรักษาความปลอดภัยของนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของ ครู ผู้ปกครอง และเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ (2) กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของนักเรียน (3) มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน
2. การวางแผนรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา แนวทางการวางแผนการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยร่วมกันวางแผนป้องกัน แก้ไข ควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน จึงจำเป็นต้องมี มาตรการและกิจกรรมเพื่อให้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พร้อมทั้งนโยบาย ของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ขั้นตอน ภารกิจ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียน ชุมชน ความเข้มแข็งของเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยและภัยจาก สภาพแวดล้อม 2. กำหนดมาตรการหลัก กำหนดมาตรการหลักเพื่อป้องกัน และ/หรือ แก้ไข 3. กำหนดมาตรการเสริม กำหนดมาตรการเสริมให้เหมาะสมกับความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี ของท้องถิ่นและสภาพความเสี่ยงของท้องถิ่น 4. กำหนดกิจกรรม กำหนดกิจกรรมสนับสนุนมาตรการหลักและมาตรการเสริม 5. กำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบ กำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ 3. มาตรการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปัญหาทางสังคม สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและแก้ไข อุบัติเหตุ 1. อุบัติเหตุจาก อาคารเรียนอาคารประกอบ 1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า สายไฟโครงสร้างและส่วนประกอบ อาคาร เดือนละ 1 ครั้ง/ความจำเป็น 2. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแลในการดูแลรักษาอาคารสถานที่ 3. ปฐมนิเทศนักเรียนใหม่เกี่ยวกับอาคารสถานที่ 4. ชี้แจงให้ความรู้การดูแลรักษาเฝ้าระวังความปลอดภัยของ อาคารเรียน อาคารประกอบ 5. จัดทำป้ายและแผนผังข้อควรระวังด้านความปลอดภัย ในจุดอันตรายทุกชั้นเรียน และแผนผัง 6. จัดให้มีแผนซักซ้อมการป้องกันและซักซ้อมการเคลื่อนย้าย กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง 7. แต่งตั้งเวรยามรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษา 8. จัดทำป้ายระบุเบอร์โทรศัพท์ที่เป็นเบอร์ฉุกเฉินต่าง ๆ ติดไว้ ตามอาคาร 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. นักการภารโรง 4. ผู้ปกครอง 5. ชุมชน
สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ 2. อุบัติเหตุจากบริเวณ ภายในสถานศึกษา 1. แต่งตั้งครูเวรประจำวันคอยควบคุม กำกับ ติดตามดูแล การรักษาความปลอดภัยตลอดทั้งวัน 2. จัดให้มีผู้รับผิดชอบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่ง สถานพยาบาล 3. กำหนดควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การปีนป่ายในที่สูง/บ่อน้ำ/สระน้ำ อย่างเข้มงวด 4. ดูแลตัดแต่งกิ่งไม้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และบำรุงดูแล รักษาความสะอาดโดยรอบสถานศึกษาสม่ำเสมอ 5. จัดให้มีป้ายคำเตือนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ 6. ให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติแก่นักเรียนในกรณีที่พบวัตถุ สิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจเป็นวัตถุระเบิดหรือวัตถุอันตราย 7. ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างรอบบริเวณสถานศึกษาและจุดเสี่ยง 8. จัดให้มีระบบการขออนุญาตออกนอกสถานศึกษา 9. จัดให้มีถังขยะแยกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดเก็บและ ทำลาย 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครูเวรประจำวัน 3. ครูอนามัยโรงเรียน 4. นักการภารโรง 5. เจ้าหน้าที่ศูนย์ สาธารณสุข 60 6. นักเรียน 7. ผู้ปกครอง 3. อุบัติเหตุจาก สภาพแวดล้อมภายนอก ของสถานศึกษา 1. สำรวจสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะใน สถานศึกษา และชุมชน เพื่อหาแนวทางแก้ไข 2. แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยใช้ชุมชนและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการหาแนวทางป้องกันและแก้ไข 3. ประสานงานกับหน่วยงานอื่น 4. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักต่อปัญหา สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน บุคลากรในสถานศึกษาและชุมชน 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครู 3. นักเรียน 4. ผู้ปกครอง 5. ชุมชน 4. อุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องทำ น้ำเย็น พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ 1. ตรวจสอบทดสอบเครื่องมือ เครื่องใช้เครื่องเล่นสนาม และ อุปกรณ์ต่างๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 2. ซ่อมบำรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเล่นสนาม และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ชำรุด ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน หรือจัดซื้อทดแทน 3. แนะนำ สาธิต และควบคุมการใช้อย่างถูกวิธีตามประเภท ของอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเล่นสนาม 4. จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ทุกครั้งหลังใช้ 5. กำกับ ดูแลนักเรียนในการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเล่น สนาม อุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครู 3. นักการภารโรง 4. นักเรียน 5. ผู้ปกครอง 6. ชุมชน
สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ 5. อุบัติเหตุจากการเดินทาง ไป-กลับ ระหว่าง บ้าน และ สถานศึกษา 1. สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมมือกันกำหนดมาตรการ รับ-ส่งนักเรียนตอนเช้าและเลิกเรียน 2. กำกับ ดูแลนักเรียนที่ใช้จักรยาน จักรยานยนต์ให้ชิดทางซ้าย และเป็นแถว พร้อมทั้งกำหนดสถานที่จอดรถให้ชัดเจน 3. จัดครูเวรประจำวันตรวจเช็คนักเรียนที่มีผู้ปกครองมารับ 4. แนะนำการเดินแถวกลับบ้านและให้พี่ดูแลน้อง 5. ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติตามกฎจราจร 6. จัดครูเวรและนักเรียนคอยรับ-ส่งนักเรียนที่ประตูเข้าออก 1. ผู้บริหาร โรงเรียน 2. ครู 3. นักการภารโรง 4. นักเรียน 5. ผู้ปกครอง 6. ชุมชน 6. อุบัติเหตุจากการพา นักเรียนไปศึกษานอก สถานศึกษา และการนำ นักเรียนร่วมกิจกรรมสำคัญ 1. ศึกษาและปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการ นำนักเรียนไปศึกษานอกสถานศึกษาโดยเคร่งครัด 2. เตรียมการและวางแผนการดำเนินการอย่างชัดเจน 3. จัดทำประวัตินักเรียนที่ร่วมเดินทาง 4. จัดครูคอยควบคุม ดูแลให้อยู่ในระเบียบวินัย 5. จัดให้มีป้ายชื่อแสดงรายละเอียดนักเรียน/ป้ายบอกชื่อขบวนรถ 6. จัดให้มีเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 7. ควบคุมดูแลการซื้ออาหารรับประทาน 8. หากมีการใช้พาหนะรถยนต์ต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ รถยนต์ และตรวจประวัติคนขับเพื่อความปลอดภัย 9. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย 10. จัดระบบดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด 11. ให้ความรู้นักเรียนในการร่วมกิจกรรมอย่างปลอดภัยทุกครั้ง 12. ตรวจดูความเหมาะสมของสถานที่ที่ปลอดภัย 13. ประสานงานเจ้าหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยท้องถนน 1. ผู้บริหาร โรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. นักการภารโรง 4. ผู้ปกครอง 5. ชุมชน 6. นักเรียน 7.อุบัติเหตุจากยานพาหนะ รับ-ส่ง นักเรียน 1. ศึกษาและปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย ยานพาหนะรับ-ส่งนักเรียน 2. ตรวจสอบยานพาหนะให้มีความเหมาะสมปลอดภัยต่อสภาพ การใช้งาน 3. ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องประจำยานพาหนะ เช่น ถัง ดับเพลิง ค้อน เป็นต้น 4. ตรวจสอบประวัติคนขับ ความสามารถในการขับขี่ใบอนุญาต การขับขี่ 5. กำหนดให้มีพนักงานควบคุมเพื่อดูแลความปลอดภัยของ ผู้โดยสาร 6. กำหนดแนวปฏิบัติในการโดยสารด้วยความปลอดภัยแก่นักเรียน และผู้จ้าง เช่น ห้ามห้อยโหน ปีนป่ายหยอกล้อขณะรถยนต์เคลื่อนที่ 7. ตรวจสอบจำนวนนักเรียนทุกครั้งที่มีการขึ้นและลงรถยนต์ 8. จัดทำป้ายชื่อรถรับ-ส่งนักเรียนให้เห็นอย่างชัดเจน 9. การประกันภัยโดยความสมัครใจสำหรับนักเรียน 1. ผู้บริหาร โรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. นักการภารโรง 4. ผู้ปกครอง 5. ชุมชน 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7. นักเรียน
สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและแก้ไข อุบัติภัย 1. ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบตรวจสอบอุปกรณ์อย่าง สม่ำเสมอ 2. ให้ความรู้และจัดทำแผนซักซ้อมนักเรียนเกี่ยวกับการดับไฟ และการหนีไฟ 3. จัดให้มีเจ้าหน้าที่อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการอย่างเคร่งครัด 4. จัดทำป้ายแหล่งข้อมูลแจ้งเหตุฉุกเฉิน 5. ดูแลสถานที่ให้สะอาด 6. ถ้าเกิดเหตุอัคคีภัยรายงานผู้อำนวยการโรงเรียนทันที 7. หากเกิดเหตุการณ์เกินที่จะสามารถความคุม ให้แจ้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อระงับเหตุ 8. ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนแก่ครูและนักเรียนให้พ้นจากอันตราย 9. ตรวจสอบสภาพอาคารต่างๆอย่างสม่ำเสมอ 10. ตัดแต่งกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้อาคาร สายไฟฟ้า 11. ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศสม่ำเสมอ 12. จัดให้มีเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1. ผู้บริหาร โรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. นักการภารโรง 4. ผู้ปกครอง 5. ชุมชน 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7. นักเรียน 2. ภัยธรรมชาติ (แผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินถล่ม ฟ้าผ่า ฯลฯ) 1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ 2. ให้ความรู้และจัดทำแผนซักซ้อมเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ กับครูและ นักเรียน 3. จัดให้มีเจ้าหน้าที่อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการอย่างเคร่งครัด 4. จัดทำป้ายแหล่งข้อมูลแจ้งเหตุฉุกเฉิน 5. ดูแลตรวจสอบอาคารสถานที่ให้ปลอดภัย ตัดแต่งกิ่งไม้ให้อยู่ใน สภาพที่เหมาะสมไม่รกร้าง และบำรุงดูแลรักษาความสะอาดโดยรอบ สถานศึกษาสม่ำเสมอ 6. ถ้าเกิดเหตุให้รายงานผู้อำนวยการโรงเรียนทันที 7. หากเกิดเหตุการณ์เกินที่จะสามารถความคุม ให้แจ้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ 8. ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนแก่ครูและนักเรียนให้พ้นจากอันตราย 9. ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศสม่ำเสมอ 10. จัดให้มีเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหาทางสังคม 1. การล่วงละเมิดทาง ร่างกายและจิตใจ 1. แต่งตั้งกรรมการเฝ้าระวังป้องปรามนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่ พึงประสงค์และสถานที่จุดเสี่ยง โดยเฉพาะห้องเรียน ห้องน้ำ 2. ให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 3. จัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 4. ใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 5. ให้มีผู้รับผิดชอบรายงานตามลำดับขั้น 6. นำนักเรียนเข้าสู่การช่วยเหลือ โดยมีครูดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง 7. ประสานงานผู้ปกครองเพื่อให้ความช่วยเหลือดูแล 8. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บ้านพักเด็ก และ ครอบครัว สถานีตำรวจ เป็นต้น 9. จัดให้มีนักเรียนแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. ผู้ปกครอง 4. ชุมชน 5. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 6. นักเรียนแกนนำ 2. การทำร้ายตัวเองและ การฆ่าตัวตาย 1. จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายครูที่ปรึกษา สังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. จัดทำระบบเครือข่ายระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน สถานศึกษา เพื่อการสื่อสารและสานสัมพันธ์ร่วมมือป้องกันแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับ พฤติกรรมนักเรียน 3. จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่าง หลากหลาย 5. ประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาอย่าง สม่ำเสมอ 6. ประสานพ่อแม่ ผู้ปกครองทันที เมื่อเกิดปัญหา เพื่อแก้ปัญหา เฉพาะหน้าด้วยวิธีการต่าง ๆ 7. จัดให้มีนักเรียนแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. ผู้ปกครอง 4. ชุมชน 5. นักเรียนแกนนำ
สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ 3. สูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเสพสิ่งเสพติด 1. จัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต เพื่อสร้างความตระหนัก และให้นักเรียนเห็นคุณค่าแห่งตน 2. จัดทำระบบเครือข่ายระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน สถานศึกษา เพื่อการสื่อสารและสานสัมพันธ์ร่วมมือป้องกันแก้ไขปัญหาเกี่ยว เกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน 3. จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนแสดงออกตามความสามารถที่ถูกต้อง เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา เป็นต้น 4. จัดกลุ่มเฝ้าระวังโดยอาศัยเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก สถานศึกษา 5. จัดการอบรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียน 6. ให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกชมสื่อในด้านต่าง ๆ อย่าง เหมาะสม 7. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 8. ใช้มาตรการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ 9. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหา บุหรี่ไฟฟ้า และยาเสพติด ในสถานศึกษา 10. คัดกรองและตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ 11. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และยาเสพติด และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 12. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและ เอกชนเพื่อเฝ้าระวังและดูแลปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้า และสารเสพติด 13. จัดให้มีกลุ่มนักเรียนแกนนำที่ทำหน้าที่สอดส่องดูแล ประสานงานกับครู เช่นกลุ่มลูกเสือต้านยาเสพติด กลุ่มศอ.ปส.ย.กทม.ดมจ. 14. กำหนดให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และสารเสพติดทุกชนิด 1. ผู้บริหารโรงเรียน 2. ครูที่ปรึกษา 3. ผู้ปกครอง 4. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 5. ชุมชน 6. สำนักงาน ปปส. 7. นักเรียนแกนนำ