The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by amporn_ku, 2021-05-18 01:30:29

อารยธรรม

อารยธรรม

เอกสารประกอบการเรียน

วชิ า ท่องแดนอารยธรรมโลก

รหัสวิชา : ส 31201
ชั้น มัธยมศกึ ษาปที ี่ 4

โดย

ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.อำพร ขุนเนยี ม

สาขาวชิ าสงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม
โรงเรียนสาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน
ศนู ยว์ จิ ยั และพัฒนาการศกึ ษา

คำนำ

เอกสารประกอบการเรียน วิชา ท่องแดนอารยธรรมโลก จัดทำข้นึ เพอ่ื ใช้ประกอบการเรยี นรู้
สาขาวชิ าสงั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ชนั้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 4

ขา้ พเจ้าหวังเปน็ อยา่ งย่ิงวา่ เอกสารประกอบการเรยี นวิชา ท่องแดนอารยธรรมโลกเล่มนี้ จะเปน็
ประโยชน์ในการพัฒนาการเรยี นการสอนของครู และพัฒนาการเรยี นของนกั เรียน เป็นอยา่ งดี

อารยธรรมและปจั จยั ท่มี ผี ลต่อการเกิดอารยธรรมของโลก

ความหมายและกำเนิดอารยธรรมกับพฒั นาการความคิด

1. ความหมายของอารยธรรม (Civilization)

อารยธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมขั้นสูง หรือความเจริญด้านวัฒนธรรมในลักษณะของสังคมเมือง คำว่า
Civilization มีรากศัพท์มาจากคำว่า Civitas ในภาษาละติน มีความหมายว่า “เมืองใหญ่” หรือ “นคร” ดังน้ัน
สังคมที่มาอารยธรรมจึงหมายถึงสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าแบบสังคมเมือง เป็นความเจริญรุ่งเรืิองที่มีการ
ประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในสังคม สังคมเมืองมีโครงสร้างของสังคมที่เป็นระบบ และมีสมาชิกที่มี
ความสามารถและความชำนาญพเิ ศษในการคิดประดษิ ฐ์ ตลอดจนสร้างความเจรญิ ก้าวหน้าให้แกส่ ังคมอยูเ่ สมอ

อารยธรรมไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยอัตโนมัติ หากแต่เป็นพัฒนาการความเจริญที่มีรากฐานมาจาก
วัฒนธรรมต่างๆ อารยธรรมสำคัญของมนุษย์ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเหตุการณ์และสื่อสาร
ความรู้สึกนึกคิดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคม ถ้าหากมนุษย์ในสังคมนั้นปราศจากภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายใน
กลุ่มของตน เช่นเดียวกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการแพทย์แผนปจั จุบันที่สาม
รถเอาชนะโรคร้ายต่างๆ และชะลอความตายของมนุษย์ด้วยวิธีการปลูกถ่ายอวัยวะ ก็เป็นพัฒนาการของการ
บำบัดรักษาโรคของแพทยแ์ ผนโบราณซึ่งมมี าตั้งแตอ่ ดตี ในทุกสังคม อนึง่ รถไฟทีส่ ามารถบรรทกุ คนและส่งิ ของได้
เปน็ จำนวนมาก กเ็ ป็นววิ ัฒนาการของระบบขนส่งมวลชนทีม่ ีรากฐานมาจากระบบขนส่งด้ังเดมิ ทใี่ ช้เกวียนหรือรถ
ม้านนั่ เอง

อารยธรรมของแตล่ ะกลมุ่ ชนอาจพฒั นาจากวฒั นธรรมทม่ี ีอยภู่ ายในสังคมของตนได้โดยอิสระ หรือเกิด
จากการยืมและดัดแปลงอารยธรรมของสังคมอื่น เช่น ชาวสุเมเรียน ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่นแรกในเมโส
โปเตเมีย สามารถพัฒนาวัฒนธรรมขั้นสูงขึ้นภายในสังคมของตนเองได้ พวกเขาคิดประดิษฐ์ระบบชั่ง ตวง วัด
การทำปฏิทิน ฯลฯ ซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตก ส่วนอารยธรรมไทยด้านปรัชญา ศาสนา กฎหมาย
และการปกครองนั้นเป็นพัฒนาการที่มีรากฐานมาจากอารยธรรมอินเดีย อนึ่ง ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นก็เป็นการ
ผสมผสานระหวา่ งอารยธรรมจีนและอารยธรรมของญี่ปุ่นเอง เน่อื งจากตวั อกั ษรญี่ปุ่นประกอบด้วยตัวอักษรจีนท่ี
ญป่ี ุ่นรบั เอาไปใช้และตัวอักษรทช่ี าวญ่ปี ุ่นคิดประดิษฐข์ ึ้นมาเองภายหลงั

2. กำเนิดของอารยธรรกบั พฒั นาการความคดิ

ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมในสมัย
โบราณแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมีการสืบทอด
กันต่อๆ มา แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกสมัยโบราณเกิดขึ้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ โดยเริ่มจากอารย
ธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอยี ปิ ต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ และอารยธรรมจนี โบราณ ตอ่ จากนั้นเป็น
อารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดสมัยนี้ที่อารยธรรมโรมันโบราณ
อารยธรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันและเป็นรากฐานของความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งใน
โลกตะวนั ตกและตะวนั ออกในปัจจุบัน

ปจั จัยท่ีมผี ลต่อการเกดิ อารยธรรม

อารยธรรมซ่งึ เกดิ ข้ึนในภมู ิภาคต่างๆ ของโลกอาจมลี ักษณะท่ีคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ท้ังนี้ข้ึนอยู่
กบั ปจั จัยสำคญั ตอ่ ไปนี้

1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ประกอบดว้ ยทีต่ ั้ง ภูมิอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งล้วนเปน็
ปัจจัยที่ส่งเสรมิ การสรา้ งสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนต่างๆ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ลักษณะ
ที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และทรพั ยากรธรรมชาติ
ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ จะมีโอกาสใช้ทรัพยากรน้ำในการบริโภค เพาะปลูก และเลี้ยง
สัตว์ จึงดึงดูดผู้คนจากแหล่งต่างๆ ให้เข้ามาพำนักอาศัย และสามารถขยายตัวเป็นสังคมเมืองได้ในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่ริมน้ำยังสามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อติดต่อกับโลกภายนอก และเพื่อค้าขาย
หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ระบบการค้า การปกครอง
กฎหมาย การก่อสร้าง วรรณกรรม ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแหล่งอารยธรรมแรกเริ่มของโลก 4 แห่งล้วนเกิดขึ้นในลุ่ม
แม่น้ำทั้งสิ้น ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมียซึ่งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส อารยธรรมอียิปต์ในลุ่ม
แม่น้ำไนล์ อารยธรรมจนี ในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ และอารยธรรมอินเดียซ่ึงถือกำเนิดในลุ่มแมน่ ้ำสนิ ธุ นอกจากนี้แลว้
ดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย ทะเลจีนใต้ ฯลฯ ก็สามารถพัฒนาเป็น
เมืองท่าติดต่อกับโลกภายนอกได้ตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้มีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากดินแดนอื่นท่ี
เจริญรุง่ เรอื ง และนำความเจริญน้ันๆ มาพฒั นาบ้านเมืองของตนใหเ้ จรญิ ก้าวหนา้
ลักษณะทางภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป ก็ส่งเสริมให้มีผู้คนอาศัยอยู่
หนาแน่น เชน่ เดียวกบั พืน้ ท่ที ่มี ีความอุดมสมบูรณ์ จะดึงดดู ใหม้ ีการตั้งถ่นิ ฐาน กระทงั่ ชมุ ชนน้ันขยายตวั เป็นเมือง
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตมนุษย์
อาศัยทรพั ยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตและประกอบกจิ กรรมทางเศรษฐกจิ พื้นทีท่ ี่มที รัพยากรอุดมสมบูรณ์จึง
ดึงดูดใหม้ ีการต้ังถ่ินทรพั ยากรธรรมชาติที่สำคญั ไดแ้ ก่ ปา่ ไม้ สัตว์ป่า สตั ว์นำ้ และแร่ธาตุ
2. ความก้าวหน้าในการคิดคน้ เทคโนโลยี
การขยายชุมชนเป็นสังคมใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับสมาชิกใน
ชุมชนนั้นๆ ดังนั้นผู้นำของสังคมนั้นๆ จึงจำเป็นต้องประดิษฐ์และค้นหาวิธีการต่างๆ เช่น การคิดค้นระบบ
ชลประทานเพอ่ื ทดน้ำเข้าไปในพื้นทที่ ี่อยูห่ ่างไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ เพอื่ ขยายพื้นทเ่ี พาะปลกู หรอื การสร้างอา่ งเก็บ
น้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนการสร้างประตูระบายน้ำและทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่
เพาะปลูก เทคโนโลยีเหล่านี้นับว่าเป็นความเจริญขั้นสูงที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรสมัยโบราณ
เชน่ อยี ิปต์ เมโสโปเตเมีย และจีน
นอกจากนี้แล้ว เครื่องทุ่นแรงและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในดินแดนต่างๆ คิดประดิษฐ์ขึ้นมาก็เป็น
รากฐานของอารยธรรมด้วย เป็นต้นว่า ความสามารถในการคำนวณและการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงทำให้เกิด
สถาปัตยกรรมสำคัญของโลก เช่น พีระมดิ ในอียปิ ต์ กำแพงเมืองจีน และปราสาทหนิ นครวดั ของพวกเขมรโบราณ
ในประเทศกัมพชู าปัจจบุ นั
3. ความคิดในการจดั ระเบยี บสงั คม
การอยู่ร่วมกันในสังคมขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้
อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ไม่เบียดเบียน หรือข่มเหงรังแกซึ่งกันและกัน แต่ละสังคมจึงมีการจัดโครงสร้างการ
ปกครอง มีผู้ปกครองซึ่งมีสถานะที่แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของสังคมนั้นๆ เช่น แคว้น รัฐ หรือ
อาณาจักร และมีผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งอาจจำแนกตามอาชีพและฐานะ เช่น พระ ข้าราชการ พ่อค้า แพทย์

กรรมกร ชาวนาน และทาส โดยมกี ารตรากฎหมายเป็นเครือ่ งมือในการปกครอง นอกจากน้ี การยอมรับสถานะที่
สูงส่งของผปู้ กครอง เช่น ชาวอียิปต์เชือ่ ว่ากษตั รยิ ห์ รือฟาโรหข์ องตนเปน็ เทพเจา้ และชาวจีนเชื่อว่าจักรพรรดิของ
ตนเป็นโอรสแห่งสวรรค์ก็ทำให้ผู้นำประเทศมีอำนาจจัดการปกครองให้ประชาชนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎระเบียบ
อย่างสันตสิ ขุ ได้

อนึ่ง เพื่อให้ดินแดนหรือแว่นแคว้นของตนเจริญก้าวหน้า ผู้ปกครองดินแดนนั้นยังได้สร้างระบบ
เศรษฐกจิ ให้มัน่ คง เชน่ พวกสุเมเรยี นในเมโสโปเตเมียได้คิดค้น จัดเก็บภาษี รวมทั้งมาตราชงั่ ตวง วดั เพ่ือให้การ
แลกเปลี่ยนสินค้าในอาณาจักรของตนดำเนินไปได้โดยราบรื่น มาตราชั่ง ตวง วัด เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบ
การค้า ซึ่งเป็นระบบทีท่ ำให้ผูค้ นในดนิ แดนต่างๆ ได้พบปะแลกเปลีย่ นประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมของชน
ชาตอิ ืน่ ๆ จนกระทงั่ สามารถนำไปพัฒนาใหเ้ กิดอารยธรรมขึน้ ไดใ้ นเวลาตอ่ มา

ความเจริญรุ่งเรืองที่กลายเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงหรืออารยธรรมนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของ
มนุษย์ที่คิดค้นระบบและกลไกในการเอาชนะธรรมชาติ หรือใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ดินแดนที่มีอารยธรรม
รุ่งงเรืองจึงเจริญก้าวหน้า สามารถขยายอาณาเขตและอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นอาณาจักรหรือ
จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ เช่น อาณาจักรอียิปต์ อาณาจักรเมโสโปเตเมีย จักรวรรดิจนี จักรวรรดิอินเดียในสมัยราชวงศ์
โมกลุ จักรวรรดิโรมนั อาณาจกั รขอม จกั รวรรดอิ ังกฤษ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรอื งของดนิ แดน
ต่างๆ นั้น บางส่วนได้สาบสูญไป เช่น ตำราและวิชาการบางอย่าง ส่วนที่ยังคงดำรงอยู่ก็เป็นมรดกสืบทอดต่อมา
ทั้งในดินแดนของตนหรือในดินแดนอื่นๆ ที่นำไปถ่ายทอด ทำให้ความเจริญเหล่านั้นสามารถดำรงต่อเนื่องมา
จนถึงปัจจุบัน เช่น กฎหมาย ศาสนา ภาษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี ฯลฯ ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของ
อารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความเจริญของมนุษยชาติที่มีมาตั้งแต่อดีต
และกลายเป็นรากฐานความเจริญของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้จักและยอมรับผู้อื่นใน
ขณะเดยี วกันยงั เปน็ การศกึ ษาเพือ่ ให้รูจ้ กั ตัวตนของเราเองอกี ด้วย

อารยธรรมโบราณของโลกตะวันตกสมัยโบราณ

อารยธรรมของโลกตะวันตก หมายถึง ดินแดนแถบตะวันตกของทวีปเอเชีย รวม เอเชียไมเนอร์ และ
ทวีปแอฟรกิ า ผลงานทางภมู ิปัญญาแยกตามแหล่งท่ีเกดิ ได้ดงั น้ี

1. อารยธรรมลุ่มน้ำไทกรีส-ยูเฟรติส และเอเชียไมเนอร์ เริ่มด้วยชนชาติสุเมรียนประดิษฐ์ อักษรลืม
(Cunet forms) เป็นจุดกำเนิดอักษรครั้งแรกของโลก และสถาปัตยกรรม ซักกูเร็ต การประดิษฐ์คันไถ ใช้ ไถนา
ชนชาตอิ ะมอไรทแ์ ห่งอาณาจกั รบาบโิ ลเนีย ไดป้ ระมวลกฎหมาย ขนึ้ เปน็ ครั้งแรกคอื ประมวล กฎหมาย “ฮมั บูรา
บี” ชนชาติแอสซิเรยี นสรา้ งภาพสลักนนู และ ชนชาตเิ ปอร์เซยี เป็นต้นแบบการสรา้ ง ถนนมาตรฐาน

2. อารยธรรมลุม่ นำ้ ไนล์ เปน็ การสรา้ งสรรค์อารยธรรมของชาวอยี ปิ ต์โบราณ อักษรภาพ “เฮยี โรกลฟ
ฟิค” ถือว่าเป็นหลักฐานข้อมูลที่ชาวอียิปต์มีมากกว่าหลักฐานข้อมูลของแหล่ง อารยธรรมอื่น ๆ “พิรามิด” ครู
สานเก็บพระศพของฟาโรห์ ซึ่งใช้น้ำยาอาบศพในรูปของมัมมี่ คือผลงานสถาปัตยกรรม ที่ชาวโลก รู้จักกันดี
ประตมิ ากรรมรูปคนตัวเปน็ สิงหห์ มอบเฝา้ หนา้ พิรามิด ถอื ว่าเป็นประติมากรรม ทยี่ ิ่งใหญ่

3. อารยธรรมกรีก รู้จักกันในนามของอารยธรรมคลาสสิก สถาปัตยกรรมที่เด่นคือ วิหาร พาร์เธนอน
ประติมากรรมทเี่ ด่นทสี่ ุดคอื รปู ป้นั เทพซีอุส วรรณกรรมดเี ด่นคือ อเี ลียดและโอดิสต์ (I liad and Odyssay) ของ
โฮเมอร์

4. อารยธรรมโรมัน เป็นอารยธรรมที่สืบเนื่องจากอารยธรรมกรีก เพราะชาวโรมันได้รวมอาณาจักร
กรีกและนำอารยธรรมกรีกมาเป็นแบบแผนในการสร้างสรรค์ อารยธรรมของตน สถาปัตยกรรมที่เด่น ได้แก่
วิหารแพนเธนอน โคลอสเซียม โรมันฟอรม์ วรรณกรรมท่ีเด่นท่สี ุดคอื เรอ่ื งอีเนยี ด (Aeneid) ของเวอร์จิล

แหลง่ ทม่ี า : http://www.thaigoodview.com/node/95717

หน่วยที่ 1

อารยธรรมเมโสโปเตเมยี

คำว่า เมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Mesos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า Middle และคำว่า
Potamos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า River รวมความแล้วหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (land between
the rivers) ได้แก่ที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกริส (Tigris) ทางตะวันออก และแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates) ทาง
ตะวันตก พื้นที่นี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียในบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และ
แอฟริกา โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งหันออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นจุดเชื่อมโยงติดต่อกับอารย
ธรรมอียิปต์โบราณ พื้นที่ของแหล่งอารยธรรมทั้งหมดจะกินอาณาบริเวณจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่อ่าว
เปอร์เซีย มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยวจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ครอบคลุม
ดินแดนบางส่วนในประเทศอิรักและซีเรียในปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่แห่งแรก เมื่อราว
3,500 ปี ก่อนคริสตกาล

ทตี่ ้งั ทางภมู ศิ าสตร์ ของ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. มีทิศเหนอื จรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน
2. ทศิ ตะวนั ตกเฉียงใตจ้ รดคาบสมุทรอาหรับซงึ่ ล้อมรอบดว้ ยทะเลแดงและมหาสมุทรอนิ เดีย
3. ทศิ ตะวันตกจรดทีร่ าบซีเรยี และปาเลสไตน์
4. ทศิ ตะวนั ออกจรดท่รี าบสงู อหิ รา่ น

สภาพอากาศ ของ อารยธรรมเมโสโปเตเมยี

มีอากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบน
เทอื กเขาในอาร์มเี นีย น้ำจะพดั พาเอาโคลนตมมาทบั ถมชายฝ่ังท้ังสอง การเอ่อลน้ ของน้ำอนั เกิดจากหิมะละลาย
ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อม
เชน่ นี้ ต้องอาศยั ระบบชลประทานทม่ี ีประสทิ ธิภาพ

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย แบง่ ออกเปน็ 2 ส่วน
1. สว่ นลา่ งใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย แห้งแลง้ เรียกว่าบาบโิ ลเนีย

บริเวณที่ราบที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโลเนีย” เป็น
เขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชีนา (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามา
คอื ในฤดูร้อนหิมะบนภเู ขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พดั พาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบรเิ วณปากน้ำ
ทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่งทุก ๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29
นวิ้ คร่ึง)

2. สว่ นบน คอ่ นอดุ มสมบรู ณ์ เรยี กว่าอสั ซเี รยี (Assyria)

บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอเมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึด
ครองและกลายเป็นชนชาติเดยี วกนั และยงั เป็นยุทธภูมิระหว่างตะวนั ตกกับตะวนั ออกตลอดสมัยประวัตศิ าสตร์ทำ
ใหป้ ระวัตชิ นชาตจิ ึงค่อนข้างสับสน

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีการทับถมของดินตะกอนตาม
ชายฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ทำให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์และมีสภาพเหมาะสมแก่การเพาะปลูก แม้ว่าสภาพอากาศ
ในดินแดนแถบนี้จะแปรปรวนจนไม่สามารถคาดเดาได้ก็ตาม เกิดความแห้งแล้ง ลำน้ำท่วมเป็นประจำ อันเป็น
เหตุให้การควบคุมน้ำหรือการชลประทานสำคัญจำเป็นต่อการทำกสิกรรมของผู้คนแถบนี้ นอกจากนั้นแล้ว ทาง
บกยังติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมต่ออียิปต์และอารยธรรมที่กำลังก่อตัวในยุโรปได้ทางตอนใต้ก็ยังเปิดสู่
อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งสะดวกต่อการขนส่งสินค้าออกไปขายทางทะเลกับอารยธรรมที่ห่างไกล เช่น อารยธรรมลุ่มน้ำ
สนิ ธุ ลักษณะเชน่ นเ้ี อง ทำให้ดนิ แดนเมโสโปเตเมียแหง่ นี้ เป็นทห่ี มายปองของชนกลุ่มตา่ งๆ

แผนท่ี อารยธรรมเมโสโปเตเมยี

ช่วงประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลลงมาพบว่า มนุษย์ที่เมโสโปเตเมียเริ่มเรียนรู้การใช้โลหะทองแดง
และพบหลักฐานความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น ถัดมาประมาณ 3600-2800 ปีก่อน
คริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุคอูรุก (Uruk) ถือเป็นการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองในลักษณะนคร-รัฐ (city-state) และที่นี้มี
วิหารสองแห่ง คือ วิหารสำหรับบูชาเทพอาทิตย์และวิหารสำหรับบูชาเทพอินันนา (Inanna) ซึ่งเป็นเทพีแห่ง
ความรักและความอดุ มสมบรู ณ์

เทพี Inanna
เทพเจ้าในช่วงนี้ของเมโสโปเตเมยี มหี ลายองค์ เชน่ ววั กระทิง ซงึ่ มคี วามหมายถงึ สวรรค์ Enlil เป็นเทพ
ของสายฟ้าหรอื ดนิ ฟ้าอากาศ Ea เปน็ เทพแหง่ นำ้ และมีการสร้างวหิ ารทีเ่ รียกวา่ “ซิกกแู รต” (Ziggurat) หมายถงึ
หอ้ งรอคอยเพ่ือบชู าหรือพบพระเจ้า สนั นษิ ฐานวา่ น่าจะเปน็ สถานที่ตดิ ตอ่ หรอื เชอื่ มระหวา่ งโลกและสวรรค์

ซกิ กูแรต

ด้านการเมือง การปกครอง ของ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ชาวสุเมเรียนรวมตัวกันเป็นแว่นแคว้นแบบนครรัฐ มีเจ้าผู้ครองนครทำหน้าท่ี เป็นผู้ปกครองและผู้นำ
ทางศาสนา มีฐานะเสมือนเทพเจ้าประจำนครปกครองแบบนครรัฐอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ต่อมาเริ่มมีการแย่งชิง
ดินแดนและแหล่งน้ำระหว่างรัฐ จนในที่สุดถูกโจมตีจากพวกคาลเดียนที่มีอำนาจจนสามารถตั้งอาณาจักรที่มี
ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงบาบิโลน ภายหลังจากนั้นก็มีพวกอื่นเข้ามาโจมตีอาณาจักรนี้ จนกระทั่งผู้นำเผ่าอมอ
ไรต์ (เป็นสาขาหน่งึ ของพวกเซมติ ิก) เขา้ ยึดอาณาจกั รบาบิโลนพรอ้ มท้ังสถาปนาผู้นำขนึ้ เปน็ กษตั ริย์

กฎหมายฮัมมูราบี คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนัก
โบราณคดีฝรง่ั เศสขดุ พบท่ี Sūsaประเทศอิรัก ในชว่ งฤดหู นาวปี 1901 ถงึ 1902 หินสลกั นแ้ี ตกเป็น 3 ชิน้ และ
ไดร้ ับการบูรณะปจั จุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมรู าบอี ยู่ในพิพิธภณั ฑ์ลฟู ร์ กรงุ ปารสี ประเทศฝร่งั เศส

ชาวอมอไรต์มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าฮัมมูราบี เป็นผู้มีชื่อเสียงเนื่องจากทรงขยายอำนาจและทำการ
ปกครองอยา่ งมีระบบ เห็นไดจ้ ากการที่ทรงโปรดให้ประมวลกฎหมายของนครรัฐตา่ งๆ เป็นกฎหมายช่ือ ประมวล
กฎหมายฮัมมูราบี” ซึ่งถือเป็นประมวลกฎหมายที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก บันทึกไว้ด้วย
อกั ษรรปู ลิ่มลักษณะกฎหมายมีความเข้มงวด ลงโทษโดยเสยี เงินค่าปรับ โดยใชห้ ลกั “ตาตอ่ ตา ฟันตอ่ ฟนั ”

กฎหมายฮัมมูราบี เป็นกฎหมายอาญา โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อัน
หมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของ
คนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เปน็ ลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเปน็ ระบบกับทุกคน และการ
"ถอื วา่ เป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสจู น์วา่ ผิด" นับเป็นหลกั การสำคญั ทน่ี ับเปน็ วิวฒั นาการทางอารย
ธรรมของมนษุ ย์

มีทฤษฎีใหม่บางทฤษฎีถือว่า การนับกฎหมายฮัมมูราบีให้สถานะอย่างประมวลกฎหมายอย่างปัจจุบัน
นั้นไม่ถูกต้องนัก ความจริงเป็นเพียงอนุสรณ์ว่ากษัตริย์ฮัมมูราบีเป็น "ตัวอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม"
เท่าน้ัน เพราะในชีวติ ของคนย่อมมคี วามผิดอยา่ งอนื่ ท่ไี ม่ใชก่ ารลักขโมย

2. พวกอสั ซีเรียน (Assyrian) (เปน็ สาขาหนงึ่ ของพวกสุเมเรยี น) เขา้ ปกครองอาณาจกั รบาบิโลน จงึ ไดส้ ืบทอด
ความเจรญิ และปรบั ปรงุ การปกครองโดยแบง่ อาณาจักรออกเปน็ มณฑลตา่ งๆ มขี ้าหลวงปกครองโดยขึน้ ตรงตอ่
กษตั รยิ ์

พวกฮิบรู (Hebrew) (เปน็ สาขาหนึง่ ของพวกเซเมติก) เดิมเป็นเผ่าเลี้ยงสัตวร์ อ่ นเร่ ต่อมาพวกนเ้ี ขา้ มาต้งั
ถน่ิ ฐานในนครรฐั สเุ มเรยี น แตย่ งั ไมส่ ามารถตง้ั อาณาจักรเปน็ ของตนเองจนกระท่งั พระเจา้ เดวดิ (ครองราชย์
ประมาณ 470 – 430 ปี กอ่ นพทุ ธศกั ราช) ได้ต้งั อาณาจักรอคั คัท (Akkad) ของฮิบรูไดส้ ำเรจ็

อาณาจกั รฮบิ รูมีความเจรญิ รุ่งเรืองในสมัยพระเจา้ โซโลมอน (Solomon) (ครองราชย์ประมาณ 430 –
390 ปกี ่อนพทุ ธศักราช) แลว้ จึงสลายไปในเวลาต่อมา

พวกเปอรเ์ ซียน (Persian) (เป็นสาขาหน่งึ ของพวกอนิ โด-ยโู รเปยี น) ทอ่ี พยพเคลอ่ื นยา้ ยจากดนิ แดนเอเชยี
กลางเพ่อื แสวงหาทด่ี นิ อันอดุ มสมบรู ณ์ จนในท่ีสุดจงึ ต้งั ถนิ่ ฐานบริเวณดินแดนต้ังแต่ทะเลสาบแคสเปยี นจนถึง
อา่ วเปอร์เซยี กษตั ริยท์ ม่ี ีชื่อเสียงไดแ้ ก่ พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)

กษัตริย์เปอร์เซยี องคต์ อ่ มาคือ พระเจา้ ดาริอสุ มหาราช (Darius the Great)ทรงขยายอำนาจออกไป
ปกครองดินแดนรูปพระจนั ทร์เสย้ี วอนั อุดมสมบูรณ์ ภายหลงั รชั กาลของพระองค์เมอ่ื พ.ศ. 143 พระเจ้าอเล็ก
ซานเดอรม์ หาราชแห่งกรีก เข้าโจมตเี มอื งเปอรซ์ ีโปลิส ทำใหอ้ ทิ ธพิ ลกรีกแผ่เขา้ มาในอาณาจักรเปอรเ์ ซีย

ชนเผา่ สุเมเรยี น (Sumerian)
ช่วงประมาณ 3000 ปกี ่อนครสิ ตกาล คนกล่มุ แรกที่เขา้ ครอบครองพน้ื ท่แี ห่งน้ี และสร้างอารยธรรม

เมโสโปเตเมยี ข้ึนคือชาวสเุ มเรียน ผู้คิดประดษิ ฐ์ตัวอักษรขนึ้ เปน็ ครง้ั แรกในโลก คือ อกั ษรล่ิม หรอื “คนู ฟิ อร์ม”
(cuneiform) นักประวัติศาสตรจ์ งึ นับเอาเป็นเกณฑใ์ นการแบ่งยุคประวัติศาสตร์

อกั ษรรูปล่มิ หรอื อกั ษรคูนฟิ อรม์
อารยธรรมทชี่ าวสเุ มเรยี นข้ึนเป็นพน้ื ฐานสำคญั ของอารยธรรมเมโสโปเตเมยี สถาปตั ยกรรม ตวั อกั ษร
ศิลปกรรมอืน่ ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจา้ ของชาวสุเมเรียน ไดด้ ำรงอย่แู ละมีอิทธพิ ลอยู่ในลมุ่ แม่นำ้ ทง้ั
สองตลอดชว่ งสมยั โบราณ

ลกั ษณะสงั คมของชาวสเุ มเรียนเป็นอารยธรรมแบบเมอื ง ประกอบดว้ ยผู้คนหลากหลายอาชพี เชน่
ชาวนา ชา่ งโลหะ ชา่ งทอง พระ ขนุ นางและผู้ปกครองหรือกษตั ริย์ ชาวสุเมเรียนมีการปกครองแบบรัฐศาสนา
คอื มีนกั บวช ซงึ่ นอกจากทำหน้าท่ปี ระกอบพธิ กี รรมทางศาสนาและความเชื่อแลว้ ยังเปน็ ผูบ้ ริหารจดั การเร่อื ง
ชวี ิตความเปน็ อยูข่ องราษฎรอกี เชน่ การจกั สรรน้ำและทด่ี นิ เพอ่ื การเกษตร การแลกเปลยี่ นคา้ ขาย ธนาคาร เป็น
ตน้ นักบวชและวัดในสมยั นี้จึงมบี ทบาทสำคัญมาก

มรดกช้ินสำคญั ซง่ึ ชาวสเุ มเรยี นไดส้ ร้างไว้ คือ การประดิษฐอ์ ักษรใช้บันทึกเร่อื งราวต่างๆ โดยใชไ้ มห้ รื
อโลหะแหลมจารลงบนแผน่ ดินเหนียวโดยพฒั นาจากตราประทับทรงกระบอกทีเ่ ป็นอกั ษรภาพงา่ ยๆ เวลาใชต้ ้อง
นำกระบอกกล้งิ หมนุ บนแผ่นดนิ เหนยี ว เปน็ จดุ กำเนดิ ของตวั อักษรคร้ังแรกจนกลายเปน็ อกั ษรรูปลิ่ม และผา่ น
การพฒั นาอยา่ งต่อเนอ่ื ง ซึ่งต่อมาได้พฒั นาเปน็ ต้นตอของตัวอักษรกรกี และละติน

สรปุ ความเจรญิ รงุ่ เรืองของชาวสุเมเรยี น

1. การปฏิวตั เิ กษตรกรรม การเพาะปลกู ประดษิ ฐเ์ คร่ืองมือ จดั ระบบชลประทานขนึ้ เป็นคร้งั แรก

2. วรรณกรรม มหากาพย์กลิ กาเมซเกีย่ วกบั การผจญภัยของประมขุ และวรี บุรษุ
3. การประดษิ ฐ์จานหมุน ใช้ทำเครื่องป้ันดินเผาเปน็ เคร่ืองกลชนดิ แรกของโลก
4. การประดษิ ฐอ์ ักษรลม่ิ หรอื อกั ษรคูนฟิ อรม์ คร้ังแรกของโลก
5. ความสามารถเชงิ คณติ ศาสตร์ในการคิดคำนวณ
6. สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ เชน่ เทวสถานซิกูแรต ใชเ้ ปน็ สถานทบ่ี ชู าเทพเจ้า
จากความมงั่ คง่ั และเจริญร่งุ เรอื งของชาวเมโสโปเตเมียได้ดึงดูดกลมุ่ ชนอัคคาเดียน ซง่ึ เป็นกลมุ่ ของพวก
Semite และบรรพบรุ ษุ ของชาวยิว Hebrew ซ่งึ มตี ้นกำเนดิ อยู่ในคาบสมทุ รอารเบีย (Arabia) ได้แทรกซมึ เขา้ มา
ในดินแดนของชาวสุเมเรยี นและได้ยึดครองเมโสโปเตเมีย ประมาณปี ๒,๓๖๐ ก่อนครสิ ตกาล ชาวอคั คาเดยี นได้
ปกครองดนิ แดนเมโสโปเตเมียอยปู่ ระมาณ ๒๐๐ ปี กษัตรยิ ์ทสี่ ำคญั ของอัคคาเดียนคือ พระเจ้าซาร์กอน
(Sargon) ไดร้ วบรวมนครรัฐของสเุ มเรยี นทงั้ หมด การรวมครง้ั นมี้ ีผลใหอ้ ารยธรรมของพวกสุเมเรียนจากตอนล่าง
ของล่มุ แม่น้ำไทกรสิ และยูเฟรติส ได้ขยายขน้ึ เหนอื อย่างกว้างขวาง ผลจากการครอบครองสุเมเรยี นของชาวอคั
คาเดยี นทำใหเ้ ทพเจ้าของพวกเขาท่ีชอื่ วา่ “มาร์ดกุ ” (Marduk) เขา้ มาเปน็ เทพเจา้ สงู สุดแทนที่เทพ Enlil เดิม

เทพเจา้ มารด์ กุ
ชนชาติถดั มาท่ีเขา้ ยดึ ครองดินแดนเมโสโปเตเมียคือ ชาวบาบิโลน ซง่ึ เป็นเมืองท่ีตั้งอยทู่ างตอนเหนอื ของ
เมอื งยรู กุ (Uruk) ใกล้แมน่ ำ้ ยูเฟรตีส ในสมัยนมี้ ีกษตั ริยซ์ ึง่ เป็นทร่ี ู้จักในนาม “ฮัมมูราบี” เปน็ ผู้สร้างความ
ยง่ิ ใหญแ่ ละความเจรญิ แกด่ นิ แดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบัญญตั ิกฎหมายบงั คบั ใช้ในดินแดนของ
พระองค์ เรียกว่า “ประมวลกฎหมายแหง่ ฮัมมรู าบี” (Code of Hammurabi) กฎหมายนมี้ ีลกั ษณะการลงโทษ

แบบตาตอ่ ตา ฟนั ต่อฟนั กฎหมายนม้ี วี ัตถุประสงค์สว่ นหนึ่งเพื่อปรบั เปล่ียนวธิ กี ารควบคมุ คน แทนการใช้จารีต
ประเพณีและความเช่อื ในอำนาจศักดส์ิ ทิ ธ์ิ และเทพเจ้า

รูปแท่นหนิ จารกึ กฎหมายฮมั มรู าบี กษตั ริยฮ์ ัมบูราบี

หลังจากกษตั รยิ ์ฮัมมรู าบีสิ้นอำนาจลง กม็ ชี นเผา่ หลายชนเผา่ ไดแ้ ก่ ชาวฮติ ไตท์ (Hitties) ชาวแคสไซส์
(Kassites) ชาวอีลาไมล์ (Elamites) และชาวอัสซีเรยี น (Assyrians) แตช่ าวอสั ซเี รยี นถือวา่ เป็นชนเผา่ ทีม่ ี
บทบาทในการสร้างอารยธรรมอย่างโดดเดน่ โดยในช่วงแรกไดย้ ้ายเมอื งจากหลวงจากกรุงบาบโิ ลนมาต้ังท่เี มอื ง
อัสซูร์ (Assur) ซง้ึ ตง้ั อยู่บนรมิ ฝัง่ ตอนกลางของแมน่ ำ้ ไทกริส และไดค้ รองอำนาจถงึ ขดี สดุ ระหว่าง ๗๑๒-๖๑๒
ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัสซเี รยี นได้ขยายอำนาจการปกครองครอบคลุมไปถึงซีเรยี น ปาเลสไตน์ และบางสว่ นของ
อียปิ ต์

จากอำนาจและบทบาททางอารยธรรมของชาวอัสซเี รยี นทำใหเ้ ทพอสูร (Assur) ซงึ่ เปน็ เทพประจำเมือง
อัสซูร์ ได้รบั การยอมรับนับถืออย่ากว้างขวางและมีความสำคัญเทา่ กับเทพมาร์ดกุ (Marduk) ซึง่ เปน็ เทพเจ้าของ
ชาวอคั คาเดยี นเดมิ และไดข้ ยายอทิ ธิพลความเช่อื ตอ่ อารยธรรมอน่ื ๆ เชน่ เปอร์เซยี และอนิ เดยี แตด่ ้วยความ
โหดร้ายของชาวอสั ซรู ์ทำใหป้ ระชาชนตอ่ ต้านและเส่ือมอำนาจลงในทส่ี ุด ทำให้บทบาทของอสูรเทพของชาวอัสซี
เรียนลดบทบาทลงและเสือ่ มคลายไปจนกลายเปน็ ตัวรา้ ยในนิทาน แนวความคดิ เรอื่ งอสรู เทพนีม้ ีอทิ ธพิ ลต่อ
วรรณคดไี ทย เพราะวรรณคดีไทยหลายเรื่องไดร้ ับแนวคดิ มาจากอารยธรรมอินเดยี อีกทอดหนึ่ง

ต่อมาเม่อื ชาวอัสซเี รียนพ่ายแพ้สงครามต่อชาวเมเดสและชาวเมืองบาบโิ ลน อำนาจการปกครองจึง
เปล่ยี นไปและเริ่มต้นยคุ ใหม่ เรยี กยคุ น้ีวา่ “ยคุ บาบิโลนใหม”่ หรอื “นีโอบาบโิ ลน” (Neo Babylon) ภายใต้
การปกครองของพระเจา้ เนบุชดั เนซซาร์ทีส่ อง (Nebuchadnessar II) กษตั รยิ ์พระองค์นี้ถอื วา่ เปน็ กษัตริยน์ ักรบ
ทเี่ กง่ กาจ พระองคไ์ ดย้ กทพั ไปรบชนะชาวยิวยดึ ครองนครเยรูซาเล็ม ไดเ้ ชลยชาวยวิ มาเปน็ แรงงาน ในยุคของ
พระองค์ไดม้ ีการกอ่ สรา้ งวหิ ารและพระราชวังหลายแห่ง และผลงานทางสถาปัตยกรรมท่ีสำคัญและถอื ว่าเปน็ ส่ิง
มหศั จรรย์หนงึ่ ในเจ็ดแห่งของโลกสมยั โบราณคอื “สวนลอยแห่งเมืองบาบโิ ลน” (The hanging gardens of
Babylon) ซึ่งเปน็ สวนทมี่ ีถนนกว้างปูลาดด้วยแผ่นหนิ และลาดดว้ ยยางมะตอย เพ่อื ให้เปน็ เส้นทางของขบวนแห่
เฉลมิ ฉลองเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งกลับมามีบทบาทสำคัญต่อชาวเมืองบาบโิ ลนอีกคร้งั

พระเจ้าเนบุชดั เนซซารท์ ่ี2 สวนลอยแหง่ บาบิโลน

จกั รวรรดิบาบโิ ลนใหม่ รุ่งเรืองจนถึงประมาณ ๕๓๙ ปีกอ่ นครสิ ตกาล อาณาจกั รบาบโิ ลนก็ตกอยู่
ภายใตก้ ารยดึ ครองของพระเจา้ ไซรัสมหาราช (Cyrus, the Great) ซึง่ เป็นกษตั รยิ ์แห่งเปอร์เซยี ดินแดนเมโสโป
เตเมยี ซึง่ รงุ่ เรอื งผ่านการปกครองและอารยธรรมชนเผ่าตา่ งๆ มายาวนาน กส็ ้ินสุดลงในทสี่ ุด

พระเจา้ ไซรสั มหาราช กษตั ริยแ์ หง่ เปอร์เซีย
ท่ีมา: http://legendtheworld.blogspot.com/

อารยธรรมเมโสโปเตเมียไดพ้ ัฒนาขนึ้ ถงึ ขดี สดุ ผา่ นกล่มุ ชนหลายเผา่ พันธ์ทุ ่ีเข้ามาครอบครองและ
ผสมผสานความคิดความเช่ือของตนเองกับชนเผ่าต่างๆ ชีวติ ของชาวเมโสโปเตเมยี ผูกพันกบั พระและวดั อย่าง
มาก ชาวสุเมเรียนซ่ึงเปน็ ชนกลุ่มแรกๆ ทเี่ ข้ามาครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย มีลกั ษณะความเชือ่ ในเทพเจ้า
และโลกหลงั ความตายเปน็ หลัก และมกี ารนบั ถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึง่ เทพเจ้าแต่ละองค์ก็มบี ทบาทสำคัญต่อการ
ดำรงชีวิตให้คณุ และโทษแกต่ นเอง เช่น อูโต เทพแหง่ ดวงอาทติ ย์ อินันนา เทพแห่งความอุดมสมบรู ณแ์ ละความ
รัก อนิ ลลิ เทพแห่งสายฟา้ หรอื ดนิ ฟา้ อากาศ เปน็ ตน้ นอกจากการนบั ถอื เทพเจ้าแล้วแล้ว ชาวสเุ มเรียนยงั

เชื่อในไสยศาสตร์ นบั ถือโชคลางและปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกดว้ ย ผ้มู ีบทบาทสำคญั ในการสื่อสารระหวา่ ง
ชมุ ชนกบั เทพเจา้ คอื พระ โดยผา่ นการทำพธิ กี รรม เชน่ การจัดหารอาหาร และท่สี ำคญั อกี ประการหนึ่งก็คอื การ
สรา้ งที่พำนักให้แก่เทพเจ้า และมีเทพเจา้ หลายองค์ท่กี ลายเปน็ เทพเจ้าประจำรฐั แตใ่ นขณะเดียวกนั ก็ยอมรบั นับ
ถอื เทพเจา้ องค์อื่นๆ ดว้ ย

พฒั นาการทางความคดิ ทีส่ ำคญั ของชาวสเุ มเรยี นอีกประการหนึ่ง คอื การรจู้ ักการคณู การหาร ระบบ
หนว่ ยหกสิบ ได้แก่ ๖, ๖๐, ๖๐๐, ๓,๖๐๐ ซึง่ ปจั จบุ ันใชก้ บั การนบั เวลาและการคำนวณวงกลม นอกจากนีย้ ังได้
คดิ ระบบชั่ง ตวง วดั ซ่ึงเป็นรากฐานทีม่ าของการชง่ั ทีค่ ดิ น้ำหนกั เปน็ ปอนด์ ที่ใช้กนั อยใู่ นปัจจุบนั น้ี ส่วนชาวคา
ลเดยี นสามารถคำนวณวนั เกดิ สรุ ิยปราคาและจันทรปุ ราคา รวมทง้ั สามารถจัดแบ่งสปั ดาหอ์ อกเปน็ ๗ วัน

สรุปความเจรญิ ท่ีสำคญั ในอารยธรรมเมโสโปเตเมยี

1. ชาวสุเมเรยี น
1. การปฏวิ ัตเิ กษตรกรรม การเพาะปลกู ประดษิ ฐ์เคร่อื งมอื จัดระบบชลประทานขึน้ เป็นคร้งั แรก
2. วรรณกรรม มหากาพยก์ ลิ กาเมซเก่ียวกบั การผจญภัยของประมขุ และวีรบุรษุ
3. การประดิษฐจ์ านหมนุ ใช้ทำเครอื่ งปั้นดินเผาเปน็ เครอื่ งกลชนดิ แรกของโลก
4. การประดษิ ฐอ์ กั ษรลม่ิ หรืออักษรคนู ิฟอร์มคร้ังแรกของโลก
5. ความสามารถเชิงคณิตศาสตรใ์ นการคิดคำนวณ
6. สถาปตั ยกรรมขนาดใหญ่ เชน่ เทวสถานซกิ ูแรต ใช้เปน็ สถานที่บชู าเทพเจา้

2. ชาวบาบิโลนหรืออมอไรต์
1. การจัดรฐั สวสั ดกิ ารดแู ลความเป็นอยูข่ องพลเมอื งอย่างใกล้ชิด
2. มกี ฎหมายฮัมบรู าบี

3. ชาวอสั ซเี รยี
1. ประติมากรรมนนู ต่ำในพระราชวงั เพ่อื เชิดชูกษตั ริย์ในฐานะนกั รบและนกั ลา่

4. ชาวคาลเดยี น
1. สวนลอยแหง่ บาบโิ ลน ปจั จุบันไดร้ บั ยกย่องเปน็ ส่ิงมหศั จรรย์ของโลกยุคโบราณ
2. ด้านดาราศาสตร์ มีการพยากรณส์ ุรยิ ปุ ราคาและการโคจรของดวงอาทิตยใ์ นรอบปไี ดอ้ ยา่ งถูกต้อง

5. ชาวเปอรเ์ ซยี
1. การปกครองแบบกระจายอำนาจและศาสนาโซโรแอสเตอร์ท่เี น้นหลักความดี

หน่วยที่ 2
อารยธรรมอยี ิปต์

อารยธรรมทมี่ ีความยิ่งใหญ่อกี แห่งหน่ึงของโลกที่มถี ิ่นกำเนดิ ในดนิ แดนใกล้เคยี งกับอารยธรรมเมโสโปเต
เมีย คือ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างและมีผลต่อพัฒนาการทาง
ความคิดในหลายๆ ด้าน เน่อื งจากมมี รดกทางสถาปตั ยกรรม เชน่ ปริ ามดิ และแนวความคิดและความเช่อื เกีย่ วกบั
ศาสนาและปรชั ญาอกี ดว้ ย

อียิปต์โปราณตั้งอยู่ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก โลกตะวันตกคอื ดินแดนที่อยูร่ อบทะเลเมดเิ ตอร์
เรเนียน ส่วนโลกตะวันออก ได้แก่ ดินแดนเมโสโปเตเมียและดินแดนในแถบลุ่มแม้น้ำสินธุ ทิศเหนือของอียิปต์
จรดทะเลเมดิเตอรเ์ รเนียน ส่วนทิศตะวันตกติดกับทะเลทรายซาฮารา ทะเลทรายลเิ บีย และทะเลทรายนูเบียทาง
ทิศตะวันออก ถัดไปคือ ทะเลแดง ทิศใต้จรดประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน อียิปต์เป็นดินแดนที่อุดม
สมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์มีลักษณะท่ีต่างไปจากแม่น้ำอื่นๆ คือ ทอดตวั
ไหลจากภูเขาทางตอนใต้ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ
มีนคือเส้นทางคมนาคมสายหลักและเป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทาง โดยใช้ร่วมกับทิศทางการขึ้นและตกของ
ดาวอาทิตย์ ชาวอียิปต์แบ่งช่วงแม่น้ำไนล์เป็น ๒ ช่วง คือ ต้นน้ำทางตอนใต้เรียกว่า “อียิปต์บน” (Upper
Egypt) และปลายแมน่ ้ำในดนิ แดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางเหนือว่า “อียิปต์ล่าง” (Lower Egypt)

แผนที่อียปิ ตโ์ บราณ
ประมาณ ๓,๑๕๐ ปกี ่อนครสิ ตกาล พระเจา้ เมเนส (Menes) หรือนาเมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมเมอื ง
ตา่ งๆ ท้ังในอยี ปิ ตบ์ นและอยี ปิ ต์ลา่ งเขา้ เป็นอาณาจกั รเดียวกัน และตง้ั เมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง
ประวัตศิ าสตร์ของอียปิ ตย์ คุ ราชวงศ์จึงเริม่ ตน้ ขน้ึ ประวตั ิศาสตรข์ องอียิปตอ์ าจแบง่ ออกไดเ้ ป็น ๔ ยคุ ดังน้ี

๑. ยคุ ราชวงศ์เร่มิ แรก อยูใ่ นชว่ ง ๓๑๐๐-๒๖๘๖ ปีกอ่ นคริสตกาล โดยเรม่ิ ตง้ั แตพ่ ระเจ้าเมเนส
รวบรวมเมอื งต่างๆ ได้ทั้งในอียปิ ต์ล้างและอยี ปิ ต์บนเขา้ เป็นอาณาจักรเดียวกนั และเข้าสรู่ าชวงศ์ที่ ๑ และ ๒
ยุคนเ้ี ปน็ ยุคการสรา้ งอียปิ ต์ใหม้ คี วามเป็นปึกแผน่ เขม็ แข็ง

๒. ยคุ ราชวงศเ์ ก่า อยใู่ นช่วง ๒๖๘๖-๒๑๘๑ ก่อนคริสตกาล โดยเรมิ่ จากราชวงศท์ ่ี ๓ อียปิ ตป์ ระสบ
ความวุ่นวายทางการเมือง มกี ารย้ายเมืองหลวงไปตามเมอื งต่างๆ แต่หลังจากนนั้ ก็มรี าชวงศอ์ ียปิ ต์ปกครอง
ต่อมาอีก ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ท่ี ๙ และ ๑๐ ในยคุ น้ีอยี ิปตม์ ฟี าโรห์ปกครองเรม่ิ ต้ังแตร่ าชวงศท์ ่ี ๓ ถึง
ราชวงศ์ที่ ๖ ราชวงศท์ ่ีโดดเด่นในสมัยนค้ี อื ราชวงศท์ ี่ ๔ ซง่ึ มกี ารสรา้ งปริ ามดิ ทีย่ ิ่งใหญม่ ากมายโดยเฉพาะ
มหาปริ ามดิ ของฟาโรห์คฟู ูทเี่ มอื งเซห์ ซ่งึ สรา้ งขนึ้ ประมาณ ๒,๕๐๐ ปกี ่อนคริสตกาล อยี ิปตใ์ นยคุ น้ถี อื ว่าเปน็ ยคุ
ท่ีรงุ่ เรอื งทีส่ ดุ ยุคหน่งึ และการสร้างสรรค์ความเจริญในยคุ นไ้ี ด้เปน็ รากฐานและแบบแผนของความเจรญิ ของ
อยี ปิ ตใ์ นสมยั ราชวงศ์ตอ่ ๆ มา

ตำแหน่งท่ีต้งั ของอำรยธรรมกรีก

ดนิ แดนของกรีกบนพืน้ แผ่นดนิ ในทวปี ยโุ รปแบ่งได้เป็ น 3 ส่วน

1.1 ภาคเหนือ
ไดแ้ ก่ แควน้ มำซิโดเนีย (Macedonia) เทสซำลี(Thessaly) และอิ

ไพรัส (Epirus)
1.2 ภาคกลาง
ไดแ้ ก่ บริเวณท่ีเป็นเนินเขำสูง เป็นท่ีต้งั ของนครทีบส์ (Thebes) นคร

เดลฟี (Delphi) ช่องเขำเทอร์มอปิ เล
(Thermopylae) และยอดเขำพำร์แนสซสั (Parnassus) ซ่ึงเป็นท่สี ถติ ของอะพอล
โล (Apollo) หรือสุริยเทพ ตรงปลำยสุดของดำ้ น ตะวนั ออก คอื แควน้ อตั ติกำ
(Attica) ซ่ึงมีเมืองหลวง คือ นครเอเธนส์ (Athens) แหล่งกำเนดิ กำรปกครองระบอบ

ประชำธปิ ไตย
1.3 บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus)
อยู่ตอนใต้อ่ำวคอรินท์ เป็นท่ตี ้งั ของนครรัฐสปำร์ตำ (Sparta) ที่มี

ช่ือเสียงด้ำนกำรรบ และโอลิมเปี ย (Olympia)ซ่ึงเป็นท่ีสิงสถิตของบรรดำเทพเจำ้ กรีก


Click to View FlipBook Version