The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by amporn_ku, 2021-05-18 02:19:25

การปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค

การปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค

การปฏวิ ัติฝรงั่ เศสใน ค.ศ. 1789

การปฏิวัติฝร่ังเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ท่ีเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการ
เปล่ียนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพ้ืนฐาน เป็นการปฏิวัตโิ ดย
กลุ่ม ชนช้ันกลางท่ีต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองใน ระบอบเก่า
(Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธริ าชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน

สาเหตุท่ัวไปของการปฏิวัติฝร่ังเศส ค.ศ. 1789 ประกอบด้วย
ด้านการเมอื ง
1. พระเจ้าหลุยส์ท่ี 16 ทรงไม่เข็มแข็งพอไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศจึงเปิดโอกาสให้
คณะ บคุ คลบางกลุ่มเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ
2. สภาท้องถ่นิ (Provincial Estates) เป็นสภาท่ีมีอยู่ท่ัวไปในฝร่ังเศส และตกอยู่ภายใต้อำนาจ
อิทธิพลของขุนนางท้องถิ่น เริ่มกลับเข้ามามีบทบาทอีกคร้ัง
3. สภาปาลมองต์ (Parlement) หรือศาลสูงสุดของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ให้การปรึกษากับกษัตริย์มีสิทธิ์
ยังยั้งการออกกฎหมายใหม่ (Vito) ซึ้งเป็นสภาท่ีเป็นปากเป็นเสียงของประชนเคยถูกปิดไปแล้ว กลับเข้ามามี
อำนาจอกี คร้ัง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมให้สภาปามองต์แสดงบทบาทสามารถต่อรองขอสิทธิบางอย่าง
ทางการเมือง
4. สภาฐานันดรหรือสภาท่ัวไป (Estates General) ที่จัดตั่งขึ้นในยุคกลางในสมัยพระเจ้าฟิลิปท่ี 4
เพ่ือต่อต้านอำนาจของสันตปาปา ซึ่งมีผลทำให้เกิดชนชัน้ ของประชาชน 3 ชนช้ันคือ พระ ขุนนาง และ
สามัญชน, ในปี ค.ศ. 1789 สถานะทางด้านการคลังของประเทศเกิดปัญหาขาดดลุ อย่างหนัง ทำให้พระเจ้า
หลุยส์ท่ี 16 เปิดสภานี้ข้ึนมาใหม่หลังจากจากท่ีถูกปิดไปถึง 174 ปี เพอื่ ขอเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของ

ประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มข้ึน แต่เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น จนกลายเป็นชนวนท่ีก่อให้เกิดการ
ปฏิวัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1789

5. ประเทศฝร่ังเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชน
ไม่ได้รับการคุ้มครอง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ด้านเศรษฐกิจ
1. สืบเน่ืองมาจากพระเจ้าหลุยส์ท่ี 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก เป็นปัญหาสั่งสมมาจนถึงพระ
เจ้าหลุยส์ท่ี 16

2. เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการท่ีฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันกับสงครามในต่าง ประเทศมากเกินไป
โดยเฉพาะสงครามกู้เอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 จึงทำให้เกิดค้าใช้จ่ายสูง

3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิด
วิกฤตการทางการเกษตร ราคาอาหารสูงข้ึนไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงน้ีก่อให้เกิดชนชั้นใหม่
ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง (พ่อค้า นายทุน) ซ่ึงมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ

4. พระเจ้าหลุยส์ไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายในราชสำนักได้ แต่ก็พยายามแก้ไขโดย
- ปรับปรุงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการไม่พอใจในกลุ่มคนบางกลุ่มท่ีไม่เคยเสีย
ภาษี
- เพิ่มการกู้เงิน ซ่ึงก็ช่วยทำให้มีรายได้เพ่ิมขึ้น แตก่ ็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากข้ึนด้วยเชน่ กัน
- ตัดรายจ่ายบางประการ เชน่ การเลิกเบ้ียบำนาน ลดจำนวนค่าราชการ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจใน
หมู่ข้าราชการ ยังส่งผลถึงการทำงานของราชการไม่มีประสิทธิภาพ
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นผลสำเร็จ เน่ืองจากแก้ไขที่ไม่ตรงจุด จึงไม่สามารถตัดรายจ่ายท่ีไม่
จำเป็นลงไปได้
ด้านสังคม
1. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติ จาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงคราม
ประกาศอิสภาพจากอังกฤษ จึงทำให้รับอทิ ธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพน้ันกลับเข้ามาในประเทศด้วย
อิทธิพลทางความคิดท่ีสำคัญที่รับมาคือจากบรรดานักปรัชญากลุ่ม ฟิโลซอฟส์ (Philosophes) นักปรัชญา

คนสำคัญคือ วอร์แตร์, จอห์น ล็อค, รุสโซ่

2. เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคม อันเนื่องมาจากพลเมืองแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดร คือ
- ฐานันดรท่ี 1 พระ
- ฐานันดรที่ 2 ขุนนาง
- ฐานันดรท่ี 3 สามัญชน
ฐานันดรท่ี 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ชน คือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้กลุ่มฐานันดรท่ี 3 ต้องแบก

รับภาระทั้งหลายอย่างเอาไว้เช่น การเสียภาษี การจ่ายเงินค่าเช่าท่ีดิน และการถูกเกณฑ์ไปรบ กลุ่มฐานันดร
ที่ 3 ถือเป็นกลุ่มไม่มีอภสิ ิทธ์ิชน

สาเหตุปัจจุบันของการปฏิวัติฝร่ังเศส ค.ศ.1789
เมื่อประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าหลุยส์ท่ี

16 จึงทรงเปดิ ประชุมสภาฐานันดร (Estates General) ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพ่ือขอคะแนน
เสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลัง แตไ่ ด้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกลุ่ม
ฐานันดรท่ี 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้น
เสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่ม จึงทำให้กลุ่มฐานันดรท่ี 3 เดินออกจากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ
(National Assombly) เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม

ต่อมาวันท่ี 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาตไิ ด้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และร่วม
สาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ใน
การปกครองประเทศ

ในขณะเดียวกันกับ ความวุ่นวายได้เกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองในปารีส และได้ขยายตัวออกไปท่ัว
ประเทศ ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ท่ี 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความ
ฝูงชนท่ีก่อวุ่นวายในปารีส

ดังนั้น ในวันท่ี 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล(Bastille) ซึ่ง
เป็นสถานท่ีคุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า

ผลจากการปฏิวัติฝร่ังเศส ค.ศ.1789
1. เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบรู ณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ

(หลายคน)
2. มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และ

โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนท่ี
3. ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ
4. เกิดความวนุ่ วายท่ัวประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปกครองแบบเก่า
5. มีการทำสงครามกับตา่ งชาติ
6. มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติเไปยังประเทศอ่ืน ๆ ในยุโรป



สภาพการณท์ ั่วไปของฝรั่งเศสก่อนการปฏวิ ัติ ค.ศ. 1789
ภาพการณ์ทางสงั คม
สังคมฝรั่งเศสเป็นสังคมที่เหลื่อมล้ำ เพราะแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 ฐานันดร ได้แก่ ฐานันดรที่ 1

และฐานันดรที่ 2 คือพวกพระและขุนนางซึ่งมีประมาณ 500,000 คน หรือประมาณร้อยละ 2 ของจำนวน
ประชาการทั้งหมด พวกพระและขุนนางจึงถือเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน เพราะเป็นเจ้าของที่ดินเพาะปลูกอันกว้าง
ใหญ่ประมาณร้อยละ 30 – 40 ของเนื้อที่เพาะปลูกภายในประเทศและยังได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรทุก
ประเภทอกี ดว้ ย

ฐานนั ดรที่ 3 คือพวกสามัญชน ซึ่งส่วนใหญเ่ ป็นพวกชาวนาชาวไรท่ ยี่ ากจน มีจำนวนประมาณ 20
ลา้ นคน และอีกประมาณกวา่ 4 ล้านคนเป็นกลมุ่ ชนชั้นกลางโดยกลมุ่ คนทีอ่ ยู่ในฐานนั ดรท่ี 3 นตี้ ้องเสยี ภาษี
ให้กับรัฐเป็นจำนวนมากอกี ทงั้ ยงั ถูกเกณฑ์ทหารและเกณฑแ์ รงงานไปทำสาธารณะและอนื่ ๆ

2. สภาพการณท์ างเศรษฐกจิ
ในปลายศริสต์ศตวรรษที่ 18 ฐานะทางเศรษฐกิจและการคลังของฝรั่งเศสอยู่ในสภาวะวิกฤตถึงขั้น
ล้มละลาย เนื่องจากฝรั่งเศสเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามนอกประเทศหลายครั้งโดยไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ
นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ฝรั่งเศสยังสนับสนุนให้อาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาให้ปฏิวัติแยกตัวออก
จากอังกฤษทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างมาก จนฐานะทางการเงินทรุดตัวจนเกือบทรงตัวไว้ไมไ่ ด้ และ
ในระหว่าง ค.ศ. 1770-1780 ฝรั่งเศสเกิดสภาวะวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ เพราะการเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลและ
เกิดภาวะการขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ราชสำนักท่ีแวรซ์ ายส์ก็ใช้จ่ายอยา่ งสุรุ่ยสุร่ายทำให้รายจ่ายในแตล่ ะ
ปมี มี ากกวา่ รายได้ทีเ่ รียกเก็บภาษชี นิดต่างๆ

3. สภาพการณ์ทางการเมือง

ระบบการปกครองของฝรง่ั เศสท่เี รยี กกนั วา่ ระบบเกา่ (Ancient Regime) เป็นระบบการปกครอง
ทมี่ ีความซบั ซ้อนและยงุ่ เหยงิ มาก เพราะแบ่งประเทศเป็นหน่วยปกครองอสิ ระถงึ 60 หน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยมี
ระบบกฎหมายและระเบยี บบริหารของตนเอง ทง้ั ยังมีขา้ หลวงตรวจการซงึ่ ทำหนา้ ที่แทนพระมหากษัตริย์
บริหารเขตการปกครองแตล่ ะเขต แตก่ ย็ งั ขาดการวางระบบบริหารให้เป็นแบบแผนเหมอื นกนั ทัว่ ท้งั
ประเทศ การบริหารดา้ นตา่ งๆจงึ ขาดประสทิ ธภิ าพและมกั สร้างปัญหาอยเู่ สมอ นอกจากน้ี การทกี่ ษัตรยิ ์ทรง
มอี ำนาจท่ีไมม่ ีขอบเขตจำกดั และทรงอยเู่ หนือกฎหมายบา้ นเมือง พระองคจ์ ึงมักใช้อำนาจโดยพลการ เมื่อ
รฐั บาลและผู้นำประเทศไม่เข้มแขง็ กไ็ มส่ ามารถควบคุมประเทศใหม้ ีประสทิ ธิภาพได้ (สบื แสง พรหมบุญ

และคณะ, 2533)

ปัจจัยท่ีมีผลตอ่ การปฏิวัติก็มีอยหู่ ลายประการที่ประกอบกันทำใหค้ วามไมพ่ อใจที่มีอยเู่ ป็นเวลานาน
ของประชาชนจนขยายตวั และระเบิดออกมากลายเป็นการปฏิวัติในท่สี ุด เช่น

1. ความไมพ่ อใจในระบบการปกครองแบบเก่า
อนั ท่จี รงิ ชนชนั้ กลางชาวฝรง่ั เศสมีความรสู้ กึ ทางการเมืองมาเปน็ เวลานานแล้ว ความตอ้ งการทจ่ี ะมี
สว่ นในการบรหิ ารน้ี มิได้เกดิ จากความรูส้ กึ ว่าถูกกษัตรยิ ์ฝรั่งเศสปกครองอยา่ งกดข่ี หากแตเ่ กดิ จากความเบ่อื
หนา่ ยและไมพ่ อใจระบบการปกครองที่ขาดสมรรถภาพ และไม่สอดคลอ้ งกบั ความต้องการของประเทศ
เกษตรกรรมอยา่ งฝรงั่ เศส อกี ทั้งกีดกนั ไม่ใหค้ นหมมู่ ากไดม้ สี ทิ ธิมีเสยี งในการบริหารงานบ้าง สง่ิ ทแี่ สดงใหเ้ ห็น
ว่าระบบการปกครองทีใ่ ช้อยู่มีข้อบกพรอ่ งมากเพยี งใดคือ หลังจากที่ตอ้ งกยู้ ืมเงนิ อยู่เป็นประจำและมรี ายจ่านสงู
กว่ารายรับหลายเทา่ ตวั โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ หลงั จากทกี่ ษัตรยิ ์องค์ตา่ งๆ ไดท้ รงใชจ้ า่ ยอย่างสุร่ยุ สุรา่ ยในการทำ
สงครามและการดำเนินชีวติ อย่างหรหู ร่าฟุ่มเฟือยในราาชสำนกั รฐั บาลฝรัง่ เศสก็มีอันตอ้ งล้มละลายไปใน ค.ศ.

1789

ฝ่ายพวกสามัญชนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชาวนา ก็มีความไม่พอใจในระบบการปกครองที่ทำ
ให้พวกตนไม่มีโอกาสยกมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นไปได้ เพราะเป็นระบบที่บังคับให้ชาวนารับภาระการ
เสียภาษีแทนพวกอภสิ ิทธิ์ชนที่มีฐานะร่ำรวยกว่ามาก มิหนำซ้ำพวกอภิสิทธิ์ชนทั้งท่ีเป็นพระและขุนนางยงั อ้าง
สทิ ธทิ ไี่ ดร้ บั ตามระบบฟวิ ดัลดัง่ เดิมมาเบียดเบยี นรดี ไถพวกชาวนาเพิ่มเตมิ อีกด้วย

2. อทิ ธพิ ลของกลุ่มนักปรชั ญา
ผู้ที่มีส่วนช่วยในการเปิดเผยข้อบกพร่องของระบบการปกครองแบบเก่า และบ่อนทำลายรากฐาน
การบริหารตั้งแต่สมัยก่อนการปฏิวัติคือ กลุ่มนักปรัชญา (Philosophes) นักปรัชญาที่มีบทบาทสำคัญในการ
ทำให้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสือ่ มความนิยมลงเปน็ อันมาก ได้แก่ มองเตสกเิ ออ (Montesquieu) วอลแตร์
(Voltaire) ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) และดเิ ดอโรส์ (Diderot) แมว้ า่ มองเตสกเิ ออมา
จากครอบครัวที่เป็นสมาชิกปาลมองต์และยังต้องการธำรงไว้ซึ่งอภิสิทธิ์ที่ได้รับในฐานะที่เคยเป็นสมาชิก
ปาลมองต์ แต่เขาก็เห็นว่าควรมีสถาบันอื่นๆ มาจำกัดการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์และการใช้เสรีภาพ
ของประชาชน ไมใ่ ห้เกดิ ขอบเขตอันควร ในหนงั สอื ซง่ึ ช่อื ว่า L’Esprit des Lois ซ่ึงตพี มิ พใ์ น ค.ศ. 1748 มอง
เตสกิเออได้เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของระบบการปกครองแบบต่างๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมันกรีกและ
โรมัน เขาเห็นว่าควรแยกอำนาจออกเป็น 3 สาขาที่แยกจากกัน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ
อำนาจตุลาการ ระบบการปกครองที่ดีที่สุดนั้นได้แก่ระบบที่มีสภามาควบคุมการใช้อำนาจของ
พระมหากษัตริย์ โดยให้ชนช้ันขุนนางและชนช้นั กลางเปน็ ผูเ้ ลอื กตงั้ สมาชกิ ของสภานี้

ส่วนวอลแตร์ ซึ่งมาจากชนชั้นกลางที่ร่ำรวยก็เป็นนักปรัชญาที่ได้พยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง
สิทธิ เสรีภาพและความยุติธรรมแก่ปวงชน เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการนับถือ
ศาสนาตามใจชอบ เป็นต้น ในผลงานการประพันธ์ของวอลแตร์ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด คือ มีทั้งหนังสือ
ประวัติศาสตร์ บทละคร กวีนิพนธ์ และนวนิยาย เรื่องที่วอลแตร์โจมตีอยู่ตลอดเวลาหรือตลอดชีวิตก็ว่าได้
คือ เรื่องที่ว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงใช้พระอำนาจไปในทางมิชอบ และเรื่อง
การไม่มีขันติธรรมทางศาสนา ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอยู่อย่างปราศจากความสุขอันพึงมีในฐานะมนุษย์
หากเปรียบเทียบวอลแตร์กับนักปรัชยาคนอื่นๆ อาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์เป็นผู้ที่มีบทบาทในการบ่อนทำลาย
อำนาจของพระมหากษัตริย์และของวัดในศตวรรษที่ 18 มากที่สุด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมญานามที่วอลแตร์ได้ต้ัง
ไว้ให้แก่ตนเองว่าเป็น “มหาผู้ทำลาย” (grabd demolisseur) นั้น นับว่าตรงกับความเป็นจริงอยู่เป็นอัน
มาก

รุสโซเปน็ นกั ปรัชญาที่สนับสนุนระบบประชาธิปไตย และมีแนวทางเชิงปฏิวัติมากกว่านักปรัชญาทัง้
สองที่ได้กล่าวมาแล้ว ในหนังสือของรุสโซที่ชื่อว่า Emile และ Contrat Social ซึ่งตีพิมพ์ในปีเดียวกัน คือ
ค.ศ. 1762 เขาได้เสนอแนวความคิดในหารวางโครงสร้างทางการเมืองและสังคมขึ้นมาใหม่ ระบอบการ
ปกครองที่รุสโซต้องการให้นำมาใช้แทนระบอบสมบูรณษญษสิทธิราชย์ คือ ระบอบการปกครองแบบ
สาธารณรัฐ แนวความคิดต่างๆของรุสโซที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสองเล่มนี้รวมทั้งแนวความคิดประชาธิปไตย
ที่ว่า คนทุกคนมีความเสมอภาคและต่างมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอย่างเท่าเทียมกันนั้น ล้วนแล้วแต่จะ
นำไปสู่การจดั ต้งั ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐในอีก 30 ปีต่อมา

ในฐานะทเี่ ป็นผจู้ ัดพิมพ์สารานกุ รม (Encyclopedie) ซ่ึงเริมดำเนินการใน ค.ศ. 1715 และสำเร็จ
อย่างสมบรู ณ์ใน ค.ศ. 1772 ดิเดอโรต์ กถ็ ือไดว้ า่ เป็นนักปรัชญาทม่ บี ทบาทสำคญั มากท่สี กุ อีกในการเผยแพร่
แนวคิดใหม่ๆ ที่บ่อนทำลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สารานุกรมฉบับนี้ นักปรัชญา นักเขียน และ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิในศตวรรษที่ 18 เกือบทุกคน ได้ให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการเป็นอย่าง
ดี นอกจากได้ให้ความรูใ้ หมๆ่ เกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคนิคการผลิตทางด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
อย่างละเอียดถี่ถ้วน ยังมีข้อความที่โจมตีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความอยุติธรรมทางสังคมและการ

ขาดขันติธรรมทางสาสนาอีกด้วย ในบานะที่เป็นที่รวมของแนวความคิดใหม่ๆ และข้อบกพร่องต่างๆ ของ
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สารานุกรมฉบับนี้ถือได้ว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกเชิงปฏิวัติอีกทาง
หนง่ึ (อรุณ โรจนสนั ต,ิ 2542)

แม้ว่าใน ค.ศ. 1789 นักปรัชญาที่ทรงอิทธิพลเหล่านี้ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่แนวความคิดของ
ปัญญาชนกลุ่มนี้ก็ยังเป็นแรงดลใจสำคัญให้ก่อการปฏิวัติในเวลาต่อมาอยู่นั่นเอง นักปรัชญาสมัยศตวรรษที่
18 กลุ่มที่ได้เอ่ยชื่อมานี้ถือได้ว่าเป็นเสมือนหนึ่งผู้สร้างลัทธิการปฏวัตใิ หช้ าวฝรั่งเศสนำไปปฏบัติแลดำเนินการ
ตอ่ ในอนาคต

3. อทิ ธิพลของการปฏวิ ัติอเมรกิ า
อันที่จรงิ แลว้ หากฝรั่งเศสมีกษัตริย์ทเ่ี ขม้ แข็งและกล้าตัดสินพระทยั ปฏริ ปู ระบบการปกครองมากกว่า
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งทรงครองราชย์ใน ค.ศ. 1774 ขณะที่มีพระชนมายุ 20 พรรษา การปฏิวัติอาจจะ
ไมเ่ กดิ มาเลยก็ได้ ความทพ่ี ระเจ้าหลุยส์ท่ี 16 ยังทรงเยาวว์ ยั อยู่ และไม่ทรงมคี วามสามารถมากไปกวา่ พระเจ้า
หลุยส์ที่ 15 (ค.ศ. 1715-1774) พระอัยกาของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก
การนำฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันในสงครามกู้อิสรภาพของชาวอเมริกันกับอังกฤษใน ค.ศ. 1778 เพราะคำนึงแต่
เพียงว่า การเข้าไปช่วยอาณานิคมในอเมริกันทั้ง 13 แห่ง จะเป็นโอกาสให้พระองค์ได้แก้แค้น การที่ฝรั่งเศส
ได้รบั ความปราชยั ในสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War ค.ศ. 1756-1763)

แม้ว่าทางด้านการทหารฝรั่งเศสสามารถกู้ศักดิ์ศรีกลับคืนมาได้ แต่การเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสงครามกู้
อิสรภาพนีก้ ม็ ีผลสบื เนื่องท่รี ้ายแรงสำหรับสถาบนั กษัตรยิ ์ของฝรั่งเศสอย่เู หมือนกนั กลา่ วคือทหารฝร่ังเศสเป็น
จำนวนมากที่ได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างการต่อสู้เพื่อให้ได้มาถึงสิทธิ เสรีภาพ และอำนาจอธิปไตย และได้เข้าไป
ช่วยชาวอาณานิคมกอบกู้เอกราชจนสำเร็จ ก็พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิวัติทำนองเดียวกันในบ้านเกิดเมือง
นอนของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางหนุ่มอย่าง มากีส์ เดอ ลา ฟาแยต และนักหนังสือพิมพ์ บริซ
โซต์ ซึ่งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มผู้นำของขบวนการปฏิวัติอเมริกัน จะเป็นผู้ที่นำความคิด
ใหมๆ่ มาเผยแพร่ในฝรั่งเศสอยา่ งกระตอื รือร้นต่อไป

ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเข้าไปมีบทบาทในสงครามกู้อิสระภาพอเมริกันอีกประการหนึ่ง คือ
ค่าใช้จ่ายในสงครามครั้งน้ี ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีอันต้องล้มละลายไปในที่สุด ในเมื่อระบบการเก็บภาษีที่ใช้
อยู่เป็นระบบที่นอกจากที่ความอยุติธรรมอยู่มากแล้ว ยังไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาล
ของพระเจ้าหลยุ ส์ท่ี 16 จำเปน็ ต้องกู้เงินสำหรบั ใช้จ่ายในการทำสงครามพอกพูนไปเรอื่ ยๆ ในอัตราดอกเบี้ยที่
มีแต่จะสูงขึ้นไปทุกครั้ง พอถึง ค.ศ. 1780 ฐานะทางการเงินของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ทรุดโทรมลงไปจนทรงตัว
ไว้ไม่ได้ ทางออกทางเดียวที่มีอยู่คือต้องกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้นปัญหาหนี้สินก็มีความร้ายแรงมากขึ้น
ตามมาด้วย

จรงิ อยู่ใน ค.ศ. 1781 เนกเกร์ (Necker) ซง่ึ ดำรงตำแหนง่ Controleur-general des
finances หรอื อีกในหน่งึ เสนาบดคี ลัง สามารถปกปดิ ฐานะทางการเงินอนั ยอบแยบของรัฐบาลไว้ได้ ดว้ ย
การกล่าวเท็จในรายงานทเ่ี รียกว่า Compte rendu roi ว่า รฐั บาลมีรายรับมากกว่ารายจ่าย 10 ล้าน 2
แสนลีฟร์ หรอื อกี ในหนงึ่ 10 ลา้ น 2 แสนฟรงั ค์ แตใ่ นขณะเดยี วกันเนกเกรไ์ ดว้ พิ ากวิจารย์การใช้เงนิ อย่าง
สุรุ่ยสุร่ายในราชสำนกั ตำหนริ ะบบการเกบ็ ภาษที ใี่ ชอ้ ยู่ และเสนอแนะใหป้ ฏิรปู ระบบการเงินขน้ึ มาใหม่ พระ
เจ้าหลยุ สท์ ี่ 16 จึงทรงแตง่ ต้งั กาลอนน์ (Calonne) ให้ดำรงตำแหนง่ เสนาบดคี ลังแทนเนกเกร์ซึง่ ถูกบงั คบั ให้
ลาออกไป ในสมัยท่กี าลอนนร์ ับผิดชอบกิจการคลังอยูน่ ี้ สถานการณท์ างการเงนิ ของฝรงั่ เศสนบั วันมีแตจ่ ะ
ทรุดหนักลงไปอกี ดังจะเห็นวา่ ในชว่ ง ค.ศ. 1783-1786 อนั เปน็ ระยะทฝี่ ร่งั เศสวา่ งเว้นการทำสงคราม
รฐั บาลกลบั มหี นี้สินเงินกสู้ ูงกว่าจำนวนเงนิ ทเี่ นกเกร์กมู้ าในช่วง ค.ศ. 1776-1781 อนั เปน็ ระยะที่ฝรง่ั เศสตก
อยใู่ นภาวะสงครามเสียอกี ในทสี่ ดุ ตวั กาลอนนเ์ องก็ต้องเปดิ เผยความจริงออกมาใน ค.ศ. 1786 วา่ รายรับ
ของรัฐน้อยกวา่ รายจ่ายเปน็ อันมาก อที ง้ั การก้ยู ืมเงนิ มากข้ึนก็มอิ าจกระทำไดเ้ พราะหนส้ี ินเดมิ กไ็ ม่มเี งนิ
พอทจี่ ะจ่ายคนื

4. โครงการการปฏริ ูปและการลุกฮอื ข้นึ ตอ่ ต้านของกลุ่มอภิสิทธิช์ น

เมื่อไม่สามารถกู้ฐานะทางการเงินของประเทศให้รอดพ้นจากสภาวะการล้มละลายได้ กาลอนน์จึง
เสนอให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปฏิรูประบบการเงินของฝรั่งเศส ตามนโยบาลการปฏิรูปที่ตรูโกต์ (Turgot) ซึ่ง
เป็นเสนาบดีคลังอยู่ในช่วง ค.ศ. 1774-1776 และเนกเกร์ ได้วางไว้ก่อนหน้านี้ในโครงการปฏิรูปที่กาลอนน์
ร่างขึ้นใน ค.ศ. 1787 นอกจากให้ยกเลิกอภิสิทธิ์ต่างๆ รวมทั้งเรื่องการเกณฑ์แรงงานและเรียกเก็บภาษีจาก
ชนทุกชั้นแล้ว กาลอนน์ยังเสนอให้เรียกเก็บภาษีที่ดินที่ตั้งขึ้นใหม่จากเจ้าของที่ดินจากทุกชนชั้น อัตราส่วนท่ี
จะเรียกเก็บก็ให้เป็นไปตามขนาดของพื้นท่ี และความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินแต่ละผืน โดยสภาท้องถิ่นที่
เลือกตั้งขึ้นมาใหม่อันจะประกอบด้วยผู้แทนของเจ้าของทุกระดับในจำนวนเท่าๆ กัน จะเป็นฝ่ายที่กำหนด
ขึ้นมาในภายหน้า ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า และเพิ่มรายได้อีกทาง
หนึ่ง กาลอนน์ก็ได้เตรียมขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ขัดขวางความเจริญกา้ วหน้าของกิจการค้า เช่น ให้ยกเลิกภาษี
การคา้ และคา่ ธรรมเนียมภายในประเทศและให้มีการคา้ ขา้ วได้โดยเสรี เปน็ ตน้

โดยที่โครงการการปฏิรูปนี้เป็นโครงการที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของกลุ่มอภิสิทธ์ชน
โดยตรง ดังนั้นปาลมองต์แห่งกรุงปารีส ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ต่างก็หวงแหนอภิสิทธิ์ที่ตนได้รับอยู่ จึงไม่
ยอมรับโครงการของกาลอนน์ และปฏิเสธที่จะลงทะเบียนพระราชโองการว่าด้วยการปฏิรูปที่กาลอนน์ลง
ไป เมื่อเผชิญกับการต่อต้านของปาลมองต์ กาลอนน์ก็หันไปเรียกประชุมสภาบุคคลสำคัญในราชอาณาจักรท่ี
เรียกว่า Assemblss de Notables เพื่อให้สภานี้ให้ความเห็นชอบด้วยกับโครงการของตนแต่โดยที่สมาชิก
ของสภานี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นอภิสิทธ์ชนทั้งสิ้น โครงการปฏิรูปของกาลอนน์จึงไม่มีทางที่จะไดร้ ับความเห็นชอบ
จากสภา การทพ่ี วกอภสิ ิทธิช์ นท้ังท่เี ป็นสมาชิกของปาลมองต์ และสมาชิกของสภาบคุ คลสำคญั ดังกล่าว ต่าง

คัดค้างโครงการของกาลอนน์อย่างแข็งขัน ก็เพราะพวกอภิสิทธิ์ชนคงจะกลัวว่า การสูญเสียอภิสิทธิ์ในการไม่
ต้องเสียภาษีจะทำให้รายได้ของตนในอนาคตต้องลดน้อยลงไปมาก ส่วนการที่จะให้พวกเจ้าของที่ดินชนชั้น
สามัญ และแม้กระทั่งพวกชาวนา เข้าร่วมประชุมสภาท้องถิ่นอย่างเสมอภาคทัดเทียมกับเจ้าของที่ดินชนชัน้
อ่นื ๆ นั้น กท็ ำให้ศักด์ิศรีของพวกตนต้องสูญเสยี ไป

อย่างไรก็ตามเมื่อกาลอนน์ไม่สามารถดำเนินการตามโครงการปฏิรูปได้ก็ถูกพระเจ้าหลุยส์ที่
16 บังคับให้ลาออกไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 1787 ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งเสนาบดีคลังแทนกาลอนน์
คือ โลเมนี เดอ บริแอนน์ (Lomenie de Brienne) อัครสังฆราชแห่ง ตูลูส ซึ่งเป็นคนโปรดของพระ
ราชินี แต่บริแอนน์เองก็ไม่สามารถแก้ไขฐานะทางการเงินให้ดีขึ้นได้ และในที่สุดก็ต้องหันไปหาทางนำ
โครงการการปฏิรูปของกาลอนน์ออกมาใช้ ในการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยส่งโครงการการ
ปฏิรูปไปให้ปาลมองต์แห่งกรุงปารีสพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยตรงแทนขอให้ชนชั้นขุนนางทัง้ หมดเป็นฝ่าย
พิจารณา แต่ปาลมองค์แห่งกรุงปารีส เห็นว่าเป็นโอกาสดีในการที่จะให้ปาลมองต์มีบทบาทสำคัญในการ
ปกครองประเทศในแบบเดียวกันกับรัฐสภาอังกฤษ แทนที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีความและลงทะเบียนพระ
ราชโองการต่างๆ เท่านั้น จึงปฏิเสธไม่ยอมให้ความร่วมมือกับปริแอนน์พร้อมกันนั้นก็ได้แถลงการณ์ประณาม
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าพระองค์ทรงปกครองประเทศเยี่ยงทรราช ด้วยการไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ
ปาลมองต์ ในขณะเดียวกันแถลงการณ์ฉบับนี้ก็กล่าวเสริมด้วยว่าปาลมองต์ จะทำหน้าที่ปกป้องประชาชนจะ
พ้นจากการใช้อำนาจเดด็ ขาดของกษัตรยิ ฝ์ ร่ังเศส และการปกครองอยา่ งกดข่ีของเสนาบดตี า่ งๆ ใหจ้ งได้

การที่รัฐบาลจะปฏิรูประบบการเก็บภาษีให้มีความยุติธรรม ด้วยการขจัดอภิสิทธิ์ต่างๆ
ออกไป และให้ทุกชนชั้นเสียภาษีทั่วหน้าถึงกัน เพื่อจะได้แก้ปัญหาทางด้านการเงินท่ีประสบอยู่ น่าจะเป็น
เรื่องที่ปาลมองค์ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันไม่ให้บริ
แอนน์ดำเนินการปฏิรูปได้สำเร็จ ปาลมองต์แห่งกรุงปารีสยืนยันว่าในทุกกรณีการปฏิรูปจะเกิดขึ้นมาได้ก็
ต่อเมื่อสภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป (Etats Generaux) เป็นฝ่ายพิจารณาให้ความเห็นชอบเสียก่อน ในที่สุด
ในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 1787 บรีแอนน์ก็ต้องยอมสัญญาว่า ถ้าปาลมองต์ยอมรับรองพระราชโองการกู้
เงินจำนวน 420 ล้านลีฟร์ทันที รัฐบาลจะเรียกประชุมสภาฐานันดรในปี ค.ศ. 1792 แต่ปาลมองตต์ ่อรองให้
เรยี กประชมุ ใน ค.ศ. 1789 พร้อมกบั ยืนกรานวา่ จะตอ้ งรอใหม้ กี ารประชุมสภาฐานนั ดรเสียก่อน เมื่อเผชิญ
กับท่าทีแข็งข้อของปาลมองต์เช่นน้ี พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ทรงใช้กำลังตอบโต้ด้วยการส่งให้จับกุมสมาชิก
ระดับผู้นำของปาลมองต์ บังคับสมาชิกส่วนที่เหลือให้ยอมรับรองพระราชโองการ 6 ฉบับ และไม่ให้ปาล
มองต์มีสิทธิพิจารณาพระราชโองการก่อนลงทะเบียนอีกในอนาคตนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1788 ผล
ปรากฏวา่ แทนทจี่ ะแขง็ แกรง่ ย่ิงข้นึ ปาลมองตแ์ หง่ กรุงปารีสกลับตอ้ งตกอยู่ในสภาพท่ีอ่อนแอกวา่ เดมิ เสียอกี

ความไม่พอใจที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงใช้อำนาจกษัตริย์ในครั้งนี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะภายในกรุง
ปารสี เทา่ นั้น แตร่ วมไปถึงตา่ งจังหวัดด้วย ประชาชนทั่วทกุ แห่งหนไดย้ นื ยัดอยู่เคียงข้างปาลมองต์ และถึงกับ
ลกุ ฮือข้นึ ก่อการจลาจล เชน่ ที่ โป (Pau) ในเบรอตาญ ประชาชนไดเ้ ขา้ ไปล้อมทีพ่ ักของข้าหลวงตรวจการ ส่วน
ที่เกรอนอเบลอ (Grenoble) ทหารที่เดินทางไปเนรเทศสมาชิกของปาลมองต์ที่นั่นตามคำสั่งรัฐบาลก็ถูก
ประชาชนทอี่ ยตู่ ามหลงั คาบา้ นขว้างปาด้วยกระเบ้อื งมุงหลังคา ในวันท่ี 7 มถิ นุ ายน ค.ศ. 1788 อนั เป็นวันท่ี
เรยี กว่า “วันแห่งกระเบอื้ งหลังคา” (Journee des tuiles)

เม่อื เผชญิ หนา้ กบั การรวมตัวของชนชนั้ กลางและชนชน้ั สูงทุกประเภท พระเจ้าหลยุ สจ์ งึ จำต้องสกัด
กัน้ ไม่ใหก้ ารแขง็ ขอ้ ลกุ ลามกวา้ งขวางออกไปอกี ด้วยการตดั สินพระทัยประกาศในวันท่ี 8 สิงหาคม ค.ศ. 1788
ว่าพระองคท์ รงยนิ ยอมใหม้ กี ารประชมุ สภาฐานนั ดรขึน้ ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 อกี ท้ังยังรับสัง่ ให้
เนกเกรก์ ลับเขา้ มารบั ตำแหนง่ แทนบริแอนน์

5. การประชมุ สภาฐานันดร
ตามรูปแบบการประชมุ สภาฐานนั ดรในคร้ังสดุ ทา้ ยใน ค.ศ. 1614 ฐานันดรแตล่ ะฐานันดรมีสิทธ์ิส่ง
ผแู้ ทนได้จำนวนเท่าๆ กัน คือฐานนั ดรละ 300 คน อีกท้ังผูแ้ ทนฐานนั ดรแต่ละฐานันดรจะพิจารณาและลงมติ
เกี่ยวกับเรี่องต่างๆ ระหว่างพวกของตนเท่าน้ันจะไม่ไปรวมกับฐานันดรอื่น สำหรับการลงคะแนนเสียงนั้นพวก
อภิสิทธ์ิชนเรียกร้องให้มีการในการประชุมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เป็นเช่นเดียวกับการประชุมใน
ค.ศ. 1614 เปน็ ระบบทก่ี ำหนดใหล้ งคะแนนเสยี งเป็นรายฐานันดร คอื ฐานันดรละ 1 เสยี ง พวกอภสิ ทิ ธชิ์ น
ในฐานันดรที่ 1 และฐานันดรที่ 2 จึงมักเป็นฝ่ายที่ชนะพวกสามัญชนในฐานันดรที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง 2 ต่อ
1 อยเู่ สมอ

พธิ ีเปิ ดสมยั การประชุมสภาฐานันดร ณ พระราชวงั แวร์ซาย กรุงปารีส 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789

โดยที่พวกสามัญชนระดับผู้นำต่างตระหนักดีกบั ปัญหาทีต่ กอยู่ในฐานะเสียเปรียบอย่เู ป็นประจำ เพราะ
หากมีข้อเสนอใดที่ขัดผลประโยชน์ของพวกอภิสิทธิ์ชน ฐานันดรที่ 1และ 2 ก็มักจะร่วมมือกันลงคะแนนเสียง
คัดค้านทุกครั้งไป พวกสามัญชนจึงได้เสนอรูปแบบการประชุมสภาฐานันดรแบบใหม่ คือ จำนวนผู้แทนใน
ฐานันดรที่ 3 ควรมีผู้แทนเท่ากับจำนวนผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวฝรั่งเศสส่วน
ใหญ่อยู่ในฐานันดรที่ 3 นอกจากนี้ควรให้ผู้แทนทั้งหมดทุฐานันดรร่วมพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ผลประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งเมื่อมีการลงคะแนนเสียงก็ให้ลงเป็นรายบุคคล โดยที่เนกเกร์เห็นว่าข้อเสนอของ

กลุ่มฐานันดรที่ 3 จะช่วยให้ตนฝ่าฟันอุปสรรคที่ชนชั้นขุนนางตั้งขวางโครงการการปฏิรูปของตนได้อย่าง
ดี เนกเกร์จึงตอบตกลงให้ฐานันดรที่ 3 มีจำนวนผู้แทนเท่ากับจำนวนพวกผู้แทนของฐานันดรที่ 1 และ 2
รวมกนั แตย่ งั ไม่สามารถตกลงใจเร่ืองการลงคะแนนเสยี งเป็นรายบคุ คลได้

6. ปญั หาการเลือกตัง้ ผ้แู ทนสภาฐานนั ดร
ตามระบอบการเลือกตั้งดั้งเดิมซึ่งมีความซับซ้อนอยู่มากประชาชนในแต่ละเมืองหรือหมู่บ้านแต่ละ
หมู่บ้าน ตา่ งเลอื กผ้แู ทนฐานนั ดรขอตนข้ันหนงึ่ ก่อนหลังจากน้ันสภาจึงจะเปน็ ฝา่ ยเลือกเฟน้ ตวั ผแู้ ทนฐานันดรท่ี
แทจ้ ริงอกี ตอ่ หนึ่ง ผู้แทนของฐานนั ดรท่ี 3 ซ่งึ มีอย่ถู งึ 610 คนเกอื บทงั้ หมดเปน็ ชนชัน้ กลางและส่วนใหญ่เป็น
ผู้ที่มีการศึกษาดี พร้อมๆ กับการเลือกผู้แทนที่จะไปเป็นปากเสียงของพวกตน ชาวฝรั่งเศสที่มีสิทธิ์ออกเสยี ง
เลือกตั้งก็ได้ร่างรายการร้องทุกข์ ในรายการเหล่านั้นมีข้อร้องทุกข์เป็นจำนวนมากที่ประณามการใช้อำนาจ
สิทธิ์ขาดของกษัตริย์ฝรั่งเศสและยังมีการเรียกร้องให้ใช้ระบอบการปกครองแบบใชรัฐธรรมนูญ ให้ปฏิรูปความ
ยุตธิ รรมในระบบการเก็บภาษี
แต่เมื่อมีการประชุมสภาฐานันดรวาระแรก ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ที่แวร์ซายส์กป็ รากฎ
ว่าที่ประชุมมีเรื่องขัดแย้งกันมาเกินกว่าที่จะยับยั้งเหตุการณ์ไม่ให้บานปลายออกไปได้ สิ่งที่สร้างความผิดหวัง
ให้แก่ผู้แทนฐานันดรที่ 3 มากที่สุด คือ เรื่องที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยกเลิกการอนุมัติให้ฐานันดรที่ 3 มีจำนวน
ผู้แทนเป็น 2 เท่าของฐานันดรอื่นๆ และกำหนดให้ใช้วิธีการประชุมแบบเดิมดังที่เคยใช้กันมาในสมัย ค.ศ.
1614 ผู้แทนของชนชั้นสามัญจึงตัดสินใจประกาศตั้งตนขึ้นเป็นสภาแห่งชาติ (Assemble National) ใน
วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 พร้อมกับแสดงการท้าทายอำนาจกษัตริย์ด้วยประกาศว่า ในอนาคตการ
เรียกเก็บภาษจี ะต้องได้รบั อนมุ ัติจากผแู้ ทนสภาแห่งชาติอันเปน็ เสมือนหนึ่งปากเสียงของชาวฝรั่งเศสถึง 96 %
เสียกอ่ น มฉิ ะน้นั จะถอื วา่ เปน็ การกระทำทมี่ ชิ อบด้วยกฎหมาย
เมื่อทรงเผชิญกับการกระทำเชิงปฏิวัติเช่นน้ี พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงออกคำสั่งให้ปิดประตูห้อง
ประชุมที่พวกผู้แทนใช้เป็นที่ประชุมสภาแห่งชาตินั้นเสีย โดยพวกผู้แทนฐานันดรที่ 3 จึงได้รวมตัวกันย้ายไป
ประชุมกันที่สนามเทนนิสที่อยู่ใกล้กับตกที่ถูกสั่งปิด ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 พร้อมกับปฏิญาณตน
วา่ จะยนื หยัดอย่เู คียงข้างกันจนกว่าประเทศจะมีรฐั ธรรมนญู ท่เี รียบรอ้ ย แมว้ า่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จะพยายาม
ทำลายการต่อต้านอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อผู้แทนในชนชั้นขุนนางจำนวนหนึ่งตัดสินใจเข้าร่วม
ด้วย และเปลี่ยนชื่อเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ (Assemble Nationale Constituante) ในวันที่ 9
กรกฎาคม ค.ศ. 1789
เหตกุ ารณท์ ี่ทำใหช้ าวฝรง่ั เศสเริม่ มปี ฏกิ ิรยิ ารุนแรงมากขึ้น คอื การท่ีพระเจ้าหลยุ ส์ที่ 16 ไดถ้ อดถอนเนกเกร์
ออกจากตำแหนง่ การท่ปี ลดเนกเกรซ์ ง่ึ เปน็ เสนาบดีคนเดียวที่สนับสนุนการปฏริ ูปเชน่ นเ้ี ปน็ การยืนยันว่า
พระองคจ์ ะไม่ทรงตอบสนองข้อเรยี กรอ้ งที่จะมีการปฏริ ูปใดๆ ท้งั สิ้น เมื่อเหน็ ว่าไม่มที พี่ งึ อนื่ ใดอกี ชาวปารสี ได้
ชมุ นมุ กนั อย่ทู ศ่ี าลากลางเพื่อเฝ้าดูเหตุการณ์ กจ็ ัดต้งั คณะกรรมการถาวรขนึ้ มาและมกี ารตดิ อาวุธ พวกหัว
รุนแรงโดยเฉพาะอยา่ งย่งิ นักหนังสอื พิมพ์หนุม่ ท่ชี ือ่ ว่า กามยี ์ เดส์มแู ลงส์ ได้ปลกุ ระดมให้ชาวปารสี ได้ลกุ ฮอื ข้นึ
ต่อตา้ นรฐั บาล และการทช่ี าวปารสี ไปโจมตีคกุ บาสคยี ์

(Bastille)

ในวนั ท่ี 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เปน็ สัญลักษณ์ว่าสามัญชนได้รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะทำลายอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์เพ่ือท่ีจะได้รับสิทธิเสรีภาพ จึงถือว่าวันที่ 14 กรกฎาคมเป็นวันสำคัญที่สุด โดย
ถือเป็นวันชาติฝรั่งเศสมาจนถึงปัจจุบัน (นันทนา กปลิ กาญจน์, 2530)

ความวุ่นวายที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศนี้มิได้สร้างความตกใจให้แก่รัฐบาลฝ่ายเดียวเท่านั้นแต่ยังทำให้
ผู้แทนสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติในกรุงปารีสต้องหวั่นวิตกกับผลสืบเนื่องร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมาอีก
ด้วย จึงได้มีการยกเลิกระบบฟิวดัลดั้งเดิมกับพวกชาวนาดังนั้นในการประชุมในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ท่ี
ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่มีปัญหาใดๆ ในการประกาศยกเลิกระบบอภิสิทธิ์แม้แต่น้อยการประกาศสิทธิ
มนุษยชน

เมื่อได้ประกาศใช้กฎหมายที่ขจัดความอยุติธรรมทางสังคมให้หมดไป ในคืนวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.
1789 แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้หันไปพิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังอีกครั้ง และหลักการ
สำคัญๆ ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติบรรจุไว้ในประกาศสิทธิมนุษยชนที่ออกมาในวันที่ 26 สิงหาคม
ค.ศ. 1789 ซึ่งมีทั้งหมด 17 มาตรา ซึ่งส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับการประกาศสิทธิมนุษยชนของอเมริกาท่ี
ออกมาในสงครามกู้อิสรภาพ และได้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลทางด้านแนวความคิดของ รุสโซ คือ เรื่องให้ชาว
ฝรั่งเศสทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เรื่องความเสมอภาคที่กล่าวถึง ก็
เป็นความเสมอภาคทางด้านสิทธิชาวฝรั่งเศสทุกคนพึงได้รับ และเรื่องให้ถือความต้องการของประชาชนเป็น
ใหญ่ หรืออกี นัยหนึง่ เรือ่ งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนน่ันเอง
เหตกุ ารณ์ “วนั ตลุ าคม”

แม้วา่ มีการประกาศยกเลิกระบบอภิสิทธแ์ิ ละล้มล้างระบบแบบเกา่ อยา่ งเป็นทางการด้วยการออก
ประกาศสทิ ธมิ นษุ ยชนเป็นทเี่ รยี บร้อยแล้ว ชาวปารีสกย็ งั คงหวนั่ เกรงอย่ตู ลอดเวลาว่าพระจ้าหลุยส์ท่ี 16 จะ
ใชก้ ำลังขัดขวางการเปลี่ยนแปลงทเ่ี กดิ ข้ึนมาอยา่ งแนน่ อน เพราะการที่พระองคไ์ ดส้ ัง่ ใหท้ หารตา่ งจังหวดั เดิน
ทางเขา้ มาประจำอยทู่ แี่ วรซ์ ายสอ์ ีกครง้ั หน่ึงกเ็ ปน็ เครอื่ งที่ชใ้ี ห้เห็นแล้ววา่ พระองค์ไม่เห็นชอบดว้ ยกับสิ่งทีส่ ภา
ร่างรัฐธรรมนูญไดก้ ระทำลงไป

ในที่สุดวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1789 ชาวปารีสส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ได้รวมตัวกัน
เดินขบวนไปล้อมพระราชวงศ์แวร์ซายส์ แรกเริ่มเดิมท่ี ผู้เดินขบวนเพียงแค่ต้องการให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ยอมรับการกระทำของสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติเท่านั้น แต่หลงั จากทตี่ ั้งค่ายตลอดท้ังคืนในวันที่ 5 ตลุ าคม
ค.ศ. 1789 โดยไม่เห็นผลอะไรเกิดขึ้น พวกเดินขบวนจึงตัดสินใจบุกเข้าไปในพระราชวงศ์แวร์ซายส์ใน
วนั รุ่งขน้ึ และปะทะกับทหารทรี่ กั ษาการณอ์ ยู่ท่ีนน่ั จนมผี ู้เสียชวี ิตจำนวนหนง่ึ เมือ่ ลา ฟาแยส เห็นเหตกุ ารณ์
ครั้งนี้ทีท่ ำท่าจะลุกลามใหญ่โต จึงทูลชักจูงให้พระองค์ตอบสนองข้อเรียกรอ้ งของพวกเดินขบวนด้วยการเสด็จ
พระราชดำเนินไปประทับที่พระราชวัง ตุยเลอรีส์ (Tuileries) ณ กรุงปารีส และรับรองมติของสภาร่าง
รฐั ธรรมนูญแห่งชาติท่แี ล้วๆ มา และพระองค์กย็ อมทำตาม

มาตรการสุดท้ายที่ปิดฉากการใช้ระบบการปกครองแบบเก่าก็คือกฎหมายว่าด้วยการโอนทรัพย์
สมบัติของวัดให้เป็นของรัฐที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกประกาศในวันท่ี 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1789
เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาการเงินที่เรื้อรังมาเป็นเวลานาน สภารัฐธรรมนูญแห่งชาติได้จัดการพิมพ์ใน
รับรองสภาพหนี้ที่เรยี กว่า อสั ซิญาต์ (Assignats) มาชำระหน้ขี องรฐั ส่งิ ทสี่ ภารา่ งรัฐธรรมนูญแห่งชาติจะตอ้ ง
ปฏิบัติเป็นขั้นต่อไป หลังจากที่ได้มีการล้มล้างระบบการปกครองแบบเก่าไปแล้ว คือ การสร้างระบบการ
ปกครองและระบบสังคมใหม่ขึ้นมาแทน โดยอาศัยหลักการที่ปรากฎอยู่ในประกาศสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐาน
สำคญั ตอ่ ไป (เอีย่ ม ฉายางาม, 2523)

บรรณานกุ รม
นันทนา กปิลกาญจน.์ (2523). ประวัติศาสตรแ์ ละอารยธรรมโลก.กรุงเทพมหานคร:
โอเดียนสโตร์.
ประเสริฐ เรืองสกุล.(2522). ยุโรปสมัยใหม่ ค.ศ. 1789 –1971. (พิมพ์ครั้งท่ี 5).
กรุงเทพมหานคร: บำรงุ สาส์น.
สบื แสง พรหมบญุ , ณรงค์ พ่วงพิศ, และสัญชยั สวุ ังบตุ ร. (2533). หนงั สอื เรียนสังคมศกึ ษา
ช้ันมธั ยมศึกษาปที ่ี 6. (พิมพค์ ร้ังท่ี 4). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจรญิ ทศั น.์
อรุณ โรจนสนั ติ.(2542).ประวตั ศิ าสตร์โลกยคุ ใกล้. กรุงเทพมหานคร: เอมีเทรดดง้ิ .
เอย่ี ม ฉายางาม.(2523).ประวัตศิ าสตรฝ์ รงั่ เศส ค.ศ. 1789 –1848. กรุงเทพมหานคร:
ไทยวัฒนาพานิช.

Ref : http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1103180583-GOGOE2.doc 06/06/2008


Click to View FlipBook Version