เอกสารประกอบการอบรมสั มมนาเชิ งปฏิ บัติการ
Loose Parts
มหัศจรรย์การสร้างสรรค์
การคิดเด็กศตวรรษที่ 21
วันที่ 12 มีนาคม 2565
การศึ กษายุค 4.0
ความหมายของการศึ กษายุค 4.0
“ประเทศไทย 4.0” เป็ นความมุ่งมั่นที่ต้องการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างเศรษฐกิจจากยุคที่ 1 เกษตรกรรม ยุคที่ 2 อุตสาหกรรมเบา
ยุคที่ 3 อุตสาหกรรมหนั ก ไปสู่ “ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย
นวัตกรรม หรือ ยุคเศรษฐกิจ 4.0 ” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจาก
การผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการ
ขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วย
เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
เปลี่ยนจากการเน้ นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้ นภาคบริการมาก
ขึ้นและเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และทักษะสูง สิ่ งเหล่านี้ ล้วนเริ่มต้นการเตรียมการด้วยการศึ กษา เพื่อใช้
เป็ นหนทางในการไปสู่เป้ าหมาย โดยการศึ กษายุค 4.0 จัดการศึ กษา
เพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กเป็ นนั กสร้างนวัตกรรมตัวน้ อยและมีทักษะที่จำเป็ น
ในศตวรรษที่ 21
ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21
3R8Cทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือที่รู้จักกันดีว่า ประกอบไปด้วย ทักษะ 2 กลุ่มได้แก่
กลุ่มที่ 1 คือ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills)
คือ ความสามารถในการอ่านออก อ่านจับใจความได้ สามารถเขียนได้
สื่ อสารให้คนอื่นเข้าใจ มีทักษะการคำนวณ คิดแบบนามธรรม
กลุ่มที่ 2 คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills)
คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถ
แก้ไขปั ญหาได้ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม ความเข้าใจ
ในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
ความร่วมมือ การทำงานเป็ นทีม และภาวะความเป็ นผู้นำ มีทักษะในการ
สื่ อสารและการรู้เท่าทันสื่ อ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทัน
เทคโนโลยี มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้ มีความเมตตากรุ ณา มี
คุณธรรม และมีระเบียบวินั ย
แนวทางสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21
แนวทางการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่เด็ก จำเป็ นต้องปรับ
เปลี่ยนบางอย่าง เริ่มต้นจากการฝึ กให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง การพัฒนา
ครู ให้มีความรู้ที่เป็ นพื้นฐานของศาสตร์ต่างๆในการจัดการเรียนรู้และมี
ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้เด็ก รวมถึงสามารถจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการ เชื่อมโยงความรู้กับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่รู ปธรรม อีกทั้งการจัดการศึ กษา ต้องสร้างความพึง
พอใจให้กับเด็ก และท้าทายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเกิด
ความอยากรู้อยากเรียน
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีเป้ าหมายเพื่อพัฒนาให้เด็กมีทักษะสำคัญ
ที่เรียกว่าทักษะในศตวรรษที่ 21 และการสร้างเด็กให้มีทักษะใน
ศตวรรษที่ 21 ควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยหัวใจสำคัญของการ
พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีทักษะที่ต้องการเหล่านี้ คือ การให้เด็กได้เรียน
รู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติที่เหมาะสมตามวัย ทั้งในและนอก
ห้องเรียน โดยในห้องเรียนเป็ นการลงมือปฏิบัติผ่าน “กระบวนการ
เรียนการสอน” ที่ครู เป็ นผู้อำนวยความสะดวก ในขณะที่นอกห้องเรียนก็
คือ การสร้างประสบการณ์ “การเรียนรู้ผ่านการเล่น”
ซึ่ งการเล่นที่ เหมาะสมจะสามารถสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ที่
หลากหลายให้กับเด็กได้
การเล่นของเด็กปฐมวัย
วิวัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย ตั้งแต่อดีตถึงปั จจุบัน
เด็กไทยในสมัยก่อนครั้งเมื่อยังไม่มีของเล่นสำเร็จรู ป เด็กมักจะ
เล่นโดยนำวัสดุที่อยู่ในสิ่ งแวดล้อมรอบตัวที่หาได้ตามธรรมชาติ
มาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็ นของเล่นตามจินตนาการ ดังเช่น
ม้าก้านกล้วย การเล่นเดินกะลา ปื นจากก้านกล้วย การเล่นหมาก
เก็บจากหิน การเล่นขายของโดยใช้หิน ดิน ทราย ใบไม้และ
ใบหญ้า เป็ นต้น
การเล่นตามแนวลูสพารตส์ เป็ นการเล่นกับวัสดุและสิ่ ง
แวดล้อมรอบตัว ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ ค้นหาและค้นพบ
คำตอบด้วยตนเอง เกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
ช่วยพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม การผลัดกันเล่น การเป็ นผู้นำ
การร่วมมือ โดยเฉพาะทักษะการสื่ อสาร ที่เกิดจากการแจกแจง
บทบาทหรือหน้ าที่ รวมถึงการตัดสินใจร่วมกันเพื่อสร้างกติกา
ในการเล่น นอกจากนี้ ยังช่วยเด็กพัฒนาความมั่นใจ(confidence)
การกำกับตนเอง (self- regulation) และทักษะการแก้ปั ญหา
(problem solving) ผ่านการผจญภัยและความท้าทาย
Loose Parts
ลูสพารตส์ คือ วัสดุสร้างสรรค์ชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายและสัมผัส
ได้ เด็กสามารถเคลื่อนย้าย จัดการ ควบคุม เปลี่ยนแปลง
ยกประกอบ ออกแบบใหม่ จัดเรียง แยกชิ้นส่วน และสามารถ
นํ าไปเล่นในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่างๆได้ขณะเล่น
โดยปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเป็ นอะไรก็ได้ตามจินตนาการ
เป็ นวัสดุที่ไม่ใช่ของเล่นสําเร็จรู ปและสามารถเล่นชิ้นเดียว
หรือเล่นร่วมกับวัสดุอื่นๆได้ ลูสพารตส์สามารถเล่นได้รู ปแบบ
หลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด ทําให้ได้ผลลัพธ์ของการเล่นที่หลาก
หลาย ลูสพารตส์ไม่มีข้อจํากัดในการเล่น
ลูสพารตส์ ส่ งเสริมให้ เด็ กมีความคิดสร้างสรรค์ในการเล่น
ส่งเสริมความสามารถทางสังคม กระตุ้นให้เกิดการสนทนาและ
การโต้ตอบ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือ และการทํางานร่วมกัน
ซึ่งการเล่นในสภาพแวดล้อมที่เปิ ดกว้างจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมี
ทั กษะทางการเล่นที่ สู งขึ้นมากกว่าการเล่นในพื้นที่ เล่นที่ ถูกสร้าง
ขึ้นไว้แล้ว
ประเภทของลูสพารตส์
ลูสพารตส์ที่นำมาใช้ในการเล่น แบ่งเป็ น 7 ประเภท ดังนี้
วัสดุจากธรรมชาติ (Nature based) เช่น
ก้อนหิน กรวดแม่น้ำ กิ่งไม้ ท่อนไม้
ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดพืช
สิ่ งของที่ทำจากไม้ (Wood Reuse) เช่น จุก
ก๊อกไม้ ขาเก้าอี้ กรอบรู ป พื้นไม้
พลาสติก (Plastics) เช่น ฝาขวดน้ำ กระดุม
ลูกปั ด หลอด แปรงสีฟั น ท่อน้ำ พลาสติก
โลหะ (Metal) เช่น ช้อนส้อม กุญแจ
กระป๋ อง ไขควง
เซรามิกหรือแก้ว (Ceramic and Glass)
เช่น กระเบื้องโมเสก ลูกปั ด ชาม ถ้วย
ผ้าหรือริบบิ้น (Fabric and ribbon) เช่น ผ้า
ไหมพรม เชือก ริบบิ้น
บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เช่น กล่อง แกน
กระดาษชำระ ลังไข่
ประโยชน์ ของลูสพารตส์
การเล่นลูสพารตส์ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ดังนี้
ด้านร่างกาย
ช่วยพัฒนาทั้งในส่วนของกล้ามเนื้ อมัดเล็กและมัดใหญ่และทักษะในการ
เคลื่อนไหวให้คล่องแคล่วและแข็งแรง ซึ่งเด็กได้รับจากการหยิบ จับ ยก
ถือ หรือเคลื่อนย้ายวัสดุต่าง ๆ
ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม
ส่งเสริมให้เกิดการเล่นร่วมกัน สร้างและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก
ได้ เรียนรู้การปฏิ สั มพันธ์กับคนรอบข้างเรียนรู้การเล่นจากเพื่อนที่ มีวิธี
เล่นแตกต่างไปจากตนเอง ได้ปรับตัวเข้าสังคมกับผู้อื่น เรียนรู้การแบ่ง
ปั น การรอคอย ได้เล่นอย่างอิสระกับชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้ตามรู ปแบบที่
ต้องการ สร้างกฏการเล่นต่างๆ ขึ้นด้วยตนเอง สร้างความมั่นใจ กล้าคิด
กล้าทํา ซึ่งการประยุกต์ใช้ลูสพารตส์ในงานสร้างสรรค์ งานศิ ลปะเพื่อ
สื่ อสารแสดงออกถึงอารมณ์ทําให้เกิดความพึงพอใจและรู้สึกดีต่อตนเอง
ด้านสติปั ญญา
เด็กได้ฝึ กการคิดในรู ปแบบที่หลากหลาย สร้างจินตนาการในการเล่นกับ
วัสดุที่มีและปรับเปลี่ยนให้เป็ นในสิ่ งที่สื่ อถึงความคิดของเด็กๆ ได้
สร้างสรรค์สิ่ งใหม่ๆ คิดนอกกรอบ ค้นหาวิธีที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่
เกิดความสามารถในการแก้ปั ญหาคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรียนรู้และทํา
ความเข้าใจ สิ่ งรอบตัว สํารวจและลองผิดลองถูก ได้แนวคิดทาง
คณิตศาสตร์เบื้องต้นจากการเล่นทั้งเรื่องรู ปร่าง ขนาด การลําดับ การ
จําแนก การนั บการรวม หรือการวัด การจัดการกับวัสดุเหล่านั้ นให้คง
สภาพเดิม เพื่อการเล่นครั้งต่อไป รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาการใช้ภาษา
และคําศั พท์ใหม่ๆ เป็ นพื้นฐานการรู้หนั งสือ ซึ่งสามารถเสริมสร้าง
จินตนาการและภาษาด้วยการอ่านเรื่องราวประกอบการเล่น สิ่ งเหล่านี้
ล้วนอยู่ในการเล่นลูสพารตส์ ที่ ช่ วยส่ งเสริมพัฒนาการทุกด้ านผ่าน
การซึ บซั บประสบการณ์ เข้าไปในตัวเด็ ก
แนวทางการนำลูสพารตส์
ไปใช้ในบริบทจริง
การพิจารณาวัสดุลูสพารตส์ที่จะนํ ามาใช้
การประเมินสถานที่ ซึ่งสามารถใช้สถานที่ในชุมชน และ
เปิ ดโอกาสให้เด็กทุกเพศทุกวัยเข้ามามีส่วนร่วมกับการเล่น
ของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้นตอนด้วยวิธีการที่สนุกและน่ า
สนใจ
การจัดทําแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม
การจัดแนวทางการสังเกต นั บตั้งแต่เริ่มแรก
โดยคํานึ งถึงหลักฐานแสดงความแตกต่างระหว่าง “ก่อน”
และ “หลัง” การใช้กิจกรรมลูสพารตส์มาใช้
การให้ทีมงาน ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วม และ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และประโยชน์ ของลูสพารตส์
แนวทางการนำลูสพารตส์
ไปใช้ในบริบทจริง (ต่อ)
การเปิ ดโอกาสให้มีการเข้ารับการอบรมสําหรับผู้ใหญ่ที่
เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ทักษะและความมั่นใจ จัดทําคู่มือ
การทํางานสําหรับการคัดเลือก การจัดการ และการใช้วัสดุ
ลูสพารตส์ได้ และควรทําการทบทวนคู่มือนี้ เป็ นระยะๆ
การจัดเก็บลูสพารตส์
การทําการประเมินความเสี่ ยง และประโยชน์ ที่จะได้รับ
จากการเล่นกิจกรรมลูสพารตส์
การรวบรวมจํานวนลูสพารตส์ ที่ มีอยู่เบื้องต้นและ
แนวทางการหาชิ้ นส่ วนเพิ่มเติม
การทดลองจัดกิจกรรมการเล่นลูสพารตส์ ซึ่งควรจะได้
รับการสนั บสนุนจากนั กจัดการเล่นที่มี ประสบการณ์
หรือหน่ วยงานที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเล่น
การวางแผน ทําตามแผน และทบทวน
บทบาทของผู้ใหญ่
ในการส่ งเสริมการเล่นลูสพารตส์
บทบาทของผู้ใหญ่ในการส่ งเสริมการเล่นลูสพารตส์
แบ่งออกเป็ น 3 ด้าน ได้ดังนี้
บทบาทในการเป็ นผู้ช่วยเหลือ สนั บสนุน และอํานวยความสะดวกในการเล่นให้แก่เด็ก
ประกอบไปด้วยการสร้างทัศนคติที่ดีและการสร้างพลังเชิงบวกเกี่ยวกับการเล่นให้แก่เด็ก
ให้คําชี้แนะ ให้คําปรึกษา ให้กําลังใจ ให้การช่วยเหลือแก่เด็กในการเล่น รวมไปถึงการ
เป็ นแบบอย่างในการเล่นให้แก่เด็ก ทั้งด้านการใช้ภาษาสื่ อสารและท่าทาง ตลอดจนการ
จัดเตรียมด้านสภาพแวดล้อมให้เป็ นแหล่งประสบการณ์ที่หลากหลายและเอื้อต่อการเล่น
ของเด็กๆ
บทบาทในการเป็ นผู้กํากับ ดูแลการเล่นให้แก่เด็ก
ประกอบไปด้วยกําหนดกรอบเวลาในการเล่นเกี่ยวกับการลําดับช่วงเวลา หรือการจัดคิว
ในการเล่น เช่น การระบุตัวตนเด็ก หรือการกําหนดพื้นที่ในการเล่น การป้ องกัน
อุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นในการเล่น
บทบาทในการเป็ นผู้สังเกตพฤติกรรมและบันทึกพัฒนาการในการเล่นของเด็ก
ประกอบไปด้วยการเฝ้ าสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมการเล่นของเด็กที่ครอบคลุมในเรื่อง
ของอารมณ์ความรู้สึกที่เด็กแสดงออกผ่านสีหน้ า ท่าทาง และคําพูด
ตลอดจนการนํ าข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตไปวางแผนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หรือการตอบ
สนอง และให้ความช่วยเหลือแก่เด็กเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
กมลวรรณ ศรีสําราญ และอรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562). ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์
อย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่มีต่อการตระหนั กรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารจันทร
เกษมสาร, 25(2), 33-47.
สำนั กงานกองทุนสนั บสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). Loose parts play [คู่มือการเล่นลูสิ
พาร์ท:ชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้]. มูลนิ ธิส่งเสริมสื่ อเด็กและเยาวชน.
ภาษาอังกฤษ
Carr, V. W., Brown, R. D., Schlembach, S., & Kochanowski, L. (2017). Nature by design:
Playscape affordances support the use of executive function in preschoolers.
Children, Youth and Environments, 27(2), 25-46.
http://dx.doi.org/10.7721/chilyoutenvi.27.2.0025
Casey, T., & Robertson, J. (2016). Loose parts play: A toolkit (n.d.). Inspiring Scotland.
Casey, T., & Robertson, J. (2019). Loose parts play: A toolkit (2nd ed). Inspiring Scotland.
Daly, L. & Beloglovsky, M. (2015, June 2). Loose Parts: Inspiring Play in Young Children.
Communityplaythings.https://www.communityplaythings.com/resources/
articles/2015/loose-parts
Dennis, S. F., Wells, A., & Bishop, C. (2014). A post-occupancy study of nature outdoor
classrooms in early childhood education. Children, Youth and Environments, 24(2),
35-52.
Gull, C., Bogunovich, J, Goldstein, S. L., & Rosengarten, T. (2019). Definitions of looseparts
in early childhood outdoor classrooms: a scoping review. The International
Journal of Early Childhood Environmental Education, 6(3), 37-52.
Haughey, S., & Hill, N. (2018). Loose parts: a start-up guide. Northwest Adventist ECEC,
2(8),2-3.
Kiewra, C., & Veselack, E. (2016). Playing with nature: Supporting preschoolers’ creativity
in Natural outdoor classrooms. The International Journal of Early Childhood
Environmental Education, 4(1), 70-95.
Leichter, M., & Law, S. (2015). Loose parts manual. Pop-Up Adventure Play.
รายการอ้างอิง (ต่อ)
Luken, E., Carr, V., & Brown, R. (2011). Playscapes: Designs for play, exploration and
science inquiry. Children, Youth and Environments, 21(2), 325-337.
Miller, D. L., Tichota, K., & White, J. (2013). Young children’s authentic play in a nature
explore classroom supports foundational learning: A single case study. Lincoln,
NE: Dimensions Educational Research Foundation.
Mincemoyer, C. (2016). Loose Parts: What does this mean?, PennState Extension.
Myteachingcupboard. (n.d.). Benefits of loose parts play.
https://www.myteachingcupboard.com/blog/benefits-of-loose-parts-play
Nicholson, S. (2015). The power of loose part play. Family Day Care, 1-4.
Play Scotland (2019), Loose part. https://www.playscotland.org/resources/print/Play-
Scotland-Loose-Parts-Leaflet.pdf?plsctml_id=10934
Play Wales (2017). Resources for playing : providing loose parts to support children's
play : A Toolkit
Playoutsidens. (2019, July 29). The role of the adult in loose parts play.
https://playoutsidens.com/2019/07/29/the-role-of-the-adult-in-loose-parts-play
Spencer, R. A., Joshi, N., Branje, K., McIsaac, J., Rehman, L., Kirk, S., & Stone, M. (2019).
Educator perceptions on the benefits and challenges of loose parts play in the
outdoor environments of childcare centres. AIMS Public Health, 6(4). 461-476.
Ward, K. (2018). What’s in a dream? Natural elements, risk and loose parts in children’s
dream playspace drawings. Australasian Journal of Early Childhood, 43(1),
34-42. https://doi.org/10.23965/AJEC.43.1.04
White, J. (2014). Ecological Identity – Values, Principles and Practice. In Duckett, R. and
Drummond, M. J. (eds.), Learning to Learn in Nature. Sightlines Initiative Newcastle-
upon-Tyne.
คณะผู้จัดทำ
ภายใต้การดูแลของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ เหมชะญาติ
และ นิ สิตหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (แผน ข)
ในรายวิชาการสัมมนาการศึ กษาปฐมวัย คณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. นางสาวสุ พัชรา พงษ์ยี่หวา ประธาน
2. นางสาวคลังพร เลขานุการ
3. นางสาวกวินนา ขามคํา ผู้ช่วยเลขานุการ
4. นางสาวชลธิชา แก่นประยูร กรรมการ
5. นางสาวศุภสุ ตา กรรมการ
6. นางสาวศรสุ ญา ศรีอัมพร กรรมการ
7.นางสาวนิ ดานุช กรรมการ
8. นางสาวทักษพร ศุภาลัยวัฒน์ กรรมการ
9.นางสาวนิ จจารีย์ จุลศั กดิ์ กรรมการ
10. นางสาวกานต์พิชชา ศั กดิ์สุพรรณ กรรมการ
11. นางสาวถาวรีย์ กรรมการ
สามงามยา
อุตพันธ์
ช้างจั่น
โคตวงค์จันทร์
สนั บสนุนโดย