ศาลจังหวัดนางรองจัดรายการวิทยุ “ศาลจังหวัดนางรองพบประชาชน” เพื่อเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์การบริการของศาล ประจำเดือนกันยายน ๒๕๖๖ วันนี้ (19 กันยายน 2566) เวลา 10.00 นาฬิกา นายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง มอบหมายให้นางสาววัลลภา สัตยานุชิต นิติกรชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย นางสาวศิเรมอร ขันขวา เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ “ศาลจังหวัดนางรองพบประชาชน” ประจำเดือนกันยายน 2566 เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายและประชาสัมพันธ์“เรื่อง การกระทำความผิด เกี่ยวกับออนไลน์ การเข้าถึงบริการของศาลจังหวัดนางรอง พร้อมทั้งเตือนภัยการแอบอ้างของกลุ่มมิจฉาชีพ ทางสถานีวิทยุคลื่นคนไทย หัวใจลูกทุ่งFM ๑๐๔.๒๕ MHz
ศาลจังหวัดนางรองเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายตามโครงการ“กฎหมายสัญจร” ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารร้านค้าประชารัฐ กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก วันนี้(22 กันยายน 2566) นายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง มอบหมายให้นางสาววัลลภา สัตยานุชิต นิติกรชำนาญการพิเศษ นายวิษณุ เกิดละเอียด นิติกรชำนาญการ เป็นวิทยากรบรรยายเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับ การไกล่เกลี่ย การปล่อยชั่วคราว การแต่งตั้งผู้กำกับ ดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การบังคับคดีนายประกัน และเตือนภัยเกี่ยวกับการแอบอ้างหมายศาลของกลุ่มมิจฉาชีพ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ให้แก่ผู้นำชุมชนและประชาชนบ้านถนนหัก ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร ร้านค้าประชารัฐ กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ศาลจังหวัดนางรองร่วมแสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกแก่ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาล และคณะเจ้าหน้าที่ศาล ในโอกาสโยกย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่น วันนี้(27 กันยายน 2566) นายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง พร้อมด้วยคณะผู้พิพากษา คณะผู้ประนีประนอม คณะผู้ให้คำปรึกษาฯ และคณะเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดนางรอง ร่วมแสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกแก่ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลและคณะเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดนางรอง ในโอกาสโยกย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่น ณ ห้องโถง ชั้น 3 อาคารศาลจังหวัดนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ศาลจังหวัดนางรองร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ประจำปี 2566 วันนี้28 กันยายน 2566 นายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง มอบหมายให้นายณัฐชัย เชียรประโคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดนางรอง พร้อมด้วย บุคลากรในศาลจังหวัดนางรอง ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทาน ธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทาน ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ณ บริเวณหน้าเสาธงศาลจังหวัดนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
กฎหมายน่ารู้ แบบไหนถึงเป็นยักยอก? ความผิดฐานยักยอก = แอบเอา ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จะต้องพิจารณาว่าทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของผู้กระท าความผิด หรือไม่ หากทรัพย์อยู่ในความครอบครองแล้วมีการเบียดบังโดยทุจริตก็เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ “การได้มาซึ่งครอบครอง” เช่น การมอบของให้ไปขาย การมอบเงิน มอบอ านาจให้ไปใช้ช าระหนี้ ไปซื้อของ ไปฝากเข้าบัญชี ผู้รับจ าน า ผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์ “เบียดบัง” คือ แสดงตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ โทษยักยอกมีเเบบไหนบ้างนะ? ยักยอกทรัพย์ของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ระบุว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระท าความผิดฐานยักยอก ต้องโทษ จ าคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจ าทั้งปรับ ตัวอย่าง การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของ ตนหรือบุคคลที่สามโดยเจตนาทุจริต เช่น นายกวงให้นายหลงเช่าบ้าน และบอกให้นายหลงช่วยดูแลทรัพย์สินในบ้านถือเป็นการมอบหมายให้ นายหลงครอบครองทรัพย์ที่อยู่ในบ้านแทนนายกวงแล้ว แต่นายหลงเอาทรัพย์ในบ้านนั้นไปขาย การกระท าของนาย หลงจึงมีความผิดฐานยักยอก ยักยอกทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดูแล มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระท าผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สินของผู้นั้น รับโทษจ าคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ค าพิพาษาศาลฎีกาที่ 113/2535 การเจรจาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทยังตกลงกันไม่ได้เมื่อจ าเลย เป็นผู้จัดการมรดกตามค าสั่งศาล จ าเลยมีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน จ าเลย ไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจ าเลยแต่เพียงผู้เดียว การที่จ าเลยรู้ว่าทรัพย์มรดกส่วนที่เป็นที่ดิน จ าเลยต้องแบ่งให้แก่ทายาททุกคนเท่า ๆ กัน แต่จ าเลยจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนโดยไม่ ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจ าเลย การกระท าของจ าเลยจึงเป็นกรณีที่จ าเลยซึ่งได้รับ มอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามค าสั่งศาล กระท าผิดหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตน
โดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น จ าเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 เช่น นายกวงท าหนังสือมอบอ านาจให้นายหลงไปถอนเงินธนาคาร เพื่อไปช าระค่าของ แต่นายหลงน าเงินของ นายกวงที่ถอนมา น าเข้าบัญชีตนเอง การกระท าของนายหลงจึงเป็นการยักยอกทรัพย์ ยักยอกทรัพย์สินหาย ถ้าทรัพย์ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระท าความผิด เป็นทรัพย์สินหายที่ผู้กระท าความผิดเก็บได้ และ เอาทรัพย์ไปโดยที่ผู้เก็บได้ไม่ยอมมอบคืนแก่เจ้าของ ผู้เก็บได้มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย โดยมีโทษกึ่งหนึ่ง ของการยักยอกทรัพย์ผู้อื่น “ทรัพย์สินหาย” คือ ทรัพย์สินที่มีเจ้าของแต่ไม่รู้ว่าทรัพย์สินนั้นตกหายที่ใด ไม่รู้ว่าจะติดตามของหายคืนได้ที่ ใด จึงถือว่าการครอบครองหลุดออกจากตัวเจ้าของแล้ว เมื่อตกหาย ผู้ที่เก็บได้ถือว่าเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ตกหาย ถ้าเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต ยักยอกทรัพย์ที่ผู้อื่นส่งมอบให้โดยส าคัญผิด ถ้าทรัพย์ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระท าความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยส าคัญผิด เช่น ไปซื้อของแล้วคนขายทอนเงินผิดเกินให้เเล้วไม่ยอมคืน จัดว่ามีความผิด โดยรับโทษกึ่งหนึ่งของการยักยอก ทรัพย์ผู้อื่น ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529 จ าเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเขียนตัวอักษรว่าหนึ่งหมื่นบาทถ้วน แต่ เขียนตัวเลข 100,000 บาท แล้วน ามาขอเบิกเงินจากธนาคาร พนักงานธนาคารส าคัญผิดในตัวเลขจ่ายเงินให้จ าเลยไป 100,000 บาท เมื่อพบว่าจ่ายเงินเกินไป ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบเงินให้โดยส าคัญผิด เมื่อเงินตกมาอยู่ในความ ครอบครองของจ าเลยแล้ว จ าเลยเบียดบังเอาเป็นของตน จ าเลยมีความผิดตามมาตรา 352 ยักยอกทรัพย์สินมีค่าที่ซ่อนหรือฝังไว้ มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์มีค่าที่ซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ที่ไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องรับโทษจ าคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจ าทั้งปรับ “เก็บได้” คือ ขุด เจาะ รื้อ ค้น “สังหาริมทรัพย์มีค่า” คือ ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณค่าในตัวทรัพย์นั้น ไม่ใช่จากราคาทรัพย์ส่วนจะต้อง มีค่าขนาดไหนต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป โดยค านึงถึงฐานะของผู้นั้นเป็นเกณฑ์ กฎหมายน่ารู้
กฎหมายน่ารู้ เหตุเพิ่มโทษส าหรับความผิดฐานยักยอก มาตรา 354ถ้าการกระท าผิดตามมาตรา 352 หรือ 353 ได้กระท าในฐานะที่ผู้กระท าความผิดเป็นผู้จัดการ ทรัพย์สินของผู้อื่นตามค าสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจ ของประชาชน ผู้กระท าต้องรับโทษจ าคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ค าพิพากษาฎีกาที่ 532/2553 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 353, 354 จ าเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการ มรดกของผู้ตายมีหน้าที่จัดการมรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายตามสิทธิที่จะ พึงมีพึงได้การที่จ าเลยที่ 1 โอนหุ้นของผู้ตายให้แก่จ าเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจ าเลยที่ 3 โอนหุ้นดังกล่าวกลับมาให้ จ าเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก จึงเป็นการกระท าผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ท าให้โจทก์ทั้ง สามไม่ได้รับแบ่งปันหุ้นดังกล่าว ถือว่าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้ง สาม แม้จะได้ความว่าบริษัทนี้มีหนี้สินค้างช าระเป็นจ านวนมากก็เป็นคนละกรณีกัน เพราะโจทก์ทั้งสามต้องรับไปทั้ง สิทธิหน้าที่และความรับผิด การกระท าของจ าเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ส่วนจ าเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งไม่ได้ความว่าจ าเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับมอบหมายให้จัดการหุ้นดังกล่าวของผู้ตาย หรือไม่ อย่างไร คงได้ความแต่เพียงว่าจ าเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนหุ้นดังกล่าวจากจ าเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย และจ าเลยที่ 2 รับโอนหุ้นกลับมาจากจ าเลยที่ 3 เท่านั้น การกระท าของจ าเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระท า ด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จ าเลยที่ 1 กระท าความผิด จึงมีความผิดฐานเป็น ผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 86 ระยะเวลาเเจ้งความร้องทุกข์ คดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด าเนินคดี หรือฟ้องร้องคดีอาญา เอง ภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้ว่ามีการกระท าความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระท าความผิดแต่ถ้ารู้เมื่อพ้นก าหนด 10 ปี นับแต่วันเกิดเหตุแล้ว ก็ด าเนินคดีไม่ได้ เพราะคดีขาดอายุความ ยักยอกทรัพย์ ยอมความได้ไหม คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว หรือความผิดอันยอมความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 356 ขอบคุณที่มา : ส านักกิจงานการยุติธรรม
รู้จัก ไข้หวัดใหญ่ !! วายร้ายที่มากับสายฝน ถ้าจะให้พูดถึงช่วงที่มีโรคชุกชุมและหลากหลายที่สุดในแต่ละปี ช่วงนั้น ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นช่วงหน้าฝน ที่เป็น ช่วงที่มีสภาพอากาศแปรปรวนมากที่สุด ซึ่งอาจท าให้ร่างกายปรับตัวตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปไม่ทัน โดยโรคไข้หวัด ใหญ่ ก็นับเป็นอีกหนึ่งโรค ที่มีการระบาดเป็นอย่างมากในช่วงหน้าฝนด้วย บทความนี้ เราจะท าความรู้จักโรคไข้หวัด ใหญ่ไปด้วยกัน เราไปดูกันเลย โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร? โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในฤดูฝน (มิถุนายนตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่ รุนแรงและเสียชีวิตได้ ไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร ? เกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน และมีความรุนแรงแตกต่างกัน โดยไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ส่วนไข้หวัดธรรมดานั้นเกิดจากการเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น rhinovirus, adenovirus เป็นต้น โดยไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ ไข้หวัดใหญ่ในคนมีกี่สายพันธุ์? ไข้หวัดใหญ่ในคนมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ A, B และ C แต่มีเพียงสายพันธุ์ A และ B ที่มีการ ระบาดโดยทั่วไป โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แบ่งออกเป็นหลายซัปไทด์ ซัปไทด์ที่มีการระบาดเป็นประจ าคือ H1N1 และ H3N2 ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B แบ่งออกเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata โดยอาการมักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้อย่างไร? ไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอและการจามของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะอยู่ใน เสมหะ น้ ามูก และน้ าลาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-4 วัน อาการของโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร? ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มีอาการแตกต่างกันตามอายุ โดยในกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นจะมีอาการของไข้ สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในบริเวณหลัง ต้นแขน ต้นขา มีน้ ามูกใส คัดจมูก ไอแห้ง เจ็บคอ และเบื่ออาหาร ส่วนในเด็กเล็กจะมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางระบบอื่น เช่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน และชักจากไข้สูง หน้าต่างสุขภาพ
ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่? 1. หญิงมีครรภ์ 2. เด็กเล็ก อายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี 3. บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป 4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ธาลัสซีเมีย มะเร็ง ที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบ าบัด ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติด เชื้อเอชไอวี 5. ผู้ที่มีน้ าหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไข้หวัดใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง? ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอด อักเสบ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ ปลายประสาทอักเสบ และสมองอักเสบ ไข้หวัดใหญ่รักษาอย่างไร? ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ าเช็ดตัว และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หรือถ้ามีน้ ามูกให้ใช้ยาลดน้ ามูกและยาละลาย เสมหะ ดื่มน้ าให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนและให้นอนพักผ่อน ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการ หอบเหนื่อย สงสัยปอดอักเสบหรือมีอาการที่รุนแรงอื่น อาจมีความจ าเป็นที่ต้องได้รับการรักษาโดยการนอนพัก รักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด มีวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไรบ้าง? 1. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจ าเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย 2. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จ าเป็น 3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ าและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลท าความสะอาดมือ 4. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ า หลอดดูดน้ า ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 5. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ท าไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ? เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ ในการผลิต วัคซีนแต่ละปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน และเนื่องจากระยะก่อโรคสั้น จ าเป็นต้องมี ภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันโรค ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ซึ่งปัจจุบัน กรมควบคุมโรค-สปสช.ชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ป้องกันการแพร่ระบาด ไข้หวัดใหญ่ ครอบคลุมสายพันธุ์แพร่ระบาดตามค าแนะน าองค์การอนามัยโลก ขอบคุณที่มา https://www.pidst.or.th/A709.html (สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย)
พุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิต : สามัคคี สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สามัคคีของหมู่คณะท าให้เกิดสุข สมคฺคา สขิลา โหถ จงสามัคคีมีน าใจต่อกัน สมคฺคาน ตโป สุโข ความเพียรของหมู่ชน ผู้พร้อมเพรียงกันท าให้เกิดสุข สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต สุกรทั งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสื อโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร โย ปเรสาธิปนฺนาน สย สนฺธาตุมรหติ ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม สเจปิ สนฺโต วิวทนฺติ ขิปฺปํ สนฺธียเร ปุน พาลา ปตฺตาว ภิชฺชนฺติ น เต สมถมชฺฌคู ถ้าแม้นสัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาล ทั งหลายย่อมแตกกันเหมือนชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
ที่ปรึกษา นายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง นางมณีพร ปิ่นวิเศษ ชมแพ ผู้อ านวยการส านักงานประจ าศาลจังหวัดนางรอง บรรณาธิการ นางสาววัลลภา สัตยานุชิต นิติกรช านาญการพิเศษ กองบรรณาธิการ นางศิริษา ประดับสุข นิติกรช านาญการพิเศษ นายอภิชาติคัมภิรานนท์ เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมช านาญการพิเศษ นายราเชน ศุภโชตน์อุดม นักวิชาการเงินและบัญชีช านาญการพิเศษ นางวิภาวรรณ ศรีจันทร์โฉม เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมช านาญการพิเศษ นางสายสมร วินิจ เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมช านาญการพิเศษ นายวิษณุ เกิดละเอียด นิติกรช านาญการ คณะผู้จัดท า นายเลอสันต์ จิตร์อ่อง นิติกร นางสาวชมพูนุท ข าเอนก นิติกร