The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-BOOK แนะนำศาลยุติธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-05-26 23:34:22

E-BOOK แนะนำศาลยุติธรรม

E-BOOK แนะนำศาลยุติธรรม

คำ�อธิบายความหมายของตราสัญลักษณ์ ตราสัญลักษณ์ศาลยุติธรรม 1. ลักษณะของตราสัญลักษณ์ เป็นตรารูปทรงกลม (ไม่จำกัดขนาด) 2. องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์ ดวงตราประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎครอบอยู่เหนือ อุณาโลมและตราพระดุลพาหตั้งอยู่บนพานสองชั้นมีพระแท่นรองรับพาน โดยมีครุฑจับนาคทูนไว้เหนือศีรษะ ล้อมรอบด้วยดอกบัวเก้าดอกเป็นดอกบัวตูมแปดดอกและดอกบัวบานหนึ่งดอก 3. ความหมาย 3.1 พระมหาพิชัยมงกุฎครอบอยู่เหนืออุณาโลม หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3.2 ดอกบัว หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และทั้งหมดมี 9 ดอก หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 3.3 ตราดุลพาหตั้งอยู่บนพานสองชั้นมีพระแท่นรองรับพานอีกทอดหนึ่ง หมายถึง ความยุติธรรมตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคง 3.4 ครุฑจับนาค หมายถึง แผ่นดิน ความหมายรวม คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ผู้พระราชทานความบริสุทธิ์ยุติธรรม ทั่วทั้งแผ่นดิน 2


ความเป็นมา 5 โครงสร้างศาลยุติธรรม 8 ระบบศาลยุติธรรม 9 ศาลชั้นต้น 10 ศาลชั้นอุทธรณ์ 12 ศาลฎีกา 13 ผู้พิพากษา 15 ผู้พิพากษา 15 ผู้พิพากษาอาวุโส 16 ผู้พิพากษาสมทบ 16 ดะโต๊ะยุติธรรม 16 องค์กรบริหารศาลยุติธรรม 17 สำนักงานศาลยุติธรรม 19 การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระบบศาลยุติธรรมดิจิทัล (Digital Court) 23 ศาลยุติธรรมกับการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล 27 ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการที่ศาลยุติธรรมเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร 29 แผนภูมิโครงสร้างศาลยุติธรรม 30 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานศาลยุติธรรม 31 สารบัญ 3


ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันที่อำนวยความยุติธรรมเพื่อให้สังคมสงบสุข เป็นธรรมและเสมอภาคโดยยึดหลักนิติธรรม วิสัยทัศน์ศาลยุติธรรม 4


ศาลยุติธรรม 1. ความเป็นมา ระบบศาลของไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำ นาจ ตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีให้แก่ประชาชนและมีวิวัฒนาการโดยได้รับอิทธิพลแนวความคิดจาก “พระธรรมศาสตร์”เรื่อยมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีการตั้งศาลขึ้น ประจำ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีต่างพระเนตรพระกรรณและนำ เอากฎหมายของ กรุงศรีอยุธยามาปรับปรุงและบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” 5


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเล็งเห็นถึงข้อขัดข้องจากการที่ศาล กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทำ ให้ตุลาการแยกย้ายไปอยู่ตามหน่วยงานหลายแห่งต่างสังกัดกัน อีกทั้งวิธีค้นคว้าพิสูจน์ความจริงของศาลก็ล้าสมัยไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้การพิจารณาคดีล่าช้า ทำ ให้ ประชาชนผู้มีอรรถคดีเดือดร้อน จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัส ที่ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินว่า “...การตำ แหน่งยุติธรรมในเมืองไทยนี้ เปรียบเหมือนเรือกำ ปั่นที่ถูกเพรียงแลปลวกกินผุโทรมทั้งลำ แต่ก่อนทำ มานั้นเหมือนรั่วแห่งใด ก็เข้าไม้อุดยา แต่เฉพาะที่ตรงรั่วนั้น ที่อื่นก็โทรมลงไปอีกครั้นช้านานเข้าก็ยิ่งชำรุดหนักลงทั้งลำ เป็นเวลาสมควรที่ต้องตั้งกง1 ขึ้นกระดานใหม่ให้เป็นที่มั่นคงถาวรสืบไป” ครั้นปีรัตนโกสินทรศก 100 เนื่องในโอกาสที่พระนครครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารสถิตยุติธรรม (ปัจจุบันเป็น อาคารศาลฎีกาตั้งอยู่ที่สนามหลวง) ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ จารึก พระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่น “หิรัญบัตร”2 (เป็นแผ่นเงินยาวประมาณ 1 ฟุต กว้างประมาณ 6 นิ้ว) แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้ ตั้งศาลขึ้น เป็นองค์กรที่ทำ หน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทั้งนี้ ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ได้ด้วยความ สงบสุขร่มเย็นหรือไม่ก็ต้องอาศัยการศาลเป็นสำคัญแผ่นหิรัญบัตรนี้ทรงโปรดฯ ให้บรรจุไว้ในหีบศิลาและ ฝังไว้อยู่ใต้อาคารที่ทำการศาลสถิตยุติธรรมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2425 ต่อมาในปีรัตนโกสินทรศก 110 ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มีนาคม 2434 ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และจัดระบบกฎหมายเสียใหม่เพื่อให้เข้ากับนานาอารยประเทศ โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการจัดรูปแบบกฎหมายและระบบ ศาลยุติธรรมอันเป็นรากฐานสำคัญให้ศาลยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ให้แก่ประชาชนสืบมา เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลยุติธรรมจึงถือ เอาวันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็นวันศาลยุติธรรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2478 ได้มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมแบ่งแยกงานศาลยุติธรรม ออกต่างหากจากกันเป็นสองฝ่าย คืองานธุรการและงานตุลาการโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รับผิดชอบงานธุรการ ส่วนงานตุลาการคือการพิจารณาพิพากษาเป็นอำ นาจของตุลาการโดยเฉพาะ 1 กง หมายความถึง ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ 2 แผ่นหิรัญบัตร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ศาลไทย อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำ นักงานศาลยุติธรรม 6


นับแต่ตั้งกระทรวงยุติธรรมทำ หน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานธุรการของศาลยุติธรรมมาได้ 100 ปีเศษ จึงได้เกิดแนวความคิดที่จะแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้พ้นจากข้อระแวงสงสัยว่า ศาลยุติธรรมอาจถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหารและไม่มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี จนกระทั่งได้มี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรมบัญญัติให้ ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ให้เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมเป็น ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 5 บัญญัติให้มีสำ นักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 จึงถือว่า ศาลยุติธรรมแยกออกจาก กระทรวงยุติธรรมนับแต่นั้นเป็นต้นมา 7


2. โครงสร้างศาลยุติธรรม โครงสร้างลักษณะงานของศาลยุติธรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนงานตุลาการและ ส่วนงานธุรการ ก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2543 กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดูแลดำ เนินงานด้านธุรการโดยมี หน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ แก่ส่วนงานตุลาการ ปัจจุบันสำ นักงานศาลยุติธรรม ทำ หน้าที่แทนกระทรวงยุติธรรมในการดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริมงานตุลาการและ งานวิชาการของศาลยุติธรรม ในส่วนงานตุลาการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 188 บัญญัติให้การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีเป็นอำ นาจของศาลซึ่งต้องดำ เนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ และมาตรา 194 กำ หนดให้ศาลยุติธรรมมีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย และคดีประเภทอื่นนอกเหนือจากคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติ ให้อยู่ในอำ นาจของศาลอื่น ในขณะที่ศาลอื่นนอกระบบศาลยุติธรรมซึ่งได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารมีอำ นาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำ นาจของศาลตนเอง 8


3. ระบบศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มีอยู่ทั่วราชอาณาจักรและระบบศาลยุติธรรม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลขั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ศาลยุติธรรมมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่ออำ นวยความยุติธรรมและการ พิจารณาพิพากษาคดี ดังปรากฏจากการเพิ่มจำ นวนศาล การตั้งแผนกเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีพิเศษขึ้น ในศาล การจัดตั้งศาลชำ นัญพิเศษ การนำระบบการบริหารงานคดีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย ในการดำ เนินคดีในศาล การนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่องและครบองค์คณะ การสนับสนุนให้มีการระงับข้อพิพาท โดยวิธีอื่นนอกจากการพิจารณาพิพากษาคดีตามปกติของศาล เช่น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การอนุญาโตตุลาการ 9


3.1 ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น เป็นศาลซึ่งรับคำ ฟ้องหรือรับคำ ร้องในชั้นเริ่มต้นคดี โดยผู้ที่มีคดีความและประสงค์ จะใช้สิทธิฟ้องร้องต้องยื่นฟ้องที่ศาลนี้เป็นลำดับแรก โดยคดีที่ศาลชั้นต้นรับพิจารณาสามารถจำแนกออก เป็นเรื่องต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม คดีนักท่องเที่ยว คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและครอบครัว หรือคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยดำ เนิน กระบวนการตัดสินชี้ขาดเป็นชั้นศาลแรก ทั้งมีอำ นาจดำ เนินกระบวนการพิจารณาแทนศาลชั้นอุทธรณ์ และ ศาลฎีกาในบางเรื่องด้วย โดยศาลชั้นต้นสามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. ศาลชั้นต้น ที่พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม ศาลแพ่ง ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งตลิ่งชัน กลุ่มศาลอาญา ได้แก่ ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญาตลิ่งชัน 2. ศาลจังหวัด เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำ ในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำ เภอ มีเขตอำ นาจศาล ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กำ หนดไว้ มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญา ทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำ นาจของศาลยุติธรรมอื่น องค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และ ต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกิน 1 คน หากในจังหวัดนั้นไม่มีศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดมีอำ นาจพิจารณา คดีที่อยู่ในอำ นาจศาลแขวงโดยองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาคนเดียว 3. ศาลแขวง เป็นศาลชั้นต้นที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เป็นความผิด เล็กน้อย และคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่สูง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีมีความรวดเร็วและ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน โดยในส่วนของคดีแพ่งนั้น กำ หนดให้มีอำ นาจหน้าที่ในการพิจารณาคดี ซึ่งมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำ นวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท หากเป็นคดีอาญาสามารถพิจารณาคดี ที่มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ แต่ทั้งนี้จะลงโทษจำคุก เกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วโดยผู้พิพากษาคนเดียวไม่ได้ หากเห็นว่าสมควรลงโทษจำ เลยเกิน อัตราดังกล่าว ถือเป็นเหตุจำ เป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนั้น หรือผู้ทำการ แทนตรวจสำ นวน และลงลายมือชื่อในคำ พิพากษาเป็นองค์คณะในการพิพากษาคดีด้วย 10


4. ศาลชำ นัญพิเศษ ประกอบด้วย ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค 1 - 9 ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลล้มละลายกลาง ศาลภาษีอากรกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รวมทั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ศาลชำ นัญพิเศษ จัดเป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาเป็นการเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลนั้น ๆ จะมีความแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไปตรงที่ นอกจากจะมีผู้พิพากษาประจำศาลทำ หน้าที่พิจารณาคดีความแล้วยังมีบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาสมทบเข้าร่วมการพิจารณา พิพากษาคดีด้วย ซึ่งศาลในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงานกลาง รวมถึง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ปัจจุบัน ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายใหม่ ได้กำ หนดให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำ นัญพิเศษขึ้น ซึ่งให้การพิจารณาคดีจากศาลชำ นัญพิเศษของศาลชั้นต้นยังไม่อาจยุติลงได้ คู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลชำ นัญพิเศษต่อศาลอุทธรณ์คดีชำ นัญพิเศษได้ ส่วนการยื่นฎีกาบัญญัติให้เป็น ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 5. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1-9 เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มีอำ นาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ข้าราชการหรือผู้ดำ รงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหา กระทำผิดฐานทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือกระทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือ การทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการให้ เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือคดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษบุคคลในความผิดเกี่ยวกับการเรียกรับยอมจะรับ หรือให้ ขอให้ รับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือการใช้กาลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้ก ํ าลังประทุษร้าย ํ หรือใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจหรือข่มขืนใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทา การไม่กระท ํ าการ หรือประวิงการกระท ํ าใดํ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น หรือคดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคล ตามกฎหมายที่กําหนดให้เป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น 11


3.2 ศาลชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาล ชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ รวมทั้งมีอำ นาจพิจารณาคำสั่งอื่น ๆ เช่น มีคำสั่ง เกี่ยวกับการขอประกันตัวในคดีอาญาและการขอทุเลาการบังคับในคดีแพ่ง เป็นต้น การพิจารณาของ ศาลชั้นอุทธรณ์มีลักษณะเป็นการตรวจสอบหรือทบทวนคำ พิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการพิจารณา คดีใหม่และมีอำ นาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ศาลชั้นอุทธรณ์จะมีองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน นอกจากศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 - 9 แล้ว ยังมี“ศาลอุทธรณ์คดีชำ นัญพิเศษ” มีอำ นาจหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลชำ นัญพิเศษ ซึ่งจะมีแผนกคดีชำ นัญพิเศษ ทำ หน้าที่พิพากษาคดีเฉพาะด้านได้แก่แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีอำ นาจ พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แผนกคดีภาษีอากร มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลภาษีอากร แผนกคดีแรงงาน มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงาน แผนกคดี ล้มละลาย มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย แผนกคดีเยาวชน และครอบครัว มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลเยาวชนและครอบครัว ในการดำ เนินงานนั้น ทั้งศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์คดีชำ นัญพิเศษแต่ละศาล จะมีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลแต่ละศาลทำ หน้าที่ช่วยผู้พิพากษาศาลนั้น ๆ ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมายเพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมในการตัดสินคดีความ 12


3.3 ศาลฎีกา ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับ บัญชาสูงสุด ศาลฎีกามีเขตอำ นาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำ นาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ หรือฎีกาคำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำ นาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23) เช่น คดีอาญาของผู้ดำ รงตำแหน่งทางการเมืองหรือคดีเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 คดีฝ่าฝืนมาตรฐาน จริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งคำสั่งหรือคำ พิพากษาของศาลฎีกาถือเป็นที่สุด สำ หรับการตัดสินคดีความนั้น ศาลฎีกาจะมีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา อย่างน้อย 3 คน แต่หากมีคดีความที่ขัดข้องในเรื่องข้อเท็จจริงหรือประสบปัญหาข้อกฎหมาย และประธาน ศาลฎีกา เห็นควรให้มีการพิจาณาตัดสินความอย่างถี่ถ้วน ประธานศาลฎีกามีอำ นาจสั่งการให้นำ ปัญหา ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยต่อไป ทั้งนี้ ศาลฎีกาจะมีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ทำ หน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์คดี ชำ นัญพิเศษ ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น ๑๑ แผนก เพื่อประโยชน์ในด้านการวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัย ความชำ นาญพิเศษ แผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วย (๑)แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา (๒)แผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา (๓)แผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา (๔)แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา (๕)แผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา (๖)แผนกคดีอาญาของผู้ดำ รง ตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา (๗)แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา (๘)แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ในศาลฎีกา (๙)แผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา (๑๐)แผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา (๑๑)แผนกคดีคำร้องและ ขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา สำ หรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำ รงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณา พิพากษาคดีผู้ดำ รงตำ แหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ ำ รวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย องค์คณะผู้พิพากษาใน แผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำ นวน ๙ คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา การพิจารณาคดี ให้ใช้ระบบไต่สวนโดยให้ศาลค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และในการ 13


14 วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ แม้ว่าการไต่สวนพยานหลักฐานนั้นจะมีข้อผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากขั้นตอน วิธีการ หรือกรอบเวลา ที่กฎหมายกําหนดไว้ ถ้าศาลได้ให้โอกาสแก่คู่ความ ในการโต้แย้งคัดค้านพยานหลักฐานนั้นแล้ว เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงตามความจริงที่เกิดขึ้นในคดีนั้น ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ของผู้ดำ รงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐


4. ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาในระบบศาลยุติธรรมปัจจุบันมี 4 ประเภท คือ ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาอาวุโส ผู้พิพากษา สมทบ และดะโต๊ะยุติธรรม 4.1 ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาต้องผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นอกจากนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำ หนดไว้ เช่น มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุไม่ต่ ำ กว่า 25 ปีบริบูรณ์ เป็นเนติบัณฑิตไทย มีประสบการณ์ทำ งานด้านกฎหมาย ไม่ต่ ำกว่า 2 ปี ผู้สมัครจะต้อง ผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ตามระเบียบที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำ หนด เมื่อผ่านการสอบคัดเลือกแล้วจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา เข้ารับการอบรมเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา อย่างน้อย 1 ปี ผู้ที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรมจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาประจำศาลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และได้ปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น หรือศาลชั้นอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่น้อยกว่า 100 คดี แล้วจึงได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำ รงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น โดยก่อนเข้า รับหน้าที่ผู้พิพากษาทุกคนต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ 15


4.2 ผู้พิพากษาอาวุโส ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2560 เมื่อผู้พิพากษามีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีอาจขอไปดำ รง ตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสได้ และกำ หนดให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์ในปีงบประมาณใด พ้นจากตำแหน่งที่ดำ รงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำ รงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสจนกว่าจะ พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และให้จัดให้มีการประเมิน การปฏิบัติหน้าที่ โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ตามที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอานาจหน้าที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ในศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ํ แล้วแต่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ รวมทั้งมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมสําหรับผู้พิพากษาคนเดียว จนกระทั่งมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ผู้พิพากษาอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในทางบริหารได้ เช่น ไม่สามารถดำรง ตำ แหน่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือปฏิบัติหน้าที่ในตำ แหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นอกจากนี้ ผู้พิพากษาอาวุโส ไม่มีสิทธิรับเลือกเข้ามาเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือกรรมการบริหารศาลยุติธรรม แต่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการดังกล่าว 4.3 ผู้พิพากษาสมทบ ผู้พิพากษาสมทบ คือบุคคลภายนอกที่ได้รับเลือกเป็นพิเศษให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษา ในศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน หรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ทั้งนี้เพื่อให้มีบุคคลภายนอกที่มีประสบการณ์หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา และพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบเป็นตำแหน่งที่แตกต่างจากผู้พิพากษา คือ เป็นตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประจำ วาระในการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบขึ้นอยู่กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำ นัญพิเศษที่ผู้พิพากษาสมทบ ปฏิบัติงานกำ หนดไว้ 16


4.4 ดะโต๊ะยุติธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 บัญญัติให้สามารถนำกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกมาใช้แทนประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ในการพิจารณาคดีครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในศาลชั้นต้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งอิสลามศาสนิกเป็นทั้งโจทก์ จำ เลย หรือเป็นผู้เสนอคำขอในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ในกรณีเช่นนี้ผู้พิพากษาและดะโต๊ะยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำ นาญในกฎหมายอิสลามจะนั่งพิจารณาคดี ร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี เข้าใจภาษาไทยในระดับที่กำ หนดไว้ และมีความรู้ เกี่ยวกับหลักศาสนาและกฎหมายอิสลาม 5. องค์กรบริหารของศาลยุติธรรม องค์กรที่มีอำ นาจหน้าที่บริหารงานของศาลยุติธรรม แบ่งออกเป็น 3 องค์กร คือ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ) คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) 5.1 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) ทำ หน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการโดยเป็นองค์กรที่มีบทบาทและภารกิจ ในการวางแผนกำลังคนในด้านตุลาการ เป็นต้นว่าการกำ หนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การสรรหาบุคลากร ที่มีคุณภาพ การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม และมาตรการในการรักษาวินัยโดยอาศัยระบบคุณธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันอันมั่นคงว่า จะได้รับการสนับสนุนและการคุ้มครองให้มีความอิสระอย่างแท้จริง คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากศาลฎีกา 6 คน ศาลชั้นอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการ เลือกตั้งของผู้พิพากษาทั่วประเทศซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ อีก 2 คน มีวาระในการดำรง ตำแหน่งคราวละ 2 ปี 17


5.2 คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม(ก.บ.ศ.) เป็นองค์กรบริหารที่ทำ หน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรี กล่าวคือเป็นผู้กำ หนดโครงสร้างของสำ นักงาน ศาลยุติธรรมตลอดจนการแบ่งส่วนราชการภายในองค์กร วางระเบียบข้อบังคับในการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบแก่เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมในการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี ให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณ และพัสดุ กำกับดูแลการบริหารราชการของสำ นักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน รวมทั้งมีอำ นาจสั่งยับยั้งการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องได้ ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง ยุบเลิก หรือ เปลี่ยนแปลงเขตอำ นาจศาล กำ หนดจำ นวนผู้พิพากษาในแต่ละศาลให้เหมาะสมตามความจำ เป็นของทาง ราชการ คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการ จากศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศ ชั้นศาลละ 4 คน กับบุคคลภายนอกผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กร หรือด้านบริหารจัดการที่ประธาน ก.บ.ศ. และ ก.บ.ศ. ประจำศาลเลือกมาไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง จะมีวาระในการดำ รงตำแหน่งคราวละ 2 ปี 5.3 คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) มีบทบาทหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการศาลยุติธรรม นับตั้งแต่การกำ หนดสายงานให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำ เป็นในการปฏิบัติงานสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำ หรับกำ หนดตำแหน่ง วางแผนอัตรากำลังคน การสรรหาบุคลากร กำ หนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งการบรรจุ แต่งตั้ง สิทธิประโยชน์ ค่าตอบแทน การพัฒนาบุคลากรวินัย การลา สวัสดิการอื่นๆ คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธาน ศาลอุทธรณ์ เป็นประธานโดยตำ แหน่ง รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เลขาธิการ ก.พ. และ เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ก.ต. ชั้นศาลละ 1 คน ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำ นาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำ นวยการ หรือประเภทบริหาร ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรม ที่ดำ รงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำ นาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำ นาญการขึ้นไป ประเภท อำ นวยการระดับต้นขึ้นไป และประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไป จำ นวน 5 คน และบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคลหรือด้านการบริหารจัดการ ที่ ก.ศ. เลือกมาไม่เกิน 3 คน ทั้งนี้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำ รงตำแหน่งคราวละ 2 ปี 18


6. สำนักงานศาลยุติธรรม นับจากวันที่ 20 สิงหาคม 2543 ศาลยุติธรรมได้แยกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรม โดยมี สำ นักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยธุรการ และมีเลขาธิการสำ นักงาน ศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา ในการแต่งตั้งเลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม ต้องมาจากการเสนอของประธานศาลฎีกาและได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้มีอำ นาจสั่งบรรจุ และดำ เนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไปซึ่งเลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมต้องแต่งตั้ง จากบุคคลที่โอนมาจากข้าราชการตุลาการ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 23 กำ หนดให้ข้าราชการตุลาการ ผู้นั้นพ้นจากข้าราชการตุลาการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นการ เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระอย่าง แท้จริงให้สามารถดุลและคานกับอำ นาจนิติบัญญัติและอำ นาจบริหารได้อย่างเหมาะสม ส่วนบุคคลที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารราชการของสำ นักงานศาลยุติธรรมคือ ประธานศาลฎีกา มีอำ นาจหน้าที่เช่นเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการศาลยุติธรรม และ เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำ นาจหน้าที่ทำ นองเดียวกับปลัดกระทรวงยุติธรรม 6.1 อำนาจหน้าที่ สำ นักงานศาลยุติธรรมมีอำ นาจหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการศาลยุติธรรม อาทิ การจัดทำ งบประมาณ รายจ่ายประจำ ปี การบริหารการเงิน การพัสดุ การวางแผนเกี่ยวกับบุคลากร การบริหารจัดการอาคารสถานที่ งานทางวิชาการ และงานส่งเสริมงานตุลาการ ซึ่งลักษณะของงานเหล่านี้เป็นไปตามลักษณะของการบริหาร องค์กรหรือหน่วยงาน และที่สำคัญ คือการสนับสนุนงานตุลาการอันเป็นภาระหลักให้ดำ เนินไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นเลิศในการอำ นวยความยุติธรรม 19


6.2 หน่วยงานในสำนักงานศาลยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 กำ หนดให้สำ นักงานศาลยุติธรรม เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำ นาจหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริม ตุลาการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำ นวยความสะดวกแก่ศาลยุติธรรม รวมทั้งเสริมสร้างให้การ พิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้ 1. สํานักประธานศาลฎีกา 2. สํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 3. สํานักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 4. สํานักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม 5. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 6. สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ 7. สํานักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม 8. สํานักการคลัง 9. สํานักการเจ้าหน้าที่ 10. สํานักการต่างประเทศ 11. สํานักกิจการคดี 12. สํานักตรวจสอบภายใน 13. สํานักเทคโนโลยีสารสนเทศ 14. สํานักบริหารกลาง 15. สํานักบริหารงานออกแบบและก่อสร้าง 16. สํานักบริหารทรัพย์สิน 17. สํานักแผนงานและงบประมาณ 18. สํานักส่งเสริมงานตุลาการ 19. สํานักอนุญาโตตุลาการ 20. กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ 21. ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม 22. สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาล 23. กองสวัสดิการศาลยุติธรรม 24. ศูนย์รักษาความปลอดภัย 25. สำ นักการแพทย์ 20


26. สานักศาลยุติธรรมประจ ํ าภาค ตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ํ โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา 27. สํานักอํานวยการประจําศาลฎีกา 28. สํานักอํานวยการประจําศาลอุทธรณ์ 29. สํานักอํานวยการประจําศาลอุทธรณ์ภาค 1 - ภาค 9 30. สํานักอํานวยการประจําศาลแพ่ง สํานักอํานวยการประจําศาลแพ่งธนบุรี สํานักอํานวยการประจําศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 31. สํานักอํานวยการประจําศาลอาญา สํานักอํานวยการประจําศาลอาญาธนบุรี สํานักอํานวยการ ประจําศาลอาญากรุงเทพใต้ 32. สํานักอํานวยการประจําศาลล้มละลายกลาง 33. สํานักอํานวยการประจําศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง 34. สํานักอํานวยการประจําศาลแรงงานกลาง 35. สํานักงานประจําศาลแรงงานภาค 1 - ภาค 9 36. สํานักอํานวยการประจําศาลภาษีอากรกลาง 37. สํานักอํานวยการประจําศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 38. สํานักงานประจําศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และสํานักงานประจําศาลจังหวัด แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมโดยความ เห็นชอบของประธานศาลฎีกา 39. สํานักอํานวยการประจําศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 40. สำ นักงานประจําศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1 - ภาค 9 41. สํานักอํานวยการประจําศาลจังหวัด และสํานักอํานวยการประจําศาลแขวง ตามประกาศ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา 42. สํานักงานประจําศาลจังหวัด และสํานักงานประจําศาลแขวง ตามประกาศคณะกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา 21


6.3 โครงการเสริมสร้างทักษะการต้อนรับประชาชนและการ ประชาสัมพันธ์ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการให้บริการแก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2552 ได้กำ หนดให้สำ นักงานศาลยุติธรรมจัดระบบการให้บริการแก่ประชาชนผู้มาติดต่อ ราชการศาลยุติธรรม โดยพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของศาลยุติธรรมให้เป็นภารกิจสำคัญ ที่ต้องดำ เนินการต่อเนื่องเป็นประจำ ทุกปี และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ.2561 – 2564 ยุทธศาสตร์ T (Trusted Pillar) เพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาในการอำ นวยความยุติธรรม โดยมีแนวทางการ ดำ เนินการเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการต้อนรับและการอำ นวยความสะดวกในด้านต่างๆ ของศาลยุติธรรม ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำ หนด พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมพนักงานต้อนรับที่เป็นไปตาม มาตรฐาน โดยเน้นอบรมความรู้ด้านกฎหมาย ระบบงานศาลการประชาสัมพันธ์ ให้แก่พนักงานต้อนรับ ประจำศาลยุติธรรมและกระตุ้นจิตสำ นึกในการให้บริการของข้าราชการศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของข้าราชการศาลยุติธรรมและพนักงานต้อนรับ ให้มีจิตใจให้บริการและทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการแก่ ประชาชน สำ นักงานศาลยุติธรรม จึงได้จัดทำ โครงการเสริมสร้างทักษะการต้อนรับประชาชนและการ ประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานต้อนรับ ให้มีความรู้ในระบบงานศาลและสามารถให้ คำแนะนำแก่คู่ความที่มาติดต่องานศาล รวมทั้งพัฒนาด้านบุคคลิกภาพการสื่อสารที่เหมาะสมถูกต้อง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่หน่วยงานโดยการสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างบุคลากรให้มีความรู้ในระบบงานศาลยุติธรรมเพื่อให้คำแนะนำแก่คู่ความหรือประชาชน ผู้มาติดต่อราชการศาลด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ประชาชนเกิดความพึงพอใจ 2) เพื่อสร้างพนักงานต้อนรับมืออาชีพด้วยเทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพอันส่งผลต่อ ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร 3) เพื่อสร้างจิตสำ นึกแห่งการให้บริการโดยตระหนักถึงผลประโยชน์ของประชาชนและสังคม 22


7. การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระบบ ศาลยุติธรรมดิจิทัล (Digital Court) ศาลยุติธรรมได้นำ เทคโนโลยีและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำ งานทั้งในด้าน การพิจารณาพิพากษาคดี การให้บริการแก่ประชาชน และงานสนับสนุนสำ นักงาน จากการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการดำ รงชีวิต ของประชาชน ตลอดจนการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองรวมถึงศาลยุติธรรม ด้วยเช่นกัน และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ศาลยุติธรรมจึงได้ขับเคลื่อน การเปลี่ยนผ่านศาลยุติธรรมให้เป็นศาลยุติธรรมดิจิทัล หรือ Digital Court เพื่อให้การเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณ มีความเป็นรูปธรรมบนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศและการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่การเป็น รัฐบาลดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านระบบไปสู่การเป็นศาลดิจิทัล หรือ Digital Court ที่เป็นมาตรฐานสากลวางเป้าหมาย ไว้ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2020 ภายใต้กลยุทธ์ที่เน้นความปลอดภัย โปร่งใส รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามารถบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดย มีระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย ระบบการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ศาลยุติธรรมได้จัดให้มีการให้บริการยื่นคำ ฟ้องทางระบบรับ-ส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม ระบบการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เพื่อให้หน่วยงานศาลยุติธรรม สามารถให้บริการคู่ความในการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารต่อศาลทางอิเล็กทรอนิกส์ คู่ความสามารถ ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องในทางคดี และรับส่งข้อมูลคดีผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศโดยไม่ต้องเดินทางมาศาล เป็นการบริหารคดีและบริการของศาลยุติธรรมมีความสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม หรือ Case Information Online Service (CIOS) เป็นระบบที่ศาลยุติธรรมดำ เนินการเพื่ออำ นวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยการใช้โปรแกรม การสืบค้นบริการข้อมูลคดีที่สามารถสืบค้นและติดตามสถานะความเคลื่อนไหวของคดีผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการประชาชนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของศาลยุติธรรม โดยคำ นึงถึงความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล การกำ หนดชั้นความลับและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้คู่ความในคดีสามารถสืบค้นและติดตามผลคดี บนโปรแกรม CIOS ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ 23


ระบบค้นหาเขตอำ นาจศาล (Jurisdiction) เป็นระบบที่ศาลยุติธรรมดำ เนินการเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการค้นหาเขตอำ นาจศาล โดยศาลยุติธรรมได้จัดให้มีการใช้โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ในการค้นคว้าชื่อและตำ แหน่งที่ตั้งของศาล ในพื้นที่บริเวณต่าง ๆ โดยค้นจากชื่อศาล เพื่อแสดงพื้นที่เขตอำ นาจในการพิจารณาคดี หรือระบุชื่อ จังหวัดและชื่ออำ เภอเพื่อแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำ นาจในการพิจารณาคดีของศาลใด ระบบนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้สะดวกแก่การใช้งานเพื่ออำ นวยความสะดวกให้กับผู้มีอรรถคดี ระบบการส่งเอกสารและการประกาศนัดไต่สวนโดยวิธีการลงโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (e - Notice System) เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์กลางสำ หรับศาลใช้ในการประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่าง ๆ เช่น คำร้อง ขอตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใช้ลงโฆษณา ประกาศคำ ฟ้องและเอกสารทางคดีอื่น ๆ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งด้วยเจ้าพนักงานศาลหรือวิธีอื่นได้ โดย คู่ความ ทนายความ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถขอให้ศาลประกาศนัดไต่สวนคำ ร้องขอหรือลงโฆษณา เอกสาร ทางคดีต่าง ๆ ด้วยระบบ e-Notice System โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถติดตามประกาศของศาลผ่านทางเว็บไซต์ https://enotice.coj.go.th ได้โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพในการลงโฆษณามากกว่าการประกาศทาง หนังสือพิมพ์ที่ศาลใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการประทับรับรอง เวลา (time stamp) ลงในเอกสารที่ได้ประกาศทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้มีการลงประกาศไป แล้วนอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังคำ นึงถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของคู่ความ โดยจะทำการลบข้อมูล ออกจากเว็บไซต์กลางอัตโนมัติเมื่อมีการลงโฆษณาหรือประกาศผ่านระบบครบ 6 เดือน เว้นแต่ศาลจะมี คำสั่งเป็นอย่างอื่น และมีคำ เตือนแสดงขึ้นทุกครั้งที่มีผู้คลิกเข้าไปดูประกาศ 24


การพิจารณาคดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อำ นวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในกระบวนการศาลยุติธรรม โดยการติดตั้งระบบเครือข่ายความเร็วสูงเพื่อสนับสนุนการพิจารณาคดีของ ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เช่น การนำระบบ Video Conference มาใช้ในการสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพ สำ หรับพยานที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือ การฝากขังระหว่างศาลกับเรือนจำ การอ่านคำ พิพากษา/คำสั่ง/คำ ร้อง ไกล่เกลี่ย เพื่อเสริมระบบสนับสนุนการอํานวยความยุติธรรม สนับสนุนภารกิจของศาลสูงในการอาน คาพิพากษา หรือ ค ํ าสั่งสนับสนุนภารกิจสืบพยานบุคคลที่อยู ํ นอกศาล การใช ลามที่อยู  นอกศาลในระหว่าง  ชั้นพิจารณา สนับสนุนภารกิจการผัดฟอง การฝากขัง ภารกิจดานการประชุมทางไกล และภารกิจอื่น ๆ โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลคดีศาลยุติธรรมกับหน่วยงานภายนอก (Web Service) เป็นการให้บริการอีกรูปแบบหนึ่งของศาลยุติธรรม ที่ได้จัดทำ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลศาลยุติธรรม กับหน่วยงานภายนอก (Web service) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลคดีศาลยุติธรรมกับหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถตรวจสอบข้อมูล และรองรับการเข้าถึงข้อมูล ตามอำ นาจหน้าที่ ของแต่ละหน่วยงาน ประกอบด้วย กรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ และสำ นักงานตรวจคน เข้าเมือง เพื่อให้การดำ เนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบเชื่อมโยง ข้อมูลหมายจับบังคับคดี ระบบเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์กับกรมคุมประพฤติ ระบบการเชื่อมฐานข้อมูลการออกหมายจับและผลการจับกุมตามหมายจับระหว่างหน่วยงานศาลยุติธรรม ที่ร่วมกันกับสำ นักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคำร้อง ขอออกหมายจับและการรายงานผลการจับตามหมายจับ ลงในเว็บเซอร์วิส (WebService) เครื่องคอมพิวเตอร์ 25


26 แม่ข่าย ที่เชื่อมต่อกันระหว่างหน่วยงานที่มีอำ นาจขอหมายจับ เพื่อให้การปฏิบัติงานสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดประโยชน์ร่วมกันในงานกระบวนการยุติธรรม และมีระบบฐานข้อมูลหมายจับซึ่งมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน แบบเรียลไทม์


8. ศาลยุติธรรมกับการพัฒนาเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงในระดับสากล เจ้าพนักงานตำ รวจศาล การปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพจำ เป็นต้องมี ระบบการรักษาความปลอดภัยภายในศาลที่เข้มแข้ง และมีระบบการติดตามจับกุมผู้หลบหนีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสำ นักงานศาลยุติธรรมมีความพยายามที่จะจัดตั้งหน่วยงานภายในที่มีภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในบริเวณศาล รักษาความปลอดภัยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมในการปฏิบัติ หน้าที่มาเป็นเวลานานหลายทศวรรษจนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 พระราชบัญญัติเจ้าพนักงาน ตำ รวจศาล พ.ศ. 2562 ได้มีผลใช้บังคับ และเจ้าพนักงานตำ รวจศาลชุดแรก จำ นวน 35 คน ซึ่งมีหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินในบริเวณศาล ป้องกันและปราบปราม การกระทำผิดในบริเวณศาล รักษาความปลอดภัยและคุ้มครองข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมใน การปฏิบัติการตามหน้าที่ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวและหมายจับของศาลได้เริ่มปฏิบัติ หน้าที่ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2562 การปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) กระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน ทั้งในส่วนผู้กระทำความผิดและ ผู้ต้องโทษ ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในสังคม ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ปัญหาผู้ถูกดำ เนิน คดีซึ่งเป็นผู้ต้องหา หรือจำ เลยหลบหนีในชั้นปล่อยชั่วคราว ปัญหาความยากจนไม่มีเงินประกันตัวทำ ให้ คนยากจนถูกควบคุมตัว และเสียโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราว ทั้งปริมาณผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษในเรือน จำ มีปริมาณมาก และเกิดสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษที่อยู่ในเรือนจำ นอกจากนี้ การลงโทษจำคุกในความผิดเล็กน้อยที่จะนำ ไปสู่การพัฒนาการกระทำความผิดของผู้ต้องโทษ และปัญหา การขาดสถานที่ลงโทษกักขังหรือการกักขังแทนค่าปรับ เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว สำ นักงานศาลยุติธรรมจึง ได้จัดให้มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทาง ของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมาใช้ในงานปล่อยชั่วคราวได้ติดตามตัว (Electronic Monitoring : EM) หรือที่เรียก ว่า อุปกรณ์ EM เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมกับประเภทคดี และผู้ต้องหาหรือจำ เลยแต่ละ คนเพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับการปล่อยชั่วคราวและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องหา หรือจำ เลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มีโอกาสได้รับอนุญาตปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ต้องหา หรือจำ เลยสามารถขอให้นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัด การเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรืออุปกรณ์ EM มาใช้ประกอบในการยื่นคำ ร้องขอปล่อยชั่วคราว ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์ EM โดยมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้ 27


การเปิดศูนย์วิเทศอาเซียน ศาลยุติธรรมได้จัดตั้ง “ศูนย์วิเทศอาเซียน” ขึ้น ณ สำ นักงานต่างประเทศ อาคารศาลอาญา ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เพื่อทำ หน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารอันเกี่ยวเนื่อง ด้วยเรื่องประชาคมอาเซียน ทั้งจากบทความทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์และสื่อรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้เผยแพร่สู่บุคลากรภายในหน่วยงานศาลยุติธรรม นอกจากนี้ ศูนย์วิเทศอาเซียน ยังจัดให้มีการอบรมแก่บุคลากรภายในหน่วยงานของศาลยุติธรรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในด้านต่างๆ จัดทำและประสานงานโครงการแลกเปลี่ยนข้าราชการฝ่ายตุลาการ ในระดับสากลกับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนรวมถึงการประสานการอำ นวยความยุติธรรมในระดับสากล กับประเทศสมาชิก ศูนย์อำ นวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Justice Conference Center: EJCC) ด้วยคำ นึงถึงการอำ นวยประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมอย่างสูงสุด สำ นักงานศาลยุติธรรมได้ จัดตั้งศูนย์อำ นวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุน การสืบพยานบุคคล โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีความไม่จำ เป็นต้องปรากฏตัวในห้องพิจารณาคดี ทั้งยัง อำ นวยความสะดวกให้พยานบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ และล่าม ให้สามารถให้การโดยการแปลภาษาต่อหน้าศาล และคู่ความได้ในสถานการณ์ซึ่งโดยปกติแล้วไม่สามารถให้การสื่อสารด้านภาษาต่อศาลด้วยตนเองในห้อง พิจารณาคดี ทำ ให้กระบวนพิจารณาคดีของศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด ทั้งยังเป็นการคุ้มครองผู้เยาว์ และพยานสำคัญ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและล่าม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับศาลและคู่ความในห้อง พิจารณาคดี ตามนโยบายสาธารณะในการเข้าถึงกระบวนการพิจารณาคดีที่มีประสิทธิภาพและการอำ นวย ความยุติธรรมอย่างทั่วถึง 28


9. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการที่ศาลยุติธรรม เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร การที่ศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชน ดังนี้ ประการแรก การที่ศาลยุติธรรมแยกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรมประชาชนจะเข้าใจและ เชื่อมั่นได้ว่าอำ นาจตุลาการมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง สามารถเป็นหลักประกันการอำ นวยความยุติธรรม ให้แก่ประชาชนแม้ในกรณีที่ประชาชนมีคดีพิพาทกับฝ่ายบริหารก็ตาม ประการที่สอง ประชาชนจะได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในการรับบริการ เนื่องจากศาลยุติธรรม มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำ เนินการอื่น ๆ ทำ ให้สามารถพัฒนาองค์กรให้ มีระบบการบริหารจัดการที่ดีและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่เดิมเคยมีให้ลุล่วงไปได้ ประการที่สาม ระบบการบริหารงานบุคคล และการบริหารจัดการโดยมีบุคคลภายนอกเข้ามา ร่วมรับรู้และตรวจสอบ เช่น การเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ ของศาลยุติธรรมไม่ว่าจะ เป็นกรรมการ ก.ต. ก.บ.ศ. หรือ ก.ศ. ย่อมทำ ให้ประชาชนมีความมั่นใจในความโปร่งใสของการบริหาร จัดการศาลยุติธรรม ประการที่สี่ ระบบการศาลยุติธรรมเป็นระบบที่อำ นวยความยุติธรรมได้ทัดเทียมกับนานา อารยประเทศทำ ให้ชาวต่างประเทศที่มีคดีความหรือคิดจะลงทุนหรือทำการค้าในประเทศเกิดความมั่นใจ ว่าประเทศไทยมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและมีเสถียรภาพไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายใด 29 ล่ามอาสาประจำศาล (Standby Court Interpreter) การเข้าร่วมพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่าง ประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัว ทั้งยังส่งผลให้การทำ งานด้านกระบวนการศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าที่ผ่านมาการมีล่าม เพื่อสื่อสารภาษาระหว่างคู่ความ ผู้เสียหาย และพยาน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่ต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรม ของศาลยุติธรรมของไทยจึงเป็นเรื่องที่มีความจำ เป็นอย่างยิ่ง ศาลยุติธรรมจึงจัดให้มีโครงการล่ามอาสาประจำศาล (Standby Court Interpreter) เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ล่ามของสำ นักงานศาลยุติธรรม โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการถือเป็นล่ามอิสระของสำ นักงาน ศาลยุติธรรมซึ่งสมัครใจเข้ามาทำ งานด้วยจิตสาธารณะเพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการการคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ตั้งภายใต้การดำ เนินงานของโครงการดังกล่าวนี้ นับเป็นส่วนหนึ่ง ของการเพิ่มศักยภาพในกระบวนการศาลยุติธรรมของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น


30


31 31


32 32


Click to View FlipBook Version