ประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรสี ุรยิ วงศ์ (ชว่ ง บุนนาค)
ผเู้ รยี บเรียงนายประสาร ธาราพรรค์
สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ขนุ นางชนั้ ผู้ใหญข่ องไทยในสมยั รตั นโกสนิ ทร์ ผู้มีบทบาทสาคญั ในการเมืองการปกครอง
ของไทยนบั เปน็ ผู้ท่ีดารงตาแหน่ง "สมเดจ็ เจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย พร้อมท้ังยังมีบทบาทใน
การอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้ึนครองสิริราชสมบัติและประการ
สาคัญได้รบั การแต่งตงั้ เปน็ ผสู้ าเร็จราชการทา่ นแรก
เม่ือศึกษาถึงประวัติของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จะเห็นได้ว่าท่านเป็น
อัจฉริยบุรุษผู้มีชื่อเสียงเด่นที่สุดในบรรดาสมาชิกทั้งหลายของตระกูลบุนนาค ไม่เพียงแต่
ชื่อเสียงของท่านจะเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทยว่า ท่านเป็นผู้มีอานาจและอิทธิพลในการ
ปกครองประเทศสยามในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 และที่ 5 เท่านั้น แต่ท่านยังเป็นที่รู้จักกันดีใน
บรรดาชาวต่างประเทศตั้งแต่สมัยเม่ือท่านมีชีวิตอยู่จนกระท่ังปัจจุบันนี้ เป็นผู้สาเร็จราชการ
แทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ท่านผู้น้ีคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี
สุรยิ วงศ์
คตธิ รรมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรสี รุ ยิ วงศ์
“คาพระ คาพระมหากษัตรยิ ์ คาบิดามารดา ใครลบล้างก็เปน็ อกตัญญู”
ประวตั ิสมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรสี ุรยิ วงศ์
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาประยรู วงศ์ (ดศิ บนุ นาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีนามเดิมว่า “ช่วง” เป็นบุตรชายคนใหญ่ของ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดปีมะโรง วัน
ศุกร์ เดือนย่ี ขึ้น 7 ค่า ตรงกับวันท่ี 23 ธันวาคม พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
พทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก ท่านมีพ่นี ้องร่วมบดิ ามารดารวม 9 คน แต่มีชีวิตจนเติบใหญ่มาพร้อมกับ
ทา่ นเพยี ง 4 คน ได้แก่ เจ้าคุณหญิงแข (เจ้าคุณตาหนักใหม่), เจ้าคุณหญิงปุก (เจ้าคุณกลาง),
เจา้ คุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย) และพระยามนตรีสุรยิ วงศ์ (ช่มุ บุนนาค)
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรสี ุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) แตง่ กายชุดนายทหารชนั้ สูงอย่างเกา่
ตระกูล “บุนนาค” ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีประวัติความเป็นมายาวนานนาน
นับต้ังแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ต้นตระกูลเป็นพ่อค้าชาวอาหรับ (เปอร์เซีย) นับถือศาสนาอิสลาม
นิกายเจ้าเซ็น ชื่อ “เฉกอะหมัด” ซึ่งได้เข้ามามาในกรุงศรีอยุธยาเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ในปลาย
รชั กาลสมเดจ็ พระเอกาทศรถ เฉกอะหมดั มหี า้ งค้าขายเป็นปึกแผ่นอยู่ตาบลท่ากายี ใกล้พระนครศรีอยุธยา
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดได้เข้ารับราชการในกรมท่า ทาความดีความชอบจนได้รับพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ แต่งต้ังเป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา ว่าที่จุฬาราชมนตรี และต่อมา
ไดเ้ ล่ือนข้ึนเปน็ เจา้ พระยาเฉกอะหมัดรตั นาธิบดี ทีส่ มหุ นายก อคั รมหาเสนาบดฝี ่ายเหนือ
ในวงศ์เฉกอะหมัดช้ันท่ี 6 นี้มีบุคคลสาคัญคือ นายบุนนาค ซึ่งเป็นผู้กาเนิดตระกูลบุนนาคในสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้เป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมในรัชกาลท่ี 1 บุตรเจ้าพระยา
อรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล ภรรยาเอกของท่าน คือผู้ท่ีสืบตระกูลบุนนาคสายตรง บุตรคน
สาคัญคือ นายดิศ และนายทัต บุนนาค ท่านทั้งสองน้ีได้รับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นผู้ท่ีมีบทบาทในการปกครองประเทศสยามมาก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักด์ิสูงสุดเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ประยุรวงศ์ หรือท่ีเรียกว่ากันโดยทั่วไปว่า “สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่” ผู้สาเร็จราชการท่ัวพระ
ราชอาณาจักร และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชยั ญาติ หรือท่ีเรียกว่ากันโดยทั่วไปว่า “สมเด็จเจ้าพระยา
องค์นอ้ ย” ผ้สู าเร็จราชการพระนคร ตามลาดบั
สกุลบุนนาคจึงเป็นสกุลสามัญชนที่สาคัญ กุมอานาจทางการเมือง การปกครอง การทหาร การ
ต่างประเทศ และเศรษฐกิจยิ่งใหญ่กว่าสกุลใดในประเทศไทยมากว่า 100 ปี ว่าไปแล้วก็เป็นญาติกับพระ
ราชวงศจ์ กั รนี น่ั เอง แต่บรรพบรุ ษุ ในตระกูลนไ้ี มไ่ ด้เห่อเหิมทะนงตัวว่าเป็นญาติ ไม่ทาตนเสมอเจ้ามีแต่พระ
เจ้าแผ่นดินไปนับญาติกับท่าน คาว่า “ประยุรวงศ์” “พิชัยญาติ” แสดงอยู่แล้วว่าเป็นญาติสนิท ท้ังยัง
ซือ่ สัตย์สุจรติ จงรกั ภักดี ในหลวงใชใ้ หท้ าอะไรก็ทา ห้ามทาอะไรก็ไม่ทา บางคนนั้นเจ้านายบางพระองค์เคย
ถึงกบั ระแวงว่าจะเหิมเกริมคิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง เพราะมีท้ังอานาจ บริวาร และเงินทอง แต่ก็ไม่
เคยปรากฏเหตุการณใ์ ด ๆ กลบั จะพยายามชว่ ยประคบั ประคองรักษาประเทศชาตมิ ิให้แตกแยกมาตลอด
วดั พระเชตพุ นวมิ ลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
การศกึ ษา
การศึกษาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เม่ือครั้งยังเยาว์วัยน้ัน เข้าใจว่า
สมเด็จเจ้าพระยา ฯ คงจะเรียนหนังสือที่วัดพระเชตุพน ฯ ซ่ึงเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้านท่ีสุด ส่วน
การศึกษาวิชาสาหรับเป็นอาชีพเมื่อเติบใหญ่ ก็มักเรียนโดยกระบวนฝึกหัดจากตระกูลของตน
โดยที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศดารงตาแหน่งเป็นเจ้าพระยาคลัง ซ่ึงโดยตาแหน่ง
นอกจากจะจัดการเรื่องการคลังแล้ว ยังได้ว่าการต่างประเทศ และว่าการปกครองหัวเมือง
ชายทะเลฝา่ ยตะวนั ออกมาตงั้ แต่สมยั รัชกาลท่ี 2 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ซึ่งเป็น
บุตรชายคนโต เม่ือเติบใหญ่จึงเล่าเรียนวิชาท่ีบ้านจากบุคคลในตระกูลของท่านเอง โดย
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ บิดาของท่านน้ันดารงตาแหน่งเป็นพระยาพระคลัง
เสนาบดวี า่ การต่างประเทศและไดว้ ่าการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันออก ดังนั้น ท่าน
จงึ ไดศ้ ึกษาราชการต่าง ๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การตา่ งประเทศและการปกครองมาจากบิดาของท่าน
เอง
ชีวติ ครอบครัว
ทา่ นผูห้ ญิงกลนิ่ บุญนาค
ท่านสมรสกับท่านผู้หญิงกล่ิน ท่านผู้หญิงกลิ่น เป็นธิดาของหลวงแก้วอายัติ (จาด
บุนนาค)และคุณล้ิม บุนนาค ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)กับท่านกอง
สมรสกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในขณะที่ท่านยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสิทธิ์
นายเวร
มีบุตรธิดา 4 คน เป็นบุตรชาย 1 คน ได้แก่ เจ้าพระยา สุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
สมุหพระกลาโหมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นบิดาของเจ้า
คุณพระประยูรวงศ์และเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค เจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้แก่ คุณหญิงกลาง ภรรยาพระยาสีหราชฤทธิไกร
(แย้ม บณุ ยรตั พนั ธุ์) คุณหญงิ เลก็ และคุณหญงิ ป๋วิ
นอกจากน้ี ท่านยงั สมรสกับ ทา่ นผู้หญิงพรรณและท่านผู้หญิงหยาด (บุตรีพระยาวิชยาธิ
บดี เจ้าเมืองจันทบุรี ต่อมาเป็นพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) ต้นสกุลบุรา
นนท์) และ ท่านปราง บุตรี พระยาดารงราชพลขนั ธ์ (จยุ้ คชเสน)ี แตไ่ ม่มบี ุตรดว้ ยกนั
การรบั ราชการ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้านภาลยั รัชกาลที่ 2
นายช่วง บุนนาค ได้ถูกบิดานาเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลศิ หลา้ นภาลัย เม่อื อายุราว 16 ปี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กช่วงได้เล่ือนเป็น นายไชย
ขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร ซ่ึงท่านเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต้ังแตว่ ัยเยาว์ และได้เล่ือนเป็น หลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก เรียกกันท่ัวไปว่า หลวงนายสิทธิ์
ตามลาดบั
หลวงนายสิทธิ์ได้ช่ือว่าเป็นพวก “หัวใหม่” ในสมัยนั้น เป็นผู้สนใจศึกษาวิชาการของ
ชาวตะวันตก เน่ืองจากอังกฤษและฝร่ังเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่โลกตะวันออกและประชิดเขต
แดนสยามมากข้นึ หากไมป่ รับตวั ให้รเู้ ท่าทนั ฝร่ัง สยามอาจถูกยึดครองเปน็ อาณานคิ มได้
สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เห็นจะเป็นคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัวมาต้ังแต่ในรัชกาลที่ 2 ด้วยบิดาของท่านเป็นผู้ซึ่งทรงชอบชิดสนิทสนม และ
ได้มารับราชการกรมทา่ ร่วมกันเมื่อตอนปลายรัชกาล เพราะฉะน้ันพอถงึ รัชกาลที่ 3 เม่ือทรงตั้ง
บดิ าของท่านให้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง ตัวทา่ นก็ได้เป็นที่นายชัยขรรค์หุ้มแพร มหาดเล็ก และ
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดฯใหเ้ ล่ือนบรรดาศกั ด์ขิ นึ้ เป็นหลวงสิทธ์ินายเวรมหาดเล็ก(สันนิษฐาน
ว่าได้เป็นท่ีนายชัยขรรค์ ในต้นรัชกาลที่ 3 เวลาน้ันอายุได้ 18 ปี และมีจดหมายเหตุของ
มิชชันนารี เมื่อ พ.ศ. 2378 เรียกท่านว่า หลวงนายสิทธิ์ เห็นจะได้เป็นหลวงสิทธิ์นายเวร
มหาดเล็ก เมือ่ อายรุ าว 25 ปี) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เม่ือยังเป็นหลวงนายสิทธิ์
แต่งงานกับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ(จาด)บุตรของเจ้าพระยามหาเสนาบุนนาค
(แต่เจ้าคุณนวลมิได้เป็นมารดา) แต่จะแต่งงานเมื่อปีใดน้ันทราบได้แต่ว่าก่อน พ.ศ. 2371
เพราะเจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์บุตรของท่านเกิดเมื่อปีชวด พ.ศ. 2371 แล้วมีธิดาอีกคนหน่ึง
ชื่อกลาง ได้แต่งงานสมรสกับพระยาสีหราชฤทธิไกร(แย้ม บุณยรัตพันธ์ุ)บุตรเจ้าพระยาภูธรา
ภัย พิเคราะห์ตามความท่ีปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุเก่าๆ ดูเหมือนความสามารถฉลาด
หลักแหลมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะเร่ิมปรากฏแก่คนท้ังหลายตั้งแต่เมื่อ
เป็นหลวงสิทธ์ินายเวร เพราะเหตุการณ์ต่างๆให้โอกาสประกอบกับฐานะของท่านที่เป็นบุตร
เจ้าพระยาพระคลัง เป็นต้นว่าพอถึงรัชกาลท่ี 3 แล้วไม่ช้าอังกฤษก็เร่ิมมามีอานาจขึ้นใกล้ชิด
กับประเทศสยาม ด้วยตีได้หัวเมืองของพม่าที่ต่อแดนไทยไว้เป็นเมืองขึ้น และมาตั้งเมืองเกาะ
หมากเป็นท่ีมั่นต่อแดนไทยทางหัวเมืองมลายูต้องทาหนังสือสัญญาทางไมตรีกับบริษัทอังกฤษ
ซ่ึงปกครองอินเดียเริ่มมีการเมืองและการค้าขายเกี่ยวข้องขึ้นกับอังกฤษต่อน้ันมา (เม่ือเสร็จ
การปราบกบฏเวียงจนั ทร์แล้ว) ไทยเกิดรบกับญวนตอ้ งเตรียมรกั ษาปากนา้ เจ้าพระยาและเมือง
จันทบุรี มิให้ญวนจู่โจมมาทาร้ายได้โดยทางทะเล ในการปรึกษาทาหนังสือสัญญากับทูต
อังกฤษก็ดี การสร้างป้อมและเตรียมรักษาปากน้าเจ้าพระยาและเมืองสมุทรปราการก็ดี การ
สร้างเมืองจันทบุรีใหม่ที่เนินวงบางกระจะก็ดี อยู่ในกระทรวงของเจ้าพระยาพระคลังบิดาของ
ทา่ น
สมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นบุตรผู้ใหญ่ก็ได้รับใช้เป็นผู้ช่วยอย่างกับมือ
ขวาของบิดาของท่านในการท้ังปวง(บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ท่ีได้เป็นกาลัง
ช่วยบิดาอีกคนหน่ึงในครั้งน้ันคือ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขา บุนนาค)ต่อมาในรัชกาลท่ี 3 ได้
เป็นที่จม่ืนราชามาตย์ในกรมตารวจ) จึงเป็นโอกาสท่ีได้แสดงคุณวุฒิให้ปรากฏ จะนาเร่ืองมา
สาธกพอเปน็ อทุ าหรณ์ ดังเช่น เมอื่ บิดาของท่านลงไปสรา้ งเมอื งจันทบรุ ีตวั ทา่ นต่อเรือกาป่ันรบ
คิดพยายามทาเรือกาปั่นอย่างฝรั่งได้ แล้วพาเรือกาป่ันบริค(เป็นเรือชนิดใช้ใบเหล่ียมทั้งเสา
หนา้ เสาท้าย)ลาแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเดจ็ พระนัง่ เกล้าเจา้ อย่หู ัว เม่อื พ.ศ. 2378 โปรดฯ
พระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" (แต่มีชื่อเรียกอย่างฝร่ังอีกช่ือหน่ึงว่าเรือ
"อาเรียล")
พวกมิชชันนารีอเมริกันเริ่มเข้ามาตั้งในกรุงเทพฯเม่ือ พ.ศ. 2371 เดิมมาเช่าท่ีตั้งอยู่ท่ี
หน้าวดั เกาะ คร้ันถงึ พ.ศ. 2373 มีฝร่ังพวกนายเรือใบไปอาศัยพวกมิชชันนารีแล้วเลยเข้าไปยิง
นกในวัดเกาะเป็นเหตุวิวาทขึ้นกับพระสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เม่ือยังเป็น
เจ้าพระยาพระคลัง จึงให้พวกมิชชันนารีย้ายข้ึนมาอยู่ใต้บ้านพวกเข้ารีตท่ีกุฎีจีนใกล้กับจวน
ของท่าน เป็นเหตุให้พวกมิชชันนารีอเมริกันได้โอกาสเข้าใกล้ชิดกับไทยที่มีบรรดาศักดิ์ ก็
ลกั ษณะทพ่ี วกมชิ ชันนารีประพฤติน้ัน มีการสอนคริสต์ศาสนาเป็นเบื้องต้นก็จริง แต่พอใจสอน
ภาษาอังกฤษและวชิ าความรู้ต่างๆของฝร่ังไปด้วยกันกับทั้งรับรักษาไข้เจ็บด้วย ถึงกระนั้นไทย
โดยมากกม็ คี วามรังเกียจพวกมิชชันนารีด้วยเห็นว่าจะมาสอนให้เข้ารีตถือศาสนาอ่ืน แต่มีบาง
คนซึ่งเป็นช้ันหนุ่มหรือถ้าจะเรียกตามอย่างปัจจุบันนี้ก็ว่าเป็นพวกสมัยใหม่ ใคร่จะเรียนภาษา
และวิชาของฝรั่งเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองไม่รังเกียจการท่ีจะคบหาสมาคมและ
ศึกษาวชิ าการกับพวกมชิ ชันนารี
พวกหัวสมัยใหม่ท่ีเป็นบุคคลสาคัญในชั้นหลัง 4 ท่าน คือ พระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือยังทรงผนวช (วชิรญาณภิกขุ) พอพระราชหฤทัยใคร่จะเรียนภาษาและ
หนังสืออังกฤษกับทั้งวิชาต่างๆมีโหราศาสตร์เป็นต้นพระองค์ 1 พระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้า
เจ้าอยูห่ ัว (สมเด็จพระเจา้ น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระยศขณะน้ัน) พอพระ
ราชหฤทยั จะทรงเรียนวชิ าทหารเป็นที่ตั้ง ทั้งเรียนหนังสือเพื่อจะได้ทรงอ่านตาหรับตาราได้เอง
พระองค์ 1 กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์ไทยอยู่แล้ว ใคร่จะทรงศึกษา
วิชาแพทย์ฝร่ังแต่ไม่ประสงค์จะทรงเรียนภาษาอังกฤษพระองค์ 1 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ศรีสุริยวงศ์ เม่ือยังเป็นหลวงสิทธ์ินายเวร ใคร่จะเรียนวิชาต่อเรือกาปั่นเป็นสาคัญและ
ภาษาองั กฤษกด็ ูเหมอื นจะได้เรยี นบา้ ง อีกคน 1 (จะรู้ภาษาอังกฤษเพียงใดทราบไม่ได้ ข้าพเจ้า
เคยได้ยินท่านพูดภาษาอังกฤษกังฝรั่งคร้ังหนึ่ง ดูเหมือนจะพอสนทนาปราศัยได้ แต่การต่อเรือ
กาป่ันท่านศึกษาจนชานิชานาญไม่มีตัวสู้ในสมัยของท่าน ได้เป็นผู้ต่อตลอดจนเรือกาปั่นไฟใน
รัชการที่ 4 และรชั กาลที่ 5)
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เห็นจะได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นท่ีจมื่นวัยวรนา
รถ หัวหมน่ื มหาดเล็ก เม่ือราวปีฉลู พ.ศ. 2384 ด้วยปรากฎในการทาสงครามกับญวนในปีนั้น
วา่ พระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกลา้ เจ้าอยู่หัวดารัสสงั่ ให้จัดกองทัพเรือใช้เรือกาป่ันที่ต่อใหม่เป็นพ้ืน
และโปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเม่ือยังดารงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้อง
ยาเธอเจ้าฟ้ากรมขนุ อศิ เรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพใหญ่ ใหญ่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เม่ือยังเป็นท่ีจมื่นวัยวรนารถเป็นนายทัพหน้า ยกลงไปตีเมืองบันทานมาศ(ฮาเตียน)แต่ไปทา
การไม่สาเร็จดังพระราชประสงค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเพ่ิมสร้อย
นามพระราชทานว่า "จม่ืนวัยวรนารถภักดีศรีสุริยวงศ์" (นามน้ีปรากฎอยู่ในจดหมายเหตุครั้ง
เซอรเ์ ชมสบรกุ เป็นทูตอังกฤษเข้ามาเม่อื ปีจอ พ.ศ. 2393)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว รชั กาลที่ 3
ในเวลาเมื่อใกล้จะส้ินรัชกาลท่ี 3 น้ัน ปรากฏว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
วงศ์ได้อาศัยสติปัญญาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ช่วยแก้ไขเหตุลาบากเรื่องหนึ่ง
จะต้องกล่าวย้อนข้ึนไปถึงเร่ืองอันเป็นมูลเหตุก่อน คือในรัชกาลท่ี 3 เมื่อกรมพระราชวังบวร
มหาศักดิพลเสพสวรรคตแล้ว พวกข้าเจ้าต่างกรมพากันคาดว่าเจ้านายของตนจะได้เลื่อนขึ้น
เป็นพระมหาอุปราชหลายกรม บางแห่งถึงเตรียมตัวหาผ้าสมปักขุนนาง และที่เป็นตารวจหา
หอกไว้ถือแห่เสด็จก็มี กิตติศัพท์น้ันทราบถึงพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษา
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาประยูรวงศ์เม่ือยังเป็นเจ้าพระยาพระคลัง กับสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาพิชัยญาติเม่ือยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ พระยาศรพิพัฒน์กราบทูลความเห็นว่าควรโปรดฯ
ให้เลื่อนกรมเจ้านายท่ีมีความชอบเสียทันที จะได้ปรากฏว่าเจ้านายของตนจะได้เล่ือนพระยศ
เป็นเพียงนัน้ เอง กท็ รงดาริเห็นชอบดว้ ย (เรื่องครง้ั น้ีเป็นมูลเหตุจึงเลยเป็นประเพณีที่เลื่อนกรม
และต้งั กรมเจ้านาย เมอ่ื พระมหาอุปราชสวรรคตในรชั กาลหลังๆต่อมา)
เม่ือจวนส้ินรัชกาลท่ี 3 เจ้านายซึ่งได้เลื่อนกรมครั้งนั้นยังดารงพระชนม์อยู่หลาย
พระองค์ แต่กรมขุนพิพิธภูเบนทร์น้ันเกิดทรงหวาดหว่ันเพราะข้าในกรมเคยขึ้นชื่ออวดอ้างย่ิง
กว่ากรมอื่น ทรงพระวิตกเกรงเจ้าพระยาพระคลังกับพระยาศรีพิพัฒน์จะพาลเอาผิดในเวลา
เปล่ียนรัชกาล จึงเรียกระดมพวกขา้ ในกรมเขา้ มารักษาพระองค์ท่ีในวังเชิงสะพานหัวจระเข้จน
ไม่พอให้คนอยู่ ต้องให้ไปอาศัยพักอยู่ตามศาลาในวัดพระเชตุพน ความนั้นทราบถึงสมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ แตย่ งั สงสัยอยู่จงึ ใหบ้ ตุ รสองคน (คือพระยามนตรีสุริยวงศ์(ชุ่ม)
เมอ่ื ยงั เป็นนายพลพันหุ้มแพรคน 1 กับเจ้าพระยาภานุวงศ์ฯเม่ือยังเป็นมหาดเล็กคน 1) ไปดูที่
วัดพระเชตุพนว่าจะจริงอย่างว่าหรือฉันใด ก็ไปเห็นผู้คนมีอยู่ตามศาลามากผิดปกติ ไต่ถามได้
ทราบว่าเป็นข้าในกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ท้ังนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์จึงเรียก
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มาปรึกษาว่าจะทาอย่างไรดี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ศรีสุริยวงศ์เรียนว่าขอให้สงบไว้สักวันหนึ่งก่อน ในวันนั้นท่านรีบลงไปยังเมืองสมุทรปราการ
เรียกพวกทหารปืนเล็กเอาลงบรรทุกเรือกาป่ันลาหนึ่งแล่นข้ึนมาในกลางคืน พอเช้าถึง
กรงุ เทพฯให้เรอื ทอดสมอทตี่ รงทา่ เตียน แล้วตัวทา่ นก็ไปเฝ้ากรมขุนพพิ ิธภูเบนทร์ ทูลวา่ บิดาให้
มาทูลถาม ว่าท่ีระดมผู้คนเข้ามาไว้มากมายเช่นนั้นมีพระประสงค์อย่างใด กรมขุนพิพิธฯตรัส
ตอบว่าด้วยเกรงภัยอันตราย (คาว่าภัยอันตรายในสมันน้ัน หมายความได้กว้างออกไปจนถึง
เช่น เกิดโจรผู้ร้ายกาเริบข้ึนในพระนคร หรือเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันเมื่อพระเจ้าแผ่นดิน
สวรรคต) จึงเรียกคนมาไว้เพ่ือป้องกันพระองค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทูลว่า
บิดาของท่านกับเสนาบดีช่วยกันรักษาราชการบ้านเมืองเป็นปกติอยู่ ไม่มีเหตุสมควรจะทรง
หวาดหวั่นเช่นน้ัน ขอให้ไล่คนกลับไปเสียให้หมดโดยเร็วมิฉะนั้นจะให้ทหารมาจับเอาคน
เหล่านน้ั ไปทาโทษ กรมขุนพพิ ิธภูเบนทรก์ ็จนพระทยั ต้องปลอ่ ยคนกลับไปหมด
ผอู้ ยเู่ บ้ืองหลังการข้ึนครองราชย์ของรชั กาลท่ี 4
รชั กาลที่ 4 ขึน้ ครองราชย์
เรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อันเน่ืองด้วยการถวายพระราช
สมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ัน เล่ากันมา ว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ศรีสุริยวงศ์ได้คิดเห็นก่อนบิดาของท่าน ว่าถ้าพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ราชสมบัติต้องได้แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้านเมืองจึงจะเป็นปกติต่อไป
อาศยั เหตนุ ้ันตัวท่านเมื่อยงั เป็นทจี่ มน่ื วัยวรนารถกับเจ้าพระยาทิพากรวงศเ์ ม่ือยงั เป็นจมื่นราชา
มาตย์ซึ่งมีความเห็นพ้องกัน จึงชวนกันปฏิสังขรณ์วัดดอกไม้ (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดบุปผาราม สันนิษฐานว่าในสมัยน้ันเห็นจะเป็นวัดร้าง)
ซึ่งอยู่ในสวนแห่งหน่ึงไม่ไกลกับบ้านท่ีท่านอยู่นั้น แล้วกราบทูลขอคณะสงฆ์ธรรมยุตจาก
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปครอง
เมื่อเป็นเช่นน้ันก็เกิดมีกิจท่ีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จไปทรง
ตรวจตราและสั่งสอนพระสงฆ์ซึ่งออกวัดไปใหม่เนืองๆ ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี
สุริยวงศ์กับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ก็ได้โอกาสมาเฝ้าแหน เกิดวิสาสะประกอบกับสมานฉันท์ใน
ความนิยมศึกษาวิชาความรู้ทางข้างฝร่ังก็เลยทรงชอบชิดสนิทสนมแต่น้ันมา ครั้นถึงเวลา
ปัญหาเกิดข้ึนจริงด้วยเรื่องรัชทายาท ท่านท้ังสองนั้นก็ได้เป็นกาลังสาคัญอยู่ข้างหลังบิดาใน
การขวยขวายให้พร้อมเพรียงกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพราะฉะน้ันเม่ือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรง
สถาปนาเจ้าพระยาพระคลังขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ตาแหน่ง"ผู้สาเร็จ
ราชการแผ่นดิน" และทรงสถาปนาพระยาศรีพิพัฒน์ข้ึนเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัย
ญาติ ตาแหน่ง"ผู้สาเร็จราชการพระนคร" แล้วจึงทรงตั้งพระยาศรีสุริยวงศ์จางวางมหาดเล็ก
เป็น เจ้าพระยาศรีสุรยิ วงศ์ "ว่าทส่ี มุหพระกลาโหม" และทรงตั้งจมื่นราชามาตย์เป็นเจ้าพระยา
รวิวงศ"์ ผชู้ ่วยราชการกรมทา่ " (การตัง้ ขุนนางผูใ้ หญ่ดูเหมือนจะมปี ระกาศเป็นครั้งแรกเม่ือทรง
ต้ังสมเด็จเจ้าพระยา 2 องค์น้ี แต่ท่ีทรงต้ังเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยารวิวงศ์หา
ปรากฏวา่ มีประกาศไม่)
เม่ือสมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ไดเ้ ปน็ เจ้าพระยาว่าท่สี มุหพระกลาโหมนนั้ ได้
พระราชทานที่บ้านเจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) (อันอยู่ริมคลองสะพานหันฝั่ง
ตะวันออก ตรงหน้าวังบูรพาภิรมย์ข้าม) อันเป็นบ้านหลวงให้เป็นจวนท่ีอยู่ด้วย แต่เห็นจะอยู่
เรือนของเดิมเปน็ แต่ซ่อมแซมไม่ได้สร้างเหย้าเรือนขึ้นใหม่ (เจ้าคุณพระประยูรวงศ์บอกว่าเมื่อ
ท่านเกิดน้ัน เจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์บิดาของท่านอยู่ในบ้านน้ี ท่านเกิดที่เรือนแพจึงได้ต้ัง
นามว่า "แพ" มีพี่ของทา่ นคนหนึ่งช่ือว่า ฉาง เพราะเกิดท่ีฉางเก่า(ซ่ึงแก้ไขเป็นเรือนที่อยู่)) ได้
อยใู่ นจวนแห่งน้จี นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงพิราลัยใน พ.ศ. 2398 และโปรดฯ
ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมเต็มตาแหน่ง จึงได้ข้าม
กลับไปอยู่ทางฟากธนบุรี แต่ไปสร้างจวนอยู่ใหม่(ท่ีเรียกว่า โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
(ปจั จบุ นั คือ โรงเรยี นศกึ ษานารี)
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว รัชกาลท่ี 4
ใน พ.ศ. 2393 ต่อมาในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 หลังจากบิดาได้รับการเล่ือนตาแหน่งข้ึนเป็น
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้ง พระยา
ศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ข้ึนเป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม ขณะที่มี
อายุเพียง 43 ปี นับเปน็ ข้าราชการทม่ี อี ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในตาแหนง่ สมหุ พระกลาโหมและเน่ืองจาก
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยังคงถือตราคชสีห์สาหรับตาแหน่งสมุหพระกลาโหมอยู่
ตามตาแหน่ง ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้าง "ตราศรพระขรรค์"
สาหรับพระราชทานแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อมา เมื่อท่านดารงตาแหน่งสมุห กลาโหมเต็ม
ตาแหน่งแล้ว ท่านก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ท้ังตราคชสีห์และตราศรพระขรรค์สาหรับ
ตาแหน่ง สมุหพระกลาโหม ในการเข้ามารับตาแหน่งนี้ทาให้ท่านมีบทบาทสาคัญในการ
ปกครองประเทศมากข้ึน โดยเฉพาะหลังจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแก่พิราลัยและ
สวรรคต ตามลาดับ
จากการที่บ้านเมืองสูญเสียบุคคลสาคัญต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลานี้ สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงมีอานาจย่ิงใหญ่ในราชการแผ่นดิน เพราะราชการท้ังปวงก็สิทธ์ิขาดอยู่
แก่ท่านคนเดียวอานาจของท่านมีมากจนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุ
ภาพ ทรงกล่าวเปรียบเทียบไวว้ ่า “ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 4 เป็นเสมือนแม่
ทพั แล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศก์ เ็ ป็นเสมือนเสนาธิการ ช่วยกันทางานมาตลอด
รชั กาลที่ 4”ดงั นัน้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงเป็นบุคคลผู้มีความสาคัญในการปกครองประเทศ
สยามเป็นอนั ดบั ท่ี 2 รองจากพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั และเจ้าฟ้าจฬุ าลงกรณ์
แม้จะยังไม่มีธรรมเนียมในการตั้งรัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ แต่ก็เป็นท่ีรู้กันอยู่ว่า
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฝึกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้ปฏิบัติราชการอย่าง
กวดขันและใกล้ชิด ให้อยู่ปฏิบัติประจาพระองค์ ให้ทรงรับฟังพระบรมราโชวาทและพระบรม
ราโชบายในกิจการบา้ นเมือง ทรงมกั มอบหมายให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นผู้อัญเชิญพระกระแส
รับสัง่ แจ้งพระราชประสงคแ์ ละข้อหารือราชการไปยังสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทุก
เช้า เพื่อเป็นการฝึกราชการและเพ่ือให้มีความสนิทสนมกันและเพ่ือได้รับการสนับสนุนจาก
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ซึ่งเป็นขุนนางผู้มีอานาจมากที่สุดในขณะนั้นต่อไปใน
ภายหนา้
พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางช้ันผู้ใหญ่ท้ังปวงทราบดีว่า หากพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ในขณะที่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์นั้น ผู้ที่จะได้เป็นผู้สาเร็จราชการแผ่นดินคงไม่พ้น
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรสี รุ ยิ วงศ์ซงึ่ มีอานาจมากเกินไปอาจเป็นอันตราย จงึ กราบทูลว่าไม่
ควรไว้วางพระราชหฤทยั แต่พระองคก์ ไ็ ม่ทรงปกั ใจเชอ่ื และปฏิบตั ิพระองค์เป็นปกติกับสมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เสมอมา เพ่ือมิให้กระทบกระเทือนจิตใจฝ่ายขุนนาง เน่ืองจาก
ท่านเหลา่ น้ันกุมอานาจในตาแหนง่ ที่สาคัญ ๆ
เมื่อวันท่ี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเร่ิม
ประชวรและมีพระอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมท้ังเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ก็ประชวรด้วยเช่นกัน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงเรียกประชุมเสนาบดีทั้งปวงให้เตรียมพร้อมไม่อยู่ใน
ความประมาท สั่งการให้ต้ังกองทหารล้อมพระตาหนักที่ประทับของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์หรือ
กรมขุนพินิตประชานาถไวด้ ้วย
เชา้ วันท่ี 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดารัส
สงั่ ให้พระเจา้ น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนทิ สมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และ
เจ้าพระยาภูธราภัยเข้าเฝ้า และมีพระราชดารัสว่า "ท่านท้ัง 3 กับพระองค์ได้ทานุบารุง
ประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านท้ังหลายในวันนี้ ขอฝากพระ
ราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตราย หรือเป็นท่ีกีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่
ขอแตช่ ีวิตไวใ้ หเ้ ป็นแตโ่ ทษเนรเทศ ขอใหท้ ่านทงั้ 3 จงเป็นท่ีพึง่ แก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วย
เถิด" พร้อมทั้งตรัสขอให้ผู้ใหญ่ท้ังสามท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้า
แผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังท่ีพระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรง
เอย่ ว่าจะให้ผู้ใดข้ึนครองราชย์แทนพระองค์
ดารงตาแหน่งผสู้ าเรจ็ ราชการ
พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหลวงเทเวศรว์ ชั รนิ ทร์
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ัน พระเจ้าน้อง
ยาเธอ กรมหลวงเทเวศรว์ ัชรินทร์ ไดเ้ สนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุน
พนิ ิตประชานาถพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครอง
สิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ซ่ึงท่ีประชุมนั้นมีความเห็น
พ้องเป็นเอกฉันท์ แต่เน่ืองจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ดังน้ัน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงได้รับ
เลือกจากท่ีประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ให้เป็นผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน โดยมี
อานาจบรมอิสริยยศบรรดาศักด์ิ 30,000 ไร่ ยิ่งกว่าจตุสดมภ์มนตรี 3 เท่า ดารงตรามหาสุริ
ยมณฑล ได้บังคับบัญชาสิทธิขาดราชการแผ่นดินในกรุงนอกกรุงทั่วพระราชอาณาจักร มี
อานาจอาญาสิทธ์ิที่จะปกครองประเทศ และและสาเร็จสรรพอาญาสิทธิประหารชีวิตคนท่ีถึง
อกุ ฤษฏโทษมหนั ตโทษ
กรมหมื่นบวรวไิ ชยชาญขึ้นดารงตาแหน่งทก่ี รมพระราชวังบวรสถานมงคล
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบาราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศน์ รวมท้ังเชิญกรม
หม่ืนบวรวิไชยชาญข้ึนดารงตาแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานภุ าพ จะตรัสว่า "ผู้ที่จะเป็นตาแหน่งพระราช
โองการมีอยู่แล้ว ตาแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการจะทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจ
ของทป่ี ระชมุ ท่จี ะเลือกพระมหาอุปราช"
สมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นคน “หัวก้าวหน้า” รวมทั้ง ชอบคบหาสมาคม
กับชาวตา่ งประเทศและรับความเจรญิ มาจากชาตติ ะวนั ตก ทา่ นจึงมองเห็นถึงความสาคัญของ
วิชาความรู้ วิทยาการ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์ การพิมพ์ และการ
รักษาพยาบาลท่ีทันสมัยของหมอสอนศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะมิชชันนารีชาวอเมริกันน้ันเป็น
ประโยชน์แก่ประเทศชาติ แต่คนเหล่านี้มักถูกรังเกียจจากเจ้านายและขุนนางหัวเก่า จึงมัก
ได้รับความยากลาบากในการหาที่อยู่อาศัย ที่ทางาน และการทางาน ท่านได้ให้ความอุปการะ
อานวยความสะดวกแก่หมอสอนศาสนาเหล่าน้ี และคอยติดต่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ดังลักษณะท่ีเรียกกันในปัจจุบัน ว่า “การถ่ายทอดเทคโนโลยี” ซ่ึงท่านหม่ันเพียรเรียนรู้
วชิ าการตะวนั ตกกบั ชาวตา่ งประเทศมาต้ังแต่อยู่ในวัยหนุ่ม ทาให้ท่านสามารถต่อ "เรือกาปั่น"
ไดเ้ อง และนับเป็นนายชา่ งไทยคนแรกทีส่ ามารถตอ่ เรือแบบฝรงั่ ได้
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านจึงมีบทบาทหน้าท่ีความ
รับผิดชอบต่าง ๆ มากมาย ในเรอื่ งบทบาท การเป็นขุนนางผซู้ ่ือสัตย์จงรักภักดีและรักษาความ
ยุติธรรมอันแน่วแน่ จนเซอร์จอห์น เบาริ่งบันทึกไว้ว่า "เป็นคนมีความรู้สุขุมดีกว่าผู้ใดท่ีพวก
เราได้พบ มีกิริยามรรยาทละมุนละม่อมเป็นผู้ดี พูดจาก็เหมาะสม พูดอย่างง่าย ๆ ถ้อยคาของ
เขาสมกับเป็นผู้ที่รักชาติอย่างยิ่ง" กับฐานะผู้สาเร็จราชการและพระเจ้าอยู่หัวที่ยังทรงพระ
เยาว์ ก็เป็นของธรรมดาที่โต้แย้งกันบ้าง แต่ก็ผ่านไปโดยเรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม 18 ปี
หลังจากท่มี พี ระราชอานาจเต็มท่ี รัชกาลที่ 5 จาต้องทรงรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์
กบั ผู้สาเรจ็ ราชการนัน้ บางเวลากล็ าบากอยบู่ า้ ง
หลังจากท่านพ้นจากการเป็นผู้สาเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีสร้อยสมญาภิไธยนามตามจารึก
ในสุพรรณบัตรว่า “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมันตพงศ์พิสุทธิ มหาบุรุษยรัตโน
ดม บรมราชุตมรรคมหาเสนาบดี มหาสุริยมัณฑลีมุรธาธร จักรรัตนสหจรสุรศรขรรค์ วรลัญจ
ธานินทร์ ปริมินทรมหาราชวรานุกูล สรรพกิจจานุกิจมูลประสาท ปรมามาตยกูลประยูรวงศ์
วิวัฒน์ สกลรัชวรณาจักโรประสดัมภ์ วรยุติธรรมอาชวาธยาศัยศรีรัตนตรัยคุณาภรณ์ภูษิต
อเนกบุยฤทธปิ ระธิสรรค์ มหันตวรเดชานภุ าพบพิตร”
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นับเป็นบุคคลที่ดารงบรรดาศักด์ิ ระดับ "สมเด็จ
เจ้าพระยา" เป็นคนสดุ ท้ายของประวตั ศิ าสตรไ์ ทย
ดวงตราประจาตัวสมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ตราสรุ ยิ มณฑล ตราผสู้ าเร็จราชการของสมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาสรุ ยิ วงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังมีตราประจาตัว ได้แก่ ซึ่งมีลักษณะเป็นตรา
เทพบตุ รชกั รถ ภายหลังทา่ นไดน้ าตราน้ีมาดัดแปลงเปน็ รปู พระอาทิตย์แบบฝร่ัง เลียนแบบตรา
พระอาทิตย์จากพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝร่ังเศส ตราสุริยมณฑลน้ี พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวโปรดฯ ให้สรา้ งขึ้นเพือ่ พระราชทานให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูร
วงศ์ ในขณะท่ีดารงตาแหน่งผู้สาเร็จราชการแผ่นดินท่ัวพระราชอาณาจักร (คู่กับตรา
จันทรมณฑล ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ผู้สาเร็จราชการในพระ
นคร (และกรมพระคลงั สนิ คา้ ) ซ่ึงเป็นน้องชายของท่าน) แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูร
วงศ์ยังคงถือตราพระคชสีห์สาหรับตาแหน่งสมุหพระกลาโหม (กรมกลาโหม) และตราบัวแก้ว
สาหรบั ตาแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง (กรมท่า) ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานตราสุริยมณฑลให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ดังน้ัน ท่านจึงใช้ตราสุริยมณฑลเป็นตราประจาตัวต้ังแต่นั้นมา โดยท่านจะใช้ตรานี้ประทับ
กากับไว้ท่ีหนังสือราชการ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสถานท่ีต่างๆ ท่ีท่านสร้างไว้ตรามหาสุริ
ยมณฑล สาหรับประกอบอิสริยยศสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ภายหลังได้ใช้เป็น
ตรากระทรวงการคลังก่อนจะเปลี่ยนเปน็ ตราปกั ษาวายภุ กั ษ์ในปัจจบุ ัน)
ตราผู้สาเรจ็ ราชการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ิยวงศ์
การทาหน้าที่ผู้สาเร็จราชการแผ่นดินเม่ือพระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระเยาว์ของสมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในครั้งน้ีไม่เหมือนคร้ังก่อน ๆ ในประวัติศาสตร์ แต่ก่อนน้ันพระ
เจา้ แผ่นดินทรงปรึกษาผู้สาเรจ็ ราชการแผน่ ดนิ แลว้ จงึ เสดจ็ ออกทอ้ งพระโรงแลว้ มีรับส่ังเอง แต่
การทาหนา้ ทผี่ ูส้ าเร็จราชการแผน่ ดนิ ของสมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในคร้ังน้ีอานาจ
เด็จขาดท้ังหมดอยู่ท่ีผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงต้องคิด
วิธีว่าราชการบ้านเมืองในหน้าที่ของผู้สาเร็จราชการแผ่นดินข้ึนเพ่ือใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ
สืบต่อไป ดังน้ัน ในการจัดระเบียบราชการครั้งน้ีจึงอาศัยแนวคิด 2 ประการ คือ ประการแรก
การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองน้ัน ไม่ได้เอาอานาจไว้แต่ในตัวผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน
เท่าน้ัน แต่เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันของข้าราชการผู้ช้ันผู้ใหญ่ท้ังฝ่ายพล
เรอื นและทหารซึ่งจะมีการประชุมกนั ณ หอวรสภาภิรมย์ ภายในพระบรมมหาราชวัง ประการ
ทส่ี อง คือ การฝึกหัดใหส้ มเด็จพระเจา้ อย่หู ัวทรงสามารถวา่ ราชการบ้านเมอื งไดเ้ อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นลาดับ
ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2369 อายุได้ 18 ปี เปน็ นายไชยขรรค์ มหาดเล็กหมุ้ แพร
พ.ศ. 2376 อายุได้ 25 ปี เป็นหลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันโดยท่ัวไปว่า
หลวงนายสิทธ์ิ
พ.ศ. 2384 อายไุ ด้ 33 ปี เปน็ จมนื่ ไวยวรนาถ หัวหมืน่ มหาดเล็ก
พ.ศ. 2385 อายุได้ 34 ปี รัชกาลท่ี 3 ทรงเพ่ิมสร้อยนามพระราชทานว่า “จมื่นไวยวร
นาถ ภกั ดศี รีสุริยวงศ์”
พ.ศ. 2393 อายไุ ด้ 42 ปี เปน็ พระยาศรีสุรยิ วงศ์ วางจางมหาดเลก็
พ.ศ. 2394 อายุได้ 43 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมันพงศพิสุทธิ มหาบุรุษรัตโนดม
ว่าท่ีสมุหพระกลาโหม
พ.ศ. 2398 อายไุ ด้ 47 ปี เปน็ อคั รมหาเสนาบดีที่สมหุ พระกลาโหมเตม็ ตาแหนง่
พ.ศ. 2412 อายุได้ 61 ปี เป็นผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระจฬุ าลงกรณเ์ กลา้ เจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2416 อายไุ ด้ 65 ปี เป็นสมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เครอ่ื งยศ
เม่ือท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเคร่ืองยศให้ท่านเทียบเท่าเจ้าต่างกรม
ช้นั กรมหลวง ซ่ึงประกอบดว้ ย
มาลาเคร่ืองยศ คนโททองคา
เสอื้ ทรงประพาส กระโถนทองคา
ดาบฝักทอง หีบไม้แดงลงยา (หีบหมากทองคาลง
พานหมากทองคา ยา)
ที่ยาทองคา
นอกจากเคร่ืองยศท่ีท่านได้รับพระราชทานแล้ว คาส่ังของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี
สุริยวงศน์ ั้น ยังเรียกว่า "พระประศาสน์" ดงั น้ัน ท่านจึงมีสมญานามท่ีใช้เรียกแทนตัวว่า "พระ
ประศาสน"์ หรอื "สมเด็จพระประศาสน์" ดว้ ย
เครอ่ื งราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2412 - เครื่องราชอิสรยิ าภรณอ์ นั เป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวรา
ภรณ์ (น.ร.) (ฝา่ ยหน้า)
พ.ศ. 2416 - เครื่องราชอิสรยิ าภรณ์จลุ จอมเกล้า ชน้ั ปฐม
จลุ จอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหนา้ )
พ.ศ. 2412 - เครอื่ งราชอสิ ริยาภรณอ์ ันเป็นทเี่ ชิดชยู ง่ิ ช้างเผอื ก ชนั้
1 ประถมาภรณ์ชา้ งเผือก (ป.ช.) (สมยั นน้ั เรยี กวา่ มหาวราภรณ์)
พ.ศ. 2419 - เคร่อื งราชอสิ รยิ าภรณ์อันมเี กียรติยศยง่ิ มงกุฎไทย ชน้ั
1 ประถมาภรณ์มงกฎุ ไทย (ป.ม.) (สมัยนน้ั เรียกว่า มหาสรุ าภร
สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุรยิ วงศ์ ทา่ นไดส้ รา้ งผลงานในด้านตา่ ง ๆ ดังต่อไปน้ี
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ พร้อมด้วยขนุ นางผ้ใู หญเ่ ม่ือตน้ รัชกาลที่ 5
แถวหน้า : กรมหลวงวงศาธริ าชสนทิ , สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรสี ุรยิ วงศ์, Eulenbourg ราชทูตปรสั เซยี
แถวหลัง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขา บนุ นาค), เจ้าพระยาภูธราภยั (นุช บุญยรตั พนั ธุ์), ไมท่ ราบนาม
การติดตอ่ กับตา่ งประเทศ
เซอรจ์ อหน์ เบาริง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีบทบาทสาคัญในการติดต่อและต้อนรับชาว
ต่างประเทศและคณะทูต ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับคณะทูตนาโดยเซอร์จอห์น เบาริงที่
ปากน้า นาคณะทูตเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.
2398 และรว่ มเป็นหน่ึงในคณะผู้แทนสยาม 5 คน ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิ
ราชสนิท สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัย
ญาติ (ทัต บุนนาค) เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขา บุนนาค) และท่าน เจรจาแก้ไข
สนธสิ ญั ญาทางการค้าทีน่ าย “หนั แตร บารน”ี หรือเฮนรี เบอรน์ ีเข้ามาทาไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3
คือ สนธิสัญญาเบอร์นี แม้การเจรจาจะมีความยุ่งยากติดขัดในเร่ืองต่าง ๆ รวมทั้งพิกัดอัตรา
ภาษี ด้วยการประสานงานของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ที่เข้าใจขนบธรรมเนียม
ประเพณีของชาวตะวันตก การเจรจาระหว่างทูตอังกฤษกับสมเด็จเจ้าพระยาอีกสองท่านใน
คณะผู้แทนฯ การเจรจาจึงสาเร็จลงด้วยความรวดเร็วและเรียบร้อย มีการลงนามสนธิสัญญา
ไมตรีและพาณชิ ยฉ์ บบั ใหม่ เมือ่ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398ที่เรียกว่าสนธิสัญญาเบาริง หรือ
เรียกกนั ยอ่ ๆ ในสมยั น้ันวา่ “สญั ญาเบารงิ ”
การทหาร
ทหารไทยอยา่ งยโุ รปสมัยแรก
ส ม เ ด็ จ เ จ้ า พ ร ะ ย า บ ร ม ม ห า ศ รี สุ ริ ย ว ง ศ์ ท า ง า น ด้ า น ก า ร ท ห า ร ม า ต้ั ง แ ต่ รั ช ส มั ย
พระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกลา้ เจ้าอย่หู วั โดยพระองค์มพี ระราชดาริให้จัดกรมทหารแบบยุโรปขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านควบคุมบังคับบัญชาจัดต้ังขึ้น เรียกว่า “ทหาร
อย่างยุโรป” โดยมีโรงทหารต้ังอยู่ท่ีบ้านพระยาศรีสุริยวงศ์และมีสนามฝึกหัดอยู่ข้างวัด
บุปผารามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี
สรุ ิยวงศไ์ ด้รับมอบหมายให้จัดเลกหมทู่ หารฝึกหดั ยุทธวธิ ีแบบตะวันตกเพมิ่ ขึ้น
เมือ่ คร้งั เป็นหลวงสิทธ์ิ นายเวรในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้ช่วยบิดาด้านทหารเรือ โดยท่ีเป็น
ผูม้ คี วามสนใจเรียนรูใ้ นวิทยาการใหมๆ่ กบั ชาวตะวนั ตก จึงเรยี นวิธีตอ่ กาปนั่ แบบใหม่และเป็น
นายช่างไทยที่สามารถต่อเรือฝรั่งแบบฝรั่งสาเร็จเป็นคนแรก ท่านได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานช่ือว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร"
ต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลท่ี 4 ได้ต่อเรือกลไฟเป็นเรือรบและเรือพาหนะของหลวงจานวนหลาย
ลา เชน่ เรือระบลิ บัวแก้ว เรอื แคลิโดเนยี ทา่ นได้รบั การยกย่องจากกองทัพเรือเป็นผู้บัญชาการ
ทหารเรือวังหลวงท่านแรกระหว่าง พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2412 พร้อมๆ กับพระบาทสมเด็จพระ
ป่นิ เกลา้ เจา้ อย่หู วั ผู้บัญชาการทหารเรือวงั หน้า (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2408)
การก่อสรา้ งและการบารุงการคมนาคม
ประภาคารสนั ดอนปากน้าเจา้ พระยา
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้สร้างประภาคารท่ีมีพระราชดาริมาตั้งแต่สมัย
รัชกาลท่ี 4 โดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวและควบคมุ การก่อสรา้ งดว้ ยตวั ท่านเอง ประภาคารแห่งนี้
ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ เร่ิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2413 แล้วเสร็จในวันที่ 9
พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2417และทา่ นได้ยกประภาคารแห่งนี้ให้เปน็ สมบตั ิของแผ่นดิน ประภาคารนี้
มีชื่อในภาษาอังกฤษที่ตั้งโดยพวกฝร่ังว่า "รีเยนท์ไลท์เฮาส์" (Regent Lighthouse) ซึ่งมี
ความหมายว่า ประภาคารของผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน และมีช่ือภาษาไทยว่า "ประภาคารสัน
ดอนปากน้าเจ้าพระยา" หรือคนท่ัวไปเรียกว่า “กระโจมไฟสันดอน” ประภาคารแห่งน้ีเป็น
ประโยชนอ์ ย่างมากในดา้ นการเดนิ เรือ แตไ่ ด้ใชม้ าจนถงึ วันท่ี 1 ธนั วาคม พ.ศ. 2472 จึงได้เลิก
ใช้ เนอื่ งจากมคี วามชารดุ ทรดุ โทรมมาก
พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีสมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ เปน็ แม่กองในการก่อสรา้ ง
นอกจากน้ี ท่านก็ยังได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นแม่กองในการก่อสร้างและบูรณะสถานท่ี
ต่าง ๆ เช่น พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี พระอภิเนาว์
นิเวศน์ ภายในพระบรมมหาราชวัง
คลองผดุงกรงุ เกษม คลองดาเนนิ สะดวก
ถนนเจรญิ กรงุ ถนนสลี ม
รวมทั้ง เป็นแม่กองในการขุดคลองและก่อสร้างถนนต่าง ๆ เพื่อการคมนาคม
ได้แก่ คลองผดงุ กรุงเกษม คลองดาเนินสะดวก ถนนเจรญิ กรงุ ถนนสีลม และถนนตรง เปน็ ต้น
กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี
ได้มีการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้การพิจารณาคดีในศาลรวดเร็วข้ึน เช่น กฎหมาย
ลงทะเบียนที่ดิน การขายฝิ่น ฯลฯ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ร่วมกับคณะ
เสนาบดีร่างถวายทรงทราบเพ่ือลงพระปรมาภิไธย ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีได้ริเร่ิม
ประเพณีทาบุญวันเกิดเป็นคร้ังแรกเม่ืออายุครบ 50 ปี คงเร่ิมมาจากคาแนะนาของชาวจีน
ต่อมา ประเพณนี กี้ ็ได้แพร่หลายไปในหมู่พระบรมวงศานวุ งศแ์ ละขุนนาง
การบารงุ วรรณกรรม การละครและดนตรี
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีความสนใจและมีบทบาทในการทะนุบารุงและ
เผยแพร่วรรณกรรม โดยเฉพาะงานวรรณกรรมจีนซึ่งเป็นท่ีนิยมกันมาตั้งแต่สมัยต้น
รัตนโกสินทร์ เน่ืองจากมีคติสอนใจมากโดยเฉพาะเรื่องการปกครอง เช่น สามก๊ก สมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มักจัดให้มีนักปราชญ์จีนมาต้ังแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อแปล
พงศาวดารจนี ออกเปน็ ภาษาไทย โดยงานทท่ี ่านจัดให้มีการแปลมีทั้งหมด 19 เรื่อง เช่น ไซจิ๋น
ตั้งจ๋นิ น่าซ้อง ซ้องกัง๋ หนาอดิ ซอื และเม่งฮวดเชงฌ้อ
นอกจากวรรณกรรมจีนแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังได้จัดพิมพ์
วรรณกรรมไทย เช่น พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เร่ือง อิเหนา และเรอ่ื งอื่น ๆ เผยแพร่ใหส้ ามญั ชนท่ัวไปไดอ้ ่านกนั มากข้ึน
พระประดษิ ฐ์ไพเราะ (มี ดรุ ิยางกรู )
สมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรสี ุริยวงศเ์ ปน็ ผู้ชอบดูละครและฟังดนตรี ทา่ นจึงไดส้ ง่ เสรมิ โดยการ
หาครูละครและดนตรีมาฝึกคณะละครของท่านจนได้ชื่อว่าเป็นหน่ึงในสมัยน้ัน ท่านได้ให้ พระ
ประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก แต่งเพลงขึ้นใหม่ ซ่ึงปรับปรุงมาจากเพลง
เตา่ กนิ ผกั บงุ้ พร้อมทงั้ สอดแทรกทานองมอญเข้าไปในเพลง ทาให้เกิดความไพเราะย่ิงขึ้น ท่าน
จึงโปรดปรานเพลงน้ีมาก และต้ังช่ือเพลงน้ีว่า "พระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้อยราชทินนาม
และตราสรุ ิมณฑลซง่ึ เปน็ ตราประจาตาแหนง่ ของทา่ น
การรักษาความสงบภายในประเทศ
สมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรสี ุรยิ วงศ์ไดใ้ ชค้ วามสามารถและความเด็ดขาดระงับและตัด
ไฟต้นลมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มักวุ่นวายข้ึนในช่วงผลัดแผ่นดินซ่ึงมักเกิดข้ึนเป็นประจา(ช่วง
ผลัดแผ่นดินร.4ถึง ร.5) โดยเฉพาะเมื่อคราวประมาณ พ.ศ. 2411 ท่ีนายเฮนรี อะลาบัส
เตอร์ ผู้รักษาการณ์กงสุลอังกฤษกล่าวว่า สยามไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาถึงขนาดลดธงชาติ
อังกฤษลงครง่ึ เสาเป็นการแสดงว่าได้ตัดพระราชไมตรีกับไทย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริ
ยวงศ์ได้ความเฉียบแหลมและเด็ดขาดระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็วไม่ลุกลามทาให้
ตา่ งชาตใิ ช้เป็นเหตอุ ้างเพอ่ื เขา้ แทรกแซง
บั้นปลายชีวิต
เมอื งราชบรุ ี สมัยอดตี
หลังพ้นหน้าที่ผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน ท่านก็ชอบออกไปตรวจราชการตามหัวเมือง
ตา่ ง ๆ และพานักอยู่ที่เมืองราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ นับเป็นเวลา 9 ปี ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.
2425 ท่านถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กาลังเดินทางกลับจากราชบุรี รวมสิริอายุได้ 74 ปี
27 วัน โดยเหตุการณ์ในวันถึงพิราลัยของท่านนั้น มีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจ
รายวัน ดงั ต่อไปน้ี
ปากคลองกระทุ่มแบน ตัดกับคลองภาษีเจริญ
สถานทซี่ งึ่ “สมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์” ถงึ แก่พิราลยั
“วนั เสาร์ ขึ้น 12 ค่า เดือน 2 ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช 1244 เวลาย่ารุ่ง ท้าวราช
กิจวรภัตร เข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สมเด็จเจ้าพระยาเม่ือป่วยหนักออกไปอยู่ที่
ราชบุรีแล้ว คร้ังเม่ือจะไปฉลองศาลาที่ท่านสร้างไว้ที่มะขามเต้ียไปถึงกลอนโต ขึ้นไปเก็บ
มะขามป้อมบนบก หามไปกลางแดดเวลาเที่ยง ไม่ให้ไปก็ไม่ฟัง ครั้งไปถึงต้นมะขามป้อมก็ไป
นอนหลับตาซึมอยู่ กลับมาถึงเรือตัวร้อนอาการมาก จึงปรึกษาพร้อมกัน เอากลับมาเรือน
ราชบุรี มานอนท่าพระแท่นดงรังครึ่งคืน แล้วล่องลงมาถึงเมืองราชบุรี เวลาบ่ายโมงเศษหาม
ขึ้นบก พอถงึ ตน้ มะขามหน้าบา้ นก็เป็นลมคอพับ จงึ หามเข้าไปแก้ไขกันอยู่ในเรือน เวลานั้นลม
ก็จัดเอาลับแลเข้าบังไว้ คร้ังเจ้าพระยาสุรวงศ์และญาติ ซึ่งตามมาภายหลังมาถึง จึงพร้อมกัน
พาทา่ นลงเรือมาเวลาบ่าย 5 โมงเศษวานน้ี เรือไฟจูงมาพ้นคลองดาเนินสะดวกมาแล้ว จะเข้า
คลองภาษีเจริญติดน้า ๆ แห้ง จึงไปรอน้าอยู่ปากคลองกระทุ่มแบน ถึงปากคลองเวลา 5 ทุ่ม
เศษ ชักเยอ้ื งไหล่หน่อยหนึ่ง ก็ถึงแก่พิราลัยท่ีปากคลองกระทุ่นแบนน้ัน ครั้งน้าขึ้นจึงรีบเอาศพ
เข้ามาถึงจวนเวลาตรู่ ๆ"
ภายหลังการถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรดน้าศพ
พระราชทาน พร้อมทั้งพระราชทานโกศกดุ นั่ น้อยประกอบลองใน ตง้ั บนแวน่ ฟ้า พร้อมทั้งโปรด
เกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ไว้ทุกข์เป็นระยะเวลา 7 วัน นอกจากนี้ ในวันชักศพเข้าเมรุ
ณ วัดบุปผารามวรวิหารนั้น พระองค์โปรดฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (ยศขณะนั้น) จัดทหาร
จานวน 100 คนไปแห่ศพ พร้อมท้ังพระราชทานเปล่ียนโกศประกอบลองในเป็นโกศกุด่ันใหญ่
เพื่อเปน็ เกียรตยิ ศ และเสดจ็ พระราชทานเพลงิ ศพ
อนสุ าวรยี ์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรสี ุริยวงศ์
ณ มหาวิทยาลัยราชภฏั บ้านสมเดจ็ เจา้ พระยา
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้ต้ังโรงเรียนมัธยมขึ้น
ณ จวนสมเดจ็ เจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" เม่ือวันท่ี 17
พฤษภาคม พ.ศ. 2458 โดยมีตราประจาโรงเรียน คือ รูปเสมาสุริยมณฑล เพื่อเป็นเกียรติแด่
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และสัญลักษณ์ดังกล่าวยังเป็นรากฐานสาคัญของ
สถาบนั มาจนถงึ ปัจจุบัน หลังจากน้นั ไดม้ กี ารจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
ข้ึนอีกแผนก ภายหลังจึงยกระดับเป็น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาได้เปลี่ยนช่ือ
เป็น สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และปัจจุบันได้เปล่ียนช่ืออีกคร้ังมาเป็น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้
เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หรือ โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจา้ พระยา เรียกตัวเองวา่ ลูกสรุ ยิ ะ สืบเนอ่ื งมาจากการท่ีสมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ไดร้ บั พระราชทานตราสุริยมณฑลเป็นตราประจาตัว โดยทางสถาบันได้จัดพธิ รี าลึกถึงทา่ นใน
วันที่ 19 มกราคม ของทุกปี โดยเรียกว่า วันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรสี ุรยิ วงศ์
ศาลสมเดจ็ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยิ วงศ์
นอกจากน้ี ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยายังมีอนุสาวรีย์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต้ังอยู่ ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระ
นางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดาเนินมาทรงเปิดอนุสาวรีย์ เม่ือ 10 เมษายน พ.ศ.
2523 และบริเวณใกล้เคียงยังมีศาลสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สร้างให้ผู้ที่เคารพ
ทา่ นได้มากราบไหว้บูชาเป็นสริ มิ งคลแก่ตนและครอบครวั
คตธิ รรมของสมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ิยวงศ์
“คาพระ คาพระมหากษตั รยิ ์ คาบิดามารดา ใครลบลา้ งก็เป็นอกตัญญู”
……………………………………………………………………..
แหล่งข้อมลู อ้างองิ
กรมพระยาดารงราชานุภาพ, ความทรงจา, โรงพมิ พข์ องสมาคมสงั คมศาสตร์แหง่ ประเทศไทย, มกราคม 2506
จดหมายเหตุ ปลายรชั กาลที่ 4 และตน้ รชั ชกาลที่ 5, พระนคร, โรงพมิ พ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2478
จุลจักรพงษ์, พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้า, เจา้ ชวี ิต : สยามก่อนยคุ ประชาธปิ ไตย.--กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท
สานักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จากดั
จลุ ลดา ภกั ดีภูมินทร์, สนธิสัญญาเบาริ่ง, ฉบบั ท่ี 2686, ปที ี่ 52, ประจาวนั อังคารที่ 11 เมษายน 2549
จลุ ลดา ภักดภี ูมินทร์, สมเด็จพระศรีสลุ าลยั , นิตยสารสกลุ ไทย, ฉบบั ที่ 2376, ปีท่ี 46, ประจาวันอังคารท่ี 2
พฤษภาคม 2543
ปยิ นาถ บุนนาค, สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรสี รุ ิยวงศ์, สารานกุ รมไทย ฉบับราชบณั ฑิตยสถาน เลม่ 26
พ.ศ.2549
พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ุ, เรือ่ งตง้ั เจา้ พระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, โรงพิมพบ์ ารุงนกุ ูลกจิ ,
พ.ศ. 2461, หน้า 63.
แนง่ น้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาวน์ เิ วศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้
เจ้าอยหู่ ัว, สานกั พมิ พ์มตชิ น, 2549
วณี า ศรีธัญรตั น์, พรพิมล พุทธมาตยแ์ ละสุววรรณา สจั จววี รรณ, ผลงานดา้ นวฒั นธรรมของสมเดจ็ เจา้ พระยา
บรมมหาศรสี รุ ิยวงศ์ (ช่วง บนุ นาค) กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครบู า้ นสมเด็จเจา้ พระยา, 2526.
วุฒชิ ยั มลู ศิลป์ และคณะ, พระมหากษตั ริยแ์ หง่ กรุงรัตนโกสินทร์, อัลฟา่ มเิ ล็นเนยี ม
มหินทรศักด์ธิ ารง, เจ้าพระยา, จดหมายเหตุ เรอื่ งพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัวประชวร, พระนคร,
โรงพิมพ์พระจันทร์, 2490
สมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ิยวงศ์ มหาบุรุษ ภาคสมบูรณ์ ฉบบั ของ นัฐวุติ สทุ ธิสงคราม พมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
สานกั ศลิ ปวัฒนธรรม, พพิ ธิ ภัณฑบ์ า้ นสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ : สานกั ศิลปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยราช
ภัฎบา้ นสมเด็จเจ้าพระยา, ม.ป.ป.
สาราณียะของสมเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรสี รุ ิยวงศ์ กรุงเทพฯ : การพมิ พ์พระนคร, 2543
library2.parliament.go.th
ww.facebook.com › somdejchaopraya
www.sakhononline.com
www.bsru.ac.th › srisurywongse
library.bsru.ac.th
www.baanjomyut.com
www.bloggang.com › viewdiary
ขอขอบคุณ เน้อื หาและภาพจากเว็บไซตก์ เู กิล
.................................................................................