The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tharaphan.prasan, 2020-09-01 08:47:52

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

พระราชประวตั ิ สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณี

ผ้เู รียบเรยี งนายประสาร ธาราพรรค์

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นสตรีที่มีพระสิริโฉมงดงาม พระจริยวัตรอันนุ่มนวล มีพระพักตร์
แจ่มใส และแย้มพระสรวลอยู่เสมอ แลดูเอิบอิม่ เต็มไปด้วยพระกรุณา ทรงต้ังพระหฤทัยสนอง
พระเดชพระคุณ พระราชสวามีโดยปฏิบัติวัฎฐากในเวลาเม่ือทรงเป็นสุขสาราญ และ
รกั ษาพยาบาลในเวลาเม่ือทรงพระประชวร

พระองค์ทรงมีพระราชหฤทยั ท่ีกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ทรงพร้อมอยู่เคียงข้างพระราชสวามี
เมอื่ มีเหตุการณ์ร้ายแรงรุนแรง โดยมีเหตุการณ์ทีส่ มควรนาเสนอ คือ เม่ือ“คณะราษฎร” มพี ัน
เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอานาจการปกครองแผ่นดิน และเข้า
จับกุมพระบรมวงศ์บางพระองค์ รวมท้ังข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ท่ีคุมกาลังทหาร แล้วมีหนังสือ
กราบบังคมทูลพระกรุณา เชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จพระราชดาเนิน
กลับคืนสู่พระนคร เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎรได้สร้าง
ข้ึน เหตุการณ์ครั้งน้ันไม่มีผู้ใดทราบว่าเหตุการณ์จะรุนแรงเพียงใด เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งถามความเห็นในเรื่องน้ี สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ทรง
แนะนาให้ตัดสินพระราชหฤทัย ทรงเลือกการกลับเข้าพระนคร โดยให้ความร่วมมือกับ
คณะราษฎรเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบ ระงับเหตุที่อาจนาไปสู่
การรบกันจนนองเลือด คาตอบของพระองค์ในคร้ังนี้มีส่วนทาให้พระราชสวามีทรงตัดสินพระ
ราชหฤทัยได้อย่างเด็ดขาด และท่ีสาคัญคือ มีผลต่อประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองของประเทศไทยทีท่ าได้โดยไม่เสียเลอื ดเนื้อแมแ้ ต่น้อย

เทิดพระเกียรติ สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณี

พระบรมราชนิ ีพระปกเกลา้ ฯ พระนางเจา้ ราไพพรรณศี รีสยาม

พระเกียรตคิ ุณเล่ืองชื่อลอื พระนาม พระทัยงามดุจมารดรขจรไกล

พระเสรมิ ราษฎรร์ ักษ์กษตั รยิ ร์ ฐั คงอยู่ พระเคียงคอู่ งคจ์ กั รผี ยู้ ิ่งใหญ่

พระดแู ลพระภมู สี ุดหัวใจ พระหวงั ใหพ้ ระองค์ไท้ไรล้ าเคญ็

พระขวญั ราษฎร์ขวญั รัฐร่มฉตั รแก้ว พระแนแ่ น่วเสรมิ สุขดบั ทกุ ข์เข็ญ

พระราชกจิ เพื่อประชาทรงบาเพญ็ พระเปรยี บเชน่ ฝนชุ่มฟ้าพาสราญ

พระสรรค์สรา้ งหัตถกรรมงานทอเสอ่ื พระทรงเกอื้ วิชาชพี แผไ่ พศาล

พระบารงุ ราษฎร์ยากไร้ได้ทางาน พระปณิธานสรา้ งท้องถ่ินสน้ิ โรคภัย

พระมุ่งเสรมิ การศึกษาหนนุ นาชาติ พระเสริมศาสตรค์ วามรู้สยู่ ุคใหม่

พระมอบวงั สวนบ้านแกว้ เพื่อปวงไทย พระทาใหร้ าชภฏั วฒั นา

พระการุณปวงประชาทวั่ สารทศิ พระคุณสถิตแนบแนน่ ดจุ แผน่ ผา

พระจรยิ วตั รสดุ ซาบซ้ึงตรึงอรุ า พระเมตตาตรึงจติ ใจไทยทกุ คน

……………………………………………….

ดว้ ยเกล้าด้วยกระหมอ่ ม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้านายประสาร ธาราพรรค์ ผูป้ ระพนั ธ์
(คาประพันธเ์ ทดิ พระเกียรติ 100 ปี สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี ไดร้ ับรางวัลชนะเลศิ ระดบั ชาติ)

พระราชประวตั ิ

สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจา้ สวสั ดิโสภณ
และสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเม่ือวันอังคารที่ 20
ธนั วาคม พ.ศ. 2447 พระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิ
โสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ส่วนพระมารดาคือ
หม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ภายหลังหม่อมเจ้าอาภาพรรณีได้รับการสถาปนาข้ึนเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองคเ์ จ้าอาภาพรรณี

ทรงมีพระเชษฐาและพระอนชุ าร่วมพระมารดา คือ
1.หม่อมเจา้ โสภณภราไดย สวัสดิวัฒน์
2.หม่อมเจ้าราไพพรรณี สวัสดวิ ฒั น์
3.หม่อมเจา้ นนทยิ าวดั สวัสดวิ ัฒน์
4.หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวสั ดวิ ฒั น์
5.หม่อมเจ้ายธุ ิษเฐียร สวัสดวิ ัฒน์

หม่อมเจ้าราไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ชาววังเรียกขานพระนามพระองค์ว่า ท่านหญิงนา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ผู้ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ ได้เล่าถึง
ท่ีมาของท่านหญิงนาพระนามนี้ว่า “เพื่อนเล่นท่ีข้าพเจ้ารักมากท่ีสุดเป็นหญิง และแก่กว่า
ข้าพเจ้าราวสามปี เป็นหม่อมเจ้าธิดาของเสด็จปู่สวัสด์ิ ทรงนามว่า ราไพพรรณี และเรียกกัน
ในเวลาน้ันว่า ท่านหญิงนา หม่อมเจ้าหญิงน้ันโดยมากจะเรียกกันว่า ท่านหญิงใหญ่ ท่านหญิง
เล็ก ท่านหญิงน้อย ดังน้ีเป็นต้น การถูกเรียกว่าท่านหญิงนาน้ัน ผู้อ่านบางคนอาจจะเห็นว่า
แปลก เรื่องราวเปน็ เช่นนี้ เมอื่ เล็ก ๆ อยูเ่ ป็นเด็กทมี่ ีรูปรา่ งอว้ น จงึ ถกู ลอ้ วา่ เป็นเต่า สาหรบั ไทย
เราการถูกเรียกว่าเต่าเมื่อเล็ก ๆ ไม่เป็นของเสียหาย แม้ทูลหม่อมลุงก็เคยถูกสมเด็จย่าเรียกว่า
เตา่ อย่างไรกด็ ี เม่ือท่านหญิงนายังเล็ก ๆ อยู่ ได้ถกู ถามว่า “อยากเป็นอะไร อยากเป็นเต่าทอง
หรือเต่านา” ทา่ นหญิงองค์เล็กได้ย้ิมและตอบว่า "อยากเป็นเต่านา" และก็เลยกลายเป็นท่าน
หญิงนาตัง้ แตน่ ้ันมา

เม่ือทรงเจริญพระชันษาได้ 2 ปี พระบิดาได้นาเข้าไปถวายตัวแด่ สมเด็จพระศรีพัชริน
ทราบรมราชินีนาถ ตามราชประเพณีของเจ้านายสมัยก่อนที่ถวายตัวเข้าไปอยู่ในวังต้ังแต่มี
พระชันษายังน้อย ทรงรับหม่อมเจ้าหญิง “หลานป้า” พระองค์น้ีไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึง่
ใ น ร ะ ย ะ น้ั น ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ศ รี พั ช ริ น ท ร า บ ร ม ร า ชิ นี น า ถ ป ร ะ ทั บ อ ยู่ ท่ี พ ร ะ ต า ห นั ก ส ว น ส่ี ฤ ดู
พระราชวงั ดสุ ิต ในเวลาน้ีหม่อมเจา้ หญิงราไพพรรณีกาลงั ทรงศกึ ษาภาษาไทยเบื้องตน้ อยู่

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงโปรดปรานเล้ียงดูพระนัดดาหม่อมเจ้าชายหญิงหลายรุ่น
หลาย พระองค์ หม่อมเจ้าหญงิ ราไพพรรณี และ หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ เป็นหม่อมเจ้า
รุ่นเล็ก โปรดให้ประทับอยู่กับหม่อมราชวงศ์ ป้ัม มาลากุล (ท้าววรคณานันท์) ณ ห้องปีก
ตะวันตกช้ันล่างของพระตาหนักสวนสี่ฤดู หม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณี ทรงมีพี่เล้ียงประจา
พระองค์เป็นพนักงานผู้ใหญ่ ช่ือ ปริก สมเด็จพระบรมราชินีนาถมักจะโปรดให้พี่เลี้ยงนาเสด็จ
พระนัดดาขึ้นเฝ้าฯ เวลาเย็นประมาณ 17.00 น. ในเวลาเสวยก็โปรดให้พ่ีเล้ียงถวายป้อนพระ
กระยาหารเฉพาะพระพักตรด์ ้วย
การศึกษา

สมเดจ็ พระศรีพชั รนิ ทราบรมราชนิ ีนาถ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันท่ี 23 ตุลาคม พ.ศ.
2453 หม่อมเจา้ หญงิ ราไพพรรณีมชี ันษาได้ 6 ปี ได้ทรงย้ายสถานทพี่ ักจากพระราชวังดุสิต ไป
พระบรมมหาราชวังตามสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปด้วย และได้เสด็จเข้าทรง
ศกึ ษาในโรงเรยี นราชินีพร้อมหมอ่ มเจ้า พระองคอ์ ่นื ๆ

โรงเรียนราชนิ ใี นอดีต

ทุกเช้าท่ีเสด็จไปโรงเรียนโดยรถสองแถวของหมวดรถยนต์หลวง มีคุณเฒ่าแก่
ควบคุมดูแลไปด้วย เจ้าพีเ่ จา้ น้องและพระสหายร่วมโรงเรียน เช่น หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประ
ไพ เทวกุล หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ
นายทาเนยี บ อศั วรักษ์ ฯลฯ พระอาจารยท์ ่ีถวายพระอกั ษร เชน่ หมอ่ มเจา้ หญิงเสมอภาค โสณ
กุล คณุ หญิงจาเรญิ พิพิธมนตรี (คชเสนี) และคุณหญิงจารัส ศรีศักดิธารง (บุณยรัตพันธุ์) เป็น
ตน้ ทรงเข้าเรียนต้ังแต่เวลา 9.00 ถึง 12.00 น. เมื่อเสด็จไปโรงเรียนราชินีคร้ังนั้นยังไมม่ ีฉลอง
พระองค์เครื่องแบบฉลองพระองค์จึงเป็นแบบเดียวกับเจ้านายฝ่ายหญิงท่ัวไป คือ ภูษาทรง
ผา้ ลายสีตามวนั เสือ้ ทรงเปน็ ผ้าดอกคอสเี่ หล่ยี มตดิ ลูกไม้ ตรงลูกไมส้ อดโบว์สตี ามวนั

วงั พญาไทในอดตี

หลังจากเสร็จการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว สมเด็จพระศรีพัชริน
ทราบรมราชินีนาถได้เสด็จย้ายจากพระบรมมหาราชวังไปสู่พระราชวังพญาไท ซึ่งพระองค์ได้
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตาหนักขึ้นใหม่และได้ประทับ ณ พระราชวังแห่งน้ีเป็นการถาวรจน
ตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ซ่ึงหม่อมเจ้าราไพพรรณีได้ตามเสด็จมาด้วยโดยประทับอยู่บน
พระตาหนักฝา่ ยในติดกบั หอ้ งเสวย

เมื่อหม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณีมีชันษาได้ 8 ปีเศษ และได้ผ่านพระราชพิธีเกศากันต์
(โกนจุก) แล้ว ก็ได้ทรงรู้จักกับ ร้อยโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมขุนสุโขทยั ธรรมราชา (รัชกาลที่ 7) ซง่ึ ได้เสด็จนิวัติกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากทรงได้
สาเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศอังกฤษแล้ว สาเหตุก็อันเนื่องมาจากสมเด็จพระเจ้า
น้องยาเธอฯ ได้เสด็จมาประทับท่ีพระราชวังพญาไทกับพระชนนีเป็นคร้ังคราว และหม่อมเจ้า
หญิงราไพพรรณจี ะเปน็ ผู้ทส่ี นิทกนั มากทีส่ ดุ ด้วย

หม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณี ทรงมีพระชันษาได้ 11 ปี ก็ได้รับพระมหากรุณาธคิ ุณ จาก
พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าใหท้ รงประกอบพิธเี กศากนั ต์ ตามโบราณ
ราชประเพณี เมื่อวันท่ี 29 มีนาคม หม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณีทรงเจริญพระชนมายุท่ามกลาง
การอบรมอย่างเคร่งครัดตามขนบประเพณีแห่งราชสานักพร้อมกับ ทรงศึกษาวิทยาการ
สมัยใหม่จากโรงเรียน จึงทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้ และมีพระอุปนิสัยสารวม แต่เด็ดขาด
เข้มแข็งทั้งพระกิริยาวาจา และพระราชหฤทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เป็นพ้ืนฐานให้มีพระราช

หฤทัยที่ม่ันคงกอร์ปด้วยพระสติปัญญา ดารงพระเกียรติยศแห่งขัตติยนารีอย่างเหมาะสมทุก
สถานการณ์ได้ตลอดพระชนมชพี

หม่อมเจา้ หญงิ ราไพพรรณเี สด็จออกมาประทับนอกวังเป็นบางเวลา ทรงพระสาราญย่ิง
เมื่อมีพระโอกาสทรงร่วมการละเล่นกับเจ้าพี่เจ้าน้อง บางคร้ังก็เป็นท่านหญิงองค์เดียวที่ทรง
เลน่ กับเจา้ พเี่ จ้าน้องที่เปน็ ชาย ดว้ ยทรงมีนา้ พระทยั เข้มแข็งเดด็ เด่ียวมาแต่ทรงพระเยาว์ คร้งั ที่
เสด็จไปประทับอยู่กับพระบิดาและพระมารดาท่ีบ้านของเจ้าพระยาสุรศักด์ิมนตรี (เจิม แสงชู
โต) ริมแม่น้าเจ้าพระยา ฝ่ังธนบุรี เม่ือพระชันษาประมาณ 11 ปี เสด็จลงสรงในแม่น้าร่วมกับ
เจ้าพ่ีเจ้าน้อง ทรงเป็นเจ้าพ่ีหญิงองค์เดียวในหมู่พระอนุชาท่ีทรงเกาะหยวกกล้วยข้ามแม่น้า
เจ้าพระยา

สมเด็จพระศรพี ัชรนิ ทราบรมราชนิ นี าถ
เจ้าฟา้ ประชาธิปกศกั ดิเดชน์ กรมขุนสุโขทยั ธรรมราชา

พ.ศ. 2457 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัย
ธรรมราชา พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ เสด็จฯ กลับจากประเทศ
อังกฤษเมื่อทรงสาเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหาร มีพระยศช้ันนายร้อยเอกประจากรม
ทหารบกปืนใหญ่ท่ี 1 รักษาพระองค์ เสด็จมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
อย่เู สมอ บางคราวก็ประทบั แรมท่วี ังพญาไท จึงได้ทรงพบปะกับพระนัดดาของสมเด็จแม่หลาย
พระองค์จนทรงคุ้นเคย ทรงพระเมตตาต่อพระญาติรุ่นเด็กในจานวนนั้นมีหม่อมเจ้ากมลีสาณ
ชุมพล หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ และหม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณี รวมอยู่ด้วย โปรดให้

เจ้านายรุ่นเด็ก ๆ ตามเสด็จไปในที่ต่างๆ เสมอ ทาให้ทรงพระสาราญและต้องพระอัธยาศัยใน
หม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณีท่ีทรงอ่อนหวานละมุนละม่อมแต่มีน้าพระราชหฤทัยเข้มแข็งเด็ด
เด่ียว และยังทรงพระสริ ิโฉมยงิ่ จนบังเกิดมีพระราชหฤทัยรกั ใครผ่ กู พนั
ทรงอภเิ ษกสมรส

ปี พ.ศ. 2460 หลังจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุน
สุโขทัยธรรมราชา ได้ทรงลาสิกขาจากการผนวช ณ พระตาหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร
แล้ว ก็ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะเสกสมรสกับหม่อมเจ้าราไพพรรณี พระชนมายุ
14 พรรษา โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีอภิเษกสมรสพระราชทานข้ึน ณ
วังศุโขทัย ถนนสามเสน และพระราชพิธีอภิเษกสมรสท่ี พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวัง
บางปะอิน การอภิเษกสมรสในครั้งน้ีถือเป็นพระราชพิธอี ภิเษกสมรสคร้ังแรก หลังจากการตรา
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ รวมทั้งยังเป็นการแต่งงาน
แบบตะวันตกอย่างแทจ้ ริงโดยในพระราชพิธีนั้นทั้งสองพระองค์ทรงแสดงความต้ังพระทัยท่ีจะ
ทรงปกป้องครองกันตามกระทู้กราบทูลถาม ซึ่งเป็นแบบอย่างการสมรสของชาวตะวันตกตาม
พระราชนิยมในรัชกาล แล้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้าพระมหา
สังข์ทักษิณาวรรต และทรงเจิม จากน้ันท้งั สองพระองค์ทรงลงพระนามในสมุดทะเบียนเฉพาะ
พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซ่ึงทรงลงพระปรมาภิไธยทรงเป็นพยาน
และโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานเล้ยี ง

เม่ือทรงอภิเษกสมรสแล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ ไปประทับท่ี “วังศุโขทัย” ซ่ึงสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตาหนักข้ึนใหม่
พระราชทานเป็นเรือนหอสร้างขึ้นใหม่บนที่ดินพระราชทานริมคลองสามเสน สมเด็จพระเจ้า
นอ้ งยาเธอฯ เสดจ็ ไปทรงปฏิบัตหิ น้าท่ีราชการทหารในตอนกลางวัน ระหวา่ งเวลาน้ันพระชายา
ทรงรับพระราชภาระดูแลการภายในพระตาหนัก บางคร้ังเสด็จลงทรงอานวยการปลูกต้นไม้
ต่างๆ พร้อมกนั นั้นทรงศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติม เช่น ภาษาอังกฤษ ยามเย็นเมื่อสมเด็จพระเจ้า
น้องยาเธอฯ เสด็จกลับมาก็จะทรงกีฬาเช่น เทนนิส ร่วมกันในช่วงสัปดาห์ละครั้ง ทั้งสอง
พระองค์จะเสด็จลงตาหนักไม้เพื่อทอดพระเนตรภาพยนตร์ และโปรดให้เจ้านายร่วม
ทอดพระเนตรดว้ ย

วังศุโขทัย

หลังจากอภิเษกสมรสได้ 2 ปี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระองค์ในยุโรป เนื่องจากทรงมีพระโรคประชวรเร้ือรังมานับต้ังแต่
ทรงผนวช แพทย์ประจาพระองค์กราบทูลถวายคาแนะนาให้เสด็จไปทรงรักษาพระองค์ใน
ประเทศท่ีมีอากาศเย็น เม่ือได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงได้เสด็จพระราชดาเนิน พร้อม
ด้วยพระชายาออกจาก กรุงเทพมหานครฯ เม่ือวันท่ี 29 มกราคม พ.ศ.2463 ช่วงท่ีเสด็จไปน้ัน
เปน็ ฤดูหนาวจึงทรงแวะทป่ี ระเทศอียปิ ตก์ ่อนเสด็จฯตอ่ ไปยังยุโรปเมื่อถึงฤดูร้อน เสด็จประทับที่
กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นเวลาเดือนเศษ อากาศท่ีอียิปต์น้ันถูกกับพระโรคเป็นอย่างดีเม่ือ
หายประชวรแลว้ จนถงึ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2464 จึงเสดจ็ ออกจากอียิปตไ์ ปยังยุโรป

เมื่อเสดจ็ ฯถึงกรงุ ปารสี ประเทศฝรงั่ เศส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2464
นายแพทย์เฮปป์ (Dr. Hepp) ไดต้ รวจพระอาการประชวร มคี วามเห็นว่าพระโรคไม่รา้ ยแรง
ทรงรกั ษาพระองค์ 5-6 สปั ดาห์กท็ รงหายเป็นปกติ ระหว่างนสี้ มเด็จพระเจ้านอ้ งยาเธอ เจา้ ฟ้า
ประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทยั ธรรมราชา มีพระราชดาริว่าหลงั จากทรงหายประชวร
แลว้ จะเข้าทรงศกึ ษาวชิ าทหารชน้ั สงู ต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (École de Guèrre)
ณ กรงุ ปารีส เม่ือสมเด็จเจ้าฟา้ ฯ กรมขุนสโุ ขทัยธรรมราชา ได้รับพระราชทานพระบรมรา
ชานญุ าตแล้ว จึงทรงศกึ ษาวชิ าการทหารเบือ้ งต้น เสดจ็ ไปประจาหนว่ ยทหารตา่ งๆ เสดจ็ ไป
ทอดพระเนตรกองทหารตา่ งๆ จากน้นั จึงทรงเข้าศกึ ษาในโรงเรยี นเสนาธกิ ารทหารบก ทง้ั สอง
พระองค์ประทบั ท่บี ้านเช่า ตาบลแซงต์ คลูด์ (St. Cloud) นอกกรงุ ปารสี หลวงศักด์ินายเวร
และภรรยา ทาหน้าทมี่ หาดเล็กและแม่ครัว มหี ญงิ ฝรง่ั เศส ทาหนา้ ทีแ่ ม่บ้าน หม่อมเจา้ หญิง
ราไพพรรณที รงฝึกฝนภาษาฝรง่ั เศสผา่ นการสนทนากบั แม่บ้านผู้นี้ ทาให้ทรงเรียนรภู้ าษา
ฝร่งั เศสไดด้ ขี ้นึ ตามพระประสงคข์ องพระสวามี บางคราวหมอ่ มเจ้าหญิงราไพพรรณี ยัง
เสด็จไปทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสกับครูและทศั นศึกษาตามสถานท่ีในหวั เมอื งตา่ ง ๆ

เม่ือสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาทรงสาเร็จการศึกษาแล้ว ทั้งสอง
พระองค์เสด็จออกจากกรุงปารีสในเดือนกันยายน พ.ศ. 2467 เสด็จฯ ผ่านทางสหรัฐอเมริกา
และญ่ีปุ่น และได้เสด็จประพาสเมืองต่าง ๆ ของสองประเทศนั้น เสด็จถึงกรุงเทพในเดือน
ธันวาคม พ.ศ. 2467 เป็นเวลาถงึ 3 ปีเต็มท่ีหม่อมเจ้าหญิงราไพพรรณีเสด็จติดตามพระสวามี
ไปทุกหนแห่งในต่างแดน ทรงดูแลเม่ือทรงพระประชวรต้องรักษาพระองค์ และในยามท่ีเสด็จ
ทรงศึกษาวิชาทหาร ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อน ด้วยเป็นโอกาสแรกที่
เสด็จออกนอกประเทศ ทรงเคียงคู่พระราชหฤทัยในทุกสถานการณ์ เป็นการร่วมทุกข์สุขอย่าง
แทจ้ ริง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจา้ อยูห่ ัวสวรรคต

พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น
พระมหากษัตริยไ์ ทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศจ์ ักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนย่ี ขึ้น 2
ค่า ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ท่ี 29 ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเม่อื วันอาทิตย์ท่ี 23 ตุลาคม ปีจอ
พทุ ธศกั ราช 2453

พระเมรมุ าศพระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษใน
พระอุทรตง้ั แตว่ ันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 โดยทรงได้เสวยพระกระยาหารผดิ สาแดงและ
ทรงพระบังคน มีมดมาเกาะพระบังคนหมอจึงสรุปว่า มีเบาหวานแทรกซ้อนแต่พระอาการก็
ทรงกับทรุด (อย่างไรก็ดีข้อมูลทางหน่ึงระบุว่า พระอาการนี้สืบเนื่องมาจากแผลผา่ ตัดด้วยพระ
โรคอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ ท่ีมีพระอาการมากต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีที่ประเทศอังกฤษ)
พระองค์เสด็จสวรรคต ณ พระท่ีน่ังจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันท่ี 26
พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬกิ า 45 นาที สิรพิ ระชนมายุ 44 พรรษา 11 เดือน 26 วัน
เสด็จดารงสิริราชสมบัติ 15 ปี 1 เดือน 3 วัน โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ
พระทน่ี ั่งดสุ ิตมหาปราสาท

แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กาหนดวันสวรรคตของรัชกาลท่ี 6 เป็นวันที่ 25
พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ส่วนพระบรมราช
สรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ
พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธ์ิ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหน่ึงเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมาน
องค์กลาง พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมานพระ
อฐั ิ วงั รน่ื ฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคนิ เี ธอ เจา้ ฟ้าเพชรรตั นราชสุดา สริ ิโสภาพัณณวดี พระราช
ธดิ าพระองคเ์ ดียว

พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั (กรมหลวงสโุ ขทยั ธรรมราชา) ขน้ึ ครองราชย์

กรมหลวงสโุ ขทัยธรรมราชาทรงสบื ราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เม่ือวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2468
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งทรง
เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช พระองค์เดียวที่เหลืออยู่ ได้เสด็จข้ึนเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ
จากสมเด็จพระเชษฐาธริ าช เป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 7 แหง่ พระ
บรมราชจักรวี งศ์ สมเดจ็ พระอนุชาธิราช เจา้ ฟา้ ฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงกลา่ วถึงการ
สืบราชสมบัติของพระองค์ ดังมีพระราชหัตถเลขาความว่า “ส่วนฉันน้ัน เป็น “ม้ามืด” และ
อยา่ งไรเสยี กข็ าดประสบการณ์ในกิจกรรมงานเมือง”

สถาปนาเฉลมิ พระยศหม่อมเจา้ หญงิ ราไพพรรณี เปน็ สมเดจ็ พระอคั รมเหสี

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ 7 มีขึ้น ใน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระยศหม่อมเจ้าหญิงราไพ
พรรณี เป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรม
ราชินี เหตุผลอันเนื่องจาก .. ทรงประจักษ์แจ้งความซ่ือตรงจงรักของหมอ่ มเจ้าราไพพรรณี
อันมีต่อพระองค์ ได้ต้ังพระหฤทัยสนองพระเดชพระคุณ ทั้งปฏิบัติวัฎฐากในเวลาเม่ือทรงเป็น
สุขสาราญ และรักษาพยาบาลในเวลาเม่ือทรงพระประชวร แมเ้ สด็จไปประทับอยู่ในทรุ ะสถาน
ต่างประเทศ กอ็ ตุ สาหโดยเสดจ็ ตดิ ตามไปมไิ ด้ยอ่ ทอ้ ตอ่ ความลาบาก ควรนบั ได้วา่ เคยเป็นค่รู ่วม
ทกุ ขส์ ขุ กบั พระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั มาเปน็ นริ ันดร จะหาผอู้ ื่นเสมอเหมอื นมิได้ ......

สมเด็จพระนางเจา้ ราไพพรรณี

จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดารัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระ
นามหมอ่ มเจา้ หญงิ ราไพพรรณี พระวรราชชายา เป็นสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณีบรมราชินี
และให้มีเกียรติยศเป็นพระอัครมเหสีสมบูรณ์ตามพระราชกาหนดกฎหมาย และพระราช
ประเพณีจงทกุ ประการ

พระตาหนักเปย่ี มสขุ อาเภอหัวหิน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดธรรมชาติแถบชายทะเลหัวหินเป็นอย่างยิ่ง

เพราะนอกจากจะมที วิ ทศั นท์ ี่สวยงาม เงียบสงบ ตอ้ งกับพระราชอธั ยาศัยแล้ว ชายทะเลหวั หนิ

ยังเป็นสถานท่ีที่ทาให้พระองค์เกิดความสนิทสนมคุ้นเคย และมีพระราชหฤทยั ผูกพันในสมเด็จ

พระนางเจา้ ราไพพรรณฯี

เม่ือคร้ังท่ีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เสด็จพระราช

ดาเนินแปรพระราชฐานไปประทบั แรม ณ พระตาหนักชายทะเลหัวหิน และโปรดเกล้าฯใหท้ ั้ง

สองพระองค์โดยเสด็จพระราชดาเนินด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินชายทะเลอาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อ

ดาเนินการก่อสร้างพระตาหนัก พระราชทานนามว่า “พระตาหนักเปี่ยมสุข” ภายในบริเวณท่ี

ทรงเรยี กวา่ “สวนไกลกังวล” โดยโปรดเกล้าฯ ใหห้ ม่อมเจ้าอทิ ธเิ ทพสรร กฤดากร ทรงเป็น

สถาปนิกเนื่องจากสวนไกลกังวล และพระตาหนักเป่ียมสุขน้ัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

เจา้ อยู่หัว โปรดเกล้าฯ ใหจ้ ัดสร้างข้นึ เพือ่ พระราชทานเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของสมเด็จราไพ

พรรณีฯ ดงั น้นั พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ใหห้ ม่อมเจ้าอทิ ธเิ ทพสรร กฤดากร ออกแบบเข็มและจ้ี

ทองคาลงยา เพ่ือพระราชทานแก่ผู้ร่วมการแสงรีวิว ในวันฉลองการข้ึนพระตาหนักเป่ียมสุข

ซึ่งหม่อมเจ้าอิทธิสรร กฤดากร ได้ออกแบบเป็นลายลาแสงพระอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ อันเป็น

ความหมายของพระนามาภิไธย “ราไพพรรณี” และเป็นลายลักษณ์เดียวกับเหล็กหล่อทวาร

พระตาหนักเป่ียมสุขด้วย พระตาหนักเป่ียมสุข สวนไกลกังวล ทั้งสองพระองค์ทรงใช้

เป็นพระราชฐานตา่ งจงั หวดั ในการเสด็จพระราชดาเนินแปรพระราชฐานไปสาราญพระราชอิส

ราบถระหว่างช่วงฤดูร้อน แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละท้ิงราชการ

ทรงสดับฟงั ข่าวสารบ้านเมืองทางวิทยกุ ระจายเสียงอยเู่ สมอ และทรงงานเปน็ ประจาทุกวัน

ทั้งสองพระองค์โปรดกฬี ากอลฟ์

เม่ือทร งว่างงานจ ากพระ ราชภ ารกิจ ท้ังสองพระองค์ โป รดที่จะ ทรงเล่น กีฬากอล์ ฟ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดท่ีจะทรงฉายพระรูปสมเด็จพระนาง
เจา้ ราไพพรรณฯี เพ่ือทรงนาไปติดในสมุดภาพสว่ นพระองค์
พระราชกรณยี กิจ พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอย่หู ัว และ สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณี

พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจ้าอยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี
เสดจ็ มณฑลพายัพ

สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรตามจังหวัดต่าง
ๆ เป็นเนืองนิตย์ อาทิ มณฑลพายัพ หัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยเสด็จถึงอาเภอเชียงแสน จังหวัด
เชียงราย หัวเมอื งฝา่ ยใต้เสด็จถงึ จงั หวัดนราธิวาสส่วนจงั หวดั ชายฝ่งั ทะเลตะวันออก โดยเสด็จ
เยี่ยมราษฎรจังหวัดจันทบุรีและตราด ทั้งน้ีเพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ ความทุกข์สุข
ของราษฎร ตลอดจนทรงศกึ ษาแหลง่ โบราณสถาน โบราณวตั ถุในทอ้ งถน่ิ ซ่ึงทุกแหง่ หนสมเด็จ
พระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ก็ไดต้ ามเสดจ็ พระราชสวามีมิได้ขาด

เสด็จเยอื นเวยี ตนาม เมืองไซง่ ่อน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงพระราชภารกิจสาคัญยิ่ง
ประการหนึ่งในฐานะพระมหากษัตริย์ คือการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ พระองค์และ
สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ จึงเสด็จต่างประเทศอย่างเป็นทางการ โดยเรือพระที่นั่ง
มหาจักรี เริ่มจากประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลีระหว่างวันท่ี 25 กรกฎาคม ถึงวันท่ี 11
ตุลาคม 2472 หลังจากนั้น ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดาเนิน เยือนประเทศเวียดนาม
และประเทศกมั พชู า ระหว่างวันท่ี 6 เมษายน ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม พทุ ธศกั ราช 2473 ในการ
เสด็จประพาสเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้
พระราชทานเงนิ ช่วยเหลือการสาธารณกุศลสาหรับอนิ โดจีน จานวน 2,000 ปีอาสต์

ต่อจากน้นั ได้เสด็จจากเมอื งไซง่อนไปยังประเทศกมั พูชาเพื่อทอดพระเนตรนครวัด นคร
ธม โดยมีศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เฝ้ารับเสด็จ และนาเสด็จทอดพระเนตรสถานท่ีต่าง ๆ
หลังจากน้ัน ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดาเนิน เยือนประเทศเวียดนาม และประเทศ
กัมพูชา ระหว่างวันที่ 6 เมษายน ถึงวันท่ี 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2473 ในการเสด็จ

ประพาสเมืองไซง่ ่อน ประเทศเวียดนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน
เงินช่วยเหลือการสาธารณกุศลสาหรบั อนิ โดจนี จานวน 2,000 ปอี าสต์

เน่ืองจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงมีอาการประชวรพระเนตรกาเริบ
ข้ึน นายแพทย์ประจาพระองค์ที่ถวายการรักษาอยู่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ถวาย
คาแนะนา ควรจะให้นายแพทย์ผู้เช่ียวชาญ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ถวายการตรวจ
รักษา พระองค์จึงพระราชดาเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ไปยังประเทศ
สหรัฐอเมริกา เมื่อวันท่ี 19 มีนาคม พุทธศักราช 2474 ได้เสด็จผ่านทางประเทศญ่ีปุ่นและ
ประเทศแคนาดา

มหาวิทยาลัยฮอร์จ วอชงิ ตนั ได้ทลู เกลา้ ฯ ถวายปริญญานิตศิ าสตรด์ ุษฎบี ัณฑิตกิตตมิ ศักด์ิ
แดพ่ ระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อยู่หัว

เม่ือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ เสด็จ
พระราชดาเนินถึงประเทศสหรัฐอเมริกา พระองค์ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ส่ือมวลชน
อเมริกัน แสดงถงึ พระราชปณธิ านอย่างชดั เจนวา่ ทรงพระราชดารทิ ี่จะให้ประชาชนชาวไทย ได้
มีส่วนร่วมในการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยและในวันท่ี 30 เมษายน
พุทธศักราช 2474 มหาวิทยาลัยฮอร์จ วอชิงตัน ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิตกิติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชา
สามารถทางรัฐประศาสนโยบาย ณ อาคารแพน อเมรกิ นั ยเู นียน ณ กรงุ วอชงิ ตัน ดี.ซ.ี

เสด็จประเทศสหรัฐอเมรกิ า

หลงั จากทีท่ รงรับการผา่ ตัดต้อกระจกในพระเนตรซ้ายและประทบั พักฟื้นจนพระอาการ
กระเต้ืองข้ึนแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ
ทรงเร่ิมปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยการเสด็จพระราชดาเนินไปเยือนสถานที่ต่าง ๆตาม
รายการที่รัฐบาลอเมริกันจัดถวาย และได้เสด็จพระราชดาเนินโดยขบวนรถไฟพิเศษออกจาก
ประเทศสหรัฐอเมริกา เมือ่ วันท่ี 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2474 เพ่ือเยือนประเทศแคนนาดา
เป็นการส่วนพระองค์หลังจากนั้น จึงเสด็จพระราชดาเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกคร้ังหน่ึง ก่อน
เสด็จนวิ ตั พระนคร

ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ้ า ร า ไ พ พ ร ร ณี พ ร ะ อ ง ค์ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ เ คี ย ง คู่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมราชินีในการเสด็จพระราชดาเนินไปยัง
หัวเมือง รวมทั้งต่างประเทศเพ่ือเป็นการเช่ือมพระราชไมตรีระหว่างประเทศ ประสบ
ความสาเรจ็ ได้อยา่ งดียงิ่ เปน็ ที่ประทับใจพึงพอใจของนานาชาตแิ ละบุคคลที่มีโอกาสเขา้ เฝ้า
พระจริยวัตรสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี

ฉลองพระองคอ์ ย่างสตรตี ะวนั ตก

สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี และพระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าจลุ จกั รพงษ์

พระองค์ทรงเป็นสตรีท่ีมีพระสิริโฉมงดงาม พระจริยวัตรอันนุ่มนวล มีพระพักตร์แจ่มใส
และแย้มพระสรวลอยู่เสมอ แลดูเอิบอ่ิมเต็มไปด้วยพระกรุณานอกจากน้ียังเป็นท่ีรู้จักจากการ
แต่งพระองค์ได้อย่างเหมาะสม กล่าวกนั ว่าพระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉมสามารถ
เลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในเรื่องดังกล่าว พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้นิพนธ์ลงในหนังสือ เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ได้กล่าวถึง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จพระราชดาเนินไปรักษาพระเนตรที่ยุโรป หลังการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง ความว่า"สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี น้ันดูจะงามยิ่งขึ้นกว่าแต่
กอ่ นอีก แต่งพระองค์อย่างสตรีชาวยุโรปโดยทรงเลือกได้อย่างเหมาะสม ซ่ึงผหู้ ญิงไทยน้อยคน
จะทาไดด้ ีเทา่ "แนล่ ะทา่ นมีเงินมากจะซอ้ื อะไรก็ได้" แต่ข้าพเจ้าไมเ่ หน็ ด้วย การแต่งตัวสวยนั้น
ไม่อยู่แต่ที่เงินถึงมีมากเท่าใด ถ้าไม่มีความสามารถในทางเลือกแล้ว ก็แต่งกายเคอะอยู่ดี
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ยังไม่เคยเห็นผู้หญิงไทยท่ีเมืองนอกที่งามเท่าหรือแต่งกายเก๋และสวยเท่า
สมเดจ็ ราไพพรรณี"

พระบรมราชินีภายใตธ้ รรมนญู การปกครองแผ่นดนิ

คณะราษฎร

หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ไม่มากนักพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั และสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี อยู่ในระหว่างเสด็จ
พระราชดาเนินแปรพระราชฐาน ไปประทบั แรม ณ พระตาหนกั เป่ียมสขุ สวนไกลกังวล อาเภอ
หัวหนิ จังหวัดประจวบครี ขี นั ธ์ เพ่ือทรงพกั ผ่อนพระราชอริ ิยาบถ หลังจากทรงตรากตราปฎิบัติ
พระราชกรณียกิจมาอย่างต่อเนื่อง แต่แล้ววันเวลาแห่งความเบิกบานพระราชหฤทัยซ่ึงมีอยู่
เพยี งสั้น ๆ ก็จบสน้ิ ลง

วันท่ี 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ด้วยมีคณะบุคคล ซ่ึงประกอบด้วย ทหารบก
ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” มีพันเอก พระยาพหลพล
พยุหเสนา เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอานาจการปกครองแผ่นดิน และเข้าจับกุมพระบรมวงศ์บาง
พระองค์ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่คี ุมกาลังทหาร แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา
เชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จพระราชดาเนินกลับคืนสู่พระนคร เป็น
พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองทค่ี ณะราษฎรได้สร้างขึ้น เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่
มผี ้ใู ดทราบว่าเหตุการณ์จะรุนแรงเพียงใด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราช
ดารัสถามความเห็นจาก สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ในเรื่องเสด็จพระราช
ดาเนินกลับคืนสู่พระนคร สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี ทรงมีพระอุปนิสัยเข้มแข็ง มีน้า
พระทัยนักกีฬามาต้ังแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงตัดสินพระราชหฤทัยอย่างเด็ดเดี่ยว จึงได้กราบ

บังคมทูล อย่างไม่ลังเลพระทัยและไม่ทรงทาให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้อง
ทรงหว่ันไหว ท้อถอยเลย ในทานองทวี่ ่า "เข้าไปตายก็ไมเ่ ป็นไร ตอ้ งมีศักดิ์ศรี มีสจั จะ"

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระราชนัดดา กล่าวถึงเหตุการณ์ในการ
ตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลังเกิดการเปล่ียนแปลงการปกครอง ความตอน
หนึ่งว่าฉันต้องยอมรับว่าทั้งสมเด็จ [สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี] และหญิง
อาภา [พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี] ควรจะได้รับเกียรติศักด์ิอย่างสูง ท่ีแสดง
ความกล้าหาญอย่างยิ่งเช่นนั้นเพราะเราทุก ๆ คนทราบดีว่า ถึงเรายอมกลับกรุงเทพฯ ต่อไป
เขาจะฆ่าเราเสียก็ได้ ผู้หญิงสองคนนั้นเขากล้ายอมตายเสียดีกว่าท่ีจะเสียเกียรติศักดิ์ เม่ือเขา
ตกลงเช่นนนั้ ฉนั ก็เห็นดว้ ยทันที...

ทั้งสองพระองค์ทรงใหค้ วามร่วมมือกับคณะราษฎรเพ่ือแกไ้ ขสถานการณ์ของบ้านเมือง
ให้กลับเข้าสู่ความสงบ ระงับเหตุที่อาจนาไปสู่การรบกันจนนองเลือด คาตอบของพระองค์ใน
ครง้ั นม้ี ีสว่ นทาให้พระราชสวามีทรงตัดสินพระราชหฤทัยได้อยา่ งเด็ดขาด และท่ีสาคัญคือ มผี ล
ต่อประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยที่ทาได้โดยไม่เสียเลือดเน้ือ
แม้แตน่ อ้ ยและเสดจ็ ฯ กลับมาประทบั ณ พระตาหนกั จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดสุ ติ
พระราชทานรฐั ธรรมนญู

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงพระราชทานรฐั ธรรมนญู

วันท่ี 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่ง
ราชอาณาจักร สยาม ณ พระทน่ี ั่งอนันตสมาคม ทรงมีพระราชปรารภว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ
เป็นทสี่ ถาพร มีประสิทธภิ าพ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของประชาชน และทาให้ประเทศชาติ
บรรลุถึงความเจริญวัฒนา แต่ชั่วระยะเวลาไม่ถึงหน่ึงปีความยุ่งยากทางการเมืองก็เริ่มขึ้น
นับต้ังแต่ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร จนนาไปสู่การยึด
อานาจการปกครอง เมื่อวันท่ี 20 มิถุนายน พุทธศักราช 2476 หัวหน้าผู้ก่อการ คือ พันเอก
พระยาพหลพลยุหเสนา ซ่งึ ต่อมาได้รบั การแต่งตั้งเปน็ นายกรัฐมนตรี

กบฏบวรเดช

พระองค์เจ้าบวรเดช

วันท่ี 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 หลังจากท่ีประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยได้เพียงปีเศษ เหล่า

ทหารจานวนหนึ่ง ท่ปี ระจาการอยู่ทีฐ่ านที่ตั้ง ณ เมืองนครราชสีมา นาโดยพลเอกพระวรวงศ์

เธอพระองคเ์ จ้าบวรเดช ไมเ่ ห็นด้วยกบั แนววิธกี ารปกครองของคณะราษฎร จึงได้รวมกาลังก่อ

การปฏิวตั ขิ ้ึน แตไ่ ม่ประสบผลสาเร็จ ต้องพา่ ยแพ้แก่ฝ่ายรัฐบาลไปในที่สุด และเรียกการปฏิวัติ

คร้ังน้ีว่า " กบฏบวรเดช" ขณะทีม่ ีการก่อการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั

และสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ประทับแรมอยู่ ณ ตาหนักเป่ียมสุข สวน

ไกลกังวล อาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้ทรงฟังรายงานข่าวทาง

วิทยุกระจายเสียงว่า ได้มกี ารสู้รบกนั ระหว่างฝ่ายรัฐบาล กบั ฝ่ายปฏิวัติท่ีจังหวัดเพชรบุรี และ

ทหารของฝา่ ยปฏิวัติแตกพ่ายถอยร่นลงไปทางใต้ อาจไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพ่ือยึด

เป็นท่พี ง่ึ ได้

พระตาหนกั เขานอ้ ย

พระองค์ก็ไม่ทรงสบายพระราชหฤทยั เพราะไมต่ ้องพระราชประสงค์ท่ีจะให้ผู้ใดอา้ งว่า
ทาอะไรเพ่ือพระราชบัลลังก์ ดังนั้นในคืนวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2476 พระองค์จึงทรงตัดสิน
พระราชหฤทัยเสด็จพระราชดาเนินจากพระตาหนักเปี่ยมสุขมุ่งไปทางใต้ซึ่งห่างไกลจาก
เหตุการณ์เพื่อแสดงถึงการวางพระองค์เป็นกลาง โดยเสด็จโดยเรือพระทนี่ ่ังศรวรุณ ไปประทับ
ที่พระตาหนักเขาน้อย ของสมเด็จพระเจ้าพ่ียาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเม
ศวร์ จงั หวดั สงขลา ซึ่งห่างไกลเหตุการณ์

พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงสละราชสมบัติ

พระตาหนักโนล หรือ บา้ นโนล (Knowle House)

ภายหลังการเกิดกบฏบวรเดช วันท่ี 27 สิงหาคม พ.ศ.2477พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดาเนินไปประเทศองั กฤษ เพ่ือทรงรับการรักษาพระเนตร
อกี คร้ัง และเสดจ็ พระราชดาเนนิ เยือนประเทศต่างๆ เพอ่ื กระชบั สัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
โดยมี สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงร่วมเสด็จฯด้วยเช่นเคย และ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จพระราชดาเนินไปประทับประเทศอังกฤษ เพื่อ
ทรงรบั การรกั ษาพระเนตร โดยไดท้ รงเช่าคฤหาสน์หลังหน่ึงไว้เป็น ท่ีประทบั ในมณฑลเซอร์เรย์
ซ่งึ พระราชทานชอื่ ว่า "บ้านโนล" ซึ่งต้งั อยู่ทต่ี าบลแครนลี จงั หวัดเธอร์เรย่ ์ ใกล้เมอื งกลิ ล์ฟอรด์
ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๓๕ ไมล์ ทรงเช่าจากลอร์ดและเลดีแสกวิลล์
เป็นคฤหาสน์ขนาดใหญ่สีเทา มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบบาโร๊ค หน้าต่างสูงแบบฝรั่งเศสมี
ปล่องไฟสูงจานวนมาก อาณาบริเวณโดยรอบกว้างขวางสวยงามด้วยพฤกษานานาพันธุ์
ปัจจุบันคฤหาสน์แห่งน้ีได้รับการดัดแปลงเป็นสถานพักฟ้ืน เรียกว่า โนล พาร์ค เนอร์สซิ่งโฮม
ยังคงมีสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด ชาวบ้านในแถบนั้นยังคงเล่าขานถึงล้นเกล้าฯ ท้ังสอง
พระองคด์ ว้ ยความประทบั ใจในพระราชจรยิ วัตร ดังได้ต้งั ชือ่ ห้องชดุ ของสถานพักฟนื้ ของผหู้ าย
ป่วยชดุ หนงึ่ เพ่อื เป็นพระบรมราชานสุ รณ์ว่า "The Siam Suite"

ระหว่างประทับ ณ พระตาหนักโนล ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงเจรจากับคณะผู้แทนที่รัฐบาลส่งไปเฝ้าฯ มีการโต้ตอบไปมาระยะหน่ึง แต่
ทา้ ยท่ีสุดทรงพระราชวินิจฉัยว่า เร่ืองที่รัฐบาลไม่อาจสนองพระราชกระแสได้น้ัน เป็นหลักการ
สาคญั แห่งการปกครองระบบรฐั ธรรมนญู ตามท่ีทรงเข้าพระราชหฤทัย เช่น รัฐบาลไม่ให้โอกาส
จาเลยคดีทางการเมืองต่อสู้คดีในศาล และรัฐบาลแต่งต้ังพวกพ้องเกือบหมดเป็นสมาชิกผู้แทน
ราษฏร ประเภทท่ี 2 โดยไม่คานึงถึงความชานาญหรือขอพระราชทานคาแนะนา และรัฐบาล
ไม่ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่ตรงกับพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ของ
พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อย่หู วั

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระราช
หฤทัยสละราชสมบัติ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศที่จะทรง
สละราชสมบัติแล้ว พระองค์พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี และพระ
ประยูรญาติสนิทบางพระองค์ จึงทรงย้ายท่ีประทับจากใจกลางเมืองไปอยู่ในชนบทใกล้กรุง
ลอนดอน ทรงวางพระองค์เย่ียงคหบดีชนบท ทรงจัดสวน เล้ียงนกเล้ียงปลา เสด็จประพาส
ทศั นศกึ ษาตามโบราณสถานต่าง ๆ เป็นตน้

สงครามโลกครั้งท่ี 2 พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพรรณี
ทรงประทับทพี่ ระตาหนักคอมปต์ นั เฮ้าส์ ประเทศองั กฤษ

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีนั้น ทรงมีพระราชหฤทัยเข้มแข็งเด็ด
เดี่ยว ท่ีจะทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นเคย หลังจากที่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ พระองค์และ สมเด็จพระนางเจ้า
ราไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดาเนินไป ประทบั ยังพระตาหนักเกลนพามเมนต์
มณฑลเซอร์เรย์ ทรงวางพระองค์เย่ียงคหบดีชนบท และทรงใช้เวลาว่างในการจัดสวน แม้
สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี จะทรงพ้นจากพระราชภารกิจ ที่สาคัญย่ิงคือ
การถวายการพยาบาล สมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ซ่ึงมพี ระพลานามยั ไม่แข็งแรง

หลังจากประทับอยู่ที่ พระตาหนักเกลนพามเมนต์ ได้ประมาณ 2 ปี พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอาการประชวรหนักมากข้ึน จึงทรงซ้ือพระตาหนักใหม่ท่ี
มณฑลเคนต์ ช่ือว่า เวนคอร์ต ซ่งึ เป็นพระตาหนักท่ีเล็กเหมาะแกก่ ารดูแลรักษา ในระหว่างท่ี
ประทับอยู่ที่พระตาหนักเวนคอร์ต มหาสงครามโลกครั้งท่ี 2 ได้ทวีความรุนแรงย่ิงขึ้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั จึงทรงย้ายท่ปี ระทับไปที่พระตาหนักคอมพ์ตัน มณฑล
เซอร์เรย์

ระหว่างท่ีประทับอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี ทรงมีพระ
ราชภารกิจที่สาคัญยิ่ง คือการถวายการพยาบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซ่ึงมี
ราชพลานามัยไม่แข็งแรง และประชวรอย่เู ปน็ เนืองนติ ย์ พระองค์จึงตอ้ งเสดจ็ ฯตดิ ตามพระราช
สวามีอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังต้องดูแลพระตาหนักที่ประทบั ด้วยพระองค์เอง เพาะรัฐบาล
ไทยได้เรียกผู้ปฏิบัติหน้าท่ีรับใช้เบื้องพระยุคลบาท กลับประเทศไทยหมด เหลือเพียงข้าราช
บรพิ ารไม่ก่คี น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอย่หู วั เสดจ็ สวรรคต

สุสาน Colders Green ประเทศองั กฤษ สถานท่ีถวายพระเพลงิ รชั กาลท่ี 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อย่หู ัวพระองคท์ รงพระประชวรอย่เู นือง ๆ โดย พ.ศ.
2480 พระองคท์ รงพระประชวรมากด้วยโรคตวั บดิ เขา้ ไปอยู่ในพระยกนะ (ตบั ) แตแ่ พทยไ์ ด้
รกั ษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กาเรบิ หนักขึ้นโดยลาดบั ตั้งแต่ธันวาคม
พ.ศ. 2483 แตก่ ็เร่ิมทเุ ลาข้ึนเร่อื ยมา กระท่งั วันท่ี 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จ
สวรรคตโดยฉบั พลนั ด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มพี ระชนมายุ 48 พรรษา ณ พระตาหนกั คอมป์
ตนั เฮา้ ส์ ประเทศอังกฤษ

สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจดั การพระบรมศพ และถวายพระ
เพลิงพระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยหู่ วั เป็นการภายใน โดยอัญเชญิ พระบรม
ศพประดิษฐาน ณ พระตาหนกั คอมพ์ตนั โดยรฐั บาลองั กฤษไดอ้ นญุ าตเปน็ กรณพี ิเศษในการ
ประดษิ ฐานพระบรมศพเปน็ เวลา 4 วันซง่ึ ตามปกตจิ ะอนญุ าตเพยี งวนั เดียว เพ่อื ให้ประยรู
ญาติที่อยู่หา่ งไกลมาถวายบงั คมลาเปน็ ครั้งสดุ ทา้ ย การจัดการพระบรมศพน้นั เป็นไปอยา่ ง
เงียบ ๆ โดยไมม่ ีการบาเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาพุทธเพราะไมม่ ีพระภิกษุ รวมทง้ั ไมม่ ีการ
พระราชพธิ อี นื่ ๆ ตามราชประเพณดี ว้ ย

งานพระบรมศพจดั อย่างเรยี บง่ายทสี่ ุดตามพระประสงค์ก่อนทีพ่ ระองคจ์ ะสวรรคต คือ
ไมต่ อ้ งมีพระโกศ ไม่ตอ้ งประโคมยา่ ยาม ไมต่ ้องมีพระสงฆส์ วด ไมต่ ้องเคร่ืองยศ แลว้ เผาใหไ้ ว
ท่สี ดุ ไมต่ ้องรอ้ งไห้

เมอื่ ไดป้ ระดิษฐานพระบรมศพไว้ครบ 4 คืนเพือ่ ใหพ้ ระประยรู ญาตทิ อี่ ยู่ห่างไกลไดเ้ สด็จมาเฝา้
กราบถวายบังคมลาเปน็ ครงั้ สดุ ทา้ ย

ในวนั ท่ี 4 มถิ ุนายน พ.ศ.2484 มกี ารจดั พธิ ีถวายพระเพลงิ ณ สสุ าน Colders Green

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินียังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อไปดังเดิม
ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว เพราะการคมนาคม
ติดต่อระหว่างประเทศยังไม่มีความปลอดภัยในช่วงสงคราม และเม่ือประเทศไทยประกาศ
สงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งท่ีสองนั้น คนไทยจานวนไม่น้อย
อพยพกลับประเทศไทยหลังการประกาศสงคราม แต่ก็มีอีกจานวนหน่ึงที่พานัก อยู่ใน
ต่างประเทศได้ประกาศตัวเป็นเสรีไทย ทางานประสานกับเสรีไทยในกรุงเทพมหานคร โดย
รัฐบาลอังกฤษยังคงให้เกียรติพระองค์มาตลอด แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษได้สั่งห้ามมิให้ชาติศัตรูใช้
รถยนต์ ยกเว้นแต่กรณีพิเศษซึ่งพระองค์กไ็ ด้สิทธิพิเศษนั้น และคอยจัดน้ามนั เบนซินซ่งึ หายาก
ในช่วงนั้นมาให้พระองค์ใช้อยู่เป็นประจาสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี แมจ้ ะ
มิได้มีพระนามร่วมในคณะเสรีไทยอย่างเป็นทางราชการ แต่ก็ได้พระราชทานพระกรุณา
อุดหนุนจุนเจือกิจการของเสรีไทยในประเทศอังกฤษมาตลอด ซึ่งในขณะน้ันมีเสรีไทยทั้งหมด
เพียง 36 คนในประเทศองั กฤษ

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีเสดจ็ นิวตั ปิ ระเทศไทยพรอ้ มพระบรมอฐั ขิ อง รัชกาลที่ 7

ในที่สุดหลังจากประทับอยู่ที่ ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 15 ปี สมเด็จพระนางเจ้าราไพ
พรรณี พระบรมราชินี กไ็ ด้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เม่ือวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2492 ได้ทรง
อัญเชิญพระบรมอัฐิของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับสู่ประเทศไทยโดยทางเรือ
ตามคากราบทูลเชิญของรัฐบาลไทย และได้ประดิษฐานไว้ร่วมกันกับ สมเด็จพระบูรพมหา
กษตั รยิ าธิราชเจ้าประดษิ ฐานไว้ ณ ท่ีอนั ควรแกพ่ ระบรมราชอิสรยิ ยศในพระบรมมหาราชวงั

สาหรบั พระราชฐานะของพระองค์เมือ่ เสด็จนวิ ตั ปิ ระเทศไทยนั้น เลขาธิการคณะรฐั มนตรี
เลขาธกิ ารพระราชวงั เลขาธกิ ารคณะกรรมการกฤษฎกี า และหมอ่ มราชวงศ์เทวาธริ าช เทวกุล

ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า ...สมเด็จพระบรมราชินีราไพพรรณี ได้รับการแต่งต้ังให้เป็นราชินี
โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 7 ในงานพิธีราชาภิเษกรัชกาลที่ 7 จริงอยู่ทุกประเทศ
รวมทงั้ ประเทศไทยด้วย เม่ือมีการเปลี่ยนรัชกาลฐานะของพระราชินีย่อมเปล่ียนไป เช่น พระ
ราชินีแมร่ีและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ฉะน้ัน เม่ือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 7
ทรงสละราชสมบัติแล้วและการแต่งต้ังพระราชินีราไพพรรณีไม่มีการเพิกถอน ท่านก็น่าจะคง
เป็นพระราชินีตามเดิม แต่ไม่ใช่พระราชินีซึ่งพระราชสวามีทรงราชย์ Queen Consort
เปล่ียนเป็นพระราชินีวิธวา Queen Dowager ฉะน้ัน น่าจะขนานพระนามถวายโดยอนุโลม
พระสวามวี ่า สมเดจ็ พระบรมราชินี รัชกาลที่ 7...

วังสระปทมุ

การเสด็จฯ นิวัติสู่ประเทศไทยคร้ังน้ี รัฐบาลมีดาริจะจัด วังตาบลท่าช้างอันเป็นที่ที่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม พระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์พระบรมชนก ในพระองค์ เคยประทับมา
ก่อนนั้น ถวายเป็นท่ีประทับ เน่ืองจากวังศุโขทัย ยังคงเป็นที่ทาการของกระทรวงสาธารณสุข
พระองคจ์ งึ ทรงต้องเสด็จไปประทับอยู่ในตาหนกั ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก วังสระปทุมแทน เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เชิญ
เสด็จสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีไปอยู่ร่วมกับพระองค์ โดยทรงไปประทับ
อยู่ท่ีนั่นนานถึงสามปี ถึงได้เสด็จพระราชดาเนินกลับมาประทับท่ีพระตาหนักวังศุโขทัย บาง
วโรกาสบางครั้งยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ
พลอดลุ ยเดชอกี ดว้ ย

เนื่องจากทรงมีพระราชหฤทัยท่ีออ่ นโยน ไมต่ ้องพระราชประสงค์ท่ีจะทรงรบกวนสมเด็จ
พระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการประทบั ณ ตาหนักวังสระปทมุ นานเกินควร อกี ท้งั ทรงมี
พระราชประสงค์ที่จะประทับในต่างจังหวัดด้วยโปรดธรรมชาติและการทาสวน จึงมี
พระราชดาริทจ่ี ะหาท่ดี ินเพ่ือสร้างพระตาหนักที่ประทับสาหรับพักผอ่ น พระราชอิริยาบถและ
ทรงเย่ียมราษฎรในจงั หวดั นั้น
เสดจ็ ประทบั วงั สวนบา้ นแกว้ จันทบุรี

วงั สวนบา้ นแก้ว จันทบุรี

ในการหาท่ีดินในต่างจังหวัดนั้น สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ มีพระราชดาริไว้ 2
แห่งคือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดจันทบุรี แต่ในที่สุดแล้วทรงสนพระราชฤทัยจังหวัด
จันทบุรี เพราะระยะเวลาใกล้กว่าและสามารถเสด็จพระราชดาเนินเข้ากรุงเทพฯ ได้ภายในวัน
เดียว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พันตรี หม่อมทวีวงค์ถวัลยศักด์ิเลขาธิการสานักพระราชวัง และหา
ที่ดินในจังหวัดจันทบุรี และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดาเนินไปทอดพระเนตรท่ีดิน
ซึง่ ในระยะน้ันเสน้ ทางคมนาคมยังไมส่ ะดวก ต้องเสด็จฯ ไปตามถนนทีย่ ังไมไ่ ด้ราดยางเป็นหลุม
บ่อ เต็มไปด้วยฝุ่นละออง รถพระที่นั่งกระแทกกระเทือนไปตลอดทางในท่ีสุดทรงพบที่ที่ต้อง
พระราชหฤทยั ตรงทางแยกเขา้ ตัวเมืองจันทบรุ ี

คลองสวนบ้านแกว้

ด้วยทรงเห็นว่าเป็นสถานที่ซ่ึงมีธรรมชาติ งดงาม เงียบสงบ ต้องกับพระราชอัธยาศัย
ของพระองค์ จึงทรงกเู้ งินจากธนาคารเพ่ือซ้ือท่ีดินสองฝั่งคลอง บ้านแก้วรวมเน้ือที่ 687 ไร่
พระราชทานสนามสถานท่ีแห่งนี้ตามช่ือคลองว่า “สวนบ้านแก้ว” โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราช
บริพารทาการปรับท่ีดินพร้อมกับสร้างท่ีประทับชั่วคราวทาด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก และได้
เสด็จพระราชดาเนินไปประทับแรมคร้ังแรก เมื่อวันที่ 20 มถิ ุนายน พุทธศักราช 2493 ซ่งึ ใน
ขณะนน้ั ยังไม่มีไฟฟ้าและนา้ ประปาใช้

พระตาหนักใหญ่ (เรือนเทา) ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ

สองปีต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตาหนักใหญ่
(พระตาหนักเทา) บนเนินทีล่ าดลงไปยังหุบเขา ซึง่ เป็นบริเวณที่มีทศั นียภาพสวยงาม เพ่ือเป็น
ที่ประทบั และรับรองแขก พระตาหนักเป็นอาคารแบบช้ันครึ่ง รูปทรงยุโรปทาสีเทาช้ันบนเป็น
ห้องบรรทมซ่ึงมีที่เฉลียงที่พระองค์สามารถทอดพระเนตรทิวทัศน์งดงามของสวนบ้านแก้วได้
กว้างไกล

พระตาหนกั ดอนแค (เรอื นแดง)

พระตาหนักที่มีการสร้างเพิ่มเติมอีกคือ พระตาหนักดอนแค ช่ือพระตาหนักมีทมี่ าจาก
บรเิ วณถนนหนา้ พระตาหนักปลูกต้นแค่ฝรั่งเรียงรายงดงาม จึงเรียกขานกนั ว่า “ดอนแค” เป็น
พระตาหนักท่ีสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึนเพ่ือเป็นที่ประทับ
สาหรับเจ้าขุนมลู นายชั้นผู้ใหญ่และราชเลขานุการส่วนพระองค์ เป็นอาคารสองชั้นแบบยุโรป
สร้างด้วยไม้สักทาสีแดง มีสระน้าขนาดใหญ่อยู่ด้านหลังตาหนัก เดิมเคยเป็นที่พักของหม่อม
ราชวงศ์สมัครสมาน กฤดากร ราชเลขานุการนอกจากน้ี ด้านทิศตะวันตกของตาหนักดอนแค
ยังเป็นท่ีต้ังของตาหนักน้อย ซง่ึ มีลักษณะเป็นบ้านช้ันเดียวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึนเพ่ือเป็นที่
รับรองพระราชวงศ์ท่ีเสด็จมาเยี่ยมเยือน และทรงใช้เป็นที่ประทับสาราญพระราชอิริยาบถใน
บางโอกาส

เรอื นเขียว

มีเรือนอีกหน่ึงหลังสร้างแบบบังกะโลเรียกว่าเรือนเขียวเป็นที่พักของราชเลขานุการ
เรือนทั้งสามหลังน้ีนับเป็นอาคารชุดแรกของสวนบ้านแก้ว การก่อสร้างพระตาหนักและ
ส่ิงก่อสร้างต่าง ๆ น้ันสมเด็จพระนางเจ้าราไรพรรณีฯ โปรดให้เป็นไปด้วยความประหยัดที่สุด
เทา่ ทจ่ี ะเปน็ ไปได้ นบั ตง้ั แต่โปรดเกลา้ ฯ ให้จ้างชา่ งชาวจีนมาสอนคนงานทส่ี วนบา้ นแกว้ ทาอิฐ
เผาอฐิ เผากระเบอ้ื งมุงหลงั คาเอง เนอ่ื งจากอิฐบางบวั ทองขณะน้ันราคาก้อนละ 2 บาท การ
ขนส่งจากกรุงเทพฯ กล็ าบาก อิฐท่เี ผาในสวนบ้านแก้วจะมีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรว่า ส บ ก
ซง่ึ โปรดเกล้าให้นาอิฐ ส บ ก ไปใชใ้ นการกอ่ สร้างพระตาหนกั และสง่ิ ก่อสรา้ งต่าง ๆ

ในระยะแรกพื้นท่สี วนบ้านแก้วส่วนหนึ่งยังเป็นป่าทบึ มที ่ีบุกเบิกเป็นไร่บ้าง ส่วนใหญ่
ยังมีสภาพรกร้าง สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี ฯ ทรงบุกเบิกท่ีเพ่ือปลูกพืชไร่ เช่นถ่ัวลิสง
นุ่น โดยมีพระราชประสงค์ให้ปลูกเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร แต่เน่ืองจากพืชท้ังสองชนิดไม่
เหมาะสมกับสภาพอากาศ สมเด็จพระนางเจา้ ราไพพรรณี ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการทาไร่
ทาสวนบ้านแก้วด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ อาทิ ทรงปลูกและเก็บเมล็ดถั่วลิสงร่วมกับ
ข้าราชการบริพารและคนงาน ตลอดจนทรงดูแลเล้ียงสัตว์ต่าง ๆ บางครั้งถึงกับทรงขับรถ
แทรคเตอร์และตัดหญ้าด้วยพระองค์เองจังหวัดจันบุรี จึงทรงเปลี่ยนไปปลูกมะพร้าวแทน
นอกจากนี้ ไดท้ รงปลกู มนั สาปะหลงั เพ่อื กนั ไมใ่ หห้ ญา้ ขึ้นรก และเพ่อื ช่วยยดึ ดิน ซ่งึ ได้ผลผลิตดี
มาก

ผลแตงโมทส่ี มเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณฯี ทรงปลูก

ในช่วงท่ีปลูกพืชไร่น้ัน หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดาดร ซึ่งทรงเชี่ยวชาญด้านการเกษตรได้
ถวายคาแนะนาสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ใหท้ รงทดลองปลูกแตงโม แตงไทย และแคน
ตาลูป ประมาณ 8 ไร่ ปรากฏว่าได้ผลเป็นท่ีน่าพอใจโดยเฉพาะแตงโมมผี ลโตและน้าหนักมาก
การปลูกแตงโมน้ันทรงปลูกเพ่ือเสวยเองและแจกจ่ายแก่บุคคลต่างๆ มิได้นาออกขาย ออก
จากพืชไร่ สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ยังโปรดเกล้าฯ ใหป้ ลูกผักสวนครัวและผลไม้ต่างๆ
เชน่ สม้ เขยี วหวาน ประมาณ 3,000 ตน้ เงาะ ลางสาด มังคดุ เป็นตน้

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ทรงเลีย้ งไกพ่ ันธเ์ุ นอ้ื และพันธ์ุไข่

สาหรับการเลี้ยงสัตว์ โปรดเกล้าฯ ให้สั่งไก่พันธ์ุไข่จากต่างประเทศหลายพันธุ์ จานวน
ประมาณ 2,000 ตัว เพื่อทดสอบเล้ียง โดยฝกั ไข่ไก่ด้วยเคร่ือง นอกจากนี้ยังทรงเลี้ยงเป็ดพันธ์ุ
ปักก่ิง ห่าน และวัวพันธุ์เนื้อประมาณ 100 ตัว โดยเลี้ยงตามธรรมชาติ ทั้งน้ีเพื่อช่วยในการ
ปราบหญา้

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ มีพระราชประสงค์ท่ีจะให้วังสวนบ้านแก้วนี้ดาเนิน
กิจการในด้านการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ผลนานาชนิด ท้ังท่ีเป็นพืชไม้ผลในท้องถ่ินและ
พืชและไมผ้ ลจากที่อื่น ตลอดจนมกี ารเลี้ยงสัตว์ เพ่ือท่ีจะใหเ้ ป็นไร่ตัวอย่างมากกว่าเป็นการค้า
โดยทาการทดลองว่าหากปลูกพืชหรือเล้ียงสัตว์ชนิดใดได้ผลดี ก็จะทรงนาเอาความรู้น้ันออก
เผยแพรแ่ ก่ประชาชน

หม่อมราชวงศ์สมัครสมาน กฤดากร ราชเลขานุการในพระองค์ถึงแก่กรรม หม่อมเจ้า
ผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ พระขณิฐาของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ทรงดารงตาแหน่งราช
เลขานุการ แทน และประทับท่พี ระตาหนักดอนแค สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ได้เสด็จฯ
มาประทับกบั หม่อมเจา้ ผ่องผสั มณี จนกระทัง่ เสดจ็ พระราชดาเนินกลับไปประทบั ณ วังศุโขทยั
เปน็ การถาวร

สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณฯี โปรดการปลูกตน้ ไม้ ทาสวน

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ โปรดดอกไม้เป็นอย่างย่ิง เม่ือทรงว่างจากพระราช
กรณียกจิ แล้ว กโ็ ปรดที่จะประทบั ในเรือนเพาะชา ทรงปลูกต้นไม้รดน้า ใส่ปุ๋ยด้วยพระองค์เอง
บริเวณพระตาหนักใหญ่และพระตาหนักดอนแคจึงงดงามด้วยพันธ์ุไม้นานาชนิด ทัง้ ไม้ยืนต้น
เช่น มะฮอกกานี ราชพฤกษ์ (คูณ) ศรีตรัง เสลา อินทนิล หางนกยูงฝรั่ง และเหลืองอนิ เดีย ซงึ่
ให้ท้ังความร่มรื่นและความงามยามที่ดอกบานสะพรั่ง สวนไม้พุ่มที่ช่วยเติมแต่งสีสันและให้

กล่ินหอม ล้วนมหี ลากหลาย เช่น ล่ันทม แก้วแคฝรั่งโศกสปัน ดอนย่า เป็นต้น นอกจากน้ี ยังมี
ไม้เถาเล้ือย เช่น พุทธชาด พวงแสด พวงทอง พวงชมพู พงแก้มแดง พวงคราม พวงโกเมน
และพวงหยก ซึ่งเป็นพันธ์ุไม้ที่หายากและมีดอกที่สวยงามแปลกตา ส่วนตามถนนบริเวณพระ
ตาหนักทรงปลูกกว่าส่ีทิศ บังสวรรค์ ซึง่ เป็นไม้ดอกประเภทหัว (Bulbs) ทเ่ี มื่อถงึ ฤดูกาลก็จะมี
ดอกท่ีสร้างสสี ันสดใสโดยรอบบริเวณพระตาหนกั ท้งั สอง

สวนส่วนพระองค์ สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี

ด้วยเหตุผลทีส่ มเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ โปรดการปลูกต้นไม้ ทาสวน จึงโปรดให้
จัดสวนส่วนพระองค์บริเวณพ้ืนที่ระหว่างพระตาหนักใหญ่ และพระตาหนักดอนแคเป็นที่
ประทับทรงพระสาราญส่วนพระองค์ โดยก่อกาแพงด้วยอิฐโปร่งรอบบริเวณ ภายในบริเวณ
สวนร่มรื่นและงดงามด้วยพันธุ์ไม้ท่ีทรงโปรดปราน เช่น ลิ้นจ่ี มังคุด มะปริง มะปราง มเี ล้าไก่
สาหรับเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ มีกรงนกขนาดใหญ่ที่สร้างคลุมต้นไม้สาหรับเล้ียงนกนานาชนิด
ด้านหลังสวนส่วนพระองค์ โปรดให้สงวนตน้ ใหญ่ไว้ให้สภาพเป็นปา่ ธรรมชาติ

พระตาหนักใหญ่และพระตาหนักดอนแคจึงงดงามด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ยืนต้น
เช่น มะฮอกกานี ราชพฤกษ์ (คูณ) ศรีตรัง เสลา อนิ ทนิล หางนกยูงฝรั่ง และเหลืองอินเดีย ซึ่ง
ให้ท้ังความร่มร่ืนและความงามยามท่ีดอกบานสะพรั่ง สวนไม้พุ่มที่ช่วยเติมแต่งสีสันและให้
กล่นิ หอม ล้วนมหี ลากหลาย เช่น ลั่นทม แกว้ แคฝรั่งโศกสปัน ดอนย่า เป็นต้น นอกจากน้ี ยังมี
ไม้เถาเลื้อย เช่น พุทธชาด พวงแสด พวงทอง พวงชมพู พงแก้มแดง พวงคราม พวงโกเมน
และพวงหยก ซ่ึงเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและมีดอกที่สวยงามแปลกตา ส่วนตามถนนบริเวณพระ
ตาหนักทรงปลูกกว่าส่ีทศิ บังสวรรค์ ซ่งึ เป็นไมด้ อกประเภทหัว (Bulbs) ที่เมอ่ื ถึงฤดูกาลกจ็ ะมี

ดอกที่สร้างสีสันสดใสโดยรอบบริเวณพระตาหนักท้ังสอง บริเวณท่ีเป็นสวนดอกไม้ส่วน
พระองค์ อยู่ด้านตะวันออกของพระตาหนักใหญ่ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวมีสระเล้ียงเต่า
เลี้ยงปลาและสระน้าท่ีสร้างเป็นระดับลดหล่ันมาเพื่อให้น้าไหลรินลงสู่เบ้ืองล่าง สวนดอกไม้
แห่งนี้เป็นสถานท่ีทรงสาราญพระราชหฤทัยของพระองค์ตลอดเวลาท่ีประทับ ณ สวนบ้าน
แกว้

สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี ให้ความรกู้ ารทอเสอ่ื กบั พสกนกิ ร

ระหว่างทป่ี ระทับ ณ สวนบา้ นแกว้ สมเดจ็ พระนางเจ้าราไพพรรณี ได้ทรงเร่ิมพัฒนาการ
ทอเสื่อจันทบูร ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวจังหวัดจันทบุรี ให้มีคุณภาพสีสันและ
รปู แบบทีง่ ดงามขึ้น เนอ่ื งจากทรงพบขอ้ บกพร่องของเส่ือจันทบูรหลายประการ เช่น สีของเส่ือ
มักจะตกและมีเพียงไม่กี่สี ซ่ึงส่วนมากเป็นสีเข้ม เช่น เขียว เหลือ แดง เป็นต้น พระองค์จึง
โปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงงานทอเสื่อขึ้นในสวนบ้านแก้ว โดยสั่งซ้ือกกตากแห้ง จากชาวบ้านมา
เป็นวัตถดุ ิบในการทอเสื่อและมีพระราชดาริใหป้ รับปรุงคุณภาพสีทใี่ ช้ย้อม กก โดยมหี มอ่ มเจ้า
กอกษัตริย์ สวัสดิวัฒน์พระอนุชาซ่ึงเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมีมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ช่วยค้นคว้า
วิธยี ้อมกกไม่ให้สีตก และคิดกรรมวิธฟี อกกกใหข้ าวกอ่ นนาไปย้อมสี ซง่ึ ทาให้สามารถย้อมกก
เป็นสอี ืน่ ๆ ได้ เช่นสีชมพู เหลอื งออ่ น ขาว เปน็ ต้น

สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณีทรงพฒั นาการทอเสอื่

นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ยังทรงออกแบบกระเป๋าเสื่อใหม้ ีรูปทรงท่ี
ทันสมยั ลวดลายสวยงามท้ังยงั สง่ เสริมให้นาเส่ือกกมาผลติ เปน็ ของใชป้ ระเภทอ่ืน เชน่ กระเป๋า
เอกสาร ถาด ท่ีรองแก้ว ที่รองจาน กล่องใส่กระดาษเช็ดมอื ฯลฯ โดยทรงออกแบบตรวจตรา
คุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยพระองค์เอง และโปรดเกล้าฯให้ติดเคร่ืองหมายการค้าเป็นรูปคนหาบ
กระจาด มีอักษรย่อ ส.บ.ก (สวนบา้ นแก้ว) ใช้ช่ือวา่ “อสุ าหกรรมชาวบ้าน”ซึง่ เป็นทนี่ ิยมอยา่ ง
แพร่หลาย ทง้ั นี้ด้วยมีพระราชประสงค์ทจี่ ะใหโ้ รงงานทอเส่ือของพระองค์เป็นสถานทเ่ี ผยแพร่
ความร้ดู า้ นการประกอบอาชีพใหแ้ ก่ราษฎร

พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี และสมเดจ็ พระบรมราชินนี าถ

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอ
ดลุ ยเดชฯ และสมเดจ็ พระนางเจ้าสินริกติ ิ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดาเนินมาทส่ี วน
บ้านแกว้ การเสด็จพระราชดาเนินคร้ังน้ี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกต้นจาปาไว้
ด้านข้างพระตาหนักใหญ่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นเงาะไว้
บริเวณเดียวกนั

สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณฯี โปรดเลี้ยงสุนขั

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี โปรดสุนัขมาก ทรงเล้ียงไว้ 12 ตัว เม่ือเวลาเสด็จใน
สวนบ้านแก้ว สุนัขทั้ง 12 ตัว จะตามเสด็จพระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง ทั้งทรงสร้างสระน้าให้
สุนัขลงเล่นโดยสร้างไว้ด้านหน้าพระตาหนักดอนแค นอกจากน้ียังทรงเลี้ยง วัว เก้งและหมีที่
ทรงเลีย้ งไว้ดุมาก
ทรงหาทุนจัดสร้างตกึ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบรุ ี

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณฯี ทรงทาพธิ ีเจิมป้ายโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

คร้ังสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดาเนินมาทอดพระเนตรที่ดินที่
จังหวัดจันทบุรีนั้นทรงช่วยข้าราชบริพารเตรียมพระกระยาหารและทรงทามีดบาดพระดัชนี
เป็นรอยแผล จึงเสด็จพระราชดาเนินไปยังโรงพยาบาลประจาจังหวัดจันทบุรี ซ่ึงสร้างข้ึนมา
ตั้งแต่พุทธศักราช 2453 ทรงประสบกับภาวะขาดแคลนและยากไร้ของโรงพยาบาลซ่ึงมีเพียง
อาคารเล็ก ๆ เพียงหลังเดียวท่ีอยู่ในสภาพทรุดโทรม ทรงตระหนักว่าการรักษาพยาบาลแก่
ประชาชนนั้นยังไม่เพียงพอเป็นการสมควรที่จะจัดสร้างตึกและจัดหาเคร่ืองมือสาหรับการ
รกั ษาพยาบาลใหม้ ากขนึ้ พระองคม์ พี ระราชดาริวา่ ควรสรา้ งตึกผ่าตัดพร้อมเครื่องมอื ท่ที ันสมัย
ขึ้นมาก่อนเพื่อช่วยเหลือประชาชนท่ีต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้อย่างทันท่วงทีโดย
ไม่ต้องเดินทางไปรักษายังพระนครอันมีความเส่ียงต่อการเสียชีวิตได้ พระองค์ทรงรับเป็นพระ
ราชภาระในการจดั หาทุนเพอื่ สรา้ งตกึ ผา่ ตดั ทง้ั ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สว่ นพระองค์เป็น
ทุนในเบ้ืองต้นในการสร้างตึกของโรงพยาบาล และแจ้งพระราชประสงค์ไปยังพระบรมวงศานุ
วงศ์ ข้าราชการและประชาชนด้วยจันทบุรีในการหาทุนทานุบารุงจัดสร้างตึกใหม่ให้

โรงพยาบาล ท้ังพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแสดงละครในพระราชินูปถัมภ์เพื่อจัดหาทุน
ก่อสรา้ งตกึ ผา่ ตดั ให้แกโ่ รงพยาบาลประจาจังหวัดจนั ทบุรี

พระบรมรปู พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หัว ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จงั หวดั จันทบรุ ี

เม่ือการก่อสร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช 2497 ได้พระราชทานนามตึกหลังนี้ว่า “ตึก
ประชาธิปก” และพระราชทานตราศักดิเดชน์ ซง่ึ เป็นตราประจาพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยา
เธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ อันเป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยหู่ วั ให้เป็นตราประจาตกึ และทรงสรา้ งพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าตึกด้วยด้วยพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี
รัฐบาลสมัยนั้นจึงสนองพระราชดาริโดยการปรับปรุงโรงพยาบาลให้มีขนาดใหญ่และทันสมัย
ย่ิงข้ึน คือขยายจากโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง เป็น 150 เตียง พร้อมด้วยอุปกรณ์การแพทย์
ท่ีทันสมัย และได้สร้างวิทยาลัยพยาบาลเพ่ือเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิชาพยาบาลผดุง
ครรภ์และอนามัยของภาคตะวันออกท้ังให้มีการเปล่ียนนามโรงพยาบาลเป็น “โรงพยาบาล
พระปกเกล้า” เพ่ือน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว

พระราชทานประกาศนยี บตั ร ให้นกั ศกึ ษาพยาบาล วทิ ยาลยั พยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯได้ทรงรับโรงพยาบาลพระปกเกล้า และวิทยาลัย
พยาบาลไว้ในพระราชินูปถมั ภ์ และได้รับระราชทานทุนในการดาเนินงานของโรงพยาบาลชื่อ
“ทุนประชาธิปก นอกจากน้ี พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินและพระราชทรัพย์เป็นจานวน
ท้ังสิ้น 2,715,041.68 บาท เป็นทนุ เริ่มต้นในการจัดตง้ั ตอ่ มาได้พฒั นาขึน้ เปน็ “มลู นิธิประชาธิ
ปก” ในพุทธศักราช 2518 "มูลนิธิประชาธิปก" (ต่อมาคือ มูลนิธิประชาธิปก-ราไพพรรณี)
เพอื่ สนับสนนุ กจิ การของโรงพยาบาลพระปกเกลา้ วิทยาลยั พยาบาลพระปกเกลา้ จนั ทบรุ ี และ
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ราไพพรรณี ในการกอ่ สร้าง จดั ซอ้ื อปุ กรณ์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของ
สถาบันดังกล่าว และเพื่อให้เงินสมทบ "ทุนประชาธิปกบรมราชานุสรณ์" และช่วยเหลือ
นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เงื่อนไขสาคัญของการรับทุนคือผู้รับทุนต้องกลับมา
ทางานพฒั นาท้องถนิ่ ของตนตอ่ ไป

พระมหากรณุ าธคิ ณุ แกว่ ทิ ยาลยั ครจู ันทบรุ ี (มหาวิทยาลยั ราชภฏั ราไพพรรณี)

วทิ ยาลยั ครจู นั ทบรุ ี

ในปี พ.ศ. 2511 รฐั บาลกราบบงั คมทลู พระกรณุ าขอรบั พระราชทานสวนบา้ นแก้ว เพอ่ื
ก่อตั้งเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี ทรงตัดสินพระราชหฤทยั ขายวัง
สวนบ้านแก้วให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากทางกระทรวงต้องการที่ดินสร้างโรงเรียน
ฝึกหัดครูจันทบุรี (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี) จึงทรงตัดสินพระทัยขายให้
ในราคาถกู และไดเ้ สดจ็ พระราชดาเนินกลับไปประทับ ณ วังศโุ ขทยั เป็นการถาวร เนื่องจากทรง
มีพระประยูรญาติและข้าราชบริพารส่วนใหญ่เป็นสตรี ยากท่ีจะตามเสด็จพระราชดาเนินไป
ต่างจังหวดั ประกอบกับพระองค์ทรงมพี ระชนมายุสงู ขึ้นและพลานามยั ไม่สมบรู ณ์นกั

พระบรมรูป สมเด็จพระนางเจา้ ราไพพรรณี ณ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ราไพพรรณี

รัฐบาลได้ทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน 18 ล้านบาท เป็นค่าส่ิงปลูกสร้างและที่ดิน สมเด็จพระ
นางเจ้าราไพพรรณีฯ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ด้วยความเต็มเป่ียมพระราชหฤทัย
ด้วยทรงมุ่งส่งเสรมิ ให้จังหวัดจนั ทบุรไี ด้มสี ถาบันการศึกษาช้นั สงู เพอ่ื ให้มกี ารศกึ ษาแก่เยาวชน
ทม่ี ีภมู ลิ าเนาในจงั หวัดจนั ทบุรี และจงั หวัดใกลเ้ คยี ง

กระทรวงศกึ ษาธิการได้ประกาศตงั้ วทิ ยาลยั ครูจนั ทบุรี เมือ่ วันท่ี 8 มิถุนายน พุทธศักราช
2515 เริ่มทาการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ต่อมาในปีพุทธศักราช 2516
วิทยาลัยได้รับพระราชทานตรา “ศักดิเดชน์” ซ่ึงเป็นตราประจาพระองค์พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั เป็นตราประจาวิทยาลัย และปีพุทธศักราช 2528 วิทยาลัยครูจันทบุรีก็
ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันให้
อญั เชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลท่ี 7 เป็น
นามของวิทยาลยั คือ “วทิ ยาลัยราไพพรรณี”

วิทยาลัยราไพพรรณี เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการ
อดุ มศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต้ังอยู่เลขที่ 41 หม่ทู ี่ 5 ตาบลท่าช้าง อาเภอเมือง จังหวัด
จันทบุรี ประกาศจัดตั้งคร้ังแรกเป็น “วิทยาลัยครูจันทบุรี” เมื่อวันที่15 มิถุนายน 2515 ณ
บริเวณวังสวนบ้านแก้ว อันเคยเป็นท่ีประทับของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรม
ราชินีในรัชกาลที่ 7 ซ่ึงพระราชทานให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี และ
ได้รับพระราชทานตราศักดิเดชน์ ซ่ึงเป็นตราประจาพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยูห่ ัว เป็นตราประจาวทิ ยาลัย

เดือนมีนาคม 2528 ได้รับพระบรมราชานุญาตใหอ้ ัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระ
นางเจา้ ราไพพรรณี เป็นนามของวิทยาลัย วา่ “วิทยาลยั ราไพพรรณี”

เมอื่ วนั ท่ี 21 มถิ ุนายน 2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสงั ฆราชสกล มหาสังฆปริ
นายก ได้พระราชทานคติธรรมประจาวิทยาลัยราไพพรรณีว่า “ปณฺฑิโต นิปุณ สวิเธติ”
แปลวา่ “บัณฑิตยอ่ มฉลาดจดั การ”

วันท่ี 14 กุมภาพันธ์ 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทานชื่อให้เป็น
“สถาบันราชภัฏราไพพรรณี” เม่ือวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยราช
ภัฏราไพพรรณี” ตามประกาศพระราชบัญญตั มิ หาวิทยาลยั ราชภฏั

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงพระมหากรุณาธิคุณแก่ วิทยาลัยครู
จันทบรุ อี ย่างหาที่เปรยี บมิได้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ เสดจ็ พระราชดาเนินวทิ ยาลยั
ครูจันทบุรี 3 คร้ัง ดังนี้ วันท่ี 13 มนี าคม พ.ศ.2516 เสด็จพระราชดาเนินวิทยาลัยครูจันทบุรี

เป็นคร้ังแรก วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2518 เสด็จฯ พระราชทานประกาศนียบัตร นักศึกษา
วิทยาลัยครูจันทบุรีที่สาเร็จการศึกษาประจาปีการศึกษา 2517 วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2519
เสด็จฯ พระราชทานประกาศนียบัตร นักศึกษาวิทยาลัยครูจันทบุรีทสี่ าเร็จการศึกษา ประจาปี
การศกึ ษา 2518

สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณฯี ทรงประชวร

พุทธศักราช 2518 ขณะสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ทรงมพี ระชนมพรรษาอายุได้
71 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ ทรงมีอาการประชวรด้วยพระโรคความดันโลหิต
สูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต้ังคณะแพทย์ข้ึนดูแลพระ
อาการ และหลังจากน้ัน 2 ปี คือพ.ศ.2526 พระองค์เสด็จฯ เข้าไปทรงรักษาพยาบาลใน
โรงพยาบาลสมติ ิเวชระยะหนึ่ง จึงได้เสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัยตามเดิม ซง่ึ ตลอด
ระยะเวลาที่ประชวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่
ห่วงใยในพระอาการอยู่เสมอ โดยทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ั้งคณะแพทยศ์ าสตร์เพอ่ื ถวาย
การดูแลพระอาการอย่างใกล้ชิด อีกท้ังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกไ็ ด้

เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมที่โรงพยาบาลและท่ีวังศุโขทยั มิได้ขาด พร้อมกับทรงจัดหาดอกไมป้ ระดับ
พระตาหนักและได้โปรดเกล้าฯ ใหเ้ จ้าหน้าทข่ี องสวนจิตรลดา นาต้นไม้ไปปลูกถวายในบริเวณ
วังศุโขทัย โดยมพี ระราชประสงค์ให้สมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี ทรงพระเกษมสาราญ

พระเจ้าอยหู่ ัว สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ พร้อมด้วยสมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ
เสดจ็ เย่ยี มสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณฯี

บางครง้ั จะเสด็จมาประทบั ทพ่ี ระตาหนกั ชมดง หวั หนิ ประจวบคีรีขันธ์ ซง่ึ ด้านข้างพระ
ตาหนักชมดง หัวหิน มีเฉลียงเป็นแนวยาวทง้ั 2 ข้าง ซงึ่ สมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯทรง
ใช้เป็นท่ีเสวยพระสุธารรสชา ณ ที่นี้ทรงเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธออกี ทงั้ รับเสด็จฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบ
รมราชชนนีพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากลั ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวิ าสราช
นครินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระ
ประยูรญาติ ได้ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และทรงห่วงใยสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณีฯ เป็น
อย่างย่ิงส่ิงที่ทรงปฏิบัติอย่างสม่าเสมอคือหลายพระองค์ได้เสด็จพระราชดาเนินไปทรงเย่ียม
เยียนสมเดจ็ พระนางเจา้ ราไพพรรณี เปน็ เนืองนติ ย์


Click to View FlipBook Version