The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จัดทำโดย
ธนกร แก้วเวียง ม.2/3 เลขที่ 12

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Deweyyy KUBBB, 2023-07-30 23:49:24

รายงานเรื่องวอลเลย์บอล

จัดทำโดย
ธนกร แก้วเวียง ม.2/3 เลขที่ 12

0


1 คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา พ22101 ของระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษา หาความรู้ในเรื่องของวอลเลย์บอล และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน นักเรียน ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมี ข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ธนกร แก้วเวียง ผู้จัดทำ วันที่31/07/2566


2 สารบัญ ชื่อ หมายเลขหน้า คำนำ ................................................................................................................................. 1 สารบัญ .............................................................................................................................. 2 ประวิติและความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล ................................................................................... 5 วอลเลย์บอลในไทย............................................................................................................................................5 ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ...................................................................................... 6 ประโยชน์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ............................................................................................... 7 ประโยชน์และคุณค่าทางร่างกาย .............................................................................................................................7 ประโยชน์และคุณค่าทางจิตใจ................................................................................................................................7 ประโยชน์และคุณค่าทางสังคม................................................................................................................................7 มารยาทในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล .............................................................................................. 8 ทักษะพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล .................................................................................................... 9 ทักษะที่ 1 การอันเดอร์วอลเลย์บอล..........................................................................................................................9 ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่น..............................................................................................................................9 ท่าการอันเดอร์...........................................................................................................................................................9 ทักษะที่ 2 การส่ง(เซ็ต)......................................................................................................................................10 การยกมือทั้งสองในการเซ็ต.......................................................................................................................................... 10 ทักษะที่ 3 การตบลูกวอลเลย์บอล..........................................................................................................................10 วิธีการตบลูกวอลเลย์บอล............................................................................................................................................ 10 ทักษะที่ 4 การเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอล........................................................................................................................11 หลักสำคัญในการเสิร์ฟ............................................................................................................................................... 11 ลักษณะของการเสิร์ฟโดยทั่วไป ..................................................................................................................................... 11 ทักษะที่ 5 การสกัดกั้น(ป้องกันการตบ).....................................................................................................................11 วิธีสกัดกั้น.............................................................................................................................................................. 11 การอันเดอร์วอลเลย์บอล-การส่ง(เซ็ต) ...........................................................................................12 การอันเดอร์วอลเลย์บอล....................................................................................................................................12 ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่น........................................................................................................................... 12 ท่าการอันเดอร์........................................................................................................................................................ 12 การส่ง(เซ็ต)..................................................................................................................................................12


3 การยกมือทั้งสองในการเซ็ต.......................................................................................................................................... 12 การเคลื่อนไหวในกีฬาวอลเลย์บอล ..............................................................................................13 การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Forward Movement)............................................................................................................13 การเคลื่อนที่ด้านข้าง (Sideways)...........................................................................................................................13 การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง (Moving backwards).............................................................................................................13 การเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอล ..........................................................................................................14 ลักษณะของการเสิร์ฟโดยทั่วไป ..................................................................................................................................... 14 กติกาและการแข่งขัน ..............................................................................................................15 สนามแข่งขัน ................................................................................................................................................15 เส้นเขตแดน (Zone lines) ..................................................................................................................................15 ตาข่าย (Net).................................................................................................................................................15 ลูกบอล.......................................................................................................................................................16 ผู้เล่น .........................................................................................................................................................16 ข้อห้ามของผู้เล่น ............................................................................................................................................16 หัวหน้าชุด ...................................................................................................................................................17 ผู้ฝึกสอน .....................................................................................................................................................17 การอบอุ่นร่างกายของชุด ...................................................................................................................................17 ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด .....................................................................................................................................17 ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน .........................................................................................................................17 การผิดตำแหน่ง..............................................................................................................................................18 การหยุดการเล่น .............................................................................................................................................18 การขอเวลานอก.............................................................................................................................................18 การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด ......................................................................................................................18 การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ...............................................................................................................................18 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น..........................................................................................................................................18 การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ ...............................................................................................................................18


4 การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ..................................................................................................................................19 การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน....................................................................................................................19 ผลการแข่งขัน ...............................................................................................................................................19 ผู้ชนะในการแข่งขัน .........................................................................................................................................19 การเสิร์ฟ .....................................................................................................................................................19 ลำดับการเสิร์ฟ ..............................................................................................................................................19 การเสิร์ฟเสีย.................................................................................................................................................19 การถูกลูกบอล...............................................................................................................................................19 ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า...................................................................................................................................20 การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย..................................................................................................................................20 การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้.................................................................................................20 การตบลูกบอล...............................................................................................................................................20 การสกัดกั้น...................................................................................................................................................20 บรรณานุกรม .......................................................................................................................21


5 ประวิติและความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬา วอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็น ส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ต บอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์(Mintonette) ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์(Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์อัลเฟรด ทีเฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพล ศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์(Spring-field College) เมื่อปีค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอด นิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ วอลเลย์บอลในไทย เข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยชาวจีนและชาวญวน ในปีพ.ศ. 2477 อาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ ได้จัดพิมพ์ตำรากติกาวอลเลย์บอลและให้จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลเป็นครั้ง แรก และในปีพ.ศ.2500 ประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลซึ่งมีพลเอกสุรจิตร จารุเศรณีเป็นนายก สมาคมคนแรก


6 ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ผู้เล่นวอลเลย์บอลจะไม่ได้รับอันตรายจากการเล่นหากคำนึงความปลอดภัยโดยทั่วไปดังนี้ 1.ก่อนจะเริ่มเล่นวอลเลย์บอลควรให้แพทย์ตรวจร่างการเสียก่อน เพราะอาจมีโรคบางอย่างที่แพทย์ ตรวจพบแล้วไม่อนุญาตให้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลก็ได้ 2.ก่อนการเล่นวอลเลย์บอลทุกครั้งควรสังเกตดูพื้นที่สนามที่ใช้เล่นเสียก่อนว่าขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายหรือสิ่งแหลมคมบนพื้นสนามหรือลื่นหรือไม่ หากสภาพสนามไม่ดีย่อมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้ 3.เมื่อรู้สึกไม่สบายขณะเล่นควรหยุดเล่นทันทีในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอลงไปชั่วคราวเช่น หลังท้องเสีย อดนอน หรือเพิ่งหายไข้ใหม่ๆ การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่อาจจะกลายเป็นหนักเกินไป หรือมีอาการใด ต่อไปนี้ก็ควรหยุดเล่นทันทีเช่น รู้สึกเหนื่อยผิดปกติใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง เวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ 4.อย่าเล่นวอลเลย์บอลกลางแจ้งในขณะที่ฝนตกหรือแดดร้อนจัดเพราะนอกจากจะไม่เป็นการรักษา สุขภาพของตนเองแล้ว ถ้าเล่นลูกบอลที่ทำด้วยหนังก็จะทำให้ลูกบอลหมดสภาพการใช้งานเร็วขึ้นด้วย 5.ก่อนการเล่นลูกทุกครั้งต้องมีการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความพร้อมทั้ง ร่างกายและจิตใจที่จะเล่นต่อไป 6.เครื่องแต่งกายในการเล่นต้องเป็นชุดที่เหมาะสม เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเคลื่อนไหว และความอดทนในการเล่น กีฬาแต่ละอย่างมีรูปแบบเครื่องแต่งกายทั้งเสื้อกางเกงและรองเท้า เสื้อผ้าที่รุ่มร่าม รองเท้าที่ไม่สมกับเท้าทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเท่าที่ควร และยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดอุบัติเหตุด้วย ในด้านความอดทนต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนจากร่างกายเป็นสำคัญ กรณีที่สวมเสื้อผ้ามิดชิดเกินไป หรือใช้เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้น้อยจะทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายลำบากยิ่งขึ้น 7.ในการฝึกหรือเล่นแต่ละครั้งไม่ควรนานหรือหักโหมเกินไป เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่ เหมือนกัน หากรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพักสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยฝึกหรือเล่นใหม่ 8.ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ เพราะอาจจะทำให้กระเพาะแตก ได้จึงควรงดอาหารหนักก่อนฝึกซ้อมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง 9.ด้านจิตใจในระหว่างการเล่นหรือการฝึกซ้อมต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจใน ระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้จริงๆก็ไม่ควรฝึกซ้อมเพราะจะทำให้เสียสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


7 ประโยชน์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาทุกชนิดย่อมจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อผู้เล่น การเล่นกีฬา วอลเลย์บอลก็เช่นเดียวกัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆดังนี้ ประโยชน์และคุณค่าทางร่างกาย - ได้ออกกำลังกายอย่างมีระบบ มีกฎเกณฑ์และกติกา - เป็นการเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตแข็งแรง ทำให้ระบบร่างกายทำงานเป็นปกติดี - ฝึกให้ร่างกายมีความคล่องแคล่วว่องไว - เสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่ชีวิตของตัวผู้เล่นเอง ประโยชน์และคุณค่าทางจิตใจ - ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ลดความเครียด - เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่น - ฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน - ฝึกจิตใจให้มีสมาธิมีความมั่นคงเข้มแข็งทางจิตใจ ฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้จักแพ้ชนะ และให้อภัย - ทำให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม ความอดทน และรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น - วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นเป็นทีมจึงช่วยให้เกิดความรักใคร่ สามัคคีในหมู่คณะ ประโยชน์และคุณค่าทางสังคม - ทำให้ผู้เล่นมีเพื่อน และรู้จักคนอื่นๆมากขึ้น - เมื่อเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ย่อมจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมด้วย - เกิดการสร้างงานและการกระจายรายได้เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เล่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง - เป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างจังหวัด จนถึงระหว่างประเทศ - ผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จย่อมนำชื่อเสียงมาสู่ตนเอง หรือต่อประเทศชาติได้


8 มารยาทในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาทุกชนิดมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตให้เจริญเติบโตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การเล่นกีฬาจะช่วยให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ลดความตึงเครียด เป็นการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์กีฬาวอลเลย์บอลก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นจะพบความสำเร็จตาม จุดมุ่งหมายได้ก็ควรจะต้องมีมารยาทในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ดีดังต่อไปนี้ 1. แต่งกายให้เหมาะสม และใส่เครื่องแบบชุดกีฬาของทีมตนให้ถูกต้อง เมื่อเข้าร่วมการแข่งขัน 2. เล่นและปฏิบัติตนตามกติกาอย่างเคร่งครัด 3. เล่นอย่างมีมารยาทต่อผู้เล่นทุกคนและทุกฝ่าย 4. ให้เกียรติต่อผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม 5. ให้เกียรติต่อผู้ชมตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 6. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ และพูดจาโต้เถียง ก้าวร้าวต่อผู้อื่น 7. ใจคอหนักแน่น อดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดโทสะได้ 8. ผู้เล่นต้องยอมรับ และเคารพคำตัดสินของผู้ตัดสิน 9. ผู้เล่นต้องเชื่อฟัง เคารพคำสั่งของหัวหน้าทีม และผู้ฝึกสอน 10. ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดเต็มความสามารถของตน 11. เมื่อชนะก็ไม่ควรดีใจจนเกินไป และไม่ทับถม เยาะเย้ยฝ่ายที่แพ้ 12. เมื่อแพ้ก็ไม่เสียใจจนเกินไป ค้นหาจุดด้อยของตนเอง และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น 13. รู้จักให้อภัย ไม่ติเตียนกล่าวโทษเพื่อนร่วมทีม และถึงแม้เพื่อนร่วมทีมจะทำผิดพลาดก็ไม่ควร แสดงอาการไม่พอใจ 14. ไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญใจให้กับผู้อื่น


9 ทักษะพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะส่วนบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเล่นหลายประเภท ซึ่งผู้ เริ่มเล่นวอลเลย์บอลจำเป็นต้องเริ่มฝึกในพื้นฐานเหล่านี้สำหรับในตอนนี้จะได้นำเสนอทักษะต่างๆ ที่จำเป็น สำหรับการเล่นวอลเลย์บอลในภาพรวมทุกทักษะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละทักษะมีวิธีการและความสำคัญ อย่างไร รูปแบบทักษะพื้นฐาน ซึ่งทักษะทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน ในการฝึกนอกจากผู้เล่นจะ สามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานทั้งหมดได้แล้วยังต้องสามารถเชื่อมโยงการเล่นในแต่ละทักษะได้ด้วย สำหรับการ เล่นเป็นทีมนั้นหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญในแต่ละทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเล่นวอลเลย์บอลก็จะทำให้การ เล่นเป็นทีมทำได้ยาก ทักษะที่ 1 การอันเดอร์วอลเลย์บอล ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่น 1. หงายมือทั้งสองข้าง 2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง 3. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด 4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด 5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด 6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน กำมือ 7. กำมือทั้งสองข้าง 8. นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน 9. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน ท่าการอันเดอร์ 1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่ 2. ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า 3. ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อยน้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้างบริเวณโคนหัวแม่เท้าใต้ฝ่าเท้า 4. จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล


10 ทักษะที่ 2 การส่ง(เซ็ต) การยกมือทั้งสองในการเซ็ต 1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ (10เซนติเมตร) 2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กาง นิ้วออกนิ้วงอเป็น 3. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก 4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม ทักษะที่ 3 การตบลูกวอลเลย์บอล วิธีการตบลูกวอลเลย์บอล 1. วิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด 2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต 3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ 4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ 5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา 6. จังหวะที่จะตบให้กดไหล่ซ้ายพร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่และลำตัว 7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว


11 ทักษะที่ 4 การเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอล การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ ข่มคู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนน โดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบ โต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่ายตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิด ความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วย วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน หลักสำคัญในการเสิร์ฟ 1. ตำแหน่งการยืน 2. การโยนลูกบอล 3. การเหวี่ยงแขน 4. ท่าทางในการเสิร์ฟ ลักษณะของการเสิร์ฟโดยทั่วไป 1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง 2. การเสิร์ฟลูกมือบน ทักษะที่ 5 การสกัดกั้น(ป้องกันการตบ) วิธีสกัดกั้น 1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่ 2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก 3. งอเข่าเล็กน้อย 4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า 5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม


12 การอันเดอร์วอลเลย์บอล-การส่ง(เซ็ต) การอันเดอร์วอลเลย์บอล ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่น 1. หงายมือทั้งสองข้าง 2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง 3. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด 4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด 5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด 6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน กำมือ 7. กำมือทั้งสองข้าง 8. นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน 9. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน ท่าการอันเดอร์ 1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่ 2. ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า 3. ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อยน้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้างบริเวณโคนหัวแม่เท้าใต้ฝ่าเท้า 4. จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล การส่ง(เซ็ต) การยกมือทั้งสองในการเซ็ต 1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ (10เซนติเมตร) 2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กาง นิ้วออกนิ้วงอเป็น 3. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก 4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม


13 การเคลื่อนไหวในกีฬาวอลเลย์บอล การเคลื่อนที่ในการเล่นวอลเลย์บอลอาจจะแบ่งลักษณะการเคลื่อนที่หลักๆ ได้3 ลักษณะคือ การ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Forward Movement) เป็นทักษะการเคลื่อนที่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ไปเล่นบอลด้านหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าที่เป็นเทคนิค ขั้นสูงสำหรับนักกีฬาคือ การพุ่งไปข้างหน้า (Diving) เทคนิคการพุ่งสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ระยะทางที่ มากกว่าการเคลื่อนที่ลักษณะอื่นด้วยเวลาที่รวดเร็ว - ระยะทาง 3 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเร็ว (Dash) 1.33 วินาที - ระยะทาง 3 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (Dive) ใช้เวลา 1.21 วินาที - ระยะทาง 6 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วใช้เวลา 1.94 วินาที - ระยะทาง 6 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (Dive) ใช้เวลา 1.87 วินาที การเคลื่อนที่ด้านข้าง (Sideways) ลักษณะการเคลื่อนที่ไปด้านข้างควรจะเคลื่อนที่ในลักษณะทแยงมุม 45 องศา เพื่อไปเล่นบอลไม่ควร เคลื่อนที่ไปด้านข้างเล่นบอลในแนวขนานเพราะจะทำให้ควบคุมทิศทางได้ยากการเคลื่อนที่ด้านข้างทแยงมุม 45 องศา มีลักษณะการใช้เท้า 3 แบบคือ - ก้าวเท้าไปด้านข้าง - ก้าวเท้าไขว้ไปด้านข้าง - ก้าวเท้าไปด้านข้างอย่างรวดเร็วหลัง การเคลื่อนที่ไปด้านข้างทั้ง 3 รูปแบบผู้เล่นจะต้องหยุดก่อนที่จะเล่นบอล ส่วนเทคนิคการม้วนตัวการ พุ่งไปด้านข้าง ผู้ฝึกสอนควรจะสอนให้นักกีฬาเมื่อนักกีฬามีระดับความสามารถมากขึ้น เมื่อผู้เล่นต้องเคลื่อนที่ ไปด้านข้างมากกว่า 3 ก้าว การเคลื่อนที่ในลักษณะใดจะเร็วที่สุด มีผลการสำรวจแสดงไว้ดังนี้ – ระยะทาง 3 เมตร ทแยงมุม 45 องศา – เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.51 วินาที – เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.42 วินาที – เคลื่อนที่โดยใช้การพุ่งม้วนตัวใช้เวลา 1.30 วินาที – การเคลื่อนที่ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือขวาจะใช้เวลาหลังตัดสินใจ 1.30 วินาที การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง (Moving backwards) ลักษณะการเคลื่อนที่อาจจะใช้แบบวิ่งอย่างรวดเร็วแล้วหมุนตัวกลับเพื่อเล่นบอลหรือก้าวเท้าถอยหลัง แต่ไม่ว่าจะใช้การเคลื่อนที่ลักษณะใดก็ตามสิ่งที่สำคัญคือ สายตาจะต้องมองไปที่บอลเสมอ


14 การเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอล การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ ข่มคู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนน โดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบ โต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่ายตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิด ความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วย วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ ท่าทางในการเสิร์ฟ 1. ตำแหน่งการยืน 2. การโยนลูกบอล 3. การเหวี่ยงแขน 4. จุดที่มือกระทบลูกบอล ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่า ตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูก ตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ๆ ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป ตำแหน่งการยืน ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือตำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจำนวน มากที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจาก เส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ทำการ เสิร์ฟ เพราะจะทำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและทำให้การ เสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย การโยนลูกบอล ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต่ำ บ้าง ทำให้แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นยำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้าย บ้างขวาบ้าง ก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย การเหวี่ยงแขน การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความ แรงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไร จะต้องทำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการทำงานอย่าง สม่ำเสมอ จุดที่มือกระทบลูกบอล ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอล ในท่านั้น ๆ ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ต้องทำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูก ที่เสิร์ฟ เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมทำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไปแตกต่าง กันด้วย ลักษณะของการเสิร์ฟโดยทั่วไป 1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง 2. การเสิร์ฟลูกมือบน


15 กติกาและการแข่งขัน สนามแข่งขัน สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์(เรียบ) และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบ ไม่มีสิ่งกีด ขวาง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจาก สนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือติดเพดานอย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ บริเวณรอบสนามต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 12.5 เมตร และสนามต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นสังเคราะห์อื่น ๆ ได้แต่ต้องได้รับการ รับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลบอลนานาชาติ(I.V.B.F) เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาด กว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี เส้นเขตแดน (Zone lines) 1.เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความ กว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขต สนามโดยไม่มีกำหนด 2.เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียน ให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของ สนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น 3.เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสอง ด้านของโต๊ะผู้บันทึก ตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนาม ออกเป็น 2 ส่วน แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้ง ให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตา ข่าย


16 ตาข่าย(ต่อ) เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬา หญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย ลูกบอล ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สี ต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม. การใช้ลูกบอล 3 ลูก ในการแข่งขันระหว่างชาติควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน ผู้เล่น ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำ หน้าที่ได้เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้เสื้อของผู้เล่นต้องติด หมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุด เหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อ ระหว่างการแข่งขันได้แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้ กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ในกรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน ข้อห้ามของผู้เล่น ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้า ที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน


17 ข้อห้ามของผู้เล่น(ต่อ) หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้ เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดง ท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น หัวหน้าชุด ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้อง เซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะ ติดต่อสอบถามขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีม ของตน ผู้ฝึกสอน มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับ ทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติกาการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันใน แต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้ เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การอบอุ่นร่างกายของชุด ก่อนเริ่มแข่งขัน แต่ละชุดสามารถอบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย 3 นาทีถ้ามีสนามอบอุ่นร่างกายแยก ต่างหาก แต่ถ้าไม่มีให้อบอุ่นร่างกายได้ชุดละ 5 นาทีและหากหัวหน้าชุดทั้งสองประสงค์จะอบอุ่นร่างกายที่ตา ข่ายพร้อมกันให้ใช้เวลาภายใน 6 – 10 นาทีและให้ชุดที่เลือกเสิร์ฟก่อนเป็นชุดที่อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องส่งใบตำแหน่งเริมเล่นให้ผู้ตัดสินที่ 2 และถือว่าผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามคือผู้ที่เริ่มการเล่น ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน ผู้ที่ไม่มีชื่อในใบตำแหน่งการเริ่มเล่นในเซตนั้นถือว่าเป็นผู้เล่นสำรองในเซต ผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน ต้องนั่งอยู่ที่ม้านั่งในแดนของตนเอง โดยสามารถอบอุ่นร่างกายแบบไม่ใช้ลูกบอลนอกเขตสนามรอบ ๆ และ ต้องมานั่งที่เดิมเมื่ออบอุ่นร่างกายแล้ว สามารถให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมได้


18 การผิดตำแหน่ง ผู้เล่นที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่ผู้เสิร์ฟตีลูกบอลเพื่อเสิร์ฟ จะถือเป็นการผิดตำแหน่ง ซึ่งมี วิธีปฏิบัติดังนี้ เมื่อตรวจพบว่าผู้เล่นผิดตำแหน่งให้ลงโทษทีมที่ผิดทันทีโดยผู้เล่นต้องหมุนไปยังตำแหน่งที่ ถูกต้องทันทีและผู้บันทึกต้องตรวจสอบให้แน่ชดว่าข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อยกเลิกคะแนนทั้งหมด ของชุดที่ผิดกติกา ส่วนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้ ความผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการเสิร์ฟที่ผิดกติกากับการยืนตำแหน่งผิดกติกา ให้ลงโทษการยืน ตำแหน่งผิดเพราะเป็นโทษที่หนักกว่า และเพื่อตรวจพบว่าการหมุนตำแหน่งผิดให้หยุดการเล่นและแก้ไขใหม่ ให้ถูกกต้อง การหยุดการเล่น การหยุดการเล่นที่ถูกต้อง คือ การขอเวลานอก ขอเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาตเมื่อลูกตาย โดย หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การขอเวลานอกต้องไม่เกิน 30 วินาทีต่อครั้ง แต่ละทีมจะขอได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และ เปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อหนึ่งเซต และทีมนั้นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก หากผู้ตัดสินให้สัญญาณเล่นต่อ แล้วถ่วงเวลาหรือหยุดการเล่น การขอเวลานอก การขอเวลานอกควรปฏิบัติดังนี้คือ ผู้เล่นสำรองต้องพร้อม โดยถือป้ายแจ้งหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่ จะถูกเปลี่ยนออก และยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว การแนะนำของผู้ฝึกสอนต้องอยู่นอกเส้นสนาม การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด เพราะสาเหตุมาจากผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ และสามารถเปลี่ยนตัวได้แต่ถ้าเปลี่ยนตัวไม่ได้ต้องให้เวลา พัก 3 นาทีเพื่อทำการปฐมพยาบาล เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บเล่นต่อไม่ได้จะถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่นในเซตนั้น การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ เมื่อใช้เวลานอกครั้งที่ 2 นานเกินเวลาที่กำหนดหลังจากผู้ตัดสินเรียกให้เล่นต่อ แต่ถ่วงเวลาการ เปลี่ยนตัวหลังขอเวลานอกไป 2 ครั้ง แล้วไม่พร้อมที่จะลงเล่นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก 2 ครั้งติดต่อกัน ชุด นั้นจะถูกปรับเป็นแพ้ในเซตนั้น การเปลี่ยนตัวผู้เล่น แต่ละทีมจะขอเปลี่ยนตัวในเซตหนึ่งได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ซึ่งจะต้องทำโดยเร็ว การเปลี่ยนตัวที่ถูกกต้อง คือ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 หรือที่ 2 ผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนทันที หากเปลี่ยนตัวช้าจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก ขณะเปลี่ยนตัวจะไม่มีการแนะนำผู้เล่น การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ เพราะผู้เล่นในสนามถูกเชิญออก และถ้าไม่สามารถจะเปลี่ยนตัวได้ทีมนั้นต้องถกปรับเป็นไม่พร้อมที่ จะเล่น ยกเว้นในกรณีผู้เล่นเกิดบาดเจ็บให้เปลี่ยนตัวได้ในกรณีพิเศษ


19 การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ เปลี่ยนตัวไม่อยู่ในเขตที่กำหนด หรือไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนตัว และชุดนั้นหมดสิทธิ์ขอเวลา นอกแล้ว การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน ให้พักระหว่างเซตได้2 นาทีส่วนการพักระหว่างเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้5 นาทีทั้งสองทีมต้องตั้ง แถวที่เส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสรามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้อง เปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน ผลการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่าง น้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คง คะแนนไว้ตามเดิม ผู้ชนะในการแข่งขัน ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้าม จะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขัน ให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลง แข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต การเสิร์ฟ เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือ ข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดน ฝ่ายตรงข้าม ลำดับการเสิร์ฟ ผู้เล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อ เลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไป เรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้ เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ การเสิร์ฟเสีย การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และ ผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การถูกลูกบอล แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยัง แดนคู่ต่อสู้การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น


20 การถูกลูกบอล(ต่อ) ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัด แจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าว ถือว่าผิดกติกา ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า ผู้เล่นสามารถถูกลูกบอลในเวลาเดียวกันได้และไม่ถือว่าเสียคะแนน คือการสกัดกั้น (Block) และลูก บอลกลับเข้าสู่การเล่นอีก ผู้เล่นฝ่ายที่สกัดกั้นสามารถเล่นลูกได้อีก 3 ครั้ง แต่ถ้าลูกที่ผู้เล่นในลักษณะการสกัด กั้นแล้ว ลูกบอลตกออกนอกสนามไป ฝ่ายถูกลูกบอลเป็นฝ่ายทำออก การเล่นที่ทีมนั้นเล่นลูก 4 ครั้ง หรือคน เดียวเล่นลูก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเล่นลูกผิกกติกา การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ต่อสู้ได้โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวน การเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตา ข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วน หนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้แต่ต้องไม่เป็นการ รบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่แข่งขัน ซึ่งการเล่น ดังกล่าวสามารถทำได้เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอล ยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา การตบลูกบอล ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยขณะที่ สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ส่วนผู้เล่นในแดน หลังสามารถกระโดตบลูกได้แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ ถือว่าเสีย การสกัดกั้น คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจาก แดนของคู่ต่อสู้โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสา อากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่ มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่


21 บรรณานุกรม รัชนก สุรมิตร. วอลเลย์บอล. [ออนไลน์]. 2554. แหล่งที่มา : http://ratchanoksuramit.blogspot.com/2011/11/blog-post_7101.html/ [30 กรกฎาคม 2566] วอลเล่ย์บอล. ประวัติวอลเลย์บอล. [ออนไลน์]. 2556. แหล่งที่มา : http://ballyim.blogspot.com/2013/02/blog-post.html/ [30 กรกฎาคม 2566] volleyball42. ประโยชน์. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา : https://volleyball42.wordpress.com/ ประโยชน์/ [30 กรกฎาคม 2566] วิศรัณน์บัญญัตินิติสกุล. มารยาทที่ดีของผู้เล่น และผู้ดูกีฬาวอลเลย์บอล. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา : http://www.doohealthy.com/article/fitness/sport/302-health.html/ [30 กรกฎาคม 2566] 168 Education. ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล. [ออนไลน์]. 2560. แหล่งที่มา : http://www.digitalschool.club/digitalschool/health4-6/health6_1/more/b7/page3.php/ [30 กรกฎาคม 2566] เปรม ร้อยต๊ะ. กีฬาวอลเลย์บอล. [ออนไลน์]. 2561. แหล่งที่มา : http://www.thaischool.in.th/_files_school/19102952/data/19102952_1_20181105-153612.pdf/ [30 กรกฎาคม 2566] Apichart Mahayotsanan. ท่าทางและการเคลื่อนที่ (Postures and movement). [ออนไลน์]. 2557. แหล่งที่มา : https://volleyballbyam.wordpress.com/ทักษะในการเล่นวอลเลย์บ/ท่าทางและการ เคลื่อนที่/ [31 กรกฎาคม 2566] พีรพัฒน์ ปุรัษกาญจน์และคณะ. กฎกติกาและการเล่นวอลเลย์บอล – Volleyball. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/a/mvsk.ac.th/kd-ktika-wxlleybxl/khxmul-kila-wxlleybxl/kdktika-laea-kar-len-w [31 กรกฎาคม 2566]


Click to View FlipBook Version