The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เงินฝืด เงินเฟ้อ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by preawpanadda2541, 2022-03-06 01:46:34

เงินฝืด เงินเฟ้อ

เงินฝืด เงินเฟ้อ

เศรษฐศาสตร์ ม.3

เงินฝืด เงินเฟ้อ

-ความหมายของเงินฝืด -สาเหตุการเกิดเงินฝืด -ผลกระทบของเงินฝืด
-การแก้ไขปัญหาเงินฝืด -ความหมายของเงินเฟ้อ -สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ
-ผลกระทบของเงินเฟ้อ -การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

คำนำ

หนังสืออีบุ๊คเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเศรษฐศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียน
เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาง่ายยิ่งขึ้น โดยมีเนื้อหาเกี่ยว
กับเรื่องเงินฝืด เงินเฟ้อ

ผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเรียนอีบุ๊คเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับ
ผู้อ่าน หรือนักเรียนที่กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำ
หรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัย
มา ณ ที่นี้ด้วย

ปนัดดา

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1
1
เรื่องที่ 1 2
เงินฝืด 3
ภาวะเงินฝืด 4
ความหมายของเงินฝืด 5
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด 6
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

การแก้ไขภาวะเงินฝืด 7
7
เรื่องที่ 2 8
เงินเฟ้อ 9
ภาวะเงินเฟ้อ 12
ความหมายของเงินเฟ้อ 13
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ 14
ผลกระทบของเงินเฟ้อ

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ 15

สรุปสาระสำคัญเงินฝืดเงินเฟ้อ

1




เรื่องที่ 1

เงินฝืด

(Deflation)
ความหมายของเงินฝื ด
สาเหตุของการเกิดเงินฝื ด
ผลกระทบของเงินฝื ด
การแก้ไขปั ญหาเงินฝื ด

2

ภาวะเงินฝืด
(DEFLATION)

เงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจมีน้ อย
ประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าต่ำลง
อุปสงค์มวลรวมเศรษฐกิจลดลง

ผู้ผลิตลดราคาสินค้าและบริการ
ลดปริมาณการผลิต
เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ

เงินฝืด 3

ความหมายของเงินฝืด

เงินฝืด (Deflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและ
บริการโดยทั่วๆ ไปลดลงเรื่อยๆ และต่อเนื่องผลของภาวะ
เงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้มีรายได้ประจำ
และเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ส่วนพ่อค้า นักธุรกิจ และผู้ถือ
หุ้น จะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก
การผลิต การลงทุนและการจ้างงานลดลง ทำให้เกิดการว่าง
งานเพิ่มขึ้น การวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาจะใช้ดัชนี
ราคาเป็นตัวชี้วัดเช่นเดียวกับเงินเฟ้อ

เงินฝืด 4

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด
คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณ
สินค้าและบริการที่ผลิตได้ หรือ อุปสงค์มวลรวมน้อยกว่า
อุปทานมวลลรวม ซึ่งทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน หรือสินค้า
ขายไม่ออก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ธุรกิจลดปริมาณการ
ผลิต เกิดปัญหาการว่างงาน และทำให้รายได้ประชาชาติ
ลดลงในที่สุด

เงินฝืด 5

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ประชาชนมีความสามารถที่จะจ่าย
เงินซื้อสินค้าและบริการได้น้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่มี
อยู่เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก ผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้า
และบริการจนขาดทุนหรือได้รับกำไรน้อยลงไม่คุ้มกับทุน ผู้ผลิต
บางส่วนอาจเลิกการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตลง จนเกิด
ปัญหาการว่างงานจำนวนมาก และเมื่อมีคนว่างงานจำนวนมาก
คนเหล่านั้นไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยตามปกติได้ สินค้า
และบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่ออก ทำให้ระดับการผลิตและการ
จ้างงานลดต่ำลงไปอีกในภาวะเช่นนี้ รายได้ของคนส่วนรวมจะ
ลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศ
ภาวะเงินฝืดจึงมีผลกระทบต่อประชาชนแต่ละอาชีพ ดังนี้




เกษตรกร พ่อค้าและนักธุรกิจ ผู้มีรายได้ประจำ

ลูกหนี้และเจ้าหนี้ รัฐบาล

เงินฝืด 6

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้โดยนโยบายการเงินและ
นโยบายการคลังเช่นกัน เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมี
มาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะ
เงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น
ซึ่งสามารถจัดอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ภาวะเงินฝืดก็จะสิ้น
สุดลง มาตรการที่แก้ไขภาวะเงินฝืดดังนี้

1. ลดอัตราดอกเบี้ย
2.ลดอัตราการซื้อ (โดยเฉพาะในกลุ่มคนมีเงิน)
3. ลดอัตราเงินสดสำรองกฎหมาย
4. ขายพันธบันตรรัฐบาลแต่น้อยและซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนมาให้มาก
5.เก็บภาษีน้อยๆ(อาจต้องพิจารณาอีกที เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อราย

ได้ของรัฐไปอีก)
6. ใช้งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล

จะเห็นว่าภาวะเงินฝืดส่งผลกระทบ
มาก ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องระมัดระวังไม่ให้
เกิดปัญหานี้ หรือเตรียมมาตรการแก้ไข
อย่างเร่งด่วน เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
ให้หมดไปอย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลกระ
ทบมากเกินไปนั่นเอง

7




เรื่องที่ 2

เงินเฟ้อ

(Inflation)
ความหมายของเงินเฟ้ อ
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้ อ
ผลกระทบของเงินเฟ้ อ
การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้ อ

8

ภาวะเงินเฟ้อ
(INFLATION)

ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น

รู้สึกเงินเยอะขึ้น

ผู้บริโภคก็ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจเติบโต

ผู้ผลิตก็เพิ่มการผลิต

เงินเฟ้อ 9

ความหมายของเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดย
ทั่วๆ ไปเพิ่มสูงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหากสินค้ามีระดับราคา
สินค้าสูง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ยังไม่ถือว่าเกิดเงินเฟ้อ จำเป็น
ต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะที่
ราคาสินค้าบางชนิดคงที่หรือลดต่ำลง แต่เมื่อรวมราคาสินค้า
ทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลง
ของราคา คือ “ดัชนีราคา (Price Index)” ซึ่งนิยมวัดในรูป
ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาขายส่ง

ดัชนีราคา คือ เครื่องวัด
ราคาเฉลี่ยของสินค้าและ
บริการจำนวนหนึ่งหรือตะกร้า
หนึ่งของปีใดปีหนึ่งเปรียบ
เทียบกับราคาเฉลี่ยของสินค้า
และบริการจำนวนหรือตะกร้า
เดียวกันในปีที่อ้างอิง หรือที่
เรียกว่า ปีฐาน (base year)

เงินเฟ้อ 10

สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
1.สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์
2.สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุปทาน

อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply)




หมายถึง ความต้องการซื้อ หมายถึง ปริมาณสินค้าหรือ
สินค้าหรือบริการ บวกกับความ บริการที่ผู้ผลิตต้องการผลิต
สามารถที่จะจ่ายเงินซื้อ บวก เพื่อจำหน่าย ณ ระดับราคา
ด้วยความเต็มใจที่ซื้อ และได้ ต่างๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง โดย
สินค้านั้น สมมุติให้ปัจจัยอื่นๆคงที่

ความต้องการซื้อสินค้า ความเต็มใจที่จะเสนอขาย
ความเต็มใจที่จะซื้อสินค้า ความพร้อมหรือความ
อำนาจที่จะซื้อสินค้า สามารถที่จะเสนอขาย

เงินเฟ้อ 11

สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ

1.สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ ได้แก่ การที่อุปสงค์
มวลรวมสำหรับสินค้าและบริการมีมากกว่าอุปทานมวลรวมของ
สินค้าและบริการ เงินเฟ้อที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์สำหรับ
สินค้าบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์”

การได้เปรียบของดุลการชำระเงิน การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน

เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์

การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย

เงินเฟ้อ 12

สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ

2.สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุทาน ได้แก่ การที่

อุปทานมวลรวมสำหรับสินค้าและบริการลดลง เนื่องจาก

แรงงานเรียกร้องเอาค่าแรงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง

หรือผู้ผลิตต้องการกำไรสูงขึ้น จึงบวกกำไรเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่ง

ของต้นทุนการผลิต ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และผู้

ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง เงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากด้าน

อุปทานบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อจากแรงดันของต้นทุน”

เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปทาน

การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต

การลดลงของปริมาณสินค้าและบริการ

เงินเฟ้อ 13

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะมีผลกระทบต่อหน่วยเศรษฐกิจใน

ลักษณะต่างๆ กัน และผลกระทบจะมีมากน้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับ

การคาดคะเนเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ถ้าหน่วยเศรษฐกิจคาด

คะเนเงินเฟ้อได้ถูกต้อง ผลกระทบของเงินเฟ้ออาจจะไม่ก่อให้

เกิดปัญหารุนแรงนัก เพราะว่าหน่วยเศรษฐกิจอาจจะหาวิธี

ป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อได้ ในทาง

ตรงข้าม ถ้าการคาดคะเนเงินเฟ้อของหน่วยเศรษฐกิจผิดพลาด

ผลกระทบของเงินเฟ้อจะมีมากจนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น

ผลกระทบของเงินเฟ้ออาจจะเป็นไปได้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. อำนาจซื้อของเงินลดลง
2. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ
3. อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น
4. ผลที่มีต่อการคลังของรัฐบาล
5. ผลที่มีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ
6. ผลที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

เงินเฟ้อ 14

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

การแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะทำได้โดยลด
อุปสงค์รวม ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้
นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

นโยบายการเงิน : เกี่ยวข้องกับ
การปล่อยสินเชื่อของธนาคาร
พาณิชย์ เมื่อเกิดเงินเฟ้อ ธนาคาร
ควรลดการปล่อยสินเชื่อ

นโยบายการคลัง : เกี่ยวข้องกับ

การจัดเก็บภาษี และการใช้จ่าย

ของรัฐบาล เมื่อเกิดเงินเฟ้อ

รัฐบาลควรมีงบประมาณเกินดุล

15

สรุปสาระสำคัญ
เงินฝืดเงินเฟ้อ


Click to View FlipBook Version