The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการนิเทศการศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ep_palm, 2023-03-21 23:38:05

รายงานการศึกษาค้นคว้า

รายงานการศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการนิเทศการศึกษา

รายงานการศึกษาค้นคว้า ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการนิเทศการศึกษา นางสาวธฤตา ชนะสิทธิ์ ต าแหน่ง ศึกษานิเทศก์ช านาญการ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


ก ค าน า รายงานการศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการนิเทศการศึกษาฉบับนี้ จัดท าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการนิเทศ การศึกษา ซึ่งน าไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และน าไปใช้ประโยชน์ในการนิเทศการศึกษาให้แก่ผู้รับการนิเทศ รายงานฉบับนี้ประกอบด้วยองค์ความรู้ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และส่วนที่ 2 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นองค์ความรู้ส าคัญที่สามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาส าหรับศึกษานิเทศก์และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการนิเทศการศึกษา ผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์และ ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในการน าไปปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสม เพื่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นางสาวธฤตา ชนะสิทธิ์ ศึกษานิเทศก์ช านาญการ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช


ข สารบัญ เรื่อง หน้า ค าน า ก สารบัญ ข ส่วนที่ 1 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 1 1.1 ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 1 1.2 การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 3 1.3 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) 6 ส่วนที่ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา 15 2.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษา 15 2.2 ความส าคัญของการนิเทศการศึกษา 16 2.3 ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา 16 2.4 กระบวนการนิเทศการศึกษา 17 2.5 ทักษะการนิเทศการศึกษา 19 2.6 ประเภทของการนิเทศการศึกษา 20 2.7 เทคนิคการนิเทศการศึกษา 20 2.8 การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา 29 บรรณานุกรม 30


1 ส่วนที่ 1 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเป็นสิ่งที่ศึกษานิเทศก์จ าเป็นต้องมีความรู้ โดยการศึกษาค้นคว้าความรู้จาก แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อน าไปสู่การสร้างองค์ความรู้ พร้อมทั้งน าไปใช้ประโยชน์ในการนิเทศการศึกษาให้แก่ผู้รับ การนิเทศและผู้ร่วมงานและเผยแพร่ในรูปแบบหรือวิธีการต่าง ๆ ต่อไป โดยได้ศึกษาค้นคว้าในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในโลกแห่งความผันผวนหรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาวะพลิกผันทางดิจิทัล (Digital Disruption) ที่ท าให้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ รวมถึงพฤติกรรมของคน ในสังคมไปอย่างฉับพลัน อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการด าเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของผู้คน จนกลายเป็นความปกติใหม่ หรือ New Normal ด้วยเหตุดังกล่าวท าให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันต้องการการพัฒนามนุษย์ที่อุดมไปด้วยความรู้ ทักษะ และความสามารถที่พร้อมจะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงหรือที่เรียกว่า“สมรรถนะ (Competency)” เนื่องจาก สมรรถนะเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้บุคคลประสบความส าเร็จในการท างาน สมรรถนะจึงเป็นผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของ การศึกษาและการเรียนรู้ ดังนั้นระบบการศึกษาในปัจจุบันจึงควรช่วยกันพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะส าคัญที่จะ เป็นประโยชน์ต่อการด ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ รัฐบาลเห็นความจ าเป็นที่จะต้องด าเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับ การก าหนดกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาการ โดยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และการด าเนินงานให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีโดยส านักงานนวัตกรรมแหงชาติ(2564) ได้น าเสนอเกี่ยวกับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอนาคตการศึกษา 15 ประการ เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงและออกแบบการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนี้ 1. Credit Bank for Life-Long Learning ระบบการสะสมหน่วยการเรียน รู้ที่ผู้เรียนได้รับจาก การประกอบอาชีพ การฝึกอบรม การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยตลอดชีวิต เพื่อใหผูเรียน สามารถเทียบโอนผลการเรียนรูไปใช้ต่อยอดทางการศึกษาและการท างานได้ส่งเสริมระบบการยกระดับทักษะที่ จ าเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย ในปัจจุบันบันเริ่มมีสถาบันการศึกษาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรเพิ่มขึ้น 2. Weakening Value of Degrees การให้คุณค่าต่อปริญญาบัตร วุฒิการศึกษา และชื่อเสียงของ สถาบันต่าง ๆ จะลดลง ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าท างาน สังคมจะให้คุณค่าต่อทักษะที่เหมาะสมต่องานและ ความสามารถที่แท้จริงของบุคคลมากขึ้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่ตรงกับความสนใจของตนเองได้อย่าง เต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความคาดหวังของสังคมแบบที่เคยเป็นมาในอดีต


2 3. Specialism Vs. Multipotentiality การรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่และการใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะ เพื่อรับความรู้ที่หลากหลายก าลังท าให้คุณค่าและบทบาทของผูเชี่ยวชาญลดลงในอนาคต นอกจากนี้ผู้ที่มี ความสามารถหลากหลายด้านจะกลายเป็นที่ต้องการมากกว่าผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึกเพียงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง 4. School as a Mega Corporation วงการการศึกษาจะกลายเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ใหญและ เติบโตเร็วที่สุด เทคโนโลยีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพจะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาใหมีความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากขึ้น บริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษาจะทรงอิทธิพลและเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาด การศึกษาทั่วโลก 5. Echo Chamber การได้รับข้อมูลที่ถูกกรองจากความสนใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ผ่านอัลกอริทึมที่ใช้ ในโซเชียลมีเดียและเครื่องมือค้นหาข้อมูล ท าให้ผู้คนได้รับข้อมูลซ้ าเดิมที่ขึ้นกับความสนใจของตนเป็นส่วนใหญ่ ขาดความหลากหลายของข้อมูล ส่งผลให้ผู้คนไมมีความรู้ใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลในด้านอื่น ๆ เกิดการเรียนรู้ในมุมมอง ที่จ ากัด 6. Teacher as a “Meddler in the Middle”ครูท าหน้าที่เป็นผู้อ านวยความสะดวก (Facilitator) ส่งเสริม ให้ผู้เรียนขยายขอบเขตของการเรียนรู้โดยผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจและเรียนรู้ไปพร้อมกับครู ครูจะ มีเวลาในการอ านวยความสะดวกการเรียนรู้ด้วยตนเองของผูเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนเป็น ปัจจัยส าคัญที่จะสร้างความร่วมมือดังกล่าว 7. AI-Based Teaching & Tutoring ปัญญาประดิษฐ์มีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้สอน ช่วยวิเคราะห์และวางแผนให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตรงกับความสามารถและความ สนใจของตนเองมากขึ้น แบ่งเบาภาระในการสอน และเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนให้ดีและแม่นย ามากยิ่งขึ้น 8. The World as Our Classroom การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในห้องเรียนหรือพื้นที่จ ากัด อีกต่อไป กระบวนทัศน์ต่อการศึกษาของผู้คนในสังคมมุ่งไปสูการเรียนรู้นอกสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ตรง ณ สถานที่จริง หรือโลกออนไลน์ได้เปรียบเสมือนโลกใบนี้เป็นห้องเรียนที่ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้จากทุกที่ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงมากกว่าการท่องจ าเนื้อหา และไม่ไดยึดติดกับสถาบันการศึกษาเพียง อย่างเดียว 9. Integration of Tele-education and Virtual Schools การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ การศึกษา ส่งผลให้การศึกษาสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านรูปแบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) และโรงเรียน เสมือน (Virtual School) ที่ผู้เรียนกับผู้สอนไม่จ าเป็นต้องอยูในสถานที่เดียวกัน แต่ก็สามารถเรียนรู้ร่วมกันผ่าน ระบบออนไลน์ได้ ส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของสถานที่และเวลา


3 10. Edutainment รูปแบบของการเรียนรูที่มีเนื้อหาสนุกสนาน สร้างความบันเทิงและความสุข ให้กับผู้เรียนมากขึ้น ผ่านสื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยี และวิธีการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนจดจ าและเข้าใจ เนื้อหาต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เพิ่มความกระตือรือร้นและความสนใจต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น 11. Immersive Education (AR/VR) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือน VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) เข้ากับการเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ให้แก่ผู้ใช้ ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลาย สนุกสนาน และเข้าใจเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น 12. Just-in-Time Knowledge and Learning การเรียนรู้แบบทันเวลาเป็นแนวในการเรียนรู้ระดับ บุคคลหรือระดับองค์กรที่ส่งเสริมการฝึกอบรม การสนับสนุนความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ ให้พร้อมในทุกเวลาที่ผู้เรียนต้องการ ท าให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้ได้ทันที ช่วยเร่งความเร็วของ กระบวนการเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการท างานให้มากขึ้นและลดปัญหาการเรียนรู้ที่ไม่ได้น ามาใช้ จริง 13. Cognitive Enhancement การเพิ่มความสามารถของสมองผ่านการกระตุ้นด้วยสารจากธรรมชาติ หรือสารสังเคราะห โดยออกฤทธิ์เพิ่มการท างานของสมองในแง่ของการเรียนรู้ความจ า สมาธิ สติปัญญา การใช้ เหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น 14. Focus on Learning How to Learn ข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและ จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคต ด้วยมิติของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้เรียนจ าเป็นต้องตื่นตัว และใส่ใจเรียนรู้ทักษะและวิธีเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่จ าเป็น เกิดประโยชน์และเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเรียนรู้ สิ่งที่เคยเรียนมาด้วยมุมมองใหม่และการละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนมา 15. Learning to be Human การเรียนรูเพื่อพัฒนาตนเอง ทักษะมนุษย์ (Soft Skills) ทักษะสังคม (Social Skills) เข้าถึงการเป็นมนุษย์และเกิดการค้นพบตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อใหผู้เรียนรูจักตนเองทั้งทางด้าน สติปัญญา ทักษะ และอารมณ์ความรูสึก กล้าที่จะตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตของตน นอกจากนี้การปลูกฝังเรื่อง ศีลธรรมจริยธรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขถือเป็นสิ่งที่จ าเป็นอย่างยิ่งในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว 1.2 การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนและสถานศึกษาที่นักเรียนจะต้องปรับตัวกับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบ าทของครูอาจารย์ ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความ สนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง


4 1.2.1 การปรับตัวของผู้สอนในยุค New Normal การปรับตัวของการสอนยุค New Normal ผู้สอนต้องเพิ่มบทบาทของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Technology Integration) และสถานศึกษาควรจัดเตรียมเครื่องมือหรือสิ่งอ านวยความสะดวกให้กับผู้สอน เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของผู้สอน และน าไปสู่การพัฒนาทักษะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ กนกพร กังวานสงค์ (2564) ได้กล่าวว่า สิ่งส าคัญส าหรับการปรับตัวของผู้สอนในยุค New Normal ได้แก่ 1) รูปแบบการสอน การปรับเนื้อหาวิชา การบ้าน การสอบ หาวิธีการ รูปแบบที่จะเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัย การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นในการเรียนออนไลน์ได้ รวมทั้งสามารถใช้ได้กับ ผู้เรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ โดยน า เทคโนโลยีมาใช้เป็นตัวช่วยส าหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ของผู้เรียนให้ด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลที่สุด โดยผสมผสานทั้งการเรียนออนไลน์และออฟไลน์ร่วมกัน ภายใต้รูปแบบที่เกิดจากความคิดเห็น ร่วมกันของผู้สอน เช่น - Zoom เครื่องมือในการสื่อสาร ออกแบบการเรียนรู้ และจัดสอนออนไลน์ได้ - Microsoft Forms ใช้ส าหรับการสร้างแบบฟอร์ม แบบทดสอบ และแบบสอบถามออนไลน์ โดย ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมในแต่ละรายวิชา 2) เทคโนโลยีการศึกษาช่วยเสริมกิจกรรมระหว่างการสอน ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้สึกสนุก เพิ่มความสนใจและเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนถามข้อสงสัยมากขึ้น โดยแบ่งการวิดีโอคอลเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยในการส่งงานหรือการน าเสนองาน ส่วนวิชาที่เป็นโครงงานที่ต้องมีการติดตาม ก็จะมีการก าหนดระยะเวลาในการนัดหมายออนไลน์เป็นกลุ่ม ๆ เช่น - Thinglink เครื่องมือที่จะเปลี่ยนภาพธรรมดา ให้เป็นสื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive) โดย จะมีคุณสมบัติที่สามารถเพิ่มภาพประกอบ ค าอธิบาย บทความ และลิงก์วิดีโออื่น ๆ ท าให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ความหมาย และสร้างแรงบันดาลใจในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางรูปภาพ - Kahoot ใช้ส าหรับสร้างค าถามในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ค าถามหลายตัวเลือกโดยสามารถใช้ ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอมาใช้ในการตั้งค าถาม 3) การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการสอน ผู้สอนอาจต้องเรียนรู้ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอนให้คล่องแคล่ว เพื่อให้ไม่สะดุดขณะสอน สิ่งส าคัญที่ผู้สอนต้องนึกถึง คือ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน สิ่งที่ส าคัญที่สุดส าหรับผู้เรียนที่จะต้องเรียนรู้ และน าเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์กับการสอน


5 1.2.2 การออกแบบสื่อการเรียนรู้ “สื่อการเรียนรู้(instructional media)” มีบทบาทส าคัญมากในการจัดการการเรียนรู้คุณสมบัติ ส าคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร การเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่าน “สื่อการเรียนรู้” ไปยังผู้เรียน พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ (2563) ได้กล่าวว่า ในการออกแบบสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ เหมาะสมกับเด็กนักเรียนและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในยุค New Normal ควรอาศัยหลักการ ASSURE Model หรือการใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจ าลอง ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1)การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze learners) เป็นการวิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะอย่างไร มี ข้อจ ากัดในตัวผู้เรียนหรือตัวเนื้อหาหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถออกแบบบทเรียนได้สอดคล้องกับบุคลิกของ ผู้เรียนได้มากขึ้น 2) การก าหนดวัตถุประสงค์ (State objectives) เป็นการก าหนดวัตถุประสงค์ว่าสื่อที่ผลิตขึ้นมานั้น จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องใด 3) การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ (Select instructional methods, media, and materials) การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถท าได้ 3 วิธีคือ 3.1) การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อน ามาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณา ได้แก่ ลักษณะผู้เรียน วัตถุประสงค์การเรียนการสอน เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน และสภาพการณ์และข้อจ ากัดในการใช้สื่อการเรียน การสอนแต่ละชนิด 3.2) การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถน ามาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนน าไปใช้ 3.3) การออกแบบสื่อใหม่ กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถน ามาใช้ได้หรือไม่เหมาะสม ที่จะน ามาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย จ าเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ 4) การใช้สื่อ (Utilize media and materials) ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่ ส าคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ 4.1) ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ/ทดลองใช้ ก่อนน าสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จ าเป็นต้องมีการ ตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน 4.2) เตรียมสภาพแวดล้อม/จัดเตรียมสถานที่ การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจ าเป็นที่ต้องมีการ เตรียมสถานที่ สิ่งอ านวยความสะดวก ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด 4.3) เตรียมผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้นจะต้องมีการ เตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ มีการเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ 4.4) การน าเสนอ/ควบคุมชั้นเรียน โดยผู้สอนที่ท าหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น


6 5) การก าหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require learner participation) การใช้สื่อในการเรียน การสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนควรตรวจสอบว่าจะให้ผู้เรียนตอบสนองอย่างไร บางครั้งการแสดงเนื้อหาอย่างเดียวโดย ไม่ได้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมก็อาจจะท าให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้ ผู้สอนจึงต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถตอบสนองอย่างเปิดเผย โดย การพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการท าแบบฝึกหัด การตอบค าถาม การอภิปราย เป็นต้น 6) การประเมินผล (Evaluate and revise) หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จ าเป็นต้องมีการประเมินผล เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุง แก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุมด้าน ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ 1.3 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ส านักงานคณ ะกรรมการการศึกษ าขั้นพื้นฐาน (2562) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1.3.1 แนวคิดของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อ านวย ความสะดวก (Facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้ค าปรึกษา ดูแล แนะน า ท าหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coach & Mentor) แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful learning) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ มีความข้าใจในตนเองใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมที่บ่งบอกถึงการมีสมรรถนะส าคัญในศตวรรษที่ 21มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย 1.3.2 ความหมายของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการ เรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์ และประเมินค่า ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งค าถาม และถาม อภิปรายร่วมกันผู้เรียนลงมือปฏิบัติ จริง โดยต้องค านึงถึงความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรียนเป็นส าคัญ ทั้งนี้ ผู้เรียนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ ความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ 1.3.3 ความส าคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 1. Active Learning ส่งเสริมการมีอิสระทางด้านความคิดและการกระท าของผู้เรียน การมี วิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะมีโอกาส มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงและมีการใช้วิจารณญาณในการ


7 คิดและตัดสินใจในการปฏิบัติ กิจกรรมนั้น มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ก ากับทิศทางการเรียนรู้ค้นหาแนวทางการเรียนรู้ ของตนเอง สู่การเป็นผู้รู้คิด รู้ตัดสินใจด้วยตนเอง (Metacognition) 2. Active Leaning สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความ ร่วมมือในการปฏิบัติงานกลุ่มจะน าไปสู่ความส าเร็จในภาพรวม 3. Active Learning ท าให้ผู้เรียนทุ่มเทในการเรียน จูงใจในการเรียน และท าให้ผู้เรียนแสดงออก ถึงความรู้ความสามารถ เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นในสภาพแวดล้อมที่ เอื้ออ านวย ผ่านกิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้ให้อย่างหลากหลาย สามารถเลือกเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจ และความถนัดของตนเอง ท าให้เกิดความรับผิดชอบและทุ่มเทเพื่อมุ่งสู่ความส าเร็จ 4. Active Learning ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเชิงบวกทั้งตัวผู้เรียน และตัวครู เป็นการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสได้เลือกใช้ความถนัด ความสนใจความสามารถที่ เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) สอดรับกับแนวคิดพหุปัญญา(Multiple Intelligence) เพื่อแสดงออกถึงตัวตนและศักยภาพของตัวเอง ส่วนครูผู้สอนต้องมีความตระหนักที่จะปรับเปลี่ยนบทบาท แสวงหา วิธีการ กิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน สิ่งเหล่านี้ จะท าให้ครูเกิดทักษะใน การสอนและมีความเชี่ยวชาญ เป็นการพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียนไปพร้อมกัน 1.3.4 ลักษณะของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ลักษณะของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีดังนี้ 1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันใน รูปแบบของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด 4. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์และ ประเมินค่า 5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการท างานร่วมกับผู้อื่น 6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสรุปของผู้เรียน 7. ผู้สอนเป็นผู้อ านวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง นอกจากนี้ ผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้แบบ Active Learning ดังนี้ 1. จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ กรคิด การแก้ปัญหาและการน าความรู้ไป ประยุกต์ใช้ 2. จัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด 3. จัดให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง


8 4. จัดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ร่วมกัน สร้างร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน 5. จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการท างานและการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบในภารกิจต่าง ๆ 6. จัดกระบวนการเรียนที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียน จะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 7. จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง 8. จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศและหลักการ ความคิดรวบยอด 9. ผู้สอนจะเป็นผู้อ านวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง 10. จัดกระบวนการสร้างความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้และการสรุป ทบทวนของผู้เรียน ลักษณะกิจกรรมที่เป็นการเรียนรู้เชิงรุก 1. กระบวนการเรียนรู้ที่ลดบทบาทการสอนและการให้ความรู้โดยตรงของครู แต่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมสร้างองค์ความรู้ และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้น าความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า คิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดไปสู่ระดับที่สูงขึ้น 3. กิจกรรมเชื่อมโยงกับนักเรียน กับสภาพแวดล้อมใกล้ตัว ปัญหาของชุมชน สังคม หรือ ประเทศชาติ 4. กิจกรรมเป็นการน าความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาใหม่ หรือใช้ในสถานการณ์ใหม่ 5. กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างมีเหตุมีผล มีโอกาสร่วมอภิปรายและ น าเสนอผลงาน 6. กิจกรรมเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียน ด้วยกัน 1.3.5 รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น 1) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากแนวคิดในการ จัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า การเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ “การเรียนรู้เชิงรุก” (Active Learning) ซึ่งหมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และ


9 บทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน “ใช้กิจกรรมเป็นฐาน” หมายถึง น ากิจกรรมเป็นที่ตั้งเพื่อที่จะฝึกหรือพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ก าหนด ลักษณะส าคัญของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด 2. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากตัวผู้เรียนเอง มากกว่าการฟังผู้สอนในห้องเรียน และการ ท่องจ า 3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ท าให้เกิดการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียนด้วย 4. ได้ผลลัพธ์ในการถ่ายทอดความรู้ใกล้เคียงกับการเรียนรู้รูปแบบอื่น แต่ได้ผลดีกว่า ในการพัฒนาทักษะด้านการคิด และการเขียนของผู้เรียน 5. ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้แบบนี้มากกว่ารูปแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ซึ่ง เป็นการเรียนรู้แบบตั้งรับ (Passive Learning) 6. มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และ เข้าร่วมในการแก้ปัญหา และยังสัมพันธ์กับการเรียนรู้ตามล าดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม ทั้งในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย หลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 1. ให้ความสนใจที่ตัวผู้เรียน 2. เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติที่น่าสนใจ 3. ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้อ านวยความสะดวก 4. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียน 5. ไม่มีการสอบ แต่ประเมินผลจากพฤติกรรม ความเข้าใจ และผลงาน 6. เพื่อนในชั้นเรียนช่วยส่งเสริมการเรียน 7. มีการจัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิด และเสริมสร้างความ มั่นใจในตนเอง ประเภทของกิจกรรมในการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน มีหลากหลายกิจกรรม การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนั้น ๆ ว่ามุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือพัฒนาในเรื่องใด สามารถจ าแนกออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ 1. กิจกรรมเชิงส ารวจ เสาะหา ค้นคว้า (Exploratory) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวบรวม สั่งสม ความรู้ ความคิดรวบยอด และทักษะ


10 2. กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Constructive) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวบรวม สั่งสมประสบการณ์ โดยผ่านการปฏิบัติ หรือการท างานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ 3. กิจกรรมเชิงการแสดงออก (Expressional) ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การน าเสนอ การ เสนอผลงาน กิจกรรมการเรียนรู้ที่นิยมใช้จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น การอภิปราย ในชั้นเรียน (class discussion) ที่ใช้ได้ทั้งในห้องเรียนปกติและการอภิปราย การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) กิจกรรม “คิด-จับคู่ แลกเปลี่ยน” (think-pair-share) การฝึกเขียนข้อความสั้นๆ (One-minute Paper) การโต้วาที (Debate) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ (Situational Learning) การเรียนแบบกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative learning group)เกมในชั้นเรียน (Game) เป็นต้น 2) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) หรือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เชิง ประจักษ์ เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมหรือการปฏิบัติ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เป็น รูปธรรม เพื่อน าไปสู่ความรู้ความเข้าใจเชิงนามธรรมโดยผ่านการสะท้อนประสบการณ์ การคิดวิเคราะห์การสรุป เป็นหลักการ ความคิดรวบยอด และการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ลักษณะส าคัญของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 1. เป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ชิงประจักษ์จากกิจกรรม หรือการปฏิบัติของผู้เรียน 2. ท าให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากบทบาทการ มีส่วนร่วมของผู้เรียน 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 4. ปฏิสัมพันธ์ที่มีทาให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่าง กว้างขวาง 5. อาศัยกิจกรรมการสื่อสารทุกรูปแบบ เช่น การพูด การเขียน การวาดรูป การแสดงบทบาท สมมุติ การน าเสนอด้วยสื่อต่าง ๆ ซึ่งเอื้ออ านวยให้เกิดการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การเรียนรู้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ให้ได้ผลดีนั้น ควรจะฝึกผู้เรียนให้มีทักษะต่อไปนี้ 1. ผู้เรียนต้องมีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมกับการเรียน ไม่ใช่ตั้งใจจะมาเป็นผู้รับป้อนความรู้ อย่างเดียว 2. ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกเรื่องกระบวนการสะท้อนคิด (Reflection) มาพอสมควร 3. ผู้เรียนควรได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ analytical และ conceptualization skill มา ก่อน โดยเฉพาะ หากเป็นการเรียนรู้เชิงเทคนิคที่มีความซับซ้อน เช่น การเรียนวิชาแพทย์ จ าเป็นที่ระบบการศึกษา จะต้องมีช่วงเวลาที่ฝึกฝนนักเรียนให้มีทักษะนี้มาตั้งแต่เริ่มแรก


11 4. ผู้เรียนควรได้รับการฝึก decision making และ problem solving skills เพื่อจะได้เป็น กลไกส าคัญในการสรุป และเลือกใช้องค์ความรู้ที่ได้ใหม่นี้ในอนาคต ทั้งนี้ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Model (ELM) เป็นวงจรการ เรียนรู้ที่มี 4 ขั้นตอน เริ่มต้นตั้งแต่การให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ ให้ได้ฝึกการสะท้อนคิด ให้ฝึกมีการสรุปหลักการเหตุผลจน เกิดเป็นความรู้ใหม่ของตน และขั้นตอนสุดท้ายคือ การฝึกการน าเอาความรู้ใหม่ไปลองปฏิบัติอีกครั้ง การที่ให้ผู้เรียน ได้ฝึกฝนกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไปในอนาคต 3) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น รวมถึงการคันคว้าความรู้ พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อน าไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป โดยผู้เรียนอาจไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน แต่อาจใช้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา นอกจากนี้ยังมุ่งให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ไขปัญหา ได้ คิดเป็น ท าเป็น มีการตัดสินใจที่ดี และสามารถเรียนรู้การท างานเป็นทีม โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง และสามารถนาทักษะจากการเรียนมาช่วยแก้ปัญหาในชีวิต การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยเริ่มจากการได้ ประสบการณ์ตรงจากโจทย์ปัญหา ผ่านกระบวนการคิดและการสะท้อนกลับ ไปสู่ความรู้และความคิดรวบยอด อัน จะน าไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ต่อไป สิ่งส าคัญในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ ปัญหา เพราะปัญหาที่ดีจะเป็นสิ่ง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่แสวงหาความรู้ในการเลือกศึกษาปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องค านึงถึงพื้น ฐานความรู้ความสามารถของผู้เรียน ประสบการณ์ความสนใจ และภูมิหลังของผู้เรียน การก าหนดปัญหาจึงต้อง ค านึงถึงตัวผู้เรียนเป็นหลัก รวมถึงสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนที่เอื้ออ านวยต่อ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียน วัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่ 1. ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทจริงและสามารถน าไปใช้ได้ 2. พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การให้เหตุผล และน าไปสู่การแก้ปัญหา 3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง 4. ผู้เรียนสามารถท างานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 6. ความคงอยู่ (retention) ของความรู้จะนานขึ้น บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 1. ท าหน้าที่ เป็นผู้อ านวยความสะดวก หรือผู้ให้ค าปรึกษาแนะน า 2. เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ มิได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยตรง


12 3. ใช้ทักษะการตั้งค าถามที่เหมาะสม 4. กระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการกกลุ่ม ให้กลุ่มด าเนินการตามขั้นตอนของการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน 5. สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและเน้นให้ผู้เรียนตระหนักว่าการเรียนรู้เป็นความ รับผิดชอบของผู้เรียน 6. กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น 7. สนับสนุนให้กลุ่มสามารถตั้งประเด็นหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้/แก้ปัญหาได้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ครูก าหนด 8. หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นหรือตัดสินว่าถูกหรือผิด 9. ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและ กลุ่มพร้อมการให้ข้อมูลย้อนกลับ 1.3.6 บทบาทของครูในการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมที่สะท้อนการพัฒนาผู้เรียนให้ เกิดการเรียนรู้ และเน้นการน าไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง โดยด าเนินการดังนี้ 1. สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน 2. ลดบทบาทการสอนและการให้ความรู้โดยตรง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบ การเรียนรู้ แสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นพลวัต (มีการเคลื่อนไหว/การขับเคลื่อน) ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นพบความส าเร็จในการเรียนรู้ สามารถน าความรู้ ความเข้าใจไป ประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า และคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม ใกล้ตัว ปัญหาของชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ 4. จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน วางแผนเกี่ยวกับ เวลาในจัดการเรียนรู้อย่างชัดเจน รวมถึงเนื้อหาและกิจกรรม 5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากวิธีการสอนที่หลากหลาย 6. เปิดใจกว้างยอมรับในความสามารถ การแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน 7. ผู้สอนควรทราบว่าผู้เรียนมีความถนัดที่แตกต่างกัน และทราบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน 8. ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในการเรียน ให้ผู้เรียนกล้าพูด กล้าตอบและมีความสุขในการเรียนรู้ บทบาทของครูในฐานะเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ บทบาทส าคัญของครูในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ ครูจะต้องแสดง บทบาทต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยครูจะต้องเป็นผู้สังเกตการท างานของนักเรียน และสร้าง แรงบันดาลใจในการเรียนรู้แก่นักเรียน โดยมีบทบาท ดังนี้


13 1. ใช้ค าถามกระตุ้นการเรียนรู้ ค าถามที่ใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้นั้น ต้องเป็นค าถามที่มี ลักษณะเป็นค าถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนได้อธิบาย โดยขึ้นต้นว่า “ท าไม” หรือ ลงท้ายว่า “อย่างไรบ้าง” “อะไรบ้าง” “เพราะอะไร” 2. ท าหน้าที่เป็นผู้สังเกต ครูจะต้องคอยสังเกตว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไรขณะปฏิบัติ กิจกรรมเพื่อหาทางขี้แนะ กระตุ้น หรือยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3. สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้การตั้งค าถาม เมื่อผู้เรียนสามารถตั้งค าถามได้ จะท าให้ผู้เรียนรู้จักถาม เพื่อค้นคว้าข้อมูล รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ เรียนรู้ 4. ให้ค าแนะน าเมื่อผู้เรียนมีข้อสงสัย ครูจะต้องเป็นผู้คอยแนะน า ชี้แจง ให้ข้อมูลต่าง ๆ หรือ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ าวันของผู้เรียนเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ด้านอื่น ๆ 5. เปิดโอกาลให้ผู้เรียนคิดหาค าตอบด้วยตนเอง สังเกตและคอยกระตุ้นด้วยค าถามให้ผู้เรียนได้ คิดกิจกรรมที่อยากเรียนรู้และหาค าตอบในสิ่งที่สงสัยด้วยตนเอง 6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ ตามความคิดและความสามารถของตนเอง เพื่อให้ผู้ได้ใช้จินตนาการและความสามารถของตนเองในการคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ข้อสังเกต 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีรากฐานมาจากแนวคิดทางการศึกษาที่เน้นการ สร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructivist) โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากข้อมูลที่ได้รับมาใหม่โดยการน าไปประกอบ กับประสบการณ์เดิมในอดีต มีมิติกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2 มิติได้แก่ กิจกรรมด้านการรู้คิด (Cognitive Activity) และ กิจกรรมด้านพฤติกรรม (Behavioral Activity) ผู้น าไปใช้อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน ว่าการเรียนรู้แบบนี้ คือรูปแบบที่ เน้นความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรม โดยเข้าใจว่าความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรมจะท าให้เกิดความ ตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิดไปเอง จึงท าให้เกิดการประยุกต์ใช้อย่างไม่ถูกต้อง ว่าให้ผู้สอนลดบทบาทการเป็นผู้ให้ ความรู้ลง เป็นเพียงผู้อ านวยความสะดวกและบริหารจัดการหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เองอย่างอิสระจากการ ท ากิจกรรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนด้วยกันเอง โดยผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้พัฒนามิติด้านการรู้คิด 2. ความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรมอาจไม่ก่อให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิดเสมอ ไป การที่ผู้สอนให้ความส าคัญกับกิจกรรมด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น การฝึกปฏิบัติและการอภิปรายในกลุ่ม ของผู้เรียนเอง โดยไม่ให้ความส าคัญกับกิจกรรมด้านการรู้คิด เช่น การล าดับความคิดและการจัดองค์ความรู้ จะท า ให้ประสิทธิผลของการเรียนรู้ลดลง 3. การน ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบที่ให้ผู้เรียนท ากิจกรรมและคันพบความรู้ด้วยตนเองไปใช้ กับการพัฒนาการเรียนรู้ตามล าดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จะเหมาะกับการพัฒนาในขั้น การท าความเข้าใจ การน าไปประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ขึ้นไปมากกว่าขั้นให้ข้อมูลความรู้ เพราะท าให้เสียเวลา และไม่บรรลุผลเท่าที่ควร


14 ผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดย การน าวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการ จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้น าไป ปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน


15 ส่วนที่ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการส าคัญและมีความจ าเป็นต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพทันต่อสถานการณ์ นโยบายทางการศึกษา หลักสูตร และ องค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร การนิเทศจะก่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางวิชาชีพของผู้รับการนิเทศ อีกทั้ง การนิเทศการศึกษายังเป็นกระบวนการที่จะท าให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานของชาติที่ก าหนดไว้ 2.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษา นักการศึกษาให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้อย่างหลากหลาย แตกต่างกันตามความเชื่อ และ แนวคิดที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย และ แนวทางของการจัดการศึกษาในแต่ละยุค เช่น Good (1973) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง ความพยายามของฝ่ายการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ให้ท าหน้าที่นิเทศที่จะช่วยแนะน าครูหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้สามารถปรับปรุงการสอน ของตนให้ดีขึ้น ช่วยพัฒนาความสามารถของครู และช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านวิชาชีพทางการศึกษา Burton & Bruckner (1974) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาว่า การนิเทศคือ การให้บริการ เกี่ยวกับความช านาญทางเทคนิคด้านวิชาการในการเรียนการสอนและการปรับปรุงสภาพการเรียนและความ เจริญเติบโตของผู้เรียน Harris (1985) ให้ความหมายว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง การที่บุคคลในสถานศึกษาได้กระท ากับ บุคคล หรือสิ่งอื่นใดเพื่อคงไว้หรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการบรรลุ เป้าหมายทางการสอนของสถานศึกษา ชาญชัย อาจิณสมาจาร (2547) ได้ให้ค าจ ากัดความว่า การนิเทศการศึกษา คือ กระบวนการสร้างสรรค์ที่ ไม่หยุดนิ่งในการให้ค าแนะน า และการชี้ช่องทางในลักษณะที่เป็นกันเองแก่ครูและนักเรียน เพื่อการปรับปรุงตัวของ เขาเองและสภาพการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่พึงประสงค์ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ(2557) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการจัดบริหารการศึกษาเพื่อ ชี้แนะให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียนการ สอนของครูและเพิ่มคุณภาพของนักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) ได้กล่าวถึงการนิเทศการศึกษาไว้ ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งด้านการบริหาร จัดการและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ นิเทศและผู้รับการนิเทศ ที่เน้นการให้ความช่วยเหลือ แนะน า เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนต่อไป ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้ง ด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา โดยการมีส่วน ร่วมระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16 2.2 ความส าคัญของการนิเทศการศึกษา การนิเทศการศึกษามีความส าคัญ ดังนี้ 1. สภาพสังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาจึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การนิเทศการศึกษาจะช่วยท าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ซึ่งศึกษานิเทศก์จะต้องเป็นผู้น าหรือช่วยให้สถานศึกษามีการจัดการศึกษาให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการพัฒนาครู เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมาย 2. ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดการศึกษา จ าเป็นต้องได้รับการชี้แนะ หรือการนิเทศ การศึกษาจากผู้ช านาญการโดยเฉพาะ เพื่อให้แก้ไขปัญหาส าเร็จได้ลุล่วงด้วยดี 3. ครูต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุง ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอในการท างาน เพื่อความเจริญงอกงามใน วิชาชีพครู ซึ่งการนิเทศการศึกษาจะช่วยให้เกิดการพัฒนาตนและพัฒนางาน ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 2.3 ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา นักการศึกษาและนักวิชาการได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา ดังนี้ Glickman et al. (1995) ได้ก าหนดเป้าหมายของการนิเทศแบบพัฒนาการ(Developmental Supervision) เพื่อการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน (Improved Student Learning โดยผ่านการนิเทศครูและ บุคลากรทางการศึกษา ในประเด็นส าคัญต่อไปนี้ 1. การให้ความช่วยเหลือครูโดยตรง (Direct Assistance) 2. การพัฒนากลุ่ม (Group Development) 3. การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) 4. การพัฒนาวิชาชีพ ( Professional Development) 5. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 6. การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ค านึงถึงความแตกต่างกันในด้าน ต่าง ๆ สงัด อุทรานันท์(2530) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศไว้ว่า มีจุดมุ่งหมายที่ส าคัญ 4 ประการ คือ 1. เพื่อพัฒนาคน เป็นกระบวนการท างานร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและ บุคลากรเหล่านั้น ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น 2. เพื่อพัฒนางาน มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู และบุคลากรทางการศึกษา 3. เพื่อสร้างการประสานสัมพันธ์ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการท างานร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้น าและผู้ ตาม ซึ่งไม่ใช่เป็นการท างานภายใต้การถูกบังคับและคอยตรวจตรา 4. เพื่อสร้างขวัญและก าลังใจ ขวัญและก าลังใจเป็นสิ่งส าคัญที่จะท าให้บุคคลมีความตั้งใจท างาน หาก การนิเทศไม่ได้สร้างขวัญและก าลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้วการนิเทศการศึกษาย่อมประสบผลส าเร็จได้ยาก


17 วัชรา เล่าเรียนดี (2550) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการนิเทศไว้ว่า เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูสามารถ พัฒนางานในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลถึงผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา โดยรวมในที่สุด หน่วยศึกษานิเทศก์ (2562) ได้กล่าวว่า จุดมุ่งหมายในการนิเทศการศึกษา มีดังนี้ 1. เพื่อให้สถานศึกษา บุคลากร และผู้เรียนมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ก าหนดในแต่ละระดับ การศึกษาและแต่ละสถานศึกษา 2. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถน านโยบายสู่กรปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ ก าหนดไว้ 3. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งการพัฒนาคุณภาพของ ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ต้นสังกัด โดยเป็นไปตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา 4. เพื่อช่วยเหลือ ชี้แนะ และพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการจัดการ จัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน และการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ สามารถคิดสร้างสรรค์งานหรือนวัตกรรมทาง การศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง ต่อผู้เรียน และส่วนรวม 5. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทั้งภายในสถานศึกษา ระหว่าง สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด 2.4 กระบวนการนิเทศการศึกษา กระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นขั้นตอนการด าเนินการนิเทศในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และมีเหตุผล เพื่อให้การจัดการศึกษาประสบผลส าเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนด นักการศึกษาได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับกระบวนการนิเทศการศึกษาไว้ ดังนี้ Harris (1963) ได้ก าหนดขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการศึกษา ประกอบด้วยการด าเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นการวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนที่ผู้รับผิดชอบการนิเทศต้องคิดวิเคราะห์ถึงความต้องการ และความจ าเป็นในการนิเทศ เพื่อน ามาก าหนดวัตถุประสงค์การนิเทศให้สอดคล้องกันโดยต้องการคาดการณ์ ล่วงหน้าถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการนิเทศ จัดท าแผนการด าเนินโครงการ และก าหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. ขั้นการจัดองค์การ (Organizing) เป็นขั้นตอนที่ก าหนดโครงการของคณะท างาน ก าหนดเกณฑ์ มาตรฐาน การรวบรวมทรัพยากรที่มีทั้งบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ การมอบหมายงาน การประสานงาน การกระจาย อ านาจหน้าที่ โครงสร้างระหว่างงานต่าง ๆ 3. ขั้นการน าสู่การปฏิบัติ (Leading) เป็นขั้นตัดสินใจในการด าเนินการนิเทศ ก าหนดวิธีการ ในการนิเทศ กระตุ้น จูงใจ เสริมสร้างก าลังใจ ให้ค าแนะน า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการท างาน การแนะน า นวัตกรรมใหม่ ๆ และอ านวยความสะดวกในการปฏิบัติการนิเทศ


18 4. ขั้นการควบคุม (Controlling) เป็นขั้นการควบคุม ก ากับ ติดตามดูแลให้กระบวนการนิเทศด าเนิน ไปตามแผนและขั้นตอนที่ก าหนดไว้ ในบางครั้งอาจมีการชี้น า เสริมความคิด หรือแทรกแซง เพื่อปรับทิศทางหรือกระบวนการด าเนินงาน 5. ขั้นการประเมินผล (Assessing) เป็นขั้นที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศต้องร่วมกันประเมินผลการ นิเทศว่า สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดหรือไม่ การประเมินผลต้องจัดท าอย่างมีแบบแผนและมีความ เที่ยงตรงและอาจจัดท าการวิจัยประเมินผลร่วมด้วย สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้เสนอกระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน เรียกว่า “PIDRE”ดังนี้ 1. การวางแผน (Planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะประชุม ปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจ าเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติ เกี่ยวกับการนิเทศที่จัดขึ้น 2. ให้ความรู้ก่อนด าเนินการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของความเข้าใจถึงสิ่งที่จะด าเนินการว่า ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการด าเนินการอย่างไร และจะด าเนินการอย่างไรให้ ผลงานมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จ าเป็นทุกครั้งส าหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และส าหรับ งานนิเทศที่ยังได้ผลลัพธ์ในระดับที่ยังไม่พึงพอใจจ าเป็นที่จะต้องทบทวนให้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้ง หนึ่ง 3. การด าเนินการนิเทศ (Doing-D) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน 3 ลักษณะ คือ การปฏิบัติงานของ ผู้รับการนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) และการปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหาร) 4. การสร้างเสริมขวัญก าลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (Reinforcing-R ) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรง ของผู้บริหาร ซึ่งให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจด าเนินไปพร้อม ๆ กับผู้รับการนิเทศที่ก าลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นแล้ว 5. การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศประเมินผลการประเมินการ ด าเนินงานที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร หากพบปัญหา หรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ท าให้การด าเนินงานไม่ได้ผล สมควรที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข หน่วยศึกษานิเทศก์ (2562) ได้สรุปกระบวนการในการนิเทศที่สามารถน าไปใช้หรือประยุกต์ใช้ร่วมกับ เทคนิคการนิเทศต่าง ๆ และพัฒนาเป็นระบบ หรือรูปแบบ (Model) การนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของ สถานศึกษา โดยมีกระบวนการดังนี้ 1. เตรียมการนิเทศ เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการจ าเป็น นโยบาย ทิศทางการ จัดการศึกษา ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น 2. วางแผนการนิเทศ เป็นการก าหนดประเด็นการนิเทศ การวางแผนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมทั้ง ภายในหน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาผู้รับการ/นิเทศ รวมทั้งการก าหนดปฏิทิน วิธีการ รูปแบบ เครื่องมือ และ การประเมินและรายงานผลการนิเทศ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการด าเนินการนิเทศการศึกษา


19 3. ปฏิบัติการนิเทศ เป็นการน าแผนการนิเทศสู่การปฏิบัติ ซึ่งการนิเทศอาจเป็นการนิเทศ ที่สถานศึกษา การนิเทศทางไกลหรือออนไลน์ การใช้สื่อนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีการสื่อสารในการนิเทศ 4. ประเมินผลการนิเทศ เป็นการประเมินผลการนิเทศภายหลังสิ้นสุดการนิเทศในแต่ละภาคเรียน ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณ โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่จัดท าขึ้นอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับประเด็นการนิเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าการนิเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือประโยชน์ที่ผู้รับการนิเทศได้รับคืออะไร มีความพึง พอใจหรือความต้องการรับการนิเทศครั้งต่อไปหรือไม่อย่างไร 5. ปรับปรุงแก้ไขและรายงานผลการนิเทศ เป็นการน าข้อมูลจากผลการประเมินไปวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการนิเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของผู้รับ การนิเทศ และเมื่อเสร็จสิ้นการนิเทศแต่ละครั้งให้จัดท ารายงานการนิเทศเพื่อเป็นข้อมูลส าหรับการนิเทศครั้งต่อไป ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นการด าเนินการนิเทศร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ โดยมีการด าเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.5 ทักษะการนิเทศการศึกษา การนิเทศการศึกษาให้ประสบความส าเร็จบรรลุตามเป้าหมาย ผู้นิเทศจ าเป็นต้องมีทักษะ (Skills) ที่จ าเป็น 3 ด้าน คือ 1. ทักษะในเชิงวิชาการ (Technical skills) คือ เป็นผู้นิเทศที่มีความเข้าใจในลักษณะงานที่จะนิเทศ รวมทั้งกระบวนการที่งานนั้น ๆ ด าเนินไป ความเชี่ยวชาญในเชิงวิชาการนี้เป็นพื้นฐานของการเป็นผู้น าของ ผู้นิเทศงาน เนื่องจากมีความมั่นใจในสิ่งที่จะนิเทศ 2. ทักษะในเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal skills) เนื่องจากผู้นิเทศงานต้องท างานร่วมกับผู้อื่น จึงต้องมีความเชี่ยวชาญในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทั้งในด้านการพูด การฟัง และการปฏิบัติต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้นิเทศงานจึง ต้องมีคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่ มีความไวในความรู้สึก มีความจริงใจ และต้องการร่วมงานกับผู้อื่นอย่างแท้จริง ซึ่งจ าเป็นต้องมีความสามารถต่อไปนี้ 1) ฟังผู้อื่นสนทนาอย่างระมัดระวัง 2) สร้างสัมพันธภาพกับผู้คนได้ง่าย 3) ให้ก าลังใจและจูงใจผู้ร่วมงาน 3. ทักษะในด้านปัญญา (Conceptual skills) คือ เป็นผู้นิเทศที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญญา สามารถวิเคราะห์ปัญหา คาดการณ์ทางเลือกแต่ละทาง เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาต่อไป Wiles (1976) ได้เสนอทักษะในการนิเทศการศึกษาไว้ 5 ทักษะ ดังนี้ คือ 1) ทักษะการเป็นผู้น า (Leadership) 2) ทักษะในด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) 3) ทักษะด้านกระบวนการกลุ่ม (Group Process) 4) ทักษะในการบริหารงานบุคคล (Personnel Administration)


20 5. ทักษะในการประเมินผล (Evaluation Skills) หน่วยศึกษานิเทศก์ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) ได้กล่าวว่า ผู้นิเทศ จ าเป็นต้องมีการบูรณาการทักษะในการนิเทศที่ประกอบด้วยทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านการจัดการ และทักษะ ด้านเทคนิค เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างความเชื่อมั่นและ ศรัทธาให้กับผู้รับการนิเทศได้ร่วมมือปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นิเทศจ าเป็นต้องมีทักษะที่จ าเป็น ได้แก่ ทักษะด้านวิชาการ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านการจัดการ และทักษะด้านเทคนิค เพื่อให้การนิเทศการศึกษาประสบความส าเร็จบรรลุตามเป้าหมาย 2.6 ประเภทของการนิเทศการศึกษา การแบ่งประเภทของการนิเทศการศึกษา เกี่ยวข้องกับประวัติและวิวัฒนาการของการนิเทศการศึกษา ในสมัยก่อน ๆ รูปแบบการนิเทศการศึกษาขึ้นอยู่กับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ ดังนั้นการแบ่งประเภทของ การนิเทศการศึกษา จึงอาศัยลักษณะความแตกต่างของวัตถุประสงค์การนิเทศการศึกษาในแต่ละยุคแต่ละสมัย การแบ่งประเภทของการนิเทศการศึกษาตามจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. การนิเทศเพื่อการแก้ไข (Correction) เป็นการนิเทศที่เกิดจากการพบข้อผิดพลาดและบกพร่อง แล้วหาทางช่วยเหลือและแก้ไขโดยวิธีการต่าง ๆ 2. การนิเทศเพื่อป้องกัน (Preventive) เป็นการนิเทศเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นใน อนาคต ซึ่งพบจากการสังเกต หรือจากการวิเคราะห์ข้อมูล สารสนเทศของสถานศึกษา หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ 3. การนิเทศเพื่อก่อ (Construction) เป็นการนิเทศเพื่อการต่อยอด หรือเกิดความเจริญเติบโต ก้าวหน้าในอนาคต ทั้งระดับสถานศึกษา ครู และผู้เรียน 4 .การนิเทศเพื่อการสร้างสรรค์ (Creation) เป็นการนิเทศที่ส่งเสริมการคิดนวัตกรรมทางการศึกษา การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้เกิดขึ้นทั้งจากการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน 2.7 เทคนิคการนิเทศการศึกษา การนิเทศการศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากต้องด าเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบแล้ว การศึกษาและท าความเข้าใจถึงเทคนิควิธีการนิเทศจะช่วยให้ผู้นิเทศสามารถน าเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจขอผู้นิเทศว่าควรใช้เทคนิควิธีการนิเทศในลักษณะใด และจะน ามาใช้อย่างไรจึง จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้รับการนิเทศ หน่วยศึกษานิเทศก์ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) ได้กล่าวว่า เทคนิคการนิเทศ หมายถึง ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะในการนิเทศ หรือวิธีการน ากิจกรรมการนิเทศต่าง ๆ ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดใน การนิเทศ โดยมีความเหมาะสมกับบุคคล สถานที่ เวลา และสถานการณ์นั้น ๆ เทคนิคการนิเทศในปัจจุบันมีหลากหลายเทคนิควิธีการ มีการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการนิเทศ รูปแบบใหม่ขึ้นตลอดเวลา ซึ่งแต่ละเทคนิคมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ในการเลือกใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งในการ นิเทศนั้น ศึกษานิเทศก์ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการนิเทศแบบต่าง ๆและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้รับ


21 การนิเทศและสถานการณ์เป็นส าคัญ โดยการนิเทศการศึกษาที่ดีจะต้องมีการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบ บ มีการเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสม และต้องอาศัยจากความร่วมมือจากผู้รับการนิเทศ ตัวอย่างเทคนิคการนิเทศมีดังนี้ 1. การนิเทศแบบการชี้แนะ (Coaching Techniques) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแนะน าหรือ เรียนรู้จากผู้ช านาญการ (Coach) ในลักษณะที่ได้รับค าแนะน าหรือเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน มีหลักการ และแนวทางด าเนินการ ดังนี้ หลักการส าคัญของการนิเทศแบบชี้แนะ 1) การเรียนรู้วิธีการท างานพัฒนางานจากผู้เชี่ยวชาญ 2) ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานโดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะน าอย่างใกล้ชิด 3) ผู้เป็นโค้ชหรือผู้เชี่ยวชาญ มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะเป็นผู้แนะน า 4) บรรยากาศของการ Coaching เป็นบรรยากาศของความเป็นกัลยาณมิตร ขั้นตอนด าเนินการนิเทศแบบชี้แนะ 1) ผู้นิเทศศึกษาข้อมูลของผู้ที่รับการนิเทศ เช่น จุดเด่น ผลงานเด่น ความชอบ อัธยาศัยจุดอ่อน จุดที่จะต้องปรับปรุง โดยข้อมูลต่าง ๆ ควรบันทึกไว้อย่างมีระบบที่เหมาะสม 2) น าข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพ ได้แก่ การชมเชยหรือการสร้างบรรยากาศ เพื่อการเชื่อมโยงไปสู่ขั้นตอนต่อไป 3) สร้างความไว้วางใจกับผู้รับการนิเทศ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น โดยการศึกษาข้อมูลของ ผู้รับการนิเทศ เช่น จุดเด่น ผลงานเด่น อัธยาศัย การให้ค าชมเชย การสร้างบรรยากาศที่ดี 4) ใช้ค าถามที่เป็นเชิงของความคิดเห็น ไม่ท าให้ผู้ตอบจนมุมหรือเกิดความไม่สบายใจในการตอบ 5) เสนอแนะแนวทางแก้ไขหรือการพัฒนางานในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 6) น าข้อเสนอหรือแนวทางที่ร่วมกันคิดให้ผู้รับการนิเทศปฏิบัติ โดยผู้นิเทศคอยให้ค าแนะน าอย่าง ใกล้ชิด หรืออาจต้องสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง 2. การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching) การชี้แนะสะท้อนคิด เป็นเทคนิคในการให้ค าแนะน า หรือให้ค าปรึกษาพร้อมกระตุ้นให้เกิดการคิด ไตร่ตรองทบทวน (Reflective Thinking) พินิจพิเคราะห์และพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยใช้สติและมี สมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทาให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระท าของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความ เข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ น าไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น จุดมุ่งหมายของการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด 1. ศึกษานิเทศก์เป็นกระจกที่จะสะท้อนความคิดและความจริงของการกระท าให้เป็นระบบด้วย บรรยากาศสร้างสรรค์


22 2. ศึกษานิเทศก์เป็นหน้าต่างที่เปิดโอกาสสู่การเชื่อมโยงกับความรู้และปัจจัยภายนอก เพื่อเพิ่ม ทางเลือกและความมั่นใจในการตัดสินใจและลงมือกระท าการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง 3. ศึกษานิเทศก์สร้างความไว้วางใจ (Building trust) ความเข้าใจ และสนับสนุนให้คิดต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้ที่ท าหน้าที่โค้ชในการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด ศึกษานิเทศก์จาเป็นต้องให้คาแนะน า ชี้แนะ พร้อมสะท้อนให้เกิด กระบวนการคิด ดังนั้น คุณลักษณะส าคัญของศึกษานิเทศก์ ได้แก่ 1. เป็นบุคคลที่มีต้นทุนของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา วิธีสอน รวมถึงมีบุคลิกภาพและเจตคติที่ดี สม่ าเสมอ 2. มีความยืดหยุ่นไวต่อความรู้สึก และเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน 3. มีพื้นฐานและประสบการณ์ที่เข้าใจธรรมชาติและวัฒนธรรมการท างาน 4. มีการพัฒนาทักษะ การฟัง การคิด การถาม และการเขียนที่ชัดเจน 5. มีกระบวนการคิดทบทวน (Reflective Thinking) 6. มีพฤติกรรมการมองเชิงบวก จับถูก คิดถึงปัญหาที่เริ่มจากตนเอง 7. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พูดน้องลง ฟังมากขึ้น ไม่สั่งการใด ๆ 8. ช่วยก าหนดจุดพัฒนา เชื่อมโยงและสนับสนุนความเปลี่ยนแปลง กิจกรรม เทคนิค พฤติกรรมการโค้ชที่ส าคัญ ได้แก่ 1. ศึกษานิเทศก์นิเทศแบบโค้ชแนะน าตนเองสั้น ๆ และสร้างบรรยากาศที่ไว้ วางใจเป็นกันเอง โดย ใช้พฤติกรรมเชิงบวก และจับถูก แล้วต่อยอดความคิดและการกระท าในระหว่างการสนทนา 2. ขอให้ผู้รับการโค้ชแนะน าตนเอง และเล่าถึงสิ่งดี ๆ ที่ได้คิด ได้ท าและได้แก้ปัญหาการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนจนประสบความส าเร็จ รวมถึงการสะท้อนปัญหาที่ ต้องการแก้ไข หรือพัฒนาให้เกิด คุณภาพต่อไป 3. ศึกษานิเทศก์ผู้โค้ชฟังอย่างตั้งใจ ทั้งสีหน้าและแววตาบ่งบอกถึงความชื่นชม และควรบันทึก ประเด็นส าคัญไว้เพื่อทบทวน หากมีประเด็นที่ยังไม่ชัดควรใช้คาถามเพื่อให้เกิด ความชัดเจน 4. ในขณะสนทนาโค้ชสามารถใช้ค าพูดเสริมแรงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เล่ามีก าลังใจ และอยากเล่าต่อและ สร้างบรรยากาศให้เกิดการสนทนาอย่างต่อเนื่อง 5. ถ้ามีผู้รับการโค้ชคนอื่น ๆ อยู่ในวงสนทนาด้วย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกคนอื่นเติมเต็มก่อนที่ โค้ชจะเติม 6. ถ้ามีประเด็นค าถามควรเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มได้ลองคิดหาแนวทางแก้ปัญหาก่อนที่โค้ชจะ ตอบหรือให้ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ทีม การด าเนินการในการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (ขั้นตอนและกระบวนการโค้ช) มีขั้นตอนดังนี้ 1. Creates trust (สร้างความไว้ใจวางใจให้เกิดขึ้น) 2. Has “big ears, small mouth” (ฟังมาก และพูดน้อย)


23 3. Is non-judgmental (โค้ชไม่ใช่ผู้ตัดสิน) 4. Asks questions (ใช้ค าถามเพิ่มความชัดเจน) 5. Shows empathy (มีความรู้สึกร่วม เห็นอกเห็นใจ) 6. Is a constructive critic (วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์) 7. Challenges (สนับสนุนให้ลองวิธีใหม่ ๆ) 8. Makes suggestions or Gives advice (มีการให้ข้อเสนอแนะเท่าที่จ าเป็น) 9. Invites talk (กระตุ้นให้มีการพูดคุย) 10. Sustained over time (มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน) 11. Sets and monitors targets (แบ่งช่วงและวางเป้าหมายชัดเจน นัดหมายการโค้ชครั้ง ต่อไป 12. Gives ownership to teacher (ท าให้ผู้รับการโค้ชรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของความคิดและการ กระท านั้น) 3. การนิเทศแบบเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Mentoring) หมายถึง ผู้ให้ค าปรึกษาแนะน าช่วยเหลือผู้บริหาร สถานศึกษา และ ครูผู้สอนในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้มีศักยภาพการทางานสูงขึ้น คุณลักษณะของ Mentor 1. มีความสัมพันธ์ที่ดี (Interpersonal Skills) 2. การมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น (Influence Skills) 3. การตระหนักถึงผลส าเร็จในการท างานของผู้อื่น (Recognized other’s accomplishment) 4. การมีทักษะของการบังคับบัญชาที่ดี (Supervisory Skills) 5. มีความรู้ในสายวิชาชีพหรือสายงานของตน (Technical Knowledge) คุณลักษณะของ Mentee 1. เป็นผู้ที่มีประวัติในการท างานที่ประสบความส าเร็จ 2. เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์ในการท างาน 3. เป็นผู้มีความผูกพันกับสถานศึกษาและการจัดการศึกษา 4. เป็นผู้มีความใฝ่ฝันและความปรารถนาที่จะท างานให้บรรลุเป้าหมาย 5. เป็นผู้ที่ชอบความท้าทายและเต็มใจ พร้อมที่จะท างานนอกเหนือจากงานปกติ 6. เป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่จะได้รับความก้าวหน้าและเติบโตในสายอาชีพ 7. เป็นผู้ที่เต็มใจรับฟังค าสอนแนะและข้อมูลป้อนกลับจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาปรับปรุง ตนเองอยู่เสมอ บทบาทหน้าที่ของ Mentor มีดังนี้ 1. Guide Mentor จะเป็นผู้แนะแนวแก่กลุ่ม Mentee ในการระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากการปฏิบัติงาน ที่จะสร้างปัญหาและอุปสรรคต่อการท างานที่ท าให้ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ก าหนดได้


24 โดยจะไม่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกทางให้ แต่จะช่วยให้กลุ่ม Mentee มองเห็นภาพของสถานศึกษาในอนาคต เพื่อให้กลุ่ม Mentee กลับไปทบทวนการปฏิบัติที่ผ่านมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันว่าเขาได้ใช้ทักษะ วิธีการ และพฤติกรรมที่ดี หรือไม่ดีอย่างไร นอกจากนั้น Mentor จะตั้งค าถามที่กระตุ้นให้กลุ่ม Mentee หาค าตอบที่จะท าให้กลุ่มสามารถ มองเห็นกลยุทธ์ และเทคนิคใหม่ที่จะน าไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ ของ Mentee ทุกคนซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ของตนเองเท่านั้นแต่จะเรียนรู้จาก Mentor และจากประสบการณ์ของ Mentee คนอื่น ๆ ในกลุ่ม 2. Ally Mentor เป็นพันธมิตรที่คอยให้ข้อมูลแก่ Mentee แต่ละคนในกลุ่ม Menteeเกี่ยวกับ จุดอ่อน จุดแข็งของ Mentee แต่ละคน โดยวิธีการให้ Mentee เล่าถึงปัญหาของตน Mentor จะฟังอย่างตั้งใจ เห็นอกเห็นใจ และให้ข้อมูลความเห็นทั้งด้านดีและด้านไม่ดีอย่างตรงไปตรงมา และเป็นมิตร 3. Catalyst Mentor เป็นผู้กระตุ้นให้กลุ่ม Mentee มองภ าพวิสัยทัศน์และอน าคตของ สถานศึกษา ว่าจะไปทิศทางใดในอนาคต ทั้งพันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ และจะมีการขับเคลื่อนให้บรรลุ เป้าหมายของการจัดการศึกษา ประโยชน์ของนิเทศแบบ Mentoring 1. สร้างกลุ่มคนที่มีความสามารถ มีศักยภาพ ได้เร็วกว่าปกติ 2. จูงใจให้ครูปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติงานดี และมีศักยภาพในการท างานสูง ให้คงอยู่กับ หน่วยงาน 3. กระตุ้นให้ครูปฏิบัติงานสร้างผลงานมากขึ้น พร้อมที่จะท างานหนักและท้าทายมากขึ้น 4. สร้างบรรยากาศของการน าเสนองานใหม่ ๆ หรือความคิดนอกกรอบมากขึ้น 5. สร้างระบบการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) 4. การนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัย การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การน ากระบวนการวิจัยมาเป็นเทคนิคหนึ่งในการนิเทศการศึกษา จ าเป็นที่ผู้นิเทศจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน กระบวนการท าวิจัย และสามารถน ามาใช้ในการด าเนินงานนิเทศการศึกษา ดังนี้ 1. การก าหนดและวิเคราะห์ปัญหา ผู้นิเทศจะท างานร่วมกับครูโดยตรง ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ สภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ (ครู) จุดเด่น จุดควรพัฒนาร่วมกับครู วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ลักษณะปัญหาส าคัญที่เกี่ยวข้องกับครู เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผล โดยมองในด้านของความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการและเจตคติเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ 2. การก าหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสาเหตุของปัญหา ผู้นิเทศจะร่วมกับผู้รับการนิเทศ ก าหนดวิธีและแนวทางการนิเทศเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ คิด พัฒนาสื่อและนวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นวิธีการ/กิจกรรมการ นิเทศ สื่อการนิเทศ เช่น เอกสาร คู่มือ ชุดพัฒนา สิ่งเหล่านี้จะอยู่บนพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ วิธีการนั้น ๆ ตลอดทั้งมีการหาคุณภาพของสื่อที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความเชื่อถือได้


25 3. การด าเนินการนิเทศ โดยน าวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นสื่อ นวัตกรรมที่พัฒนาไปใช้ในการนิเทศ ใน ขั้นตอนนี้จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และน าข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่ เหมาะสมหรือการอธิบายในเชิงคุณภาพ (พรรณนา) 4. การสรุปผลและเขียนรายงาน โดยการน าผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลไปสรุปผลตาม วัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ให้ครอบคลุมทุกประเด็น แล้วน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมและมี คุณภาพ จากนั้นเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย โดยก าหนดกรอบการเขียนที่ สอดคล้องกับการด าเนินงานวิจัย 5. การเผยแพร่ หลังจากที่ได้มีการสรุปและเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานแล้ว ผู้นิเทศควรจะมี การเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความสนใจน าไปใช้หรือต่อยอดต่อไป การเผยแพร่อาจท าได้ หลายวิธี เช่น เวทีการน าเสนอผลงานทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ เผยแพร่ในลักษณะของบทความทางวิชาการ เผยแพร่ทาง Internet เป็นต้น 5. การนิเทศแบบกัลยาณมิตร เทคนิคการนิเทศนี้ใช้กรอบความคิดพื้นฐานของกัลยาณมิตรนิเทศ คือ การใช้หลักธรรมความเป็น กัลยาณมิตร 7 ประการ ได้แก่ 1. ปิโย น่ารักในฐานเป็นที่สบายใจ และสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม 2. ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และ ปลอดภัย 3. ภาวนีโย น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้ และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็น ผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ท าให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยความซาบซึ้งภูมิใจ 4. วตตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้ค าแนะน า ว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี 5. วจนกขม อดทนต่อถ้อยค า คือ พร้อมที่จะรับฟังค าปรึกษา ซักถาม ค าเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว 6. คมภีรญจ กถ กตตา แถลงเรื่องล้ าลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน ให้เข้าใจและให้ เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป 7. โน จฏฐาเน นีโยชเย ไม่ชักน าในอฐานะ คือ ไม่แนะน าในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทาง เสื่อมเสีย หลักการนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร การนิเทศแบบกัลยาณมิตรเน้นประเด็นส าคัญ 4 ประการ คือ 1. การสร้างศรัทธา ผู้นิเทศจะต้องสร้างศรัทธา เพื่อให้เพื่อนครูยอมรับและเกิดความสนใจที่จะใฝ่รู้ ใฝ่ปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้


26 2. การสาธิตรูปแบบการสอน ผู้ให้การนิเทศจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญนั้นสามารถปฏิบัติและท าได้จริง ๆ และเพื่อนครูสามารถน ารูปแบบไปประยุกต์ในชั้นเรียนได้ 3. การร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะต้องมีการพบปะกันอย่างสม่ าเสมอ มี การร่วมคิดแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 4. การติดตามประเมินผลตลอดกระบวนการ ผู้นิเทศจะต้องบันทึกการนิเทศอย่างสม่ าเสมอ สังเกต และรับฟังข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนครูผู้รับการนิเทศ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขึ้นใหม่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องสืบไป กระบวนการของการนิเทศแบบกัลยาณมิตร การนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีกระบวนการดังนี้(อัญชลี ธรรมะวิธีกุล, 2009) 1. ไม่มุ่งเน้นปริมาณ - เน้นความชัดเจนของขั้นตอน วิธีการ 2. สานพลังอาสา - เริ่มที่ศรัทธา / อาสาสมัคร / ไม่ใช่การสั่งการ 3. เสวนาร่วมกัน - ใช้อปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ 1) หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์2) พร้อมเพรียงท า กิจที่พึงท า 3) ปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้สิ่งใดดีอยู่รู้รักษา 4) ศรัทธา ยอมรับนับถือกันและกัน 5) ไม่บังคับ ไม่ห้ า หั่น ลุแก่อ านาจบังคับบัญชา 6) พัฒนาไปตามสภาพจริงของสถานศึกษาที่เป็นเรื่องชัดแจ้ง และ 7) คุ้มครอง เสริมแรง ให้ก าลังใจ 4. สร้างสรรค์ความเป็นมิตร - ชักชวนให้ร่วมกันพัฒนา 5. ฝึกคิดมุ่งมั่น - มีความเพียร อดทน รู้จักใช้เหตุผล 6. ทุกวันปฏิบัติ - ท าอย่างต่อเนื่อง 7. จัดท าบันทึกแนวทาง - รู้จักสังเกตแล้วบันทึก สุมน อมรวิวัฒน์ (2547) ได้กล่าวว่า กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศเน้น 5 กระบวนการส าคัญ ได้แก่ 1. เน้นการนิเทศคน ไม่ใช่นิเทศกระดาษ 2. เป็นกระบวนการให้ใจและร่วมใจ 3. กัลยาณมิตรเริ่มต้นที่ศรัทธา 4. เน้นการสร้างสังคมการเรียนรู้ 5. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศมาจากฐานปัญญาธรรม ฐานเมตตาธรรม และฐานความเป็นจริง ในชีวิต 6. การนิเทศแบบมีส่วนร่วม การนิเทศแบบมีส่วนร่วม เป็นการนิเทศการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่มุ่งการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นิเทศและ ผู้รับการนิเทศ ในการร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมแก้ปัญหาและเจรจาตกลงใจที่จะด าเนินการร่วมกัน โดยทุกคนมี สิทธิ์เท่าเทียมกันตามวิถีทางประชาธิปไตย


27 ขั้นตอนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ก าหนดไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ เป็นขั้นเริ่มต้นที่จะได้ข้อมูล เพื่อน าไปประกอบในการวางแผน และก าหนดทางเลือก ผู้นิเทศ จ าเป็นจะต้องท าการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง สิ่งแรกที่จะต้องท าคือ ส ารวจสภาพปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูล ทั้งภายในและภายนอก จ าแนกข้อมูลปัจจัยเบื้องต้นทางด้านกายภาพ เช่น อาคารสถานที่ สิ่งอ านวยความสะดวก ต่าง ๆ สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการบริหาร เป็นต้น 2. การวางแผนและก าหนดทางเลือก การวางแผนเป็นการเริ่มต้นของการก าหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย หลักการท างาน ก าหนดเกณฑ์ มาตรฐานงานจากข้อมูลที่ได้ก าหนด จะพัฒนาตามความส าคัญล าดับ 1, 2, 3 คณะทุกท่านระดมความคิดสร้าง ทางเลือก และเลือกทางเลือกที่สามารถท าได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์กิจกรรมช่วงเวลา ด าเนินการ แหล่งทรัพยากรที่ใช้สนับสนุน 3. การสร้างสื่อและเครื่องมือ หลังจากผู้นิเทศและครูได้ร่วมกันวางแผนก าหนดทางเลือกในการนิเทศแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ผู้นิเทศและครูผู้สอนต้องร่วมกันสร้างสื่อและเครื่องมือ เพื่อใช้ในการด าเนินการนิเทศและเครื่องมือที่สร้างขึ้น ต้อง ได้รับการยอมรับและเห็นพ้องต้องกันก่อนจะใช้ปฏิบัติการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศจะแตกต่างกันไป ตาม กิจกรรมการนิเทศ เช่น เครื่องมือในการประชุมปฏิบัติการ เครื่องมือเยี่ยมชั้นเรียน เครื่องมือสังเกตการสอน เครื่องมือในการประชุมปรึกษาหารือ 4. การปฏิบัติการนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศเป็นขั้นตอนที่ส าคัญที่สุดซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศตกลงกันไว้ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร จะเป็นเพียงเยี่ยมชั้นเรียน หรือประเมินเอกสารหลักฐาน หรือการสังเกตการสอนในชั้นเรียน ควรเป็นแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นิเทศมีส่วนร่วมในการท าหน้าที่บางอย่างในชั้นเรียน เช่น ช่วยสอน ช่วยตอบค าถาม ช่วยหยิบอุปกรณ์การทดลอง ร่วมสังเกตการสอน จดบันทึกอย่างย่อ ๆ ในขณะท าการสังเกตการสอนตลอดตาม ที่สอน 5. การประเมินผลและการรายงานผลการนิเทศ การประเมินผลการนิเทศ เป็นกระบวนการที่ต้องรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทราบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค และความส าเร็จในการปฏิบัติการนิเทศ โดยใช้วิธีการ และเครื่องมือที่ผู้นิเทศและครูได้ร่วมกันสร้าง ขึ้น ก าหนดดังนี้ 1) การประเมินประสิทธิผล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินสภาพเมื่อเริ่มต้น เป็นการประเมินความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนจะ เริ่มปฏิบัติการนิเทศ เช่น ความพร้อมของครู ระบบการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หรือคุณภาพด้าน ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ระยะที่ 2 เป็นการประเมินสภาพระหว่างปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า


28 ระยะที่ 3 เป็นการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการด าเนินงาน ตรวจสอบผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหรือไม่ ได้ตามเกณฑ์ที่ก าหนดหรือไม่ 2) เปรียบเทียบผลที่ได้กับเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ ผลจากการประเมินการปฏิบัติการนิเทศ จะน ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์ มาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามเป้าหมาย แล้วพิจารณาตรวจสอบว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดที่ ต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป 3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้เกี่ยวข้อง ผลการประเมินที่ประมวลไว้นั้น ผู้นิเทศจะต้อง รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบ โดยเฉพาะครูผู้สอนจะต้องทราบอย่างชัดเจนว่า กระบวนการเรียนการสอน ของตนเป็นอย่างไร ควรปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาให้ดีขึ้นตรงจุดไหน 7. การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) การนิเทศแบบคลินิก หมายถึง กระบวนการส าหรับการสังเกตการสอนในชั้นเรียนที่มีการด าเนินงาน อย่างมีระบบ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู โดยครูและผู้นิเทศจะร่วมมือกันอย่าง ใกล้ชิด ในการวางแผนการสอน การสังเกตการสอน การวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอน เพื่อหาทางปรับปรุง แก้ไขร่วมกัน และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ครูสามารถนิเทศตนเองได้ในที่สุด และในการด าเนินงานนั้น ครูและ ผู้นิเทศจะร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ ความเชื่อมั่น ความจริงใจ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การนิเทศ แบบคลินิกยังมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย และเป็นการนิเทศที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง แต่ขณะเดียวกันก็จะประสาน ผลประโยชน์ของครูและโรงเรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าขณะที่การนิเทศมุ่งจะพัฒนาวิชาชีพของครูเป็น รายบุคคล แต่ก็ต้องให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความต้องการของโรงเรียนด้วย ขั้นตอนการนิเทศแบบคลินิก นิพนธ์ ไทยพาณิช (2528) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการนิเทศแบบคลินิก สรุปได้ดังนี้ 1. การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน (Preobservation conference) เพื่อทราบข้อมูล เกี่ยวกับความตั้งใจ และจุดประสงค์การสอนของครู (จุดประสงค์ของบทเรียน เนื้อหาวิชา แผนขั้นตอนการสอน วิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน และการวัดผล)นอกจากนี้เป็นการสร้าง ข้อตกลงเบื้องต้น ระหว่างครูและผู้นิเทศ (เช่น รายการหรือปัญหาที่ครูสนใจที่จะให้ผู้นิเทศสังเกตขณะที่สอนเพื่อจะ ได้มาซึ่งข้อมูลป้อนกลับ) อีกทั้งก าหนดแผนในการสังเกตการสอน (เช่น วิธีการที่ผู้นิเทศจะสังเกตการสอน จะใช้ เครื่องบันทึกเสียงหรือไม่ ใช้เวลานานเท่าใด) 2. การสังเกตการสอน (Observation) เพื่อสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูในบทเรียนและ แผนการสอนที่ครูได้ร่างมา โดยผ่านการประชุมแก้ไขร่วมกันกับผู้นิเทศในขั้นตอนที่หนึ่ง 3. การวิเคราะห์และหาแนวทางปรับปรุงการสอน (Analysis and strategy) เพื่อทบทวนและ รวบรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสังเกตการสอน ในระหว่างที่ครูด าเนินการสอนอยู่และเพื่อประเมินการ จัดการเรียนการสอน 4. การประชุมนิเทศ (Supervision conference) เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ และเพื่อให้แนวทางใน การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไปด้วย


29 5. การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ (Postconference analysis) เพื่อเป็นการทบทวน และรวบรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากขั้นตอนที่หนึ่งของการนิเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นตอนของการ ประชุมนิเทศ เพื่อเป็นการวิเคราะห์ และประเมินพฤติกรรมการนิเทศที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจของผู้นิเทศ เกณฑ์ การนิเทศ คุณค่าของการประชุมนิเทศส าหรับครูนอกจากนี้เพื่อพิจารณาด าเนินการนิเทศ เปรียบเทียบกับการ พัฒนาทักษะการนิเทศของผู้นิเทศ อีกทั้งเพื่อประเมินทักษะการนิเทศ ของผู้นิเทศในแต่ละบทบาทและภาพรวม ทั้งหมดเกี่ยวกับการนิเทศในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการนิเทศ 8. การนิเทศแบบเน้นการพัฒนา (Developmental Supervision) การนิเทศแบบเน้นการพัฒนาเป็นการเน้นพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศ ให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ไข ปัญหาของตนเองได้ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา Glickmam (1981) ได้แบ่งวิธีการนิเทศแบบเน้นการ พัฒนาเป็น 3 วิธีคือ วิธีที่มีการชี้น า วิธีที่ไม่มีการชี้น า และวิธีผสมผสาน โดยพิจารณาตามความสามารถของผู้ได้รับ การนิเทศ 9. การนิเทศแบบเน้นการให้ค าแนะน า (Tractive Supervision) เป็นการนิเทศที่ผู้นิเทศให้ค าแนะน าแก่ผู้ได้รับการนิเทศ เพื่อน าไปปรับปรุงแก้ไข เช่น แนะน าแนวทาง การส่งเล่มผลงานให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน 2.8 การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา การน าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) มาใช้เป็นเครื่องมือในการนิเทศการศึกษาในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งการพัฒนาทางการศึกษาจะเป็นการ พัฒนาคุณภาพของพลเมืองในประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของการนิเทศการศึกษา ส่งเสริมการนิเทศการศึกษาให้มีความต่อเนื่อง ทั้งยังช่วยจัดท าข้อมูล สารสนเทศเพื่อการนิเทศการศึกษาและใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือส าคัญที่ช่วยการนิเทศการศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554) เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษาใน 3 ลักษณะ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554) คือ 1. การนิเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยี ได้แก่ นิเทศพัฒนาด้านระบบการท างานของคอมพิวเตอร์ความสามารถใน การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดท าระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดการสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน e-Mail และ Internet เป็นต้น 2. การนิเทศเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ การให้รู้ความรู้ใหม่ ๆ และการฝึกทักษะความสามารถการใช้ เทคโนโลยีในการพัฒนาสื่อ การใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โทรทัศน์ที่ส่งผ่านตาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet การใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น


30 3. การนิเทศโดยใช้เทคโนโลยี ได้แก่ การสื่อสารการนิเทศด้วยระบบการสื่อสารสองทาง (interactive) กับ เทคโนโลยี เช่น การอบรมผ่านระบบเครือข่าย การฝึกทักษะกับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การเลือกแพลตฟอร์มในการนิเทศการศึกษาออนไลน์ ในการนิเทศการศึกษาออนไลน์ สิ่งส าคัญคือระบบสื่อสารระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศต้องมี ความเข้าใจที่ตรงกัน การเลือกใช้แพลตฟอร์มในการนิเทศออนไลน์จึงเป็นสิ่งส าคัญ หน่วยศึกษานิเทศก์(2564) ได้ เสนอแนวทางในการเลือกแพลตฟอร์ม ดังนี้ 1. การใช้แพลตฟอร์มการนิเทศออนไลน์ในแต่ละแพลตฟอร์มมีค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้Account ซึ่ง ผู้นิเทศต้องค านึงถึงความต้องการจ าเป็นและงบประมาณเพื่อขอเปิดใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพการท างานของ แพลตฟอร์มอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจ าเป็นต้องเลือกใช้เพียงแพลตฟอร์มเดียว 2. การเลือกใช้แพลตฟอร์มจะต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้รับการนิเทศส่วนใหญ่ที่มีความถนัด และใช้งานสะดวก 3. การเสือกใช้แพลตฟอร์มเดียวท าให้เกิดความสะดวกแก่ผู้รับการนิเทศ ผู้เรียน หากให้สิทธิผู้นิเทศ แต่ละคนเลือกใช้งานตามตัวเองถนัด ต่างคนต่างใช้ จะเกิดปัญหาในการใช้งานที่ใช้แพลตฟอร์มแตกต่างกันไป 4. การเลือกใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็ตามจ าเป็นต้องมีการฝึกอบรมในการใช้งานให้ทั้งผู้นิเทศและผู้รับ การนิเทศให้สามารถใช้งานคล่องและมีประสิทธิภาพ


31 บรรณานุกรม กนกพร กังวาลสงค์. (2564, 21 กันยายน). ทิศทางการปรับตัวของการศึกษาในยุค New Normal. หน่วย พัฒนาและบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ETS). https://www.ets.kmutt.ac.th/post/new- normal-in-thai-education นิพนธ์ ไทยพานิช. (2528). การนิเทศแบบคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 2). รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์. พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์. (2563, 29 กรกฎาคม). อาจารย์จุฬาฯ แนะการใช้สื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุค New Normal. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.chula.ac.th /news/33060/ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). น าศิลป์โฆษณา. วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 2). มิตรสยาม. สถาพร สมอุทัย. (2565). “การนิเทศการศึกษา” หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 275-288. หน่วยศึกษานิเทศก์ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf หน่วยศึกษานิเทศก์ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ศาสตร์และศิลป์ในการนิเทศ การศึกษา. https://drive.google.com/file/d/1SZtW4GZ9vfMco9Rec4pvEbyyZmIFBro/view ส านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). อนาคตของการเรียนรู้ FUTURE OF LEARNING. https://ifi.nia.or.th /wp-content/uploads/2022/01/NIA-x-FTL-2021-Future-of-Learning.pdf Burton, W. R. & Bruckner, L. J. (1974). Supervision a Social Precess. Appleton Century Croft. Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross, G. J. M. (1955). Supervision and Instructional Leadership A Development (Approach 3rd ed). Allyn and Bacon. Inc Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. McGraw Hill. Haris, B. M. (1963). Supervisory Behavior Education. University of Texus Press. Wiles, K. & Lovell. J. T. (1967). .Supervision for Better Schools (3rd ed). Prentice-Hall.


32


Click to View FlipBook Version