จัดทำ โดย 1.นางสาวนฤมล บุญมาลา รหัส 65115265103 2.นางสาวกุลวดี แสงสุรินทอง รหัส 65115265114 3.นางสาวสุภาวดี คำ เห็น รหัส 65115265120 คณะครุศาสตร์ สาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เสนอ อ.ดร ปัณฑิตา อินทรรักษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร การปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบันมีการกระจายอำ นาจทางการศึกษาให้แก่สถานศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิรูปด้าน หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำ เป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรถือเป็นเครื่องมือสำ คัญที่ใช้กำ กับทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ให้เป็นคนที่สมบูรณ์และมีคุณภาพทั้งความรู้ มีทักษะการใช้ชีวิต และสามารถดำ รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความพร้อมที่ จะพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข หลักสูตรต้องสนองต่อความมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษาและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองและสังคมของประเทศ ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลกั สูตร ซึ่งได้แก่ ความหมาย ความ สำ คัญองค์ประกอบ รูปแบบ และระดับของหลักสูตร ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร ความหมายของหลักสูตร คำ ว่า “ หลักสูตร” แปลมาจากคำ ในภาษาอังกฤษว่า “Curriculum ” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Currere ” หมายถึง “ running course ” หรือ The Course To Run หมายถึง เส้นทางที่จะใช้วิ่งไป ซึ่งเส้นทางดังกล่าวได้แก่ ลู่ (Track) นั่นเอง ลู่ หมายถึง สนามวิ่งแข่งขันซึ่งต้องมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่นักวิ่งจะต้องเอาชนะหรือทำ ให้สำ เร็จ เป็นสิ่งที่มีการเริ่มต้นและมี การจบสิ้น เมื่อ นำ มาเปรียบเทียบกับทางด้านการศึกษา ก็อาจหมายถึงการที่ผู้เรียนจะสำ เร็จการศึกษาในระดับใดหรือหลักสูตร ใดผู้เรียน จะต้อง ฟันฝ่าความยากของวิชาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ตามลาำ ดับขั้นที่กำ าหนด
ความสำ คัญของหลักสูตร หลักสูตรนับว่ามีความสำ คัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักสูตรจะเป็นแนวทางสำ หรับผู้สอนในการจัดการ เรียนรู้ ซึ่งนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำ คัญของหลักสูตรไว้โดยสรึปในหลายประการต่อไปนี้ 1. ความสำ คัญของหลักสูตรต่อการศึกษาส่วนรวม หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์ หรือเป้าประสงค์ของการศึกษาของชาติ ลง สู่การปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรคือสิ่งที่นำ เอาความมุ่งหมายและนโยบายการศึกษา ไปแปลงเป็นการกระทำ ขั้นพื้นฐานในโรงเรียนหรือ สถานศึกษา 2. ความสำ คัญของหลักสูตรต่อการเรียนการสอน หลักสูตรเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์แก่ผู้เรียนหลักสูตรจึง เปรียบเสมือนแผนที่เดินเรือซึ่งบอกให้กัปตันหรือครูสอนรู้ว่าจะต้องตั้งเข็มทิศไปทางใดและจุดมุ่งหมายปลายทางของการเรียนการสอนคืออะไร
องค์ประกอบของหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร หมายถึง ส่วนที่อยู่ภายในและประกอบกันเข้าเป็นหลักสูตรเป็นส่วนสำ คัญที่จะทำ ให้ความหมายของ หลักสูตรสมบูรณ์ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ธำ รง บัวศรี ให้ความเห็นว่า หลักสูตรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำ คัญขาดไม่ได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. จุดหมายของหลักสูตร 2. จดุประสงค์ของการเรียนการสอน 3. เนื้อหาสาระและประสบการณ์ 4. ยุทธศาสตร์การสอนการเรียน 5. วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 6. การประเมินผลหลักสูตรและประเมินผลการเรียนการสอน บุญชม ศรีสะอาด กล่าวว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 องค์ประกอบคือ 1. จุดประสงค์ 2. สาระความรู้ประสบการณ์ 3. กระบวนการเรียนการสอน 4. การประเมินผล
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum Aims) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตร ถือว่าเป็นส่วนสำ คัญอันดับแรกของหลักสูตร เพราะจุดมุ่งหมายนั้นคือการ ตอบคำ ถามว่าจะจัดการศึกษาระดับนั้นเพื่ออะไร หรือต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไร ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมด้านใดบ้าง จึงถือว่า เป็นคนที่มีคุณค่าแก่สังคมจุดมุ่งหมายนั้นมีอยู่หลายระดับ 2. เนื้อหาสาระและประสบการณ์ (Content and Experience) เมื่อกำ หนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเรียบร้อยแล้วกิจกรรมต่อไปก็คือ การ เลือกสรรวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำ หนดไว้ 3. กระบวนการเรียนการสอน (The Teaching Process) การสอนถือว่าเป็นหัวใจของการนำ หลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงเป็นผู้มีบทบาท สำ คัญในฐานะเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หากครูผู้สอนได้ศึกษาหลักสูตรจนเข้าใจและสามารถนำ ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้เป็น อย่างดีแล้วย่อมทำ ให้หลักสูตรเกิดสัมฤทธิ์ผล 4. การประเมินผล (Evaluation) การประเมินผลหลักสูตร คือ การหาคำ ตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลที่กำ หนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ ประกอบที่ชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่การกำ หนดจุดมุ่งหมาย การเลือกเนื้อหาวิชาต่าง ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ข้อมูลจากการประเมินผลนี้จะ เป็นแนวทางไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
องค์ประกอบของหลักสูตรโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำ คัญ 4 ส่วน ดังนี้ (Ornstein andHunkins, 1988, p.233) 1. จุดมุ่งหมาย (Objectives) การกำ หนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการตอบคำ ถามว่า เราจะจัดการศึกษาในระดับนั้นเพื่ออะไร ต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างไร 2. เนื้อหาสาระ (Subject matter) การคัดสรรเนื้อหาสาระเป็นการกำ หนดความรู้และ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำ หนดไว้ 3. วิธีการและการจัดการ (Method and Organization) คือการนำ เอาหลักสูตรไปใช้ ตั้งแต่ระดับถานศึกษาจนถึงในระดับชั้นเรียน 4. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการตรวจสอบผลการใช้หลักสูตรว่ามีสิ่งใดที่ต้อง ปรับปรุงแกไข้ ซึ่งได้แก่การประเมินผลการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตรน้ัน ในตำ ราภาษาอังกฤษมีผู้ใช้หลายคำ ในความหมายเดียวกัน ได้แก่ คำ ว่า Design, Structure, Pattern และ Organization หลักสูตรทั้งหลายจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปทั้งนี้เนื่องจากมีอิทธิพลของความคิดปรัชญา และทฤษฎีทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ ธำ รง บัวศรี กล่าวว่า หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เนื่องจากมีแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย แต่ สามารถรวบรวมได้เป็น 6 แนวคิดดังนี้
1. แนวความคิดที่ยึดวิชาหรือสาขาวิชาเป็นหลัก 2.แนวความคิดที่ยึดกิจกรรมและปัญหาของ สังคมเป็นหลัก 3. แนวความคิดที่ยึดความต้องการและ ความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก 4. แนวความคิดที่ยึดความสามารถเฉพาะของ ผู้เรียนเป็นหลัก 5. แนวความคิดที่ยึดทักษะในกระบวนการเรียน เป็นหลัก 6. แนวความคิดที่ยึดหลักการผสมผสานทั้งใน ด้านกระบวนการและความรู้
บุญชม ศรีสะอาด กล่าวว่ารูปแบบของหลักสูตรแบ่งออกได้เป็น 11 รูปแบบดังนี้ 1. หลักสูตรรายวิชา 2. หลักสูตรสหสัมพันธ์ 3. หลักสูตรผสมผสาน 4. หลักสูตรหมวดวิชา 5. หลักสูตรวิชาแกน 6. หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ 7. หลักสูตรที่เน้นสมรรถฐาน 8. หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาทางสังคม 9. หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละ บุคคล 10. หลักสูตรมนุษย์นิยม 11. หลักสูตรประสบการณ์ รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์ ได้ประเภทหลักสูตรที่สำ คัญไว้ 8 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Curriculum) 2. หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlated Curriculum) 3. หลักสูตรกว้าง (Broad-Field Curriculum) 4. หลักสูตรแกน (Core Curriculum) 5. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum) 6. หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (Competencies Based Curriculum) 7. หลักสูตรบูณาการ (Integrated Curriculum) 8. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum)
ชวลิต ชูกำ แพง ได้สรุป รูปแบบหลักสูตรที่สำ คัญดังนี้ 1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Curriculum) 2. หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlated Curriculum) 3. หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) 4. หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Field Curriculum) 5. หลักสูตรแกน (Core Curriculum) 6. หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาทางสังคม (Social Activities and ProblemCurriculum) 7. หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Need and Interest ofIndividualCurriculum) 8. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 9. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) 10. หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards Based Curriculum) จากแนวคิดข้างต้นของนักการศึกษา นักพัฒนาหลักสูตรได้กล่าวถึงประเภทของหลักสูตรไว้หลากหลายประเภท ซึ่งความคิดหลักมีความ สอดคล้องกัน ผู้เขียนเสนอประเภทหลักสูตรสำ คัญไว้ 10ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. หลั
1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Curriculum) หลักสูตรรายวิชา เป็นหลักสูตรที่ใช้มานานที่สุด ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม(Essentialism) โครงสร้างหลักสูตรแยกเป็น รายวิชา แต่ละรายวิชาจะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก กระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นครูเป็นผู้ถ่ายทอด ความรู้ จุดหมายของหลักสูตรต้องการพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ความจำ ของผู้เรียนมากกว่าการนำ ประโยชน์ของความรู้ไปใช้ใช้ในชีวิตประจำ วัน 2. หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlated Curriculum) หลักสูตรสัมพันธ์วิชา เนื่องจากหลักสูตรรายวิชามีข้อบกพร่องหลายด้าน นักพัฒนาหลักสูตรจึงพยายามแก้ไขปรับปรุงให้รายวิชาต่าง ๆ ใน หลักสูตรมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันมากขึ้นเช่นในกรณีผู้สอนอย่างน้อยสองรายวิชาร่วมกันวางแผนจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยสอนหัวเรื่อง เดียวกนั มีการเชื่อมโยงไปสู่รายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน 3. หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Field Curriculum) หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างเป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชาด้วยการรวมเอาวิชาที่มีลักษณะเนื้อหาคล้ายกัน หรือใกล้เคียงกันมารวมไว้ในหมวดวิชาเดียวกันเช่น หมวดวิชาสังคมศึกษาประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีล ธรรมหมวดวิชาคณิตศาสตร์ประกอบด้วยวิชาเลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต และตรีโกณมิติ เป็นต้น 4.หลักสูตรกิจกรรม หรือหลักสูตรประสบการณ์ (Activity or ExperienceCurriculum)แนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรกลุ่มนี้ต้องการ แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบเดิมที่เอาเนื้อหารายวิชาเป็นตัวตั้ง โดยไม่คำ นึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน หลักสูตรนี้ได้รับ อิทธิพลจากแนวคิดของปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
5. หลักสูตรแกน (Core Curriculum) หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรอีกรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชาในระยะแรก การจัดทำ หลักสูตรแกนจะเริ่มจากการนำ เนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกัน กำ หนดหัวข้อใหม่เอาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาแกนแล้วนำ วิชาอื่น ๆ มาสัมพันธ์กัน โดยคำ นึงถึงความต้องการและ ความสนใจของผู้เรียนเป็นแกนของหลักสูตร เน้นวิธีการแก้ปัญหานำ เอาบทบาทหน้าที่ของบุคคลในสังคมและปัญหาของสังคมเป็นแกนของหลักสูตร 6. หลักสูตรชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) การจัดหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคมเป็นหลักสูตรชีวิตจริงของผู้เรียนและสังคมเป็นหลักเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำ ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิต ประจำ วันได้และสามารถดำ รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของสังคม เป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรเน้นให้ผู้ เรียนมีพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาร่างกาย อารมณ์และสังคม การจัดเนื้อหาวิชาเน้นเนื้อหาสาระให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียนในสังคมหรือ ประสบการณ์จริงให้มากที่สุด 7. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่หลอมรวมความรู้และประสบการณ์จากรายวิชาต่างๆ เข้ามาจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่เดียวกันให้มีความสัมพันธ์ เป็นเรื่องเดียวกัน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม สามารถนำ ความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ในชีวิต ประจำ วัน หลักสูตรบูรณาการ คือ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต จัดเนื้อหา ในลักษณะหัวข้อเรื่องหรือโครงงานหรือบูรณาการโดยเน้นสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8. หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Need and Interestof Individual Curriculum) หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคลเป็นหลักสูตรที่กำ หนดไว้สร้างขึ้นตามความรู้เกี่ยวกับความต้องการและความสนใจของ ประชากรที่จะเรียนตามหลักสูตรนั้นหลักสูตรที่สร้างขึ้นนั้นมีความยืดหยุ่นสูง โดยจัดเตรียมให้สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน เฉพาะราย และมีทางเลือกหลาย ๆ ทางสำ หรับผู้เรียน ผู้เรียนได้รับคำ ปรึกษาและได้รับการสอนเป็นรายบุคคลตามจุดที่เหมาะสมในหลักสูตรและ กระบวนการสอนน้ัน
9. หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards Based Curriculum) หลักสูตรอิงมาตรฐาน หมายถึง หลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำ หนดมาตรฐาน การเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถาน ศึกษา ตลอดจนถึงระดับชั้นเรียน จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการ กำ หนดโครงสร้าง เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 10. หลักสูตรสมรรถนะ (Competencies Based Curriculum) สมรรถนะ (Competence) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติ (Performance)ภายใต้เงื่อนไข (Condition) โดยใชเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ที่ระบุไว้ให้ได้มาตรฐาน (Standard) ตามเกณฑการปฏิบัติ (Performance Criteria) และมีหลักฐานการปฏิบัติ (Evidence) ใหประเมินผล และตรวจสอบได้หลักสูตรฐานสมรรถนะ จึงยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก การออกแบบหลักสูตรตามแนวคิดนี้จะมีการกำ หนดเกณฑ์ความ สามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้หลักสูตรที่เรียกว่าหลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ จัดทำ ขึ้นเพื่อประกันว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่งๆจะมีทักษะและ ความสามารถในด้าน ต่าง ๆ ตามที่ตองการ
2. หลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่ถูกกำ หนดโดยเขตการศึกษาซึ่งจะทำ การขยายหรือปรับหลักสูตรระดับชาติให้สอดคล้องกับสภาพทาง สังคมภูมิศาสตร์ และความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาอาจจะกำ หนดใน กรอบคุณภาพผู้เรียน กรอบเนื้อหาสาระและ แนวทางการประเมินสำ หรับกรอบเนื้อหาสาระที่จัดให้กับโรงเรียนหรืสถานศึกษานำ ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น 3. หลักสูตรระดับสถานศึกษา เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทำ ขึ้นเพื่อนำ ไปใช้จริงโดยนำ หลักสูตรระดับชาติ หลักสูตรระดับท้องถิ่นมาปรับให้ เป็นหลักสูตรสถานศึกษารวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาขึ้นเอง โดยทางโรงเรียนทำ หน้าทีขยายและปรับโครงสร้างเวลาเรียนโครงสร้าง หลักสตูรระดับชั้นปี คำ อธิบายรายวิชา รวมถึงการวัดประเมินผล ทั้งนี้ให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของหลักสูตรร ระดับชาติ และหลักสูตรระดับท้องถิ่น 4. หลักสูตรระดับชั้นเรียน เป็นหลักสูตรที่ครูผู้สอนจัดทำ ขึ้นสำ หรับใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนออกแบบและจัดตามกรอบ มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรระดับชาติ และหลักสูตรระดับสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กำ หนดเป็นคำ อธิบาย รายวิชา โครงสร้างรายวิชา นำ ไปสู่การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งการประเมินผลการเรียน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชาติ ระดับของหลักสูตร 1. หลักสูตรระดับชาติ เป็นหลักสูตรแม่บทที่กำ หนดกรอบมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียนการจัดการการศึกษา การวัดประเมินผลไว้เป็น มาตรฐานคุณภาพระดับชาติ เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาสำ หรบั หน่วยงานทางการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน คือ ระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย นำ ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพของสังคม ชุมชนท้องถิ่น นั้น ๆ ทั้งนี้ต้องพัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำ หนดไว้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้จัดทำ หลักสูตรระดับชาติ
บทสรปุ ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักสูตรของนักการศึกษา มีแนวคิดที่แตกต่างกัน คือ หลักสูตรคือรายวิชาหรือเนื้อหาที่ใช้สอน หลักสูตร คือ มวล ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน หลักสูตร คือ แผน หรือโครงงาน ซึ่งกำ หนดในการจัดการศึกษา และหลักสูตร คือ กิจกรรมการเรียน การสอนที่จัดให้กับผู้เรียน กล่าวโดยสรุปหลักสูตร หมายถึง เอกสารที่จัดทำ ขึ้นไว้ล่วงหน้า ที่แสดงจุดมุ่งหมาย การจัด เนื้อหาสาระกิจกรรมและมวลประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนทั้งหมดที่โรงเรียนจัดให้ ผู้เรียน เพื่อเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดเป้าหมายด้านความรู้ พฤติกรรมและเจตคติของผู้เรียนตามที่สังคม คาดหมายไว้ หลักสูตรเป็นสิ่งที่สำ คัญของการจัดการศึกษาทุกระดับ เพราะเป็นตัวกำ หนดทิศทางในการจัดการศึกษา ดังนั้น การจัดการศึกษาให้เป็นไป ตามแนวทางที่กำ หนดไว้ในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา ทักษะ และเจตคติ องค์ประกอบของหลักสูตร มี 4 ส่วน คอื จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการและการจัดการเรียนรู้และ การประเมินผล แต่ละส่วนมีความ สัมพันธ์กัน หลักสูตรไม่สมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งไป รูปแบบประเภทของหลักสูตร มีความหลากหลาย โดยแบ่งเป็น 10 ประเภท ได้แก่ หลักสูตรรายวิชา หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หลักสูตรหมวด วิชาแบบกว้าง หลักสูตรกิจกรรมหรือหลักสูตรประสบการณ์ หลักสูตรแกน หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรที่เน้น ความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล หลักสูตรอิงมาตรฐาน และหลักสูตรเน้นสรรถนะ ระดับของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ หลักสูตรระดับชาติ หลักสูตรระดับท้องถิ่นหลักสูตรระดับสถานศึกษา และหลักสูตรระดับชั้นเรียน
ทฤษฏีหลักสูตร • ความหมาย ทฤษฎีหลักสูตร หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำ เป็นในการที่จะทำ ให้เกิดหลักสูตร ขึ้นมาใช้ในระบบของการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในระบบ ของโรงเรียน ทฤษฎีหลักสูตรอาจกล่าว ได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นระบบหลักสูตร ได้แก่ การวางหลักสูตร หรือการจัดทำ หลักสูตร ประการ ที่สอง คือ การ ใช้หลักสูตร หรือการนำ หลักสูตรไปใช้ และประการที่สาม คือ การประเมินผลหลักสูตรหรือการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร • ความสำ คัญ ทฤษฎีหลักสูตรเป็นสิ่งที่จัดทำ ขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงหลักสูตรให้เข้าใจความหมาย ความสำ คัญลำ ดับขั้นตอนต่าง ซึ่งท้าเราได้ศึกษาทฤษฏีหลักสูตร แล้ว ก็จะทำ ให้การทำ งานรวมไปถึงการทำ งานเป็นองค์กร เป็นระรบ มีหลักการมากขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
• องค์ประกอบของการออกแบบหลักสูตร/กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร/รูปแบบของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร ขั้นตอนในการนำ หลักสูตรไปสู่การออกแบบการเรียนการสอน มีดังนี้ 1. การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2. การกำ หนดหน่วยการเรียนรู้หรือหัวข้อการเรียนรู้ และกำ หนดผลการเรียนรู้ของแต่ละ หน่วยการเรียนรู้และเวลาที่จะต้องใช้ 3. การกำ หนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย 4. การแตกหน่วยการเรียนรู้เป็นบทเรียนย่อยและกำ หนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียน 5. วางแผนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบ การออกแบบการเรียนการสอนที่ยึดถือ นับจากขั้นนี้ไป หลักสูตรก็พร้อมที่จะนำ ไปใช้สำ หรับการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยครูใช้ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนในการ พัฒนาแผนการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการเรียนการ สอนที่นำ ไปใช้ใน การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
รูปแบบของหลักสูตร แต่ละรูปแบบก็มีแนวความคิด จุดมุ่งหมาย โครงสร้างแตกต่าง กันออกไป ซึ่งจำ แนกได้ 9 แบบ ดังนี้ 1. หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหาวิชา เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดในการสอนศาสนา เน้นถ่ายทอดเนื้อหา สาระ ความรู้ โดยครูเป็นผู้ดำ เนินการ 2. หลักสูตรหมวดวิชา เป็นรูปแบบหลักสูตรสหสัมพันธ์และหลักสูตรแบบผสมผสาน โดยการนำ เนื้อหาวิชาหลายๆ วิชา มาผสมรวมกัน เช่น หมวดวิชา คณิตศาสตร์ จะรวมวิชาเลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ เรขาคณิตไว้ด้วยกัน การจัดการ การวัดผลการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นวัดความรู้ที่ ได้เป็นหลัก 3. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคมยึดสังคมและชีวิตเด็กเป็นหลัก เพื่อนำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วัน จัดเนื้อหาในสำ พันธ์กับชีวิตจริง 4. หลักสูตรแบบแกน มุ่งที่จะสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วม มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ ปัญหา เข้าใจชีวิตและสังคม การวัดผล การเรียนรู้เน้นวัดพัฒนาการทุก ๆ ด้าน กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรที่สำ คัญ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผนหลักสูตร 2. การนำ หลักสูตรไปใช้ 3. การประเมินผลหลักสูตร 4. การนิเทศหลักสูตร
5. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ เรียนรู้ด้วยการกระทำ คำ นึงถึงความแตกต่างรายบุคคล ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำ หนดเนื้อหา กิจกรรม ประสบการณ์ 6. หลักสูตรบูรณาการ เน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก 7. หลักสูตรสหสัมพันธ์ นำ เอาเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยงกันและจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกัน 8. หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล เป็นหลักสูตรที่จัดทำ ขึ้นเพื่อสนองความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล 9. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล ครูและนักเรียน วางแผนร่วมกันตามความเหมาะสมและความสนใจของผู้เรียน เรียกว่า สัญญาการเรียนเพื่อส่ง เสริมและ ดึงเอาศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
Thank you