The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

352716 จิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Alisa Khotweea, 2019-11-27 02:07:02

352716 จิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร

352716 จิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร

จติ วทิ ยาในการส่งเสริมการเกษตร (352716)

PSYCHOLOGY FOR AGRIXCULTURAL EXTENSION

สาขาวชิ าส่งเสริมการเกษตรและพฒั นาชนบท
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่

จติ วทิ ยาในการส่งเสริมการเกษตร (352716)

PSYCHOLOGY FOR AGRIXCULTURAL EXTENSION

บรรณาธิการ : รศ. ดร.อาวรณ์ โอภาสพฒั นกจิ
กองบรรณาธกิ าร : นายเกษมสันต์ อาษากจิ

นางสาวณัชชา ยใี่ จ
นางสาวณัฐจิรา หนูแดง
นางสาวปรยี านชุ นพิ าพนั ธ์
นางกิง่ กาญจน์ ชยั การ
นางสาวนฤมล เครอื ริยะ
ปีท่ีจดั ทา พ.ศ. 2562

คำนำ

หนังสือ E-book เล่มนี้ เป็นส่วนหน่ึงของกระบวนวิชาจิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร
(352716) เนื้อหาทั้งหมดประกอบด้วย 6 บท ดังต่อไปนี้ การกาหนดวัตถุประสงค์แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้ผ่าน
เคร่ืองมือและส่ือต่างๆ การวางแผนแบบมีส่วนร่วม จากการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การเรียนรู้ในชุมชน การฝึกทักษะ
วเิ คราะหข์ ้อมูลจากการถอดบทเรยี น การเรยี นร้จู ากการปฏบิ ตั ิVS.แนวคิดทฤษฎี

การทา Electronic book (E-book) วิชาจิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตรในคร้ังนี้ สามารถ
ประสบความสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เน่ืองจากได้รับความอนุเคราะห์ ความกรุณา และการสนับสนุนจาก
รศ.ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ทุกแขนงแก่คณะผู้จัดทา โดยให้คาปรึกษา ข้อชี้แนะ
ให้ความช่วยเหลือ และให้คาแนะนาท่ีเป็นประโยชน์ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ กระท่ัง e-book เล่มนี้เสร็จ
สมบูรณ์ คณะผูจ้ ัดทาจงึ ขอกราบขอบพระคุณเปน็ อย่างสูง

ขอขอบคุณนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท ท่ีช่วยเป็น
ที่ปรึกษา รวมถงึ ให้กาลงั ใจ ทาให้การจัดทา e-book เลม่ นสี้ าเร็จ

ขอขอบคุณนกั ศึกษาปริญญาตรี สาขาวชิ าสง่ เสริมการเกษตรและพฒั นาชนบท ทม่ี สี ่วนช่วยเหลือ
ให้การสนบั สนุน และให้กาลังใจในการจดั ทา e-book เล่มน้ี

สุดท้ายนี้หวงั วา่ ผอู้ ่านจะได้รบั ความรู้ ในการอา่ น E-book ไมม่ ากก็น้อย หาก E-book เล่มนเี้ กดิ
ความผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทาขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผจู้ ดั ทา 2562

สำรบัญ หนา้
1
1. การกาหนดวตั ถุประสงค์แบบมีส่วนรว่ ม 3
2. การเรียนรูผ้ า่ นเครอื่ งมือและส่ือต่างๆ 7
3. การวางแผนแบบมสี ว่ นรว่ ม 10
4. จากการเรยี นรู้ในหอ้ งเรียน สกู่ ารเรยี นรู้ในชุมชน 16
5. การฝกึ ทักษะวิเคราะหข์ อ้ มลู จากการถอดบทเรียน 26
6. การเรียนรจู้ ากการปฏิบัติ vs แนวคดิ ทฤษฎี 31
บรรณานุกรม

1

กำรกำหนดวัตถปุ ระสงคแ์ บบมีสว่ นรว่ ม

การกาหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เป็นการกาหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนมีหรือ
บรรลุซ่ึงมีท้ังด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ วัตถุประสงค์การเรียนรู้จะได้มาจากระดับของหลักสูตร คือต้ังแต่
จุดหมายของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของสาขาวิชา มาตรฐานวิชาชีพสาขาวิชา และสาขางานจนถึงระดับรายวิชา
คือ วัตถุประสงค์รายวิชา มาตรฐานรายวิชา และคาอธิบายรายวิชา ท่ีต้องการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธ์ิ
ตามวตั ถปุ ระสงคร์ ะดับหลกั สูตร

วิชาจติ วิทยาในการส่งเสริมการเกษตร ได้กาหนดวตั ถุประสงคข์ องการเรียนรู้ โดยการให้นักศกึ ษา
ร่วมกันระดมความคิดเห็น ถึงความคาดหวังในการเรียนรู้ต่อวิชานี้ โดยไม่มีการตัดสินถูกผิด ซึ่งทุกคนได้มีส่วนร่วม
ในการแสดงความคดิ เหน็ อย่างอสิ ระ โดยใช้ บตั รคำ (Card Technique) นักศึกษาแตล่ ะคนได้เขยี นความคิดเห็น
ลงในกระดาษ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้สามารถนาเสนอ
ข้อมลู ของตนไปพรอ้ มๆ กบั รับทราบความคิดเห็นของผู้อ่นื

1

1.1 ข้นั ตอนกำรกำหนดวัตถุประสงคก์ ำรเรยี นรูแ้ บบมีสว่ นรว่ ม
1. ตง้ั คาถาม “ควำมคำดหวงั ในกำรเรียนร้วู ิชำนี้”
2. นกั ศึกษาเขียนคาหลกั หรือวลีส้ันๆ ทไ่ี ดใ้ จความลงบนแผน่ กระดาษ (บัตรคา 1 ใบ เขยี น 1 ความหมาย

เพื่อความสะดวกในการจดั กลมุ่ )
3. นาบัตรคาไปติดทผ่ี นังโล่งๆ โดยข้อความประเดน็ เดียวกนั จดั ใหอ้ ย่ใู นหมวดหม่เู ดียวกัน
4. เมื่อได้ความคาดหวังในการเรยี นแลว้ จงึ นามากาหนดวตั ถปุ ระสงค์ในการเรียนต่อไป

1.2 ควำมคำดหวังในกำรเรียนรู้วชิ ำจิตวิทยำในกำรส่งเสริมกำรเกษตร ที่ไดจ้ ากการการระดมความคิดเหน็ คอื
1. เพ่ือฝึกทักษะการใช้จิตวิทยากับกลุ่มเป้าหมาย (ฝึกการเป็นวิทยากรกระบวนการ, การทางานร่วมกับ

เกษตรกร, การเขา้ หา/ทางานร่วมกันกับเกษตรกร และเทคนิคในการพดู /การโนม้ น้าวจิตใจ)
2. ได้ความรแู้ ละแนวทางการใชจ้ ิตวิทยาในการส่งเสรมิ การเกษตรไปปรบั ใชใ้ นการทางาน
3. ไดล้ งมือปฏิบัติในชมุ ชนและการประเมนิ ผลจากพ้ืนทจ่ี ริง

1.3 วัตถปุ ระสงคข์ องวิชำจิตวทิ ยำในกำรสง่ เสริมกำรเกษตร ทไ่ี ด้จากความคาดหวังในการเรียนรู้ คือ
1. เพือ่ ทบทวนองคค์ วามรู้จติ วทิ ยาในการส่งเสรมิ การเกษตร โดยเรยี นร้ผู ่านเคร่ืองมอื และส่อื ต่างๆ
2. เพื่อฝึกทักษะการวางแผนแบบมีส่วนรว่ ม
3. เพ่ือฝกึ ลงมือปฏบิ ัตติ ามแผนการถอดบทเรียน
4. เพือ่ ฝกึ ทักษะการวเิ คราะห์ผลจากการถอดบทเรียน
5. เพอ่ื ฝกึ ทกั ษะการเรยี นรู้จากการปฏบิ ัตเิ ปรยี บเทียบกับแนวคดิ ทฤษฎี
6. เพอ่ื ฝึกการจัดการความรู้ e-book และ clip

2

2

กำรเรียนร้ผู ่ำนเคร่ืองมอื และส่อื ต่ำงๆ

2.1 กำรสัมภำษณ์

การสัมภาษณ์ คือการคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย ซ่ึงนิยมใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับ
คุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่ เช่น เก่ียวกับบุคลิกภาพ การปรับตัว เจตคติ ความสนใจ รวมท้ัง
คุณลักษณะเก่ียวกับการปฏิบัติในด้านวิธีการปฏิบัติ การใช้การสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในด้านความรู้
ความคดิ ทางสติปญั ญากส็ ามารถใช้ได้ แต่ตอ้ งระมดั ระวังในกรณีทีผ่ ู้ถูกสัมภาษณ์มีหลายคน และใช้คาถาม คนละ
ชนดิ คนละเร่ือง ซง่ึ จะทาให้เกดิ ปัญหาในเรือ่ งการเปรยี บเทียบคะแนน

2.1.1 ประเภทของกำรสัมภำษณ์ แบง่ ได้ดงั นี้
1. การสมั ภาษณ์แบบจดั ภาพน่งิ (Focused Interview) เป็นการม่งุ ไปยงั จุดใดจุดหนง่ึ การสัมภาษณ์
แบบจับภาพน่งิ ตอ้ งการให้ผใู้ หส้ มั ภาษณ์จดจ่ออย่กู ับหัวข้อเร่อื งทผ่ี สู้ ัมภาษณ์ต้องการข้อมลู
2. สัมภาษณ์แบบไม่กาหนดคาตอบลว่ งหน้า (Non-directive Interview) วิธนี ีผ้ ู้ให้การสัมภาษณ์
สามารถตอบไดอ้ สิ ระตามท่ีตนเองพอใจ ผ้สู ัมภาษณแ์ ทบไม่ต้องพดู อะไรเลยนอกจากพยกั หน้ารบั
3. การสัมภาษณอ์ ยา่ งลึกซ้ึง (Depth Interview) เพื่อตอ้ งการขอ้ มลู ให้ตรงกับทีต่ อ้ งการมากท่สี ุด
4. การสมั ภาษณ์ซา้ (Repeated Interview) ใชส้ มั ภาษณ์เกีย่ วกบั พฒั นาการหรือการเปลี่ยนแปลง
เฉพาะเรื่องของกระบวนการทางสังคม เช่น การศึกษา การลงคะแนนเสยี งเลอื กตั้ง เปน็ ต้น
2.1.2 ประโยชน์ของกำรสมั ภำษณ์
1. ทาใหผ้ ูส้ มั ภาษณไ์ ด้พดู อยา่ งละเอยี ดและลึกในหัวขอ้ ที่ตอ้ งการ
2. เป็นการติดต่อสื่อสารโดยตรงสามารถทาให้เข้าใจในข้อมูลระหว่างกันและกันได้ดี ถ้ามีความเข้าใจผิดก็
สามารถแกไ้ ขได้ทันที
3. มคี วามยืดหยุน่ ได้มาก สามารถดดั แปลงและแกไ้ ขคาถามจนกว่าผตู้ อบจะเข้าใจคาถาม
4. ในขณะที่ทาการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์สามารถใช้วิธีการสังเกตุไปด้วยได้ว่าผู้ตอบมีความจริงใจกับการ
ตอบหรอื ไม่

3

2.2 เส้นประวัติศำสตร์ หรือ เสน้ เวลำ (timeline)
เส้นประวตั ศิ าสตร์ หรือ เสน้ เวลา (timeline) คือเคร่ืองมือที่แสดงให้เห็น สถานการณท์ ีเ่ กิดขึ้นใน

แต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะทาให้ทราบถึงกระบวนการการเปล่ียนแปลง และผลกระทบของแต่ละช่วงเวลา โดยสามารถ
เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ง่าย การเรียงลาดับเหตุการณ์ตามเส้นเวลา ช่วยมองให้เห็นว่า
เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีผลกระทบอย่างไรต่อเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งทาให้ชุมชนเห็นภาพได้ชัดเจนมากย่ิงข้ึน
แต่ข้อมูลตามเส้นเวลาจะถูกจากัดด้วยความทรงจาของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นจึงไม่จาเป็นว่าข้อมูลนั้นๆ จะเป็นไป
ตามลาดบั เวลาที่ถูกตอ้ ง ซง่ึ ปัญหานส้ี ามารถแกไ้ ขได้โดยการหาผ้ใู ห้ข้อมูลหลายๆคน

2.3 กจิ กรรมกำรเรียนภำยในห้องเรียน
มีการฝึกให้นักศึกษาใช้การสัมภาษณ์ และเคร่ืองมือ timeline ในห้องเรียนกับเพื่อนร่วมช้ัน โดย

แสดงให้เห็นสถานการณ์ตัง้ แต่อดตี จนถงึ ปจั จุบัน ว่าเคยผา่ นอะไรมาบ้าง และแตล่ ะชว่ งเวลาสง่ ผลกระทบต่อตนเอง
และผู้อนื่ อยา่ งไรบ้าง โดยเรียงลาดับเหตกุ ารณต์ ามเสน้ เวลาเพอ่ื ให้มองเหน็ และทราบถึงปญั หานนั้ ได้อย่างชดั เจน

4

2.4 กิจกรรมกำรเรียนรูผ้ ่ำนสอ่ื วดิ โี อ
ฝกึ ทกั ษะการฟัง (Deep listening) และการจับประเดน็ จากคลปิ วิดีโอ “คนเมอื งบัว ไมก่ ลัวขยะ”

โดยให้นักศึกษาแต่ละคนเลือกหัวข้อท่ีตนเองสนใจและฝึกการจับประเด็นในหัวข้อน้ันๆ โดยใช้หลักการดู การ
สงั เกต และการฟงั เพอ่ื สามารถบอกไดว้ ่า ใคร (Who) ทาอะไร (What) ทาไมถงึ ทา (Why) ทาอย่างไร (How) และ
มีผลลัพธ์อะไรบ้าง (Output/Input/Outcome) หลังจากนั้นให้แต่ละคนออกมาเล่าว่าเราได้อะไรจากการจับ
ประเดน็ ในหวั ข้อท่เี ราเลือก

จากการฝึกทักษะการฟัง (Deep listening) และการจับประเด็นจากคลิปวิดีโอน้ัน ทาให้เราได้มี
การเรยี นรู้ ทาให้มีประสบการณแ์ ละสามารถนาความรู้ทไ่ี ด้รบั ไปปรบั ใช้กบั การลงพืน้ ที่จริงได้เป็นอยา่ งดี

2.5 เครื่องมอื บัตรคำ
บัตรคา (Card Technique) เปน็ เครือ่ งมอื การสื่อสารทใี่ ช้ในการรวบรวมข้อมลู ความคิดเหน็ จาก

ผู้เรียนรู้ที่สาคัญชนิดหน่ึง โดยให้ผู้เรียนรู้เขียนข้อความสาคัญของข้อมูลความคิดเห็น มักใช้รวบรวมปัญหาเพ่ือ
นามาใช้ในการวิเคราะห์เหตุและผลของปัญหา การเขียนความคิดเห็นลงในกระดาษโดยไม่ระบุชื่อผู้เขียน เป็นการ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้สามารถนาเสนอข้อมูลของตนไปพร้อมๆ
กับรับทราบความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้คนที่ไม่กล้าแสดงออก หรือพูดไม่เก่งได้มีโอกาสแสดง
ความคดิ เหน็ ตลอดจนชว่ ยควบคุมบุคคลท่ีพดู มากใหส้ รุปความคิด ทาให้ทุกคนกลัน่ กรองความคิดเหน็ ได้ดีกว่าการ
พูดเพียงอย่างเดียว อาจใช้เป็นการนาข้ึนต้น โดยใช้กระดาษแผ่นเล็กๆ ตอบคาถามส้ันๆ เช่น คาดหวังอะไร วิธีท่ี
เคยใช้ได้ผลดีที่สุดคืออะไรฯลฯ เพื่อไปสู่การอภิปรายท่ีมีประสิทธิภาพได้ข้อมูลหลากหลายรวบรวมไว้ ภายในเวลา
ที่จากัด ความคิดเห็นที่รวบรวมได้ควรบันทึกสรุปส้ันๆ บนกระดาษแผ่นพลิก (Flip Chart) ให้ทุกคนอ่านได้อย่าง
ชัดเจน การนากระดาษท่ีสมาชิกทุกคนบันทึกติดลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ตามประเด็นที่ต้ังไว้ โดยความคิดเห็น

5

ของแต่ละคนจะปรากฏให้สมาชิกอ่ืนๆ รับรู้ได้ในเวลาส้ันๆ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถเช่ือมโยงกับ
ประเดน็ คาถามทีต่ งั้ ขึน้ ใหมว่ ธิ นี เี้ ปน็ การชว่ ยลดการโต้เถียงขัดแย้งและการขม่ ความคดิ ของผู้อน่ื ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

2.6 สรุป
จากการฝึกใช้เครื่องมือต่างๆท่ีกล่าวมาข้างต้นในห้องเรียนแล้วนั้น ทาให้เราได้มีการเรียนรู้และ

ปฏิบัติจริง มีการพัฒนาตนเอง เพ่ิมความสามารถในการทางานให้เกิดทักษะและมีความชานาญในเคร่ืองมือนั้นๆ
ทาให้มีประสบการณ์และสามารถนาความรู้ท่ีได้รับไปปรับใช้กับการลงพื้นที่จรงิ หรอื งานท่ีรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี
รวมไปถงึ การวางแผนแบบมีส่วนรว่ มโดยดึงประสบการณ์และศักยภาพของผเู้ รยี นออกมาใช้ โดยกจิ กรรมการเรยี น
การสอนเป็นการเรียนรู้ท่ีอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาใช้ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของผู้เรียน
(Active Learning) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ ทาให้จับประเด็น
และทราบถึงปัญหานน้ั ได้อยา่ งชัดเจน

6

3

กำรวำงแผนกำรถอดบทเรยี นแบบมสี ่วนร่วม

เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือ เพื่อฝึกทักษะการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และฝึกการใช้
เคร่อื งมือในช้นั เรยี นแลว้ นักศึกษาไดร้ ว่ มวางแผนตามขน้ั ตอนต่อไปน้ี

3.1 คัดเลอื กชมุ ชน

3.1.1 กำหนดเกณฑ์ในกำรคัดเลอื ก

ที่ประชมุ ได้มเี กณฑ์ คอื บทเรยี นด้านการส่งเสริมการเกษตรทีป่ ระสบความสาเรจ็ ระยะทาง เวลา

และเปน็ พน้ื ทท่ี างานของผู้เรยี น

ตารางแสดง เกณฑ์และผลการคดั เลือกกรณศี กึ ษา

กรณีศึกษำ บทเรียนดำ้ นกำรส่งเสริม ระยะทำง เวลำ
กำรเกษตรทป่ี ระสบควำมสำเร็จ

ลาพนู การจัดการสุขภาพแบบมสี ่วนรว่ ม 20 กโิ ลเมตร 40 นาที

แพร่ ศูนยเ์ รยี นรูฯ้ อาเภอวังชน้ิ 200 กโิ ลเมตร 3 ชวั่ โมง

เชยี งดาว กลุ่มแปรรูปสมนุ ไพร 70 กโิ ลเมตร 1ชั่วโมง 30 นาที

จากการประชุมมีมติคัดเลือกชุมชนและประเด็นในการถอดบทเรียน คือ กลุ่มแปรรูปสมุนไพร
อินทรีย์ ตาบลแม่นะ อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจาก สะดวกในการเดนิ ทาง และเป็นพ้ืนที่ทางานของ
นักศกึ ษา ทาให้ไดข้ ้อมูลในเชงิ ลกึ

3.2 กำรวำงแผนถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม
การถอดบทเรียน (lesson-learned) หมายถึง การทบทวนประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับ

การทางานที่ผ่านมา หรือส่ิงท่ีได้พบเห็นแล้วทาความเข้าใจ สรุปความรู้ วิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ทาให้การดาเนินงาน
ประสบความสาเร็จหรือล้มเหลว ถือเป็นการทบทวนวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (after action review) หรือการทา
กิจกรรมเพ่ือการจัดการความรู้ ให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบต่อคณะทางานเก่ียวกับผลการปฏิบัติกิจกรรมท่ี
ดาเนินการแลว้ เปน็ การกระตนุ้ ให้คณะ ทางานเกิดความตน่ื ตัวและมีความรสู้ กึ ผกู พนั (engagement) อยู่กับงาน

7

การถอดบทเรียนเป็นวิธีการจัดการความรู้วิธีหนึ่งที่เน้นการเสริมสร้างการเรียนรู้ในกลุ่ม เป็นระบบเพื่อสกัดความรู้
ที่ฝังลึกในตัวบุคคล หรือองค์ความรู้ในพ้ืนที่ ออกมาเป็นบทเรียนท่ีสามารถนาไปสรุปและสังเคราะห์เป็นชดุ ความรู้
คู่มือ ส่ือ ในลักษณะต่าง ๆ ท่ีได้จากการถอดบทเรียน ส่ิงท่ีสาคัญคือ ผู้ร่วมกระบวนการถอดบทเรียนต้องเกิดการ
เรยี นรู้รว่ มกัน อนั นามาปรับวิธีคิด วิธีทางาน ทีส่ รา้ งสรรคแ์ ละมคี ณุ ภาพ

3.2.1 ในกำรวำงแผนถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม มีขน้ั ตอนตอ่ ไปนี้
1. เขยี นคาถามทตี่ ้องการทราบ ในบตั รคา
2. จัดหมวดหมูค่ าถามใหเ้ ปน็ กลุม่
3. จดั ทาแผนกิจกรรม (Lesson plan) คอื การวางแผนในการลงพน้ื ท่ี กิจกรรม วัตถปุ ระสงค์

ข้นั ตอนวธิ กี าร อุปกรณ์ ผู้รับผดิ ชอบ ระยะเวลา ผลทีค่ าดว่าจะได้รับ และงบประมาณ

8

3.3 สรุป
การวางแผนแบบมีส่วนรว่ มคร้งั นี้ ทาให้เรามีความเข้าใจและม่ันใจมากขึ้น เน่ืองจากมีการเตรียม

ตวั เตรียมอปุ กรณ์ มีการแบง่ หน้าท่ีกันอย่างชดั เจน สะดวกตอ่ การประสานงานกับสถานท่ี ทาใหล้ ดความผิดพลาด
ทเี่ กิดข้ึนในหนา้ งานที่น้อยท่สี ดุ

9

4

จำกกำรเรยี นรู้ในห้องเรยี น สกู่ ำรเรยี นรู้ในชมุ ชน

ถอดบทเรยี น กลมุ่ แปรรปู สมนุ ไพรอนิ ทรยี ์ ตำบลแม่นะ อำเภอเชยี งดำว จงั หวัดเชยี งใหม่

จากวัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 คือ การลงมือปฏิบัติ จึงได้ลงพื้นท่ีในชุมชนเพื่อถอดบทเรียนกลุ่มแปร
รปู สมุนไพรอินทรยี ์ ตาบลแมน่ ะ อาเภอเชยี งดาว จงั หวดั เชียงใหม่ โดยมีวิธกี าร ดงั น้ี

4.1. กำรเดนิ ทำงเขำ้ พ้นื ท่ี
- คณะทางานนัดหมายประธานและสมาชิกกลุ่มแปรรูปสมุนไพร

อนิ ทรีย์ ตาบลแม่นะ วนั ที่ 22 กนั ยายน 2562 เวลา 9.00 น. ณ ท่ที าการกลุ่ม
แปรรปู สมนุ ไพรอินทรยี ์ ตาบลแมน่ ะอาเภอเชียงดาว จงั หวดั เชียงใหม่

- เม่ือถึงวัน เวลาท่ีนัดหมาย คณะทางานเดินทางเข้าพื้นท่ี โดยออก
จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ วันที่ 22 กนั ยายน 2562 เวลา
7.00 น. ด้วยรถตู้ของคณะเกษตรศาสตร์ ใช้เวลาในการเดินทาง 1ชั่วโมง 19
นาที เป็นระยะทาง 67 กิโลเมตร

4.2 เมื่อถึงท่ีทำกำรกลุ่มฯ คณะทางานทบทวนบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมาย และรับลงทะเบยี นพร้อมติดป้ายชื่อผู้เข้ารว่ มเวที มสี มาชิกกลุม่ เข้า
ร่วมถอดบทเรียน จานวน 15 คน
4.3 พธิ ีเปิด

4.3.1 คุณก่ิงกาญจน์ ชัยการ เกษตรตาบลแม่นะอาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
กล่าวรายงานแนะนาพ้ืนท่ีอาเภอเชียงดาว โดยอาเภอเชียงดาว เป็น 1 ใน 25
อาเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ ท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ของพ้ืนท่ีป่าไม้ และเป็นต้น
ก า เ นิ ด แ ม่ น้ า ส า ยสาคัญของประเทศไทย คือ แม่น้าปิง ป ร ะ ช า ช น
ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร สานักงานเกษตรอาเภอเชียงดาว ได้
จัดต้ังศูนย์เรียนรู้การเพ่ิมประสิทธิภาพผลผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

10

ข้าวอินทรีย์ เมื่อปี พ.ศ.2558 ณ บ้านจอมคีรี หมู่ 3ตาบลแมน่ ะอาเภอเชียงดาวจังหวัดเชยี งใหม่ เพ่ือเป็นศูนย์เรียนรู้การ
ทานาอินทรยี ์แบบยงั่ ยืนมีเกษตรกรต้นแบบ แปลงเรยี นรู้และแปลงสาธติ การผลิตขา้ วอินทรีย์ ถือเป็นศนู ยก์ ลางการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการด้านการปลูกข้าวอินทรีย์และพืชอินทรีย์อื่น ๆ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่
นอกจากนยี้ งั มกี ารจดั ตง้ั กลมุ่ แปรรปู สมุนไพรอนิ ทรีย์ ตาบลแมน่ ะ ขึ้น เพอื่ ผลิตและรูปสมุนไพรอินทรียข์ ้นึ

4.3.2 รองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ประจาวิชาจิตวิทยาในการ
ส่งเสริมการเกษตร กล่าวช้ีแจงการลงพ้ืนท่ีถอดบทเรียนและเปิดเวทีการ
ถอดบทเรียนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ อาเภอเชียงดาว
จังหวดั เชยี งใหม่ คร้ังน้ี

4.3.3 คุณศรัณยา กติ ตคิ ุณไพศาล ประธานศนู ยเ์ รยี นรกู้ าร
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและประธานกลุ่มแปรรูปสมุนไพร
อินทรยี ์ ตาบลแม่นะ อาเภอเชียงดาว จังหวดั เชยี งใหม่ แนะนากลมุ่ และกรอบการดาเนินงานกลุม่

กรอบการดาเนินการกลุ่มอยู่ภายใต้ศาสตร์พระราชา มีการเช่ือมโยงของผู้ผลิต และผู้บริโภค
ต้ังแต่ต้นน้า กลางน้า ปลายน้า โดยสมาชิกกลุ่มแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ เป็นผู้ผลิตสินค้า ในส่วนของ
ต้นน้า ที่ต้องคานึงถึงชนิดพืชท่ีปลูก มาตรฐานการผลิต และคุณภาพสินค้าให้ตอบสนองต่อความต้องการของ
ผู้บริโภค นอกจากน้ีสมาชิกกลุ่มยังอยู่ในส่วนของกลางน้า คือ การแปรรูปให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ การสร้างแบรนด์
และการพัฒนาสินค้า เพื่อให้หน่วยงานปลายน้าคือกลุ่มม่วนใจ๋ ทาการตลาด และหาช่องทางการจาหน่ายสินค้าที่
ผลติ จากสมาชิกกลมุ่ แปรรปู สมนุ ไพรอินทรยี ์ ตาบลแม่นะ สง่ ผลให้กลุ่มมีการพฒั นาอย่างไม่หยดุ ย้ัง

11

4.4 พฒั นำกำรของกลุม่ แปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลแม่นะ อำเภอเชยี งดำว
ในการถอดบทเรียน จะต้องใช้เคร่ืองมือและเทคนิคท่ีเหมาะสม ซ่ึงการเลือกใช้เคร่ืองมือแต่ละ

ชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ โดยการลงพ้ืนท่ีศึกษาชุมชนเพ่ือถอดบทเรียนการดาเนินการกลุ่มแปร
รูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชยี งใหม่ เลือกใช้เคร่ืองมือ บัตรคา (Card Technique)
และการสรปุ ประเดน็ จากเสน้ ประวตั ศิ าสตรห์ รือเส้นแบง่ เวลา (Time line) ซ่งึ ได้ขอ้ มลู ดงั ตอ่ ไปน้ี

พฒั นาการของกล่มุ เริม่ ก่อต้ังขึ้นเม่ือ
- เดือนมถิ นุ ายน พ.ศ. 2561 มีการจัดเวทีชมุ ชนเพ่อื ช้แี จงโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แกเ่ กษตรกรรายย่อย
เพื่อทาแผนฝึกอบรม และหลักสูตรการอบรมตามความต้องการของเกษตรกร พร้อมกับรับสมัครเกษตรกรที่สนใจ
เขา้ รับการอบรม โดยหลักสตู รการอบรมที่เกษตรกรสนใจ เน้นไปที่การแปรรูปสมุนไพร
- เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกษตรกรเข้าร่วมการอบรมตามหลกั สูตร จานวน 3 วัน

12

- เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกษตรกรรวมตัวจัดต้ังกลุ่ม “กลุ่มแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ
อาเภอเชยี งดาว”

- เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มเขียนโครงการแปรรูปสมุนไพรเพื่อของบประมาณสนับสนุนการซื้อ
เครอ่ื งจักร อุปกรณ์ บรรจภุ ณั ฑ์ และวตั ถุดิบสมุนไพร ในการแปรรูป ในงบประมาณ 300,000 บาท

- เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ไดร้ บั เคร่ืองจักร อปุ กรณ์ ตามที่เขียนขอรบั การสนับสนนุ
- เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน รับซื้อผลผลิตสมุนไพร จัดตารางเวรผลัดเปลี่ยนกันแปรรูป และ
เกษตรกรไดเ้ ริม่ ปลูกพืชผกั สมนุ ไพร เพอ่ื ขายเปน็ วัตถุดบิ เข้ากลมุ่
- เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 เริ่มมีการผลิตน้าสมุนไพร โดยคณะครู กศน. เป็นวิทยากรให้ความรู้ และ
สนับสนนุ งบประมาณในการทาน้าสมนุ ไพร
4.5 กำรดำเนินกำรกลุม่

ใช้ Focus group เพื่อสอบถามการดาเนินงานกลุ่มต้ังแต่ อดีต ปัจจุบัน และแผนการในอนาคต
และจับประเด็นการดาเนินการกลุ่มโดยใช้เครื่องมือ แผนท่ีความคิด (Mind Map) เม่ือเสร็จส้ินการถอดบทเรียนมี
การสรุปประเด็นเพ่ือเช็คขอ้ มูลกับสมาชกิ กล่มุ อีกคร้ัง

13

4.5.1 ความเปน็ มาของกลุ่ม
- ปี 2560 โ ค ร ง ก า ร 9101 เ ป็ น

โครงการที่ให้เกษตรกรเขียนโครงการเพ่ือขอรับ
งบประมาณสนับสนุนตามความต้องการของกลุ่ม
แต่ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสาเร็จ เน่ืองจากการ
ดาเนินการไมต่ อ่ เน่ือง และกลุม่ ไมม่ ีความเข้มแข็ง

- ปี 2561 โครงการเสริมสร้างรายได้
ให้แก่เกษตรกรรายย่อย มีการเขียนแผนโครงการแปร
รูปสมุนไพร เพ่ือขอรับงบประมาณสนับสนุน
จากอาชพี เสรมิ ที่ทาในครวั เรือน

4.5.2 กรอบแนวคิดและการดาเนนิ การกลมุ่
ใช้ศาสตร์พระราชาในการดาเนินการกลุ่ม โดยวางโครงสร้างของกลุ่มตั้งแต่ต้นน้า กลางน้า และ

ปลายนา้ เพอื่ ใหก้ ารดาเนนิ การกลุ่มคลอบคลมุ ตงั้ แต่ผ้ผู ลติ ไปจนถงึ ผบู้ รโิ ภค
4.5.3 การยกระดับกลุม่ และเครอื ขา่ ย
มีกลุ่มม่วนใจ๋ เป็นพ่ีเล้ียงในการดูแล การวางแผน และหาตลาดให้กับกลุ่มแปรรูปสมุนไพร

นอกจากนยี้ ังมีกล่มุ J-Organic ซึ่งเปน็ เครือข่ายในการผลติ สนิ คา้ อินทรยี ์
4.5.4 การดาเนินการกลุ่ม
- แบง่ พ้ืนท่แี ละชนิดพชื สมุนไพรใหส้ มาชกิ กลมุ่ ปลกู กุหลาบ คนละ100ต้นเพ่อื ขายวัตถดุ ิบเข้ากลุ่ม
- สมาชกิ กล่มุ เปลี่ยนเวรกนั มาแปรรูปสนิ คา้
- การตลาด โดยให้กล่มุ ม่วนใจ๋ ทาการตลาดใหก้ ับกล่มุ แปรรูป โดยการขายออนไลนเ์ ปน็ หลัก
4.5.5 เปา้ หมายของกลุ่มในอนาคต
- ใชว้ ตั ถุดบิ ในท้องถนิ่
- สมาชกิ กลุ่มมรี ายไดม้ น่ั คง
- มีงานสม่าเสมอ
- มีการพฒั นาบรรจภุ ณั ฑ์ และผลิตภัณฑ์ เช่น การรกั ษาคณุ ภาพสินคา้ ให้มีอายกุ ารเก็บรกั ษานานขึ้น
- พัฒนาคณุ ภาพสินค้าใหไ้ ด้มาตรฐาน อย. Halan HACCP และออรแ์ กนคิ
- ขยายผลจากกลุม่ สชู่ มุ ชน
4.5.6 หน่วยงานท่สี นบั สนนุ
- สานกั งานเกษตรอาเภอเชียงดาว
- การศึกษานอกโรงเรยี น

14

4.5.7 ความโดดเดน่ ของกลุ่ม
- สมาชกิ มีการรวมหนุ้
- สมาชิกมีความสามคั คี และมีความเสยี สละ
- กล่มุ มีอปุ กรณก์ ารผลิตเปน็ ของกล่มุ เอง
- ใชว้ ตั ถดุ ิบอนิ ทรยี ์ในการผลิต

4.6 เสียงสะท้อนจากสมาชกิ กล่มุ
อยากให้มหี นว่ ยงานสนบั สนุนในเร่ืองขององค์ความรู้ในการแปรรูปสนิ ค้า
อยากใหม้ ีหนว่ ยงานสนับสนนุ ในเรอื่ งของงบประมาณ ใหต้ อ่ เนื่อง

15

5

กำรฝึกทกั ษะวเิ ครำะหข์ อ้ มูลจำกกำรถอดบทเรียน

จากการลงพ้ืนท่ีถอดบทเรียนการดาเนินการกลุ่มแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ
อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ น้ัน เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อท่ี 4 เพ่ือฝึกทักษะการวิเคราะห์ผลจากการถอด
บทเรียนอาจารย์ประจาวิชา และนักศึกษา ได้ร่วมกันทบทวนหลังปฏิบัติงาน หรือ After Action Review (AAR)
ซึ่งเป็นการทบทวนวิธีการทางานทั้งด้านความสาเร็จและปัญหาท่ีเกิดข้ึน ทาให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างทางาน
ท้ังนี้ไม่ใช่เพื่อด้นหาคนท่ีทาผิดพลาดไม่ใช่การกล่าวโทษใคร แต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การ
ทางาน เพ่ือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการท่ีดีอยู่แล้ว
โดยกระบวนการท่ีนามาใช้ในการทบทวนหลังปฏิบัติงานถอดบทเรียนการดาเนินการกลุ่มแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์
ไดใ้ ช้กระบวน World Café ในการถอดบทเรียน

5.1 World Café
World Café Method เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือด้วยการสนทนา พูดคุย และการ

แบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น เพ่ือให้ได้มาซึ่งคาตอบของแต่ละประเด็นท่ีผู้เข้าร่วมกิจกรรมค้นพบคาตอบร่วมกัน
ซึ่งเวิลด์ คาเฟ่ เป็นการสนทนาท่ีผู้เข้าร่วมการสนทนาเป็นผู้สร้างบรรยากาศหารือเกี่ยวกับคาถาม หรือปัญหาใน
กลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมสนทนาจะเคล่ือนย้ายไปยังประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมสนทนาในประเด็นอ่ืนๆ ตามที่ได้จัดไว้
และทาการสรุปการสนทนาที่เกิดขึ้น ดังน้นั การดาเนนิ การสนทนา จงึ เปน็ การผสมผสานความคิดข้ามกลุ่ม เพื่อให้
ไดผ้ ลึกความคิดหลัก จากกระบวนการความคดิ รวมกลุ่มนน้ั
5.2 กิจกรรมในห้องเรียน

5.2.1 ข้ันตอนการทากจิ กรรมเวลิ ด์ คาเฟ่
1. เตรยี มอุปกรณ์การเขยี นประเดน็ เช่น กระดาษ ดนิ สอ ปากกา
2. อาจารย์ประจาวิชาให้คณะผู้จัดทาเขียนประเด็นที่ตนเองได้เรียนรู้จากกิจกรรมถอดบทเรียน

การดาเนนิ การกลุ่มแปรรูปสมนุ ไพรอินทรยี ์ ตาบลแมน่ ะ อาเภอเชยี งดาว จังหวัดเชยี งใหม่
3. หลังจากท่ีเจ้าของประเด็นเขียนสง่ิ ท่ีได้พัฒนาตนเองแล้ว ผู้คณะทางานคนอ่ืนจะเวยี นมาเขียน

การพัฒนาตนเองเพ่ิมเติมจากหัวข้อหลัก โดยให้หมุนวนจนครบทุกคน เมื่อครบทุกคนแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะ
สนทนาแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างกัน

16

4. หลงั จากการทากิจกรรมผูเ้ ขา้ ร่วมกจิ กรรมจะนาเสนอผลต่อกลุ่มสนทนากลมุ่ ใหญ่ ซงึ่ ผลที่ไดจ้ ะ
สะท้อนความเป็นจริงในแนวทางท่ีหลากหลาย โดยรูปแบบการนาเสนอเป็นลักษณะการอภิปรายผล และการนา
บทเรยี นที่ได้ไปใช้ตอ่ ยอดในงานของแต่ละคน

5.2.2 ผลและการอภปิ รายผลจากกิจกรรมเวลิ ด์ คาเฟ่
World Café ในหัวข้อ การพัฒนาตนเองจากการลงพื้นท่ี การถอดบทเรียนการดาเนินการกลุ่ม

แปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ตาบลแม่นะ อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ของนักศึกษาขั้นปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอก สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มปี ระเด็นดังน้ี

1. กำรเตรยี มกำรลงพืน้ ท่ี
ส่งิ ท่ีได้เรียนรจู้ ำกกำรทำกิจกรรม
การฝึกทักษะในการเป็นผู้จัดกิจกรรม รวมท้ังอานวย
ความสะดวกให้ผเู้ ขา้ ร่วมกิจกรรม

 ได้เรียนรู้ในการจัดกิจกรรม เช่น การ
วางแผนงาน

 การทา Session plan
 รปู แบบการจดั เตรยี มสถานท่แี ละเวที
 ทุกคนรู้หน้าท่ีของตนเอง ทาให้การทางาน
งา่ ยขนึ้
 ฝึ ก ใ น เ ร่ื อ ง ข อ ง ก า ร จั ด ก า ร แ ล ะ ก า ร
ประสานงานทดี่ ี
 มีการเตรียมการแผนสารอง และมีการ
ซักซอ้ ม เตรียมตัวอยู่เสมอ

Next step ช่วยในการฝกึ ทักษะ วางแผนงาน เตรียมความพร้อมของกิจกรรมหรอื งานครั้งต่อไป
อภปิ รำยผล

ประเดน็ ทไ่ี ด้จากการเรียนรู้เรื่อง “การเตรียมการลงพืน้ ท่ี” จากการทากจิ กรรมเป็นการฝึกทักษะในการลง
พื้นท่ีซึ่งในการลงพ้ืนที่นั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมต่างๆ เช่นการวางแผนการดาเนินงานโดยการแจก
แจงหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน เพ่ือที่จะทาให้การทางานง่ายข้ึน มีการประสานงาน มีการซักซ้อม และ
เตรยี มการแผนสารองไว้เสมอ

17

2. ทกั ษะในกำรใชเ้ ครอ่ื งมอื Time line
ส่งิ ทไี่ ด้เรยี นรูจ้ ำกกำรทำกิจกรรม
 ได้เรียนรู้วิธีการในการใช้เคร่ืองมือ Time line

จากทไ่ี มเ่ คยทา กไ็ ดฝ้ กึ ทาจนเป็น
 ทาให้ชาวบ้านได้ทบทวนท่ีมาท่ีไปของกลุ่ม

เ พ่ื อ ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ที่ ต ร ง กั น เ ก่ี ย ว กั บ ก า ร
ดาเนนิ งานของกลมุ่

 ได้ฝึกการเข้าหา/พูดคุย/สอบถามกับสมาชิกกลุ่ม
เนื่องจากในบางครั้ง ชาวบ้านไม่สามารถอ่านออก
เขียนได้ เราต้องเขา้ ไปสอบถามและเป็นคนเขียนให้

 หลังจากที่ทา Time line เสร็จก็ได้ช่วยกันสรุป
ความเข้าใจใน Time line น้ันหากมีข้อผิดพลาดก็
ได้ชว่ ยกนั แก้ไขใหถ้ กู ต้อง

 ทาให้รูร้ ะยะเวลาในแต่ละชว่ งเวลาทาอะไรบา้ ง
 การเรียงลาดับเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนตามลาดับก่อน/

หลงั

 ผู้เขา้ รว่ มเวทีไดท้ บทวนตนเอง
 สมาชกิ กลมุ่ รู้ประวัติ เปา้ หมาย และบทบาทของตวั เอง

 การนาเครื่องมือTimeline ไปปรับใช้ในกิจกรรมอ่ืนๆเช่น ปฏิทินการปลูก การดูแลรักษา ทบทวนการทางาน
และศกั ยภาพ

 ข้อดีของ Timeline ชว่ ยใหท้ ราบว่าทาอะไร/เกิดอะไร/โดยใครบา้ ง
Next step ใช้เครื่องมือ Timeline กับชุมชนหรือกลุ่มอ่ืนๆต่อไป และใช้ในการทางานวิจัยและทาให้มี

เป้าหมายการทางานที่ชัดเจน
อภปิ รำยผล

ประเด็นที่ได้เรยี นรู้จากการใช้เครื่องมือ Timeline คือไดน้ าเครื่องมือไปใช้จริง ซง่ึ เครื่องมือนี้ช่วย
ให้ทราบว่าเกิดอะไรข้ึนบ้างในแต่ละเหตุการณ์ เหตุการณ์ใดเกิดก่อนหรือหลังมีใครเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง เป็น
เวทที ท่ี าใหผ้ ู้เข้ารว่ มกิจกรรมไดท้ บทวนตัวเอง เพือ่ ให้เกดิ ความเขา้ ใจที่ตรงกนั เก่ียวกับการดาเนินงานของกลุ่ม
ทราบถึงเป้าหมาย และบทบาทของตนเอง และนักศึกษาได้ฝึกทักษะในการสื่อสารกับเกษตรกรเชน่ การพูดคุย
หรือสอบถามประเด็นตา่ งๆใน Timeline

18

3. ทักษะกำรสรุปหลังจบกระบวนกำร

สิ่งที่ได้เรยี นรู้จำกกำรทำกิจกรรม

 ฝึกทกั ษะการสรปุ สงิ่ ท่ีเกษตรกรพดู

 ฝกึ ทักษะการพดู ใหไ้ ดใ้ จความ

 มีการสรปุ ประเด็น และทบทวนใหเ้ กษตรกร
เชค็ ข้อมูลอกี รอบ หลังจบกระบวนการ

 การสะท้อนข้อมูลกลับให้ผู้ให้ข้อ มู ล
ตรวจสอบความถูกตอ้ งของขอ้ มลู อีกครง้ั

Next step สรุปประเด็นและทบทวนให้
เกษตรกรเช็คข้อมูลอีกรอบหลังกระบวนการ,
การใช้เคร่ืองมือ เพ่ือจัดกระบวนการและถอด
บทเรียน, การจับประเด็นโดยใช้ Mind map,
การทาSession plan, การดึงศกั ยภาพของกลุ่ม

อภปิ รำยผล
จากการทากิจกรรมทาให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะในการสรุปประเด็นและทบทวนข้อมูลหลังจบ

กระบวนการ เพอื่ เป็นการสะท้อนข้อมูลกลับแกผ่ ู้ให้ข้อมูลได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมลู อีกครั้ง อีกท้ังยงั ช่วย
ให้นักศกึ ษาได้ฝึกทักษะการพดู อกี ดว้ ย

19

4. กำรมสี ว่ นร่วมระหว่ำงนักศกึ ษำและเกษตรกร
ส่ิงท่ีได้เรียนรู้จำกกำรทำกจิ กรรม
 ทกั ษะการพดู ไดฝ้ ึกพูด แลกเปล่ยี นความคิด
 ทาให้ทราบถึงปญั หาการทางานของสมาชิกกลุ่ม
 ฝึกให้เป็นกันเอง กบั เกษตรกร
 อธบิ ายสง่ิ ที่เราอยากได้ ข้อมูลจากเกษตรกร
 กระตุ้นให้เรากับเกษตรกรมีปฏสิ ัมพนั ธก์ นั
 การสรา้ งเงื่อนไขให้กบั เกษตรกร ได้เล่าในเร่ืองของกลมุ่ ของ

ตัวเอง ถา้ ต้องการเป็นเจ้าของร่วมกัน
Next Step นาไปใชใ้ นการทางานได้จริง ฝกึ ทกั ษะการมี
ส่วนร่วม เทคนคิ ตา่ งๆเชน่ ทักษะการพูดกบั เกษตรกร ทา
อย่างไรให้เกษตรมสี ว่ นรว่ มในงานของเราเป็นต้น

อภิปรำยผล
ในการทากิจกรรมถอดบทเรียนนั้น จะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมกันระหว่างนักศึกษาและเกษตรกร

เพื่อให้ทราบถึงปัญหาการทางานของกลุ่มน้ัน นักศึกษาและเกษตรกรจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยนักศึกษาจะต้อง
ฝึกทกั ษะการพูด และสร้างความเป็นกันเองแกเ่ กษตรกรเพอ่ื ให้ได้ข้อมลู ตรงตามวัตถปุ ระสงค์ของกจิ กรรม

20

5. วิทยำกรกระบวนกำรกำรพัฒนำทักษะ
ส่งิ ท่ไี ด้เรยี นรจู้ ำกกำรทำกิจกรรม

 ได้ฝึกการปรบั เปล่ียนหน้างาน (การวางแผนการปรับ
หน้างาน)

 ทุกคนมีหน้าท่ขี องตัวเองและปรับตามเหตุการณ์ท่ี
เกิดข้นึ

 ฝกึ ในการเป็นพิธีกรดาเนินการทาใหไ้ ด้ประสบการณ์
ใหมๆ่ และฝึกการแก้ไขปญั หาเฉพาะหน้า

 การบรหิ ารเวลาในกจิ กรรมเพ่ือพดู ใหค้ รอบคลุมทุก
ประเด็น
การแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน

Next Step กาลังจะทางานเพื่อเตรียมประกวดจะใช้
เครื่องมือท้ังหมดถอดบทเรยี นเพอ่ื ทา Story ของและทาเล่ม
สาหรับส่งเข้าประกวด นาไปปรับใช้ในเข้าในการเข้าพื้นที่
เก็บข้อมูล การเข้าถึงเกษตรกร เก็บแบบสอบถามชุมชนจัดประชุมแลกเปล่ียนความคิดเห็นในการ คืนข้อมูลให้
ชุมชน

อภิปรำยผล
การมีส่วนร่วมจะเกิดข้ึนได้ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและต้องมีคนกลางหรือวิทยากร

กระบวนการ ทาหน้าท่ีจัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเคร่ืองมือต่างๆ ที่เอื้อให้ทุกคนคิดเป็นระบบเช่ือมโยง
และพูดคุยกันอย่างเข้าอกเข้าใจ โดยผู้ที่จะดาเนินหน้าที่วิทยากรกระบวนการน้ันจะต้องมีการบริหารเวลาใน
กจิ กรรมเพ่ือให้ครอบคลมุ ทกุ ประเด็น และปรับเปล่ียนกิจกรรมใหส้ อดคลอ้ งกับเวลาทจี่ ากดั

21

6. กำรเขำ้ หำเกษตรกร
สง่ิ ท่ไี ด้เรยี นรู้จำกกำรทำกิจกรรม
 การชวนคยุ ชวนเล่า ที่ทาใหไ้ มร่ สู้ กึ กดดันหรือออกคาสั่ง
 มีความกลา้ แสดงออกมากขึ้น
 แจ้งบทบาท
 ไม่ถามเพียงแคค่ าถามอยา่ งเดียวชวนคุยเรอ่ื งอนื่ ๆด้วย
 การสรา้ งบรรยากาศเป็นกนั เองและสนุกสนาน
 ใช้ภาษางา่ ยๆไม่ซับซ้อน
 ออ่ นน้อมมีมารยาท
 สอดแทรกเรื่องวฒั นธรรม เกษตรกรแต่ละท้องถ่นิ มี

ความแตกต่างกนั ทางด้านวฒั นธรรม
 อธบิ าย สง่ิ ทต่ี อ้ งการทราบให้ชดั เจนและมขี น้ั ตอน

Next Step ใชใ้ นการทางานจรงิ บริบทของแต่
ละพ้ืนที่มีความแตกต่างกัน

อภปิ รำยผล
ในการเข้าหาเกษตรกรนั้นนักศึกษาจะต้องมีความกล้าแสดงออก และใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่ซ้อน

หรือเป็นภาษาวิชาการเกินไป อธิบายในสิ่งทตี่ นเองต้องการแก่เกษตรกรเพ่ือใหเ้ กษตรกรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ
กิจกรรม ซึ่งในการเข้าหาเกษตรกรนั้นไมค่ วรถามแต่คาถามในการถอดบทเรยี นอย่างเดียว แต่ต้องสรา้ งบรรยากาศ
ทีเ่ ป็นกันเองเพือ่ ไม่ให้เกษตรกรรู้สกึ เครยี ดหรือถูกคกุ คามจนเกินไป

22

7. ควำมเชื่อมัน่ ทุนเดมิ ของชุมชน

สง่ิ ทไี่ ด้เรยี นรจู้ ำกกำรทำกจิ กรรม
 มีสตรีทีม่ ปี ระสบการณ์ด้านการปลูกพืชสมนุ ไพร
 มีอดีตพนักงานบริษัททค่ี น้ พบตัวเองอยากเปน็
ผู้ประกอบการที่พร้อมช่วยเกษตรกรไปดว้ ย
 มผี ู้ใหญบ่ า้ นทใี่ ห้การสนับสนุน
 หน่วยงานทอ่ี ื่นๆยังไม่พร้อมสนับสนุน
 มีสตรีทม่ี ีประสบการณ์ดา้ นการปลกู พืชสมนุ ไพร
 เกษตรกรมีความพร้อมตา่ งกันทง้ั มีทด่ี นิ และไม่มี
ท่ดี นิ
 กิจกรรมสรา้ งรายไดม้ หี ลายลักษณะ เชน่ การผลติ
จากการเกษตร การทาอาหาร
 ผู้หญงิ ในกล่มุ มีความพร้อมในการเรยี นรู้ เพื่อพฒั นา
ตัวเองและชุมชนของตวั เองโดยมคี วามคดิ ว่าเราจะอยู่
รอดคนเดยี วไม่ได้แต่ต้องทาใหช้ มุ ชนรอดไปด้วยกัน
 สมาชกิ มีจิตสาธารณะและมีสตอรีข่ องกลุ่ม

อภิปรำยผล
การดาเนนิ งานของกลุม่ แปรรูปสมุนไพรอินทรยี ์นัน้ มีสตรีท่ีมปี ระสบการณด์ ้านการปลูกพืชสมุนไพร ที่

เป็นอดีตพนกั งานบริษัททค่ี น้ พบตัวเองอยากเป็นผ้ปู ระกอบการท่ีพร้อมช่วยเกษตรกรไปด้วยโดยมีผ้ใู หญบ่ า้ นที่ให้
การสนับสนุนเป็นอยา่ งดี แตย่ ังไม่ได้รับการสนับสนนุ จากหนว่ ยงานท่เี กยี่ วข้องเท่าทีค่ วร ในขณะทส่ี มาชิกของกลุ่ม
มีความพร้อมทต่ี า่ งกันเชน่ บางคนมีท่ดี ิน บางคนไม่มีทีด่ นิ ทากนิ กิจกรรมหลักทสี่ รา้ งรายไดม้ หี ลายลักษณะ เชน่
การแปรรปู พืชสมนุ ไพร การทาอาหาร สมาชิกกลมุ่ มคี วามพร้อมในการเรียนรู้ เพ่ือพัฒนาตวั เองและชุมชนของ
ตัวเองโดยมีความคิดว่าเราจะอย่รู อดคนเดยี วไม่ได้แตต่ ้องทาใหช้ มุ ชนรอดไปดว้ ยกนั หัวใจหลกั สาคัญของกลุ่มผ้นู า
ตอ้ งมีวิสัยทศั น์ทจ่ี ะพฒั นากลุ่ม

23

8. ทักษะกำรแก้ไขปญั หำเฉพำะหนำ้
ส่งิ ทไ่ี ด้เรยี นรจู้ ำกกำรทำกจิ กรรม
 ทาใหเ้ ราสามารถแก้ไขปญั หาทเี่ กิดข้ึนได้ไมต่ ้องรอคาสั่ง
 ทาให้มสี ติหยุดคิดและหาทางแก้ไขปญั หา
 การควบคมุ เวลาในกิจกรรมการบริหารเวลาการเปล่ยี นแปลง

กิจกรรมใหเ้ หมาะสมกับหนา้ งาน
 ตอ้ งมีสตแิ ละประเมินสถานการณต์ ามหน้างานตลอดเวลาเพ่ือ

ปรับเปลย่ี นได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

อภปิ รำยผล
ในการดาเนินกิจกรรมถอดบทเรียนจะต้องมีทักษะในการ

แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซ่ึงสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดดังน้ันผู้
ดาเนินกิจกรรมจะต้องตัดสน้ิ ใจแก้ปัญหาให้ทันทว่ งที โดยไม่ต้องรอ
คาส่ัง ท้ังนี้ผู้ดาเนินกิจกรรมต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาเพื่อประเมินสถานการณ์หน้างาน และพร้อมปรับเปล่ียน
กจิ กรรมได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ อกี ปจั จยั ท่ีสาคัญคอื การบรหิ ารเวลาในการควบคุมกิจกรรมต่างๆใหเ้ หมาะสม

9. ทักษะกำรถำ่ ยภำพ
สิ่งทไ่ี ดเ้ รียนรูจ้ ำกกำรทำกจิ กรรม
 ไดท้ าให้รูจ้ ักการวางโครงเร่ืองในการจะทาวีดโี อ 1 เรือ่ ง
 ได้รู้ว่าการสร้างวีดีโอ 1 เรื่องต้องการถ่ายทอดเร่ืองราวอะไร
ลงไปบา้ ง
 ได้รู้ว่าการถ่ายภาพหรือวีดีโอให้ดนู ่าสนใจ มุมในการถ่ายภาพ
ถ่ายทอดเรือ่ งราว
 การถา่ ยภาพเพ่อื ส่ือความหมายและสามารถนาไปใช้ได้จริง
Next Step นาความรู้ทีไ่ ดท้ กั ษะ ท้ังหมดไปใชง้ านตอ่ ไป
อภิปรำยผล
การเปน็ นกั ส่ิงเสริมการเกษตรทด่ี จี าเปน็ จะต้องถา่ ยทอดเรื่องราวหรือ
ความรู้ต่างๆผ่านส่ือทั้งที่เป็นเอกสารรูปภาพ และวีดิโอ ซ่ึงจะมี

ประโยชน์ในการสอ่ื สาร ประชาสมั พนั ธ์ และบันทกึ องค์ความรู้ต่างๆเก็บไว

24

10. กำรจบั ประเด็น
ส่งิ ทไี่ ดเ้ รยี นรจู้ ำกกำรทำกจิ กรรม

 ฝกึ ทกั ษะการจบั ประเด็นหนา้ งานโดยใช้ Mind map
 การเรียบเรียงประเด็นเน้ือหาเพ่ือจะเป็นประเด็น
สาคญั มาเขียน
 การร้อยเรยี งแต่ละประเดน็ ให้เปน็ เรือ่ งราว
 การใช้ทักษะการฟังและเขียนการจัดเน้ือหาให้เป็น
หมวดหมู่

Next Step นาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการ
ทางานเชน่ การประชุมการสัมมนาต่างๆและจบั ประเดน็ สรุปผล
การดาเนนิ งานนน้ั ๆ
อภิปรำยผล
การจับประเด็นเป็นทักษะที่สาคัญของนักส่งเสริมการเกษตร เน่ืองจากจะต้องสรุปและถ่ายทอดเร่ืองราว
ต่างๆท้ังท่ีเป็นองค์ความรู้ ข่าวสาร ประเด็นของสังคม ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยอาศัยทักษะการฟัง
และการเขียน เครื่องมอื ทส่ี าคญั ทน่ี ามาใชไ้ ดแ้ ก่ Mind map
11. บทวนกจิ กรรมและควำมเป็นมำของกลุ่ม
สง่ิ ท่ไี ด้เรยี นรจู้ ำกกำรทำกจิ กรรม
 การใชเ้ คร่อื งมอื Timeline การใช้ Focus Group
 การจับประเด็น และใช้Mind mapการถามนา

 การสัมภาษณ์การใช้บตั รคา
 การใชภ้ าพและวดี โี อ
อภิปรำยผล

เครื่องมือต่างๆท่ีนามาใช้เช่น Timeline Mind map บัตรคา
และเทคนิคการสัมภาษณ์ Focus Group รวมถึงการถ่ายภาพและ
วีดิโอ เป็นเครื่องมอื
ส า คั ญ ท่ี น า ม า
ประยุกต์ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร เพ่ืออานวยความสะดวก
ในการทางาน และถ่ายทอดองคค์ วามร้ตู ่างๆ

25

12. กำรพดู ในท่สี ำธำรณะ
ส่งิ ที่ได้เรียนร้จู ำกกำรทำกจิ กรรม

 การวางแผนในเรื่องที่จะพดู เช่นเรื่องอะไรกอ่ นหลงั
 ศกึ ษาประเด็นสาคัญทีจ่ ะพูดในเบ้ืองต้น หรอื การใช้

ภาษาในการพูด
 การใช้ระดับภาษาที่เหมาะสม เป็นกันเองกับปุ่ม

กลุม่ เป้าหมาย
 การแตง่ กายใหเ้ หมาะสมในแต่ละงาน
 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าท่อี าจเกดิ ขึ้นหนา้ งานให้

ผา่ นไปไดด้ ว้ ยดี
 ต้องมกี ารซกั ซ้อมเตรียมตวั เตรียมขอ้ มูลของกลุ่ม
 ต้องร้จู ักกลมุ่ ในระดับหนึ่งกอ่ นเปน็ วทิ ยากร
 การสร้างบรรยากาศในท่ีประชุมให้รู้สึกสบายและ

เปน็ กนั เองทาให้เกษตรกรไม่รู้สึกอดึ อดั
Next Step นาเคร่ืองมือกระบวนการวิธีการ การ
แก้ไขปัญหาจากกิจกรรมไปถอดบทเรียนในพ้ืนท่ีทางานจริง
ของตนเอง และนาไปใช้ในการเขยี นวทิ ยานพิ นธ์

อภิปรำยผล
ในการเป็นนักส่งเสรมิ การเกษตรที่ดจี าเป็นจะต้องมที ักษะในการพูดในม่สี าธารณะ เนื่องจากจะตอ้ งทางาน

ร่วมกับชุมชนเป็นหลัก ดังน้ันนักส่งเสริมการเกษตรจะต้องฝึกฝนทักษะในเรื่องของ การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับ
กลุ่มเปา้ หมาย การแตง่ กายให้เหมาะสมนา่ เชอ่ื ถอื

26

6

กำรเรยี นรู้จำกกำรปฏิบัติ vs แนวคิดทฤษฎี

จากวัตถปุ ระสงค์ข้อท่ี 5 เพอ่ื ฝึกทกั ษะการเรียนรจู้ ากการปฏบิ ัติเปรียบเทยี บกบั แนวคิดทฤษฎี ดงั น้ี
6.1 จิตวิทยำส่งเสริมกำรเกษตรแบบมสี ่วนรว่ ม

งานส่งเสริมการเกษตรเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
ซ่ึงโดยทั่วไป ได้แก่ เกษตรกร แม่บ้าน เยาวชน ซ่ึงตัวจักรสาคัญท่ีสุดคือ ผู้นาความเปล่ียนแปลง (Change Agent)
หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมน่ันเอง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจาเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของผู้ใหญ่ทั้งทาง
ร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคม โดยเฉพาะหลักการสาคัญ ของงานส่งเสริมในปัจจบุ ัน เจ้าหน้าท่ีส่งเสริม อาจเป็น
ทั้งผู้ให้ความรู้โดยตรงแก่เกษตรกร หรืออาจเป็นเพียงผู้แนะแนวทางโดยการจัดสภาพแวดล้อม ต่างๆ เพ่ือให้
เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในการทางานกับเกษตรกรน้ัน เจ้าหน้าที่ส่งเสริม การเกษตร ซึ่งเป็นผู้ที่ทางาน
กับเกษตรกรอย่างใกล้ชิดท่ีสุด โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีต้องการให้เกิดการ พัฒนาข้ึนในระหว่างเกษตรกรและชุมชน
ของเกษตรกรเป็นสาคัญ ดังน้ันเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจึงควร จะต้องมีความเข้าใจถึงหลักเบื้องต้นของพฤติกรรมมนุษย์
ในสงั คมชนบท

การมีส่วนร่วมกล่าวได้ว่า การที่ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลมีแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายท่ีเหมือนกัน
เข้ามาดาเนินการนั้น ให้แล้วเสร็จตามจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดแล้วรับผลประโยชน์ร่วมกัน ซ่ึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมใน
ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์
และการมสี ว่ นรว่ มในการประเมนิ ผล

27

6.2 ขนั้ ตอนของจติ วิทยำส่งเสรมิ กำรเกษตรแบบมีสว่ นรว่ ม
หลงั จากได้ลงมอื ปฏบิ ัติจริง สามารถสรปุ ขั้นตอนของจติ วิทยาส่งเสริมการเกษตรแบบมีสว่ นร่วมไดด้ ังนี้
ความคาดหวงั ในการเรียนรู้วิชานี้

มีเป้าหมายในการเรียน

กระทากจิ กรรมใน
การเรียนเพ่ือให้บรรลผุ ลตามเป้าหมาย
 เพื่อทบทวนองค์ความรู้จิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร โดยเรียนรู้
ผา่ นเครื่องมือและส่ือต่างๆ
 เพือ่ ฝึกทกั ษะการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
 เพอ่ื ฝึกลงมือปฏิบตั ิตามแผนการถอดบทเรียน
 เพื่อฝึกทกั ษะการวเิ คราะห์ผลจากการถอดบทเรียน
 เพ่ือฝึกทกั ษะการเรียนรู้จากการปฏิบตั ิเปรียบเทียบกบั แนวคิดทฤษฎี
 เพ่อื ฝึกการจดั การความรู้ e-book และ clip

มคี วามพอใจในความสาเร็จ

28

6.3 อธิปรำยผล นำมำเทียบกับแนวคดิ ทฤษฎี
จากการท่ีได้ฝึกปฏิบัติโดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมมีความสอดคล้องกับความหมายของการมี

ส่วนร่วมที่ ยุทธพงษ์ เฮาประมงค์ (2555) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนรว่ มว่า การท่ีประชาชนหรือกลมุ่ บุคคล
มีแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายท่ีเหมือนกันเข้ามาดาเนินการนั้น ให้แล้วเสร็จตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดแล้วรับ
ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกข้ันตอน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วน
ร่วมในการปฏบิ ัติ การมสี ว่ นร่วมในผลประโยชน์ และการมีสว่ นรว่ มในการประเมนิ ผล

สาหรับรปู แบบการมสี ่วนทนี่ ามาใช้ในการเรียนรู้ครั้งน้เี ป็นรูปแบบของการมสี ่วนร่วมของ United
Nations Department of International Economic and Social Affairs (1989: 9) โดยมรี ูปแบบดงั นี้

1. การมีส่วนร่วมแบบเป็นไปเอง (Spontaneous) โดยการอาสาสมัครหรือรวมตัวกันเองข้ึนมาเพ่ือ
แก้ปญั หาของตนเอง โดยเป็นการกระทาทม่ี ิไดร้ ับความช่วยเหลอื จากภายนอกซ่ึงเปน็ รูปแบบท่เี ป็นเป้าหมาย

2. การมีส่วนร่วมแบบชักนา (Induced) เป็นการเข้าร่วมโดยความต้องการความเห็นชอบหรือการ
สนบั สนุน โดยรัฐบาลเป็นรปู แบบทเี่ ปน็ ลักษณะทัว่ ไปของประเทศกาลังพัฒนา

นอกจากน้ียังสอดคล้องกับลักษณะการมีส่วนร่วมตามทฤษฎีของไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527)
กล่าวว่า การมสี ว่ นร่วมควรมรี ูปแบบหรือลกั ษณะ(Type of Participation) ดังต่อไปนี้

1 ร่วมทาการศึกษา ค้นคว้าปัญหา และสาเหตุของปัญหาท่ีเกิดขึ้นในชุมชนรวมตลอดจนความ
ต้องการของชมุ ชน

2 ร่วมคิดหาและสรา้ งรปู แบบและวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือสร้างสรรค์ส่ิงใหม่
ทเ่ี ป็นประโยชนต์ อ่ ชุมชน หรือสนองความตอ้ งการของชุมชน

3 ร่วมวางนโยบาย วางแผน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เพื่อขจัดและแก้ไขปัญหา และสนอง
ความต้องการของชมุ ชน

4 รว่ มตดั สนิ ใจในการใชท้ รัพยากรที่มจี ากดั ให้เป็นประโยชนต์ อ่ ส่วนรวม
5 รว่ มจดั หรือปรบั ปรงุ ระบบการบรหิ ารงานพัฒนาใหม้ ีประสิทธิภาพ
6 ร่วมการลงทุนในกิจกรรมโครงการชมุ ชนตามขดี ความสามารถของตนเอง และของหนว่ ยงานท่ีวางไว้
7 ร่วมปฏบิ ัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมให้บรรลุตามเปา้ หมายทีว่ างไว้
8 รว่ มควบคมุ ติดตาม ประเมนิ ผล และซอ่ มบารุงรกั ษาโครงการฯ
การเรียนรู้การมีส่วนร่วมทาให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและฝึกวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ร่วมกับ
อาจารย์ผสู้ อน ฝกึ ปฏบิ ัติการทางานรว่ มกับชุมชนสง่ ผลให้เกดิ ทกั ษะและประสบการณใ์ นการเรยี นร้ทู ด่ี ี

29

6.4 เง่ือนไขทที่ ำใหก้ ำรเรียนรขู้ องนักศกึ ษำบรรลเุ ป้ำหมำย
ในการบรรลุเป้าหมายเพ่ือให้เกิดความสาเรจ็ ตามเปา้ หมายนน้ั จะต้องกาหนดทิศทางการสรา้ ง

และการสนบั สนนุ รว่ มกันในการปฏิบตั ิงานที่ม่งุ หวงั ใหเ้ กิดผลสาเร็จ มีการโอกาสและแลกเปลย่ี นความคิดเพ่ือ
นามาพัฒนาตนเอง

 รจู้ กั และฝกึ การใชเ้ ครื่องมือก่อนนาไปปฏิบตั จิ รงิ
 กระบวนการมีส่วนรว่ ม กาหนดเปา้ หมาย วางแผน ดาเนนิ การ สรปุ บทเรียนร่วมกนั
 ลงมือปฏบิ ตั ิจริงทาใหเ้ กิดประสบการณก์ าร
 การกาหนดบทบาทหน้าที่ชดั เจน
 การสรุปบทเรยี นหลังกจิ กรรม (AAR)
 มคี วามตัง้ ใจในการบรรลเุ ป้าหมายในการเรียน

ซงึ่ สอดคล้องกับงานวิจัย อรุ ปรยี แ์ ละคณะ(2556) “การศึกษาลกั ษณะความหวังทางการศึกษา
ของนักเรียนวัยรนุ่ ในกรงุ เทพ” พบว่านกั เรียนวยั รนุ่ มคี วามหวงั ทางการศึกษาด้านเป้าหมายทางการศึกษา ดา้ น
ความตง้ั ใจท่ีจะบรรลุเปา้ หมายทางการศึกษาและด้านความอดทนต่อการทจ่ี ะบรรลเุ ปา้ หมายทางการศึกษา

เยาวรชั ย์ พรประสิทธิ์ (2557) ศกึ ษาเรอื่ ง “ปัจจยั ท่มี อี ิทธิพลต่อความสาเรจ็ ในการจัดการความรู้
ของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา สานักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้” พบว่าความสาเร็จในการจัดการความรู้ของ
สานักงานเขตกล่มุ กรุงเทพใต้ มีมีจานวน 7 ด้าน ได้แก่ กระบวนการจัดการความรู้ ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการ
จัดการความรู้ ทีมงานด้านจัดการความรู้ สมรรถนะของบคุ ลากร ภาวะผู้นา ความชดั เจนของแผนและกลยุทธ์ด้าน
การจัดการความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่ือสารที่สนบั สนุนการจัดการความรู้

สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) ในเรื่องทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเน่ือง
(Connectionism Theory) ของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหน่ึง ๆ ย่อมทาให้เกิด
การตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองท่ีดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ท่ีสาคัญคือ กฎแห่งการผล
(Law of Effect) กฎแหง่ การฝกึ หัด (Law of Exercise) และกฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)และ ทฤษฎี
กล่มุ ความรู้ (Cognitive) นักทฤษฎที างการศึกษาและนกั จิตวิทยากลมุ่ นี้เน้นความสาคัญของส่วนรวม ดงั น้นั แนวคิด
ของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนหรือเกษตรกรมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual
experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มน้ีซึ่งมีช่ือว่า Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โค
เลอร์ (Kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin) แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้
ผู้เรียนหรือเกษตรกรทางานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสาเร็จ การเรียนการ
สอนจะเนน้ ให้ผเู้ รยี นลงมือกระทาด้วยตวั เขาเอง ผสู้ อนเปน็ ผู้ชแ้ี นะ

30

6.5 ข้อเสนอแนะในกำรนำไปปรับใช้
 ผู้สอนและผูเ้ รยี นตอ้ งเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้การมสี ว่ นรว่ มกอ่ น
 เลอื กกรณศี ึกษาท่ีเหมาะสมกับบรบิ ทของผ้เู รยี น
 ทดสอบผูเ้ รยี นก่อนเขา้ สู่กระบวนการ
 จดบันทึกทุกครั้งทม่ี กี ารเรียนรู้
 ไมค่ วรช่ืนชมความสาเร็จแต่เพยี งด้านเดยี ว ต้องยอมรับปัญหาทเี่ กิดขึน้ และควรให้ความสนใจ
มากกว่าความสาเรจ็
 ผู้สอนเปดิ โอกาสให้ทกุ คนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
 ผสู้ อนควรกระตุ้นให้ผู้เรยี นร้จู ักคดิ และสรปุ ประเด็นสาคัญ

6.6 กำรจัดกำรควำมรู้
 https://youtu.be/LNcc7VlvB-0

31

บรรณำนกุ รม

อุรปรีย์และคณะ 2556. กำรศกึ ษำลักษณะควำมหวังทำงกำรศกึ ษำของนักเรียนวัยรุน่ ในกรุงเทพ.
วำรสำรสังคมศำสตรแ์ ละมนุษยศำสตร์ บัณฑิตวิทยำลยั . มหาวิทยาลยั ศรสี ครนิ ทรวิโรฒ
ยุทธพงษ์ เฮาประมงค์. 2555. กำรมีส่วนร่วมของคณะกรรมกำรชุมชนในกำรพัฒนำชุมชนในเขตเทศบำล

ตำบลบำงพระ อำเภอศรีรำชำ จงั หวดั ชลบุรี. วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญาโท. มหาวทิ ยาลยั บูรพา. 79 น.
เยาวรัชย์ พรประสิทธิ์. 2557. ปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อควำมสำเร็จในกำรจัดกำรควำมรู้ของกรุงเทพมหำนคร :

กรณีศึกษำ สำนักงำนเขตกลุ่มกรุงเทพใต้. หลักสูตรรัฐศาสนสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ.
มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมธิราช
United Nations Department of International Economic and Social Affairs. 1 9 8 9 . Population of
the Worla. Population Studies. 72 p.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. 2527. นโยบำยและกลวธิ กี ำรมสี ่วนรว่ มของชมุ ชนในยุทธศำสตร์ กำรพัฒนำ
ปัจจบุ นั ของประเทศไทย ในกำรมสี ว่ นร่วมของประชำชนในกำรพฒั นำ. กรุงเทพฯ:ศักดิ์โสภาการพมิ พ.์

32


Click to View FlipBook Version