The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ
กับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Handhoro, 2023-12-07 01:59:50

ผลวิจัยนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ
กับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล

Keywords: วิจัยลายนิ้วม,ืลายนิ้ววิจัย

การประชุมวิชวิาการระดับดัชาติ เรื่อรื่ง “คุณ คุ ภาพของการบริหริารจัดจัการ และนวัตวักรรม ครั้งรั้ที่ 12” (12TH NATIONAL CONFERENCE ON QUALITY MANAGEMENT AND TECHNOLOGY INNOVATION) วันวัที่ 25 พฤศจิกจิายน 2566 ณ ห้อห้งประชุมฟองจันจัทร์ ชั้นชั้ 4 อาคาร President มหาวิทวิยาลัยการจัดจัการและเทคโนโลยีอียี อีสเทิร์นร์


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 231 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ กับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล ปอแก้ว ครุฑนาค, วรัญนิตย์ โพธิ์เตมิย์และศิลป์ชัย พูลคล้าย โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2, นักวิชาการอิสระ , มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา Email: [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อหาคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้าน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา และด้านจิตวิทยาการศึกษา รวมจำนวน 6 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Selecting) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือและแบบประเมิน คุณภาพนวัตกรรม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อหาคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ลายนิ้วมือ นักเรียนอาสาสมัคร ร่วมโครงการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือมีคุณภาพ ระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 2. นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือมีความสัมพันธ์กับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้าน ในทางบวกระดับสูง (ค่าเฉลี่ย R = 0.75) คำสำคัญ : นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ , พรสวรรค์ทางปัญญา , ศักยภาพ


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 232 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation Study of Relationship between Fingerprint Science Innovation and 10 Intelligence Talents of a Person Porkaew Krutnak , Warunyanit Photemi and Sinchi Poolklai Nawamintrachinuthit Satriwittaya 2 School, Independent Scholar and Suan Sunandha Rajabhat University Email: [email protected] Abstract The purposes of this research were to find out the quality of fingerprint science innovation and to study the relationship between fingerprint science innovation and 10 intelligence talents of a person. The sample used in this study were innovation experts, educational technology, educational guidance and educational psychology, a total of 6 people, using purposive sampling method. The instrument used in this research consisted of fingerprint science innovation and the innovation quality assessment forms. Data collection was conducted through focus group discussion in order to find out the quality of fingerprint science innovation of students participating in the study. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson correlation coefficient analysis. The research results found that 1. The fingerprint science innovation is of very good quality, with an average of 4.74 2. The fingerprint science innovation is positively related to 10 intelligence talents of a person, with high level (mean R = 0.75) Key words : Fingerprint science innovation, Intelligence talents, Ability. บทนำ (Introduction) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ระบุในบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนใน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งมี 3 หัวข้อ หลักได้แก่ 1) กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็น และมีสมรรถนะ ตามความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศ 2) สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3) การ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและ สมรรถนะตามความต้องการของตลาดงาน มุ่งให้สถาบันการศึกษา ผลิตบัณฑิต ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน มุ่งการ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2560) ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้งสามด้านดังกล่าว จะสำเร็จได้จำเป็นต้องร่วมมือกันในการดำเนินงานพัฒนาผู้เรียน ประกอบกับคำกล่าว ที่ว่า เด็กคือ “กำลังสำคัญของชาติ” ดังนั้น การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จึงเป็นความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน ผลการวิเคราะห์ ผู้เรียนเป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน สถาบันการศึกษานำมาใช้ โดยความรับผิดชอบของงานแนะ แนว ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและขอคำปรึกษาในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ กระบวนการแนะแนวจะ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อม มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม สามารถตัดสินใจได้ว่าตนเองต้องการอะไร สามารถที่จะบรรลุ จุดมุ่งหมายของตนเองได้อย่างไร สามารถวางแผนอนาคตของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตามความถนัด เลือกสาขาการเรียน และ


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 233 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation วางแผนการเรียนได้อย่างเหมาะสม พัฒนาตนตามความถนัด ทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถปรับตัวเข้า กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแก้ไขปัญหาในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข พบ ความสำเร็จในชีวิต ทั้งนี้ การรู้จักตนเองนั้นเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้สอน ในการวางแผนจัดการเรียนรู้หรือการทำกิจกรรมได้ตรง ความต้องการของผู้เรียน (Kochhar,1984; พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา,2544; สุนิสา วงศ์อารีย์,2559) อย่างไรก็ตาม การค้นหาแนวทาง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น ให้เป็นไปตามวัยอันเหมาะสม นั้นเป็นสิ่งที่ ท้าทายอย่างมาก (Agathao;et al.,2018) ดังนั้นกระบวนการแนะแนว จะช่วยให้นักเรียนได้รู้จักตนเอง เข้าใจตนเองเพื่อที่นักเรียนจะสามารถเลือกอาชีพที่ตรงกับตนเองมาก ที่สุด หากนักเรียนมีความเข้าใจในตนเองมากยิ่งขึ้นก็ยังทำให้สามารถเลือกอาชีพได้ การเลือกอาชีพและการศึกษาต่อที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปลายสู่ระดับอุดมศึกษา วิธีการวางแผนมุ่งสู่อาชีพจึงเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา เด็กและเยาวชนสู่วัยทำงานที่มีคุณภาพ เนื่องจากการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนในช่วงวัยนี้จะเป็นการกำหนดแนวทางใน การศึกษาและการดำเนินชีวิตในอนาคต ซึ่งสิ่งสำคัญก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพนั้น คือมีการเสริมสร้างให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนให้บรรลุเป้าหมายตามแนวทางของตนเอง (สมร ทองดี,2555) หากบุคคลตัดสินใจลงไปก็ย่อมหมายถึง บุคคลต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตทำงานในสิ่งที่เขาไม่มีใจรัก และอาจจะทำให้ไม่ทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่เท่าที่ควร ไม่ประสบความสำเร็จใน ชีวิตการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต และส่งผลกระทบกับชีวิตในด้านอื่นๆ ของบุคคลด้วยเช่นกัน (นีรนุช เทพหัสดิน ณ อยุธยา ,2542) เมื่อนักเรียนสามารถเข้าใจตนเองได้แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการเข้าเลือกอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ตามทฤษฎีคุณลักษณะ และองค์ประกอบมีพื้นฐานเกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพของแฟรงค์ พาร์สัน ใช้หลักการเลือกอาชีพอย่างมีระบบ มี 3 ขั้นตอนที่ 1 การ วิเคราะห์ตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์อาชีพ ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวางแผนเพื่อเข้าสู่อาชีพที่เลือก (จิตตินันท์ บุญสถิรกุล,2564) สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2556) ระบุว่า ร้อยละ 50 ของผู้ว่างงานทั้งหมดเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาเนื่องมาจากความไม่เข้าใจตนเองภายหลังการศึกษาจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อันเป็นผลมาจากนักเรียนใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาในการเข้าใจตนเองและอาชีพ ส่งผลให้การเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผิดพลาดไปด้วย แสดงให้เห็นว่า การเลือกอาชีพจึงมีความสำคัญมาก และจากการศึกษาสภาพปัญหาของการศึกษาต่อ หลังจบการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีผู้เรียนที่พบปัญหาการเลือกคณะหรือสาขา ในระดับอุดมศึกษา เมื่อเลือกหรือตัดสินใจไปแล้วแต่ไม่ ตรงกับความถนัดของตนเอง บางคนเพิ่งค้นพบว่าตนเองชอบเรียนในสาขาที่เลือก แต่ไม่มีความถนัด ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อได้ส่งผล ให้ต้องเลือกเรียนใหม่ในครั้งต่อไป ดังนั้นครูจึงเป็นบุคคลสำคัญในการช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าใจตนเองและค้นพบศักยภาพของ ตนเอง (ศศิวิมล เกลียวทอง, 2556) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง (ศิรินยา จีระเจริญพงศ์,2556) การรู้จักตนเอง การค้นหาตัวตนหรือพรสวรรค์ของผู้เรียน เป็นสิ่งที่สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาต่อ ทำให้ทราบแนวทางชีวิต การดำเนินชีวิตในทิศทางที่ตนเองถนัด เลือกอาชีพที่เหมาะสม ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งผู้ที่เลือกประกอบ อาชีพที่ เหมาะสมกับตนเองย่อมก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน และยังมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมากที่สุด แต่ ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน (วิวรรณ ธารารัญ โชติ.2549 ; สุภาวดี ทองบุญส่ง.2556) ปัจจุบันมีหลายเครื่องมือที่จะช่วยในการค้นหาตนเอง แต่เครื่องมือหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ พัฒนากำลังคน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้านเครื่องมือสำคัญดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ" ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษ สามารถค้นหาพรสวรรค์ ของบุคคลที่ปรากฏอยู่ในลายนิ้วมือ Pitale และคณะ (2022) ได้ทดสอบศาสตร์ ลายเส้นนิ้ว (Dermatoglyphics) ซึ่งเป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลายนิ้วมือและรูปแบบผิวหนังแข็งที่พบในนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์สมอง การปรับตัวตามสัญชาตญาณและตอบสนอง ด้วยวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการจำแนกรูปแบบและสันเขา ลายเส้นบนปลายลายนิ้วมือของบุคคลผ่านการทดสอบสติปัญญาพหุปัญญาลายนิ้วมือ (DMIT) โดยการสแกนลายนิ้วมือและนับรอย


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 234 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation นิ้วมือบนลายนิ้วมือของแต่ละคน จากนั้นคำนวณเปอร์เซ็นต์การทำงานของสมองและรูปแบบการเรียนรู้ สามารถช่วยในการตัดสินใจ ด้านอาชีพที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงนับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนำไปสู่แนวคิดการเลือกอาชีพในระดับที่กว้างขึ้นในอนาคต จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัย สนใจที่จะศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ลายนิ้วมือ ตามแนวคิดการพัฒนาการเลือกอาชีพ 4ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินตนเอง (Self Assessment)การตรวจสอบความเป็น จริง (Realily Check)การตั้งเป้าหมาย (Goal Settine) และการวางแผนปฏิบัติการ (Action Planning) ซึ่งเป็นกระบวนการค้นหา ตัวตนและอาชีพที่มีประสิทธิภาพ (Noe; et al.2003) โดยนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือในการศึกษาวิจัยนี้ ได้รับการพัฒนาขั้นต้น จากสถาบันเบรนเท็น สแกน โดย อาจารย์ธนพงศ์ รัตนพรพรม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ต่อมาได้ประสานความร่วมมือ กับสมาคมวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย (สคท.) และโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ เพื่อพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ลายนิ้วมือ ให้มีองค์ประกอบที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยในเบื้องต้นนั้น ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันพิจารณาร่างนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ แล้วคัดเลือกนักเรียนอาสาสมัครเพื่อทดลองใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ วิเคราะห์ผล หา ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับการค้นหาพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล ที่ประกอบด้วย 1) ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ 2) ปัญญาด้านการจินตนาการ 3) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 4) ปัญญาด้านดนตรี 5) ปัญญา ด้านมิติสัมพันธ์ 6) ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 7) ปัญญาด้านตรรกะ 8) ปัญญาด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก แยกแยะด้วยสัมผัส-นิ้วมือ 9) ปัญญาด้านภาษา และ 10) ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ขั้นตอนสุดท้ายพิจารณาคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ โดย ผู้เชี่ยวชาญสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยจะได้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างผลผลิต มีคุณค่าต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เนื่องจากทำให้ทราบว่านักเรียนแต่ละบุคคลมีคุณลักษณะพิเศษหรือพรสวรรค์ 10 ด้านอย่างไร ย่อม ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)ซึ่งเป็นความคิดและความรู้สึกเชิงประเมินค่าที่มีต่อตนเองเกี่ยวกับการ รับรู้ความสามารถ (Competence)และความมีคุณค่า (Worthiness)ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้อันจะเป็นแรงขับภายในบุคคลและเป็น พลังผลักดันให้การพัฒนาตนเองได้รับความสำเร็จยิ่งขึ้น (Reasomer,2000 Cited in Scott,2004) ผลการวิเคราะห์เป็นแนวทาง ส่งเสริมเพื่อการเลือกแผนการเรียนและอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพและพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล อีกทั้งพัฒนาจุดเด่นและแก้ไข จุดด้อยของผู้เรียนตามความเป็นจริงที่ค้นพบได้ การวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลนี้ นับว่าเป็นประโยชน์กับวงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานแนะแนวในการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำหรือช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์กับ โรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้วยการจัดสอนเสริม เพิ่มพูนทักษะประสบการณ์ จัดกิจกรรมการ เรียนรู้ เตรียมความพร้อมกับการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective of the Research) 1. หาคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ 2.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้าน


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 235 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดของการวิจัย วิธีวิจัย (Research Methodology) กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งได้ ดังนี้ 1) การยกร่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ กลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมลายนิ้วมือ และผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนว จำนวน 6 คน 2) ความสัมพันธ์และคุณภาพของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 2.1) นักเรียนอาสาสมัครระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนในเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 9 คน 2.2) ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 6 คน รายนามผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้ 1) ดร.วิสุทธิ์ เวียงสมุทร ผู้ช่วยอธิการบดี ม.การจัดการและเทคโนโลยีอุบลราชธานี ความเชี่ยวชาญ ด้านบริหารและจิตวิทยา 2) ผศ.ดร.ศิลป์ชัย พูลคล้าย อาจารย์คณะครุศาสตร์(เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา) ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ความเชี่ยวชาญ การออกแบบ/พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีการศึกษา 3) ดร.นโรดม นรินทร์รัมย์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสารวิทยา สังกัด สพม.กท 2 ความเชี่ยวชาญ ด้านบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา 4) ดร.ปาวาริศา สมาฤกษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสารวิทยา สังกัด สพม.กท 2 ความเชี่ยวชาญ ด้านคณิตศาสตร์และการให้คำปรึกษา 5) ดร.สุดา มงคลสิทธิ์ ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ความเชี่ยวชาญ ด้านจิตวิทยาการศึกษา 6) อาจารย์ปัญญา ทรงเสรีย์ ข้าราชการบำนาญ แนวคิดพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) แนวคิดการแนะแนวด้านอาชีพ (Vocational guidance) นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ (Fingerprint Science Innovation) ความสัมพันธ์และคุณภาพ ของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ กับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของ บุคคล


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 236 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ความเชี่ยวชาญ ด้านพัฒนาการศึกษา การให้คำปรึกษาและสื่อ-นวัตกรรมการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือและองค์ความรู้ที่ใช้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมพัฒนาวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย (สคท.) ร่วมมือกับ สถาบันเบ รนเท็น แสกน โดย นายธนพงศ์ รัตนพรพรม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ลายนิ้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้าน ของบุคคลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ร่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 อุปกรณ์ ได้แก่ 1) เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (finger scanner) รุ่น ZK4500 USB Fingerprint Reader 2) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) 3) ชุดระบบปฏิบัติการ (software) ซึ่งได้พัฒนาให้ง่าย และสะดวกในการเก็บข้อมูลประวัติบุคคลและภาพลายนิ้วมือ เพื่อติดตั้งในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สำหรับการสแกนลายนิ้ว และ นำเข้าสู่ระบบการวิเคราะห์และพิมพ์เป็นรายงานผลวิเคราะห์ องค์ประกอบที่ 2 นักวิเคราะห์ลายนิ้วมือ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการเก็บลายนิ้วมือ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศนักเรียนที่ใช้นวัตกรรม 2) การเขียนเอกสารข้อมูล ส่วนตัวและยินยอมให้เก็บข้อมูล 3) การดำเนินการเก็บข้อมูลและรับฟังการวิเคราะห์ผลโดยนักวิเคราะห์ลายนิ้วมือ 4) การอ่าน รายงานผลการวิเคราะห์ฉบับสมบูรณ์ องค์ประกอบที่ 4 การแนะแนว คือ การนำผลจากรายงานไปใช้วางแผนเลือกอาชีพ/เลือกสายการเรียน 2) แบบตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อ เกี่ยวกับ กระบวนการและแนวทางการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล และแบบสอบถาม ปลายเปิด เพื่อให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล ในการ แนะแนวด้านอาชีพ 3) ประเด็นคำถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เรื่อง นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้าน ของบุคคลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้ 1) วางแผนการดำเนินงาน ออกแบบตารางกำหนดการวิจัย 2) ยกร่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือกับพรสวรรค์ทางปัญญา 10 ด้านของบุคคล โดยศึกษาจากเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ แนวคิดพหุปัญญา และแนวคิดการแนะแนวด้านอาชีพ เพื่อกำหนดองค์ประกอบ และกระบวนการดำเนินการของนวัตกรรมโดยการพิจารณาว่ามีสิ่งใดที่สามารถช่วยให้จุดมุ่งหมายบรรลุผลสำเร็จ 3) เตรียมความพร้อมเครื่องมือวิจัย โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 ) ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ 3.2 ) สร้างเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ประเด็นคำถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม จากนั้นตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของประเด็นคำถามและ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสม ด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป พร้อมทั้งปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 237 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation 4) ติดต่อประสานงานโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (นักเรียนที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครจำนวน 9 คน) เพื่อเก็บข้อมูลการทดลองใช้ ร่างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ 5) คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากทดลองใช้ร่างนวัตกรรมมาวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำหรับการหาคุณภาพของ นวัตกรรม 6) ติดต่อประสานงานเชิญผู้เชี่ยวชาญพร้อมทั้งจัดทำจดหมายเชิญผู้เชี่ยวชาญสนทนากลุ่ม (focus group) 7) ดำเนินการสนทนากลุ่ม (focus group) ตามประเด็นคำถามและบันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งให้ ผู้เชี่ยวชาญทำแบบตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ เพื่อประเมินคุณภาพนวัตกรรมทั้งเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ 8) คณะผู้วิจัยนำข้อมูลและข้อสรุปที่ได้จากการทดลองใช้ร่างนวัตกรรมและการประชุมกลุ่มมาวิเคราะห์ และดำเนินการทำสรุปผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ค่าร้อยละ (Percentage) 2. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) 3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) 4. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการวิจัยและอภิปรายผล (Research Results and Discussion) นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือมีความสัมพันธ์กับพรสวรรค์ทางปัญญาในทางบวกระดับสูง มีค่าเฉลี่ย ความสัมพันธ์ในระดับสูง (R = 0.75) แสดงรายละเอียดได้ดังนี้ ตาราง 1 แสดง ค่าศักยภาพสมอง TRC (Total Ridge Count) ของนักเรียนอาสาสมัคร จำนวน 9 คน มือ ด้านซ้าย ด้านขวา นักเรียน อาสา สมัคร คนที่ 1 : นิ้ว หัว แม่มือ 2 : นิ้ว ชี้ 3 : นิ้ว กลาง 4 : นิ้ว นาง 5 : นิ้ว ก้อย 6 : นิ้ว หัว แม่มือ 7 : นิ้ว ชี้ 8 : นิ้ว กลาง 9 : นิ้ว นาง 10 : นิ้ว ก้อย 1 24.00 16.00 24.00 27.00 26.00 26.50 16.00 18.00 28.50 20.00 2 24.50 21.00 21.00 24.00 17.00 24.00 18.00 24.00 31.00 21.00 3 23.50 27.50 27.00 28.50 26.50 27.50 29.00 29.50 32.50 29.50 4 35.50 28.50 23.00 28.50 23.00 29.00 26.50 27.00 29.00 23.00 5 26.00 25.00 28.00 28.50 25.00 29.50 27.00 25.00 27.50 24.50 6 31.50 25.50 26.5 25.00 22.50 30.50 24.00 28.50 29.50 22.50 7 26.00 26.50 27.00 29.50 26.00 28.00 30.00 24.50 23.50 21.50 8 22.00 26.50 30.00 27.50 24.00 25.00 27.50 24.00 28.00 21.00


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 238 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation มือ ด้านซ้าย ด้านขวา นักเรียน อาสา สมัคร คนที่ 1 : นิ้ว หัว แม่มือ 2 : นิ้ว ชี้ 3 : นิ้ว กลาง 4 : นิ้ว นาง 5 : นิ้ว ก้อย 6 : นิ้ว หัว แม่มือ 7 : นิ้ว ชี้ 8 : นิ้ว กลาง 9 : นิ้ว นาง 10 : นิ้ว ก้อย 9 28.00 23.50 25.00 27.50 24.00 25.00 22.50 27.00 25.50 26.00 จากตาราง พบว่า ค่าศักยภาพสมอง TRC แต่ละนิ้วมือของนักเรียนอาสาสมัครอยู่ในระดับดีมาก (16-18) ดีเยี่ยม (19-21) และพิเศษดีเยี่ยม (22) ตาราง 2 แสดงค่าพรสวรรค์ทางปัญญาของนักเรียนอาสาสมัคร จำนวน 9 คน มือ ด้านซ้าย ด้านขวา นักเรียน อาสา สมัคร คนที่ 1 : นิ้ว หัว แม่มือ 2 : นิ้ว ชี้ 3 : นิ้ว กลาง 4 : นิ้ว นาง 5 : นิ้ว ก้อย 6 : นิ้ว หัว แม่มือ 7 : นิ้ว ชี้ 8 : นิ้ว กลาง 9 : นิ้ว นาง 10 : นิ้ว ก้อย 1 10.62 7.08 10.62 11.95 11.50 11.63 7.80 7.69 12.61 8.85 2 10.67 9.33 9.33 10.67 7.56 10.67 8.00 10.67 13.78 9.33 3 8.36 9.79 9.61 10.14 9.43 9.79 10.32 10.50 11.57 10.50 4 13.00 10.44 8.42 10.44 8.42 10.62 9.71 9.89 10.62 8.42 5 9.77 9.40 10.53 10.71 9.40 11.09 10.15 9.40 10.34 9.21 6 11.84 9.59 9.96 9.40 8.46 11.47 9.02 10.71 11.09 8.46 7 9.90 10.10 10.29 11.24 9.90 10.67 11.43 9.33 8.95 8.19 8 8.61 10.37 11.74 10.76 24.00 9.78 10.76 9.39 10.96 8.22 9 11.02 9.25 9.84 10.83 24.00 9.84 8.86 10.63 10.04 10.24 จากตาราง พบว่า ค่าพรสวรรค์ทางปัญญาของนักเรียนอาสาสมัครอยู่ในระดับ สูง


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 239 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ตาราง 3 แสดงระดับความสัมพันธ์ ( R ) ระหว่างค่า TRC (Total Ridge Count) ลายนิ้ว กับ พรสวรรค์ทางปัญญา มือ ด้านซ้าย ด้านขวา นิ้วที่ : ชื่อนิ้ว 1 : นิ้ว หัว แม่มือ 2 : นิ้ว ชี้ 3 : นิ้ว กลาง 4 : นิ้ว นาง 5 : นิ้ว ก้อย 6 : นิ้ว หัว แม่มือ 7 : นิ้ว ชี้ 8 : นิ้ว กลาง 9 : นิ้ว นาง 10 : นิ้ว ก้อย R 0.88 0.93 0.73 0.30 0.79 0.48 0.97 0.84 0.75 0.80 ระดับ ความ สัมพันธ์ ทาง บวก สูง ทาง บวก สูง มาก ทาง บวก สูง ทาง บวก น้อย ทาง บวก สูง ทาง บวก น้อย ทาง บวก สูง มาก ทาง บวก สูง ทาง บวก สูง ทาง บวก สูง จากตาราง พบว่า นิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว มีความสัมพันธ์กับพรสวรรค์ทางปัญญาทั้ง 10 ด้าน ในทางบวกระดับสูง แต่ ละนิ้วบ่งบอกถึงพรสวรรค์ทางปัญญา ดังนี้ 1. นิ้วหัวแม่มือ ซ้าย : ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ 2. นิ้วชี้ ซ้าย : ปัญญาด้านการจินตนาการ 3. นิ้วกลาง ซ้าย : ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 4. นิ้วนาง ซ้าย : ปัญญาด้านดนตรี 5. นิ้วก้อย ซ้าย : ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 6. นิ้วหัวแม่มือ ขวา : ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 7. นิ้วชี้ ขวา : ปัญญาด้านตรรกะ 8. นิ้วกลาง ขวา : ปัญญาด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก แยกแยะด้วยสัมผัส-นิ้วมือ 9. นิ้วนาง ขวา : ปัญญาด้านภาษา 10. นิ้วก้อยขวา : ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ที่ได้จากแบบตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ มี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.74 ให้คุณภาพในระดับดีมาก โดยผลปรากฏดังตาราง ตาราง 2 แสดงผลการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ประเด็นคำถาม คะแนนเฉลี่ย ระดับคุณภาพ 1) ชุดอุปกรณ์ของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ 4.4 ดี 2) ผู้ใช้งาน 4.8 ดีมาก 3) ขั้นตอนการใช้งาน 4.4 ดี 4) การรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ โดยนักวิเคราะห์ 5.0 ดีมาก 5) การรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ โดยอ่านด้วยตนเอง 5.0 ดีมาก 6) ลักษณะการแจ้งผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ 5.0 ดีมาก 7) การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้วางแผนชีวิต 4.8 ดีมาก


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 240 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ประเด็นคำถาม คะแนนเฉลี่ย ระดับคุณภาพ รวม 4.74 ดีมาก จากตาราง พบว่า ประเด็นการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือที่สูงที่สุด คือ การรายงานผล การ วิเคราะห์ลายนิ้วมือ ทั้งนักวิเคราะห์ลายนิ้วมือและการรายงานผลแบบรูปเล่ม และลักษณะการแจ้งผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ (มี ค่าเฉลี่ย = 5.0) ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก และประเด็นที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือชุดอุปกรณ์ของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ลายนิ้วมือ และขั้นตอนการใช้งาน (มีค่าเฉลี่ย = 4.4 ) ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี ทั้งนี้ผลสรุปเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้เชี่ยวชาญ ตามประเด็นคำถามที่ได้จากแบบ บันทึกการสนทนากลุ่ม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นต่อชุดอุปกรณ์ของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ไปในทิศทางเดียวกันว่า นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการสแกนลายนิ้วมือ สามารถใช้งานได้ง่าย มีความสะดวก และมีความปลอดภัย ต่อผู้มาสแกน (เจ้าของลายนิ้วมือ) อีกทั้งราคาของอุปกรณ์มีให้เลือกใช้ได้ในหลายหลากระดับขึ้นอยู่กับความสามารถทางเศรษฐกิจ ของสถานศึกษาที่สนใจนวัตกรรมนี้ในการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียนต่อไปได้ รวมถึงต้องไม่เป็นการสร้างภาระงานให้คุณครูใน โรงเรียนเพิ่มด้วย ผู้ใช้งาน (นักวิเคราะห์) มีความรู้และประสบการณ์ตรงมาอย่างยาวนาน ทำให้การตรวจสอบลายนิ้วมือเป็นได้ด้วยความ ราบรื่นและถูกต้องแม่นยำ ไม่เสียเวลา แต่เนื่องจากเครื่องมือและโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ลายนิ้วมือเป็นศาสตร์ความรู้เฉพาะและยังมิได้ใช้งานแพร่หลายในหน่วยงานการศึกษาโดยทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญเกินกึ่งหนึ่งให้ความเห็น ว่าควรต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการใช้อุปกรณ์เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้มาสแกน (เจ้าของลายนิ้วมือ) หรือหากมี ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวนจำกัดอาจจะต้องพิจารณาให้มีการอบรมครูที่มีช่วยเกี่ยวข้องอบรมการใช้เครื่องมือดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในการนำไปใช้งานจริง 3. ขั้นตอนในการนำนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือไปใช้ในสถานศึกษามีความสะดวก เนื่องจากอุปกรณ์ มีขนาดพอเหมาะทำให้เกิดความสะดวก คล่องตัวในการนำไปปฏิบัติจริง อีกทั้งในส่วนขององค์ประกอบที่มีการแจ้งการป้องกันสิทธิ ข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายทำให้ผู้มาสแกน(เจ้าของลายนิ้วมือ) เกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกถึงความปลอดภัยในข้อมูลของตนเอง ทั้งนี้ต้องคำนึกถึงช่วงเวลาและระยะเวลาในที่ใช้ในการแสกนลายนิ้วมือด้วย เพราะหากมีจำนวนเครื่องมือและนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ มีจำกัด อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเก็บข้อมูล 4. การรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือที่ได้จากการวิเคราะห์ โดย นักวิเคราะห์ลายนิ้วมือที่มีความ เชี่ยวชาญ มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ การจัดวางตำแหน่งข้อมูลน่าติดตาม มีการอธิบายข้อมูลทั้งลักษณะเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพพร้อมทั้งสามารถอธิบายลักษณะเฉพาะบุคคลได้ละเอียด ชัดเจน ให้ทำความเข้าใจได้ง่าย 5. การรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือในลักษณะรูปเล่มรายงานผลมีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่มี คุณภาพ การจัดวางตำแหน่งข้อมูลน่าติดตาม มีการอธิบายข้อมูลทั้งลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมทั้งสามารถอธิบาย ลักษณะเฉพาะบุคคลได้ละเอียด ชัดเจน ให้ทำความเข้าใจได้ง่าย 6. การแจ้งผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือกับเจ้าของลายนิ้วมือ เป็นการแจ้งผลรายบุคคล ด้วยขั้นตอนที่ไม่ ยุ่งยาก สะดวก เป็นประโยชน์และคาดว่าจะนำไปใช้ได้จริง แต่ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลในขั้นตอน การส่งข้อมูลในลักษณะไฟล์ดิจิตอลให้กับเจ้าของลายนิ้วมือเพื่อลดความผิดพลาดในการส่งไฟล์ผิดคน 7. ผลของการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ วิเคราะห์ตัวตนที่ค่อนข้างตรง/ตรงกับความเป็นจริง สามารถการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวด้านอาชีพ วางแผนศึกษา วางแผนชีวิตของนักเรียนในอนาคตได้


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 241 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้นวัตกรรม ที่กล่าวถึงคุณค่าของการนำนวัตกรรม ไปใช้ และเสนอประเด็นเพื่อพิจารณาองค์ประกอบของนวัตกรรม โดยให้คำนึกถึง 1) จุดมุ่งหมายของนวัตกรรม 2) ลักษณะของ นวัตกรรม (จุดเด่น-ข้อจำกัด) 3) ความชัดเจนและคุณสมบัติของผู้ใช้นวัตกรรม 4) กระบวนการและวิธีการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมทางการศึกษาของไทย และ 5) การติดตามประเมินผลหลังการใช้นวัตกรรม ข้อสรุป (Conclusion) 1. นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือมีความสัมพันธ์กับพรสวรรค์ทางปัญญาในทางบวก มีค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.68 แสดงถึงความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง และเมื่อพิจารณาในแต่ละนิ้ว พบว่า นิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่ เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์สัมพันธ์ทางบวกสูง , นิ้วชี้ด้านซ้ายที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านการ จินตนาการ สัมพันธ์ทางบวกสูงมาก , นิ้วกลางด้านซ้ายที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ร่างกาย สัมพันธ์ทางบวกสูง , นิ้วนาง ด้านซ้ายที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านดนตรีสัมพันธ์ทางบวกน้อย , นิ้วก้อยด้านซ้ายที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์สัมพันธ์ทางบวกสูง , นิ้วหัวแม่มือด้านขวาที่เชื่อมโยง กับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง สัมพันธ์ทางบวกน้อย , นิ้วชี้ด้านขวาที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์สัมพันธ์ทางบวกสูงมาก , นิ้วกลาง ด้านขวาที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้าน ร่างกายและการเคลื่อนไหวร่างกายสัมพันธ์ทางบวกสูง , นิ้วนางด้านขวาที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านภาษา สัมพันธ์ทางบวกสูง , นิ้วก้อยด้านขวาที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญาด้านธรรมชาติวิทยาสัมพันธ์ทางบวกสูง สอดคล้องกับ Offei;et al.(2014).ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบลายนิ้วมือกับผลการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 3 และ 4 โรงเรียนมัธยมประเทศกานา เปรียบเทียบกับผลการเรียนสะสมในระยะเวลา 5 เทอมติดต่อกัน เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบผิวหนังและผลการเรียนของนักเรียน การศึกษาด้านผลการเรียน พบว่า นักเรียนที่มีรอยฝ่ามือไม่สมมาตรมีคะแนนเฉลี่ยสูง กว่า (67.9%) มากกว่านักเรียนที่มีรอยฝ่ามือไม่สมมาตร (62.0%) นักเรียนที่มี Central Pocket Loop Whorl อยู่บนนิ้วนางและ นิ้วกลางมีผลการเรียนดีกว่าผู้ที่มีลายนิ้วมืออื่นๆ (p<0.0001) ผลการศึกษาในปัจจุบันจึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่าง ผิวหนังกับผลการเรียน การศึกษานี้เสนอแนะการใช้ศาสตร์ลายนิ้วมือเพื่อระบุนักเรียนที่มีศักยภาพอ่อนและออกแบบกลยุทธ์การสอน และการให้คำปรึกษาต่อไป สอดคล้องกับ Venurkar.(2022) ศึกษานี้ดำเนินการกับนักเรียน 200 คนที่มีอายุ 25-30 ปี ในโรงเรียน แพทย์ในชนบทซึ่งมีพื้นที่อินเดียที่ยินยอม ใช้เวลา 2 เดือน รวบรวมลายนิ้วมือโดยใช้หมึกและกระดาษ การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้โดย ใช้การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมประเภทลายนิ้วมือวนซ้าย/ขวาเป็นคนส่วนใหญ่และมีคุณสมบัติบุคลิกภาพปาน กลางมากกว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของวงซ้ายนั้นสูงที่สุดในประเภทบุคลิกภาพ 16 ประเภท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีลายนิ้วมือประเภทนี้ มักจะแสดงลักษณะบุคลิกภาพที่ชัดเจน ค่าเฉลี่ยรวมขององค์ประกอบบุคลิกภาพทั้ง 16 ประการสำหรับส่วนโค้ง/ส่วนโค้งนั้นสูงเป็น อันดับสอง โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างของ "วิธีการปฏิบัติที่กลมกลืนทางสังคม" "ความรู้สึกรับผิดชอบอย่างมาก" "ทัศนคติที่ กระตือรือร้น" และ "การคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อื่น ” ค่าเฉลี่ยรวมของลายนิ้วมือแบบโค้ง/วงจะสูงกว่าลายนิ้วมือแบบ Stype/right loop ในโครงสร้างทั้ง 4 ชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมที่มีลายนิ้วมือประเภทนี้มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดี และ บุคลิกภาพแบบ INFJ จะเกิดขึ้นมากที่สุดในกลุ่ม ซึ่งการตรวจสอบ ความเชื่อมโยงระหว่างประเภทบุคลิกภาพของ ลายนิ้วมือและ บุคลิกภาพ สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจศักยภาพของเด็กและการรับรู้โลกตั้งแต่อายุยังน้อย ศักยภาพ ของนักเรียนต่ออาชีพเฉพาะ และแนวทางการเลือกอาชีพของพวกเขา การเข้าใจบุคลิกภาพของเด็กสามารถช่วยให้ผู้ปกครอง ได้เปรียบในการทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการทางอารมณ์และสังคม การจ้างพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นต้น 2. คุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ จากการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ที่ได้จาก แบบตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.74 ให้คุณภาพในระดับดีมาก โดยที่คุณภาพ


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 242 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ระดับ ดีมาก ได้แก่ ประเด็น 1) การรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ โดย นักวิเคราะห์ลายนิ้วมือ 2) การรายงานผลการวิเคราะห์ ลายนิ้วมือ โดยจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ 3) ลักษณะการแจ้งผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ ที่เป็นการแจ้งผล รายบุคคล 4) การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้วางแผนศึกษาและอาชีพ 5) ผู้ใช้งานนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ คุณภาพระดับ ดี ได้แก่ ประเด็น 1) ชุดอุปกรณ์ของนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ 2) ขั้นตอนในการนำนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือไปใช้ใน สถานศึกษา อีกทั้งในเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นต่อชุดอุปกรณ์ของนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสแกนลายนิ้วมือ สามารถใช้งานได้ง่าย มีความสะดวก แม่นยำ และมีความ ปลอดภัยต่อผู้มาสแกน (เจ้าของลายนิ้วมือ) อีกทั้งราคาของอุปกรณ์มีให้เลือกใช้ได้ในหลายหลากระดับขึ้นอยู่กับความสามารถทาง เศรษฐกิจของสถานศึกษาที่สนใจนวัตกรรมนี้ในการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียนต่อไปได้ สอดคล้องกับ Andrew Patrick (2004) ที่ได้ ศึกษาการใช้งานและการยอมรับของระบบรักษาความปลอดภัยไบโอเมตริกซ์ พบว่า การเก็บข้อมูลชีวภาพได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีศักยภาพในการเพิ่มความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของฟังก์ชันการระบุตัวตนและการรับรองความถูกต้อง รวมถึงปัจจัย ที่ส่งผลให้มีปริมาณการใช้งานอุปกรณ์ไบโอเมตริกซ์เพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ มีขนาด เล็กลง ราคาถูกลง เชื่อถือได้มากขึ้น และได้รับการออกแบบให้มีลักษณะตามหลักสรีระศาสตร์ดีขึ้น และหลายระบบก็มีคุณสมบัติใน การฝึกอบรมผู้ใช้และให้ข้อเสนอแนะระหว่างการใช้งาน รวมถึงสอดคล้องกับ สมทรง ณ นครและคณะ (2011) ที่ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างแบบลายนิ้วมือและพหุปัญญา พบว่า ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประทศ ไทยมีแบบลายนิ้วมือความสัมพันธ์กับพหุปัญญาบางด้าน ซึ่งอาจนำมาช่วยค้นหานักเรียนที่มีความสามารถด้านร่างกายและการ เคลื่อนไหว ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี เพื่อพัฒนาความสามารถเป็นรายบุคคลในด้านนั้นๆ ได้ และเพื่อให้การตรวจสอบลายนิ้วมือ เป็นได้ด้วยความราบรื่นและถูกต้องแม่นยำ ไม่เสียเวลา หากผู้ใช้งาน(นักวิเคราะห์) ควรเป็นมีความรู้และประสบการณ์ตรงมาอย่าง ยาวนาน สอดคล้องกับ Bogicevic Sretenovic และคณะ (2020) ได้มีการนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไบโอเมตริกซ์มาสู่ห้องเรียนเพื่อ ปรับปรุงแรงจูงใจและความมุ่งมั่นของนักเรียน กล่าวว่าการออกแบบและการใช้งานระบบไบโอเมตริกซ์ที่ดีอาจเป็นงานที่ท้าทาย เนื่องจากผู้ออกแบบและผู้ใช้งานระบบจะต้องมีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานระบบเซ็นเซอร์ ระบบปฏิบัติการของเครื่อง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่อาจส่งผลให้นำไปสู่การแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมี จำนวนจำกัดอาจจะต้องจัดให้มีโปรแกรมอบรมให้ความรู้และเสริมทักษะให้ครูที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการนำไปใช้งานจริง รวมถึงการดำเนินงานตามขั้นตอนในการนำนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือไปใช้ใน สถานศึกษามีความสะดวกเนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดพอเหมาะทำให้เกิดความสะดวก คล่องตัวในการนำไปปฏิบัติจริง อีกทั้งในส่วน ขององค์ประกอบที่มีการแจ้งการป้องกันสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายทำให้ผู้มาสแกน (เจ้าของลายนิ้วมือ) เกิดความเชื่อมั่นและ รู้สึกถึงความปลอดภัยในข้อมูลของตนเอง สอดคล้องกับ Andrew Patrick (2004) ที่ได้ศึกษาการใช้งานและการยอมรับของระบบ รักษาความปลอดภัยไบโอเมตริกซ์ พบว่า ปัจจุบันอุปกรณ์ไบโอเมตริกซ์หลายอย่างได้มีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมการเข้าถึงและบริการการเข้ารหัส เพื่อให้เกิดการใช้งานจริงที่ราบรื่น ทั้งนี้ต้องคำนึกถึงช่วงเวลาและระยะเวลาในที่ ใช้ในการแสกนลายนิ้วมือด้วย เพราะหากมีจำนวนเครื่องมือและนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญมีจำกัด อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการ เก็บข้อมูล และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับใช้ เป็นมาตรการดูแลและปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว มีความเป็นธรรมและมีความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต่อเจ้าของข้อมูล และมีประเด็นที่สำคัญคือผู้เก็บข้อมูลต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง ทำให้นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือมีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยสำหรับเจ้าของลายนิ้วมือ ในขณะที่การรายงานผลการวิเคราะห์ ลายนิ้วมือที่ได้จากนักวิเคราะห์ลายนิ้วมือที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ จะทำให้การรายงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และรวมไปถึงการรายงานผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือในลักษณะรูปเล่มรายงานผลมีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ การจัดวาง


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 243 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ตำแหน่งข้อมูลน่าติดตาม มีการอธิบายข้อมูลทั้งลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมทั้งสามารถอธิบายลักษณะเฉพาะบุคคลได้ ละเอียด ชัดเจน ให้ทำความเข้าใจได้ง่าย ทั้งนี้ในแจ้งผลการวิเคราะห์ลายนิ้วมือกับเจ้าของลายนิ้วมือ เป็นการแจ้งผลรายบุคคล ด้วย ขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สะดวก เป็นประโยชน์และคาดว่าจะนำไปใช้ได้จริง แต่ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาประเด็นความปลอดภัยของ ข้อมูลในขั้นตอนการส่งข้อมูลในลักษณะไฟล์ดิจิตอลให้กับเจ้าของลายนิ้วมือเพื่อลดความผิดพลาดในการส่งไฟล์ผิดคน ซึ่งสอดคล้อง กับ Cappelli at el. (2006). ที่ได้ศึกษาคุณภาพของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและผลกระทบต่อความแม่นยำของระบบการจดจำและ รายงานผลลายนิ้วมือ กล่าวว่า คุณภาพของข้อมูลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ คุณภาพของอุปกรณ์รับข้อมูล สภาพของไบโอ เมตริกซ์ สภาพแวดล้อม ประสบการณ์ ความแม่นยำ และความผิดพลาดอื่นใดของผู้ใช้อุปกรณ์ ทั้งนี้ผลของการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ วิเคราะห์ตัวตนที่ค่อนข้างตรง/ตรงกับความเป็นจริง สามารถการนำ ผลการวิเคราะห์ไปใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวด้านอาชีพ วางแผนศึกษา วางแผนชีวิตของนักเรียนในอนาคตได้ สอดคล้องกับ Mazumdar, Oindri (2015) กล่าวว่า Dermatoglyphics หรือ ศาสตร์ลายนิ้วมือ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับรอยนิ้วมือ ในการพิจารณาความสามารถในการเรียนรู้และประเภทบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลโดยดูจากสันผิวหนังของพวกเขา ทั้งนี้ความฉลาด ทางสติปัญญามีผลอย่างมากต่อผู้คนตามที่นักจิตวิทยา Howard Gardener จำแนกประเภทของความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ ใน 8 รูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์แต่ละคนจะมีลักษณะของประเภทความสามารถทางปัญญาที่แตกต่างกันสามหรือ สี่ประเภทและจะมีประเภทหนึ่งที่โดดเด่นกว่าประเภทอื่น ศาสตร์ลายนิ้วมือมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ความฉลาดของมนุษย์โดยกำเนิด โดยเพียงแค่ดูลวดลายของสันผิวหนังบนนิ้วมือ ความสมมาตรของมันสมองทั้งสองข้าง ซึ่งจะสะท้อนถึงการทำงานของแขนขา ใน ทำนองเดียวกันสมองซีกซ้ายควบคุมกลไกการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส ส่วนสมองซีกขวาที่มีซีกซ้ายของร่างกายก็ควบคุมเช่นกัน และมีความสอดคล้องกับ Pitale และคณะ (2022) ได้ทำการทดสอบความฉลาดหลายอย่างของ ศาสตร์ลายเส้นนิ้ว หรือ Dermatoglyphics ซึ่งเป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลายนิ้วมือและรูปแบบผิวหนังแข็งที่พบในนิ้วมือ การทดสอบนี้เป็น การวิเคราะห์สมอง การปรับตัวตามสัญชาตญาณและตอบสนอง ด้วยวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถทำได้โดยการจำแนกรูปแบบและ สันเขาลายเส้นบนปลายลายนิ้วมือของบุคคลผ่าน การทดสอบสติปัญญาพหุปัญญาลายนิ้วมือ (DMIT) ทำได้โดยการสแกน ลายนิ้วมือและนับรอยนิ้วมือบนลายนิ้วมือของแต่ละคน จากนั้นคำนวณเปอร์เซ็นต์การทำงานของสมองและรูปแบบการเรียนรู้ เทคนิคนี้เป็นวิธีการดั้งเดิมในการทำการทดสอบ DMIT จากนั้นระบบจะนำเสนอและสร้างแบบรายงาน DMIT จำนวน 13 หน้า ในทางเทคนิคสำหรับรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมหรือที่โดดเด่นของแต่ละคนที่ตรวจพบในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งผลที่จากได้จาก รายงานที่สร้างโดยแอปพลิเคชันนี้จะช่วยในการตัดสินใจด้านอาชีพที่ดีขึ้นดังนั้นจึงนับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนำไปสู่ แนวคิดการเลือกอาชีพในระดับที่กว้างขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้นวัตกรรม ที่กล่าวถึงคุณค่าของการนำนวัตกรรมไปใช้ และเสนอ ประเด็นเพื่อพิจารณาองค์ประกอบของนวัตกรรม โดยให้คำนึกถึง 1) จุดมุ่งหมายของนวัตกรรม 2) ลักษณะของนวัตกรรม(จุดเด่นข้อจำกัด) 3) ความชัดเจนและคุณสมบัติของผู้ใช้นวัตกรรม 4) กระบวนการและวิธีการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับ บริบทวัฒนธรรมทางการศึกษาของไทย และ 5) การติดตามประเมินผลหลังการใช้นวัตกรรม ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. จัดทำคู่มือการใช้นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือเพื่อค้นหาพรสวรรค์ 2. จัดให้มีนักวิเคราะห์ผลการสแกนลายนิ้วมือ เพิ่มขึ้น โดยอาจจัดการอบรมการวิเคราะห์ผลลายนิ้วมือร่วมมือกับครูแนะแนวหรือครู ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 244 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ให้มีการใช้นวัตกรรมค้นหาพรสวรรค์ กับนักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ ประเภทเรียนรวม อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง แต่ยังมี นักเรียนที่ผลการเรียนลดลงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่คณะผู้วิจัยได้ตั้งไว้ อาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากตัวแปรที่ตั้งไว้ เช่น ปัญหาเรื่องการปรับตัวกับกลุ่มเพื่อนเมื่อกลับมาเข้าเรียนในรูปแบบออนไซต์ หรือข้อจำกัดเฉพาะบุคคลของนักเรียน ซึ่งควรที่จะ ทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม 2. ให้ผู้ใช้นวัตกรรมได้แสดงความคิดเห็นหลังการใช้นวัตกรรม โดยอาจให้ทำแบบสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถามความพึงพอใจ เอกสารอ้างอิง (References) พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา.(2544). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 69 ก. หน้า 52- 95 วชิรวิทย์ มาลาทอง.(2558). ผลของกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและ การเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปิที่ 5 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558. สมทรง ณ นคร (2562). วิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ลายนิ้วมือ.คลังนานาวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมทรง ณ นคร และคณะ. (2011). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบลายนิ้วมือและพหุปัญญา. KKU Res.J. 16(8): 951-964 สุนิสา วงศ์อารีย์.(2559).หลักการแนะแนว.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.(2560). พริกหวานกราฟฟิก : กรุงเทพฯ. Agathao, B.T., Reichenheim, M. E., & Moraes, C. L. (2018). Health-related quality of life of Adolescent students. Ciencia & saude coletiva.23(2), 659-668. Andrew Patrick. (2004). Usability and Acceptability of Biometric Security Systems. 3110. 105. 10.1007/978-3-540-27809-2_11. Bogicevic Sretenovic, Milenkovic, Jovanovic, Simic, Minovic, & Milovanovic. (2020). Bringing Biometric Sensors to the Classroom: A Fingerprint Acquisition Laboratory for Improving Student Motivation and Commitment. Applied Sciences, 10(3), 880. https://doi.org/10.3390/app10030880 Cappelli, Raffaele & Ferrara, Matteo & Maltoni, Davide. (2006). The Quality of Fingerprint Scanners and Its Impact on the Accuracy of Fingerprint Recognition Algorithms. 10-16. 10.1007/11848035_3. Kochhar, S.K. (1984). Educational and Vocational Guidance in Secondary. New Delhi: Sterling Publishers Private Limited. Mazumdar, Oindri. (2015). Dermatoglyphics: Blueprints of Human Cognition on Fingerprints. Vol 6 • Number 2 April - Sep 2015 pp. 124-146. Impact Factor: 2.5. Available at www.csjournals.com Pitale, M., Kale, R., Khamkar, M., Ravale, U. (2022). Prediction of Inborn Talents Using Fingerprint Analysis. In: Shakya, S., Balas, V.E., Kamolphiwong, S., Du, KL. (eds) Sentimental Analysis and Deep Learning. Advances in Intelligent Systems and Computing, vol 1408. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-16-5157-1_79 Venurkar S, Srivastava T, Shukla S, Acharya S, Saha S, Deshpande V.(2022). Decoding Human


การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 12” 245 12 th National Conference on Quality Management and Technology Innovation Personality Through Dermatoglyphics. Cureus. 2022 Oct 18;14(10):e30445. doi: 10.7759/cureus.30445. PMID: 36420244; PMCID: PMC9678115


UMT The Eastern University of Management and Technology TAM 12 UMT จัดจัทำ โดย: งานวิจัวิยจัและบริกริารวิชวิาการ มหาวิทวิยาลัยลัการจัดจัการและเทคโนโลยีอียีสอีเทิร์ทินร์


Click to View FlipBook Version