The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 65302040008, 2022-09-15 21:14:23

merged (pdf.io)

merged (pdf.io)

10.3 การแก้ไขค่า Cascading Style Sheet

อย่างที่ทราบ สไตล์จะเป็นกฎที่ใช้บังคับรูปแบบของวัตถุ เช่น สี ขนาด หนา
เอียง ตีเส้นและอื่น ๆ อีกมากมาย การแก้ไขค่า Cascading Style Sheet
สามารถทำได้ 4 วิธี คือ




วิธีที่ 1 แก้ไขค่าจากพาเua Files

สำหรับผู้ที่รู้จักโค้ด CSS ให้ดับเบิลคลิกที่ชื่อไฟล์ .CSS จากพาเนล Files
ปรากฏหน้าต่างแสดงโค้ด ให้สามารถแก้ไขโค้ดของ CSS ได้เอง ดังนี้

ภาพที่ 10.17 ขั้นตอนการแก้ไขค่า Cascading Style Sheet จากพาเนล Files

วิธีที่ 2 แก้ไขค่าใน CSS Properties

สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักโค้ด CSS สามารถ
แก้ไขค่าได้ ง่าย ๆ โดยคลิกเลือกคุณสมบัติที่
css Properties ในพาเนล CSS Styles

1. เลือกกฏในพาเนล CSS Styles

2. แสดงคุณสมบัติแบบจัดหมวด

-3. แก้ไขค่ากำหน-ดต่าง ๆ และดูผลการเปลี่ยนแปลงได้

ภาพที่ 10.18 ขั้นตอนการแก้ไขค่า Cascading Style Sheet ใน CSS Properties 144

วิธีที่ 3 แก้ไขค่าใน CSS Rule

จากพาเนล css Styles ให้ดับเบิลคลิกที่ชื่อกฎที่ต้องการ เมื่อปรากฎ
หน้าต่าง CSS Rule ให้กำหนดค่าใหม่ตามต้องการ

ภาพที่ 10.19 ขั้นตอนการแก้ไขค่า Cascading Style Sheet ใน CSS Rule

วิธีที่ 4 แก้ไขค่าใน Property Inspector

สามารถแก้ไขค่าในส่วน CSS ของ Property Inspector ได้ ค่าที่แก้ไขจะ
มีผลทำให้ค่าในพาเนล CSS Styles เปลี่ยนด้วย

ภาพที่ 10.20 ขั้นตอนการแก้ไขค่า Cascading Style Sheet ใน Property Inspector

145

10.4 การใช้สไตล์ต้นแบบ

ใน Dreamweaver จะมีสไตล์ต้นแบบเตรียมไว้ให้เลือกใช้ เพื่อช่วยลดเวลา
ในการสร้าง คือ ใช้สไตล์ต้นแบบมาปรับปรุงเป็นสไตล์ที่ต้องการ ดังนี้

ภาพที่ 10.21 ขั้นตอนการใช้สไตล์ต้นแบบ

สไตล์ต้นแบบที่ได้ สามารถแก้ไข ดัดแปลงเป็นสไตล์ของเว็บไซต์เพื่อใช้งาน
ในครั้งอื่น ได้ ซึ่งจะประหยัดเวลามากกว่าการสร้างสไตล์ทั้งหมดใหม่จากศูนย์
นอกจากนี้ยังสามารถนำ สไตล์นี้ไปใช้เป็นลิงก์ไฟล์กับหน้าเว็บแต่ละหน้าได้ตาม
ปกติ เหมือนตัวอย่างการใช้สไตล์ที่ กล่าวมาข้างต้น

146

10.5 Visual Aids ตัวช่วยในการออกแบบเว็บ

ในการออกแบบหน้าเว็บ มีตัวช่วยต่าง ๆ ที่ใช้ในการกะตำแหน่ง บอกระยะ
แสดงขอบเขต ทำให้จัดวางชิ้นงานต่าง ได้ง่าย และแม่นยำ แต่ถึงกระนั้นการมีตัว
ช่วยเยอะเกินไป ก็อาจ ทำงานได้ลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรเปิดปิดตัวช่วยให้
พอเหมาะ การเปิดปิดตัวช่วยผ่าน ทาง Visual Aids ทำได้ดังนี้

ภาพที่ 10.22 ขั้นตอนการเปิดหรือปิดตัวช่วยผ่านทาง Visual Aids

สรุป

การกำหนดรูปแบบการแสดงผลในหน้าเว็บไซต์ มักกำหนดในสไตล์
(Style) ใน แต่ละสไตล์ประกอบด้วยกฎ ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การแสดงผล
ในหน้าเว็บไซต์มี รูปแบบที่สอดคล้องกัน สามารถสร้างกฎข้อบังคับต่าง ๆ ใน
สไตล์ได้ ด้วยการเปิด พาเนล css Styles และปรับแต่งสไตล์ได้ทั้งการแก้ไข
ค่า การลบ การเปลี่ยนชื่อ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้สไตล์ต้นแบบที่มีอยู่
แล้ว เพื่อความสะดวกรวดเร็วได้

147

แบบทดสอบท้ายหน่วยที่ 10

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ปุ่มคำสั่งในข้อใด เป็นรูปแบบการกำหนดสไตล์ชีทใหม่ โดยใช้แบบจากสไตล์ชีทเดิม
ก. ข.
ค. ง.

2. ในหน้าสร้างสไตล์ใหม่ (New CSS Rule) ตัวเลือกใดใน Selector Type ที่เป็นการ

ระบุว่าจะเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลของคำสั่ง HTML

ก. Tag ข. Class

ค. HTML ง. Advanced

3. ข้อใดเป็นการสร้างสไตล์ซีทแบบกำหนดชื่อใหม่

ก. Tag ข. Class

ค. HTML ง. Advanced

4. ท่านสามารถเปิดหน้าต่าง Cascading Style Sheet ได้จากข้อใด
ก. Text->CSS Styles
ข. View->CSS Styles
ค. Windows->CSS Styles
ง. Commands->CSS Styless

5. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่สามารถกำหนดให้กับสไตล์ชีทได้
ก. สี และพื้นฉากหลัง
ข. ตัวอักษร และขนาด
ค. ข้อความ และการจัดวาง
ง. การทำซ้ำคำสั่งได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้

6. ทำไมผู้ใช้ต้องเลือกใช้งาน Cascading Style Sheet
ก. เป็นการกำหนดรูปแบบของเว็บเพจแต่ละหน้าได้
ข. กำหนดให้มีการแสดงผลเว็บเพจที่แตกต่างกันได้ในแต่ละหน้า
ค. สามารถตกแต่งหน้าเว็บเพจได้จากการเข้าไปแก้ไขทีละคำสั่งได้
ง. กำหนดการแสดงผลของเว็บเพจเพียงครั้งเดียว และนำไปใช้ในเว็บเพจอื่น ๆ ได้

148

7. ข้อใดเป็นการทำงานของปุ่ม
ก. ลบสไตล์ชีท
ข. เรียกไฟล์สไตล์ชีทที่สร้างไว้มาใช้งาน
ค. กำหนดสไตล์ชีทใหม่
ง. กำหนดสไตล์ชีทใหม่โดยใช้แบบจากสไตล์ชีทเดิม

8. ข้อใดไม่ใช่วิธีการเรียกสไตล์ขึ้นมาแก้ไข
ก. คลิกเมาส์ขวาที่คำสั่ง Edit CSS Style
ข. ดับเบิ้ลคลิกที่สไตล์ในพาเนล CSS Style
ค. ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อไฟล์นามสกุล .css ในพาเนล Files
ง. เลือกสไตล์ในพาเนล Css Style และแก้ไขในส่วนของ CSS Properties

9. คำสั่งใน Visual Aids คำสั่งใดให้ความหมายไม่ถูกต้อง
ก. Image Maps แสดงพื้นที่ที่เป็น Image Map
ข. CSS Layout Outlines แสดงกรอบรอบพื้นที่ที่ใช้สไตล์
ค. Table Widths แสดงตัวเลขบอกขนาดความกว้างของตาราง
ง. Invisible Elements แสดงส่วนประกอบที่ไม่ต้องการให้เห็นในตอน

แสดงเว็บจริง

10. ข้อใดคือรูปแบบการใช้งานสไตล์ชีทแบบ Linked
ก. กำหนดสไตล์ที่ตำแหน่งใด ๆ ในเอกสารได้
ข. การเขียนสไตล์ลงไปในเอกสาร HTML โดยตรง
ค. เป็นการเชื่อมโยงรูปแบบที่สร้างขึ้นไปยังเว็บไซต์อื่น
ง. สร้างสไตล์ชีทที่กำหนดรูปแบบการแสดงผลเป็นไฟล์แยกไฟล์เดียว และ

นำ Linkเข้ากับเว็บเพจแต่ละหน้าในเว็บไซต์

149

หน่วยที่ 11

การติดตั้งโปรแกรมจำลอง Web Server และการอัพโหลดเว็บไซต์

สาระสำคัญ

หลังจากที่สร้างเว็บเพจจนเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือ
การอัพโหลดไฟล์สู่ เว็บไซต์ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก และต้อง
ตรวจสอบอย่างดีต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดโครงร่างไฟล์และ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโฟลเดอร์ในเว็บไซต์เพื่อความเหมาะสม
รวมไปถึงการตรวจสอบแก้ไขลิงก์ การตรวจสอบการทำงานด้านอื่นๆ
และต้องทดสอบว่าสามารถแสดงผลบนเบราว์เซอร์แต่ละรุ่นได้อย่าง
ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้

1. การติดตั้งโปรแกรมจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์
2. การอัพโหลดเว็บไซต์

วัตถุประสงค์

1. ติดตั้งโปรแกรมจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้
2. สามารถอัพโหลดเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่
หน้าเว็บ โดย ต้องนำหน้าเว็บที่สร้างขึ้นไปเก็บบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อน จึงสามารถ
เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ได้ในระหว่างการสร้างเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ
กับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาแต่สามารถใช้โปรแกรมเพื่อจำลองเครื่อคอมพิวเตอร์
ที่ใช้งานอยู่ ให้ทำงานในลักษณะของ Web Server ได้ นั่นคือเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ใช้งานจะสามารถเปิดตัวเองให้เป็นอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเชื่อมต่อกัอินเทอร์
เน็ตภายนอก เมื่อสร้างและปรับแต่งส่วนงานต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงค่อย
อัพโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์จริง

11.1 การติดตั้งโปรแกรมจำลอง Web Server

โปรแกรมที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ โปรแกรม XAMPP โดย
ภายในชุด ประกอบด้วย Apache, PHP, MariaDB, Perl ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐาน
ที่รองรับการทำงานการทำเว็บไซต์ไม่ว่าจะในรูปแบบที่เป็นHTMLธรรมดาหรือ
แบบที่เป็นDatabaseรวมถึงการเลือกใช้CMS(ContentManagement
System) ที่เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและ บริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป

วิธีการติดตั้ง XAMPP เพื่อจำลอง Web Server

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.apachefriends.org/index.html แล้ว
เลือกดาวน์โหลด เวอร์ชันสำหรับระบบปฏิบัติการที่ต้องการ ในที่นี้เลือกเป็น
XAMPP for Windows

ภาพที่ 11.1 แสดงหน้าจอเว็บไซต์ www.apachefriends.org

151

2.เมื่อดาวน์โหลดไฟล์มาแล้ว
ให้ดับเบิ้ลคลิกเพื่อเริ่มต้นการ
ติดตั้งจะปรากฏหน้าต่างดังรูป
คลิกที่ Next

ภาพที่ 11.2 ภาพแสดงหน้าต่าง Setup

3. เลือก Components ที่
ต้องการ อธิบาย ให้เลือกใช้
เฉพาะ Apache และ MySQL
คลิกที่ Next

ภาพที่ 11.3 ภาพแสดงการเลือก Components

4. เลือกพาธในการติดตั้ง ใน
ที่นี้ เลือกตามที่โปรแกรม
กำหนดมาให้ คลิกที่ Next

ภาพที่ 11.4 ภาพแสดงการเลือกพาธ

152

5. โปรแกรมติดตั้งจะถามว่า
ต้องการติดตั้ง Bitnami for
XAMPP ซึ่งเป็นเครื่องมือในการ
ช่วยติดตั้ง Wordpress, Drupal
และ Joomla ลงบน XAMPP
หรือไม่ ในที่นี้เป็นการ ติดตั้งด้วย
ตัวเอง ดังนั้นให้คลิกที่ Next

ภาพที่ 11.5 ภาพแสดงการเลือก
เครื่องมือช่วยในการติดตั้ง

โปรแกรมเริ่มตันติดตั้ง

ภาพที่ 11.6 ภาพแสดงหน้าจอ
โปรแกรมขณะทำการติดตั้ง

6. เมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จ
ให้ คลิกเลือกว่าต้องการเปิดใช้
งาน XAMPP เลยหรือไม่ แล้ว
จึงคลิกที่ Finish

ภาพที่ 11.7 ภาพแสดงหน้าจอเมื่อการ
ติดตั้งโปรแกรมแล้วเสร็จ

153

7. หากกระบวนการติดตั้ง ถูก
ต้อง จะแสดงหน้าต่างดังรูป ซึ่ง เป็น
หน้า Control Panel ของ XAMPP
สำหรับเปิดปิด Componentต่างๆ

ภาพที่ 11.8 ภาพแสดงหน้าจอ
เมื่อกระบวนการติดตั้งถูกต้อง

ในบางกรณี อาจเกิดสัญญาณ
เตือนเรื่องความปลอดภัยขึ้นในขณะ
ทำการติดตั้งหรือใช้งานXAMPPโดย
ปรากฎหน้าต่างดังรูปกรณีนี้สามารถ
แก้ไขได้ด้วยการคลิกเลือก Private
Networks หรือ Public Networks
แล้วคลิกที่ปุ่ม "Allow เพื่อเปิดช่อง
ทางให้ XAMPP ทำงาน

ภาพที่ 11.9 แสดงหน้าจอสัญญาณเตือนเรื่องความปลอดภัย

8. ให้เปิดการทำงานของ Apache
และ MySQL โดยคลิกที่ปุ่ม start
หากมีการทำงานที่ถูกต้อง สถานะ
จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวดังรูป

ภาพที่ 11.10 ภาพแสดงหน้าจอ
การเปิดทำงานของโปรแกรม

ตอนนี้ทั้ง Apache และ MySQL สามารถทำงานได้แล้ว ต่อไปให้ตรวจสอบ
ว่า XAMPP ได้ทำให้คอมพิวเตอร์ เครื่องนีกลายเป็นเซิร์ฟเวอร์จำลองได้แล้วหรือ
ไม่ โดยคลิกเปิดเบราว์เซอร์ ขึ้นมา จากนันให้พิมพ์คำว่า http:/localhost แล้ว
กด <Enter> ถ้าเรียบร้อยจะขึ้น หน้าต่างดังรูป

154

ภาพที่ 11.11 แสดงหน้าเว็บแสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่
เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์จำลองแล้ว

11.2 การอัพโหลดเว็บไซต์

ข้อมูลในเว็บไซค์มีความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือ การ
อัพโหลดเว็บ ที่สร้างไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต โดย
หลังจากอัพโหลดไปสู่เครื่อข่ายแล้ว ยังสามารถปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมหน้า
เว็บได้ตลอดเวลา และต้องทำเพิ่มคือ การดูแลรักษาหน้าเว็บ การตรวจสอบการ
เชื่อมโยง และการ ในเว็บไซต์อยู่เสมอ เพื่อให้มีคนแวะมาชมมาก ๆ อย่างต่อ
เนื่อง

การอัพโหลดไฟล์หน้าเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
มีขั้นตอน ต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1. การจัดโครงร่างไฟล์ภายในเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 2. การตรวจสอบการทำงานของหน้าเว็บ
ขั้นตอนที่ 3. การขอพื้นที่เว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ขั้นตอนที่ 4. การจดโดเมนเนม เพื่อจัดตั้งชื่อเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 5. การอัพโหลดไฟล์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์

155

ขั้นตอนที 1 การจัดโครงร่างไฟล์ภายในเว็บไซต์

การจัดโครงร่างเว็บไซต์อย่างเป็นระบบ ช่วยให้สามารถค้นหา พัฒนา
หรือแก้ไขไฟล์ หน้าเว็บ หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในภายหลังได้อย่างรวดเร็ว รวม
ทั้งทำให้ไม่สับสนในเรื่อง การจัดการเชื่อมโยงหน้าเว็บด้วย

ข้อแนะนำในการจัดโครงร่างเว็บไซต์

ในขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์นั้น ควรเริ่มต้นโดยจัดโครงร่างของเว็บไซค์
ก่อนโดยให้มองเว็บแต่ละหน้าเป็นไฟล์เอกสารแต่ละไฟล์และนำไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
กันมาเก็บในโฟลเดอร์เดียวกัน เช่น ถ้าจัดทำเว็บไซต์ของบริษัทท่องเที่ยว ก็ควร
กำหนดให้หน้าเว็บที่แสดงแพ็ดเก็จทัวร์ในประเทศถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ชื่อ
"hailand" โดยในโฟลเดอร์ที่สร้างขึ้นอาจประกอบด้วยไฟลี ต่าง ๆ ที่ประกอบ
กันเป็นหน้าเว็บ เช่น ไฟล์ .hm, ไฟล์ภาพและมัลติมีเดีย ดังตัวอย่างใน หนังสือ
เล่มนี้ที่กำหนดให้เป็นเว็บไซต์ของบริษัท Success Travel

ตัวอย่างการจัดการโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์ต่างๆ ที่ประกอบกันเป็น
เว็บไซต์

ภาพที่ 11.12 ตัวอย่างการจัดการโฟล์เดอร์สำหรับเก็บไฟล์

ขณะที่เริ่มสร้างเว็บไซด์ ไฟล์ต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ใช้สร้างก่อน(นอกจากในกรณีที่มีการทำงานเป็นทีม ก็อาจมีการกำหนดเครื่อง
เชิฟเวอร์สำหรับเก็บไฟ เหล่านี้ไว้เป็นศูนย์กลาง เมื่อสร้างเว็บไซดีเสร็จแล้ว

ก็สามารถอัฟโหลดไฟล์ทั้งหมดไปไว้ที่เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้ผู้อื่นใน
อินเทอร์เน็ตสามารถเปิดดูได้

156

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโฟลเดอร์ในเว็บไซต์

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโฟลเดอร์ในเว็บไซต์ให้คลิกเลือกไฟล์/โฟลเดอร์
ที่ต้องการ ย้ายตำแหน่ง และลากเมาส์ไปที่ตำแหน่งใหม่ที่ต้องการได้เลย โดย
Dreamweaver จะถาม ว่าต้องการแก้ไขลิงก์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
ให้คลิกเมาส์ปุ่ม Update เพื่ออัพเดตลิงก์ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ
ถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะทำให้ลิงก์ที่ชี้ไปยังหน้าเว็บหาหน้าเว็บ ไม่เจอ เพราะได้
เปลี่ยนตำแหน่งไปแล้ว และเกิดเป็น Lost Link คือ ลิงก์หาย (การแก้ไข
ปัญหา Lost Link เมื่อเกิดแล้ว ทำได้วิธีเดียวคือ ต้องเสียเวลาแก้ไขทีละลิงก์
ด้วยตนเอง)

ภาพที่ 11.13 ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโฟลเดอร์ในเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบการทำงานของหน้าเว็บ

สามารถใช้โปรแกรม Dreamweaver ทำการตรวจสอบลิงก์ของไฟล์ .html
ที่เชื่อมโยง ในเว็บไซต์ และทดสอบการแสดงผลบนเบราว์เซอร์แต่ละรุ่น ดังนี้

157

ตรวจสอบลิงก์ในเว็บไซต์

ในระหว่างขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ อาจมีการกำหนดลิงก์ไให้เชื่อมโยงกับ
ไฟล์ที่วางแผนไว้ว่าจะสร้าง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้สร้างไฟล์นั้น หรืออาจมีการนำเข้า
ไฟล์หน้าเว็บที่เคยสร้างจากแหล่งอื่นเข้ามารวมไว้ในเว็บไซต์ทำให้อาจมีลิงก์เดิม
ๆ อยู่ในหน้าเว็บดังกล่าว ส่งผลให้ไม่ สามารถใช้งานได้

ปัญหาเหล่านี้ทำให้เว็บไซต์มี Broken Link (ลิงก์เสีย) เกิดขึ้น ซึ่งสำหรับ
เว็บไซต์ขนาดใหญ่การตรวจสอบทุกลิงก์ว่าใช้งานได้หรือไม่คงทำได้ยากด้วย

เหตุนี้ใน Dreamweaver จึงมีเครื่องมือสำหรับตรวจหาBroken Linkในเว็บไซต์
ให้อัตโนมัติ โดยเรียกใช้ได้จากพาเนล Files fy'ouh

1. ถ้าต้องการตรวจสอบลิงก์เฉพาะบางไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ให้คลิกเลือก

ไฟล์/โฟลเดอร์ ที่ต้องการในพาเนล Files และเลือกคำสั่ง File->Check Links
(หรือเลือกคำสั่ง FileFiles ดังนี้
Check Page->Links ในหน้าต่างหลักของ Dreamweaver) เพื่อตรวจสอบ
ลิงก์

2. Dreamweaver จะตรวจสอบทุกลิงก์ในไฟล์และโฟลเดอร์ต่าง ๆ และ

สรุปให้ทราบ ด้วยการแสดงรายชื่อไฟล์และลิงก์แบบต่าง ๆ การแสดงแบ่งได้
เป็น 3 กลุ่ม ด้วยวิธี เลือกในช่อง Show ดังนี้

ภาพที่ 11.14 ขั้นตอนการตรวจสองกรทำงานของหน้าเว็บ

158

Broken Links แสดงลิงก์ภายในเว็บไซต์ที่เสีย (หาไฟล์ที่เชื่อมโยงไม่เจอ)

ภาพที่ 11.15 ภาพแสดง Broken Links

Edermal Links แสดงลิงก์ภายนอกเว็บไซต์ (แสดงแค่ลิงก์ให้เห็นเท่านั้น
ไม่ได้ บอกว่าเสียหรือไม่เสีย ต้องทดสอบเองโดยเข้าไปท่องอินเทอร์เน็ต)

ภาพที่ 11.16 ภาพแสดง External Links

Orphaned Files แสดงไฟล์กำพร้า ไฟล์ที่ไม่ถูกเชื่อมโยง หมายความว่า
ผู้เยี่ยม ชมเว็บไซต์จะไม่สามารถเปิดดูไฟล์นี้ผ่านลิงก์ใด ๆ ได้เลย (ลบทิ้งก็
จะไม่กระทบ กับลิงก์ใดในเว็บไซต์เลย)

ภาพที่ 11.17 ภาพแสดง Orphaned .Files

การแก้ไข Broken Link

สามารถแก้ไข Broken Link ได้โดยตรง จากพาเนล Link Checker
ที่แสดงผลการตราว สอบลิงก์ ซึ่งสะดวกกว่า โดยให้เลือกที่ลิงก์นั้น และ
คลิกที่โฟลเดอร์ 6 และเลือกไฟลที่ ต้องการให้เชื่อมโยงใหม่ หรือจะพิมพ์
ตำแหน่งที่เชื่อมโยงเข้าไปก็ได้

159

ภาพที่ 11.18 ภาพแสดง Orphaned Files

ขั้นตอนที่ 3 การขอพื้นที่เว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์

การเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้ว ให้อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต จำเป็น
ต้องขอพื้นที่บน เว็บเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักใน
หมู่นักท่องเว็บทั่วโลก ติดต่อขอพื้นที่สำหรับเก็บเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มี 3
วิธี ดังนี้

- ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง
- ขอเช่าพื้นที่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้อื่น
- ขอพื้นที่ฟรีในเว็บเซิร์ฟเวอร์

ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง

วิธีนี้เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด เพราะต้องซื้อเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง
นอกจากนั้นยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์กัอินเทอร์
เน็ตแบบตลอด 24 ชั่วโมง และต้องเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงจึงจะรองรับการ
รับส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้การติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง มี 2 รูป
แบบ ดังนี้

160

ใช้บริการ Leased Line

สาย Leased Line เป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน (วงจรเช่า) เชื่อมต่อ
ตลอดเวลากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยจะเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตราย
เดือน อัตราค่าบริการจะขึ้นกับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ใช้ นอกจากนั้น
จะต้องเสียค่าเช่าสาย Leased Line รายเดือน ให้กับหน่วยงานภาครัฐที่รับ
ผิดชอบด้วย

เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะเชื่อมต่อกับ Leased Line ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เรา
ท์เตอร์ (Router) ดังรูป

ภาพที่ 11.19 ภาพแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้ Leased line

ข้อดีของวิธีนี้ คือ นอกจากจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสถานที่เดียวกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานแล้วยังทำให้จัดการได้ง่ายแล้ว และใช้ประโยชน์
จากสาย Leased Line เพื่อเชื่อม ต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย
เหมาะสำหรับบริษัทหรือหน่วยงานที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากและมีการให้
บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์แต่ก็ต้องแบกรับปัญหาทางด้านเทคนิคในการจัดการ
และดูแลอุปกรณ์ต่างๆซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญ เพราะหาก
เกิดปัญหาก็อาจทำให้เว็บไซต์ที่อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เกิด "ล่ม" ได้

ใช้บริการ Co-location

เป็นการนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปฝากไว้ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดย
จะเชื่อมต่อ เข้ากับวงจรสื่อสารของผู้ให้บริการรายนั้นโดยตรง วิธีนี้มีค่าใช้จ่าย
น้อยกว่าวิธีแรกมาก เพราะ ไม่มีค่าใช้จ่าย Leased Line แต่มีข้อเสียคือ ต้อง
ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ผ่านโมเด็ม หรือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งอาจ
ทำให้การแก้ไขหน้าเว็บที่อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทำได้ยาก กว่า และใช้เวลานาน
กว่าวิธีแรก

161

ภาพที่ 11.20 ภาพแสดงการใช้บริการ Co-location

บริการ Co-location มีข้อดีตรงที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้เชื่อมต่อโดยตรงกับ
วงจรสื่อสาร ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความ
รวดเร็วสูงกว่าวิธีแรก(วิธีแรกจะรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่ากับความเร็ว
ของสาย Leased Line ที่เชื่อมต่อกับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ซึ่งอาจไม่
เพียงพอหากเว็บไซต์มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก)

ขอเช่าพื้นที่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้อื่น (Web Hosting)

เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อย เพราะเป็นการขอเช่าพื้นที่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ
ผู้อื่นซึ่งปัจจุบันมีบริษัททั้งในและต่างประเทศที่เปิดให้บริการ สำหรับระดับราคา
จะแตกต่างกันไปตามราย ละเอียดของบริการที่ให้ ซึ่งสามารถเปิดดูได้ที่เว็บไซต์
ของบริษัทที่ให้บริการนั้น ๆ ลักษณะคล้ายกับตัวอย่างในรูป มีรายละเอียดสำคัญ
ที่ต้องพิจารณาดังนี้

ภาพที่ 11.21 ภาพแสดงตัวอย่างต่าใช้จ่ายการขอเช่าพื้นที่เว็บแบบต่างๆ

162

ขอพื้นที่ฟรีในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Free Web Hosting)

การขอพื้นที่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ มีให้เลือกทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่ายแต่
การให้บริการ และเครื่องมืออำนวยความสะดวกก็แตกต่างกันไป บางแห่งจะ
ต้องติดป้ายโฆษณาของเขาบางแห่งมีเนื้อที่ให้ไม่จำกัดบางแห่งจำกัดปริมาณ
รับส่งข้อมูล บางแห่งมีเว็บบอร์ด อีเมล สมุดเยี่ยม ตัวนับจำนวนผู้เข้าชมให้
ทันทีเมื่อลงทะเบียนขอพื้นที่

ขั้นตอนที่ 4 การจดโดเมนเนม เพื่อจัดตั้งชื่อเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่ให้บริการจดโดเมนเนม ทั้งไทยและต่างระเทศ มีอยู่มากมาย
หลายเว็บไซต์ ทั้งที่เป็นเว็บที่ให้บริการจดโดเมนเนมเป็นหลัก หรือจะเป็นเว็บที่
ให้บริการจดโดเมนเนมพร้อมพื้นที่สร้างเว็บ เป็นต้น การจดโดเมนเนม มี 2 ขั้น
ตอนหลัก คือ

1. ตรวจสอบชื่อโดเมน ต้องตรวจสอบชื่อโดเมนก่อนว่า ชื่อโดเมนที่
ต้องการนั้นมีคน จดไปแล้วหรือไม่ถ้าซ้ำกับคนอื่นก็ให้คิดชื่อใหม่ การตรวจสอบ
ชื่อโดเมนทำได้ 2 วิธี ได้แก่

1) ตรวจสอบชื่อโดเมน .th ที่ www.thnic.net เป็นเว็บไซต์ที่ดูแล
การจดโดเมน .th ในประเทศไทย

2)ตรวจสอบชื่อโดเมน.com,.orgหรือ.edu ที่
www.Networksolutions.com

2. จดโดเมนเนม ค่าใช้จ่ายในการจดโดเมนเนมขึ้นอยู่กับประเภทของ
โดเมน ผู้ให้บริการ ระยะเวลา และบริการต่าง ๆ ที่มีให้ เช่น การจด .co.th,
.net.th .or.th, .ac.th จะเสียค่าบริการประมาณ 2,000 บาทขึ้นไปต่อ 2 ปี
หรือจด .com .net .org, .edu จะเสียค่าบริการประมาณ 600 บาทต่อ 1 ปี
รายละเอียดการขอจดโดเมนเนมของแต่ละเว็บไซต์อาจจะแตกต่างกันให้
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์นั้น ได้ ซึ่งเว็บไซต์ที่ให้บริการจดโดเมน
เนมเช่นwww.siamhost.net,www.siamdomain.com,
www.thaieasyhoast.com, www.Networksolution.com

ขั้นตอนที่ 5 การอัพโหลดไฟล์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์

ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงการอัพโหลดไฟล์ไปยังพื้นที่ฟรีที่ติดต่อขอไว้ที่
Tripodวิธีกรเริ่มจากการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ
Tripod และทำการเชื่อมต่อกับ เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเริ่มอัพโหลดไฟล์หน้า
เว็บที่ต้องการ

163

กำหนดข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเว็บเชิร์ฟเวอร์

ให้เลือกคำสั่ง Site->Manage Site.. แล้วคลิกปุ่มไอคอนรูปดินสอ (Edit)
เพื่อเข้าไป จัดการเว็บไซต์ที่สร้างขึ้น ที่หน้าต่างSite Setup ให้เลือกไปที่รายการ
Servers และคลิกที Addnew Server (ไอคอนเครื่องหมายบวก) ซึ่งเป็นส่วน
ของการกำหนดข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์

1. คลิกเมาส์ไปที่แท็บ Basic
2. กำหนดรูปแบบการโอนย้ายข้อมูลในช่อง Connect Using ซึ่งในที่นี้
เลือก FTP เพื่อ ทำการอัพโหลดหน้าเว็บไปยังเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์
3. ระบุ FTP Address คือ ชื่อเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่จะทำการอัพโหลด
ไฟล์ พร้อม ทั้งระบุ Host Directory (ถ้ามี) คือ การกำหนดโฟลเดอร์ของเครื่อง
เว็บเซิร์ฟเวอร์ ที่จะเก็บไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลด
4. กำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่านสำหรับใช้เชื่อมต่อกับเครื่อง
เว็บ เซิร์ฟเวอร์
5. คลิกเมาส์ปุ่ม Save

ภาพที่ 11.22 แสดงขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์

การเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์

หลังจากกำหนดข้อมูลของเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เสร็จแล้ว ให้คลิกเมาส์
ปุ่ม (Connect) ในพาเนล Files เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ หลัง
จากเชื่อมต่อแล้วปุ่มจะเปลี่ยนเป็น สัญลักษณ์ และแสดงรายชื่อไฟล์/
โฟลเดอร์ที่อยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ดังต่อไปนี้

164

ภาพที่ 11.23 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์

หลังเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เรียบร้อยแล้ว พาเนล Files จะถูกแบ่งออก
เป็น 2 ส่วน ด้วยกัน คือ

* Remote Site : แสดงไฟล์/โฟลเดอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ภายใน
เว็บไซต์ที่ ถูกเก็บอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างออก
สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ต

* Local Files : แสดงไฟล์/โฟลเดอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ภายใน
เว็บไซต์ ที่ ถูกเก็บอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่กำลังปรับปรุงให้เสร็จ
ก่อนอัพโหลด ไปยังเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในฝั่ ง Remote Site ต่อไป

165

ภาพที่ 11.24 ภาพแสดงรายละเอียดในพาเนล Files

การอัพโหลดไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์สู่เว็บเซิร์ฟเวอร์

หลังการเชื่อมต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว ให้คลิกเมาส์เลือกไฟล์ หรือ
โฟลเดอร์ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะอัพโหลดในส่วน Local Files และคลิก
เมาส์ที่ปุ่ม ) (Put Files) โดย เมื่ออัพโหลดเสร็จให้สังเกตไฟล์เหล่านั้นที่
ปรากฏในส่วน Remote Site

วิธีการอัพโหลดไฟล์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เลือกไฟล์ และโฟลเดอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในส่วน Local Files
2. คลิกเมาส์ปุ่ม (Put Files)
3. โปรแกรมจะถามว่าต้องการอัพโหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ซึ่ง
ไฟล์เหล่านี้ ได้แก่ ไฟล์ภาพ สไตล์ชีท ไฟล์เสียง/ภาพเคลื่อนไหว คลิกเมาส์ที่
ปุ่ม Yes เพื่ออัพโหลด ไฟล์เหล่านี้ไปด้วย
4. แสดงกระบวนการอัพโหลดไฟล์ทั้งหมดที่เลือกขึ้นเว็บเซิร์ฟเวอร์ รอ
จนกว่าจะเสร็จ (เวลาในการอัพโหลดขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์/โฟลเดอร์ที่
เลือก และความเร็วในการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่)
5. หลังอัพโหลดไฟล์/โฟลเดอร์เรียบร้อยแล้ว ที่ส่วน Remote Site จะ
แสดงไฟล์และ โฟลเดอร์ที่ถูกอัพโหลดขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว

166

ภาพที่ 11.25 ขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์สู่เว็บเซิร์ฟเวอร์

การเลิกเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์

เมื่อเสร็จสิ้นการอัพโหลด และปรับปรุงข้อมูลในเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว
ให้คลิกเมาส์ ปุ่ม (Connect) ให้เป็นปุ่ม เพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อ เป็นอัน
เสร็จสิ้นขั้นตอน

167

ภาพที่ 11.26 ภาพแสดงการเลือกเชื่อมต่อการเซิร์ฟเวอร์

สรุป

โปรแกรมจำลอง Web Server ใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้
ทำงานในลักษณะ เดียวกับ Web Server ช่วยให้ทดลองเปิดใช้งานเว็บไซต์ที่
สร้างขึ้นก่อนการอัพโหลด เพื่อเผยแพร่จริง (โปรแกรมจำลอง Web Server
ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ โปรแกรม XAMPP)

การอัพโหลดเว็บไซต์ มีขั้นตอนสำคัญดังนี้ คือ การจัดโครงร่างไฟล์
ภายในเว็บไซต์ (มองหน้าเว็บแต่ละหน้าเป็นแต่ละไฟล์เอกสาร และนำไฟล์ที่
เกี่ยวข้องกันมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน)การตรวจสอบการทำงานของหน้า
เว็บ (หลักๆ คือการตรวจสอบความถูกต้องของลิงก์) การขอพื้นที่เว็บไซต์ (มี
ทั้งแบบ การติดตั้ง Web Server เองการขอเช่าพื้นที่จากผู้อื่น และการขอ
พื้นที่ฟรี) การจดโดเมนเนม (ตรวจสอบชื่อโดเมน ว่ามีการใช้ซ้ำหรือไม่) และ
การอัพโหลดไฟล์ไปยัง Web Server

168

แบบทดสอบท้ายหน่วยที่ 11

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิด Broken Link ในเว็บไซต์
ก. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์กำหนดลิงก์ให้เชื่อมโยง
ข. เกิดจากการที่ไม่ได้อัพเดตลิงก์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเว็บไซต์
ค. เกิดจากมีการกำหนดลิงก์ให้เชื่อมโยงกับไฟล์ที่คิดว่าจะสร้าง แต่สุดท้ายไม่ได้สร้าง
ง. เกิดจากการนำเข้าไฟล์เว็บเพจที่เคยสร้างที่อื่นเข้ามารวมในเว็บไซต์ ซึ่งมีลิงก์เดิม

อยู่ที่ใช้งานไม่ได้

2. คำสั่งใดในโปรแกรม Dreamweaver ที่ใช้ในการตรวจสอบลิงก์
ก. File->Check Pages
ข. File->Check All Links
ค. File->Check Page->Check Links
ง. File->Check All Web Site->Check Links

3. ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างกันของเบราว์เซอร์ในการแสดงผลคืออะไร
ก. หน้าเว็บจะเรียกเบราว์เซอร์ทั้งสองให้แสดงขึ้นมาพร้อมกัน
ข. หน้าเว็บจะเปิดขึ้นช้ามากหากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเบราว์เซอร์นั้น
ค. หน้าเว็บนั้นเกิดข้อผิดพลาด และทำให้เครื่องต้องรีบู๊ตใหม่หากไม่ได้ถูกออกแบบ

มาเพื่อเบราว์เซอร์นั้น
ง. หน้าเว็บที่ออกแบบเพื่อเปิดบนเบราว์เซอร์หนึ่งจะไม่สามารถเปิดบนอีกเบราว์เซอร์

หนึ่งได้อย่างสมบูรณ์

4. วิธีขอพื้นที่เว็บไซต์ในข้อใดใช้งบประมาณมากที่สุด
ก. ขอพื้นที่ฟรีในเว็บเซิร์ฟเวอร์
ข. ติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ค. ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง
ง. ขอเช่าพื้นที่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้อื่น

169

5. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรูปแบบใดที่ไม่เหมาะสำหรับการทำงานเป็นบริษัท
หรือองค์กร

ก. เชื่อมต่อแบบ ADSL
ข. เชื่อมต่อโดยใช้ Modem
ค. เชื่อมต่อโดยใช้ Leased line
ง. เชื่อมต่อโดยมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง

6. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาในการขอเช่าพื้นที่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์
ก. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ข. ขนาดพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล
ค. สถานที่ที่ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์
ง. การจำกัดปริมาณข้อมูลที่รับส่ง

7. หลังจากที่ได้ขอพื้นที่เว็บไซต์แล้ว จงเรียงลำดับขั้นตอนต่อไปในการ
อัพโหลดเว็บเพจ

a. เชื่อมต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์
b. อัพโหลดไฟล์ไปยังเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์
c. กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์
ก. a b c
ข. b c a
ค. c a b
ง. a c b

8. คำสั่งใดในโปรแกรม Dreamweaver ที่ใช้ในการทดสอบการแสดงผลบน
เบราว์เซอร์

ก. File->Check Browser
ข. File->Check Page->Check Browser
ค. File->Check->Browser Compatibility
ง. File->Check Pages->Browser Compatibility

170

9. การใช้คำสั่ง Check Out เพื่อดาวน์โหลดไฟล์จากเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์
มีประโยชน์อย่างไร

ก. เพื่อใช้ควบคุมการเข้าถึงไฟล์จากผู้บุกรุก
ข. เพื่อใช้ควบคุมการเข้าถึงไฟล์ในการโอนถ่ายข้อมูล
ค. เพื่อใช้ควบคุมการแก้ไขไฟล์โดยแต่ละคนในทีมงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน
ง. เพื่อใช้ควบคุมการแก้ไขไฟล์ก่อนอัพโหลดข้อมูลลงเครื่องเว็บ
เซิร์ฟเวอร์

10.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการอัพโหลดข้อมูล
ก. เป็นการนำข้อมูลเข้ามาสู่เครื่อง Client
ข. จะทำก็ต่อเมื่อต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว
ค. สามารถอัพโหลดไปฝากไว้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใดก็ได้โดยไม่ต้องขอ

อนุญาต
ง. หากผู้ใดต้องการใช้ไฟล์ที่อัพโหลดแล้ว ต้องติดต่อมายังเครื่อง

คอมพิวเตอร์ของเจ้าของเว็บก่อนทุกครั้ง

ใบงาน

คำสั่ง จงปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้

1. จงอธิบายหัวข้อต่อไปนี้โดยสังเขป
1.1 จงสรุปวิธีการขอพื้นที่ฟรีในเว็บเซิร์ฟเวอร์
1.2 จากข้อ 1.1 จงเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างการขอพื้นที่เว็บไซต์ 3

แบบ จากเนื้อหาข้างต้น
1.3 หากผู้เรียนมีที่ทำงานโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกันเป็นระบบ LAN

และ ต้องการจะอัพโหลดไฟล์ขนาด 50 MB ผู้เรียนจะเลือกวิธีการขอพื้นที่
เว็บไซต์แบบใด จาก 3 แบบในบทเรียน และเพราะอะไร
2. จงนำเว็บไซต์ที่เคยสร้างไว้มาทำการอัพโหลดบนเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยเลือกขอ
พื้นที่เว็บไซต์ฟรีจากเว็บที่ให้บริการพื้นที่ฟรี ให้กำหนดเนื้อหาของเว็บไซต์ตาม
ความ ต้องการของผู้เรียน โดยใช้ความรู้จากบทที่ผ่านมาในการเขียนเว็บไซต์

171

บรรณานุกรม

จรุงยศ อรัณยะนาค. การออกแบบเว็บไซต์. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560.

ดวงพร เกี่ยงคำ คู่มือการออกแบบเว็บไซต์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร :
ไอดีซี พรีเมียร์, 2560,

ทัศนีย์วรรณ ศรีประดิษฐ์, การออกแบบและพัฒนาเว็บ, กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555

ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. คู่มือใช้งาน Dreamweaver CS6. กรุงเทพมหานคร :
สวัสดี ไอที, 2556.

ประภาส พาวินันท์, ทรัพยากรสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553

วรเกษมสันต์ สิริศุภรัชต์ Professional Web Design CS6 เรียนรู้กระบวนการ สร้าง
และออกแบบ Website ทั้งระบบอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร :

เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง, 2556.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สำนักวิทยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ “ระบบ
บริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ CMS" [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :

http://arit.rmutsv.ac.th/blogs/87-19 สืบค้น 5 สิงหาคม 2556

Adobe Creative Team. Adobe Dreamweaver CS6 Classroom in a Book.
San Francisco : AdobePress, 2012.

Lowery, Joseph. Adobe Dreamweaver CS6 Bible. New York:
John Wiley & Sons, 2012.

Osborn, Jeremy., and AGI Creative Team. Adobe Dreamweaver CS6
Digital Classroom. New York: John Wiley & Sons, 2012.



จัดทำโดย
นางสาว มุทิกา เลื่อนจันทร์

นายอัครพล ช่ำชอง
นายวงศกร นุ้ยขาว

นักศึกษาชั้น ปวส.1/1
แผนกวิชา เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

วิทยาลัยเทคนิคตรัง


Click to View FlipBook Version