The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kapook7897, 2022-07-15 12:12:32

หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม

OPEN

Swipe up!

ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง

ผู้เเต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว

ประวัติผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖แห่ง
พระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่
ทรงครองราชย์(พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบ
พระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชา
สามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่าง
ประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์
ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรง
ใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริใน
เรื่องต่างๆ

ที่มาของเรื่อง

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า
“รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
“ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์
เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะ
เวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ
“ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและ
สภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม”
(นักเรียนนอก) ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ
“ประเสริฐ สุวัฒน์” โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ใน
คำนำนวนิยายเรื่องนี้

ลักษณะคำประพันธ์

หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของ
จดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง
18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.
256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256- จะ
เห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
2) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือน
กันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3)คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จา
กเพื่อน.....” “แต่
เพื่อน.....” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น
“แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9
ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์
ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด
แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
5) ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้น
ที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยัง
เพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

จุดประสงค์ในการแต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ไปศึกษาต่อยังที่
สหราชอาณาจักรและทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษเป็นระยะ
เวลานานกว่า 9 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเข้าใจความ
แตกต่างของวัฒนธรรมไทยและตะวันตกเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยก็มีการเปิด
ประเทศมากขึ้น ทำให้มีนักเรียนไทยไปศึกษา ณ ต่าง
ประเทศเป็นจำ
นวนมาก และเมื่อ ‘นักเรียนนอก’
เหล่านี้กลับมายังประเทศไทยจึงรู้สึกไม่สะดวกไม่
สบายกับความ ‘อันศิวิไลซ์’ หรือความไม่เจริญของ
ประเทศไทย สภาพแวดล้อมทางสังคมเหล่านี้ทำให้
นวนิยายเรื่อง ‘หัวใจชายหนุ่ม’ ถือกำเนิดขึ้น โดย
วัตถุประสงค์ในการแต่งมีดังนี้
๑. เพื่อสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นภาพสังคมไทยในขณะนั้น
๒. เพื่อสะท้อนมุมมองความรู้สึกนึกคิดของคนรุ่นใหม่
(นักเรียนนอก) ที่มีต่อวัฒนธรรมและสังคมไทยในด้าน
ต่าง ๆ

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยัง
สอดแทรก “ความเห็นส่วนพระองค์” ในกรณีต่าง ๆ ลง
ไปในนวนิยายเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับ
การรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ในสังคมไทย ยก
ตัวอย่างเช่นเรื่องธรรมเนียม ‘ผัวเดียวเมียเดียว’ ซึ่งปกติ
ชายไทยสมัยก่อน ๆ จะนิยมมีภรรยาหลายคน แต่เมื่อมี
การรับแนวคิดแบบคู่สมรสคนเดียว (Monogamy) มา
ปรับใช้ในไทยมากขึ้นและไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
พระองค์ก็แสดงความเห็นผ่านตัวละคร ‘ประพันธ์’ ไว้ว่า

“แม้ผู้ที่ได้ไปเรียนยุโรปกลับมาก็มามีเมียมาก ๆ เหมือน
กัน, เพราะฉะนั้นจะหวังความเปลี่ยนแปลงจากคนพวกที่
เรียกว่า “หัวนอก” อย่างไรได้… ฉะนั้นจะมีที่หวังอยู่ก็
แต่ที่ตัวผู้หญิงเองเท่านั้น; ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดี ๆ
พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงดูผู้หญิงไว้
อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูง ๆ เท่านั้นแหละ, ผู้ชายพวกมักมาก
ในกามจึงจะต้องกลับความคิด และเปลี่ยนความ
ประพฤติ”

จดหมาย๑๑ฉบับ

๑.ฉบับท่ี ๑
นายประพันธ์ ประยรูสิริ ได้ส่งจดหมายถึง
นายประเสริฐ สุวฒัน์ ซ่ึงเป็นเพื่อนรักกัน
เป็นฉบับแรก เน้ือความในจดหมายกล่าวถึง
การเดินทางกลับมายัง ประเทศไทยจากลอนดอนของ
นายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่
ไปกลับ ประเทศไทยและการดูถูกบ้าน เกิดเมืองนอน
ของตนเอง และ ไดเ้ล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนระหว่าง
การเดินทางกลับ ภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับ
ผู้หญิงคนหน่ึงที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวัง เนื่องจาก
หล่อนมีหวานใจมารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว

คำทับศัพท์:เร็สตอรังค์ ศิวิไลซ์ อันศิวิไลซ์
คำแสลง : โก

๒.ฉบับที่ ๔
จดหมายในฉบับที่ ๔ กล่าวถึงการกลับมาถึง
ประเทศไทยและการเข้ารับราชการซ่ึงใช้เส้นแต่ไม่
สำเร็จผลนอกจากน้ีคุณพ่อ ของนายประพันธ์ได้หา
ภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แลว้ หล่อนชื่อกิมเน้ยเป็นลูก
สาวของนายอากรเพ้งซ่ึงพ่อของ
นายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์
ด้วยประการท้ัปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก
จึงไม่ยอมรับเร่ืองการคลุมถงชน
จึงได้ขอดูตัว แม่กิมเน้ยก่อน นอกจากนั้นในจดหมาย
ไดเ้ล่าถึงการพบปะกับผู้หญิงคนหน่ึงท่ีตนถูกใจที่โรง
พัฒนากรด้วย

คำทับศัพท์:แบชะเลอร์ ฟรี แฟแช่น โฮเต็ล
สำนวนท่ีได้:เดินเข้าท้ายครัว หมอบราบคาบแก้ว คลุม
ถุงชนลงรอยเป็นถ้าประนม

๓.ฉบับที่ ๕
จดหมายฉบับที่ ๕ กล่าวถึงการไดเ้ข้ารับ

ราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับ
ราชการในกรมพานิชยสถิติพยากรณ์และนาย
ประพันธ์ได้พบกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อน
เหมือนนายซุนฮูหยินแต่ก็ยังไม่เป็นท่ีถูกใจของ
นายประพันธ์นอกจาก
นั้นนายประพันธ์ไดเ้ล่าถึงผู้หญิงที่เจอใน
โรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไรพรรณโสภณ
เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร

๔.ฉบับที่ ๖
จดหมายฉบับที่ ๖ กล่าวถึงการได้พบกับแม่อุไร
โดยการไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาวทุกวันทุก
คืนและได้บรรยายถึงรูปร่าง
ลักษณะของแม่อุไรว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าว
ว่าแม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะ
เหมือนฝรั่งมากกวา่คนไทยมีการศึกษาดีโดยสิ่งที่
นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือการเต้นรำซึ่งแม่อุไร
ก็เต้นรำเป็น
อีกดว้ย

คำทับศัพท์: ปอปูล่าร์ สัปเป้อร์ เอดูเคชั่น
สำนวนที่ได้:ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง
ค้อนเสียสามส้ีวง

๕.ฉบับที่ ๙
จดหมายฉบับที่ ๙ กล่าวถึงการแต่งงานการแม่
อุไรโดยรีบรัดเน่ืองจากสาเหตุการนัดพบเจอกัน
บ่อยคร้ัง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ การสู่ขอนั้น
คุณพ่อ ได้ไปขอใหท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ
หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ฮันนีมูนที่หัวหินอีกด้วย

คำทับศัพท์:ฮันนีมูน
สำนวนท่ีได้:โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้
ชิงสุกก่อนห่าม

แม่อุไรตั้งครรภ์

๖.ฉบับที่ ๑๑
ประพันธ์กลับกรุงเทพได้สามอาทิตย์มาอยู่ที่บ้าน
ใหม่ ท่ีเขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย
ประพันธ์ไดเ้ล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอน
ท่ีอยเู่พชรบุรีว่าได้ทะเลาะกับแม่อุไรเลยกลับ
กรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ
เมื่อมาถึงท่ีบา้นใหม่ก็ต้องมีเร่ืองให้ทะเลาะกัน แม่
อุไรไม่อยากจัดบ้านขนของเพราะถือตนว่าเป็นลูก
ผู้ดีและนอกจากนั้น ก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ
ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่า
ผิดเสมอ

คำทับศัพท์:หัวเมือง หน้ามู่ทู่ บ่าว

๗.ฉบับที่ ๑๒
แม่อุไรได้แท้งลูกและสิ้นรักประพันธ์แต่
ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตา
กรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว
พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธ นาน
เข้าร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาท่ีประพันธ์
ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไรแต่แม่อุไรกลับสวนกลับ
มาว่า ประพันธ์ ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน
และเธอก็จะไม่ปรับเปล่ียนตัวเอง ประพันธ์จึงต้อง
ไปขอเงินพ่อเพ่ือใช้หน้ี ต่อมาพ่อของประพันธ์จึง
ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์เรื่องจะไม่ชดใช้หน้ีให้
แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็น จึงลงย้อนกลับบ้างแล้ว
แม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อ คุณหลวงเทพปัญหา
มาหาประพันธ์คุยเร่ืองต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร
ท่ีเท่ียว อยู่กับ พระยาตระเวนนคร (ต่อ)

ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไป
กล่าวเตือนแต่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆกลับมา
ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่
อุไรไปค้างบ้านพระยาตระเวนนคร และหลวงเทพ
ก็รับธุระเร่ืองขอหยา่ตอนน้ีประพันธ์จึงกลับโสดอีก
คร้ัง

สำนวนที่ได้:เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน
อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์
คำศัพท์ : ฉิว

๘.ฉบับที่ ๑๓
ประพันธ์มีความสุขท่ีได้กลับมาเป็นโสดอีกคร้ัง
ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวนนคร
พระยาตระเวนนครมีนางบำเรออยู่ถึง ๗ นาง และ
ทั้งหมดก็แผลงฤทธ์ิเวลาพระยาไม่อยู่ พระยา
ตระเวนจึงหาบ้านให้ แม่อุไรอยู่อีกหลัง ประพันธ์
ได้ย้ายตำแหน่งการทำงานมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรม
โรงเียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า
ประพันธ์ได้เข้าประจำกรมม้าหลวง

คำทับศัพท์ : อินเตอเร็สต์ อ๊อกฟอร์ด
เล็กเชอร์
คำศัพท์ : นางสุวญิชา ผู้รั้ง หลวง

พระยาตระเวนนคร
แม่อุไร

๙.ฉบับที่ ๑๕
ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา

คงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน
เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสดเนื่องจากพระยา
ตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ไดเ้ป็นผัวเมียกันตาม
กฎหมาย ตอนน้ีพระยาตระเวนติดผู้หญิงท่ีชื่อ
สร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำ
อะไรได้

สำนวนที่ได้:ขนมปังคร่ึงก้อนดีกว่าไม่มีเลย
คำศัพท์ : ฉุน แตรตรวจ หัวนอก

๑๐. ฉบับที่ ๑๗
ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนน้ีไดเ้ล่ือนยศเป็นนาย
หมู่ใหญ่ข้ึนพอกลับบ้านแม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่
บ้านหล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเล้ียงหล่อนอีกคร้ัง
เพราะหล่อนไม่มีที่ไป
บ้านที่หล่อนเคยอยู่พระยาตระเวนก็ยกให้
แม่สร้อยจะไปหาพ่อก็เคยพูด อวดดีกับพ่อ ไว้แต่
ประพันธ์เห็นว่าให้หล่อนกลับไปง้อ พ่อจะดีกว่า
หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่
กับพ่อของหล่อน

สำนวนท่ีได้ : ขุดอู่
คำศัพท์ : เรี่ยม

๑๑.ฉบับที่ ๑๘
แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิช
พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วงส่วน
ประพันธ์ก็ได้รัก ชอบพอกับนางสาวศรีสมาน
ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก

สำนวนที่ได้ : เทวดาถอดรูป
คำศัพท์ : เพื่อนบ่าว

ชื่อและลักษณะนิสัยของตัวละคร





นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ
ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบ
เหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “
อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บ
ลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่
ดีของไทย ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน
เพื่อฝึกการบ้านการเรือน อีกประการก็มีจิตใจที่อ่อนไหว
ครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่ง
ให้แก่แม่อุไรนั้น ถูกฉีกเป็น
เศษเล็กเศษน้อยร่วงออกมา “ ฉันเทออกแล้วจึงจำได้ว่า
เป็นจดหมายที่ฉันมีไปถึงแม่อุไรนั่นเอง ขอให้นึกเถิดว่า
ฉันสะดุ้งปานใด” ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เปลี่ยน
ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่อสตรีไทย ทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสีย
ด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า “ ถ้าเมื่อไรผู้
หญิงไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่
เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆ เท่านั้นแหละ ผู้ชาย
ที่มักมากจักต้องเปลี่ยนความคิด และความประพฤติ”

แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า “ขอบอกโดย
ย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุง
สยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย” เห็นได้
ว่าบุคลิกดูเป็นคนมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบคน
ตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นว่าคน
เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกันได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยัง
ไม่หมดลมหายใจ กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิด
เป็นชอบ ดังที่ว่า “เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเป็น
เกียรติยศดี พูดจาต้องขู่ฟ่อๆ ราวกับแมวที่ดุเสมอ” และ
แสดงให้เห็นถึงกิริยามารยาทที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพ
เรียบร้อยของคนไทย “แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไป
ถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดไม่จาอะไรเป็นครู่
ใหญ่ๆ” อีกสิ่งหนึ่งคือ การที่ไม่รู้จักรักนวลสงวนตัว ยอม
ทอดกายให้ชายถึงสองคน คือ นายประพันธ์ ทำให้ท้อง
ก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนคร ที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง

๗ คน ทำให้ผิดหวังในความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า

พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภท
เสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า
“ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้
หญิงคนนั้นจนได้ แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่
เฉลียวฉลาด จากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดย
ราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงาน
สังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆ ได้
ตลอดเวลา

หลวงพิเศษผลพานิช เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจ
ดังคำที่ว่า “จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดา

ถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูป
ชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่

ได้พบคนที่ดี

นายประเสริฐ สุวัฒน์: เพื่อนของนายประพันธ์ที่ยัง
ศึกษาอยู่ที่อังกฤษ









กิมเน้ย: หญิงสาวเชื้อสายไทยจีน ลูกสาวของ
อากรเพ้ง โดยพ่อของประพันธ์หวังจะให้กิมเน้ยหมั้น
หมายกับประพันธ์ แต่ประพันธ์ไม่ค่อยชอบกิมเน้ยนัก
เพราะเธอใส่เครื่องเพชรรุงรัง และมีหน้าตาแบบสาว
หมวย (ประพันธ์กล่าวว่าหน้าตาเจ้าหล่อนเหมือนนางซุน
ฮูหยิน) และประพันธ์ก็ไม่ชอบการคลุมถุงชนแบบ
ธรรมเนียมโบราณของไทย จึงไม่ยอมรับการแต่งงาน

ครั้งนี้เด็ดขาด

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่
เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อ
เสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือน
กับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่

อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไข
ตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จน
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

ต่อไป
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่ง
ความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บ
สิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูก
บ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะ
วัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลง

ประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอ
กันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจ
กันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่าง
ง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รัก
เร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น

4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจน
กระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรม
อันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้
ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่า

ร้างกันวันข้างหน้า





5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์
เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วย
ตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้
ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ใน

ที่สุด

คำทับศัพท์ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

เร็สตอรังค์ (Restaurant) ภัตตาคาร ร้านอาหาร
ศิวิไลซ์ (Civilize) เจริญ มีอารยธรรม เจริญ
อันศิวิไลซ์ (Uncivilized) ไม่มีอารยธรรม
แบชะเลอร์ (Bachelor) ชายโสด
ฟรี (Free) เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์
แฟแช่น (Fashion) สมัยนิยม
โฮเตล (Hotel) โรงแรม
ปอปูล่าร์ (Popular) ได้รับความนิยมมาก
สัปเป้อร์ (Supper) อาหารเย็น
เอดูเคชั่น (Education) การศึกษา
โช (Show) อวดให้ดู
ฮันนีมูน (Honeymoon) การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่
อินเตอเร็สต์ (Interest) ความสนใจ
ออ๊กฟอร์ด (Oxford) ชื่อเมืองในประเทศอังกฤษและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก
เล็กเชอร์ (Lecture) บรรยาย

บรรณานุกรม

Satriwit3. (ไม่ระบุปีที่พิมพ์). หัวใจชายหนุ่ม - Satriwit3.
จาก:http://www.satriwit3.ac.th/files/1110061212443058_12083116162416.pdf
(วันที่สืบค้นข้อมูล : ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕)

blog.startdee.com. (๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓). หัวใจชายหนุ่มชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาภาษาไทย. จาก : https://blog.startdee.com › ม4-ภาษา...หัวใจชาย
หนุ่ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาภาษาไทย
(วันที่สืบค้นข้อมูล : ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕)

ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง.(๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖).เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการกับวิชาภาษาไทย.
จาก : http://thn22150thai.blogspot.com/2013/02/6-2-1.html?m=1
(วันที่สืบค้นข้อมูล : ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕)

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้



รายวิชา ท๓๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑



เสนอ

ครูสุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์ (ครูประจำวิชา)

จัดทำโดย

นางสาวณัฐพร บัวเหม เลขที่ 13
นางสาวชวัลลักษณ์ กิจตาลัย เลขที่ 14
นางสาวจินตนา ภูลายยาว เลขที่ 16
นางสาวธนพร วิรการินทร์ เลขที่ 18
นางสาวนราภรณ์ ไวปัญญา เลขที่ 19
นางสาวปรางทิพย์ บัวรุ่ง เลขที่ 20
นางสาวพิยาดา ทะนวนรัมย์ เลขที่ 25
นางสาวอรกานต์ สุดสถาน เลขที่ 26
นางสาวกิติยา จุลนิล เลขที่ 44

ห้องม.4/10


Click to View FlipBook Version