จุลสาร NATIONAL PARK ASSOCIATION
ละอง/ละมั่งEld’s Deer Brow-antlered Deer
Department of National Park Wildlife and
Plant Conservation
อนุกรมวิธานละอง/ละมั่ง
ชื่อไทย (THAI NAME) : ละอง/ละมั่ง
ชื่อสามัญ (COMMON NAME) : Eld's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ (SCIENCTIFIC NAME) : Rucervus eldii
(M'Clelland, 1842)
อณาจักร (KINGDOM) : Animalia
ไฟลัม (PHYLUM) : Chordata
ซับไฟลัม (SUBPHYLUM) : Vertebrata
ชั้น (CLASS) : Mammalia
ลำดับ (ORDER) : Cetertiodactyla
วงศ์ (FAMILY) : Cervidae
สกุล (GENUS) : Rucervus
ชนิด (SPECIES) : Rucervus eldii
ละอง, ละมั่ง
Eld’s Deer, Brow-antlered Deer
ละองละมั่ง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางขนาดกลาง มี
กีบคู่ ตามลำตัวมีขนหยาบและยาว สีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลง
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวขนจะยาวมาก
ลักษณะทั่วไป
ละอง หรือละมั่ง เป็นกวางพื้นเมืองของไทย ละอง ใช้เรียกตัวผู้
ตัวเต็มวัย ละมั่ง ใช้เรียกตัวเมีย และตัวที่ยังไม่เต็มวัย แต่นิยมเรียก
ละมั่งเหมือนกันทั้งหมด ลำตัวมีขนละเอียดสีน้ำตาลแกมเหลือง ขน
ด้านบนมีสีแดงอมน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาว หรือสีครีม มีขนสีขาว
รอบหู ตา และคาง ลำคอยาว ใบหูใหญ่ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
ตัวผู้โตเต็มวัยมีขนหยาบยาวสีน้ำตาลเข้มบริเวณรอบคอ ละมั่งอายุ
น้อยจะมีลายจุดสีขาวตามตัว เมื่อโตขึ้นลายจุดจะหายไป แต่ในละมั่ง
เพศเมียตัวเต็มวัยบางตัวอาจยังปรากฏลายจุดจางๆให้เห็นอยู่
ละมั่งมีเขาเฉพาะเพศผู้ ลำเขาเป็นแกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลก
หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะผลัดเขาทิ้งไป เขาละมั่งจะมีกิ่งรับหมายื่น
ยาวออกไปข้างหน้าตามแนวหน้าผาก ขณะที่ตัวลำเขาโค้งยาวไปด้าน
หลัง โดยกิ่งรับหมากับลำเขาเชื่ อมต่อกันตรงโคนเขา เป็นเส้นโค้งต่อ
เนื่องเป็นลำเดียวกัน ปลายเขางอกลับคล้ายตะขอและแตกแขนง
ละอง/ละมั่ง ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย
1.ละอง/ละมั่งพันธุ์อินเดีย
พบในรัฐมณีปุระ ทางตะวันออกของประเทศอินเดียติดกับ
ประเทศพม่า ถือว่าเป็นพันธุ์ต้นแบบของละอง/ละมั่ง
2.ละอง/ละมั่งพันธุ์ไทย พบในประเทศไทย
ทั้ง 2 สายพันธุ์
พบการกระจานพันธุ์ในประเทศไทย
ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มีจำนวน
เหลือเพียงประมาณ 20 ตัว โดยพบทาง
ภาคตะวันออกของประเทศ
3.ละอง/ละมั่งพันธุ์พม่า
พบการกระจานพันธุ์อยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศไทยและ
ประเทศพม่า มีจำนวนประมาณ 50-60 ตัว โดยกระจายพันธุ์อยู่
ทางภาคตะวันตกของประเทศ
ละอง, ละมั่ง
Eld’s Deer, Brow-antlered Deer
ความยาวลำตัวจากโคนหางถึงปลายจมูก
150-170 ซม.
ลำตัว ความยาวของใบหู ลักษณะเขา
ละอง/ละมั่งตัวผู้และตัวเมียจะมีจุดสีขาว 15-25 ซม. ละอง/ละมั่งจะมีเขาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น
ขึ้นตามลำดับแต่จุดจะจางหายไป ลักษณะเขาเป็นรูปแบบ "เขาคู่"
เมื่อโตเต็มวัย สีขนละอง/ละมั่งพันธุ์ไทย แบบเขากวางที่งอกติดกับกะโหลก
มีสีน้ำตาลอมส้ม สีสดกว่าพันธุ์พม่า เมื่อเขาแก่เต็มที่ละอง/ละมั่งจะผลัด
เขาทิ้ง จากนั้นจะงอกเขาใหม่ขึ้นมา
ที่เป็นสีน้ำตาลแห้ง
แทนเขาเดิม
ความยาวของหาง ความสูงถึงช่วงไหล่
22-25 ซม. 120-130 ซม.
ชื่อเรียของละอง/ละมั่ง กิ่งรับ
หมา
ชื่อเรยกของละอง/ละมั่ง กิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้า
ตามแนวหน้าผาก ขณะที่ตัวลำเขา
ละอง/ละมั่งเป็นสัตว์พื้นเมืองของไทย ยาวโค้งไปทางข้างหลัง โดยกิ่งรับหมา
โดย "ละอง" ใช้เรียกตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว กับลำเขาเชื่อมต่อกันเป็นเส้นโค้งต่อเนื่อง
ส่วน "ละมั่ง" ใช้เรียกตัวเมียและตัวผู้
ที่ยังโตไม่เต็มวัย แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นลำเขาเดียวกัน
นิยมเรียกทั้งหมดว่า "ละมั่ง" การกระจายพันธุ์
(ปล.อินเดียเรียกว่า "ซันไก" ประชากรรวม : น้อยกว่า 2,500 ตัว
กัมพูชาเรียกว่า "ล่าเมียง" ประชากรในประเทศไทย : 70 – 80 ตัว
พม่าเรียกว่า "ทมิน")
ชีววิทยาละอง/ละมั่ง
พฤติกรรมและที่อยู่อาศัย
ชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง หรือทุ่งหญ้า
ใกล้ๆ หนองน้ำ กลางวันที่มีอากาศร้อนจะหลบไปอยู่ตามใต้ร่มไม้
ชายป่า หรือแช่ปลักโคลน ตัวผู้มักไม่ชอบอยู่ตามป่าทึบ เนื่องจาก
เขาของมันจะไปขัดกับกิ่งไม้ หรือพันกับเถาวัลย์
อาหาร
นิสัยการกินอาหารจะชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่างๆ ตามพื้นที่
ทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง ไม่ค่อยชอบกินใบไม้ จากการสังเกตจำแนก
รวบรวมพืชอาหารที่ใช้เลี้ยงละอง/ละมั่งได้ จะเป็นพืชที่พบได้ในป่า
เต็งรัง พื้นที่ริมห้วยและทุ่งหญ้าทั่วไป
การสืบพันธุ์
อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ
240-244 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดมีจุดลายสีขาวๆ
ตามลำตัว ซึ่ งจะจางหายไปตอนโต แต่ตัวเมียบางตัวยังคงมีลายจุด
ให้เห็น วัยเจริญพันธุ์ตัวผู้อายุ 1 ปีขึ้นไป ตัวเมียประมาณ 2 ขึ้นไป
ปัจจัยคุกคามของละอง/ละมั่ง
การบุกรุกป่าเพื่อการเกษตร
การบุกรุกจากการทำไม้และการถางป่า เพื่อทำการเกษตร
เป็นหนึ่ งในสาเหตุที่ ทำให้ละอง/ละมั่ งในธรรมชาติลดจำนวนลง
เนื่องจากสูญเสียที่อาศั ยและที่หาอาหาร
การลักลอบค้าสัตว์ป่า
การลักลอบล่าละอง/ละมั่งเพื่อนำซากมาขาย หรือการเอาลูก
ละอง/ละมั่งตัวเป็นๆ มาขายหรือการล่าเพื่อนำเนื้อของละอง/ละมั่ง
ไปบริโภค เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ละอง/ละมั่งใกล้สูญพันธุ์
แหล่งชุมชน
การขยายตัวของชุมชนนับว่าเป็นปัญหาที่ ส่ งผลกระทบต่อการ
ลดจำนวนละอง/ละมั่ง เพราะบางพื้นที่มีการรุกล้ำพื้นที่ป่า ทำให้
ละอง/ละมั่งสูญเสียที่อาศั ย
พื้นที่ที่มีการฟื้ นฟูละอง/ละมั่งในประเทศไทย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
อมก๋อย
(กลุ่มป่าแม่ปิง-อมก๋อย)
อุทยานแห่งชาติ
แม่วงก์
(กลุ่มป่าตะวันตก)
เขสตรัลกัษกาพัพนธุ์รสัตะว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
(กลุ่มป่าตะวันตก) ห้วยเขาแข้ง พนมดงรัก
(กลุ่มป่าตะวันตก)
(กลุ่มป่าพนมดงรัก-ผาแต้ม)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
แม่น้ำภาชี
(กลุ่มป่าแก่งกระจาน)
ภาคภนวก
ภาคภนวก
อ้างอิง
HTTPS://WWW.INSPIRERUNNER.COM/POST/ละอง-ละม-ง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สมาคมอุทยานแห่งชาติ
กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่ง
ชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
จัดทำโดย
นางสาวอาอีเสาะ ยามา
รหัสนักศึ กษา 406328023
สาขาวิชา ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีการศึ กษา