The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by akapat4582, 2022-09-15 08:31:47

ชีววิทยา

ชีววิทยา

เทคโนโลยี
ทาง

ดีเอ็นเอ



นางสาวศิญา
พร พระแก้ววศิน

ม.5/2 เลขที่ 30

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ




เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
สร้างดีเอ็นเอสายผสม หรือ

DNA รีคอมบิแนนท์
(recombinant DNA) ซึ่ง
สามารถใช้ดัดแปลง ตัดต่อ
เคลื่อนย้าย หรือสร้าง DNA
สายใหม่ เพื่อนำไปดัดแปร
พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

การสร้าง DNA รีคอมบิแนนท์
เป็นการตัดต่อ DNA จากสิ่งมี
ชีวิตชนิดหนึ่งแล้วนำไปเชื่อมต่อ
กับ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิด
โดยอาศัยคุณสมบัติของเอนไซม์
2 ชนิด ได้แก่ เอนไซม์ตัดจำเพาะ
(restriction enzyme) ที่มี
คุณสมบัติในการตัดโมเลกุลของ
DNA ที่มีตำแหน่งจำเพาะ และ

เอนไซม์ DNA ไลเกส (DNA
ligase enzyme) ที่ช่วยในการ
เชื่อมต่อสาย DNA ที่ถูกตัด ทำให้
DNA 2 สายเชื่อมต่อกัน กลาย

เป็น DNA รีคอมบิแนนท์ที่
สมบูรณ์

การโคลนดีเอ็นเอ

การโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของ
แบคทีเรีย เป็นการเพิ่มจำนวนปริมาณ
DNA โดยการตัดชิ้นส่วน DNA แล้วนำไป

เชื่อมต่อกับเวกเตอร์ เช่น พลาสมิด
(plasmid) ของแบคทีเรีย และนำ
แบคทีเรียไปเลี้ยงเพิ่มจำนวนเพื่อให้มี

ปริมาณชิ้นส่วน DNA ที่เพิ่มขึ้น

การโคลนยีนในหลอดทดลองโดยเทคนิคพอลิเม
อเรสเชนรีแอกชัน (PCR) ซึ่งต้องอาศัยองค์
DNA แม่แบบ ไพรเมอร์ นิวคลีโอไทด์ (เบส A
C G T) cและเอนไซม์ DNA พอลิเมอเรส

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอถูกนำมา
ประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ

การประยุกต์ใช้ในเชิง
วิทยาศาสตร์



โดยการตรวจลายพิมพ์ DNA
เพื่อระบุความสัมพันธ์ใน

ครอบครัว และผู้กระทำความผิด
ในคดีต่าง ๆ โดยอาศัยเทคนิค
PCR และ RFLP

การประยุกต์ใช้ในเชิงการแพทย์



ได้แก่ การวินิจฉัยโรค
โดยใช้เทคนิค PCR ที่มีการ
ออกแบบไพรเมอร์ให้จำเพาะกับยีนที่

เกี่ยวข้องกับโรค
การบำบัดด้วยยีน โดยแทรกยีน
ปกติเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยหรือผู้
มีความผิดปกติ เพื่อให้ยีนปกติ
เข้าไปแทนที่ยีนที่ผิดปกติ และ
สามารถทำงานแทนยีนที่ผิดปกติได้

และการสร้างผลิตภัณฑ์ทาง
เภสัชกรรม โดยแทรกยีนที่สามารถ

ผลิตสารหรือฮอร์โมนให้กับ
แบคทีเรีย

แล้วนำไปเพิ่มจำนวนเพื่อให้
สามารถผลิตในปริมาณมากขึ้น

การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร



แบ่งออกเป็ น
การสร้างสัตว์พืชแปรพันธุกรรม
เพื่อให้พืชผลิตสารหรือแสดงลักษณะตาม
ต้องการออกมา เช่น การตัดต่อยีนต้านทาน

แมลงโรคใบด่างจุดวงแหวน
ให้กับมะละกอ

การตัดต่อยีนสร้างวิตามินเอให้กับข้าว
การตัดต่อยีนยืดอายุให้กับมะเขือเทศ
และการสร้างสัตว์ดัดแปรพันธุกรรม
เพื่อให้สัตว์ผลิตสารหรือแสดงลักษณะตาม

ต้องการออกมา เช่น
การตัดต่อยีนเพื่อให้หมูมีไขมันต่ำ

และมีเนื้ อมากขึ้ น
วัวผลิตน้ำนมเร็วและมากขึ้น

การประยุกต์ใช้ในด้านสิ่ง
แวดล้อม

โดยการสร้างพืชหรือ
จุลินทรีย์

ดัดแปรพันธุกรรม
เพื่อใช้ย่อยสลายสารพิษ

ที่ปนเปื้ อน
ในสิ่งแวดล้อม

การประยุกต์ใช้ในด้าน
อุตสาหกรรม



โดยการสร้างพืชหรือ
จุลินทรีย์ดัดแปร

พันธุกรรมเพื่อให้มี
คุณสมบัติตามต้องการ

และถูกนำไปใช้ใน
อุตสาหกรรม เช่น มัน
ฝรั่งดัดแปรพันธุกรรม
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
กระดาษ แบคทีเรียดัด
แปรพันธุกรรมเพื่อใช้ใน

อุตสาหกรรมผลิต
ฮอร์โมน

เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ดีเอ็นเอทำให้เกิดความกังวลเรื่องความ
ปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น ความปลอยภัย
ต่อสุขภาพ การเป็นพาหะของสารพิษ การ
ดื้อยาของเชื้อโรค การถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิต
หนึ่งสู่สิ่งมีชีวิตข้างเคียง รวมถึงจริยธรรม
ในการใช้ข้อมูลดีเอ็นเอและผลกระทบด้าน
สังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดการแบ่งชนชั้น และ

ความเหลื่อมล้ำในสังคมมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

https://tss-
connected.blogspot.com/20
18/12/6-dna-technology.html

https://sites.google.com/site/biology
bykrunansusukanya/2-m-4/2-6-
thekhnoloyi-thang-dixenxe


Click to View FlipBook Version