The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2564 สตท.5 ฉบับสบูรณ์

Create by ANC กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
Date 07-02-2022

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Akthanachc Nat, 2022-02-07 02:25:25

รายงานประจำปี 2564 สตท.5 ฉบับสบูรณ์

รายงานประจำปี 2564 สตท.5 ฉบับสบูรณ์

Create by ANC กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
Date 07-02-2022

Keywords: Annual Report 2021

2.6 การอบรม/ถ่ายทอดและพฒั นาองคค์ วามรู้ใหแ้ ก่สหกรณผ์ ปู้ ฏิบัติงานท่เี กี่ยวขอ้ งบุคลากรในพืน้ ท่ี
รวมท้งั หน่วยภายนอก
จัดอบรมแนวทางการปฏิบัติงาน Remote Audit ผ่าน Smart 4M สำหรับผู้สอบบัญชีหรือ

ผู้ทเี่ กี่ยวขอ้ งกบั งานสอบบัญชีของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นท่ีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ท่ี 5 จัดข้ึน
ระหวา่ งวนั ท่ี 30 - 31 สิงหาคม 2564 ผา่ นระบบสอ่ื สารทางไกล ระบบ Gin Conference ซ่ึงมนี างสาวศุภธิดา
เศรษวิศาล นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการ นายรัฐคุปต์ มูลธิยะ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ขอนแก่น และนายสุชาติ ช่างหล่อ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ สำนักงาน
ตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 เป็นวิทยาการบรรยายให้ความรู้ โดยมีนางปนัดดา ทองเหลือง ผู้อำนวยการสำนักงาน
ตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ณ ห้องประชุมสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 47

3. งานสำนกั งาน (Back Office) ผลิตคลปิ VDO Info graphic/สอื่
สง่ิ พมิ พ์กจิ กรรมตา่ ง ๆ 53 ครั้ง
สร้างแฟม้ กระดาษทาการอเิ ล็กทรอนกิ ส์ คดิ เป็น 9%
(EWP) 91 ครั้ง คิดเปน็ 15%
จัดทา/Update ขอ้ มูล Website
สรา้ งแฟ้มระบบประเมินความเสีย่ ง รวมท้งั เผยแพร่ขา่ วประชาสมั พนั ธ์
(Team Risk) 57 ครั้ง คิดเป็น 10% สานักงาน 169 ครง้ั คิดเปน็ 29%

จดั ทารายงานประจาปี ควบคุม ดูแลการประชุมทางไกลผา่ น
1 ครั้ง คิดเป็น 0% ระบบ Video Conference 58 ครั้ง
คดิ เปน็ 10%
ช่วยเหลอื /แกไ้ ขปัญหา เกย่ี วกับระบบ
เครือข่ายอินเตอร์เนต็ และการใช้งาน
คอมพิวเตอรใ์ หแ้ กบ่ คุ ลากรภายใน
สานกั งาน 51 คร้ัง คิดเป็น 9%

Update ขอ้ มลู Website สานักงานให้
เป็นปจั จบุ ัน 109 ครั้ง คดิ เป็น 18%

4. การศึกษาลกั ษณะธรุ กิจของสหกรณ์และพฒั นาโปรแกรมระบบบญั ชี

กรณีศกึ ษาข้อมลู การดำเนินธกุ จิ เพื่อจดั วางระบบบญั ชี สหกรณ์การเลี้ยงปศสุ ัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด
จงั หวัดสกลนคร

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ศึกษาข้อมูลการดำเนินธุรกิจเพื่อจัดวางระบบบัญชี เกี่ยวกับการแปรรูป การชำแหละโคขุน และ
การตัดแต่งเนื้อ ให้รองรับธุรกิจของสหกรณ์ และเป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ แก่สหกรณ์
การเลยี้ งปศสุ ัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกดั จำกดั โดยมีนายสุเทพ ทองบ้านบ่อ ผูอ้ ำนวยการศนู ยเ์ ทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และทีมงานด้าน IT ของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สกลนคร ร่วมศึกษาระบบบัญชีเดิมและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร่วม
ปรกึ ษาหารือ

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 48

ศึกษาขอ้ มลู การดำเนนิ ธุรกจิ เพือ่ จัดวางระบบบัญชี
ณ สหกรณก์ ารเลีย้ งปศสุ ัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จังหวดั สกลนคร

ลงพื้นที่ตรวจเยีย่ มและเข้ากำกบั การใชง้ านโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์
ณ สหกรณ์การเลย้ี งปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จงั หวดั สกลนคร

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 49

5. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และกำกับแนะนำการใช้นวัตกรรม Smart 4M

เข้ากำกับแนะนำการใช้นวัตกรรม Smart 4M ที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์แก่
คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เพื่อให้คณะกรรมการสหกรณ์ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
การดำเนนิ การของสหกรณ์ โดยคณะกรรมการสามารถใช้งานระบบผา่ น Application Smart Manage ซงึ่ เปน็
เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการสหกรณ์ให้มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ ให้ผู้บริหาร
สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุด
ตอ่ สหกรณ์

สหกรณ์การเกษตรเมอื งพล จำกดั อำเภอพล จังหวดั ขอนแกน่

6. การปฏบิ ตั งิ าน Remote Audit

การประชุมซักซ้อมการปฏบิ ัตงิ านตรวจสอบบญั ชีระยะไกล (Remote Audit) รองรบั สถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายและแผนงานของกรมตรวจบัญชี
สหกรณ์

วันท่ี 4 สิงหาคม 2564 ณ สำนกั งานตรวจบญั ชสี หกรณ์ท่ี 5 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแกน่

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 50

การสังเกตการณ์ตรวจสอบบัญชีระยะไกล (Remote Audit) ผ่านระบบ VDO Conference
ด้วยโปรแกรม line เป็นครั้งแรก โดยมี นางจิตรตา ทองคำ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ
และบุคลากรในสังกัด ในการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด ไปยัง
สำนกั งานใหญ่ จงั หวัดสกลนคร , สาขาวังทอง จังหวัดปทุมธานี และสาขาสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

วันท่ี 24 สิงหาคม 2564 ณ สำนกั งานตรวจบญั ชสี หกรณ์ท่ี 5 อำเภอเมือง จงั หวัดขอนแก่น

7. พัฒนา Script การใช้ Remote Audit ตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลงั วนั ทีใ่ นงบการเงนิ
สำหรบั ผู้สอบบญั ชีสหกรณ์

การพฒั นาสครปิ ห์ เพอ่ื ใช้เป็นแนวทางในการเลือกตวั อย่างในการสอบทานหนี้หลังวันสิน้ ปีทาง
บัญชี ซง่ึ จะช่วยใหผ้ สู้ อบบัญชไี ด้รับหลกั ฐานการสอบบัญชีที่เพยี งพออยา่ งเหมาะสม เพอ่ื สนับสนนั เหตผุ ลใน
การแสดงความเห็นต่องบการเงิน ยกตวั อย่างเช่น

1. สมาชิกที่มจี ำนวนครงั้ ของการทำธุรกรรมสูงสดุ 10 ราย ในรอบ 5 ปี
2. สมาชกิ ทมี่ ีจำนวนยอดเงนิ ท่ีทำธุรกรรมกับสหกรณส์ ูงสดุ 10 ราย ในรอบ 3 ปี
3. รายการสัญญาท่ีมีการอนุมัติกอ่ นปิดปีบัญชี ระยะเวลา 3 เดอื น และมีรายการเคล่อื นไหว/
ชำระหลงั จากเปิดปบี ญั ชี ระยะเวลา 3 เดือน

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 51

8. พฒั นาระบบลงเวลาปฏบิ ัติงาน Work From Home ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
ดว้ ย Google Forms พร้อมแสดงเวลามาปฏบิ ัตงิ านทางไลน์กลมุ่ สตท.5

การพัฒนารูปแบบการลงเวลาปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อช่วยในการลงเวลาปฏิบัติงาน
Work From Home สำหรับข้าราชการ พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่เนื่องจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ผา่ น QR Code ดว้ ยแบบฟอรม์ Google พรอ้ ม
แจ้งวันท่ี เวลาปฏบิ ตั ิงาน ไดถ้ กู ตอ้ ง แมน่ ยำ ผ่านไลน์กลุม่ สตท.5 และช่วยใหเ้ จา้ หนา้ ทธ่ี รุ การสามารถจัดพิมพ์
รายงานสรุปบันทึกลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการ พนักงานราชการ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
เพอ่ื นำเสนอผบู้ ริหารไดอ้ ย่างสะดวก รวดเรว็ และถูกต้อง

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 52

9. พฒั นาระบบบนั ทึกถอ้ ยคำสอบทานหน้สี มาชกิ ผา่ น Google Form ดว้ ยอุปกรณ์
Mobile Device

การพัฒนาแบบฟอรม์ การบันทกึ ถ้อยคำสอบถานหน้สี มาชิก เพือ่ ปรบั ปรงุ ประสทิ ธภิ าพการทำงาน
โดยการลดระยะเวลาและขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการทำงานของผู้สอบบัญชี ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยใน
การทำงานแทนการบันทึกถ้อยคำแบบกระดาษ ด้วยระบบ Google Form ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถ
สรุปการสอบทานได้ ณ จุดปฏิบัติงาน และสามารถรายงานผลแบบ Real time ให้กับผู้บังคับบัญชีได้ ณ จุด
ปฏิบัติงาน และสามารถสรปุ ผลได้ทนั ที ซง่ึ ผูส้ อบบัญชจี ะได้รับเอกสารบนั ทึกถอ้ ยคำผา่ นทาง E-mail

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 53

การตดิ ตามประเมนิ ผลสมั ฤทธิ์

ตดิ ตามประเมนิ ผลโครงการอบรม

1. โครงการพัฒนาศกั ยภาพการดำเนินธรุ กจิ ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและธุรกิจชุมชน

การประเมินผลสมั ฤทธิ์โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและ
ธุรกิจชุมชน ปีงบประมาณ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ใช้ข้อมูลทางการเงิน
การบัญชใี นการวางแผนธุรกิจแกส่ หกรณ์ ให้สหกรณ์มรี ะบบการควบคมุ ภายในและสามารถใชเ้ ทคโนโลยีดิจิทัล
การบริหารจดั การทางการเงินการบญั ชีให้มีประสทิ ธภิ าพ ผูต้ รวจสอบกจิ การทราบเทคนิคการตรวจสอบกิจการ
และการรายงานผล การใช้เครื่องมือในการเตือนภัยและเทคนิคการนำเสนอ และมีประสิทธิภาพอย่างย่ิง
ในการรว่ มกันผลักดันใหส้ หกรณ/์ กลมุ่ เกษตรกร มีความเจรญิ ก้าวหน้า มคี วามมง่ั คงและย่ังยืน สรา้ งความเชื่อมั่น
และเป็นทีศ่ รทั ธาแกส่ มาชกิ ได้เปน็ อย่างดี

โดยได้ดำเนินการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 408 ราย
ในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และทอดแบบประเมินผลสัมฤทธิ์แก่บุคลากร
ของสหกรณ์ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 28 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 54.90 และได้รับคำตอบจากแบบประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ จำนวน 23 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 45.10 ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถสรุปรายงานการประเมินผล
สมั ฤทธ์ติ ามโครงการดังกล่าว ได้ดังนี้

1.1 หลกั สตู ร การพฒั นาศักยภาพคณะกรรมการสหกรณ์ และ หลักสูตร การพฒั นาศักยภาพ
ฝา่ ยจัดการสหกรณ์ จำนวน 51 แหง่ 357 คน มีความร้คู วามเข้าใจ จำนวน 301 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 84.31
และมีความสามารถในการนำไปใช้ในการปฏิบตั ิงาน จำนวน 251 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 70.31

1.2 หลกั สูตร ผู้ตรวจสอบกจิ การสหกรณ์ จำนวน 51 แหง่ 51 คน มีความรู้ความเข้าใจ
จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 90.20 และมคี วามสามารถในการนำไปใชใ้ นการปฏิบตั งิ าน จำนวน 46 คน
คดิ เป็นรอ้ ยละ 90.20

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 54

ประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ พ้ืนท่ีจงั หวดั ขอนแก่น 55
ประเมนิ ผลสัมฤทธ์ิโครงการฯ พื้นทจี่ ังหวัดเลย

ประเมนิ ผลสัมฤทธิ์โครงการฯ พ้ืนที่จังหวัดหนองบัวลำภู
ประเมินผลสมั ฤทธโ์ิ ครงการฯ พื้นท่ีจงั หวดั สกลนคร

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

ประเมินผลสมั ฤทธโ์ิ ครงการฯ พ้ืนทจ่ี งั หวัดนครพนม

ประเมินผลสมั ฤทธ์ิโครงการฯ พื้นทจี่ งั หวดั บงึ กาฬ

ประเมนิ ผลสมั ฤทธโ์ิ ครงการฯ พื้นทจี่ ังหวดั อุดรธานี

2. โครงการศูนยเ์ รยี นรูก้ ารเพมิ่ ประสทิ ธิภาพการผลติ สนิ ค้าเกษตร (ศพก.)

การประเมนิ ผลสัมฤทธิโ์ ครงการศูนยเ์ รยี นรู้การเพ่ิมประสิทธภิ าพการผลติ สินค้าเกษตร (ศพก.)
วัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามการปฏิบัติงานของครูบัญชีมีความเข้มแข็งร่วมสร้างและขับเคลื่อนงานร่วมกับ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในการสร้างเครือข่าย สร้างพลังการขับเคลื่อนในระดับชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนา
ศักยภาพครูบัญชีประจำศูนย์เรียนรู้ ให้สามารถให้บริการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกรท่ีขอรับ
บริการได้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 56

กลุ่มพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 ได้ดำเนินการอบรมพัฒนา
อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี (ครูบัญชี) ประจำศูนย์เรียนรู้ จำนวน 113 ศูนย์ 113 คน และได้ดำเนินการ
ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการ ณ ที่ทำการศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 26 ศูนย์ คิดเป็น
ร้อยละ 23 ของ 113 ศูนย์ สรุปผลการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีประจำ
ศนู ยเ์ รยี นรู้ จำนวน 26 ศนู ย์ สามารถถา่ ยทอดความรดู้ ้านการจดั ทำบัญชีไดใ้ นระดับดีข้นึ ไป

ศพก.พล ศพก.อุบลรัตน์

ศพก.นำ้ พอง ศพก.ภูผามา่ น

ศพก. แวงใหญ่ 57

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

1. งานสอบบัญชสี หกรณ์และกลมุ่ เกษตรกร

ณ 30 กันยายน 2564 มีปริมาณสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น จำนวน
1,561 แห่ง จำแนกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องตรวจสอบภาครัฐ กลุ่มพร้อมรับการตรวจสอบบัญชี
จำนวน 851 แห่ง แยกเป็นกลุ่มทำงบได้เอง จำนวน 249 แห่ง ทำงบโดยผู้อื่น จำนวน 602 แห่ง กลุ่มไม่พร้อม
รับการตรวจสอบ จำนวน 155 แห่ง กลุ่มจัดตั้งใหม่ จำนวน 5 แห่ง กลุ่มถูกสั่งเลิก/ต้องเลิกตามกฎหมาย
จำนวน 65 แห่ง รวมจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องตรวจสอบภาครัฐทั้งสิ้น จำนวน 1,500 แห่ง
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรท่ีนายทะเบียนสั่งเลิก/ประกาศเลิก จำนวน 424 แห่ง และสหกรณ์ที่ตรวจสอบ
โดยผสู้ อบบัญชีภาคเอกชน จำนวน 65 แหง่

ปีงบประมาณ 2564 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรท่ีวางแผนสอบบัญชีประจำปีทั้งสิ้น 835 แห่ง
สามารถสอบบัญชีได้ 834 แห่ง หรือร้อยละ 99.88 และผลงานที่วางแผนสอบบัญชีประจำปีในปีงบประมาณ
2564 จำนวน 60 แห่ง รวมผลงานสอบบัญชีประจำปีท้ังสน้ิ 894 แห่ง

งานสอบบญั ชสี หกรณแ์ ละกลุม่ เกษตรกรทีช่ ำระบัญชี

สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ชำระบัญชี นายทะเบียนสหกรณ์สั่งเลิก/ประกาศเลิก ณ วันที่
30 กันยายน 2564 จำนวน 424 แห่ง สามารถติดตามความเคลื่อนไหวการชำระบัญชี จำนวน 405 แห่ง หรือ
รอ้ ยละ 95.52 แห่ง ผ้ชู ำระบญั ชสี ามารถส่งงบการเงนิ ณ วนั เลกิ จำนวน 171 แหง่ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชี
และแสดงความเห็นต่องบการเงิน ณ วนั เลิก จำนวน 123 แห่ง หรือร้อยละ 71.93 เพ่อื ใหผ้ ้ชู ำระบัญชีนำเสนอ
งบการเงินต่อที่ประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติ แล้วส่งงบการเงิน ณ วันเลิกต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ตรวจสอบและ
รับรองรายงานการชำระบัญชแี ละรายการย่อของบัญชีทชี่ ำระ จำนวน 51 แหง่ เพือ่ ใหผ้ ู้ชำระบญั ชีจัดทำหนังสือ
เสนอนายทะเบียนสหกรณ์ ใหค้ วามเห็นชอบและถอนชอ่ื ออกจากทะเบียน จำนวน 41 แห่ง

2. การพฒั นาสถาบนั เกษตรกร

2.1 โครงการฝกึ อบรมเศรษฐกจิ การเงินขั้นพน้ื ฐานแกส่ มาชกิ สหกรณ์
เพื่อให้สมาชิกตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้สมาชิก

เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบสหกรณ์ สมาชิกของสหกรณ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำธุรกรรม
ทางการเงิน และการใช้เทคโนโลยี Application Smart Member และ Smart Me สมาชิกได้รับข้อมูล
ทางธรุ กรรมของตนผา่ นระบบ Intranet และสามารถบันทึกรายการรับ - จา่ ยได้ จำนวน 1,125 ราย

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากเป้าหมายสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ขั้นตอนการทำธุรกรรมทางการเงินกับสหกรณ์ จำนวน 117 ราย สมาชิกสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
ผลการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ มีสมาชิกของสหกรณ์บางส่วน ยังไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ในสหกรณ์ และไม่รับรู้การมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจของสหกรณ์ ข้อเสนอแนะในการประชุมใหญ่แต่ละครั้ง

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 58

ผู้นำกลุ่มควรมีการกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งระเบียบข้อกำหนดต่างๆ แก่สมาชิกในกลุ่มให้รับทราบ
โดยท่วั ถงึ และสมาชกิ สามารถสรา้ งการรบั รู้ขอ้ มูลทางธุรกรรมท่ีตนทำกับสหกรณ์ผา่ นระบบ Smart Phone

สหกรณ์การเกษตรโพนพสิ ัย จำกดั จ.หนองคาย

สหกรณเ์ ครดิตยูเนี่ยนโพธ์ิหมากแข้ง จำกัด จ.บงึ กาฬ

2.2 โครงการพัฒนาวสิ าหกจิ สู่ความเป็นมืออาชพี
เพื่อพัฒนาวิสาหกิจให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีผู้จัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน

สามารถจดั ทำบญั ชีขั้นต้นได้ จดั ทำงบทดลองและจัดทำงบการเงินได้ และสามารถนำความรทู้ ี่ได้รับไปใช้ในการ
บริหารจัดการได้ จำนวน 46 แหง่

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ มีจำนวน 14 แห่ง จากกลุ่มเป้าหมายวิสาหกิจชุมชน
ที่ผ่านการสอนแนะสามารถจัดทำบัญชีได้ ปัญหาอุปสรรคที่พบยังขาดความเข้าใจในเรื่องการบันทึกบัญชี
วิสาหกิจชุมชน และผู้จัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ค่อยมีเวลาในการจัดทำบัญชี เนื่องจากมีหน้าที่
รับผิดชอบงานหลายด้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแห่งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเวลาในการอบรมสอนแนะเรื่อง
การจัดทำบญั ชวี สิ าหกิจชุมชนในทุกเดือน เพราะสมดุ บนั ทึกบัญชขี องกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีหลายเลม่

วิสาหกจิ ชมุ ชนกลุม่ แจว่ บองแสนสุข จ.หนองคาย วิสาหกจิ ชมุ ชนกลมุ่ ทอผา้ พื้นเมอื งไทพมิ าน จ.นครพนม

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 59

2.3 โครงการยกระดับศักยภาพเกษตรกรรุน่ ใหม่ และผู้ประกอบการ/วิสาหกจิ ชุมชนในการผลติ
สินค้าชุมชน

เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีผู้จัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนได้รับ
การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดทำบัญชีขั้นต้นได้ และคณะกรรมการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถ
ใช้ขอ้ มลู ทางบัญชีในการบริหารจดั การวิสาหกจิ ชุมชนได้ จำนวน 166 แห่ง

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายได้รับการสอนแนะสามารถจัดทำบัญชีได้
จำนวน 17 แห่ง ปัญหาอุปสรรคพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังไม่เข้าใจในเรื่องการบันทึกบัญชีวิสาหกิจชุมชน
เท่าที่ควร และผู้จัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีภาระงานหลายอย่าง ไม่ค่อยมีเวลาในการจัดทำบัญชีและขาด
การเอาใจใส่ในการบันทึก ทำให้การบันทึกบัญชีไม่ค่อยเป็นปัจจุบัน ข้อเสนอแนะอยากให้เพิ่มเวลาในการอบรม
สอนแนะเรื่องการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนเพิ่มมากขึ้น เพราะสมุดบันทึกบัญชีของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
มีหลายเล่ม

วสิ าหกจิ ชมุ ชนกล่มุ เพาะเห็ดบด เหด็ ขอนขาว วิสาหกจิ ชมุ ชนกลุ่มปลานิลแดดเดยี ว
เงินลา้ นบ้านโนนสวรรค์ จ.ขอนแก่น บา้ นห้วยซัน จ.ขอนแกน่

3. การสง่ เสรมิ และพัฒนาศักยภาพการจัดทำบญั ชแี ก่เกษตรกร

3.1 โครงการเสริมสรา้ งการจัดทำบัญชคี รัวเรือนเพือ่ การจดั การเศรษฐกิจระดบั ครัวเรือน

เพื่อมุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพการจัดทำบัญชี ให้มีความรู้และความเข้าใจ
ในการจัดการทำบญั ชรี ับ – จ่ายในครวั เรอื น เพอ่ื บรหิ ารจดั การเศรษฐกิจระดับครัวเรือน จำนวน 7,800 ราย

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฝึกอบรมมีความรู้
ความเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือนได้อย่างถูกต้องและเป็นประจำสม่ำเสมอ สามารถนำ
ความรู้ทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเกษตรกรเอง สามารถ
จัดทำบัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือนได้ จำนวน 223 ราย ปัญหาอุปสรรคที่พบเกษตรกรบางพื้นที่มีอายุมากเขียน
หนงั สือไมไ่ ด้ มีภาระงานหลายอยา่ ง และไมส่ ามารถนำขอ้ มูลการบันทึกบญั ชีมาใชป้ ระโยชนใ์ นชีวติ ประจำวันได้
ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร ควรนำเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จจากการประกอบอาชีพและการใช้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 60

ข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการประกอบอาชีพ มาเล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานและการใช้พื้นที่ในการทำ
เกษตรกรรรม ให้เกษตรกรมีมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มมูลค่าในพื้นที่ทำ
เกษตรกรรมและสร้างรายไดใ้ ห้แก่ครอบครวั

เกษตรกรเป้าหมายในพื้นท่ีจังหวัดขอนแก่น

3.2 โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้ มีการ

บริหารจัดการหรอื การรวมกลุ่มได้อย่างเปน็ มืออาชีพ สามารถต่อรองราคาซื้อราคาขาย พร้อมทง้ั มีตลาดรองรับ
การผลติ จำนวน 3,100 ราย

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมาย เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสม
และจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพเป็นประจำสม่ำเสมอ จำนวน 238 ราย ปัญหาอุปสรรค พบว่าเกษตรกรบางพื้นที่
อายุมาก ยังไม่เข้าใจในเรื่องการจดบันทึกบัญชี มีภาระงานหลายอย่างทำให้การบันทึกบัญชีไม่สม่ำเสมอ
ข้อเสนอแนะ ครูบัญชีและเจ้าหน้าที่ควรเข้ามาให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ควรเข้าถึงตัวเกษตรกรโดยตรงและ
ควรมีการสรา้ งเครือขา่ ยครบู ัญชีในพื้นทท่ี ่ีอยู่หา่ งไกล เพือ่ ให้เกษตรกรได้รับการสอนแนะตดิ ตามการจัดทำบัญชี
อยา่ งใกลช้ ดิ

เกษตรกรเป้าหมายในพื้นท่ีจังหวัดขอนแก่น 61

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

เกษตรกรตัวอยา่ งโครงการระบบสง่ เสรมิ การเกษตรแบบแปลงใหญ่ จงั หวดั สกลนคร
(ไมด้ อกไมป้ ระดบั นายพนม ปัญญาไว)

เกษตรกรเกิดจากแรงบันดาลใจในการทำเกษตรในที่นามรดกของครอบครัว ซึ่งประกอบอาชีพ
การทำนาเปน็ อาชีพหลกั การดำรงชวี ติ ของคนไทย จึงอยากผลกั ดนั การเกษตรดา้ นการปลูกข้าว เพอื่ สรา้ งรายได้
ให้แก่ครอบครัว นอกจากการปลูกข้าวแล้ว ยังได้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับทำอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มใน
ครอบครัว และไม่เคยจดบันทึกบัญชรี ายรับ - รายจ่ายในครัวเรือนเลย จนกระทั่งสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์
สกลนคร ได้จัดอบรมการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ ทำให้เกิด
ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะทำให้รู้รายรับ - รายจ่ายจากการประกอบอาชีพของตนเอง หลังจากนั้น
จึงพยายามลดรายจ่ายท่ีไมจ่ ำเป็น โดยใชภ้ มู ปิ ญั ญาท้องถ่นิ คดิ คน้ จลุ ินทรยี ์บำรงุ ดิน ทำปุย๋ หมักชีวภาพใช้กำจัด
ศตั รพู ืช เพือ่ ลดตน้ ทนุ ในการประกอบอาชีพ และได้ผลผลิตทีเ่ พ่ิมมากขึน้ และได้เขา้ ร่วมโครงการระบบส่งเสริม
การเกษตรแบบแปลงใหญ่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในกลุ่มแปลงใหญ่เกี่ยวกับการทำการเกษตร พร้อมทั้งมี
การแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกร
สามารถรรู้ ายรับ - รายจ่าย รตู้ น้ ทุนประกอบอาชพี ของตนเอง และต่อรองราคาซ้อื ขายได้

3.3 โครงการพัฒนาเกษตรกรรรมย่ังยนื (เกษตรทฤษฎใี หม่)

เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย มีความรูค้ วามเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชตี ้นทุนอาชพี ได้ มีการนำ
ข้อมูลทางบัญชีมาคิดวิเคราะห์ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต และประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
ให้ตนเอง จำนวน 2,000 ราย

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 62

การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปใช้ เพื่อพัฒนาอาชพี ได้อย่างเหมาะสม
และการจัดทำบญั ชตี ้นทุนอาชีพเป็นประจำสมำ่ เสมอ จำนวน 78 ราย ปญั หาอปุ สรรค พบว่าเกษตรกรสว่ นใหญ่
ยังไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการจดบันทึกบัญชี มีภาระงานหลายอย่าง ทำให้ไม่สนใจในการบันทึกบัญชี
ข้อเสนอแนะ ครูบัญชีและเจ้าหน้าที่ควรนัดหมายให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และควรแนะนำเกษตรกร
ผ้ทู ำบัญชีโดยตรงมาเปน็ แบบเพ่อื สร้างแรงจูงใจในการจดบันทึกบัญชเี พ่ิมมากข้ึน

เกษตรกรเปา้ หมายในพื้นทจี่ ังหวดั ขอนแกน่

1. เกษตรกรตัวอย่างโครงการพฒั นาเกษตรกรรรมยง่ั ยืน (เกษตรทฤษฎีใหม)่ จังหวดั เลย
(เกษตรผสมผสาน นางพมิ พ์พศิ า มลู หลา้ )

โครงการพัฒนาเกษตรกรรรมย่ังยนื (เกษตรทฤษฎใี หม่)

เกษตรกรได้รับการอบรมการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนและบัญชีต้นทุนประกอบ
อาชีพ จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เลย หลังจากได้รับการอบรมจึงเริ่มบันทึกบัญชีตามความเข้าใจและ
พบข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง ทำให้มีความเข้าใจในหลักการบันทึกบัญชียิ่งขึ้น และได้บันทึกบัญชีเป็นประจำ
สม่ำเสมอ จนถึงปัจจุบัน จึงนำข้อมูลที่จดบันทึกบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการ
ปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ มาทำเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ ปลูกผลไม้ที่กินได้หลายชนิดรวมกัน ปลูกทุกอย่าง
ที่กินได้ หากมีมากนำไปขายตามท้องถิ่นหรือตามตลาดนัด เพื่อเพิ่มรายได้พึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพียงพอ
สามารถมีเงินเก็บออม และหนสี้ นิ ลดลง นอกจากทำเกษตรแบบผสมผสานแลว้ บริเวณบ้านได้จดั ตั้งศูนย์เรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเพื่อถ่ายทอดความรู้ ที่ได้รับจากการอบรมอีกทั้งประสบการณ์ในการทำเกษตร
ผสมผสานใหแ้ กเ่ กษตรกรทีม่ าศึกษาดงู านอีกดว้ ย

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 63

2. เกษตรกรตวั อยา่ งโครงการพัฒนาเกษตรกรรรมย่งั ยนื (เกษตรทฤษฎใี หม)่
จังหวัดหนองบวั ลำภู (เกษตรผสมผสาน นางนวลจันทร์ ภกู องชนะ)

เกษตรกรมีแนวคดิ อยากจะปรบั เปลีย่ นมาทำการเกษตรแบบผสมผสานแทนการปลูกพชื เชิงเด่ยี ว
หรือการทำนาเพียงอย่างเดียว โดยปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกพริกซุปเปอร์ฮอตเป็นรายได้หลัก และปลูก
ผักหวานป่า ไผ่ กล้วย พืชผักสวนครัวชนิดต่างๆ ที่สามารถปลูกได้ตามช่วงฤดูกาลเป็นรายได้เสริม ซึ่งพืชผัก
แต่ละชนดิ ทีป่ ลกู ไวจ้ ะเปน็ พชื ทีไ่ ม่ตอ้ งดแู ลอะไรมาก แตส่ ามารถเกบ็ ผลผลิตได้ตลอด สามารถปลกู พืชหมนุ เวียน
ทำใหม้ รี ายได้ท้ังปี และมีผลผลิตไวก้ นิ ในครัวเรือนทำให้ลดรายจา่ ยในครัวเรือนได้

3.4 โครงการพฒั นาเกษตรกรรมยั่งยนื (เกษตรอนิ ทรยี )์

เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดทำ
บญั ชตี ้นทุนอาชีพไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง มกี ารวางแผนการผลติ เพือ่ สร้างมูลค่าใหก้ บั สนิ ค้า จำนวน 400 ราย

การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสม
และการจดั ทำบัญชีต้นทุนอาชพี เป็นประจำสม่ำเสมอ จำนวน 33 ราย ปัญหาอปุ สรรคพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่
มีภาระงานหลายอย่าง ไม่มีเวลาในการจดบันทึกบัญชีมีกิจกรรมทางเกษตรกรรมหลายอย่างที่ต้องดูแล
แต่ส่วนมากจะจดบันทึกบัญชีในสมุดบันทึกความจำของตนเอง เนื่องจากสะดวกในการพกพาสามารถนำไป
จดเตือนความจำได้ทุกที่ ลูกหลานของเกษตรกรส่วนมากไปทำงานที่ต่างจังหวัดจึงไม่มีลูกหลานที่จะสานต่อ
อาชพี เกษตรกรรมและชว่ ยเหลือการบันทึกบัญชีมากนัก

เกษตรกรเปา้ หมายในพื้นทจ่ี ังหวัดขอนแก่น 64

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

1. เกษตรกรตวั อยา่ งโครงการพฒั นาเกษตรกรรรมยั่งยืน (เกษตรอินทรยี )์ จงั หวดั ขอนแกน่
(ปลกู พชื ผกั เกษตรอินทรยี ์ นายอธิวัฒน์ ทมุ พา)

เกษตรกรประกอบอาชีพเป็นพนักงานโรงงานจิวเวอร์รี่ที่กรุงเทพ เศรษฐกิจทรุด โรงงานเริ่ม
ขาดทุน จึงได้กลับมาทำการเกษตรที่ภูมิลำเนา พบปัญหาความแห้งแล้งและชาวบ้านปลูกพืชเชิงเดี่ยว
เกิดปัญหาทางการเกษตรหลายๆพื้นที่ จึงนำแนวคิดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ในหลวง
รัชกาลที่ 9 “การเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช” จึงเกิดแนวคิดไปศึกษาดูงานจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ
ในการทำเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นได้ศึกษาปรับปรุงบำรุงดินและ ทำการปรับปรุงในพื้นที่เล็กๆของ
ตนเองกอ่ น จนประสบความสำเร็จสามารถปลูกพชื ได้ และขยายการปรับปรุงดินในพืน้ ท่ีของตนเองจนสามารถ
ปลูกพืชหลากหลายชนิดทำเกษตรผสมผสานเต็มพืน้ ที่ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษกินเองไม่ต้องซือ้ ถ้าเหลือ
แบ่งเพ่อื นบ้าน และจำหนา่ ย จงึ ขยายผลไปท่ีเกษตรกรบ้านใกล้เรือนเคียงในชุมชน และเปน็ เกษตรกรที่ประสบ
ความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน ให้คำปรึกษาแก่เยาวชน เกษตรกรและประชาชน
ทั่วไป ที่สนใจในด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
การจัดการเศษเหลือใช้จากธรรมชาติและขยะครัวเรือน การรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ รวมถึงการให้
คำแนะนำในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพให้แก่สมาชิกในกลุ่มและเกษตรกร
ประชาชนทัว่ ไป นอกจากน้ันยงั ไดถ้ า่ ยทอดความรผู้ า่ นทาง Online ของ กศน. อำเภอพล จังหวดั ขอนแก่น

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 65

2. เกษตรกรตัวอยา่ งโครงการพัฒนาเกษตรกรรรมยัง่ ยนื (เกษตรอนิ ทรีย)์ จงั หวดั นครพนม
(ทำเกษตรอินทรยี ์ นางจมู ทอง จรุณราช)

โครงการพฒั นาเกษตรกรรรมยัง่ ยืน (เกษตรอินทรยี )์

นางจูมทอง จรุณราช ประกอบอาชีพทำนา และทำนาแบบวิถีชาวบ้าน ใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่กับ
ปุ๋ยคอก จุดเปลี่ยนมาทำนาเกษตรอินทรีย์ คือ มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการมาจัดอบรม โดยเชิญผู้ที่
ประสบความสำเร็จจากการเกษตรอินทรีย์มาเป็นวิทยากร เพื่อให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีประโยชน์
ต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว และผู้บริโภคทั่วไป ทำให้เกิดแรงจูงใจเป็น ต้นมาและได้เร่ิม
จดทะเบียนในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชื่อกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านแก้ง
ได้รับการสนับสนุนหลักจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนม และหน่วยงานราชการในจังหวัดนครพนม
และมผี ลิตภณั ฑข์ องกลมุ่ เพอ่ื จำหนา่ ย

3.5 โครงการบรหิ ารจดั การการผลติ สินค้าเกษตรตามแผนท่เี กษตร เพื่อการบรหิ ารจัดการเชงิ รุก
(Agri-Map)

เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้
วางแผนการผลิตและการปรับเปล่ียนการผลิตให้เหมาะสมกบั พน้ื ที่ จำนวน 600 ราย

การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสม
และจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพเป็นประจำสม่ำเสมอ จำนวน 48 ราย ปัญหาอุปสรรคพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่
ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการจดบันทึกบัญชี เนื่องจากมีภาระงานหลายอย่าง เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
ทำให้ไม่อยากบันทึกบัญชี ข้อเสนอแนะครูบัญชีและเจ้าหน้าที่ควรเข้ามาให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และ
ควรเข้าถงึ ตวั เกษตรกรโดยตรง

เกษตรกรเป้าหมายในพ้ืนทจ่ี ังหวดั ขอนแก่น 66

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

1. เกษตรกรตัวอย่างโครงการบริหารจดั การการผลติ สินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตร เพอ่ื การบริหาร
จดั การเชิงรุก (Agri-Map) จังหวัดบึงกาฬ (ทำเกษตรผสมผสาน นายปรีชา หลงเคน)

เกษตรกรประกอบอาชีพทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมีทั่วไป แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ในช่วง
ฤดูแล้งผลผลิตได้ไม่เต็มที่ จึงได้หันมาปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีการแบ่ง
สัดส่วน ในการทำเกษตรแบบผสมผสานประกอบด้วยสระน้ำเลี้ยงปลา ปลูกกล้วย ปลูกตะไคร้ ปลูกผักหวาน
ปลูกพริก พืชผักสวนครัวต่างๆ มีการเลี้ยงหมู เพื่อใช้มูลในพืชผักสวนครัวทนการซื้อปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุน
การผลิต โดยผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรม ส่วนหนึ่งไว้บริโภคภายในครัวเรือน ส่วนที่เหลือแบ่งปัน
เพื่อนบ้านและแบ่งขาย มีรายได้หมุนเวียนในแต่ละเดือนไม่มาก แต่ก็มีรายได้เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
มคี ุณภาพชวี ติ ท่ดี ี

2. เกษตรกรตัวอยา่ งโครงการบริหารจัดการการผลิตสนิ คา้ เกษตรตามแผนทเ่ี กษตร เพอ่ื การบรหิ าร
จดั การเชงิ รุก (Agri-Map) จังหวัดหนองคาย (ทำเกษตรผสมผสาน นายทองแท้ ชารีแสน)

จากแนวคิดที่จะทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยกับชีวิตตนเองและ
ครอบครัว จึงได้เริ่มการทำเกษตรแบบผสมผสานแบบเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำ
ใช้เองร่วมกับคนในชุมชน และปุ๋ยขี้วัว จากวัวที่เลี้ยงเอง เพื่อนำมูลวัวมาใช้เป็นปุ๋ ยในการทำเกษตร

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 67

เพือ่ ลดต้นทุนการผลิต และปลกู พชื ผกั สวนครัวและไมย้ นื ต้น พรอ้ มท้งั ขดุ บ่อเล้ยี งปลาในพนื้ ที่ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
ลดการเผาเศษหญา้ ฟาง ผลติ ปุย๋ ชีวภาพ ปุ๋ยคอกทำเอง โดยนำเศษตน้ กล้วยให้ววั กนิ ปลูกพชื หมุนเวยี นในพื้นท่ี
และเข้าร่วมกับคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้คำปรึกษาแนะนำ
แก่เพื่อนเกษตรกรในชุมชนเรื่องการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ไม่เหมาะสม และการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์และน้ำหมัก
ชีวภาพ เพ่อื เอาไว้ใชเ้ องเป็นการลดตน้ ทนุ การผลิต ลดค่าใช้จา่ ย เพิ่มรายได้

3. เกษตรกรตวั อย่างโครงการบรหิ ารจัดการการผลิตสินคา้ เกษตรตามแผนทีเ่ กษตร เพื่อการบริหาร
จดั การเชิงรกุ (Agri-Map) จังหวดั อุดรธานี (ทำนาหวา่ นอนิ ทรีย์ นางนติ ยา มหาโยธี)

เกษตรกรได้เข้ารับการอบรมการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนและบัญชีต้นทุน
ประกอบอาชีพ จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุดรธานี ได้เห็นว่ามีความสำคัญและสามารถนำข้อมูลจาก
การจดบันทกึ บญั ชีมาใชป้ ระโยชน์ได้มาปรับใชใ้ นการทำนาท่ีไดผ้ ลผลิตน้อย โดยเร่ิมจากฤดกู ารเกบ็ เก่ียวในรอบ
การผลิตที่ผ่านมา จะมีวัชพืชเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง การไถดะจะช่วยในการกำจัดวัชพืช ซึ่งก่อนการไถดะ
จะนำปุ๋ยคอกและ ปุ๋ยหมักลงนาไว้ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินก่อนการเพาะปลูก การไถดะช่วยกลบปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมักไดแ้ ลว้ ไถแปร อีกครง้ั จากการไถดะ เพอื่ ทำลายวชั พืชทีเ่ กิดขนึ้ ใหมแ่ ละช่วยใหด้ นิ ร่วนซยุ และย่อยก้อน
ดินให้มีขนาดเล็กลง แล้วไถคราดตีดินเพื่อทำให้ดินแตกตัวและปรับพื้นที่ทำนา หรือปรับเนินดินให้สม่ำเสมอ
ในขั้นตอนน้ี สบู นำ้ เข้าแปลงนา เตรียมเมลด็ พนั ธุ์ที่แข็งแรง มนี ้ำหนักดี หว่านกล้าลงในแปลงที่เตรยี มไว้ เมื่อต้น
กล้าเรมิ่ ข้นึ ใชน้ ำ้ หมกั สมนุ ไพรอินทรียช์ วี ภาพ ฉีดพ่นโดยใชเ้ ครื่องพ่นยาเพ่ือเร่งราก และสร้างอาหารธรรมชาติ
สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เน้นการใช้ปุ๋ยหมัก จากมูลสัตว์และใช้น้ำหมักจากพื้นท่ี
ตนเอง ทำให้ขา้ วเมด็ สวย เพ่มิ ผลผลิตได้ดี ใชช้ วี ิตแบบพอเพียง ลดค่าใชจ้ ่ายทไ่ี ม่จำเปน็

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 68

3.6 โครงการศนู ยเ์ รยี นรกู้ ารเพิม่ ประสิทธิภาพการผลติ สินคา้ เกษตร (ศพก.)
เพื่อพัฒนาศักยภาพครูบัญชีประจำศูนย์เรียนรู้ ให้การปฏิบัติงานมีความเข้มแข็ง สามารถ

ขับเคลื่อนงานในการสร้างเครือข่าย สร้างพลังขับเคลื่อนในระดับชุมชน อีกทั้งให้บริการความรู้ด้านการจัด
ทำบัญชี แก่เกษตรกรท่ีขอรบั บริการได้ จำนวน 113 ศูนย์

สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 พัฒนาอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีประจำศูนย์ จำนวน 113 คน
ผลงาน 113 คน ประกอบด้วย ขอนแก่น 26 คน นครพนม 12 คน บึงกาฬ 8 คน สกลนคร 18 คน หนองคาย
9 คน หนองบัวลำภู 9 คน อุดรธานี 20 คน และเลย 14 คน การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ
จากกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีประจำศูนย์เรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดทำ
บัญชีได้ จำนวน 23 ศูนย์ ปัญหาอุปสรรคพบว่า ครูบัญชีประจำศูนย์มีภาระงานหลายอย่าง ข้อเสนอแนะ
ครูบัญชีในพื้นที่ควรสร้างครูบัญชีเครอื ข่ายในพื้นท่ีให้เพิ่มมากขึ้นและเจ้าหน้าท่ีควรเข้ามาใหค้ ำแนะนำติดตาม
ประเมินผลการทำงานของครูบัญชีให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
อยา่ งตอ่ เน่ืองได้

ศนู ย์เรียนรกู้ ารเพิ่มประสิทธิภาพการผลติ สินค้าเกษตรธาตพุ นม

4. โครงการตามพระราชดำริ

4.1 โครงการสง่ เสริมการจัดทำบญั ชีแกก่ ลุ่มเป้าหมายตามพระราชดำรขิ องในหลวง (ร.10)
เพื่อใหก้ ลุ่มเปา้ หมายสามารถจัดทำบัญชตี น้ ทุนอาชีพได้ จำนวน 117 ราย
การติดตามประเมินผลสมั ฤทธิ์โครงการจากกลมุ่ เป้าหมายที่ได้รบั การฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ

สามารถจัดทำบัญชีได้ และวิเคราะห์บัญชีได้ จำนวน 23 ราย ของโครงการอ่างเก็บน้ำลำพันชาดน้อย หมู่บ้าน
วงั ทอง ตำบลผาสุก อำเภอวงั สามหมอ จังหวัดอุดรธานี

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 69

ถอดบทเรยี นเกษตรกรตัวอย่างโครงการอ่างเก็บน้ำลำพนั ชาดนอ้ ยอันเนอ่ื งมาจากพระราชดำรใิ นหลวง
(นายปรีชา เลศิ ศึกษากุล)

เกษตรกรดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำนาเป็นอาชีพ
ที่ภาคภูมิใจและเป็นอาชีพหลักที่ครอบครัวทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการ
ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น และบริหารจัดการที่ดินที่ตนมีอยู่ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์
สูงสุด โดยทำเกษตรแบบผสมผสานและไม่ใช้สารเคมี มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ (ยางพารา) ปลูกหญ้าเนเปียร์ไว้
เล้ียงวัว และ ไถกลบเปน็ ปยุ๋ เม่ือถึงฤดูกาลทำนา เลย้ี งสัตวไ์ วจ้ ำหนา่ ย (ววั และควาย) ขุดบอ่ เลยี้ งปลา และเล้ียง
ไก่ไข่ไว้บริโภคในครัวเรือนจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม ทำให้ชีวิตครอบครัวไม่ลำบากและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำนาต่างๆ
กับเพื่อนบ้านเสมอ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกหรือการดูแล เพื่อให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ
และไดป้ ริมาณมากขึ้น หรือลดค่าใชจ้ า่ ยในการทำนา

4.2 โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถ่นิ ทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนษิ ฐาธิราชเจ้า
กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เพ่ือใหน้ ักเรยี นได้เรยี นรแู้ ละเขา้ ใจวธิ กี ารจดบนั ทึกบัญชี สำหรับโครงการส่งเสริมสหกรณ์นักเรยี น
ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้หลักประชาธิปไตย และร่วมพัฒนาภูมิปัญญาทางบัญชี เสริมสร้างวินัยทางการเงินให้เกิด
แก่ครอบครัวและสถาบันการศึกษา และสร้างเครือข่ายการจัดการภูมิปัญญาทางบัญชี ระหว่างโรงเรียนและ
นักเรียน จำนวน 73 โรงเรียน 292 ราย

การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายนักเรียนท่ีได้รับการฝึกอบรม
มีความรู้ ความเข้าใจสามารถจัดทำบัญชีได้จำนวน 15 โรงเรียน ปัญหาอุปสรรคพบว่าส่วนใหญ่ครูจะเป็น
ผู้จัดทำรายงานทางการเงิน และนักเรียนจะได้รับมอบหมายให้ทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น
ใบเสร็จรบั เงิน ใบขายสนิ คา้ ใบฝาก - ถอน ในสว่ นการบนั ทึกบญั ชีสมุดบัญชรี ับ - จ่าย และบัญชียอ่ ยต่างๆ เช่น
บญั ชยี ่อยสมาชิกและหุ้น บญั ชีย่อยสะสมยอดซื้อของสมาชิก เปน็ ตน้ การบนั ทึกบญั ชีส่วนมากเป็นปัจจุบันและ
สมบรู ณ์ครบถว้ น ยกเว้นบางโรงเรยี นครูกิจกรรมสหกรณ์มกี ารโยกย้ายทำให้ขาดการต่อเนอ่ื งในการบนั ทกึ บัญชี

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 70

โรงเรยี นบา้ นโนนสะอาดหว้ ยตะกวั่ วิทยา จ.ขอนแก่น

โรงเรียนบ้านกุดหว้า จ.ขอนแก่น
4.3 โครงการสง่ เสริมการเรียนรดู้ ้านบัญชใี นพน้ื ท่ศี ูนยเ์ รยี นรู้เศรษฐกจิ พอเพยี งชุมชน

เพอื่ ใหก้ ลุ่มเปา้ หมายสามารถจดั ทำบัญชตี น้ ทนุ อาชีพได้ จำนวน 262 ราย
การตดิ ตามประเมนิ ผลสัมฤทธโ์ิ ครงการ จากกลมุ่ เปา้ หมายไดร้ ับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ
สามารถจัดทำบัญชีได้ และวิเคราะห์บัญชีได้ จำนวน 52 ราย โครงการบูรณาการตามพระราชดำริ โครงการ
พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ จำนวน 20 ราย และโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน ลุ่มน้ำหมัน
อำเภอด่านซา้ ย จำนวน 32 ราย ในพื้นที่จังหวดั เลย

1. ถอดบทเรยี นเกษตรกรตวั อยา่ งโครงการสง่ เสริมการเรยี นร้ดู า้ นบญั ชีในพ้ืนท่ศี ูนยเ์ รยี นรู้
เศรษฐกิจพอเพียงในชมุ ชน (ปศสุ ตั ว์) จงั หวดั เลย (เลย้ี งเป็ด นางมาลัย ยศพิมพ์)

เกษตรกร เม่อื พ.ศ.2550 เริ่มต้นจากพ่อและแม่พาประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ด จำนวน 50 ตวั เพื่อมี
รายได้เลี้ยงครอบครัว มีทั้งขาดทุนและได้กำไรแล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าปีใดประสบปัญหา มีโรคระบาดหรือ
เศรษฐกิจไม่ดีทำให้เป็ดและไข่เป็ด ไม่ค่อยมีราคา แต่ถ้าปีใดสภาพแวดล้อมดีเศรษฐกิจอำนวย เป็ดและไข่เป็ด
จะมีราคาขึ้นมามาก ทำให้มีรายได้มีเงินออมไว้ใช้ในครอบครัวยามจำเป็น ไม่ได้บันทึกบัญชี ได้เริ่มจดบันทึก

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 71

บัญชีรับ – จ่าย ในครัวเรือนไว้ในสมุดธรรมดาจดได้สักระยะหนึ่งก็เลิกเนื่องจากรายจ่ายในครัวเรือนมีมาก
ต่อมาสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เลย ได้เข้ามาร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เพื่อสอนแนะนำการจดั ทำบญั ชรี ับ - จ่ายในครวั เรือน รวมไปถึงบัญชตี ้นทุนประกอบอาชพี เกษตรกรจึง
ไดเ้ รม่ิ การจดบนั ทึกรับ - จา่ ยในครัวเรอื น ในรปู แบบสมุดบญั ชีของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2563 ได้ขยายพื้นที่เลี้ยงเป็ด และได้ซื้อเป็ดเข้ามาเพิ่ม จำนวน 30 ตัว เลี้ยงได้
ประมาณ 1 เดือน ก็เกิดปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี มีโรคระบาด ทำให้ราคาไข่เป็ดลดลงจากนั้น มีหน่วยงานจาก
โครงการปศุสัตว์ตามพระราชดำริ เข้ามาส่งเสริมการจัดทำกลุ่ม จึงสมัครใจเข้าร่วมโครงการเพื่อขอรับปัจจัย
การผลิต และองค์ความรู้ต่างๆ จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการบันทึก
บัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และการประกอบอาชีพ ทำให้รู้รายรับ-รายจา่ ย มีคุณภาพชีวติ ท่ีดี มีกินมีใช้ อยู่แบบ
พอเพียง ลดหนี้สินลงทุกๆ ปี การเลี้ยงเป็ด สามารถช่วยสร้างผลผลิตสร้างรายได้ให้แบบระยะยาว สามารถ
พงึ่ พาตวั เองไดอ้ ยา่ งย่งั ยนื

2. ถอดบทเรยี นเกษตรกรตวั อย่างโครงการสง่ เสริมการเรยี นรู้ดา้ นบัญชีในพน้ื ท่ีศูนยเ์ รยี นร้เู ศรษฐกจิ
พอเพยี งในชมุ ชน (รกั ษ์น้ำเพื่อพระแมฯ่ ) จงั หวดั เลย (เกษตรผสมผสานปลูกยางพารา นางเกสร สิงขรณ์)

เกษตรกรไม่อยากเป็นลูกจ้างใครและไม่อยากจากบ้านเกิดไปทำงานในเมือง จึงมีความคิด
ที่อยากจะทำอาชีพการเกษตร จึงสมัครใจเข้าร่วมโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินร่วมกันกับสมาชิก
ในชุมชนเพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรภายในกลุ่มตัวเอง โดยได้รับการสนับสนุ น
จากหนว่ ยงานราชการท่เี ก่ียวขอ้ งในการพัฒนาองค์ความร้ตู า่ งๆ จนพบกบั ความสขุ ท่ีเป็นเป้าหมายของชีวิต

เริ่มแรกได้จดบันทึกบัญชีบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไว้สมุดของตัวเองเพื่อบันทึกรายการต่างๆ ต่อมา
ได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เลย มาอบรมโครงการรักษ์น้ำเพ่ือพระแม่ของแผ่นดิน จึงได้มา
เข้าร่วมอบรมกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เลย ในเรื่องการบันทึกบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน รวมไปถึง
บัญชีต้นทุนประกอบอาชีพและการวิเคราะห์ต้นทุนประกอบอาชีพ ฝึกปฏิบัติมาเรื่อยๆ จนสามารถบันทึกบัญชี
ต้นทุนประกอบอาชีพและวิเคราะห์ต้นทุนประกอบอาชีพได้ สามารถปรับใช้กับการประกอบอาชีพตนเองได้
ทำให้ทราบว่าคา่ ใช้จ่ายในการปลูกยางพารา ลดต้นทนุ การผลติ โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์/เคมี และ
ผลติ น้ำหมักชวี ภาพ มรี ายได้มากกว่ารายจ่าย

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 72

4.4 โครงการพัฒนากลุม่ อาชพี ประชาชน ตามพระราชดำริ สมเดจ็ พระกนษิ ฐาธริ าชเจา้ กรมสมเดจ็
พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี

เพือ่ ให้คณะกรรมการกลมุ่ /ผู้ทำบญั ชไี ดเ้ รียนร้แู ละเข้าใจวธิ ีการจดบนั ทึกบัญชี สามารถจัดทำ
บัญชกี ลมุ่ อาชีพได้และนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ได้ จำนวน 28 กล่มุ

การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ กลุ่มอาชีพฯจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฝึกอบรม
มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชีได้ 4 กลุ่ม 8 ราย พบว่าคณะกรรมการกลุ่มและผู้จัดทำบัญชี
ให้กลุ่มอาชีพยังไม่ค่อยเข้าใจในการบันทึกบัญชี ควรเข้าสอนแนะคณะกรรมการกลุ่มและผู้จัดทำบัญชี
ให้สามารถปดิ งบประจำปใี ห้กลุ่มอาชพี ได้

กล่มุ อาชพี สหกรณบ์ ้านวงั แสง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น

4.5 โครงการศนู ย์ศึกษาพฒั นาอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ
เพอื่ ให้กลมุ่ เปา้ หมายสามารถจัดทำบญั ชตี น้ ทุนประกอบอาชพี ได้ จำนวน 428 ราย
การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการ จากกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกอบรมมีความรู้

ความเข้าใจ สามารถจดั ทำบัญชีได้ และวิเคราะหบ์ ญั ชไี ด้ จำนวน 86 ราย

4.6 โครงการศิลปาชีพ
เพื่อใหก้ ลุ่มเป้าหมายสามารถจัดทำบัญชตี ้นทนุ ประกอบอาชีพได้ จำนวน 449 ราย
การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ จากกลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกอบรมมีความรู้

ความเข้าใจ สามารถจัดทำบัญชีได้ และวิเคราะห์บัญชีได้ จำนวน 95 ราย พบว่าเกษตรกรบางส่วนอายุมาก
เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก ไม่เห็นประโยชน์จากการบันทึกบัญชี ทำให้ไม่อยากจดบันทึกบัญชี
ครูบัญชีควรเข้าสอนแนะอย่างต่อเนื่องที่บ้านของเกษตรกรโดยตรง และสร้างเครือข่ายครูบัญชีในพื้นที่
ใหม้ ากขึ้น

เกษตรกรในโครงการสง่ เสริมศิลปาชพี บา้ นโสกส้มกก อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น 73

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

1. ถอดบทเรียนเกษตรกรตัวอย่างโครงการศลิ ปาชีพ จังหวัดขอนแกน่
(เกษตรแบบผสมผสาน นางอาริสา จวบสุข)

เป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรตามแบบอย่างที่พ่อแม่พาทำ ซง่ึ เปน็ การทำเกษตรเชิงเดีย่ วโดยการปลูก
ออ้ ยเพยี งอยา่ งเดียว ซงึ่ มีพน้ื ที่บางส่วนท่ีปลกู อ้อยแล้วใหผ้ ลผลติ ไมด่ ี ตอ้ งมีการบำรงุ ใสป่ ุย๋ มากกว่าสว่ นอื่น แต่ก็
ยังไม่ดีขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายและต้นทุนสูง ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ประกอบกับพื้นที่ทั้งหมดปลูก
อ้อยอย่างเดียว เมื่อหมดฤดูทำอ้อยก็ไม่ได้ทำกิจกรรมอื่น จึงไม่มีรายได้เพิ่มแต่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกวัน ดังน้ัน
จึงเริ่มคิดปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรจากการปลูกพืชเชงิ เด่ียวเข้าสูก่ ารทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยแบ่ง
พื้นที่จำนวน 1 ไร่ เพื่อทำนาไว้บริโภคในครัวเรือน ปลูกอ้อย จำนวน 10 ไร่ และแบ่งพื้นที่ที่ปลูกอ้อยไม่ได้ผล
เป็นปลูกมะขาม จำนวน 1 ไร่ 30 ต้น ซึ่งระหว่างแปลงมะขามก็ปลูกมันสำปะหลังอีกด้วย รวมทั้งขุดบ่อเลี้ยง
ปลาและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตร อีก 1 ไร่ ทำทุกอย่างแบบพอเพียง และให้คุ้มค่าเกิด
ประโยชน์มากที่สุด และสามารถให้ผลผลิตและจำหน่ายสร้างรายได้ตลอดทั้งปี โดยใช้แนวทางการเกษตรแบบ
พอเพียง คือ ทำตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้หลักการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมให้มีกิจกรรม
ตลอดท้ังปี เพื่อใหม้ ีรายไดต้ ลอดปี

หลังจากที่เข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ
ในโครงการศิลปาชีพ ได้เริ่มบันทึกบัญชีในสมุดบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนและต้นทุนประกอบอาชีพ แต่การ
จดบันทึกไม่ต่อเนื่อง สมุดบัญชีก็หาย เนื่องจากไม่เห็นสำคัญและประโยชน์จากการจดบันทึก แต่เมื่อได้รับ
คำแนะนำจากเจา้ หน้าทีเ่ พิ่มเติม สอนแนะนำวิธกี ารบันทกึ และวิธกี ารนำไปใช้ประโยชน์ จงึ เร่ิมกลับมาจดบนั ทึก
ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้รู้รายรับ-รายจ่ายและต้นทุนที่แท้จริงของตนเอง หลังจากที่จดบันทึกใหม่อีกครั้งจึงเห็นว่า
มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็นและต้นทุนในการทำเกษตรที่สูงมาก คือต้นทุนที่เป็นค่าแรงงาน ดังนั้น
จงึ มีการลดการจา้ งแรงงานโดยใชแ้ รงงานตนเองและคนใครอบครัว เชน่ คา่ แรงตดั หญ้า ค่าแรงพ่นยา เป็นตน้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 74

2. ถอดบทเรียนเกษตรกรตวั อยา่ งโครงการศลิ ปาชีพ จังหวดั สกลนคร
(การทอผ้าไหม นางมารจุ โพสาราช)

นางมารจุ โพสาราช สมาชิกศูนย์ศลิ ปาชพี บา้ นกุดนาขาม อ.เจริญศลิ ป์ จ.สกลนคร มตี ำแหน่งเป็น
ประธานกลุ่มทอผ้าไหมบา้ นกุดนาขาม เร่มิ ตน้ ทอผา้ มาตงั้ แต่ปี พ.ศ.2535 และมโี อกาสไดเ้ ขา้ รับการอบรมสอน
แนะการจัดทำบัญชีภายใต้โครงการศิลปาชีพ ครั้งแรกปี พ.ศ.2562 จัดอบรมโดยสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์
สกลนคร ณ ศนู ย์ศลิ ปาชีพบ้านกดุ ขาม อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร หลงั จากไดเ้ ขา้ รับการอบรมสอนแนะการจัดทำ
บัญชีแล้ว ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการบันทึกบัญชี จึงมีความสนใจและตั้งใจที่จะบันทึกบัญชี
โดยมเี หตุผลที่ว่าอยากรู้รายรบั -รายจา่ ยในครวั เรือน เนอ่ื งจากมีรายรบั ไมเ่ พยี งพอตอ่ รายจ่าย จงึ เรมิ่ บันทกึ บัญชี
หลังจากบันทึกบัญชีผ่านไประยะหนึ่งทำให้รายได้ที่เข้ามาสู่ครอบครัวและรายจ่ายที่จ่ายไป โดยมีทั้งรายจ่าย
ที่จำเป็นและรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หลังจากนั้นจึงบริหารจัดการกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลดน้อยลง จึงทำให้
เกิดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายในครอบครัว รวมถึงมีเงินเหลือเฟือเพื่อเก็บออมและนำไปสู่
การบันทึกบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ ทำให้รู้ว่าตนเองมีต้นทุนในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดและ
สามารถนำข้อมูลต้นทุนการผลิตทั้งสิ้นไปใช้ในการกำหนดราคาขายของผ้าไหมที่ผลิตได้ ทำให้ทราบกำไร
ขาดทนุ จากการทอผา้ ไหมและสามารถวางแผนการผลิตให้เพ่ิมมากขนึ้ อีกด้วย

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 75

3. ถอดบทเรียนเกษตรกรตวั อยา่ งโครงการศิลปาชีพ จงั หวัดบึงกาฬ
(เกษตรกรรมแบบอนิ ทรีย์ นายเพ็งใจ นาโควงศ์)

นายเพ็งใจ นาโควงศ์ สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านโชคอำนวย อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ เริ่มต้นทำ
นามาตั้งแต่ปี 2547 และมีโอกาสเข้ารับการอบรมสอนแนะการจัดทำบัญชีภายใต้โครงการศิลปาชีพ ครั้งแรก
ปี 2561 โดยสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณบ์ ึงกาฬ ณ บ้านบัวโคกใหม่ ต.โพธ์ิหมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
หลังจากได้รับการอบรมสอนแนะการจัดทำบัญชีแล้ว ได้เห็นความสำคัญของการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่าย
ในครัวเรือนและบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ เนื่องจากที่ผ่านมามีรายรับไม่เพียงพอต่อรายจ่ายโดยมีครูบัญชี
อาสาแนะนำใหเ้ ขา้ ร่วมโครงการศิลปาชีพ เพือ่ เข้ารับการอบรมบญั ชีรบั -จ่ายในครวั เรอื น จึงทำใหไ้ ดบ้ ันทึกบัญชี
รับจ่ายในครัวเรือนอย่างจริงจัง พอได้บันทึกบัญชีได้ระยะหนึ่ง จึงทำให้เห็นประโยชน์ของการจดบันทึกบัญชี
และสามารถรับรู้รายรบั รู้รายจ่ายทำให้รู้จักลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง รวมถึงสามารถนำข้อมูลต้นทนุ ประกอบ
อาชีพ ทำให้รู้วา่ ตนเองมีตน้ ทุนในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เพม่ิ รายไดป้ รบั เปลี่ยนวธิ ีการผลติ

4. ถอดบทเรียนเกษตรกรตัวอยา่ งโครงการศิลปาชีพ จังหวดั เลย
(ทอผา้ ไหม นางยพุ า ดงพระจนั ทร์)

จุดเริ่มต้นเห็นแมท่ อผา้ ไหมมาตั้งแต่เด็กและได้ช่วยแม่ปลุกหมอ่ นเล้ียงไหม สาวไหม ช่วยแม่ที่ยดึ
อาชีพทอผ้าไหม โดยทำควบคู่กับอาชีพปลูกยางพารา ปลูกมันสำปะหลังมาโดยตลอด ประกอบกับเมื่อปี
พ.ศ.2544 อ.เอราวัณ มีกลุ่มทอผ้าไหมเกิดขึ้นคือ กลุ่มทอผ้าไหม บ้านหนองน้ำใส โดยได้รับการสนับสนุนจาก
องค์การบริหารส่วนตำบลผาอินทร์แปลง เพื่อส่งเสริมการทอผ้าไหม โดยซื้ออุปกรณ์ให้ทางกลุ่มฯ และ
ได้รับมอบอุปกรณ์การทอผ้าไหม จำนวน 1 ชุด ซึ่งตนเองได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย ได้รับการสอนแนะ
จากวิทยากรกรมหม่อมไหม โดยการสอนวิธีการย้อมสี มัดหมี่ เพ่ือให้ได้คุณภาพผ้าไหม มีคุณภาพดีเป็นท่ี
ตอ้ งการของตลาดทำให้มรี ายได้เข้ามาใชจ้ ่ายในครอบครวั แต่ยงั ไม่รตู้ น้ ทนุ การทอผา้ ไหม จำนวนเทา่ ไรและกำไร
จริงหลังหักต้นทุนแล้วเหลือจำนวนเท่าไร ปัจจุบันการทอผ้าไหม โดยทำในช่วงเวลาที่ว่างจากการทำอาชีพ
เกษตร ปัจจุบันไม่ได้เลี้ยงไหม หรือสาวไหมเอง จะซื้อเส้นไหมสำเร็จรูปนำมาย้อมเพื่อทอผ้าไหม โดยเลือก
เส้นไหมที่ย้อมธรรมชาติ และการจำหน่ายบางครั้งจะขายเอง ในราคาเมตรละ 1,500.00 บาท หรือนำไป

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 76

รวบรวมไว้ที่กลุ่มทอผ้า บ้านหนองน้ำใส เมื่อมีกิจกรรมออกร้านค้าโอทอป ทางกลุ่มทอผ้าบ้านหนองน้ำใส
จะนำไปจำหน่ายและนำเงินมาให้จนถึงปี พ.ศ.2563 ได้เข้าร่วมโครงการศิลปาชีพโครงการพัฒนาพื้นท่ี
เพื่อเทิดพระเกียรติบ้านผานาง- ผาเกิ้ง อ.เอราวัณ ได้รับการสอนแนะให้มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ในครัวเรือน และการคิดกำไรขาดทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้รู้วา่ การจัดทำบัญชรี ับ-จ่ายในครัวเรือนแตล่ ะเดอื น
หรือใน 1 ปี มีรายรับ-รายจ่ายเกิดขึ้นเท่าไร มีเงินสดแต่ละวันเท่าไร จึงได้บันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ในครัวเรือนและบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและ
การลงทุนประกอบอาชีพในครั้งตอ่ ไป

4.7 โครงการคลินกิ เกษตรเคลือ่ นทใ่ี นพระราชานเุ คราะห์

เพอื่ ให้คำปรกึ ษาแนะนำแก้ไขปัญหาด้านบัญชแี กผ่ ู้รบั บริการ และกระตุ้นให้ผ้รู ับบรกิ ารมีความ
สนใจ การจัดทำบญั ชีรบั – จา่ ยในครวั เรอื น และบญั ชีต้นทุนประกอบอาชีพ

กจิ กรรม แผนงาน ผลงาน รอ้ ยละ
- จดั นทิ รรศการคลินิกเกษตรเคลอ่ื นท่ี 32 30 93.75
- จดั นิทรรศการจังหวดั เคล่ือนที่ 64 47 73.44
96 77 80.21
รวม

เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิค 19 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นทไ่ี มส่ ามารถ
จดั กิจกรรมได้ตามเปา้ หมายที่กำหนดไว้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 77

งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564

หนว่ ยงาน งบบุคลากร งบดำเนินงาน

ได้รับ ใช้ไป รอ้ ยละ ไดร้ บั ใช้ไป ร้อยละ

สตท.5 1,887,240.00 1,887,240.00 100 4,787,940.00 4,787,940.00 100

ขอนแกน่ 7,392,720.00 7,392,720.00 100 5,885,400.00 5,885,400.00 100

นครพนม 3,712,440.00 3,712,440.00 100 3,245,980.00 3,245,980.00 100

บึงกาฬ 2,377,200.00 2,377,200.00 100 2,206,610.00 2,206,610.00 100

สกลนคร 5,043,120.00 5,043,120.00 100 3,648,080.00 3,648,080.00 100

หนองคาย 2,624,400.00 2,624,400.00 100 2,257,630.00 2,257,630.00 100

หนองบวั ลำภู 2,230,680.00 2,230,680.00 100 2,059,170.00 2,059,170.00 100

อุดรธานี 5,348,040.00 5,348,040.00 100 3,608,130.00 3,608,130.00 100

เลย 3,985,680.00 3,985,680.00 100 2,854,250.00 2,854,250.00 100

รวม 34,601,520.00 34,601,520.00 100 30,553,190.00 30,553,190.00 100

หน่วยงาน งบลงทนุ รวมท้ังสนิ้

สตท.5 ไดร้ บั ใช้ไป รอ้ ยละ ไดร้ บั ใช้ไป ร้อยละ
ขอนแก่น
นครพนม 3,088,900.00 3,088,900.00 100 9,764,080.00 9,764,080.00 100
บงึ กาฬ
สกลนคร 38,500.00 38,500.00 100 13,316,620.00 13,316,620.00 100
หนองคาย
หนองบวั ลำภู 38,500.00 38,500.00 100 6,996,920.00 6,996,920.00 100
อดุ รธานี
เลย 5,670,000.00 1,417,500.00 25.00 10,253,810.00 6,001,310.00 58.53

รวม 38,500.00 38,500.00 100 8,729,700.00 8,729,700.00 100

77,000.00 77,000.00 100 4,959,030.00 4,959,030.00 100

4,289,850.00 4,289,850.00 100

8,956,170.00 8,956,170.00 100

6,839,930.00 6,839,930.00 100

8,951,400.00 4,698,900.00 52.49 74,106,110.00 69,853,610.00 94.26

หมายเหตุ :- สตส.บงึ กาฬ ไดร้ ับงบประมาณท้งั ส้นิ 6,316,000.00 บาท ส่งคืน 646,000.00 บาท คงเหลือ
งบประมาณ 5,670,000.00 บาท สามารถเบกิ จา่ ยได้ 1,417,500.00 บาท

งบลงทุน งบบุคลากร
12% 47%

งบดาเนนิ งาน
41%

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 78

ภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณแ์ ละกลมุ่ เกษตรกร

สภาพท่ัวไป

สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 มีจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด ประกอบด้วย ขอนแก่น
นครพนม บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี และเลย ในปี 2564 มีสหกรณ์และ
กลมุ่ เกษตรกรทต่ี รวจสอบบญั ชี โดยผูส้ อบบัญชภี าครฐั 884 แห่ง และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภาคเอกชน 58
แห่ง รวมทั้งสิ้น 942 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 44 แห่ง หรือร้อยละ 4.89 แยกเป็น สหกรณ์ภาคเกษตร
ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร 364 แห่ง สหกรณ์นิคม 2 แห่ง และสหกรณ์ประมง 2 แห่ง สหกรณ์นอก
ภาคเกษตร ซง่ึ ประกอบด้วย สหกรณ์ร้านค้า 8 แหง่ สหกรณ์บรกิ าร 46 แหง่ สหกรณ์ออมทรัพย์ 85 แห่ง และ
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 41 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 398 แห่ง ภายใต้การรวมตัวของสมาชิกทั้งสิ้น 1,130,611
คน เพ่มิ ขนึ้ จากปีก่อน 16,140 คน หรือรอ้ ยละ 1.44 แยกเปน็ สหกรณภ์ าคเกษตร 832,518 คน สหกรณ์นอก
ภาคเกษตร 253,195 คน และกลุ่มเกษตรกร 44,898 คน

ตารางแสดงจำนวนของสหกรณแ์ ละสหกรณ์

ประเภทสหกรณ์ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสมาชิก(คน)

สหกรณภ์ าคเกษตร 364 832,518

เกษตร 360 825,615

ประมง 2 376

นิคม 2 6,527

สหกรณ์นอกภาคเกษตร 180 253,195

ร้านค้า 8 2,899

บรกิ าร 46 13,030

ออมทรพั ย์ 85 175,949

เครดติ ยูเน่ยี น 41 61,317

กลุ่มเกษตรกร 398 44,898

ท้งั ส้ิน 942 1,130,611

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 79

ภาวะเศรษฐกจิ ทางการเงนิ (Camels Analysis)

ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (Capital Strength)

ปี 2564 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 942 แห่ง มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 217,889.59 ล้านบาท
เพม่ิ ข้นึ จากปกี ่อน 12,170.63 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 5.92 แยกเปน็ ภาคเกษตร 26,084.11 ลา้ นบาท นอกภาค
เกษตร 191,582.92 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกร 222.56 ล้านบาท ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากแหล่ง
เงินทุนภายใน 140,841.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 64.64 ประกอบด้วย ทุนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
100,650.26 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 46.19 และเงินรบั ฝากจากสมาชกิ 40,191.52 ล้านบาท หรือรอ้ ยละ 18.45
ส่วนที่เหลืออีก 77,047.81 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.36 มาจากแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งได้มาจากการกู้ยืม
63,177.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.00 เงินรับฝากอื่น 10,675.10 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.90 หนี้สินอ่ืน
3,015.17 ลา้ นบาท หรือรอ้ ยละ 1.38 และเครดติ ทางการค้า 179,96 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 0.08

ในภาพรวม ปี 2564 แหล่งที่มาของเงินทุนดำเนินงานได้มาจากการก่อหน้ีรวม 117,239.33
ล้านบาท หรือร้อยละ 53.81 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,845.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.31 (สหกรณ์ 3 อันดับที่มี
หนี้สินสูงสุดได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ร้อยละ 44.58 สหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 8.00 และสหกรณ์เครดิตยู
เนี่ยน ร้อยละ 0.70) และจากส่วนทุนของเจ้าของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรรวม 100,650.26 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 46.19เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7,325.07 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.85 (สหกรณ์ 3 อันดับที่มีทุนของสหกรณ์
สูงสุดได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ร้อยละ 41.59 สหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 3.75 และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ร้อยละ 0.69) โดยมาจากการกอ่ หน้ีมากกว่าจากทนุ ของสหกรณ์ ดา้ นความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงอยู่
ในสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.16 เท่า ปีก่อน 1.20 เท่า แสดงให้เห็นว่าทุนของ
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถรองรับหนี้สินได้ทั้งจำนวน เนื่องจากหนี้สินส่วนใหญ่ เป็นเงินกู้ยืม
63,177.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.00 ของทุนดำเนนิ งาน ลดลงจากปกี ่อน 2,117.54 ล้านบาท หรือร้อยละ
3.24 (สหกรณ์ 3 อันดับที่มีเงินกูย้ ืมสูงสุดไดแ้ ก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ร้อยละ 24.24 สหกรณ์การเกษตร ร้อยละ
4.21 และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ร้อยละ 0.26) และเงินรับฝาก ร้อยละ 23.34 ของทุนดำเนินงาน เพ่ิมขึ้น
จากปีก่อน 6,665.60 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.08 (รับฝากจากสมาชิก 40,191.52 ล้านบาท หรือร้อยละ
18.44 เพิ่มข้นึ จากปีก่อน 4,886.68 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 13.84 และอ่ืน ๆ 10,675.10 ลา้ นบาท หรือร้อยละ
4.90 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,778.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.00)และทุนของสหกรณ์สว่ นใหญ่เปน็ ทุนเรือนหุ้น
81,126.87 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.23 ของทุนดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,115.00 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 5.34 โดยว่าแหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมาจากส่วนของเจ้าของสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรเองถึงร้อยละ 46.19 ของทุนดำเนินงานทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเงินทุนที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที ดังนั้น
ทุนท่ีเหลอื อย่ยู งั ไม่สามารถคุ้มครองการจา่ ยชำระหนีภ้ ายนอกได้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 80

หากวิเคราะห์ด้านหนี้สินเปรียบเทียบกับทุนของสหกรณ์ พบว่า มีการเติบโตของทุนของสหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกรมากกว่าการเติบโตของหนี้สิน โดยทุนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเติบโตเพิ่มขึ้น
จากปีก่อน ร้อยละ 7.85 และหนี้สินลดลงจาก ปีก่อน ร้อยละ 4.31 ปีก่อน 4.97 มีผลตอบแทนต่อส่วนของทนุ
รอ้ ยละ 7.08 ปกี อ่ น 7.67 อยา่ งไรก็ตาม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควรพิจารณาด้านเงินรับฝากจากสมาชิกให้
อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากเงินรับฝากที่มีเงื่อนไขถอนเมื่อใดก็ได้ หากมีสมาชิกมาถอนเงินจำนวนมาก
พร้อมกัน ดังนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควรติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการวางแผน
ไว้ล่วงหนา้ หากเกดิ วิกฤตหรือสมาชกิ เกดิ ความไมม่ นั่ ใจในการบริหารงานของสหกรณ์

ตารางแสดงทนุ ดำเนนิ งานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (หน่วย : ล้านบาท)

ทนุ ภายใน ทุนภายนอก รวมทนุ
ดำเนินงาน
ประเภท เงินรบั ฝาก ทุนของ รวมทุน เงินรับฝากอนื่ เครตติ เงนิ กู้ยมื อื่น ๆ รวมทุน
จากสมาชิก สหกรณ์ ภายใน ทาง ภายนอก ท้ังสิ้น
สหกรณเ์ กษตร การคา้
5,716.33 25,609.68
8,173.19 13,889.52 1,104.54 177.29 9,167.88 1,270.45 11,720.16

สหกรณ์ประมง 0.17 2.60 2.77 - - 2.50 0.13 2.63 5.40

สหกรณน์ คิ ม 23.11 92.68 115.79 26.14 0.11 314.80 12.19 353.24 469.03

รวมภาคเกษตร 5,739.61 8,268.47 14,008.08 1,130.68 177.40 9,485.18 1,282.77 12,076.03 26,084.11

สหกรณร์ ้านคา้ 0.00 28.80 28.80 2.00 0.17 2.49 2.96 7.62 36.42

สหกรณ์บริการ 30.32 103.22 133.54 307.90 0.49 251.79 75.12 635.30 768.84

สหกรณ์ออมทรัพย์ 33,552.64 90,628.00 124,180.64 9,186.92 - 52,808.69 1,580.05 63,575.66 187,756.30

สหกรณเ์ ครดติ ยูเนย่ี น 864.67 1,497.94 2,362.61 47.50 - 566.92 44.33 658.75 3,021.36

รวมนอกภาคเกษตร 34,447.63 92,257.96 126,705.59 9,544.32 0.66 53,629.89 1,702.46 64,877.33 191,582.92

กลุ่มเกษตรกร 4.28 123.83 128.11 0.10 1.90 62.51 29.94 94.45 222.56

รวมทั้งสนิ้ 40,191.52 100,650.26 140,841.77 10,675.10 179.96 63,177.58 3,015.17 77,047.81 217,889.59

ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (Capital Strength) วิเคราะห์สหกรณ์ 3 อันดับ
ที่มที ุนดำเนินงานสูงสดุ ได้แก่ สหกรณอ์ อมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์เครดิตยูเนยี่ น ดังตอ่ ไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 82 แห่ง มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 187,756.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก

ปีก่อน 11,153.88 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.32 ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากแหล่งภายใน 124,180.64
ล้านบาท หรือร้อยละ 66.14 ประกอบด้วย ทุนของสหกรณ์ 90,628.00 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.27 และ
เงินรับฝากจากสมาชิก 33,552.64 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.87 ส่วนที่เหลืออีก 63,575.66 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 33.86 มาจากแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งได้มาจากการกู้ยืม 52,808.69 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.13
เงนิ รบั ฝากอืน่ 9,186.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.89 และหน้ีสนิ อ่ืน 1,580.05 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 0.84

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 81

แหล่งที่มาของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ ปี 2564 มาจากการก่อหนี้ (หนี้สิน 97,128.30 บาท
หรือร้อยละ 51.73 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,245.87 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.57) และทุนของสหกรณ์ 90,628.00
ลา้ นบาท หรือร้อยละ 48.26 เพมิ่ ขึน้ จากปกี ่อน 6,908.02 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 8.25 ในสัดสว่ นท่ีใกล้เคียงกัน
เกือบครง่ึ ต่อคร่ึง (อตั ราสว่ นหน้สี นิ ตอ่ ทนุ 1.07 เทา่ ปกี ่อน 1.12 เท่า) หากวิเคราะหต์ ามอัตราส่วนหนี้สินตอ่ ทุน
แสดงว่าสหกรณ์ออมทรัพย์มีทุนที่สามารถคุ้มครองหนี้ได้พอสมควร แต่หากวิเคราะห์แยกส่วนประกอบ ของ
หนี้สินและทุน พบว่าหนี้สินส่วนใหญ่ เป็นกู้ยืม 52,808.69 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.13 ของทุนดำเนินงาน
ลดลงจากปีก่อน 1,756.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.22 และเงินรับฝาก 42,739.56 ล้านบาท ร้อยละ 22.76
ของทุนดำเนินงาน (รับฝากจากสมาชิก 33,552.64 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.87 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4,044.03
ลา้ นบาท หรือร้อยละ13.70 และรับฝากอื่น 9,186.92 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 4.89 เพ่มิ ขน้ึ จากปกี อ่ น 1,921.72
ล้านบาท หรือร้อยละ 26.45) และทุนของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นทุนเรือนหุน้ 73,255.30 ล้านบาท หรือร้อยละ
39.02 ของทุนดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,760.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 50.41 โดยว่าแหล่งที่มาของ
เงินทนุ สหกรณอ์ อมทรัพยม์ าจากสว่ นของเจ้าของสหกรณเ์ องถึงร้อยละ 56.89 ของทนุ ดำเนนิ งานทัง้ สิ้น ซึ่งเป็น
เงินทุนท่ไี ม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที ดังนนั้ ทนุ ท่เี หลืออย่ยู ังไม่สามารถคุ้มครองการจ่ายชำระหนี้ภายนอกได้

สหกรณ์การเกษตร จำนวน 360 แห่ง มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 25,609.68 ล้านบาท เพิ่มข้ึน

จากปีก่อน 1,290.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.31 ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากแหล่งเงินทุนภายใน
13,889.52 ลา้ นบาท หรอื รอ้ ยละ 54.23 ประกอบด้วย ทุนของสหกรณ์ 8,173.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.91
และเงินรับฝากจากสมาชิก 5,716.33 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.32 ส่วนท่เี หลืออีก 11,720.16 ลา้ นบาท หรือ
ร้อยละ 45.77 มาจากแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งได้มาจากการกู้ยืม 9,167.88 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.80
เงินรับฝากอื่น 1,104.54 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4.31 หนี้สินอื่น 1,270.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.96 และ
เครดิตทางการคา้ 177.40 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 0.70

ในปี 2564 การก่อหนี้ของสหกรณ์การเกษตร สูงถึงร้อยละ 68.08 ส่วนใหญ่มาจากเงินกู้ยืม
9,167.88 ล้านบาท ร้อยละ 35.80 ลดลงจากปีก่อน 137.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.48 และเงินรับฝาก
6,820.87 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.63 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 755.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.45 (รับฝากจาก
สมาชิก 5,716.33 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.00 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 758.34 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.30 และ
เงินรับฝากอน่ื ๆ หรือร้อยละ 4.34 ลดลงจากปีก่อน 3.21 ล้านบาท หรือรอ้ ยละ 0.29)

เมื่อพิจารณาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ที่สูงถึง 2.15 เท่า เท่ากับปีก่อน ซึ่งหมายถึง ความเพียงพอ
ของเงินทุนในการชำระหนี้สินของสหกรณ์ภาคเกษตร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอัตราส่วนทุนหมุนเวียน เท่ากับ 1.16 เท่า ปีก่อน 1.17 เห็นได้ว่า สหกรณ์
การเกษตรไม่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ระยะสั้น และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี อีกทั้งหนี้สินส่วนหนึ่งมา
จากเงนิ รับฝาก ซึ่งเปน็ แหล่งเงนิ ทุนท่ีดีกวา่ แหล่งเงินก้ยู ืมจากภายนอกเกิดความเส่ียงกต็ ่อเม่ือสหกรณ์จะต้องใช้
คนื ในอนาคตหรอื หากสมาชิกมาถอนคนื จำนวนมาก

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 82

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 41 แห่ง มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 3,021.36 ล้านบาท ลดลงจาก

ปีก่อน 211.07 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.53 ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากแหล่งเงินทุนภายใน 2,362.61
ล้านบาท หรือร้อยละ 78.20 ประกอบด้วย ทุนของสหกรณ์ 1,497.94 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.58 และ
เงินรับฝากจากสมาชิก 864.67 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.62 ส่วนที่เหลืออีก 658.75 ล้านบาท หรือร้อยละ
21.80 มาจาก แหล่งเงินทนุ ภายนอก ซง่ึ ได้มาจากการกูย้ ืม 566.92 ลา้ นบาท หรอื ร้อยละ 18.76 เงินรับฝากอ่ืน
47.50 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1.57 และหนี้สินอื่น 44.33 ล้านบาท หรือรอ้ ยละ 1.47

เมื่อพิจารณาการบริหารเงินทุนของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จะเห็นว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1.02 เท่า ปีก่อน 1.16 เท่า แสดงว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีทุนที่สามารถ
คุม้ ครองหนีไ้ ด้พอสมควร แตห่ ากวเิ คราะหแ์ ยกสว่ นประกอบ ของหน้ีสนิ และทุน พบวา่ หน้สี นิ สว่ นใหญ่ เป็นเงิน
รับฝากจากสมาชิก 864.67 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.62 ของทุนดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 82.32
ล้านบาท หรือร้อยละ 10.52 ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีกว่าเงินกู้ยืมจากภายนอก เกิดความเส่ียงก็ต่อเม่ือสหกรณ์
จะต้องใช้คืนในอนาคตหรือหากสมาชิกมาถอนคืนจำนวนมาก อีกทั้ง สหกรณ์ต้องรับภาระดอกเบี้ยจ่ายเงินรับ
ฝากเพมิ่ ขนึ้ ซ่ึงอาจสง่ ผลต่อกำไรทีอ่ าจจะลดลงตามไปดว้ ย ดงั น้ัน สหกรณพ์ ิจารณาปรมิ าณรับฝากและดอกเบ้ีย
ให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงตน้ ทนุ และคา่ ใช้จ่ายใหค้ ุ้มค่ากับรายได้ที่เกิดขึน้ เพื่อให้มีกำไรสง่ ผลตอบแทนกลบั คนื
สสู่ มาชกิ

คณุ ภาพสินทรัพย์ (Asset Quality)

ในปี 2564 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสินทรัพย์รวม 217,889.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
12,170.63 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.92 และได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปลงทุนในลูกหน้ีเงินให้กู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ถึง
197,122.00 ลา้ นบาท ร้อยละ 90.47 ส่วนทเ่ี หลือนำไปลงทนุ ในเงนิ สด เงินฝากธนาคารและเงนิ ฝากสหกรณ์อื่น
11,945.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.48 ลูกหนี้อื่น 2,671.57 หรือร้อยละ 1.23 สินค้า 443.03 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.20 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,837.69 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.84 และสินทรัพย์อื่น ๆ 2,342.25
ล้านบาท หรือร้อยละ 1.07 โดยลูกหน้ีเงินให้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ร้อยละ 91.27 ของหน้ี
ถงึ กำหนดชำระ แยกเปน็ ภาคเกษตร ร้อยละ 9.40 นอกภาคเกษตร ร้อยละ 81.72 และกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ
0.15 ดงั นน้ั คุณภาพสนิ ทรัพยข์ นึ้ อยู่กบั การบรหิ ารลกู หน้ใี ห้สามารถชำระหนไี้ ด้ตามกำหนด

ในปี 2564 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิด
รายได้หลัก 23,197.23 ลา้ นบาท หรอื มีอัตราหมนุ ของสนิ ทรัพย์ 0.11 รอบ เทา่ กบั ปีก่อน ในขณะเดียวกันปีนี้
สินทรัพย์ที่มีอยู่สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับสหกรณ์ได้ ร้อยละ 3.24 ปีก่อน 3.43 ดังนั้น สหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรจะต้องบริหารทรัพย์สิน โดยการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มากขึ้นและก่อให้เกิด
ผลตอบแทนสงู สุด โดยเฉพาะลกู หนี้ใหม้ ีการชำระหน้ีใหเ้ ป็นไปตามกำหนดตามระเบยี บ

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 83

ตารางการใชส้ ินทรัพยข์ องสหกรณ์และกลมุ่ เกษตรกร (หน่วย : ลา้ นบาท)

ประเภท เงนิ สด/เงิน เงินลงทุน เงินใหก้ ้ยู ืม ลูกหนี้อ่นื สนิ ค้า ทีด่ ิน อาคาร อื่น ๆ รวมสินทรัพย์
สหกรณเ์ กษตร ฝากธนาคาร ใน และอปุ กรณ์ 25,609.68
และเงินฝาก
สหกรณอ์ นื่ หลักทรพั ย์

3,280.14 31.37 18,570.96 683.45 416.70 1,102.90 1,524.15

สหกรณป์ ระมง 1.17 0.00 1.02 3.00 - 0.19 0.02 5.40

สหกรณน์ ิคม 102.04 0.25 273.23 1.56 8.74 55.59 27.62 469.03

รวมภาคเกษตร 3,383.35 31.62 18,845.21 688.01 425.44 1,158.69 1,551.79 26,084.11

สหกรณร์ า้ นค้า 10.19 0.02 - 13.59 6.40 1.91 4.31 36.42

สหกรณ์บริการ 64.43 0.34 295.79 342.06 7.37 11.00 47.85 768.84

สหกรณ์ออมทรพั ย์ 7,864.85 1,391.85 175,914.08 1,614.10 - 443.99 527.43 187,756.30

สหกรณ์เครดติ ยูเน่ียน 520.43 103.32 1,984.46 6.92 0.68 199.99 205.56 3,021.36

รวมนอกภาคเกษตร 8,459.90 1,495.53 178,194.33 1,976.67 14.45 656.89 785.15 191,582.92

กลมุ่ เกษตรกร 102.64 0.01 82.46 6.89 3.14 22.12 5.30 222.56

รวมทงั้ สน้ิ 11,945.90 1,527.16 197,122.00 2,671.57 443.03 1,837.70 2,342.24 217,889.59

คุณภาพสินทรัพย์ (Asset Quality) วเิ คราะห์สหกรณ์ 3 อันดับท่ีมีทนุ ดำเนินงานสูงสดุ ไดแ้ ก่
สหกรณอ์ อมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์เครดติ ยเู น่ียน ดังต่อไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 82 แห่ง มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 187,756.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก

ปีก่อน 11,153.88 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.32 และได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปลงทนุ ในลูกหน้ีเงินให้กู้ยืมเป็นสว่ น
ใหญ่ถึง 175,914.08 ล้านบาท ร้อยละ 93.69 ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในเงินสด เงินฝากธนาคารและเงินฝาก
สหกรณ์อน่ื 7,864.85 ล้านบาท หรือรอ้ ยละ 4.19 เงนิ ลงทุน 1,391.85 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 0.74 ลูกหนี้อ่ืน
1,614.10 หรือร้อยละ 0.86 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 443.99 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.24 และสินทรัพยอ์ ื่น
ๆ 527.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.28 โดยลูกหนี้เงินให้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ร้อยละ 98.07
ของหนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้น คุณภาพสินทรัพย์ขึ้นอยู่กับการบริหารลูกหนี้ให้สามารถชำระหน้ีได้ตามกำหนด
อย่างไรก็ตามสหกรณ์ได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้หลัก 11,551.20
ล้านบาท หรือ มีอัตราหมุนของสินทรพั ย์ 0.06 รอบ ลดลงจาก ปีก่อน 0.07 รอบ และสินทรัพยท์ ีม่ ีอยู่สามารถ
สร้างผลตอบแทนให้กับสหกรณ์ได้ ร้อยละ 3.59 ลดลงจาก ปีก่อน ร้อยละ 3.74 ดังนั้น สหกรณ์จะต้องบริหาร
ทรพั ย์สนิ โดยการใชป้ ระโยชน์จากสนิ ทรัพย์ทม่ี อี ยใู่ หม้ ากข้นึ และกอ่ ใหเ้ กดิ ผลตอบแทนสงู สดุ

หากพิจารณาโครงสร้างทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ปี 2564 พบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์
มีความเสี่ยงด้านการบริหารเงินทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์นำเงินทุนที่มีไปลงทุนระยะยาว
1,369.98 ล้านบาท มากกว่าลงทุนระยะสั้น 1,348.11 ล้านบาท หากสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องจ่ายคืนเงินให้กบั
เจ้าหนี้ที่ครบกำหนดชำระระยะสั้น(เงินกู้ยืมระยะสั้น) 19,726.99 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.51 รวมกับ

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 84

สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ลาออกและถอนเงินฝาก (ส่วนของเจ้าของสหกรณ์เอง) 106,807.94 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 56.89 รวมกันเป็นการะหนีท้ ี่สหกรณ์ออมทรัพย์ตอ้ งจ่ายถึง 126,534.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.40
ของทุนดำเนินงานทั้งสิ้น สหกรณ์ออมทรัพย์จะไม่สามารถนำเงินมาคืนได้ทันที เนื่องจาก สหกรณ์ออมทรัพย์
มีสินทรัพย์ระยะสั้นที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีเพียงร้อยละ 9.04 ของทุนดำเนินงานทั้งสิ้น อันได้แก่
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 3,746.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.00 เงินลงทุนระยะสั้น 21.87 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.01 และลูกหนี้เงินให้กู้ยืมระยะสั้น 13,192.46 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.03 สหกรณ์ออมทรัพย์ยังคง
ขาดเงินอยู่อีกร้อยละ 47.85 ของทุนดำเนินงานทั้งสิ้น ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์อาจต้องไปกู้เงินจากภายนอก
เพิ่มเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จา่ ยดอกเบ้ียให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ สง่ ผลตอ่ กำไรทลี่ ดลงตามไปดว้ ย

สหกรณ์การเกษตร จำนวน 364 แห่ง มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 26,084.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีกอ่ น

1,330.33 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.05 และได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปลงทุนในลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ถึง
18,570.96 ล้านบาท ร้อยละ 72.52 ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในเงินสด เงินฝากธนาคารและเงินฝากสหกรณอ์ ื่น
3,280.14 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.80 เงินลงทุน 31.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.12 ลูกหนี้อื่น 683.45 หรือ
ร้อยละ 2.67 สินคา้ 416.70 ลา้ นบาท หรอื รอ้ ยละ 1.63 ท่ีดนิ อาคาร และอุปกรณ์ 1,102.90 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 4.31 และสินทรัพย์อื่น ๆ 1,524.16 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.95 โดยลูกหนี้เงินให้ กู้ยืมสามารถชำระ
หนี้ได้ตามกำหนด ร้อยละ 57.93 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้น คุณภาพสินทรัพย์ขึ้นอยู่กับการบริหารลูกหน้ี
ให้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด อย่างไรก็ตามสหกรณ์ได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงาน
เพอ่ื กอ่ ใหเ้ กิดรายไดห้ ลัก 9,966.52 ล้านบาท หรอื มีอัตราหมนุ ของสนิ ทรพั ย์ 0.40 รอบ ปีกอ่ น 0.41 รอบ และ
สินทรัพย์ที่มีอยูส่ ามารถสร้างผลตอบแทนให้กับสหกรณไ์ ด้ ร้อยละ 3.30 ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 5.47 ดังน้ัน
สหกรณ์จะต้องบริหารทรัพย์สิน โดยการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทีม่ ีอยู่ให้มากขึ้นและก่อให้เกิดผลตอบแทน
สูงสุด

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 41 แห่ง มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 3,021.36 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน
211.07 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.52 และได้นำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปลงทุนในลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ถึง
1,984.46 ล้านบาท ร้อยละ 65.68 ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในเงินสด เงินฝากธนาคารและเงินฝากสหกรณ์อื่น
520.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.23 เงินลงทุน 103.32 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.42 ลูกหนี้อื่น 6.92 หรือ
รอ้ ยละ 2.67 สินค้า 416.70 ลา้ นบาท หรือร้อยละ 1.63 สนิ ค้า 0.68 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 0.02 ที่ดิน อาคาร
และอุปกรณ์ 199.99 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.62 และสินทรัพย์อื่น ๆ 205.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.80
โดยลูกหน้ีเงินให้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ร้อยละ 75.17 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้น คุณภาพ
สินทรัพย์ขน้ึ อย่กู บั การบริหารลกู หน้ีให้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด อยา่ งไรก็ตามสหกรณ์ได้นำสินทรัพย์ที่มี
อยู่ไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้หลัก 205.92 ล้านบาท หรือ มีอัตราหมุนของสินทรัพย์ 0.07
รอบ ลดลงจากปีก่อน 0.09 รอบ และสินทรัพย์ที่มีอยู่สามารถสร้างผลตอบแทนใหก้ ับสหกรณ์ได้ ร้อยละ 1.89
ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.27 ดงั นัน้ สหกรณ์จะต้องบรหิ ารทรัพย์สิน โดยการใชป้ ระโยชน์จากสินทรัพย์ท่ีมีอยู่
ใหม้ ากขนึ้ และก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสดุ

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 85

ความสามารถในการบรหิ ารจดั การ (Management Ability)

ปี 2564 สหกรณแ์ ละกลมุ่ เกษตรกร จำนวน 942 แห่ง ดำเนนิ ธรุ กิจ 6 ธรุ กจิ หลกั มมี ลู ค่าธุรกิจรวม
ทั้งสิ้น จำนวน 147,393.46 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 12,282.78 ล้านบาท โดยธุรกิจการให้เงินกู้ (สินเชื่อ)
มีมูลค่าสูงสุด จำนวน 96,630.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.56 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น รองลงมาเป็น
ธุรกิจเงินรับฝาก จำนวน 41,269.68 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.00 ธุรกิจรวบรวมผลิตผลทางการเกษตร
จำนวน 4,428.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.00 ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 3,828.61 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 2.60 ธุรกิจแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 1,207.67 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ธุรกิจ
ให้บริการ/ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 29.34 ล้านบาท คดิ เป็นรอ้ ยละ 0.02 ตามลำดบั

ตารางแสดงปรมิ าณธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (หนว่ ย : ล้านบาท)

ประเภท การให้เงินกู้ การรบั ฝาก การจดั หา การ การแปรรูป การ ปรมิ าณธรุ กจิ ร้อยละ
สหกรณเ์ กษตร เงิน สนิ คา้ มา รวบรวม ผลิตผล ให้บริการ รวม 17.09
จำหน่าย ผลิตผล อ่นื ๆ และสง่ เสรมิ
10,630.99 6,438.23 การเกษตร 25,184.70
3,692.28 3,317.07 1,087.48
18.65

สหกรณป์ ระมง 1.14 0.01 7.94 - - - 9.09 -

สหกรณน์ ิคม 234.74 41.75 12.97 365.43 106.40 - 761.29 0.52

รวมภาคเกษตร 10,866.87 6,479.99 3,713.19 3,682.50 1,193.88 18.65 25,955.08 17.61

สหกรณ์รา้ นค้า - 2.00 68.93 3.88 - 74.81 0.05

สหกรณ์บรกิ าร 89.62 5.71 18.06 9.54 122.93 0.08

สหกรณ์ออมทรัพย์ 84,642.67 33,925.05 - - 118,567.72 80.45

สหกรณ์เครดติ ยูเนีย่ น 892.78 855.87 2.52 0.99 1,752.16 1.19

รวมนอกภาคเกษตร 85,625.07 34,788.63 89.51 - 3.88 10.53 120,517.62 81.77

กลมุ่ เกษตรกร 138.14 1.06 25.91 745.58 9.91 0.16 920.76 0.62

รวมท้งั สิน้ 96,630.08 41,269.68 3,828.61 4,428.08 1,207.67 29.34 147,393.46 100.00

ธุรกิจสินเชื่อ มีมูลค่า 96,630.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.56 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น

(เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงสุดอันดับหนึ่ง) เฉลี่ยเดือนละ 8,052.51 ล้านบาท สินเชื่อเกือบทั้งหมดเป็นการ
ให้เงินกู้ยืมแก่สมาชิก ร้อยละ 98.18 ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเงินกู้ส่วนใหญ่ไปใช้ในการทำการเกษตร
ชำระหนี้สินเดิม ใช้จ่ายในครัวเรือน ลงทุนซื้อหุ้นสหกรณ์ อัตราลูกหนี้ที่ชำระได้ตามกำหนด ร้อยละ 91.27
ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดี ดังนั้น ในการบริหารจัดการลูกหนี้ สหกรณ์ต้องพิจารณาการติดตามการชำระหนี้
ของสมาชิกให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงในการชำระหนี้ และการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ของสหกรณ์ได้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 86

ธุรกิจเงินรับฝาก มีมูลค่า 41,269.68 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น

(เป็นธรุ กิจที่มีมลู ค่าอันดับ 2 รองจากธรุ กจิ สินเช่ือ) เฉลีย่ เดือนละ 3,439.14 ลา้ นบาท สว่ นใหญ่เป็นการรับฝาก
เงินจากสมาชิก ร้อยละ 76.11 ที่สามารถถอนได้ตลอดเมื่อต้องการใช้เงินหรือขาดความเช่ือมั่นต่อสหกรณ์
สหกรณ์ควรบริหารสภาพคล่องทางการเงินให้พร้อม เพื่อรองรับการถอนเงินออกในปริมาณมากของสมาชิก
พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงิน อีกประการหนึ่งธุรกิจรับฝากเงินเป็นธุรกิจที่สหกรณ์ต้องจ่าย
ดอกเบี้ย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควรติดตามสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด หรือบริหารการจ่าย
ดอกเบี้ยเงินรับฝากให้เหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการฝากเงินหรือการไม่เป็นภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยมาก
จนเกนิ ไป

ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย มีมูลค่า 3,828.61 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.60 ของมูลค่า

ธุรกิจรวมทั้งสิ้น เฉลี่ยเดือนละ 319.05 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดหาส่วนใหญ่เป็น
สินคา้ ท่ัวไป มีมลู ค่ามากที่สดุ รอ้ ยละ 65.44 ไดแ้ ก่ นำ้ มันเช้ือเพลงิ สนิ ค้าทวั่ ไป และสนิ ค้าผา่ นบญั ชี ตามลำดับ
รองลงมา เป็นสินค้าประเภทการเกษตร รอ้ ยละ 34.56 ได้แก่ อาหารสตั ว์ ป๋ยุ สนิ คา้ เกษตรอ่ืน ๆ เครื่องจักรกล
การเกษตรและอุปกรณ์ และเคมีการเกษตร ตามลำดับ ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 55.67 เป็นสินค้าที่จัดหา
มาจำหน่ายมากที่สุด จากผลกระทบการแพร่ระบาดของ CO-VID 19 ปัจจุบันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้ม
เพิม่ สงู ข้นึ อย่างต่อเน่ือง อาจสง่ ผลกระทบต่อตน้ ทุนขาย/บริการ ทีจ่ ะทำให้ราคาทุนต่อหนว่ ยเพิ่มขึ้น อาจส่งผล
ให้ราคาขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ยอดจำหน่ายสินค้า/บริหารอาจลดลง ดังนั้น สหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรควร ติดตามสถานการณ์ราคาตลาดน้ำมันโลกอย่างใกล้ชิด ตลอดจนศึกษาการดำรงชีพของ
สมาชกิ ภายใต้สถานการณก์ ารแพร่ระบาดโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา (COVID 19)

ธุรกิจรวบรวมผลิตผล มีมูลค่าธุรกิจรวมกัน 4,428.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.60 ของ

มลู ค่าธุรกิจรวมทั้งสิน้ เฉล่ียเดอื นละ 369.00 ล้านบาท โดยรวบรวมยางพารามากทส่ี ุด รอ้ ยละ 66.83 รองลงมา
เปน็ น้ำนมดิบ รอ้ ยละ 14.13 ขา้ วเปลอื ก รอ้ ยละ 12.90 อ้อยโรงงาน ร้อยละ 4.68 มันสำปะหลงั รอ้ ยละ 0.94
พืชผัก ร้อยละ 0.32 ปาล์ม ร้อยละ 0.14 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 0.06 มะม่วง ร้อยละ 0.01 และถั่วเหลือง
ร้อยละ 0.00

ธุรกิจแปรรูปผลิตผล มีสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า และกลุ่มเกษตรกร

ที่ทำธุรกิจ มีมูลค่าธุรกิจรวมกัน 1,207.67 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น
เฉล่ยี เดอื นละ 100.64 ล้านบาท โดยนำเนื้อสัตวม์ าแปรรูปมากท่สี ุด ร้อยละ 55.75 รองลงมาเปน็ น้ำนมดบิ รอ้ ยละ
18.48 อื่น ๆ ร้อยละ 11.16 ยางพารา ร้อยละ 9.28 ข้าวเปลือก ร้อยละ 2.64 ปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 1.47
มันสำปะหลงั ร้อยละ 0.73 นำ้ ดม่ื ร้อยละ 0.28 โค-กระบือ รอ้ ยละ 0.18 และไม้ผล รอ้ ยละ 0.03 ตามลำดับ

ธรุ กจิ ใหบ้ รกิ ารและส่งเสริมการเกษตร มมี ูลคา่ ธรุ กจิ 29.34 ล้านบาท คิดเปน็ รอ้ ยละ 0.02

ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น เฉลี่ยเดือนละ 2.44 ล้านบาท โดยให้บริการขนส่งน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 45.93
รองลงมาการให้บริการเดินรถ ร้อยละ 32.53 บริการรถบรรทุก ร้อยละ 7.53 บริการไถไร่นา ร้อยละ 5.35
บริการสูบนำ้ ร้อยละ 4.33 บริการอืน่ ๆ รอ้ ยละ 2.39 และบริการผสมเทยี ม ร้อยละ 1.94 ตามลำดับ

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 87

ความสามารถในการบริหารจัดการ (Management Ability) วิเคราะห์สหกรณ์ 3 อันดับ
ที่มที ุนดำเนนิ งานสูงสดุ ไดแ้ ก่ สหกรณอ์ อมทรัพย์ สหกรณก์ ารเกษตร และสหกรณเ์ ครดิตยเู นี่ยน ดงั ต่อไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ มีการดำเนินธุรกิจ 2 ต้าน มูลค่าธุรกิจรวม 118,567.72 ล้านบาท ลดลง

จากปีก่อน 4,574.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.71 ประกอบด้วย ธุรกิจสินเชื่อ 84,642.67 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 71.38 และธุรกิจรับฝากเงิน 33,925.05 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.62โดยสหกรณ์ออมทรัพย์มีมูลค่า
ธุรกิจสินเชื่อ มากกว่ามูลค่าธุรกิจรับฝากเงิน เกือบ 2 เท่า การดำเนินธุรกิจทั้ง 2 ด้านของสหกรณ์ออมทรัพย์
เปน็ การไดม้ าจากสมาชกิ และใชไ้ ปกับสมาชกิ เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าธุรกิจแต่ละด้าน ซึง่ สมั พนั ธก์ ับโครงสร้าง
ทางการเงินของสหกรณ์ออทรัพย์ที่มีสัดส่วนเงินรับฝากจากสมาชิก และลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่สมาชิกมากสุด
เชน่ เดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2564 มีอัตราลดลงจากปี 2563
ร้อยละ 3.71 เนอ่ื งจากมูลคา่ ธุรกิจสินช่ือมีอัตราลดลง มากกว่า อัตราเพมิ่ ขึ้นของมูลค่าธรุ กิจรับฝากเงิน น่ันคือ
สมาชกิ สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องการกู้เงินน้อยลง แต่ต้องการฝากเงินเพ่ิมขึ้น เนือ่ งจากอัตราดอกเบ้ียเงินฝากของ
สหกรณ์ออมทรัพย์มากกว่าสถาบันการเงินอื่น ส่งผลให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเงินรับฝากเงิน
เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และอาจมีเงินเกินไนระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนั้น ผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ต้อง
กำหนดนโยบายการปล่อยกู้เงินให้จูงใจสมาชิกสหกรณ์มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยรับให้กับสหกรณ์
ออมทรัพย์และป้องกันเงินลน้ ระบบสหกรณอ์ อมทรพั ย์

สหกรณ์การเกษตร มีการดำเนินธุรกิจ 6 ด้าน มีมูลค่าธุรกิจทั้งสิ้น จำนวน 25,184.70

ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 2,098.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,179.44 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.91
โดยธรุ กิจสินเชื่อมีมูลค่าสูงสุด จำนวน 10,630.99 ลา้ นบาท หรอื รอ้ ยละ 42.21 รองลงมาเป็นธุรกิจเงินรับฝาก
จำนวน 6,438.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.56 ธุรกิจจัดหาสนิ ค้ามาจำหน่าย 3,692.28 ล้านบาท หรือร้อยละ
14.66 ธุรกิจรวบรวมผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 3,317.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.17 ธุรกิจแปรรูป
ผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 1,087.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.32 ธุรกิจให้บริการ/ส่งเสริมการเกษตร
จำนวน 18.65 ลา้ นบาท คิดเปน็ ร้อยละ 0.08 ตามลำดบั

ธุรกิจสินเชื่อ มีมูลค่า 10,630.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,073.01 ล้านบาท หรือร้อยละ
11.23 ในระหวา่ งปีสหกรณ์การเกษตรไดจ้ ่ายเงนิ ให้กู้แก่สมาชิก 10,609.88 ลา้ นบาท หรอื ร้อยละ 99.80 และ
จา่ ยให้แกส่ หกรณอ์ ื่น 21.11 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 0.20 โดยลกู หนี้เงินให้กู้ยมื ไมส่ ามารถชำระหน้ตี อ่ สหกรณ์ได้
ตามกำหนดถึงร้อยละ 42.41 แยกเป็น สมาชิก ร้อยละ 42.36 สหกรณ์อื่น ร้อยละ 0.05 ดังนั้น ในการบริหาร
จัดการลูกหนี้ สหกรณ์ต้องพิจารณาการติดตามการชำระหนี้ของสมาชิกให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อมีให้เกิด
ความเส่ียงในการชำระหนี้ และการขาดสภาพคลอ่ งทางการเงนิ ของสหกรณ์ได้

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 88

ธุรกิจเงินรับฝาก มีมูลค่า 6,438.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 188.30 ล้านบาท หรือร้อยละ
3.01 การสะสมเงินรับฝากของสมาชิกระหว่างปี 5,061.72 ล้านบาท เพ่มิ ขน้ึ จากปีก่อน 103.73 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 2.09 ซึ่งเงินรับฝากถือเป็นแหล่งเงนิ ทุนทีด่ ี เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในรูปของดอกเบ้ียจ่ายท่ีมีอัตราต่ำกวา่
แหล่งเงินทนุ ภายนอกซึ่งสหกรณน์ ำมาบรหิ ารจดั การธุรกจิ ด้วยการให้บรกิ ารกลบั คนื สู่สมาชกิ

ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย มีมูลค่า 3,692.23 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 221.84 ล้านบาท
หรือร้อยละ 5.66 ซึ่งสินค้าที่สหกรณ์จัดหาส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไป มีมูลค่ามากที่สุด 2,412.85 ล้านบาท
รอ้ ยละ 65.34 ได้แก่ น้ำมนั เชื้อเพลงิ สินคา้ ท่วั ไป และสนิ ค้าผา่ นบญั ชี ตามลำดบั รองลงมา เปน็ สินค้าประเภท
การเกษตร 1,279.43 ร้อยละ 34.56 ได้แก่ อาหารสัตว์ ปุ๋ย สินค้าเกษตรอื่น ๆ เครื่องจักรกลการเกษตรและ
อุปกรณ์ และเคมีการเกษตร ตามลำดับ ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 57.49 เป็นสินค้าท่ีจัดหามาจำหน่าย
มากที่สุด จากผลกระทบการแพร่ระบาดของ CO-VID 19 ปัจจุบันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงข้ึน
อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนขาย/บริการ ที่จะทำให้ราคาทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ราคา
ขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ยอดจำหน่ายสินค้า/บริหารอาจลดลง ดังนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควร
ติดตามสถานการณ์ราคาตลาดน้ำมันโลกอย่างใกล้ชิด ตลอดจนศึกษาการดำรงชีพของสมาชิกภายใต้
สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 19)

ธุรกิจรวบรวมผลิตผล มีมูลค่าธุรกิจ 3,317.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 133.85 ล้านบาท
หรือร้อยละ 4.20 โดยรวบรวมยางพารามากที่สุด ร้อยละ 56.63 รองลงมาเป็นน้ำนมดิบ ร้อยละ 18.86
ข้าวเปลือก รอ้ ยละ 16.73 ออ้ ยโรงงาน รอ้ ยละ 6.25 มันสำปะหลัง รอ้ ยละ 1.25 ปาล์ม ร้อยละ 0.18 ข้าวโพด
เลยี้ งสตั ว์ ร้อยละ 0.08 มะมว่ ง ร้อยละ 0.01 และถั่วเหลือง ร้อยละ 0.01

ธุรกิจแปรรูปผลิตผล มี มีมูลค่าธุรกิจ 1,087.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.63 ล้านบาท
หรือรอ้ ยละ 0.89 โดยนำเน้ือสตั ว์มาแปรรูปมากทสี่ ุด ร้อยละ 61.91 รองลงมาเป็นน้ำนมดิบ รอ้ ยละ 20.52 อ่ืน ๆ
ร้อยละ 11.77 ข้าวเปลือก ร้อยละ 2.93 ยางพารา ร้อยละ 0.14 ปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 1.36 มันสำปะหลัง ร้อยละ
0.81 นำ้ ด่มื รอ้ ยละ 0.32 โค-กระบือ รอ้ ยละ 0.20 และไมผ้ ล รอ้ ยละ 0.04 ตามลำดบั

ธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร มีมูลค่าธุรกิจ 18.65 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 3.51
หรอื รอ้ ยละ 15.84 โดยใหบ้ ริการขนส่งน้ำมันมากทส่ี ุด รอ้ ยละ 72.23 รองลงมาการให้บริการรถบรรทุก ร้อยละ
11.85 บรกิ ารสูบนำ้ รอ้ ยละ 6.81 บริการไถไรน่ า ร้อยละ 6.06 และบริการผสมเทยี ม ร้อยละ 3.05 ตามลำดับ

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในปี 2564 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ได้แก่

ธุรกจิ สินเชอื่ ธรุ กจิ รับฝากเงนิ ธุรกจิ จดั หาสินค้ามาจำหน่าย และธรุ กิจใหบ้ ริการและส่งเสรมิ การเกษตร มีมูลค่า
ธุรกิจรวมท้งั สน้ิ 1,752.16 ลา้ นบาท (เฉล่ีย 146.01 ลา้ นบาท/เดอื น) ลดลงจากปีก่อน รอ้ ยละ 16.69 โดยธรุ กจิ
สินเชื่อมีมูลค่าสูงสุด ร้อยละ 50.95 ในจำนวนนี้เป็นการให้สินเชื่อแก่สมาชิก รองลงมาเป็นธุรกิจรับฝากเงิน
รอ้ ยละ 48.85 ของมลู คา่ ธุรกจิ ทั้งสิ้น

ในระหว่างปี 2564 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนให้บริการสินเชื่อทั้งสิ้น 892.78 ล้านบาท ลดลงจากปี
ก่อน 220.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.82 ในระหว่างปีสหกรณ์ได้จ่ายเงินให้กู้แก่สมาชิก 853.31 ล้านบาท
หรือร้อยละ 95.58 และจ่ายให้แก่สหกรณ์อื่น 39.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.42 โดยลูกหนี้เงินให้กู้ยืมไม่

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 89

สามารถชำระหนี้ต่อสหกรณ์ได้ตามกำหนดถึงร้อยละ 24.83 แยกเป็น สมาชิก ร้อยละ 24.75 สหกรณ์อื่น
ร้อยละ 0.08 ดังนั้น ในการบริหารจัดการลูกหนี้ สหกรณ์ต้องพิจารณาการติดตามการชำระหนี้ของสมาชิก
ให้เป็นไปตามกำหนดเพือ่ มใี หเ้ กิดความเส่ยี งในการชำระหนี้ และการขาดสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์ได้

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ทั้งสิ้น 2.52 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 0.62
ลา้ นบาท หรือรอ้ ยละ 19.75 ซ่งึ สนิ ค้าทีส่ หกรณ์จัดหาสว่ นใหญเ่ ป็นสนิ คา้ ประเภทเกษตร มมี ูลคา่ มากทีส่ ดุ 1.95
ลา้ นบาท รอ้ ยละ 77.38 ไดแ้ ก่ ป๋ยุ อาหารสตั ว์ และสนิ ค้าเกษตรอ่นื ๆ รองลงมา เปน็ สินค้าประเภททั่วไป 0.57
รอ้ ยละ 22.62 ได้แก่ สินคา้ ทว่ั ไป

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ให้บริการและส่งเสริมการเกษตร ทั้งสิ้น 0.99 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน
0.09 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 8.33 โดยให้บริการไถไรน่ า 0.30 ล้านบาท หรอื ร้อยละ 30.30 และให้บรกิ ารอ่ืน ๆ
0.69 ล้านบาท หรอื รอ้ ยละ 69.70

ความสามารถในการทำกำไร (Earning)

สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีความสามารถในการบริหารจัดการ ปี 2564 ก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
รวมทั้งสิ้น 6,870.24 ล้านบาท โดยมีรายได้ที่มาจากผลตอบแทนในการลงทุนให้กับสมาชิก (การให้สินเชื่อ
การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การรวบรวม/แปรรปู ผลผลิต และการให้บริการส่งเสริมการเกษตร) ทั้งสิ้น จำนวน
23,942.97 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายมาจาก (ดอกเบี้ยจ่ายเงินรับฝาก/เงินกู้ยืม ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้า
มาจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) ทั้งสิ้น จำนวน 17,072.73 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรต่อสมาชิก
เฉลี่ย 6,076.57 บาท/คน สมาชิกมีเงินออมคนละ 107,617.72 บาท/คน และสมาชิกมีหนี้สินเฉลี่ยคนละ
176,624.06 บาท/คน

ตารางแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

กำไร ขาดทนุ

ประเภท จำนวน รายได้ ค่าใชจ้ า่ ย กำไร กำไร ขาดทุน ขาดทนุ ไม่มผี ลการ
สหกรณ์ ดำเนิงาน
สหกรณเ์ กษตร (สหกรณ)์ (บาท) (สหกรณ์) (บาท)
สหกรณ์ประมง 1
สหกรณ์นคิ ม 360 10,446.71 10,183.57 267 554.77 92 291.63
1
รวมภาคเกษตร 2 8.12 7.65 2 0.47 291.63 1
สหกรณ์รา้ นค้า 0.02
สหกรณ์บรกิ าร 2 547.85 545.86 2 1.98 8.97 1
สหกรณอ์ อมทรัพย์ 1.13 4
สหกรณเ์ ครดิตยเู น่ยี น 364 11,002.68 10,737.08 271 557.22 92 10.90 6
รวมนอกภาคเกษตร 21.02
กล่มุ เกษตรกร 8 74.40 70.52 6 3.90 1

รวมท้งั สน้ิ 46 77.96 78.79 37 8.14 9

85 11,732.77 5,199.54 80 6,534.36 5

41 241.17 182.07 31 70.00 10

180 12,126.30 5,530.92 154 6,616.40 25

398 813.99 804.73 337 13.08 57 3.82

942 23,942.97 17,072.73 762 7,186.70 174 316.46

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 90

เงินออมเฉลี่ยต่อสมาชิกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในภาพรวม ปี 2564 สมาชิกมีเงินออม
เฉลี่ย 107,617.72 บาทต่อคน และมีหนี้เฉลี่ย 176,624.06 บาท ซึ่งเฉลี่ยแล้วสมาชิกมหี นี้มากกว่าเงินออมสูง
ถึง 69,006.34 บาท ดังนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการออม
การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
ให้กับสมาชิกควบคู่กับการจัดกิจกรรมการออมต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกออมเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรต้องมีการศึกษาอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะเศรษฐกิจทั้งใน
และต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนวางแผนอัตราดอกเบี้ยทั้งดอกเบี้ยเงินรับฝาก และอัตรา
ดอกเบยี้ เงนิ กู้ใหเ้ หมาะสม และพจิ ารณาการปล่อยสินเชอ่ื ให้รัดกุมเพื่อลดอตั ราคา้ งของหนี้

ความสามารถในการทำกำไร (Earning) วิเคราะห์สหกรณ์ 3 อันดบั ทม่ี ีทนุ ดำเนินงานสูงสุด
ไดแ้ ก่ สหกรณอ์ อมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร และสหกรณเ์ ครดติ ยูเนี่ยน ดงั ต่อไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ มีรายได้ทั้งสิ้น 11,732.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 79.94 ล้านบาท

หรือร้อยละ 0.69 (รายได้จากการดำเนินธุรกิจหลักจำนวน 11,551.20 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,199.54
ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,533.23 ล้านบาท (มีกำไร 80 แห่ง เป็นเงิน 6,534.36 ล้านบาท ขาดทุน จำนวน 5 แห่ง
เป็นเงิน 1.13 ล้านบาท) สมาชิกมีกำไรเฉลี่ยต่อสมาชิกคนละ 37,131.38 บาท สมาชิกมีเงินออมเฉลี่ยคนละ
607,039.16 บาท และสมาชิกมีหนี้สินเฉลี่ยคนละ 1,005,202.76 บาท สะท้อนให้เห็นความสามารถในการ
ชำระหนี้ของสมาชิกในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของสหกรณ์ในการติดตามเร่งรัดหนี้ให้
เปน็ ไปตามกำหนดสญั ญา

สหกรณ์การเกษตร มีรายได้ทั้งสิ้น 10,446.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16.77 ล้านบาท

หรือร้อยละ 0.16 (รายได้จากการดำเนินธุรกิจหลักจำนวน 9,966.52 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 10,183.57
ล้านบาท กำไรสุทธิ 263.14 ล้านบาท (มีกำไร 267 แห่ง เป็นเงิน 554.77 ล้านบาท ขาดทุน จำนวน 92 แห่ง
เป็นเงิน 291.63 ล้านบาท) สมาชิกมีกำไรเฉลี่ยต่อสมาชิกคนละ 318.72 บาท สมาชิกมีเงินออมเฉลี่ยคนละ
14,557.47 บาท และสมาชกิ มหี นี้สินเฉลย่ี คนละ 23,525.62 บาท สะท้อนใหเ้ หน็ ความสามารถในการชำระหน้ี
ของสมาชิกในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของสหกรณ์ในการติดตามเร่งรัดหนี้ให้เป็นไปตาม
กำหนดสญั ญา

สหกรณ์เครดิรยูเนี่ยน มีรายได้ทั้งสิ้น 241.17 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 48.25 ล้านบาท

หรือร้อยละ 16.67 (รายได้จากการดำเนินธุรกิจหลักจำนวน 205.92 ล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 182.07
ล้านบาท กำไรสุทธิ 59.10 ล้านบาท (มีกำไร 31 แห่ง เป็นเงิน 70.00 ล้านบาท ขาดทุน จำนวน 10 แห่ง
เป็นเงิน 10.90 ล้านบาท) สมาชิกมีกำไรเฉลี่ยต่อสมาชิกคนละ 963.68 บาท สมาชิกมีเงินออมเฉลี่ยคนละ
36,577.66 บาท และสมาชิกมีหนี้สนิ เฉลีย่ คนละ 43,423.21 บาท สะท้อนให้เห็นความสามารถในการชำระหนี้
ของสมาชิกในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของสหกรณ์ในการติดตามเร่งรัดหนี้ให้เป็นไปตาม
กำหนดสัญญา

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 91

ตารางแสดงเงินออมและหนี้สนิ ของสมาชิก ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

ประเภท เงินออมของสมาชกิ เงินออมเฉล่ียต่อ หนี้สินของสมาชกิ หนี้สินเฉลี่ยต่อ
(ล้านบาท) สมาชกิ (บาท)
(ลา้ นบาท) สมาชกิ (บาท)

สหกรณ์เกษตร 12,018.86 14,557.47 19,423.10 23,525.62
สหกรณป์ ระมง 1.40 3,722.48 1.04 2,763.89

สหกรณ์นิคม 108.62 16,641.75 295.55 45,280.81

รวมภาคเกษตร 12,128.88 34,921.70 19,719.69 71,570.32

สหกรณ์ร้านคา้ 18.78 6,476.77 13.59 4,689.38
สหกรณ์บริการ 337.43 25,895.55
421.93 32,381.32

สหกรณ์ออมทรพั ย์ 106,807.93 607,039.16 176,864.42 1,005,202.76

สหกรณ์เครดิตยเู นีย่ น 2,242.83 36,577.66 2,662.58 43,423.21

รวมนอกภาคเกษตร 109,491.47 682,474.91 179,878.02 1,079,210.90

กลุ่มเกษตรกร 53.43 1,190.05 95.40 2,124.75

รวมทงั้ สิ้น 121,673.78 718,586.66 199,693.11 1,152,905.97

สภาพคลอ่ งทางการเงนิ (Liquidity)

ปี 2564 ภาพรวมของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สิน
หมุนเวียน 0.54 เท่า ใกลีเคียงกับปีก่อน 0.53 แสดงว่าสภาพคล่องทางการเงินมีความเสี่ยงในการชำระหนี้แก่
เจ้าหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็น เจ้าหนี้เงินกู้ยืม และสินทรัพย์หมุนเวียนสว่ นใหญ่เป็นลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ร้อยละ 61.61
ซึ่งสามารถเรียกชำระหนไี้ ด้ตามกำหนดถงึ รอ้ ยละ 91.27 ของหนถี้ งึ กำหนดชำระ ดงั นัน้ สภาพคล่องทางการเงิน
ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หาก
พิจารณาส่วนประกอบของหนี้สินหมุนเวียนควบคู่กันไปด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่า สหกรณ์มีหนี้สินหมุนเวียนเกิด
จากการรับฝากเงินจากสมาชิกและสหกรณ์อน่ื ร้อยละ 62.52 ของหนส้ี ินหมนุ เวยี น ซึ่งอาจกลา่ วไวว้ า่ หากมีการ
ถอนเงนิ พรอ้ มกนั ในคราวเดยี วก็อาจสง่ ผลถึงสภาพคล่องของสหกรณ์ได้

สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) วิเคราะห์สหกรณ์ 3 อันดับที่มีทุนดำเนินงานสูงสุด ได้แก่
สหกรณ์ออมทรพั ย์ สหกรณก์ ารเกษตร และสหกรณ์เครดติ ยเู นยี่ น ดังตอ่ ไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์มีอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียน 0.36 เท่า

ใกลเ้ คยี งกับปีก่อน 0.35 แสดงว่าสภาพคล่องทางการเงินมคี วามเส่ียงในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
เจ้าหนเ้ี งนิ กู้ยมื และสินทรพั ย์หมนุ เวยี นส่วนใหญเ่ ป็นลูกหนี้เงนิ ให้กยู้ ืม ร้อยละ 57.32 ซง่ึ สามารถเรียกชำระหนี้
ได้ตามกำหนดถึงร้อยละ 98.07 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้น สภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรจึงขึ้นอยู่กับประสิทธภิ าพในการบริหารลูกหน้ีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากพิจารณาส่วนประกอบ
ของหนี้สินหมุนเวียนควบคู่กันไปด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่า สหกรณ์มีหนี้สินหมุนเวียนเกิดจากการรับฝากเงิน

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 92

จากสมาชิกและสหกรณ์อื่น ร้อยละ 67.51 ของหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งอาจกล่าวไวว้ า่ หากมีการถอนเงนิ พร้อมกนั
ในคราวเดียวก็อาจส่งผลถงึ สภาพคล่องของสหกรณ์ได้

สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์มีสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน 0.15

เทา่ เพ่มิ ขน้ึ จากปีก่อน 0.17 แสดงวา่ ในหนีส้ นิ หมุนเวียน 1 บาท มสี นิ ทรัพยห์ มนุ เวยี นเปน็ ประกันการชำระหน้ี
ได้ทั้งจำนวน ซึ่งนับว่าสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนใหญ่เป็น
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ร้อยละ 69.50 ซึ่งสามารถเรียกชำระหนี้ได้ตามกำหนดถึงร้อยละ 57.59 ของหนี้ถึงกำหนด
ชำระ ดังนั้น สภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหาร
ลกู หนีเ้ ป็นสำคัญ นอกจากน้ี หากพจิ ารณาสว่ นประกอบของหนี้สนิ หมุนเวียนควบคู่กนั ไปดว้ ยแล้ว จะเห็นได้ว่า
สหกรณ์มีหนี้สินหมุนเวียนเกิดจากการรับฝากเงินจากสมาชิกและสหกรณ์อื่น ร้อยละ 42.22 ของหนี้สิน
หมนุ เวียน ซ่ึงอาจกล่าวไว้วา่ หากมีการถอนเงินพร้อมกนั ในคราวเดยี วก็อาจส่งผลถงึ สภาพคลอ่ งของสหกรณ์ได้

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์มีสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน

0.24 เท่า เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.14 แสดงว่าในหนี้สินหมุนเวียน 1 บาท มีสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นประกันการ
ชำระหนี้ได้ทั้งจำนวน ซึ่งนับว่าสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หมุนเวียนส่วน
ใหญ่เป็นลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ร้อยละ 46.75 ซึ่งสามารถเรียกชำระหนีไ้ ด้ตามกำหนดถึงร้อยละ 75.17 ของหนี้ถึง
กำหนดชำระ ดังนั้น สภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจึงขึ้นอยู่กับประสิ ทธิภาพในการ
บริหารลูกหนี้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากพิจารณาส่วนประกอบของหนี้สินหมุนเวียนควบคู่กันไปด้วยแล้ว
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์มีหนี้สินหมนุ เวียนเกิดจากการรับฝากเงินจากสมาชกิ และสหกรณ์อื่น ร้อยละ 85.79 ของ
หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งอาจกล่าวไว้ว่าหากมีการถอนเงินพร้อมกันในคราวเดียวก็อาจส่งผลถึงสภาพคล่องของ
สหกรณไ์ ด้

ผลกระทบจากการเปลย่ี นแปลงภายนอกทเ่ี กิดขนึ้ (Sensitivity)

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อาจส่งผลกระทบให้ภาพรวมของสหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกรเกิดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ กล่าวคอื เงินทนุ ส่วนหนง่ึ ของสหกรณ์และกล่มุ เกษตรกรมาจาก
การกู้ยืมเงินและรับฝากเงิน หากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาเงินทุนของ
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในอนาคต และอาจส่งผลกระทบให้ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของสหกรณ์และกลุ่ม
เกษตรกรสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากน้ี สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID
19) ส่งผลลูกหนี้เงินให้กู้ยืมมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และมีหนี้สูงขึ้นเห็นได้จาก สมาชิกมีหนี้สิน
เฉลี่ยต่อรายภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีกอ่ น 6,992.57 บาท/คน หรือร้อยละ 4.12 ดังนั้น สหกรณ์จะต้องพิจารณา
การติดตามการชำระหน้ีของสมาชิกให้เปน็ ไปตามกำหนดเพ่ือมิให้เกิดความเสย่ี งในการชำระหน้ี ขณะเดียวกัน
ราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายก็มีการปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงอาจส่งผล
กระทบต่อการดำเนนิ ธุรกิจของสหกรณ์และกล่มุ เกษตรกรได้ ดงั นั้น สหกรณแ์ ละกลมุ่ เกษตรกรควรหามาตรการ
หรือเตรียมการรองรบั ผลกระทบท้ังในด้านการจดั การเงินทุนและหาแนวทางในการบริหารธุรกิจให้ดำเนินไปได้
อย่างมปี ระสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 93

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่เกิดขึ้น (Sensitivity) วิเคราะห์สหกรณ์ 3 อันดับ
ท่ีมที ุนดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ สหกรณอ์ อมทรพั ย์ สหกรณก์ ารเกษตร และสหกรณ์เครดิตยูเนีย่ น ดังต่อไปนี้

สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณม์ ีผลกระทบจากอัตราดอกเบ้ีย การเพม่ิ ขนึ้ หรือลดลงของดอกเบี้ย

ในอนาคตมผี ลกระทบต่อการดำเนนิ ธรุ กจิ ของสหกรณ์ เนอ่ื งจากแหลง่ เงินทุนของสหกรณ์มาจากการรบั ฝากเงิน
และเงินกยู้ มื หากอัตราดอกเบย้ี จากภายนอกมีการปรับตวั สูงข้ึนจะทำใหส้ หกรณ์มีภาระการปรับอัตราดอกเบ้ีย
เงินฝากและเงินให้กู้ เพื่อรักษาความสามมารถในการทำกำไร และทำให้ภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้เงินกู้
เพิ่มขึ้น ดังนั้น สหกรณ์ต้องจัดหาเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในการดำเนินงานจากสถาบันการเงินอื่นแล้ว ควรจะ
พิจารณาระมดั ระวงั ในเรือ่ งคา่ ใชจ้ า่ ยดอกเบ้ยี ใหม้ าก

สหกรณ์การเกษตร จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดแพร่ระบาดโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019

(COVID 19) ส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของสมาชิกที่ชำระหนี้ไม่ได้ตามกำหนด ร้อยละ 42.14 ดังนั้น
สหกรณ์จะตอ้ งพิจารณาการติดตามการชำระหน้ีของสมาชกิ ให้เป็นไปตามกำหนดเพ่ือมิให้เกดิ ความเสี่ยงในการ
ชำระหนี้ ขณะเดียวกันราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายก็มีการปรับสูงขึ้นอย่าง
ตอ่ เน่ือง จงึ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ได้ ดงั น้นั สหกรณค์ วรหามาตรการหรือเตรียมการ
รองรับผลกระทบทั้งในด้านการจัดการเงินทุนและหาแนวทางในการบริหารธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพภายใต้สภาพแวดล้อมดงั กลา่ ว

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์มีผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ

ดอกเบี้ยในอนาคตมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เนื่องจากแหล่งเงินทุนของสหกรณ์มาจากการ
รับฝากเงิน และเงินกู้ยืม หากอัตราดอกเบี้ยจากภายนอกมีการปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้สหกรณ์มีภาระการปรับ
อัตราดอกเบี้ย เงินฝากและเงินให้กู้ เพื่อรักษาความสามมารถในการทำกำไร และทำให้ภาระการชำระหนี้ของ
ลูกหนี้เงินกู้ เพิ่มขึ้น ดังนั้น สหกรณ์ต้องจัดหาเงินทุนเพื่อใชห้ มุนเวียนในการดำเนนิ งานจากสถาบันการเงินอื่น
แลว้ ควรจะพิจารณาระมัดระวงั ในเรอ่ื งคา่ ใช้จ่ายดอกเบีย้ ใหม้ าก

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 94

ประมวลภาพรวมกจิ กรรม
ปงี บประมาณ

2564

รายงานประจาปี 2564 สตท.5

กิจกรรมสำคัญ

รว่ มพธิ ีบำเพ็ญกุศล และพธิ นี อ้ มรำลึกเน่ืองในวนั คล้ายวนั สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร เวลา 06.00 น. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร
พระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ณ ศาลหลักเมืองจังหวัดขอนแก่น และ
เวลา 19.30 น. ร่วมพิธีจุดเทียนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอประชุมแก่นเมือง ศาลากลาง
จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการ
จงั หวัดขอนแกน่ เป็นประธานในพิธี

รว่ มเขา้ เฝ้าทลู ละอองพระบาท และร่วมประชมุ วชิ าการ
"สีท่ ศวรรษ การพฒั นาเด็กและเยาวชนในถน่ิ ทุรกันดาร
ตามพระราชดำริ" ด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม
สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ
หอประชุมวิโรจอ่มิ พทิ ักษ์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
วทิ ยาเขตเฉลมิ พระเกียรติ จงั หวัดสกลนคร

รายงานประจาปี 2564 สตท.5 95


Click to View FlipBook Version