The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อธิบายมาตรา 357 ประมวลกฎหมายอาญา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ศรี เรดาร์, 2022-09-14 04:44:45

ความรับผิดฐานรับของโจร

อธิบายมาตรา 357 ประมวลกฎหมายอาญา

ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

หมวด 6
ค ว า ม ผิ ด ฐ า น
รั บ ข อ ง โ จ ร

โดย
อ ะ บี ด า อ ะ น ว ล
641087072

คำนำ

Introduction

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
รายวิชา อาญาภาคความผิด เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยว
กับความผิดฐานรับของโจร โดยผู้จัดทำได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้
ต่างๆ อาทิเช่น ตำรา หนังสือ และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์

ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต
่อผู้ที่สนใจศึกษาความผิดฐาน
รับของโจรเป็นอย่างดี

นางสาวอะบีดา อะนวล

สารบัญ

List of contents

เรื่อง หน้า

มาตรา 357 1

องค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร 2-6

องค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรที่สำคัญ 7

ความผิดฐานรับของโจร 8-10

เหตุเพิ่มโทษ 11

อัตราโทษ 12

ตัวอย่าง 13

คำพิพากษษศาลฎีกา 14-17

แนวทางการต่อสู้คดีรับของโจร 18-21

อ้างอิง 22

1

มาตรา 357
ประมวลกฎหมายอาญา

"ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ
รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการ
กระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก
หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน
รับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้า
กำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม
มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท
ถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อ
ทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ การชิง
ทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340
ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท"

2

การรับของโจร

องค์ประกอบภายนอก

1. ช่วยซ่อนเร้นช่วย จำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ
หรือรับไว้โดยประการใด

2. ซึ่งทรัพย์

3. อันได้มาโดยการกระทำความผิด

4. ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก
รีดเอาทรัพย์ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้า
พนักงานยักยอกทรัพย์

องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
"วรรคสอง"

เป็นเหตุเพิ่มโทษให้หนักขึ้นและมีสองความผิด
การกระทำความผิดฐานนี้ (มาตรา 357) ได้แก่ การช่วยซ่อนเร้น
ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดย
ประการใดซึ่งซับอันได้มาโดยการกระทำความผิดที่เข้าลักษณะลัก
ทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้น
ทรัพย์ ฉ้อโกงยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์

3

การช่วยซ่อนเร้น

คือ การทำให้หาทรัพย์นั้นยากขึ้น แต่การไม่บอกว่าทรัพย์นั้น
อยู่ที่ไหน หรือพสไปหาในที่ๆทรัพย์ ไม่ได้อยู่ไม่เป็นการช่วย
ซ่อนเร้น การทำลายทรัพย์ทิ้งเสียก็ไม่เป็นการช่วยซ่อนเร้น แต่
อาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

การช่วยจำหน่าย

คือ นำไปยังผู้ที่ค้าขายทรัพย์นั้น หรือช่วยนำไปจำนำ หรือ
ไม่รับไว้เอง แต่บอกทางหรือบอกชื่อคนที่จะรับทรัพย์นั้นไว้
ก็เป็นการช่วยจำหน่ายแล้ว หรือเพียงตกลงใจว่าจะเอาของที่เพื่อน
ลักมาไปขาย ถูกจับขณะยกของออกมาจากที่ซ่อน เป็นการช่วย
จำหน่าย หรือช่วยพาเอาไปเสียแล้ว แต่ถ้ารับซื้อแต่ยังไม่ได้รับ
ทรัพย์ไว้ก็ดี หรือตั้งใจจะซื้อแต่ยังต่อรองอยู่ยังไม่ตกลงใจ ซึ่งยัง
ไม่เป็นรับของโจร แต่อาจเป็นพยายามได้การรับจำนำหรือรับไว้
โดยประการใด ต้องหมายความรวมถึงการรับไว้ในลักษณะที่
ทำให้เจ้าของทรัพย์อยากที่จะติดตามเอาคืน หากรับไว้เพื่อนำไป
คืนเจ้าของย่อมไม่ใช่การรับของโจร แม้ว่าเมื่อได้ของมาจาก
คนร้ายเพื่อจะเอามาคืนเจ้าของแล้ว แต่มาเรียกร้องเงินจากเจ้าของ
ก็ไม่เป็นการรับของโจร เห็นคนทำธนบัตรตกจึงเก็บมาแล้วส่งไป
ให้อีกคนนึง เจ้าของมาถามหา คนแรกปฏิเสธผิดลักทรัพย์ อีกคน
ผิดรับของโจร แต่หากรู้กันแต่แรกก็ถือเป็นตัวการลักทรัพย์

4

ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด

หมายถึง ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดโดยตรง คือ
เป็นทรัพย์อันเดียวกับที่ได้มาจากการกระทำความผิด โดยดูจาก
พฤติการณ์การได้ทรัพย์นั้นมา เช่น ซื้อรถกระบะสภาพใหม่ใน
ราคา 80,000 บาท โดยขณะซื้อปรากฏว่าไม่มีกุญแจและบริเวณ
กุญแจไขประตูกุญแจสตาร์ทชำรุด ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ป้าย
วงกลมและหลักฐานการทำประกันก็ไม่มีที่รถ ฟังได้ว่าจำเลยรับซื้อ
มาโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

หรือจำเลยทราบดีเด็กหญิงอ. มีนิสัยชอบลักขโมยเพราะบ้าน
อยู่ใกล้กันและไปมาหาสู่กันบ่อยๆ จำเลยรับซื้อสุราจากเด็กหญิง
อ. จึงเชื่อได้ว่า จำเลยรู้ว่าเป็นสุราที่เด็กหญิง อ. ลักมา จึงมีความ
ผิดฐานรับของโจร

หรือรับจำนำปืนมีทะเบียนจาก ท. อายุเพียง 16 ปี โดยไม่
เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ได้ขอดูใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
และรับจำนำไว้ในราคาเพียง 3,500 บาทแล้วนำไปขายต่อใน
ราคาถึง 10,000 บาท แสดงว่ารับจำนำในราคาต่ำและมีพิรุธทั้ง
อาวุธปืนร่องรอยขูดลบหมายเลขทะเบียนไม่สามารถอ่านได้ ส่อ
ให้เห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร เป็นต้นนอกจากนี้
ทรัพย์นั้นต้องยังไม่เปลี่ยนสภาพ

5

(ต่อ) ถ้ารับเงินแล้วเอาไปซื้อของ เงินที่ใช้ซื้อเป็นของโจร
เงินทอนกับของที่ได้มาไม่ใช่ของโจร ลักปืนมาขาย เงินที่ขายปืน
ได้ไม่ใช่ของโจร ลักวัวมาฆ่าแบ่งเนื้อกัน เนื้อนั้นยังไม่แปล
สภาพใครซื้อเอาไปโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมาเป็นรับของโจร
แต่ถ้าเอาเนื้อมาแกงแม้ผู้ซื้อแกงเนื้อไปกินโดยรู้ว่าเป็นเนื้อที่ถูก
ลักมาก็ไม่เป็นรับของโจรเพราะเนื้อนั้นได้แปรสภาพไปแล้ว
ทำนองเดียวกัน ดอกผลของทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นดอกผลนิตินัย เช่น
นำทรัพย์ที่ลักมาออกให้เช่า เงินค่าเช่านั้นไม่ใช่ของโจร หรือ
เป็นดอกผลธรรมดาที่ขาดหลุดจากทรัพย์ที่ลักมาเป็นทรัพย์ใหม่
เช่น ลักแม่พันธุ์สุนัขหรือแม่ไก่มา ต่อมาแม่สุนัขออกลูก หรือแม่
ไก่ออกไข่ ดังนี้ลูกสุนัขก็ดีไข่ไก่ก็ดีไม่ใช่ของโจร เพราะแปร
สภาพสินทรัพย์ใหม่แล้วการลักรถยนต์มาแล้วถอดชิ้นส่วนออก
เป็นชิ้นชิ้น ล้อ เครื่องยนต์ อะไหล่เหล่านั้นย่อมไม่มีสภาพเป็น
ของโจร แต่ถ้าเอาชิ้นส่วนอะไหล่ของรถที่ขโมยมานำไปเปลี่ยน
ให้ขับรถคนอื่นกลายเป็นส่วนควบ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของ
รถหรือเอาทองคำที่ขโมยมาไปหลอมทำเป็นสร้อยคอประดับ
พลอยแล้ววัตถุที่ประกอบขึ้นใหม่นี้ไม่ใชทรัพย์เดิมกลายเป็น
ทรัพย์ใหม่จึงไม่ใช่ของโจร

ถ้าทรัพย์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดแล้วผู้รับ
ซับนั้นย่อมไม่ผิดฐานรับของโจร เช่น ขโมยผ้าใบมาวาดรูปอย่าง
สวยงามขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1317
วรรคสอง ภาพดังกล่าวเป็นภาพของผู้ซื้อทรัพย์นั้นไปโดยรู้ว่า
ผ้าใบถูกขโมยมา ไม่เป็นรับของโจรหรือทรัพย์ที่ขโมยมาได้ตก
เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นั้นโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์มาตรา 1382 แล้วย่อมหมดสภาพการเป็นของโจร
เป็นต้นทรัพย์ที่กลับคืนสู่เจ้าของเดิมแล้ว สภาพของโจรย่อมหมด
ไปเช่นกัน

6

อย่างไรก็ตามแม้ว่าทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดนั้น
ได้โอนต่อกันไปกี่ทอดก็ตาม ก็ยังคงเป็นของโจรอยู่ตราบเท่าที่ยัง
ไม่มีผู้ใดได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความหรือตามกฏหมาย แม้ผู้ที่ได้
ไปจะสุจริตเสียค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา 1303 หรือไม่ว่าจะซื้อขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล
โดยสุจริตก็ตาม ผู้ซื้อที่ไม่รู้ย่อมขาดเจตนารับของโจร แต่ถ้าได้
ขายทรัพย์นั้นต่อไป โดยผู้ซื้อคนใดรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้
จากการกระทำความผิดที่โอนต่อๆกันมา ผู้ซื้อนั้นย่อมมีความผิดฐาน
รับของโจรได้เพราะผู้กระทำมีเจตนาคือรู้ถึงการเป็นของโจรและ
ประสงค์จะรับซื้อไว้

อย่างไรก็ตามหากรับของที่เขาลักมาเพื่อเอาไว้คืนเจ้าของ
เป็นการกระทำโดยสุจริต เพื่อตัวเจ้าของทรัพย์เองไม่เป็นรับ
ของโจร เพราะมิใช่การกระทำความผิดต่อตัวเจ้าของทรัพย์ ขาด
เจตนาที่จะกระทำความผิด หรืออาจพิจารณาได้ว่าการเอาทรัพย์ที่รู้
ว่าถูกลักมาไว้เพื่อนำไปคืนเจ้าของ ไม่ใช่เป็นการรับของโจร
เพราะไม่ได้เป็นการช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายแต่อย่างใด ไม่
ได้ทำให้ซับนั้นยากแก่การติดตามเอาคืนและไม่ใช่กรณีรับไว้
โดยประการใดด้วยเพราะเหตุการรับไว้เพื่อคืนเจ้าของถือได้ว่า
เป็นการรับไว้แทนเจ้าของนั่นเอง

ในส่วนของความผิดฐานต่างๆที่ระบุไว้นั้นมีทั้งหมด 9 ฐาน
เท่านั้น ดังนั้นถ้าทรัพย์นั้นได้จากความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ก็ดี หรือ
เป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานรับสินบนมาก็ดี ไม่ใช่หนึ่งในเก้าฐานดัง
กล่าวแล้ว ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

อนึ่งการที่พวกที่ร่วมกันกระทำความผิดฐานต่างๆได้ระบุไว้นำ
ทรัพย์ที่ได้มาแบ่งกันหรือช่วยกันเอาไปขายย่อมไม่มีความผิดฐาน
รับของโจรอีก

7

องค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรที่สำคัญ

จะต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ผู้กระทำผิดจะต้องรู้
ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคสาม ว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจาก
การกระทำความผิด ไม่ใช่ว่าแค่ทรัพย์ของผู้อื่นมาอยู่ในครอบ
ครองของเราแล้วจะเป็นการรับของโจรในทันที

กล่าวคือ จะต้องรู้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจร หากไม่รู้ว่าเป็น
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ถือว่าขาดเจตนาในทาง
กฎหมายอาญา จะไม่เป็นความผิด

การจะรู้หรือไม่รู้ข้อเท็จจริง หรือ มีเจตนารับของโจรหรือไม่
นั้น มีหลักในการพิจารณาหลายประการ โดยจะพิจารณาจาก
พฤติการณ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การรับซื้อหรือรับจำนำทองคำ
หากได้รับซื้อหรือรับจำนำตามราคาปกติทั่วไป, การรับซื้อรถ
มอเตอร์ไซค์ หากไม่พบว่ามีรอยมีร่องรอยการโจรกรรม ไม่มีรอย
งัดเบ้ากุญแจ และเป็นราคาที่ขายทั่วไป
ในท้องตลาด พร้อมทั้งมีสมุดคู่มือทะเบียนมาแสดง, การรับซื้อ
อาวุธปืน หากไม่มีการขูดลบเลขทะเบียน และมีเอกสารทาง
ทะเบียนมาแสดงถูกต้อง เป็นต้น กรณีดังกล่าวผู้ที่รับซื้อหรือรับ
ทรัพย์นั้นมาย่อมไม่รู้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของที่ได้มาโดย
ผิดกฎหมาย แม้ว่าจริงๆ แล้ว เป็นของที่ได้มาจากการกระทำผิด
กฎหมายก็ตาม ก็ถือได้ว่าไม่มีความผิดรับของโจร

8

ความผิดฐานรับของโจร

เป็นความผิดที่เกื้อหนุนการกระทำความผิดฐานต่างๆ ตามที่
บัญญัติไว้รวม 9 ฐานความผิด กล่าวคือ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก
หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ แต่จะมีโทษหนักกว่าความผิดฐาน
ลักทรัพย์ ยักยอก หรือฉ้อโกง ความผิดฐานรับของโจรมีส่วนใกล้
เคียงกับความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน แต่ความผิดฐานเป็นผู้
สนับสนุนนั้นต้องเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการ
กระทำความผิดก่อนหรืออย่างช้าในขณะกระทำความผิด แต่ถ้า
เป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้กระทำความผิดในภายหลังจาก
การกระทำความผิดนั้นสำเร็จลงแล้ว เช่น ช่วยพาทรัพย์ที่ได้จาก
การกระทำผิดไปเสีย ก็ไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน แต่
อาจมีความผิดฐานรับของโจรได้หากทรัพย์นั้นได้มาจาก
การกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งใน 9 ฐานความผิดดังกล่าว
ข้างต้น

9

รับของโจร = เอาต่อจากคนอื่น

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์
อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษ : จำคุก 6 เดือน – 10 ปี และปรับ
10,000 – 200,000 บาท

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลัก
ทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ
การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษ : จำคุก
5 - 15 ปี และปรับ 100,000 - 300,000 บาท

10

ไม่รู้ว่าทรัพย์ที่รับไว้มาจากการกระทำความผิด

ผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ?

การกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ผู้กระทำจะต้องรู้ว่า
ทรัพย์ที่รับซื้อไว้นั้นได้มาจากการกระทำความผิด

หากว่าผู้ซื้อรับ ไม่รู้ว่า ทรัพย์ที่รับซื้อไว้นั้นได้มาจากการ
กระทำความผิดแล้ว ผู้รับซื้อไว้ย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

11

เหตุเพิ่มโทษ

ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น (มาตรา 357 วรรคสอง) ถ้า
1.การรับของโจรได้กระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อค้ากำไรหรือ
2.ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาจากการลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะ
ประโยชน์ตามมาตรา 335 (10)หรือ
3.เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์

ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นอีก มาตรา (357 วรรคสาม) ถ้า
ทรัพย์อันเป็นของโจรนั้นได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ
การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340
ทวิกล่าวคือทรัพย์อันเป็น พระพุทธรูปหรือวัตถุทางศาสนาที่ได้กระทำ
ในสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา หรือกระทำโดยมีอาวุธหรือ
ใช้อาวุธปืนยิงหรือใช้วัตถุระเบิดหรือเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
หรือได้รับอันตรายสาหัส

ในการรับโทษหนักขึ้นผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าทรัพย์นั้น
เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากความผิดฐานต่างๆดังกล่าวด้วย
มาตรา (62 วรรคท้าย)

12

อัตราโทษ รับของโจร

ตามมาตรา 357 วรรคแรก

จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ตามมาตรา 357 วรรคสอง

จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ตามมาตรา 357 วรรคท้าย

จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท

ถึงสามแสนบาท

13

ตัวอย่าง

นายสวัสดีรับซื้อรถจักรยานยนต์จากนายขอบคุณ
โดยนายขอบคุณอ้างว่า เป็นรถจักรยานยนต์ของตนเอง
แต่ต้องการขาย ซึ่งความจริงแล้วนายขอบคุณลักรถ
จักรยานยนต์ของนายโชคดี มาเมื่อ 2 วันก่อน เช่นนี้
ขณะที่นายสวัสดีรับซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าว
นายสวัสดีไม่ทราบได้ว่า รถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์
ของนายโชคดี ซึ่งนายขอบคุณ ได้มาจากการลักทรัพย์
แม้นายสวัสดี จะรู้ในภายหลังว่า รถจักรยานยนต์
เป็นของนายโชคดี ซึ่งเป็นทรัพย์ที่นายขอบคุณ
ลักทรัพย์มา นายสวัสดี ไม่มีความผิดฐานรับของโจร

ดังนั้น การรู้ว่าทรัพย์ที่รับซื้อไว้เป็นทรัพย์ที่ได้มาจาก
การกระทำความผิด จึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้กระทำความผิด
จะต้องรู้ขณะรับของโจร เมื่อไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มา
จากการกระทำความผิดจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร

14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 704 / 2493

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357

สร้อยคอทองคําของเจ้าทรัพย์ขาดหรือหลุดตกลงไป
ในกระเชอมะปรางของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 เก็บเอา
เจ้าทรัพย์ขอคืนก็ไม่ยอมให้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
สําเร็จแล็ว จําเลยที่ 1 เดินเอาสร้อยไปส่งให้จําเลยที่ 2
ซึ่งอยู่ห่าง 4 วา จําเลยที่ 2 พาหนีไป

ดังนี้จําเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจําเลยที่
2 ผิดฐานรับของโจร เนื่องจากการที่จําเลยที่ 2 รับเอา
ทรัพย์นั้นไว้จากจําเลยที่ 1 หาใช่เป็นผู้ลักทรัพย์ด้วย
ไม่ เพราะการลักทรัพย์เกิดขึ้นสำเร็จขาดตอนไปแล้ว

15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2093/2529

จำเลยมีอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้นำรถ
จักรยานยนต์ผู้เสียหาย ซึ่งถูกชิงทรัพย์ไปจำนำ โดย
มิได้นำทะเบียนรถไปแสดง เมื่อถูกกล่าวหาก็อ้างแต่
เพียงว่าเป็นรถของ ส.โดยมิได้นำตัว ส.มาสืบ

ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ช่วยจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้
มาจากการกระทำผิด อันเป็นความผิดฐานรับของโจร
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ก็ลงโทษ
จำเลยฐานรับของโจรตามมาตรา 357 ได้ ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192

16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14359/2558

ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบ
ให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มา
จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครอง
ทรัพย์ของกลางนั้น จำเลยจะต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็น
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า
จำเลยรับแหวนทองฝังเพชรรูปข้าวหลามตัด 1 วง กล่องทองเหลือง
รูปทรงกลมมีข้อความ “นครหลวงไทย” 3 กล่อง ตะกรุด 4 อัน
และพระเครื่อง 50 องค์ ของกลาง โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจาก
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ลำพังคำรับของจำเลยที่ว่าจำเลย
ได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวมาจากชายคนหนึ่ง และคำรับของจำเลยตาม
บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่จำเลย
ก็ได้ให้การปฏิเสธในชั้นศาลว่าจำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็น
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด พยานหลักฐานโจทก์
จึงยังมีข้อสงสัยอยู่ตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับ
ของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

สรุปได้ว่า เนื่องจากโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้รู้ว่ารับ
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จึง
ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย จำเลยไม่มีความผิด
รับของโจร

17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2336/2533

จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจอดไว้
ใต้ต้นไผ่ในสวนกาแฟห่างจากทางเดินประมาณ
100 เมตร และห่างจากลานตากกาแฟซึ่งเป็นที่พบ
ตัวจำเลยประมาณ 500 เมตร อันเป็นการจอดใน
ลักษณะซุกซ่อน ประกอบกับจำเลยมีอาการตกใจ
เมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปฏิเสธเมื่อถูกซักถาม
ถึงรถจักรยานยนต์ของกลาง

พฤติการณ์ของจำเลยจึงฟังได้ว่าจำเลยรับรถ
จักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้
มาจากการกระทำผิดอันเป็นความผิดฐาน
รับของโจร



19

จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีรับของโจร
อาจสรุปหลักโดยสังเขปในการพิจารณาว่าจำเลยรู้ว่า
ทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด

หรือไม่ ดังนี้

1.ราคาของทรัพย์สินที่ซื้อ

หากราคาทรัพย์สินที่ผู้ซื้อรับซื้อไว้นั้นต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง เป็นจำนวน
มากย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ในทางกลับกันหากราคาที่รับซื้อนั้น
เป็นไปตามราคาปกติของทรัพย์สินประเภทนั้นนั้น และในการซื้อขายมีการออกใบ
เสร็จหรือบินเงินสดอย่างถูกต้องย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ซื้อมีเจตนาสุจริต (ฎ.8228/2554,
ฎ.2608/2548, ฎ.824/2535, ฎ.673/2540, ฎ.1935/2543)

แต่หากไม่ใช่การรับซื้อทรัพย์สินไว้ เป็นเพียงการรับจำนำ ในราคาที่รับจำนำจะ
ต่ำกว่าราคาทรัพย์สินมาก ย่อมไม่ถือเป็นข้อพิรุธแต่อย่างใด เพราะการรับจำนำไม่ใช่
การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ผู้จำนำเพียงรับทรัพย์สินนั้นไว้เป็นประกันหนี้เท่านั้น และ
ราคาที่รับจำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกัน ซึ่งอาจจะต่ำกว่าราคาทรัพย์สิน
เป็นจำนวนมากก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้เงินของผู้จำนำ
(ฎ.2923/2544, ฎ.558/2540)

2.ลักษณะการนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์

หากผู้ซื้อนำทรัพย์สินที่รับซื้อไปใช้งานอย่างเปิดเผยหรือเก็บไว้ในสถานที่ที่เปิด
เผย ไม่ได้ซุกซ่อน ย่อมเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าผู้ซื้อไม่รู้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่
ได้มาจากการกระทำความผิด

แต่ในทางกลับกัน หากผู้ซื้อไม่ได้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้งานแต่กลับนำไปขายต่อ
ในราคาที่สูงกว่าราคาที่รับซื้อมาเป็นจำนวนมาก หรือนำทรัพย์สินนั้นไปซุกซ่อนอย่าง
มิดชิดหรือจัดการเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของทรัพย์สินโดยเจตนาไม่ให้บุคคลอื่นจำได้
เช่น เปลี่ยนสีรถ นำหมายเลขทะเบียนปลอมมาสวมใส่ ย่อมบ่งชี้ว่าผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่า
ทรัพย์สินนั้นได้มาโดยมิชอบ (ฎ.4111/2511, ฎ.2923/2544, ฎ.5435/2543,
ฎ.4751/2543, ฎ.4753/2539)

20

3.สภาพของทรัพย์สินที่รับซื้อ

หากสภาพของทรัพย์สินที่ซื้อมีลักษณะพิรุธ เช่น มีร่องรอยการขูดลบ แก้ไข
หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังรถยนต์ ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ไม่ติดแผ่น
ป้ายวงกลมเสียภาษี ไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือรถสภาพอย่างดีอยู่ไม่น่าจะ
ทำการแยกชิ้นส่วนอะไหล่ขาย เหล่านี้ ถือว่าเป็นสภาพที่ผิดปกติจากการซื้อขาย
ทรัพย์สินทั่วไป จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต
(ฎ.10288/2544, ฎ.3727/2538, ฎ.452/2536, ฎ.187/2541)

4.อาชีพและฐานะของผู้ซื้อ

หากผู้ซื้อประกอบอาชีพเป็นผู้รับซื้อสินค้าประเภทนั้นนั้น เช่น รับซื้อรถยนต์หรือ
รับซื้อของเก่า โดยอาชีพอยู่แล้ว ศาลถือว่าผู้ซื้อย่อมมีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น
ราคากลาง ลักษณะพิรุธของทรัพย์สิน และผู้ซื้อต้องมีความระมัดระวังในการรับซื้อ
ทรัพย์สินประเภทนั้นมากกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้น หากการรับซื้อไม่มีการตรวจสอบ
เอกสารหลักฐานทางทะเบียน หรือมีข้อพิรุธอื่นๆ เช่น รับซื้อในราคาต่ำหรือรับซื้อโดย
ไม่ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียน จะทำให้น่าเชื่อว่า ไม่สุจริตมากกว่าบุคคลธรรมดา
(ฎ.3339/2525, ฎ.528/2550, ฎ.5439/2540)

5.อาชีพและฐานะของผู้ขาย

หากตามอาชีพและพฤติการณ์ของผู้ขายแล้ว ไม่ควรจะนำทรัพย์สินประเภทนั้น
นั้นมาขายได้ ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ข้อหนึ่งว่า ผู้ซื้อน่าจะรับซื้อไว้โดยไม่สุจริตเช่นผู้ขาย
เป็นเด็กนำสุราจำนวนมากถึง 41 ขวดมาขาย ผู้ขายย่อมรู้ว่าเด็กไม่ได้นำเอาสุราโดย
สุจริต (ฎ.7206/2540)

หรือผู้ขายเป็นเพียงลูกจ้าง ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำการขายสินค้าของนายจ้าง แต่
กลับนำสินค้าของนายจ้างมาจำหน่ายได้เป็นจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ว่าผู้ซื้อรู้อยู่ว่าผู้ขายลัก
ทรัพย์นายจ้างมาจำหน่าย (ฎ.3154/2533) หรือผู้ขายเป็นเด็กอายุเพียง 16 ปีแต่นำปืน
ของกลางมาจำหน่าย (ฎ.6771/2542) แต่หากผู้ขายมีอาชีพขายสินค้าประเภทนั้นนั้นอยู่
แล้วย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าผู้รับซื้อไว้โดยสุจริต แม้ราคาที่ขายจะต่ำกว่าราคาปกติไปบ้าง
ก็ตาม (ฎ.1928/2534)

21

6.เวลาและสถานที่ที่ทำการซื้อขาย

หากในการซื้อขาย ได้ทำในสถานที่ที่เปิดเผย มีบุคคลทั่วไปร่วมรับรู้และในเวลา
ตามปกติในการซื้อขายทรัพย์สินประเภทนั้นนั้น ย่อมทำให้น่าเชื่อว่าการซื้อทรัพย์สิน
นั้นเป็นไปโดยสุจริต (ฎ.1276/2530, ฎ.4901/2536)

แต่หากการซื้อขาย ได้ทำในเวลาที่ไม่ใช่เวลาตามปกติในการซื้อทรัพย์สิน
ประเภทนั้นนั้น ย่อมทำให้น่าเชื่อว่าผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มา
จากการกระทำความผิด เช่น ผู้ขายนำแหวนเพชรมาขายที่แผงลอยขายของ หรือนำปลา
ดุกเป็นจำนวนมากมาเสนอขายในเวลาดึก (ฎ.9401/2538, ฎ.427/2541)

7.พฤติการณ์ขณะพบเจ้าหน้าที่

หากขณะพบเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ซื้อแสดงอาการตกใจ หรือพยามหลบหนีการ
จับกุม หรือพยายามบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงว่าไม่ได้รับซื้อของกลางไว้ ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
จำเลยรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต

แต่หากจำเลยไม่ได้หลบหนีการจับกุม ทั้งยังให้ความร่วมมือในการตรวจสอบหลัก
ฐานทางทะเบียน หรือมอบทรัพย์สินให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบโดยดี ย่อมบ่งชี้ว่าจำเลย
รับซื้อทรัพย์สินไว้โดยสุจริต (ฎ.6602/2551, ฎ.2366/2533)

22

อ้างอิง

REFER

https://srisunglaw.com

https://lawman.in.th/


https://www.keybookme.com/criminal-law/criminal-law-

part-2-type-12-category-6-357

https://www.lawyers.in.th/

ขอบคุณสำหรับการรับชม

thank you for watching

641087072


Click to View FlipBook Version