The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่ 1 การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pitawan Chairat, 2021-11-09 08:49:43

หน่วยที่ 1 การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยที่ 1 การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารประกอบการสอน

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

หน่วยที่ 1

การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

นายตะวัน ชัยรัต

แผนกวิชาสามัญ สัมพันธ์

วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

หน่วยที่ 1

การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการสื่อสาร


ในชีวิตประจำวันของมนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อ
สื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และรับรู้
ข่าวสาร ความเป็นไปในสังคม โดยใช้สัญลักษณ์ คือ ภาษา
เป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจ

การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วย
วิธีการต่างๆ อันจะทำให้อีกฝ่ายเกิดการเข้าใจ รับรู้ และ
เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง โดยใช้ภาษาในการสื่อความหมาย
ภาษาที่ใช้ได้แก่ ภาษาถ้อยคำ ภาษาเขียน กิริยาท่าทาง
สัญลักษณ์ต่างๆ การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ
เกิดการตอบสนองขึ้น

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

องค์ประกอบในการสื่อสาร
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้สร้างเรื่องราวเพื่อให้อีกฝ่าย

รับรู้เรื่องราวที่ต้องการสื่อสาร ผู้ส่งสาร ได้แก่ ผู้พูด
ผู้เขียน ผู้แสดง

2. สาร คือ เรื่องราวที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อ
ความหมาย อาจจะปรากฏในรูปของถ้อยคำ ภาษา
เขียน รูปภาพ สัญลักษณ์ ตลอดจนกิริยาท่าทางต่างๆ

3. สื่อ คือ ช่องทางหรือตัวกลางในการนำพาสาร
จากผู้ส่งสารไปถึงยังผู้รับสาร สื่อมี 2 ประเภท คือ

- สื่อธรรมชาติ เช่น อากาศ แสงสว่าง
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
อินเทอร์เน็ต ไมโครโฟน
4. ผู้รับสาร คือ จุดหมายปลายทางที่สารจะ
เดินทางไปถึง ผู้รับสาร ได้แก่ ผู้ฟัง ผู้อ่าน ผู้ชม

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

ชนิดของภาษา
สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ หรือคำพูด

ที่ผู้ส่งสารใช้สื่อสารกับผู้รับสาร

2. อวัจนภาษา หมายถึง ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ
แต่แสดงออกด้วย กิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา การแต่ง
กาย ตลอดจนสัญลักษณ์ต่างๆ

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

ระดับของภาษา
สังคมไทยประกอบด้วยบุคคลหลายสถานภาพ

ทั้งพระมหากษัตริย์ พระภิกษุสงฆ์ และสามัญชน
การใช้ภาษาจึงจำเป็นต้องมีการแบ่งระดับของภาษา
เพื่อให้ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
กับกาลเทศะ บุคคล และโอกาส โดยสามารถแบ่งออก
ได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. ภาษาระดับไม่เป็นพิธีการ / ภาษาระดับ
สนทนา / ภาษาปาก คือ ภาษาที่นิยมใช้ในการติดต่อ
สื่อสารในชีวิตประจำวัน ใช้กับบุคคลที่มีความสนิทสนม
คุ้นเคยกัน อาจจะมีคำไม่สุภาพ คำหยาบ ภาษาท้องถิ่น
หรือ คำสแลงปะปนอยู่

2. ภาษาระดับกึ่งพิธีการ คือ ภาษาที่ใช้ใน
โอกาสที่สนทนากับบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน หรือการ
สนทนาที่มีสุภาพสตรีร่วมอยู่ด้วย หรืออาจใช้ในการ
เขียนสารคดี โฆษณา ประชาสัมพันธ์

3. ภาษาระดับพิธีการ คือ ภาษาที่ใช้ในโอกาสที่
เป็นพิธีการ ใช้ในการติดต่อราชการ หรือการเขียน
จดหมายราชการ เพราะต้องการความถูกต้องเป็น
ระเบียบแบบแผน

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

ตัวอย่างการใช้ภาษาในแต่ละระดับ

ตัวอย่างระดับภาษา

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

การใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร
คำ หมายถึง ส่วนที่เล็กที่สุดในภาษาไทยที่มี

ความหมาย ใช้ตามลำพังเพื่อการสื่อสารได้ เป็น
ข้อความก็ได้ คำที่ใช้สื่อสารต้องมีความหมาย อาจจะ
เป็นความหมายโดยตรงตามตัว ความหมายอุปมา
ความหมายคล้ายกัน ความหมายตรงกันข้าม ความ
หมายกว้าง ความหมายแคบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของ
การสื่อสาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมาย
ตามพจนานุกรม เช่น

* ปาก หมายถึง อวัยวะสำหรับรับประทาน
อาหาร และเปล่งเสียง

* หวาน หมายถึง รสชาติอย่างน้ำตาล
* หมู หมายถึง สัตว์สี่เท้า จมูกกลม หางสั้น
ผิวหนังมีสีชมพู นิยมเลี้ยงเป็นอาหาร
* แดง หมายถึง สีอย่างเลือด

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

2. ความหมายอุปมา หมายถึง ความหมาย
เปรียบเทียบ เช่น

* ปากหวาน หมายถึง พูดจาไพเราะ
* หมู หมายถึง ง่าย เช่น งานหมูๆ
* แดง หมายถึง เปิดเผยออกมา เช่น เรื่องทุจริต
ของเขาแดงขึ้น
3. ความหมายคล้ายกัน หมายถึง ความหมาย
ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น
* โชย (ส่งกลิ่นมาระยะไกล)
* ฟุ้ง (ส่งกลิ่นกระจายไปในอากาศ)
* ครึกโครม (เสียงดังชวนให้ตื่นเต้น)
* ครื้นเครง (ดังด้วยความสนุกสนาน)
* แบบบาง (ผอมและบาง)
* บอบบาง (เล็กบางและเจ็บป่วยง่าย)

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

4. ความหมายตรงข้าม หมายถึง ความหมาย
ตรงข้ามกัน เช่น

* หน้า-หลัง
* ซ้าย-ขวา
* ดี-ชั่ว
* หอม-เหม็น
* ต้น-ปลาย
* ขาว-ดำ
* อ้วน-ผอม
* โง่-ฉลาด
* น่ารัก-น่าเกลียด
5. ความหมายกว้าง-แคบ หมายถึง ความหมาย
กินความมากกว่า หรือครอบคลุมคำอื่น เช่น

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

6. ความหมายนัยประหวัด หมายถึง
ความหมายที่โยงถึงบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับคำ
นั้น เช่น

* สีดำ จิตประหวัดถึง ความทุกข์ ความเศร้า
* สีขาว จิตประหวัดถึง ความบริสุทธิ์ ความดี
ความสะอาด
* น้ำ จิตประหวัดถึง ความอุดมสมบูรณ์
ความเย็น ความชุ่มชื้น
7. ความหมายหลายนัย หมายถึง ความหมายที่
ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น
* ขัน หมายถึง

- ภาชนะสำหรับตักน้ำ
- ทำให้ตึงหรือแน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป
- อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
- หัวเราะ นึกอยากหัวเราะ น่าหัวเราะ
* ขัด หมายถึง
- ฝ่าฝืน (ขัดขืน)
- ไม่คล่อง (ติดขัด , ขัดสน)
- ไม่ลงรอยกัน (ขัดแย้ง)

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

8. ความหมายเหมือนกัน หมายถึง ความหมาย
เดียวกันแต่มีคำใช้ได้หลายคำ คล้ายคำพ้องความหมาย
เช่น

* นก มีคำดังนี้ ปักษา วิหค สกุณา บุหรง ฯลฯ
คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้แทนกันไม่ได้
ทุกกรณี เช่น
* บุรุษสรรพนามที่ 1 : ข้า ฉัน กระผม ข้าพเจ้า
จะใช้แตกต่างกัน คือ ข้า ฉัน ใช้ในภาษาระดับไม่เป็น
พิธีการ กระผม ข้าพเจ้า ใช้ในภาษาระดับพิธีการ
* ทองคำ : กนก กาญจนา สุวรรณ จะใช้ใน
ภาษาการประพันธ์ แต่ภาษาสามัญจะใช้คำว่า ทอง
ทองคำ

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

การใช้คำยืม
คำภาษาต่างประเทศที่ประเทศไทยรับเข้ามาใช้

ในภาษาไทย มี 2 รูปแบบ คือ ศัพท์บัญญัติและตำทับ
ศัพท์

1. ศัพท์บัญญัติ
การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการนำภาษาต่างประเทศ
มาใช้โดยกำหนดคำในภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับ
คำศัพท์นั้นๆ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนอย่าง
เป็นทางการ

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

2. คำทับศัพท์
การทับศัพท์ คือ การถ่ายเสียงคำในภาษาใน
ภาษาเดิมให้ออกมาเป็นเสียงของคำในภาษาไทย การ
ทับศัพท์จะใช้ต่อเมื่อไม่สามารถหาคำมาบัญญัติศัพท์ได้
หรือในกรณีที่คำศัพท์นั้นใช้กันแพร่หลายจนเป็นที่เข้าใจ
กันในหมู่ผู้ใช้แล้ว

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

การใช้สำนวน
สำนวน เป็นคำพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัว

มีความหมายเป็นนัยแฝงอยู่ไม่ตรงไปตรงมา นำมาใช้ให้
มีความหมายแแตกต่างไปจากความหมายเดิมของคำคำ
นั้น หรืออาจมีความหมายคล้ายกับความหมายเดิมของ
คำที่นำมาประสมกัน แต่ไม่เหมือนกันเลยทีเดียว เป็น
ความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ ต้องอาศัยการ
ตีความจึงจะเข้าใจ

การใช้สำนวนต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม
กับกาลเทศะและสถานการณ์ จึงจะทำให้การสื่อสาร
มีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมาย สำนวนช่วยให้ภาษา
ที่ใช้ในการสื่อสารสละสลวยเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
สำนวนเปรียบเทียบจำช่วยให้การเขียนหรือการสนทนา
มีอรรถรสยิ่งขึ้น

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

การใช้สำนวนควรคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตรงตามความหมาย
บางสำนวนอาจจะมีคำหรือความหมายคล้ายคลึงกัน
อาจจะใช้แทนกันได้บ้าง แต่ไม่อาจใช้แทนกันได้ทุก
โอกาส เช่น
* จับปลาสองมือ - เหยียบเรือสองแคม
* งมเข็มในมหาสมุทร - เข็นครกขึ้นภูเขา
* ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ - ขี่ช้างจับตั๊กแตน -
เกี่ยวแฝกมุงป่า - ฆ่าช้างเอางา
* กิ้งก่าได้ทอง - วัวลืมตีน - คากคกขึ้นวอ
* หัวล้านได้หวี - ไก่ได้พลอย
2. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตามรูปแบบ
การใช้สำนวนผิดไปจากรูปแบบเดิมที่กำหนดไว้
อาจทำให้สื่อสารผิดความหมายได้ เช่น
* กงเกวียนกำเกวียน ใช้ผิดเป็น
กงกำกงเกวียน
* ผีซ้ำด้ำพลอย ใช้ผิดเป็น ผีซ้ำด้ามพลอย

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

3. ใช้สำนวนให้เหมาะสม
การใช้สำนวนไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น
ควรใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ใช้เพื่ออบรม
สั่งสอน ตักเตือน ให้ข้อคิด ชี้แจงข้อเท็จจริง เปรียบ
เทียบให้เห็นชัดเจน

ตัวอย่างการใช้สำนวนไทย
* ข้อสอบวิชาภาษาไทยง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วย

เข้าปากเสียอีก
* เขาทั้งสองคนเป็นคู่บ่าวสาวที่เหมาะสมกัน

ราวกิ่งทองใบหยก
* งานนี้ยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา
* วิชัยจัดงานบวชอย่างเรียบง่าย เพราะไม่อยาก

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

ข้อควรระวังในการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
1. การใช้ภาษาผิด คือ การใช้ภาษาไทยผิด

หลักไวยากรณ์ หรือผิดความหมาย
* การใช้ภาษาผิดความหมาย เช่น
"น้ำท่วมเป็นเวลานานหลายเดือน บัดนี้แผ่นดิน

แห้งแล้งลงแล้ว"
- ควรใช้คำว่า "แห้ง" แทนคำว่า "แห้งแล้ง"
* การใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์ เช่น
"พระภิกษุวัดนี้ ทุกท่านล้วนฉันอาหารมังสวิรัติ"
- ควรใช้คำว่า "รูป" แทนคำว่า "ท่าน"
2. การใช้ภาษาไม่เหมาะสม คือ การเลือกใช้คำ

ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล โอกาส การใช้ภาษา
ผิดระดับ และการใช้ภาษาต่างประเทศปนในภาษาไทย

* การใช้ภาษาต่างระดับ เช่น
"พ่อแม่ต้องไปทำงานจึงไม่มีเวลาอบรมบุตร"
- ควรใช้คำว่า พ่อ แม่ ลูก หรือบิดา มารดา บุตร
* ใช้คำภาษาต่างประเทศ เช่น
"ที่นี่บริการส่งแฟกซ์แก่ลูกค้าฟรี"
- ควรใช้คำว่า "โทรสาร" แทนคำว่า "แฟกซ์" และ
ใช้คำว่า "โดยไม่คิดเงิน" แทนคำว่า "ฟรี"

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

3. การใช้ภาษาไม่ชัดเจน คือ การใช้ภาษาที่ไม่
สามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ อาจเกิดจาก
การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน หรือใช้คำที่ก่อให้
เกิดความกำกวม

* ใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง เช่น
"นานๆครั้งเขาจะไปหาป้าเสมอๆ"
- ควรเลือกใช้คำว่า "นานๆครั้ง" หรือ "เสมอๆ"
คำใดคำหนึ่ง
* ใช้คำที่ก่อให้เกิดความกำกวม เช่น
"รถชนต้นไม้ล้ม"
- ควรใช้คำว่า "รถยนต์ชนต้นไม้จนล้ม" หรือ
"รถยนต์ชนต้นไม้ที่ล้มอยู่"

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

4. การใช้ภาษาไม่สละสวย คือ ภาษาที่ใช้อาจ
สื่อความหมายได้ แต่อาจไม่ราบรื่นเกิดจากการใช้คำ
ฟุ่มเฟือย ใช้คำไม่คงที่

* การใช้คำฟุ่มเฟือย เช่น
"นักเรียนส่วนใหญ่ต่างก็นำหนังสือมากัน
เป็นส่วนมาก"
- ควรใช้คำว่า "นักเรียนส่วนใหญ่ต่างก็นำหนังสือ
มา" หรือ "นักเรียนนำหนังสือมาเป็นส่วนมาก"
* การใช้คำไม่คงที่ เช่น
"แพทย์ให้การรักษาคนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ในบางวันก็มีคนไข้มากเป็นพิเศษ"
- ควรใช้คำว่า "คนป่วย" หรือ "คนไข้"
คำใดคำหนึ่ง

วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000-1101

ภาษา คือ เครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเพื่อสื่อ
ความหมายเฉพาะของกลุ่มชนนั้น การใช้ถ้อยคำในการ
สื่อสารต้องมีความหมาย อาจเป็นความหมายโดยตรง
ความหมายอุปมา ความหมายตรงข้าม ซึ่งขึ้นอยู่กับ
จุดประสงค์ของการสื่อสาร ผู้ส่งสารต้องรู้ความหมายที่
แน่นอนของคำ จึงจะใช้คำได้ถูกต้องเหมาะสมกับ
กาลเทศะ บุคคล และโอกาส นอกจากนี้ในการสื่อสาร
จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้สำนวนภาษาให้เหมาะสมกับ
เนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารนั้นเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ


Click to View FlipBook Version