หน่วยที่ 6 การเขียนในงานอาชีพ
(การเขียนโฆษณา)
ครูตะวัน ชัยรัต
การเขียนโฆษณา
การโฆษณา (Advertising) การเผยแพร่ให้
สาธารณชนทราบด้วยวิธีการต่างๆ ผ่าน
สื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
ภาพยนตร์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ ในการ
ถ่ายทอดสารไปยังผู้รับสารกลุ่มใหญ่ในเวลา
เดียวกัน
การโฆษณา เป็นเครื่องมือส่งเสริมการตลาด
ที่สำคัญมาก เป็นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการให้กับผู้บริโภค ตลอดจนสร้างภาพ
ลักษณ์ตราสินค้าด้วย
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
1. เพื่อบอกกล่าวให้ทราบ ให้เข้าใจ
เป็นการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร
ข้อเท็จจริง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
แก่กลุ่มเป้าหมาย
2. เพื่อให้เกิดการยอมรับ เป็นการโน้มน้าว
จูงใจให้ประชาชนคล้อยตาม
โดยยกส่วนดีให้เห็นชัดเจน เพื่อสร้างความศรัทธา
3. เพื่อป้องกันและแก้ไขการเข้าใจผิด
เป็นการชี้แจงรายละเอียดอย่างชัดเจน
และน่าเชื่อถือ
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
4. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เป็นการนำจุด
เด่นของสินค้าหรือองค์กรมาเผยแพร่ เพื่อสร้าง
ความศรัทธาเลื่อมใส หรือสร้างภาพลักษณ์
อันพึงประสงค์
5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
การใช้เลือกถ้อยคำที่เหมาะสมในการโฆษณาและ
ประชาสัมพันธ์ เป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพอัน
ดีระหว่างบุคคล และองค์กร
6. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด
เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่สัมพันธ์กับกิจกรรม
ธุรกิจ โดยมีจุดมุง่ หมายเพื่อส่งเสริมการตลาด
ประเภทของสื่อโฆษณา
1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร
แผ่นพับ แผ่นป้าย ใบปลิว จดหมาย รูปภาพ ฯลฯ จุด
เด่นของสิ่งพิมพ์เหล่านี้อยู่ที่การออกแบบตัวอักษรให้
สะดุดตา การใช้สีและแสง ถ้อยคำสำนวนที่ดึงดูดความ
สนใจ จดจำได้ง่าย
2. การกระจายเสียง เช่น การโฆษณาหรือการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
การใช้เสียงตามสาย การใช้รถโฆษณาหรือ
ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ใช้เสียงเพลงเป็นต้น จุดเด่น คือ
การใช้ภาษาพูด การเน้นเสียง เน้นคำ การแบ่งจังหวะ
วรรคตอน ตลอดจนกิริยาทา่ ทางประกอบเพื่อช่วยสื่อ
ความหมายและความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ประเภทของสื่อโฆษณา
3. ป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ อาจเป็นป้ายที่ติด
ตั้งอยู่กับที่ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย มีผู้คนผ่านไปมาเป็น
จำนวนมาก หรือป้ายที่ติดตามยานพาหนะเคลื่อนที่ไปตาม
สถานที่ต่างๆืเพื่อให้เข้าถึงประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง
4. การใช้ของจริง ได้แก่ การแจกตัวอย่างให้
ประชาชนทดลองใช้ หรือการจัดแสดงสินค้าหรือบริการใน
ที่สาธารณะ หรือมีการสาธิตที่สำนักงานให้ผู้บริโภคได้รู้จัก
สินค้าหรือบริการอย่างแท้จริง
5. การใช้สื่ออื่นๆ เป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์
ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต วิดโี อ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกำลังเป็นที่
นิยมในขณะนี้เพราะสะดวกรวดเร็ว
การใช้ภาษาในการโฆษณา
1. ใช้ถ้อยคำภาษาที่สื่อความหมาย
ชัดเจน สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ เหมาะสม
กับสื่อโฆษณาและผู้บริโภค
2. ใช้ภาษาสุภาพ จดจำง่าย แปลก
ตา น่าสนใจ
3. หลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบ
คำย่อ คำที่มีความกำกวม คำผวน คำสองแง่
สองมุม ไม่ใช้ภาพท่มี ีความล่อแหลมสื่อไป
ในทางยั่วกามารมณ์
ส่วนประกอบของข้อความโฆษณา
1. ข้อความพาดหัว เป็นส่วนแรก
ของข้อความโฆษณา เป็นส่วนที่มีลักษณะ
โดดเด่น ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
ขนาดตัวอักษรใหญ่และหนากว่าปกติ ใช้คำ
กะทัดรัด เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
2. ข้อความขยายพาดหัว หรือ
พาดหัวรอง เป็นข้อความที่ต่อเนื่องจาก
พาดหัว ขยายเนื้อความให้เข้าใจชัดเจนยิ่ง
ขึ้น โน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคสนใจสินค้า
ส่วนประกอบของข้อความโฆษณา
3. ข้อความอธิบายรายละเอียด
หรือข้อความโฆษณา เป็นเนื้อความที่บอกถึงคุณ
ประโยชน์ ความดีเด่น เอกลักษณ์ของสินค้าหรือ
บริการ ต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน โน้ม
น้าวใจกลุ่มผู้บริโภคให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้า
4. ข้อความลงท้ายหรือส่วนสรุป
เป็นส่วนที่กระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ
สินค้าหรือบริการได้เร็วขึ้น ประกอบด้วยชื่อสินค้า
ตราสัญลักษณ์ แหล่งผลิตหรือสถานที่ที่สามารถ
ติดต่อได้ อาจจบลงด้วยคำคมหรือคำขวัญเพื่อสร้าง
ความประทับใจแก่ผู้อ่าน
ตัวอย่างการใช้ข้อความโฆษณา
ตัวอย่างการใช้ข้อความโฆษณา
ตัวอย่างการใช้ข้อความโฆษณา
ตัวอย่างการใช้ข้อความโฆษณา
ตัวอย่างการใช้ข้อความโฆษณา