หม่อมครูต่วน
ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก
จัดทำโดย
น.ส.พรรวินท์ ประเสริฐเวชทนต์ ม.5/2 เลขที่ 9
ประวัติส่วนตัว
นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ชื่อเดิม ต่วน
เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘ ปี มะแม
ตรงกับวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติ อำเภอคลองสาน
ฝั่ งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก
ซึ่งเป็ นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก)
มารดาชื่อลำไย เป็ นชาวพระนครศรีอยุธยา
นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๕ คน
หม่อมครูต่วนมีความสนใจในด้านละคร
และเข้ารับการฝึ กหัดตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ
ฝึ กหัดเป็ นตัวนางโดยรับการฝึ กหัดจากหม่อมวัน
มารดาของพระยาวชิตชลธาร (ม.ล. เวศน์ กุญชร)
หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึ กฝน
จนสามารถแสดงเป็ นตัวนางได้อย่างดี และเป็ นที่เมตตาปราณี
ของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้
เป็ นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์
ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หม่อมครูต่วน
ได้เปลี่ยนชื่อเป็ น “ศุภลักษณ์” เนื่ องจากเคยรับบท
เป็ นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท หม่อมครูต่วน
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน
ผลงาน
หม่อมต่วนรับบทบาทเป็ นตัวนางเอกหลายเรื่อง
เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ได้รับการฝึ กหัดให้แสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ หม่อม
ต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็ นอย่างดีเยี่ยมเคยแสดง
มาแล้วแทบทุบทบาท
ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพ
ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็ นผู้ฝึ กหัดละครดึกดำบรรพ์ตัวนาง
เมื่อมีการยุบกระทรวงวัง ก็ออกจากราชการ แต่เมื่อมีการจัดตั้ง
โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปั จจุบัน)
กรมศิลปากร หม่อมต่วนก็ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย
จนได้รับการยกย่องด้วยความนับถือว่า “หม่อมครูต่วน”
ขณะที่อยู่คณะละคร วังบ้านหม้อท่านได้รับบทนางเอกประจำโรง
ได้แสดงเป็ นนางสีดา แสดงหน้าพระที่นั่ งถวายพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อถึงเจ้าพระยาเทเวศร์ร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้ า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงษ์สร้างและฝึ กหัด
ละครดึกดำบรรพ์ ณ วังบ้านหม้อท่านได้รับการฝึ กหัด
และแสดงบทละครดึกดำบรรพ์นั้นด้วย
ท่านเป็ นผู้ที่มีความจำดีเป็ นเลิศ
สามารถจำบทและคำร้องเจรจาทุกตัวทุกเรื่ อง
ในละครดึกดำบรรพ์ได้แม่นยำ
โดยไม่ต้องดูหนั งสือท่านสามารถชี้แจงข้อผิดพลาด
และคำตกหล่นหรือเกินมาได้โดยไม่ต้องดูตำรา
และเคยรับบทเป็ นนางยุบล(นางค่อม)ในเรื่องอิเหนา
ตอนตักดอกไม้ฉายกริชเป็ นตัวนางศุภลักษณ์
ในเรื่องอุณรุท ท่านมีศิษย์เอกหลายท่านอาทิ เช่น
นายช่วง สีดา (พระยาอินทราภิบาล)
โขนสมัครในรัชกาลที่6
นางสาวจำเรียง พุทธประดับ
และศิษย์ในกรมศิลปากร
คุณูปการที่มีต่อวงการนาฏศิลป์
เป็ นครูผู้ถ่ายทอด บทบาทกระบวนท่ารำตัวนาง
และกลวิธีการแสดงละครดึกดำบรรพ์ให้กับ
ศิลปิ นในกรมมหรสพในรัชกาลที่7และกรมศิลปากร
เป็ นผู้วางรากฐานแบบแผนการฝึ กหัดตัวนาง
ให้กับโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็ น
โรงเรียนศิลปากรนาฏดุริยางค์ โรงเรียนนาฏศิลป์
วิทยาลัยนาฏศิลป์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ใน
ที่สุด