The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปผลการสัมมนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน_v1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wariya.boat, 2022-06-01 22:48:28

สรุปผลการสัมมนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน_v1

สรุปผลการสัมมนาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน_v1

สรปุ ผลการสมั มนา
โครงการสมั มนา
เรอื่ ง “การจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน”

โดย
คณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม วุฒสิ ภา

วนั พฤหัสบดที ่ี ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕
ณ หอ้ งประชมุ ๔๐๒ – ๔๐๓ ชั้น ๔ อาคารรฐั สภา

-------------------------------

สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการได้มีการจัดทำรายงานเรื่อง “แนวทางการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอย
และขยะอนั ตราย” โดยมวี ตั ถุประสงค์และวธิ ีการศกึ ษา ดงั นี้

-๒-

๑. วัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อทราบสถานการณ์ปจั จบุ นั ของการจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน
๑.๒ เพื่อทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน
๑.๓ เพือ่ เสนอแนะการแกไ้ ขปรบั ปรงุ ระบบการจดั การขยะมูลฝอยชมุ ชน
๑.๔ เพ่อื ติดตาม เสนะแนะ และเร่งรดั การปฏริ ปู จดั การขยะมลู ฝอยชุมชนตามแผนการปฏิรูป
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) และแผนการปฏิรูปประเทศระยะแรก

ด้านทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ซึ่งเป็นแผนที่เกิดขึ้นภายหลังและซ้อนทับ
กับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากวุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจติดตามเสนอแนะ และเร่งรัด การปฏิรูปประเทศระยะแรก
ด้านการจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิด:ขยะมูลฝอยชุมชน โดยกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาถึงการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๓-

ในการติดตามเสนอแนะ และเร่งรัด การปฏิรูปประเทศทางด้านการจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิด :
ขยะมลู ฝอยชมุ ชนในครง้ั นี้

๒. วธิ กี ารศึกษา
๒.๑ ศึกษารวบรวมข้อมูลจากรายงานการศึกษาต่าง ๆ รายงานวิจัย เอกสารราชการ

เอกสารประกอบการประชุม และเอกสารรายงานอื่น ๆ เช่น (๑) แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
ของประเทศ (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๔) (๒) แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)
สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ (๒๕๖๐) (๓) แผนปฏบิ ตั กิ าร “ประเทศไทย
ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ) ระยะที่ ๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔) (๔) แผนการปฏิรูปประเทศ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ (๖) รายงานการฝึกอบรม
เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ๓ – ๕ กุมภาพันธ์ุ ๒๕๖๓ ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน
กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๗) รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี ๒๕๖๒ (๘) คู่มือแนวทางการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์
ขยะมูลฝอย สำหรบั อาสาสมคั รพทิ ักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมหม่บู ้าน กรมควบคุมมลพษิ ๒๕๕๑ เปน็ ต้น

๒.๒ ศึกษารวบรวมข้อมลู จากการประชมุ สัมมนา และเสวนาต่าง ๆ
๒.๓ การเชิญหน่วยงานตา่ ง ๆ ท่ีเก่ยี วข้องมาใหข้ อ้ มูล ไดแ้ ก่
๒.๔ การเดินทางลงพื้นที่ ได้แก่ การเดินทางไปศึกษาดูงานของคณะอนุกรรมาธิการ
ด้านสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
ขยะมูลฝอยและการบริหารจัดการน้ำเสีย ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดภูเก็ต
และการเดินทางของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เพื่อติดตามการปฏิรูป
ประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็น : การบริหารจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิดให้มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา
“ชมุ ชนตำบลน้ำพุ จงั หวัดราชบุรี” ในวนั องั คารที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดราชบรุ ี
ดังนั้น คณะกรรมาธิการจึงได้มีการจัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาจัดทำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา “แนวทาง
การบริหารจัดการขยะมลู ฝอยและขยะอันตราย” จากการสัมมนาดังกล่าว สรปุ ผลการสมั มนาไดด้ ังน้ี

ฝา่ ยเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๔-
๓. สรุปผลการสัมมนา

๓.๑ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย

ในปัจจุบัน ประชาชนทุกคนเปน็ ผ้ใู ห้กำเนิดขยะ ดงั น้ัน จงึ ควรเร่มิ ตน้ จากการลดปริมาณขยะ

ที่ต้นทาง คือ หลัก 3ช กล่าวคือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และใช้ใหม่ การกำจัดขยะทั่วไปของประเทศไทยใช้งบประมาณ

ประมาณ ๔.๕ หมื่นล้านบาทต่อปี (ยังไม่รวมค่าบุคลากร) ซึ่งการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการขยะ มีนโยบาย

จากคณะรัฐมนตรี โดยไม่ให้เก็บค่าธรรมเนียมเกิน ๖๕ บาทต่อครัวเรือน ดังนั้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่าง
รายจ่ายกับรายได้จากค่าธรรมเนียม ส่วนการจัดการขยะที่ปลายทาง อาจไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้าง
โรงไฟฟ้าขยะเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาจากบริบทของจังหวัดว่าเหมาะสมกับวิธีจัดการแบบใด
และนโยบายการรวมกลุ่ม Cluster ก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่จะช่วยในเรื่องการลงทุนจัดการขยะที่ปลายทาง
มปี ระสิทธิภาพมากยงิ่ ข้นึ

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๕-

๓.๒ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั ระยอง
การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ในปัจจุบัน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองมีศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ซึ่งให้บริการกำจัดขยะจาก
องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ (อปท.) ต่าง ๆ ในจังหวัดระยองอยา่ งถกู หลกั สุขาภิบาล มีปริมาณขยะประมาณ
๑,๐๐๐ ตันต่อวัน การดำเนินการมีกระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยแล้วแปลงเป็นเชื้อเพลิง RDF
โดยสามารถนำเข้าโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF ประมาณ ๕๐๐ ตันต่อวัน และนำส่วนที่เหลือประมาณ
๕๐๐ ตันต่อวันไปฝังกลบ ซึ่งช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นและน้ำชะขยะที่รบกวนประชาชนโดยรอบศูนย์กำจัดขยะ
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการครอบคลุมปริมาณขยะทั้งหมดที่เข้าสู่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและแก้ไขปัญหา
กลิ่นรบกวนและน้ำชะขยะ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการการแปลงขยะเป็นพลังงาน
ซงึ่ ปัจจบุ ันกำลงั ดำเนนิ การก่อสรา้ งโรงไฟฟา้ ขยะเพ่มิ อีก ๑ โรงงาน

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๖-

๓.๒.๑ ปัญหาอุปสรรคในการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
มีดังนี้

๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ (อปท.) ส่งขยะมลู ฝอยทไี่ ม่คัดแยกเข้าศูนย์กำจัด
ฯ ทำให้มีตน้ ทนุ สูงขน้ึ ในการบริหารขยะท่ีปลายทาง

๒) ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ แต่ยัง
ไม่สามารถขายไฟฟา้ ท่ผี ลิตได้

๓) ยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อนอกเขตจังหวัด
อย่างชัดเจน ทำให้จังหวัดต้องบริหารจัดการโดยใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และประกาศกระจายอำนาจ เรื่อง การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาใช้เพื่อบรหิ ารจดั การขยะไปพลางก่อน

๔) การทำโรงไฟฟ้าขยะชุมชน มีกฎระเบียบ/กฎหมายกำหนดให้สามารถกำจัด
ขยะได้บางประเภทเท่าน้ัน

๕) ศูนย์กำจัดฯ เป็นบริการสาธารณะขนาดใหญ่ แต่ต้องใช้การบริหารแบบ
ราชการ ซึ่งไม่มีความคล่องตัว มีความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งระเบียบไม่ได้กำหนดให้องค์การ
บริหารส่วนจงั หวัด (อบจ.) จัดต้ังบริษทั ในการบริหารจัดการระบบบริการสาธารณะขนาดใหญ่

ฝา่ ยเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๗-
๖) การดำเนินการขออนุญาตผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ การเชื่อมต่อไฟจาก
ราชการส่วนกลาง มีขั้นตอนและใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น รัฐจึงควรเร่งรัดเพื่อประโยชน์ของภาครัฐ
ในการให้บรกิ ารประชาชน
๗) ขยะอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายยังไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง
จงึ จำเป็นต้องส่งไปกำจัดทอี่ ื่น

๓.๒.๒ มีข้อเสนอแนะ ดังน้ี
๑) ควรมกี ฎหมายบังคบั ใชก้ ับชุมชนเก่ียวกับการลดและคดั แยกขยะที่ตน้ ทาง
๒) รัฐควรสง่ เสริมและจงู ใจภาคเอกชนในการนำวัสดุรีไซเคิลกลบั มาใช้ประโยชน์
๓) กระทรวงสาธารณสุขควรจัดให้มีการรวมกลุ่มพื้นที่ที่จัดการขยะติดเช้ือ

โดยกำหนดให้แหล่งกำเนิดมูลฝอยในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกนำมูลฝอยติดเชื้อมากำจัดที่ จังหวัดระยอง
และห้ามมิให้นำออกไปกำจัดนอกเขตบริการ

๔) ควรมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.) สามารถ
ดำเนินการบริหารจัดการขยะได้ทุกประเภท โดยศูนย์กำจัดขยะครบวงจร เพื่อมุ่งสู่เมืองอุตสาหกรรม
เชงิ นเิ วศ (Eco Town)

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๘-
๕) รัฐควรอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนให้หน่วยงานราชการ (ท้องถิ่น)
ในการขออนุญาตกิจการที่เกี่ยวกับการจัดการขยะ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
และทนั ตอ่ สถานการณป์ ัญหาในพื้นท่ี
๓.๓ เทศบาลนครภูเก็ต

เทศบาลนครภูเก็ตมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยผ่านศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย
จังหวัดภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณโครงการเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี โดยได้อนุญาตให้
เทศบาลนครภูเก็ตเข้าใช้ประโยชน์เพื่อกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ -๒๕๖๖ ปัจจุบัน
อยู่ระหว่างขอต่ออายุการอนุญาตใช้พื้นที่ต่ออีก ๓๐ ปี ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบ่งการใช้ประโยชน์พ้ืนที่
ออกเป็น ๓ ส่วน คือ (๑) พื้นที่ฝังกลบขยะ (๒) พื้นที่กำจัดขยะแบบเตาเผา และ (๓) พื้นที่บำบัดน้ำเสีย
จังหวัดภูเกต็ มีอัตราเพม่ิ ของปรมิ าณขยะ ประมาณร้อยละ ๗ ตอ่ ปี โดยในอนาคตอาจมีขยะสูงถงึ ๓,๐๐๐ ตนั
การจัดการขยะติดเชื้อ จะดำเนินการเก็บขนจากแหล่งกำเนิดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
และเอกชนที่ได้รับอนุญาต หลังจากนั้นจะนำส่งกำจัด ณ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย และนำไปเผาในโรงเผา
ขยะมูลฝอยชุมชนส่วนการจัดการขยะอันตรายชุมชน จะดำเนินการเก็บขนจากแหล่งกำเนิด โดยองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะนำส่งที่สถานีพักขยะอันตรายในศูนย์กำจัดฯ ทุกวันที่ ๒๐ – ๒๕ ของทุกเดือน
จากน้นั ศนู ยก์ ำจัดขยะมูลฝอยจะส่งกำจัด ปีละ ๑ ครั้ง กับบรษิ ัทท่ีได้รับอนญุ าตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

-๙-

๓.๓.๑ ปัญหาอปุ สรรคในการจดั เกบ็ รวบรวม และขนส่งขยะมูลฝอย มีดงั น้ี
๑) ประชาชนขาดความตระหนักในการคัดแยกขยะและแยกทิ้งให้ถูกประเภท

โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเห็นว่าหลังจากคัดแยกแล้ว อปท. ก็นำขยะ
ทจ่ี ัดเก็บไปรวมกันอยดู่ ี

๒) องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ (อปท.) ยังไม่มกี ารแยกประเภทภาชนะท้ิงขยะ
๓) ยังไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะได้ครบถ้วนตามจำนวนครัวเรือน
ในพนื้ ท่ี
๔) ยงั ไม่มกี ารเกบ็ ขยะแยกตามประเภทขยะทที่ ิง้
๕) พนังงานมีการคัดแยกขยะขณะเก็บเพื่อไปจำหน่าย ทำให้เสียเวลา
และเกิดการแพร่กระจายเชือ้ โรคและมลพษิ (กลิน่ และนำ้ ชะขยะ)
๖) ประชาชนร้องเรียนเรื่องการรั่วไหลของน้ำขยะจากรถเก็บ และรถเก็บออก
เกบ็ ขยะในช่วงเวลาเร่งด่วนซึ่งมีการจราจรหนาแนน่
สว่ นปัญหาอุปสรรคในการกำจัดขยะมูลฝอย มดี ังน้ี
๑) การเทกองขยะก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่าง ๆ และเกิดไฟไหม้ที่ยากต่อ
การป้องกนั และดบั เพลิง
๒) ยังพบการฝังกลบไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ทำให้เกิดปัญหาเรื่องกล่ิน
และนำ้ ชะขยะ
๓) ปัญหารวบรวมปริมาณขยะให้มีปริมาณที่เพียงพอที่จะดำเนินการกำจัดขยะ
เพ่อื ผลิตไฟฟา้
๔) ขาดการบูรณาการหน่วยงานของรฐั ทีเ่ กีย่ วข้องกบั การจดั การขยะ

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๐ -

๕) ขาดการสรา้ งการมีส่วนร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความรับรแู้ ละการยอมรับ
ตอ่ ระบบกำจัดมลู ฝอย

๓.๓.๒ มขี อ้ เสนอแนะเพ่ือการจดั การขยะมูลฝอยเพ่อื การพฒั นาท่ยี ่ังยืน มีดังน้ี
๑) ควรสนบั สนุนให้เกดิ การแยกท้งิ ขยะ (ขยะแห้ง, ขยะเปยี ก)
๒) ขยะแหง้ ควรส่งไปทีโ่ รงคดั แยก นำไป Recycle หรอื ทำ RDF สว่ นกากท่ีเหลอื

ควรส่งไปกำจัด ขยะเปียก นำไปจัดทำปุ๋ย ก๊าซชีวภาพ รวมทั้งกากที่เหลือส่งไปกำจัด และขยะที่แยกไม่ได้
ใหน้ ำสง่ เข้าโรงงานกำจดั ขยะด้วยความร้อนเพ่ือผลติ กระแสไฟฟ้า

๓) โครงการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาโครงการให้เอกชนร่วม
ลงทนุ โรงไฟฟ้าขยะของกระทรวงมหาดไทยให้ครบถว้ น

๔) องคก์ รปกครองสว่ นท้องถ่นิ (อปท.) ควรจ้างที่ปรึกษาเพือ่ ศึกษาความเหมาะสม
ของโครงการ และทำข้อเสนอเพอ่ื ส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพอ่ื พจิ ารณา

๕) ค่ากำจัดขยะควรพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน แล้วดูความคุ้มค่า
จากรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าและอาจพิจารณาให้เอกชนเสนอผลตอบแทนเพิ่มเติมเพื่อให้เกิด
การแข่งขัน

๖) ควรเลอื กรูปแบบการร่วมลงทุนท่ีเหมาะสม โดยรูปแบบ BOT (ควรใช้กับการ
ก่อสร้างในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของ อปท.) โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง เดินระบบ และส่งมอบทรัพย์สิน
ให้ อปท. เมื่อสิ้นสุดโครงการ และรูปแบบ BOO (ควรใช้กับการก่อสร้างในพื้นที่ที่เอกชนนำเสนอเพื่อใช้
ในโครงการ) โดยเอกชนเปน็ ผ้ลู งทุนกอ่ สรา้ ง เดินระบบ แตไ่ มต่ อ้ งส่งมอบทรพั ยส์ นิ ให้ อปท.

๗) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ควรยื่นขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุน
ตอ่ BOI และควรจัดใหม้ ีที่ปรึกษาเพอื่ ควบคมุ การก่อสรา้ ง

๘) ควรมกี ารประชาสัมพนั ธ์ให้ประชาชนผูม้ สี ว่ นไดเ้ สียทราบความคบื หนา้ ในการ
ดำเนนิ โครงการทุกระยะ

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๑ -

๓.๔ เทศบาลเมืองสุพรรณบรุ ี

การบริหารจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ดำเนินการโดยมีศูนย์บริหาร
จัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร โดยรับขยะจากองค์กรปกครองสว่ นท้องถนิ่ (อปท.) อ่นื ในจังหวัดสพุ รรณบรุ ี
ในระบบ Cluster โดยขยะทั่วไป มีประมาณ ๗๐ ตันต่อวัน ใช้วิธีฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล ซึ่งขยะท่ีมี
ปริมาณมากที่สุด คือ พลาสติก ขยะมูลฝอยติดเชื้อ จำนวนประมาณ ๓ ตันต่อวัน ใช้วิธีเผาในเตาเผา
แบบหมุน ส่วนขยะอันตราย จำนวนประมาณ ๑๐๐ กิโลกรมั ต่อวนั ใช้วธิ ีรวบรวมแล้วนำส่งไปกำจัดอกี ต่อหนึง่

๓.๔.๑ ปัญหาและอุปสรรคในการบรหิ ารจดั การขยะมูลฝอย มดี ังน้ี
๑) ขยะทั่วไปมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มำให้บ่อฝังกลบเริ่มเต็ม การลงทุน

เสริมคันบ่อให้สูงขึ้น ใช้งบประมาณสูง แต่ไม่สามารถใช้งานได้นาน ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อาจต้องหา
วธิ อี น่ื ในการกำจดั อีกทงั้ ประชาชนในพืน้ ทไ่ี มช่ อบที่จะเหน็ คนั บ่อสงู ข้ึน เนือ่ งจากบดบังทัศนวสิ ัย

๒) ขยะตดิ เช้ือมีปริมาณเพิม่ ข้ึนเช่นกัน แต่เตาเผาขยะมเี พียง 1 เตา (ไม่เคยหยดุ
เพื่อบำรุงรักษา) ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างเตาเผาขยะติดเชื้อตัวที่ 2 ส่วนระบบการจัดเก็บจาก
โรงพยาบาลทอี่ ยนู่ อกเขต ทางสาธารณสขุ จังหวัดยงั ตอ้ งนำสง่ กำจัดเอง

๓.๔.๒ ขอ้ เสนอแนะในการบริหารจดั การขยะมลู ฝอย มีดงั น้ี
๑) ควรสร้างจิตสำนกึ แกป่ ระชาชนเก่ียวกับการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอย
๒) ควรนำแนวคิด “ขยะคือทรัพยากร มีคุณค่า เพื่อเราและเพื่อโลก”

มาใชใ้ นการบรหิ ารจัดการขยะมลู ฝอย

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๒ -
๓) ควรสร้างระบบการจดั เก็บทมี่ ีประสทิ ธภิ าพ
๔) กฎหมายตอ้ งชดั เจนและเอ้อื ต่อการปฏิบัตงิ าน
๕) ราชการส่วนกลางต้องสนับสนนุ งบประมาณในการจัดการขยะใหก้ ับทอ้ งถ่ิน
๓.๕ เทศบาลตำบลบ้านเหลา่ อำเภอแม่ใจ จงั หวดั พะเยา
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยาได้รับการยกฐานะจากองค์การ
บรหิ ารส่วนตำบล (อบต.ฉ เปน็ เทศบาลตำบลเม่อื ปี ๒๕๕๑ เป็นพืน้ ท่ตี ้นน้ำของหนองแลงทราย ซง่ึ ไหลลงสู่
กว๊านพะเยา และมีพื้นที่ป่าไม้เยอะ เมื่อยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว ประชาชนมีความเข้าใจว่าจะต้องมี
การจดั ถงั ขยะและมรี ถเกบ็ ขยะมาใหบ้ รกิ ารเหมอื นกบั เทศบาลอ่ืน แต่ในความเป็นจริงเทศบาลมีงบประมาณ
ค่อนข้างจำกัด (รถขยะต้องใช้งบประมาณ ๔ – ๕ ล้านบาท แต่เทศบาลได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
ประมาณ ๖ ล้านบาทเท่านั้น) และความคิดของประชาชนส่วนใหญ่ที่มีต่อการจัดซื้อครุภัณฑ์ต่าง ๆ
ของเทศบาลเป็นไปในทางที่ไม่ดี มักคิดไปว่าหากมีการจัดซื้อ ผู้มีอำนาจจัดซื้อก็ต้องได้รับเงินทอน
หรือมีการทจุ ริต ประกอบกบั การเป็นพน้ื ท่ตี ้นน้ำ หากมกี ารบริหารจดั การขยะด้วยวธิ ฝี งั กลบเหมือนพื้นที่อื่น
อาจจะเกิดปัญหาน้ำเสียจากบ่อขยะไหลออกมาปะปนกับน้ำใต้ดินหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ จึงได้หารือ
และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเงินจำนวน
๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี (จำนวน ๒ ปี) เพื่อนำมาดำเนินโครงการ 3R ขบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
เทศบาลไดด้ ำเนนิ การโครงการดงั กล่าวรว่ มกบั ชาวบ้านเป็นเวลา ๓ ปี (๒๕๕๓ – ๒๕๕๖) ซง่ึ สามารถจัดการ
ขยะในพ้ืนท่ไี ด้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพจนไดร้ ับรางวนั ชนะเลิศระดบั ประเทศในการจัดการขยะ

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๓ -

เทศบาลตำบลบ้านเหล่าสามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่ไม่มีงบประมาณ
ไม่มีบ่อฝังกลบขยะ และไม่มีรถเก็บขยะ เนื่องจากความร่วมมือจากประชาชนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
โดยได้เสนอขอรับเงินอุดหนุนจากเทศบาลเรื่องขยะปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
จากการดำเนินการข้างต้นส่งผลให้ปัจจุบันแต่ละชุมชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ และสามารถนำรายได้
นั้นต่อยอดในการจัดการขยะของชุมชนได้ต่อไป ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการขยะของเทศบาล
คือ ภาคีเครอื ข่ายท่ีมีส่วนชว่ ยในการสรา้ งความเขา้ ใจ การเข้าถงึ และการพฒั นาในพ้ืนที่

ปัญหาและข้อเสนอแนะของการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน ดังนี้
๑) ควรส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของหน่วยราชการอื่น ๆ เนื่องจาก
เป็นกุญแจสำคัญทจ่ี ะทำให้การบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชนประสบความสำเรจ็
๒) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยาควรทำหน้าที่แนะนำ
ดา้ นวชิ าการให้กบั องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น (อปท.) มากข้นึ
๓) องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ (อปท.) ขาดบคุ ลากรดา้ นส่งิ แวดลอ้ มโดยตรง
๔) การจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับภารกิจด้านขยะที่องค์กรปกครอง
สว่ นทอ้ งถ่นิ (อปท.) ต้องดำเนินการ
๕) สภาพพื้นที่แต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการจัดการ
ขยะมูลฝอยชุมชน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก การขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อมาจัดการขยะ
นน้ั ยากมาก
๖) การแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ควรแก้ไขตั้งแต่ต้นทาง และให้ทุกภาคส่วน
มีส่วนร่วมในการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน
๓.๖ องค์การบริหารสว่ นตำบลนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
การบริหารจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลนาคู่ อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนมใช้แนวคิดว่า “ขยะไม่มีอยู่จริง” ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยจูงใจให้
ประชาชนในพื้นที่คัดแยกขยะ และเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน ๑,๗๙๖ ครัวเรือน ซึ่งองคก์ าร
บริหารสว่ นตำบลนาคู่ได้รบั รางวลั เกีย่ วกับการบริหารจัดการขยะมาโดยตลอด ในปัจจุบันมจี ำนวนขยะเฉล่ีย
ประมาณ ๔ ตันต่อเดือน แบ่งเป็นขยะทั่วไปประมาณ ๓.๘ ตันต่อเดือน ขยะติดเชื้อประมาณ ๐.๐๓ ตันต่อเดือน
ขยะอันตรายชุมชนประมาณ ๐.๑๗ ตันต่อเดือน การจัดการขยะติดเชื้อ มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU)
กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการจัดการและจัดเก็บ แต่เมื่อมีนโยบา ย HI

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๔ -

(Home Isolation) ทำให้มีปริมาณขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินกำลังของ รพ.สต. จึงมีการขอ
งบประมาณในการสร้างโรงเก็บขยะติดเชื้อ เพราะไม่สามารถจัดการแบบเดิมได้ นอกจากนี้ ยังได้ประสาน
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยการใช้หนอนแมลงวัน องค์การ
บริหารส่วนตำบลนาคู่มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ให้ความรู้ ฝึกอบรม การจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการขยะ
แบบยั่งยืน มีกลุ่มบริหารจัดการขยะชุมชน มีการเก็บรวบรวมขยะเพื่อสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มบริหารจัดการ
ขยะที่ตั้งขึ้น มีการนำขวดน้ำพลาสติกไปทำหลุมน้ำใต้ดินเพื่อช่วยในภาวะภัยแล้ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู่
ต้องนำส่งขยะไปกำจัดที่เทศบาลนาแก ซึ่งมีค่าบริหารจัดการ ๖๐๐ บาท/ตัน จึงใช้วิธีจูงใจให้ประชาชน
คัดแยกขยะ ปัจจุบันจึงยังไม่มีการนำส่งขยะไปกำจัดที่เทศบาลนาแก ปัญหาขยะของ อบต. ณ ปัจจุบัน
คือ ขยะแพมเพริ ส์ ซงึ่ ถอื เปน็ ขยะตดิ เช้อื ดว้ ย โดยประชาชนมักนำใส่ถงุ และลกั ลอบทิง้ ตามขา้ งทาง

๓.๖.๑ ปัญหาอปุ สรรคในการบริหารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน มีดงั น้ี
๑) ประชาชนในชมุ ชนยงั ขาดจิตสำนกึ ดา้ นส่ิงแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการรักษา

ความสะอาด และยังขาดความรู้การจัดการขยะมลู ฝอยในครัวเรือน รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมในการบรหิ าร
จัดการมลู ฝอยกบั เทศบาล

๒) งบประมาณในการจัดการขยะไม่เพียงพอ
๓.๖.๒ ข้อเสนอแนะในการบรหิ ารจดั การขยะมูลฝอยชุมชน มดี ังนี้

๑) ควรกำหนดนโยบายดา้ นการจดั การขยะจากครวั เรอื น ให้ความรู้กบั ประชาชน
ในตำบลน่าคู่ใหช้ ดั เจนมากยง่ิ ขึ้น

๒) ควรกำหนดนโยบายให้เจ้าหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนในประเด็นประเภท
ของขยะมูลฝอย ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน และการแยกประเภทขยะที่ถูกต้อง
เพ่อื ปรับเปลีย่ นพฤตกิ รรมการคดั แยกขยะมูลฝอย

๓) ควรจดั กิจกรรมสรา้ งจติ สำนึกใหแ้ ก่นกั เรียน เยาวชน และประชาชนให้เข้ามา
มีส่วนรว่ มในการรกั ษาและรบั ผดิ ชอบตอ่ สิง่ แวดลอ้ ม

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๕ -
๓.๗ การแลกเปลยี่ นความคดิ เห็น

๑) กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เอื้ออำนวย/ไม่สนับสนุนการดำเนินการในการบริหารจัดการ
ขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น (อปท.) เชน่ มีเอกชนเสนอจะรบั ขยะไปกำจดั แตต่ ดิ ปญั หาทีว่ า่
“ขยะเป็นทรัพย์สิน” และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว
เป็นอยา่ งมาก

๒) การเก็บค่าธรรมเนียมที่กำหนดให้ท้องถ่ินออกข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติเอง
ก่อให้เกดิ ปัญหาตามมาเป็นอยา่ งมาก เพราะจะเกิดการขัดแยง้ และการร้องเรยี น

๓) ควรมกี ารแยกระดับท้องถนิ่ (ตามขนาด) กำหนดแบบแผน และแนวทางในการจัดการ
ขยะใหเ้ ป็นไปตามบริบทของแต่ละระดบั

๔) ควรกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้
มีความเหมาะสมกบั รายจ่าย

๕) ทอ้ งถิ่นตอ้ งให้ความสำคญั และผลักดนั เรอ่ื งการตั้งกรอบอตั รากำลงั ดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม
๖) ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ย์ในพ้นื ทค่ี วบคู่ไปด้วย เนื่องจากเร่ือง
การจดั การขยะไมส่ ามารถทำสำเร็จได้หากประชาชนในพนื้ ท่ไี ม่ร่วมมอื

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๖ -
๗) ยงั ไมเ่ คยมีการกำหนดให้ “ขยะ” เป็น “พัสด”ุ แต่พบว่ามีการกำหนดถึง “การจัดการขยะ
โดยให้เอกชนร่วมลงทุน” โดยปัจจุบันใช้ระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
โดยอนุโลม การดำเนินการดงั กล่าวจึงต้องใชว้ ธิ ีคดั เลือกหรอื ประมูลโดยให้ค่าตอบแทนทอ้ งถิน่ ผเู้ ป็นเจ้าของ

๓.๘ สรุปการสัมมนาภาคบา่ ย

๑) ถึงแมว้ ่าจะมีการกำหนดถึงนโยบายเกี่ยวกบั การจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน แตอ่ ยา่ งไรก็ตาม
ยงั ขาดการผลักดนั ไปสกู่ ารปฏบิ ัติ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและบุคลากร

๒) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งความทับซ้อนและหลากหลายฉบับจนผู้ปฏิบัติ
เกิดความสับสน เลอื กใชไ้ มถ่ กู และการท่มี ีกฎหมายแลว้ แต่ไม่สามารถนำไปบงั คบั ใชใ้ หเ้ ปน็ ไปตามที่กฎหมาย
กำหนดได้

๓) ขอ้ จำกดั ขององคก์ รปกครองส่วนท้องถ่นิ ในเรื่องสมรรถนะของหนว่ ยงาน สว่ นใหญ่ให้
ข้อมูลในเรื่องของการขาดบุคลากร ท้งั อตั รากำลังและความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรที่ต้อง
ปฏิบตั ิงานดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม

๔) ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บขยะและจัดการขยะ ร วมถึง
การขาดแคลนพ้นื ท่ีสำหรบั กำจัดขยะหรอื ไมม่ สี ถานทีส่ ำหรบั กำจัดขยะเปน็ ของตนเอง

๕) ปญั หาเรอื่ งรายรับไม่สมดลุ กบั รายจา่ ย อัตราคา่ ธรรมเนยี มทีจ่ ัดเก็บอย่ใู นปจั จบุ ันยงั ไม่
สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมถึงการไม่สามารถบังคับใช้ข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ ซึ่งรวมถึง
ท้องถิ่นที่ยังไม่ได้ออกข้อบัญญัติของตัวเองและท้องถิ่นที่มีการออกข้อบัญญัติแล้วแต่ยังไม่สามารถเก็บได้
ครอบคลุม

ฝา่ ยเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๗ -

๖) ปัญหาเรื่องนโยบาย Cluster โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับผิดชอบหลกั
ในการกำจัดยังขาดความพร้อมในการดำเนินการบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของงบประมาณ อุปกรณ์
และเทคโนโลยี รวมถึงขาดการมสี ว่ นร่วมจากประชาชนในพื้นทน่ี น้ั ๆ

๗) ท้องถิ่นสว่ นใหญย่ ังไมม่ ีการแยกขยะอันตรายออกจากขยะทวั่ ไป
๘) ท้องถิ่นขนาดเล็กยังไม่สามารถกรอกข้อมูลในแบบ มฝ.๑ และ มฝ.๒ ได้อย่างถูกต้อง
ทำให้ขอ้ มลู ในระบบสารสนเทศไมเ่ ป็นปจั จบุ ันและไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
๙) ประชาชนต้องมีวินัยและช่วยกันคัดแยกขยะ จึงจะทำให้การบริหารจัดการ
ขยะมลู ฝอยชมุ ชนประสบความสำเร็จ
๑๐) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดให้เอกชนต้องดำเนินการรื้อร่อน
บอ่ ขยะเก่า ซงึ่ ถอื เปน็ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ ซ่งึ ต้องปฏิบัตติ ามระเบยี บวา่ ดว้ ยการจดั ซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐอย่างเคร่งครัด รวมถึงควรสร้างความเข้าใจแก่ท้องถิ่นว่า ท้องถิ่นมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
รกั ษาความสะอาด พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการบรหิ ารจัดการขยะด้วย
๑๑) ในปจั จุบนั พระราชบญั ญตั ิการร่วมทุนระหวา่ งรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการปลดล็อค
ให้โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมีการร่วมลงทุนได้ ซึ่งการร่วมลงทุนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเอกชนและหน่วยงานของรัฐ
จะตกลงกัน โดย PPP ภาครัฐจะต้องมคี วามคมุ้ ค่าในการใช้ทรพั ยากรให้เกดิ ประโยชนส์ งู สุด ทำให้รัฐสามารถ
ลดต้นทุนได้ ในปัจจุบันประเทศไทยนิยมใช้รูปแบบ BTO (Build-Transfer-Operate) คือ เอกชนลงทุน
ก่อสร้างและโอนเปน็ ของรฐั โดยเอกชนจะไดร้ บั สิทธิ์ในการดำเนินงานตามช่วงเวลาทีก่ ำหนด ส่วนในรูปแบบ
BOO (Build Own and Operate) เอกชนลงทนุ และถอื ครองกรรมสทิ ธคิ์ วามเป็นเจา้ ของและบริหารจดั การ
ภายใต้กรอบเวลาท่ีกำหนด จึงต้องมีการคำนงึ ถึงการสง่ ตอ่ ความรู้ ทักษะและความชำนาญในการดำเนนิ การด้วย
เนื่องจากเมื่อถึงกำหนดเวลา หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการต่ออย่างไร จะทำให้เกิดการผูกขาด
การดำเนินการหรือไม่ ดังนั้น ภาครัฐจะต้องกำหนดถึงรายละเอียดในสัญญาอย่างครบถ้วน รวมถึงภาครัฐ
ต้องจดั เตรยี มคนเพือ่ รับชว่ งต่อจากเอกชนเม่ือหมดระยะเวลาตามสัญญาด้วย
๑๒) สถาบนั การจัดการบรรจุภณั ฑ์และรไี ซเคลิ เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ไมแ่ สวงหากำไร
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำลังพัฒนากลไกการผลิตภัณฑ์
ตามหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) หรือหลักการรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต
ที่ต้องมองให้ครบถ้วนรอบด้านนอกเหนือไปจากผลผลิตที่ผลิตออกมา ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ

ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๘ -

และเครือข่ายพันธมิตร และมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้หลักการนี้บังคับใช้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๐ ซึ่งจะเป็น
เครือ่ งมือหน่ึงที่ชว่ ยในการจัดการขยะและสง่ เสรมิ เศรษฐกิจหมนุ เวียน

๑๓) ควรนำแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสริ นิ ธร
มาใช้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะโดยไม่ต้องเผา เนื่องจากการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษ และในปัจจุบัน
ยังไม่สามารถกำจดั มลพิษท่เี กิดจากการเผาได้ ร้อยละ ๑๐๐ ซ่ึงมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน
ได้ทดลองในห้องทดลอง ณ ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลงั งานและสิ่งแวดล้อมกำแพงแสน และนำไปทดลอง
ใช้จริงเป็นเวลา ๓ ปี ที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งมีปริมาณขยะเข้ามาประมาณ ๑๐๐ ตันต่อวัน
โดยกระบวนการแปรรูปขยะ มดี งั นี้ (๑) รับขยะเปน็ ถุง (ท่ีไม่ไดค้ ัดแยก) (๒) ฉดี พน่ เอนไซม์ทอี่ อกแบบเฉพาะ
เพื่อเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายและลดกลิ่น (๓) ฉีกถุงพลาสติก (๔) เข้าเครื่องร่อนเพื่อแยกขยะ
โดยมีการลงทุนเบื้องต้น ประมาณ ๒๐ ล้านบาท เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นและผลิตโดยคนไทย จึงสามารถ
ซ่อมแซมได้เองและราคาถูก จากการดำเนินการมา ๓ ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ ๑,๐๐๐ บาทต่อตัน
หรือได้ผลตอบแทนประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อวัน และปัจจุบันเริ่มดำเนินการที่จังหวัดกาญจนบุรี
ลงทุนประมาณ ๓๐๐ ลา้ นบาท

๑๔) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยควรพิจารณาอย่างรอบด้าน เนื่องจากการแก้ปัญหาอย่างหนงึ่
อาจเป็นการสร้างปัญหาอีกอย่างหนึ่งข้ึนมา เช่น การทำความสะอาดขยะพลาสติก ก็จะส่งผลให้เกิดน้ำเสีย
จากการทำความสะอาดซึ่งเป็นน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูง หรือการทำน้ำมัน ก็ยังมีปัญหาเรื่องขอ งคุณภาพ
ของน้ำมันที่ได้ว่าจะสามารถนำไปใช้ได้ที่ไหน อย่างไร เป็นต้น ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาลงรายละเอียด
เพื่อหาวิธีบริหารจัดการต่อไป

๑๕) หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะต้องทำหน้าที่
ทั้ง Regulator และ Operator ซึ่งตามหลักการบริหารที่ดีแล้ว การทำทั้ง ๒ อย่างให้ได้ดีนั้นเป็นเรื่องท่ี
ลำบากมาก จึงเสนอว่า จะมีความเปน็ ไปได้หรือไม่ ที่เราจะมีหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่บริหารจดั การขยะ
มูลฝอยอยา่ งเต็มรูปแบบ เน่อื งจากแนวทางการจัดการขยะแบบเดมิ คอื มุ่งเนน้ การเก็บขน-บำบดั -กำจัด แต่
ปัจจุบนั แนวทางในการจัดการขยะเปล่ียนไปแล้ว โดยมุง่ เนน้ ที่การรีไซเคลิ และหลักการ EPR ซึง่ การจะทำให้
เกิด EPR ในสังคมได้นั้น ต้องใช้ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน จึงเห็นว่าควรมี Promoter คนหนึ่ง ท่ี
ต้องทำหน้าที่ทั้ง Regulator และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการ EPR ในสังคม กระบวนการ EPR จะเป็น
กลไกหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการขยะ จึงควรผลักดันกระบวนการ EPR เข้ามาใน
การบริหารจดั การขยะมูลฝอย

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๑๙ -

๑๖) แนวคิดที่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่บริหารจัดการขยะโดยตรง เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
แต่ก็มีตัวอย่างการตั้งหน่วยงานกลางแล้วเกิดปัญหาในการจัดการ เช่น องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.)
ดังน้ัน จงึ ควรมีการศกึ ษาในเรอื่ งดงั กลา่ วอยา่ งรอบคอบ

๑๗) หน่วยงานกลางที่บริหารจัดการขยะ ควรบริหารงานโดยเอกชน โดยมีรายได้มาจาก
ค่าธรรมเนียมการใช้หรือก่อให้เกิดของเสียนั้น ๆ ทั้งน้ี ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใดที่ไม่พร้อมบริหารจัดการเอง
สามารถเลือกจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมได้ ส่วนผู้ใดมีความพร้อมที่จะบริหารจัดการก็สามารถจัดทำ
แผนดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้หน่วยงานกลาง แต่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้
หน่วยงานกลางต้องทำหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนด้วย ในขณะนี้ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์
และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกบั กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังศึกษาว่ารูปแบบ Business Model แบบใด
ถงึ จะเหมาะสมกับบรบิ ทของประเทศไทย

๑๘) การบริหารจัดการขยะต้องพิจารณาในภาพรวม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
เน่อื งจากทกุ ขัน้ ตอนมีความเก่ียวข้องกันทง้ั หมด

๑๙) การจัดการขยะมูลฝอยในที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่มีพื้นที่หรือความสะดวกเพียงพอ
ควรขยะแยกเท่าที่จำเป็นให้มคี วามเหมาะสมกับขนาดของหอ้ งพัก หลังจากนั้นควรเป็นหน้าที่ของนิตบิ ุคคล
ที่ต้องจัดระบบและประสานกับเทศบาลในการเข้ามาจัดเก็บขยะที่คัดแยกแล้ว และควรจัดพื้นที่ส่วนกลาง
สำหรบั เปน็ จุดทงิ้ ขยะท่ีคดั แยกแล้วเพื่ออำนวยความสะดวกให้กบั ผ้พู กั อาศัย กรณปี ระเทศญ่ปี นุ่ ได้นำแนวคดิ
ดังกลา่ วมาใช้ในการจดั การขยะมูลฝอย กล่าวคอื รายห้องไม่ต้องคัดแยกเยอะ แต่จะให้ผสู้ งู อายุทีอ่ าศัยอยู่ใน
ที่อยู่อาศัยนั้น ๆ เป็นผู้มาคัดแยกอีกครั้ง โดยจัดพื้นที่ส่วนกลางสำหรับดำเนินการไว้ให้ ซึ่งเป็นการช่วยให้
ผู้สงู อายุมีกิจกรรมและมรี ายได้เพม่ิ ขนึ้ ดว้ ย

๒๑) ควรใช้แนวคิดงบประมาณไม่สำคัญเท่ากับการหาแนวทางการบริหารจัดการให้มี
ประสิทธิภาพภายใต้งบประมาณและข้อจำกัดที่มีอยู่ โดยใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามาช่วย
ในการเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทำการคัดเลือก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องทำหน้าท่ี
อำนวยความสะดวกในการดำเนนิ การดว้ ยการพฒั นาโครงสรา้ งพื้นฐานเขา้ ไปรองรบั

๒๒) ชิ้นส่วนที่สัมผัสสารคัดหลัง่ เช่น ไม้ Swab ถือว่าเปน็ ขยะติดเช้ือจึงตอ้ งแยกออกจาก
ขยะทั่วไป และรวบรวมนำส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) เพื่อดำเนินการต่อไป หากไม่มี
การรวบรวมขยะติดเชื้อ ควรดำเนินการทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์ก่อนมัดปากถุงแล้วจึงสามารถนำ
ทงิ้ รวมกบั ขยะทั่วไปได้

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๐ -

๒๓) นโยบายรวมกลุ่ม Cluster หากเป็นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่มักไม่มีปัญหา
ในการจูงใจให้เอกชนร่วมจัดทำโรงไฟฟ้าขยะได้ แต่ Cluster ขนาดเล็ก (มีจำนวนมาก) ซึ่งมีปริมาณขยะ
ไม่มากพอ จึงไม่จูงใจเอกชนในการทำโรงไฟฟ้า เนื่องจากไม่คุ้มทุน จึงควรกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ของ Cluster ขนาดเล็กในการทำโรงไฟฟ้า นโยบายการรวมกลุ่ม
Cluster มาจาก “ความต้องการกำจัดขยะใหห้ มดไป” และมีแนวคิดที่วา่ วธิ กี ารฝังกลบมีปัญหาค่อนข้างมาก
จึงเลือกใช้เทคโนโลยีการเผาเข้ามาช่วยกำจัดขยะ จึงเกิดเป็นนโยบายการรวมกลุ่ม Cluster ข้ึน
ดังนั้น การรวมกลุ่ม Cluster ไม่ใช่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการทำโรงไฟฟ้า แต่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อกำจัดขยะ
ให้หมดไปด้วยการเลือกใชเ้ ทคโนโลยีท่เี หมาะสม จงึ ควรมีแนวทางสำหรบั Cluster ขนาดเล็ก ดังน้ี

- ถ้า Cluster มีศักยภาพในการปรับปรุงบ่อฝังกลบขยะเดิมได้ ก็ควรปรับปรุงบ่อฝัง
กลบเพอ่ื ใช้ในการจดั การขยะของ Cluster

- หากจำเป็นต้องยุบรวม Cluster ควรมีผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการดังกล่าว
ในระดับจังหวัด และต้องจัดทำ Sub-Station ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เป็นศูนย์กำจัด
ของ Cluster โดย Sub-Station นั้นจะเลือกวิธีการแปลงขยะเป็นเชื้อเพลิง หรือบีบอัดเป็นก้อน ก่อน
แลว้ จึงค่อยสง่ เข้าไปกำจัดท่ีกล่มุ ใหญต่ ่อไป ทำให้ อปท. ที่อยู่ไกลมากไมจ่ ำเป็นตอ้ งสง่ ขยะเข้ามาทก่ี ลุ่มใหญ่

๒๔) เทศบาลใดที่ประสงค์จะทำโรงไฟฟ้าที่มีขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงตามประกาศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ
และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามท้ายประกาศข้อ ๑๘
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทุกประเภทที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ ๑๐ เมกกะวัตต์ขึ้นไปต้องทำ
EIA ยกเว้นโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงไม่ต้องทำ EIA เว้นแต่โรงไฟฟ้านั้นตั้งอยู่ในพื้นท่ี
๕ พน้ื ท่ี ดงั ตอ่ ไปนี้

- มมี ติคณะรัฐมนตรีใหเ้ ปน็ พ้ืนทล่ี มุ่ น้ำชน้ั ๑ และช้ัน ๒
- พน้ื ที่คมุ้ ครองส่ิงแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม
- พื้นท่ปี า่ อนรุ กั ษเ์ พ่มิ เตมิ ตามมติคณะรัฐมนตรี
- พน้ื ท่ชี ุ่มนำ้ ท่ีมีความสำคญั ระหวา่ งประเทศ
- พื้นท่ที ม่ี ีระดบั มลพิษทางอากาศสูงกวา่ ร้อยละ ๘๐ ของค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ
ในบรรยากาศโดยทัว่ ไป

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๑ -

ทั้งนี้ เทศบาลต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจาก สำนักงานคณะกรรมการ
กำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อรับแนวทางการปฏิบัติ (Code of Practice) ไปปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม
มาตรการการระบายมลพิษของการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ยังไม่มีสำหรับเชื้อเพลิงจากขยะโดยตรง ดังน้ัน
ทางคณะกรรมาธิการฯ ควรรับไปประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า
โดยควรเพิ่มมาตรฐานคณุ ภาพอากาศท่จี ะปล่อยทง้ิ จากโรงไฟฟ้าขยะดว้ ย

นอกจากนี้ การบริหารจัดการขยะนั้น ไม่ว่าจะกำจัดด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะเกิด
ก๊าซเรือนกระจกขึ้นจากกระบวนการดังกล่าวขึ้นทั้งสิ้น แต่ส่ิงที่ควรดำเนินการต่อไป คือ การเผาแล้วนำ
พลังงานที่ได้ไปใช้ประโยชน์อื่นต่อ เช่น นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งจะ
มีสว่ นชว่ ยลดปรมิ าณคาร์บอนไดออกไซด์ทางออ้ มไดท้ างหน่ึง

๒๕) กรมอนามัยให้ข้อเสนอแนะว่า การคัดแยกขยะเป็นประเด็นสำคัญ จึงต้องสร้าง
ความเข้าใจกับประชาชนให้ดี การออกแบบระบบจัดการขยะจะออกแบบให้ขยะทุกอย่างเข้าสู่กระบวนการ
ซึ่งวิธีท่ีดที ่ีสุด คือ ควรคัดแยกขยะตั้งแต่ตน้ ทาง ในปัจจุบันมีระบบ manifest system ที่ควบคมุ การเก็บขน
และกำจัดขยะตดิ เช้อื

๒๖) กรมควบคุมมลพษิ ให้ขอ้ เสนอแนะว่า ในหว้ งต่อไปขอ้ มูลเกีย่ วกบั ขยะของประเทศไทย
จะเป็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งประเทศ เนื่องจากมีการประสานและลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน
ในการปรบั ปรงุ และจดั ทำขอ้ มูลเกยี่ วกบั ขยะระหว่างกรมควบคมุ มลพษิ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และกรมควบคุมมลพิษควรเป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการจัดเก็บ จัดทำ
และกรอกขอ้ มูลเข้าสู่ระบบ

๒๗) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของ อปท.
คือ “การกำจดั ขยะ” ดังน้ัน ทกุ ภาคส่วนควรให้การสนบั สนนุ อปท. ในการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยด้วย

ฝา่ ยเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๒ -
ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๓ -
ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๔ -
ฝ่ายเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓

- ๒๕ -

-----------------------------------------
นางสาววรยิ า โควสุรตั น์
นิติกรปฏบิ ัติการ
กล่มุ งานคณะกรรมาธิการทรพั ยากรธรรมชาติ
และสง่ิ แวดล้อม
ผจู้ ดั ทำสรปุ
นางสาวฑิฆัมพร ฝาชยั ภูมิ
วิทยากรชำนาญการ ตรวจ/ทาน ๑
นางสาวสริ ภทั ร พมิ พ์แก้ว
ผบู้ งั คับบัญชากลมุ่ งาน ตรวจ/ทาน ๒

ฝา่ ยเลขานุการคณะกรรมาธกิ ารทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๖๒ – ๓


Click to View FlipBook Version