EGYPT
คำนำ
E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ส33106 วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๖/๑๔ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องอารยธรรมอียิปต์ซึ่ง
E-bookเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอายธรรม ยุค เทพเจ้า และ การทำมัมมี่ ของอียิปต์
ผู้จัดทำได้เลือก หัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้จัดทำ
จะต้องขอขอบคุณ อาจารย์ประจำวิชา ส33106 อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ให้ความรู้ และ
แนวทางการศึกษาเพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่า
E-BOOKเล่มนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน
ประสิทธิ์ จัดทำโดย
จน์ นางสาว พัฒิญา อักษรชู
นางสาว พิชญา ยอดกุล
นางสาว ศุภิสรา เชาว์วีระ
นางสาว แพรวา ตรีธนศรีวรกุล
นางสาว นงนภัส วุฒิกนกกาญ
สารบัญ 1
เกริ่นนำอารยธรรมอียิปต์ 2
ยุคของประวัติศาสตร์
เทพเจ้าอียิปต์โบราณ 3
เทพีไอซิส (Isis)
เทพเจ้าอนูบิส (Anubis) 4
เทพเจ้าฮอรัส (Horus)
เทพีฮาเธอร์ (Hathor) 5
เทพเจ้ารา (Ra/Re)
เทพอามอน/อามุน (Amon/Amun/Amen) 6
เทพเจ้าโอซิริส(Osiris)
มัมมี่(Mummy) 7
8
9
11
12
อารยธรรมอียิปต์
อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็ นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่
ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลาง
จนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปั จจุบันเป็ นที่ตั้งของ ประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
โบราณสืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเริ่มปรากฎชัดเมื่อ
ประมาณ 3,150 ปี ก่อนคริตศักราช จากการรวมอำนาจทางการเมืองของ
อียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ “ฟาโรห์นาร์เมอร์” ซึ่งเป็ น “ฟาโรห์” องค์
แรกแห่งอียิปต์
ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็ นเพียงแต่เกษตรกรหรือช่างก่อสร้าง แต่ยังเป็ นนัก
คิด, นักปรัชญา ผู้ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มากมายตลอดพัฒนาการ
ของอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งคณิตศาสตร์ วิธีการสร้างพีระมิด วัด โอเบลิ
สก์ ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา
ประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม สิ่งที่
อียิปต์ทิ้งไว้เป็ นมรดกแก่อนุชนรุ่นหลัง คือ ศิลปะและสถาปั ตยกรรม ซึ่งถูกคัด
ลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่าง ๆ ในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว
และนักประพันธ์ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปั จจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ ๆ
ในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็ นมา เพื่อเป็ นหลักฐาน
แก่อารยธรรมอียิปต์ และอารยธรรมของโลกต่อไป
ประวัติศาสตร์ของอียิปต์อาจแบ่ง
ออกได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
1.) ยุคราชวงศ์เริ่มแรก อยู่ในช่วง 3100-2686 ปี ก่อนคริสตกาล โดยเริ่มตั้งแต่พระ
เจ้าเมเนส รวบรวมเมืองต่างๆ ได้ทั้งในอียิปต์ล้างและอียิปต์บนเข้าเป็ นอาณาจักร
เดียวกัน และเข้าสู่ราชวงศ์ที่ 1 และ 2 ยุคนี้เป็ นยุคการสร้างอียิปต์ให้มีความเป็ นปึ ก
แผ่นเข็มแข็ง
2.) ยุคราชวงศ์เก่า อยู่ในช่วง 2686-2181 ก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3
อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครอง
ต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ที่ 9 และ 10 ราชวงศ์ที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ
ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีการสร้างปิ รามิดที่ยิ่งใหญ่มากมายโดยเฉพาะ มหาปิ รามิดของ
ฟาโรห์คูฟูที่เมืองเซห์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสตกาล อียิปต์ในยุคนี้
ถือว่าเป็ นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง และการสร้างสรรค์ความเจริญในยุคนี้ได้เป็ น
รากฐานและแบบแผนของความเจริญของอียิปต์ในสมัยราชวงศ์ต่อๆ มา
3.) ยุคราชวงศ์กลาง อยู่ในช่วง 2,040-1,782 ปี ก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่
11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ “อเมนเนม
เฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I)” จนเรียกได้ว่าเป็ นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ
สถาปั ตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดี
ทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง
ยุคนี้เป็ นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี แต่ความรุ่งเรือง
ของอียิปต์ก็หยุดชะงักลงจากการรุกรานของกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนคือ “พวกฮิกโซส
(Hyksos)” ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ายึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และเอเชียไมเนอร์ได้แล้ว
เพราะพวกฮิกโซสมีความเก่งกาจในการรบกว่าชาวอียิปต์ ทำให้สามารถครอบครอง
อียิปต์ไว้ได้ตั้งแต่ 1,670-1,570 ปี ก่อนคริสตกาล แต่เนื่องด้วยอียิปต์มีความเจริญที่
เหนือกว่า พวกฮิกโซสจึงเป็ นฝ่ ายรับความเจริญไปจากอียิปต์ จึงทำให้อารยธรรม
อียิปต์ไม่ขาดความต่อเนื่องแต่อย่างใด
4.) ยุคราชวงศ์ใหม่ อยู่ในช่วง 1,570-332 ก่อนคริสตกาล ระหว่าง
ราชวงศ์ที่ 18-31 เมื่อชาวอียิปต์ได้ก่อกบฏและมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึง
เริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย
ปาเลสไตน์และฟิ นิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการ
ขนานนามว่า “สมัยจักรพรรดิ” (Empire) แต่ในช่วงหลังๆ อำนาจการ
ปกครองจากส่วนกลางค่อยลดลง เหล่าขุนนางที่ปกครองเมืองที่ห่างไกล
ก็เริ่มแข็งขืนต่ออำนาจมากขึ้นจนถึงประมาณ 700 ปี ก่อนคริสตกาล
อียิปต์ก็พ่ายแพ้ต่อชาวอัสซีเรียน และเมื่ออาณาจักรเปอร์เซียได้เข้ายึด
ครองเมโสโปเตเมีย อียิปต์ก็ตกเป็ นส่วนหนึ่งของเปอร์เซีย และประมาณ
332 ปี ก่อนคริสตกาล ดินแดนอารยธรรมทั้งเมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และ
อียิปต์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
มหาราช
เทพเจ้าอียิปต์โบราณ
ในตำนาน เทพเจ้าอียิปต์โบราณ นั้นมีความเชื่อว่า เทพเจ้าอวตาร
มายังโลกมนุษย์คลับคล้ายกับความเชื่อแบบฮินดูของชาวอินเดีย เช่น
“เทพโอซิริส” อวตารลงมาเป็ นมนุษย์และเป็ นกษัตริย์ปกครองอียิปต์
จนรุ่งเรืองร่มเย็น แต่ถูก “เทพเซธ” น้องชายขี้อิจฉาทำอุบายฆ่าและ
ตามไปหั่นศพทิ้งทั่วอียิปต์ ส่วนเทพองค์สุดท้ายที่อวตารมาเป็ นมนุษย์
ปกครองอียิปต์คือ “เทพฮอรัส” ซึ่งทำสงครามยาวนานกับ “เทพเซธ”
เพื่อกู้อาณาจักรอียิปต์ และหลังสิ้นสุดยุครุ่งเรืองของเทพฮอรัส
บรรดาทวยเทพก็ปล่อยให้มนุษย์ปกครองอียิปต์กันเอง
เทพีไอซิส (Isis)
ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็ นสตรี สวมหมวกเป็ นรูปบัลลังก์ (มีทั้งรูปเก้าอี้บัลลังก์บน
ศีรษะ บ้างก็เป็ นวงกลมคือดวงอาทิตย์อยู่กลางเขาวัว)
ความหมาย : เทพีแห่งเวทมนตร์
บทบาท: เป็ นเทพีผู้ปกป้ องกษัตริย์อียิปต์และพระโอรส “ฮอรัส”เปรียบเสมือนเทพี
แห่งมารดาผู้มีพลังในการเยียวยารักษา
ตำนาน : ธิดาของเทพรา มเหสีเทพโอซิริส อียิปต์เคยมีความเชื่อเรื่องเทพอวตาร
มาปกครองโลกมนุษย์ โดยเทพีไอซิส อวตารมาเป็ นมนุษย์และเป็ นน้องสาวแท้ๆ ของ
เทพโอซิริสในภาคมนุษย์ ทั้งสองครองคู่กันปกครองอาณาจักรอียิปต์เจริญรุ่งเรือง
และมีพระโอรสคือ เทพฮอรัส ผู้เป็ นเทพอวตารมาเช่นกัน
วีรกรรมของเทพีไอซิสภาคมนุษย์ คือการตามกอบกู้ร่างพระสวามี เทพโอซิริสภาค
กษัตริย์อียิปต์ที่ถูกน้องชาย(เทพเซธ) ล่อลวงฆ่าถ่วงน้ำแถมตามสับร่างเป็ นชิ้นเพื่อ
โค่นอำนาจแย่งราชบัลลังก์ ก่อนจะนำร่างของเทพโอซิริสในตอนเป็ นกษัตริย์อียิปต์
กลับมาประกอบพิธีกรรมเพื่อส่งวิญญานของโอซิริสเข้าสู่ดินแดนมรณะหลังความ
ตาย และเทพโอซิริสก็กลายเป็ นราชันหลังความตายผู้ทำหน้าที่พิพากษาความดี-
ความชั่วของมนุษย์ ส่งมนุษย์ที่ตายแล้วไปสู่ดินแดนชีวิตนิรันดร์
ในภาพวาดที่เล่าเรื่องชีวิตหลังความตายตามความเชื่อของอียิปต์ เทพีไอซิส เป็ นผู้
รอรับร่างคนตายต่อจากเทพอนูบิส และพาร่างนั้นขึ้นเรือล่องข้ามแม่น้ำไปสู่ดินแดน
มรณะ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิพากษา ที่เทพโอซิริสจะจับหัวใจของคนตายรายนั้น
ชั่งตวงเทียบกับขนนก ถ้าหัวใจคนนั้นเบากว่าขนนก ก็จะได้สิทธิฟื้ นคืนชีพ วิญญาณ
กลับเข้าร่าง และได้อยู่ในดินแดนชีวิตนิรันดร์
วิหารบูชาเทพไอซิส: วิหารที่ถูกสร้างอุทิศให้แก่เทพไอซิส คือ วิหารฟิ เล (Philae)
ซึ่งเคยถูกจมน้ำ หลังจากอียิปต์สร้างเขื่อนอัสวาน (เขื่อนกักน้ำแห่งแรกของโลก) ต่อ
มาวิหารฟิ เลถูกรื้อไปสร้างใหม่ที่เกาะฟิ เล
เทพเจ้าอนูบิส
(Anubis)
ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็ นหมาในสีดำ ร่างกายเป็ นมนุษย์ผู้ชาย
ความหมาย : เทพแห่งความตาย เจ้าแห่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์
บทบาท: ต้อนรับผู้ตายและปกป้ องร่างกายไม่ให้เน่าเปื่ อย เป็ นเทพองค์แรก
ที่มนุษย์จะได้พบหลังความตาย
ตำนาน : เดิมทีอนูบิสเป็ นเทพที่เกี่ยวกับความตายเฉพาะในส่วนของฟาโรห์
เท่านั้น ต่อมาจึงเป็ นเทพที่ดูแลโลกหลังความตายของชาวไอยคุปต์ทั่วไป
ด้วย และในภาพสลักเกี่ยวกับการทำมัมมี่ก็มักจะมีรูปเทพอนูบิสเป็ นผู้ทำ
หน้าที่ดองศพทำมัมมี่แต่อันที่จริงหน้าที่หลักของเทพอนูบิส คือต้อนรับผู้
ตาย เข้าสู่โลกหลังความตาย และการดูแลรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่ อย ก่อนที่จะ
ส่งต่อร่างนั้นให้เทพไอซิส ซึ่งจะพาร่างคนตายนั่งเรือข้ามแม่น้ำไปสู่แดน
มรณะ เพื่อพบกับเทพเจ้าโอซิริส ผู้พิพากษาว่าวิญญาณของใครจะขึ้นสู่
สวรรค์
ภาพวาดเทพอนูบิสจะปรากฏอยู่ในภาพวาดเล่าเรื่องชีวิตหลังความตาย ทั้ง
ในสุสานของฟาโรห์ ที่หุบผากษัตริย์ และในภาพวาดบนกระดาษปาปิ รุส ชื่อ
Hunefer, Book of the Dead ซึ่งพบหลักฐานในเมืองธีบส์ อียิปต์ วาดช่วง
1,290 ปี ก่อนคริสตกาลปั จจุบันเป็ นคอลเลกชันที่ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์บริ
ทิช พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของอังกฤษ ปั จจุบัน
เทพเจ้าฮอรัส
(Horus)
ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็ นเหยี่ยวร่างกายเป็ นมนุษย์ผู้ชาย ดวงตาข้างซ้ายคือ
ดวงสุริยะ ดวงตาข้างขวาคือดวงจันทร์
ความหมาย : เทพเจ้าแห่งท้องฟ้ า ตามพระนามแปลว่า เทพผู้อยู่เบื้องบน
บทบาท: ตัวแทนองค์ฟาโรห์ เชื่อมโยงถึงกษัตริย์ และมีความเชื่อว่าเป็ นผู้
กอบกู้อาณาจักรอียิปต์จากอธรรมในยุคเทพเจ้าปกครอง
ตำนาน : มีตำนานที่เล่าว่า กษัตริย์ผู้ปกครองอียิปต์ในสมัยดึกดำบรรพ์
(ก่อนเกิดอาณาจักรอียิปต์โบราณเมื่อ 5,000 ปี มาแล้ว) เป็ นเทพเจ้า และ
เทพฮอรัสเป็ นเทพองค์สุดท้ายที่อวตารมาเป็ นมนุษย์ปกครองอียิปต์ช่วยกู้
อาณาจักรอียิปต์จากเทพเซธ ผู้มีศักดิ์เป็ นอา (น้องชายเทพโอสิริสภาค
อวตาร พระบิดาของเทพฮอรัส) แย่งราชบัลลังก์ เทพฮอรัสกู้อียิปต์คืนจาก
เทพเซธได้และปกครองอียิปต์เจริญรุ่งเรือง เมื่อสิ้นสุดการปกครองของเทพ
ฮอรัส บรรดาทวยเทพก็ปล่อยให้มนุษย์ปกครองอียิปต์กันเอง
วิหารบูชาเทพฮอรัส: วิหารฮอรัสเป็ นวิหารที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่ง
หนึ่งในอียิปต์ สร้างสมัยราชวงศ์ทอเลมีที่ 3 ยุคสุดท้ายของอาณาจักรอียิปต์
ช่วงราว 237 ปี ก่อนคริสตกาล (ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทอเลมี คือนายพลปโตเลมี
ชาวกรีกหลังกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชของกรีกยึดอียิปต์ได้
สำเร็จ พระนางคลีโอพัตราผู้โด่งดังเป็ นฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเล
มี และอาณาจักรอียิปต์)
เทพีฮาเธอร์ (Hathor)
ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็ นสตรี บนศีรษะมีเขาวัวและดวงอาทิตย์อยู่ตรง
กลาง (มีความคล้ายกับเทพีไอซิส)
ความหมาย : เทพแห่งความรัก ความเป็ นแม่ ศิลปะและดนตรี
บทบาท : เทพแห่งความรัก ความเป็ นแม่ และเป็ นเทพีแห่งสตรีทั้งมวล
เป็ นเทพแห่งการเจริญพันธุ์และการให้กำเนิด รวมทั้งเรื่องสุขภาพ ความ
งาม โดยมีนักบวชที่บูชาเทพฮาเธอร์มีทั้งนักบวชชายและหญิงมีงาน
เทศกาลต่างๆ ที่เฉลิมฉลองเพื่อบูชาเทพฮาเธอร์ อีกทั้งยังเป็ นเทพผู้
คุ้มครองฟาโรห์
ตำนาน : หนึ่งในเทพเก่าแก่ที่อยู่คู่ชาวไอยคุปต์มานาน เทพราสร้างเทพีฮา
เธอร์มาจากน้ำตาของพระองค์ การบูชาเทพฮาเธอร์ปรากฏมาตั้งแต่ใน
สมัยอาณาจักรเก่า หรือยุคที่แผ่นดินอียิปต์รวมกันและมีฟาโรห์เป็ นเจ้า
ปกครองอาณาจักรเป็ นครั้งแรก เมื่อราว 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ให้การ
เคารพบูชาเทพฮาเธอร์ในฐานะเทพของอียิปต์บน (เทพอียิปต์ล่างคือ บา
สต์) และยังได้รับการเคารพบูชาเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์ทอเลมี
ปกครองอียิปต์ ยุคสุดท้ายการมีฟาโรห์ เทพฮาเธอร์ เป็ นเทพแห่งเดือน
เฮทารา (Hethara) เดือนที่ 3แห่งปี ตามปฏิทินอียิปต์
เทพเจ้ารา/เร
(Ra/Re)
ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็ นเหยี่ยว มีสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ
ความหมาย : เทพแห่งความเป็ นอมตะ
บทบาท : เทพเจ้ารา หรือ เร ถือเป็ นสุริยเทพ หรือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็ นเทพสูงสุด
อียิปต์ อียิปต์โบราณเชื่อว่า ฟาโรห์ เจ้าผู้ปกครองอาณาจักร เป็ นโอรสแห่งสุริยเทพที่ถูกส่งลง
มาปกครองโลกมนุษย์ เทพเจ้าราเป็ นตัวแทนแห่งการฟื้ นคืนชีพ เสมือนพระอาทิตย์ที่ขึ้นใหม่ใน
ทุกเช้าของชีวิตบนโลกมนุษย์
ตำนาน : การบูชาเทพเจ้าเร หรือ เทพเจ้ารา ปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในยุคราชวงศ์ที่ 2
แห่งอาณาจักรเก่า ต่อมาในยุคราชวงศ์ที่ 5 จึงค่อยปรากฏความเชื่อที่เชื่อมโยงกับฟาโรห์
กล่าวว่าฟาโรห์เป็ นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือ เทพเจ้ารา ส่งผลให้ชื่อของฟาโรห์ทุก
พระองค์จะมีคำว่า เร หรือ รา ผสมอยู่ เทพราเป็ นเทพเจ้าที่ได้รับการบูชาในสมัยอาณาจักรเก่า
ก่อนที่ชาวอียิปต์จะหันมาบูชา เทพอามุน-รา (Amon-Ra) ในยุคอาณาจักรกลาง ซึ่งเทพเจ้าอา
มุน-รา เป็ นการรวมเทพอามุน (Amun) เทพแห่งเมืองธีบส์ เมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์
ยุคกลาง กับเทพรา มารวมเป็ นเทพองค์เดียวกัน แต่เมื่อการบูชาเทพเจ้าอามุนต้องผ่าน
นักบวช จนนักบวชมีอิทธิพลร่ำรวยและมีอำนาจมากกว่าฟาโรห์ ต่อมาในยุคอาณาจักรใหม่
ฝ่ ายฟาโรห์จึงยกเทพเจ้าราขึ้นสูงสุด และปลูกฝั งความเชื่อว่าฟาโรห์สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า
แห่งดวงอาทิตย์โดยเฉพาะในยุคของฟาโรห์ทุตโมซิส (Thuthmosis) และ ฟาโรห์แอเมนโฮเทป
ที่ 3 (Amenhotep III) ต่อมาฟาโรห์แอเคนาเทน (Akhenaten) ก็ได้หันมาบูชาเทพเจ้าแห่งแสง
อาทิตย์ ในชื่อของเทพเจ้าอาเทน (Aten) เป็ นเทพสูงสุดองค์เดียวและยกเลิกการบูชาเทพอา
มุน หรือเทพอามุน-รา โดยสิ้นเชิง และการบูชาเทพเรหรือเทพรา ก็รุ่งเรืองอย่างที่สุดในยุค
อาณาจักรใหม่นี่เอง
วิหารบูชาเทพเจ้ารา : มีในสมัยอาณาจักรเก่า และพบหลักฐานภายในวิหารอาบูซิมเบล ที่สร้าง
หลายสมัยจนเสร็จสิ้นในสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 2 เป็ นวิหารบูชาเทพอามุน-รา แต่ในห้อง
ศักดิ์สิทธิ์ชั้นใน มีทั้งรูปปั้ นเทพเจ้ารา หรือเรียกว่า ราแห่งเฮียราโพลิส และเทพอามุน-ราอยู่
ด้วย
ภายในสุสานฟาโรห์แห่งสมัยอาณาจักรใหม่ที่ตั้งอยู่ใน หุบผากษัตริย์ มักจะมีภาพสลักและภาพวาด เล่าเรื่องราวการเดิน
ทาง 12 ชั่วโมงหรือ 12 ยาม ในโลกแห่งความตาย เล่าถึงการเสียชีวิตในยามที่ 5 ก่อนจะได้รวมตัวกับเทพโอซิริสในดิน
แดนแห่งความตายนั้น และกลับมาฟื้ นคืนชีพเป็ นแมลงทับ หรือ สคารับ (Scarabหรือ Khepri) ในชั่วโมงสุดท้าย
ในสมัยราชวงศ์ทอโลมีของชาวกรีกที่เข้ามาสถาปนาราชวงศ์ปกครองอียิปต์ยุคหลังพระเจ้าอ
เล็กซานเดอร์พิชิตอียิปต์ ก็ยังบูชาเทพเจ้ารา แต่เมื่อราชวงศ์นี้สิ้นสุดลงในยุคของพระนางคลี
เทพอามอน/อามุน
(Amon/Amun/Amen)
ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็ นมนุษย์ สวมกระโปรงแบบฟาโรห์และสวมหมวก
มงกุฎขนนกคู่
ความหมาย : จอมราชันแห่งปวงเทพ
บทบาท: เทพสูงสุดของทวยเทพอียิปต์ทั้งมวล ตามประวัติบอกว่าเทพอามุน
ได้รับการเคารพบูชาในอาณาจักรโบราณและขยายไปถึงดินแดนเอธิโอเปี ย นิ
วเบีย ลิเบีย และปาเลสไตน์ ทั้งยังเป็ นเทพแห่งสุริยะและสายลม
ตำนาน : หนึ่งในแปดเทพเจ้าสำคัญยุคอียิปต์โบราณที่มีชื่อจารึกอยู่ในคัมภีร์
Pyramid Texts ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็ นจอมราชันแห่งปวงเทพที่เกี่ยว
เนื่องกับตำนานการสร้างโลก (เมืองHermopolite) เทพอามุนถือเป็ นเทพ
ประจำเมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ยุคอาณาจักรใหม่นั่นก็คือ
“เมืองธีบส์”มีพระมเหสีคือ เทพีอมุเนต (Amunet)แต่พออีกยุคสมัยที่เทพอา
มุนถูกนำมารวมกับเทพราเป็ น อามุน-รา และได้รับการยกย่องจากชาวกรีก
ให้เทียบเท่าเทพซุส
วิหารบูชาเทพอามุน : เทพอามุนเป็ นมหาเทพที่มีมหาวิหารใหญ่โตที่สุดเท่าที่
มนุษย์เคยสร้างมา ได้แก่
มหาวิหารคาร์นัค (Karnak) และลักซอร์ (Luxor)ตั้งอยู่ทางฝั่ งตะวันออก
ของแม่น้ำไนล์ สร้างเพื่อบูชาเทพอามุนมีถนนสฟิ งซ์เชื่อมวิหารทั้งสอง
หลัง ความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร มหาวิหารคาร์นัคถือเป็ นวิหารเทพเจ้าที่
ใหญ่โตที่สุดในโลกที่มนุษย์เคยสร้างมามีป้ อมปราการหนาทึบสูงเกือบเท่า
ตึก 20 ชั้น หนาหลายสิบฟุต และเสาหินหนาสูงใหญ่ทั้งหมด 10 เสา
ภายในมีวิหารเล็กซ้อนอยู่ข้างในอีกหลายแห่งวิหารคาร์นัคสร้างสืบต่อกัน
มาหลายสมัย เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งมีรูปปั้ น
ของรามเสสที่ 2 ขนาดมหึมา ยืนอยู่ปากทางเข้าวิหารเทพอามุน-ราและ
ภายในมีภาพสีนูนสูงนูนต่ำ เล่าเรื่องราวทวยเทพของอียิปต์ รวมทั้งรูป
ฟาโรห์รามเสสที่ 3 บนรถศึกกำลังทำสงครามกับศัตรู ความใหญ่โต
เฉพาะห้องโถงภายในมหาวิหารคาร์นัคใหญ่เทียบเท่ากับโบสถ์เซนต์ปอล
ในลอนดอนรวมกับโบสถ์เซนต์ปี เตอร์ในโรม
•วิหารอาบูซิมเบลตั้งอยู่ที่เมืองอัสวาน เป็ นเทวสถานแห่งเดียวที่ไม่จมอยู่
ใต้เขื่อนอัสวานเป็ นวิหารบูชาเทพสูงสุดอามุน-รา สร้างสมัยฟาโรห์รามเส
สที่ 2 เป็ นวิหารที่เจาะเข้าไปในภูเขาหินทราย ด้านหน้าแกะสลักผาหินเป็ น
รูปฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในท่านั่ง 4 รูป ตรงปากทางเข้าห้องเล็กๆ ด้านใน
สุดของวิหารอาบูซิมเบล เป็ นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด มีรูปปั้ นเทพอามุน-
รา และเทพอีก 2 องค์ คือเทพทาห์แห่งเมมฟิ ส เทพรา-ฮอรัคตี แห่งเฮลิ
โอโปลิส (Heliopolis)และฟาโรห์รามเสสที่ 2
เทพเจ้าโอซิริส
(Osiris)
ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็ นมนุษย์มีเครา ถือแส้และคฑาหัวขอ
ความหมาย : เทพแห่งแม่น้ำไนล์
บทบาท : เป็ นผู้พิพากษา ดวงวิญญาณของมนุษย์หลังความตายว่าใครจะได้ขึ้นสวรรค์-ขั้น
ตอนการพิพากษาจะนำก้อนเนื้อหัวใจของผู้ตายที่ติดอยู่ในร่างมัมมี่นั้น (ในการทำมันมี่อวัยวะ
ภายในที่ไม่ถูกดูดออกคือหัวใจ) มาชั่งบนตาชั่ง เทียบกับ น้ำหนักของขนนกหากหัวใจเบากว่า
ขนนก ถือว่าคนนั้นเป็ นคนดี สมควรได้ขึ้นสวรรค์ หรือ เป็ นการฟื้ นคืนชีพ เกิดใหม่ในดินแดน
ที่ชีวิตเป็ นนิรันดร์
ตำนาน : เทพโอซิริสเป็ นเทพเจ้าที่อวตารลงมาเป็ นมนุษย์และได้เป็ นกษัตริย์ปกครองอียิปต์
และมีพระชายาคือ เทพีไอซิส ซึ่งเป็ นน้องสาวแท้ๆ ทั้งคู่ให้กำเนิดเทพฮอรัส ในยุคสมัยของโอ
ซิริสปกครองอียิปต์บนผืนโลกนั้น มีความรุ่งเรืองร่มเย็น ทำให้น้องชายแท้ๆ ชื่อ เทพเซธ เกิด
ความอิจฉาริษยา และวางแผนกำจัดพี่ชาย ด้วยการออกอุบายให้จัดงานเลี้ยงและล่อลวงเทพ
โอซิริสให้ลงไปนอนในโลงศพ และปิ ดฝาโลงเอาไปถ่วงแม่น้ำไนล์ ก่อนที่เทพเซธจะสถาปนา
ตัวเองขึ้นมาเป็ นกษัตริย์อียิปต์องค์ใหม่
ส่วนเทพีไอซิส พระชายาได้ออกตามหาพระศพของเทพโอซิริสเพราะเชื่อว่าหากไม่มีการ
ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ดวงวิญญาณของเทพโอซิริสภาคอวตารเป็ นกษัตริย์นี้จะไม่
ได้ขึ้นสวรรค์ในที่สุดเทพีไอซิสก็ตามหาโลงศพของโอซิริสพลที่เมืองบิบลอส (ปั จจุบันคือ
เลบานอน) แต่เทพเซธก็ตามล่าล้างบางเช่นกัน และจับร่างโอซิริสหั่นเป็ น 14 ชิ้น และเอาไป
โยนทิ้งทั่วอียิปต์
เทพีไอซิสยังตามไปเก็บชิ้นส่วนร่างเหล่านั้นกลับมาจน
ครบ แม้จะใช้เวลาหลายปี ขาดเพียงชิ้นส่วนอวัยวะเพศ ที่ถูก
ทิ้งแม้น้ำไนล์และถูกปลากัดกิน
เมื่อนำชิ้นส่วน 13 ชิ้นของกษัตริย์โอซิริส มาประกอบ
พิธีกรรม และเทพีไอซิสร่ายพระเวทย์เรียกอวัยวะเพศกลับ
มาใหม่จนครบ 14 ชิ้นแล้ว ได้มีการประกอบพิธีฝั งศพบน
เกาะฟิ เล ซึ่งถือเป็ นเกาะศักด์สิทธิ์ ส่งให้ดวงวิญญานของ
กษัตริย์เข้าสู่แดนมรณะ และกลายเป็ นเทพเจ้าผู้ทำหน้าที่
ตัดสินการกลับคืนฟื้ นชีพของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม หลังยุค
ของกษัตริย์โอซิริสและเทพีไอซิสแล้ว เทพเจ้าที่อวตารลงมา
เป็ นกษัตริย์อียิปต์คนต่อมาคือ เทพฮอรัส ซึ่งได้กอบกู้
อาณาจักรคืนจากเทพเซธ
หลักฐานการบูชาเทพโอซิริส : มีภาพวาดสีภายในสุสานของฟาโรห์ทุตโมซิส
ที่ 4 มีเทพโอซิริสใส่ชุดขาว และอนูบิส เทพแห่งความตาย (ซึ่งมีศีรษะเป็ น
รูปสุนัขและร่างกายเหมือนคน) มารับฟาโรห์ไปสู่ปรโลกและมีภาพสลักเทพ
โอซิริสบนฝาโลงศพชั้นในสุดที่ทำด้วยทองคำแท้หนักกว่า 100 กิโลกรัม
ของฟาโรห์ตุตันคาเมน -ตำนานของเทพโอซิริสและครอบครัว (เทพไอซิส
และเทพฮอรัส) เป็ นตำนานยอดนิยม ถูกนำมาทำเป็ นรูปปั้ นและภาพวาด
ของที่ระลึกวางขายให้นักท่องเที่ยวที่มาอียิปต์ยุคศตวรรษที่ 21
มัมมี่ (MUMMY)
กำเนิดมัมมี่อียิปต์
จากการขุดพบซากศพที่เก็บรักษาไว้ในสภาพของมัมมี่ ตั้งแต่สามพันปีก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา
นั้น เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวอียิปต์ที่ว่า แม้คนเราจะตายไปแล้วแต่ก็ยังมี
สภาวะความต่อเนื่องในชีวิตตลอดไปจนถึงภพหน้า ซึ่งอิทธิพลความเชื่อถือดังกล่าวนี้เอง ได้
พัฒนาไปสู่ความเจริญแห่งอารยธรรมอียิปต์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาทางด้านศิ
ปกรรม สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีโบราณ แม้กระทั่งกฎหมายของสังคมไปด้วยในเวลาเดียวกัน
• การฝังศพสู่พื้นดินในระยะเริ่มแรกของวัฒนธรรมอียิปต์จะทำโดยปล่อยให้เม็ดทรายที่แห้งและ
ร้อน ไหลเข้าไปในหลุม โดยไม่มีการสร้างเครื่องกีดขวาง จุดประสงค์อันนี้ก็คงต้องการเพื่อให้เม็ด
ทรายที่แห้งเกรียม ปราศจากความชื้น ช่วยรักษาศพไว้ให้อยู่ในสภาพแห้งกรังเป็นเวลานานนับ
ศตวรรษ หรือพันๆ ปี ศพที่ถูกเก็บรักษาไว้ด้วยความแห้งแล้งของเม็ดทรายในลักษณะนี้ มีการขุด
พบหลายแห่งด้วยกัน โดยสภาพศพจะมีผิวหนัง และเส้นผมแห้งกรังติดอยู่กับโครงกระดูก
• มัมมี่ (Mummy) เชื่อกันว่ามาจากคำว่า มัมมียะ (Mummiya) คำในภาษาเปอร์เชียซึ่งหมาย
ถึงร่างของศพที่ถูกทำให้มีสีดำ คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้ง
ร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้
ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ
ชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนว
นอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเล
ทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่ อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา
• การทำมัมมี่ อียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวน
กลับคืนร่างของวิญญาณ จึงนำศพของผู้ตายมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดย
การใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรงจมูก แล้วใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟซึ่งมี
ความคมมาก กรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาตับ ไต กระเพาะอาหาร ปอดและลำไส้ออกจากศพ โดย
เหลือหัวใจไว้
• สาเหตุที่ไม่เอาหัวใจออกจากร่างด้วยเพราะเชื่อกันว่าหัวใจเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ อวัยวะ
ภายในเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยวัสดุประเภทขี้เลื่อย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอม จากนั้น
อวัยวะทั้งหมดจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม เสร็จแล้วก็จะถูกนำลงบรรจุในภาชนะสี่เหลี่ยม มีฝา
ปิด ที่รู้จักกันในชื่อของคาโนบิค ส่วนร่างของผู้ตายจะถูกนำไปดองโดยใช้เกลือประมาณ 7-10 วัน
เมื่อศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสน จากนั้นจะมีการตกแต่งและพันศพด้วยผ้า
ลินินสีขาวชุบเรซิน มัมมี่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำบรรจุลงในหีบศพ พร้อมกับเครื่องรางของ
ขลังต่างๆ และมัมมี่บางตัวยังมีหน้ากากที่จำลองในหน้าของผู้ตายวางไว้ในหีบศพของมัมมี่อีกด้วย
จัดทำโดย
น.ส. พัฒิญา อักษรชู ม.๖/๑๔ เลขที่ ๒๔
น.ส. พิชญา ยอดกุล ม.๖/๑๔ เลขที่ ๒๕
น.ส. ศุภิสรา เชาว์วีระประสิทธิ์ ม.๖/๑๔ เลขที่ ๒๙
น.ส. แพรวา ตรีธนศรีวรกุล ม.๖/๑๔ เลขที่ ๓๑
น.ส. นงนภัส วุฒิกนกกาญจน์ ม.๖/๑๔ เลขที่ ๓๒
-Thank you-