The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การฟัง การดู และการพูด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ploybanthoeng, 2021-09-20 04:17:19

การฟัง การดู และการพูด

การฟัง การดู และการพูด

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


การฟัง เ รื่ อ ง พูด

การ

การดู

จั ด ทำ โ ด ย

นางสาวกมลชนก อารามรักษ์ เลขที่ 11
นางสาวปวริศา บ
รรเทิ ง เลขที่ 15
ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 5/1

โ ร ง เ รี ย น เ บ ญ จ ม า นุ ส ร ณ์

คำนำ

หนั งสืออิเล็กทรอนิ กส์ เรื่อง การฟัง การดู และ
การพูด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนั กเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ
ใช้หนั งสืออิเล็กทรอนิ กส์(E-book) สำหรับครูผู้สอน และ
นั กเรียนที่กำลังหาข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องการฟัง การดู
และการพูด

ผู้จัดทำหวังว่าหนั งสืออิเล็กทรอนิ กส์ (E-book)
ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ กับทุกคนที่ได้อ่าน หรือหาความรู้
ในเรื่องนี้ หากผิดพลาดประการใดผู้จัดทำต้องขออภัยไว้
ณ ที่นี้ ด้วย

นางสาวกมลชนก อารามรักษ์
นางสาวปวริศา บรรเทิง

โ ร ง เ รี ย น เ บ ญ จ ม า นุ ส ร ณ์

ก.

สารบัญ

เรื่อง หน้า

การฟัง การดู และการพูด ก.
ข.
~คำนำ 1
~สารบัญ
~การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ 2
3
ความหมาย 4
จุดมุ่งหมาย 5-6
กระบวนการฟังและดู
~หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ 7
สารที่เป็นความรู้ 8
สารจรรโลงใจ 9
สารโน้มน้าวใจ 10
~มารยาทในการฟังและการดู 11
~การพูดโน้มน้าวใจ 12
ความหมาย 13
จุดมุ่งหมาย 14-15
การพูดโน้มน้าวใจในชีวิตประจำวัน
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ
คุณธรรมในการพูด
มารยาทในการพูด
~แหล่งอ้างอิง
~ผู้จัดทำ

โ ร ง เ รี ย น เ บ ญ จ ม า นุ ส ร ณ์

ข.

ภาษาไทย

การฟัง
การดู
และการพูด

การฟัง การดู และการพูด

การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

ในชีวิตประจำวันมนุษย์จำเป็นต้องใช้การสื่อสารหลายรูปแบบ ใน
หลายสถานการณ์ จะเห็นได้ว่าการฟังและดูเป็นทักษะที่ใช้สื่อสารบ่อย
ที่สุด มากกว่าการพูดและการเขียนแต่การฟัง การดูจะเกิดประโยชน์
สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ฟังผู้ดูรู้จักเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

ความหมายของการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การฟัง การดูโดยใช้
สติปัญญา วิเคราะห์ ไตร่ตรอง รอบคอบ มีเหตุผลก่อนนำไปใ้ช้
ประโยชน์

จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

ประกอบด้วยการใช้ความคิดในการวิเคราะห์สารต่าง ๆ แล้วพิจารณา
ไตร่ตรอง ตัดสินใจ และประเมินค่าสิ่งที่ฟังและสิ่งที่ดู ฉะนั้นการฟังและ
การดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญต้องฝึกฝนทักษะการคิด
ร่วมด้วย

การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

กระบวนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

กระบวนการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบไปด้วยขั้น

ตอนดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 การฟังและดู รับรู้ + เข้าใจ -เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใน
ด้านต่าง ๆ
ได้ยิน + ได้เห็น -เพื่อความบันเทิง
-เพื่อประกอบอาชีพ
ขั้นตอนที่ 2 การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ -เพื่อพัฒนาตนเอง

ได้ยิน + ได้เห็น รับรู้ + เข้าใจ

วิเคราะห์ + ใคร่ครวญ + วินิจฉัย + ประเมินค่า ใช้ประโยชน์

1

การฟัง การดู และการพูด

หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

หลักการฟังและดูสารจะเป็นแนวทางให้ผู้ฟังและผู้ดูนำไปปฏิบัติให้
เกิดเป็นทักษะนำไปสู่การเลือกฟังและดู ซึ่งเป็นเป้าหมานสำคัญ เพราะ
สื่อที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีทั้งสื่อมีคุณภาพ และไม่มีคุณภาพ

หลักในการเลือกรับและวิเคราะห์สารต่าง ๆ โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

สารที่เป็นความรู้

ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้น ในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง
กับข้อคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีมูลความ
จริง เพราะบางครั้งผู้พูดอาจแทรกข้อคิดเห็นส่วน
ตัวประกอบเข้าไปด้วย ถ้าไม่มีหลักการฟังและดู
อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดพลาด

หลักการฟังและการดูสารอย่างมีวิจารณญาณ

ผู้ฟังควรทรายว่าฟังเรื่องอะไร เป็นการฟังประเภทบทความ
บทสัมภาษณ์ เป็นต้น ใครเป็นผู้เขียนบทความใครเป็นผู้สรุป

ผู้ฟังต้องฟังด้วยความตั้งใจและเรื่องให้จบ จับประเด็นสำคัญ

ผู้ฟังควรฝึกแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สามารถตัดสินใจว่า
เนื้อหานั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่

ผู้ฟังควรประเมินค่าสิ่งที่ควรฟัง และดูว่ามีประโยชน์หรือไม่

2

การฟัง การดู และการพูด

หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

ผู้ฟังควรพิจารณาถ้อยคำ หลักภาษาและการใช้น้ำเสียง

ผู้ฟังควรจดบันทึกความรู้ความจำสั้นๆ

สารจรรโลงใจ

สารจรรโลงใจ ได้แก่ เรื่องราวที่ให้แง่คิด มีคติ
สอนใจ รวมถึงการแสดงความชื่นชมยินดีใหกำลัง
ใจแก่ผู้ฟังไม่ให้ท้อกับชีวิต ผู้ฟังและดูที่มี
วิจารณญาณในการรับฟังและดูจะได้รับแง่คิดคติ
สอนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักการฟังและดูสารจรรโลงใจอย่างมีวิจารณญาณ

1.ต้องทราบว่าจะฟัง และดูเรื่องอะไร รวมถึงตั้งจุดมุ่งหมายว่าจะฟังและดู
เพื่ออะไร

2.มีความตั้งใจในการฟังและดู ทำจิตใจให้สบาย
3. ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระสิ่งที่ฟังและดู
4.พิจารณาสารที่ฟังว่าให้ความจรรโลงใจในด้านใด สารที่ฟังสมเหตุสมผล

หรือไม่
5.พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา และผู้ฟังหรือไม่

3

การฟัง การดู และการพูด

หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

สารโน้มน้าวใจ

สารโน้มน้าวใจส่วนใหญ่มักพบในสื่อโฆษณา
การหาเสียงเลือกตั้ง และการพูดปลุกใจซึงบางอย่าง
ที่ได้ยินได้ฟัง อาจมีข้อมูลที่เกินจากความจริง ผู้ฟัง
และดูไม่ควรเชื่อในทันที แต่ต้องใช้วิจารณญาณ
แยกแยะให้ดี เพื่อประเมินค่า และพิจารณาหาเหตุผล
ค้นหาความถูกต้องว่าควรเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

หลักการฟังและดูสาร - ผู้ฟังและดูต้องสังเกตผู้พูดว่ามีเจตนารมณ์อย่างไร
โน้มน้าวใจอย่างมี
วิจารณญาณ

- ผู้ฟังและดูต้องใช้สติปัญญาคิดตามว่าเนื้อหาสาระที่
ผู้พูดพูดเชื่อถือได้หรือไม่

- ผู้ฟังและดูต้องพิจารณาว่าสารที่ฟังนั้นมีประโยชน์
มากน้อยเพียงใด

- ผู้พูดใช้ภาษาเร้าร้อนอารารมณ์ผู้ฟังและดูให้คล้อย
ตามจุดประสงค์ของผู้พูดด้วยวิธีการใด

- ผู้พูดพยายามให้ผู้ฟัง ผู้ดูเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยวิธีใด

- ผู้พูดเสนอแนะแนวทางหรือเชิญชวนให้ปฏิบัติ ซึ่งการ
เสนอแนะแนวทางให้การกระทำนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่

4

การฟัง การดู และการพูด

หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

มารยาทในการฟังและดู
มารยาทเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วม
กันในสังคม กิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นจะดำเนินไปด้วยความ
ราบรื่น จำเป็นต้องมีมารายาทในการกระทำ การฟังและดูก็เช่น
เดียวกัน ถ้าฟังและดูคนเดียวในสถานที่ส่วนตัวก็ไม่จำเป็นต้อง
รักษามารยาทเท่าใดนัก แต่ถ้าเป็นการฟังและดูร่วมกับผู้อื่นผู้ฟัง
และดูควรมีมารยาท
ซึ่งสามารถปฏิบัติ ได้ดังนี้

1.ผู้ฟังและผู้ดูต้องตรงต่อเวลา ควรไปถึงก่อนการบรรยายเพื่อหา
ที่นั่งที่เหมาะสม

2.ฟังและดูด้วยความตั้งใจ ไม่พูดคุยกันหรือนั่งหลับในขณะที่ฟังและดู

3.จดบันทึกประเด็นสำคัญ จับใจความสำคัญ

4.เมื่อฟังและดูจบแล้ว หากมีข้อสงสัยควรยกมือถามแบบสุภาพ
และขอบคุณทุกครั้ง

5.ปรบมือในช่วงจังหวะที่เหมาะสมหากพอใจเรื่องที่ฟัง

6.สำรวมกิริยามารยาท ไม่ลุกขึ้นเดินออกบ่อย ๆ

5

การฟัง การดู และการพูด

หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

มารยาทในการฟังและดู (ต่อ)

7.ไม่นำอาหาร หรือเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานขณะที่ดู

8.เมื่อเกิดความไม่พอใจขณะที่ดู ควรรู้จักระงับสติอารมณ์

9.ใช้ความคิด และวิจาณญาณไตร่ตรองว่าข้อความที่ฟังและดูมี
ความน่าเชื่อถือเพียงใดและมีการใช้ภาษาที่เหมาะสมหรือไม่

10.ในการสนทนาทั่วไปควรตั้งใจฟัง สบตาผู้พูดและผู้ฟัง
เพื่อแสดงว่ากำลังสนใจในเรื่องที่สนทนา

11.ไม่พูดแทรกในขณะที่คู่สนทนากำลังพูดต้องตั้งใจฟังให้จบก่อน

12.ขณะที่ดูภาพยนตร์ ชมละครหรือโทรทัศน์ ควรตั้งใจดู ไม่
พูดคุย เล่าเรื่อง หรือวิพากษ์ วิจารณ์เรื่องที่ดู เพราะเป็นการ
ทำลายสมาธิของผู้อื่น

สรุ ป

การฟังและดูเป็นทักษะการรับสารที่ใช้มากในชีวิต
ประจำวัน ผู้ฟังและผู้ดูจึงควรมีคุณลักษณะของผู้ฟังและ
ผู้ดูที่ดี คือ มีคุณธรรม มีมารยาท ตลอดจนต้องรู้จักการ
เลือกฟังและดูเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

6

การฟัง การดู และการพูด

การพูดโน้มน้าว
ใจ

ความหมายและความสำคัญ
ของการพูดโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ หมายถึง ความพยายามที่จะ
เปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติและการกระทำของบุคคล
ด้วยวิธีการต่างๆที่เหมาะสมให้มีผลกระทบต่อ
จิตใจของบุคคลนั้นจนยอมรับและเห็นคล้อยตาม

การพูดโน้มน้าวใจมีความสำคัญต่อการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ กล่าวคือ อาจ
ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนไปในทิศทาง
ที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการได้

คภกจอตวูางาาาาษรใรมมหโมา้เทนผีเชณ้้่ืพูผ่มืร์อู่ั้โอบนทน้แัเ้สารศลม้วาาะนนใรอ้พจคเาาปเฤวตปริ็ลตตีมน้่คิยอกณววนิง์รธาแกีแรมกลปามคาระิไลรดปชงใักช้

7

การพูด การฟัง การดู และการพูด
โน้มน้าวใจ

จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ

•พูดโน้มน้าวใจให้กระทำ
จะใช้ในสถานการณ์ที่มีผู้ต้องการชักจูง

ให้ผู้ฟังกระทำสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ งเพื่อประโยชน์
เฉพาะบุคคลหรือส่วนรวม

โดยใช้เหตุเพื่อหว่านล้อมให้เชื่อหรือคล้อยตามผู้
ฟังก็จะเชื่อถือและตกลงใจที่จะทำตาม

การพูดโน้มน้าวใจในลักษณะนี้เรียกว่า " ชักแม่น้ำทั้ง
ห้า " หรือ " เจรจาหว่านล้อม " โดยยกสิ่งที่ดีมีประโยชน์
ในแง่มุมต่างๆมาโน้มน้าวใจผู้ฟัง ตามที่ผู้พูดแสดง
เหตุผลไว้สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น
โฆษณา การหาเสียง เป็นต้น

•พูดโน้มน้าวใจให้เลิกกระทำ

เป็นการพูดชักจูงให้ยุติหรือเลิกกระทำสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งโดยชี้ให้เห็นว่าการกระทำนั้นไม่ดี เกิดผลเสีย
หายถ้ากระทำอยู่ ซึ้งมักจูงใจให้คนเห็นว่าควรเลิก
กระทำแล้วจะเกิดประโยชน์และผลดี จึงเป็นการ
พูดที่ต้องลบล้างความเชื่อหรือทัศนคติเดิมแล้ว
เปลี่ยนความคิดเห็นให้มาเชื่อคำพูดของผู้พูด จน
ละเว้นหรือเลิกกระทำสิ่งที่เคยกระทำหรือเคย
ประพฤติปฏิบัติ

8

การฟัง การดู และการพูด

การพูดโน้มน้าว
ใจ

การพูดโน้มน้าวใจในชีวิต
ประจำวัน

• การพูดโฆษณา เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อชักจูง

ใจให้กระทำหรือเลิกกระทำ

• การพูดโต้แย้ง เป็นการพูดในเชิงวิเคราะห์ แสดงเหตุผลหรือ

ข้อมูลต่างไป เพื่อมาหักล้างเหตุผลของอีกฝ่าย

• การพูดเชิญชวน มีทั้งในทางบวกและทางลบ มักเป็นการพูดโดยยก
ประโยชน์ของสินค้าและบริการรวมไปถึงข้อดีและข้อ

เสีย

• การพูดขอร้องวิงวอน เป็นการพูดที่ต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกเห็น

อกเห็นใจ แล้วผู้พูดจะชักจูงหรือโน้ม
น้าวให้มีความคิดสอดคล้องหรือกระทำ
ตามที่ผู้พูดต้องการ

9

การฟัง การดู และการพูด

การพูดโน้มน้าวใจ

กลวิธีในการโน้มน้าวใจ

• ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม เนื่องจากบุคคลที่มีความรู้สึก อารมณ์ร่วม

กันย่อมเป็นแรงผลักดันให้คล้อยตามกัน
ได้ง่าย

• สร้างความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูด

ผู้พูดต้องทำให้ผู้ฟังประจักษ์ ถึงควาน่าเชื่อถือด้วยการะแสดงให้เห็นว่า
• ผู้พูดมีความรู้ในเรื่องที่พูดเป็นย่างดี สามารถอธิบาย ขยายความ

ยกตัวอย่างชัดเจน หยินยกประเด็นที่เป็นข้อดี ข้อด้อยได้ถ่องแท้
แม่นยำ

• ผู้พูดมีคุณธรรม โดยการหาวิธีน้ำเสนอหรือสอดแทรกเนื้อหาของ
สารที่จะเเสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมของตน

• ผู้พูดมีควาปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อผู้ฟัง

• แสดงให้เห็นความหนาแน่นของเหตุผล การแสดงเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งในการ
จูงใจสามารถดึงดูดความสนใจของผู้
ฟังให้เกิดความคล้อยตามได้

• แสดงให้เห็นผลดีและผลเสีย โดยผู้พูดต้องแสดงให้ผู้ฟังทราบอย่างชัดเจนถึง

ผลดีผลเสีย เปรียบเทียบชี้ให้เห็นผลดีมากกว่าผล
เสีย เพื่อนเปิดโอกาสให้ผู้รับสารได้ใช้ความคิด
พิจารณาไตร่ตรองด้วยตนเอง

10

การฟัง การดู และการพูด

การพูดโน้มน้าวใจ

คุณธรรมและมารยาทในการพูด

คุณธรรมในการพูด มีคำกล่าวว่า คุณธรรมเป็นเครื่องค้ำจุน
โลก การมีคุณธรรมในการพูด เช่น พูด
ความจริง พูดในสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์
สิ่งเหล่านี้เป็นคุณธรรมสำคัญที่จะทำให้
เกิดการสื่อสารที่ไม่ส่งผลในทางเสื่อม
เสียแก่ใคร

• พูดความจริง ทุกครั้งที่สื่อสารผุ้พูดควรพูดแต่ความจริง พูด
จากใจจรอง พูดตรงไปตรงมา

• พูดถูกกาลเทศะ ทุกครั้งที่สื่อสารผุ้พูดควรพูดให้ถูกเวลา รู้ว่า

จะพูดอะไรในเวลาใดรวทั้งพูดให้ถูกสถานที่

และบุคคล

• พูดสุภาพอ่อนหวาน ทุกครั้งที่ผู้สื่อสารผู้พูด ควรพูดด้วย
ถ้อยคำไพเราะ อ่อนหวาน

• รับผิดชอบคำพูด คำพูดเป็นสิ่งที่เรีกกลับคืนมาไม่ได้ หากสื่อสารออก
ไปแล้วก่อให้เกิดความผิดพลาด ผู้พูดต้องไม่นิ่ง
นอนใจแสดงควารัยผิดชอบต่อคำพูดของตน

11

การฟัง การดู และการพูด

การพูดโน้มน้าวใจ

มารยาทในการพูด

มารยาทในการพูด หมายถึง กิริยาของผุ้พูดที่ปรากฏทางกาย

วาจา ให้ผู้ฟังเห็นและประเมินได้ว่ามีความ
เรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสมตามกาลเทศะ ค่า
นิยม วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆหรือไม่ ผู้ที่มี
มารยาทในการพูดย่อยเป็นที่น่าประทับใจ
ของบุคคลที่ได้ยินได้ฟัง

• มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล ในชีวิตประจำวันบุคคลจะต้องมีการ

ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การพูดคุยใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่ งเพื่อแลกเปลี่ยนความ
คิด

• มารยาทในการพูดในที่สาธารณะคือ การพูดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อจุด

ประสงค์ ผู้พูดในที่สาธารณชนหากมีควา
ประพฤติ กิริยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ย่อม
ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ฟัง

สรุป

การพูดโน้มน้าวใจต้องวางโครงเรื่องให้ดี มีบทนำที่ดึงดูดความสนใจ มี
เนื้อหาชักจูงความคิด มีบทสรุปที่ชัดเจนชวนให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม

หลักการพูดโน้มน้าวใจต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผู้ฟัง ศึกษาหลัก
จิตวิทยา สร้างศรัทธาในตัวผู้พูด พูดเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ เร้าใจให้ผู้ฟังเกิดความ
ต้องการตอบสนอง

12

แหล่งอ้างอิง

อุปกิตศิลปสาร,พระยา. (2548). หลักภาษาและการ
ใช้ภาษา: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์.
กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

โ ร ง เ รี ย น เ บ ญ จ ม า นุ ส ร ณ์

13.

ผู้จัดทำ

ชื่อ : นางสาวกมลชนก อารามรักษ์
ชื่อเล่น : นุ๊ ก
เลขที่ : 11
ชั้น : ม.5/1
เบอร์โทรศัพท์ : 086-9340-533
E-mail : kamonchanokaramruk@gmail.com
ที่อยู่ : 41/2 หมู่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอแหลมสิงห์

จังหวัดจันทบุรี 22130
Facebook : Kamonchanok Arramruk
Ig : s.nxxkerr
Line (ID) : nook4102547

14

ผู้จัดทำปวริศา

ชื่อ : นางสาวปวริศา บรรเทิง
ชื่อเล่น : พลอย
เลขที่ : 15
ชั้น : ม.5/1
เบอร์โทรศัพท์ : 092-541-6967
Email : pavarisabanthoeng1999@gmail.com
ที่อยูู่ : 12/22 หมู่.7 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม
จังหวัดจันทบุรี 22150
Facebook : PY PK
IG : py_pk.5
Line(ID) : 0925416967

15

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


การฟัง เ รื่ อ ง พูด

การ

การดู

โ ร ง เ รี ย น เ บ ญ จ ม า นุ ส ร ณ์


Click to View FlipBook Version