The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานกศน.62_ฉบับสมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Porntip S., 2020-05-01 04:59:50

รายงานผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานกศน.62_ฉบับสมบูรณ์

รายงานผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานกศน.62_ฉบับสมบูรณ์

Keywords: โครงงานวิทยาศาสตร์,นักศึกษา กศน.

รายงานผลการดำเนนิ โครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์
สำหรบั นกั ศึกษา กศน.

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562

โดย

ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา

สำนักงานสง่ เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย
สำนกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ

รว่ มกบั

การไฟฟ้าฝา่ ยผลติ แห่งประเทศไทย



บทสรปุ สำหรบั ผูบ้ ริหาร

โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 20 แห่ง จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านการใช้และ
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม มีขอบเขต/เนื้อหาครอบคลุมตามชุดวิชาเลือกบังคับ การใช้
พลังงานไฟฟ้าในชวี ิตประจำวัน 1, 2, 3 หรือรายวิชาเลือกการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยได้รับ
การสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 500,000 บาท มีวัตถุประสงค์
เพ่อื สง่ เสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรโู้ ครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน. รว่ มกับภาคีเครือข่าย
ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง
ปลกู ฝังกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์ให้กบั นักศกึ ษา กศน.

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือการประกวดระดับพื้นที่โดย
ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาในภูมิภาคต่าง ๆ 19 แหง่ ทว่ั ประเทศ จัดประกวดระหว่างวนั ท่ี 23 มถิ ุนายน -
8 สงิ หาคม 2562 เพื่อคัดเลือกทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศอนั ดับ 1 เขา้ ประกวดระดับประเทศ มีโครงงาน
เขา้ ประกวดระดับพ้ืนท่จี ำนวน 331 โครงงาน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 จำนวน 47 ทมี คิดเปน็ รอ้ ยละ 16.55)
เป็นผลงานจากนักศึกษา กศน. 990 คน มีครูที่ปรึกษา 595 คน และผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานจำนวน 7,706 คน
(เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 จำนวน 4,424 คน คิดเป็นร้อยละ 134.79) ผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมจาก
การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและครูที่ปรึกษาอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.60 และ 4.56
ตามลำดับ) พบวา่ นกั ศึกษารอ้ ยละ 91.66 และครูรอ้ ยละ 94.71 มีความพึงพอใจในระดับมากขึน้ ไป

การประกวดระดับประเทศ จัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
มีโครงงานเข้าประกวดจำนวน 35 โครงงาน (คิดเป็นร้อยละ 92.10 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้) เป็นผลงานของ
นักศึกษา 105 คน ครูที่ปรึกษา 67 คน ประสานงานและสนับสนุนจัดส่งโครงงานเข้าประกวดโดย
ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมภิ าค 18 แห่ง (ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษานครราชสมี าไม่เข้าร่วม
ประกวดระดับประเทศ) มีผลประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและครูที่ปรึกษา
อยใู่ นระดับพอใจมากทส่ี ดุ (ค่าเฉล่ยี 4.55 และ 4.54 ตามลำดบั ) โดยนกั ศึกษาร้อยละ 92.96 และครรู ้อยละ
100.00 มีความพงึ พอใจในระดบั มากขึ้นไป

ผลการดำเนินโครงการพบว่าจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนากิจกรรมประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. คือจัดประกวดโดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่
ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและจัดต่อเนื่องทุกปี มีภาคีเครือข่ายความร่วมมือหลากหลาย และรางวัล
ชนะเลิศระดับประเทศได้รบั รองเป็นรางวลั สงู สดุ ระดับชาติขน้ึ ไป สว่ นจุดอ่อนและอุปสรรคของโครงการ
คือข้อจำกัดด้านสถานที่จัดประกวดและยังไม่ได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด
เท่าที่ควร มีข้อเสนอแนะ คือควรเผยแพร่ผลงานของนักศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดผลงาน
เชื่อมโยงสู่อาชีพหรือเชิงพาณิชย์ รวมทั้งควรมีการจัดทำคู่มือการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนกั ศกึ ษา กศน. เพอื่ เผยแพร่ตอ่ ไป



คำนำ
รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินการจัดประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ดา้ นการใช้และการอนุรักษพ์ ลังงานไฟฟ้าเพ่ือชีวติ และสังคม
สาระในรายงานประกอบด้วยบทนำ แนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. วิธีดำเนินการ ผลการดำเนินงาน สรุปผล อภิปรายผล และ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนากิจกรรม โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษา กศน. ของกลุ่มศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพ่ือการศึกษา ครู กศน.
และผูส้ นใจทัว่ ไป โดยสามารถดาวน์โหลดรายงานผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์
สำหรับนกั ศึกษา กศน. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 ไดท้ ี่ https://qrgo.page.link/1D3VG และ
เข้าถึงฐานข้อมูลโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ได้ทางเว็บไซต์ของ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษา (https://sciplanet.org)

ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษา
เมษายน 2563

รายงานผลการดำเนินโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์
สำหรับนกั ศกึ ษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

https://qrgo.page.link/1D3VG

สารบญั ค

บทสรปุ สำหรับผบู้ ริหาร หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญภาพ ค
สารบัญตาราง จ
บทท่ี 1 บทนำ ฉ
1
1.1 หลกั การและเหตผุ ล 1
1.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ 2
1.3 ขอบเขตของโครงการ 3
1.4 งบประมาณ 4
1.5 เปา้ หมาย 5
1.6 ดัชนชี วี้ ัดผลสำเรจ็ ของโครงการ 5
1.7 นยิ ามคำศัพทเ์ ฉพาะ 6
1.8 ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะได้รบั 7
บทท่ี 2 แนวคดิ และองค์ความรู้ที่เกย่ี วขอ้ ง 8
2.1 แนวคดิ การจดั การเรียนรู้ 8
2.2 ยุทธศาสตรแ์ ละจดุ เนน้ การดำเนนิ งาน สำนักงาน กศน. 10
2.3 โครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ 11

สำหรบั นกั ศึกษา กศน. 17
2.4 หลักสตู รรายวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 29
บทที่ 3 วธิ ดี ำเนนิ การ 29
3.1 ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน 34
3.2 เครือ่ งมือในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล 36
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 37
3.4 การวเิ คราะห์ข้อมลู 38
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 38
4.1 ผลการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศึกษา กศน.
60
ระดับพื้นท่ี
4.2 ผลการจดั ประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศึกษา กศน. 77
77
ระดับประเทศ 83
บทที่ 5 สรุปผล อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 86

5.1 สรปุ ผล
5.2 อภิปรายผล
5.3 ข้อเสนอแนะ



สารบัญ (ต่อ) หน้า
87
บรรณานุกรม 89
ภาคผนวก 90

ภาคผนวก ก ภาพการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. 95
ระดับพ้ืนท่ี
96
ภาคผนวก ข ภาพการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน.
ระดับประเทศ

ภาคผนวก ค การเขา้ ถงึ ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง โครงการประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศกึ ษา กศน. ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2562



สารบัญภาพ หน้า
13
ภาพท่ี 2.1 ขน้ั ตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 14
ภาพท่ี 2.2 การใชว้ ิธกี ารทางวทิ ยาศาสตร์คน้ พบองค์ความรู้ 30
ภาพที่ 3.1 ข้นั เตรียมการประกวด 32
ภาพท่ี 3.2 ข้ันดำเนนิ กิจกรรม 54
ภาพท่ี 4.1 สรุปประเด็นปัญหาและอปุ สรรค ความประทับใจ และข้อเสนอแนะ
59
ของนักศึกษา กศน. ระดบั พื้นที่
ภาพท่ี 4.2 สรปุ ประเด็นปญั หาและอุปสรรค ความประทับใจ และข้อเสนอแนะ 63

ของครูทป่ี รกึ ษา ระดับพน้ื ที่ 76
ภาพที่ 4.3 ข้อมูลท่ัวไปของนักศกึ ษา กศน. และครูทปี่ รึกษาท่ีตอบแบบสอบถาม

ความคดิ เห็นการประกวดระดบั ประเทศ
ภาพที่ 4.4 ความสมั พันธ์ระหวา่ งจำนวนโครงงานวทิ ยาศาสตร์และหวั เรอ่ื ง

รายวิชาการใชพ้ ลังงานไฟฟ้าในชีวติ ประจำวนั ทน่ี ักศึกษาใช้ทำ
โครงงาน

สารบัญตาราง ฉ

ตารางที่ 1.1 ดัชนชี ้วี ัดผลสำเร็จของโครงการ หน้า
ตารางท่ี 2.1 ผลการดำเนินงานปงี บประมาณ พ.ศ. 2558 - 2561 5
ตารางท่ี 2.2 หวั เรื่อง ตวั ชีว้ ดั และเน้อื หาของรายวชิ าการใช้พลังงานไฟฟา้ 17
18
ในชวี ิตประจำวัน 1 20
ตารางท่ี 2.3 หัวเร่ือง ตัวชว้ี ดั และเนอื้ หาของรายวชิ าการใช้พลงั งานไฟฟา้ 23
26
ในชวี ิตประจำวนั 2 29
ตารางที่ 2.4 หวั เรอ่ื ง ตัวชี้วัด และเนื้อหาของรายวิชาการใช้พลังงานไฟฟา้ 32
38
ในชีวิตประจำวนั 3 40
ตารางที่ 2.5 สาระสำคญั ตวั ช้ีวัด และเน้อื หาของหลักสตู รรายวิชาเลอื กการใช้ 41
49
พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวนั 50
ตารางที่ 3.1 แผนการดำเนินงานโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ 52
55
สำหรบั นักศึกษา กศน. 60
ตารางที่ 3.2 กำหนดการจัดประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. 61
65
ระดบั พื้นท่ี
ตารางท่ี 4.1 จำนวนโครงงานวิทยาศาสตรท์ เี่ ข้าประกวดระดับพื้นท่ี

และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ตารางท่ี 4.2 จำนวนสถานศึกษาที่ส่งโครงงานเขา้ ประกวดระดบั พ้ืนท่แี ละ

จำนวนกรรมการตดั สินการประกวด
ตารางที่ 4.3 ผลการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนกั ศึกษา กศน.

ระดับพืน้ ท่ี
ตารางท่ี 4.4 จำนวน ร้อยละ และระดับความคิดเหน็ ของนักศึกษา กศน.

การประกวดระดับพืน้ ท่ี
ตารางท่ี 4.5 จำนวน ร้อยละ และระดับความคิดเห็นของครทู ีป่ รกึ ษา

การประกวดระดบั พื้นท่ี
ตารางท่ี 4.6 ปญั หาและอปุ สรรค ความประทับใจ และข้อเสนอแนะ

ของนกั ศกึ ษา กศน. ระดบั พน้ื ท่ี
ตารางที่ 4.7 ปัญหาและอปุ สรรค ความประทบั ใจ และข้อเสนอแนะ

ของครทู ป่ี รึกษาโครงงาน ระดบั พน้ื ที่
ตารางที่ 4.8 จำนวนผเู้ ข้าร่วมกจิ กรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

สำหรบั นักศกึ ษา กศน. ระดับประเทศ
ตารางท่ี 4.9 ผลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน.

ระดบั ประเทศ
ตารางท่ี 4.10 จำนวน รอ้ ยละ และระดับความคิดเห็นของนกั ศกึ ษา กศน.

การประกวดระดบั ประเทศ



สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า
66
ตารางที่ 4.11 จำนวน ร้อยละ และระดับความคิดเห็นของครทู ปี่ รกึ ษา
การประกวดระดับประเทศ 67

ตารางที่ 4.12 ปัญหาและอุปสรรค ความประทบั ใจ และข้อเสนอแนะ 68
ของนักศึกษา กศน. ระดบั ประเทศ
69
ตารางที่ 4.13 ปญั หาและอุปสรรค ความประทับใจ และข้อเสนอแนะ
ของครทู ี่ปรกึ ษา ระดบั ประเทศ 70

ตารางท่ี 4.14 ความสนใจของนกั ศึกษา กศน. ต่อการเขา้ รว่ มประกวดโครงงาน 72
วทิ ยาศาสตร์ในคร้ังตอ่ ไป
72
ตารางที่ 4.15 ความสนใจของครทู ่ปี รึกษา ตอ่ การเข้าร่วมประกวดโครงงาน
วทิ ยาศาสตร์ในครั้งตอ่ ไป 73

ตารางที่ 4.16 จำนวน รอ้ ยละ และระดบั ความพึงพอใจของผูบ้ ริหาร 74
และผปู้ ระสานงานโครงการ
75
ตารางที่ 4.17 ปญั หาและอปุ สรรคในการดำเนินโครงการของผ้บู รหิ าร 81
และผู้ประสานงานโครงการ และขอ้ เสนอแนะ 85

ตารางที่ 4.18 หัวขอ้ เรื่องทผ่ี ู้บรหิ ารและผูป้ ระสานงานโครงการต้องการจดั ประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษา กศน. ในคร้งั ต่อไป

ตารางท่ี 4.19 ผลสำรวจความคิดเห็นของคณะกรรมการตัดสนิ การประกวด
โครงงาน ระดบั ประเทศ

ตารางที่ 4.20 หวั เร่ืองรายวชิ าการใช้พลงั งานไฟฟา้ ในชวี ิตประจำวัน 1, 2 และ 3
ตารางที่ 5.1 เปรียบเทยี บผลการดำเนินงานกับเปา้ หมายของโครงการ
ตารางท่ี 5.2 เปรียบเทยี บผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2562

บทท่ี 1
บทนำ

รายงานนี้เป็นผลการดำเนินงานโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ดำเนินการจัดประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม และได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจัดประกวดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในบทนี้จะกล่าวถึงหลักการและ
เหตุผลของการจัดโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. วัตถุประสงค์ของโครงการ
ขอบเขตของโครงการ งบประมาณ เป้าหมาย นิยามคำศัพทท์ ่ใี ช้ และประโยชนท์ ีไ่ ดร้ บั

1.1 หลักการและเหตผุ ล
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจของผู้เรียนเอง ได้ใช้

ความรู้ความสามารถในการแก้ปญั หาอย่างเป็นระบบ การให้เหตุผล และการคดิ ระดับสูง สอดคล้องกับการ
จัดการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งเน้นการ
จดั การเรยี นรตู้ ามปรัชญา “คิดเป็น” และเนน้ การเรียนรู้ทย่ี ึดผู้เรยี นเป็นสำคัญตามความพร้อม ความสนใจ
และศักยภาพของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวก ซึ่งการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ถือเป็นหลกั ฐานสำคัญอย่างหนึ่งท่ีแสดงให้เห็นวา่ นักศึกษา กศน. ไดเ้ รียนร้แู ละสามารถทำได้ตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และทักษะจากการ
ทำโครงงานไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่
ต้ังอย่ใู นภมู ิภาคตา่ ง ๆ ทัว่ ประเทศ จึงจดั ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศกึ ษา กศน. เป็นประจำ
ต่อเนื่องทุกปี โดยดำเนินการประกวดคัดเลือกตัวแทนทีมชนะเลิศจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ที่ตั้งอยู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ณ หน่วยงานของกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์
การให้คะแนนแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้การรับรองรางวัลชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ สำหรับนักศึกษา กศน.
เปน็ รางวัลสูงสดุ ระดับชาติขึ้นไป

เมื่อการใช้พลังงานไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงาน กศน. เล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานและการ
อนุรักษพ์ ลังงานแก่ประชาชน ได้รว่ มกนั ยกร่างหลกั สูตรรายวิชาเลอื ก การใช้พลงั งานไฟฟา้ ในชวี ิตประจำวัน
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 และรายวิชาเลือกบังคับ การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1, 2 และ 3 ในปี

2

การศึกษา 2559 และส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ให้กับนักศึกษา กศน. ที่
ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดังกล่าว รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นักศึกษา กศน. ด้านการใชแ้ ละการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยสำนักงาน กศน. มอบหมาย
ให้กล่มุ ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พือ่ การศึกษารบั ผิดชอบดำเนนิ โครงการ ต้งั แต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นตน้ มา และได้รับ
การสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มาโดยตลอด รวมทั้งสนับสนุน
การศึกษาดูงานด้านพลังงานภายในประเทศสำหรับทีมที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 - 3 ระดับประเทศ ใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2561 ด้วย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย (กฟผ.) ให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการปีละ 444,000 บาท และในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561 ได้เพิ่มงบประมาณสนับสนุนโครงการเป็น 500,000 บาท ผลการดำเนินงานต้ังแตป่ ีงบประมาณ
พ.ศ. 2558 - 2561 พบว่ามีโครงงานที่เข้าประกวดระดบั พื้นที่รวมจำนวน 791 โครงงาน ส่วนโครงงานท่เี ข้า
ประกวดระดับประเทศ มีจำนวนรวม 132 โครงงาน มีภาคีเครือข่ายความร่วมมือกว่า 30 หน่วยงาน
นอกจากนี้ นักศึกษาและครู กศน. ที่เข้าประกวดโครงงานทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศมีค่าเฉลี่ยความ
พงึ พอใจต่อการเขา้ รว่ มกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดบั มากท่สี ดุ และเสนอให้จัดประกวดตอ่ เนื่องทุกปี

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เชิงรุกทั้งใน
สถานศึกษาและในชุมชน อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการจัด
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ในวิถีชีวิต
และวิทยาศาสตร์ในชวี ิตประจำวนั ของประชาชน ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 สำนกั งาน กศน. ได้มอบหมาย
ให้กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาดำเนินโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา
กศน. ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม มีการจัดประกวด 2 ระดับ คือการ
ประกวดระดับพื้นที่ ดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่งเป็นหน่วยจัด
ประกวดและคัดเลือกทีมที่ไดร้ างวัลชนะเลิศและรองชนะเลศิ อันดับ 1 รวมจำนวน แห่งละ 2 ทีม เป็น
ตัวแทนเข้าประกวดระดบั ประเทศ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 18 สงิ หาคม พ.ศ. 2562
ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจดั ประกวดจากการไฟฟา้
ฝา่ ยผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 500,000 บาท

1.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ
1.2.1 เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.

ของกลุม่ ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษารว่ มกบั ภาคีเครือขา่ ย

3

1.2.2 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการใช้พลังงานไฟฟ้า
ในชวี ติ ประจำวนั ใหก้ ับนักศึกษา กศน.

1.2.3 เพื่อปลูกฝังกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ให้กับนักศึกษา กศน.

1.3 ขอบเขตของโครงการ
1.3.1 รปู แบบและเน้ือหา
โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

2562 ท่ีรบั ผิดชอบโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษา 20 แหง่ ทว่ั ประเทศ แบ่งระดบั การจัดประกวด
ออกเป็น 2 ระดับ คอื ระดับพ้นื ท่ีและระดบั ประเทศ จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านการใช้และ
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม โดยมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การให้คะแนนแบบ
เดียวกนั ทั่วประเทศ

การประกวดระดับพื้นที่ดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง
ทั่วประเทศ ระหวา่ งเดอื นมถิ นุ ายน - กรกฎาคม 2562 เพ่ือคดั เลือกทีมทไ่ี ด้รางวลั ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ
อันดับ 1 รวมจำนวนแห่งละ 2 ทีม เป็นตัวแทนเข้าประกวดระดับประเทศ รายชื่อศูนย์วิทยาศาสตร์
เพือ่ การศึกษาในภูมภิ าคทัง้ 19 แหง่ มีดังน้ี

1) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี
2) ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแกน่
3) ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พือ่ การศกึ ษาตรัง
4) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม
5) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษานครราชสีมา
6) ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษานครศรีธรรมราช
7) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษานครสวรรค์
8) ศูนยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษานราธวิ าส
9) ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษาปัตตานี
10) ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพือ่ การศกึ ษาพระนครศรีอยุธยา
11) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษาพษิ ณโุ ลก
12) ศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษายะลา
13) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษารงั สิต

4

14) ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษาลำปาง
15) ศนู ย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษาสมุทรสาคร
16) ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษาสระแก้ว
17) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษาอบุ ลราชธานี
18) ศนู ยว์ ิทยาศาสตรแ์ ละวฒั นธรรมเพื่อการศกึ ษาร้อยเอ็ด
19) อทุ ยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกลา้ ณ หวา้ กอ จงั หวดั ประจวบครี ีขันธ์
การประกวดระดับประเทศ ดำเนนิ งานโดยศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จดั ประกวดวันที่ 18
สงิ หาคม 2562 ในงานสปั ดาหว์ ทิ ยาศาสตร์แหง่ ชาติ ณ ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษา โดยเปิดรับสมัคร
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกระดับพื้นที่จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ๆ ละ 2 ทีม
ระหวา่ งวนั ที่ 22 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2562 เขา้ ประกวดระดับประเทศ
1.3.2 กล่มุ เปา้ หมาย
ผ้เู ขา้ ประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์เป็นนกั ศึกษา กศน. สมคั รประกวดเป็นทมี ๆ ละ 3 คน และ
มีครูที่ปรึกษาจำนวน 1 - 2 คนต่อทีม โดยสมาชิกในทีมอย่างน้อย 2 ใน 3 คน เป็นนักศึกษา กศน. ที่
ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกบังคับ การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 หรือ 2 หรือ 3 ตั้งแต่
ภาคเรียนที่ 1/2559 ถึงปัจจุบัน หรือเคยลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าใน
ชวี ิตประจำวัน (พว02027)
1.3.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ใชเ้ วลาดำเนินงาน 8 เดอื น ตั้งแต่เดอื นกุมภาพันธ์ - กันยายน 2562

1.4 งบประมาณ
ใช้งบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 500,000 บาท และ

งบประมาณจากสำนกั งาน กศน. รายละเอียดดงั น้ี
1.4.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ

ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทั้งในระดับพื้นที่
และระดับประเทศ สำหรับการประกวดระดับพื้นที่ดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาใน
ภูมิภาค 19 แห่ง ๆ ละ 22,000 บาท (เงินรางวัล 18,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการจัดประกวด 4,000
บาท) รวมเป็นเงิน 418,000 บาท และการประกวดระดับประเทศดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์
เพ่ือการศกึ ษา จำนวน 82,000 บาท รวม 500,000 บาท

1.4.2 สำนกั งาน กศน. สนบั สนุนงบประมาณดำเนินโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั
นักศึกษา กศน. ระดับประเทศ ดำเนินการจัดประกวดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จากเงิน

5

งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562 แผนงาน : พื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ผลผลิตที่ 5 : ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมจัดการศึกษาตามอัธยาศัย งบดำเนินงาน รหัส
39005 จำนวน 400,000 บาท สำหรับเป็นเงินรางวัลระดับประเทศ 300,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการจดั
ประกวด 100,000 บาท

1.5 เปา้ หมาย
1.5.1 เชงิ ปริมาณ
1) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั่วประเทศจัดกิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ

นักศกึ ษา กศน. ระดับพนื้ ทแ่ี ละระดบั ประเทศ จำนวน 20 หนว่ ยงาน
2) นกั ศึกษา กศน. สง่ ผลงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์เขา้ ประกวดระดับประเทศ จำนวน 38 ผลงาน
3) ภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. มีจำนวน

ไมน่ อ้ ยกว่า 20 หนว่ ยงาน
1.5.2 เชงิ คุณภาพ
1) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาทว่ั ประเทศจัดกิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ

นกั ศึกษา กศน. ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
2) นักศึกษา กศน. ได้ศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงานเพิ่มขึ้น และ

สามารถนำความรู้ไปใชใ้ นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
3) นักศึกษา กศน. ได้เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการทำโครงงาน และมีทัศนคติที่ดี

ต่อการเรยี นรวู้ ิทยาศาสตร์

1.6 ดัชนชี ้ีวดั ผลสำเร็จของโครงการ หนว่ ยนบั แผน
หน่วยงาน
ตารางที่ 1.1 ดชั นชี ี้วดั ผลสำเรจ็ ของโครงการ โครงงาน 20
ตวั ชีว้ ัด หน่วยงาน
ไมน่ อ้ ยกว่า
เชิงปรมิ าณ : 33
1) จำนวนศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษาทจ่ี ัดประกวดโครงงาน
ไม่น้อยกว่า
วทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. 20
2) จำนวนโครงงานวิทยาศาสตร์ของนกั ศึกษา กศน. ทเ่ี ข้าประกวด

ระดบั ประเทศ
3) จำนวนภาคีเครอื ขา่ ยร่วมจัดกจิ กรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

สำหรับนกั ศึกษา กศน.

6

ตารางท่ี 1.1 (ต่อ) หนว่ ยนับ แผน
ตัวชีว้ ัด มากข้ึนไป
ระดบั
เชิงคุณภาพ : ค่าเฉล่ยี 85
1) ความพงึ พอใจของนกั ศึกษาและครู กศน. ต่อการเขา้ รว่ มกิจกรรม ร้อยละ 85
85
ในภาพรวมท้ังหมด ร้อยละ
2) นักศึกษาและครู กศน. มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วม
ร้อยละ
กิจกรรมในระดบั มากขึน้ ไป
3) นักศึกษาและครู กศน. ได้ศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยี และพลังงานเพิ่มข้นึ ระดบั มากขึ้นไป
4) นักศึกษาและครู กศน. ไดเ้ รยี นรูก้ ระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์

จากการทำโครงงานระดับมากขน้ึ ไป

1.7 นิยามคำศัพท์เฉพาะ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หมายถึง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ตั้งอยู่ในย่าน

เอกมัย ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีสถานภาพเป็นหน่วยงานระดับกลุ่ม/ศูนย์
สว่ นกลางสังกัดสำนักงาน กศน. ใช้ชือ่ ย่อวา่ ศว.

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค หมายถึง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา/
ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพ่ือการศึกษาร้อยเอ็ด และอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
จงั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ รวม 19 แห่ง ซ่งึ มีสถานภาพเป็นสถานศกึ ษา ตงั้ อยใู่ นภูมภิ าคต่าง ๆ ทวั่ ประเทศ

กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หมายถึง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 20 แห่ง
ทั่วประเทศ ทัง้ ในกรงุ เทพมหานครและตา่ งจังหวัด ได้แก่

1) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษา
2) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษากาญจนบรุ ี
3) ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษาขอนแกน่
4) ศนู ย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษาตรัง
5) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษานครพนม
6) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษานครราชสมี า
7) ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
8) ศูนยว์ ิทยาศาสตร์เพ่อื การศึกษานครสวรรค์
9) ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษานราธิวาส
10) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาปัตตานี

7

11) ศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษาพระนครศรีอยุธยา
12) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษาพิษณโุ ลก
13) ศนู ย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษายะลา
14) ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษารงั สติ
15) ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษาลำปาง
16) ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษาสมุทรสาคร
17) ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพ่อื การศึกษาสระแก้ว
18) ศูนยว์ ิทยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษาอบุ ลราชธานี
19) ศูนยว์ ิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพ่ือการศกึ ษาร้อยเอ็ด
20) อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์
โครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม
หมายถึง โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ หรือ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี ที่มีขอบเขต/
เนื้อหาตามชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 พว12010 หรือชุดวิชาการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002 หรือชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 พว32023
หรือ รายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน (พว02027) ตามหลักสูตรการศึกษานอก
ระบบ ระดบั การศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551

1.8 ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะได้รบั
1.8.1 นักศึกษา กศน. สามารถคดิ วิเคราะห์ และแกป้ ัญหาได้อย่างมีระบบ
1.8.2 นักศึกษา กศน. รู้จักการทำงานเป็นทีม การอภิปรายอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนา

ความสามารถในการสื่อสาร
1.8.3 นกั ศกึ ษา กศน. ไดแ้ นวคิด/แรงบันดาลใจในการพัฒนาและต่อยอดผลงานต่อไป
1.8.4 นกั ศกึ ษา กศน. สามารถนำความรู้ความเขา้ ใจด้านวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการใช้

พลังงานไฟฟา้ ไปปรบั ใช้ในชีวิตประจำวนั ได้
1.8.5 กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

วทิ ยาศาสตร์และไดเ้ ครอื ข่ายความร่วมมือทางวิชาการ

บทที่ 2
แนวคิดและองคค์ วามรู้ท่ีเกี่ยวข้อง

บทนี้จะกล่าวถึงแนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานเพื่อชีวิตและสังคม ประกอบด้วยแนวคิด
การจัดการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. โครงงานวิทยาศาสตร์ และ
หลกั สตู รรายวชิ าการใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชวี ติ ประจำวนั

2.1 แนวคิดการจัดการเรยี นรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 มี

วิธีการจัดการเรียนรู้ และการจดั กระบวนการเรียนรู้ ดงั นี้
2.1.1 วธิ ีการจดั การเรยี นรู้
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2553ก) ได้กล่าวถึงวิธีการ

เรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ว่ามีวิธีเดียว
เรียกวา่ “วธิ ีเรียน กศน.” แตม่ ีลกั ษณะการจดั การเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ โดยพจิ ารณาจากปัจจัยต่อไปน้ี

1. ความพรอ้ ม ความสนใจ และศกั ยภาพของผู้เรียน
2. ความพร้อมในการบริหารจดั การของสถานศึกษา
3. ความพร้อมและศักยภาพของครูผสู้ อน
4. ความยากง่ายของเนื้อหารายวชิ า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การ
เรียนรู้แบบทางไกล การเรียนรู้แบบชั้นเรียน เป็นต้น โดยมีการกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการ
กำหนดชิ้นงาน ภาระงาน หรือลักษณะของชิ้นงาน ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนที่สามารถ
นำไปสู่การประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนใหส้ ูงข้ึนอย่างต่อเน่ือง โดยหลักฐานการเรียนรู้จะเป็นตัว
บ่งชี้ได้ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้และสามารถทำได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ท่ี
กำหนดไว้ ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวอย่างหลักฐานการเรียนรู้
เช่น บันทึกการฝึกทักษะ บันทึกการเรียนรู้ รายงาน แบบฝึกหัด โครงงาน แฟ้มสะสมงาน และการสอบ
2.1.2 การจัดกระบวนการเรยี นรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นจากหลักการ
และแนวคิดของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ นักการศึกษาไทย ที่กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องการสอนคน ให้

9

คิดเปน็ ทำเป็น แกป้ ญั หาเปน็ ” (สำนักงานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย, 2553ก,

หน้า 5) และให้สถานศึกษาใช้ปรัชญา “คิดเป็น” เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้ระบุไว้

ว่า “ปรัชญา คิดเป็น มีแนวคิดภายใต้ความเชื่อที่ว่า คนเราสามารถพัฒนาการคิด การตัดสินใจ ให้มี

ประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ ด้วยการฝึกทักษะ การใช้ข้อมูลที่หลากหลายทั้งด้านตนเอง สังคม สิ่งแวดลอ้ ม และ
วิชาการ มาวิเคราะห์ เชื่อมโยง สัมพันธ์ สร้างสรรค์ เป็นแนวทาง วิธีการสำหรับตนเอง แล้วประเมินตีค่า

ตัดสินใจเพื่อตนเอง และชุมชน สังคม ซึ่งเป็นลักษณะของคน คิดเป็น” (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2553ข, หน้า 6) ซึ่งกรมการศึกษานอกโรงเรียน (2546, อ้างถึงใน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2553ก, หน้า 8) กล่าวถึงกระบวนการ
เรียนร้เู พ่อื นำไปสู่การคิดเปน็ ไว้ดงั น้ี

1. ขน้ั สำรวจปัญหา เมอื่ เกิดปญั หา ย่อมต้องเกดิ กระบวนการคิดแก้ปัญหา
2. ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจ
ในปญั หานน้ั และนำมาวิเคราะห์วา่ ปัญหาที่เกิดขึ้นนน้ั เกิดขึ้นไดอ้ ย่างไร มอี ะไรเปน็ องค์ประกอบของ
ปัญหาบา้ ง โดยสาเหตขุ องปญั หาทีเ่ กิดข้นึ อาจมาจากสาเหตุ 3 ดา้ น คอื

- สาเหตจุ ากตนเอง เช่น พื้นฐานชวี ิต ครอบครัว อาชีพ การปฏบิ ตั ติ น ฯลฯ
- สาเหตุจากสงั คม เชน่ บคุ คลทีอ่ ย่แู วดล้อม ความเช่ือ ประเพณี ฯลฯ
- สาเหตุจาการขาดวิชาการ ความรตู้ ่าง ๆ ท่ีเกย่ี วข้องกบั ปญั หา
3. ขั้นวิเคราะห์ หาทางแก้ปัญหา เป็นการวิเคราะห์หาทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูล
ด้านตนเอง สังคม วิชาการ มาประกอบในการวิเคราะห์
4. ขั้นตัดสินใจ เมื่อได้ทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่าง ๆ พร้อม
สมบรู ณท์ ่ีสดุ
5. ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อตัดสินใจเลือกทางใดแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดี
ทสี่ ดุ ในขอ้ มลู เท่าท่มี ีในขณะนั้น
6. ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา ในขั้นนี้เป็นการประเมินผลพร้อมกันไปด้วย ถ้าผลเป็นที่พอใจ
ก็จะถือว่าพบความสุข เรียกว่า คิดเป็น แต่ถ้าไม่พอใจ หรือผลออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คิดไว้ หรือ
ข้อมลู เปลีย่ น ต้องเรม่ิ ตน้ กระบวนการคดิ แกป้ ัญหาใหม่

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2553ข, หน้า 38 - 39) ได้

กำหนดรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศกั ราช 2551 ไวด้ งั นี้

10

1. กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการของผู้เรยี น ชุมชน สังคม ให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์
และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร โดยผู้เรียนทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาความ
ต้องการนั้น ๆ แล้วกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และวางแผนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อนำไปสู่การ
ปฏิบตั ิตอ่ ไป

2. แสวงหาขอ้ มลู และจัดการเรียนรทู้ ่เี ชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม โดยศึกษา คน้ คว้าหา
ความรู้ รวบรวมข้อมูลของตนเอง ชมุ ชน สังคม และวิชาการ จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มี
การสะทอ้ นความคิด ระดมความคิดเหน็ อภปิ ราย วเิ คราะห์ สังเคราะหข์ ้อมูล และสรปุ เป็นความรู้

3. ปฏิบัติ โดยให้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เหมาะสมกับ
สงั คมและวัฒนธรรม

4. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยให้มีการประเมิน ทบทวนแก้ไขข้อบกพร่อง และตรวจสอบผล
การเรยี นรู้ ให้บรรลุตามเป้าหมายการเรียนร้ทู ว่ี างไว้

2.2 ยทุ ธศาสตรแ์ ละจดุ เนน้ การดำเนินงาน สำนกั งาน กศน.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2562, หน้า 1) กำหนด

วสิ ยั ทัศน์ไว้ในยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไว้
ว่า “คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสม
กับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21”
โดยมพี ันธกจิ ดงั นี้

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพ่ือยกระดับ
การศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย พร้อมรับการ
เปล่ียนแปลงบริบททางสงั คม และสรา้ งสงั คมแห่งการเรียนรูต้ ลอดชีวติ

2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียน
และแหลง่ การเรียนรอู้ ื่นในรูปแบบต่าง ๆ

3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิด
ประสิทธิภาพในการจดั การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั ให้กับประชาชนอย่างท่ัวถึง

4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและ
ประเมินผลในทกุ รูปแบบให้สอดคล้องกับบรบิ ทในปจั จบุ ัน

11

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพ่ือมุ่งจัดการศึกษาและ
การเรียนร้ทู ม่ี คี ณุ ภาพ โดยยึดหลกั ธรรมาภิบาล

สำหรับโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 ดำเนินงานภายใต้ยทุ ธศาสตร์และจุดเนน้ การดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ยุทธศาสตร์
ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ข้อ 3.9 การส่งเสริม
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 1) จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เชิงรุกทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน 2) ให้
ความรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่าย วิทยาศาสตร์ในวิถีชีวิต วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันกับประชาชน 3)
การร่วมมอื กับหน่วยงานวิทยาศาสตร์อื่นในการพฒั นาสื่อและรปู แบบการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
(สำนกั งานส่งเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย, 2562, หน้า 6 - 7)

2.3 โครงงานวทิ ยาศาสตร์และการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.

ของกลุ่มศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษา มีองคค์ วามรูท้ ี่เกย่ี วขอ้ งดังน้ี
2.3.1 โครงงานวิทยาศาสตร์
1. ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
มผี ูใ้ ห้ความหมายเก่ยี วกบั โครงงานวทิ ยาศาสตร์ไว้ดงั ตอ่ ไปนี้
สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2549, หน้า 7) กล่าวว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องใดเรื่อง

หนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จักการค้นคว้า
การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลข้อมูล และนำเสนอข้อมูลอย่างมีทักษะ แบบแผน เป็นการ
ตรวจสอบสมมุติฐาน หรือกล่าวได้ว่าเป็นงานวิจัยขั้นพื้นฐานภายใต้คำแนะนำปรึกษาและการดูแลของครู
อาจารย์ หรอื ผเู้ ชี่ยวชาญ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555, หน้า 77) กล่าวว่า โครงงานวิทยาศาสตร์
เป็นกจิ กรรมท่ผี ู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้ลงมอื ปฏบิ ัตจิ รงิ โดยการสืบเสาะหาความรู้ ได้ฝึกการ
แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ ไดค้ ิดอยา่ งเป็นระบบ ไดใ้ ช้ความสามารถในการคดิ ระดับสงู และได้
สื่อสารส่ิงท่ีเรยี นรู้

ตติยา ใจบญุ (2559, หน้า 6) กล่าววา่ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพ่ือค้นพบ
ความรู้ใหม่ และ/หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อันประกอบด้วย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการ

12

เป็นผู้มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แล้วเสนอผลการศึกษาในแบบการเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้สอน
และผู้เช่ียวชาญเปน็ ผู้ใหค้ ำปรึกษา

ฤทยั จงสฤษดิ์ (2559) กลา่ ววา่ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เหมือนกับการทำอาหาร ใหเ้ ลือกทำอาหาร
ท่ชี อบและสนใจ การเลือกทำโครงงานวิทยาศาสตรต์ ้องไม่ทำตามใจเพื่อนหรือตามใจครโู ดยท่ีเราไม่ชอบ

อนุสิษฐ์ เกื้อกูล (2560) กล่าวว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพื่อพบข้อความรู้ใหม่
สงิ่ ประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางวทิ ยาศาสตรด์ ้วยตวั ของผู้เรียนเอง โดยใช้วธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยมีครู
อาจารยแ์ ละผเู้ ช่ยี วชาญเป็นผใู้ ห้คำปรกึ ษา

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่
ผู้เรียนชอบและสนใจเพื่อค้นพบความรู้ใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และได้นำเสนอผลงานเพื่อสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ โดยมีครู
หรือผ้เู ชีย่ วชาญให้คำแนะนำปรึกษา

2. จดุ ประสงคข์ องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555, หน้า 77) ระบุจุดมุ่งหมายของการทำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ ไวด้ งั นี้
1) เพอื่ ให้ผู้เรยี นเกดิ การเรียนรู้ โดยการสรา้ งความรู้ดว้ ยตนเองจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล
และวางแผนการปฏิบตั ิท่ีนำไปสูก่ ารแกป้ ญั หา
2) เพอื่ ให้ผ้เู รียนไดใ้ ช้ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3) เพอื่ ให้ผ้เู รยี นได้ใช้ความรคู้ วามสามารถในการแก้ปญั หา การใหเ้ หตผุ ล และการคดิ ระดับสูง
4) เพื่อให้ผู้เรียนได้รายงานผลการปฏิบัติและนำเสนอผลงานด้วยการเขียนรายงาน และการจัด
แสดงผลงาน
3. ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวทิ ยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คอื
1) โครงงานประเภทการทดลอง ดำเนินการศึกษาด้วยการทดลอง โดยมีการออกแบบการทดลอง
กำหนดชุดทดลอง และชดุ ควบคมุ
2) โครงงานประเภทสำรวจ ดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจ และรวบรวมข้อมูล โดยไมม่ ีการจัดชดุ
ทดลอง หรอื ชดุ ควบคมุ เพ่ือเปรียบเทียบ
3) โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการศึกษาโดยการประดิษฐ์อุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อใช้
ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยมีการทดสอบคุณภาพของส่ิงประดิษฐด์ งั กล่าวดว้ ย

13

4) โครงงานประเภททฤษฎี ดำเนินการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูล หลักการ และข้อเท็จจริงต่าง ๆ
แลว้ เสนอเป็นความรู้ แนวคดิ แบบจำลอง หรอื หลักการ
(สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556, หน้า 33 - 34)

4. ขนั้ ตอนการทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555) แบ่งขั้นตอนการทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก เริ่มต้นจากการวางแผน การลงมือทำโครงงาน การเขียน
รายงาน และการจัดแสดงโครงงาน แสดงขัน้ ตอนได้ดังภาพท่ี 2.1

ภาพท่ี 2.1 ขัน้ ตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

การวางแผน การลงมอื ทาโครงงาน การเขียนรายงาน การจัดแสดงโครงงาน

ประกอบดว้ ย ขั้นตอนนี้แสดงถึงการมี เม่ือโครงงานเสร็จสมบูรณ์ เป็นการแสดงผลของการ
• กา รกา ห นดช่ือข อ ง ทั กษะปฏิ บั ติ และทั กษะ แล้วจะต้องมีการนาเสนอ ทาโครงงานเพื่อเผยแพร่
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการเขียนรายงาน หัวข้อ ให้ผู้อ่ืนได้รับรู้ โดยการ
โครงงานหรือปัญหาที่ ของผู้เรยี น เชน่ รายงานประกอบด้วย นาเสนอด้วยการจัดป้าย
ศกึ ษา • การปฏิบัติตามแผนการ • บทคัดยอ่ นิเทศ การสาธติ การสร้าง
แบบจาลอง และการนา
• การศึกษาเอกสารท่ี อย่างเปน็ ระบบ • หลักการและเหตผุ ล นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เกยี่ วข้อง มาช่วยเพิ่มความน่าสนใจ
• การใช้เคร่ืองมือหรือ • ความสาคญั ของปัญหา แ ล ะ ช่ ว ย ใ ห้ ผู้ ช ม เ ข้ า ใ จ
• การออกแบบวิธีการ วัสดุและอุปกรณ์การ เก่ียวกับโครงงานมากขึน้
แก้ปัญหาและวิธีการ ทดลอง • ทฤษฎีและหลักการ
ดาเนนิ งาน หรือแนวคดิ หลัก
• การบันทึกข้อมูล การ
• การเลือกใช้เครื่องมือ วเิ คราะห์ข้อมูล การลง • จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
หรือวัสดุอุปกรณ์การ ข้อสรุป และการให้
ทดลอง ขอ้ เสนอแนะ • กระบวนการเรียนรู้

• การสรุปผลและการให้
ข้อเสนอแนะ

• เอกสารอา้ งองิ

5. วธิ ีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์
วธิ กี ารทางวทิ ยาศาสตร์ เปน็ วธิ ีการเพ่ือให้ได้มาซึ่งความรู้อย่างเป็นขนั้ ตอน โดยทั่วไปแล้วมัก
ประกอบดว้ ยขนั้ ตอนเหลา่ น้ี ได้แก่ ระบปุ ญั หา ต้งั สมมตุ ฐิ าน ออกแบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปผล อาจมีการเพิ่มหรือลดขั้นตอนได้ตามความเหมาะสม ซึ่งพิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์
ยนิ ดีสุข (2558, หนา้ 50) ได้สรปุ แนวคดิ การใชว้ ธิ ีการทางวิทยาศาสตรค์ น้ พบองค์ความรูซ้ งึ่ เป็นคำตอบของ
สง่ิ ที่สงสยั หรือคำตอบของปญั หา ดังภาพที่ 2.2

14

ภาพที่ 2.2 การใชว้ ิธีการทางวทิ ยาศาสตร์ค้นพบองคค์ วามรู้

สิ่งสงสยั /คาถาม/ปญั หา ใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบ องคค์ วามรู้

• อะไร • 1. ระบคุ าถาม • 1. ข้อเทจ็ จรงิ
• ทาไม • 2. ตัง้ สมมุตฐิ าน • 2. คาจดั กัดความ
• ใคร • 3. ออกแบบรวบรวมขอ้ มูล • 3. ความคิดสาคัญ
• ทีไ่ หน • 4. ปฎิบัตกิ ารรวบรวมข้อมูล • 4. หลักการ
• เมื่อไหร่ • 5. วเิ คราะห์และสอ่ื • 5. กฎ
• อยา่ งไร ฯลฯ • 6. ทฤษฎี
ความหมายข้อมูล
• 6. แปลความหมายและ

สรปุ ผล

ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่จำเป็นในแต่ละขั้นตอนของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ โดยวรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2542) ให้คำนิยามทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไว้ว่า เป็นความชำนาญในการใช้ความคิดในการแสวงหาความรู้ แก้ปัญหา
และสร้างส่งิ ใหม่ แบง่ เป็นทักษะกระบวนการขั้นพน้ื ฐาน และทักษะขั้นสูงหรือขัน้ ผสม

ทกั ษะกระบวนการขนั้ พ้นื ฐาน ไดแ้ ก่
1) การสงั เกต
2) การลงความเหน็ จากขอ้ มูล
3) การจำแนกประเภท
4) การวดั
5) การใชต้ ัวเลข
6) การสอ่ื ความหมาย
7) การพยากรณ์
8) การหาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสเปสกับเวลา
ทักษะขั้นสงู หรือขนั้ ผสม ไดแ้ ก่
1) การกำหนดและการควบคมุ ตัวแปร
2) การตง้ั สมมติฐาน
3) การกำหนดนิยามเชิงปฏบิ ตั ิการ
4) การทดลอง
5) การตีความหมายของขอ้ มูล และการลงขอ้ สรุป

15

2.3.2 การประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน.
กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเล็งเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและใช้โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐาน
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนของกลุ่มสาระความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจและ
ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2554) ดำเนินการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นักศึกษา กศน. เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แต่มีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อและประเภทของ
โครงงานแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี โดยประกวดคัดเลือกตัวแทนทีมชนะเลิศจากศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาในภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ
หน่วยงานของกลุ่มศูนยว์ ิทยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย โดยมีขอ้ กำหนดและหลักเกณฑ์การ
ให้คะแนนที่ชัดเจนและใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2561 สำนักงาน กศน.
ได้มอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาดำเนินโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นกั ศกึ ษา กศน. และจัดโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศกึ ษา กศน. ระดบั ประเทศ โดยมี
ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ดำเนนิ การจดั ประกวดในระดบั พนื้ ท่ี
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากำหนดให้โครงงานที่เข้า
ประกวดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าใน
ชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษา กศน. ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าใน
ชีวิตประจำวัน (รหัส พว02027) ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดบั การศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พทุ ธศักราช
2551 ซึง่ สำนักงาน กศน. กับการไฟฟา้ ฝ่ายผลติ แหง่ ประเทศไทยได้ร่วมกันยกรา่ งหลักสตู รดงั กล่าว และการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนงบประมาณด้านรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. จำนวน 444,000 บาท และการศึกษาดูงานในประเทศสำหรับทีมที่ได้รับรางวัล
ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศอันดับสองจากการประกวดระดับประเทศ โดยการไฟฟ้า
ฝ่ายผลติ แห่งประเทศไทยจัดโครงการศกึ ษาดูงานด้านพลังงานไฟฟา้ เชงิ ประจักษภ์ ายในประเทศสำหรบั ทมี ท่ี
ไดร้ ับรางวลั ดงั กลา่ ว ระหวา่ งวันที่ 12 - 16 ตลุ าคม 2558 (ศูนยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษา, 2558)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านการใช้และการอนุรักษ์
พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยไม่กำหนดประเภทของโครงงาน แต่กำหนดให้นักศึกษา กศน. ที่เข้า
ประกวดแตล่ ะทมี ตอ้ งมสี มาชกิ ในทมี อย่างนอ้ ย 1 คนทลี่ งทะเบยี นเรยี นรายวิชาเลอื ก การใชพ้ ลังงานไฟฟ้า
ในชีวิตประจำวัน (รหัส พว02027) ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2556 และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สนับสนุนงบประมาณด้านรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปี

16

งบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 444,000 บาท และการศึกษาดูงานในประเทศสำหรับทีมที่ได้รับรางวัล
ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศอันดับสองจากการประกวดระดับประเทศ โดยทีมที่ได้รบั
รางวลั เขา้ ร่วมการศกึ ษาดงู านด้านพลงั งานไฟฟ้าเชงิ ประจักษภ์ ายในประเทศ ระหว่างวันที่ 10 - 14 ตุลาคม
2559 (ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษา, 2559)

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กล่มุ ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยไม่กำหนดประเภทของโครงงาน เหมือนปี
พ.ศ. 2559 แตก่ ำหนดให้ผูเ้ ขา้ ประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ เปน็ นักศกึ ษา กศน. ทลี่ งทะเบยี นเรยี นรายวิชา
เลือกบังคับ การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 (รหัส พว12010) หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าใน
ชีวิตประจำวัน 2 (รหัส พว22002) หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 (รหัส พว32023) ตาม
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2559
หรือ ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน (รหัสรายวิชา พว02027) ตั้งแต่
ภาคเรียนที่ 1/2556 และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสนับสนุนงบประมาณการประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. จำนวน 444,000 บาท และการศึกษาดูงานในประเทศสำหรับทีมท่ี
ไดร้ ับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลศิ อนั ดับหนึง่ และรองชนะเลิศอนั ดบั สองจากการประกวดระดับประเทศ โดย
มีการศึกษาดูงานด้านพลังงานไฟฟ้าเชิงประจักษ์ภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 2 - 7 ตุลาคม 2560
(ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษา, 2560)

ปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 กลุ่มศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาจดั ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยไม่กำหนดประเภทของโครงงาน และ
กำหนดให้ผู้เข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นนักศึกษา กศน. ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกบังคับ
การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 (รหัส พว12010) หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2
(รหัส พว22002) หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 (รหัส พว32023) ตามหลักสูตรการศึกษา
นอกระบบ ระดับการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 ตั้งแตภ่ าคเรียนที่ 1/2559 หรอื ลงทะเบียนเรียน
รายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน (รหัสรายวิชา พว02027) ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2556
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสนับสนุนงบประมาณการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นักศกึ ษา กศน. จำนวน 500,000 บาท และการศึกษาดงู านในประเทศสำหรับทมี ทไ่ี ดร้ ับรางวัลชนะเลศิ รอง
ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศอันดับสองจากการประกวดระดับประเทศ โดยมีการศึกษาดูงานด้าน
พลังงานไฟฟ้าเชิงประจักษ์ภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 2 - 4 ตุลาคม 2561 (ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อ
การศึกษา, 2561)

17

สรุปผลการดำเนินงานโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.
ปงี บประมาณ พ.ศ. 2558 - 2561 โดยศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา ดงั ตารางท่ี 2.1

ตารางท่ี 2.1 ผลการดำเนินงานปงี บประมาณ พ.ศ. 2558 - 2561

รายการ ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 รวม/เฉลี่ย

1) จำนวนโครงงาน ระดับพื้นที่ 131 192 184 284 791 ทมี
ระดบั ประเทศ 132 ทมี
2) ระดบั 28 34 35 35
ความพงึ พอใจ ระดบั พ้ืนที่ 4.51
นักศกึ ษา กศน. ระดบั ประเทศ (28 อำเภอ/เขต (32 อำเภอ/เขต (34 อำเภอ/เขต (34 อำเภอ/เขต
23 จงั หวดั ) 28 จังหวัด) 31 จังหวดั ) 27 จงั หวัด) (90.25%)
3) ระดบั ระดบั พื้นท่ี
ความพงึ พอใจ ระดับประเทศ 4.29 4.59 4.61 4.56 4.48
ครทู ่ีปรกึ ษาโครงงาน
ระดบั พืน้ ที่ (85.80%) (91.80%) (92.20%) (91.20%) (89.50%)
4) จำนวน ระดับประเทศ
ผศู้ ึกษาดูงาน 4.32 4.63 4.60 4.35 4.55

(86.40%) (92.60%) (92.00%) (87.00%) (90.90%)

4.43 4.54 4.57 4.64 4.50

(88.60%) (90.80%) (91.40%) (92.80) (90.05%)

4.57 4.62 4.58 4.24 6,842
907
(91.40%) (92.40%) (91.60%) (84.80%)

1,160 940 1,460 3,282

161 112 401 233

5) จำนวน ระดับพื้นที่ 26 31 31 33 121

ภาคีเครอื ขา่ ย ระดับประเทศ 4 5 5 5 19
(หนว่ ยงาน)

6) งบประมาณ ระดับพ้ืนที่ 234,000 324,000 396,000 423,000 1,377,000
สนบั สนุนจาก กฟผ.
และการศึกษาดงู าน ระดบั ประเทศ (ศว.ละ 13,000) (ศว.ละ 18,000) (ศว.ละ 22,000) (ศว.ละ 23,500) 455,000
รวมงบฯกฟผ. 1,832,000
ภายในประเทศ 210,000 120,000 48,000 77,000
(40 คน)
444,000 444,000 444,000 500,000

หมายเหตุ ปี 2558 - 2560 จัดประกวดระดับประเทศที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (เอกมัย) ส่วน ปี 2561 จัดประกวด

ระดบั ประเทศที่อทุ ยานวทิ ยาศาสตรพ์ ระจอมเกลา้ ณ หวา้ กอ จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์

2.4 หลักสตู รรายวชิ าการใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
การประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนด

หัวข้อผลงานเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคมที่มี
ขอบเขต/เนื้อหาตามชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 พว12010 หรือชุดวิชาการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002 หรือชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 3 พว32023 หรือ

18

รายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน พว02027 และกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าประกวด คือ
สมาชิกในทีมอย่างนอ้ ย 2 ใน 3 คนเปน็ นักศกึ ษา กศน. ท่ลี งทะเบียนเรียนรายวิชาเลอื กบงั คบั การใช้พลังงาน
ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1 หรือ 2 หรือ 3 ดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2559 ถึงปัจจบุ ัน และรายวิชา
เลือกการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2556 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สรุปเนื้อหาของรายวิชาเลือกบังคับและรายวิชาเลือก การใช้
พลังงานไฟฟา้ ในชีวิตประจำวัน ได้ดังนี้

2.4.1 รายวชิ าเลอื กบงั คบั การใช้พลังงานไฟฟา้ ในชวี ติ ประจำวัน 1, 2 และ 3
แบ่งเปน็ 3 ระดับ ดังน้ี
1) คาอธิบายรายวิชา พว12010 การใชพลังงานไฟฟาในชีวิตประจาวัน 1 ระดับประถมศึกษา และ
ผลการเรียนรทู้ ค่ี าดหวงั

ตารางท่ี 2.2 หวั เรือ่ ง ตัวชีว้ ดั และเน้ือหาของรายวิชาการใช้พลงั งานไฟฟา้ ในชีวิตประจำวนั 1

ท่ี หัวเร่ือง ตวั ชีว้ ดั เนื้อหา

1 ความหมายและ 1. บอกความหมายของไฟฟา 1. ความหมายและความสาคัญของไฟฟา

ความสาคญั ของไฟฟ้า 2. บอกประโยชนของพลังงาน 2. ประโยชนและผลกระทบของพลงั งานไฟฟา

ไฟฟา 2.1 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

3. บอกผลกระทบจากการขาด ไฟฟ้าดานคมนาคม

แคลนพลังงานไฟฟา 2.2 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

ไฟฟา้ ดานอตุ สาหกรรม

2.3 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

ไฟฟา้ ดานเศรษฐกิจ

2.4 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

ไฟฟ้าดานเกษตรกรรม

2.5 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

ไฟฟ้าดานคณุ ภาพชีวติ

2.6 ประโยชนและผลกระทบของพลังงาน

ไฟฟา้ ดานบริการ

2 ประวัติความเปนมาของ บอกประวัติความเปนมาของ ประวตั คิ วามเปนมาของไฟฟาในประเทศไทย

ไฟฟาในประเทศไทย ไฟฟาในประเทศไทย

3 ประเภทของไฟฟา บอกประเภทของไฟฟา 1. ประเภทของไฟฟา

1.1 ไฟฟาสถติ

1.2 ไฟฟากระแส

1.2.1 ไฟฟากระแสตรง

1.2.2 ไฟฟากระแสสลับ

19

ตารางที่ 2.2 (ตอ่ ) ตวั ช้วี ัด เนือ้ หา

ท่ี หวั เร่อื ง 2. การกาเนดิ ของไฟฟา
(ตอ่ )
2.1 ไฟฟาท่เี กดิ จากการเสยี ดสีของวตั ถุ
4 สถานการณพลังงาน
ไฟฟาของประเทศไทย 2.2 ไฟฟาทีเ่ กิดจากการทาปฏิกริ ิยาทางเคมี

5 หนวยงานทเ่ี กีย่ วของ 2.3 ไฟฟาทเี่ กดิ จากพลงั งานแสงอาทิตย
ดานพลังงานไฟฟาใน
ประเทศไทย 2.4 ไฟฟาทเ่ี กดิ จากพลงั งานแมเหล็กไฟฟา

6 อุปกรณไฟฟาและ 1. บอกสัดสวนเชื้อเพลิงที่ใชใน 1. สัดสวนการผลติ ไฟฟาจากเช้อื เพลงิ ประเภทตา่ ง ๆ
วงจรไฟฟา
การผลติ ไฟฟาของประเทศไทย 2. การใชไฟฟาในแตละชวงเวลาในหนึ่งวนั

2. บอกการใชไฟฟาในแตละชวง 3. สภาพปจจบุ ันและแนวโนมการใชพลังงานไฟฟ้า

เวลาในหนึง่ วัน

3. อธิบายสถานการณพลังงาน

ไฟฟาของประเทศไทย

1. ระบุชอื่ และสังกัดของหนวย หนวยงานทเี่ กี่ยวของดานพลงั งาน

งานทเ่ี ก่ียวของดานพลังงาน ไฟฟาในประเทศไทย ไดแก

ไฟฟาในประเทศไทย 1. คณะกรรมการกากับกจิ การพลงั งาน (กกพ.)

2. บอกบทบาทหน าที่ของ 2. การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.)

หน่วยงานที่เกี่ยวของด้าน 3. การไฟฟานครหลวง (กฟน.)

พลังงานไฟฟา้ 4. การไฟฟาสวนภมู ิภาค (กฟภ.)

1. บอกชื่อและหน าที่ของ 1. อุปกรณไฟฟา

อุปกรณไ์ ฟฟ้า 1.1 สายไฟ

2. อธิบายการตอวงจรไฟฟ้า 1.2 ฟวส

แบบตา่ ง ๆ 1.3 อุปกรณตัดตอนหรือเบรกเกอร

1.4 สวติ ซ

1.5 เครือ่ งตดั ไฟฟารวั่

1.6 เตารบั เตาเสียบ

2. วงจรไฟฟา

2.1 แบบอนุกรม

2.2 แบบขนาน

2.3 แบบผสม

3. สายดินและหลกั ดิน

3.1 สายดนิ

3.2 หลกั ดิน

20

ตารางท่ี 2.2 (ตอ่ )

ท่ี หัวเรือ่ ง ตัวชี้วดั เนอื้ หา

7 การประหยัดพลังงาน 1. บอกกลยทุ ธการประหยดั 1. กลยทุ ธการประหยัดพลงั งานไฟฟา 3 อ.

ไฟฟา้ พลงั งานไฟฟา 1.1 กลยุทธ อ. 1 อุปกรณประหยดั ไฟฟา

2. จาแนกฉลากเบอร 5 ของ 1.2 กลยทุ ธ อ. 2 อาคารประหยดั ไฟฟา

แท้กับของลอกเลยี นแบบ 1.3 กลยุทธ อ. 3 อุปนสิ ยั ประหยัดไฟฟา

3. เลือกใชเครื่องใชไฟฟาได้ 2. แนวปฏิบัติการประหยัดพลังงานไฟฟาใน

เหมาะสมกับสถานการณท่ี ครัวเรือน

กำหนดให

4. ปฏิบัติตนเป็นผู้ประหยัด

พลังงานไฟฟาในครวั เรือน

(สำนกั งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย, 2559ก)

ผลการเรียนรู้ทค่ี าดหวังรายวชิ า พว12010 การใชพลงั งานไฟฟาในชวี ิตประจำวัน 1
1. ใชค้ วามรแู้ ละกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ในการดำเนินชวี ิตไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

2. อธบิ ายเกยี่ วกบั ปรากฏการณท์ างธรรมชาติ และการพยากรณท์ างอากาศ

3. อธิบายเก่ยี วกับพลงั งานในชวี ติ ประจำวนั

4. อธิบาย ออกแบบ วางแผน ทดลอง ทดสอบ ปฏิบัติการเรื่องไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

คิด วิเคราะห์ เปรยี บเทียบข้อดี ข้อเสยี ของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน แบบผสม ประยุกต์และ

เลือกใช้ความรู้ และทักษะอาชีพช่างไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับด้านบริหารจัดการและการบริการเพื่อนำไปสู่การ

จดั ทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์

(สำนักงานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2559ง)

2) คำอธิบายรายวิชา พว22002 การใชพลังงานไฟฟาในชีวิตประจำวัน 2 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
และผลการเรยี นรทู้ ค่ี าดหวัง

ตารางที่ 2.3 หวั เรอื่ ง ตวั ชวี้ ดั และเนือ้ หาของรายวิชาการใช้พลงั งานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2

ที่ หวั เรอื่ ง ตัวชีว้ ดั เนื้อหา

1 การกาเนิดของไฟฟา บอกการกาเนดิ ของไฟฟา การกาเนดิ ของไฟฟา

1. ไฟฟาท่ีเกดิ จากการเสยี ดสีของวัตถุ

2. ไฟฟาที่เกิดจากการทาปฏกิ ริ ยิ าทางเคมี

3. ไฟฟาที่เกิดจากความรอน

4. ไฟฟาทเ่ี กิดจากพลงั งานแสงอาทติ ย

5. ไฟฟาท่ีเกิดจากพลังงานแมเหล็กไฟฟา

2 สถานการณพลังงาน 1. บอกสัดสวนเชื้อเพลิงที่ใชในการ 1. สถานการณพลังงานไฟฟาของประเทศไทย

ไฟฟ้าของประเทศไทย ผลติ ไฟฟาของประเทศไทย 1.1 สัดสวนการผลิตไฟฟาจากเชื้อเพลิงประเภท

และประเทศในอาเซียน ตา่ ง ๆ ของประเทศไทย

21

ตารางท่ี 2.3 (ตอ่ )

ท่ี หัวเรอื่ ง ตัวชีว้ ดั เน้ือหา

(ต่อ) 2. ตระหนักถึงสถานการณของ 1.2 ความตองการใชไฟฟาในแตละชวงเวลาในหนึ่งวนั

เชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟ้า ของประเทศไทย

ของประเทศไทย 1.3 สภาพปจจุบันและแนวโนมการใชพลงั งานไฟฟา

3. วิเคราะหสถานการณพลังงาน 2. สถานการณ พลังงานไฟฟ าของประเทศใน

ไฟฟา้ ของประเทศไทย อาเซียน

4. เปรียบเทียบสถานการณพลังงาน

ไฟฟาของไทยและประเทศใน

อาเซียน

3 หนวยงานที่เกี่ยวของ 1. ระบุชื่อและสังกัดของหนวยงาน หนวยงานทเี่ กี่ยวของดานพลังงานไฟฟาในประเทศไทย

ด้านพลังงานไฟฟ้าใน ที่เกี่ยวของดานพลังงานไฟฟ้าใน 1. คณะกรรมการกากับกิจการพลงั งาน (กกพ.)

ประเทศไทย ประเทศไทย 2. การไฟฟาฝายผลติ แหงประเทศไทย (กฟผ.)

2. บอกบทบาทหนา้ ท่ีของหน่วยงาน 3. การไฟฟาสวนภมู ภิ าค (กฟภ.)

ท่ีเกย่ี วข้องด้านพลังงานไฟฟา้ 4. การไฟฟานครหลวง (กฟน.)

4 เชื้อเพลิงและพลังงานที่ 1. บอกประเภทเชื้อเพลิงและ 1. เชอื้ เพลิงฟอสซลิ

ใชในการผลติ ไฟฟา พลงั งานที่ใชในการผลติ ไฟฟ้า 1.1 ถานหิน

2. เปรียบเทียบขอดี ขอจากัด 1.2 น้ำมัน

ของเชื้อเพลิงและพลังงานท่ี 1.3 กาซธรรมชาติ

ใชในการผลิตไฟฟา 2. พลังงานทดแทน

3. ยกตัวอยางพลังงานทดแทนท่ี 2.1 ความสาคัญของพลังงานทดแทน

มใี นชมุ ชนของตนเอง 2.2 ประเภทของพลงั งานทดแทน

2.3 หลกั การทางานของพลังงานทดแทน

2.3.1 พลังงานลม

2.3.2 พลังงานน้ำ

2.3.3 พลังงานแสงอาทติ ย

2.3.4 พลังงานชีวมวล

2.3.5 พลงั งานความรอนใตพภิ พ

2.3.6 พลงั งานนวิ เคลียร

2.4 ขอดี ขอจากดั ของพลงั งานทดแทน

5 โรงไฟฟากบั การจดั การ 1. บอกผลกระทบดานสิ่งแวดล้อม 1. ผลกระทบและการจัดการสง่ิ แวดลอมดานอากาศ

ดานสง่ิ แวดลอม ที่เกิดจากโรงไฟฟา้ 2. ผลกระทบและการจัดการสิง่ แวดลอมดานน้ำ

2. บอกการจดั การดานส่ิงแวดลอม 3. ผลกระทบและการจัดการส่ิงแวดลอมดานเสียง

ของโรงไฟฟา

3. มีเจตคติที่ดีตอโรงไฟฟ้าแต่ละ

ประเภท

22

ตารางที่ 2.3 (ตอ่ )

ที่ หัวเร่ือง ตัวชว้ี ัด เน้ือหา

6 อุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจร 1. ตอวงจรไฟฟาแบบตาง ๆ 1. อุปกรณไฟฟา

ไฟฟ้า 2. เลือกใชอุปกรณไฟฟ าได 1.1 สายไฟ

ถูกต้อง 1.2 ฟวส

1.3 อุปกรณตดั ตอนหรอื เบรกเกอร

1.4 สวิตซ

1.5 เครื่องตัดไฟฟารัว่

1.6 เตารบั เตาเสยี บ

2. วงจรไฟฟา

2.1 แบบอนกุ รม

2.2 แบบขนาน

2.3 แบบผสม

3. สายดินและหลักดนิ

3.1 สายดนิ

3.2 หลักดิน

7 การใชและการประหยดั 1. อธิบายกลยุทธการประหยัด 1. กลยทุ ธการประหยดั พลงั งานไฟฟา 3 อ.

พลงั งานไฟฟา พลังงานไฟฟา 1.1 กลยุทธ อ. 1 อปุ กรณประหยดั ไฟฟา

2. จาแนกฉลากเบอร 5 ของแท 1.2 กลยทุ ธ อ. 2 อาคารประหยดั ไฟฟา

กบั ของลอกเลยี นแบบ 1.3 กลยทุ ธ อ. 3 อุปนิสัยประหยัดไฟฟา

3. เลือกใชเครื่องใชไฟฟาได 2. การเลือกซื้อ เลือกใช และดูแลรักษาเครื่อง

เหมาะสมกับสถานการณท่ี ไฟฟา้ ในครัวเรอื น

กาหนดให้ 2.1 เคร่ืองทำนำ้ อุนไฟฟา

4. ปฏิบัติตนเป นผู ประหยัด 2.2 กระติกนำ้ รอนไฟฟา

พลังงานไฟฟาในครัวเรอื 2.3 พดั ลม

5. อธิบายวิธีการดูแลรักษา 2.4 โทรทศั น

เคร่อื งใชไฟฟาในครัวเรือน 2.5 เตารดี ไฟฟา

6. บอกองค ประกอบของค่า 2.6 ตูเย็น

ไฟฟา้ 3. การคานวณคาไฟฟาในครวั เรือน

7. คานวณคาไฟฟาในครัวเรือน 3.1 องคประกอบของคาไฟ

3.2 อตั ราคาไฟฟา

3.3 การคานวณการใชไฟฟา

(สำนกั งานสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย, 2559ข)

ผลการเรยี นรู้ที่คาดหวงั รายวชิ า พว22002 การใชพลังงานไฟฟาในชวี ิตประจาวนั 2

1. อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ การถ่ายทอด

พลงั งาน การแกป้ ญั หา การดแู ลรกั ษาและการอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมของท้องถิ่น

และประเทศ

23

2. อธิบายเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน แสง
และสมบัติของแสง เลนส์ ประโยชน์และโทษจากแสง การเปลี่ยนรูปพลังงาน พลังงานความร้อนและ
แหล่งกำเนิด การนำพลงั งานไปใชป้ ระโยชนใ์ นชวี ติ ประจำวัน และการอนุรกั ษพ์ ลังงานได้

3. อธิบาย ออกแบบ วางแผน ทดลอง ทดสอบ ปฏิบัติการเรื่องไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและ
ปลอดภัย คดิ วิเคราะห์ เปรียบเทยี บข้อดี ขอ้ เสยี ของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน แบบ
ผสม ประยุกต์และเลือกใช้ความรู้ และทักษะอาชีพช่างไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับด้านบริหารจัดการและ
การบรกิ ารเพ่อื นำไปสกู่ ารจดั ทำโครงงานวิทยาศาสตร์
(สำนกั งานสง่ เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2559จ)

3) คาอธิบายรายวิชา พว32023 การใชพลังงานไฟฟาในชีวิตประจาวัน 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
และผลการเรยี นรู้ทีค่ าดหวัง

ตารางที่ 2.4 หวั เร่อื ง ตวั ชวี้ ัด และเนือ้ หาของรายวชิ าการใชพ้ ลงั งานไฟฟา้ ในชวี ิตประจำวนั 3

ที่ หวั เรอ่ื ง ตวั ช้ีวดั เนื้อหา

1 การกาเนิดของไฟฟา บอกการกาเนิดของไฟฟา การกาเนิดของไฟฟา

1. ไฟฟาทเ่ี กิดจากการเสยี ดสีของวัตถุ

2. ไฟฟาทเ่ี กดิ จากการทาปฏกิ ริ ิยาทางเคมี

3. ไฟฟาท่เี กิดจากความรอน

4. ไฟฟาที่เกดิ จากพลังงานแสงอาทิตย

5. ไฟฟาที่เกดิ จากพลงั งานแมเหลก็ ไฟฟา

2 สถานการณพลังงาน 1. บอกสัดสวนเชื้อเพลิงที่ใชใน 1. สถานการณพลงั งานไฟฟาของประเทศไทย

ไฟฟ้าของประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 1.1 สัดส วนการผลิตไฟฟ าจากเชื้อเพลิง

ประเทศในกลุมอาเซียน ประเทศในอาเซียนและโลก ประเภทต่าง ๆ ของประเทศไทย

และโลก 2. ตระหนักถึงสถานการณของ 1.2 การใชไฟฟาในแตละชวงเวลาในหนึ่งวัน

เชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟา ของประเทศไทย

ของประเทศไทย 1.3 สภาพป จจุบันและแนวโน มการใช

3. วิเคราะหสถานการณพลังงาน พลังงานไฟฟา

ไฟฟาของประเทศไทย 1.4 แผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ าของ

4. เปรียบเทียบสถานการณ์ ประเทศไทย (PDP)

พลงั งานไฟฟาของประเทศไทย 2. สถานการณพลงั งานไฟฟาของประเทศในกล่มุ

ประเทศในอาเซียนและโลก อาเซยี น

5. วิเคราะหสถานการณพลังงาน 3. สถานการณพลงั งานไฟฟาของโลก

ไฟฟาของประเทศไทย

6. เปรียบเทียบสถานการณ

พลังงานไฟฟาของประเทศไทย

ประเทศในอาเซียนและโลก

24

ตารางที่ 2.4 (ตอ่ )

ท่ี หวั เรอ่ื ง ตัวชีว้ ดั เน้อื หา

3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1. ระบชุ ่อื และสงั กดั ของหนวย หนวยงานที่เกี่ยวของดานพลังงานไฟฟาในประเทศ

ด้านพลังงานไฟฟ้าใน งานที่เกยี่ วของดานพลังงาน ไทย ไดแก

ประเทศไทย ไฟฟาในประเทศไทย 1. การไฟฟาฝายผลติ แหงประเทศไทย (กฟผ.)

2. อธิบายบทบาทหนาที่ของ 2. การไฟฟาสวนภมู ิภาค (กฟภ.)

หน่วยงานที่เกี่ยวของด้าน 3. การไฟฟานครหลวง (กฟน.)

พลงั งานไฟฟา้ 4. คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.)

3. แนะนาบริการของหน วย

งานเกี่ยวของด้านพลังงาน

ไฟฟ้าในประเทศไทย

4 เชื้อเพลิงและพลังงานที่ 1. อธบิ ายกระบวนการผลติ ไฟฟ้า 1. เชอ้ื เพลงิ ฟอสซิล

ใชในการผลติ ไฟฟา จากเชอื้ เพลิงแตล่ ะประเภท 1.1 ถานหนิ

2. เปรียบเทียบตนทุนการผลิต 1.2 นำ้ มัน

พลังงานไฟฟาตอหนวยจาก 1.3 กาซธรรมชาติ

เชอ้ื เพลิงแตละประเภท 2. พลงั งานทดแทน

3. เปรียบเทียบขอดี ขอจากัด 2.1 พลงั งานลม
ของเชื้อเพลิงและพลังงานท่ใี ช 2.2 พลังงานนำ้
2.3 พลังงานแสงอาทติ ย์
ในการผลิตไฟฟา
4. อธบิ ายกระบวนการผลิตไฟฟ้า 2.4 พลังงานชวี มวล
จากเช้ือเพลงิ แตล่ ะประเภท 2.5 พลังงานความรอนใตพภิ พ
5. เปรียบเทียบตนทุนการผลิต 2.6 พลงั งานนิวเคลียร
พลังงานไฟฟาตอหนวยจาก 3. พลังงานทดแทนในชุมชน
3.1 พลงั งานทดแทนจากกระแสลม
เชื้อเพลงิ แตละประเภท
6. เปรียบเทียบขอดี ขอจากัดของ 3.2 พลังงานทดแทนจากพลังนำ้
เช้ือเพลงิ และพลังงานที่ใชในการ 4. ตนทุนการผลิตพลังงานไฟฟาตอหนวยจาก
เชื้อเพลิงแตละประเภท
ผลิตไฟฟา
7. วิเคราะหศักยภาพพลังงาน 5. ขอดีและขอจากัดของการผลิตไฟฟ าจาก
ทดแทนทม่ี ีในชมุ ชนของตนเอง เชอ้ื เพลงิ แตละประเภท

5 โรงไฟฟากับการจัดการ 1. อธิบายผลกระทบด้าน 1. ผลกระทบและการจัดการดานส่งิ แวดลอม

ดานส่งิ แวดลอม สง่ิ แวดล้อมท่เี กดิ จากโรงไฟฟา้ 1.1 ดานอากาศ

2. อธ ิ บายการจ ั ดการด าน 1.2 ดา้ นน้ำ

สิง่ แวดลอ้ มของโรงไฟฟา้ 1.3 ดานเสียง

3. อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับการ 2. ขอกาหนดทเี่ กี่ยวของกบั โรงไฟฟา้ ดานสิ่งแวดลอม

วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.1 การวิเคราะห ผลกระทบสิ่งแวดล อม

(EIA) และการว ิ เคราะห์ (Environmental Impact Assessment : EIA)

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม 2.2 การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม สังคม

และสุขภาพ (EHIA) และสุขภาพ (Environmental Health Impact

4. เปรียบเทียบการวิเคราะห Assessment : EHIA)

ผลกระทบส่งิ แวดลอม (EIA)

25

ตารางที่ 2.4 (ตอ่ )

ท่ี หวั เรือ่ ง ตวั ชี้วดั เน้ือหา

(ตอ่ ) และการวิเคราะหผลกระทบ

ส่ิงแวดล้อม สังคม และ

สขุ ภาพ (EHIA)

5. มีเจตคตทิ ี่ดีตอโรงไฟฟาแต่ละ

ประเภท

6 วงจรไฟฟาและอุปกรณ 1. อธิบายการตอวงจรไฟฟา 1. อุปกรณไฟฟา

ไฟฟา แบบตาง ๆ 1.1 ฟวสสายไฟ

2. ตอวงจรไฟฟาแบบตาง ๆ 1.2 อุปกรณตัดตอนหรอื เบรกเกอร

3. เลือกใชอุปกรณไฟฟ าได้ 1.3 สวิตซ

ถกู ต้อง 1.4 สะพานไฟ

1.5 เครอ่ื งตดั ไฟฟารว่ั

1.6 เตารับและเตาเสียบ

1.7 สายไฟ

2. การตอวงจรไฟฟา

2.1 แบบอนกุ รม

2.2 แบบขนาน

2.3 แบบผสม

3. สายดนิ และหลักดนิ

7 การใชและการประหยัด 1. อธิบายกลยุทธการประหยัด 1. กลยทุ ธการประหยัดพลงั งานไฟฟา 3 อ.

พลงั งานไฟฟา พลังงานไฟฟา 1.1 กลยุทธ อ. 1 อปุ กรณประหยัดไฟฟา

2. จาแนกฉลากเบอร 5 ของแทกับ 1.2 กลยทุ ธ อ. 2 อาคารประหยดั ไฟฟา

ของลอกเลยี นแบบ 1.3 กลยทุ ธ อ. 3 อปุ นสิ ยั ประหยดั ไฟฟา

3. เลือกใชเครื่องใชไฟฟาได 2. การเลือกซื้อ การใช และการดูแลรักษาเครื่องใช

เหมาะสมกับสถานการณที่ ไฟฟาภายในบาน

กาหนดให 2.1 เครือ่ งทำน้ำอุนไฟฟา

4. วางแผนการประหยัดพลังงาน 2.2 กระติกน้ำรอนไฟฟา

ไฟฟาในครวั เรือน 2.3 พดั ลม

5. อธิบายวิธีการดูแลรักษาเครือ่ ง 2.4 โทรทัศน

ใชไฟฟาในครัวเรือน 2.5 เตารดี ไฟฟา

6. อธิบายองคประกอบของค่า 2.6 ตูเย็น

ไฟฟา้ 3. การวางแผนและการคานวณคาไฟฟาในครวั เรอื น

7. อธิบายปจจัยที่มีผลต่อค่า 3.1 การคานวณคาไฟฟาในครัวเรอื น

ไฟฟ้าแปรผัน (Ft) 3.1.1 องคประกอบคาไฟฟา
8. คำนวณค่าไฟฟ้าในครวั เรอื น 3.1.2 อัตราคาไฟฟา

3.1.3 การคานวณคาไฟฟา

3.2 การวางแผนการใชไฟฟาในครวั เรือน

(สำนักงานส่งเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั , 2559ข)

26

ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวัง รายวิชา พว32023 การใชพลงั งานไฟฟาในชีวิตประจำวนั 3
อธิบาย ออกแบบ วางแผน ทดลอง ทดสอบ ปฏิบัติการเรื่องไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คิด
วิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน แบบผสม ประยุกต์และ
เลือกใช้ความรู้และทักษะอาชีพช่างไฟฟ้าให้เหมาะสมกับด้านบริหารจัดการและการบริการเพื่อนำไปสู่การ
จดั ทำโครงงานวิทยาศาสตร์
(สำนกั งานสง่ เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย, 2559ฉ)
2.4.2 รายวชิ าเลอื ก การใชพ้ ลงั งานไฟฟา้ ในชวี ติ ประจำวัน
หนังสือเรียนรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน รหัสรายวิชา พว02027 เริ่มใช้
ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับผู้เรียนทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน กศน. มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และตระหนักถึง
ความจำเป็นของการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแหง่
ประเทศไทยในการดำเนนิ งานจัดทำหลักสูตรดังกล่าว
โครงสร้างรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน รหัสรายวิชา พว02027
ประกอบดว้ ยเนือ้ หา 4 บท คือ
บทท่ี 1 พลังงานไฟฟา้
บทที่ 2 ประโยชน์และผลกระทบของพลงั งานไฟฟ้า
บทท่ี 3 พลังงานทดแทน
บทที่ 4 การใช้และการประหยดั พลังงานไฟฟ้า
มีสาระสำคญั ตวั ช้วี ัดและเน้อื หาแต่ละบทดงั ตอ่ ไปน้ี

ตารางท่ี 2.5 สาระสำคัญ ตัวชว้ี ัด และเนอ้ื หาของหลักสตู รรายวชิ าเลือกการใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชีวิตประจำวนั

บทท่ี สาระสำคัญ ตัวช้ีวดั เน้ือหา
บทท่ี 1
พลังงานไฟฟา้ พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูป 1. อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ห ม า ย 1. ความหมาย ความสำคัญ

หนึ่งที่มีความสำคัญและมีการ ความสำคัญ ประเภท และ ประเภท และการกำเนิด

ใช้งานกันมาอย่างยาวนาน โดย การกำเนดิ ไฟฟ้า ไฟฟ้า

สามารถผลิตได้จากเชื้อเพลิง 2. อธิบายประวัติความเป็นมา 2. ประวัติความเป็นมาของ

ต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อเพลิงฟอสซลิ ของไฟฟ้าของโลก และ ไ ฟ ฟ ้ า ข อ ง โ ล ก แ ล ะ

และพลังงานทดแทน ปัจจุบัน ประเทศไทย ประเทศไทย

ได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพ่ิม 3. อธิบายประเภทพลังงานท่ี 3. ประเภทพลังงานที่ผลิต

มากขึ้น ทำให้ต้องมีการ ผลติ กระแสไฟฟา้ กระแสไฟฟ้า

แสวงหาเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ

ใหเ้ พยี งพอต่อความต้องการ

27

ตารางท่ี 2.5 (ตอ่ ) สาระสำคัญ ตวั ชี้วัด เนอื้ หา

บทที่ โดยแต่ละประเทศมีสัดส่วน 4. อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ห ม า ย 4. ความหมาย ความสำคัญ
(ต่อ)
การใช้เชื้อเพลิงในการผลิต ความสำคัญ ประเภท และ ประเภท และการกำเนิด
บทที่ 2
ประโยชนแ์ ละ กระแสไฟฟ้าแตกต่างกันไป การกำเนดิ ไฟฟ้า ไฟฟา้
ผลกระทบของ
พลงั งานไฟฟ้า ตามศักยภาพของประเทศนั้น 5. อธิบายประวัติความเป็นมา 5. ประวัติความเป็นมาของ

บทท่ี 3 ๆ อย่างไรก็ตาม การผลติ ของไฟฟ้าของโลก และ ไฟฟ้าของโลก และ
พลงั งานทดแทน
กระแสไฟฟ้ายังต้องคำนึงถึง ประเทศไทย ประเทศไทย

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึง 6. อธิบายประเภทพลังงานที่ 6. ประเภทพลังงานที่ผลิต

ต้องมีการจัดการและแนว ผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า

ทางการป้องกันที่เหมาะสม 7. เปรียบเทียบสถานการณ์

ภายใตข้ อ้ กำหนดและกฎหมาย พลังงานไฟฟ้าของโลก

อาเซียน และประเทศไทย

พลังงานไฟฟ้าสามารถนำมาใช้ 1. อธิบายประโยชน์และ 1. ประโยชน์และผลกระทบ

ประโยชน์ได้หลากหลายจน ผลกระทบของพลังงาน ของพลังงานไฟฟ้าในด้าน

กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อ ไฟฟ้าในด้านคมนาคม ค ม น า ค ม เ ศ ร ษ ฐ กิ จ

การดำรงชีวิตของมนุษย์ และ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม คุณภาพชีวิต

มีความสำคัญต่อการพัฒนา คุณภาพชีวิต เกษตรกรรม เกษตรกรรม และบริการ

ประเทศในด้านต่าง ๆได้แก่ ด้าน และบรกิ าร 2. การวิเคราะห์ประโยชนแ์ ละ

คมนาคม ด้านเศรษฐกิจ ด้าน 2. วิเคราะห์ประโยชน์และ ผลกระทบจากสภาวการณ์

อุตสาหกรรม ดา้ นเกษตรกรรม ผลกระทบจากสภาวการณ์ ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าใน

ด้านบริการ และด้านคุณภาพ ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าใน ชุมชน

ชีวิต เนื่องจากปัจจุบันมีการ ชมุ ชน

พ ึ ่ ง พ า พ ล ั ง ง า น ไ ฟ ฟ ้ า อ ยู่

ตลอดเวลา ดังนั้นหากมี

พลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอย่อม

ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ

และเกิดความเสยี หายตามมา

ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าเป็น 1. อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ห ม า ย 1. ความหมาย ความสำคัญ

ปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ความสำคัญและประเภท และประเภทของพลังงาน

ของมนุษย์ในการพัฒนาและ ของพลงั งานทดแทน ทดแทน

ขับเคลือ่ นกระบวนการต่าง ๆ ทำ 2. อธิบายหลักการทำงานของ 2. ห ล ั กกา ร ทำ งา นข อง

ให้มีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานทดแทน พลังงานทดแทน

มากขึ้น จึงทำให้เชื้อเพลิงที่ใช้ 3. เปรียบเทียบต้นทุนการ 3. การเปรยี บเทยี บต้นทุนการ

ผลิตกระแสไฟฟ้าบางอย่างกำลัง ผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อ ผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อ

จะหมดสิ้นไปในอนาคต พลังงาน หนว่ ย หน่วย

ทดแทนจึงเป็นพลังงานที่มี

ความสำคญั ท่จี ะนำมาใชเ้ พือ่

28

ตารางที่ 2.5 (ตอ่ )

บทท่ี สาระสำคัญ ตัวชีว้ ัด เนอื้ หา

(ตอ่ ) ทดแทนเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมด 4. อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ห ม า ย 4. ความหมาย ความสำคัญ

สิน้ ไปในอนาคต พลงั งานทดแทน ความสำคัญและประเภท และประเภทของพลังงาน

ที่สำคัญ เช่น พลังงานลม ของพลงั งานทดแทน ทดแทน

พลังงานน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 5. อธิบายหลักการทำงานของ 5. ห ล ั กกา ร ทำ งา นข อง

พลังงานชีวมวล พลังงานความ พลังงานทดแทน พลังงานทดแทน

ร้อนใต้พิภพ พลังงานนิวเคลียร์ 6. เปรียบเทียบต้นทุนการ 6. การเปรียบเทยี บต้นทุนการ

เป็นต้น นอกจากนั้น ชุมชน ผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อ ผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อ

สามารถที่จะพัฒนาพลังงาน หนว่ ย หนว่ ย

ทดแทนที่มีศักยภาพมาใช้ให้

เปน็ ประโยชนต์ ่อชมุ ชนได้

บทท่ี 4 การดำเนินชวี ิตของมนษุ ยใ์ นใน 1. อธิบายวงจรไฟฟ้าและ 1. วงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์

การใช้และการ ปัจจุบันมีพลังงานไฟฟ้าเข้ามา อุปกรณไ์ ฟฟ้า ไฟฟา้

ประหยดั พลังงาน เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ดังน้ัน 2. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าใน 2. การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

ไฟฟ้า เพื่อให้การใช้พลังงานไฟฟ้ามี ครวั เรือน ในครวั เรอื น

ความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องรู้จัก 3. อธิบายองค์ประกอบของค่า 3. องคป์ ระกอบของคา่ ไฟฟา้

อุปกรณ์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าและ ไฟฟ้า 4. การคำนวณการใช้ไฟฟ้าใน

เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ 4. คำนวณการใช้ไฟฟ้าใน ครัวเรือน

เหมาะสม และเพื่อให้การใช้ ครวั เรอื น 5. การประหยัดพลังงานไฟฟา้

พลังงานไฟฟ้าเกิดความคุ้มค่า 5. อธิบายอัตราค่าไฟฟ้าของ ในชวี ิตประจำวนั

และประหยัด ผู้ใช้ต้องรู้จัก ผใู้ ชไ้ ฟฟา้ แตล่ ะประเภท 6. การวางแผนการใช้ไฟฟ้าใน

วิธีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 6. อธบิ ายการประหยัดพลังงาน ครวั เรือน

และวางแผนการใช้พลังงาน ไฟฟา้ ในชีวิต ประจำวัน 7. บ ท บ า ท ห น ้ า ท ี ่ ข อ ง

ไฟฟ้าในครัวเรือนอย่าง 7. วางแผนการใช้ไฟฟ้าใน หน่วยงานที่รับผิดชอบ

เหมาะสม อีกทั้งควรรู้จักการ ครวั เรือน เกีย่ วกบั ไฟฟ้า

คำนวณค่าไฟฟ้าที่ใช้ใน 8. อธิบายบทบาทหน้าที่ของ

ครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง และ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

รูจ้ กั หน่วยงานทเี่ กย่ี วข้อง เกีย่ วกบั ไฟฟ้า

(สำนกั งานส่งเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั , 2557)

บทที่ 3
วธิ ีดำเนินการ

การดำเนินโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2562 มีรายละเอียดของขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล และการวเิ คราะห์ข้อมลู ดังน้ี

3.1 ข้นั ตอนการดำเนินงาน
โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนกั ศึกษา กศน. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 เร่ิม

ดำเนินการตัง้ แตเ่ ดอื นกุมภาพนั ธ์ 2562 จากการประชุมสรุปผลการดำเนนิ งานไตรมาสที่ 1 และ 2 ของกลุ่ม
ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลติ แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใหก้ ารสนับสนนุ งบประมาณ
จัดประกวด จำนวน 500,000 บาท มีแผนดำเนินงานตลอดทงั้ โครงการ ดังตารางท่ี 3.1

ตารางที่ 3.1 แผนการดำเนนิ งานโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน.

ท่ี รายการ แผน
1 ประชมุ /ประสานงานหน่วยงานทเี่ กี่ยวขอ้ ง เพอื่ กำหนดหวั ข้อ/รูปแบบ/ ก.พ. - เม.ย.62

หลักเกณฑแ์ ละกรอบแนวทาง การประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั ก.พ. - เม.ย.62
นกั ศกึ ษา กศน.
2 ประสานงานภาคีเครือข่าย (การไฟฟ้าฝ่ายผลติ แหง่ ประเทศไทย) เรื่องการ ก.พ.- เม.ย.62
สนับสนุนงบประมาณจดั ประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน.
3 ขออนมุ ัติจัดโครงการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. ก.พ. - เม.ย.62
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ก.พ. - เม.ย.62
3.1 ขออนุมัตจิ ัดโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนกั ศกึ ษา ก.พ. - เม.ย.62
กศน. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562
3.2 ขออนมุ ตั ิงบประมาณสนับสนนุ จาก กฟผ. ก.พ. - เม.ย.62
4 ส่งโครงการทไ่ี ดร้ บั อนุมัติและหลักเกณฑ์การประกวดให้กับ ศว. 19 แหง่ ก.พ. - เม.ย.62
5 ขอข้อมลู รายชือ่ ผู้ประสานงานโครงการ/ วนั จดั ประกวดระดบั พื้นท่/ี ก.พ. - เม.ย.62
เลขบญั ชีเงนิ นอกงบประมาณของ ศว. 19 แห่ง
6 ขออนุมัติลงนามโล่และเกียรติบัตรการประกวดระดบั พน้ื ทแ่ี ละระดับประเทศ พ.ค. - ก.ค. 62
6.1 ขออนมุ ตั ิลงนามเกียรตบิ ตั รระดับพ้ืนทจี่ ากเลขาฯ กศน. 22 ก.ค. - 2 ส.ค. 62
6.2 ขออนุมตั ิลงนามสำหรบั โลแ่ ละเกียรตบิ ตั รระดบั ประเทศ จาก รมว.ศธ
7 ส่งแบบสอบถามความคดิ เหน็ ผเู้ ขา้ รว่ มกิจกรรม/แบบบันทึกผลการจดั 18 ส.ค. 62
ประกวดระดบั พน้ื ท/่ี template เกียรตบิ ัตร/แบบลงคะแนนกรรมการ ส.ค. - ก.ย. 62
ให้ ศว. 19 แหง่
8 จัดประกวดโครงงานฯ ระดบั พนื้ ท่ี โดย ศว. 19 แห่ง ท่ัวประเทศ
9 เปดิ รบั สมคั รทีมท่ีผ่านการคัดเลือกระดับพน้ื ท่เี ขา้ ประกวดระดบั ประเทศ
10 จดั ประกวดโครงงานฯ ระดบั ประเทศ ณ ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษา
11 ประเมนิ ผล/สรปุ ผล/รายงานผล

30

แบ่งขั้นตอนการดำเนินโครงการออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินกิจกรรมและ
ข้ันประเมนิ ผล รายละเอียดดงั น้ี

3.1.1 ขนั้ เตรยี มการ แสดงได้ดังภาพที่ 3.1

ภาพที่ 3.1 ข้นั เตรยี มการประกวด

การประชุม/ การขออนุมัติ การขออนุมัติ การตดิ ต่อ การจัดเตรยี ม
วางแผนการ โครงการจาก งบประมาณ ประสานงาน/ เอกสารที่
ดาเนนิ โครงการ สานกั งาน กศน. สนับสนุนจาก ประชาสมั พันธ์ เก่ียวขอ้ ง

กฟผ. โครงการ

1) การกำหนดหัวข้อการประกวด รูปแบบ คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด กำหนดการจัดประกวด
รางวัลระดับพื้นที่/ระดับประเทศ ข้อกำหนดต่าง ๆ และเกณฑ์การให้คะแนนการประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 ใช้ผลจากการประชุมสรุปผลการ
ดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ของกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
กาญจนบรุ ี วันท่ี 6 - 7 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 และการประชุมสรุปผลการดำเนินงานไตรมาสท่ี 2 ของกลุ่มศูนย์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช วันที่ 29 - 30 เมษายน
2562

2) ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พอื่ การศึกษาเสนอโครงการขออนุมัตจิ ดั ประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับ
นักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จากสำนักงาน กศน. ตามหนังสือที่ ศธ 0210.05/537 ลง
วนั ที่ 4 เมษายน 2562

3) สำนักงาน กศน. ขอรับการสนับสนนุ งบประมาณจาก กฟผ. สำหรับดำเนินการประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ตามหนังสือที่ ศธ 0210.05/2089 ลงวันที่ 9 เมษายน 2562 จำนวน
500,000 บาท

4) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแจ้งผลการอนุมัติโครงการพร้อมเกณฑ์การประกวดให้กบั
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่งดำเนินการจัดประกวดระดับพื้นที่ ตามหนังสือที่ ศธ
0210.05/557 ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 และขอรายช่ือผู้ประสานงานโครงการ วันจัดประกวดระดับพื้นท่ี
พรอ้ มเลขบัญชเี งินนอกงบประมาณของหนว่ ยงานเพ่ือรับโอนเงินสนบั สนนุ การประกวดจาก กฟผ.

5) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาประชาสัมพันธ์โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
(https://sciplanet.org/content/4375) โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลและดาวน์โหลดโครงการ เกณฑ์การประกวด
และกำหนดการต่าง ๆ ได้ และมชี ่องทางสำหรับคณะผ้จู ดั ประกวดฯ กลุ่มศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พ่อื การศึกษา

31

เท่านั้น เป็น Cloud Storage (Google Drive: https://qrgo.page.link/g8tC) ในการเข้าถึงข้อมูล
สถานการณ์ปจั จบุ นั และดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ

6) เลขาฯ กศน. อนุญาตให้นำตราสัญลกั ษณ์สำนักงาน กศน. และนำลายมอื ชื่อพมิ พ์ลงในเกยี รติบัตร
การประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. ระดบั พื้นท่ี ตามหนงั สอื ที่ ศธ 0210.05/593 ลงวันท่ี
24 เมษายน 2562

7) เลขาฯ กศน. รับมอบงบประมาณสนับสนุนจาก กฟผ. จำนวน 500,000 บาท (เช็คธนาคารกรุงไทย
สาขาบางกรวย เลขท่ี 10145675 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2562) และมอบหนังสือขอบคุณ กฟผ. ตามหนังสือท่ี
ศธ 0210.05/2856 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562

8) เลขาฯ กศน. ลงนามหนังสือแจ้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค เรื่องการโอนเงินนอก
งบประมาณ (โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.) โดยกลุ่มการคลังดำเนินการโอนเงิน
สนับสนุนการประกวดโครงงานฯ ระดับพื้นท่ี จาก กฟผ. เข้าบัญชีเงินนอกงบประมาณของศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ๆ ละ 22,000 บาท รวมจำนวน 418,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน
2562 ตามหนังสือท่ี ศธ 0210.116/3174 ลงวนั ท่ี 7 มิถุนายน 2562

9) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแจ้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง เรื่อง
template เกียรติบัตร/ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ แบบลงคะแนนกรรมการ/ แบบ
บนั ทึกผลการจดั ประกวดโครงงานฯ ระดับพืน้ ท่ี โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารตา่ ง ๆ ผา่ นช่องทาง Cloud
Storage (Google Drive) สำหรับคณะผู้จัดฯ ตามหนังสือที่ ศธ0210.05/649 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม
2562

10) รมว.ศธ. อนญุ าตให้นำลายมอื ช่อื พมิ พ์ลงในเกยี รตบิ ตั ร และอนญุ าตให้จารกึ ช่ือลงในโลส่ ำหรับ
มอบให้ทีมชนะเลศิ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศกึ ษา กศน. ระดบั ประเทศ ตามหนังสือท่ี
ศธ 0210.05/13006 ลงวันที่ 5 สงิ หาคม 2562

3.1.2 ขัน้ ดำเนินกิจกรรม
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ
มกี ารกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประกวด กำหนดการของการประกวด รางวลั ขอ้ กำหนดต่าง ๆ และ
เกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน เพื่อให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาคที่เป็นหน่วยจัด
ประกวดระดับพื้นท่ี และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาซึ่งรับผิดชอบจัดประกวดระดับประเทศ
ดำเนินการจัดประกวดภายใต้ข้อกำหนดและกฎเกณฑ์เดียวกันตามที่ระบุไว้ในโครงการและจัด
ประกวดได้ตามกำหนดการทีว่ างไว้ สรปุ ข้ันดำเนินกิจกรรมการประกวด ได้ดังภาพท่ี 3.2

ภาพท่ี 3.2 ข้ันดำเนนิ กิจกรรม 32

• จดั ประกวดระหว่าง มถิ ุนายน - กรกฎาคม 2562 การประกวด
โดยศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมภิ าค 19 แหง่ ระดับประเทศ
การประกวด • จดั ประกวดวนั ที่ 18 สิงหาคม 2562
ระดบั พ้ืนท่ี โดยศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพ่อื การศกึ ษา

สรุปขนั้ ดำเนนิ กิจกรรมการจดั ประกวดระดับพื้นที่และระดับประเทศ ดังน้ี

1) การจดั ประกวดระดบั พน้ื ที่

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ดำเนินการรับสมัครผู้เข้าแข่งขันจากพื้นท่ี

บริการของแต่ละแห่ง และจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ด้านการใช้และการ

อนรุ กั ษ์พลงั งานไฟฟ้าเพื่อชวี ิตและสังคม เพือ่ คัดเลอื กทมี ชนะเลศิ และรองชนะเลศิ อันดบั 1 เปน็ ตวั แทนเข้า

ประกวดระดับประเทศ โดย กฟผ. สนบั สนนุ งบประมาณจดั ประกวดหน่วยงานละ 22,000 บาท แบง่ เป็นเงิน

รางวลั 18,000 บาท และค่าดำเนินการจดั ประกวด 4,000 บาท โดยมีรายละเอยี ดดา้ นรางวัลดงั น้ี

รางวัลชนะเลศิ 6,000 บาท และเกยี รตบิ ตั ร

รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดับ 1 4,000 บาท และเกยี รตบิ ตั ร

รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดับ 2 3,000 บาท และเกยี รตบิ ัตร

รางวลั ชมเชย จำนวน 5 รางวลั ๆ ละ 1,000 บาท และเกียรตบิ ัตร

(เกยี รติบัตรลงนามโดยเลขาธิการ กศน.)

กำหนดจัดประกวดระดับพื้นทอ่ี ยูร่ ะหว่างเดือนมถิ นุ ายน - กรกฎาคม 2562 แสดงไดด้ ังตารางท่ี 3.2

ตารางที่ 3.2 กำหนดการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน. ระดบั พืน้ ที่

ท่ี วันทีจ่ ดั ประกวด หนว่ ยงาน

1 23 มถิ นุ ายน 2562 ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษาสมุทรสาคร

2 28 มถิ นุ ายน 2562 ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพือ่ การศึกษาพษิ ณุโลก

3 2 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช

4 3 กรกฎาคม 2562 อุทยานวิทยาศาสตรพ์ ระจอมเกลา้ ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบครี ขี นั ธ์

5 5 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษาพระนครศรอี ยุธยา

6 5 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ิทยาศาสตรเ์ พ่ือการศึกษาลำปาง

33

ตารางที่ 3.2 (ตอ่ ) หน่วยงาน
ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพือ่ การศึกษาร้อยเอด็
ท่ี วนั ที่จดั ประกวด ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพ่ือการศกึ ษาตรัง
7 5 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศกึ ษาขอนแกน่
8 10 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษานราธวิ าส
9 11 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษาสระแก้ว
10 11 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษานครสวรรค์
11 11 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษาอบุ ลราชธานี
12 12 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสติ
13 19 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษาปัตตานี
14 21 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษากาญจนบุรี
15 22 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษายะลา
16 23 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษานครพนม
17 25 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษานครราชสีมา
18 26 กรกฎาคม 2562
19 8 สงิ หาคม 2562

2) การจดั ประกวดระดับประเทศ

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ด้านการใช้และการอนุรักษ์

พลังงานไฟฟ้าเพื่อชวี ิตและสงั คม ระดับประเทศ ดำเนินงานโดยศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กำหนดจัด

ประกวดวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดย กฟผ. สนับสนุนเงินรางวัล

ระดับประเทศจำนวน 82,000 บาท และใช้งบประมาณจากสำนักงาน กศน. งบประมาณรายจ่ายประจำปี

พ.ศ. 2562 แผนงาน: พื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิตที่ 5 : ผู้รับบริการ

การศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมจัดการศึกษาตามอัธยาศัย งบดำเนินงานรหัส 39005 วงเงิน 400,000

บาท โดยมรี ายละเอยี ดด้านรางวัลดงั น้ี

รางวลั ชนะเลศิ โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดบั ประเทศ จำนวน 1 รางวัล ๆ ละ 21,000 บาท

พรอ้ มโล่และเกยี รติบตั ร

รางวัลรองชนะเลิศอนั ดับ 1 จำนวน 2 รางวัล ๆ ละ 17,000 บาท

พร้อมโล่และเกียรตบิ ัตร

รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั 2 จำนวน 3 รางวลั ๆ ละ 13,000 บาท

พร้อมโล่และเกยี รติบัตร

รางวลั ชมเชย จำนวน 32 รางวัล ๆ ละ 9,000 บาท และเกียรตบิ ตั ร

(โล่และเกยี รติบตั รลงนามโดย รมว.ศธ.)

34

ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษา เปิดรับสมัครทีมทีผ่ ่านการคัดเลือกระดับพื้นท่ีจากศูนยว์ ิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ๆ ละ 2 ทีม รวม 38 ทีม เข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นักศึกษา กศน. ระดับประเทศ ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม ตั้งแต่วันที่
22 กรกฎาคม ถงึ 2 สิงหาคม 2562 โดยให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาคผจู้ ัดประกวดระดับ
พื้นที่ ส่งใบสมัครและรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงานแต่ละทีม ๆ ละ 5 เล่ม ไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษา ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2562 (ดูจากวันประทับตราโดยไปรษณีย์) ตามหนังสือที่ ศธ
0210.05/938 ลงวันท่ี 5 กรกฎาคม 2562 ทงั้ น้ี คณะผ้จู ดั ขอสงวนสทิ ธ์ใิ นการจับสลากลำดับการนำเสนอ
ผลงานของแต่ละทีมหลังปิดรับสมัครเพื่อความสะดวกในการให้คะแนนของคณะกรรมการ และประกาศ
ผลการจัดลำดับพร้อมแผนผังที่ตั้งโต๊ะแสดงผลงานทางเว็บไซต์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ในวันท่ี 9 สิงหาคม 2562

3.1.3 ขัน้ ประเมินผล
การประเมินผลโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับพื้นที่ ใช้ผล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประกวดโครงงาน ส่วนการประกวด
ระดับประเทศ ใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประกวดโครงงาน/
ผู้ประสานงานและผู้บรหิ ารกลมุ่ ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษา/ คณะกรรมการตัดสนิ การประกวดโครงงาน
และแบบตรวจสอบความสอดคล้องของโครงงานวทิ ยาศาสตร์กับหลักสตู รรายวิชาเลอื ก การใช้พลังงานไฟฟา้
ในชวี ิตประจำวัน และรายวชิ าเลือกบังคบั การใชพ้ ลังงานไฟฟ้าในชวี ิตประจำวนั 1, 2 และ 3 เพอ่ื ตรวจสอบ
ว่าเป็นไปตามเปา้ หมายของโครงการหรือสอดคล้องกับจดุ ประสงค์ของโครงการทีต่ ้ังไว้หรือไม่

3.2 เครอ่ื งมอื ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู
เครอื่ งมือทใี่ ช้ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ประกอบด้วย
3.2.1 แบบบันทึกข้อมูล (Record) เป็นแบบบันทึกผลการดำเนินงานต่าง ๆ ในรูปแบบเอกสาร

กระดาษและเอกสารอิเลก็ ทรอนิกส์
3.2.2 แบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งออกเป็น 3 แบบตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

สำหรบั นักศกึ ษา กศน.
1.1) การประกวดระดับพื้นท่ี ประกอบด้วยคำถามปลายปิดที่เป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ

มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด รวมทั้งคำถาม
ปลายเปดิ โดยแบบสอบถามแบง่ ออกเป็น 3 สว่ น ดังน้ี

35

ส่วนท่ี 1 สอบถามข้อมูลทว่ั ไป ลกั ษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ส่วนที่ 2 สอบถามเก่ียวกับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า
ส่วนท่ี 3 สอบถามเกีย่ วกับปญั หาและอุปสรรค/ความประทับใจ/ข้อเสนอแนะ ลักษณะเปน็ แบบ

คำถามปลายเปิด
1.2) ระดับประเทศ ประกอบด้วยคำถามปลายปิดที่เป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ
มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด รวมทั้งคำถาม
ปลายเปิด โดยแบบสอบถามแบ่งออกเปน็ 4 ส่วน ดงั นี้
สว่ นที่ 1 สอบถามขอ้ มูลทวั่ ไป ลกั ษณะเปน็ แบบตรวจสอบรายการ
ส่วนที่ 2 สอบถามเก่ียวกับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า
สว่ นที่ 3 สอบถามเก่ยี วกับปญั หาและอุปสรรค/ความประทับใจ/ข้อเสนอแนะ ลกั ษณะเป็นแบบ

คำถามปลายเปดิ
ส่วนท่ี 4 สอบถามเกีย่ วกบั การจัดประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. คร้ังตอ่ ไป

ลกั ษณะเป็นแบบคำถามปลายเปดิ
2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและผปู้ ระสานงานโครงการกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาในการเข้าร่วมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับประเทศ
ประกอบด้วยคำถามปลายปิดทีเ่ ปน็ แบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราสว่ นประมาณค่า 5 ระดับ
คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด รวมทั้งคำถามปลายเปิด โดยแบบสอบถามแบ่ง
ออกเป็น 5 สว่ น ดังนี้
ส่วนท่ี 1 สอบถามข้อมูลทัว่ ไป ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ส่วนที่ 2 สอบถามเก่ยี วกับความพึงพอใจของผู้ประสานงานโครงการ ลักษณะเปน็ แบบมาตรา

ส่วนประมาณคา่
ส่วนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ลักษณะเป็นแบบ

คำถามปลายเปดิ
สว่ นที่ 4 สอบถามเกยี่ วกับข้อเสนอแนะ ลักษณะเปน็ แบบคำถามปลายเปดิ
ส่วนที่ 5 สอบถามเกยี่ วกับการจดั ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นักศึกษา กศน. ครั้งต่อไป

ลักษณะเป็นแบบคำถามปลายเปิด

36

3) แบบสอบถามความคิดเห็น/ข้อควรปรับปรุง/ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตัดสินการ
ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับประเทศ ประกอบด้วยคำถามปลายเปิด
เร่ืองรปู แบบของการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน และอ่นื ๆ

3.2.3 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นแบบตรวจสอบความสอดคล้องของโครงงาน กับ
หลกั สูตรรายวชิ าเลอื ก การใช้พลงั งานไฟฟ้าในชวี ติ ประจำวัน และรายวชิ าเลือกบงั คบั การใชพ้ ลังงานไฟฟา้ ใน
ชีวิตประจำวัน 1, 2 และ 3 ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับประเทศ ด้าน
การใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม โดยหลักสูตรรายวิชาเลือกประกอบด้วยรายการ
4 หัวข้อใหญ่ 23 หัวข้อย่อย ส่วนรายวิชาเลือกบังคับ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ (ประถมศึกษา/ มัธยมศึกษา
ตอนต้น/ มัธยมศึกษาตอนปลาย) แตล่ ะระดับประกอบด้วยรายการ 7 หวั ข้อใหญ่

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมลู
การเกบ็ รวบรวมข้อมลู จากการดำเนนิ โครงการ มวี ธิ ีการดังน้ี
3.3.1 การเกบ็ รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมลู
1) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่จัดประกวดทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ ทำหน้าที่จัดเก็บ/

รวบรวมแบบบันทกึ ข้อมูลต่าง ๆ ทเ่ี ก่ยี วข้องกับการดำเนินงาน
2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทำหน้าที่รวบรวมแบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการประกวด

โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศกึ ษา กศน. ระดบั พ้นื ท่ี ที่ดำเนินการโดยศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษาใน
ภูมิภาค 19 แห่ง เพอื่ นำขอ้ มูลท่ีได้ไปวิเคราะหผ์ ลและสรุปผลตอ่ ไป

3.3.2 การเกบ็ รวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม
1) การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. (ระดับพื้นที่/ระดับประเทศ) มี 2 วิธี คือ การแจก
แบบสอบถามให้แก่นักศึกษา กศน. และครูที่ปรึกษาที่เข้าประกวดโครงงานแล้วเก็บคืนหลังเสร็จส้ิน
กิจกรรม และการตอบแบบสอบถามออนไลน์ทาง Google Forms ผ่านการใช้ QR Code
2) การเก็บขอ้ มลู โดยใช้แบบสอบถามความคดิ เห็นของผู้บริหารและผู้ประสานงานศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษาในภูมิภาค การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับประเทศ ใช้
วิธีการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้บริหารและผู้ประสานงานโครงการจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ในภมู ภิ าค แลว้ เกบ็ คืนหลังเสร็จสิน้ กจิ กรรม
3) การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคณะกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับ
นกั ศึกษา กศน. ระดับประเทศ ใชว้ ธิ ีการแจกแบบสอบถามให้แก่คณะกรรมการ แล้วเก็บคืนหลงั เสรจ็ ส้ินกจิ กรรม

37

3.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบตรวจสอบรายการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบตรวจสอบรายการเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของ
โครงงานกับหลักสูตรรายวิชาเลือก การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน และรายวิชาเลือกบังคับ
การใชพ้ ลงั งานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 1, 2 และ 3 ใช้วิธกี ารตรวจสอบรายการเนื้อหาความรู้ด้านการ
ใช้พลงั งานไฟฟา้ ในชวี ติ ประจำวันทนี่ ักศกึ ษา กศน. ผเู้ ข้าประกวดนำมาใช้ในการทำโครงงาน

3.4 การวเิ คราะห์ข้อมลู
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบ

รายการแล้ว ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามข้นั ตอนตอ่ ไปนี้
3.4.1 การตรวจสอบข้อมูล เพ่ือใหแ้ น่ใจว่าข้อมลู ที่ได้มานัน้ มีความสมบูรณ์และถกู ต้อง
3.4.2 การจัดทำข้อมูล โดยจัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบแล้วให้เป็นระบบ เพื่อความ

สะดวกในการวเิ คราะหข์ ้อมลู ขน้ั ต่อไป
3.4.3 การวเิ คราะห์ขอ้ มูล แบ่งตามเคร่ืองมือที่ใชเ้ กบ็ ข้อมูลออกเปน็ 3 แบบ คือ
1) ข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบสร้างข้อสรุป และใช้

การวเิ คราะห์ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณดว้ ยโปรแกรม Microsoft Excel
2) ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม Microsoft Excel/

SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
ไดแ้ ก่ การแจกแจงความถ่ี การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลยี่ สว่ นข้อมลู ท่ีไดจ้ ากคำถามปลายเปิด ใชก้ ารวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis) โดยการจบั ประเด็นทีม่ ีความคล้ายคลึงกันมาจัดเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อกำหนด
คา่ ความถใี่ หก้ ับข้อความหรือรายการนัน้

3) ข้อมูลจากแบบตรวจสอบรายการ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม
Microsoft Excel

บทท่ี 4
ผลการดำเนนิ งาน

การดำเนินโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2562 ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม โดยได้รับการ
สนับสนนุ งบประมาณจัดประกวดจากการไฟฟา้ ฝ่ายผลิตแหง่ ประเทศไทย (กฟผ.) มผี ลการจดั ประกวด
โครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนกั ศึกษา กศน. ระดับพนื้ ทแ่ี ละระดับประเทศ ดงั ตอ่ ไปนี้

4.1 ผลการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศกึ ษา กศน. ระดบั พ้นื ที่
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ด้านการใช้และการอนุรักษ์

พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม ระดับพื้นที่ ดำเนินงานโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาใน
ภมู ิภาค 19 แห่งท่ัวประเทศ จดั ประกวดตั้งแต่วันที่ 23 มถิ ุนายน - 8 สิงหาคม 2562 เพ่ือคัดเลือกทีม
ที่ได้รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 รวมจำนวนแห่งละ 2 ทีม เป็นตัวแทนเข้าประกวด
ระดบั ประเทศ ณ ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา โดย กฟผ. ใหก้ ารสนับสนนุ งบประมาณจดั ประกวด
ในระดับพื้นท่ีแก่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาค 19 แห่ง ๆ ละ 22,000 บาท รวมเป็นเงนิ

418,000 บาท สรุปผลการจดั ประกวดระดบั พนื้ ท่ีดงั นี้

4.1.1 จำนวนโครงงานวิทยาศาสตรท์ ่เี ข้าประกวดระดับพน้ื ท่ีและผ้เู ขา้ ร่วมกิจกรรม
โครงงานทเ่ี ข้าประกวดระดับพ้ืนท่ีทั่วประเทศมีท้ังหมด 331 โครงงาน มนี ักศึกษา กศน. และครู
ที่ปรกึ ษาโครงงานเข้าประกวดทงั้ ส้ิน 1,585 คน ผู้ติดตาม/ศกึ ษาดูงานจำนวน 7,706 คน ดังตารางท่ี 4.1

ตารางที่ 4.1 จำนวนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เข้าประกวดระดับพนื้ ทีแ่ ละผู้เขา้ รว่ มกิจกรรม

จำนวน

ที่ วันท่ีจดั ประกวด หน่วยงานจดั ประกวด นักศกึ ษา ครู ผู้ติดตาม/ศึกษาดงู าน
กศน. ท่ี
โครงงาน ปรึกษา นกั ศึกษา ครู อน่ื ๆ
กศน.

1 23 มิถนุ ายน 2562 ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา 13 39 23 0 0 0

สมทุ รสาคร

2 28 มิถุนายน 2562 ศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษา 29 84 41 18 18 12

พษิ ณโุ ลก

3 2 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษา 5 15 10 23 2 0

นครศรีธรรมราช

4 3 กรกฎาคม 2562 อทุ ยานวทิ ยาศาสตร์พระจอมเกล้า 6 18 10 0 0 0

ณ หว้ากอ จงั หวดั ประจวบครี ขี ันธ์

5 5 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พ่อื การศึกษา 11 33 19 17 14 259

พระนครศรีอยุธยา

6 5 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษา 21 63 42 54 27 0

ลำปาง

39

ตารางที่ 4.1 (ต่อ)

จำนวน

ท่ี วนั ทจ่ี ัดประกวด หนว่ ยงานจดั ประกวด นักศกึ ษา ครู ผตู้ ิดตาม/ศึกษาดงู าน
กศน.
โครงงาน ท่ี นักศึกษา ครู อ่ืน ๆ
5 15 ปรึกษา กศน.
8
7 5 กรกฎาคม 2562 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์และวัฒนธรรม 98 6 36 24 0
เพื่อการศึกษารอ้ ยเอ็ด 5
23 24 12 34 4 0
8 10 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 9
ตรัง 6 294 196 1,195 54 455
6
9 11 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษา 19 15 5 0 0 0
ขอนแก่น 15
7 69 37 31 31 0
10 11 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพ่ือการศึกษา 29
นราธวิ าส 16 27 16 81 23 0
331
11 11 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษา 18 12 22 13 4
สระแก้ว
18 8 18 6 1
12 12 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษา
นครสวรรค์ 57 38 150 78 0

13 19 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพ่อื การศึกษา 45 19 15 8 4
อุบลราชธานี
21 12 254 45 4,354
14 21 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา
รังสติ 87 58 187 58 0

15 22 กรกฎาคม 2562 ศนู ย์วทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษา 48 31 54 23 0
ปัตตานี
990 595 2,189 428 5,089
16 23 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษา 1,585 7,706
กาญจนบรุ ี 9,291 คน

17 25 กรกฎาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศกึ ษา
ยะลา

18 26 กรกฎาคม 2562 ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษา
นครพนม

19 8 สงิ หาคม 2562 ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา
นครราชสมี า

รวม

4.1.2 จำนวนสถานศึกษาที่ส่งโครงงานเข้าประกวดระดับพื้นที่และจำนวนกรรมการตัดสินการ
ประกวด

โครงงานที่เข้าประกวดระดับพื้นท่ีมาจากศูนย์กศน.อำเภอ/เขต 202 แห่ง 55 จังหวัด มี
กรรมการตัดสินการประกวดโครงงานระดับพื้นที่รวมทั้งหมด 78 คน เป็นภาคีเครือข่าย 64 คน จาก 40
หน่วยงาน และกรรมการจากสำนักงาน กศน. 14 คน ดงั ตารางท่ี 4.2

40

ตารางที่ 4.2 จำนวนสถานศกึ ษาท่สี ่งโครงงานเขา้ ประกวดระดบั พ้ืนทแี่ ละจำนวนกรรมการตัดสนิ การประกวด

วันทจี่ ดั สถานศึกษา จำนวน
ประกวด กรรมการตดั สนิ โครงงาน

ที่ หน่วยงานจดั ประกวด อำเภอ/ ภาคี สำนกั งาน รวม หนว่ ยงาน
เขต เครือข่าย กศน. (คน) ภาคี
จังหวดั
เครอื ขา่ ย

1 23 มิถุนายน ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 3 2 5 0 5 5

2562 สมุทรสาคร

2 28 มิถนุ ายน ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา 11 3 5 0 5 5

2562 พิษณโุ ลก

3 2 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษา 3 2 3 0 3 1

2562 นครศรีธรรมราช

4 3 กรกฎาคม อุทยานวทิ ยาศาสตรพ์ ระจอมเกล้า 6 3 3 0 3 3

2562 ณ หวา้ กอ จงั หวดั ประจวบครี ขี ันธ์

5 5 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษา 7 5 3 0 3 2

2562 พระนครศรีอยธุ ยา

6 5 กรกฎาคม ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา 16 6 2 1 3 2

2562 ลำปาง

7 5 กรกฎาคม ศนู ย์วิทยาศาสตรแ์ ละวัฒนธรรม 5 2 3 0 3 1

2562 เพอ่ื การศึกษาร้อยเอด็

8 10 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษา 6 3 0 3 3 0

2562 ตรัง

9 11 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษา 48 4 12 0 12 3

2562 ขอนแกน่

10 11 กรกฎาคม ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา 3 1 3 0 3 1

2562 นราธวิ าส

11 11 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษา 14 6 5 0 5 4

2562 สระแก้ว

12 12 กรกฎาคม ศูนย์วิทยาศาสตรเ์ พอื่ การศกึ ษา 8 2 5 0 5 3

2562 นครสวรรค์

13 19 กรกฎาคม ศูนย์วทิ ยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษา 6 1 3 1 4 1

2562 อุบลราชธานี

14 21 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษา 5 2 2 3 5 1

2562 รังสิต

15 22 กรกฎาคม ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 12 1 2 1 3 2

2562 ปัตตานี

16 23 กรกฎาคม ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษา 11 3 2 1 3 1

2562 กาญจนบุรี

17 25 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พือ่ การศึกษา 4 2 3 0 3 2

2562 ยะลา

18 26 กรกฎาคม ศนู ยว์ ิทยาศาสตรเ์ พอ่ื การศึกษา 22 4 0 3 3 0

2562 นครพนม

19 8 สงิ หาคม ศูนยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศกึ ษา 14 3 3 1 4 3

2562 นครราชสีมา

รวม 204* 56** 64 14 78 40

*,** ศูนย์วิทยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษาปัตตานี และ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา มี ศูนย์กศน.อำเภอจากจังหวดั เดยี วกันเข้าประกวดเหมือนกัน

2 แห่ง คอื กศน.อำเภอเแม่ลาน จงั หวัดปัตตานี และ กศน.อำเภอโคกโพธ์ิ จังหวดั ปัตตานี

41

4.1.3 ผลการประกวดโครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนกั ศึกษา กศน. ระดบั พ้ืนท่ี
รางวัลการประกวดระดับพื้นที่มีทั้งหมด 8 รางวัล เงินรางวัลรวม 18,000 บาท ผลการประกวด
เรียงตามลำดับอกั ษรของศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพ่ือการศึกษาทีจ่ ัดประกวด ดงั ตารางที่ 4.3

ตารางท่ี 4.3 ผลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั ศึกษา กศน. ระดับพ้นื ที่

ผลการประกวด

ท่ี หน่วยงานจดั ประกวด รางวัล ชอ่ื โครงงาน สถานศึกษา
(กศน.อำเภอ/จงั หวดั )

1 ศนู ย์วทิ ยาศาสตร์เพอื่ การศกึ ษา ชนะเลิศ เครื่องเกบ็ ขยะในนำ้ ด้วยพลงั งาน กศน.อำเภอสามพราน

กาญจนบุรี แสงอาทติ ย์แบบเคล่ือนท่ไี ด้ จังหวัดนครปฐม

รองชนะเลิศ ระบบรดนำ้ ผกั ดว้ ยพลังงานแสงอาทติ ย์ กศน.อำเภอเมืองนครปฐม

อันดบั 1 จงั หวัดนครปฐม

รองชนะเลศิ เครอ่ื งให้น้ำพืชระบบอตั โนมตั ิ โดยใช้ กศน.อำเภออทู่ อง

อนั ดับ 2 พลงั งานแสงอาทิตย์ จงั หวดั สุพรรณบุรี

ชมเชย จกั รยานประหยดั ไฟฟา้ เพ่ือชวี ติ กศน.อำเภอทองผาภมู ิ

จงั หวัดกาญจนบรุ ี

ชมเชย เคร่ืองใหอ้ าหารปลาพลังงาน กศน.อำเภอดำเนนิ สะดวก

แสงอาทิตย์ จงั หวดั ราชบุรี

ชมเชย Bike for clothes (ปั่นเพือ่ ผา้ ) กศน.อำเภอเดมิ บางนางบวช

จังหวดั สพุ รรณบุรี

ชมเชย อุปกรณแ์ กะเมลด็ ขา้ วโพดสำหรบั สตั ว์ กศน.อำเภอหนองหญ้าไซ

ปีก จังหวดั สพุ รรณบรุ ี

ชมเชย เครื่องขูดมะพร้าว กศน.อำเภอสามพราน

จงั หวัดนครปฐม

2 ศูนยว์ ทิ ยาศาสตร์เพือ่ การศึกษา ชนะเลิศ เครื่องเชอ่ื มใช้นำ้ กศน.อำเภอน้ำโสม

ขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี

รองชนะเลิศ เครื่อง one stop service กู้วิกฤต กศน.อำเภอมัญจาครี ี

อนั ดบั 1 ชาวไรอ่ อ้ ย จังหวดั ขอนแก่น

รองชนะเลิศ เตาอบพลังงานแสงอาทติ ย์ กศน.อำเภอผาขาว

อนั ดบั 2 จังหวัดเลย

ชมเชย จกั รยานซกั ผา้ ประหยดั พลงั งาน กศน.อำเภอบา้ นไผ่

จังหวัดขอนแก่น

ชมเชย เครอื่ งเพม่ิ ประสทิ ธิภาพปน่ั ด้ายด้วย กศน.อำเภอพระยนื

ระบบไฟฟา้ จังหวัดขอนแก่น

ชมเชย การผลิตถา่ นชวี มวลจากใบไมแ้ หง้ กศน.อำเภอบา้ นผือ

จังหวัดอุดรธานี

ชมเชย เครอื่ งหยอดข้าวพอเพยี ง กศน.อำเภอนาแหว้

จงั หวัดเลย

ชมเชย เครอ่ื งสบั หวั มนั เพ่อื ชีวติ กศน.อำเภอแวงน้อย

จงั หวดั ขอนแกน่

42

ตารางท่ี 4.3 (ตอ่ )

ผลการประกวด

ท่ี หน่วยงานจดั ประกวด รางวัล ช่ือโครงงาน สถานศึกษา
(กศน.อำเภอ/จงั หวัด)

3 ศนู ย์วิทยาศาสตร์เพ่อื การศึกษา ชนะเลิศ เครอื่ งบดเมลด็ กาแฟประหยัดพลงั งาน กศน.อำเภอลำทบั

ตรงั จังหวดั กระบ่ี

รองชนะเลิศ จักรยานขดู มะพร้าวผ่อนแรง กศน.อำเภออา่ วลกึ

อนั ดับ 1 จังหวัดกระบ่ี

รองชนะเลศิ ป๊ัมลมแปลงพลังงานลดโลกร้อน กศน.อำเภอวงั วเิ ศษ

อนั ดบั 2 จังหวัดตรงั

ชมเชย ตู้ฟักไข่พลังงานไฟฟา้ กศน.อำเภอเมอื งตรงั

จงั หวดั ตรงั

ชมเชย ตอู้ บแหง้ พลงั งานแสงอาทิตย์ กศน.อำเภอเมืองระนอง

จงั หวดั ระนอง

ชมเชย จักรยานประหยัดพลังงาน กศน.อำเภอวังวเิ ศษ

จงั หวดั ตรัง

ชมเชย อาหารตากแห้งดว้ ยต้อู บพลังงาน กศน.อำเภอหว้ ยยอด

แสงอาทิตยจ์ ากเศษวสั ดเุ หลือใช้ จงั หวดั ตรัง

ชมเชย การทดลองเครอ่ื งผลติ กระแสไฟฟ้าจาก กศน.อำเภออา่ วลกึ

อุปกรณข์ องใชใ้ นบา้ น จังหวัดกระบี่

4 ศูนย์วทิ ยาศาสตร์เพือ่ การศึกษา ชนะเลศิ AIR ICE BY NFE.NONGKHAI กศน.อำเภอเมืองหนองคาย
นครพนม จังหวัดหนองคาย
รองชนะเลิศ เครือ่ งฉดี พน่ นำ้ หมักชีวภาพ พลังงาน กศน.อำเภอเตา่ งอย
อันดับ 1 แสงอาทิตย์ จงั หวัดสกลนคร
รองชนะเลศิ มูลสัตวม์ หศั จรรย์ แก๊สชวี ภาพ การ กศน.อำเภอนาหวา้
อนั ดับ 2 อนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จงั หวัดนครพนม

ชมเชย AmaZing toilet NFE กศน.อำเภอวานรนวิ าส

จังหวดั สกลนคร

ชมเชย ถ่านไม้ไบโอชาร์ กศน.อำเภอปลาปาก

จังหวัดนครพนม

ชมเชย พลังงานไฟฟา้ หมุนเวียนจากเตาชวี มวล กศน.อำเภอพรเจริญ

จงั หวดั บึงกาฬ

ชมเชย รถสามลอ้ คนพกิ ารพลงั งานรว่ มพลงั กศน.อำเภอโคกศรีสุพรรณ

แสงอาทิตย์ จงั หวัดสกลนคร

ชมเชย กลอ่ งพลงั งานไฟฟ้าหมนุ เวยี นในยาม กศน.อำเภอเมืองสกลนคร

ฉุกเฉิน จงั หวดั สกลนคร


Click to View FlipBook Version