นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ MUANGMUK Model โดยใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้ Active Learning และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม อ าเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ นายวินิจ พลธะรัตน์ ต าแหน่ง ผู้อ านวยการสถานศึกษา
-1- สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ภาษาไทย 2 บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ 3 องค์ประกอบที่ 1 ความสำคัญของรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 4 ความเป็นมาและสภาพของปัญหา 4 แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา 5 กรอบแนวคิดในการพัฒนา 8 ประโยชน์และความสำคัญ 8 องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรม 8 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา 8 หลักการ ทฤษฎี แนวคิดในการพัฒนา 9 การออกแบบแนวทางการพัฒนา 16 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา 18 การนำไปใช้ 19 การประเมินและการปรับปรุง 20 องค์ประกอบที่ 3 ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรม 21 ผลที่เกิดกับสถานศึกษา 21 ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา 21 การดำเนินงานบริหารดจัดการของสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้นิเทศติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ 24 การมีเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาของสถานศึกษา 25 การยอมรับที่มีต่อสถานศึกษา 27 ผลที่เกิดกับครูผู้สอน 33 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 33 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 35 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 38 การวัดและประเมินผล 40 ผลที่เกิดกับนักเรียน 43 ผู้เรียนมีผลการพัฒนาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม 43 การขยายผล 45 การขยายผล/การใช้นวัตกรรมการศึกษา 45 บรรณานุกรม 48
-2- ชื่อเรื่อง นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ MUANGMUK Model โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้พัฒนา นายวินิจ พลธะรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา สถานศึกษา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ต.คำอาฮวน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร พ.ศ. 2566 บทคัดย่อ การพัฒนานวัตกรรมบริหารเชิงกลยุทธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม 2) พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ การพัฒนา นวัตกรรมบริหารเชิงกลยุทธ์นี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) 3 ระยะ โดยนำมาใช้ในการบริหาร สถานศึกษา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ผลการพัฒนานวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารเพื่อการพัฒนานวัตกรรมบริหาร เชิงกลยุทธ์ พบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ด้านการทำงาน เป็นทีมและด้านการพัฒนาตนเองตามลำดับ สมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหาร ด้านการมีวิสัยทัศน์ด้านภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ ด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์และด้านการ พัฒนาบุคลากรตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำทางการบริหารที่นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม บริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารทั่วไป และด้านบุคลากร ระยะที่ 2 พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม พบว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยหลักการบริหารงาน 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานงบประมาณ และกลุ่มงานบริหารทั่วไป โดยใช้รูปแบบ “MUANGMUK Model” ประกอบด้วย M (Management), U (Unity), A (Active), N (Natural), G (Good Governance), M (Moral), U (Understanding) และ K (King’s Philosophy) ระยะที่ 3 ผลการใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียน พบว่า นักเรียนโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ร้อยละ 88.63 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรมการบริหาร เชิงกลยุทธ์ พบว่า ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 78.03 มีความพึงพอใจต่อการบริหาร จัดการเชิงกลยุทธ์ในระดับมาก
-3- Title Strategic Management Innovation MUANGMUK Model uses the concept of learning management Active Learning and participatory management to develop desirable characteristics of learners Author Mr. Winit Pontarat Position School Director School Muangmukwittayakom School, Mukdahan Province Year 2022 Abstract The development of strategic management innovation were to 1) develop strategic management innovation of Muangmukwittayakom School and 2) develop desirable characteristics of learners and 3) to study the satisfaction of administrators, teachers, students, and stakeholders in implementing strategic management innovations. This strategic management innovation results from research and development (R&D) in 3 phases, which is used in school administration. Muangmukwittayakom School The results of strategic management innovation development are as follows: Phase 1: studied the development of executive leadership competencies for strategic management innovation development. Achievement-oriented good service Teamwork and self-development, respectively. Visionary Change Leadership communication and motivation analytical and synthetic thinking and personnel development, respectively. 2) Guidelines for developing executive leadership competency leading to strategic management innovation development include management, academic, budgeting, and general management. and personnel. Phase 2: Strategic management innovation development of Muangmukwittayakom School found that strategic management innovation Consists of administrative principles in 4 work groups, namely academic work groups Personnel Management Group budget group, and general administrative groups using the “MUANGMUK Model” format, consisting of M (Management), U (Unity), A (Active), N (Natural), G (Good Governance), M (Moral), U (Understanding) และ K (King’s Philosophy). Phase 3: The results of using strategic management innovation to develop the desirable characteristics of learners found that the results of the evaluation of the desirable characteristics of learners met the development goals, representing 88.63%. And the results of the satisfaction study of administrators, teachers, students, and stakeholders in the use of strategic management innovation found that administrators, teachers, students, and stakeholders were satisfied with the school management using strategic management innovation, accounting for 78.03 %.
-4- แบบรายงานการสร้างนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการ Innovation For Thai Education(IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมุกดาหาร 1.ชื่อนวัตกรรม นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ MUANGMUK Model โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้Active Learning และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 2. ชื่อผู้สร้าง นายวินิจ พลธะรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียน เมืองมุกวิทยาคม อำเภอ เมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร โทร 0885840914 E-mail [email protected] 3. แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม ( ) แสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ ที่เคยมีผู้สร้างหรือทำไว้แล้วและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนา ใหม่ ( ) การสร้างนวัตกรรมใหม่ 4.ประเภทนวัตกรรม ( ) การบริหารจัดการศึกษา ( ) การจัดการเรียนรู้ ( ) การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล องค์ประกอบที่ 1 ด้านความสำคัญของรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 1 ความเป็นมาและสภาพของปัญหา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กล่าวไว้ใน มาตราที่ 23 24 และ 26 เกี่ยวกับการจัดการศึกษา สรุปได้ว่า ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม การจัด กระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการความรู้ต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับตนเอง ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดย ต้องผสมผสานสาระความรู้เหล่านั้นให้ได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชาและให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตาม ความเหมาะสมในระดับและรูปแบบการจัดการศึกษา (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545) จากการวิเคราะห์ สภาพและบริบททั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม พบว่า โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีปัจจัยภายในที่เข้มแข็งมาก โดยเฉพาะด้านบุคลกรที่มีความรู้ความสามารถ แต่ปัจจัยภายนอก ค่อนข้างอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านความรู้ พื้นฐานของนักเรียน ด้านสังคม วัยรุ่นว่างงาน ด้านต้นทุนทางสังคมของผู้ปกครอง นับว่าเป็นปัญหาและอุปสรรค ที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และเมื่อได้ทำการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวม พบว่า ร้อยละของนักเรียนไม่จบการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนดมีแนวโน้มสูงขึ้น ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนโดยภาพรวม ยังเป็นปัญหา เช่น นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัยในตนเอง ขาดจิตสำนึกในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมต่ำ บริเวณโรงเรียนสกปรก บรรยากาศไม่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ ทำให้ครูรู้สึกเหนื่อยและเครียดกับปัญหาพฤติกรรมนักเรียนทุกวัน และเมื่อวิเคราะห์ปัญหา รายบุคคลทำให้ทราบว่า ปัญหาที่ตัวบุคคล คือ ด้านพฤติกรรม คุณธรรม ความประพฤติทำให้นักเรียนไม่สำเร็จ
-5- การศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนดและเป็นอุปสรรคต่อคุณภาพโดยรวมของสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้น โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม จึงตระหนักและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้อง พัฒนาความรู้คู่กับคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการ ปรับปรุงแก้ไข หากนักเรียนมีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อการเรียน มีความเอาใจใส่ มีระเบียบวินัย รวมไปถึง ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต ย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม จึงได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษานักเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะชีวิต คุณลักษณะ สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงได้พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา เข้ามามีส่วน ส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เรื่อง “นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ MUANGMUK Model โดยใช้ แนวคิด การจัดการเรียนรู้Active Learning และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน” ตัวชี้วัดที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม โดยผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง และ ชุมชน ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพฤติกรรม คุณธรรมความ ประพฤติ อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ดังนั้น โรงเรียนเมืองมุก วิทยาคม จึงได้ระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อที่จะมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน โดยมี องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ คือ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยมีการ วางแผนเชิงกลยุทธ์กำหนดทิศทางและค่าเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนเหมาะสม
-6- ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนได้มีการเสนอแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ หลักการบริหาร เชิงกลยุทธ์ แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Active Learning ทฤษฎีการพัฒนาการรู้การคิดของ เพียเจต์ ทฤษฎีการพัฒนาทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก การบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่นำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์เพื่อ การบริหารจัดการ ซึ่งมีรูปแบบในการแก้ไขหรือพัฒนากลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาส/อุปสรรค) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง/จุดอ่อน) ประเมินสถานภาพและความพร้อมของสถานศึกษาในการใช้กลยุทธ์
-7- ภาพที่ 1 รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์สถานศึกษา ทบทวนวิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษา พิจารณาแนวทางในการพัฒนาภาพของสถานศึกษา
-8- ตัวชี้วัดที่ 3 กรอบแนวคิดในการพัฒนา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม โดยผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการกำหนดแนวคิดในการพัฒนา มีกรอบแนวคิดที่มีความสอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ระบุแนวทางหรือกระบวนการดำเนินงานการแก้ไขหรือพัฒนาอย่างชัดเจน เชื่อมโยงกระบวนการ ดำเนินงานและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน กรอบแนวคิดมีความเชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการ พัฒนานวัตกรรม ดังนี้ ภาพที่2 กรอบแนวคิดการพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 4 ประโยชน์และความสำคัญ 1. ครูผู้สอนได้รับการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 2. ผู้บริหารมีนวัตกรรมในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 3. โรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศ และงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม 4. โรงเรียนมีกระบวนการในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน 5. นักเรียนได้รับการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากกระบวนการจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learning 6. นักเรียนจบการศึกษาตามเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 7. มีการเผยแพร่การบริหารเชิงกลยุทธ์และเกิดเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ 8. การพัฒนานวัตกรรมนำไปสู่การเพิ่มจำนวนการรับเข้าของนักเรียน สามารถลดการออกจากระบบ การศึกษาได้ 9. ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม 2. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรมการ บริหารเชิงกลยุทธ์ 1.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน 2.ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง หลักการ ทฤษฎีแนวคิด 1. หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning 3. ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้ การคิดของเพียเจต์ 4. ทฤษฎีพัฒนาการทาง จริยธรรมของโคลเบิร์ก 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วม นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ MUANGMUK Model โดยใช้ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning และการ บริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียน
-9- เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ ➢ โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีนวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ จำนวน 1 รูปแบบ ➢ นักเรียนโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป เป้าหมายเชิงคุณภาพ ➢ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรม ร้อยละ 70 มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ใน ระดับ มาก ตัวชี้วัดที่ 2 หลักการ ทฤษฎี แนวคิดในการพัฒนา หลักการ ทฤษฎีแนวคิด 1. หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning 3. ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์ 4. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์การบริหารเชิงกลยุทธ์มีนักวิชาการหลายท่าน ได้อธิบายและสรุปหลักการ บริหารเชิงกลยุทธ์ไว้ดังนี้ พรชัย องค์วงศสกุล (2550) การบริหาร (Management) มีความหมาย คือการควบคุมการจัดการและ กลยุทธ์(Strategy) มีความหมายคือกลอุบายหรือกลวิธี ในเชิงยุทธศาสตร์หรือ ยุทธวิธี ซึ่งการนํากลยุทธ์มาใช้ใน การบริหารจะต้องมีหลักการหรือแนวทางที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักที่ว่าด้วยแผน (Planning) 2) หลักที่ว่า ด้วยองค์กร (Organization) 3) หลักที่ว่าด้วยผู้นํา (Leader Ship) 4) หลักที่ว่าด้วยการควบคุม (Controlling) 5) หลักที่ว่าด้วยการประเมินผล (Evaluation) กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์(2555) อธิบายหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ไว้ว่าการจัดการ เชิงกลยุทธ์นําไปสู่การเพิ่มโอกาสความสำเร็จ และ ความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญ ดังนี้ 1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ทิศทางภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจ อย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ และช่วยให้นักบริหารปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้นักบริหารสามารถกำหนด วัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้ 2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเนื่องจากมีการเตรียมรับสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยที่เขามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดําเนินงาน และกิจกรรมขององค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ 3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนําแนวทางการดำเนินองค์การที่คิดค้น สร้างสรรคขึ้นและนํามา ประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร 4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหารเนื่องจากต้องวางแผน ประยุกต์ใช้และกำหนด ทิศทางในการดําเนินงานขององค์การ การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญ
-10- โดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้น ความสามารถการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหารและความสามารถ ในการควบคุมให้ การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี 5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันช่วยสร้างประสิทธิภาพการแข่งขันให้แก่ ธุรกิจเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและ พัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจในการเตรียม พร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวมโดยเฉพาะเป้าหมายการดําเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการ ดําเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้ 6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการกำหนด กลยุทธ์การประยุกต์ใช้และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ สามารถสรุปได้ว่า หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นแนวในการบริหารองค์กรที่อยู่ภายใต้ของสภาพ แวดล้อมที่ไม่มีหลักเฉพาะหรือทิศทางที่แน่นอน ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องเข้าใจบริบทขององค์กรและกำหนด ทิศทางการพัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าประสงค์ในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ฉะนั้น หลักการบริหารกลยุทธ์ สามารถกำหนดได้ตามบริบทขององค์กรหรือสถานศึกษาแต่ละแห่ง องค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์มีนักวิชาการหลายท่านได้ อธิบายโดยสรุปไว้ดังนี้ กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์(2555) สรุปองค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ไว้ว่า การบริหารหรือการจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน 5 ประการ คือ 1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting) ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์(Vision ) และการกำหนดภารกิจ (Mission) เป้าหมาย (Gold) หรือกรอบในการดําเนินงาน ที่ชัดเจนจะช่วยใหองค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว แสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย 1.1 วิสัยทัศน์(Vision ) คือ เป้าหมายขององค์กรในช่วงเวลาระยะกลางถึงระยะยาว 1.2 ภารกิจ (Mission) ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น ขั้นแรกองค์การจะต้องระบุ ภารกิจและเป้าหมายหลักที่สำคัญของบริษัท ซึ่งภารกิจ หมายถึงประกาศหรือ ข้อความของบริษัทที่พยายาม กำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบันและกําลังจะทำอะไรในอนาคต และองค์การเป็นองค์การแบบใดและจะก้าวไปสู่ การเป็นองค์การแบบใดทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แขง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วข้อความเรื่องภารกิจขององค์การ จะประกอบไปด้วยข้อความที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางปรัชญาสำคัญที่ผู้บริหารตัดสินใจกระทำ ซึ่งแสดงถึงพันธะของ บริษัทที่มีต่อเป้าหมายและสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริหาร นอกจากนี้แล้ว ภารกิจยังจะสร้างสภาพแวดล้อมใน การกำหนดกลยุทธ์อีกด้วย 1.3 เป้าหมาย (Gold) คือ การบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคตและพยามบรรลุโดย มีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับตรงจุดและสามารถวัดได้ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้น กว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใด 2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning) การประเมินสภาพแวดล้อมของ องค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และ การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดออน โอกาสและอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัว
-11- แบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S) การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W) การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O) และ การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T) 2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis) การวิเคราะห์ภายในของ องค์การนั้น จะทำใหทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยใหประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factor) การ วิเคราะห์(Value Chain) การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมี ความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core Competency) 2.1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factor) สามารถทำได้โดย การวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไปและการพัฒนาองค์การ 2.1.2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value Chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และ กิจกรรมย่อยขององค์การ โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยใหสนับสนุนกิจกรรมหลัก เพื่อจะสร้างคุณค่าที่ สนองตอบกับค่านิยมของลูกคา โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐานประกอบด้วยการ นําเข้าวัตถุดิบการผลิตสินค้าและบริการ การตลาดและการให้บริการลูกค้า ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ใน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยีการการจัดซื้อวัตถุดิบเนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม ทำ ให้องค์การรับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้าเข้าสู่ กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ 2.1.3 การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core Business Process) และ ระบบการดําเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้า เข้าด้วยกัน โดยมีกระบวนการ หลักขององค์การ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยสรุปแล้ว การ วิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดลอมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบของ องค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคูแข่ง 3. การกำหนดกลยุทธ์(Strategy Formulation) เป็นขั้นตอนที่พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมขององค์การทั้ง ภายในและภายนอกขององค์การที่ระบุถึงโอกาสต่าง ๆ และอุปสรรคต่าง ๆ จุดเด่นและจุดด้อยขององค์การ นอกจากนี้จะพิจารณาถึงวิสัยทัศน์(Vision) ของผู้บริหาร การกำหนดภารกิจ (Mission) การกำหนดเป้าหมายของ องค์การ (Goals) และการกำหนดวัตถุประสงค์(Objectives) หลังจากนั้น ผู้บริหารจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ มี 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ในระดับ กิจการ กลยุทธ์ในระดับภารกิจ และกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ 4. การดำเนินกลยุทธ์(Strategy Implementation) ในขั้นนี้เป็นการลงมือปฏิบัติในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดและสิ่งต่าง ๆ ในองค์การ เช่น วัฒนธรรม องค์การ โครงสร้างขององค์การ ระบบงาน ฯลฯ 5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control) เป็นการ มุ่งเน้น ที่จะติดตามประเมินผล และควบคุม เพื่อดูวากลยุทธ์ที่นําไปปฏิบัติเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุง และ มั่นใจว่าการปฏิบัติตนตามหน้าที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์(2555) การบริหารเชิงกลยุทธ์( Startegic Management) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่ว่าด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic Planning) และ2) ส่วนที่ว่าด้วยการดำเนินการ (Implementation) เพื่อให้แผนดังกล่าวสำเร็จลุล่วงจากการกำหนดองค์ประกอบของนักวิชาการดังกล่าวข้างต้น แม้จะมีความแตกต่างกัน ในการกำหนดองค์ประกอบย่อย แต่องค์ประกอบหลักไม่มีความแตกต่างกัน
-12- สามารถสรุปได้ว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญซึ่งเป็นแนวในการวางกรอบ รูปแบบการบริหาร เชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาร่วมกัน ได้แก่การวิเคราะห์เชิง กลยุทธ์การวางแผนกลยุทธ์การนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ 2. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายและสรุปการจัดการ เรียนรู้ Active Learning สำนักทดสอบทางการศึกษา (2553) อธิบายความหมายของการเรียนรู้active learning ว่าเป็นการ เรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่กระบวนการกลุ่มการคิดการแก้ปัญหาการ กระบวนการ และการสอนแบบร่วมทำบุญครั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจะฟังสนใจอยากรู้อยาก เรียนของผู้เรียนเองแบบ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง กับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่ ผู้เรียนได้ไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสามารถเรียนศึกษาเพิ่มเติมจาก แหล่งเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อารีรัตน์มัฐผา (2554) ได้เสนอไว้ว่าการจัดการเรียนรู้ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้ พัฒนาวิธีการเรียนรู้ทางปัญญา เพื่อหนุนผู้เรียนให้เข้าถึง ความรู้และความชำนาญสิ่งที่เรียนรู้เพราะเป็นการสอนที่ มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมีกระบวนการการทำงาน และการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีครูที่ ปรึกษาให้คำแนะนำและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ การจัดการเรียนรู้ active learning ใช้ได้อาศัยพื้นฐานแนวคิดที่ว่ามนุษย์จะสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งจากการกระทำและการ ปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น การเรียนรู้อย่างตั้งอยู่บนข้อสนับสนุนที่ว่าความรู้ใหม่ได้มาจากสิ่งที่สัมพันธ์กัน กับความรู้ที่มาก่อนการ สร้างความการสร้างความคิดริเริ่มใหม่และประสบการณ์เดิมที่ไม่เป็น ทางการและยังสอดคล้องกับความคิดที่ว่า การเรียนรู้แบบ Active Learning จะมีพลังงานอย่างยิ่ง ถ้าได้รับการส่งเสริมจากสมาชิกในกลุ่มมากกว่า ให้ นักเรียนคนใดคนหนึ่งคิดคนเดียวการเรียนรู้active learning เป็นฐานถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้เรียนที่ ต้องการขยายแหล่งเรียนรู้ของตนให้กว้างขวางมากขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่ในตำราเล่มหนึ่งไปสู่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยง สัมพันธ์กันกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวจะช่วยเสริม การทำงานร่วมกันและนำความรู้ที่มีอยู่มารวมกัน สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้Active learning เป็นเทคนิควิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นใด ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบหลากหลาย รูปแบบมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิดการแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ และการสอนแบบร่วมคิดร่วมทำเป็นการเรียนรู้ที่ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง 3. ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นคุณลักษณะภายในของบุคคลซึ่งเกี่ยวของกับสังคม อารมณ์ความรู้สึก ที่มี อิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการ ประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ซึ่งเกิดจากการ จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการ/กิจกรรม อื่น ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถเลือกใช้แนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ได้อย่างหลากหลาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-13- ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (2551) ได้สรุปว่า สติปัญญา หรือ ความสามารถในการรู้ คิดเป็นพื้นฐานของการมีคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูง มักเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์มี วิจารณญาณ และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับสาเหตุและผลของการกระทำ ได้มีนักวิชาการทางจิตวิทยาที่ศึกษา เกี่ยวกับพัฒนาการทางการรู้การคิด คือ Jean Piaget ได้เสนอพัฒนาการทางการรู้ไว้4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นระยะการเคลื่อนไหวสัมผัส (the sensorimotor stage ) เป็นช่วงของเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 2 ขวบ จะมีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคงที่ของวัตถุโดยจะเริ่มรับรู้ว่าวัตถุที่หายไปจากสายตาของตนยังคงเป็นวัตถุ เดิมและไม่ได้หายไปไหน เช่น เมื่อเอากระดาษมาคั่นของเล่นที่เด็กกําลังเล่นอยู่ เด็กจะปัดกระดาษเพื่อหาของเล่น แสดงว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุในช่วงนี้จะเกิดกระบวนการ 2 ประเภท คือ 1) การดูดซึม (assimilation) เป็นการรับรู้เข้าสู่โครงสร้างเดิมและเขาสู่ระบบเดิม เป็นการปรับ สภาพแวดล้อมใหเขากับการรู้คิดของตน และปฏิเสธสิ่งที่ไม่เข้ากับการรู้คิดของตน 2) การปรับเปลี่ยน (accommodation ) เป็นการปรับความคิดหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ใหม่ เกิดการยอมรับประสบการณ์ใหม่กระบวนการทั้งสองจะทำให้บุคคลเกิดความสมดุล (equilibration) 2. ขั้นก่อนปฏิบัติการ (the preoperational stage) เป็นช่วงของเด็กอายุ2- 7 ขวบโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนแรกปรากฏในเด็กอายุ2-4 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการทางสรีระ มากขึ้นและสามารถสํารวจ สภาพแวดล้อมได้มากขึ้น เรียนรู้คําและพฤติกรรมใหม่ๆ แต่มีความคิด และพฤติกรรมที่ด่น คือยึดตนเองเป็น ศูนย์กลาง (egocentric) เด็กเชื่อว่าสิ่งที่ตนเห็น ตนเข้าใจนั้น คนอื่น ๆ ก็จะเห็นและเข้าใจอย่างที่ตนเห็นและตน เข้าใจ ในช่วงนี้เด็กจะมีการเลียนแบบผู้ปกครองมาก ไม่ว่าจะเป็นคําพูด ท่าทางกิริยามารยาทและพฤติกรรม ในช่วงกระบวนการ assimilation เป็นกระบวนการที่ใช้มากโดยเมื่อเด็กเล่น เด็กจะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ข้างมากขึ้น รวมทั้งกระบวนการ accommodation เชน การเลียนแบบจะช่วยพัฒนาสติปัญญาของเด็กจากการ เรียนรู้ทางสังคม 2) ส่วนที่สองปรากฏในเด็กอายุ 4-7 ขวบ เป็นขั้นความคิด แบบอัตสัมฤทธิ์ (initiative thought) เด็กจะลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลง จากการเรียนรู้สิ่งแวดลอม เด็กอาจยังแยกไม่ออกระหว่างความเพ้อ ฝันหรือนิทานกับความเป็นจริง ช่วงนี้พัฒนาการ ทางความคิดเริ่มมีมากขึ้น 3. ขั้นปฏิบัติการแบบรูปธรรม (the stage of concrete operations) ปรากฏ ในเด็กอายุ5 - 10 ขวบ มีความคิดที่จัดเป็นระบบมากขึ้น สามารถคิดทวนกลับและมีสังกัปในเชิงของมวลสาร ปริมาตรและน้ำหนัก 4. ขั้นปฏิบัติการแบบระบบ (the stage of formal operations) เป็นความสามารถในการคิดแบบสมมติ และการคิดเป็นเหตุเป็นผล โดยมีลักษณะระบบคิดเป็น 3 ประการ คือ 1) การสร้างการทวนกลับความคิดเกี่ยวกับความจริงกับความเป็นไปได้(thinking in possibilities) ผู้มีความสามารถในการคิดขั้นนี้ จะสามารถคิดสลับไปมาระหว่างความจริงกับความเป็นไปได้ซึ่งเป็นความคิด สมมติผู้ที่มีพัฒนาการในขั้นนี้จะสามารถคิดในเชิงนามธรรมได้ 2) ความคิดแบบตั้งสมมติฐานจากหลักที่กว้างกว่า (hypotheticaldeductive thinking) ผู้ที่คิดใน เชิงนามธรรมได้จะสามารถตั้งสมมติฐานได้แล้วตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทำวิจัย 3) การคิดถึงการคิด (thinking about thinking) ผู้ที่คิดในขั้นนามธรรม แบบระบบขั้นนี้จะสามารถ คิดถึงความหมายความสำคัญ คิดวิเคราะห์และหาเหตุผลประกอบการคิด หรือการจินตนาการของตนเอง ซึ่งเป็น การสํารวจความคิดและการวิจารณ์ตนเองได้
-14- 4. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก โคลเบิร์กยึดถือทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของ เพียเจต์(Piaget) เป็นหลักในการวัดพัฒนาการทางจริยธรรม และถือว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลของ พัฒนาการทาง ปัญญา ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (พิศเพลิน เขียวหวาน และคณะ, 2546) เด็กวัยแรกเกิด - 3 ขวบ ปัญญาความคิดอยู่ในขั้นต่ำเกินกว่าที่จะเข้าใจความถูก ผิดของการกระทำ เมื่อ ย่างเขาสู่ระยะที่2 อายุ 2 - 7 ปีเริ่มที่จะเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดของการกระทำ เมื่อย่างเขาสู่ระยะที่ 3 อายุ 7 - 12 ปีเด็กสามารถคิดตามหลักเหตุผลได้แต่จำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดประเภทให้เป็น ระบบได้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้เมื่อความคิดของเด็กในระยะที่2 และ 3 ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตของการนึกคิดเอาเองและการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม ความคิดเกี่ยวกับ ความถูก-ผิด จึงจำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเป็น ระบบ โคลเบิร์ก จัดอยู่ในระดับที่ 1 คือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (pre-conventional level) ผู้ที่สามารถคิดในเชิงเหตุผลนามธรรมได้ เป็นผู้ที่มีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป สามารถเข้าใจบทบาทของ บุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นระบบ จะตัดสินความถูกผิดของการกระทำของ บุคคลต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ของสังคมไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความถูกผิดในทํานองนี้จัดอยู่ในระดับที่ 2 คือ ระดับกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) สำหรับผู้ที่สามารถคิดเชิงตรรกะได้เป็นอย่างดีอาจจะพัฒนาการรับรู้ของตนเอง ในระดับที่สูงขึ้นไปอีก อยู่ในระดับที่ 3 คือ ระดับสูงกว่ากฎเกณฑ์สังคม (post-conventional morality) ซึ่งสามารถตัดสินความถูกต้อง เหมาะสมตามกฎเกณฑต่าง ๆ ของสังคม แลวไตร่ตรองด้วย ตนเองว่าถูกต้อง ผู้ที่สามารถตัดสินความถูกต้องของ การกระทำในระดับสูงนี้ต้องอาศัยปัญญาความคิด ระดับสูง และเป็นผู้ที่ช่างคิดช่างสังเกต ผู้ที่จะวิพากษ์ กฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ได้ต้องใช้เวลาอีกหลายปีจากเริ่มวัยรุ่นจนกระทั่งอายุอย่างน้อย 20 ปี จึงจะทำได้ ตามทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก แบ่งระดับพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 : ก่อนกฎเกณฑ์สังคม (preconventional level) ขั้นที่ 1 การลงโทษและการเชื่อฟัง (punishment – obedience orientation) ขั้นที่ 2 เอกบุคคลนิยม การตอบสนองความต้องการ และการชําระ แลกเปลี่ยน (instrumental relativist orientation) ระดับที่ 2 กฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ขั้นที่ 3 ความคาดหวังทางสังคม ความสัมพันธ์และการคล้อยตาม (good boy-nice girl orientation) ขั้นที่ 4 ระบบสังคมและมโนธรรม (law and order orientation) ระดับที่ 3 สูงกว่ากฎเกณฑ์สังคม (post-conventional morality or principled level) ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรืออรรถประโยชน์และสิทธิส่วนบุคคล (social contract orientation) ขั้นที่ 6 หลักการจริยธรรมสากล (universal ethical principle orientation) การเกิดจริยธรรมตามทรรศนะของโคลเบิร์กนั้น จริยธรรมหรือความเข้าใจเกี่ยวกับ ความถูกผิด มิได้เกิดจากการเรียนรู้มิได้เกิดจากสังคมแวดล้อม แต่เกิดจากการคิดไตร่ตรองตามเหตุผลของแต่ละบุคคล พัฒนาการของจริยธรรมเป็นผลของการสังเกต และ การคิดไตร่ตรองของบุคคล ผู้ที่ไม่ชอบสังเกตหรือไม่ชอบที่จะ คิดไตร่ตรอง พัฒนาการทางจริยธรรมก็ไม่เกิด แม้ว่าพัฒนาการทางปัญญาได้เข้าสู่ขั้นสูงแล้วก็ตาม ซึ่งโคลเบิร์ก เชื่อว่า พัฒนาการเกิดเป็นขั้นๆ จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งตามลำดับอย่างแน่นอนตายตัว (invariant) ดังนั้น จริยธรรมจึงพัฒนาเป็นขั้น ๆ จากขั้นต่ำกว่าไปสู่ขั้นสูงกว่าทีละขั้น ไม่มีการข้ามขั้น ไม่มีการสลับขั้น และไม่ว่า
-15- บุคคลจะเติบโตในสังคมใดหรือนับถือศาสนาใด ย่อมมีลำดับขั้นการพัฒนาของจริยธรรมที่เหมือนๆ กันเรียกชื่อว่า ทฤษฎีพัฒนาการเชิงโครงสร้าง (structural development theory) และทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (cognitive development theory) 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีผู้ทำการศึกษาไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งให้แนวคิดและทฤษฎีที่แตกต่างกันดังนี้ Likert (1976, อ้างถึงใน ชาฤนีเหมือนโพธิ์ทอง, 2554) ได้เสนอทฤษฎีการบริหารซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กัน 4 รูปแบบประกอบด้วย ระบบที่ 1 : เผด็จการ (system 1 : exploitative authoritative) ระบบการบริหารแบบนี้ ผู้บริหาร จะเชื่อมั่นในความคิดของตนเองสูงโดยให้ความไว้วางใจต่อผู้ร่วมงานด้วย การตัดสินใจให้ทำงาน จะบีบบังคับ หรือ สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นให้เกิดความเกรงกลัว ความสัมพันธ์โดยส่วนตัวจะมีน้อย และลักษณะการทำงานมักจะ ทำตามความสามารถส่วนบุคคลเป็นรายคนเป้าหมายงานต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูง ขององค์กรเท่านั้น ระบบที่ 2 : เผด็จการแบบมีศิลป์ (system 2 : benevolent authoritative) ระบบการบริหารแบบ นี้ ผู้บริหารจะแสดงออกถึงท่าทีที่ ไว้วางใจต่อผู้ร่วมงาน มีวิธีการจูงใจผู้ร่วมงานโดยรางวัล แต่บางครั้งก็มีการบังคับ ยอมให้มีการสื่อสารจากผู้ร่วมงานไปสู่ผู้บริหารบ้าง บรรยากาศอาจจะดูเหมือนผู้บริหารขอ ความเห็น และยอมรับ ความคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน แต่จริง ๆ แล้วนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขององค์การจะถูกกำหนดโดยผู้บริหาร เท่านั้นซึ่งผู้บริหารอาจให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจได้ใน ระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับนโยบายที่ผู้บริหารได้วางไว้ ระบบที่ 3 : การปรึกษาหารือ (system 3 : consultative) ระบบการบริหารแบบนี้ ผู้บริหารจะ ยอมรับความสามารถของ ผู้ร่วมงานมาก มีความไว้วางใจและยอมรับให้ผู้ร่วมงานเข้ามามีส่วนรวมในการตัดสินใจ โดยการขอคำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะเพื่อประกอบเป็นแนวทาง มีการจูงใจในลักษณะของ การให้รางวัลเป็น ส่วนใหญ่ การติดต่อสื่อสารเป็นแบบ 2 ทางโดยสมบูรณ์ ผู้บริหารจะเป็น ฝ่ายวางนโยบายขององค์การอย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวในการทำงาน ความสัมพันธ์ส่วนตัว จะใกล้ชิดสนิทสนมกันได้ทั้งผู้บริหารและผู้ร่วมงาน แต่การ ตัดสินใจเรื่องสำคัญยังคงเป็น หน้าที่ของฝ่ายบริหารอยู่ ระบบที่ 4 : กลุ่มที่มีส่วนร่วม (system 4 : participative) ระบบการหารแบบนี้ ผู้บริหารมีความ เชื่อมั่นและไว้วางใจในตัว ผู้ร่วมงานมาก มีการกระจายการตัดสินใจสั่งการไปทั้งองค์การ การติดต่อสื่อสาร นอกจาก จะเป็น 2 ทางแล้วยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อร่วมงานด้วย การจูงใจมักอยู่ที่ เป้าหมายและการ พัฒนาองค์การความสัมพันธ์โดยส่วนตัวเป็นไปอย่างฉันท์มิตร ระหว่าง ผู้ร่วมงาน โดยทุกฝ่ายต่างมุ่งที่จะสนับสนุน ความพยายามที่จะทำให้เป้าหมายขององค์การ สัมฤทธิ์ผลตามที่วางไว้ Swanburg (1996, อ้างถึงใน ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทอง, 2554) ได้แบ่งองค์ประกอบของการบริหารแบบ มีส่วนร่วมไว้ 4 ประการดังนี้ 1. การไว้วางใจกัน (trust) การไว้วางใจกันเป็นปรัชญาพื้นฐานของ การมีส่วนร่วมผู้ร่วมงานหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์เรียบร้อยหากได้รับการยอมรับไว้วางใจจากผู้บริหาร 2. ความยึดมั่นผูกพัน (commitment) ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงาน ต้องการความยึดมั่นผูกพัน ผู้บริหาร ควรที่จะให้การสนับสนุนช่วยเหลือและฝึกอบรมแก่ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจกับผู้บริหาร ประสบการณ์ในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความ ขยันหมั่นเพียร อุตสาหะ ผลผลิตในการทำงานมีมากขึ้นจะเห็นได้ว่าภายใต้การบริหารแบบมีส่วนร่วม จะทำให้เกิด ความยึดมั่นผูกพันโดยไม่ทำให้เกิดโทษ
-16- 3. การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน (goals and objectives) การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ของงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการร่วมกันปรับปรุงพัฒนาเป้าหมายขององค์การ ย่อม ขจัดความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นถ้าทุกคนมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานร่วมกัน มีการทำงานที่มีทิศทางเดียวกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน 4. ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน (autonomy) เป็นภาวะที่มีความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในการ ทำงาน มีอำนาจหน้าที่และความสามารถในการทำงาน สำหรับงานของแต่ละบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องการความเป็น อิสระในการปฏิบัติงาน ในการตัดสินใจในงานของตนเอง ซึ่งจะทำให้มีความทุ่มเทและเต็มใจในการปฏิบัติงาน อย่างเต็มที่ เต็มความรับผิดชอบที่ตนได้รับการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความเกี่ยวข้องกับความพอใจในงานอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการบริหารดังกล่าวมีลักษณะที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ การยอมรับฟัง ข้อเสนอแนะจากผู้ใต้บังคับบัญชา การร่วมกันแก้ปัญหา ตลอดจนความรู้สึกถึงความเป็นอิสระในการทำงาน ซึ่ง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีโอกาสตอบสนองความต้องการของตนเอง ภายหลังจากที่ความต้องการได้รับ การตอบสนองแล้วผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะเกิดความพึงพอใจ สามารถสรุปได้ว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีแนวคิด คือ การที่ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีสิทธิในการตัดสินใจร่วมกันกับผู้บริหาร ทั้งผู้บริหารและ ผู้ใต้บังคับบัญชามีความไว้วางใจกัน มีความยึดมั่นผูกพันกัน มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานอีก ทั้งผู้ใต้บังคับบัญชามีความมีความมีอิสระในการปฏิบัติงาน โดยทุกฝ่ายต่างมุ่งที่จะสนับสนุนและทำให้เกิด ประสิทธิผลต่อองค์การตามที่วางไว้ ตัวชี้วัดที่ 3 การออกแบบและแนวทางการพัฒนา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้นำหลักการ ทฤษฎีแนวคิด มาวิเคราะห์ สังเคราะห์และใช้ในการ ออกแบบและแนวทางการพัฒนา โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา โดยให้ ครูผู้สอนและครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา โดยมีขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรมดังนี้ ภาพที่ 3 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม ศึกษาสภาพปัญหาที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิด แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฤ ออกแบบการพัฒนานวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในทุกรายวิชา ทั้งในและนอกห้องเรียนและกิจกรรมบ่มเพาะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยกระบวนการ Active Learning สร้างและพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมกับการวัดและประเมินผล ฤ นำกลยุทธ์ไปใช้เพื่อพัฒนาและประเมินผู้เรียนโดยบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/โครงการ/ สอดแทรกในกิจวัตรประจำวัน/โครงงานคุณธรรมชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ประเมินผลการใช้นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ รายงานผลและเผยแพร่นวัตกรรม ฤ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ ฤ
-17- รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์“MUANGMUK Model” ภาพที่ 4 รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้รูปแบบ “MUANGMUK Model” โดยโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมได้ใช้หลักการ ทฤษฎี แนวคิดในการพัฒนา ดังนี้ M = Management คือ บริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้หลักการ 4 M ได้แก่ Man (การบริหารคน) คือ การบริหารกำลังคนตรงตามความรู้ความสามารถ ให้เกิด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับภาระงานมากที่สุด Money (การบริหารเงิน) คือ การบริหารเงิน หรือ งบประมาณที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดเพื่อให้ ภารกิจเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด Materials (การบริหารวัสดุอุปกรณ์ ) คือ การบริหารวัสดุ อุปกรณ์ หรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยน์สูงสุด Management (การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล เพื่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี) คือ การนำหลักธรรมมาภิบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา U = Unity คือ การมีความเป็นหนึ่งเดียวในการปฏิบัติงาน มองเห็นเป้าหมายเดียวกันมีความสามัคคี ภายในองค์กร ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการรวมพลังทำงานเป็นทีม A = Active คือ ปฏิบัติภารกิจด้วยความความคล่องแคล่ว ว่องไว กระตือรือร้น มีความเสียสละ มี การพัฒนาตนเองตลอดเวลา ทั้งด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน รวมถึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และ พัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครู (บริหารหลักสูตรและการจัดกาเรียนรู้,การพัฒนาผู้เรียน,การบริหารจัดการ เรียนรู้,การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน,มีภาวะผู้นำครู,มีความสัมพันธ์กับชุมชนที่ดี) N = Natural คือ ส่งเสริมความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามบริบทท้องถิ่น ตาม ธรรมชาติของความรู้ความสามารถ ยึดทางสายกลาง รู้จักพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและเอกภพ และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการ เทคโนโลยี มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เพื่อการ ดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
-18- G = Good Governance คือ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล เพื่อการบริการที่ดี ประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ใน การวางแผนในการพัฒนาการศึกษา โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ ตลอดจนการวางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม M = Moral คือ ส่งเสริมองค์กรแห่งคุณธรรมต้นแบบ ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน ยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม อัตลักษณ์คุณธรรมของ โรงเรียน สามารถบริหารจัดการตนเอง มีความสามารถในการคิดขั้นสูง มีความสามารถในการสื่อสารและเป็น พลเมืองที่เข้มแข็ง U = Unity คือ มุ่งพัฒนางานด้วยความสามัคคีภายในองค์กร เป็นหนึ่งเดียวในการปฏิบัติงาน มองเห็นเป้าหมายเดียวกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการรวมพลังทำงานเป็นทีมทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน K = King’s Philosophy คือ น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้พระราช กรณียกิจ พระราชดำรัส พระราชดำริ หลักการทรงงาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดในการ ปฏิบัติงานในทุกภารกิจ ตัวชี้วัดที่ 4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานงบประมาณ และกลุ่มงานบริหารทั่วไป โดยใช้ รูปแบบ “MUANGMUK Model” โดยการนำของผู้บริหาร คณะครู นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม และผ่านความเห็นชอบกรรมการสถานศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา คือ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คน เก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน ดังแผนที่เชิงกลยุทธ์ที่นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการบริหาร เชิงกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ภาพที่ 5 แผนที่เชิงกลยุทธ์โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม
-19- ตัวชี้วัดที่ 5 การนำไปใช้ โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีการนำนวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดย มีการประชุมชี้แจง อบรมสร้างความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องในการนำนวัตกรรมไปใช้ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณตามโครงการต่าง ๆ มีการนิเทศติดตามให้ความช่วยเหลือจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย มีการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ในโรงเรียนอย่างหลากหลาย มีรูปแบบการบริหารสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ “MUANGMUK Model” ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติงาน 4 ขั้นตอน ตามวงจรคุณภาพสู่ความสำเร็จ PDCA ประกอบด้วย 1. ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นวางแผน (Plan) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยมีการตั้งเป้าหมายและสร้างแผนการปฏิบัติงานหรือ กระบวนการเพื่อทำให้เป้าหมายประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย G = Good Governance คือ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล เพื่อการบริการที่ดี ประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ใน การวางแผนในการพัฒนาการศึกษา โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ ตลอดจนการวางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม K = King’s Philosophy คือ น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้พระราช กรณียกิจ พระราชดำรัส พระราชดำริ หลักการทรงงาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดในการ ปฏิบัติงานในทุกภารกิจ U = Understanding คือ สร้างความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก การสื่อสารเพื่อการรับรู้และเข้าใจ ก่อนการดำเนินงาน ตามหลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” 2. ขั้นดำเนินการ (Do) ขั้นดำเนินการ (Do) เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร สมรรถนะ ครูผู้สอน และสมรรถนะของผู้เรียน ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อหาจุดที่ควรพัฒนา การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ซึ่ง การดำเนินงาน ประกอบด้วย M = Moral คือ ส่งเสริมองค์กรแห่งคุณธรรมต้นแบบ ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน ยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ และนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม อัตลักษณ์คุณธรรมของ โรงเรียน สามารถบริหารจัดการตนเอง มีความสามารถในการคิดขั้นสูง มีความสามารถในการสื่อสารและเป็น พลเมืองที่เข้มแข็ง N = Natural คือ ส่งเสริมความเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามบริบทท้องถิ่น ตาม ธรรมชาติของความรู้ความสามารถ ยึดทางสายกลาง รู้จักพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและเอกภพ และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการ เทคโนโลยี มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เพื่อการ ดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน M = Management คือ บริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้หลักการ 4 M ได้แก่ Man (การบริหารคน) คือ การบริหารกำลังคนตรงตามความรู้ความสามารถ ให้เกิด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับงานมากที่สุด Money (การบริหารเงิน) คือ การบริหารเงิน หรือ งบประมาณที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดเพื่อให้ ภารกิจเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด
-20- Materials (การบริหารวัสดุอุปกรณ์ ) คือ การบริหารวัสดุ อุปกรณ์ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัดให้เกิดประโยน์สูงสุด Management (การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี) คือ การนำหลักธรรมมาภิบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา A = Active คือ ปฏิบัติภารกิจด้วยความความคล่องแคล่ว ว่องไว กระตือรือร้น มีความเสียสละ มี การพัฒนาตนเองตลอดเวลา ทั้งด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน รวมถึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และ พัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครู (บริหารหลักสูตรและการจัดกาเรียนรู้,การพัฒนาผู้เรียน,การบริหารจัดการ เรียนรู้,การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน,มีภาวะผู้นำครู,มีความสัมพันธ์กับชุมชนที่ดี) U = Unity คือ มุ่งพัฒนางานด้วยความสามัคคีภายในองค์กร เป็นหนึ่งเดียวในการปฏิบัติงาน มองเห็นเป้าหมายเดียวกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการรวมพลังทำงานเป็นทีมทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน 3. ขั้นตรวจสอบ (Check) ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นขั้นตอนหาแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ให้เร็วขึ้น หรือ มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งมีการใช้ทฤษฎีเชิงระบบมาเป็นเครื่องมือในการวาง แผนการปฏิบัติงาน การกำกับติดตาม ประกอบด้วย Input (ปัจจัยนำเข้า) Process (กระบวนการ) Output (ผลผลิต) และ Outcome (ผลลัพธ์) มีการสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามแผนงาน มีการ ประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เมื่อสิ้นปีการศึกษา 4. ขั้นประยุกต์ใช้ (Act) ขั้นประยุกต์ใช้ (Act) เป็นขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้กระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ เร็วขึ้น พัฒนาขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายลดลง มีการนำข้อมูลที่ได้จากการสรุปรายงาน การประเมินโครงการเพื่อการ ตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อทบทวนการปฏิบัติงาน ( Feedback ) การให้ข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์ แนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานตลอดจนการสร้างนวัตกรรมการบริหารให้มีความ ทันสมัยมากขึ้น ตัวชี้วัดที่ 6 การประเมินและการปรับปรุง โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมมีการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์ จากผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้วยการประเมินความพึงพอใจในการบริหารและการจัดการ มีการประเมินโครงการตาม แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ 100 % มีการสรุปผลการประเมินและนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
-21- องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรม การศึกษาของสถานศึกษา 3.1 ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่1. ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา 1. มีสารสนเทศและผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสถานศึกษาและระดับห้องเรียน เช่น สรุปผลการประเมิน และวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์และการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนระดับสถานศึกษา แบบสรุปวิเคราะห์ นักเรียนรายบุคคลระดับห้องเรียน แบบสรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน รายงานโครงงานคุณธรรมระดับชั้นเรียน แบบประเมินและวิเคราะห์คุณลักษณะฯระดับสถานศึกษา แบบสรุปวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลระดับห้องเรียน
-22- แบบสรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียนระดับชั้นเรียน รายงานโครงงานคุณธรรมระดับชั้นเรียน 2. มีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานได้ครบถ้วน ครอบคลุมการใช้งาน และสารสนเทศที่จัดเก็บใน รูปแบบดิจิทัล มีความถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เช่น มีการรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่ ครบถ้วน ครอบคลุมการใช้งาน วีดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียนในรูปแบบดิจิทัล เป็นต้น 3. มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทันสมัยต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการ ปรับปรุงอยู่เสมอ เช่น มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนในระบบ DMC และเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็ปไซด์ OIT
-23- 4. มีการนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการและจัดการงานของสถานศึกษาและพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนได้เกิดประโยชนคุ้มค่า เช่น นำผลการวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลไปใช้ในการวางแผนการ จัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม 5. มีการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศและกิจกรรมในสถานศึกษาโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและน่าสนใจมี ผลงานปรากฎ เช่น เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน มีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ ผลงาน มีการส่งผลงานประกวดองค์กรคุณธรรมต้นแบบ มีการส่งผลงานเพื่อรับการประเมินเป็นโรงเรียนคุณธรรม สพฐ มีการจัดทำสื่อผลงานเผยแพร่ทางช่องยูทูป https://www.youtube.com/watch?v=4GG7Ip9WSlI
-24- ตัวชี้วัดที่2 มีการดำเนินงานการบริหารจัดการของสถานศึกษา การจัดการเรียรู้ นิเทศติดตามและเมินผล อย่างเป็นระบบ 1. มีแผนงานโครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการพัฒนา เช่น โครงการโรงเรียนคุณธรรม 2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงานการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ครอบคลุมรายวิชาที่ต้องการ ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เช่น คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม 3. มีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผล ตามปฏิทินการ พัฒนานวัตกรรม เช่น รายงานการดำเนินกิจกรรม รายงานโครงการ เป็นต้น 4. มีการดำเนินการตามแผนงานและมีระบบการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโรงเรียน คุณธรรม 5. มีการประเมินและนำผลการดำเนินงานไปวางแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น รายงานการดำเนิน โครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ รายงานงานผลการพัฒนาผู้เรียนต่อผู้ปกครอง
-25- ตัวชี้วัดที่ 3 มีเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 1. โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมมีการสร้างเครือข่ายภายใน ได้แก่ ครูประจำชั้น หัวหน้าระดับ เครือข่ายครูแนะ แนว เครือข่ายหัวหน้าระดับชั้นเรียน และมีการประชุมชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรและมีส่วนร่วมใน การวางแผน ดำเนินการตรวจสอบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2. โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีเครือข่ายภายนอก ได้แก่ เครือข่ายผู้ปกครองชั้นเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียน เครือข่ายกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการประชุมปรึกษาหารือ สร้างความรู้ความเข้าใจและมีส่วน ร่วมในการวางแผนดำเนินการตรวจสอบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3.โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีผู้บริหารที่ให้การส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพหรือรูปแบบอื่นในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้มีความเข้มแข็ง เช่น เครือข่ายเพื่อนฯคุณธรรม เครือข่ายศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ที่ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา ส่งผลทำให้โรงเรียนได้รับโล่เป็นสถานศึกษาภาคีดีเด่น
-26- 4. โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) อย่าง สม่ำเสมอ เช่น จัดกิจกรรม PLC การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยคณะกรรมการเครือข่าย ผู้ปกครองนักเรียนทั้งระดับห้องเรียนและระดับโรงเรียน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนวัตกรรมการ บริหารเชิงกลยุทธ์ 5. โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม มีผู้บริหารที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการพัฒนาโรงเรียนให้ผู้มี ส่วนได้เสียได้ทราบ เช่น จัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน จัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน จัดกิจกรรมประชุมศิษย์เก่าเพื่อสะท้อนผลการพัฒนาและหารือแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป
-27- ตัวชี้วัดที่ 4 การยอมรับที่มีต่อสถานศึกษา 1.ผู้บริหารยอมรับและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม โดยการเห็นชอบโครงการในการพัฒนาผู้เรียน ทำให้งาน บรรลุตามเป้าหมาย ส่งผลทำ ให้ผู้บริหารได้รับรางวัล ดังนี้ ➢นายวินิจ พลธะรัตน์ รับโล่ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้การสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนกล้าแผ่นดินภายใต้ โครงการ กล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีพุทธศักราช 2565(ระดับประเทศ) ➢นายวินิจ พลธะรัตน์รับโล่ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ในการส่งเสริมขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนา คุณธรรมและจิตอาสา ตามโครงการกล้าแผ่นดินด้วยพลังบวร ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢นายวินิจ พลธะรัตน์ ได้รับประกาศเพื่อเข้ารับโล่รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น จากสมาคมผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢นายวินิจ พลธะรัตน์ ได้รับประกาศเพื่อเข้ารับโล่รางวัล ผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่น ประจำปี 2565 จาก สภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย (ระดับประเทศ)
-28- 2. ครูให้การยอมรับและให้ความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาตามนวัตกรรม ส่งผลทำให้ครูได้รับรางวัล ดังนี้ ➢ว่าที่ร.ท.ราชันย์ เดชคำภู รับโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะ ครูต้นแบบ ส่งเสริมศีล 5 ค่านิยมหลัก 12 ประการ และขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” (ระดับประเทศ) ➢นายภาณุวัฒ์น์ สุดาชม ,ว่าที่ ร.ท.ราชันย์ เดชคำภู,นางสาวจรัญญา ไชยพันธ์ รับโล่รางวัล ในฐานะครูผู้ ประสานงานดีเด่น ในการส่งเสริมขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมและจิตอาสา ตามโครงการกล้าแผ่นดิน ด้วยพลังบวร ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢ ว่าที่ ร.ท.ราชันย์ เดชคำภู,นายภาณุวัฒน์ สุดาชม ,นางสาวจรัญญา ไชยพันธ์ รับโล่ เป็นครูดีเด่น อุทิศตน เป็นครูที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนกล้าแผ่นดิน ภายใต้โครงการ กล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง สมควรได้รับ รางวัล “ครูผู้มีจิตวิญญาณพระโพธิสัตว์” ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢นายโกศล คนขยัน, นางประยงค์ สินพูน, นางสุชาดา วังวงศ์,นางวรรณวิมล กินะรี รับโล่ ในฐานะผู้ทำ คุณประโยชน์ให้การสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนกล้าแผ่นดิน ภายใต้โครงการ กล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจ พอเพียง (ระดับประเทศ)
-29- 3.นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้นักเรียนได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้ ➢ชมรมต้นกล้าเมืองมุกวิทยาคม ได้รับโล่รางวัล “วัฒนคุณาธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม จาก กระทรวงวัฒนธรรม (ระดับประเทศ) ➢ชมรมต้นกล้าเมืองมุกวิทยาคม ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา ในฐานะกลุ่มพลัง เครือข่ายเยาวชนที่มีจิตอาสาดีเด่น ส่งเสริมศีล5 ค่านิยมหลัก 12 ประการและขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริม คุณธรรมแห่งชาติ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” (ระดับประเทศ) ➢นางสาวอารียา เทพศรีหา, นางสาวสุพัตตรา บุตทศ ได้รับการประเมินผลงานโครงงานคุณธรรม ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลระดับ เหรียญทองแดง ตามโครงการกิจกรรมดอกผลแห่งโครงการจัดเวทีแสดง ผลงานโครงงานคุณธรรม (ระดับประเทศ) ➢ด.ช.สุวัฒน์ พละศูนย์,ดญ.ปุณยานุช ชารีไชย ได้รับการประเมินผลงานโครงงานคุณธรรม ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น รางวัลระดับ เหรียญทองแดง ตามโครงการกิจกรรมดอกผลแห่งโครงการจัดเวทีแสดงผลงงาน โครงงานคุณธรรม (ระดับประเทศ)
-30- ➢นางสาวลลิตา สมสนุก,นางสาวนริศรา กาหาวงศ์,นางสาวปาริตา วงศ์ศรีทา,นางสาวดุจดวงใจ ลิพันธ์,นางสาว เสาวลักษณ์ ชารีไชย,นางสาวจริญญา ศรีโยหะ ผ่านการอบรมหลักสูตรค่ายกล้าผู้นำรุ่นที่ 40 และร่วมงาน รวมพลังกล้าแผ่นดินก้าวสู่ปีที่18 “กล้าทำดี สานวิถีพลังบวร”โครงการกล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢นางสาวสุดนิตา วงศรีทา,นางสาวจุฬารัตน์ ชาธิพา,นางสาวพัชราวดี ชาธิพา,นางสาวฐิติกานต์ กันพิพิช , นางสาวสุพัตรา บุตรทศ,นางสาวสุนันทา ชาธิพา,นางสาวนุชวรา คำโพธิ์,นางสาวนารีรัตน์ ชาธิพา, เป็น เยาวชนดีเด่น ผู้มีจิตอาสาขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” ภายใต้โครงการกล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง สมควรได้รับรางวัล ผู้นำเยาวชนกล้าแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2565 (ระดับประเทศ) ➢สนับสนุน ส่งเสริม วางแผน การดำเนินงานของแกนนำชมรมต้นกล้าเมืองมุกวิทยาคม ในการทำกิจกรรม Share With Love
-31- 4. ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอด ทำให้สถานศึกษาได้รับ รางวัล ดังนี้ ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม รับโล่ ผู้ทำคุณประโยชน์ ให้การสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนกล้าภายใต้โครงการ กล้าแผ่นดินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2565 (ระดับประเทศ) ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้รับรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2565 ปีที่ 1 (ระดับประเทศ) ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้รับการรับรองคุณภาพโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. ระดับ 3 ดาว ปีงบประมาณ 2565 (ระดับประเทศ) ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ. 2566-2570) จากสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ระดับประเทศ)
-32- ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้รับการยกย่องเชิดชู เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี งบประมาณ 2565 (ระดับจังหวัด) ➢โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ผ่านกระบวนการประเมินรับรองมาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม ปี 2565 จากศูนย์ คุณธรรม(องค์การมหาชน) (ระดับประเทศ) 5. ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซี่งโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมได้ทำการ ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน พบว่า ผู้บริหาร ครู นักเรียน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 78.03 มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในระดับ มาก
-33- 3.2 ผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน ตัวชี้วัดที่ 1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1. มีการนำผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบหรือผลการประเมินคุณลักษณะผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ➢ ครูร้อยละ 100 มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อออกแบบการเรียนรู้ 2. กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ด้านองค์ความรู้ทักษะกระบวนการตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ➢ ครูร้อยละ 100 มีการกำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
-34- 3. มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตาม เป้าหมายที่ต้องการพัฒนา โดยยึดแนวคิด ทฤษฎี ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล มีกิจกรรมหลากหลาย ➢ ครูร้อยละ 100 มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด 4. ใช้หลักการ เทคนิคการสอนต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายการพัฒนา ➢ ครูมีการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับวัตถุประสงค์เป้าหมายการพัฒนา เช่น สอนโดยใช้เทคนิคโครงงาน ส่งผลทำให้ครูได้รับรางวัลครูผู้มีนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ด้าน การจัดกาเรียนการสอน
-35- 5. มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ และผ่านการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนนำไปใช้ ➢ ครูร้อยละ 100 มีแผนการจัดการเรียรู้ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน ที่และผ่านการตรวจสอบแผนการ จัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ครบถ้วน สมบูรณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบก่อนใช้ ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ ➢ ครูร้อยละ 100มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ชมรมต้นกล้า ชุมนุมต่างๆครบทุกกลุ่มสาระ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลส. ยุวฯ บพ. รด.
-36- 2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ➢ ครูร้อยละ 100 มีการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น ชมรมต้นกล้า มี ส่วนร่วมในกิจกรรมค่ายอาสา ทำกิจกรรมโครงงานคุณธรรมระดับชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น 3. ใช้สื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีและสารสนเทศ ➢ ครูร้อยละ 100 มีการใช้สื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีและสารสนเทศ อย่างหลากหลาย
-37- 4. มีการนิเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ➢ ครูร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามโครงการห้องเรียน คุณภาพ สู่โรงเรียนคุณภาพ 5. นำผลการจัดการเรียนรู้ไปปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ➢ ครูร้อยละ 100 มีการนำผลกการจัดการเรียนรู้ไปปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
-38- ตัวชี้วัดที่ 3 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 1. ออกแบบและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีให้มีคุณภาพสะดวกต่อการใช้ ประกอบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ โดยโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมได้ส่งเสริมให้ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนบูรณาการของกลุ่ม สาระฯ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น ชมรมต้นกล้าเมืองมุกวิทยาคม จัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน โดยอาศัยโรงเรียนประถมศึกษาที่ขาดแคลนในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสื่อและ แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรม 2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เลือกใช้ ผลิตและพัฒนาคุณภาพของสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีโดยครู โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมมีการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น ชมรมต้นกล้า เมืองมุกวิทยาคมจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน มีนักเรียนแกนนำร่วมคิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมและ เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมค่ายอาสา เป็นต้น
-39- 3. สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี แหล่งการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับเป้าหมายและกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมส่งเสริมให้นักเรียนออกค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม มีจิตอาสา เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยการปรับปรุงซ่อมแซมสื่อ BBL ของ โรงเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้และสถานที่จริงในการฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ 4. มีการประเมินสื่อการเรียรู้ โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ครูมีการประเมินสื่อการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรม AAR หลังเสร็จกิจกรรมการ ออกค่ายอาสา เช่น เมื่อนักเรียนได้จัดกิจกรรม BBL เสร็จ ให้นักเรียนได้ร่วมกันประเมินความพึงพอใจในกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้
-40- 5. นำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา ปรุงปรุงสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ➢ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา เพื่อปรังปรุงสื่อการเรียนรู้โดยผ่านการประชุม ตัวชี้วัดที่ 4 การวัดและประเมินผล 1. มีการเลือก วางแผน และออกแบบเครื่องมือ วิธีการวัด ประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ นวัตกรรมการบริหารเชิงกลยุทธ์
-41- 2. สร้างและพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือของนวัตกรรมที่ใช้ในการวัดและประเมินผลได้อย่างเหมาะสมและ ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3. นำเครื่องมือของนวัตกรรมไปใช้และกำหนดเกณฑ์การประเมินได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
-42- 4. นำผลของการวัดและประเมินผล เพื่อออกแบบวางแผนและดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและ จัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง 5. วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวัดและประเมินผล นำเสนอ ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วน เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบพัฒนา
-43- 3.3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนมีผลการพัฒนาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม 1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนา ซึ่งนักเรียนโรงเรียนเมืองมุก วิทยาคม ร้อยละ 88.63 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป 2. ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการใช้นวัตกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด นักเรียนแกนนำได้รับการ ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์จนได้รับการยอมรับ ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลและการยกย่อง (ระดับประเทศ)
-44- 3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะ สมรรถนะ เจตคติหรือพึงพอใจ ในการใช้นวัตกรรมเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนา ส่งผล ให้นักเรียนได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่ามี “ความประพฤติดี” (ระดับประเทศ) 4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ สมรรถนะ เจตคติและคุณลักษณะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชมรมต้นกล้าเมืองมุกวิทยาคมได้รับโล่รางวัล ผู้มีจิตอาสาดีเด่น (ระดับประเทศ)
-45- 5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่น ๆ ได้เช่น เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการส่งเสริม โรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ แก่บุคคล หน่วยงานอื่น เป็นต้น 3.4 การขยายผล ตัวชี้วัดที่ 1 การขยายผลการใช้นวัตกรรมการศึกษา 1. โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคมได้เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผลนวัตกรรม ในระดับสถานศึกษาหรือ หน่วยงาน เช่น เว็บเพจของโรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม
-46- 2.โรงเรียนมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผลนวัตกรรม ในระดับกลุ่มสถานศึกษาหรือระหว่างหน่วยงาน เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน 3. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และขยายผลนวัตกรรม ในระดับเขตพื้นที่หรือระดับจังหวัด โดยการนำเสนอ นิทรรศการผลงานนักเรียน
-47- 4. มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผลนวัตกรรมดับภูมิภาค ส่งผลให้โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ได้รับ การยกย่อง ยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมว่าเป็นสถานศึกษาภาคีดีเด่นในการส่งเสริมและขับเคลื่อน กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมและจิตอาสา (ระดับประเทศ) 5. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และขยายผลนวัตกรรม ในระดับประเทศหรือนานาชาติโดยผู้อำนวยการ นายวินิจ พลธะรัตน์ ได้นำเสนองานวิจัย ระยะที่ 1 ประเด็น สภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ ทางการบริหาร เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและแนวคิดการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำทางการบริหาร ในเวทีระดับชาติและอยู่ ระหว่างการเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ในวารสารบริหารการศึกษาและ ภาวะผู้นำ มหวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร (TCI2)
-48- บรรณานุกรม กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค. การจัดการเชิงกลยุทธ. 2551. 29 ธันวาคม 2555. ชาฤนีเหมือนโพธิ์ทอง. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการท างานเป็นทีมของ พนักงานครูใน สถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศิลปากร. นรินทร์ อินทร์กำแพง. (2552). การพัฒนาความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้าน ดอนแดง อำเภอกันทรวิชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคามเขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พิศเพลิน เขียวหวาน และคณะ. (2546). เอกสารประกอบการฝกอบรมหลักสูตรการวัดประเมินผล คุณธรรม จริยธรรม ตาม พ.ร.บ. 2542. นนทบุรี : สำนักพิมพมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. พีรศักดิ์วิลัยรัตน. การบริหารเชิงกลยุทธ. 2555. 19 ตุลาคม 2555. พรชัย องควงศสกุล. (2550). เครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏอลงกรณ. ศูนย์สงเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับ คุณธรรมจริยธรรมในประเทศและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน กราฟฟคจำกัด. สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). การเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียน เล่ม 4 การนิเทศแบบให้คำชี้แนะนำ. กรุเทพฯ: ส านักทดสอบทางการศึกษา. อารีรัตน์ มัฐผล. (2554). การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ด้วยการ เรียนรู้แบบ โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้าเคมี. วิทยานิพนธ์ วท.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.