The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by khungkhingsasa, 2022-06-13 02:01:48

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดดอยม่วงคำ

อีบุ๊ค pdf

ประเพณีสรงน้ำ
พระธาตุวัดดอยม่วงคำ

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

กองการศึกษา

วัดพระธาตุดอยม่วงคำตั้งอยู่ในเขตพื้นที่
ระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอแม่ทะ
จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจาก อำเภอเมืองลำปาง
ประมาณ 20 กิโลเมตร บนเส้นทางสาย
ลำปาง – แม่ทะ ประวัติวัดพระธาตุดอยม่วงคำ
เกิดขึ้นมาหลายร้อยปีมาแล้ว ในอดีตที่แห่งนี้ได้
มีพระพุทธเจ้าในภัทรกัปแห่งเรา มาอยู่สร้าง
พระสัมมาสัมพระโพธิญาณทุกพระองค์ จากนั้น
พระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรทรงนำเส้น
พระเกศาจำนวน 8 เส้น ให้บรรจุไว้ในหลุมลึก

ประมาณ 50 วา

โดยพระอินทร์ได้สั่งให้พระวิษณุกรรม
เทพบุตร ไปนำเอากิ่งมะม่วง (กัมปะละ)

ปักที่หลุมนั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์
เครื่องหมายไว้ แล้วทรงตรัสพยากรณ์
ต่อไปว่า จากนี้ไปในภายภาคหน้าที่แห่ง

นี้จะมีชื่อว่า ดอยม่วงคำ และเมื่อ
ตถาคตปรินิพพานไปแล้ว เหล่า
พระสาวกจะอัญเชิญ พระมหาจานุกัง
(กระดูกคางด้านซ้าย) มาบรรจุไว้ที่นี่

วัดพระธาตุม่วงคำ หรือเรียกว่า
วัดดอยม่วงคำ เป็นวัดชั้นราษฎร์
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่วัด
13 ไร่ 2 งาน เดิมพื้นที่วัดเป็นป่าเขา
ต่อมามีค้นพบฐานเจดีย์เก่าซึ่ง
สอดคล้องในตำนานหมาขนคำ
ของคนโบราณ พระครูรัตนโศภณ
(หลวงพ่ออิ่น) อดีตเจ้าคณะอำเภอ
แม่ทะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองศาสน์
ร่วมกับหลวงพ่อเมืองวัดท่าแหน

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ
จังหวัดลำปาง

ได้ทำการสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2468
และได้รับความอุปถัมภ์สมณะศรัทธา เช่น
พระครูสุเวทกิตติคุณ(หลวงปู่บุญชุบ)
วัดเกาะวาลุการาม อำเภอเมือง จังหวัด
ลำปาง และศรัทธาทั่วสารทิศจำนวนมาก
โดยหลวงพ่อพระครูรัตนโสภณ ได้ดำรง
ตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสรูปแรก
ตั้งแต่ พ.ศ.2468-2512 เป็นเวลา 44 ปี

จนท่านได้มรณภาพ

จากนั้นวัดพระธาตุม่วงคำ ก็เป็น
วัดร้างถึง 21 ปี ต่อมาก็มี พระอธิการ
ทินพันธ์ ทินฺนวโร จากวัดเมืองศาสน์
อ.เมืองลำปาง มาดำรงตำแหน่งเจ้า
อาวาส และที่วัดพระธาตุดอยม่วงคำนี้
จะจัดงานสรงน้ำพระธาตุทุกปี ซึ่งงาน

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุประจำปี
จะตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 เหนือ

ซึ่งมีงานสมโภชอย่างใหญ่โต

วัดพระธาตุดอยม่วงคำ มีตำนานที่
ลือลั่นแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง เรียกกันว่า
ตำนานหมาขนคำ หรือ หมาขนสีทองคำ
ซึ่งตำนานหมาขนคำ เล่าว่านานมาแล้วมี
นายพรานคนหนึ่งได้เลี้ยงหมาตัวเมียมีขน
สีทองจึงเรียกกันว่าหมาขนคำไว้หนึ่งตัว
และในย่านนั้นไม่มีหมาตัวผู้อยู่เลย วันหนึ่ง
แม่หมาเกิดตั้งท้องขึ้นมา นายพรานเกรงจะ
ถูกชาวบ้านครหาว่ามีเมียเป็นหมา

จึงคิดจะกำจัดแม่หมา

ซึ่งบ้านของนายพรานอยู่ในบ้านเสาสูง
แบบเรือนต้นไม้ ราวบันไดปลดเก็บขึ้นไว้
บนเรือนเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ร้ายขึ้นเรือน
ไปทำร้าย ชีวิตคนบนบ้านได้ เย็นวันหนึ่ง
นายพรานปลดบันไดบ้านเก็บไว้บนบ้านโดย
ทิ้งแม่หมาไว้ข้างล่าง โดยหวังที่จะให้เสือ
มาคาบแม่หมาเอาไปกิน แม่หมาก็วิ่งหนีไป
ถึงดอยผาสามเส้าริมดอยวัดม่วงคำ
(เขตอำเภอแม่ทะ) แล้วคลอดลูกแฝด

เป็นเด็กหญิงน่ารักสองคน

ในแต่ละวันแม่หมาก็ไปหาอาหารมา
เลี้ยงลูกน้อย และคาบเสื้อผ้าที่ชาว
บ้านตากไว้บนราวตากผ้านำไปให้
ลูกสาวสวมใส่ จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ลูกสาวฝาแฝดทั้งสองคนเติบโตเป็น

หญิงสาว คนพี่ชื่อ นางเจตะกา
คนน้องชื่อนางบัวตอง กิตติศัพท์ความ

สวยงามของหญิงสาวทั้งสอง
กระฉ่อนไปถึงในเมือง

เมื่อพระยาปลัมมะโฆษา เจ้าเมืองทราบ
ข่าว ปรารถนาจะได้ธิดาแฝดไปเป็นมเหสี
ซ้ายขวา ก็จัดขบวนวอทองไปรับสองธิดา
แฝดที่ดอยผาสามเส้าขณะที่แม่หมาไม่อยู่
ธิดาแฝดบัวตองผู้น้องแสดงความเสียใจ
ร้องไห้คร่ำครวญถึงแม่หมา ส่วนผู้พี่มี
ทีท่าตื่นเต้นที่มีวาสนาจะได้เข้าไปอยู่ในวัง

พระยาปลัมมะโฆษา เจ้าเมืองได้สร้าง
ปราสาทสองหลังให้นางเจตะกาและนาง

บัวตองอยู่คนละหลัง

ฝ่ายแม่หมาเมื่อกลับมาถึง
ผาสามเส้าก็พบว่าลูกสาวหายไป
แม่หมาก็เห่าหอนและตะกุยหน้าผา
จนเป็นรอยคล้ายเล็บเท้าฝังในเนื้อ
หินผา ที่ชาว บ้านเรียกว่ารอยตีน
หมาขนคำร้องไห้หาลูกสาว มาจน
ทุกวันนี้ ร้อนถึงพระอินทร์เวทนา
แม่หมาจึงเนรมิตให้แม่หมาพูดได้

แม่หมาจึงเดินทางติดตามหา
ลูกสาวถึงในเมือง แม่หมาได้ถามไถ่

ชาวบ้านมาเรื่อย ๆ

จนกระทั่งมาถึงปราสาท
ของนางเจตะกา ทหารได้ซักถาม

แม่หมาว่ารู้จักกับนางเจตะกา
อย่างไร แม่หมาก็บอกว่า

นางเจตะกาเคยเป็นนายเก่ามาก่อน
ครั้นเมื่อทหารนำความมาแจ้ง

แก่นางเจตะกา นางเจตะกากลัวว่า
จะอับอายที่มีแม่เป็นหมา จึงสั่งให้
ทหารทำร้ายแม่หมาจนได้รับบาด

เจ็บจนต้องวิ่งหนีไป

แม่หมาได้รับบาดเจ็บก็วิ่งมาถึง
ปราสาทนางบัวตอง นางบัวตอง
รีบวิ่งมารับแม่หมานำเข้าไปใปราสาท
เพื่อเยียวยารักษา ให้ข้าวให้น้ำแก่
แม่หมา นางบัวตองได้ทูลขอหีบขนาด
ใหญ่จากสวามีโดยบอกว่าจะเอาไป
ขนสมบัติที่ผาสามเส้า ภายในกำหนด
เวลาเจ็ดวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
นางบัวตองได้นำหีบไว้เป็นที่ซ่อนของ
แม่หมาในวัง เมื่อครบเจ็ดวันแล้ว

แม่หมาทนพิษบาดแผลไม่ไหว
ก็สิ้นใจตาย

พระอินทร์ได้เนรมิตร่างแม่หมา
ให้กลายเป็นแก้วแหวนเงินทอง เมื่อ
พระยาเจ้าเมืองพบว่ามีแก้วแหวนเงิน
ทองเต็มหีบ พระองค์ก็โปรดปรานนาง
บัวตองเป็นอันมาก พระองค์ก็ให้นาง
บัวตองไปขนสมบัติที่ผาสามเส้าอีก
ครั้งหนึ่ง นางบัวตองมีความเสียใจที่
แม่หมาเสียชีวิต นางจึงคิดจะกระโดด
หน้าผาจะฆ่าตัวตาย แต่บริเวณข้าง
ล่างของหน้าผาเป็นที่อยู่ของยักษ์ซึ่ง
ป่วยเป็นฝีกลัดหนองเจ็บ ปวดมาก

เมื่อนางบัวตองกระโดดลงไปกระทบ
กับร่างของยักษ์ทำให้ฝีแตก ยักษ์จึง

หายปวดเป็นปลิดทิ้ง ยักษ์จึงมอบ
ทรัพย์สมบัติให้นางบัวตองเป็นอัน
มาก นางบัวตองจึงนำสมบัติกลับวัง

มาถวายพระยาปลัมมะโฆษา
ฝ่ายนางเจตะกา เมื่อทราบข่าวว่า
นางบัวตองไปขนสมบัติที่ผาสามเส้า
นางก็รู้สึกอิจฉานางบัวตอง นางจึง

อาสาพระยาปลัมมะโฆษา จะไป
ขนสมบัติที่ผาสามเส้าบ้าง

เมื่อไปถึงผาสามเส้านางเจตะกา
ก็กระโดดหน้าผาตามที่นางบัวตอง
แนะนำ เหยียบนางยักษิณีผีเสื้อห้วย
นอนหลับอยู่ นางผีเสื้อสะดุ้งตื่น
จึงพูดว่านางผู้นั้นหมิ่นประมาทกู
และไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่บาปกรรม
อันนั้น คงมาตามทัน จึงได้จับเอา

นางฉีกกินเป็นอาหาร

นางยักษิณีผีเสื้อห้วยก็ไล่กินขบวนช้าง
ม้าตายเกลื่อนเป็นจำนวนมาก

ณ สถานที่นั้นเรียกว่า โทกหัวช้าง
จนถึงบัดนี้ นับแต่นั้นมานางศรีบัวตอง
ก็ได้อยู่ในปราสาทราชมณเฑียรร่วมกับ
พระยาปรมะโฆสาด้วยความสุขความ

เจริญ แล้วทรงมีพระราชบุตรสอง
พระองค์มีนามว่า เจ้าศรีบุญเรือง
และเจ้าบุญศิริราชกุมาร และได้บำเพ็ญ
พระราชกุศลตราบเท่าสวรรคต
แล้วได้ไปบังเกิดในสรวงสวรรค์เสวย
ทิพยสมบัติเป็นใหญ่กว่าเทพบุตร
เทพธิดาทั้งหลายสุขเกษมสำราญ

ในวิมานชั้นฟ้านั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
ทรงตรัสว่านายพรานคนนั้นหลังจากสิ้น
ชีวิตลงได้เกิดมาเป็น พระเทวทัต แม่หมา

ขนคำได้เกิดมาเป็น นางปฏาจารา
นางบัวตองได้เกิดมาเป็น พระนางพิมพา
ยโสธรานางเจตะกาได้เกิดเป็น นางจิญ
จมาณวิกา ผู้ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ทำให้

โดนแผ่นดินสูบลงมหานรกอเวจี
ส่วนพระยาปลัมมะโฆษานั้นได้เกิดมาเป็น
พระตถาคต สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงตรัสเล่าให้บรรดาพระพุทธสาวก เทพ
เทวดา มนุษย์ที่มาเฝ้า ณ ที่นั้นได้รับทราบ

ถึงตำนานที่มาของหมาขนคำแห่งนี้


Click to View FlipBook Version