51 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการแต่งกายของนักเรียน พ.ศ. 2566 เพื่อความเปนระเบียบเรียบร้อย ็ และส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนในการแต่งกายให้เหมาะสมกับวัย และสถานภาพของนักเรียน ทางโรงเรียนจึงวางระเบียบการแต่งกายของนักเรียนไว้ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว ่าด้วยการแต ่งกายของนักเรียน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้ปฏิบัติดังนี้ 2.1 เครื่องแบบนักเรียนชาย ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.1.1 เสื้อ ใช้เสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีลวดลาย และไม่บางเกินควร ไม่มีจีบหลัง แขนสั้น เหนือข้อศอกประมาณ 2 เซนติเมตร ทรงสุภาพ ใช้กระดุมสีขาวแบบแบน มีสาบที่อกเสื้อด้านนอกกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีกระเป๋าติดราวนมเบื้องซ้ายขนาดกว้างของกระเป๋าต้องไม่ต่ำกว่า 8x10 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 10x5 เซนติเมตร พอเหมาะกับขนาดของเสื้อ ปลายปกเสื้อไม่มีกระดุมหรือรังดุม อกเสื้อด้านขวาตรงกลาง ปักอักษรย่อชื่อโรงเรียน และเลขประจำตัว(เลขไทย) ใต้อักษรย่ออกเสื้อด้านซ้ายปักชื่อสกุลด้วยไหมสีกรมท่า ด้วยอักษรไทย ขนาด ความสูง 0.7 ซ.ม. ม.ต้น ปักจุดบอกระดับชั้นขนาด 0.5 ซม. ที่ตรงกลางขอบกระเป๋าด้วยไหมสีกรมท่า และติดเข็ม สัญลักษณ์โรงเรียนเหนือ ล.ก. ม.ปลาย ปักจุดบอกระดับชั้นขนาด 0.5 ซม. ที่ปกเสื้อด้านซ้ายด้วยไหมสีกรมท่าติดเข็มสัญลักษณ์ โรงเรียนปกเสื้อด้านขวา 2.1.2 กางเกง ขาสั้นสีดำ เมื่อยืนตรง ยาวเหนือเข ่าวัดจากกลางลูกสะบ้า ประมาณ 5 เซนติเมตร ห้ามรัดรูปหรือขากว้างเกินควร โดยกำหนดส่วนกว้างของขากางเกง ห่างจากขา ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า ด้านหน้ามีจีบหน้าข้างละ 2 จีบ ไม่เย็บตายตัว มีหูขนาด 0.8 เซนติเมตร 7 หู เมื่อสวมให้ขอบกางเกงอยู่ในแนวสะดือ และต้องสวมทับ ชายเสื้อให้เห็นเข็มขัด 2.1.3 เข็มขัด หนังสีดำ ขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดเป็นโลหะสีโครเมียม รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชนิดหัวกลัด มีปลอกสีดำ 1 ปลอกขนาดกว้าง1.5เซนติเมตรสำหรับสอดปลายเข็มขัด ปลายเข็มขัด ไม่ตัด และยาวพอร้อยถึงหูกางเกงหูที่สองได้เมื่อคาดให้ทับกางเกงพอตึงและมองเห็นเข็มขัด ได้โดยรอบเอว 2.1.4 รองเท้า แบบนักเรียน ผลิตจากหนังเรียบ หรือผ้าใบสีดำ ไม่มีลวดลาย หัวมน หุ้มส้น ส้นตรงปกติไม่เรียวสูง ชนิดผูกเชือกไม่ใช้ชนิดยี่ห้อที่มีราคาแพงเกินกว่าสภาพนักเรียน 2.1.5 ถุงเท้า นักเรียนให้ใส่ได้3 แบบ แบบที่1 : พับได้2 ทบไว้เหนือตาตุ่ม แบบที่2 : ไม่พับ สูงกว่าตาตุ่ม แบบที่3 : แบบของโรงเรียน ใช้สีขาวล้วนหรือขาวพื้นด�ำก็ได้ห้ามใช้ถุงเท้าแบบมีลวดลายแบบลูกฟูกและแบบขอบต�่ำกว่าตาตุ่ม 2.1.6 กระเป๋าใส่หนังสือ ใช้กระเป๋า ที่โรงเรียนสั่งทำเฉพาะ ซึ่งมีจำหน่ายที่โรงเรียน เท่านั้นหากฝ่าฝืนจะถูกยึด ผู้ปกครองนำหลักฐานมารับคืนภายใน 7 วัน หากเกินกำหนดทางโรงเรียน จะจำหน่ายศูนย์
52 2.1.7 ทรงผมนักเรียนชาย ม.ต้น ม.ต้น ผมตัดสั้นเกรียนรอบศีรษะ หรือ ตัดรองทรงสูง ด้านบนยาวไม่เกิน3ซ.ม ม.ปลาย ผมตัดรองทรงต่ำความยาวไม่เกิน 5 ซม. มีข้อห้ามดังต่อไปนี้ (1) ไว้จอน (2) ไว้หนวด เครา (3) ตัดผมตามแฟชั่น (4) แต่งผมด้วยเครื่องสำอางแต่งผม ได้แก่ เยล มูส โฟม หรือสเปรย์ (5) ใส่น้ำมันมากจนเป็นมันเยิ้ม (6) ดัดหรือย้อมเปลี่ยนสีผมที่ผิดไปจากธรรมชาติ 2.2 เครื่องแบบนักเรียนหญิง 2.2.1 เสื้อ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อสีขาว ไม ่มีลวดลาย และผ้าไม ่บางเกินไป คอปกกะลาสีเรือลึกพอให้สวมศีรษะได้สะดวก ปลายแขนจีบเล็กน้อยขอบแขนกว้าง3เซนติเมตรความยาว ของตัวเสื้อวัดจากเหนือข้อมือขึ้นมา เมื่อยืนตรงประมาณ 10 เซนติเมตร ชายขอบเสื้อด้านล่างมีรอยพับ ไม่เกิน 3 เซนติเมตร ริมขอบล่างด้านหน้า ข้างขวาติดกระเป๋า 1 ใบ ผูกคอซองซ่อนเงื่อน (หูกระต่าย) ด้วยสีเดียวกับกระโปรงอกเสื้อด้านขวาตรงกลาง ปักอักษรย่อชื่อโรงเรียนและข้างใต้ปักเลขประจำตัว(เลขไทย) ความสูง 0.7 ซ.ม. ด้านซ้ายปักชื่อ-สกุล ด้วยไหมสีกรมท่า และปักจุดบอกระดับชั้นขนาด 0.5 ซม. ที่ปกเสื้อ ด้านซ้าย ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใช้เสื้อสีขาวไม่มีลวดลายและผ้าไม่บางเกินไปควรยาว พอเหมาะ ปกเชิ้ตผ่าหน้าตลอด ไม่มีเกล็ดสาบเสื้อตลบเข้าด้านใน กว้าง 5 เซนติเมตร มีกระดุมกลมแบน สีขาว5เม็ดแขนเสื้อยาวเหนือข้อศอกพอสมควร ปลายแขนจีบเล็กน้อยผ้าหุ้มปลายแขนกว้าง3เซนติเมตร ด้านบนของแขนไม่จีบพอง เวลาสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง ให้มองเห็นเข็มขัด อกเสื้อด้านขวา ตรงกลางปักอักษรย่อชื่อโรงเรียนและข้างใต้ปักเลขประจำตัว(เลขไทย)ด้านซ้ายปักชื่อ-สกุลด้วยไหมสีกรมท่า ปลายปกเสื้อด้านซ้ายปักจุดบอกระดับชั้นขนาด 0.5 ซม. หมายเหตุ เสื้อนักเรียนห้ามใช้ผ้าที่บาง หรือผ้าแพร หรือผ้าไหม และนักเรียนหญิงทุกคนให้ใส่ เสื้อซับในบังทรงสีขาว 2.2.2 กระโปรง สีกรมท่า มีขอบไม่มีลวดลาย ด้านหน้าและด้านหลังทั้งขวาและซ้าย พับเป็นเกล็ดออกด้านข้าง 3 เกล็ด เย็บตายตัวลงมาจากขอบ ระหว่าง 3-4 นิ้ว เมื่อสวมให้ขอบกระโปรงอยู่ ระดับเอว ปลายกระโปรงยาวคลุมเข่าไม่เกิน 4 นิ้ว วัดจากใต้สะบ้าเข่ายาวลงมาถึงชายกระโปรง 2.2.3 เข็มขัด เฉพาะนักเรียนหญิงมัธยมปลายให้ใช้เข็มขัดหนังสีดำกว้าง3เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชนิดหัวกลัดใช้หนังสีดำหุ้ม มีปลอกสีดำขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตร สำหรับสอด ปลายเข็มขัดเวลาคาดทับกระโปรงแล้วต้องมองเห็นสายเข็มขัดรอบเอว 2.2.4รองเท้าแบบนักเรียน สีดำ หัวมน หุ้มส้น มีสายรัดหลังเท้าสายเดียวไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 3 ซม. 2.2.5 ถุงเท้า นักเรียนให้ใส่ได้3 แบบ แบบที่1 : พับได้2 ทบไว้เหนือตาตุ่ม แบบที่2 : ไม่พับ สูงกว่าตาตุ่ม แบบที่3 : แบบของโรงเรียน ใช้สีขาวล้วนหรือขาวพื้นด�ำก็ได้ห้ามใช้ถุงเท้าแบบมีลวดลายแบบลูกฟูกและแบบขอบต�่ำกว่าตาตุ่ม
53 2.2.6 กระเป๋าใส่หนังสือ ให้ใช้กระเป๋าสะพายหลัง ที่โรงเรียนสั่งทำเฉพาะ ซึ่งมีจำหน่ายที่โรงเรียนเท่านั้น 2.2.7 ทรงผม n ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เก็บผมด้านหน้าและโดยรอบศีรษะหรือกรณีไว้ผมสั้นให้ตัดทรงตรงเมื่อตัดผมแล้วปลายผม ต้องไม่ดัด ไม่ซอย หรือซับ * ถ้าตัดสั้นให้ตัดทรงตรง ความยาวจากปลายติ่งหูลงไปไม่เกิน 2 นิ้วฟุต * ถ้าไว้ผมยาวให้ปฏิบัติดังนี้ - ให้รวบหางม้าให้เรียบร้อย หรือเปีย มีลักษณะเปียเดียว หรือเปีย 2 ข้าง ที่มีขนาดเท่ากัน ความยาวไม่น้อยกว่า 3 ข้อ และปลายผมต้องเหลือไว้ ประมาณ 3 นิ้วฟุตใช้ริบบิ้นผูกผมสีดำ สีกรมท ่า หรือสีน้ำเงิน ไม่มีลวดลาย ขนาดกว้างไม่เกิน 3 ซม. - โบว์หรือริบบิ้นผูกผมใช้สีน้ำเงินกรมท่า สีดำ ไม่มีลวดลาย ขนาดกว้าง ไม่เกิน 3 เซนติเมตร - การใช้กิ๊บติดผม มีขนาดเล็ก กว้างไม่เกิน 1 ซม. ไม่มีลวดลายสีดำหรือ สีกรมท่าเท่านั้น เพื่อให้ทรงผมเรียบร้อย - ยางรัดผมให้ใช้สีดำ กรมท่าหรือน้ำเงิน ห้ามใช้ยางรัดผม แบบโดนัท ** การไว้ทรงผมม้า ปลายผมด้านหน้าจะต้องตัดให้มีระดับเหนือคิ้ว หมายเหตุ 1.ห้ามใช้โบว์หรือที่รัดผมสำเร็จรูป 2.ห้ามทำทรงผมแฟชั่นทุกประเภท เช่น ผมสองข้างตัดยาวไม่เท่ากัน ผมม้าที่ยาวเกือบปิดตา ผมตัดสั้นมากเหมือนผู้ชาย ผมตรงกลางตัดสั้นและตั้งตรง ผมมีจอนยาวกว่าส่วนอื่น ผมที่มีส่วน ของท้ายทอยยาวคล้ายหางเต่า ผมที่ใส่เยลให้แข็งและยกตั้งเหนือหน้าผาก ผมที่ใส่น้ำมันมากจน เป็นมันเยิ้ม 3. ห้ามใส่มูส โฟม เยล หรือสเปรย์ 4. ห้ามกัดหรือย้อมสีผมที่ผิดไปจากธรรมชาติ 2.3 เครื่องแบบพลศึกษา 2.3.1 เสื้อ ใช้ตามแบบที่โรงเรียนจำหน่าย และให้ปักชื่อ-สกุล อกเสื้อด้านขวา ด้านซ้ายปักเลขประจำตัว ด้วยไหมสีกรมท่าบนพื้นเสื้อสีขาว และปักจุดบอกระดับชั้นขนาด 0.5 เซนติเมตร ม.ต้น ปักจุดล่างเลขประจำตัว ส่วน ม.ปลาย ปักข้างบนเลขประจำตัว 2.3.2 กางเกง ใช้กางเกงวอร์ม ตามแบบของโรงเรียนที่มีจำหน่าย 2.3.3 รองเท้า* นักเรียนชาย ม.ต้น ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวล้วน ไม่มีลวดลาย หรือรองเท้าผ้าใบสีดำ * นักเรียนหญิง ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวล้วน ไม่มีลวดลาย * นักเรียนชาย ม.ปลาย ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวล้วนไม่มีลวดลาย 2.3.4 ถุงเท้า ถุงเท้านักเรียนสั้น สีขาวล้วน หรือถุงเท้ามีพื้นแถบสีดำ (ห้ามใช้ถุงเท้าที่ทำด้วยผ้าลูกฟูกและข้อสั้น) ไม่มีแถบสีลวดลาย หรือลายดอก
54 2.4 เครื่องแต่งกายชุดพื้นเมือง นักเรียนชาย ม.ต้น เสื้อพื้นเมืองสีขาวตราโรงเรียนลำปางกัลยาณีแขนสั้น กางเกงพื้นเมืองสีกรมท่ารองเท้าเเตะสีดำหูคีบหรือแบบสวมรัดส้นสีดำเท่านั้น ม.ปลาย เสื้อพื้นเมืองสีขาวตราโรงเรียนลำปางกัลยาณีแขนยาว กางเกงพื้นเมืองสีกรมท่า รองเท้าเเตะหูคีบหรือแบบสวมรัดส้นสีดำเท่านั้น นักเรียนหญิง ม.ต้น เสื้อพื้นเมืองสีขาวตราโรงเรียนลำปางกัลยาณีแขนสั้น ใส่ผ้าถุงโรงเรียนสีกรมท่ารองเท้าเเตะสีดำหูคีบหรือแบบสวมรัดส้น สีดำเท่านั้น ม.ปลาย เสื้อพื้นเมืองสีขาวตราโรงเรียนลำปางกัลยาณีแขนยาว ใส่ผ้าถุงโรงเรียนสีกรมท่า รองเท้าเเตะสีดำหูคีบ เท่านั้น 2.5 เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ประกอบด้วย หมวกลูกเสือ - ลูกเสือสวมหมวกทรงอ ่อนเบเร ่ต์สีเลือดหมู ให้ขอบหมวก อยู่เหนือหางคิ้วซ้ายประมาณ 1 ซม มีตราคณะลูกเสือแห่งชาติ - เนตรนารีสวมหมวกเป็นแบบปีกสีเดียวกับชุด มีตราเนตรนารี ติดอยู่หน้าหมวก ผ้าผูกคอ - ใช้สีชมพูมีตราประจำจังหวัด บริเวณสามเหลี่ยม สวมวอกเกิ้ลลูกเสือ เนตรนารีหน้าอกด้านซ้าย แถบนายหมู่แถบรองนายหมู่ - บนสุด เครื่องหมายคติพจน์”มองไกล” - ตรงกลาง เครื่องหมายประจำการ ติดห่างจากขอบกระเป๋าเสื้อ 1 ซม - กระเป๋าเสื้อ เครื่องหมายลูกเสือโลกติดกึ่งกลางสาบกระเป๋าเสื้อ ข้างซ้าย - ริบบิ้นแดงกว้าง 1 ซม. ติด 2 เส้น ห่างจากสาบกระเป๋าข้างละ 1 ซม - ริบบิ้นแดงกว้าง 1 ซม. ติด 1 เส้น ห่างจากสาบกระเป๋าแถบด้านใน หน้าอกด้านขวา - ขนาดของป้าย ชื่อกว้าง 3 ซม. ป้ายชื่อติดด้านบนของกระเป๋าเสื้อ ห่าง 1 ซม. แขนซ้าย อินทรธนู(สีแดง เลือดหมู)กระดุมสีน้ำตาลไม่เป็นโลหะ ปักอักษรย่อลญ ด้วยสีเหลืองทอง ห่างตะเข็บ 1 ซม แถวที่ 1 เครื่องหมายหมู่ ลูกเสือหมู่เป็นบุคคลสำคัญ เนตรนารีชื่อหมู่ เป็นนก (ติดแถบเฉียงดังภาพ) แขนขวา แถวที่ 1 การติดป้ายชื่อสังกัด (ป้ายชื่อโรงเรียน) ให้ติดเว้นตะเข็บเสื้อ 1 เซนติเมตร
55 แถวที่ 2 เครื่องหมายกลุ่มกอง ติดห่างจากป้ายสังกัด 1 เซนติเมตร แถวที่ 3 เครื่องหมายวิชาพิเศษ เครื่องหมายวิชาพิเศษ ติดห่างกัน แต่ละเครื่องหมาย1เซนติเมตร (เรียงจากซ้ายไปขวา) ม.1 นักผจญ นักบุกเบิก ผู้จัดค่าย (ติดแถวแรก) ม.2 หัวหน้าครัว การพยาบาล นักธรรมชาติ(ติดแถวที่ 2) ม.3 ผู้พิทักษ์ป่า เดินทางไกล สะกดรอย (ติดแถวที่ 3) เครื่องแบบยุวกาชาด ระดับ 3 (นักเรียนหญิง ม.1) หมวก - หมวกปีกสีกรมท่า ติดโล่แสดงหน่วยงานยุวกาชาด เสื้อ - เสื้อเชิ้ตสีฟ้า มีบ่า กระเป๋ามีฝาปิด 2 ข้าง แขนเสื้อขวา - ติดป้ายกองยุวกาชาด “ลำปางกัลยาณี” อักษรสีขาว พื้นหลังสีแดง แขนเสื้อซ้าย - อาร์มวิชาพิเศษหน ่วยยุวกาชาด (นักเรียนระดับชั้น ม.1 ครูผู้นำ ยุวกาชาดจะประดับให้ภายหลัง) ผ้าผูกคอ - ผ้าทรงสามเหลี่ยมสีกรมท่าติดอาร์มยุวกาชาดที่ยอดสามเหลี่ยมด้านหลัง บ่า - ติดเลขระดับประจำการ“๓”เปนอักษรเลขไทย ็ โลหะสีทองติดทั้ง2ข้าง หน้าอกขวา - ติดป้ายชื่อนักเรียนพื้นขาว ปักด้วยไหมสีนำ้เงิน ขนาดความสูง0.7ซม. เหนือกระเป๋า 1 ซม. และประดับเข็มประจำการเหนือชื่อ กระโปรง - กระโปรงแบบมีจีบสีฟ้า ยาวคลุมเข่า เข็มขัด - เข็มขัดหนัง หัวเข็มขัดเป็นโลหะสีเหลี่ยมผืนผ้าสีเงินติดโล่หน่วยงาน ยุวกาชาด ถุงเท้า - ถุงเท้าสีขาวยาวพับ 2 ครั้ง รองเท้า - รองเท้าหนังสีดำขัดมัน 2.6 เสื้อวอร์มโรงเรียน ให้ปักชื่อ นามสกุลภาษาอังกฤษเป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมดด้วยไหมสีขาว ไว้บริเวณ หน้าอกเสื้อด้านขวา ข้อ 3 เครื่องประดับ 3.1 สายสร้อย อนุญาตให้ใส ่สำหรับผู้ที่ต้องการมีพระติดตัวไว้ มีความยาวพอสมควร ที่ซ่อนพระไว้ไม่ให้มองเห็น สายสร้อยทำด้วยเงิน สแตนเลส หรือเชือก 3.2 ห้ามนำหรือใส่เครื่องประดับที่มีค่ามาโรงเรียน ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
56 Á.µŒ¹ Á.µŒ¹ Á.»ÅÒ Á.»ÅÒ 56 Á.µŒ¹ Á.µŒ¹ เครื่องแบบนักเรียนหญิง เครื่องแบบนักเรียนชำย
5757
5858 มัธยมตน มัธยมตน มัธยมปลาย มัธยมปลาย ชุดพื้นเมืองนักเรียนชำย ชุดพื้นเมืองนักเรียนหญิง
5959 ชุดพลศึกษาหญิง ม.ตน ชุดพลศึกษาชาย ม.ตน ชุดพลศึกษาชาย ม.ปลาย ชุดพลศึกษาหญิง ม.ปลาย ชุดยุวกาชาด ชุดลูกเสือ ชุดนักศึกษาวิชาทหาร
60 เพื่อให้นักเรียนเปนบุคคลที่ตรงต่อเวลาซึ่งเป ็ นบุคลิกภาพที่ส ็ ำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันโรงเรียนจึงวาง ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อมาโรงเรียนสาย ดังนี้ ข้อที่ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อมา โรงเรียนสาย และขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน พ.ศ. 2566” ข้อที่2 นักเรียนที่มาสาย จะต้องปฏิบัติตนดังนี้ 2.1 เมื่อนักเรียนมาสายไม่ทันเข้าแถว หลังจากเวลา 07.45 น. ห้ามนักเรียนเข้าไปในแถว โดยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าแถวอยู่ในกลุ่มนักเรียนที่มาสายและอยู่ในความดูแลของครูเวร 2.2 เมื่อนักเรียนมาช้าไม่ทันเข้าเรียน หลังเวลา 08.20 ให้ปฏิบัติดังนี้ 2.2.1 รายงานตัวต่อครูเวรหรือยามรักษาการณ์ 2.2.2 แสดงหนังสือของผู้ปกครองในกรณีที่นักเรียนมีความจำเปนต้องมาโรงเรียนสาย ็ 2.2.3 ให้ผู้ปกครองมาส่งหรือนักเรียนประสานกับผู้ปกครองทันที 2.2.4 ลงชื่อในสมุดบันทึกการมาสาย และขอรับบัตรมาสายไปส ่งที่ห้องปกครอง เพื่อรับบัตรเข้าห้องเรียน 2.2.5 หากเข้าเรียนไม่ทันให้ตัดเวลาเรียนรายวิชาในคาบเรียนนั้นๆ 2.3 การบันทึกนักเรียนมาสาย เมื่อนักเรียนมีกิจธุระจำเป็นทำให้นักเรียนมาโรงเรียนสาย ผู้ปกครองนักเรียนต้องมี หนังสือแจ้งให้โรงเรียนทราบ หากนักเรียนคนใดไม่มีหลักฐานดังกล่าว หรือไม่มีเหตุอันสมควรทางโรงเรียน จะถือว่านักเรียนจงใจมาโรงเรียนสายจะถูกลงโทษตามระเบียบของโรงเรียนโดยเชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อทราบ เหตุผล และนักเรียนจะถูกตัดคะแนนความประพฤติโดย มาสายครั้งละ 1 คะแนน มาช้าครั้งละ 2 คะแนน การลงโทษกระทำดังนี้ มาสายครั้งที่ 1 ว่ากล่าวตักเตือน อบรม พร้อมบันทึกลงสมุดพฤติกรรม มาสายครั้งที่ 2 แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ มาสายครั้งที่ 3 เชิญผู้ปกครองมาทำสัญญาดูแลความประพฤตินักเรียน มาสายครั้งที่ 4 เชิญผู้ปกครองมาพบรองผู้อำนวยการฝ ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน เพื่อทำทัณฑ์บน มาสายครั้งที่ 5 ให้พักการเรียน หมายเหตุครั้งต่อไปหลังจากพักการเรียนแล้ว ให้เปลี่ยนสถานศึกษาใหม่ เพื่อสะดวกในการเดินทางมาเรียน ให้ทันเวลา ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อมาโรงเรียนสาย และขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน
61 ข้อที่3 การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนต้องปฏิบัติตนดังนี้ 3.1 ผู้ปกครองแสดงบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อขออนุญาตรับนักเรียนโดยติดต ่อ ห้องฝ่ายกิจการนักเรียน 3.2 เมื่อนักเรียนมีความจำเป็นต้องขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นำจดหมาย ขออนุญาตจากผู้ปกครอง มาแสดงกับครูที่ปรึกษา เพื่อให้ครูที่ปรึกษารับรอง และนำส่งที่ห้องฝ่ายกิจการนักเรียน เพื่อรับบัตรอนุญาต ออกนอกบริเวณโรงเรียน 3.3 กรณีนักเรียนเจ็บป ่วยผู้ปกครองที่ได้รับการติดต ่อจากห้องพยาบาล ให้รับตัว ที่ห้องพยาบาลได้ซึ่งทางห้องพยาบาลจะออกใบอนุญาตให้ 3.4 กรณีนักเรียนมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่นๆ ให้ติดต่อขออนุญาตโดยตรงที่รองฝ่ายกิจการ นักเรียนและนำบัตรอนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนไปแสดงกับยามรักษาการณ์ จึงจะออกนอกบริเวณโรงเรียนได้ 3.5 ให้นักเรียนนำบัตรอนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนติดตัวไปในขณะอยู่นอกบริเวณ โรงเรียน เพื่อแสดงว่าได้รับอนุญาตจากโรงเรียนแล้ว ให้ใช้ระเบียบตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
62 เพื่อให้การควบคุมความประพฤติของนักเรียนให้อยู่ในระเบียบ และมีคุณธรรมจริยธรรมยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงได้ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการลงโทษและการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียนโดยให้ยกเลิก ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยการลงโทษนักเรียนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมผิดระเบียบวินัยของ โรงเรียนทั้งหมด และให้ใช้ระเบียบฉบับนี้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยการลงโทษและการตัดคะแนน ความประพฤติของนักเรียน พ.ศ. 2566” ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนลำปางกัลยาณี “ผู้อ�ำนวยการ” หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี “รองผู้อ�ำนวยการ” หมายถึง รองผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี “ครู” หมายถึง ครูที่เป็นข้าราชการประจำและครูอัตราจ้างชั่วคราวในปัจจุบัน “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนลำปางกัลยาณี “ผู้ปกครอง” หมายถึง ผู้ที่ได้ลงชื่อเป็นผู้ปกครองนักเรียนในเอกสารมอบตัวนักเรียน ที่ให้ไว้กับทางโรงเรียน “ครูหัวหน้าระดับชั้น” หมายถึง ครูผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ปกครองในระดับชั้นนั้น “คณะกรรมการดูแลพฤติกรรมนักเรียน” หมายถึงคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจาก ผู้อำนวยการ ให้ทำหน้าที่ดูแลพฤติกรรมนักเรียน ข้อ 2 การลงโทษนักเรียนที่กระท�ำความผิด จะปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ 2.1 เตือนด้วยวาจา หรือบันทึกเตือนเปนลายลักษณ์อักษรให้นักเรียนลงลายมือชื่อรับทราบ ็ 2.2 ตัดคะแนนความประพฤติ 2.3 เชิญผู้ปกครองมาพบ และรับทราบพฤติกรรม 2.4 เชิญผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บน 2.5 เข้ารับการอบรมที่โรงเรียนจัดให้ 2.6 พิจารณาให้เปลี่ยนสถานศึกษาใหม่ ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการลงโทษ และการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียน
63 ข้อ 3 การลงโทษแต่ละขั้นตอนให้ยึดแนวปฏิบัติดังนี้ 3.1 เมื่อครูพบนักเรียนกระทำความผิด ให้รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบฟอร์ม แจ้งการทำความผิดโดยระบุความผิดวัน เวลาและสถานที่ ที่นักเรียนกระทำความผิด ให้ชัดเจน แล้วนักเรียนผู้กระทำความผิดลงลายมือชื่อ 3.2 ส่งแบบแจ้งการกระทำผิดให้ครูหัวหน้าระดับชั้นนั้นๆ ที่ห้องฝ่ายกิจการนักเรียน 3.3 ครูหัวหน้าระดับชั้น แจ้งการกระทำความผิดของนักเรียนให้ครูประจำชั้นของ นักเรียนทราบ แล้วส่งให้รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนดำเนินการต่อไป 3.4 รองผู้อำนวยการฝ ่ายกิจการนักเรียนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการตัดคะแนน ความประพฤติของนักเรียนที่กระทำความผิด ถูกตัดคะแนนไม ่เกิน 10 คะแนน ส่วนความผิด ที่ถูกตัดคะแนนเกิน 10คะแนน ให้รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นำเรื่องเสนอที่ประชุมกรรมการฝ ่ายปกครองเพื่อพิจารณาลงโทษ ส ่วนกรณีเกิน 20 คะแนน ให้นำเสนอผู้อำนวยการ 3.5 ผู้อำนวยการเปนผู้พิจารณาอนุมัติการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียนที่มีความผิด ็ ถูกตัดคะแนนเกิน 20 คะแนน 3.6 เจ้าหน้าที่ธุรการหรือหัวหน้าระดับชั้นแจ้งผลอนุมัติในข้อ3.3และ3.5เปนลายลักษณ์ ็ อักษร ระบุความผิดและคะแนนที่ถูกตัด รวมทั้งคะแนนที่ถูกตัดสะสมครั้งสุดท้ายต่อ ครูประจำชั้นทราบและเชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อรับทราบความผิดและคะแนนที่ถูกตัด ข้อ 4 ความผิดที่ต้องตัดคะแนนความประพฤติและลงโทษ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมและดูแลความประพฤติของนักเรียนให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อยและเหมาะสม โรงเรียนจึงได้กำหนดมาตรการการลงโทษนักเรียนที่กระทำผิดระเบียบของโรงเรียน ที่กำหนดไว้ดังนี้ รหัส ลักษณะพฤติกรรม ตัด คะแนน การพิจารณา และวิธีปฏิบัติ หมวดการแต่งกาย 10 เสื้อไม่ปัก ล.ก./ชื่อ-สกุล จุดบอกระดับ 2 ตักเตือน 11 ใส่เสื้อผู้อื่นมาโรงเรียน 3 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 12 ใส่เสื้อกันหนาวโดยไม่สวมเสื้อนักเรียนข้างใน 2 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 13 ใส่เครื่องประดับที่ไม่เหมาะสมมาโรงเรียน 2 ตักเตือนและให้ถอดเก็บ 14 ชายเสื้อออกนอกกระโปรง / กางเกง 2 ตักเตือน 15 ทรงผมไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน 2 ตักเตือนหรือให้นักเรียนไปตัด 16 ไว้หนวด/เครา แต่งหน้า กันคิ้ว 2 ตักเตือน 17 ย้อม กัด เปลี่ยนสีซอยผม เล็บยาว หรือ ทาสีเล็บ 5 ตักเตือนและเชิญผู้ปกครองพบ
64 รหัส ลักษณะพฤติกรรม ตัด คะแนน การพิจารณา และวิธีปฏิบัติ 18 ไม ่แต ่งเครื่องแบบ ลส./ยว./รด./ชุดพื้นเมือง ตามกำหนด 2 ตักเตือน 19 กระโปรง/กางเกง/ยาวหรือสั้นกว ่าเกณฑ์กำหนด / ถุงเท้ า ผิด ร ะเบี ยบ/ ร องเท้ า ผิด ร ะเบี ยบ/ ไม่ใส่/ไม่ใช้เข็มขัดของทางโรงเรียน 2 ตักเตือนและให้แก้ไข หมวดความประพฤติ 20 ใส่คอนแทคเลนส์สีที่นอกเหนือจาก คอนแทคเลนส์สายตา 2 ตักเตือนและให้แก้ไข 21 กล่าววาจาไม่สุภาพ หยาบคาย 2 ตักเตือน 22 ไม่สำรวมกิริยามารยาท ในโรงเรียน และนอก โรงเรียน 2 ตักเตือน 23 ยุยงให้เกิดการทะเลาะวิวาท 10 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 24 ทะเลาะวิวาทแต่ไม่ใช้กำลังทำร้ายกัน 5 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 25 ทะเลาะวิวาทและใช้กำลังทำร้ายกัน 10 เชิญผู้ปกครอง, ทัณฑ์บน 26 ร่วมกันทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน 15 เชิญผู้ปกครอง, ทัณฑ์บน 27 ชักชวนคนนอกมาทะเลาะวิวาทกับนักเรียนในร.ร. 20 เชิญผู้ปกครอง, ทัณฑ์บน 28 มีส่วนร่วมในการกระทำผิด 5 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 29 เล่นกันโดยประมาททำให้เกิดบาดเจ็บ 5 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 30 สูบบุหรี่/มีบุหรี่ไว้ในครอบครอง 8 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 31 มีสื่อลามกไว้ในครอบครอง 3 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 32 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 8 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 33 เล่นการพนัน 10 แจ้งผู้ปกครองและทัณฑ์บน 34 แสดงการข่มขู่เพื่อหวังทรัพย์หรืออื่นๆ 15 แจ้งผู้ปกครองและทัณฑ์บน 35 มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด 15 แจ้งผู้ปกครองและทัณฑ์บน 36 เสพสารเสพติดที่ผิดกฎหมายหรือมีไว้ในครอบครอง 20 เชิญผู้ปกครอง, ทัณฑ์บนและคุมประพฤติ 37 ค้นหรือหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 5 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 38 ลักขโมย หรือแอบอ้างเอาของผู้อื่น 20 เชิญผู้ปกครอง, ทัณฑ์บน
65 รหัส ลักษณะพฤติกรรม ตัด คะแนน การพิจารณา และวิธีปฏิบัติ 39 ขีดเขียน/ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน/ผู้อื่น 10 ตักเตือนและชดใช้ 40 กลั่นแกล้งเพื่อนโดยเจตนา 5 ตักเตือน 41 เที่ยวในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม 10 ตักเตือนและแจ้งผู้ปกครอง 42 วางตัวไม่เหมาะสมกับเพื่อนต่างเพศ 5 ตักเตือน 43 ความประพฤติส่อไปในทางชู้สาว 10 เชิญผู้ปกครอง 44 ชู้สาว (มีเพศสัมพันธ์) 20 เชิญผู้ปกครองและหรือให้ย้าย โรงเรียน 45 ชักชวนผู้อื่นไปในทางที่ไม่ดี 5 ตักเตือน 46 แสดงกิริยา/วาจา/อาการ ที่ขาดความเคารพครู 10 ตักเตือน และหรือเชิญผู้ปกครอง 47 ใช้สื่อออนไลน์ (Social Network) ในทางที่ ไม่เหมาะสม เช่นเขียนข้อความ/ภาพที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองหรือผู้อื่นรวมไปถึง ภาพลักษณ์ของโรงเรียน 20 เชิญผู้ปกครอง/ให้ย้าย โรงเรียน 48 -เล่นโทรศัพท์หน้าเสาธง 5 ตักเตือน และหรือแจ้งผู้ปกครอง -เล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน (ยกเว้นได้รับอนุญาตจาก ครูผู้สอน) 10 ตักเตือน และหรือเชิญผู้ปกครอง หมวดการเรียน 49 ขาดเรียนโดยไม่แจ้งเหตุผลเกิน 3 วัน 5 แจ้งผู้ปกครอง 50 ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้ 3 แจ้งผู้ปกครอง 51 ไม่เข้าห้องเรียนตามตารางเรียนของตน 3 ตักเตือน และหรือแจ้งผู้ปกครอง 52 ไม่เข้าโฮมรูม/ประชุม/อบรม 3 ตักเตือน 53 ไม่ตั้งใจ/ไม่สนใจเรียน 2 ตักเตือน และหรือแจ้งผู้ปกครอง 54 ทุจริตในการสอบ 10 ตักเตือน และหรือแจ้งผู้ปกครอง
66 รหัส ลักษณะพฤติกรรม ตัด คะแนน การพิจารณา และวิธีปฏิบัติ หมวดอาคารสถานที่ 55 ไม่รักษาความสะอาดห้อง/บริเวณโรงเรียน 2 ตักเตือน 56 นำอาหาร/เครื่องดื่มขึ้นไปบนอาคารเรียน 2 ตักเตือน 57 เล ่นในห้อง/บนอาคารเรียน จนเป็นเหตุให้เกิด อันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน 3 ตักเตือน หมวดเบ็ดเตล็ด 58 ไม่ลงเวลามาโรงเรียน (สแกนลายนิ้วมือ) 3 ตักเตือน 59 มาโรงเรียนสาย (เกินเวลา 07:45 น.) 1 ตักเตือนและหรือแจ้งผู้ปกครอง และมาสาย (เกินเวลา 08:20 น.) 2 60 ไม่เข้าแถวตอนเช้าก่อนเข้าเรียน 3 ตักเตือน 61 ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต 3 ตักเตือน 62 ไม่เข้าหรือออกทางประตูโรงเรียน/หนีโรงเรียน 4 ตักเตือน 63 ใช้กระเป๋าไม่ถูกระเบียบกำหนด 2 ตักเตือน 64 นำเครื่องมือสื่อสารหรือเครื่องเล่นมาใช้ใน โรงเรียน/ห้องเรียน โดยไม่มีความจำเป็น 3 ตักเตือนและหรือแจ้งผู้ปกครอง 65 ยืมหนังสือห้องสมุดไม่คืน 3 ตักเตือน 66 ตัดหนังสือ/สิ่งพิมพ์ในห้องสมุด 10 เชิญผู้ปกครองและชดใช้ 67 ป ล อ ม ล า ย มื อ ชื่ อ ผู้ ป ก ค ร อง ห รื อ เ อ ก ส า ร เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง 5 แจ้งผู้ปกครอง 68 พกพาอาวุธ/สิ่งของคล้ายอาวุธมาโรงเรียน 20 เชิญผู้ปกครองและหรือให้ย้าย โรงเรียน 69 นำประทัด/ดอกไม้ไฟมาหรือเล่นในโรงเรียน 10 ตักเตือนและเชิญผู้ปกครอง 70 ประพฤติผิดกฎหมายจราจรทางบก 2 ตักเตือน 71 ห้ามสั่งอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าภายนอกเข้า นำมาส่งภายในโรงเรียน 5 ตักเตือนและหรือเชิญผู้ปกครอง 72 ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือในขณะข้ามถนนหน้าโรงเรียน 3 ตักเตือน
67 ข้อ 5 มีความผิดลักษณะอื่น นอกเหนือจากที่ระบุในระเบียบนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปกครองนักเรียน จะเปรียบเทียบความผิดและลงโทษตามระเบียบนี้และระเบียบอื่นตามที่เห็นสมควร ข้อ 6 ผลของการตัดคะแนนความประพฤติ 6.1 ให้คิดคะแนนที่ถูกตัดสะสมในแต่ละระดับการศึกษาแยกเปนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ็ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.2 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติสะสมถึง 20 คะแนนให้เชิญผู้ปกครองนักเรียน มาพบ ครูหัวหน้าระดับชั้น และครูประจำชั้นเพื่อรับทราบผลการตัดคะแนน ความประพฤติของนักเรียนในปกครอง 6.3 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติสะสมตั้งแต่ 20 คะแนนขึ้นไป ถ้ากระทำผิด ถูกตัดคะแนนความประพฤติอีกให้ฝ่ายกิจการนักเรียนแจ้งผู้ปกครองนักเรียนรับทราบ การตัดคะแนนความประพฤติทุกครั้ง 6.4 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติสะสมถึง40คะแนน ให้ทำหนังสือเชิญผู้ปกครอง มาพบ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและครูหัวหน้าระดับเพื่อมาปรึกษาแก้ปัญหา นักเรียนร่วมกัน 6.5 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติสะสมถึง60คะแนน ให้ทำหนังสือเชิญผู้ปกครอง พบรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน เพื่อรับทราบการทำทัณฑ์บนของนักเรียน และให้นักเรียนเข้ารับการอบรมที่ทางฝ่ายกิจการนักเรียนหรือโรงเรียนจัดให้ 6.6 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติสะสมถึง 80 คะแนน ให้เชิญผู้ปกครองมาพบ ผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อรับทราบผลที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติต่อไปคือจะไม่มีสิทธิ์ศึกษา ต่อในชั้นต่อไปและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่มีสิทธิ์เรียนในมัธยมศึกษา ตอนปลายของโรงเรียน 6.7 นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติถึง 90 คะแนน ให้เชิญผู้ปกครองมาพบ ผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อรับทราบผลที่นักเรียนจะต้องถูกพิจารณาให้ย้ายสถานศึกษา 6.8 คะแนนความประพฤติของนักเรียนที่ถูกตัดมีผลต่อการออกใบรับรองความประพฤติ ดังนี้ ไม่ถูกตัดคะแนนเลย เกณฑ์ระดับ ดีมาก ถูกตัดคะแนน 1 - 20 คะแนน เกณฑ์ระดับ ดี ถูกตัดคะแนน 21 - 40 คะแนน เกณฑ์ระดับ ปานกลาง ถูกตัดคะแนน 41 - 60 คะแนน เกณฑ์ระดับ พอใช้ ถูกตัดคะแนน มากกว่า 60 คะแนน ไม่ออกใบรับรองความประพฤติให้
68 ข้อ7การตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนทุกครั้งให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนของฝ่ายกิจการนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูล การตัดคะแนนความประพฤติทำรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ข้อ 8 การลดโทษ นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติจะได้รับการพิจารณาลดโทษให้ในกรณี ที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักเรียน พิจารณาให้นักเรียนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และนักเรียนได้มีการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอและไม่กระทำความผิดอีก โดยคณะกรรมการฝ่ายกิจการ นักเรียนทำเรื่องเสนอผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาลดโทษ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
69 ในกรณีที่ฝำยปกครองของโรงเรียนได้ยึดเครื่องประดับ ที่ท�ำด้วยทองค�ำหรือของมีค่ำอื่น ๆ จำกนักเรียน ขอให้ผู้ปกครอง ติดต่อขอรับคืนภำยใน 7 วัน หลังจำกถูกยึดมิฉะนั้น จะถือว่ำเป็นสมบัติของโรงเรียน 1. จ�าหน่ายหรือมีไว้ครอบครอง สารเสพติด (ทุกประเภท) 2. ลักขโมย 3. เล่นการพนัน 4. ก่อการทะเลาะวิวาททั้งในและนอกโรงเรียน 5. ชู้สาว (มีเพศสัมพันธ์) 6. รีดไถ ข่มขู่ กรรโชกทรัพย์ และสิ่งของต่างๆ จากผู้อื่น 7. มั่วสุมในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่นโรงแรม หรือที่รโหฐาน เป็นต้น 1. ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 2. ท�าลายทรัพย์สินของทางราชการ และผู้อื่น 3. หนีเรียน หนีโรงเรียน หรือหนีชั่วโมงเรียนวิชาต่างๆ 4. มีวัตถุระเบิด หรืออาวุธร้ายแรง ติดตัวหรือซ่อนไว้เพื่อการประทุษร้าย 5. เสพสารเสพติด พักการเรียน ให้ผู้ปกครองน�าไปบ�าบัด ความผิดร้ายแรงต่อไปนี้ ให้เชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อท�าทัณฑบน และรับทราบ ความผิดต่อไปนี้ ถือเปนความผิดร้ายแรง ที่ต้องให้เปลี่ยนสถาพแวดล้อมใหม่ทันทีที่จับได้
70 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียน โรงเรียนจึงกำหนดมาตรการ เป็นระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักเรียนดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยความปลอดภัยของ นักเรียนในโรงเรียน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 นักเรียนจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้ 2.1 นักเรียนต้องมาโรงเรียนให้ทันเวลา ตามที่โรงเรียนกำหนดและเมื่อเลิกเรียน แล้วให้รีบกลับบ้านทันทีหากกระทำกิจกรรมอื่นใดต่อ ทางโรงเรียนอนุญาต ให้อยู่ได้ไม่เกิน เวลา18.00 น.เท่านั้น นอกเหนือจากเวลาที่กำหนดนี้นักเรียน จะต้องขออนุญาตต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมายเปนกรณี ็ ไป และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้า 2.2 ในกรณีที่โรงเรียนมีกิจกรรมพิเศษซึ่งต้องใช้เวลานอกเหนือจากเวลาเรียนปกติ โรงเรียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบล่วงหน้าเพื่อขออนุญาต ก่อนทุกครั้ง 2.3 ห้ามนักเรียนนำเครื่องประดับ หรือของมีค่ามาโรงเรียน เพราะอาจจะทำให้ นักเรียนได้รับอันตรายหรือเกิดสูญหายได้หากนักเรียนคนใดฝ่าฝืนระเบียบนี้ และของเกิดสูญหายทางโรงเรียนจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆ 2.4 ให้นักเรียนแจ้งผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นที่ประสงค์จะมาติดต่อธุระ หรือเพื่อรับ นักเรียนซึ่งเป็นบุตรหลาน ให้ติดต่อที่อาคารประชาสัมพันธ์เพื่อที่เจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนจะได้แจ้งให้นักเรียนทราบ ห้ามผู้ปกครองหรือญาติที่ต้องการพบ นักเรียนขึ้นบนอาคารเรียนหรือเดินตามหานักเรียนเองและให้ผู้ปกครองหรือ ญาติรอพบนักเรียนที่อาคารประชาสัมพันธ์
71 ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี 2.5 กรณีที่ผู้ปกครองนำรถมารับ-ส่งนักเรียน ให้จอดรถรับ-ส่งที่บริเวณถนนใหญ่ หน้าโรงเรียน ห้ามนำรถมาจอดขวางบริเวณหน้าประตูโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อ ความสะดวกในการจราจรและห้ามนำรถเข้ามารับ-ส่งภายในบริเวณโรงเรียน (ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยที่ไม่สามารถเดินด้วยตนเอง) 2.6 ห้ามนักเรียนเข้า-ออกทางประตูทางทิศตะวันออก
72 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการเรียนและการใช้อาคารเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของโรงเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้มีลักษณะที่จะ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่ดีทางโรงเรียนจึงวางระเบียบว่าด้วยการเรียน และการใช้อาคารเรียน ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยการเรียนและการใช้ อาคารเรียน พ.ศ.2566” ข้อ 2 นักเรียนจะต้องปฏิบัติตนในการเรียนและการใช้อาคารเรียน ดังนี้ 2.1 เมื่ออยู ่ในเวลาเรียนไม ่ว ่าครูจะอยู ่ในห้องสอนหรือไม ่นักเรียนจะต้องนั่ง ประจำโต๊ะให้เรียบร้อย และต้องรักษาระเบียบวินัยของห้องเรียนอย ่าง เคร่งครัดการลุกเดินหรือออกนอกห้องเรียนและส่งเสียงอึกทึกไม่ใช่วิสัยของ นักเรียนที่ดีจะพึงกระทำ 2.2 ระหว่างเรียน หากมีความประสงค์จะออกนอกห้องเรียนจะต้องขออนุญาต ครูผู้สอนก่อน 2.3 นักเรียนพึงตั้งใจเรียน เชื่อฟังคำสอนของครูผู้สอนด้วยความเคารพ และไม่แสดงกริยาที่ไม่สมควร 2.4 คาบเรียนใดที่นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนได้ต้องแจ้งให้ครูผู้สอนในคาบเรียน นั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษร หรือขออนุญาตครูด้วยตนเองก่อน 2.5 เมื่อต้องเปลี่ยนห้องเรียนระหว่างคาบเรียนให้เดินแถวอย่างมีระเบียบ 2.6 นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาดห้องเรียน ให้ทิ้งกระดาษหรือสิ่งของที่ ไม่ใช้อื่นๆ ลงในถังขยะ 2.7 ห้ามนักเรียนเก็บหนังสือเรียน ทิ้งเศษกระดาษหรือสิ่งของอื่นๆไว้ในโต๊ะเรียน ทางโรงเรียนขอสงวนสิทธิ์ที่จะรักษาห้องเรียนให้เป็นระเบียบ 2.8 ห้ามนักเรียนนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดขึ้นไปรับประทานในห้องเรียน หรือบนอาคารเรียน 2.9 ห้ามนักเรียนเล่นฟุตบอลตะกร้อ ปิงปองวิ่งไล่จับ และเกมอื่นๆในห้องเรียน หรือบนอาคารเรียน
73 2.10 ห้ามนักเรียนใส่รองเท้าขึ้นบนอาคารเรียน ให้ถอดและถือขึ้นไปวางไว้หน้า ห้องเรียนให้เรียบร้อย หรือเก็บใส่ช่องซึ่งทำไว้เฉพาะที่กระเป๋าของนักเรียน ต้องทำเครื่องหมายหรือเขียนชื่อไว้ที่รองเท้าด้านในให้ชัดเจนด้วย 2.11 นักเรียนมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติของโรงเรียนการทำลายสิ่งของ ในห้องเรียน การขีดเขียนฝาฝนังและโต๊ะเรียนรวมทั้งการทำลายอุปกรณ์อื่นๆ ถือเป็นความผิด 2.12 ห้ามนักเรียน ปิดและหรือล็อคประตูห้องเรียนและไม่อนุญาตให้นักเรียนอยู่ ในห้องตามลำพัง ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
74 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการร่วมกิจกรรมของนักเรียน เพื่อให้การจัดกิจกรรมของโรงเรียนลำปางกัลยาณีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อนักเรียนทุกคน ทางโรงเรียนจึงวางระเบียบและแนวปฏิบัติของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม กับทางโรงเรียน ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยกิจกรรมของนักเรียน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 นักเรียนต้องปฏิบัติตน ดังนี้ 2.1 นักเรียนทุกคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้ 2.2 เมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมด้านกีฬานักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมเปนนักกีฬาหรือ ็ เชียร์หรือผู้สนับสนุนการเชียร์ตามแต่ความสามารถและความเหมาะสมของ แต่ละบุคคล 2.3 เมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมนันทนาการใดๆ นักเรียนต้องเข้าร ่วมกิจกรรม นันทนาการนั้นๆ ตามความสามารถและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 2.4 เมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมทางด้านพุทธศาสนา นักเรียนที่นับถือพุทธศาสนา ทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความพร้อมเพรียงและปฏิบัติตามได้อย่าง ถูกต้องตามแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี 2.5 เมื่อมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์ต ่างๆขอความร ่วมมือ จากนักเรียน ให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความสมัครใจ ข้อ 3 นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดให้โดยไม่แจ้งเหตุผลอันควรแก่ครู ผู้ควบคุมกิจกรรมนั้นๆ ทราบ โรงเรียนจะถือว่านักเรียนผู้นั้นขาดการร่วมกิจกรรมตามที่โรงเรียน กำหนด ซึ่งจะมีผลให้นักเรียนผู้นั้นไม่ผ่านกิจกรรมตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
75 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการกระท�ำความดี เพื่อให้นักเรียนที่กระทำความดีหรือสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรยกย่อง ชมเชยอย ่างยิ่งโรงเรียนจึงสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนทำความดีและได้จัดวางระเบียบโรงเรียน ลำปางกัลยาณีว่าด้วยการกระทำความดีของนักเรียนขึ้น และให้ใช้ระเบียบฉบับนี้เพื่อเป็นแนวทาง ปฏิบัติต่อไป ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยการกระทำความดีของ นักเรียน พ.ศ. 2566” ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนลำปางกัลยาณี “ผู้อ�ำนวยการ” หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี “รองผู้อ�ำนวยการ” หมายถึง รองผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี “ครู” หมายถึงครูที่เปนข้าราชการประจ ็ ำและครูอัตราจ้างชั่วคราวในปัจจุบัน “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนลำปางกัลยาณี “ผู้ปกครอง” หมายถึง ผู้ที่ได้ลงชื่อเปนผู้ปกครองนักเรียนในเอกสารมอบตัว ็ นักเรียนที่ให้ไว้กับทางโรงเรียน ข้อ 2 การบันทึกความดีให้ยึดแนวปฏิบัติดังนี้ 2.1 เมื่อครูพบเห็นหรือได้รับแจ้งว ่า นักเรียนกระทำความดีให้รายงานเป็น ลายลักษณ์อักษรตามแบบฟอร์มแจ้งพฤติกรรมนักเรียน โดยระบุพฤติกรรม ความดีวัน เวลา และสถานที่ที่นักเรียนกระทำความดีนั้น 2.2 ส่งแบบแจ้งการกระทำความดีที่ครูหัวหน้าระดับชั้นนั้นๆหรือที่ห้องปกครอง 2.3 ครูหัวหน้าระดับชั้นนั้น แจ้งการกร ะทำความดีของนักเรียนให้ครูประจำชั้น ของนักเรียนผู้นั้นทราบ และส่งรายละเอียดให้รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ นักเรียน 2.4 ให้ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนเปนผู้พิจารณาอนุมัติเพิ่มคะแนน ็ ความประพฤติของนักเรียนที่กระทำความดีนั้นตามระเบียบนี้ 2.5 แจ้งผู้ปกครองทราบความดีที่นักเรียนกระทำ
76 รหัส ลักษณะพฤติกรรม ค่าคะแนน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 เก็บของ/เงิน มูลค่าไม่เกิน 100 บาท เก็บของ/เงิน มูลค่าไม่เกิน 500 บาท เก็บของ/เงิน มูลค่าไม่เกิน 2,000 บาท เก็บของ/เงิน มูลค่าเกิน 2,000 บาท ได้รับการยกย่องจากชุมชน กรณีต่างๆ ชนะการแข่งขันต่างๆ ภายในโรงเรียนที่ 1-3 ชนะการแข่งขันต่างๆ ภายนอกโรงเรียนที่ 1-3 หัวหน้าห้อง ของแต่ละปีการศึกษา รองหัวหน้าห้อง ของแต่ละปีการศึกษา กรรมการห้องเรียน ของแต่ละปีการศึกษา ประธานคณะกรรมการนักเรียน รองประธานคณะกรรมการนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธาน/รองประธาน สีต่างๆ ตัวแทนของนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ เข้าร่วมอบรมตามที่โรงเรียนหรือฝ่ายกิจการนักเรียนจัดให้ ทำความดีอื่นตามที่ฝ่ายกิจการนักเรียนเห็นชอบ 2 3 5 10 10 5 10 15 10 7 25 20 15 20 5 10 10 ข้อ 3 ความดีที่เพิ่มคะแนนความประพฤติให้ เพื่อให้การดำเนินการส ่งเสริมการกระทำความดีของนักเรียนให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและเหมาะสม โรงเรียนจึงได้กำหนดการกระทำต่างๆ ที่เป็นความดีสำหรับการบันทึก ค่าคะแนนความประพฤติไว้ดังนี้
77 ข้อ 4 ความดีลักษณะอื่น นอกเหนือจากที่ระบุในระเบียบนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะ กรรมการกิจการนักเรียนจะเปรียบเทียบความดีและคิดเปนค่าคะแนนตามระเบียบนี้ ็ ตามที่เห็นสมควร ข้อ 5 ผลของการเพิ่มคะแนนความประพฤติ 5.1 ให้คิดคะแนนที่เพิ่มสะสมในแต ่ละระดับการศึกษา แยกเป็นระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5.2 นักเรียนที่ได้รับการเพิ่มคะแนนความประพฤติสะสมถึง70คะแนน ให้โรงเรียน จัดทำโล่และมอบประกาศเกียรติคุณ “คนดีศรีกัลยา” 5.3 นักเรียนที่ได้รับการเพิ่มคะแนนความประพฤติสะสมถึง 50 คะแนนโรงเรียน จัดทำและมอบใบประกาศเกียรติคุณ “คนดีศรีกัลยา” 5.4 นอกเหนือจากที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฝ่ายกิจการ นักเรียน โดยความเห็นชอบจากผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
78 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยบัตรประจ�ำตัวนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีบัตรประจำตัวที่จะแสดงสถานะของความเปนนักเรียน ็ และสามารถใช้สิทธิ แห่งการเปนนักเรียนของโรงเรียนล ็ ำปางกัลยาณีได้อย่างเต็มภาคภูมิโรงเรียนจึงขอปรับปรุงบัตรประจำตัว นักเรียนใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและการใช้ประโยชน์โดยให้มีความคงทน สวยงาม ตลอดจน แสดงถึงความเปนเอกลักษณ์ของโรงเรียน ็ ดังนั้นโรงเรียนจึงวางระเบียบเกี่ยวกับบัตรประจำตัวนักเรียน ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยบัตรประจำตัวนักเรียน พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ในระเบียบนี้ “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนลำปางกัลยาณี “พ้นจากสภาพการเป็นนักเรียน” หมายถึง การพ้นจากสภาพการเป็น นักเรียนตามระเบียบของโรงเรียนลำปางกัลยาณีว่าด้วยสถานภาพการเปนนักเรียน ็ “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนลำปางกัลยาณี “ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน” หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี “ฝ่ายปกครอง” หมายถึง รองผู้อำนวยการฝ ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนลำปางกัลยาณี ข้อ 3 นักเรียนต้องมีบัตรประจ�ำตัวนักเรียนทุกคน ข้อ 4 บัตรประจ�ำตัวนักเรียน เป็นบัตรชนิดพลาสติกแข็ง มีสองหน้า โดยให้มีรูปแบบ เป็น ไปตามรูปแบบแนบท้ายระเบียบนี้ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ด้านหน้า 1. มีตราสัญลักษณ์และชื่อโรงเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. ชื่อ และนามสกุล นักเรียน 3. วันที่ออกบัตร และวันที่บัตรหมดอายุ 4. เลขประจำตัวนักเรียน เลขประจำตัวประชาชนพร้อมแถบเส้นเครื่องหมายบาร์โค้ด 5. ลายมือชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน และตราประทับของโรงเรียน
79 ด้านหลัง 6. แจ้งเงื่อนไขการใช้บัตร 7. ลายมือชื่อนักเรียนเจ้าของบัตร 8. ที่ตั้งและโทรศัพท์ของโรงเรียน ข้อ 5 บัตรประจ�ำตัวนักเรียนให้มีอายุบัตรไม่เกิน 3 ปีนับถึงวันปิดภาคเรียนที่ 2 ข้อ 6 เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน หมดสิทธิ์ที่จะใช้บัตรประจำตัวนักเรียนทันที ข้อ 7 การใช้บัตรประจ�ำตัวนักเรียน 7.1. แสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง เมื่อมีการติดต่อกับโรงเรียน 7.2. แสดงบัตรทุกครั้งเมื่อมีการขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน 7.3. แสดงบัตรทุกครั้งเมื่อมีการสอบ 7.4. แสดงบัตรทุกครั้งเมื่อมีการซื้ออาหารและสินค้าภายในโรงเรียน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
80 ระเบียบข้อบังคับโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยสภาพการเป็นนักเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบว ่าด้วยการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2524โดยกำหนดว่าผู้เข้าเรียนจะมีสภาพเปนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือมัธยมศึกษา ็ ตอนปลาย ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามระเบียบการของสถานศึกษานั้นๆ ได้ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว ่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา พ.ศ. 2524 และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อ 11 และ 12 โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง จึงกำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้ ข้อ 1. การมีสภาพเป็นนักเรียน นักเรียนทุกคนจะมีสภาพเป็นนักเรียนก็ต่อเมื่อได้มาลง ทะเบียนเรียนตรงตามเวลาที่โรงเรียนกำหนดไว้ ข้อ 2. การมีบัตรประจ�ำตัวนักเรียน นักเรียนทุกคนจะต้องมีบัตรประจำตัวนักเรียนตาม แบบของโรงเรียน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงสภาพการเป็นนักเรียน สำหรับใช้ประกอบการลงทะเบียน การเข้าห้องสอบ การใช้บริการต่างๆ ของโรงเรียนและต้องนำบัตรดังกล่าวติดตัวไว้พร้อมที่จะตรวจ ได้เสมอ นักเรียนที่จะทำบัตรประจำตัวนักเรียนให้ติดต่อทำบัตรได้ที่งานแผนงานโรงเรียนโดยต้อง แต่งเครื่องแบบนักเรียนให้เรียบร้อย ข้อ 3. การพ้นสภาพการเป็นนักเรียน ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังต่อไปนี้ 3.1 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3.2 ลาออก 3.3 ถึงแก่กรรม 3.4 ออกตามระเบียบและข้อตกลงที่ให้ไว้กับโรงเรียน 3.5 ถูกตัดคะแนนความประพฤติถึง90คะแนนสำหรับผู้ที่มีเวลาครบ3ปีของหลักสูตร หรือถูกตัดคะแนน 60คะแนน สำหรับผู้ที่เข้าระหว่างปีที่2 หรือเหลือเวลาเรียน อีก 2 ปีหรือถูกตัดคะแนนถึง 30 คะแนน สำหรับผู้ที่เข้าระหว่างปีที่ 3 หรือ เหลือเวลาเรียนอีก 1 ปี 3.6 ไม่มาลงทะเบียนเรียนตามวันเวลาที่โรงเรียนกำหนดและหรือขาดเรียนติดต่อกัน เกินกว่า15วันซึ่งทางโรงเรียนได้แจ้งให้ผู้ปกครองทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แล้ว 2 ครั้ง
81 3.7 ไม ่มีผู้ปกครองตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องผู้ปกครองนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2522 ที่จะสามารถดูแลความประพฤติและการเล่าเรียนทางบ้าน หรือผู้ปกครองที่ไม ่มาติดต ่อกับทางโรงเรียนภายในเวลาอันสมควร โดยที่ ทางโรงเรียนได้แจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 (นายวิโรจ หลักมั่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี
82 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษา โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องผู้ปกครองนักเรียน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อที่ 23 แห ่งประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 216 ลงวันที่29กันยายน 2525จึงได้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องผู้ปกครองนักเรียน ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2503 และให้ผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษาที่กำลังรับการศึกษาระดับต่ำกว่า ปริญญาตรีสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติดังนี้ 1. ผู้ปกครอง หมายความว่า บุคคลที่ซึ่งรับนักเรียน หรือนักศึกษาไว้ในความปกครองหรือ อุปการะเลี้ยงดูหรือบุคคลที่นักเรียน หรือนักศึกษาอาศัยอยู่ 2. ให้นักเรียน นักศึกษากำลังรับการศึกษาในหลักสูตรระดับ ปวส., ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่า ลงมาในสถานการศึกษาในสังกัด หรือในความควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการเว้นแต่การศึกษา ผู้ใหญ่ มีผู้ปกครองตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ 3. ในวันมอบตัวนักเรียน นักศึกษาใหม่ให้ผู้ปกครอง มามอบตัวนักเรียนนักศึกษาที่สถานศึกษา พร้อมกับส่งหลักฐานเอกสารต่างๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด ถ้าผู้ปกครองไม่อาจมามอบตัวนักเรียน นักศึกษาได้ตามกำหนดให้ผู้ปกครองตกลงกับหัวหน้าสถานศึกษากำหนดมอบตัวนักเรียน นักศึกษาใหม่ 4. ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อควบคุมความประพฤติและการศึกษาเล่าเรียน โดยให้นักเรียน นักศึกษา แต่งกายแต่งเครื่องแบบ และความประพฤติตนตามระเบียบข้อบังคับ หรือ คำสั่งของสถานศึกษา และหรือของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่กฎหมายกำหนด 5. ผู้ปกครองควรติดต ่อกับสถานศึกษาอยู ่เสมอ เพื่อจะได้ทราบปัญหาต่างๆเกี่ยวกับ การศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และได้ช่วยสถานศึกษาแก้ปัญหานั้นๆ 6. เมื่อผู้ปกครองย้ายที่อยู่ หรือความเปนผู้ปกครองสิ้นสุดลงด้วยประการใดๆ ็ ให้ผู้ปกครอง แจ้งให้สถานศึกษาทราบ 7. สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่รับเข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาแล้วให้สถานศึกษาตรวจสอบ ติดตามหลักฐานการเป็นผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา หากเห็นว่านักเรียน นักศึกษาคนใดมีผู้ปกครอง ไม่เหมาะสมก็ให้สถานศึกษาดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์2522 นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
83 การบริการเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์ เมื่อมีจดหมาย จดหมายลงทะเบียน ธนาณัติหรือพัสดุของนักเรียนส่งมาถึงโรงเรียน ให้น�ำส่งและรับได้ที่งานพฤติกรรมนักเรียนเท่านั้น ความเป็นมาของเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2538ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา12แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491โดย เริ่มดำเนินการให้กู้ยืมเงินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2539 ต่อมารัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป โดยกองทุนจะนำระบบการจัดการให้กู้ยืมเงิน Loan Origination System : LOS ซึ่ง เป็นระบบงานหนึ่งของระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล Digital Student Loan Fund System : DSL มาใช้ดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับนักเรียน ผู้ขอกู้ยืมเงินแทนระบบ e-Studentloan วัตถุประสงค์ของกองทุนเงินเพื่อให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กยศ.มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเปนค่าเล่าเรียน ็ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำเปนในการครองชีพระหว่างการศึกษาในมัธยมศึกษา ็ ตอนปลายระดับอาชีวศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำเปนในการครองชีพระหว่างการศึกษาอย่างทั่วถึง ็ ช่วยแบ่ง เบาภาระด้านการเงิน จนสามารถศึกษาเล่าเรียนได้จนสำเร็จตามหลักสูตร มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ สังคม รวมถึงการมีจิตสำนึกในการชำระหนี้คืนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับรุ่นน้องต่อไป กองทุนเงินเพื่อให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
84 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินกองทุน 1. รายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปีเตรียมหลักฐาน หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ สลิปเงินเดือน เว้นแต่ครอบครัวที่ไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้จาก กยศ. 2. เปนผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา ็ เตรียมหลักฐาน แสดงผลการเรียน 3. เป็นผู้มีความประพฤติดีไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้ที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียเช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น 4. เปนผู้ที่ท ็ ำประโยชน์แก่สังคมหรือสาธารณะในระหว่างปีการศึกษากรณีเปนผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ็ ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปีทุกระดับการศึกษาไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง ขั้นตอนการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชองทางการเข้าใช้งานระบบกองทุนเงินให้กู ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล DigitalStudentLoan Fund System: DSL สามารถเขาระบบได2 ชองทาง ดังนี้ - Mobile Application ไดทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android - เว็บไซต์กองทุน https://institute.dsl.studentloan.or.th/#/los/login 1.1 การยื่นคำขอกูยืมเงิน - นักเรียน ผู้ขอกูยืมเงินลงทะเบียนขอรับรหัสเข้าใช้งาน กยศ.Connect / ระบบกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (DSL) และยื่นคำขอกูยืมเงินพรอมแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอกูยืมเงินที่ ลงนามเรียบร้อยแล้ว ลงในระบบ ดังนี้ 1.1.1 หนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูล (ดาวนโหลดไดจากระบบ DSL) - ผู้กูยืมเงิน - บิดา มารดา (กรณีบิดา มารดาเสียชีวิต ให้ใช้เอกสารของ ผู้ปกครอง) 1.1.2 สำเนาบัตรประชาชน - ผู้กูยืมเงิน - บิดา มารดา (กรณีบิดา มารดาเสียชีวิต ให้ใช้เอกสารของ ผู้ปกครอง) 1.1.3 เอกสารอื่นๆ ตามที่ระบบ DSL กำหนด เช่น หนังสือรับรองรายได (กรณีที่ต้องแนบ เพิ่มเติม) เป็นต้น 1.2 การอนุมัติคำขอกูยืมเงิน -อนุมัติโดยระบบ กรณีที่ระบบตรวจสอบพบข้อมูลรายไดจากหน่วยงานภายนอก/ตรวจสอบพบ ข้อมูลอื่นๆ ซึ่งข้อมูลที่พบเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด -อนุมัติโดยกองทุน กรณีระบบตรวจสอบไมพบข้อมูลรายไดจากหน่วยงานภายนอก/ตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลอื่นๆ กองทุนจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามเอกสารหลักฐานที่ผู้กูยืมเงินส่งเพิ่มเติม 1.3 การเปิดบัญชี ให้นักเรียนที่ไดรับอนุมัติให้กูยืมเงิน นำหนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้ กูยืมเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา (ฉบับจริง) (กยศ.104) และบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ไปติดต่อ
85 ที่ธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับสถาบันการเงินที่กองทุนกําหนด ปัจจุบัน ได้แก่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อรับการโอนเงินค่าครองชีพรายเดือน 1.4 การจัดทําสัญญากู้ยืมเงิน - ให้ผู้กู้ยืมเงินและผู้แทนโดยชอบธรรม/ผู้ปกครอง (กรณีผู้กู้ยืมเงินยังไม่บรรลุนิติภาวะ) จัดเตรียม สัญญากู้ยืมเงินจากระบบ DSL บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนพร้อม รับรองสําเนาถูกต้อง (บัตรต้องไม่หมดอายุ) จํานวน 2 ชุด ติดต่อกับสถานศึกษาเพื่อทําการยืนยันตัวตน และลงนามสัญญากู้ยืมเงิน ภายในระยะเวลาที่กําหนด สิ่งส�าคัญ ลายมือชื่อทุกแห่งจะต้องเหมือนกัน ทุกฉบับ 1.5 ตรวจสอบสัญญา สถานศึกษาตรวจสอบสัญญา ข้อความครบถ้วนของลายมือชื่อ ความถูกต้องของลายมือชื่อ ห้าม มิให้ มีการใช้นํ้ายาลบคําผิด พิมพ์ใบนําส่งและจัดเรียงตามลําดับ นําเสนอผู้อํานวยการลงนาม ตรวจสอบ การลงนามอีกครั้งหนึ่ง เตรียมจัดส่งให้แก่ธนาคารกรุงไทยสํานักงานใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน 1.6 การเบิกเงินกู้ยืม (รายภาคเรียน)* นักเรียนได้กรอกบัญชีธนาคารที่จะให้เงินเข้าในสัญญากู้ยืมเงิน เงินจะโอนเข้าตามบัญชีนั้น และ สามารถตรวจสอบขั้นตอนการดําเนินการต่างๆ ของเอกสารว่าอยู่ในขั้นตอนใด โดยเช็คระบบได้ด้วยตนเอง และหากมีปัญหาตามที่ระบบแจ้งให้ปรึกษางานแนะแนว แต่หากมีการแจ้งเอกสารเรียบร้อยแต่ไม่ได้รับเงิน สามารถโทรศัพท์ติดต่อโดยตรงกับทาง กยศ. หมายเหตุ การโอนเงินเดือนแรก นักเรียนจะได้รับทันทีที่โรงเรียนดําเนินการเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน ส่วนเดือน ต่อๆไป ต้องให้ระยะเวลา กยศ.ตรวจสอบเอกสารตามคิวของแต่ละโรงเรียนที่ส่งไป ประมาณ 2 เดือนหลัง จากส่งเอกสาร แนวปฏิบัติของนักเรียน ผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ ที่จะต้องถือปฏิบัติ ดังนี้ 1. ดําเนินการกู้ยืมเงินตามกําหนดระยะเวลาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้น ท่านอาจเสียสิทธิ์ 2. มาแสดงความประสงค์ขอกู้ยืมเงินกองทุนฯและยืนยันการลงทะเบียนทุกภาคเรียน 3. ติดตามกําหนดการดําเนินงานกองทุนฯ ที่ www.studentloan.or.th ตลอดเวลา คุณสมบัติผู้แทนโดยชอบธรรม/ผู้ปกครอง 1. บิดา มารดา 2. กรณีบิดา หรือ มารดา เสียชีวิต ให้ผู้ปกครองที่รับอุปการะเลี้ยงดูลงนามแทน 3. บุคคลที่ประกอบอาชีพมีรายได้ที่น่าเชื่อถือ 4. กรณีคู่สมรสของผู้คํ้าประกันไม่ให้ความยินยอมให้ผู้คํ้าประกันลงนามฝ่ายเดียวได้ 5. กรณีไม่มีผู้คํ้าประกัน ให้ใช้หลักทรัพย์แทนได้ คุณสมบัติของผู้รับรองรายได้ 1. ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2. ผู้บริหารสถานศึกษา 3. ผู้ปกครองท้องถิ่น ระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป ***ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร กยศ.โรงเรียนล�าปางกัลยาณี***
86 ทุนการศึกษา – ทุนนักเรียนยากจน โรงเรียนลําปางกัลยาณี ได้จัดทุนการศึกษาบริการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยแบ่งออกเปน 2 ประเภท คือ 1. ทุนการศึกษา ทางโรงเรียนพิจารณาให้ทุนการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ทุนละ 1,500 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย ทุนละ 3,000 บาท โดยได้รับอนุเคราะห์จากผู้มี จิตศรัทธาบริจาค และดอกผลจาก กองทุนมูลนิธิ องค์กร หน่วยงานเอกชนที่บริจาคให้ รวมทั้งเงินอุดหนุนจาก สพฐ. 2. ทุนนักเรียนยากจน โดยได้รับจัดสรรเงินทุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สําหรับ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้การประเมินจาก ข้อมูล 2 ประเภทดังนี้ 2.1 ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือนต่อคนต่อเดือน พิจารณารายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน 2.2 ข้อมูลสถานะครัวเรือน 4 ด้านได้แก่ 1) จํานวนสมาชิกครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิง (พิการหรือไม่มีรายได้) 2) สภาพที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม ไม่มั่นคงปลอดภัย 3) ไม่มีรถยนต์ 4) หากเปนเกษตรกร ต้องมีที่ดินทํากินไม่เกิน 1 ไร่ แนวทางการขอรับทุนการศึกษา – ทุนนักเรียนยากจน โรงเรียนลําปางกัลยาณีได้กําหนดแนวทางสําหรับนักเรียนที่จะขอรับทุนไว้ดังนี้ 1. นักเรียนขอแบบสมัครขอรับทุนการศึกษา ได้ที่ห้องแนะแนว (122 อาคารกัลยารัตน์) 2. นักเรียนบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มการขอทุนให้เรียบร้อย ติดรูปถ่าย 1 รูป ให้ผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษา ลงชื่อรับรอง แล้วนําแบบฟอร์มการขอทุนไปยื่นต่อครูแนะแนวที่ห้องแนะแนว 3. คณะกรรมการ / ครูแนะแนว พิจารณาผู้ขอรับทุน โดยการสัมภาษณ์นักเรียน สอบถามครูที่ ปรึกษา ข้อมูลการเยี่ยมบ้านนักเรียน 4. คณะกรรมการเสนอชื่อผู้ได้รับการพิจารณาต่อ ผู้บริหารเพื่ออนุมัติ ประกาศและมอบทุนการ ศึกษาให้ตามโอกาสอันสมควรต่อไป
87 การให้บริการงานอนามัยโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี งานอนามัยโรงเรียนได้มีบริการแก่นักเรียนในโรงเรียน ดังนี้ มีหน้าที่ให้การบริการด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และบริการประกัน อุบัติเหตุกลุ่มนักเรียน ให้กับนักเรียนทุกคน 1. บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เมื่อนักเรียนเจ็บป่วย ทางงานอนามัยจะทำการรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้หาก นักเรียน มีอาการมากหรือรุนแรง งานอนามัยจะดำเนินการแจ้งผู้ปกครองมารับกลับ เพื่อดำเนินการ รักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิกต่อไป
88 2. บริการประกันอุบัติเหตุ นักเรียนทุกคน ( ม.1 – ม.6 ) ที่ชำระเบี้ยประกันอุบัติเหตุการเกิดอุบัติเหตุแบ่งได้2 กรณีดังนี้ 1. ในโรงเรียน กรณีที่อุบัติเหตุเล็กน้อยงานอนามัยจะปฐมพยาบาลเบื้องต้น และหากอุบัติเหตุ ร้ายแรงทางงานอนามัยโรงเรียน นำนักเรียนส่งโรงพยาบาลที่เปิดบริการคู่สัญญากับบริษัทประกัน เพื่อทำการ รักษาต่อไป พร้อมทั้งแจ้งผู้ปกครองรับทราบ 2. นอกโรงเรียน นักเรียนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล และทุกคลินิก แล้วนำใบเสร็จรับเงินพร้อมใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง) ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน,ถ่ายสำเนาบัตร ประชาชน และถ่ายสำเนาบัตรประกันอุบัติเหตุ ไปตั้งเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ที่ห้องพยาบาลโรงเรียน แต่ถ้า เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ที่ทางบริษัทประกันได้เปิดบริการคู่สัญญาไว้ไม่ต้องชำระเงินเพราะทางบริษัทฯ ได้ตกลงกับโรงพยาบาลไว้แล้ว และจะได้รับความคุ้มครองตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่ทำประกันอุบัติเหตุ ไว้กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบริษัทฯจ่ายชดเชยให้ตามจำนวนที่ได้ทำสัญญากรมธรรม์การประกันอุบัติเหตุ ในปีการศึกษา2566โรงเรียนได้ทำประกันอุบัติเหตุกับ บริษัท สยามสไมล์โบรกเกอร์(ประเทศไทย) จำกัด โดยนักเรียนเป็น ผู้ชำระเบี้ยประกันคนละ 300 บาท เริ่มคุ้มครองวันที่8 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 โดยใช้บัตรประจำตัวนักเรียน,บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประกันอุบัติเหตุยื่นที่ โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา มีความคุ้มครองจากการรักษาพยาบาล10,000 บาท/ครั้งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จ่าย 100,000 บาท ซึ่งมีรายละเอียดการเบิกค่ารักษาพยาบาล ดังนี้ 1. กรณีนักเรียนเกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ หรือยานพาหนะให้เบิก พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน ส่วนที่เหลือให้มาเบิกกับประกันอุบัติเหตุนักเรียน (ค่ารักษาพยาบาล เบื้องต้นจาก พ.ร.บ. เบิกได้ไม่เกิน 30,000 บาท) 2. กรณีนักเรียนเกิดอุบัติเหตุเช่น แขนหัก ขาหัก มีดบาด สุนัขกัด แมวกัด แมลงมีพิษทุกชนิดกัด ฯลฯ (ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์หรือยานพาหะนะ) ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง แต่ ไม่เกิน 10,000 บาท ตามความคุ้มครอง 3. กรณีเสียชีวิต 3.1 เสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดยความรับผิดชอบของสถานศึกษาคุ้มครอง2เท่า 200,000 บาท วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท/ปี 3.2 เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทั่วไป 100,000 บาท 3.3 เสียชีวิตเนื่องจากขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ 100,000 บาท 3.4 เสียชีวิตเนื่องจากถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย 100,000 บาท 3.5 เสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ (ค่าปลงศพ) 10,000 บาท 4. ทุพพลภาพโดยถาวร (100%) 100,000 บาท 5. กรณีสูญเสียอวัยวะ จากอุบัติเหตุ 5.1 สูญเสียอวัยวะ (แขน,ขา,ตา) 2 ข้างขึ้นไป จ่าย 100,000 บาท 5.2 สูญเสียอวัยวะ (แขน,ขา,ตา) 1 ข้างขึ้นไป จ่าย 60,000 บาท
89 5.3 หูหนวก 2 ข้าง หรือเป็นใบ้ จ่าย 50,000 บาท 5.4 สูญเสียนิ้วหัวแม่มือ 2 ข้อ จ่าย 25,000 บาท 5.5 หูหนวก 1 ข้าง จ่าย 15,000 บาท 5.6 สูญเสียนิ้วหัวแม่มือ 1 ข้อ จ่าย 10,000 บาท 5.7 สูญเสียนิ้วชี้3 ข้อ จ่าย 10,000 บาท 5.8 สูญเสียนิ้วชี้2 ข้อ จ่าย 8,000 บาท 5.9 สูญเสียนิ้วชี้1 ข้อ จ่าย 4,000 บาท 5.10 สูญเสียนิ้วอื่นๆ แต่ละนิ้ว (ไม่น้อยกว่า 2 ข้อ) จ่าย 5,000 บาท นอกจากหัวแม่มือและนิ้วชี้ 5.11 สูญเสียนิ้วหัวแม่เท้า จ่าย 5,000 บาท 5.12 สูญเสียนิ้วเท้าอื่นๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ข้อ) จ่าย 1,000 บาท นอกจากนิ้วหัวแม่เท้า 6. กรณีไม่ใช้สิทธิประกันอุบัติเหตุกลุ่มนักเรียน ทางบริษัทมอบสิทธิพิเศษ เบิกค่าชดเชยกรณีใช้สิทธิ อื่นที่ไม่ใช่ค่ารักษาจากโครงการตามแผน ดังนี้ 6.1 ค่าชดเชยผู้ป่วยนอก ต่อครั้งอุบัติเหตุ (สำหรับคลินิก และโรงพยาบาล) ครั้งละ 300 บาท สูงสุด 100ครั้ง / ปี 6.2 กรณีผู้ป่วยนอก สถานีอนามัย ต่อครั้งอุบัติเหตุจ่ายครั้งละ 100 บาท สูงสุด 100 ครั้ง/ปี 6.3 ค่าชดเชยผู้ป่วยใน ต่อคืนที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 500 บาท สูงสุด 100 คืน/ปี 7. บริการ FAX Claim ร่วมสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ โรงพยาบาลในเครือข่าย ให้เครดิตใน การรักษาแก่นักเรียนโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่าย จังหวัดลำปาง ได้แก่ โรงพยาบาลเขลางค์นคร-รามล�ำปาง 8.กรณีนักเรียนที่เกิดอุบัติเหตุไปรักษาที่โรงพยาบาลตาม พรบ.คุ้มครองการรักษาพยาบาลถ้าเด็ก นักเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องให้ผู้ปกครองรับรองการรักษาพยาบาล การเบิกค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ทางบริษัทเปิดบริการให้หรือนักเรียนไป รักษาที่คลินิก ให้เตรียมเอกสารดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) 2. ใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง) 3. สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน (รับรองสำเนาถูกต้อง) 4. สำเนาบัตรประกันอุบัติเหตุ (รับรองสำเนาถูกต้อง) 5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) 6. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนค่าประกันอุบัติเหตุ (ให้มารับที่ห้องพยาบาล) 7. นำเอกสารมาตั้งเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ที่ห้องพยาบาลโรงเรียนลำปางกัลยาณี หมายเหตุ นักเรียนจะต้องยื่นบัตรประกันอุบัติเหตุ,บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวนักเรียน ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษากับทางโรงพยาบาลคู่สัญญา
90 3. บริการตรวจสุขภาพ นักเรียนทุกคนจะได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีจากผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน (ยสร.) ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนั้นงานอนามัยโรงเรียนร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ให้นักเรียน ทุกคนวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวัดรอบเอว (ม.4 – ม.6 ภาคเรียนละ 1 ครั้ง) เพื่อเฝ้าระวังภาวะการเจริญ เติบโตไม่สมวัยของนักเรียน 4. ขั้นตอนการใช้ห้องพยาบาล 1. ห้องพยาบาลเปิดให้บริการ 0.7.00 น. – 17.00 น. เว้นวันหยุดราชการ 2. สแกนลายนิ้วมือทุกครั้ง ที่เข้าใช้บริการ 3. เขียน หมายเลขประจำตัว, ชื่อ-นามสกุล,ระดับชั้น,เวลา,อาการเจ็บป ่วย,ยาที่ได้รับ ลงใน แบบบันทึกการใช้บริการ(กรณีที่ได้นอนพักให้ทำเครื่องหมายที่ช่องนอนพักและถ้าออกนอกห้องพยาบาล ให้ลงเวลากลับด้วย 4. แจ้งครูหรือเจ้าหน้าที่ประจำห้องพยาบาลก่อนเพื่อซักถามอาการ (ห้ามหยิบยารับประทานเอง) 5. โปรดแจ้ง โรคประจำตัว,อาการแพ้ยา และชื่อยาที่แพ้ให้ครูและเจ้าหน้าที่ทราบ 6. ห้ามส่งเสียงดังหรือก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่น และผู้ป่วยที่นอนพัก (งดใช้เครื่องมือสื่อสาร ทุกชนิดขณะนอนพัก) 7. ห้ามนำยาไปรับประทานนอกห้องพยาบาล และห้ามรับยาแทนเพื่อน 8. กรณีนอนพักห้องพยาบาล ต้องขออนุญาตครูประจำวิชา ทุกครั้ง 9.กรณีนอนพักห้องพยาบาล ทางห้องพยาบาลจะให้นอนพักครั้งละไม่เกิน 1คาบ (ห้ามเพื่อนนักเรียน เฝ้าอาการ ก่อนได้รับอนุญาต) 10. ห้ามนักเรียนหยิบอุปกรณ์ทำแผลเอง โดยไม่ได้รับอนุญาต 11. การมารับบริการทำแผล แผลเก่าให้ทำในเวลาหลัง 15.00 น. เป็นต้นไป (แผลใหม่ทำได้ ตลอดเวลา) 12. นักเรียนที่เข้ามารับบริการต้องเป็นนักเรียนที่ป่วยจริงเท่านั้น ถ้าตรวจพบว่าไม่ได้ป่วยจริง ทางห้อพยาบาลจะแจ้งงานฝ่ายพัฒนาพฤติกรรมทันที 5. การขอรับบริการนอนพักรักษาในห้องพยาบาล 1. ขอใบอนุญาตจากครูห้องพยาบาล และนำไปให้ครูประจำวิชาลงชื่อรับรองลงในแบบฟอร์ม 2. นักเรียนสามารถนอนพักได้เพียง 1 คาบเรียนเท่านั้น 3. เมื่อนักเรียนออกจากห้องพยาบาล ต้องจัดที่นอนและคลุมเตียงให้เรียบร้อยและลงเวลาออก จาก ห้องออกพยาบาล 4. ห้ามนักเรียนส่งเสียงดังในห้องพยาบาล 5. ห้ามรับประทานอาหาร , ขนม, บนเตียงนอน 6. ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะนอนพัก หมายเหตุ นักเรียนที่เจ็บป่วยหรือมีอาการป่วยมาจากบ้านไม่อนุญาตให้นอนพักที่ห้องพยาบาล ในคาบแรก
91 ระเบียบมารยาทในการใช้โรงอาหาร 1. โรงอาหารเปิดบริการ จำหน่ายอาหารตลอดทั้งวัน เว้นช่วงเวลาทำกิจกรรม / เข้าแถวเคารพ ธงชาติ(ช่วงเวลาทำกิจกรรม / เข้าแถวเคารพธงชาติเวลา 07.45 น. – 08.00 น.) 2. ให้นักเรียนเข้าแถวซื้ออาหารอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ครูบุคลากรและนักเรียน โรงเรียนลำปางกัลยาณีจะต้องใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้ออาหาร ไม่ซื้อด้วยเงินสด โดยบัตรอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถเติมเงินได้ณ จุดเติมเงินที่ทางโรงเรียนกำหนด 4. รักษามารยาทในการรับประทานอาหาร ไม่ทำอาหารหก ตกหล่นบนโต๊ะอาหาร หรือทิ้งเศษ อาหารลงบนพื้นโรงอาหาร 5. ไม่ทิ้งถุงพลาสติกที่ใส่บรรจุอาหารแก้วนำ ้ขวดนำ้พลาสติก หรือเศษขยะต่างๆไว้บนโต๊ะอาหาร ให้นำไปทิ้งลงถังขยะที่จัดเตรียมไว้ภายในโรงอาหาร 6. ให้นักเรียนรับประทานอาหารภายในโรงอาหารเท่านั้น ห้ามมิให้นักเรียนนำอาหาร ขนม ผลไม้ แก้วน้ำดื่มออกไปรับประทานภายนอกโรงอาหาร หรือนำขึ้นไปรับประทานบนอาคารเรียน 7. สถานที่ภายในโรงอาหารคับแคบ ห้ามนักเรียนใช้โรงอาหารเป็นที่นั่ง นอน หรือทำงานส่วนตัว ในช่วงเวลาเปิดให้บริการจำหน่ายอาหารช่วงพักกลางวันโดยเด็ดขาด 8. ไม่นำกระเป๋าหรือสัมภาระสิ่งของ ของตนเข้ามาจับจองโต๊ะเก้าอี้ในโรงอาหารไว้ล่วงหน้าทำให้ ผู้อื่นเสียสิทธิในการใช้โต๊ะเก้าอี้นั่งรับประทานอาหาร ระเบียบการคืนภาชนะ เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้นำภาชนะไปคืนให้ครบถ้วน โดยแยกเศษอาหารลงในถังรองรับ ณ จุดคืนภาชนะในโรงอาหาร ราคาอาหาร 1.ร้านอาหารประเภทข้าว ธรรมดา จานละไม่เกิน 25 บาท พิเศษ จานละไม่เกิน 30 บาท 2.ร้านอาหารประเภทประเภทเส้น ธรรมดา จานละไม่เกิน 25 บาท พิเศษ จานละไม่เกิน 30 บาท 3.ร้านอาหารว่าง ธรรมดา ชุดละไม่เกิน 10 บาท พิเศษ ชุดละไม่เกิน 15 บาท 4.ร้านน้ำผลไม้น้ำหวาน และของหวาน แก้วละไม่เกิน 10 บาท ระเบียบสวัสดิการโรงอาหารโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ว่าด้วยการใช้บริการ สวัสดิการโรงอาหารส�ำหรับนักเรียนโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี
92 ห้องสมุดโรงเรียนลำปางกัลยาณีตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารราชนิทัตวิทยา ประกอบด้วย 4 ห้อง ได้แก่ 1) ห้องหนังสือทั่วไป และห้องสมุดดิจิทัล 2) ห้องวารสาร หนังสือพิมพ์หนังสืออ้างอิง 3) ห้องหนังสือภาษา อังกฤษและบันเทิงคดี4)ห้องมัลติมีเดีย/ห้องเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล/ห้องทูบีนัมเบอร์วัน วัสดุตีพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย ได้แก่ หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์จุลสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นวัสดุสารสนเทศที่ไม่อยู่ในรูปแบบของตัวพิมพ์และสามารถสื่อความหมายของ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ได้โดยอาศัยภาพและเสียงเปนหลัก ็ แบ่งออกเปนประเภทต่าง ็ๆช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น และ กว้างขวางขึ้น เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง วีดิทัศน์ซีดี– รอม ฐานข้อมูล E-book เป็นต้น วิสัยทัศน์ของห้องสมุดโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี ห้องสมุดโรงเรียนลำปางกัลยาณีเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่ได้มาตรฐาน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน ให้บริการ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง สะดวก รวดเร็วและทั่วถึง บริการของห้องสมุดโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี 1. บริการการอ่าน 2. บริการยืม – คืน หนังสือ 3. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด 4. บริการจองหนังสือ จองได้2 วัน 5. บริการให้ยืมถ่ายเอกสาร ให้นักเรียนยื่นบัตรประจำตัวนักเรียน ในการยืมหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ไปถ่ายเอกสาร 6. บริการสืบค้นอินเทอร์เน็ต 7. บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า 8. บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ 9. บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน 10. บริการอินเทอร์เน็ต และอินเทอร์เน็ตไร้สาย 11. บริการห้องมัลติมีเดียสำหรับนักเรียน ให้บริการ วัสดุอุปกรณ์สำหรับศึกษาค้นคว้า รายบุคคล รายกลุ่ม และรายชั้นเรียน โดยผู้ใช้บริการแจ้งล่วงหน้าทุกครั้งก่อนใช้บริการ 12. บริการห้องมัลติมีเดีย สำหรับครูและบุคลากร สำหรับประชุมและจัดกิจกรรม การจัดหมวดหมู่หนังสือ ห้องสมุดโรงเรียนลำปางกัลยาณีจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้(Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. เป็นการจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องเดียวกันไว้หมวดหมู่เดียวกัน และใช้ สัญลักษณ์แทนประเภทหนังสือเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วซึ่งใช้ตัวเลขเปนสัญลักษณ์ ็ ของเนื้อหาแต่ละหมวดหมู่ โดยแบ่งออกเป็น 10 หมวดใหญ่ดังนี้ 000 ความรู้ทั่วไป เบ็ดเตล็ด 500 วิทยาศาสตร์ 100 ปรัชญา จิตวิทยา 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี คู่มือการใช้ห้องสมุด โรงเรียนล�ำปางกัลยาณี
93 200 ศาสนา 700 ศิลปะและนันทนาการ 300 สังคมศาสตร์ 800 วรรณกรรม วรรณคดี 400 ภาษาศาสตร์ 900 ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว และชีวประวัติ สัญลักษณ์พิเศษที่ใช้ในห้องสมุด ห้องสมุดมีการใช้ตัวอักษรแทนเลขหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมดิวอี้แล้ว หนังสือบางประเภทการจัด หมวดหมู่จะพิจารณาจากลักษณะการประพันธ์เช่น ในหมวด 800 ของระบบดิวอี้หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับ วรรณคดีและวรรณกรรม ดังนั้นถ้าหากเปนนวนิยาย ็ ซึ่งมีกลวิธีในการนำเสนอเรื่องคล้ายกัน ก็จัดเปนประเภท ็ เดียวกัน ไม่ได้พิจารณาจากเนื้อเรื่องนวนิยาย สำหรับตัวอักษรที่สัญลักษณ์ใช้แทนเลขหมู่หนังสือ ได้แก่ อ หมายถึง อ้างอิง นว หมายถึง นวนิยายไทย ร.ส. หมายถึง เรื่องสั้น ย หมายถึง หนังสือเด็กและเยาวชน ข หมายถึง คู่มือเตรียมสอบ นอกจากห้องสมุดจะมีสัญลักษณ์พิเศษ เลขหมู่หนังสือ แล้วบริเวณสันหนังสือทุกเล่มยังมีแถบสี ติดไว้เพื่อสะดวกและเป็นระเบียบต่อการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น การจัดเรียงหนังสือบนชั้น การจัดเรียงหนังสือบนชั้นของห้องสมุดจะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนสันหนังสือโดย มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. เรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก 2. เรียงจากซ้ายไปขวา 3. เรียงจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง 4. หนังสือที่มีเลขหมู่ซ้ำกันให้เรียงตามลำดับอักษรย่อผู้แต่ง และอักษรย่อชื่อเรื่องตามลำดับ 5. หนังสือที่มีหลายเล่มจบหรือหลายฉบับ จัดเรียงตามลำดับเลขน้อยไปเลขมาก เช่น ล.1, ล.2, ล.3 หรือ ฉ.1, ฉ.2, ฉ.3 6. หนังสือนวนิยายและเรื่องสั้นจะเรียงตามอักษรชื่อผู้แต่ง 7. หนังสือภาษาไทยเรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ การสืบค้นหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนล�ำปางกัลยาณี การสืบค้นหนังสือภายในห้องสมุดโรงเรียนลำปางกัลยาณีสามารถสืบค้นโดยผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ห้องสมุดโรงเรียนลำปางกัลยาณีwww.liblks.com 2. คลิกเลือกเมนู“สืบค้นหนังสือ” เพื่อเข้าสู่หน้าจอสืบค้นหนังสือ ดังรูป 3. เลือกวิธีการสืบค้น ที่นักเรียนทราบรายละเอียด ของหนังสือ ดังนี้ - สืบค้นตาม ชื่อผู้แต่ง - สืบค้นตาม ชื่อเรื่อง - สืบค้นตาม หัวเรื่อง - สืบค้นตาม สำนักพิมพ์ ตัวอย่างขั้นตอนการสืบค้นจาก “ชื่อเรื่อง” โดยใช้ค�ำสืบค้น “แฮร์รี่พอตเตอร์” 1. เลือกวิธีการสืบค้นตาม “ชื่อเรื่อง” พิมพ์คำสืบค้น “แฮร์รี่พอตเตอร์” คลิกสืบค้น
94 2. ผลการสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีชื่อเรื่อง “แฮร์รี่พอตเตอร์” อยู่ในชื่อเรื่อง 3. คลิก เลือกชื่อหนังสือที่ต้องการแล้วคลิก สืบค้น 4.ปรากฏจำนวนหนังสือทุกเล่มที่เลือก แล้วคลิก เลือกเล่มที่ต้องการสืบค้นอีกครั้ง
95 5. ผลลัพธ์รายละเอียดทรัพยากรสารสนเทศที่คลิกเลือกสืบค้น ซึ่งนักเรียนสามารถจดเลขหมู่หนังสือแล้วไป ค้นหาหนังสือที่ชั้นหนังสือได้หากหนังสือเล่มใดมีคนยืม จะปรากฏสถานะการยืม ว่า“ยืม”และหากเล่มใดไม่มี ผู้ยืมและหนังสืออยู่ในห้องสมุดจะปรากฏ สถานะยืม “-”ดังภาพ 6. หากต้องการสืบค้นเรื่องใหม ่ หรือ เปลี่ยนวิธีการ สืบค้น ให้คลิกเลือก กลับหน้าแรก ห้องสมุดดิจิทัล โรงเรียน ล�ำปางกัลยาณี(Lampang Kanlayanee School Digital Library) LKS Library เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์โดยสามารถพลิกหน้าหนังสือได้เหมือนกับการอ่าน หนังสือจริงในรูปแบบกระดาษ และยังมีฟังก์ชั่นที่ผู้อ่านได้รับความ สะดวกอีกเช่น การคั่นหน้า,การเชื่อมไปยังหน้าต่างๆสำหรับการ เปิดอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์นั้น ถ้าในเครื่อง ที่ใช้งานไม่มีโปรแกรม LibraryViewerสำหรับเปิดอ่าน จำเปนต้อง ็ ดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการยืม หนังสือ 1. เลือกหนังสือที่ต้องการยืม ได้ไม่เกิน 3 เล่ม / ครั้ง 2. ยื่นหนังสือที่ต้องการยืม บริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม คืน โดยให้นักเรียนแจ้งว่า “ยืมหนังสือครับ/ ค่ะ” แล้วแจ้งรหัส ประจำตัวนักเรียน 5 หลัก
96 3. รอให้ครูบรรณารักษ์ / เจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ยุวบรรณารักษ์ บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือในระบบ และประทับตราวันกําหนดส่ง 4. รับหนังสือที่ดําเนินการยืมในระบบเรียบร้อยแล้ว
97 5. ก่อนออกจากห้องสมุด เปิดหนังสือหน้าสุดท้ายที่มีการประทับตราวันกําหนดส่งให้ ครูบรรณารักษ์ / เจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ยุวบรรณารักษ์ ตรวจก่อนออกจากห้องสมุดทุกครั้ง ขั้นตอนการคืนหนังสือ 1. นําหนังสือที่ยืมไปแล้วครบกําหนดส่ง หรืออ่านเสร็จแล้วมาคืน ที่บริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม – คืน 2. ยื่นหนังสือที่จะคืนแล้วแจ้งครูบรรณารักษ์/ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด/ ยุวบรรณารักษ์ ว่า “คืนหนังสือ ครับ/ ค่ะ” 3. รอ ครูบรรณารักษ์/ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด/ ยุวบรรณารักษ์ บันทึกข้อมูลการคืนหนังสือในระบบห้อง สมุดอัตโนมัติ และประทับตราวันที่คืนหนังสือ กรณีคืนหนังสือตามกําหนด นักเรียนรับหนังสือคืนแล้ววางไว้ที่โต๊ะพักหนังสืออ่านแล้ว เปนอัน เสร็จสิ้นขั้นตอนการคืนหนังสือ กรณีคืนหนังสือเลยกําหนดสง นักเรียนชําระค่าปรับ 1 บาท : 1 เล่ม : 1 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ) และบันทึกชื่อ – นามสกุล ชื่อหนังสือ ลงในสมุดบันทึกค่าปรับ แล้วรอรับหนังสือคืนแล้ววางไว้ที่โต๊ะพักหนังสือ อ่านแล้ว เปนอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการคืนหนังสือ กรณียืมตอ ให้นักเรียนแจ้งก่อนที่จะคืนหนังสือว่า “คืนและยืมต่อ ครับ / ค่ะ” เวลาเปิดให้บริการ Øวันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เปิดให้บริการ 07.00 – 17.00 น. เวลาบริการยืม – คืน 07.00 – 16.30 น. Øวันศุกร์ เปิดให้บริการ 07.00 – 16.00 น. เวลาบริการยืม – คืน 07.00 – 16.00 น. Øวันเสาร์ เปิดให้บริการ 09.00 – 15.00 น. (ปิดบริการช่วง 12.00 – 13.00 น.) เวลาบริการยืม – คืน 09.00 – 15.00 น.
98 ระเบียบและข้อห้ามการใช้งานห้องสมุด 1. นักเรียนโรงเรียนลำปางกัลยาณีทุกคนเป็นสมาชิกของห้องสมุด โดยใช้รหัสนักเรียนในการยืม หนังสือ 2. เข้าใช้ห้องสมุดทุกครั้งให้นักเรียนแสกนนิ้วเพื่อลงชื่อเก็บสถิติการใช้งานทุกครั้ง 3. นักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ยืมได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม เป็นเวลา 7 วัน และเล่มยืมติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ให้นักเรียนมายืมด้วยตัวเองเท่านั้น 4. ห้ามใช้รหัสประจำตัวนักเรียนคนอื่นมายืมหนังสือเป็นเด็ดขาด 5. หนังสือส่งช้าเกินกำหนดค่าปรับเล่มละ 1 บาท : เล่ม 6. กรณีนักเรียนไม่คืนหนังสือและเลยกำหนดส่ง จะไม่มีสิทธิ์ยืมหนังสือเล่มอื่น ๆ เมื่อนักเรียนนำ หนังสือที่เกินกำหนดส่งและชำระค่าปรับ นักเรียนจะสามารถยืมหนังสือได้ตามปกติ 7. กรณีหนังสือหาย ชำรุด ฉีกขาด มีรอยขีดเขียน เปียกน้ำ ให้นักเรียนรีบแจ้งครูบรรณารักษ์และ เลือกดำเนินการดังนี้ 7.1 ให้นักเรียนหาหนังสือมาคืนห้องสมุด ให้เหมือนเล่มเดิมทุกประการ 7.2 ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถหาหนังสือมาคืนห้องสมุด ให้ชดใช้ค่าหนังสือเท่าราคาหนังสือ ที่หายหรือชำรุด 8. หากนักเรียนไม่สามารถชำระค่าปรับได้ให้แจ้งความประสงค์ในการทำงานชดใช้ที่ห้องสมุด โดยคิดในอัตราชั่วโมงละ 20 บาท 9. หนังสือเป็นสมบัติส่วนรวมของทางราชการ ห้ามทำลายฉีกขีดเขียน ข้อความใดๆลงในหนังสือ 10. ห้ามนำกระเป๋าเข้ามาในห้องสมุด ห้องสมุดได้จัดตู้ล็อกเกอร์สำหรับใส่กระเป๋าไว้ให้บริการ นักเรียน หากตู้ล็อกเกอร์เต็มให้นักเรียนวางกระเป๋าและสัมภาระไว้บริเวณที่เหมาะสม ห้ามวางไว้บริเวณบันได ขึ้น – ลง และบริเวณประตูเข้า – ออก ห้องสมุด 11. ห้ามนำอาหารเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุด มารยาทการใช้ห้องสมุด 1. ไม่พูดส่งเสียงดังในห้องสมุด 2. ไม่พูดโทรศัพท์ในห้องสมุด 3. ไม่วางกระเป๋า รองเท้า เกะกะขวางทางขึ้นบันได และทางเข้า – ออก ห้องสมุด 4. นั่งอ่านหนังสือบริเวณที่นั่งอ่านเท่านั้น ไม่ควรยืนหรือนั่งอ่านหนังสือบริเวณชั้นวางหนังสือ เนื่องจากกีดขวางทางผู้ใช้บริการคนอื่น 5. ไม่ควรหยิบหนังสือมาอ่านทีละหลาย ๆ เล่ม ควรหยิบได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม 6. หนังสือที่อ่านแล้วให้นำไปวางที่โต๊ะพักหนังสือเท่านั้น 7. ไม่เคลื่อนย้ายเก้าอี้ออกจากโต๊ะ เมื่อใช้แล้วให้เก็บเก้าอี้สอดใต้โต๊ะให้เรียบร้อย 8. เข้าแถวให้เป็นระเบียบในการยืม – คืนหนังสือ 9. ก่อนออกจากห้องสมุดทุกครั้งยื่นหนังสือที่ยืมแล้วให้ครูบรรณารักษ์/ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ยุวบรรณารักษ์ตรวจโดยเปิดหน้าสุดท้ายที่มีใบกำหนดส่ง 10. กรณีนำหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือจากแหล่งอื่นเข้ามาในห้องสมุด ต้องยื่นหนังสือตรวจก่อน
99 ออกจากห้องสมุดทุกครั้ง ช่องทางการติดต่อ การรับข้อมูลข่าวสารจากห้องสมุด 1. เว็บไซต์ห้องสมุดโรงเรียนลําปางกัลยาณี www.liblks.com 2. คลิกถูกใจและรับการแจ้งเตือนจากเพจห้องสมุดใน Facebook ชื่อ “ ห้องสมุด โรงเรียนลําปางกัลยาณี ”
100 อาคารกัลยารัตน์ ห้องผู้อำนวยการสายตรง 1150 รองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการ 1160 สำนักงานฝ่ายอำนวยการ 1162 หัวหน้างานพัสดุ 1163 หัวหน้างานการเงิน 1164 หัวหน้างานสารบรรณ 1165 หัวหน้างานบุคลากร 1166 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 1130 สำนักงานฝ่ายวิชาการ 1132 สำนักงานฝ่ายวัดผล 1133 ห้องอัดสำเนาเอกสาร 1134 ห้องทะเบียนนักเรียน 1135 หัวหน้างานวัดผลประเมินผล 1136 รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน 1110 สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน 1112 รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป 1260 สำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป 1262 งานสวัสดิการและชุมชน 1263 ห้องพักครูภาษาไทย 1251 ห้องพักครูแนะแนว1 1211 ห้องพักครูแนะแนว2 1221 อาคารภัทรนารี ห้องพักครู211 2111 ห้องพักครู221 2211 ห้องพักครูภาษาอังกฤษ1 2221 ห้องพักครูภาษาอังกฤษ2 2161 โทรศัพท์ของโรงเรียน อาคารภัทรนารี ห้องพักครู231 2311 ห้องศูนย์ภาษาญี่ปุ่น 2361 อาคารธีรอนงค์ ร้านค้าโรงเรียน(สายใน) 3111 ห้องพยาบาล 3121 ห้องพักครูนาฏศิลป์ 3131 ห้องพักครูสังคมศึกษา 3221 ห้องพักครูคณิตศาสตร์ 3231 อาคารสรรพประสงค์สุดา โรงน้ำดื่ม 4101 ห้องเตรียมอุปกรณ์เคมี 4121 ห้องแผนงาน(สายตรง) 4141 ห้องแผนงาน 4142 ห้อง ICT 4151 ห้องเตรียมอุปกรณ์ชีววิทยา 422 4221 ห้องพักครูวิทยาศาสตร์ 4261 ห้องเตรียมอุปกรณ์วิทย์กายภาพ 432 4321 ห้องเตรียมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ 4421 อาคารปิ่นไผทฯ ร้านถ่ายเอกสาร 5111 ห้องพักครูดนตรีสากล 5121 ห้องพักครูเกษตร 5131 ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5141 ห้องพักครูปั้นเซรามิก 5151 ห้องพักครูดนตรีไทย 5211 ห้องพักครูคอมพิวเตอร์3 5221