The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by krusuraya, 2021-12-10 07:51:22

คู่มือหลักสูตรจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการเสริมสร้างอุปนิสัยผู้เรียน

คู่มือCharacter Strengths

Growth with Strengths
: How to teaching

character in classroom

จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการเสริมสร้างอุปนิสัยผู้เรียน

เนื้อหาในบทเรียน

บทที่ 1 จิตวิทยาเชิงบวก
บทที่ 2 อุปนิสัยเชิงบวก
บทที่ 3 Wheel of Strength
บทที่ 4 Golden Mean

บทที่ 1 จิตวิทยาเชิงบวก

ความหมายของ จิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology)
คือศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ทำให้มนุษย์สามารถ
“มองเห็นโลกตามความเป็นจริง”

ควบคู่ไปกับการไม่ลดคุณค่าในตนเอง มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการ
เจริญเติบโตของทั้งความเป็นอยู่และการเรียนรู้ ผ่านการเข้าใจ
ศักยภาพที่แท้จริงของแต่บุคคล ผ่าน 5 องค์ประกอบ คือ

P หมายถึง อารมณ์เชิงบวก หรือ Positive Emotions
E หมายถึง ความรู้สึกมีส่วนร่วมในสิ่งที่ทำ หรือ Engagement
R หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดี Positive Relationships
M หมายถึง การรับรู้ถึงความหมายของชีวิต หรือสิ่งที่ทำ Meaning
A หมายถึง การบรรลุถึงเป้าหมาย หรือ Accomplishment

ซึ่ง 4 องค์ประกอบแรก (P.E.R.M.) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของ
ทฤษฎี ส่วนการบรรลุถึงเป้าหมาย (Accomplishments) เป็นองค์ประกอบ
ที่ประเมินในรูปแบบของ momentary form อันเกิดจากการให้ความหมาย
ของตนเองต่อสิ่งที่เป็นความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

บทที่ 2 อุปนิสัยเชิงบวก

ความหมายของ อุปนิสัยเชิงบวก (Character Strength)
คือ ทักษะที่สำคัญที่สุดของเราเมื่อจะต้องเผชิญเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต

ประจำวัน ซึ่งอุปนิสัยเชิงบวก หรือ Character Strength สามารถให้
พลังงานแก่ผู้ใช้ และยังช่วยให้เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างมี
ประสิทธิภาพอีกด้วย

อุปนิสัยเชิงบวก เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของจิตวิทยาเชิงบวก
เป็นสิ่งที่ทำให้จิตวิทยาเชิงบวกดำรงอยู่อย่างมั่นคง ซึ่งการที่เราสามารถค้น
พบอุปนิสัยเชิงบวก หรือ Character Strength จะทำให้เราสามารถพัฒนา
ความสามารถเกี่ยวกับวิธีการคิดที่มีอยู่ให้เติบโตขึ้น หรือเข้าใจความรู้สึกที่แท้
จริงของตัวเองได้มากขึ้นด้วย

อุปนิสัยเชิงบวกมีทั้งหมด 24 ตัว จะแบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ด้านปัญญา และความรู้
กลุ่มที่ 2 ด้านความเข้มแข็ง กล้าหาญ
กลุ่มที่ 3 ด้านความเป็นมนุษย์
กลุ่มที่ 4 ด้านความยุติธรรม
กลุ่มที่ 5 ด้านการยับยั้งชั่งใจ
กลุ่มที่ 6 ด้านการรู้จักความจริงของโลก และชีวิต

อุปนิสัยเชิงบวก 24 อุปนิสัย

กลุ่มที่ 1 ด้านปัญญา และความรู้

กลุ่มที่ 2 ด้านความเข้มแข็ง กล้าหาญ

กลุ่มที่ 3 ด้านความเป็นมนุษย์ สามารถอ่านความหมายเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มที่ 4 ด้านความยุติธรรม https://www.mindsetmaker.co
กลุ่มที่ 5 ด้านการยับยั้งชั่งใจ

กลุ่มที่ 6 ด้านการรู้จักความจริงของโลก และชีวิต

บทที่ 3 Wheel of Strengths

wheel of strengths คือ รูปแบบหนึ่งของตัวช่วยในการแบ่ง
กลุ่ม character strengths (CS) ที่มีในตัวเราว่า "มี CS ไหนบ้างที่
กำลังแข็งแรง สดชื่น มี CS ไหนบ้างที่อยู่ระหว่างการหาจังหวะ โอกาส
ในการฝึกฝนเพิ่มเติม มี CS ไหนบ้างที่อ่อนแรง หมดกำลัง และมี CS
ไหนบ้างที่เรายังรู้สึกฝืนทุกครั้งที่แสดงออก แม้จะแสดงออกได้ดี
ก็ตาม"

ซึ่งการที่เรามีความเข้าใจในการจัดกลุ่มทั้ง 4 ส่วนนี้ จะช่วยให้เรา
สามารถเข้าใจตัวเองแบบรอบด้านมากขึ้น โดยการจัดกลุ่ม CS แบบนี้
เป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้เราทราบถึงภาวะปัจจุบันของเราเท่านั้น
เมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ความแข็งแรงของ CS ทั้งในเรื่องของโอกาสในการใช้ กำลังใจ และการ
แสดงออก CS ในแต่ละกลุ่มของเราก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้
หมุนเวียนได้ โดยการจัดกลุ่มทั้ง 4 ส่วนประกอบไปด้วย

Performance (สมรรรถนะการแสดงออก)
คือ การได้เห็นตัวอย่างของบุคคลที่มีการใช้ strengths ในกิจกรรม
ต่างๆในชีวิต

Energy (พลังใจระหว่างแสดงจุดแข็ง)
คือ การได้รับ feedback เชิงบวกที่เข้ามาเติมกำลังใจในช่วงก่อน
ระหว่าง หรือหลัง การแสดงออกถึง strengths ของเรา

Use of Strengths (ความถี่/โอกาสในการใช้)
คือ ความถี่ และโอกาสในการใช้ strengths ของเรา

องค์ประกอบของ
Wheel of Strengths

คุณลักษณะที่เป็นอุปนิสัยหลัก (Core strengths)
หมายถึง จุดแข็ง (strengths) ที่มีการใช้บ่อย แสดงออกได้ดี ตัวเรา และคน
รอบข้างสัมผัสได้ว่าเรามีสิ่งนี้ และเราร็สึกดีที่มีสิ่งนี้ในตัวเรา
คุณลักษณะที่เป็นอุปนิสัยที่กำลังเติบโต (Growth strengths) หมายถึง
จุดแข็ง (strengths) ที่มีแนวโน้มจะแสดงออกได้ดี เรารู้สึกดีที่มีจุดแข็งนี้ แต่
ยังไม่ค่อยมีโอกาสแสดงออก
คุณลักษณะที่เป็นอุปนิสัยที่อ่อนแอในตัวเรา (Weakness)
หมายถึง จุดแข็ง (strengths) ที่เราแสดงออกได้ไม่ค่อยดี ไม่ค่อยมีพลัง
เวลาต้องแสดงออกแบบนี้ และมีความไม่แน่นอนในการแสดงออก
คุณลักษณะที่เป็นอุปนิสัยที่ผ่านการเรียนรู้จนเป็นพฤติกรรม
(Learned Behavior)
หมายถึง จุดแข็ง (strengths) ที่เราแสดงออกได้ดี แต่เรายังไม่ค่อยรู้สึกดี
หรือมีพลังเวลาแสดงออก ไม่ค่อยแน่นอนในช่วงเวลาที่แสดงออก

บทที่ 4 Golden Means

ใช้น้อย (Underuse)
ปรากฏการณ์ทั่วไปที่เราไม่ได้นำความสามารถของจุดแข็งของเรา

ออกมาในสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อตัวเราหรือผู้อื่น
การใช้งานที่เหมาะสมที่สุด (Optimal use)

เราสามารถค้นหาจุดสมดุลระหว่างจุดที่อ่อนแอ หรือจุดที่สุดขั้ว
และนำจุดแข็งของเรามาผสมผสานกันในระดับที่เหมาะสม และ
แสดงออกในสถานการณ์ที่เหมาะสม
ใช้มากเกินไป (Overuse)

สถานการณ์ที่เราใช้ความสามารถของจุดแข็งมากเกินไป จนส่ง
ผลเสียต่อตนเองหรือผู้อื่ นจนนับไม่ได้ว่าเป็นพลังบวกอีกต่อไป


Click to View FlipBook Version