The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

8 ขั้นตอนการทำกระดาษสา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sandan Dip, 2024-02-27 03:39:58

การทำกระดาษสา

8 ขั้นตอนการทำกระดาษสา

ประวัติเกี่ยวกับกระดาษสา เมื่อประมาณเกือบร้อยปีมาแล้ว มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระอินถา (นามฉายาไม่ปรากฏ) อยู่สำนักวัดบ่อสร้าง พระคุณเจ้าองค์นี้ปฏิบัติธรรมด้วยการเดินธุดงค์อยู่เป็นประจำไม่เคยอยู่กับวัดท่านมีนินัย ชอบดู ชอบฟัง ชอบศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีในถิ่นต่าง ๆ ไปเรื่อย จนท่านได้ไปพบเห็นถิ่นต่าง ๆ ที่ไม่มีใครได้พบเห็น ในสมัยนั้น จน ครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปทางทิศเหนือซึ่งใกล้กับประเทศพม่า ท่านไปคราวนั้นนานเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้เพราะท่านได้ ไปธุดงค์ใกล้กับชายแดนพม่า ผู้ที่มาทำบุญตักบาตรมักจะเป็นคนไทยและพม่ารวมกัน เพราะใกล้ชายแดน วัน หนึ่งขณะที่ท่านฉันอาหารเช้าอยู่นั้น ได้มีชาวพม่าใจบุญคนหนึ่งนำกลดมาถวาย เพราะเห็นว่าท่านไม่มีกลด หลังจาก ท่านให้พรแก่ชาวพม่าผู้ถวายแล้วท่านก็ถามชาวพม่าว่ากลดนี้ทำขึ้นเองหรือ ชาวพม่าตอบว่าเป็นฝีมือของเขาเองที่ทำ ขึ้นมาเพื่อที่จะถวาย เพื่อชาวพม่ากลับไปแล้วท่านก็นำกลดขึ้นมาพิจารณาดูว่าเขาทำกันอย่างไร จึงสะดวกในการใช้ และการป้องกันได้ทั้งแดดและฝนด้วย ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจเดินทางเข้าประเทศพม่าทันที เพื่อที่ท่านจะได้ไปศึกษา วิธีการทำกลดนี้ให้ได้ พอเมื่อท่านเดินทางไปถึงถิ่นพม่าซึ่งชาวบ้านเหล่านั้นทำร่มใช้กางกันแดดกันฝน ซ้ำยังได้เห็นร่มขนาดใหญ่เป็น ร่มพิธีสำหรับใช้ในงานต่างๆ ทางศาสนาด้วย แต่ร่มเหล่านั้นทำด้วยกระดาษสาทั้งสิ้น ซึ่งติดด้วยยางแล้วทาด้วยน้ำมัน เพื่อกันแดดและฝน ท่านจึงได้ถามชาวบ้านดูว่าการทำร่มนี้มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ชาวบ้านก็อธิบายให้ท่านถึงวิธีการทำ กระดาษสา เมื่อท่านได้ใปดูแล้วท่านก็บันทึกไว้เป็นขั้นตอนจนเสร็จ แล้วคิดจะเอามาทำที่บ้านเพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางบ้านเราก็มีพร้อมทุกอย่างหาได้ไม่ยาก ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางกลับ พอถึงวัดท่านก็หาอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามที่ บันทึกมา และชักชวนชาวบ้านช่วยกันหาและสอนวิธีทำทุกอย่าง ท่านได้สั่งให้ผู้ชายให้ไปหาเปลือกต้นสามาต้มให้ เปื่อยและล้างให้สะอาด เลือกเอาที่อ่อนๆ ทุบให้ละเอียดแล้วใช้ผ้าเป็นแบบพิมพ์ ซึ่งใช้ผ้าฝ้ายทอห่างๆ มีอ่างน้ำทำ ด้วยไม้สัก ในอ่างน้ำจะมีน้ำพอประมาณแล้วเอาพิมพ์ผ้าวางลงในอ่าง เอาสาที่ทุบละเอียดแล้วมาละลายลงพิมพ์กวน ให้แตกทั่งพิมพ์ยกขึ้นไปตากแดดพอแห้งก็ทำเป็นกระดาษได้ จนแพร่หลาย กลายเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาที่หมู่บ้าน ต้นเปา และส่งกระดาษสาไปให้ชาวบ้านบ่อสร้างทำร่ม ที่มา : http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/21123/6/mba1045pr_ch3.pdf


ขั้นตอนการทำกระดาษสา 1. การคัดเลือกวัตถุดิบ คัดเลือกเปลือกปอสาแห้งที่อ่อนและแก่แยกจากกัน ถ้าเปลือกปอสามีความยาวมากให้ตัดเป็นท่อน ท่อนหนึ่งยาวไม่เกิน 1.00 เมตรนำไปแช่น้ำ ประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง การแช่น้ำจะช่วยให้เปลือกปอสาอ่อนตัว 2. การต้ม จากนั้นนำเปลือกปอสาที่อ่อนตัวไปใส่ภาชนะต้ม ใส่โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์หรือน้ำด่าง จากขี้เถ้าเพื่อช่วยให้โครงสร้างของ เปลือกปอสาเปื่อยและแยกจากกันเร็วขึ้น ถ้าต้มเปลือกปอสาอ่อน ใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์น้อย ต้มเปลือกปอสาแก่ต้องใช้มากขึ้น การต้มแต่ละครั้งใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ประมาณ 10 % ของน้ำหนักเปลือกปอสาแห้ง ถ้าใช้มากไปจะทำให้เยื่อสาถูกทำลายมาก ในระหว่างต้ม ต้มนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อต้มเสร็จแล้วนำปอสาล้างน้ำจนหมดด่าง (ในการล้างปอสานี้ควรล้างอย่าง น้อย 3 ครั้ง)


3. การทำเยื่อ ทำได้ 2 วิธี 3.1 ทุบด้วยมือ การทุบด้วยมือต้องใช้เวลานาน ปอสาหนัก 2 กก. ใช้เวลาทุบนานประมาณ 5 ชั่วโมง การทุบปอสานั้น ให้ทุบเบา ๆ ไม่ต้องออกแรงมากนัก จุดประสงค์ของการทุบปอสา คือ เพื่อแยกเส้นใยปอให้ออกจากกันเป็นเยื่อกระดาษ เท่านั้น หลังจากทุบ จน คะเนว่าใช้ได้แล้วให้ลอง เอาเยื่อไปละลายน้ำดู ถ้าเห็นว่าเยื่อแยกออกจากกัน โดยไม่จับกันเป็นกระจุก เยื่อมีเส้นสม่ำเสมอเท่ากัน ก็เป็นอันว่าใช้ได้ 3.2 การใช้เครื่อง การใช้เครื่องตีเยื่อสามารถตีเยื่อปอสาจำนวน 2 กก. ให้กลายเป็นเยื่อได้ในเวลา 35 นาที ซึ่งเครื่องตีเยื่อมี ประสิทธิภาพในการตีเยื่อได้เร็ว กว่าการทุบด้วยมือถึง 8 เท่า ลักษณะของปอสาซึ่งถูกทุบหรือใช้ เครื่องตีให้เป็นเยื่อแล้ว


4. การฟอกเยื่อสา เยื่อกระดาษสาทั่วไปมักฟอกไม่ขาวนัก แต่ถ้าต้องการให้กระดาษสาสีขาวมาก ๆ ก็ใช้ผงฟอกสีเข้าช่วย ได้แก่ Sodium hypo chloride หรือ Calcium hypo chloride ประมาณ1:10 โดยน้ำหนักผสม ในเครื่องตีเยื่อ ฟอกนานประมาณ 35 นาที ถ้าไม่มีเครื่องตีเยื่อก็ใช้น้ำยาฟอกเข้มข้น 15 กรัม : น้ำ 1 ลิตร แช่เยื่อสาลงในน้ำยาฟอกนานประมาณ 12 ชั่วโมง นำเยื่อสาไปล้างน้ำจนหมดกลิ่นน้ำยา แล้วจึงนำเยื่อสาไปย้อมสีตามต้องการ 5. การย้อมสี ถ้าต้องการทำกระดาษสาเป็นสีต่างๆจะต้องนำเยื่อสาไปย้อมสีก่อนการทำเป็นแผ่นกระดาษการย้อมสีทำได้ 2 วิธี คือ 5.1 ย้อมในเครื่องตีเยื่อ 1. นำเยื่อสาที่ฟอกขาวแล้วใส่ลงในเครื่องตีเยื่อและใส่น้ำลงไป 2. ละลายสีกับน้ำเพียงเล็กน้อยให้มีลักษณะเป็นน้ำสีข้นๆ 3. เดินเครื่องตีเยื่อและค่อยๆเติมน้ำสีลงไปทีละน้อยจนสีติดเยื่อสาทั่ว จะให้สีอ่อนหรือ แก่ก็แล้วแต่ความต้องการ 4. ถ่ายเยื่อสาออกจากเครื่องตีเยื่อ ปล่อยน้ำทิ้งไป นำเยื่อสาใส่ภาชนะไว้เพื่อเตรียมไว้ทำเป็นแผ่นกระดาษต่อไป


5.2 การย้อมสีโดยการต้ม 1. ละลายสีย้อมผ้าในน้ำในถังต้มที่เตรียมไว้ รอให้น้ำเดือด 2. นำเยื่อสาที่ฟอกขาวแล้วลงไปต้ม ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง 3. นำเยื่อสาที่ต้มจนเกิดสีตามต้องการออกมาล้างน้ำสะอาดประมาณ 3 ครั้งจนแน่ใจว่าสีไม่ติดมือ 6.การทำแผ่นกระดาษ อุปกรณ์การทำแผ่นกระดาษ ถังช้อนแผ่นกระดาษ ตะแกรงช้อนแผ่นกระดาษ


วิธีทำเป็นแผ่นกระดาษ ทำได้ 2 วิธี 1 แบบช้อน ใช้แม่พิมพ์ซึ่งมีลักษณะเป็นตะแกรงไนล่อนขนาดกว้าง 50 ซม.ยาว 60 ซม. (ขนตะแกรงขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษที่ต้องการ) ช้อนตักเยื่อเข้าหาตัวยกตะแกรงขึ้นตรงๆแล้วเทน้ำออกไปทางด้านหน้าโดยเร็วจะช่วยให้กระดาษมีความสม่ำเสมอ 2 แบบแตะ ใช้ตะแกรงที่ทำจากผ้าใยบัวหรือผ้ามุ้ง ซึ่งมีเนื้อละเอียด และใช้วิธีชั่งน้ำหนักของเยื่อสาเป็นตัวกำหนดความหนาของ แผ่นกระดาษ นำเยื่อใส่ในอ่างน้ำใช้มือแตะเกลี่ยกระจาย เยื่อบนแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอ


7. การตากให้แห้ง นำตะแกรงที่ช้อนเยื่อกระดาษแล้วไปวางพิงกันตากแดดโดยวางเป็นหมู่ๆละ 4 ตะแกรง โดยวางตะแกรงทำมุม 70 องศา ซึ่งจะทำให้กระดาษที่ตากแห้งเร็วกว่ามุม 45 องศาเนื่องจากน้ำไหลลงข้างล่างเร็วกว่านั้นเอง นำตะแกรงไปตากแดดประมาณ 1-3 ชั่วโมง กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่น 8. การลอกแผ่นกระดาษสา เมื่อกระดาษที่นำไปตากแห้งสนิทดีแล้วให้ลอกกระดาษสาออกจากตะแกรงช้อนแผ่นกระดาษ และนำกระดาษสาที่ลอก แล้วมาซ้อนกันเป็นพับๆละ 50 แผ่น เพื่อเตรียมการจำหน่าย (เปลือกปอสาหนัก 1 กก. สามารถทำกระดาษสาได้ประมาณ 10 แผ่น )


คุณสมบัติของกระดาษสา คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสาเกิดมาจากวัตถุดิบปอสา ซึ่งเป็นพืชที่มีเยื่อเป็นเส้นใยยาวมีความเหนียวมาก สามารถนำมาแปรสภาพโดยการทุบตีเยื่อไม้ เพื่อนำมาทำเป็นเยื่อกระดาษ ทำเชือกหรือใช้เป็นเยื่อผสมปูนขาว ปูน ปลาสเตอร์ ในการหล่อผลิตภัณฑ์ โดยเสริมความแข็งแรงคงทนให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ สำหรับกระดาษสานั้นเป็นกระดาษที่แปรสภาพมาจากการทุบเยื่อไม้บริสุทธิ์ให้กระจายออกและยังคงรักษา คุณภาพของเยื่อกระดาษเป็นเส้นใยเกาะประสานกันอย่างเหนียวแน่น มีความนุ่ม ทนทานเก็บไว้ได้นานนับร้อยปี โดย ไม่มีการผุกร่อน แตกหัก แห้งกรอบ อีกทั้งเนื้อกระดาษสาไม่มีการผสมพวกแป้งหรือดินขาว แมลง ปลวก มอด จึงไม่ชอบกัดแทะ ซึ่งสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติดีเด่นของกระดาษสาที่กระดาษชนิดอื่น ๆ ไม่มี ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเศษกระดาษสาที่เหลือจากการทำผลิตภัณฑ์สามรถนำมาหมุนเวียน ใช้ใหม่ได้โดย นำไปแช่น้ำและตีเยื่อทำเป็นกระดาสาแผ่นใหม่ นอกจากนี้ กระดาษสายังสามารถย่อยสลายให้กลับเป็นปุ๋ยในดิน หรือเป็นอาหารของพืชได้อีกด้วย


Click to View FlipBook Version