ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง การออกแบบนวัตกรรม เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อในการแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กปฐมวัยเชิงพื้นที่ พัฒนานวัตกรรมโดย นางสาวธมลวรรณ แทนลี นางสาวเปรมวดี วรรณสี นางสาวพรสุดา โพธิ์แย้ม นางสาวเพชรนภา เกิดจันทึก นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว ผู้สอน ผศ.ดร.อารีย์ ศรีอำนวย โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อประกอบวิชา การต่อยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม ผู้ศึกษาได้ จัดเสนอเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากหลายปัจจัยและ ส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัว เพื่อจะ ช่วยให้บุคคลในครอบครัวได้รับการปลูกฝัง มีทัศนคติที่เป็นไปในทางที่ดีและถูกต้องต่อสถาบันครอบครัว เป็น ครอบครัวที่มีคุณภาพ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมต่อไปในอนาคตก็จะมีจำนวนน้อยลง ดังนั้น ผู้จัดทำจึงรวบรวมข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายในประเด็น ต่างๆ ของปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กปฐมวัย เชิงพื้นที่ เพื่อช่วยส่งเสริมและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ให้รู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สุดท้ายนี้คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัย และนวัตกรรมจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป ขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อารีย์ ศรีอำนวย ทุกคนที่คอยให้คำปรึกษา และให้กำลังใจ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงาน และ คอยชี้แนะแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้ามาโดยตลอด คณะผู้จัดทำ
สารบัญ Table of Contents ครอบครัวสุขสันต์ยับยั้งความรุนแรง..............................................................................................1 คำนำ.................................................................................................................................2 สารบัญ..............................................................................................................................3 บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ........................................................................................4 บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................6 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง..........................................................................................................................5 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......................................................................................................................9 บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิธีการดำเนินการ...........................................................................17 3.1 ประชากรที่ศึกษา........................................................................................................................17 3.2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา....................................................................................................................17 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล.............................................................................................17 3.4 ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล....................................................................................................17 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................................18 3.6 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions)................................................................................................18 บทที่ 4. ผลการการศึกษา (Results)......................................................................................19 4.1 ข้อค้นพบ ....................................................................................................................................19 4.2 ความรู้/แนวคิดที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม..................................................................20 บทที่ 5 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กปฐมวัยเชิงพื้นที่...................................21
บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ ปัจจุบันสถาบันครอบครัวประสบปัญหาที่ทำให้เกิดความคลอนแคลนหลายประการ ปัญหาที่พบทั่วไป คือ ครอบครัวไม่สมบูรณ์แบบ ครอบครัวแตกแยก และความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวได้รับการยอมรับว่าเป็นปัญหาสากลที่เกิดขึ้นได้ในทุกสังคมและวัฒนธรรม ทั้งยังถือเป็นรูปแบบหนึ่ง ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน สังคมไทยพบว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนับวันจะปรากฏมากขึ้น ส่วน ใหญ่พบจากการนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นเรื่องของคนในครอบครัว ไม่ควร นำไปเปิดเผยต่อคนภายนอกให้รับทราบหรือเข้ามายุ่งเกี่ยว เว้นแต่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น การเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส หรืออยู่ในสภาวะที่บีบคั้นจนทนไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้ถูกกระทำ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น การช่วยเหลือทางกฎหมาย การช่วยเหลือจากทางมูลนิธิสังกัดภาครัฐหรือ เอกชน ฯลฯ (บุญเสริม หุตะแพทย์, 2545) ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทย ผลกระทบของความรุนแรง ในครอบครัวทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรง ปัญหาความ รุนแรงในครอบครัวมีสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ทั้งสาเหตุส่วนบุคคลคือความผิดปกติของจิต และบุคลิกภาพ สาเหตุทางภาวะสังคมจิตวิทยา สาเหตุจากสังคมและวัฒนธรรม การใช้ความรุนแรงที่ส่วนหนึ่ง มีสาเหตุมาจากการใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ เป็นการกระทำความรุนแรงที่ไม่ใช่เพื่อความรุนแรงโดยตรง แต่ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายความต้องการอย่างอื่น อาทิ เพื่อเอาชนะบุคคลที่ไม่เคารพหรือเชื่อฟัง หรือเพื่อ ควบคุมบุคคลอื่นให้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้ใช้ความรุนแรง เป็นต้น นักวิชาการหลายท่านที่ได้มีการแบ่งรูปแบบของความรุนแรงออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ 1. ความรุนแรงเชิงกายภาพ (Direct Violence) กล่าวคือ เป็นความรุนแรงที่สามารถเห็นได้ชัดมากที่สุด ว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำความรุนแรง เรียกว่าความรุนแรงทางตรง (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2533) สังคม มักจะให้ความสำคัญกับความรุนแรงประเภทนี้มากที่สุด เพราะเป็นลักษณะความรุนแรงที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เช่น จากการมีร่องรอยการได้รับบาดเจ็บ การเสียชีวิต รวมไปถึงความรุนแรงที่กระทำต่อวัตถุหรือทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ได้รับความเสียหาย โดยที่ความรุนแรงทางตรงนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความรุนแรงที่มี ผู้กระทำ และมีการใช้เครื่องมือในการกระทำความรุนแรง 2) ความรุนแรงที่มีผลเกิดขึ้นต่อร่างกาย เช่น การมี เรื่องชกต่อยกัน ตบตีกัน หรือการขัดขวางไม่ให้ได้รับอากาศในการหายใจ 3) ความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อ สภาพจิตใจ เช่น การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความหวาดกลัว เกิดความรู้สึกอับอาย รู้สึกด้อยค่า หรือเกิดการ ลดทอนคุณค่าการเป็นมนุษย์ลง เป็นตัน (Galtung, 1990) 2. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) เป็นความรุนแรงที่แฝงฝังอยู่ในโครงสร้างทาง สังคม คอยค้ำยันสนับสนุนให้เกิดความรุนแรงทางตรงและส่งต่อความรุนแรงให้เกิดขึ้น ซึ่งความรุนแรงประเภท นี้มักเกี่ยวโยงกับอำนาจปรากฏผ่านโครงสร้างหรือลำดับชั้นที่ผูกอยู่ติดกับระบบอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันเมื่อ ระบบอำนาจไม่เท่าเทียมกัน ย่อมส่งผลต่อการได้รับโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย กล่าวได้ว่า
ความรุนแรงเชิงโครงสร้างนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงที่ดำรงอยู่และปรากฏออกมาในรูปแบบของอำนาจ ที่ไม่เสมอกันของมนุษย์ เปรียบให้เห็นภาพอย่างง่าย คือ บุคคลที่มีอำนาจทางสังคมจะใช้โครงสร้างทางสังคม เป็นเครื่องมือในการกดทับหรือเอารัดเอาเปรียบบุคคลที่ไม่มีอำนาจ และพยายามที่จะรักษาสภาพความไม่มี อำนาจนั้นของบุคคลให้ยังคงเป็นอยู่แบบนั้น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองด้วยอำนาจของคนที่มี อำนาจมีนั้น คนที่ไม่มีอำนาจจึงต้องจำยอมทนรับต่อสภาพที่เกิดจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ไม่อาจหลีกหนี ได้ (นัฐวุฒิ สิงห์กุล, 2556) เช่น การที่ใช้งบประมาณจำนวนมากในการลงทุนบริหารจัดการที่มีการเน้นไปใน เรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเกินความจำเป็น โดยสร้างการยอมรับต่อการใช้งบประมาณนั้นด้วยมายาคติที่ว่าเพื่อสร้าง ผลลัพธ์บางอย่างที่จะมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างมหาศาล ในขณะที่การบริหารจัดการในด้านอื่นถูกละทิ้ง จน เป็นเหตุให้ด้านนั้นไม่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า ความรุนแรงเชิง โครงสร้างนี้มักจะสอดแทรกอยู่กับกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน ส่งผลให้ผู้คน ในสังคมที่ไม่ได้มีอำนาจรู้สึกคุ้นชินกับความไม่เท่าเทียมกันและยอมรับต่อสภาพความเป็นอยู่นั้น ๆ ไปโดย ปริยาย (อุษณีย์ ธโนศวรรย์ และ ศรีชัย พรประชาธรรม, 2553, น. 228) 3. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural Violence) เป็นส่วนที่คนไม่เห็นและไม่ให้ความสำคัญ แต่เป็น สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความรุนแรงและการส่งต่อความรุนแรงในสังคมไทยโดยไม่รู้สึกผิด เป็นความรุนแรงที่มี รากฐานมาจากระบบความเชื่อ ความคิดที่ยึดถือกันในสังคมที่คอยสั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา ทำให้สังคมยอมรับ ต่อความรุนแรงประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กล่าวคือ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมนี้จะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ทว่าจะเป็นตัวที่ทำให้ความรุนแรงยังคงธำรงอยู่ได้ในสังคมด้วยการสร้างข้ออ้าง หรือเป็นเหตุผลสนับสนุนใน การรองรับต่อการกระทำความรุนแรงนั้น (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2539) และจะทำหน้าที่ในการปิดกั้นการตั้ง คำถามกับการกระทำความรุนแรง ทำให้เห็นว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นในสังคม และ แม้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจมีมุมมองที่ไม่ถูกต้อง แต่วัฒนธรรมเกี่ยวกับความรุนแรงที่ผู้คนในสังคมเคย ยึดถือกันมานั้น จะทำให้คนรับรู้ เข้าใจ หรือเชื่อว่าความรุนแรงนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่มีและเป็นมาตั้งแต่ ในอดีต ส่งผลให้เกิดการยอมรับต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นต่อไปในสังคม ตัวอย่างความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ เคยเกิดขึ้นในสังคม อาทิ ในระบบครอบครัว สามีสามารถทุบตีภรรยาได้ หรือบิดามารดาใช้ความรุนแรงกับบุตร โดยมีข้อรองรับว่ากระทำความรุนแรงเพราะต้องการอบรมสั่งสอน เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยมุ่งศึกษาไปที่ตัวเด็กและผู้ปกครอง หากบุคคลกลุ่มนี้มีทัศนคติที่เป็นไปในทางที่ดีและถูกต้องต่อสถาบัน "ครอบครัว" ครอบครัวที่จะเกิดขึ้นใหม่ใน อนาคตก็จะเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมต่อไปในอนาคตก็จะมีจำนวน น้อยลง ตลอดจนผลการวิจัยครั้งนี้อาจเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการต่อยอดให้กับบุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อความเข้มแข็งและ สังคมที่มั่นคงต่อไป
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนานวัตกรรม เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง ได้ทำการค้นคว้าและรวบรวม แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งได้ขอเสนอแนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว 2.2 สาเหตุการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 2.3 ลักษณะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2.4 ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว 2.5 แนวคิดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง จากการศึกษาค้นคว้า ปรากฎว่าได้มีทฤษฎี และแนวความคิดที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวไว้ หลายทฤษฎี ดังนี้ 2.1.1 ทฤษฎีระบบทั่วไป ทฤษฎีระบบทั่วไป (General systems theory) เป็นการอธิบายด้วยหลักการของระบบทางสังคม ที่มี ผลต่อความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าจะเป็นการเกิดขึ้นจากปัจเจกบุคคล ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิด ของ สเตราส์ (Straus, 1973) และ จิลเลส-ซิมส์ (Giles-Sims, 1983) ที่มองว่าระบบจะเป็นกระบวนการที่ทำให้ เกิดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว และจะนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัวได้เมื่อมีการควบคุมที่เข้มงวดหรือพยายาม รักษาให้ครอบครัวมีเสถียรภาพ โดย สเตราส์ มองว่าครอบครัวมีลักษณะเป็นระบบหนึ่งเช่นเดียวกับสังคม และ มีระบบย่อย ๆ เช่น ระบบคู่สมรส ระบบญาติพี่น้อง โดยมีปัจจัยนำเข้าเป็นทรัพยากรจากภายนอกเข้าสู่ระบบ เช่น เงิน ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาและมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในระบบที่ต้องตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง ภายในและภายนอก (Straus, 1980; 23–36) ซึ่งการที่ครอบครัวมีระบบเช่นนี้ ทำให้เกิดผลผลิตของระบบ ครอบครัวในด้านบวก เช่น ความรัก ความปลอดภัย การเรียนรู้และความผูกพัน ในขณะเดียวกันก็เกิดผลผลิต ในเชิงลบ เช่น ความขัดแย้ง เกลียดขัง และการใช้ความรุนแรง (Burr; Day; & Bahr, 1993; 37) แนวคิดนี้มอง ระบบครอบครัวที่มีความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงระหว่างสมาชิก อันเนื่องมาจากปัจจัยของการมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน เช่น ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงจากเวลาในการพบปะหรือมีกิจกรรมกันมาก อันเนื่องมาจากขอบข่าย กิจกรรม และความสนใจร่วมกัน (Time at risk and range of activities and interest) การมีความผูกพันที่ ลึกซึ้งผูกพันจนนำไปสู่การก้าวก่ายกัน หรือคิดว่าตนเองมีสิทธิในการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ สมาชิกในครอบครัวจนกลายเป็นความขัดแย้ง (Intensity of involvement and infringing activities) หรือ แม้แต่การเป็นสมาชิกของครอบครัวโดยไม่สมัครใจ (Involuntary membership) เนื่องจากสมาชิกครอบครัว จะไม่มีสิทธิเลือกการเป็นสมาชิกหรือลาออกโดยอิสระ ทำให้ต้องบ่มเพาะความรู้สึกขัดแย้งเมื่อไม่พึงพอใจใน
ครอบครัวที่ตนเองเป็นสมาชิก และกลายเป็นการกระทำรุนแรงในที่สุดเมื่อเผชิญวิกฤตการณ์ที่มีความเครียดสูง (Siraus, 1980; 15-18) นอกจากนี้ ทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมและสังคมที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Walonick, 1993) อันถือเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างครอบครัว และสภาพแวดล้อม โดยจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูลข่าวสาร การเลือกตัดสินใจ และผลที่เกิดขึ้นต่อส่วน ต่าง ๆ ในระบบ โดยการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Communication and transaction) เป็น สาเหตุสำคัญที่จะทำให้ระบบเกิดความสมดุล (Kuhn, 1974; 154-156) ดังนั้น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ตามแนวคิดนี้จึงเกิดขึ้นจากระบบการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับสภาพแวดล้อม ซึ่ง กู๊ดแมน (Walonick, David S, 1993) ได้กล่าวถึงวิธีการนำทฤษฎีระบบมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ซึ่งสามารถ นำมาปรับใช้กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวระดับชุมชนได้ดังนี้ 1. วิธีการแทรกแซงปัญหา กระทำโดยการหาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม หรือ ทั้งระบบ โดยต้องมีการศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากวิธีการ และหากมีการแทรกแซงในระยะยาวจะต้องมีการ วางแผน 2. วิธีแทรกแซงระบบในระดับใหญ่และซับซ้อน สามารถสร้างกลไกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโดยความ ร่วมมือระดับบุคคล ที่ทำงาน ชุมชน หน่วยงานรัฐ และนานาชาติ 3. การประเมินค่าการเปลี่ยนแปลง จะต้องกำหนดผลที่เกิดจากการแทรกแซง โดยการกำหนดวิธีการวัด เครื่องมือ ระยะเวลา และใช้การวัดในหลายระดับเพื่อทดสอบและประเมินผล 4. พิจารณาถึงปัจจัยที่อาจทำให้ล้มเหลว โดยศึกษาจากแนวคิดเชิงทฤษฎีหรือเปรียบเทียบในสิ่งที่เกิดขึ้น มาแล้วในเชิงเทคนิคกล่าวได้ว่า การพิจารณาปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเชิงระบบ เป็นการมองครอบครัว ในฐานะหน่วยทางสังคม ที่มีระบบย่อยต่าง ๆ และมีกระบวนการสื่อสารรวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ที่อาจก่อให้เกิด ความขัดแย้งและการเกิดความรุนแรงตามมา 2.1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social learning theory) เป็นแนวคิดของแบนดูร่า (Bandura) ที่กล่าวถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ผ่านทางตัวแบบ (Model) ในหลายลักษณะ เช่น บุคคลจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อดูตัวแบบของความก้าวร้าวรุนแรง หรือมีพฤติกรรมด้านศีลธรรม และจิตสำนึกด้านศีลธรรม หากได้รับ อิทธิพลจากการสังเกตและการเป็นแบบอย่างที่ดี ดังนั้นแนวคิดนี้จึงเชื่อในอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการ รับรู้ของบุคคล (สุพิทย์ กาญจนพันธุ์, 2549) ที่สำคัญคือแบนดูร่า ได้อธิบายพฤติกรรมของบุคคลว่าเป็นการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก โดยการตอบสนองถูกเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบอย่าง ด้วยการเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งพฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมซ้ำ ๆ นั้นมากขึ้น โดย การเสริมแรงจะมีสองประเภท คือการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้ในสิ่งที่น่าพอใจหรือเป็นที่พิเศษ และการ เสริมแรงทางลบ เช่น การถอดถอนรางวัลหรือสิ่งที่ควรได้ (Bandura, 1977) จากแนวคิดนี้ทำให้อิทธิพลของ
ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อบุคคลในครอบครัวต่อการเรียนรู้ และการมีพฤติกรรมไปในทางใดทาง หนึ่ง แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวถือเป็นสถาบันทางสังคมที่ ประกอบด้วยสมาชิกที่เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ความรุนแรงจากคน ในครอบครัว (Suwat, 2001: 17) กล่าวกันว่าผู้มีประสบการณ์ความรุนแรงทั้งประสบการณ์ตรงในฐานะ ผู้ถูกกระทำ และประสบการณ์อ้อมในฐานะผู้สังเกตการณ์ความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะเรียนรู้บรรทัดฐานที่ ยอมรับการใช้ความรุนแรงและตัวแบบบทบาทที่ใช้ความรุนแรง และเมื่อเกิดความขัดแย้งกับคู่สมรสก็จะ เลียนแบบพฤติกรรมโดยใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา (พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์, 2529) โดยตัวแบบของ ครอบครัวที่มีผลต่อความรุนแรงแสดงได้ดังภาพ ภาพประกอบ 1 รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัวผ่านกระบวนการเรียนรู้ ที่มา: Suwat Srisorrachatr. (2001). Domestic Violence : Socio-cultural Perspective and Social Intervention in a Thai Community. p.15. จากภาพ แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อันเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อเป็นฝ่ายถูก กระทำโดยตรง และเลียนแบบเมื่อเห็นประสบการณ์โดยอ้อม จากต้นแบบของคนในครอบครัว ซึ่งทฤษฎีการ เรียนรู้ทางสังคมนี้จึงมองการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความรุนแรงในหลายลักษณะ เช่น เมื่อบุคคลถูกพ่อแม่ทำโทษด้วย ความรัก ก็จะเรียนรู้ว่าคนที่รักเราจะเป็นผู้ที่ทำร้ายเรามากที่สุด และกระทำด้วยความรัก ทำให้เกิดความ เชื่อมโยงระหว่างความรักกับความรุนแรง และเรียนรู้ว่าความรักกับความรุนแรงเป็นของคู่กัน หรือแม้แต่การ ลงโทษของบิดามารดาเพื่ออบรมสั่งสอน บุคคลก็จะเกิดการเรียนรู้สิทธิในการใช้กับความรุนแรงกับสมาชิกคน อื่น ๆ จนกลายเป็นความรู้สึกชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเพื่อการสั่งสอน รวมทั้งการเรียนรู้ว่าความรุนแรง เป็นสิ่งที่นำมาแก้ไขปัญหาได้เมื่อใช้วิธีการอื่นแล้วไม่บรรลุผล อันเกิดจากการที่บุคคลเคยได้รับคำขู่หรือลงโทษ จากบิดามารดา จนกลายเป็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต่อบุคคลอื่นต่อเนื่องไปในที่สุด (Straus; Gelles; & Steinmetz. 2006; 97)
กล่าวได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการเลียนแบบโดยอาศัยตัว แบบ ทั้งที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรงหรือโดยอ้อม โดยผ่านการเสริมแรงและมาตรฐานทางสังคม จนนำไปสู่ การใช้ความรุนแรงในครอบครัวในที่สุด 2.2 สาเหตุการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุการใช้ความรุนแรงในครอบครัวสามารถแบ่งเป็น 4 ระดับ (กฤตยา อาชวนิชกุล และคณะ, 2546, น; 4-5) อธิบายสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว ดังนี้ 1. โครงสร้างสังคมโดยรวม (Larger Society) ที่เป็นระบบปิตาธิปไตย หรือ ระบบความคิดแบบที่เน้น อำนาจของผู้ชาย มีวัฒนธรรม ค่านิยม และทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและผู้ชาย 2. สถาบันและบริบทของสังคมในระดับชุมชนใกล้ตัว (Immediate Social Context) ที่มีปัจจัย สนับสนุนให้เกิดความรุนแรง (Risk Factors) ได้แก่ อัตราการว่างงานสูง อัตราอาชญากรรมสูง มีแหล่งอบายมุข มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด สื่อลามกและสื่อรุนแรงอื่น ๆ รวมถึงสถานภาพที่ด้อยกว่าของผู้หญิงหรือไม่ ได้รับการยอมรับ และการอยู่โดดเดี่ยวของผู้หญิง ส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงต่อผู้หญิง มีสูงกว่าที่ ปราศจากปัญหาเหล่านี้ ถ้าสังคมมีปัจจัยป้องกันความรุนแรง ได้แก่ ชุมชนมีความสงบสุข เอื้ออาทรต่อกันมีการ รวมกลุ่มของผู้หญิง ผู้หญิงมีสิทธิครอบครองที่ดินและทรัพยากรได้ส่งผลให้อัตราความรุนแรงต่อผู้หญิงมีน้อยลง ด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในบ้าน (Immediate Family Context) ได้แก่ ความเป็นใหญ่ของชายใน บ้าน โดยเฉพาะการครอบครองทรัพย์สิน และอำนาจในการจัดการค่าใช้จ่ายและเรื่องในครอบครัวอื่น ๆ การไม่ พูดจาสื่อสารกันระหว่างสามีภรรยาและคนในบ้าน และความขัดแย้งในชีวิตแต่งงาน ครอบครัวที่มีลักษณะ เหล่านี้ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรงสูงมาก 4. ปัจจัยในระดับบุคคล (Individual Involved) ข้อค้นพบจากทั่วโลกยืนยันว่าในความสัมพันธ์ระหว่าง คู่ ผู้ชายมีแนวโน้มมากกว่าผู้หญิงที่จะเป็นผู้กระทำรุนแรงต่อคู่ของตนลักษณะส่วนบุคคลต่อไปนี้ที่มีผลผลักดัน ให้ก่อความรุนแรง คือ คนที่มีประสบการณ์ความรุนแรงมาก่อนในวัยเด็ก การมีอาวุธในครอบครอง การดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพสิ่งเสพติด มีปัญหาความเครียดจากหน้าที่การงานในชีวิตประจำวัน และการ สูญเสียสถานภาพ เช่น ตกงาน รวมถึงคนที่ขาดทักษะชีวิตในการระงับความโกรธ ระงับความขัดแย้ง และการ รับมือกับความเครียด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากบุคคลเหล่านี้อยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมดังกล่าว ก็อาจทำให้ สามารถระงับยับยั้งชั่งใจได้ปัญหาความรุนแรงก็จะบรรเทาลงได้ 2.3 ลักษณะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ลักษณะการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีหลายรูปแบบ (คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ, 2537, น; 34, อ้างถึงใน บุญเสริม หุตะแพทย์ และคณะ, 2551, น; 47) ดังนี้ 1. การทำร้ายร่างกายคู่สมรส ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยสามีเป็นฝ่ายทำร้ายภรรยา 2. การทำร้ายเด็ก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัวได้ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ความขัดแย้งที่อาจมาลงกับเด็กจะปรากฎให้เห็นสภาพเด็กถูกทำร้ายจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นบิดาหรือ มารดาก็ได้ และมีบ่อยที่พบว่า ฝ่ายมารดาเป็นผู้ลงมือกระทำเพราะความเก็บกดและคับข้องใจที่มีต่อสามี 3. การทำร้ายผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีปู่ย่า ตายายที่กลับกลายเป็นผู้พึ่งพิงลูกของตน บางครั้ง ความกดดันในครอบครัวไปตกอยู่กับผู้สูงอายุ ในลักษณะการใช้ความรุนแรงทางจิตใจและทางกาย หรือการ ทอดทิ้งไม่ดูแลบุพการี 4. การข่มขืนคู่สมรส ความรุนแรงปรากฏขึ้นในลักษณะการทำร้าย ข่มขู่ อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ภรรยา บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และในมุมกลับกัน ภรรยาอาจคับแค้นและตอบโต้จนฝ่ายสามีอาจได้รับบาดเจ็บหรือ เสียชีวิต เช่นกัน 5. การมีเพศสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนมากเกิดขึ้นในกรณีพ่อเลี้ยงกับลูกสาวหรืออาจเป็นบุคคลอื่นใดใน ครอบครัว เช่น ปู่ ลุง อา น้า พี่ชาย เป็นต้น จัดว่าเป็นปัญหาที่เลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งในครอบครัว ที่ทำให้เด็ก ได้รับบาดเจ็บทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง สรุป ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมการใช้อำนาจในการควบคุม บังคับ ขู่เข็ญ ทำให้กลัว ทำร้ายร่างกาย และการข่มขืนกับคนในครอบครัว คู่สมรส เด็กและผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบทำให้ ผู้ถูกกระทำเกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจส่งผลในการดำเนินชีวิต ซึ่งหากวิเคราะห์ถึง รากเหง้าของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวแล้วโครงสร้างสังคมหรือระบบความคิดแบบเน้นอำนาจของผู้ชาย รวมถึงการหล่อหลอมให้ผู้ชายผู้หญิงมีวิธีคิดความเชื่อแตกต่างกันถือได้ว่ายิ่งทำให้ปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวเกิดขึ้นและดำรงอยู่ โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัวต่อสตรี ถือเป็นสถานการณ์ปัญหาสากลที่ทุกสังคมในโลกกำลัง เผชิญอยู่ อันเนื่องมาจากรากฐานความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิงชายที่ก่อให้เกิดควาไม่เท่าเทียมกันทาง เพศ หรืออาจกล่าวได้ว่า "ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงก็เพราะว่าเป็นผู้หญิง" (กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ, 2546, น: 2) สำหรับความรุนแรงในครอบครัวที่มีต่อสตรีจากสถิติประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า ร้อยละ 20-50 ของผู้ถูกกระทำความรุนแรงเป็นสตรี และผู้กระทำคือสามีหรือคนรัก ดังนั้นจึงมีการให้ความสำคัญของปัญหา ความรุนแรงต่อสตรี ตระหนักถึงสิทธิของสตรีที่มีชีวิตโดยปราศจากความรุนแรง องค์การสหประชาชาติได้ กำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการรณรงค์แก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อ สตรีและปฏิญญาปักกิ่ง แผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (วันทนีย์ วาสิกะสิน และ สุนีย์ เหมะ ประสิทธิ์, 2545, น: 1)
2.4 ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว นญา พราหมหันต์ (2560, น. 146-148) กล่าว่า ผลกระทบจากปัญหาการกระทำความรุนแรงใน ครอบครัวส่งผลต่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงในหลายรูปแบบ สามารถแบ่งผลกระทบได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยตรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในทางตรง ได้แก่ บาดแผลที่ ปรากฏตามร่างกายขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน บางกรณีร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต ส่วน ผลกระทบที่เหยื่อได้รับจากการถูกกระทำด้วยความรุนแรงทางเพศ เช่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อ เอดส์ และการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ความรุนแรงในครอบครัวยังส่งผลกระทบต่อสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้ถูกกระทำทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่ซ่อนเร้นอยู่ในระดับความรู้สึกนึกคิดอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการ ดำเนินชีวิตของมนุษย์ในระยะยาว กล่าวคือ ผลกระทบทางด้านจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนา พฤติกรรมที่รุนแรงในทุกรูปแบบ ตั้งแต่การกระทำความรุนแรงต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม เช่น ทัศนคติ การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา การกระทำที่ผิดกฎหมาย ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง โรควิตกกังวล ปัญหาการ ใช้ยาเสพติด ประสิทธิภาพการทำงานลดลงการปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทสมาชิกในครอบครัวและสังคมผิดปกติ และการก่ออาชญากรรมในสังคม เป็นต้น 2. ผลกระทบต่อครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวถือเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและเป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้ครอบครัวเกิดความแตกแยก ซึ่งอาจสร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายแม้ว่าเหตุการณ์จะเกิด ขึ้นกับสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัว ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างสมาชิกทั้ง ครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ที่มีความผูกพันใกล้ชิดกันมากกว่าความสัมพันธ์ รูปแบบอื่น นอกจากนี้ครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของมนุษย์หากมีการใช้ความรุนแรงย่อมส่งผลต่อการ
เจริญเติบโตหรือการใช้ชีวิตของบุคคลนั้นในระยะยาวต่อไป ทำให้มีโอกาสเข้าสู่วงจรการใช้ความรุนแรงใน รูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น กรณีเด็กถูกทอดทิ้ง กรณีเด็กมีปัญหาออกมาสร้างความเดือดร้อนในสังคม กรณี การฆาตกรรมในครอบครัว เป็นต้น เป็นภาระของชุมชนและสังคมที่ต้องแบกรับความเสียหายที่เกิดขึ้น 3. ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม เนื่องจากความรุนแรงในครอบครัวถือปัญหาใหญ่และส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ พื้นฐานครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงเสมือนเป็นแหล่งบ่มเพาะความรุนแรงให้แก่ปัจเจกบุคคล ก่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น อาจส่งผลร้ายทำให้เกิดอาชญากรรมที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น กรณีฆาตกรโหดเหี้ยมอำมหิต อาชญากรฆ่าข่มขืน และการก่อคดี อุกฉกรรจ์ เป็นต้น ดังนั้น ความรุนแรงในครอบครัวจึงมิได้เป็นเพียงปัญหาของครอบครัวหนึ่งเท่านั้น แต่เป็น ปัญหาของชุมชนและสังคม อีกทั้งความรุนแรงในครอบครัวยังทำให้ประเทศสูญเสียศักยภาพในการพัฒนาใน อนาคตอีกด้วย เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติ หากทรัพยากรมนุษย์ไร้ คุณภาพ เต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรง ย่อมเป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และเป็นอุปสรรคใน การพัฒนาสังคมด้วย 2.5 แนวคิดแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อินทรา ปัทมินทร (2543, อ้างถึงใน ศรีรัตน์ จาชัยภูมิ, 2544, น. 42-43) ได้กล่าวถึง วิธีการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ 1. การให้ความรู้ที่ถูกต้องโดยการให้ความรู้แก่ชายหญิงที่จะแต่งงานกันให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวใน การปรับตัวสำหรับชีวิตสมรสที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ที่จะเปลี่ยนจากความรักที่หวานชื่น กลายมาเป็นความ เคยชินมาเป็นความเบื่อหน่าย ภาระต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งด้านการเงิน การงาน การเลี้ยงดูลูก ๆ ให้ เติบโตเป็นคนดีของสังคม ซึ่งเป็นชีวิตที่แตกต่างจากการเป็นคู่รักอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าได้เตรียมตัวรับเหตุการณ์ ไว้ ล่วงหน้าก็จะเป็นการช่วยให้ปรับตัวได้ง่ายขึ้น 2. การเปลี่ยนทัศนคติโดยเฉพาะผู้ชายหลาย ๆ คน จะต้องเปลี่ยนความคิดจากความเชื่อว่าชายชาตรีต้อง ถึงพร้อมด้วยสุรานารี และการพนัน มาเป็นความเชื่อที่ว่าผู้ชายที่ดีต้องรักเดียวใจเดียว ต้องรับผิดชอบเรื่อง การเงินของครอบครัว เปลี่ยนจากความคิดที่ว่างานบ้าน งานเลี้ยงลูกเป็นงานของผู้หญิง มาเป็นร่วมแรงกัน ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน ภรรยาจะได้ไม่หงุดหงิดและลูกได้ใกล้ชิดพ่อ เปลี่ยนจากความเข้าใจผิดที่ ลูกเมียเป็นสมบัติส่วนตัวที่จะทุบตีก็ทำได้เสมอเป็นความคิดที่ว่าชายหญิงเท่าเทียมกัน พ่อคือผู้ปกครองคุ้มครอง ลูกเมีย ไม่ใช่ผู้ทำร้ายครอบครัวเสียเอง 3. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสามีภรรยาต้องปรับตัวเข้าหากัน พูดจากันด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้กำลังทำร้ายกัน ต้องทำตัวรักใคร่ สามัคคี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับลูก เลี้ยงลูกด้วย ความรัก ความอบอุ่น ลูกจะได้มีสุขภาพจิตและสามารถสร้างครอบครัวที่ดี
อภิญญา เวชยชัย (2546, น. 45-46) ได้กล่าวถึง แนวนโยบายในการแก้ไขป้องกัน แก้ไขปัญหาความ รุนแรงในครอบครัว ดังนี้ 1. คุ้มครอง ป้องกันเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ จากความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ 2. รัฐต้องให้ความช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวที่ที่ถูกกระทำความรุนแรงอย่างรวดเร็ว 3. รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างฐานข้อมูลด้านความรุนแรงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การ ตัดสินใจในการจัดทำแผน กำหนดมาตรการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 4. รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดทีมงานสหวิชาชีพที่ประกอบด้วยนักวิชาชีพต่าง ๆ พร้อมจัดเวทีใน การทำงานร่วมกัน โดยดำรงบทบาทเป็นศูนย์ Monitor และให้คำปรึกษาปัญหาร่วมกันสรุปบทเรียนและ ทิศทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาว นุ่มนวล ยัพราช (2549, น. 105-106) กล่าวถึง การต่อสู้ของผู้หญิงในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่น การเรียกร้อง สิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามปรารถนา การเรียกร้องสิทธิที่ไม่ถูกขายจากสามีและพ่อการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อ ผู้หญิงโดยภาพรวม อาจพิจารณาได้ดังนี้ 1. การใช้ภูมิปัญญาเครือข่ายทางสังคมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การใช้ระบบเครือ ญาติ เช่น การจัดพิธีแต่งงานอาจเป็นการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพราะในขั้นตอนการจัดพิธี การแต่งงานนั้นจะต้องมีการสู่ขอจากพ่อแม่และญาติฝ่ายหญิง โดยฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายให้ข้อเสนอและยืนยันว่า จะให้การเลี้ยงดูฝ่ายหญิงเป็นอย่างดีเปรียบเป็นลูกสาวของตนเอง พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะฝากฝังให้ฝ่ายชายดูแล และอบรมสั่งสอนลูกสาวตนให้ดีที่สุดด้วย ในพิธีแต่งงานแขกและญาติให้พรคู่บ่าวสาวเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ เพื่อ เป็นการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มักจะแก้ปัญหา ด้วยการนำพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายมาพุดคุยกัน ส่วนใหญ่จะให้มีการขอขมาด้วยการนำดอกไม้ธูปเทียนมากราบ ไหว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง สักขีพยานที่เป็นผู้อาวุโสและผู้นำชุมชน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนหรือ ปรามให้สามีภรรยารักกัน อดทน ให้อภัยเป็นต้น การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการนี้ได้ผลในอดีต แต่ปัจจุบันเพราะ ความเจริญทางด้านวัตถุ วิถีชีวิตของประชาชนในสังคมเปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นพิธีการแต่งงานอาจ เป็นสัญลักษณ์ทางวัตถุนิยมเท่านั้น 2. การใช้กลไกชุมชน เช่น กรณี บ้านทุ่งยาว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้มีการป้องกันปัญหาความ รุนแรงในครอบครัว ด้วยการใช้กฎระเบียบของชุมชนในการกำหนดให้สามีภรรยาที่แต่งานใหม่สามารถสร้าง เรือนหอของตนเองด้วยการอนุญาตให้ตัดไม้จากป่าชุมชนมาสร้างบ้านได้ โดยมีเงื่อนไขว่าสามีภรรยาต้องรัก และสามัคคีกัน ขยัน อดออม เพื่อสร้างครอบครัว หากมีการดื่มเหล้าและทำร้ายซึ่งกันและกัน คณะกรรมการป่า ชุมชนจะยึดบ้านคืนเป็นของส่วนกลาง เมื่อมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น คณะกรรมการจะให้ คำปรึกษาขอให้สามีภรรยามีการปรับปรุงแก้ไขให้ถึงที่สุด หากแก้ไขไม่ได้จึงจะยึดไม้ทำบ้านคืน เป็นต้น ซึ่งอาจ ดำเนินการได้เพียงบางครอบครัวเพราะปัจจัยแทรกช้อนต่าง ๆ อาจมีผล เช่น การอพยพแรงงานเข้าสู่ ภาคอุตสาหกรรมของวัยหนุ่มสาวทำให้เขามีค่านิยมสมัยใหม่คือชอบบ้านเรือนที่ทำด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย
จึงไม่สนใจใช้บริการสวัสดิการที่อยู่อาศัยของชุมชน แต่หันไปสนใจพึ่งพิงระบบทุนนิยมโดยการกู้ยืมจาก ภายนอกในการสร้างบ้านเรือนมากขึ้น 3. การแก้ปัญหาโดยรัฐบาลและกลุ่มคนชั้นกลาง การส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้หญิงตามอาชีพของสามี เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาทของการเป็นแม่ เป็นภรรยา การทำงานสังคมสงเคราะห์อาสาสมัคร ตลอดจนการทำอาชีพเสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในสภาวะเศรษฐกิจที่สามีภรรยาต้องช่วยกันหารายได้จุน เจือครอบครัว ต่อมาได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์เด็กและสตรี ให้มีการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อสตรี โดย กำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่อยู่ในภาวะวิกฤต จากความรุนแรง โดยมีคณะทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงการทำงาน โดยศูนย์ นี้เน้นการให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลจึงมีความเด่นชัดเฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาแบบตั้งรับ แต่ขยายผล ไปในเชิงป้องกันได้ยาก 4. การแก้ปัญหาโดยการฟ้องร้องคดีความ ส่วนใหญ่ผู้หญิงไม่กล้าดำเนินการทางด้านนี้ เพราะถือเป็น เรื่องอับอาย ครอบครัวแตกแยก เกิดผลกระทบกับลูกและสมาชิกในครอบครัว 5. การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดบทบาทหญิงชาย เป็นการให้ความรู้แก่หญิงชายให้เข้าใจบทบาทของกัน และกัน เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพื่อลดการกระทำความรุนแรงในครอบครัว มีการทำงาน เพียงกลุ่มเล็ก ๆ ที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน นับจากปี 2519 เช่น มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิผู้หญิง และองค์กร เครือข่าย ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวควรเริ่มจากการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่จะแต่งงานกัน การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของสามีภรรยา ตลอดจนการสร้าง กลไกภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายชุมชนเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง รวมถึงการปรับปรุงกลก มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ และการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในถึงปัญหาและผลกระทบของการใช้ความ รุนแรงในครอบครัว แนวทางการปฏิบัติตนในการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในครอบครัวโดยไม่ใช้ความ รุนแรง ซึ่งผู้เขียนได้ทำการปรับปรุงแก้ไขมากจากบทความความรุนแรงในครอบครัวของ สุพัตรา อภัย (Aphai, 2013) สามารถสรุปได้ดังนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ ความรุนแรงในครอบครัว วิธีการปฏิบัติ 1. เรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์และ ระบายความโกรธโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น เมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกับบุคคลในครอบครัว เราควรจะพูดคุย กันด้วยเหตุและผล มากกว่าการใช้อารมณ์ 2. มีเทคนิคการหลีกเลี่ยงหรือการ จัดการอย่างเหมาะสมเมื่อถูกก้าวร้าว เมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกับบุคคลในครอบครัว ที่ส่อไปในทางที่ รุนแรง เราควรที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อหาทางทำให้ใจเย็นลงก่อนหลังจากนั้น ค่อยพูดคุยเพื่อหาข้อยุติกัน 3. ให้ความรักความเข้าใจต่อคนใน เราควรให้ความรักกับทุกคนในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน และต้อง
ครอบครัว เรียนรู้ที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจซึ่งกัน และกัน 4. สร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น เอาใจ ใส่ มีบรรยากาศของความเป็นมิตร ดูแลเอาใจใส่ทุกคนในครอบครัวอย่างเหมาะสม คอยสร้าง บรรยากาศที่ดีมีความสุขให้เกิดขึ้นในครอบครัว 5. ลดความเครียดด้วยการเข้าร่วม กิจกรรมกีฬา นันทนาการ ดนตรีดู หนัง หรือหาสถานที่เที่ยวที่ผ่อน คลายอารมณ์ เมื่อเราเกิดความเครียด หรือบรรยากาศในครอบครัวเริ่มตรึงเครียด สมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกัน เราจึงควรที่จะหา กิจกรรมต่างๆ ให้ทุกคนในครอบครัวได้ทำร่วมกัน เพื่อเป็นการสาน สัมพันธ์ให้แก่สมาชิกในครอบครัว เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน เช่นเดิม 6. ขอคำปรึกษาจากญาติหรือเพื่อนที่ ไว้ใจได้หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการแก้ไข ปัญหานั้นในทันทีแต่ในบางกรณีที่ปัญหานั้นใหญ่เกินกว่าที่เราคน เดียวจะแก้ไขได้เราจึงควรขอคำปรึกษาจากบุคคลที่เราไว้ใจได้ไม่ว่า จะเป็นเพื่อน หรือญาติเพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปานวลัย ศรีราม และคณะ (2561) ได้วิจัยเรื่องความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็ก ใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อศึกษาปัญหาของความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัด ภาคใต้และเพื่อศึกษากระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นได้แก่สมาชิก ในครอบครัวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 29688 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 392ครัวเรือนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับความรุนแรง ในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1) ความรุนแรงใน ครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ จากผลการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงใน ครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของความรุนแรงใน ครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยคณะผู้วิจัยจะขอนำเสนอดังต่อไปนี้ 1. ด้าน ความรุนแรงทางด้านวาจา ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกในครอบครัวมักพูดจาให้ เด็กน้อยใจหรือบางครั้งอาจจะเป็นพ่อแม่เองที่พูดคำไม่สุภาพกันในบ้านหรือกับคนที่สนิทสนมโดยลืมนึกไปว่า ลูกได้ยินและรับฟังคำไม่สุภาพเหล่านั้น แล้วนำไปแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว 2. ด้านความรุนแรงทางด้านร่างกาย ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวที่มีความสำคัญมากที่ สุดทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่น หากสมาชิกในครอบครัวตีเด็กทันทีเมื่อเด็กทำให้โกรธ จะหล่อหลอมให้เด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ก้าวร้าว และ เด็กจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพออกมา หรือเกิดพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวผู้ปกครองและสมาชิกใน
ครอบครัว 3. ด้านความรุนแรงทางด้านสังคม ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเกิดความ รุนแรงขึ้นในสังคม เกิดจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็นไม่ตรงกันบ่อยครั้ง เกิดผลกระทบตามมา คือ ครอบครัวหรือแม้กระทั่งตัวเด็กขาดความสงบสุขเนื่องจากการทะเลาะเบาะแว้ง การด่าทอทุบตี ทำร้ายกันใน ครอบครัว ซึ่งก่อความรำคาญต่อเพื่อนบ้าน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยคณะผู้วิจัยจะขอนำเสนอดังต่อไปนี้ 1. ด้านความรุนแรงทางด้านวาจา ผู้ให้ข้อมูลสะท้อน ให้เห็นว่าพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวต้องระวังการพูดจาไม่เหมาะสมพูดจาให้เด็กน้อยใจ 2. ด้านความ รุนแรงทางด้านร่างกาย ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกในครอบครัวควรให้ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่และ อบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกเด็กอยู่เสมอ 3. ด้านความรุนแรงทางด้านสังคม ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ควรปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว พูดจากัน ด้วยเหตุผล เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ยงยุทธ แสนประสิทธิ์ (2554) ได้วิจัยเรื่อง รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดย กระบวนการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีการวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนของชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัด ปทุมธานี 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน โดยกระบวนการการมีส่วน ร่วม และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน โดยกระบวนการการ มีส่วนร่วมตามที่ได้พัฒนาขึ้น โดยแหล่งข้อมูลที่ศึกษาเป็นชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี การดำเนินการมี 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการวิจัย ซึ่งเป็นระยะเตรียมการและศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และระยะทำวิจัย ซึ่งใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยความร่วมมือของผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน ในการร่วมกันพัฒนา รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน ในส่วนของการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ผู้วิจัย ใช้การสังเกตแบบส่วนร่วมการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิพากษ์ร่วมกัน โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 32 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุมชนที่ศึกษามีสภาพความรุนแรงในครอบครัวทางวาจามากที่สุด รองลงมาคือทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางเพศ ตามลำดับ โดยระดับครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา มีมากที่สุด รองลงมาคือระดับที่มี ความขัดแย้งหรือความรุนแรงแต่ไม่ปรากฎผลชัด ส่วนระดับที่ความรุนแรงปรากฎชัดและต่อเนื่อง มีประมาณ 20 ครอบครัว และพบว่าชุมชนย่อยที่มีพื้นที่จำกัด แออัด และมีสภาพทางเศรษฐกิจไม่ดี จะมีปัญหาความรุนแรง ในทุกรูปแบบ ส่วนชุมชนย่อยอื่นๆ ที่มีสภาพเสี่ยงน้อยกว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าแต่ก็พบว่ายังคงมีปัญหา โดยสาเหตุของปัญหามาจากทั้งสภาพภายในตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม 2. วิธีการพัฒนา รูปแบบการป้องกันปัญหา มีการดำเนินการใน 2 วงรอบ โดยวงรอบแรกได้พัฒนาผู้นำชุมชนด้วยกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมวิเคราะห์ปัญหา และพัฒนาครอบครัวแกนนำด้วยกิจกรรมพัฒนาความรู้และ ทักษะในการใช้ชีวิตครอบครัว การสังเกตและสะท้อนผล พบว่า เกิดความร่วมมือของหลายฝ่ายในชุมชนจนทำ ให้กิจกรรมบรรลุเป้าหมายคือผู้นำชุมชนมีความรู้ เข้าใจและมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ปัญหา และครอบครัว
แกนนำมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางบวก สำหรับวงรอบที่ 2 ได้พัฒนาครอบครัวเสี่ยงด้วยกิจกรรม ปรับความเข้าใจ และการเสวนาเพื่อ บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิธีการดำเนินการ การพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง ซึ่งทางผู้ออกแบบนวัตกรรม ได้กำหนดขอบเขตและวิธีการวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ประชากรที่ศึกษา 3.2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 3.4 ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) 3.1 ประชากรที่ศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น อนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองเสือ (Banklongsua) หมู่ที่ 15 บ้านคลองเสือ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา 30130 จำนวน 10 คน 3.2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เด็กปฐมวัยเพศหญิงจำนวน 1 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองเสือ (Banklongsua) หมู่ที่ 15 บ้านคลองเสือ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 เลือกด้วย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล - แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ปกครอง เรื่อง การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 3.4 ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. อาจารย์ที่ปรึกษาทำการตรวจแนะนำในรายละเอียด และแก้ไขแบบสัมภาษณ์ให้สมบูรณ์ 2. ผู้วิจัยทำเรื่องติดต่อผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาการแก้ปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ให้สัมภาษณ์คือ นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เพศ หญิง อายุ 31 ปี
3. ผู้วิจัยลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาการแก้ปัญหาความรุนแรง โดยผู้วิจัยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยต้องถามคำถามโต้ตอบกับผู้ถูกสัมภาษณ์ 4. ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ในครอบครัวของกลุ่ม ตัวอย่างมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 5. สมาชิกภายในกลุ่มวิเคราะห์ระดมความคิดช่วยกัน นำปัญหาจากการสัมภาษณ์ปัญหาการแก้ปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว มาจัดการแก้ไขโดยใช้ปัญหาที่เจอให้เป็นโอกาส โดยการออกแบบนวัตกรรมคือ การ จัดกิจกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” โดยให้พ่อแม่และตัวเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อส่งเสริม การใช้เวลาร่วมกันระหว่างครอบครัว เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็ก 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำสรุปประเด็นที่น่าสนใจเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการตั้งคำถามที่ ใช้ในการสัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยทำการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพื่อ นำไปวิเคราะห์ว่าเหตุใดผู้ให้สัมภาษณ์จึงมีคำตอบเช่นนี้และนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้างต้น มาวิเคราะห์ อีกครั้งหนึ่งโดยใช้กรอบทฤษฎีที่ได้วางไว้ข้างต้นมาเป็นใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปที่สามารถตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษา และผู้วิจัยจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นั้นมาใช้เพื่อเป็นแนวทาง ในการเสนอข้อคิดเห็นของผู้วิจัยเองด้วย 3.6 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) "ความรุนแรง" (Violence) หมายถึงพฤติกรรมและการกระทำใดๆ ที่เป็นการถ่วงละเมิดสิทธิส่วน บุคคล ทั้งทางร่างกาย วาจา จิตใจ ทางเพศ โดยการบังกับขู่เข็ญ ทำร้าย ทุบตี เตะต่อย ตลอดจนคุกคาม จำกัด สิทธิเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและ ในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลและอาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ ทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ (อรอนงค์ อินทรจิตรและนรินทร์ กรินชัย, 2542: 3) ความรุนแรงในครัวเรือน (Family Violence) หมายถึงการกระทำใดๆ หรือการละเว้นการกระทำใดๆ ต่อบุคคลที่ผู้ถูกกระทำความรุนแรง ทำให้บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวนั้นได้รับการบาดเจ็บอย่างสาหัส (Wallace, 1996) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีหลายประการ ดังนี้ (บุญเสริม หุตะแพทย์, 2545: 9-10) 1. การทำร้ายร่างกาย เป็นการทำร้ายโดยการใช้กำลัง เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย รวมถึงการใช้อาวุธหรือสิ่งใด สิ่งหนึ่งจนได้รับบาคเจ็บหรือเสียชีวิต 2. การทำร้ายจิตใจ เป็นการทำร้ายโดยใช้คำพูด ใช้คำพูดที่หยาบกาย ดูถูกเหยียดหยามทำให้ผู้ถูกกระทำ ได้รับความอับอาย เสียหาย ขาดความเชื่อมั่นและการนับถือตนเอง มีผลเสียทางด้านจิตใจ 3. การใช้ความรุนแรงทางสังคมเป็นการปล่อยปละละเลย ไม่ให้ความสนใจ ไม่ให้ความสำคัญ ขัดขวาง
ความก้าวหน้า จำกัดสิทธิที่พึงมีทางสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับญาติพี่น้องหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ใน ครอบครัว การคบเพื่อน 4. การใช้ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ เป็นการควบคุมและยึดทรัพย์สินต่างๆ การจำกัดค่าใช้จ่าย รวมทั้ง การไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว 5. การทำทารุณกรรมทางเพศ เป็นการกระทำถ่วงเกินทางเพศในลักษณะการอนาจาร ข่มขืนกระทำ ชำเราบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม รวมทั้งการบังกับให้ขายบริการทางเพศ อย่างไรก็ตาม (ธีรวุฒิ นิลเพ็ชร์, 2561: 13) ได้ให้ความหมาย ความรุนแรงในครัวเรือน (Domestic Violence) ไว้ว่า ความรุนแรงในครัวเรือน หมายถึง การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพของคนในครอบครัวหรือบังคับ หรือใช้อำนาจครอบงำ ผิดครองธรรมให้ บุคคลในครอบครัว ต้องกระทำการ ไม่กระทำการหรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่ รวมถึงการกระทำโดยประมาท บทที่ 4. ผลการการศึกษา (Results) การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ ในการออกแบบวัตกรรมเรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง ผู้ออกแบบวัตนกรรมได้ศึกษาผลการวิเคราะห์จากการถอดแบบคำสัมภาษณ์ซึ่งทีข้อมูลดังนี้ 4.1 ข้อค้นพบ ผลการวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สามารถนำเสนอผลได้ ดังนี้ “บางครั้ง บางทีคำพูดของเราก็พูดไม่เพราะ พูดออกมาโดยไม่คิด จนบางครั้งก็เผลอตะคอกใส่ลูกเวลา ที่โมโหมากๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว” “แต่ก็มีบ้างบางครั้งค่ะที่เผลอใช้อารมณ์หรือบางทีเราลืมตัวค่ะก็เผลอใช้อารมณ์ กับลูกมากกว่าเหตุผลในการอบรมสั่งสอนลูก” (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) ปัญหาในด้านนี้ นั้น ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า คนในครอบครัว หรือผู้ปกครองมีการใช้วาจาให้เด็กน้อยใจหรือบางครั้งพ่อแม่ พูดคำไม่สุภาพกับลูกในบ้าน นั่นจะหล่อหลอมให้เด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ก้าวร้าว และเด็กจะแสดง พฤติกรรมที่ไม่สุภาพออกมา หรือเกิดพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวซึ่งนำไปสู่ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากครอบครัวถือเป็นสถาบันทางสังคมที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เรียนรู้ซึ่งกัน และกัน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ความรุนแรงจากคนในครอบครัว (Suwat, 2001; 17) กล่าวกันว่าผู้มีประสบการณ์ความรุนแรงทั้งประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ถูกกระทำ และประสบการณ์อ้อมใน ฐานะผู้สังเกตการณ์ความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะเรียนรู้บรรทัดฐานที่ยอมรับการใช้ความรุนแรงและตัวแบบ บทบาทที่ใช้ความรุนแรง และเมื่อเกิดความขัดแย้งกับคู่สมรสก็จะเลียนแบบพฤติกรรมโดยใช้ความรุนแรงใน การแก้ไขปัญหา (พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์, 2529) “บางครั้งที่เราใช้เหตุผลคุยกันไม่เข้าใจ เราก็จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง” (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) ปัญหาในด้านนี้นั้นแสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว นั่นจะหล่อหลอม
ให้เด็กเรียนรู้การใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เมื่อเป็นฝ่ายถูกกระทำโดยตรง หรือเลียนแบบเมื่อเห็น ประสบการณ์โดยอ้อม จากต้นแบบของคนในครอบครัว ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมได้กล่าวถึงการเรียนรู้ที่ นำไปสู่ความรุนแรงในหลายลักษณะ เช่น “จะมีบ้างในบ้างครั้งที่ลูกทำผิดจะมีการลงโทษลูก เช่น การตีด้วยมือ และมีการว่ากล่าวตักเตือน บอกข้อเสียในสิ่งที่ตัวเองได้ทำไป แต่ก็ทำไปเพราะรัก” (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) เมื่อบุคคลถูกพ่อแม่ทำโทษด้วยความรัก ก็จะเรียนรู้ว่าคนที่รักเราจะเป็นผู้ที่ทำร้ายเรา มากที่สุด และกระทำด้วยความรัก ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างความรักกับความรุนแรง และเรียนรู้ว่าความ รักกับความรุนแรงเป็นของคู่กัน หรือแม้แต่การลงโทษของบิดามารดาเพื่ออบรมสั่งสอน บุคคลก็จะเกิดการ เรียนรู้สิทธิในการใช้กับความรุนแรงกับสมาชิกคนอื่น ๆ จนกลายเป็นความรู้สึกชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง เพื่อการสั่งสอน รวมทั้งการเรียนรู้ว่าความรุนแรงเป็นสิ่งที่นำมาแก้ไขปัญหาได้เมื่อใช้วิธีการอื่นแล้วไม่บรรลุผล อันเกิดจากการที่บุคคลเคยได้รับคำขู่หรือลงโทษจากบิดามารดา จนกลายเป็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต่อ บุคคลอื่นต่อเนื่องไปในที่สุด (Straus; Gelles; & Steinmetz. 2006; 97) 4.2 ความรู้/แนวคิดที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากหลายปัจจัยและส่งผลกระทบต่อเด็ก และสมาชิกครอบครัว อย่างมาก หากมีการตรวจพบและป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นก็จะลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัวของเด็ก โดยศึกษาจากครอบครัวเด็กอายุระหว่าง 2-3 ปี เพศหญิงจำนวน 1 คน ในเขตพื้นที่บ้านโคกคลองเสือ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เลือกด้วย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง การเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัวจะช่วยให้บุคคลใน ครอบครัวได้รับการปลูกฝัง มีทัศนคติที่เป็นไปในทางที่ดีและถูกต้องต่อสถาบันครอบครัว เป็นครอบครัวที่มี คุณภาพ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมต่อไปในอนาคตก็จะมีจำนวนน้อยลง ผู้วิจัยจึงออกแบบ นวัตกรรมโดยใช้ “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” ซึ่งจะรวบรวมหนังสือนิทาน วรรณกรรม ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้ความบันเทิง กล่อมเกลาสังคม ตลอดจนเป็นทางออกของความขัดแย้งและกฎเกณฑ์ในสังคมไทย อีกทั้ง นิสัยรักการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ ยิ่งเด็กได้คุ้นเคยกับหนังสือตั้งแต่ อายุยังน้อยจะผลดีต่อตัวเด็ก เป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเขาทั้งปัจจุบันและในอนาคต หนังสือที่ เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กจะเป็นรากฐานในการส่งเสริมการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของประเทศอย่างมีคุณภาพ ซึ่ง หนังสือนิทานมีความจำเป็นต่อการสร้างพลเมืองตื่นรู้ตั้งแต่ปฐมวัย เป็นเครื่องมือสื่อสารกับเด็กปฐมวัย ทางด้าน กฎกติการะเบียบวินัยของสังคม ให้ความรู้และวัฒนธรรมที่ดีที่ต้องการธำรงไว้ในสังคม ส่งเสริมวัฒนธรรมความ เป็นประชาธิปไตย สร้างเด็กให้กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมประสบการณ์ ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีมีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เด็กปฐมวัย สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้จากเรื่องราวในหนังสือมาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นมากนัก และยังสามารถพัฒนาความคิดต่อยอดจากการอ่านสู่การแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ เหมาะสมสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่เด็กสามารถเข้าถึงหนังสือนิทานจะช่วยเพิ่ม กระบวนการทางความคิด (Mindset) ที่มีชุดความคิดที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองตื่นรู้ได้โดยง่าย
บทที่ 5 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กปฐมวัยเชิงพื้นที่ จากการศึกษา เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง มีขอบเขตและวิธีการวิธีการดำเนินการใน ประเด็นดังนี้ 1. การออกแบบนวัตกรรม กุลยา ตันติผลาชีวะ (2541:2-10) ได้ระบุไว้ว่า นิทาน คือ สิ่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่มีเด็กคนใดไม่ชอบฟังนิทาน นิทานสามารถสร้างจินตนาการ ความฝัน ความคิด ความเข้าใจ และการรับรู้ให้กับเด็กดังนั้น การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะช่วยส่งเสริม การเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เท่านั้น แต่เนื้อหาในนิทานต้องมีความน่าสนใจ และสอดแทรกสาระความรู้ เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์จากการ ฟังนิทาน ตัวละครในนิทานจะต้องเป็นตัวละครที่ช่วยสร้างจินตนาการมีทั้งตัวละครที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่เด็กควร ปฏิบัติตาม และมีตัวละครที่สะท้อนถึงความไม่ดีเพื่อเป็นตัวอย่างที่เด็กควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้น เช่น นิทาน เรื่อง ป๋องแป๋งรักแม่ครับ เป็นนิทานภาพคำกลอนเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างป๋องแป๋งกับแม่ ช่วย สร้างสายสัมพันธ์ หรือ attachment ที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมเชิงบวกให้ลูกในอนาคต ช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกัน ใจและรู้จักควบคุมตัวเอง พร้อมแนวทางเลี้ยงลูกที่เหมาะสม ช่วยพัฒนาอารมณ์และจิตใจ สำหรับการออกแบบนวัตกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” มีขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดหัวข้อในการจัดกิจกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” โดยจะให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านฟังนิทานจากกิจกรรมที่จัดขึ้น 2. ประชาสัมพันธ์ ประชาชนในพื้นที่ ได้ทราบถึงกิจกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” เคลื่อนไหวโดยเสียงตามสายของชุมชน โบว์ชัวร์ และแผ่นพับ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ 3.ขั้นวางแผนการทำกิจกรรม ซึ่งกล่าวถึงที่มาของจัดกิจกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ยับยั้งความรุนแรง” ซึ่งผู้จัดทำวางแผนโดยการสำรวจในชุมชน และพบเห็นปัญหาการใช้ความรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัว และนำไปสู่ตัวเด็ก 4. นำเข้าสู่กิจกรรม จัดกิจกรรมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้เวลาร่วมกันระหว่างครอบครัว เป็นการสาน สัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็ก โดยจะให้ผู้ออกแบบนวัตกรรม ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมและให้ผู้ปกครองเข้ามา มีบทบาทในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กด้วย ซึ่งกิจกรรมจะมีการเล่านิทานโดยสอนผู้ปกครองเล่านิทานสร้าง ความคิดแก่เด็ก มีขั้นตอนดังนี้ - แนะนำหนังสือนิทาน ที่จะสอนให้ผู้ปกครองเล่านิทานให้กับเด็กฟัง - สอนการเล่านิทานจากในหนังสือให้ผู้ปกครองทราบ การเล่านิทานไม่ใช่การอ่าน ตามตัวหนังสือแต่ต้องทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ และชี้ภาพในหนังสือนิทานให้เด็กดูตาม เพื่อเกิดจินตนาการตามที่กำลังเล่าเรื่อง
- หาส่วนประกอบช่วยในการสร้างจินตนาการเพื่อให้เข้าใจในนิทาน เช่น หุ่นมือมา ใช้ประกอบการเล่านิทาน - การเล่านิทานด้วยหุ่นมือต้องสอดมือเข้าไปในหุ่นมือทุกนิ้วมือ โดยใส่นิ้วโป้งเข้าไป ในหุ่นมือทางช่องปาก และนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วก้อยทางช่องหน้าส่วนบนของหุ่นมือ ถ้าอยากให้หุ่นมือพยักหน้า ให้ขยับนิ้วโป้ง นิ้วขี้ นิ้วกลาง นิ้วก้อยเข้าหากันได้ตาม ชอบใจ - ทำเสียงพากย์ตามหุ่นมือของตัวละคร โดยทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ประกอบกับท่าทาง ให้ดูน่าสนใจเพื่อเล่นหุ่นมือพร้อมกับการเล่านิทานจากเค้าโครงของหนังสือนิทาน ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ความบันเทิง กล่อมเกลาสังคม ตลอดจนเป็นทางออกของความขัดแย้งและกฎเกณฑ์ในสังคมไทย ทั้งนี้นิทานจะมีเนื้อหาเเรื่องราวเกี่ยวกับ ความรักความผูกพันระหว่างลูกกับพ่อแม่ เพื่อน การอยู่ร่วมกันในสังคม การช่วยสร้างสายสัมพันธ์ หรือ attachment ที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมเชิงบวกให้ลูกในอนาคต ช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกันใจและรู้จักควบคุม ตัวเอง พร้อมแนวทางเลี้ยงลูกที่เหมาะสม การพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา การพัฒนา IQ EQ MQ AQ SQ 5. สรุปภาพรวม การให้ความร่วมมือระหว่างผู้ออกแบบนวัตกรรม ครู ผู้ปกครองและตัวเด็ก ในการร่วม กิจกรรมเล่านิทานสร้างความคิด กิจกรรมนี้จะสื่อให้ผู้ปกครองทราบว่า การเล่านิทานไม่ใช่การอ่านตาม ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ยังสื่อให้เห็นถึงการเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัว ซึ่ง จะช่วยให้บุคคลในครอบครัวได้รับการปลูกฝัง มีทัศนคติที่เป็นไปในทางที่ดี เป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ ปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวของสังคมต่อไปในอนาคตก็จะมีจำนวนน้อยลง 2. บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม 2.1 ผู้พัฒนานวัตกรรม ผู้พัฒนานวัตกรรมได้พบเห็นปัญหาการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ซึ่งนำไปสู่เด็ก จึงอยากเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยการนำปัญหาที่พบมาใช้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ ดังนั้นจึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.2 ครู ผู้ดูแล ผู้เลี้ยงดูเด็ก และบุคลากรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับ ผู้ออกแบบนวัตกรรม และผู้ปกครอง 2.3 ชุมชน เป็นผู้ให้ข้อมูลและเป็นผู้อำนวยความสะดวกในติดต่อสื่อสาร ประสานงานกับผู้ปกครองแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ และอำนวยความสะดวกในเรื่องพื้นที่ในการจัดกิจกรรม 2.4 พ่อแม่ ผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้เกิดการเรียนรู้ 2.5 เด็ก เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรมกับคุณครูและชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้เกิดการ เรียนรู้จากประสบกรณ์ตรง
3. Infographic ประกอบอธิบายนวัตกรรม
เอกสารอ้างอิง กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ, (2546), ความรุนแรงในชีวิตคู่กับสุขภาพผู้หญิง, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, (2539), สันติทฤษฎี วิถีวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ; มูลนิธิโกมลคีมทอง. ………………., (2533), ท้าทายทางเลือก; ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง, กรุงเทพฯ; มูลนิธิโกมลคีมทอง. นญา พราหมหันต์, “ทายาทความรุนแรง ; แนวคิดประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความ รุนแรง”, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๖๐) ๑๔๖ – ๑๔๘. นุ่มนวล ยัพราช, (2549), การนําความเสมอภาคหญิงชายเข้าสู่กระแสหลักของการพัฒนาใน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. นัฐวุฒิ สิงห์กุล, (2556), ความรู้และอำนาจ ; ภาพสะท้อนความรุนแรงเชิงโครงสร้างและ วัฒนธรรมในระบบสุขภาพไทย ศึกษาผ่านกรณี ผู้ติดเชื้อ แรงงานข้ามชาติและ ชาวนาอีสานในสังคมไทย, สืบค้น 9 ตุลาคม 2564, จาก http://nattawutsingh. blogspot.com/2013/03/blog-post.html. บุญเสริม หุตะแพทย์, (2555), พัฒนากลไกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำความรุนแรงใน ครอบครัว, มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. ……………..., (2545), ลักษณะการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว นนทบุรี; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปานวลัย ศรีราม และคณะ, (2561), ความรุนแรงในครอบครัวมีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน จังหวัดภาคใต้, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์, (2529), การขัดเกลาทางสังคม; กรอบในการวิเคราะห์เชิงสังคมวิทยา, กรุงเทพฯ ; คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ยงยุทธ แสนประสิทธิ์, (2554), รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการ การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน; กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี,ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), กรุงเทพฯ; บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วันทนีย์วาสิกะสิน, และ สุนีย์เหมะประสทธิ์, (2545), การศึกษาค่านิยมและทัศนคตของสังคมไทย ต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,สถาบันไทยคดีศึกษา, ศรีรัตน์จ่าชัยภูมิ, (2544), ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก; ศึกษาเฉพาะ กรณีผู้ปกครองที่เป็นสมาชิกชมรมครอบครัว มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก, (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. อภิญญา เวชยชัย, (2546), สภาวการณ์ของเด็กเยาวชนและครอบครัวและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุษณีย์ ธโนศวรรย์, และ ศรีชัย พรประชาธรรม, (2553), ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย,
กรุงเทพฯ; มติชน. Bandura, A, (1977), Social Learning Theory, New York; General Learning Press Burr, R, Wesley; Day, D. Randel; & Bahr, S.Kathleen, (1993), Family Science, California; Brooks/Cole. Giles-Sims, J, (1983), Wife-Beating; A Systems Theory Approach, New York; Guilford. Galtung, J, (1990), Cultural violence Johan Galtung College of social sciences, University of Hawaii, Manoa, Journal of Peach Research, 27(3), 291-305. Kuhn, A, (1974), The Logic of Social Systems, San Francisco; Jossey-Bass. Iglehart, Alfreda, P; & Becerra, Rosina M, (1995), Social Services and the EthnicCommunit, Boston; Allyn & Bacon. Straus, Murray A, (1973), A General Systems Theory Approach to a Theory of Violence Between Family Members, Social Science Information, (12);105–125 ---------, (1980), Wife-Beating ; How Common and Why? inThe Social Causes of Husband-Wife Violence, Minnesota; University of Minnesota Press. Suwat Srisorrachatr, (2001), Domestic Violence; Socio-cultural Perspective and Social Intervention in a Thai Community, Ph.D Thesis (Philosophy), Nakhon Pathom; Mahidol University. Straus, Murray A, Gelles, Richard J; & Steinmetz, Suzanne K, (2006), Behind Close Door; Violence in the American Family, Arizona; Transaction Publishers, Walonick, David S, (1993), General System Theory, Retrieved May 28, 2009, from www.survey-sofware-solution.com/walonick/systems-theory.htm.
ภาคผนวก แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ปกครอง เรื่อง การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คำชี้แจง แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ตอนที่ 2 ข้อมูลด้านประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ตอนที่ 3 ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ 1. ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เพศ หญิง อายุ 31 ปี 2. ระดับการศึกษา ปวส สถานที่ทำงาน ค้าขายที่บ้าน 3. รายรับของครอบครัว/เดือน 30000 จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 คน 4. สถานภาพของบิดามารดา ( / ) อยู่ด้วยกัน ( ) แยกกันอยู่ ( ) บิดาแต่งงานใหม่ ( ) มารดาแต่งงานใหม่ ( ) บิดาและมารดาแต่งงานใหม่ ( ) หย่าร้าง ( ) บิดาหรือมารดาหรือทั้งสองถึงแก่กรรม 5. บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย ( ) บิดามารคาและพี่น้อง (ครอบครัวเล็ก) ( / ) บิดามารดาพี่น้องและญาติ (ครอบครัวใหญ่) ( ) ปู่ย่า ตายาย หรือญาติ ( ) บิดา/มารดา และครอบครัวใหม่ของบิดา/มารดา 6. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ( ) ดื่ม ( / ) ไม่ดื่ม ความถี่ของการดื่ม ( ) 2-3 เดือนดื่ม 1 ครั้ง ( ) ดื่มเดือนละ 2-3 ครั้ง ( ) ดื่มเดือนละครั้ง ( ) ดื่มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ( ) ดื่มสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ( ) ดื่มทุกวัน
ตอนที่ 2 ข้อมูลด้านประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว คำถามที่ 1 ท่านเคยใช้ความรุนแรงในการลงโทษลูกบ้างหรือไม่ อย่างไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ก็เคยนะคะ เพราะว่าบางครั้งที่ลูก ทำผิดก็จะต้องลงโทษ แต่ว่าการ ลงโทษก็จะใช้มือตี แล้วก็บอกลูก ว่าไม่ควรทำอีกหรือว่าสิ่งไหนที่ไม่ ดีก็จะแนะนำดูว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ หรือว่าควรทำอย่างไร แต่ก็ทำไป เพราะรัก เพราะว่าพฤติกรรม บางอย่าง ถ้าเราไม่บอกตั้งแต่เด็ก ลูกก็ อาจจะเอาไปทำตอนโตได้มันก็จะ ทำให้กลายเป็นนิสัย จะมีบ้างในบ้างครั้งที่ลูกทำผิดจะมี การลงโทษลูก เช่น การตีด้วยมือ (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) และมีการว่ากล่าวตักเตือน บอก ข้อเสียในสิ่งที่ตัวเองได้ทำไป (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 2 ท่านเคยทะเลาะกับบุคคลในครอบครัวโดยใช้วาจาหยาบคายหรือตะกอกใส่กันต่อหน้าลูกหรือไม่ อย่างไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เคยเป็นอยู่นะคะบางครั้ง บางที คำพูดของเราก็พูดไม่เพราะ พูด ออกมาโดยไม่คิด จนบางครั้งก็ เผลอตะคอกใส่ลูกเวลาที่โมโห มากๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวค่ะ แต่พอ รู้ตัวแล้วก็จะหยุด แต่ว่าก็จะเป็น นาน ๆ ครั้งค่ะ เคยเป็นอยู่บางครั้งเผลอพูดไม่ เพราะ มีตะคอกใส่เป็นบางครั้ง แต่พอรู้ตัวแล้วก็จะหยุด (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 3 ท่านเคยปล่อยลูกไว้คนเดียวหรือไม่ อย่างไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ไม่เคยปล่อยลูกไว้คนเดียวสักครั้ง เลยค่ะ เพราะว่ากลัวจะมีคนมารัก พาตัวลูกไปเหมือนในข่าวค่ะ ถ้า ไม่เคยปล่อยลูกไว้คนเดียวเลย กลัวลูกเกิดอันตราย กลัวมีคนมา ลักพาเหมือนในข่าวที่เกิดขึ้นบ่อย
แบบเวลาเราไม่ว่างก็จะฝากให้ย่า ดูลูกแทน เค้าก็จะเล่นอยู่กับย่าค่ะ กลัวลูกออกไปข้างนอกไปเล่นกับ เพื่อนแล้วจะพากันดื้อเลยให้อยู่ กับย่า ๆ (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 4 ท่านมีวิธีจัดการอย่างไร เมื่อลูกแสดงความก้าวร้าวต่อหน้าผู้อื่น ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ก็จะสั่งสอนลูกค่ะ จะบอกจะสอน ลูกว่าสิ่งนี้ทำไม่ได้นะ ทำแบบนี้ แล้วจะเป็นเด็กไม่น่ารัก จะไม่มี ใครรักหนูนะ จะบอกลูกว่าสิ่งไหน ทำได้สิ่งไหนไม่ควรทำค่ะ สั่งสอนลูก บอกลูกว่าสิ่งนี้ทำไม่ได้ ทำแบบนี้ไม่ได้ ทำแบบนี้จะเป็น เด็กไม่น่ารัก ไม่ควรทำ (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 5 ท่านเคยอบรมสั่งสอนลูกโดยใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลหรือไม่ อย่างไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ไม่เคยนะคะ แต่ก็มีบ้างบางครั้ง เลยค่ะที่เผลอใช้อารมณ์หรือบางที เราลืมตัวค่ะก็เผลอใช้อารมณ์กับ ลูกมากกว่าเหตุผลในการอบรมสั่ง สอนลูกเราค่ะ แต่ในส่วนมากแล้ว ก็จะใช้เหตุผลพูดคุยกับลูก มากกว่าค่ะ ไม่เคย เพราะไม่ควรเอาอารมณ์ไป ลงกับลูกส่วนมากจะใช้เหตุผลคุย กับลูกมากกว่า (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 6 ท่านเคยพบเห็นเพื่อนบ้านทะเลาะกันโดยใช้วาจาหยาบคายหรือตะคอกกันอย่างรุนแรงหรือไม่ ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เคยพบเจอนะคะ แต่ไม่ได้พบเจอ บ่อย ส่วนใหญ่จะพบเห็นบรรดา ญาติพี่น้องของตัวเองค่ะที่ทะเลาะ กัน แล้วก็ข้างพบเจอบริเวณ เพื่อนบ้านข้างๆกันค่ะ เคยพบเจอบ้างบางครั้ง ที่เห็นข้าง บ้านตีกันหรือทะเลาะกัน (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565)
ตอนที่ 3 ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คำถามที่ 7 ท่านคิดว่าการปรึกษาปัญหาครอบครัวกับบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำหรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ บางครั้งเราก็ควรปรึกษานะคะ เพราะว่าเรื่องบางเรื่องก็สามารถ เล่าสู่กันฟังหรือว่าเอามาแชร์ให้พี่ น้องบ้านใกล้กันฟังได้ จะได้ไม่ ต้องเก็บไว้คนเดียว บางทีเราเอา มาพูดให้คนอื่นฟังอย่างนี้ เขาก็จะ ให้คำปรึกษาเราแล้วก็คอยแนะนำ เรื่องต่าง ๆค่ะ ทำได้ แต่เป็นบางครั้งคราว เพราะ เรื่องบางเรื่องเราก็ต้องการ คำปรึกษา การเล่าหรือแชร์ให้ เพื่อนบ้านหรือพี่น้องที่สนิทฟัง (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 8 ท่านคิดว่าการพูดจากันอย่างมีเหตุผลมักใช้แก้ปัญหาครอบครัวได้หรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ได้ค่ะ เพราะว่าการพูดคุยอย่างมี เหตุผล โดยที่เราไม่ใช้อารมณ์จะ ทำให้เราสามารถพูดคุยถึงปัญหา ที่เกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่เกิดการ ทะเลาะกันรุนแรงค่ะ เวลามี ปัญหาก็ปรึกษากันได้ทุกเรื่อง ไม่ ว่าเรื่องจะเล็กน้อยแค่ไหนถ้าเรา ไม่คุยกันด้วยเหตุผล ปัญหาใหญ่ จะตามมาแน่นอนค่ะ ได้ เพราะการพูดคุยกัน อย่างมี เหตุผล โดยไม่ใช้อารมณ์จะทำให้ เราสามารถจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในครอบครัวของเราได้ (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 9 ท่านคิดว่าเมื่อเกิดปัญหาควรพูดจาด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์ต่อกันหรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ใช่ค่ะ เพราะในการใช้อารมณ์ บางครั้งทำให้เป็นปัญหาบาน ปลาย ไม่จบไม่สิ้น ยืดเยื้อ บางครั้งถ้าเจอปัญหาเล็กๆที่ สามารถคุยกันด้วยเหตุผลได้ก็จะ เป็นผลดี เพราะเราสามารถปรับ ใช่ เพราะการใช้อารมณ์อาจ นำไปสู่จะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นไม่ จบไม่สิ้น การพูดคุยด้วยเหตุคือ การแก้ปัญหาทางออกที่ดี (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565)
ความเข้าใจและไม่ทำให้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวมี ปัญหาค่ะ คำถามที่ 10 ท่านคิดว่าเมื่อเกิดปัญหาควรหลีกเลี้ยงการใช้กำลังทำร้ายกันหรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ควรหลีกเลี่ยงนะคะ เพราะใน บางครั้งการใช้กำลังก็ไม่ใช่การ แก้ปัญหาค่ะ เวลาเรามีปัญหากัน เราก็ควรจะพูดคุยกันค่ะ ถ้าหาก ว่าเราทำร้ายร่างกายลูก อาจจะ เป็นการตี การด่าแรงๆ ก็จะทำให้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ค่ะ แล้ว บางครั้งเวลาที่เราด่าลูก ลูกก็จะ แบบเสียความรู้สึก มันจะเป็น ตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับลูก ถ้าเขาโต ไปเขาก็อาจจะเอาไปใช้ทำกับคน อื่นได้ ควรหลีกเลี่ยง เพราะในการใช้ กำลังมันไม่ใช่การแก้ปัญหา การ ใช้เหตุผลและการพูดคุยคือ ทางออกที่ควรทำ (สมหญิง แก้ว จันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 11 ท่านคิดว่าการตบตีทำร้ายร่างกายของสมาชิกในครอบครัวถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ขอมรับได้ หรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และไม่ควร ทำค่ะ เพราะว่ามันไม่สมควรที่จะ มาใช้กำลังในการทำร้ายร่างกาย กัน ควรจะใช้เหตุผลคุยกัน มากกว่า เวลาที่ลูกทำผิดก็ไม่ควร จะตบตีทำร้ายร่างกายลูก เราก็ ต้องดูก่อนว่าเวลาเขาทำผิดเขามี เหตุผลอะไรที่เขาทำอย่างนั้น แล้ว ก็ต้องมานั่งคุยกันว่าทำไมถึงทำ แล้วก็บอกเขาว่าสิ่งนี้ไม่ดีนะไม่ ควรทำอีก ถ้าหากว่าไปตีเขาเขา ก็อาจจะแบบร้องไห้แล้วก็โกรธเรา ไม่ควร เพราะ มันไม่สมควรที่จะ มาใช้กำลังในการทำร้ายกัน ให้ คุยกันด้วยเหตุผลมากกว่า (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565)
แล้วก็อาจจะไปทำ อาจจะทำแบบ ประชดเราค่ะ ก็เลยคิดว่าเวลามี ปัญหากันก็ควรมานั่งคุยกันใช้ เหตุผลคุยกันน่าจะดีกว่าค่ะ คำถามที่ 12 ท่านคิดว่าการใช้กำลังแก้ปัญหาชีวิตในครอบครัว บางครั้งเป็นวิธีที่สามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ก็ทำได้นะคะเพราะว่าบางครั้งเรา ก็ต้องทำเพื่อเรียกสติซึ่งกันและกัน ค่ะ บางครั้งที่เราใช้เหตุผลคุยกัน ไม่เข้าใจเราก็จำเป็นต้องใช้ความ รุนแรง แต่ว่าก็ไม่ต้องทำรุนแรง จนเกินไป จนแบบกลายเป็น เรื่องราวใหญ่โต เป็นการทะเลาะ วิวาทกัน อันนี้มันก็จะแบบรุนแรง เกินไปค่ะ ทำได้แต่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง จนเกินไป ทำเพราะเรียกสติซึ้งกัน และกัน (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 13 ท่านคิดว่าการใช้กำลังสามารถแก้ไขปัญหาครอบครัวได้หรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ ไม่เคยแก้ได้เลย เท่าที่แม่เห็นตาม ข่าวการใช้กำลังมีแต่ทำให้ทุก อย่างแย่ แม่เคยด่า ดุ และตีน้อง แบบอยู่เหนือเหตุผลโดยไม่อธิบาย เลยว่าเราตีเขาทำไม ก็อาจทำให้ น้องโกรธและร้องไห้ แต่เขาไม่รู้ ปัญหาสาเหตุของการลงโทษ ว่า การตีช่วยอะไร และมันจะส่งผล ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของ ครอบครัวได้ การใช้กำลังไม่ควร ที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัว (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) ควรเป็นการพูดคุยกันด้วยเหตุผล และการแก้ไขปัญหาไม่ได้มีแค่การ
ให้เขาไปตีเพื่อนหรือคนอื่นเวลา ทำผิด หรือทำให้เขาไม่พอใจด้วย ก็ได้ เพราะเขาอาจคิดว่าแม่เขา เพราะสะใจ เด็กเขาไม่รู้อะไร หรอก ถ้าไม่บอกเขาก็ไม่รู้ การ ลงโทษมีเยอะแยะ ไม่ต้องรุนแรงก็ ได้ ลงโทษโดยใช้กำลังเพียงอย่าง เดียว (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 14 ท่านคิดว่าการทะเลาะเบาะแว้งเป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้ในครอบครัวหรือไม่ เพราะอะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ เป็นเกือบทุกวันจนปกติ แต่ก็ไม่ได้ มีทะเลาะอะไรกันร้ายแรง มันก็ เกิดจากเรื่องเล็กน้อยจาก ความเห็นไม่ตรงกัน สิ่งที่ต้อการ ไม่เหมือนกัน หรือเริ่มจากการทำ ผิด แล้วเกิดการบ่น และก็มา ทะเลาะ เป็นเรื่องปกติ เพราะ มีความ คิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้างในบางครั้ง มีความเข้าใจผิดไม่เข้าใจกัน (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565) คำถามที่ 15 ท่านคิดว่าการนิ่งเงียบเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงปัญหาในครอบครัวหรือไม่ เพราะ อะไร ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมหญิง แก้วจันทร์ แม่มองว่าการเงียบมันทำให้ลูกได้ ใจ บางครั้งเขาไม่ได้เข้าใจว่าการ เงียบคือการทำโทษหรือทำให้เขา ต้องรู้สึกผิด เขาอาจคิดว่าแม่ อาจจะไม่ได้ว่าอะไร และมันอาจ ทำให้เขาทำมันอีก และเขาก็จะ ทำมันเรื่อยๆ แม่ว่าควรหันหน้ามา คุยกันดีกว่า ไม่ควร ควรหันหน้ามาคุยกันให้ เข้าใจแล้วก็แก้ปัญหา เพราะการ เงียบไม่ได้ช่วยให้ปัญหาถูกแก้ไข แต่มันอาจทำให้มีปัญหามากกว่า เดิม (สมหญิง แก้วจันทร์, สัมภาษณ์: 5 ต.ค. 2565)