The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

sokkaran

sokkaran

ช่ือหนังสือ ประเพณีสงกรานต์

พมิ พค์ รัง้ ที่ ๑ ๒๕๕๓

ลำดับหนังสอื ๕/๒๕๕๓

จำนวนพมิ พ ์ ๒๐,๐๐๐ เล่ม

พิมพ์ที่ สำนักงานกิจการโรงพิมพอ์ งค์การสงเคราะหท์ หารผา่ นศึก

โทร. ๐ ๒๙๑๐-๗๐๐๑



พมิ พค์ รง้ั ที่ ๒ มนี าคม ๒๕๕๔

ลำดบั หนงั สอื ๒๒/๒๕๕๔

จำนวนพมิ พ์ ๑๐,๐๐๐ เลม่

พิมพ์ท ่ี โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย

๗๙ ถนนงามวงศว์ าน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

กรงุ เทพมหานคร ๑๐๙๐๐

โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๕๗๙-๕๑๐๑

นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพผ์ ้โู ฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๔

คำนยิ ม


“สงกรานต์” เป็นประเพณีสำคัญที่ยึดถือปฏิบัติสืบเน่ืองกันมาแต่โบราณ



เป็นวัฒนธรรมประจำชาติท่ีงดงาม โดดเด่น และฝังลึกเข้าไปในชีวิตของคนไทยมาช้านาน

เป็นขนบธรรมเนียมที่มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศ

ของความกตัญญู การแสดงความเคารพ การให้เกียรติโดยใช้น้ำซึ่งมีคุณูปการต่อการ
ดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นสัญลกั ษณ์ของความสะอาด ความบริสุทธ์ิ และความเย็นสดชื่น

ในจิตใจอันเป็นส่ือในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ปัจจุบันจึงน่าจะช่วยกันรักษา
คุณค่าทางใจ ความมีน้ำใจ การมีสัมมาคารวะและกตัญญู การช่วยเหลือเก้ือกูลต่อ
ธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม เพื่อเปน็ การสรา้ งเสริมสายใยครอบครวั สงั คม และประเทศ

ชาติดว้ ย

ในการนี้ กระทรวงวฒั นธรรม โดยกรมส่งเสรมิ วฒั นธรรม จดั พมิ พ์ หนังสอื
“ประเพณีสงกรานต์” เพื่อเผยแพร่ความหมาย คุณค่า และสาระของประเพณี

สงกรานต์ พร้อมทั้งเสนอแนะข้อควรปฏิบัติ ที่คนไทยควรจะนำไปประพฤติปฏิบัต

ต่อกัน เนื่องในเทศกาลวันสำคัญดังกล่าว ซ่ึงถือเป็นการข้ึนปีใหม่และการเร่ิมต้นชีวิต
ใหม่ท่ีสดใส อบอุ่น และอบอวลไปด้วยบรรยากาศของความสนุกสนาน รื่นเริงและ

มิตรไมตรีท่ีมีต่อกัน อีกทั้งควรคำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตนเอง

และผู้อืน่

กระทรวงวัฒนธรรม หวังว่า หนังสือ “ประเพณีสงกรานต์” น้ี จะเป็น
ประโยชน์และช่วยสร้างความเข้าใจอันดี เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
สืบสาน ประเพณีสงกรานต์ ให้ยังคงเป็นประเพณีไทยที่งดงามและเป็นท่ีกล่าวขานแก่

คนทั่วโลก อันจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจให้กับคนไทยและภาพลักษณ์ท่ีดีของประเทศ
ไทยเสมอมา






(นายนพิ ิฏฐ์ อินทรสมบตั )ิ



รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวฒั นธรรม

คำนำ


“ประเพณีสงกรานต์” หนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้เก่ียวกับประเพณี
สงกรานต์ ซงึ่ เปน็ ประเพณีทง่ี ดงาม สมเป็นมรดกอนั ล้ำค่าของไทย เราในฐานะคนไทย
จึงควรร่วมใจสมานฉันท์ สร้างสรรค์วันสงกรานต์เป็นวันแห่งความเอื้ออาทรที่มีคุณค่า
ต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและศาสนา ประเพณีสงกรานต์ท่ีมีความงดงามน้ี แสดงถึง
ภูมิปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งของบรรพบุรุษ และยังเป็นการใช้มิติทางวัฒนธรรม


เพื่อสร้างความอบอุ่นในครอบครัว การแสดงออกถึงความกตัญญู อันเป็นเอกลักษณ์ที่
สำคัญของคนไทยทมี่ มี าชา้ นาน นอกจากน้ยี งั ชว่ ยสร้างความสมัครสมานสามคั คี ทั้งคน
ในครอบครวั สังคมและประเทศชาติอกี ด้วย


ในช่วงสงกรานตม์ ีกจิ กรรมทป่ี ฏิบตั สิ บื ทอดกนั มาเปน็ ประเพณี คือผู้ทนี่ บั ถอื
พระพุทธศาสนาแสดงคารวะต่อพระรัตนตรัย ด้วยการสรงน้ำพระพุทธรูป และไป
ทำบุญท่ีวัด ผู้ท่ีนับถือศาสนาอื่นก็อาจประกอบกิจกรรมตามประเพณีในศาสนาของตน
เพ่ือให้จิตใจผ่องแผ้ว ใสสะอาด และในการแสดงความกตัญญูน้ัน มีการทำบุญอุทิศ

ส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และแสดงคารวะต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ


ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยการไปรดน้ำขออโหสิกรรม ฝ่ายผู้ใหญ่ก็แสดงความปรารถนาดี

ความเออื้ อาทร ดว้ ยการใหอ้ โหสิกรรมและใหพ้ รแกล่ ูกหลาน ญาติมิตร อาจเลน่ สาดนำ้
กันพร้อมกับอวยพรให้แก่กัน สงกรานต์จึงเป็นวาระที่สมาชิกในครอบครัวและสังคมได้
ใกลช้ ดิ แสดงความปรารถนาดตี อ่ กนั และรว่ มกนั สนุกสนาน รวมทงั้ กิจกรรมการละเล่น
รน่ื เริงตามประเพณที ้องถิ่นนั้นๆ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือ
“ประเพณีสงกรานต์” ขึ้นเพื่อให้ความรู้และใช้เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมเนื่องใน
เทศกาลสงกรานต์อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าและสาระประเพณีดังกล่าว
เป็นสำคัญ และจะได้ช่วยกันธำรงรักษา ความงดงามของประเพณีสงกรานต์ให้คงอยู่
สบื ไป





(ศาสตราจารยอ์ ภินนั ท์ โปษยานนท์)

อธบิ ดกี รมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม

สารบัญ


คำนยิ ม
หนา้

คำนำ



ความหมายและความเปน็ มาของประเพณีสงกรานต


ตำนานสงกรานต์


ความหมายจากตำนานสงกรานต
์ ๔

การปฏิบตั ิในประเพณสี งกรานต์


คณุ ค่าของประเพณสี งกรานต์
๑๑

การเปลย่ี นแปลง
๒๐

การสืบสานประเพณสี งกรานต์
๒๑

แนวทางท่ีพึงปฏบิ ตั ใิ นประเพณีสงกรานต
์ ๒๒


๒๓



ความหมายและความเปน็ มาของประเพณีสงกรานต
์ สงกรานต์



ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีฉลองการข้ึนปีใหม่ของไทย ซ่ึงโดย
ทั่วไปจัดข้ึนระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ตรงกับเดือนห้าตามจันทรคติ๑
ประเพ ีณ
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยมีประเพณีสงกรานต์ต้ังแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แล้ว ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถโปรดฯใหต้ ราขึ้น กลา่ วถึง
การพระราชพิธีเผด็จศกและพระราชพิธีลดแจตร พระราชพิธีเผด็จศกเป็นพิธีการ
เก่ียวกับการตัดจากปีเก่าข้ึนสู่ปีใหม่ ส่วนพระราชพิธีลดแจตรน้ัน พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าทรงสันนิษฐานว่าหมายถึงพระราชพิธีรดน้ำเดือน ๕๒ แสดงว่า
ประเพณีสงกรานต์ของหลวงมีมาต้ังแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในสมัยก่อน


ไทยใชจ้ ลุ ศักราช การข้นึ ปใี หมจ่ ึงเป็นการขึน้ จุลศกั ราชใหม่

เสฐียรโกเศศอธิบายว่า คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต
แปลว่า การเคล่ือนท่ี หรอื การเคลือ่ นยา้ ย หมายถึงการเคลอ่ื นยา้ ยของพระอาทติ ย์
จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหน่ึง ตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้น
ทุกเดือน ส่วนระยะเวลาทค่ี นไทยเรียกวา่ “สงกรานต”์ น้ัน เป็นช่วงที่พระอาทิตย์
เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและ

๑ ในสมยั โบราณคนไทยนับเดอื นตามจนั ทรคติ เดือนที่ ๑ เรียกวา่ เดือนอ้าย

๒ พระราชพิธี ๑๒ เดอื น หนา้ ๙๑

สงกรานต์

ประเพ ีณ พธิ แี ห่หลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย


เวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสุริยคติซ่ึงถือปฏิบัติในอินเดีย อินเดียซ่ึงนับถือศาสนาฮินดูมี
ประเพณฉี ลองปใี หม่ทเ่ี รียกวา่ ทิวาลี (Diwali) ในฤดูใบไม้ผลิ๓ เป็นเวลานานมาแลว้
ในสมัยโบราณไทยนับเดือนตามจันทรคติและฉลองการขึ้นปีใหม่ในเดือนอ้าย


ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคม ประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะเป็นประเพณีฉลองการข้ึนปีใหม


ท่ีรับมาจากอินเดีย เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเวลาที่คนไทยว่างจากการทำนา

จึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลองปีใหม่ในช่วงเวลาน้ันด้วย ในการฉลอง
การข้ึนปีใหม่อินเดียมีงานเรียกว่าโหลี (Holi) และมีตำนานเล่าถึงงานโหลีน
ี้

หลายสำนวนอธิบายความเป็นมาของการเล่นสาดน้ำสี ในงานฉลองโหลีน
้ี

คนอินเดีย มีการเล่นสาดแป้งและน้ำสีใส่กัน คนไทยซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา

มีประเพณีฉลองสงกรานต์ด้วยการทำบุญ รดน้ำและสาดน้ำเพ่ือแสดงความกตัญญู

๓ การที่ชาวอินเดียจัดการฉลองการขึ้นปีใหม่ในวสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ เพราะเป็นช่วงท่ี


อากาศไม่หนาวจัด ต้นไม้ผลิใบ ให้ความสดชื่นมีชีวิตชีวา เหมาะที่จะถือว่าเป็นการขึ้นปีใหม่


และเริม่ ชีวิตใหม


และแสดงความปรารถนาดีต่อกัน นอกจากนี้ยังมีตำนานซึ่งอธิบายความเป็นมา สงกรานต์
ของประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนการทำนายเรือ่ งดนิ ฟา้ อากาศ การผลติ พืชผลและ
เหตุการณ์บา้ นเมืองดว้ ย


ประเพณีสงกรานต์เป็นการฉลองการข้ึนปีใหม่ตามสุริยคติ แต่เน่ืองจาก
ประเพ ีณ

ยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถ่ินจึงอาจ



ไม่ตรงกันทีเดียว โดยปรกติอยู่ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ในล้านนาบางปี
สงกรานต์อาจอยู่ในช่วงวันที่ ๑๔-๑๖ เมษายน ในภาคกลางนิยมทำบุญตักบาตร
ในวันท่ี ๑๓ เมษายน ถือเป็นวันมหาสงกรานต์ คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าส
ู่

ราศีเมษ เป็นวันส้ินปีเกา่ วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนา คอื วนั ทีเ่ ช่ือมตอ่ ระหวา่ ง
ปเี ก่ากบั ปีใหม่ และวันที่ ๑๕ เมษายน เปน็ วนั เถลงิ ศกขึน้ ปีใหม่

ประเพณีสงกรานต์ นอกจากเป็นประเพณีการข้ึนปีใหม่ของไทยแล้ว

ยังพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สหภาพพม่า ประเทศกัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทหลายกลุ่ม

ก็มีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีการข้ึนปีใหม่ด้วย เช่น ไทลื้อในเขตปกครอง
ตนเองสิบสองพันนา และไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คง มณฑลยูนนาน
สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทขึนและไทใหญ่ในสหภาพพม่า ไทพ่าเก ไทอ่ายตอน
และไทคำตี่หรือไทคำท่ีในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย

น่าสังเกตว่า สังคมท่ีมีประเพณีสงกรานต์ล้วนเป็นสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนา


ฝ่ายหินยาน

สงกรานต์ ตำนานสงกรานต


ประเพ ีณ ความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์
ในประเทศไทยมีเรื่องเล่าเป็นตำนานเป็นที่รับรู้
กันอย่างแพร่หลายคือเร่ืองของธรรมบาลกุมาร
และกบิลพรหม สำนวนลายลักษณ์ชื่อ “เรื่อง
มหาสงกรานต์” จารึกบนแผ่นศิลาประจำรูป
เขียนท่ีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม๔ ตำนาน
เร่ืองน้ีจารึกบนแผ่นศิลาจำนวน ๗ แผ่น๕

ตอนต้นมีคำอธิบายว่า ตำนานเร่ืองนี้มีอยู่ใน


คัมภีร์ภาษาบาลีของฝ่ายรามัญ ตำนานมหาสงกรานต


มีเนอ้ื เรอ่ื งดังน
้ี
เมื่อตน้ ภทั รกลั ป์ เศรษฐคี นหนงึ่ ไม่มีบุตร ต้งั บา้ นอยู่ใกลก้ บั นกั เลงสุรา
นักเลงสุราน้ันมีบุตร ๒ คน มีผิวเนื้อดุจทอง วันหนึ่งนักเลงสุราได้เข้าไปสู่บ้าน
เศรษฐี กล่าวคำหยาบช้าแก่เศรษฐีต่างๆ เศรษฐีได้ฟังก็กล่าวว่าเรามีสมบัติเป็น

อันมาก ไฉนท่านจึงหม่ินเรา นักเลงสุราตอบว่า ท่านมีสมบัติมากก็จริง แต่หามี
บุตรไม่ ถ้าท่านถึงแก่ความตายแลว้ สมบัตกิ จ็ ะเส่ือมสูญเปลา่ เรามีบุตรชาย ๒ คน
มีผิวดุจทอง เห็นว่าประเสริฐกว่าท่าน เศรษฐีได้ฟังมีความละอาย จึงบวงสรวงต่อ
พระจันทร์และพระอาทติ ย์ และอธษิ ฐานขอบตุ ร เวลาผา่ นไปถงึ ๓ ปีก็ไม่มบี ุตร อยู่
มาวันหนึ่งในเดือนห้า เป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคล่ือนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ
ถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คนท้ังหลายมีงานฉลองการตั้งต้นปีใหม่ทั่วชมพูทวีป
เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมฝ่ังน้ำซ่ึงมีนกจำนวนมากอาศัยอยู่ ได้เอา
ข้าวสารล้างน้ำ ๗ คร้ังแล้วหุงบูชารุกขเทวดาประจำต้นไทร พร้อมด้วยอาหาร
หลายอยา่ ง มีการประโคมดุริยางคดนตรี แลว้ ต้ังจติ อธษิ ฐานขอบตุ รจากรกุ ขเทวดา
ประจำต้นไทร รุกขเทวดามีความกรุณาเหาะไปขอบุตรจากพระอินทร์ให้แก่เศรษฐี
พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอด

๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้จารึกไว้ เม่ือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให


จารกึ เร่ืองต่างๆ ท่ีเปน็ ความรู้ เช่น เร่อื งเกี่ยวกบั พระพทุ ธศาสนา สภุ าษิต วรรณคดี ประเพณี

สขุ ภาพอนามยั ประวตั ิวดั และทำเนยี บต่าง ๆ

๕ ปัจจบุ ันแผ่นที่ ๕ หายไป แต่เรื่องมพี มิ พ์ไวค้ รบในหนังสือประชุมจารกึ วัดพระเชตุพน

จากครรภ์ บิดามารดาตั้งช่ือว่าธรรมบาลกุมาร และปลูกปราสาท ๗ ชั้นให้อยู่ที่

สงกรานต์
ใต้ต้นไทรริมฝั่งน้ำนั้น ทำให้กุมารรู้ภาษานก เมื่อเติบโตขึ้นอายุ ๗ ขวบเรียน
ไตรเพทจบ กไ็ ดเ้ ปน็ อาจารยบ์ อกมงคลการต่างๆ แก่มนษุ ยท์ ้งั หลายในชมพทู วปี

ต่อมาพรหมองค์หนึ่งชื่อว่ากบิลพรหมได้ลงมาถามปัญหา ๓ ข้อแก่
ธรรมบาลกมุ าร และพดู กบั ธรรมบาลกมุ ารวา่ ถา้ ทา่ นแก้ได้เราจะตดั ศรี ษะเราบชู า ประเพ ีณ
ท่าน ถ้าท่านแก้ไม่ได้เราจะตัดศีรษะท่านเสีย ธรรมบาลกุมารขอผัด ๗ วัน

กบิลพรหมกลับไปยังพรหมโลก ฝ่ายธรรมบาลกุมารพิจารณาปัญหาน้ันเวลาผ่าน
ไปได้ ๖ วันแล้วยังไม่ทราบคำตอบ คิดว่าวันรุ่งขึ้นจะตายด้วยอาชญาท้าวกบิลพรหม

น้ัน คิดจะหนีไปซ่อนตัว จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น ขณะน้ัน

มนี กอนิ ทรยี ส์ องตัวผัวเมยี ทำรงั อยบู่ นตน้ ตาลน้ัน ธรรมบาลกมุ ารไดย้ ินนกอินทรยี ์
เมียถามนกอินทรีย์ผัวว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหนกัน นกอินทรีผัวตอบว่า
พรุ่งน้ีครบ ๗ วันท่ีท้าวกบิล
พรหมถามปัญหาธรรมบาล
กุมาร ถ้าธรรมบาลกุมารแก้ไม่
ได้ ท้าวกบิลพรหมก็จะตัด
ศีรษะเสีย เราจะได้กินมนุษย์
เป็นอาหาร นางนกอินทรีเมีย
ถามว่า เจ้ารู้จักปัญหานั้นหรือ
ไม่ นกอนิ ทรีย์ผัวตอบวา่ รู้ แลว้
ก็เล่าให้นกอินทรีเมียฟังแต่ต้น
จนจบ ธรรมบาลกุมารนอนอยู่
ใต้ต้นไม้ได้ยินก็จำได้ มีความ
โสมนัสเป็นอันมากจึงกลับมาสู่
เรือนของตน คร้ันครบ ๗ วัน
ท้าวกบิลพรหมลงมาถามปัญหา
ธรรมบาลกุมารตอบปัญหา
ต า ม น ก อิ น ท รี ย์ ก ล่ า ว นั้ น


การขนทรายเข้าวัดเพอ่ื ก่อพระเจดียท์ ราย

ทา้ วกบลิ พรหมจำเป็นจะต้องตัดศีรษะของตน จึงเรียกธดิ า ๗ นาง๖ ซงึ่ เป็นบรจิ ารกิ า


ของพระอินทร์ให้มาพร้อมกันแล้วก็บอกว่า เศียรของตนซึ่งจะตัดออกบูชาธรรม
บาลกุมารนั้น ถ้าต้ังไว้บนแผ่นดินก็จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลกธาตุ ถ้าทิ้งขึ้นไปบน

อากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าจะท้ิงในมหาสมุทรนำ้ กจ็ ะแห้ง ใหธ้ ิดาท้ัง ๗ เอาพานมารบั
เศียรของตน แล้วท้าวกบิลพรหมก็ตัดเศียรส่งให้นางทุงษะบุตรคนโต ในขณะน้ัน

โลกธาตุก็เกิดโกลาหลยิ่งนัก เมื่อนางทุงษมหาสงกรานต์เอาพานรับเศียรท้าวกบิล

พรหมผู้เป็นบิดาแล้วให้เทพท้ังหลายแห่ประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุราช ๖๐ นาที

แล้วก็เชิญเข้าประดิษฐานในมณฑป ณ ถ้ำคันทชุลีเขาไกรลาศ กระทำบูชาด้วย
เครือ่ งทิพย์ตา่ ง ๆ พระเวศกุ รรมได้นฤมิตโรงประดับด้วยแก้ว ๗ ประการชอ่ื ภัควดี

ให้เทพยดาและนางฟ้านั่ง ฝ่ายเทพยดาก็นำเถาฉนุมุนาศมาล้างน้ำในอโนดาตสระ
๗ ครง้ั แลว้ แจกกนั สังเวยทกุ ๆ องค์ คร้ันถึงกำหนดครบ ๓๖๕ วนั มนษุ ยส์ มมติ
ว่าเป็นปีหน่ึง เป็นวันสงกรานต์ นางเทพธิดาท้ัง ๗ องค์ ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ
สงกรานต์
ผลัดเวรกันมาเชิญเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่พร้อมด้วยเทวดาจำนวนแสนโกฏิ

ประทักษิณรอบเขาพระสเุ มรุแลว้ กก็ ลบั ไปเทวโลก๗ เปน็ เช่นน้ที ุกป

ในสำนวนท่ีเป็นเร่ืองเล่าบางสำนวนเล่าว่า มีการใช้น้ำชำระล้างศรีษะ

ประเพ ีณ ทา้ วกบิลพรหมทุกครัง้ ก่อนจะนำไปประดษิ ฐานไวใ้ นถำ้


๖ ชื่อของเทวธิดาทั้งเจ็ด ที่ปรากฎในแผ่นศิลาจารึกกับในตำราโหรแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยดังน


ในแผ่นศิลาจารึกชื่อว่า นางทุงษ นางรากษ นางโคระ นางมณฑากิณี นางมณฑา นางมิศระ

และนางมโหธร ส่วนในตำราโหรชื่อว่า นางทุงษะ นางรากษส นางโคราค นางมณฑากิณี


นางมณฑา นางมศิ ระ และนางมโหธร

๗ ประชมุ จารึกวดั พระเชตพน หนา้ ๒๘๙-๒๙๐

การรดน้ำขอพร
สงกรานต์

ตำนานและการปฏบิ ัตใิ นประเพณสี งกรานต


ตำนานสงกรานต์จากจารึกแผ่นศิลาวัดพระเชตุพนไม่ได้ให้รายละเอียด ประเพ ีณ
ว่า กบิลพรหมถามปัญหาธรรมบาลกุมารว่าอย่างไร สำนวนมุขปาฐะท่ีเล่ากันมี
ใจความตรงกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าไว้ในพระราช
พิธีสิบสองเดือน กล่าวคือ ปัญหามีว่า เวลาเช้า เวลากลางวัน และเวลาเย็น

ศรีอยู่ที่ไหน และคำตอบคือ ตอนเช้าศรีอยู่ท่ีหน้า มนุษย์ท้ังหลายจึงล้างหน้า


เ ว ล า ก ล า ง วั น ศ รี อ ยู่ ท่ี อ ก ม นุ ษ ย์ ท้ั ง ห ล า ย จึ ง เ อ า เ ค รื่ อ ง ห อ ม ป ร ะ พ ร ม ที่ อ ก

หลังพระอาทิตย์ตกแล้วศรีอยู่ท่ีเท้า มนุษย์ท้ังหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชาธิบายว่า ในฎีกาสงกรานต์อย่าง
เก่าซ่ึงโหรถวาย มีความอธิบายยืดยาวออกไป เช่นเถาฉมุนุนาศนั้นเม่ือเอาไปล้าง
น้ำในสระอโนดาต ๗ ครั้งแล้ว ก็ละลายออกเป็นเหมือนน้ำมันเนย เทวดาทำบุญ
เลี้ยงดูกันด้วยน้ำจากเถาฉมุนุนาศจึงได้คุ้มอันตรายอันจะเกิดแต่สงกรานต์ได้ และ
โหรมอญภายหลังแต่งตำราเพิ่มคำอธิบายให้ละเอียดขึ้น และสมมติธิดา ๗


นางของกบิลพรหม เทียบกับวันท้ัง ๗ ในสัปดาห์ ปีไหนพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศี
เมษ เถลิงศกปีใหม่ตามสุริยคติในวันใด ก็กำหนดว่าเป็นเวรของธิดาท่ีมีช่ือสมมติ
เข้ากับวันนั้นทำหน้าท่ีเชิญศีรษะกบิลพรหม โดยเหตุท่ีธิดากบิลพรหมทั้ง ๗ นาง
ผลัดเวรกันมารับหน้าที่เชิญศีรษะของบิดาออกแห่ในวันสงกรานต์ทุกปี จึงเรียกทั้ง
๗ นางว่า “นางสงกรานต์” และมีรายละเอียดว่าเร่ืองการแต่งกายและพาหนะ
ของแตล่ ะนางดังน
ี้

วนั อาทิตย์ นางสงกรานต์คอื นางทงุ ษ ทดั ดอกทับทิม เครือ่ งประดับ
ปทั มราค ภกั ษาหารผลมะเดื่อ หตั ถข์ วาถือจักร หัตถซ์ า้ ยถอื สงั ข์ มีครฑุ เปน็ พาหนะ

สงกรานต์ วันจันทร์ นางสงกรานต์คือ นางโคราค ทัดดอกปีบ เครื่องประดับ
มุกดา ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็น

พาหนะ

วันอังคาร นางสงกรานต์คือ นางรากษหรือรากษส ทัดดอกบัว
ประเพ ีณ หลวง เคร่ืองประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธน ู



มสี กุ รเปน็ พาหนะ

วันพุธ นางสงกรานต์คือ นางมณฑา ทัดดอกจำปา เคร่ืองประดับ
ไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเข็ม หตั ถ์ซา้ ยถือไม้เท้า มลี าเป็นพาหนะ

วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์คือ นางกริณี ทัดดอกมณฑา เคร่ือง

ประดบั มรกต ภักษาหารถัว่ งา หตั ถ์ขวาถือขอชา้ ง หตั ถ์ซา้ ยถอื ปนื ชา้ งเปน็ พาหนะ

วันศกุ ร์ นางสงกรานต์คือ นางกิมทิ า ทดั ดอกจงกลนี เครื่องประดับ
บุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ กระบือ
เปน็ พาหนะ

วันเสาร์ นางสงกรานต์คือ นางมโหทร ทัดดอกสามหาว เคร่ือง
ประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูง

เป็นพาหนะ๘


๘ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชพธิ ีสิบสองเดือน หนา้ ๒๓๑-๒๓๒

ความหมายจากตำนานสงกรานต์
สงกรานต์

ตำนานสงกรานต์เป็นตำนานที่แต่งขึ้น
เพื่ออธิบายความเป็นมาของการรดน้ำ ซ่ึงเป็น
พิธีกรรมสำคัญในประเพณีสงกรานต์ สัญลักษณ ์

ประเพ ีณ
ในตำนานมดี งั น
ี้
ศีรษะท้าวกบิลพรหมเป็นสัญลักษณ

ของดวงอาทิตย์ ความร้อนและความแห้งแล้ง

เพราะช่วงที่มีประเพณีสงกรานตเ์ ป็นชว่ งท่ีอากาศร้อนจดั

น้ำ เป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิต ความ

อุดมสมบรู ณ์ ดังภาษิตไทลือ้ ว่า “ดินก่อเกดิ น้ำก่อเปน็ (ดินเปน็ แหลง่ ทใี่ ห้พชื พนั ธ์ุ
เกิดและน้ำทำให้มีชีวิตอยู่ได้) น้ำยังเป็นสัญลักษณ์ของความเย็น ความสดชื่น

และความสะอาด จึงเหมาะทจี่ ะใช้เพ่ือแสดงความปรารถนาดีต่อกัน และใช้แสดงถึง
ความสะอาดผอ่ งแผว้ ของกายและใจที่จะเร่มิ ชีวติ ใหม่ในโอกาสขึ้นปีใหม่

นางสงกรานต์ เป็นผู้ดูแลไม่ให้ศีรษะตกถูกพื้นดิน ทำให้ไม่เกิดภัย
พิบัติ น่าจะเป็นเพราะสตรีเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ทำหน้าท่ีเป็นแม่ เลี้ยงดูและคอย
ปกปอ้ งคุม้ ครองลูก จึงเหมาะทจ่ี ะชว่ ยคมุ้ ครองโลกใหร้ ่มเยน็ และอดุ มสมบรู ณ

ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีของสังคมเกษตรกรรม คนไทย

ในภาคกลางมีประกาศสงกรานต์ซึ่งแสดงให้เห็นคติความเชื่อทางโหราศาสตร์


โดยนำเร่ืองธิดาท้าวกบิลพรหมซ่ึงเรียกกันว่านางสงกรานต์มาทำนายเกี่ยวกับ
ผลผลิตทางเกษตรกรรมและเหตุการณ์บ้านเมือง ในประกาศสงกรานต์แต่ละปี


จะบอกช่ือของนางสงกรานต์ซ่ึงผลัดเปล่ียนกันมาถือพานที่รองรับศีรษะพ่อ


มีรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งกาย สัตว์พาหนะ ลักษณะการนั่งนอนบนพาหนะ

ซึ่งจะทำนายถึงความอุดมสมบูรณ์หรือความขาดแคลนของพืชพรรณธัญญาหาร
ความสงบเรยี บร้อยหรือความยุ่งยากของบ้านเมอื ง

เน่ืองจากคนไทยให้ความสำคัญแก่บรรพบุรุษ และเคยมีการเซ่นไหว้


ผีด้ำหรือผีเรือน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษในหลายโอกาส โดยเฉพาะเม่ือข้ึนปีใหม่ ดังท่ี

สงกรานต์ ยังพบการปฏิบัติน้ีในกลุ่มชนชาติไทที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา เม่ือคนไทย
นับถือพระพุทธศาสนาและรับประเพณีสงกรานต์เข้ามาเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่
จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ให้
ความสำคัญต่อการแสดงความกตัญญูและความปรารถนาดีต่อกัน เป็นเวลาท่ีลูก
หลานรำลึกถึงญาติที่ล่วงลับไป และแสดงคารวะต่อญาติผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่
ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีในสังคมท่ีนับถือพระพุทธศาสนา จึงมีการบำเพ็ญ
กุศลทางศาสนา เพื่อให้ใจผ่องแผ้วก่อนการขึ้นปีใหม่ ในขณะเดียวกันก็เป็น
ประเพณีที่ผู้คนมีโอกาสสนุกสนาน มีการเล่นสาดน้ำและการละเล่นเพ่ือความ
รน่ื เรงิ บนั เทงิ ใจ






10

ประเพ ีณ

การปฏบิ ตั ใิ นประเพณีสงกรานต
์ สงกรานต์

ประเพณสี งกรานตท์ ี่สบื ทอดมาในประเทศไทยมี ๒ แบบ คอื ประเพณี 11
สงกรานต์ของหลวง ซึ่งจัดเป็นการพระราชพิธีเรียกว่า “การพระราชกุศล
สงกรานต์” และ ประเพณีของราษฎรท่จี ดั กนั ในทอ้ งถน่ิ ตา่ งๆ
ประเพ ีณ
การพระราชกุศลสงกรานต์เป็นการพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลส่วนพระองค


และเป็นการพระราชพิธีเพ่ือความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองด้วย ในจดหมายเหตุ
คำให้การชาวกรุงเก่าได้กลา่ วถงึ พระราชพธิ เี ถลงิ ศก สรุปความได้ว่า พระเจา้ แผ่นดนิ


แห่งกรุงศรีอยุธยาจะเสด็จสรงน้ำพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชญ์ เทวรูปพระ
พิฆเนศวร และโปรดฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ พระราชาคณะมาสรงน้ำและรับ
พระราชทานอาหารบิณฑบาตและจตุปัจจัยไทยทานในพระราชวังท้ัง ๓ วัน ทรง


ก่อพระเจดีย์ทรายท่ีวัดพระศรีสรรเพชญ์และมีการฉลองพระเจดีย์ทราย โปรดฯ

ให้ตั้งโรงทานเล้ียงพระและราษฎร มีเครื่องโภชนาหารคาวหวาน น้ำกิน น้ำอาบ


และยารกั ษาโรคพระราชทานทัง้ ๓ วนั

สงกรานต์ ประเพณกี อ่ เจดยี ์ทราย วัดสงขลา

จงั หวดั สมทุ รปราการ

ประเพ ีณ
การพระราชกุศลสงกรานต์ในสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะดังนี้ ในวัน
ก่อนหน้าสงกรานต์วันหนึ่ง เจ้าพนักงานจะนิมน์พระสงฆ์มาสวดพระปริตร เพ่ือ

12 เสกน้ำทีจ่ ะสรงมุรธาภเิ ษกในวันเถลงิ ศก พระสงฆจ์ ะสวดพระปริตรเป็นเวลา ๓ วัน


และมีการสวดมนต์ฉลองพระทรายบรรดาศักด์ิในตอนเย็น ในวันมหาสงกรานต์

ตอนเช้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
พระราชดำเนินมาทรงเป็นประธาน เจ้า
พนักงานจัดการถวายภัตตาหาร เมื่อ
พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว จึงเสด็จ
พระราชดำเนินทรงประพรมน้ำหอม
พระเจดีย์ทรายทั่วไป แล้วเสด็จ
ถวายของไทยธรรมแด่พระสงฆ ์


ใ น วั น เ น า ท ร ง ถ ว า ย ไ ต ร จี ว ร แ ด

พระสงฆ์ หลังจากพระสงฆ์สรงน้ำ

และเปลี่ยนผ้าครองไตรจีวรใหม่แล้วกลับ


เข้าไปรับพระราชทานภัตตาหารฉันข้าวแช


สรงน้ำพระพุทธรูป

เจดยี ก์ อ่ พระทราย ณ บริเวณชายหาดพัทยา
สงกรานต์
จงั หวัดชลบุรี

13
ในท้องพระโรง ในวันเถลิงศกเสด็จพระราชดำเนินออกทรงบาตร แล้วเสด็จ


ทรงน้ำหอมสรงพระบรมอัฐิและพระอัฐิซ่ึงประดิษฐานอยู่ในหอพระอัฐิ พระสงฆ์รับ ประเพ ีณ
พระราชทานฉันเช้าแล้วสดับปกรณ์ ในวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


จะเสด็จสรงน้ำมูรธาภิเษก แล้วจึงทรงสดับปกรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเสด็จออกสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร


ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า


เจ้าอยู่หัว มีการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสรงน้ำและนมัสการพระพุทธปฏิมากร
สำคญั เพิม่ ข้นึ อีกหลายแหง่ เชน่ ท่หี อราชกรมานุสรณ์ หอราชพงศานุสรณ์ เป็นต้น


ชุดรดน้ำขอพร

สงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ของราษฎร

ประเพ ีณ ใ น แ ต่ ล ะ ภ า ค ส่ ว น ใ ห ญ่ มี ก า ร ป ฏิ บั ติ ท่ี

คล้ายคลึงกัน มีแตกต่างกันในรายละเอียด

ดงั น ี้

ภาคกลาง กอ่ นถงึ วันสงกรานต์


มีการทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียม

ผ้านุ่งผ้าห่มใหม่สำหรับใช้นุ่งในวันสงกรานต์
ก่อนวันสงกรานต์หน่ึงวันถือเป็นวันสุกดิบ
มีการเตรียมอาหารและข้าวของเพื่อถวาย
พระสงฆใ์ นวันสงกรานต์ พอถึงวันสงกรานต์
ตอนเช้าตรู่มีการตักบาตรหรือนำอาหารไป
ถวายพระสงฆ์ที่วัด ประเพณีสงกรานต์จึงมี
ส่วนทำให้เกิดการรวมญาติ เพ่ือช่วยกัน
เตรียมอาหาร เตรียมของถวายพระและร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติท
่ี

14 ล่วงลับ บางแห่งมีการทำบุญกลางบ้านเป็นการทำบุญร่วมกันของสมาชิกในชุมชน
ในวันเนาบางแห่งก็มีการทำบุญเล้ียงพระเพล เสร็จแล้วนิมนต์พระสงฆ์รับน้ำสรง
จากชาวบ้าน

ในวันเถลงิ ศกขน้ึ ปใี หม่ มีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำผ้ใู หญ่ เพื่อ
แสดงความกตัญญูกตเวที ข้าวของท่ีใช้ในการรดน้ำโดยทั่วไปมักเป็นผ้านุ่งผ้าห่ม

หรือผ้าเช็ดตัว มดี อกไม้ หรือมาลัยดอกไม้สด
และน้ำอบน้ำหอม ก่อนจะรดน้ำจะแสดง
คารวะก่อนแล้วจึงขออนุญาตรดน้ำลงที่มือ
หลังจากนั้นจึงมอบผ้าหรือข้าวของท่ีเตรียมไปให้
แลว้ นั่งพนมมอื ไหว้ขณะผู้ใหญก่ ล่าวคำใหพ้ ร

วันเถลิงศกนี้ถือว่าเป็นวันมงคล
ต้องระมัดระวังการพูดจา ให้พูดแต่สิ่งที่ดีๆ
จะได้เป็นมงคลแก่ตัว ชาวบ้านไปวัดเพ่ือสรงน้ำ
พระพทุ ธรูปในโบสถ์และวหิ าร สมัยกอ่ นนิยม
ปล่อยนกปล่อยปลา หลังจากน้ันจึงเป็นการ

ชดุ รดน้ำขอพรผ้ใู หญ่

เล่นสาดน้ำและมีการละเล่นร่ืนเริงกัน ที่กรุงเทพมหานคร สงกรานต์
ประชาชนนิยมไปตักบาตรท่ีสนามหลวง ทาง


การได้จัดให้มีการแห่พระพุทธสิหิงค์จาก ประเพ ีณ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไปถึงวงเวียนใหญ่

แล้วให้วนกลับนำมาประดิษฐานท่ีสนาม
หลวง เพื่อให้ประชาชนนมัสการและสรงน้ำ

นอกจากน้ียังมีแหล่งเล่นสาดน้ำสงกรานต์ที่
จัดสำหรับนักท่องเท่ียว เช่น บริเวณถนน
ข้าวสาร เป็นตน้





ภาคเหนอื ชาวล้านนา

เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า ปเวณ


ปีใหม่ ปฏิทินโหราศาสตร์ของชาว
ล้านนา ถือเอาวันที่พระอาทิตย์

เคล่ือนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ 15
เป็น “วันสังกรานต์ล่อง” (ออก
เสียงว่า วันสังขานล่อง) ในวันน
ี้

จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือน
ให้สะอาด บรรดาสตรีนิยมสระผม

โดยหันศีรษะไปทางทิศที่กำหนดในแต่ละปี นิยมสวมเส้ือผ้าใหม่ มีการนำ
พระพุทธรูปและเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระและสรงน้ำอบน้ำหอม โดยใช

น้ำขมิ้นส้มป่อย ในบางจังหวัดมีการแห่พระพุทธรูปสำคัญไปให้ประชาชนนมัสการ
และสรงนำ้ เชน่ จังหวัดเชียงใหม่มกี ารแห่พระพุทธรปู สำคัญ ไดแ้ ก่ พระพุทธสิหงิ ค์
พระเจ้าฝนแสนห่า พระเสตังคมณี พระดับไฟ พระอุปคุต จากวัดต่างๆ รวมทั้ง

รูปป้นั ครบู าศรีวิชัยแห่ไปตามถนนสายตา่ งๆใหป้ ระชาชนนมัสการและสรงน้ำ

วันต่อมาคือวันเนา ทางล้านนาเรียกว่า “วันเน่า” ห้ามการด่าทอ
ทะเลาะวิวาท เช่ือว่าจะทำให้เกิดอัปมงคล วันเนาน้ีเป็นวันเตรียมงาน เรียกกันว่า

“วันดา” ชาวบา้ นจะซือ้ ของกินของใช้เพือ่ ใชใ้ นวนั เถลงิ ศก ตอนบา่ ยมกี ารขนทราย

สงกรานต์ เข้าไปก่อเป็นเจดีย์ทรายท่ีวัด มีการ
ตัดกระดาษเป็นธงสีต่างๆ เรียกว่า
ประเพ ีณ “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทรายใน

วนั รุ่งข้นึ

วันเถลิงศกซึ่งเรียกว่า
“วันพญาวัน” เป็นวันที่มีการทำบุญ
ทางศาสนา ผู้คนจะนำสำรับอาหาร

คาวหวานไปทำบุญถวายพระท่ีวัด
เรยี กกนั วา่ “ทานขันขา้ ว” เพ่อื อทุ ิศ
ส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและญาติมิตร


ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการนำธงท่ีทำจาก

กระดาษสีต่างๆ ไปปักตามเจดีย์ทราย
นิยมนำไม้ง่ามไปค้ำต้นโพด้วย ถือเป็น


การค้ำจุนศาสนาให้ยืนยาวต่อไป

16 ในวันนี้พระสงฆ์จะแสดงธรรมเทศนา
เม่ือถวายภัตตาหารเพลเสร็จแล้วมี
การสรงน้ำพระพุทธรูป พระเจดีย์

รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุเจ้าอาวาสด้วย
ตอนบ่ายจึงไปคารวะผู้ใหญ่ ได้แก่
บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่ที่
ตนเคารพนับถือ เรียกกันว่าไป
“ดำหัว” ผู้ใหญ่ ทางล้านนาถือว่า
เป็นการไปขอขมาลาโทษหรือขอ
อโหสิกรรม เนื่องจากอาจได้ประพฤติ

อั น ไ ม่ ส ม ค ว ร ต่ อ ผู้ ใ ห ญ่ ดั ง ก ล่ า ว
ผู้ใหญ่จะรับเอาของท่ีนำมามอบให้
ใช้ มื อ จุ่ ม ล ง ใ น น้ ำ ข มิ้ น ส้ ม ป่ อ ย


แล้วลูบท่ีศีรษะของตน แล้วกล่าว

อ โ ห สิ ก ร ร ม ใ ห้ ก่ อ น แ ล้ ว จึ ง ใ ห้ พ ร

ในวันน้ีมักจะมีการนำดอกไม้ สงกรานต์
ธูปเทียนและน้ำขม้ินส้มป่อย
ไปดำหัวพระพุทธรูปสำคัญ 17
ของเมือง และไป “ดำหัวกู่”
คือ ไปไหว้สถูปท่ีบรรจุอัฐิ ประเพ ีณ
บรรพบุรุษ หลังจากน้ันจึง
เป็นการเล่นสาดน้ำกัน ในวัน
ท่ีส่ีเรียกว่า “วันปากปี”

ถือเป็นวันเร่ิมต้นของปีใหม่

มีการไปดำหัววัด คือ

เจ้าอาวาสวัดอื่นที่อยู่ใกล้เคียง

บางแห่งอาจมีพิธีส่งเคราะห์
บ้ า น ห ม า ย ถึ ง ส่ ง เ ค ร า ะ ห์
หมู่บ้าน วันท่ีห้าเรียกว่า “วันปากเดือน” ถือเป็นวันเร่ิมเดือนใหม่ การไปดำหัว
ผู้ใหญ่และการเลน่ สาดนำ้ ยังมอี ยใู่ นวนั ปากปีและวนั ปากเดือน

ภาคอีสานเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญสงกรานต์” หรือ

“บุญเดือนห้า” เรียกวันท่ี ๑๓ เมษายนว่า “ม้ือสงกรานต์ล่อง” หรือ

“มื้อสงกรานต์พ่าย” เรียกวันท่ี ๑๔ เมษายนว่า “มื้อเนา” และเรียกวันท ่ี


๑๕ เมษายนว่า “ม้ือสงกรานต์ขึ้น” ชาวอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป

๗ วนั บางแห่งถึง ๑๕ วัน ถือว่าการรื่นเรงิ มใี จเบิกบานสนุกสนานร่วมกันทำบุญ
ทำกุศลในวันสงกรานต์ เป็นนิมิตอันดีท่ีจะได้รับโชคชัย ประสบความสำเร็จ


ในปีใหม่ ก่อนถึงงานบุญสงกรานต์จะมีการเตรียมสถานท่ีล่วงหน้า เช่น จัดทำ


หอสรง โดยสร้างเป็นศาลาขนาดย่อมเพื่อนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้


บางแห่งมีการทำรางรินสำหรับให้ชาวบ้านรดน้ำไปสรงพระพุทธรูป ในม้ือ
สงกรานต์ล่อง ชาวอีสานจะทำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดจนห้ิงบูชาผีประจำ
บ้านซึ่งเรียกกันว่า “ของรักษา” การปัดกวาดทำความสะอาดในวันน้ีถือว่า
เปน็ การปดั กวาดสง่ิ อัปมงคลออกไปด้วย หากผใู้ ดไมท่ ำมักถือกันวา่ จะไมม่ โี ชคลาภ
ทำมาหากินไมข่ น้ึ ตลอดปใี หม ่

ใ น มื้ อ เ น า



ช า ว บ้ า น จ ะ แ ต่ ง ก า ย

สวยงามและนำอาหารไป
ตักบาตรท่ีวัด เม่ือถวาย

ภั ต ต า ห า ร พ ร ะ ส ง ฆ ์


เสร็จแล้วต่างขอพรจาก
พระภิกษุผู้ใหญ่ สรงน้ำ

พระพุทธรูปด้วยน้ำอบ
น้ำหอม โดยรดไปตาม

รางริน หนุ่มสาวมักรวม
กลุ่มไปรดน้ำขอพรผู้ใหญ่
บางทมี กี ารจดั ทำบายศรสี ขู่ วัญผใู้ หญ่ดว้ ย หลังจากนั้นกเ็ ลน่ รดนำ้ กันเอง กลางคืน
สงกรานต์
มีการมาร่วมกันสวดมนต์เย็นและฟังธรรม หนุ่มสาวอาจจับกลุ่มเล่นกีฬาพ้ืนบ้าน
เชน่ สะบ้า บางทมี มี หรสพ เชน่ หมอลำ ในมือ้ สงกรานต


18 ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรอีก หลังจากน้ันก็เล่นสาดน้ำกัน บางหมู่บ้าน

ประเพ ีณ จัดงานรื่นเริง บางกลุ่มเซ้ิงไปตามหมู่บ้านเพ่ือเรี่ยไรปัจจัยไทยทานถวายวัด

งานบุญสงกรานต์จึงมีกิจกรรมดังกล่าวทุกวัน คือ มีทั้งงานบุญกุศลและงานรื่นเริง

สนุกสนานระหว่างชาวบ้าน การสรงน้ำพระพุทธรูปนิยมทำต่อเนื่องจนกว่า

จะสน้ิ สดุ งานบญุ สงกรานต์ แตล่ ะทอ้ งถนิ่ อาจกำหนดระยะเวลาไม่ตรงกัน

ภาคใต้ มีประเพณีการขึ้นปีใหม่ในช่วงสงกรานต์เรียกกันว่า “วันว่าง”


ถือว่า ต้องว่างเว้นจากการทำการงานทุกชนิด เช่น ว่างเว้นจากการซ้อมสีข้าวสาร
การออกหาปูปลา ห้ามตัดผมตัดเล็บ ตัดรานต้นไม้กิ่งไม้ ห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด


ห้ามขึ้นต้นไม้ ห้ามเฆี่ยนตีลงโทษคนหรือสัตว์ นอกจากนี้ ต้องประกอบการกุศล


มีการตักบาตร ฟังธรรมเทศนา สรงน้ำพระพุทธรูป ปล่อยนกปล่อยปลา แสดง
ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ใหญ่ จัดหาผ้าใหม่ให้ผู้ใหญ่และอาบน้ำ “สระหัว”


ให้ผู้ใหญ่ และขอพรจากผู้ใหญ่ ประเพณีวันว่างกระทำกัน ๓ วัน ตรงกับวันท่ี

๑๓-๑๕ เมษายน

ก่อนถึงวันว่างการงานส่ิงใดท่ีคั่งค้างต้องเร่งทำให้เสร็จ เตรียมข้าวของ สงกรานต์
สำหรับทำบุญ จัดหาเสื้อผ้าใหม่สำหรับใส่ในวันว่าง ก่อนถึงวันที่ ๑๓ เมษายน
ประมาณ ๒-๓ วัน มีการ 19
ทำความสะอาดบ้านเรือน จัดเกบ็
เครื่องมือเครื่องใช้ เชน่ ไถ คราด ประเพ ีณ
จอบ เสียม วางให้เป็นระเบียบ
เป็นท่ีเป็นทาง ต้องตัดผมตัดเล็บ

ให้เรียบร้อย เมื่อถึงวันว่าง ทุก
ค น ต้ อ ง ท ำ จิ ต ใ จ ใ ห้ เ บิ ก บ า น
แจม่ ใส พยายามประกอบกรรมดี
ท้ังทางกาย วาจาและใจ ตื่นแต่
เช้าตรู่ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่
ตักบาตรเสร็จแล้ว เตรียมสำรับ
กับข้าวไปทำบุญถวายภัตตาหารเพลที่วัด นอกจากสำรับกับข้าวสิ่งท่ีนำไปวัดด้วย
คือ มัดรวงข้าวที่จะนำไปทำขวัญข้าวร่วมกันท่ีวัด เรียกว่า “ทำขวัญข้าวใหญ่”

เพ่ือเป็นสิริมงคลแก่การทำมาหากินภายหน้าสืบไป เมื่อทุกครัวเรือนนำสำรับ
กับข้าวและรวงข้าวมาพร้อมกันที่วัดแล้ว จึงเริ่มพิธีทางศาสนา ร่วมกันสวดมนต์

รับศีล ฟังเทศน์ ถวายภัตตาหารเพล เสร็จแล้วนิมนต์พระสงฆ์บังสุกุลกระดูกปู่ย่า

ตายาย ถา้ ไมม่ กี ระดกู ของบรรพบรุ ุษกใ็ ชว้ ธิ ีเขยี นชอ่ื ของบรรพบรุ ษุ ใสก่ ระดาษแทน


เพ่ืออุทิศส่วนกุศลให้ แล้วนิมนต์พระประกอบพิธีทำขวัญข้าว ถ้ามีการสร้างท่ี
บรรจอฐั สิ ำหรับเก็บกระดกู ของบรรพบุรุษ ซึง่ เรยี กว่า “บัว” ไวใ้ นวดั นน้ั กจ็ ะแยก
ย้ายกันไปเคารพสักการะ ต่อจากน้ันมีการสรงน้ำพระพุทธรูป โดยอัญเชิญมา

ประกอบพิธีร่วมกันในบริเวณวัด ประเพณีการสระหัววันว่างแก่พระภิกษุหรือผู้เฒ่า
ผู้แก่ที่มีผู้เคารพนับถือมากๆ มักจัดทำสถานท่ีเป็นพิเศษ ผู้ท่ีจะไปแสดงความ
เคารพจะเตรียมน้ำผสมเคร่ืองหอมไปด้วยคนละขัน เมื่อเสร็จพิธีสระหัววันว่างก็จะ
เป็นเร่ืองของการละเล่นสนุกสนานรื่นเริง อาจมีการเล่นสาดน้ำกันบ้าง แต่ไม่เล่น
กันมากมายอย่างในภาคเหนอื และภาคอีสาน

สงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ยังเป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายรามัญ
หรือมอญด้วย ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติของชาวไทยเชื้อสายรามัญที่อยู่รวมกัน
ประเพ ีณ เป็นชุมชนใหญ่ในภาคกลางหลายแห่ง เช่น อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ


ตำบลบางกระด่ี อำเภอ
บางขุนเทียน ตำบลบางไส้ไก่
อ ำ เ ภ อ บ า ง ก อ ก ใ ห ญ่
กรุงเทพมหานคร และ
จังหวัดปทุมธาน ี ก็มี
ป ร ะ เ พ ณี ส ง ก ร า น ต์
สื บ ท อ ด ม า แ ต่ โ บ ร า ณ

ด้วย สิ่งที่ชาวไทยเช้ือ
ส า ย ร า มั ญ ห รื อ ม อ ญ

นิยมปฏิบัติในประเพณี
สงกรานต์ คือ การทำข้าวแช่เป็นอาหารพิเศษสำหรับถวายพระสงฆ์และบูชาเทวดา
20 มีการเลน่ สาดนำ้ และมีการละเลน่ รนื่ เริงเช่น เล่นสะบา้ เป็นต้น


คณุ คา่ ของประเพณสี งกรานต


ประเพณีสงกรานต์ เป็น
ประเพณีที่งดงามมีคุณค่าสาระ
เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษากาย
ใจและสิ่งแวดล้อม การแสดง
ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
และแสดงความปรารถนาดี
ความเอื้ออาทรต่อญาติมิตร


และแขกผู้มาเยอื น นับเปน็ ประเพณี
แห่งการสมานสามัคคดีท้ังในครอบครัว
และชุมชน สังคมไทยจะเป็นสังคมท่ีร่มเย็น และน่าอยู่ต่อไปอีกนาน หากเรา


ฉลองสงกรานต์ด้วยความเข้าใจและช่วยกันสืบทอดคุณค่าสาระสำคัญของประเพณี

การเปลย่ี นแปลง
สงกรานต์

ประเทศไทยรับเอาประเพณีการขึ้นปีใหม่และเปล่ียนศักราชวันท่ี ๑ 21
มกราคม ตามประเทศตะวันตกมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒
ประเทศต่างๆ ประเพณีการขึ้นปีใหม่ในวันที่
ประเพ ีณ
๑ มกราคม มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ
ราชการหยุดงานในวันท่ี ๓๑ ธันวาคมและ

วันที่ ๑ มกราคม ห้างร้านมีการตกแต่งร้าน


ให้สวยงามเป็นพิเศษ ขายของขวัญและ


บัตรอวยพรปีใหม่กันอย่างคึกคัก ประกอบกับ
การถ่ายทอดความรู้ในเรื่องสาระของประเพณี
สงกรานต์ขาดความต่อเน่ือง คนรุ่นใหม่จึงให้ความ
สำคัญต่อการแสดงความปรารถนาดีต่อกันในช่วง

การข้ึนปีใหม่สากลมากกว่า ในช่วงสงกรานต์มุ่งเน้น

เฉพาะการเล่นสาดน้ำเพ่ือความสนุกสนานร่ืนเริง มีการจัด
กิจกรรมเพื่อความบันเทิงและเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว เช่นมีการจัดขบวนแห่นาง
สงกรานต์และประกวดนางสงกรานต์ การให้ความสำคัญต่อการทำบุญทางศาสนา
การแสดงความกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และการแสดงความปรารถนาดีต่อกันลดลง
ยังเหลืออยู่บ้างในชนบท มีการเล่น
สาดน้ำกันรุนแรง และโดยไม่สนใจว่า


ผู้ ถู ก ส า ด น้ ำ มี ค ว า ม ส นิ ท ส น ม ห รื อ
เต็มใจให้สาดหรือไม่ มีการด่ืมสุรา

จนเมามายขาดสติ บางครั้งก็ล่วง
ละเมิดสตรี ก่อการทะเลาะวิวาท และ
ทำใหเ้ กิดอบุ ตั ิเหตุจนถงึ กบั เสยี ชีวิต

สงกรานต์

ประเพ ีณ22 การละเลน่ พื้นบา้ น (งกู นิ หาง)


การสืบสานประเพณสี งกรานต


ส่ิงที่ควรทำอย่างย่ิงก็คือ การเผยแพร่ให้ความรู้แก่เยาวชน ตลอดจน

นักท่องเท่ียวต่างชาติเข้าใจในสาระความหมายอย่างชัดเจน พร้อมท้ังแนะแนวทาง
ท่ีควรประพฤติปฏิบัติในประเพณีสงกรานต์ การเผยแพร่ให้ความรู้เช่นนี้ ควรทำ
อยา่ งต่อเนอ่ื งและสม่ำเสมอ การรักษาและสืบทอดความงดงามของสาระสำคญั ของ
ประเพณีสงกรานต์น้ัน น่าจะเป็นหน้าท่ีของคนไทยทุกระดับในสังคม เร่ิมตั้งแต่
ครอบครวั โรงเรยี น ชุมชน องคก์ รต่างๆของรัฐและเอกชน ตลอดจนสอ่ื มวลชนทุก
แขนง

แนวทางท่พี งึ ปฏิบัตใิ นประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์

๑. การบำเพ็ญกุศล ด้วยการตักบาตร 23
หรือนำอาหารไปถวายพระท่ีวัด รักษาศีล และ
สรงน้ำพระพุทธรูป ถือว่าเป็นการรักษากายใจ ประเพ ีณ
ให้สะอาดผ่องแผ้ว เพื่อเป็นสิริมงคล ท้ังยัง
เป็นการสืบทอดและทำนบุ ำรงุ พระพทุ ธศาสนา

๒. การทำบญุ อุทศิ ส่วนกุศล
ให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อแสดงความกตัญญู
ต่อผ้มู พี ระคณุ ทลี่ ่วงลบั ไปแลว้

๓. การรดน้ำ เพ่ือแสดงความ
เคารพและความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ
เช่น ลูกกับพ่อ-แม่-ปู่-ย่า-ตา-ยาย พุทธศาสนิกชนต่อ
พระภกิ ษสุ งฆ์ ผู้ใตบ้ ังคบั บญั ชากับผบู้ งั คบั บัญชา ชาวบ้านกับหวั หน้าชุมชน เปน็ ต้น

๔. การเล่นรดน้ำและสาดน้ำ เพื่อเช่ือมความสัมพันธ์ระหว่างญาติ
พี่น้องและมิตรสหาย ด้วยการเล่นอย่างสุภาพพร้อมกับกล่าวคำอวยพรให้ม


ความสุข คำนึงถงึ สวสั ดิภาพและความปลอดภัยท้ังของตนเองและผอู้ ่ืน ไมเ่ ลน่ ลาด
น้ำรนุ แรง หรอื เล่นเกินขอบเขต ไมด่ ืม่ สรุ า ตลอดจนแตง่ กายใหเ้ หมาะสม

๕. การเล่นรื่นเริงต่าง ๆ เพ่ือความสนุกสนานและเพื่อเช่ือมความ
สามคั คี รวมทั้งเปน็ การสบื สานวัฒนธรรมทม่ี คี ณุ คา่ ต่อสังคมใหค้ งอยูต่ อ่ ไป

อน่ึงการปล่อยนกปล่อยปลา น่าจะเป็นการทำร้ายสัตว์และสร้างบาป
มากกว่าการทำบุญตามคติทางพระพุทธศาสนา สมควรจะพิจารณายกเลิก

สงกรานต์ บรรณานกุ รม


ประเพ ีณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว, พระราชพิธีสิบสองเดอื น. สำนกั พิมพ์
ศลิ ปาบรรณาคาร กรงุ เทพฯ : โสภณการพมิ พ์ ๒๕๕๒.


ประชมุ จารกึ วัดพระเชตพุ น. กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ทั อมรินทร์พร้ินติง้ แอนด์


พบั ลชิ ชง่ิ ๒๕๔๔


มณี พยอมยงค์ ประเพณีสิบสองเดือนของล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์
การพมิ พ์ ๒๕๓๖.


สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด มหาชน และสถาบันไทยศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ : สยามเพรส ๒๕๔๒ เล่ม ๑๓

24 หน้า ๖๓๙๒-๖๔๐๕.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต.้ มลู นธิ ิสารานุกรมวฒั นธรรมไทย ธนาคาร
ไทยพาณิชยจ์ ำกดั มหาชน และสถาบันทกั ษิณคดี มหาวทิ ยาลัยทักษณิ
กรงุ เทพฯ : สยามเพรส ๒๕๔๒หนา้ เล่ม ๑๕ หน้า ๗๑๖๔-๗๑๖๗.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด มหาชน กรุงเทพฯ : สยามเพรส ๒๕๔๒
เล่ม ๘ หน้า ๓๘๓๔-๓๘๔๑.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด มหาชน กรุงเทพฯ : สยามเพรส ๒๕๔๒
เล่ม ๗ หนา้ ๒๔๓๑-๒๔๓๗.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สงกรานต์ ๒๕๓๓. สงกรานต์
กรงุ เทพมหานคร : อมรินทรพริ้นตงิ้ กรปุ๊ ๒๕๓๓.


เสฐียรโกเศศ, ประเพณีเน่ืองในเทศกาล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สมาคม
สงั คมศาสตร์แห่งประเทศไทย ๒๕๐๖


เสฐียรโกเศศ. “สงกรานต์” และ “เล่นสาดน้ำสงกรานต์” ใน วัฒนธรรมและ
ประเพณีตา่ งๆ ของไทย. สำนกั พมิ พค์ ลังวิทยา พระนคร : โรงพิมพ์


เจริญธรรม ๒๕๑๔ หนา้ ๑๗๑-๑๗๘ และ หน้า ๑๗๘-๑๙๘.





25

ประเพ ีณ

คณะผู้จดั ทำ


ท่ปี รึกษา


นายสมชาย เสยี งหลาย ปลดั กระทรวงวฒั นธรรม

ศาสตราจารยอ์ ภินันท์ โปษยานนท ์ อธบิ ดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม


นายสมชาย มีชพู ร รองอธบิ ดกี รมส่งเสรมิ วฒั นธรรม

นายมานัส ทารัตนใ์ จ ผู้อำนวยการสำนกั สง่ เสริมและเผยแพรว่ ฒั นธรรม


ผู้จดั ทำ


สงกรานต์ กลุม่ ส่งเสรมิ การถ่ายทอดวฒั นธรรม สำนกั สง่ เสรมิ และเผยแพรว่ ัฒนธรรม

กรมส่งเสรมิ วัฒนธรรม


เรียบเรียง


26 ศาสตราจารยพ์ ิเศษ ดร. ประคอง นมิ มานเหมนิ ท


ประเพ ีณ คณะทำงาน


นางอรุณี คงเสรี หัวหนา้ กลุ่มสง่ เสรมิ การถ่ายทอดวัฒนธรรม


นางปยิ ะนชุ วัฒนชวี โนปกรณ์ นกั วิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

นางวภิ า ปานประชา นกั วชิ าการวัฒนธรรมชำนาญการ

นางสลักจติ ร ศรชี ยั นักวชิ าการวฒั นธรรมชำนาญการ

นางสาวสมุ าลี เจียมจงั หรีด นกั วชิ าการวฒั นธรรมชำนาญการ

นางสาววรณุ ี วิเศษหมอ นกั วชิ าการวฒั นธรรมปฏบิ ัติการ


ออกแบบปก/รูปเลม่


กลมุ่ สง่ เสรมิ การถ่ายทอดวัฒนธรรม สำนักสง่ เสริมและเผยแพร่วฒั นธรรม


ขอขอบคุณผสู้ นับสนนุ ขอ้ มูลและภาพ


สำนักประชาสมั พนั ธแ์ ละเทคโนโลยสี ารสนเทศ

แหลง่ ขอ้ มูลอา้ งองิ ทกุ แห่ง


Click to View FlipBook Version