The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ การผลิตสุกร 1-18

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by o-rawan.hem, 2024-02-06 14:10:15

แผนการจัดการเรียนรู้ การผลิตสุกร 1-18

แผนการจัดการเรียนรู้ การผลิตสุกร 1-18

1 แผนการจัดการเรียนรู้ รหัส 30503-2004 รายวิชาการผลิตสุกรขุน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จัดทำโดย นางสาวอรวรรณ เห็มกอง แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


2 แผนการสอนรายวิชา ชื่อรายวิชาการผลิตสุกรขุน รหัสวิชา 30503-2105 ประเภทวิชา เกษตรกรรม สาขาวิชา เกษตรศาสตร์ หน่วยกิต 3 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและกระบวนการผลิตสุกรตามมาตรฐานงานฟาร์มสุกร 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ วางแผน จัดการผลิตสุกรขุนระยะต่าง ๆ บันทึกข้อมูลและแก้ไข ปัญหาในการจัดการฟาร์มสุกรตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพเลี้ยงสุกรขุน และมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความ รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา รอบคอบ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน สนใจใฝ่รู้และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มาตรฐานรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการผลิตสุกรขุน 2. วางแผนการผลิตสุกรขุนตามหลักการและมาตรฐานฟาร์ม 3. จัดเตรียมโรงเรือน อุปกรณ์และพันธุ์สุกรตามหลักการและกระบวนการ 4. เลี้ยงดูสุกรขุนระยะต่าง ๆ ตามหลักการและกระบวนการ 5. ทำวัคซีนสุกรขุนตามแผนการป้องกันโรค 6. จัดการสุกรขุนและจำหน่ายตามกระบวนการ 7. บันทึกข้อมูลฟาร์มและบัญชีฟาร์มตามหลักการและกระบวนการ 8. วิเคราะห์ข้อมูลและผลตอบแทนจากการผลิตสุกรขุนตามหลักการ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ สถานการณ์การผลิตและตลาดสุกรขุน ปัจจัยที่สำคัญในการผลิต พันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การ จัดการสุกรขุนระยะ ต่าง ๆ โรค พยาธิและการป้องกันรักษา การจัดการของเสียในฟาร์ม การ บันทึกข้อมูลฟาร์ม การจัดการผลผลิต ระบบตรวจสอบย้อนกลับ การตลาดและการจำหน่ายผลผลิต การวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต ปัญหา อุปสรรคและ แนวทางแก้ไข มาตรฐานฟาร์มสุกร และการวาง แผนการผลิตเชิงธุรกิจ


3 ข้อกำหนดระหว่างเรียน 1. เวลาเรียน - นักเรียนมีเวลาเรียนทั้งหมด 90 คาบ สามารถขาดเรียนได้ไม่เกิน 18 คาบเรียน (ร้อยละ 20 ของเวลาเรียนทั้งหมด) 2. อัตราส่วนคะแนน - คะแนนจิตพิสัย : คะแนนระหว่างภาคเรียน = 20 : 80 ดังรายละเอียด ดังนี้ 2.1 คะแนน จิตพิสัย แบ่งเป็น - การเข้าชั้นเรียน 3 คะแนน - กริยามารยาท 5 คะแนน - การตรงต่อเวลา 6 คะแนน - การแต่งกาย 3 คะแนน - ความพร้อมของอุปกรณ์ 3 คะแนน รวม 20 คะแนน 2.2 คะแนน ระหว่างภาคเรียน แบ่งเป็น - ทดสอบในแต่ละบท 20 คะแนน - การปฏิบัติในแต่ละบท 25 คะแนน - งานมอบหมายรายบุคคล 15 คะแนน 2.3 คะแนน สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน รวม 80 คะแนน 3. เกณฑ์การประเมินผล - การประเมินผลใช้แบบอิงเกณฑ์ ดังนี้ คะแนน 80 -100 = 4 75 – 79 = 3.5 70 – 74 = 3 65 – 69 = 2.5 60 – 64 = 2 55 – 59 = 1.5 50 – 54 = 1 0 – 49 = 0


4 หน่วยการเรียนรู้ รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน จำนวน 3 หน่วยกิต 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ 1 การผลิตสุกรของประเทศไทย 1 1-5 2 พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์ 2 6-10 3 การสร้างฟาร์มสุกร 3 11-15 4 อาหาร และการให้อาหาร 4 16-20 5 การจัดการสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ 5-6 21-30 6 การจัดการแม่สุกรระยะอุ้มทอง-หลังหย่านม 7-8 31-40 7 การจัดการลูกสุกรหลังคลอด-หลังหย่านม 9-10 41-50 8 การจัดการสุกรขุน 11 51-55 9 โรคสุกรและการสุขาภิบาล 12-13 56-65 10 การจัดการผลผลิตและการจัดจำหน่าย 14-15 66-75 11 การจดบันทึกข้อมูลฟาร์ม 16 76-80 12 การจัดการสิ่งแวดล้อมในงานผลิตสุกร 17 81-85 สอบปลายภาค 18 86-90 รวม 18 90


5 ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ รหัส 30503-2105 วิชา การผลิตสุกรขุน จำนวน 3 หน่วยกิต 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ หน่วย ที่ ชื่อหน่วย/หัวข้อย่อย ระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เวลา (ชม.) พุทธิพิสัย ทักษะ พิสัย จิต 1 2 3 4 5 6 พิสัย 1 การผลิตสุกรของประเทศไทย 5 1.1 พัฒนาการของการเลี้ยงสุกร / 1.2 ความสำคัญของการผลิตสุกร / 1.3 การผลิตสุกรของประเทศไทย / 1.4 ประเภทของฟาร์มสุกร / 1.5 ตลาดสุกรของประเทศไทย / 1.6 แนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทย / / / 2 พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์ 5 2.1 ประเภทของสุกร / 2.2 พันธุ์ และลักษณะประจำพันธุ์ของสุกร / 2.3 การคัดเลือกพันธุ์ / / / 2.4 การประกวดและการตัดสินสุกร / / / 3 การสร้างฟาร์มสุกร 5 3.1 การเลือกสถานที่สร้างฟาร์มสุกร / 3.2 การวางแผนผังฟาร์ม / 3.3 การสร้างโรงเรือน / / / 3.4 การวางแผนการผลิต / / / 4 อาหาร และการให้อาหาร 5 4.1 ความสำคัญของอาหารสัตว์ / 4.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ / 4.3 ประเภทของอาหารสัตว์ / 4.4 การให้อาหารสุกร / / / 4.5 การประกอบสูตรอาหารสุกร / / / 5 การจัดการสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ 10


6 หน่วย ที่ ชื่อหน่วย/หัวข้อย่อย ระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เวลา (ชม.) พุทธิพิสัย ทักษะ พิสัย จิต 1 2 3 4 5 6 พิสัย 5(ต่อ) 5.1 สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสุกร / 5.2 การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ / / / 5.3 การจัดการสุกรแม่พันธุ์ / / / 5.4 การผสมพันธุ์สุกร / / / 5.5 การจัดการแม่สุกรหลังผสมพันธุ์ / / / 5.6 แผนการผสมพันธุ์สุกร / / / 6 การจัดการแม่สุกรระยะอุ้มทอง-หลังหย่า นม 10 6.1 การจัดการแม่สุกรระยะอุ้มท้อง / / / 6.2 การจัดการแม่สุกร และลูกหลังคลอด / / / 6.3 การจัดการแม่สุกรระยะเลี้ยงลูก / / / 6.4 การจัดการแม่สุกรหลังหย่านม / / / 7 การจัดการลูกสุกรหลังคลอด-หลังหย่านม 10 7.1 การจัดการลูกสุกรหลังคลอด / / / 7.2 การหย่านมเร็วเพื่อการแยกลูก / / / 7.3 การจัดการลูกสุกรหลังหย่านม / / / 8 การจัดการสุกรขุน 5 8.1 การเจริญเติบโตของร่างกายสุกร / 8.2 ประเภทของผู้เลี้ยงสุกร / 8.3 พันธุ์สุกรขุน / 8.4 ระบบการผลิตสุกรขุน / 8.5 การดำเนินการผลิตสุกรขุน / / / 8.6 การประเมินคุณภาพซาก / 9 โรคสุกรและการสุขาภิบาล 10 9.1 สาเหตุของการติดเชื้อโรค /


7 หน่วย ที่ ชื่อหน่วย/หัวข้อย่อย ระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เวลา (ชม.) พุทธิพิสัย ทักษะ พิสัย จิต 1 2 3 4 5 6 พิสัย 9(ต่อ) 9.2 หลักการควบคุมป้องกันโรค และกำจัด โรคในฟาร์มสุกร / / / 9.3 หลักการสังเกตอาการป่วยของสุกร / / / 9.4 หลักปฏิบัติเมื่อสุกรเกิดโรคระบาดใน ฟาร์ม / / / 9.5 การทำวัคซีนให้สุกร / / / 9.6 การใช้ยาต้านจุลชีพ / / / 9.7 โรคสุกรที่สำคัญ / 10 การจัดการผลผลิตและการจัดจำหน่าย 10 10.1 ตลาดสุกรในประเทศไทย / 10.2 ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการผลิตสุกร / 10.3 การจำหน่ายผลผลิต / 10.4 การชำแหละสุกรขุน / 11 การจดบันทึกข้อมูลฟาร์ม 5 11.1 ประโยชน์ของการจดบันทึกข้อมูล ฟาร์ม / 11.2 ลักษณะของข้อมูลฟาร์มที่จดบันทึก / 11.3 บันทึกของข้อมูลฟาร์มสุกรที่สำคัญ / / / 12 การจัดการสิ่งแวดล้อมในงานผลิตสุกร 10 12.1 ความสำคัญของการจัดการ สิ่งแวดล้อมในงานผลิตสุกร / 12.2 มลพิษที่เกิดจากของเสียในฟาร์ม / 12.3 ผลของแก๊สพิษในฟาร์มสุกร / 12.4 การจัดการฟาร์มเพื่อการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมในงานผลิตสุกร / / /


8 หน่วย ที่ ชื่อหน่วย/หัวข้อย่อย ระดับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เวลา (ชม.) พุทธิพิสัย ทักษะ พิสัย จิต 1 2 3 4 5 6 พิสัย สอบปลายภาค ความสำคัญ/สัดส่วนคะแนน (ร้อยละ) 20 หมายเหตุ ระดับพุทธิพิสัย 1 = ความจำ 2= ความเข้าใจ 3 = การนำไปใช้ 4= วิเคราะห์ 5 = สังเคราะห์ 6 = ประเมินค่า


9 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1 หน่วยที่ 1 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 1 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย การผลิตสุกรของประเทศไทย ชั่วโมงรวม 5 เรื่อง การผลิตสุกรของประเทศไทย จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. พัฒนาการของการเลี้ยงสุกร 2. ความสำคัญของการผลิตสุกร 3. การผลิตสุกรของประเทศไทย 4. ประเภทของฟาร์มสุกร 5. ตลาดสุกรของประเทศไทย 6. แนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทย สาระสำคัญ การผลิตสุกรได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก ความต้องการของตลาดมีแนวโน้ม สูงขึ้นทุก ๆ ปีมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรตลอดมา จนทำให้หลายประเทศมีการ ผลิตสุกรเป็นอุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย การผลิตสุกรจึงมีส่วนสำคัญต่อภาคเกษตร และเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. อธิบายพัฒนาการของการเลี้ยงสุกรได้ 2. อธิบายความสำคัญของการผลิตสุกรของประเทศไทยได้ 3. อธิบายความเหมาะสมในการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพในประเทศไทยได้ 4. อธิบายประเภทของฟาร์มสุกรในประเทศไทยได้ 5. อธิบายตลาดสุกรของประเทศไทยได้ 6. อธิบายแนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทยได้


10 เนื้อหาสาระ 1. พัฒนาการของการเลี้ยงสุกร สุกร เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และรู้จักกันดี มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า หมู การเลี้ยงสุกร มีมานานตั้งแต่ 2,000 ปี ก่อนคริสตศักราช โดยประเทศจีนเป็นชาติแรกที่เริ่มเลี้ยงสุกร ต่อมาได้แก่ประเทศอังกฤษ และแพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งแถบเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ด้วย เหตุที่เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกร เป็นที่นิยมบริโภคไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อทั้งหมด ขณะที่จำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ความต้องการบริโภคมีสูงขึ้น ดังนั้นการเลี้ยง สุกรจึงมีการพัฒนาด้านพันธุ์สุกร และวิทยาการการเลี้ยงดู เพื่อการผลิตสุกรให้ได้ทั้งปริมาณและ คุณภาพตอบสนองต่อผู้บริโภค ทำให้ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม และยัง ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหรืออาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอีกมากมาย 2. ความสำคัญของการผลิตสุกร 2.1 สุกรเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญและมีผู้นิยมบริโภคมากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น 2.2 สามารถประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรได้ดี 2.3 อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ก่อให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย 2.4 สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกร สามารถนำส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ 2.5 การเลี้ยงสุกรจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ที่รกร้างว่างเปล่า 2.6 สุกรเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้น เลี้ยงง่าย สร้างรายได้ดี 3. ข้อดีของการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพ 3.1 สุกรเป็นสัตว์โตเร็วเลี้ยงง่าย วงจรผลิตสั้น ได้รับการคืนทุนเร็ว 3.2 สุกรให้ลูกเป็นครอก ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถขายได้ทุกระยะของการเลี้ยงดู 3.3 ความต้องการเนื้อสุกรของตลาดมีมากและสม่ำเสมอตลอดเวลา 3.4 สุกรมีส่วนซากที่ใช้บริโภคได้ถึงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักมีชีวิต 3.5 ใช้แรงงานในครอบครัวได้ดี ลดปัญหาสังคมจากการว่างงาน 3.6 สุกรช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรโดยอ้อม 3.7 ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ไม่สิ้นเปลืองแรงงานในการเลี้ยงดู 3.8 มูลสุกร ใช้เป็นปุ๋ยแก่ดินและพืช หรือใช้เป็นอาหารปลา หรือนำไปหมักผลิตแก๊ส ชีวภาพ (Biogas) ใช้ในการหุงต้ม หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 4. ประเภทของฟาร์มสุกรในประเทศไทย 4.1 ฟาร์มสุกรขุน 4.2 ฟาร์มสุกรพันธุ์


11 4.3 ฟาร์มสุกรแบบครบวงจร 5. ตลาดสุกรของประเทศไทย 5.1 ตลาดสุกรในประเทศ 5.2 ตลาดต่างประเทศ 6. ปัญหาการผลิตสุกรของประเทศไทย 6.1ด้านการผลิต 6.2 ด้านการตลาด 6.3 แนวทางการแก้ไขปัญหาการผลิตสุกรของไทย 7. แนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทย 7.1 เน้นต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม 7.2 ปรับปรุงพันธุ์สุกรอย่างมีระบบ และสามารถพึ่งตนเองได้ 7.3 คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมจากการทำฟาร์มสุกร 7.4 ดูแลระบบการผลิต การจัดการฟาร์มให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 7.5 ต้นทุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีแนวโน้มสูงขึ้น 7.6 จำนวนฟาร์มจะลดลง แต่ขนาดฟาร์มจะใหญ่ขึ้น 7.7 ระบบจ้างเลี้ยงจะเพิ่มจำนวน และกระจายออกไปมากขึ้น 7.8 การผลิตสุกร มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย และสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น 7.9 ปรับระบบการผลิตเป็นแบบเข้าหมด -ออกหมด มากขึ้น 7.10 เข้มงวดในการจัดการแก้ไขปัญหาไวรัสที่สร้างความสูญเสียในระบบการผลิต กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. แนะนำครูผู้สอนและให้นักเรียนแนะนำตัว 2. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่สอนและ รายละเอียดสัดส่วนของคะแนน 1. ฟังและทำการจดบันทึกลงในสมุด การดำเนินการสอน 1. บรรยายตามเนื้อหา 1.1 พัฒนาการของการเลี้ยงสุกร 1. บันทึกเนื้อหาตามรายการสอน


12 1.2 ความสำคัญของการผลิตสุกร 1.3 การผลิตสุกรของประเทศไทย 1.4 ประเภทของฟาร์มสุกร 1.5 ตลาดสุกรของประเทศไทย 1.6 แนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทย 2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 3. สรุป 4. ให้ทำแบบทดสอบ 5. เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน 2. ซักถามและแสดงความคิดเห็น 3. สรุป 4. ทำแบบทดสอบ สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือประกอบการเรียนการสอน บทที่ 1 เรื่อง การผลิตสุกรของประเทศไทย 2. โปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์ 3. รายงาน เรื่อง สถิติการนำเข้าและส่งออกสุกรในปัจจุบัน 4. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 การวัดผลและประเมินผล 1. วิธีการวัดผลและประเมินผล -การทดสอบ 2. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน ระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนนเป็นต้นไป ระดับปานกลาง ตั้งแต่ 6-7 คะแนน ระดับต้องปรับปรุง น้อยกว่า 6 คะแนน เกณฑ์การผ่าน ได้ตั้งแต่ 6 คะแนนเป็นต้นไป บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.1 นักศึกษารู้ถึงความสำคัญของการเลี้ยงสุกร ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ..............


13 ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ.............. 1.2 นักศึกษารู้สถานการณ์ตลาดสุกรในประเทศไทย ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ................ 2. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น 2.1 ความสามัคคีในกลุ่ม ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ............... 2.2 ความกล้าแสดงออก ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ................. ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ................ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................... ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอรวรรณ เห็มกอง) ครูผู้สอน .............../............../.............. ลงชื่อ............................................... (นางเนตรชนก เคลือบคณโท) หัวหน้าแผนกวิชาสัตวศาสตร์ ............../............../.................


14 ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (...............................................) ตำแหน่ง............................................................... ............../......../...............


15 แบบฝึกหัดบทที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การเลี้ยงสุกรมีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง 2. ประเภทของฟาร์มสุกรในประเทศไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการผลิตสุกรของประเทศไทยมีอย่างไรบ้าง 4. แนวทางการผลิตสุกรของประเทศไทยมีอย่างไรบ้าง แนวตอบแบบฝึกหัดบทที่ 1 1. การเลี้ยงสุกรมีความสำคัญต่อประเทศไทย ดังนี้ 1.1 สุกรเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญ มีผู้นิยมบริโภคมากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น 1.2 สามารถประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรได้ดี 1.3 อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรก่อให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มากมาย ทำให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น 1.4 สามารถส่งออกต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมาก 1.5 การเลี้ยงสุกรจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ได้มากขึ้น 1.6 สุกรเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้น เลี้ยงง่าย สร้างรายได้ดี จึงเหมาะสม ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์ของประเทศได้อย่างดี 2. ฟาร์มสุกรในประเทศไทยมี 3 ประเภท ดังนี้ 2.1 ฟาร์มสุกรขุน 2.2 ฟาร์มสุกรพันธุ์ 2.3 ฟาร์มสุกรแบบครบวงจร 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการผลิตสุกรของไทย มีดังนี้ 3.1 เพิ่มความรู้และทักษะแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยี 3.2 ส่งเสริม และจัดตั้งสหกรณ์เกี่ยวกับสุกรขึ้นทุกจังหวัด 3.3 มีมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสุกร 3.4 ให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้านการตลาดแก่ผู้เลี้ยงอย่างเป็นรูปธรรม 3.5 ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือด้านเงินทุนดำเนินงาน 3.6 ปล่อยให้ราคาสุกรเป็นไปตามกลไกการตลาด


16 4. แนวทางการผลิตสุกรของไทยมีดังนี้ 4.1 เน้นต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม 4.2 ปรับปรุงพันธุ์สุกรอย่างมีระบบ และสามารถพึ่งตนเองได้ 4.3 คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมจากการทำฟาร์มสุกร 4.4 ดูแลระบบการผลิต การจัดการฟาร์มให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 4.5 ต้นทุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีแนวโน้มสูงขึ้น 4.6 จำนวนฟาร์มจะลดลง แต่ขนาดฟาร์มจะใหญ่ขึ้น 4.7 ระบบจ้างเลี้ยงจะเพิ่มจำนวน และกระจายออกไปมากขึ้น 4.8 การผลิตเนื้อสุกรจะมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย และสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น 4.9 ปรับระบบการผลิตเป็นแบบเข้าหมด -ออกหมดมากขึ้น 4.10 เข้มงวดในการจัดการแก้ไขปัญหาไวรัสที่สร้างความสูญเสียในระบบการผลิต


17 เอกสารอ้างอิง กรมปศุสัตว์. 2550. ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตปศุสัตว์ปี 2550 ระดับประเทศ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/mis/Forecast/thai/all/wh_02.htm สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550. ถวัลย์ วรรณกุล. 2526. การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรพันธุ์. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช. 287 หน้า. นาม ศิริเสถียร. 2550. สหกรณ์ช่วยแก้ไขปัญหาวัฏจักรสุกรได้จริงหรือ. สุกรสาส์น. 33 (132) :12 -24. ยุคล ลิ้มแหลมทอง. 2546. นโยบายของภาครัฐในการผลิตเนื้อสุกรอนามัย ปลอดภัย นำไทยสู่ครัวโลก. สุกรสาส์น. 30 (118) :5 -13. วิวัฒน์ ชวนะนิกุล. 2548. อาชีพเลี้ยงสุกรในเขตปากท่อ : หนทางข้างหน้าที่ต้องพัฒนาให้ถูกทาง. สุกรสาส์น. 31 (123) :49 -54. ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2542. การผลิตสุกร. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 279 หน้า. ศิริพร วงศ์เลิศประยูร. 2550. สถานการณ์สุกรปี 2549 และแนวโน้มปี 2550. สุกรสาส์น. 33 (131) :5 -15. สถานการณ์ราคาสุกร. 2548. วารสารสุกร. 8 (34) :20 - 36. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ. 2544. อนาคตสุกรไทยจะไปทิศทางไหน. วารสารสุกร. 5 (17) : 27 -35. สากล อุไรกุล. 2527. แนะแก้ปัญหาระยะสั้น -ยาว วัฏจักรหมู. สัตว์เศรษฐกิจ. 2(8) : 33 -43. สุกัญญา วงศ์วัฒนา. 2539. เทคนิคการผลิตสุกร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี กรมอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 304 หน้า. สุชีพ รัตรสาร. 2520. คู่มือปฏิบัติการเลี้ยงสุกร. กรุงเทพมหานคร : เทพพิทักษ์การพิมพ์. 264 หน้า. อุทัย คันโธ. 2548. แนวทางในการพัฒนา การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร. วารสารสุกร. 8 (33) : 28 -30.


18 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 2 หน่วยที่ 2 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 2 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์ ชั่วโมงรวม 5 เรื่อง พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์ จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. ประเภทของสุกร 2. พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของสุกร 3. การคัดเลือกพันธุ์ 4. การประกวด และตัดสินสุกร สาระสำคัญ พันธุ์สุกรที่ดีย่อมเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์ม ซึ่งพันธุ์สุกร ที่ให้ผลผลิตดีตรงตามความต้องการของตลาดตามคุณภาพซากของสุกรประเภทเนื้อ และเบคอน นั้นมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน โดยแต่ละพันธุ์จะมีคุณลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างกันไป ผู้เลี้ยงสุกร ควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพันธุ์และลักษณะมาตรฐานของสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้สามารถคัดเลือกและตัดสินสุกรพันธุ์ที่ดีมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง เหมาะสมกับการผลิต สุกรเชิงพาณิชย์ สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. จำแนกประเภทของสุกรได้ 2. อธิบายพันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์สุกรที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยได้ 3. อธิบายความสำคัญของการคัดเลือกสุกรได้ 4. อธิบายหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสุกรได้ 5. อธิบายลักษณะมาตรฐานของสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ได้ 6. คัดเลือกสุกรพันธุ์ที่ดีได้


19 เนื้อหาสาระ พันธุ์สุกร เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ต่อการผลิตสุกรให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจุบัน มีพันธุ์สุกรที่เลี้ยงกันอยู่ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 80 พันธุ์มีทั้งพันธุ์ดั้งเดิม และพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ (ถวัลย์, 2526) ได้มีการพัฒนาพันธุ์สุกรให้มีสมรรถภาพการให้ผลิตผลที่ดีมีเนื้อแดงมาก มันน้อย เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค 1. ประเภทของสุกร 1.1 ประเภทมัน 1.2 ประเภทเนื้อ 1.3 ประเภทเบคอน 2. พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์สุกรที่เลี้ยงในประเทศไทย 2.1 พันธุ์พื้นเมือง 2.2 พันธุ์ต่างประเทศ 3. ความสำคัญของการคัดเลือกพันธุ์ พันธุ์สุกรที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผลิตสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม เป้าหมายของฟาร์ม และการคัดเลือกพันธุ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ให้สัมฤทธิ์ผล ตามต้องการ นอกจากนี้สุกรพันธุ์ที่มีคุณลักษณะที่ดี จะช่วยทำให้การคัดทิ้ง หรือความต้องการสุกร พันธุ์ทดแทนลดลง ดังนั้นในการคัดเลือกสุกรพันธุ์จึงต้องละเอียด รอบคอบ และพิถีพิถันเป็นอย่าง มาก 4. หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสุกรพันธุ์ 4.1 พิจารณาจากรูปร่างลักษณะภายนอก 4.2 พิจารณาจากพันธุ์ประวัติ 5. การคัดเลือกสุกรพ่อพันธุ์ 5.1 ลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 5.2 รูปร่างสมส่วน สุขภาพดี 5.3 โครงสร้างร่างกายแข็งแรง 5.4 อวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์ปกติ 5.5 เต้านมสมบูรณ์ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 12 เต้า 5.6 มาจากครอกเมื่อคลอดไม่ต่ำกว่า 10 ตัว และเมื่อหย่านมไม่ต่ำกว่า 8 ตัว 5.7 อัตราการเจริญเติบโตดี 5.8 อัตราแลกน้ำหนักดี


20 5.9 คุณภาพซากดี 5.10 ไม่มีลักษณะพิการมาแต่กำเนิด 6. การคัดเลือกสุกรแม่พันธุ์ 6.1 ลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 6.2 รูปร่างสมส่วน 6.3 โครงสร้างใหญ่ 6.4 มาจากครอกเมื่อคลอดไม่ต่ำกว่า 10 ตัว และเมื่อหย่านมไม่ต่ำกว่า 8 ตัว 6.5 เต้านมสมบูรณ์ดี ไม่ต่ำกว่า 14 เต้า 6.6 ความสมบูรณ์พันธุ์ดี 6.7อัตราการเจริญเติบโตดี 6.8 อัตราการแลกน้ำหนักดี 6.9 คุณภาพซากดี 6.10 ไม่มีลักษณะพิการทางพันธุกรรมแฝงอยู่ กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ทักทายหน้าชั้นเรียน เช็คชื่อนักศึกษา และ ทบทวนเนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง การผลิต สุกรของประเทศไทย 1. ทบทวนหน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง การผลิต สุกรของประเทศไทย การดำเนินการสอน 1. บรรยายตามเนื้อหา 1.1 ประเภทของสุกร 1.2. พันธุ์ และลักษณะประจำพันธุ์ของสุกร 1.3 การคัดเลือกพันธุ์ 1.4การประกวด และตัดสินสุกร 2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 3. สรุป 4. ให้ทำแบบทดสอบ 5. เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน 1. บันทึกเนื้อหาตามรายการสอน 2. ซักถามและแสดงความคิดเห็น 3. สรุป 4. ทำแบบทดสอบ


21 สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือประกอบการเรียนการสอน บทที่ 2 เรื่อง พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์ 2. โปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์ 3. รูปภาพสุกรสายพันธุ์ต่างๆ 4. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 การวัดผลและประเมินผล 1. วิธีการวัดผลและประเมินผล -การทดสอบ 2. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน ระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนนเป็นต้นไป ระดับปานกลาง ตั้งแต่ 6-7 คะแนน ระดับต้องปรับปรุง น้อยกว่า 6 คะแนน เกณฑ์การผ่าน ได้ตั้งแต่ 6 คะแนนเป็นต้นไป บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.1 นักศึกษารู้และเข้าใจถึงลักษณะประจำพันธุ์ของสุกรสายพันธุ์ต่างๆ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ.............. 1.2 นักศึกษารู้และสามารถคัดเลือกลักษณะประจำพันธุ์ที่ดีของสุกรได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ................ 2. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น ความสามัคคีในกลุ่ม ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ...............


22 ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ............... ความกล้าแสดงออก ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ................. ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ................ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอรวรรณ เห็มกอง) ครูผู้สอน .............../............../.............. ลงชื่อ............................................... (นางเนตรชนก เคลือบคณโท) หัวหน้าแผนกวิชาสัตวศาสตร์ ............../............../................. ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (...............................................) ตำแหน่ง............................................................... ............../......../...............


23 แบบฝึกหัดบทที่ 2 ก. จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงบอกถึงสาเหตุที่นิยมเลี้ยงสุกรประเภทเนื้อและประเภทเบคอนในเชิงพาณิชย์ 2. จงบอกลักษณะการให้ผลผลิตของสุกรพ่อพันธุ์ที่ดีมาอย่างน้อย 3 ข้อ 3. จงบอกคุณลักษณะเด่นและด้อย ของสุกรประเภทเนื้อที่นิยมเลี้ยงกัน มา 2 พันธุ์ 4. คุณสมบัติที่ดีของผู้คัดเลือกและตัดสินสุกร มีอย่างไรบ้าง ข. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดเป็นพันธุ์สุกรที่ได้รับการยอมรับว่าให้ลูกดกที่สุด ก. แลนด์เรซ ค. ไหหลำ ข. ดูร็อค ง. เหมยซาน 2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะผิดปกติทางพันธุกรรมในสุกร ก. ไส้เลื่อน ค. โลหิตเป็นพิษ ข. ไม่มีรูทวาร ง. อัณฑะทองแดง 3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของสุกรในด้านการให้ผลผลิต ก. อัตราแลกน้ำหนัก ค. อัตราการเจริญเติบโต ข. ความคึก ง. ขนาดครอก 4. Belly คือส่วนใดของสุกร ก. พื้นท้อง ค. บั้นท้าย ข. สะโพก ง. ขาหลัง 5. ลักษณะของแม่สุกรพันธุ์ที่ดี ควรมีเต้านมโดยเฉลี่ยกี่เต้า ก. 8 ค. 12 ข. 10 ง. 14 6. ข้อใดเป็นสุกรพันธุ์ที่ไม่ทนร้อน จะเหนื่อยหอบ และช็อคตายได้ง่าย ก. แลนด์เรซ ค. ลาร์จไวท์ ข. ดูร็อค ง. เปียแตรง 7. ข้อใดเป็นลักษณะภายนอกของสุกรที่ใช้พิจารณาจากด้านข้าง (side view) ของสุกร ก.ความกว้างของบั้นท้าย ค. ความกว้างของลำตัว ข. ความสมส่วนของร่างกาย ง. ขาหน้าตั้งตรง


24 8. ข้อใดเป็นการคัดเลือกสุกรที่ง่ายและเป็นที่นิยมมากที่สุด ก. conformation ค. carcass quality ข. FCR ง. ADG 9. ข้อใดเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของสุกรพันธุ์แลนด์เรซ ก. ลำตัวหนา ลึก สีแดง หูปรก ค. ลำตัวยาว สีขาว สะโพกใหญ่ หูปรก ข. ลำตัวยาว สีขาว ไหล่ใหญ่ หูตั้ง ง. ลำตัวหนา ลึก สีแดง หูตั้ง 10. ข้อใดเป็นสุกรพันธุ์พื้นเมืองที่นำมาผลิตแฮมได้คุณภาพดีที่สุด ก. ไหหลำ ค. เหมยซาน ข. ไท้หู ง. จินหัว แนวตอบแบบฝึกหัดบทที่ 2 (ก) 1. เนื่องจากสุกรประเภทเนื้อและประเภทเบคอน เป็นพันธุ์สุกรที่กินอาหารน้อยแต่เติบโต เร็วมาก ให้เนื้อแดงมาก ไขมันน้อย คุณภาพซากเป็นที่ต้องการของตลาด และคุ้มค่า ต่อการลงทุน 2. ลักษณะการให้ผลผลิตที่ดีของสุกรพ่อพันธุ์ที่ดี ได้แก่ 2.1 อัตราการเจริญเติบโต 2.2 อัตราแลกน้ำหนัก 2.3 คุณภาพซาก 3. พันธุ์ดูร็อค จะเติบโตเร็ว แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและการเกิด PSSได้ดี มากแต่ให้ลูกไม่ดก สะสมไขมันเร็ว ทำให้มีไขมันหนาช่วงน้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไป พันธุ์เปียแตรง มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงมากที่สุด แต่โตช้า เกิด PSSง่าย ทำให้เหนื่อยหอบ และเครียดจากสภาพอากาศร้อนจน ช็อคตายได้ง่าย และเนื้อมีลักษณะสีซีดและฉ่ำน้ำ 4. คุณสมบัติที่ดีของผู้คัดเลือกและตัดสินสุกร ได้แก่ 4.1 มีความรอบรู้เรื่องส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและคุณลักษณะที่ดีของสุกรพันธุ์ต่าง ๆ 4.2 มีความฉลาด รอบคอบ และไหวพริบดี 4.3 มีความซื่อสัตย์ยึดมั่นในหลักการและกล้าตัดสินใจ 4.4 มีความสามารถในการให้เหตุผลที่ดี เฉลยแบบฝึกหัดบทที่ 2 (ข) 1. ง 2.ค 3.ข 4.ก 5. ง 6. ง 7.ข 8.ก 9.ค 10. ง


25 เอกสารอ้างอิง กรมอาชีวศึกษา. 2528. คู่มือการเรียนการสอนการประกวดและตัดสินสัตว์. หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2527. กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 136 -141. เกศินี เกตุพยัคฆ์. 2550. การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของสุกร. สัตว์เศรษฐกิจ. 25 (568) :25. จีรสิทธิ์ สงค์ประเสริฐ. 2550. การประกวดตัดสินสัตว์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , เชียงใหม่. 184 หน้า. ถวัลย์ วรรณกุล. 2526. การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรพันธุ์. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช. 287 หน้า. นาม ศิริเสถียร. 2537. การผลิตสุกรเนื้อของประเทศไทย และของโลกในทศวรรษหน้า. การผลิต สุกรเชิงอุตสาหกรรม เล่ม 1. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. หน้า 1 -12. นาม ศิริเสถียร. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพซากและการวัดซาก. สัตว์บก. 10 (120) :45. เนรมิต สุขมณี. 2535. การปรับปรุงพันธุ์สุกรโดยดูลักษณะภายนอก. สุกรสาส์น. 18 (72) :17 -20. ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2528. พันธุ์สุกรและการคัดเลือกพันธุ์. สุกรสาส์น. 11(43) :69 -84. ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2542. การผลิตสุกร. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน , นครปฐม. 279 หน้า. สุกัญญา วงศ์วัฒนา. 2539. เทคนิคการผลิตสุกร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี. กรมอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 304 หน้า. สุชีพ รัตรสาร. 2520. คู่มือปฏิบัติการเลี้ยงสุกร. กรุงเทพมหานคร : เทพพิทักษ์การพิมพ์. 264 หน้า. สุชีพ รัตรสาร. 2537. การจัดการฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์. การผลิตสุกรเชิงอุตสาหกรรม เล่ม 1. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ,นครปฐม. หน้า13 -93. อลงกลด แทนออมทองและเรืองวิทย์ บรรจงรัตน์. 2543. แนวทางศึกษาความหลากหลายทาง ชีวภาพของสุกรพื้นเมืองไทย. สัตวบาล. 10 (53) :18 -22. Eusebio, J.A. 1984. Pig Production in the Tropics. Commonwealth, Hong Kong. 115 p. Krider, J.L. and W.E. Carroll. 1971. Swine Production. 4thed. Tata McGraw - Hill, Bombay, New Delhi. 528 p.


26 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 3 หน่วยที่ 3 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 3 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย การสร้างฟาร์มสุกร ชั่วโมงรวม 5 เรื่อง การสร้างฟาร์มสุกร จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. การเลือกสถานที่สร้างฟาร์มสุกร 2. การวางแผนผังฟาร์ม 3. การสร้างโรงเรือน 4. การวางแผนการผลิต สาระสำคัญ สถานที่สร้างฟาร์มสุกรที่เหมาะสม และการวางแผนผังฟาร์มที่ดี ตลอดจนการสร้าง โรงเรือนและอุปกรณ์ในฟาร์มสุกรให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาล สอดคล้องกับมาตรฐานฟาร์ม สุกรในยุคปัจจุบัน จะช่วยให้การวางแผนการผลิตสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ผลิตสุกรที่ถูกสุขลักษณะ มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาด สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. อธิบายความสำคัญของโรงเรือน และอุปกรณ์การเลี้ยงสุกรได้ 2. อธิบายหลักการเลือกสถานที่สร้างฟาร์มสุกรได้ 3. วางแผนผังฟาร์มสุกรได้ 4. อธิบายหลักการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้ 5. วางแผนการผลิตสุกรได้ เนื้อหาสาระ 1. สถานที่ในการสร้างฟาร์มสุกร 1. อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวกและไฟฟ้าเข้าถึง 2. อยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชน และแหล่งน้ำสาธารณะ


27 3. เป็นบริเวณที่ดอน ราบเรียบ น้ำไม่ท่วม อากาศถ่ายเทดีและระบายน้ำได้ง่าย 4. อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาด และเพียงพอตลอดปี 5. สามารถป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ 6. เป็นทำเลที่ไม่เคยมีโรคระบาดสัตว์หรือเคยเลี้ยงสัตว์มาก่อน 7. อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ 8. ไม่มีปัญหากับสังคมในท้องถิ่น และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2. การวางแผนผังฟาร์ม 1. บริเวณบ้านพัก สำนักงาน 2. บริเวณโรงเรือนเลี้ยงสุกร 3. บริเวณกำจัดของเสีย 3. การสร้างโรงเรือนสุกร 1. เป็นโรงเรือนที่สุกรอยู่ได้อย่างสบาย 2. สามารถใช้เนื้อที่ภายในโรงเรือนให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด 3. แบบโรงเรือนเรียบง่าย สามารถขยับขยายหรือเปลี่ยนแปลงได้ 4. ถูกหลักเศรษฐกิจ 5. ออกแบบ และจัดแบ่งคอกตามประเภท และขนาดของสุกรให้เหมาะสม 6. มีระบบการสุขาภิบาล และป้องกันโรคที่ดี 7. มีการติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 8. สร้างโรงเรือนควรวางความยาว ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก 9. มีความกว้าง และความยาวของโรงเรือนให้เหมาะสม 4. ระบบของโรงเรือนสุกร 1. โรงเรือนระบบเปิด 2. โรงเรือนระบบปิด 5. แบบของโรงเรือน 1. แบบเพิงหมาแหงน 2. แบบเพิงหมาแหงนกลาย 3. แบบหน้าจั่วชั้นเดียว 4. แบบหน้าจั่วสองชั้น 5. แบบหน้าจั่วสองชั้นกลาย


28 6. ส่วนประกอบของโรงเรือน 1. พื้นคอก 2. ผนังกั้นคอก 3. เสา 4. โครงหลังคา 5. วัสดุมุงหลังคา 7. อุปกรณ์ในการเลี้ยงสุกร 1. ที่ให้อาหาร 2. อุปกรณ์ให้น้ำ 3. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกร 8. การวางแผนการผลิตสุกร 1. จำนวนแม่สุกรคลอดลูกต่อสัปดาห์ 2. จำนวนลูกสุกรต่อปี 3. การคำนวณจำนวนคอกพ่อ –แม่พันธุ์สุกร กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ทักทายหน้าชั้นเรียน เช็คชื่อนักศึกษา และ ทบทวนเนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 2 1. ทบทวนหน่วยการเรียนที่ 2 การดำเนินการสอน 1. บรรยายตามเนื้อหา 1.1 การเลือกสถานที่สร้างฟาร์มสุกร 1.2 การวางแผนผังฟาร์ม 1.3 การสร้างโรงเรือน 1.4 การวางแผนการผลิต 2. นักศึกษาศึกษาดูงานที่ฟาร์มการผลิตสุกร 3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 4. สรุป 1. บันทึกเนื้อหาตามรายการสอน 2. บันทักเนื้อหาพร้อมวาดภาพประกอบ 3. ซักถามและแสดงความคิดเห็น 4. สรุป


29 ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน 5. ให้ทำแบบทดสอบ 5. ทำแบบทดสอบ 6. เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน บทที่ 3 เรื่อง การสร้างฟาร์มสุกร 2. โปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์ 3. รูปภาพโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเลี้ยงสุกร 4. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 การวัดผลและประเมินผล 1. วิธีการวัดผลและประเมินผล -การทดสอบ 2. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน ระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนนเป็นต้นไป ระดับปานกลาง ตั้งแต่ 6-7 คะแนน ระดับต้องปรับปรุง น้อยกว่า 6 คะแนน เกณฑ์การผ่าน ได้ตั้งแต่ 6 คะแนนเป็นต้นไป บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.1 นักศึกษารู้และเข้าใจความสำคัญและหลักการเลือกทำเลที่ตั้งของฟาร์มสุกร ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ.............. 1.2 นักศึกษารู้และสามารถวางแผนการผลิตภายในฟาร์มสุกรได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ................


30 2. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น ความสามัคคีในกลุ่ม ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ............... ความกล้าแสดงออก ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ................. ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ................ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอรวรรณ เห็มกอง) ครูผู้สอน .............../............../.............. ลงชื่อ............................................... (นางเนตรชนก เคลือบคณโท) หัวหน้าแผนกวิชาสัตวศาสตร์ ............../............../................. ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (...............................................) ตำแหน่ง............................................................... ............../......../...............


31 แบบฝึกหัดบทที่ 3 จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สถานที่เหมาะสมในการสร้างฟาร์มสุกร มีอย่างไรบ้าง 2. การวางแผนผังฟาร์ม ประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. ลักษณะของโรงเรือนทีดี มีอะไรบ้าง 4. ระบบโรงเรือนแบบปิด และแบบเปิด มีลักษณะอย่างไรบ้าง 5. เลี้ยงแม่สุกรอยู่ 220 แม่ จะกำหนดแผนการผลิตอย่างไรในแต่ละสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์ วงจรการผลิตลูก แต่ละครอกของแม่คือ 22 สัปดาห์ และมีอัตราการผสมติด 80 เปอร์เซ็นต์ แนวตอบแบบฝึกหัดบทที่ 3 1. สถานที่เหมาะสมในการสร้างฟาร์มสุกรมีดังนี้ 1.1 อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวกและไฟฟ้าเข้าถึง 1.2 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ 1.3 เป็นบริเวณที่ดอน ราบเรียบ น้ำไม่ท่วม อากาศถ่ายเทดี และระบายน้ำได้ง่าย 1.4 อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาด และเพียงพอตลอดปี 1.5 สามารถป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ 1.6 เป็นทำเลที่ไม่เคยมีโรคระบาดสัตว์ หรือเคยเลี้ยงสัตว์มาก่อน 1.7 อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ 1.8 ไม่มีปัญหากับสังคมในท้องถิ่น และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2. การวางแผนผังฟาร์มจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 2.1 บริเวณบ้านพัก สำนักงาน และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ 2.2 บริเวณโรงเรือนเลี้ยงสุกร 2.3 บริเวณกำจัดของเสีย 3. ลักษณะของโรงเรือนทีดี มีดังนี้ 3.1 เป็นโรงเรือนที่สุกรอยู่ได้อย่างสบาย มีระบบการกำจัดของเสีย และการระบาย อากาศดี ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ พื้นคอกแห้งไม่ชื้นแฉะ 3.2 สามารถใช้เนื้อที่ภายในโรงเรือนให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด


32 3.3 แบบโรงเรือนเรียบง่าย สามารถขยับขยายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพภายในมาใช้ เลี้ยงฃสุกรได้ตามขนาด และประเภทของสุกรตามที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้าง ใหญ่ ๆ ของโรงเรือน 3.4 ถูกหลักเศรษฐกิจสัมพันธ์กับแผนการเลี้ยง โดยคำนึงถึงอายุการใช้งานความ คงทนถาวรของสิ่งปลูกสร้าง และงบการลงทุน 3.5 ออกแบบ และจัดแบ่งคอกตามประเภทและขนาดของสุกร ให้เหมาะสมมีความ คล่องตัวในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน 3.6 มีระบบการสุขาภิบาลและป้องกันโรคที่ดี 3.7 มีการติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 3.3 สร้างโรงเรือนควรวางความยาว ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก เพื่อไม่ให้ แสงแดดส่องเข้าไปในโรงเรือนได้ทั้งเวลาเช้า และบ่าย 3.9 มีความกว้างและความยาวของโรงเรือนเหมาะสมโดยทั่วไปใช้อัตราไม่เกิน 1 : 4 4. ระบบโรงเรือนแบบปิด และแบบเปิด มีลักษณะดังนี้ 4.1 โรงเรือนระบบเปิด หมายถึงโรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน 4.2 โรงเรือนระบบปิด หมายถึงโรงเรือนที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม กับความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่อุณหภูมิความชื้น การระบายอากาศและแสงสว่างป้องกันพาหะนำ โรคได้เช่น โรงเรือนอีแวป (Evaporative Cooling System) การลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง แต่สุกร จะอยู่สุขสบายและโตเร็ว 5. เลี้ยงแม่สุกรอยู่ 220 แม่ จะกำหนดแผนการผลิตอย่างไรในแต่ละสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์ วงจรผลิตลูก แต่ละครอกของแม่ คือ 22 สัปดาห์ และมีอัตราการผสมติด 80 เปอร์เซ็นต์ วิธีทำ วางแผนให้แม่สุกรคลอดลูก = 22 220 = 10 แม่ / สัปดาห์ ดังนั้นจำนวนแม่ผสมติด = 10 ×0.8 = 8 แม่ / สัปดาห์ ใช้พ่อพันธุ์ ต่อแม่พันธุ์ = 1 :15 ดังนั้นต้องเลี้ยงพ่อพันธุ์ = 15 220 ตัว = 14.67 ตัว = 15 ตัว


33 เอกสารอ้างอิง กรมปศุสัตว์. 2546. มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย. สุกรสาส์น. 30 (117) : 5 -12. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด. 2547. คู่มือการเลี้ยงสุกร. (ออนไลน์). www.cpffeed.com/Portals/0/pdfanimal/6cd88c17-6068-4327-ac0e-8bc31ae0c5d1.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550. บริษัท เอ.ไอ.เทค. คอนซัลท์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด. (ม.ป.ป.). ระบบโรงเรือนปิดแบบอีแวป กับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. (เอกสารเผยแพร่) ประเทือง สุดสาคร. 2545. หลักการระบายอากาศในเล้าไก่. สัตว์เศรษฐกิจ. 20 (454) :42 -46. วิวัฒน์ ชวนะนิกุล. 2546. วิธีการคำนวณจำนวนคอกพ่อแม่พันธุ์สุกร. วารสารสุกร. 6 (23) :41. วิวัธน์ สงกรานต์. 2536. การวางแผนการผลิตสุกร. สัตวบาล. 3 (13) :63 -70. ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2542. การผลิตสุกร. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 279 หน้า. ศิขัณฑ์ พงษ์พิพัฒน์. 2549. โรงเรือนระบบอีแวปกับการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนชื้น. สัตวบาล. 16 (76) :21 - 29. สุกัญญา วงศ์วัฒนา. 2539. เทคนิคการผลิตสุกร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี กรมอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 304 หน้า. สุพล เลื่องยศลือชากุล. 2543. การเลี้ยงสุกรในระบบควบคุมสภาพแวดล้อมตัวสุกร. สุกรสาส์น. 25 (104) :5 -14.


34 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 4 หน่วยที่ 4 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 4 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย อาหาร และการให้อาหาร ชั่วโมงรวม 5 เรื่อง อาหาร และการให้อาหาร จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. ความสำคัญของอาหารสัตว์ 2. วัตถุดิบอาหารสุกร 3. ประเภทของอาหารสุกร 4. การให้อาหารสุกร 5. การประกอบสูตรอาหารของสุกร สาระสำคัญ สุกรนำอาหารไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพ การเติบโต การสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิต อาหารสุกรเหล่านี้ได้จากพืช สัตว์ และผลพลอยได้จากการแปรรูปสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิตสุกร ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นค่าอาหาร จึงต้องเลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพ และคุ้มค่าต่อผลผลิตที่ ได้รับ ผู้เลี้ยงสุกรต้องเรียนรู้วิธีการให้อาหารที่ถูกต้อง ตามความต้องการของสัตว์ และการประกอบ สูตรอาหารให้เกิดประโยชน์กับการผลิตสุกรอย่างสูงสุด สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. อธิบายความสำคัญของอาหารสุกรได้ 2. อธิบายคุณสมบัติของอาหารสุกรได้ 3. จำแนกประเภทของอาหารสุกรได้ 4. อธิบายหลักการให้อาหารสุกรได้ 5. บอก และอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของอาหารสุกรได้ 6. อธิบายหลักการประกอบสูตรอาหารสุกรได้ 7. คำนวณสูตรอาหารสุกรได้


35 เนื้อหาสาระ 1. ความสำคัญของอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ หมายถึงวัสดุที่เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วสามารถจะถูกย่อย ถูกดูดซึม และถูก นำไปใช้ประโยชน์ ในร่างกายของสัตว์ได้อาหารเป็นปัจจัยสำคัญมากอันดับหนึ่งในการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากต้นทุนการผลิตประมาณไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าอาหารสัตว์ การที่อาหารจะมีผล ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตของสัตว์ด้านการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร คุณภาพซาก ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์และการสร้างภูมิคุ้มกันโรค 1.1 น้ำ 1.2 คาร์โบไฮเดรท 1.3 โปรตีน 1.4 ไขมัน 1.5 แร่ธาตุ 1.6 ไวตามิน 2. หน้าที่หลักของโภชนะในร่างกาย 2.1 เป็นแหล่งของพลังงาน 2.2 เป็นโครงสร้าง และบำรุงรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนสึกหรอของร่างกาย 2.3 ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ 2.4 สร้างผลผลิต 3. ความต้องการโภชนะของสัตว์ 3.1 ความต้องการเพื่อดำรงชีพ 3.2 ความต้องการเพื่อสร้างผลผลิต 3.3 ความต้องการโภชนะเพื่อการขุนให้อ้วน 3.4 ความต้องการโภชนะเพื่อการใช้งาน 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการอาหารของสุกร 4.1 อายุ 4.2 เพศ 4.3 สายพันธุ์ 4.4 สมรรถภาพในการให้ผลผลิต 4.5 สภาพการเลี้ยงดู และการจัดการ 4.6 สภาพอากาศ


36 4.7 คุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ 4.8 ระดับของสารพิษในอาหารสัตว์ 4.9 ระดับพลังงาน และไขมันในสูตรอาหาร 5. กายวิภาคของทางเดินอาหารของสุกร 5.1 ปาก และคอหอย 5.2 หลอดอาหาร 5.3 กระเพาะอาหาร 5.4 ลำไส้เล็ก และไส้ติ่ง 5.5 ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 6. วัตถุดิบอาหารสัตว์ 6.1 ประเภทเป็นแหล่งของพลังงาน 6.2 ประเภทเป็นแหล่งของโปรตีน 6.3 ประเภทเป็นแหล่งของแร่ธาตุ 6.4 ประเภทเป็นแหล่งของไวตามิน 7. คุณสมบัติที่ดีของวัตถุดิบอาหารสัตว์ 7.1 มีคุณค่าทางอาหาร 7.2 สัตว์กินแล้วย่อยได้เกิดประโยชน์ต่อตัวสัตว์ 7.3 ไม่มีสารพิษ หรือมีอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ 7.4 ไม่มีกลิ่น หรือรสชาติที่สัตว์ไม่ชอบกิน 8. ประเภทของอาหารสุกร 8.1 จำแนกตามชนิดของอาหารสุกร 8.2 จำแนกตามลักษณะทางกายภาพของอาหารสุกร 9. การให้อาหารสุกร 9.1 ระบบการให้อาหารสุกร 9.2 วิธีการให้อาหารสุกร 9.3 การจัดการให้อาหารสุกรระยะต่าง ๆ 10. การประกอบสูตรอาหารสัตว์ 10.1 สูตรอาหารสัตว์ที่ดี 10.2 ข้อมูลพื้นฐานในการประกอบสูตรอาหารสัตว์ 10.3 หลักเกณฑ์การเลือกวัตถุดิบอาหารในการประกอบสูตรอาหาร


37 10.4 ข้อจำกัดในการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด 10.5 การเลือกวัตถุดิบอาหารเป็นส่วนผสมของอาหาร 10.6 การคำนวณสูตรอาหารสัตว์ 10.6.1 วิธีเพียร์สันสแควร์ 10.6.2 วิธีลองผิดลองถูกและการทดแทน 10.6.3 วิธีลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง 10.7 การผสมอาหารสัตว์ กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ทักทายหน้าชั้นเรียน เช็คชื่อนักศึกษา และ ทบทวนเนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 3 1. ทบทวนหน่วยการเรียนที่ 3 การดำเนินการสอน 1. บรรยายตามเนื้อหา 1. ความสำคัญของอาหารสัตว์ 2. วัตถุดิบอาหารสุกร 3. ประเภทของอาหารสุกร 4. การให้อาหารสุกร 5. การประกอบสูตรอาหารของสุกร 2. ฝึกปฏิบัติด้านการให้อาหารสุกรระยะต่างๆ ภายในฟาร์มสุกร 3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 4. สรุป 5. ให้ทำแบบทดสอบ 6. เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน 1. บันทึกเนื้อหาตามรายการสอน 2. ชั่งน้ำหนักอาหารและให้อาหารสุกรระยะ ต่างๆ 3. ซักถามและแสดงความคิดเห็น 4. สรุป 5. ทำแบบทดสอบ สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน บทที่ 4 เรื่อง อาหาร และการให้อาหาร


38 2. โปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์ 3. ตราชั่งและที่ตักอาหารสุกร 4. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4 การวัดผลและประเมินผล 1. วิธีการวัดผลและประเมินผล -การทดสอบ 2. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน ระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนนเป็นต้นไป ระดับปานกลาง ตั้งแต่ 6-7 คะแนน ระดับต้องปรับปรุง น้อยกว่า 6 คะแนน เกณฑ์การผ่าน ได้ตั้งแต่ 6 คะแนนเป็นต้นไป บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.1 นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการให้อาหารสุกรได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ.............. 1.2 นักศึกษาเข้าใจและสามารถคำนวณสูตรอาหารสุกรได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ................ 2. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น ความสามัคคีในกลุ่ม ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ...............


39 ความกล้าแสดงออก ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ................. ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ................ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอรวรรณ เห็มกอง) ครูผู้สอน .............../............../.............. ลงชื่อ............................................... (นางเนตรชนก เคลือบคณโท) หัวหน้าแผนกวิชาสัตวศาสตร์ ............../............../................. ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (...............................................) ตำแหน่ง............................................................... ............../......../...............


40 แบบฝึกหัดบทที่ 4 จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ทางเดินอาหารสุกรประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง 2. หน้าที่หลักของโภชนะหลักมีอย่างไรบ้าง 3. คุณสมบัติของวัตถุดิบอาหารที่ดีมีอย่างไรบ้าง 4. บอกชื่อวัตถุดิบอาหารสุกรที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานโปรตีนจากพืชมาอย่างละ 5 ชื่อ 5. วิธีการให้อาหารมีกี่แบบ อะไรบ้าง 6. ระบบการให้อาหารแบบ Self feeding มีอย่างไรบ้าง 7. วิธีการให้อาหารลูกสุกรหย่านมมีอย่างไรบ้าง 8. จงคำนวณสูตรอาหารสำเร็จให้มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 100 กิโลกรัม โดยใช้ กากถั่วเหลือง และ ปลายข้าว แนวทางตอบแบบฝึกหัดบทที่ 4 1. ทางเดินอาหารของสุกรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 ปาก และคอหอย 1.2 หลอดอาหาร 1.3 .กระเพาะอาหาร 1.4 ลำไส้เล็ก และไส้ติ่ง 1.5 ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก 2. หน้าที่หลักของโภชนะ มีดังนี้ 2.1 เป็นแหล่งของพลังงาน 2.2 เป็นโครงสร้าง และบำรุงรักษา ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนสึกหรอของร่างกาย 2.3 ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ 2.4 สร้างผลผลิต เนื้อ นม ไข่ 3. คุณสมบัติของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ดี มีดังนี้ 3.1 มีคุณค่าทางอาหาร 3.2 สัตว์กินแล้วย่อยได้ เกิดประโยชน์ต่อตัวสัตว์ 3.3 ไม่มีสารพิษ หรือมีอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ 3.4 ไม่มีกลิ่น หรือรสชาติที่สัตว์ไม่ชอบกิน


41 4. วัตถุดิบอาหารแหล่งพลังงาน ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเทศ ปลายข้าว รำละเอียด วัตถุดิบอาหารแหล่งโปรตีน ได้แก่ กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากปาล์ม ใบกระถินป่น กากเมล็ดฝ้าย 5. วิธีการให้อาหารสุกรมี 2 แบบคือ 1. แบบจำกัดอาหาร 2. แบบให้กินเต็มที่ 6. ระบบการให้อาหาร Self feedingคือวิธีการให้อาหารแบบให้สุกรมีอาหารกินเองได้ ตลอดเวลา โดยเทอาหารลงในถังอาหารกล สุกรทุกตัวมีโอกาสเข้ากินได้ตลอดเวลา 7. วิธีการให้อาหารลูกสุกรระยะหย่านม ให้ใช้อาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์ ให้กินเต็มที่แต่ให้แบบน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งจะทำให้ลูกสุกรได้รับอาหารใหม่อยู่เสมอ และช่วยกระตุ้นให้ลูกสุกรกินอาหารได้มากขึ้น 8. คำนวณสูตรอาหาร วิธีทำ คำนวณโดยวิธีเพียร์สันสแควร์ กากถั่วเหลืองมีโปรตีน 44 เปอร์เซ็นต์ และปลายข้าว มีโปรตีน 8 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนของปลายข้าว 8 28 ส่วน 36 28 × 100 = 77.78 กก. โปรตีนของกากถั่วเหลือง 44 8 ส่วน 100 -77.78 = 22.22 กก. 36 ส่วน ตรวจสอบ วัตถุดิบ จำนวน (กก.) จำนวนโปรตีน (%) ปลายข้าว 77.78 77.78 ×0.08 = 6.22 กากถั่วเหลือง 22.22 22.22 ×0.44 = 9.78 รวม 100 16 อาหารผสม 100 กิโลกรัม มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย ปลายข้าว 77.78 กิโลกรัม และ กากถั่วเหลือง 22.22 กิโลกรัม 16


42 เอกสารอ้างอิง กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. 2546. หน่วยที่ 5 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน และแร่ธาตุ. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนะศาสตร์และอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า.330 -338. พรศรี ชัยรัตนายุทธ์และอุทัย คันโธ. 2546. หน่วยที่ 10 การประกอบสูตรอาหาร. เอกสารการสอนชุดวิชา หลักโภชนะศาสตร์และอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า83 -225. ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2546. หน่วยที่ 1 กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารของสัตว์. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนะศาสตร์และอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 1 -63. ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ และ สุรศักดิ์ บูรณสิรินทร์. 2544. หน่วยที่ 2 ระบบการให้อาหารสุกร. เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการการผลิตสุกรและสัตว์ปีก. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 134-136. ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์. 2546. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ มันสำปะหลังเป็นอาหารสุกรและสัตว์ปีก. สถาบันสุวรรณวาจกสิกิจฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 45 หน้า. สมชัย จันทร์สว่าง. 2532. การประเมินสภาพความสมบูรณ์ของแม่สุกร. สุกรสาส์น. 16 (62) :43. สุกัญญา จัตตุพรพงษ์. 2546. หน่วยที่ 8 คุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์และการตรวจสอบ คุณภาพ. เอกสารการสอนชุดวิชา หลักโภชนะศาสตร์และอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 452 -515. สุกัญญา วงศ์วัฒนา. 2539. เทคนิคการผลิตสุกร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี กรมอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 304 หน้า. เสาวคนธ์ โรจนสถิตย์. 2546. หน่วยที่ 3 อาหารและความต้องการโภชนาการของสัตว์. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนะศาสตร์และอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 141 -198. อุทัย คันโธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการ เลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 297 หน้า.


43 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 5 หน่วยที่ 5 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 5 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย การจัดการสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ ชั่วโมงรวม 10 เรื่อง การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสุกร 2. การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ 3. การผสมพันธุ์สุกร สาระสำคัญ สุกรพ่อ -แม่พันธุ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตสุกร สุกรพ่อ -แม่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ การผลิตสูง ย่อมมีผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสูงไปด้วย การเรียนรู้สรีรวิทยาการ สืบพันธุ์ของสุกร ทำให้เข้าใจธรรมชาติของสุกร นำมาใช้จัดการสุกรพ่อ -แม่พันธุ์ และผสมพันธุ์ สุกรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการผสมจริง และการผสมเทียม ตลอดจนการกำหนดแผนผสม พันธุ์สุกรให้ได้สุกรพันธุ์ ที่มีคุณลักษณะตามเป้าหมายของฟาร์ม สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. อธิบายสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสุกรได้ 2. อธิบายหลักการจัดการสุกรพ่อพันธุ์ได้ 3. จัดการผสมพันธุ์ให้สุกรได้ เนื้อหาสาระ 1. สรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์ของสุกร 1.1 ระบบสืบพันธุ์ของสุกรเพศผู้ 1.2 ระบบสืบพันธุ์ของสุกรเพศเมีย\ 1.3 กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 2. การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ 2.1 การเตรียมพ่อสุกรก่อนผสมพันธุ์


44 2.2 การฝึกพ่อสุกรหนุ่มให้มีเพศสัมพันธ์ 2.3 คุณลักษณะที่ดีของสุกรพ่อพันธุ์ทดแทน 2.4 การบำรุงรักษาพ่อพันธุ์สุกร 2.5 ปัญหาด้านสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของพ่อพันธุ์ 2.6 ข้อพิจารณาในการคัดทิ้งหรือปลดระวางพ่อพันธุ์ 3. การผสมพันธุ์สุกร 3.1 การผสมพันธุ์ตามแบบธรรมชาติ 3.2 การผสมเทียม กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการเรียน ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ทักทายหน้าชั้นเรียน เช็คชื่อนักศึกษา และ ทบทวนเนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 4 1. ทบทวนหน่วยการเรียนที่ 4 การดำเนินการสอน 1. บรรยายตามเนื้อหา 1. สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสุกร 2. การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ 3. การผสมพันธุ์สุกร 2. ฝึกปฏิบัติด้านการจัดการสุกรพ่อพันธุ์ภายใน ฟาร์มสุกร 3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 4. สรุป 5. ให้ทำแบบทดสอบ 6. เก็บแบบทดสอบ ตรวจ กรอกคะแนน 1. บันทึกเนื้อหาตามรายการสอน 2. ลงมือปฏิบัติจริงในเรื่องของการรีดน้ำเชื้อ และการผสมทียม 3. ซักถามและแสดงความคิดเห็น 4. สรุป 5. ทำแบบทดสอบ สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือประกอบการเรียนการสอน บทที่ 5 เรื่อง การจัดการสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ 2. โปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์


45 3. อุปกรณ์รีดน้ำเชื้อและผสมเทียม 4. แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5.1 การวัดผลและประเมินผล 1. วิธีการวัดผลและประเมินผล -การทดสอบ 2. เครื่องมือวัดและประเมินผล - แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผลและการผ่าน ระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนนเป็นต้นไป ระดับปานกลาง ตั้งแต่ 6-7 คะแนน ระดับต้องปรับปรุง น้อยกว่า 6 คะแนน เกณฑ์การผ่าน ได้ตั้งแต่ 6 คะแนนเป็นต้นไป บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.1 นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการจัดการสุกรพ่อพันธุ์ได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ.............. ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ.............. 1.2 นักศึกษาเข้าใจ สามารถอธิบายและปฏิบัติจริงด้านการผสมพันธุ์สุกรได้ ระดับดี..............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับต้องปรับปรุง..........คน คิดเป็นร้อยละ................ 2. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น ความสามัคคีในกลุ่ม ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ............... ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ...............


46 ความกล้าแสดงออก ระดับดี.............................คน คิดเป็นร้อยละ................ ระดับปานกลาง...............คน คิดเป็นร้อยละ................. ระดับต้องปรับปรุง.........คน คิดเป็นร้อยละ................ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอรวรรณ เห็มกอง) ครูผู้สอน .............../............../.............. ลงชื่อ............................................... (นางเนตรชนก เคลือบคณโท) หัวหน้าแผนกวิชาสัตวศาสตร์ ............../............../................. ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (...............................................) ตำแหน่ง............................................................... ............../......../...............


47 แบบฝึกหัดบทที่ 5.1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ควรเริ่มใช้งานสุกรหนุ่มเมื่อใด เพราะเหตุใด 2. ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสุกรเพศผู้ประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง 3. คุณลักษณะที่ดีของสุกรพ่อพันธุ์ทดแทน มีอย่างไรบ้าง 4. สุกรพ่อพันธุ์ที่ควรคัดทิ้ง มีลักษณะอย่างไรบ้าง 5. ข้อดีของการผสมเทียมสุกร มีอย่างไรบ้าง 6. ขั้นตอนการฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมสุกร มีอย่างไรบ้าง แนวตอบแบบฝึกหัดบทที่ 5.1 1. ควรเริ่มใช้สุกรหนุ่มในการผสมพันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 8 เดือนขึ้นไปเนื่องจากเป็น ระยะที่พ่อสุกรสามารถผลิตน้ำเชื้อที่มีความสมบูรณ์พันธุ์มากแล้ว 2. ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสุกรเพศผู้ ประกอบด้วย 2.1 ถุงหุ้มอัณฑะ 2.2 ลูกอัณฑะ 2.3 ท่อเก็บน้ำเชื้อ 2.4 ท่อนำส่งน้ำเชื้อ 2.5 ต่อมผลิตน้ำเลี้ยงอสุจิ 2.6 ลึงค์ 2.7 ถุงหุ้มลึงค์ 3. คุณลักษณะที่ดีของพ่อพันธุ์ทดแทน มีดังนี้ 3.1 มีความกำหนัดสูง 3.2 อุปนิสัยในการผสมพันธุ์ดี 3.3 ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูง 4. ลักษณะสุกรพ่อพันธุ์ที่ควรคัดทิ้ง มีดังนี้ 4.1 คุณภาพน้ำเชื้อไม่ดี 4.2 ไม่สนใจตัวเมีย 4.3 ขาเจ็บหรือขาเสีย ขึ้นผสมพันธุ์ไม่ได้ 4.4 พฤติกรรมการผสมตัวเมียไม่ดี


48 4.5 อวัยวะเพศผิดปกติ ผสมพันธุ์ไม่ได้ 4.6 อายุมาก และน้ำหนักตัวมากเกินไป 4.7 สุขภาพไม่ดี 4.8 ให้ลูกที่มีลักษณะผิดปกติทางกรรมพันธุ์บ่อย ๆ 5. ข้อดีของการผสมเทียมสุกร 5.1 ลดค่าใช้จ่ายด้านพ่อพันธุ์ 5.2 ผสมพันธุ์ในแม่พันธุ์ที่ต่างขนาดกันได้ 5.3 ผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าเดิม 10 เท่า 5.4 ป้องกันปัญหาโรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์ 5.5 การปรับปรุงพันธุ์ได้เร็วขึ้น 6. ขั้นตอนการฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมสุกร มีดังนี้ 6.1 เตรียมอุปกรณ์ในการฉีดน้ำเชื้อ และแม่สุกรให้พร้อม 6.2 ล้างตัวแม่สุกรให้สะอาดโดยเฉพาะบริเวณบั้นท้าย และอวัยวะเพศ 6.3 เช็ดอวัยวะเพศให้แห้งโดยใช้กระดาษชำระ 6.4 นำกระสอบทรายวางทับบนหลังแม่สุกร 6.5 ใช้น้ำเชื้อราดบนหัวของอวัยวะเพศผู้เทียม ก่อนสอดใส่ 6.6 ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และหัวแม่มือเปิดอวัยวะเพศเมียให้แยกออกจากกัน 6.7 สอดอวัยวะเพศผู้เทียมให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วนำขวดน้ำเชื้อต่อเข้าที่ปลาย อีกด้านของอวัยวะเพศผู้เทียม ปล่อยน้ำเชื้อเข้าไป 6.8 ช่วยกระตุ้นแม่สุกร เพื่อเร่งการดูดน้ำเชื้อเข้าไป 6.9 เมื่อผสมเสร็จปล่อยทิ้งอวัยวะเพศผู้เทียมคาไว้ประมาณ 10 - 30 นาที จึงดึงออก 6.10 ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ด้วยน้ำสะอาด และน้ำกรอง


49 เอกสารอ้างอิง ชาญวิทย์ วัชรพุกก์. 2538. พฤติกรรมของสุกรพ่อแม่พันธุ์. สุกรสาส์น. 22 (85) : 43 - 49. ถวัลย์ วรรณกุล. 2526. การจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรพันธุ์. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช. 287 หน้า. วิมล อยู่ยืนยง. 2523. เพศศึกษาในสุกร. สุกรสาส์น. 6 (23) :47. ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2531. คู่มือปฏิบัติการผสมเทียมในสุกร. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกร แห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 234 หน้า. ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2542. การผลิตสุกร. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 279 หน้า. สุกัญญา วงศ์วัฒนา. 2539. เทคนิคการผลิตสุกร. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี. กรมอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 304 หน้า. สุชีพ รัตรสาร. 2537. การจัดการฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์. การผลิตสุกรเชิงอุตสาหกรรม เล่ม 1. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน, นครปฐม. หน้า 13 -93. สุรชัย ชาครีย์รัตน์. 2530. หลักการสืบพันธุ์และการผสมเทียมของสัตว์เลี้ยง. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. 128 หน้า. สมพงษ์ ชำนาญท่องไพวัลห์ และอธิภู นันทประเสริฐ. 2541. การควบคุมผลผลิตและการดูแล สุขภาพสุกร. 242 หน้า. (ม.ป.ท.) อรรณพ คุณาวงษ์กฤต. 2545. วิทยาการสืบพันธุ์สุกร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 408 หน้า.


50 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 6 หน่วยที่ 5 รหัส 30503-2105 วิชาการผลิตสุกรขุน สอนครั้งที่ 6 ชื่อหน่วย ชื่อหน่วย การจัดการสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ ชั่วโมงรวม 10 เรื่อง การจัดการสุกรแม่พันธุ์ จำนวนชั่วโมง 5 หัวข้อเรื่อง 1. การจัดการสุกรแม่พันธุ์ 2. การจัดการแม่สุกรหลังผสมพันธุ์ 3. แผนการผสมพันธุ์สุกร สาระสำคัญ สุกรพ่อ -แม่พันธุ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตสุกร สุกรพ่อ -แม่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ การผลิตสูง ย่อมมีผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสูงไปด้วย การเรียนรู้สรีรวิทยาการ สืบพันธุ์ของสุกร ทำให้เข้าใจธรรมชาติของสุกร นำมาใช้จัดการสุกรพ่อ -แม่พันธุ์ และผสมพันธุ์ สุกรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการผสมจริง และการผสมเทียม ตลอดจนการกำหนดแผนผสม พันธุ์สุกรให้ได้สุกรพันธุ์ ที่มีคุณลักษณะตามเป้าหมายของฟาร์ม สมรรถนะที่พึงประสงค์ 1. อธิบายหลักการจัดการสุกรแม่พันธุ์ได้ 2. อธิบายหลักการจัดการแม่สุกรหลังผสมพันธุ์ได้ 3. วางแผนการผสมพันธุ์สุกรได้ เนื้อหาสาระ 1. การจัดการสุกรแม่พันธุ์ 1.1 การเตรียมแม่สุกรก่อนผสมพันธุ์ 1.2 ข้อพิจารณาในการคัดทิ้งหรือปลดระวางแม่พันธุ์สุกร 1.3 การเป็นสัด 2. การจัดการแม่สุกรหลังผสมพันธุ์


Click to View FlipBook Version