The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูสมรรถภาพและบริหารสมอง การปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมหรือลดความดันโลหิต และภาวะวิกฤตของโรคความดันโลหิตสูง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ไม่ล้ม ไม่ลืม ปลอดภัยจากความดันโลหิตสูง

การเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูสมรรถภาพและบริหารสมอง การปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมหรือลดความดันโลหิต และภาวะวิกฤตของโรคความดันโลหิตสูง

ไม่ม่ ม่ ล้ ม่ ล้ ล้ ม ล้ ม ไม่ม่ ม่ ลื ม่ ลื ลื ม ลื ม ปลอดภัภั ภั ย ภั ยจาก ความดัดั ดั น ดั นโลหิหิ หิ ต หิ ตสูสู สู ง สู ง


สารบัญ บทนำ 1 ‘ไม่ล้ม’ การเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 2 ‘ไม่ล้ม’ การออกกำ ลังการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 7 ‘ไม่ลืม’ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและบริหารสมอง 13 ปลอดภัยจากความดันโลหิตสูง 18 หน้า


ผู้สูงอายุที่มีอาการแขนขาอ่อนแรง หลงลืมหรือความ จำ เสื่อม และมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลและรักษา ต้องได้ รับการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องของการปฏิบัติกิจวัตรประจำ วัน และต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและ สมอง ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้จำ เป็นต้องมีผู้ดูแลตลอดเพื่อช่วย เหลือในด้านต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำ ได้ ดังนั้นจึงมุ่ง เน้นให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ในเรื่องของการป้องกันการหกล้ม การ ออกกำ ลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การ บริหารสมอง และการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคความดัน โลหิตสูง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพิง คนอื่นน้อยที่สุด 1


‘ไม่ล้ม’ การเฝ้าระวัง และป้องกันการหกล้ม 2


ปัจจัยทางด้านร่างกาย ข้อแนะนำ ในการเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้ม ปัญหาเรื่องอาการ วิงเวียนศีรษะ เมื่อลุก หรือเปลี่ยนท่า ผู้ดูแลต้องดุแลให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าช้า ๆ ไม่เร่งรีบ ค่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถตอน ผู้ดูแลคอยประคองหรืออยู่ใกล้ ๆ ปัญหาความผิดปกติ ของรูปทรงเท้า ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดขณะผู้สูงอายุ เดิน ตรวจสอบว่ารองเท้าของผู้สูงอายุไม่ชำ รุด ดอกยางกันลื่นต้องไม่เสื่อม ปัจจัยทางด้านร่างกาย 3


ปัจจัยทางด้านร่างกาย ข้อแนะนำ ในการเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้ม ปัญหาเรื่องการทรงตัว ไม่ดี เดินได้ไม่มั่นคง ช่วยจัดหาอุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อสร้างความั่นคง ในการเดิน เช่น วอร์คเกอร์ (Walker) ไม้เท้าชนิด ต่าง ๆ ปัญหาด้านความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ ทรงตัว ดูแลเรื่องการออกกำ ลังกายเพื่อเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปัจจัยทางด้านร่างกาย 4


ปัจจัยทางด้าน สิ่งแวดล้อม ข้อแนะนำ ในการเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้ม สภาพแวดล้อมที่ไม่เป็น ระเบียบ จัดเก็บสิงของให้อยู่ถูกที่ สำ รวจไม่ให้มีเชือกหรือสายไฟต่าง ๆ กีดขวาง ทางเดิน แสงสว่างไม่เพียงพอ ทำ ให้มองไม่ชัดเจน ติดไฟภายในบ้านให้เพียงพอตามจุดต่าง ๆ ที่ผู้ สูงอายุต้องใช้เป็นทางเดิน หรือหากเป็นเวลา กลางวันให้เปิดหน้าต่างหรือผ้าม่านเพื่อให้แสง สว่างส่องถึง ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม 5


ปัจจัยทางด้าน สิ่งแวดล้อม ข้อแนะนำ ในการเฝ้าระวังและป้องกันการหกล้ม สภาพบ้านไม่เอื้ออำ นวย ต่อการใช้ชีวิตประจำ วัน ของผู้สูงอายุ พื้นบ้านต้องแข็งแรง ไม่ลื่น ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ถ้าเป็นไปได้ห้องนอนผู้สูงอายุควรอยู่ใกล้ ห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้พรมปูพื้นเพราะผู้สูงอายุอาจ สะดุดพรมล้มได้ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม 6


การออกกำ ลังกาย เพื่อเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ‘ไม่ล้ม’ 7


ท่าออกกำ ลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ท่าที่ 1ท่าเขย่งฝ่าเท้า ยืนตัวตรง ใช้มือทั้งสองข้างจับเก้าอี้หรือโต๊ะที่มั่นคง จากนั้นค่อย ๆ เขย่ง ปลายเท้าช้า ๆ สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ นับ 1-5 แล้วพัก ทำ ซ้ำ 10-15 ครั้ง 8


ท่าที่ 2 ท่าเหยียดขาไปข้างหน้า ยืนตัวตรง ใช้มือทั้งสองข้างจับเก้าอี้หรือโต๊ะที่มั่นคง จากนั้นเหยียดขาข้าง ขวาไปข้างหน้า ค้างไว้นับ 1-3 จึงค่อย ๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิม ให้ทำ สลับ กันทั้งขาซ้ายและขาขวา ทำ 10-15 ครั้ง 9


ท่าที่ 3 ท่าเหยียดสะโพก หลังจบท่าที่ 2 ให้ขยับออกมายืนห่างเก้าอี้หรือโต๊ะประมาณ 1 ฟุต แล้วยก ขาขวาไปข้างหลังในลักษณะตรง ค้างไว้นับ 1-3 จากนั้นค่อย ๆ ทำ สลับกับ ขาข้างซ้ายไปมา ทำ 10-15 ครั้ง 10


ท่าที่ 4 ท่างอสะโพก ยืนตัวตรง ใช้มือทั้งสองข้างจับเก้าอี้หรือโต๊ะไว้เหมือนเดิม จากนั้นค่อย ๆ งอเข่าข้างใดข้างหนึ่งขึ้นให้ได้สูงที่สุด โดยที่เอวอยู่ในลักษณะตั้งตรง ค้าง ไว้นับ 1-3 แล้วค่อยลดหัวเข่าลง ทำ สลับทั้งสองข้าง ทำ 10-15 ครั้ง 11


ท่าที่ 5 ท่าเหยียดเข่า นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง จากนั้นค่อย ๆ เหยียดขา ข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรง ที่สุดเท่าที่จะทำ ได้พร้อมกับตั้งปลายเท้า ค้างไว้นับ 1-3 ก่อนจะผ่อนปลาย เท้าพร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิม ทำ สลับไปมาทั้งสองข้าง ทำ 10-15 ครั้ง 12


กิจกรรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริหารสมอง ‘ไม่ลืม’ 13


การฝึกความจำ ภาพ ให้จำ ในภาพว่ามีอะไรบ้าง แล้วจะถามซ้ำ ใหม่ 14


กิจกรรมบริหารสมอง ฝึกฝนความจำ ผู้สอนบอกตัวเลข 4 ตัว แล้วให้ผู้เล่น ทำ มือตามตัวเลข 5020 ห้า ห้ ศูน ศู ย์ สอง ศูน ศู ย์ 15


ผู้สอนทำ มือท่าต่าง ๆ ที่ใช้แทนดอกไม้แต่ละชนิด แล้วให้ผู้เล่นทำ ตาม และผู้สอนพูดชื่อดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ผู้เล่นทำ มือท่าที่ใช้แทน ดอกไม้ชนิดนั้น หัวแม่มือ จีบนิ้วชี้ จีบนิ้วกลาง จีบนิ้วนาง จีบนิ้วก้อย 16


เกมบวกเลข นับแต้มบนลูกเต๋าแล้วนำ มาบวกกันว่าได้เท่าไหร่ 9 17


‘ปลอดภัยจาก ความดันโลหิตสูง’ 18


1.การควบคุมน้ำ หนักตัว ไม่ให้มีภาวะน้ำ หนักเกิน 2.การออกกำ ลังกาย ควรเลือกประเภทการออกกำ ลังกายให้เหมาะสม กับร่างกายผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุรายนี้ควรออกกำ ลังกายเพื่อเพิ่มความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น เหยียดสะโพก งอเข้า เพื่อป้องกันการหกล้ม ได้ด้วย 3.การจำ กัดโซเดียม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารหมัก ดอง ปลากระป๋อง น้ำ จิ้ม น้ำ ซุป น้ำ แกง และลดการใส่น้ำ ปลาหรือเครื่อง ปรุงต่าง ๆ ลงครึ่งหนึ่งจากปกติ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อควบคุมหรือลดความดันโลหิต 19


ผักสด ผลไม้สด ถั่วเปลือกแข็ง เช่น กล้วยน้ำ หว้า ส้ม ผักใบเขียว และมะเขือเทศ เป็นต้น เนื้อปลา เนื้อไม่ติดมัน ประกอบอาหารด้วยวิธี อบ ต้ม นึ่ง 4. การเลือกอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิต 5. งดการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อควบคุมหรือลดความดันโลหิต 20


ภาวะวิกฤตของโรคความดันโลหิตสูง คือ Stroke (โรคหลอดเลือดสมอง) พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือไม่สามารถเข้าใจคำ พูดของคนอื่น อาการอ่อนแรง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียว ร่วมกับอาการปากเบี้ยว ปัญหาด้านการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสอง ข้าง เกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาะซ้อน เวียนศีรษะ/ปวดศีรษะ มักจะพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านการเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน ถ้าหากผู้สูงอายุหรือคนในครอบครัวมีอาการเหล่านี้ให้ไปพบแพทย์ ทันที ได้แก่ 21


Click to View FlipBook Version