The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือแผนจัดชั้นเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by supalak, 2022-12-28 02:51:48

manual

คู่มือแผนจัดชั้นเรียน

แนวทางการจัดทำแผนช้ันเรียนเต็มรปู
ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569)
และแผนชนั้ เรยี นรายปขี องสถานศึกษา
สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน

สำนักนโยบายและแผนการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดให้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน มีภารกิจหลกั ในการจัดและส่งเสรมิ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และมีพันธกิจในการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำให้กับผู้เรียนทุกคนได้รับบริการ
ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยในแต่ละปีการศึกษาได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
การรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กทุกคนในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับศักยภาพ ความถนัด และความสนใจ
ของแต่ละบุคคล

การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 - 2569) และแผนชั้นเรียน
รายปีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญท่ีทำให้ทราบว่า
สถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด และมีจำนวนห้องเรียนเท่าใดในแต่ละปีการศึกษา เพื่อใช้เป็นแผน
ในการรับนักเรียนและกำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนรายปี อีกทั้งแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็นแนวทาง
ในการกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้น ๆ
และทำให้ทราบว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งควรมีอาคารเรียน อาคารประกอบเท่าใด เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบ
ในการจัดตั้งงบประมาณเกี่ยวกับอาคารเรียน และอาคารประกอบดังกล่าว รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับ
การขอขยายช้ันเรียนและการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศกึ ษาขั้นพ้ืนฐานดว้ ย

ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน จึงได้จัดทำคูม่ ือการจัดทำแผนชั้นเรียน
เต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพ่ือเป็นแนวทางให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ใช้ในการดำเนินการจดั ทำแผนชนั้ เรยี นให้เปน็ ไปในทิศทางเดยี วกันต่อไป

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน

กรกฎาคม 2565

สารบญั

บทนำ....................................................................................................................................................1
▪ รูปแบบของแผนชั้นเรยี น....................................................................................................2
▪ ความสำคัญของการจดั ทำแผนชัน้ เรยี น..............................................................................3
▪ หลักเกณฑ์การจดั ทำแผนชนั้ เรียน......................................................................................4

การจดั ทำแผนชน้ั เรียนเตม็ รปู ระยะ 5 ปี (ปีการศกึ ษา 2565 – 2569).............................................๖
▪ องคป์ ระกอบในการจดั ทำแผนชัน้ เรยี นเตม็ รปู ...................................................................๖
▪ ขนาดและรปู แบบของแผนชน้ั เรียนเต็มรูป.........................................................................8
▪ บทบาทของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพ้นื ที่การศึกษา.................................................9
▪ ขั้นตอนการจัดทำแผนชนั้ เรียนเตม็ รูป.............................................................................10
▪ แผนภูมิขนั้ ตอนการจัดทำแผนชัน้ เรียนเต็มรูป.................................................................๑๓

การจดั ทำแผนชน้ั เรียนรายปี.........................……………………………………………………………………..…….1๔
▪ องคป์ ระกอบในการจัดทำแผนชั้นเรยี นรายปี..................................................................1๔
▪ บทบาทของสถานศึกษาและสำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษา..............................................1๕
▪ ขั้นตอนการจดั ทำแผนชน้ั เรยี นรายปี...............................................................................1๖
▪ แผนภูมิขัน้ ตอนการจัดทำแผนชนั้ เรยี นรายป.ี ..................................................................1๙

ขัน้ ตอนการใชง้ านระบบจัดเก็บขอ้ มูลแผนชัน้ เรยี นเตม็ รูปและแผนช้ันเรยี นรายปขี องสถานศกึ ษา......๒๐

ภาคผนวก..........................................................................................................................................55

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 กำหนดให้รัฐ
ต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับ
อย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อน
เข้ารับการศึกษา ตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย
โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
รัฐตอ้ งดำเนนิ การให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบตา่ ง ๆ รวมทงั้ สง่ เสริมให้มีการเรียนรู้
ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัด
การศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการกำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าว
มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาตแิ ละเตม็ ตามศักยภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคบั พ.ศ. 2545 กำหนดให้เด็กที่อยู่
ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องเกณฑ์เด็กเข้าเรียน
ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 1 และจัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้กบั นักเรียนท่ีจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักในการจัดและส่งเสริมการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 29,583 แห่ง มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 6,608,162 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564) ในแต่ละปีการศึกษา สถานศึกษาจะดำเนินการรับนักเรียน
ตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน โดยกำหนดบทบาทให้สถานศึกษาต้องจัดทำแผน
การรับนักเรียน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการวเิ คราะหแ์ ผนชัน้ เรียน แต่ปัจจุบันพบว่า สถานศึกษาจำนวนมาก
ขาดการจัดทำแผนชั้นเรียนที่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงจำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษา และจำนวน
นกั เรียนทง้ั หมดท่ีคาดคะเนจากจำนวนนักเรียนท่จี ะเขา้ เรียนในแต่ละปีการศึกษา ประกอบกบั สภาพเศรษฐกิจ
และสังคมมกี ารขยายตวั ของประชากรอย่างรวดเรว็ ในบริเวณชานเมือง รวมถึงเป็นท่ีนยิ มในการเปน็ ที่อยู่อาศัย
ของประชากร และขณะเดียวกันประชากรในสังคมเมืองมีอัตราการเกิดลดลง ดังนั้น การจัดทำแผนชั้นเรียน
เต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปี จึงมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สภาพเศรษฐกิจและสังคม
ที่มีการเปลี่ยนแปลง และทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด โดยกรอบระยะเวลาของการจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป
อิงตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงานของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ในช่วง 5 ปีที่สอง
(พ.ศ. 2565 – 2569)



รูปแบบของแผนชัน้ เรียน

แผนช้นั เรยี นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดงั น้ี
1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป เป็นแผนที่แสดงถึงจำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษา
ที่กำหนดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
เกดิ ประสิทธิผล ซึง่ กรอบระยะเวลาของการจัดทำแผนช้ันเรียนเต็มรูป ระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙)
อิงตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงานของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖0 - ๒๕๗๙ ในช่วง ๕ ปีที่สอง
(พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙)
2. แผนช้นั เรียนรายปี เปน็ แผนที่กำหนดว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชนั้ ใด ก่ีห้องเรียน
ในแตล่ ะปีการศึกษา โดยท่สี ถานศกึ ษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ความสำคัญของการจดั ทำแผนชั้นเรียน

แผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปี มีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษา
และการบริหารจัดการศึกษา ดงั น้ี

1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป
1.๑. ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทำแผนชั้นเรียน

รายปี จะกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้น
แตไ่ มค่ วรเกนิ แผนช้นั เรยี นเต็มรปู

1.๒ ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูป
จะเป็นตัวกำหนดว่า ในพื้นที่บริการของสถานศึกษาสามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้ทั้งหมดหรือไม่
ถา้ มนี กั เรยี นเกินจากท่ีสถานศึกษาจะสามารถรับไวไ้ ด้ สามารถวางแผนหาวิธีการใหน้ ักเรียนไดม้ ที ีเ่ รียน

1.3 ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการขอขยายชั้นเรียน และการเลิกขยายชั้นเรียน
ในสถานศึกษาข้ันพน้ื ฐาน

1.๔ ใชเ้ ปน็ กรอบในการจดั ต้ัง จดั สรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนสำหรับอาคารเรียน
อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น โดยการกำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะทำให้ทราบว่าสถานศึกษาควรจะมี
อาคารเรียน อาคารประกอบ และสงิ่ กอ่ สรา้ งอน่ื จำนวนเทา่ ใด

1.5 ใช้เป็นกรอบในการจดั ตงั้ จัดสรรงบเงินอุดหนนุ รายหวั
1.6 ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณสถานศึกษา โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้
การจัดวางผงั บรเิ วณมีความเหมาะสมกบั พ้ืนทขี่ องสถานศึกษา
2. แผนชน้ั เรียนรายปี
2.1 ใช้กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนรายปีในเขตพื้นที่บริการที่คาดว่าจะมา
เรยี นตอ่ ระดับชน้ั กอ่ นประถมศึกษา ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 ช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 และช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 4
2.2 ใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของสถานศึกษาว่า จะเปิดรับ
นักเรยี นช้ันใด ก่หี อ้ งเรียน และจำนวนนักเรยี นเทา่ ใด
2.๓ ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ อาทิ ใช้ในการจัดทำคำขอต้ัง
งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบเงินอุดหนุนรายหัว ที่มีการวิเคราะห์จากข้อมูลการคาดคะเนจำนวนนักเรียน
และใช้เปน็ กรอบในการพิจารณาวงเงินงบประมาณ งบลงทนุ



หลกั เกณฑก์ ารจัดทำแผนชนั้ เรยี น

การจดั ทำแผนชัน้ เรียนเตม็ รูป ระยะ 5 ปี (ปกี ารศกึ ษา 2565 - 2569) และแผนช้ันเรียน
รายปขี องสถานศึกษา ให้พิจารณาตามหลักเกณฑด์ ังนี้

1. กฎหมายทเี่ กีย่ วข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 กำหนดให้รัฐต้อง

ดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับ
อย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และ
ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
และเต็มตามศักยภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กำหนดให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์
การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ประกาศ
รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบ
ก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และจัดสรรโอกาสทางการศึกษา
ให้กับนกั เรยี น

2. เกณฑ์การกำหนดจำนวนนกั เรียนต่อหอ้ ง
ชั้นกอ่ นประถมศึกษา ห้องละไมเ่ กนิ 30 คน
ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 ห้องละไม่เกิน 40 คน
ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 หอ้ งละไมเ่ กิน 40 คน
ชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 4 หอ้ งละไมเ่ กิน 40 คน

โดยการคิดจำนวนห้องเรียน กรณีจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ให้คิดเพิม่ อกี 1 หอ้ ง

ทั้งนี้ ในการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ให้คำนึงถึงปัจจัยที่จะทำให้จำนวนนักเรียนเพ่ิม
หรอื ลดลง ดังน้ี

1) อัตราการเกิดของประชากรท่ีลดลง
2) จำนวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน ในแตล่ ะปกี ารศกึ ษา
3) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) หรอื โรคอบุ ตั ิใหมอ่ ื่น ๆ
4) การขยายตัวของชมุ ชน
5) การเคลอ่ื นย้ายแรงงาน
6) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
7) การแบ่งกลมุ่ สถานศกึ ษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) การแบ่งเขตพื้นที่บริการท่ีอาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอ่นื ในเขตพืน้ ที่การศึกษาเดียวกนั
9) เปา้ หมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
10) สถิติการรบั นักเรยี นยอ้ นหลงั 3 - 5 ปกี ารศกึ ษา



3. การควบคุมขนาดและการรับนักเรยี น
กำกับ ดูแล ขนาดและการรับนักเรียนของสถานศึกษาให้สามารถบริหารจัดการเรียน

การสอนไดอ้ ย่างมคี ุณภาพ เกิดประสทิ ธภิ าพและบรรลุตามเป้าหมายการจัดการศึกษา
4. การจัดแผนช้ันเรยี นระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ควรจัดแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

ให้สอดคล้องกัน โดยคำนึงถึงความต้องการของนักเรียน ศักยภาพของนักเรียน และความพร้อมของ
สถานศกึ ษา รวมถงึ เพม่ิ โอกาสในการเลอื กเรยี นสายอาชพี

5. การจัดแผนชั้นเรียนกรณหี ้องเรียนพิเศษ
หอ้ งเรยี นพิเศษ เชน่ EP MEP และห้องเรยี นพิเศษอ่นื ๆ ให้จดั แผนชั้นเรียนตามเกณฑ์

จำนวนนกั เรียนต่อห้องตามหลักเกณฑ์ขอ้ 2 โดยไมต่ ้องคำนงึ ถึงจำนวนนักเรยี นตามเกณฑ์ของห้องเรียนพิเศษ
ทีไ่ ด้รับอนุมตั ิใหเ้ ปิดเรยี น

6. การวิเคราะห์การจดั แผนชน้ั เรยี น
วิเคราะห์การจัดแผนชั้นเรียน ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีท่ี 1 และ

มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ต้องไดเ้ รียนครบทุกคน



การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศกึ ษา 2565 - 2569)

แผนช้ันเรยี นเตม็ รปู เป็นแผนท่ีแสดงถึงจำนวนห้องเรียนรวมสูงสดุ ของสถานศึกษาที่กำหนด
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกดิ ประสิทธผิ ล

องคป์ ระกอบในการจัดทำแผนชน้ั เรยี นเต็มรูป

การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ให้คำนึงถึงการส่งเสริมและการประกันโอกาสให้เด็ก
ที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ รวมทั้ง
ผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับได้เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยต้องคำนึงถึง
องค์ประกอบ ดงั น้ี

1. เป้าหมายจำนวนนักเรียนในเขตพน้ื ทีบ่ ริการของสถานศึกษา ทีค่ าดคะเนว่าจะมาเรียนต่อ
ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นตัวบ่งช้ี
ท่สี ำคญั ทีส่ ุดทใ่ี ชใ้ นการกำหนดขนาดและรูปแบบของแผนชน้ั เรียนเตม็ รูป

๒. แผนชน้ั เรยี นรายปี ยอ้ นหลัง 3 ปกี ารศึกษา โดยใชข้ อ้ มูลจากระบบจดั เก็บขอ้ มลู นกั เรียน
รายบุคคล (DMC) ณ วันท่ี 10 มิถนุ ายนของทุกปี

๓. ขนาดพื้นท่ี จำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น รวมถึงจำนวนครู
และบุคลากรทางการศกึ ษา

4. เกณฑ์การจัดอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอืน่ ยึดตามเกณฑ์การขอจัดตั้ง
งบประมาณสิ่งก่อสร้างของโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัด
สำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษา หรือโรงเรยี นในสังกัดสำนกั งานเขตพืน้ ที่การศกึ ษามธั ยมศึกษา

5. คำนึงถึงความต้องการของนักเรยี น ศกั ยภาพของนักเรยี น
6. ความพร้อมของสถานศึกษา ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและ
ประสิทธภิ าพของการบริหารงาน
7. สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน โดยสภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคมจะต้องเอื้อต่อ
การเดินทางมาเรยี นของนักเรยี น และใช้เวลาในการเดนิ ทางไมน่ านจนเกินไป



ทั้งนี้ ในการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ใหค้ ำนึงถึงปัจจัยท่ีจะทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มข้ึน
หรอื ลดลง ดังน้ี

1) อัตราการเกิดของประชากรทีล่ ดลง
2) จำนวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของ
สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐานในแต่ละปีการศึกษา
3) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) หรือโรคอุบตั ใิ หม่อนื่ ๆ
4) การขยายตวั ของชุมชน
5) การเคลอื่ นยา้ ยแรงงาน
6) สถานะทางเศรษฐกจิ ของผ้ปู กครอง
7) การแบง่ กลุม่ สถานศกึ ษาตามนโยบายการพฒั นาคุณภาพการศึกษา
8) การแบ่งเขตพื้นทีบ่ ริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอนื่ ในเขตพ้นื ที่การศึกษาเดียวกัน
9) เป้าหมายในการพฒั นาประเทศตามยุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
10) สถติ กิ ารรบั นักเรียนย้อนหลงั 3 - 5 ปกี ารศกึ ษา



ขนาดและรปู แบบของแผนช้นั เรยี นเต็มรูป

ขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป จะแสดงในรูปของจำนวนห้องเรียน โดยจำนวนห้อง
ของชั้นเรยี นในแตล่ ะระดับ จะกำหนดใหม้ จี ำนวนหอ้ งเทา่ กนั คือ

1. กรณที ี่สถานศึกษาเปดิ สอนระดบั อนบุ าลและระดบั ประถมศึกษา
เขียนเปน็ รูป อ.๑-อ.๒-อ.3/ป.๑-ป.๒-ป.๓//ป.๔-ป.๕-ป.๖
เชน่ หอ้ งเรยี น 1-๑-๑/๒-๒-๒//๒-๒-๒ (๑5 ห้อง)
นักเรียน 30-๓๐-๓๐/๘๐-๘๐-๘๐//๘๐-๘๐-๘๐ (๕7๐ คน)

2. กรณีที่สถานศึกษาเปิดสอนระดับอนบุ าลถึงระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรปู อ.๒-อ.3/ป.๑-ป.๒-ป.๓//ป.๔-ป.๕-ป.๖ ///ม.๑-ม.๒-ม.๓
เชน่ ห้องเรียน ๑-๑/๒-๒-๒//๒-๒-๒///๒-๒-๒ (๒0 หอ้ ง)
นกั เรยี น ๓๐-๓๐/๘๐-๘๐-๘๐//๘๐-๘๐-๘๐///๘๐-๘๐-๘๐ (780 คน)

3. กรณที ่ีสถานศึกษาเปิดสอนระดบั อนบุ าลถงึ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เขียนเป็นรูป อ.๒-อ.3/ป.๑-ป.๒-ป.๓//ป.๔-ป.๕-ป.๖///ม.๑-ม.๒-ม.๓////

ม.๔-ม.๕-ม.๖
เช่น ห้องเรยี น ๑-๑/๒-๒-๒//๒-๒-๒///๒-๒-๒////1-1-1 (๒3 ห้อง)
นักเรียน ๓๐-๓๐/๘๐-๘๐-๘๐//๘๐-๘๐-๘๐///๘๐-๘๐-๘๐////4๐-4๐-4๐

(900 คน)
4. กรณีท่สี ถานศึกษาเปิดสอนระดบั ประถมศกึ ษาและระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรูป ป.๑-ป.๒-ป.๓//ป.๔-ป.๕-ป.๖/// ม.๑-ม.๒-ม.๓
เชน่ หอ้ งเรียน ๒-๒-๒//๒-๒-๒///๒-๒-๒ (๑๘ ห้อง)
นักเรียน ๘๐-๘๐-๘๐//๘๐-๘๐-๘๐///๘๐-๘๐-๘๐ (๗๒๐ คน)
5. กรณีทสี่ ถานศึกษาเปิดสอนเฉพาะระดับประถมศกึ ษา
เขยี นเป็นรปู ป.๑-ป.๒-ป.๓//ป.๔-ป.๕-ป.๖
เชน่ ห้องเรยี น ๒-๒-๒//๒-๒-๒ (๑๒ ห้อง)
นกั เรยี น ๘๐-๘๐-๘๐//๘๐-๘๐-๘๐ (๔๘๐ คน)
6. กรณที ่สี ถานศกึ ษาเปดิ สอนทง้ั ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ และมธั ยมศึกษาตอนปลาย
เขียนเปน็ รปู ม.๑-ม.๒-ม.๓/ม.๔-ม.๕-ม.๖
เช่น หอ้ งเรยี น ๘-๘-๘/๘-๘-๘ (๔๘ หอ้ ง)
นักเรยี น ๓๒๐-๓๒๐-๓๒๐/๓๒๐-๓๒๐-๓๒๐ (๑,๙๒๐ คน)
7. กรณที ี่สถานศึกษาเปดิ สอนเฉพาะระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น
เขยี นเป็นรูป ม.๑-ม.๒-ม.๓/-
เชน่ หอ้ งเรียน ๔-๔-๔/- (๑๒ ห้อง)
นกั เรียน ๑๖๐-๑๖๐-๑๖๐/- (๔๘๐ คน)
8. กรณีที่สถานศึกษาเปิดสอนเฉพาะระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
เขียนเป็นรูป -/ม.๔-ม.๕-ม.๖
เชน่ ห้องเรียน -/๑๒-๑๒-๑๒ (๓๖ ห้อง)
นกั เรียน -/๔๘๐-๔๘๐-๔๘๐ (๑,๔๔๐ คน)



บทบาทของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศึกษา

1. บทบาทของสถานศึกษา
สถานศึกษามีบทบาทการจดั ทำแผนช้ันเรียนเต็มรปู ดงั นี้
1.1 แต่งตั้ง “คณะกรรมการจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา” ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ 2) คณะกรรมการตามความเหมาะสมของสถานศึกษา
เป็นกรรมการ และ 3) รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือครูผู้รับผิดชอบจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ เพ่ือจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ดังกล่าว
อาจเป็นชุดเดียวกันกบั การจัดทำแผนช้นั เรียนรายปหี รือไมก่ ไ็ ด้

1.2 จัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) ให้เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์การจัดทำแผนชั้นเรียน และองค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป โดยให้ดำเนินการ
จัดทำในปกี ารศกึ ษา 2565 เพียงคร้ังเดียว

2. บทบาทของสำนกั งานเขตพ้นื ที่การศกึ ษา
สำนกั งานเขตพ้นื ที่การศกึ ษา มบี ทบาทในการจัดทำแผนช้นั เรียนเตม็ รปู ดังนี้
2.1 แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา” ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ 2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ 3) ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน/สหวิทยาเขต
เป็นกรรมการ 4) ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน เป็นกรรมการ 5) ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม
การจัดการศึกษา เป็นกรรมการ และ 6) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้มีคณะกรรมการตามที่กำหนดหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
อาจเปน็ ชุดเดยี วกนั กับการพจิ ารณาแผนช้นั เรียนรายปหี รือไมก่ ็ได้

2.2 กำกับ ติดตาม ดูแล การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษาในสังกัด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำแผนชั้นเรียน รวมถึงองค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปของ
สถานศกึ ษา

2.3 ตรวจสอบข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษารายโรง เสนอต่อ
คณะกรรมการพจิ ารณาแผนช้นั เรยี นของสถานศึกษา ใหค้ วามเห็นชอบ

2.4 ประกาศแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา ตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการพิจารณาแผนช้นั เรยี นของสถานศึกษา ใหส้ ถานศกึ ษาในสังกัดทราบ

2.5 รายงานให้สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐานทราบ

๑๐

ขนั้ ตอนการจัดทำแผนชั้นเรยี นเต็มรูป

1. สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา เพื่อจัดทำ
แผนช้ันเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา

2. สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูป ใน “ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียน
เตม็ รูปและแผนชนั้ เรียนรายปีของสถานศกึ ษา” ทางเว็บไซต์ https://classroomplan.bopp-obec.info ดงั น้ี

2.1 กำหนดชั้นเรียน ไดแ้ ก่
1) ชัน้ กอ่ นประถมศกึ ษา
- อนุบาล 1 รับเด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์ ในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียน (เฉพาะ

สถานศึกษาท่ไี ดร้ ับอนุมตั ิ จากคณะกรรมการศกึ ษาธิการจงั หวัดเท่านั้น)
- อนบุ าล 2 รบั เดก็ อายุ 4 ปบี รบิ ูรณ์ ในเขตพืน้ ทบี่ ริการเข้าเรยี น
2) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 หรือจบการศึกษา

ชน้ั กอ่ นประถมศึกษาที่อยู่ในเขตพ้ืนทบ่ี ริการของโรงเรียน
3) ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ ๑ รบั นักเรียนทจ่ี บชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 6 เขา้ เรียน
4) ช้ันมธั ยมศึกษาปที ่ี ๔ รับนกั เรียนที่จบช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขา้ เรยี น

2.2 กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียนในระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา
๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) โดยมีหลกั การดงั นี้

1) ชั้นก่อนประถมศึกษา กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1
หรืออนุบาล 2 ได้จากการจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และ
การคาดคะเนจากนักเรียนระดับชั้นก่อนประถมศึกษาย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากการจัดเก็บ
ข้อมลู นักเรียนรายบคุ คล (DMC) ณ วนั ที่ 10 มิถุนายนของทุกปี

2) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “อนุบาล 3
(เดิม)” การจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และการคาดคะเนจาก
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียน
รายบคุ คล (DMC) ณ วนั ที่ 10 มถิ ุนายนของทกุ ปี

3) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ป.6 เดิม”
(สำหรับโรงเรยี นขยายโอกาส) การสำรวจประชากรวยั เรยี นระดับชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 ที่อยใู่ นเขตพน้ื ที่บริการ
และ/หรือการคาดคะเนจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจาก
ระบบจดั เกบ็ ขอ้ มูลนกั เรยี นรายบุคคล (DMC) ณ วนั ท่ี 10 มิถนุ ายนของทุกปี

4) ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ม.3 เดิม”
และการคาดคะเนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บ
ข้อมลู นักเรยี นรายบคุ คล (DMC) ณ วนั ท่ี 10 มถิ ุนายนของทกุ ปี

2.3 กำหนดแผนชน้ั เรยี นเต็มรปู ประกอบดว้ ยขอ้ มูล ดงั ตอ่ ไปน้ี
1) พื้นที่บริการ (เขต / อำเภอ / ตำบล / แขวง) เป็นข้อมูลจากระบบจัดเก็บ

ขอ้ มลู นกั เรยี นรายบคุ คล (DMC)
2) พนื้ ท่ี (ไร่-งาน-ตารางวา) เปน็ ข้อมูลจากระบบจดั เกบ็ ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC)

๑๑

3) จำนวนห้องเรียนในอาคารเรียน เป็นข้อมูลจากระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง
(B-OBEC)

4) แผนชนั้ เรยี นรายปี ยอ้ นหลงั 3 ปกี ารศึกษา เป็นขอ้ มูลจากระบบจดั เก็บข้อมูล
นักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วนั ท่ี 10 มถิ นุ ายนของทุกปี

5) เป้าหมายจำนวนนักเรียนของแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา
2565 - 2569) คำนวณจากจำนวนนกั เรียน และจำนวนห้องเรยี นสูงสุดของสถานศกึ ษาที่ไดจ้ ากการกำหนด
เปา้ หมายจำนวนนกั เรยี นท่จี ะเขา้ เรียน ในขอ้ 2.2

๖) ขนาดและรูปแบบของแผนชนั้ เรียนเต็มรปู
ขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป คำนวณจากจำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของ
สถานศึกษาที่กำหนดไว้ ในระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) ส่วนรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป
จะแสดงในรปู ของจำนวนห้องเรยี น โดยจำนวนหอ้ งของช้ันเรียนในแตล่ ะระดับ จะกำหนดใหม้ ีจำนวนห้องเท่ากัน
อนงึ่ ระบบจะประมวลผลแผนชนั้ เรียนรายปี ระยะ 5 ปี (ปีการศกึ ษา 2565-2569)
โดยคาดคะเนจากเป้าหมายจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียน ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1
มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในช่วงระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) ตามข้อ 2.2
สำหรับชั้นอื่นๆ ให้ใช้ชั้นเคลื่อนจากจำนวนนักเรียนจริงในปีการศึกษาปัจจุบัน โดยจำนวนรวมของห้องเรียน
ในแตล่ ะปีการศึกษา จะไมเ่ กนิ ขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรปู
3. สถานศึกษาบันทึกและยืนยันแผนชั้นเรียนเต็มรูป เพื่อรายงานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา
รายโรง และเสนอต่อคณะกรรมการพจิ ารณาแผนชน้ั เรยี นของสถานศกึ ษา
5. คณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา พิจารณาให้ความเห็นชอบ
แผนช้นั เรียนเต็มรูปของสถานศกึ ษารายโรง
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษา ตามที่ได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาแผนชัน้ เรยี นของสถานศึกษา ให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รับรองแผนชั้นเรียนเต็มรูปของสถานศึกษารายโรง
ในระบบจดั เกบ็ ข้อมลู ฯ เพอื่ รายงานใหส้ ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐานทราบ

ทั้งนี้ การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569)
ให้ดำเนินการจดั ทำในปีการศกึ ษา 2565 เพียงครั้งเดียว

ตวั อย่าง แผนชั้นเรยี นเตม็ รปู ระยะ 5 ปี (ปกี ารศึกษา 2565 – 2569)

๑๒

๑๓

แผนภูมขิ ้ันตอนการจดั ทำแผนช้ันเรยี นเต็มรูป

สถานศึกษา

แตง่ ตัง้ คณะกรรมการจดั ทำแผนชน้ั เรยี นของสถานศึกษา

จดั ทำแผนช้ันเรยี นเตม็ รูป ใน “ระบบจดั เก็บขอ้ มลู แผนชั้นเรยี นเตม็ รปู และแผนชัน้ เรียนรายปขี องสถานศกึ ษา”
ทางเว็บไซต์ https://classroomplan.bopp-obec.info ดังนี้

1. กำหนดช้นั เรียน (ตามข้อ 2.1 หน้า 10)
2. กำหนดเปา้ หมายจำนวนนกั เรยี นทจี่ ะเข้าเรียน ในระยะ ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙)

(ตามขอ้ 2.2 หน้า 10)
3. กำหนดแผนชั้นเรยี นเตม็ รูป ประกอบดว้ ยขอ้ มูล ดังต่อไปน้ี (ตามข้อ 2.3 หนา้ 10)

3.1) พน้ื ท่ีบริการ (เขต / อำเภอ / ตำบล / แขวง) (ขอ้ มลู จาก DMC)
3.2) พ้ืนท่ี (ไร่-งาน-ตารางวา) (ขอ้ มลู จาก DMC)
3.3) จำนวนหอ้ งเรยี นในอาคารเรยี น (ข้อมูลจาก B - OBEC)
3.4) แผนช้ันเรยี นรายปี ยอ้ นหลงั 3 ปกี ารศึกษา (ขอ้ มูลจาก DMC)
3.5) เปา้ หมายจำนวนนักเรยี นของแผนชั้นเรียนเต็มรปู ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565-2569)
3.๖) ขนาดและรปู แบบของแผนชน้ั เรียนเตม็ รูป
ทั้งนี้ การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) ให้ดำเนินการจัดทำ
ในปีการศกึ ษา 2565 เพียงครง้ั เดยี ว

บันทึกและยนื ยันแผนช้นั เรียนเตม็ รูป เพอื่ รายงานสำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศึกษา สง่ กลบั ไปยงั
สถานศึกษา
สำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษา ตรวจสอบขอ้ มูลแผนชน้ั เรยี นเต็มรูปของสถานศกึ ษารายโรง
และเสนอตอ่ คณะกรรมการพจิ ารณาแผนชน้ั เรยี นของสถานศกึ ษา

คณะกรรมการพจิ ารณาแผนชน้ั เรยี นของสถานศกึ ษา ไม่เหน็ ชอบ
พจิ ารณาใหค้ วามเห็นชอบแผนชัน้ เรยี นเต็มรปู
ของสถานศกึ ษารายโรง

เหน็ ชอบ

สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษา ประกาศแผนช้ันเรยี นเตม็ รูปของสถานศึกษา ตามทไี่ ดร้ บั ความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาแผนชน้ั เรียนของสถานศกึ ษา ให้สถานศึกษาในสงั กดั ทราบ

สำนกั งานเขตพ้นื ทกี่ ารศกึ ษา รับรองแผนช้นั เรียนเต็มรูปของ
สถานศกึ ษารายโรง ในระบบจดั เก็บข้อมูลฯ เพื่อรายงานให้สำนักงาน

คณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานทราบ

๑๔

แนวทางการจัดทำแผนชัน้ เรียนรายปี

แผนชั้นเรียนรายปี เป็นแผนที่กำหนดว่าสถานศกึ ษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน
ในแตล่ ะปีการศกึ ษา โดยทีส่ ถานศกึ ษาสามารถจดั การเรยี นการสอนได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ

องค์ประกอบในการจัดทำแผนชนั้ เรียนรายปี

การจัดทำแผนช้ันเรยี นรายปี ให้คำนึงถึงการส่งเสริมและประกันโอกาสให้เด็กท่ีอยูใ่ นเกณฑ์
การศึกษาภาคบังคับ ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ รวมทั้งผู้ที่ยังไม่จบ
การศึกษาภาคบังคบั ไดเ้ ข้าเรียนการศกึ ษาภาคบงั คับอยา่ งทัว่ ถึง และคำนงึ ถงึ องคป์ ระกอบ ดังนี้

๑. จำนวนนักเรียนที่คาดคะเนว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา
ปที ่ี 1 มัธยมศึกษาปที ่ี 1 และมัธยมศกึ ษาปที ่ี 4 ในเขตพืน้ ทบ่ี รกิ าร

๒. อัตราการรับนักเรียนระดับชัน้ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีท่ี 1 มัธยมศึกษาปีที่ 1
และมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 4 ของสถานศึกษาในปีการศกึ ษาทีผ่ ่านมา

๓. ขนาดพื้นที่ จำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น รวมถึงจำนวนครู
และบคุ ลากรทางการศกึ ษา

๔. แผนชั้นเรยี นรายปีไมค่ วรเกนิ แผนช้นั เรียนเตม็ รปู
5. คำนงึ ถึงความต้องการของนักเรียน ศกั ยภาพของนักเรยี น
6. ความพร้อมของสถานศึกษา ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และ
ประสิทธิภาพของการบริหารงาน
7. สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน โดยสภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคมจะต้องเอื้อต่อ
การเดินทางมาเรียนของนักเรียน และใช้เวลาในการเดินทางไมน่ านจนเกนิ ไป
ท้ังนี้ ในการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ใหค้ ำนงึ ถึงปัจจัยท่ีจะทำให้จำนวนนักเรียนเพ่ิมข้ึน
หรือลดลง ดงั นี้
1) อัตราการเกิดของประชากรท่ีลดลง
2) จำนวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของ
สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐานในแต่ละปีการศึกษา
3) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) หรอื โรคอุบตั ิใหม่อ่นื ๆ
4) การขยายตัวของชุมชน
5) การเคล่ือนยา้ ยแรงงาน
6) สถานะทางเศรษฐกิจของผูป้ กครอง
7) การแบ่งกล่มุ สถานศึกษาตามนโยบายการพฒั นาคุณภาพการศึกษา
8) การแบ่งเขตพื้นที่บริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอนื่ ในเขตพนื้ ท่ีการศึกษาเดียวกนั
9) เป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
10) สถติ กิ ารรบั นักเรียนย้อนหลงั 3 - 5 ปีการศึกษา

๑๕

บทบาทของสถานศกึ ษาและสำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษา

1. บทบาทของสถานศกึ ษา
สถานศกึ ษา มีบทบาทในการจัดทำแผนชัน้ เรียนรายปี ดงั น้ี
1.1 แต่งตั้ง “คณะกรรมการจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา” ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ 2) คณะกรรมการตามความเหมาะสมของสถานศึกษา
เป็นกรรมการ และ 3) รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือครูผู้รับผิดชอบจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ดังกล่าว
อาจเปน็ ชดุ เดียวกนั กบั การจดั ทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปหรอื ไมก่ ไ็ ด้

1.2 จัดทำแผนชั้นเรียนรายปีทุกระดับชั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำ
แผนชั้นเรียน และองค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรยี นรายปี โดยระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา
ปที ่ี ๑ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๑ และมธั ยมศึกษาปที ่ี ๔ เป็นเปา้ หมายจำนวนนักเรยี นท่ีจะเข้าเรยี น และ/หรือจำนวน
นักเรียนที่เคยรับย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา สำหรับชั้นอื่นๆ ให้ใช้ชั้นเคลื่อนจากจำนวนนักเรียนจริง
ในปกี ารศกึ ษาปจั จบุ ัน ซง่ึ จำนวนห้องเรียนรวมท้ังหมดของแผนชนั้ เรยี นรายปไี มค่ วรเกินแผนช้นั เรยี นเตม็ รูป

ทั้งนี้ การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ให้ดำเนินการจัดทำ ภายในเดือนพฤศจิกายน
ของทกุ ปี

2. บทบาทของสำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษา
สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษา มีบทบาทในการจัดทำแผนชั้นเรยี นรายปี ดังน้ี
2.1 แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา” ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ 2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ 3) ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน/สหวิทยาเขต
เป็นกรรมการ 4) ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน เป็นกรรมการ 5) ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม
การจัดการศึกษา เป็นกรรมการ และ 6) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานจัดทำแผนช้ันเรียนของสถานศึกษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้มีคณะกรรมการตามที่กำหนดหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
อาจเปน็ ชุดเดียวกันกับการพจิ ารณาแผนชัน้ เรียนเต็มรปู หรือไมก่ ็ได้

2.2 กำกับ ติดตาม ดูแล การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษาในสังกัด
ใหเ้ ป็นไปตามหลกั เกณฑ์การจัดทำแผนชั้นเรียน และองค์ประกอบในการจดั ทำแผนชั้นเรยี นรายปี

2.3 ตรวจสอบข้อมูลแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษารายโรง เสนอต่อคณะกรรมการ
พจิ ารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา ให้ความเหน็ ชอบ

2.4 ประกาศแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ตามที่ได้รับความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการพจิ ารณาแผนช้ันเรยี นของสถานศึกษา

2.5 รายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ภายในเดือน
ธนั วาคมของทุกปี

๑๖

ขน้ั ตอนการจัดทำแผนชน้ั เรยี นรายปี

1. สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา เพื่อจัดทำ
แผนชั้นเรยี นรายปีของสถานศกึ ษา

2. สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ใน “ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียน
เต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา” ทางเว็บไซต์ https://classroomplan.bopp-obec.info
โดยใช้ฐานขอ้ มูลจากแผนชัน้ เรยี นเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปกี ารศกึ ษา 2565 – 2569) ดงั น้ี

2.1 กำหนดชัน้ เรียน ได้แก่
1) ชนั้ ก่อนประถมศกึ ษา
- อนุบาล 1 รับเด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์ ในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียน

(เฉพาะสถานศึกษาทีไ่ ด้รับอนุมตั ิ จากคณะกรรมการศกึ ษาธกิ ารจังหวดั เทา่ น้ัน)
- อนุบาล 2 รับเดก็ อายุ 4 ปบี ริบูรณ์ ในเขตพื้นทบี่ รกิ ารเขา้ เรยี น

2) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 หรือจบการศึกษา
ชั้นก่อนประถมศึกษาท่อี ย่ใู นเขตพ้นื ทบี่ ริการของโรงเรยี น

3) ช้ันมัธยมศกึ ษาปที ่ี ๑ รบั นักเรียนทจ่ี บชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 เข้าเรยี น
4) ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี ๔ รับนกั เรียนทจ่ี บชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 เขา้ เรยี น
2.2 กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรยี นทีจ่ ะเข้าเรยี น โดยมหี ลักการดังนี้
1) ชั้นก่อนประถมศึกษา กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1
หรืออนุบาล 2 ได้จากการจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และ
การคาดคะเนจากนักเรยี นระดบั ชั้นก่อนประถมศึกษาท่ีเคยรับย้อนหลงั 3 ปีการศกึ ษา โดยใชข้ ้อมูลจากระบบ
จัดเก็บข้อมูลนักเรยี นรายบุคคล (DMC) ณ วนั ที่ 10 มถิ ุนายนของทุกปี
2) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “อนุบาล 3
(เดิม)” การจัดทำสำมะโนประชากรของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา และการคาดคะเน
จากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เคยรับย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บ
ขอ้ มลู นักเรียนรายบคุ คล (DMC) ณ วันที่ 10 มถิ นุ ายนของทกุ ปี
3) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ป.6 เดิม”
(สำหรบั โรงเรียนขยายโอกาส) การสำรวจประชากรวัยเรียนระดับช้นั ประถมศึกษาปที ่ี 6 ทอ่ี ยูใ่ นเขตพ้ืนที่บริการ
และ/หรือการคาดคะเนจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูล
จากระบบจดั เกบ็ ขอ้ มูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ณ วันท่ี 10 มถิ นุ ายนของทกุ ปี
4) ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนได้จาก “ม.3 เดิม”
และการคาดคะเนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากระบบจัดเก็บ
ข้อมูลนกั เรยี นรายบุคคล (DMC) ณ วันท่ี 10 มถิ ุนายนของทุกปี

๑๗

2.3 กำหนดแผนชั้นเรียนรายปีทุกระดับชั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำ
แผนชั้นเรียน และองค์ประกอบในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี โดยระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ เป็นจำนวนนักเรียนที่ได้จากการคาดคะเนเป้าหมายจำนวนนักเรียน
ที่จะเข้าเรียน และ/หรือจำนวนนักเรียนที่เคยรับย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา สำหรับชั้นอื่นๆ ให้ใช้ชั้นเคลื่อนจาก
จำนวนนักเรียนจริงในปีการศึกษาปัจจุบัน ซึ่งจำนวนห้องเรียนรวมทั้งหมดของแผนชั้นเรียนรายปีไม่ควรเกิน
แผนชน้ั เรียนเตม็ รปู

ท้งั น้ี การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ใหด้ ำเนนิ การจัดทำภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
3. สถานศึกษาบันทึกและยืนยันแผนชั้นเรียนรายปี เพื่อรายงานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบข้อมูลแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา
รายโรง และเสนอต่อคณะกรรมการพจิ ารณาแผนช้นั เรยี นของสถานศกึ ษา
5. คณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรียนของสถานศึกษา ให้ความเห็นชอบแผนชั้นเรียน
รายปีของสถานศกึ ษารายโรง
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ตามที่ได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาแผนช้ันเรียนของสถานศึกษา ให้สถานศึกษาในสงั กัดทราบ
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รับรองแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศกึ ษารายโรงในระบบ
จัดเก็บข้อมูลฯ เพื่อรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ภายในเดือนธันวาคม
ของทุกปี

ตวั อยา่ ง แผนช้นั เรียนรายปขี องสถานศกึ ษา

๑๘

๑๙

แผนภูมิข้ันตอนการจัดทำแผนชั้นเรยี นรายปี

สถานศึกษา

แตง่ ตัง้ คณะกรรมการจดั ทำแผนชน้ั เรยี นของสถานศกึ ษา

จดั ทำแผนชั้นเรยี นรายปี ใน “ระบบจดั เก็บขอ้ มลู แผนช้ันเรียนเตม็ รูปและแผนชนั้ เรยี นรายปีของสถานศกึ ษา”
ทางเว็บไซต์ https://classroomplan.bopp-obec.info โดยใชฐ้ านข้อมูลจากแผนช้ันเรยี นเต็มรปู ระยะ 5 ปี
(ปีการศึกษา 2565 – 2569) ดงั นี้

1. กำหนดช้นั เรียน (ตามข้อ 2.1 หนา้ 16)
2. กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรยี นท่ีจะเข้าเรยี น (ตามขอ้ 2.2 หนา้ 16)
3. กำหนดแผนชั้นเรียนรายปีทุกระดับชั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำแผนชั้นเรียน และ
องค์ประกอบในการจัดทำแผนช้ันเรียนรายปี โดยระดับช้ันกอ่ นประถมศึกษา ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๑
และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เป็นจำนวนนกั เรียนที่ได้จากการคาดคะเนเปา้ หมายจำนวนนักเรียนทีจ่ ะเขา้ เรียน และ/หรือ
จำนวนนักเรียนที่เคยรับย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา สำหรับชั้นอื่นๆ ให้ใช้ชั้นเคลื่อนจากจำนวนนักเรียนจริง
ในปีการศึกษาปัจจุบัน ซึ่งจำนวนห้องเรียนรวมทั้งหมดของแผนชั้นเรียนรายปีไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
(ตามข้อ 2.3 หนา้ 17) ทงั้ นี้ การจดั ทำแผนชัน้ เรยี นรายปี ให้ดำเนินการจดั ทำ ภายในเดือนพฤศจกิ ายนของทกุ ปี

บันทกึ และยืนยนั แผนช้ันเรียนรายปี เพ่อื รายงานสำนกั งานเขตพื้นทีก่ ารศึกษา ส่งกลับไปยัง
สถานศึกษา
สำนกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษา ตรวจสอบขอ้ มลู แผนชน้ั เรียนรายปขี องสถานศกึ ษารายโรง
และเสนอต่อคณะกรรมการพจิ ารณาแผนช้นั เรยี นของสถานศกึ ษา

คณะกรรมการพิจารณาแผนชน้ั เรยี นของสถานศกึ ษา ไม่เหน็ ชอบ
พิจารณาให้ความเหน็ ชอบแผนชน้ั เรยี นรายปี
ของสถานศกึ ษารายโรง

เหน็ ชอบ

สำนักงานเขตพน้ื ท่กี ารศึกษา ประกาศแผนช้นั เรียนรายปีของสถานศกึ ษา ตามทไ่ี ดร้ บั ความ
เหน็ ชอบจากคณะกรรมการพิจารณาแผนชั้นเรยี นของสถานศึกษา ใหส้ ถานศึกษาในสังกัดทราบ

สำนักงานเขตพน้ื ท่กี ารศึกษา รับรองแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษารายโรง
ในระบบจัดเก็บขอ้ มูลฯ เพ่ือรายงานให้สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา
ขั้นพืน้ ฐานทราบ ภายในเดอื นธันวาคมของทุกปี

ข้ันตอนการใช้งาน
ระบบจดั เกบ็ ขอ้ มูลแผนช้นั เรียนเตม็ รปู
และแผนชน้ั เรยี นรายปขี องสถานศกึ ษา

๒๑

สารบัญ

แผนผงั การใช้งานระบบ 2๒
การเข้าสหู่ นา้ ระบบ 2๓

การใช้งานระบบ : ระดับสำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศึกษา 2๔
2๕
➢ การลงทะเบียน 2๗
➢ การเข้าใชง้ าน / สถานะการใช้งานระบบ 2๘
➢ การจัดการผูใ้ ช้ในระบบ (User) 29
➢ การตรวจสอบข้อมูล / รายงาน ๓3
➢ การยนื ยันข้อมลู / การยกเลิกการยนื ยนั ข้อมูล ๓4
➢ การรับรองแผนชัน้ เรียน (ผ่านความเหน็ ชอบจากคณะกรรมการฯ แล้ว)
๓5
การใช้งานระบบ : ระดับสถานศึกษา 36
➢ การลงทะเบียน 38
➢ การเขา้ ใชง้ าน / สถานะการยืนยนั ขอ้ มูล 39
40
การจัดทำแผนชั้นเรียนเตม็ รูป 44
➢ การกำหนดชัน้ เรยี น 48
➢ การกำหนดเปา้ หมายจำนวนนักเรียนในพนื้ ทีบ่ ริการท่จี ะเข้าเรียน 5๐
➢ การกำหนดแผนช้นั เรียนเต็มรปู 5๑

การจัดทำแผนชัน้ เรยี นรายปี
➢ การกำหนดแผนชน้ั เรียนรายปี

๒๒

แผนผังการใชง้ านระบบจดั เก็บข้อมูลแผนชัน้ เรียนเต็มรูป
และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา

สพท. สถานศึกษา

ลงทะเบยี น ลงทะเบยี น

เขา้ ใช้งานระบบ จดั การผูใ้ ชง้ านระบบ
อนมุ ัติ / ไม่อนมุ ัติ / ลบ

เข้าใช้งานระบบ

จดั ทำแผนชั้นเรียนเตม็ รูป จัดทำแผนชนั้ เรยี นรายปี
กำหนดแผนชัน้ เรียนรายปี
กำหนดชนั้ เรียน บันทกึ และยนื ยันข้อมลู

ตรวจสอบข้อมลู แผนช้ันเรียน กำหนดเป้าหมาย
ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ จำนวนนกั เรียนทจี่ ะเขา้ เรยี น
จดั ทำแผนชัน้ เรยี นเตม็ รปู
รับรองแผนชนั้ เรยี นรายโรง ประมวลผลและยืนยนั ขอ้ มลู

สพฐ. หมายเหตุ
- แผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี (ปกี ารศกึ ษา 2565 – 2569) ใหด้ ำเนินการ
จัดทำในปกี ารศกึ ษา 2565 เพียงครั้งเดียว
- แผนช้นั เรียนรายปี ให้ดำเนินการจัดทำภายในเดือนพฤศจกิ ายนของทกุ ปี

๒๓

การเข้าสหู่ นา้ ระบบ

เขา้ เว็บไซต์ https://classroomplan.bopp-obec.info

การใช้งานระบบ
ระดบั สำนกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศกึ ษา

๒๕

การลงทะเบียน

** กำหนดให้ลงทะเบียนได้ สพท. ละไม่เกนิ 2 User
๑. กดปมุ่ “ลงทะเบียนเจา้ หนา้ ท่ี เขตพื้นท่ีการศึกษา”

1

๒. เลือก ช่อื สพท. ท่ที ่านสงั กดั และกดปุ่มลงทะเบียนท่ีไอคอน

2

๒๖

๓. กรอกข้อมลู ของทา่ นใหค้ รบถ้วน และกดปุ่ม “ลงทะเบยี น”

3

๔. เม่ือบันทึกข้อมูลในระบบแลว้ โปรดรอเจา้ หน้าที่ สพฐ. อนุมัตผิ ้ใู ชใ้ นระบบ

๒๗

การเข้าใชง้ าน / สถานะการใช้งานระบบ

๑. กรอก Username และ Password ซ่งึ เปน็ เลขบตั รประจำตวั ประชาชน 13 หลกั เพอื่ เข้าส่รู ะบบ

๒. สถานะการใชง้ านระบบ
โดย สพท. สามารถตรวจสอบการลงทะเบยี นเขา้ ใช้งานระบบของเจ้าหน้าที่สถานศึกษา
ได้ทเ่ี มนู “ผูใ้ ชง้ าน (รออนุมัติ)”

กำหนดช้ันเรียน กำหนดเป้ำหมำย แผนเตม็ รูป/รำยปี ผูใ้ ช้งำน (อนุมตั )ิ
ยืนยนั ชน้ั เรียน ยืนยนั เป้ำหมำย
ยนื ยัน ผูใ้ ช้งำน (รออนุมตั )ิ

การจดั การผู้ใช้ในระบบ (User)

๑. หากต้องการ อนุมัติ / ไม่อนมุ ัติ ผใู้ ช้งาน (User) ใหก้ ดปุ่มเคร่อื งหมายถกู “  ”
๒. หากตอ้ งการ ลบ ผใู้ ช้งาน (User) ให้กดปมุ่

12

๒๘

การตรวจสอบขอ้ มลู / รายงาน

สพท. สามารถตรวจสอบข้อมูล / รายงานในแต่ละข้นั ตอน โดยแสดงผลตามระดบั ชน้ั ได้ทเ่ี มนู
คำอธบิ าย เครื่องหมาย “✓” สเี ขยี ว หมายถงึ สถานศกึ ษาได้ยนื ยันข้อมูลแล้ว เครื่องหมาย “

❖ การตรวจสอบข้อมูล / รายงาน การกำหนดช้นั เรียน

ตรวจสอบขอ้ มลู /รายงาน

- กาหนดชนั้ เรียน

๒๙

“การตรวจสอบข้อมูล / รายงาน”
“✓” สีแดง หมายถึง สถานศกึ ษาบนั ทึกข้อมลู แลว้ แต่ยงั ไม่ไดย้ นื ยนั ขอ้ มลู

❖ การตรวจสอบข้อมลู / รายงาน การกำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนในพืน้ ท่บี ริการท่จี

ตรวจสอบขอ้ มลู /รายงาน

- กาหนดเปา้ หมาย

จะเขา้ เรยี น
๓๐

❖ การตรวจสอบข้อมลู / รายงาน การกำหนดแผนชน้ั เรียนเต็มรูปของสถานศึกษา

ตรวจสอบขอ้ มลู /รายงาน

- แผนชนั้ เรยี นเตม็ รูป

๓๑

❖ การตรวจสอบข้อมูล / รายงาน การกำหนดแผนชนั้ เรยี นรายปี

ตรวจสอบขอ้ มลู /รายงาน

- แผนชนั้ เรยี นรายปี

๓๒

การยืนยนั ข้อมลู / การยกเลกิ การยนื ยันข้อมูล

สพท. สามารถตรวจสอบ “การยืนยันข้อมลู ” ในแต่ละขัน้ ตอน ได้ทีเ่ มนู “การยืนยันข้อมูล”
คำอธบิ าย “✓ ยนื ยนั แล้ว” หมายถงึ สถานศกึ ษาบันทึกข้อมูลและได้ยืนยันขอ้ มลู แลว้

“X ไม่ยืนยนั ” หมายถงึ สถานศึกษาบนั ทกึ ข้อมูลแลว้ แต่ยังไมไ่ ด้ยืนยนั ข้อม

การยืนยนั ขอ้ มลู

๓๓

มลู
หากตอ้ งการยกเลกิ การยนื ยนั ขอ้ มลู ใหค้ ลิกท่ี “✓ยนื ยันแล้ว”
สถานะจะเปลยี่ นเป็น “X ไมย่ ืนยนั ” ทนั ที

การรับรองแผนชัน้ เรยี น (ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้ว)

เมอ่ื แผนชั้นเรียนเต็มรปู / แผนช้นั เรยี นรายปี ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แลว้ สพท
เมนู “การยืนยนั ข้อมลู ”
คำอธบิ าย “ไม่สามารถรบั รองได้” หมายถงึ สถานศึกษายงั ไม่ไดด้ ำเนินการยนื ยนั ข้อมูล

“✓รับรองแล้ว” หมายถงึ สพท. ไดร้ บั รองแผนช้นั เรยี นแล้ว

“X ยังไมร่ ับรอง” หมายถึง สพท. ยังไม่ได้รบั รองแผนชน้ั เรียน

)

ท. สามารถ “รบั รองแผนช้นั เรยี น” ทั้งแผนช้นั เรยี นเต็มรูป และแผนชนั้ เรยี นรายปไี ดท้ ี่
ลแผนชั้นเรยี น

๓๔

การใชง้ านระบบ
ระดบั สถานศกึ ษา

๓๖

การลงทะเบยี น

** กำหนดใหล้ งทะเบียนได้สถานศกึ ษาละไมเ่ กนิ 2 User
๑. กดปมุ่ “ลงทะเบยี นเจ้าหนา้ ที่ โรงเรียน”

1

๒. เลอื กสงั กัดของท่าน โดยกดสัญลักษณ์เล่ือนลง

2

๓๗ 3
๓. เลือกช่อื โรงเรยี นของทา่ นและกดป่มุ ลงทะเบียนที่ไอคอน

๔. กรอกข้อมูลของท่านให้ครบถ้วน และกดป่มุ “ลงทะเบียน”

4

๕. เมื่อบนั ทึกข้อมูลในระบบแล้ว โปรดรอเจา้ หน้าที่ สพท. อนุมตั ิผใู้ ช้ในระบบ

๓๘

การเข้าใชง้ าน / สถานะการยืนยนั ขอ้ มูล

๑. กรอก Username และ Password ซ่งึ เปน็ เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลกั เพื่อเข้าสู่ระบบ

๒. สถานะการยืนยันข้อมลู
คำอธิบาย หากไอคอนสถานะยืนยนั ข้อมลู เปน็ สเี ขยี ว หมายถงึ ยืนยนั ข้อมูลแลว้
เป็น สแี ดง หมายถึง ยังไมไ่ ด้ยืนยนั ข้อมูล

สถานะการยนื ยนั ขอ้ มลู


Click to View FlipBook Version