The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทาง-PA-ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สพฐ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2022-06-08 23:05:33

แนวทาง-PA-ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สพฐ

แนวทาง-PA-ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สพฐ



แนวทำงกำรดำเนินกำร

ตำมหลกั เกณฑแ์ ละวิธีกำรประเมินตำแหน่งและวิทยฐำนะ
ขำ้ รำชกำรครแู ละบคุ ลำกรทำงกำรศึกษำ

สงั กดั สำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขนั้ พ้ืนฐำน
ตำแหนง่ ศึกษำนิเทศก์

(ตำมหนงั สือสำนกั งำน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๓/ว ๑๑ ลงวนั ที่ ๒๐ พฤษภำคม ๒๕๖๔)

กลม่ ุ สง่ เสรมิ ประสำนกำรบรหิ ำรงำนบคุ คล
สำนกั พฒั นำระบบบริหำรงำนบคุ คลและนิติกำร
สำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขน้ั พ้ืนฐำน

คำนำ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ
ประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.
ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันท่ี 20 พฤษภาคม 2564 ตำแหนง่ ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.
ที่ ศธ 0206.3/ว 10 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.
ที่ ศธ 0206.3/ว 11 ลงวนั ท่ี 20 พฤษภาคม 2564 และตำแหนง่ ผ้บู รหิ ารการศกึ ษา ตามหนงั สอื สำนกั งาน ก.ค.ศ.
ที่ ศธ 0206.4/ว 12 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวกำหนดให้ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA)
ทุกปีงบประมาณ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพและสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
ใหส้ งู ขึน้ ตามตำแหน่งและวิทยฐานะท่คี าดหวัง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์
แ ล ะ ว ิ ธี ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น ต ำ แ ห น ่ ง แ ล ะ ว ิ ท ย ฐ า น ะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศ ึ กษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ เพื่อให้ศึกษานิเทศก์มีความรู้
ความเข้าใจที่ชัดเจนและครอบคลุมเกี่ยวกับการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ รวมทั้งใช้เป็นแนวทาง
การปฏิบัติหรือปรับประยุกต์การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) โดยเชื่อมโยงบูรณาการกับการขอมี
หรือเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเลื่อนเงินเดือน และการประเมิน
เพอื่ คงวทิ ยฐานะ ตามหลกั เกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด และสอดคลอ้ งกบั บรบิ ทในการปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ี

กล่มุ สง่ เสริมประสานการบริหารงานบคุ คล
สำนกั พฒั นาระบบบรหิ ารงานบุคคลและนิติการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มกราคม 2565

สารบญั

หน้า

คำนำ

สว่ นที่ ๑ บทนำ 1
ความสำคญั และความเป็นมา 1
มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวทิ ยฐานะ สำหรบั ตำแหนง่ ศกึ ษานเิ ทศก์ 3
ภาระงาน สำหรบั ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 10
นยิ ามศพั ท์ 10

ส่วนท่ี ๒ แนวทางการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน 12
แนวทางการจัดทำข้อตกลงในการพฒั นางาน 12
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนนิ การจดั ทำข้อตกลงในการพฒั นางาน 14

ส่วนท่ี ๓ แนวทางการเขยี นข้อตกลงในการพัฒนางาน 19
ขอบข่ายการจัดทำข้อตกลงในการพฒั นางาน 19
แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน 20

ส่วนที่ ๔ แนวทางการประเมนิ การพฒั นางานตามข้อตกลง 32
องคป์ ระกอบการประเมินผลการพฒั นางานตามขอ้ ตกลง 32
วธิ กี ารประเมนิ เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน 35

ส่วนที่ ๕ การขอมวี ิทยฐานะหรอื เลื่อนวทิ ยฐานะ 36

คณุ สมบตั ิของผู้ขอรับการประเมนิ 36

วิธีการขอมวี ิทยฐานะหรอื เล่ือนวทิ ยฐานะ 42

แนวปฏิบตั กิ ารประเมนิ เพ่ือขอมวี ิทยฐานะและเลอื่ นวิทยฐานะในชว่ งระยะเวลาเปล่ยี นผ่าน 46

การประเมินเพื่อดำรงไวซ้ ึง่ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ 48

หรอื ความเช่ยี วชาญ ในตำแหน่งและวิทยฐานะ

บรรณานุกรม 50

ภาคผนวก 51

QR Code เอกสารประกอบภาคผนวก 52

รายการที่ ๑ ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธร์ ะหว่าง PA 1 และ PA 2

รายการท่ี 2 แบบข้อตกลงในการพฒั นางาน (PA) (แบบ PA 1/ศน.)

รายการที่ 3 แบบประเมินผลการพฒั นางานตามขอ้ ตกลง (PA)

(แบบ PA 2/ศน. และ แบบ PA 3/ศน.)

รายการท่ี 4 แบบคำขอมวี ทิ ยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะฯ ตำแหน่งศกึ ษานเิ ทศก์

(ทุกวิทยฐานะ)

รายการท่ี 5 แบบประเมนิ ตำแหนง่ และวทิ ยฐานะ (แบบ PA 4/ศน. และ แบบ PA 5/ศน.)

รายการที่ 6 การประเมนิ เพ่อื ขอมีวทิ ยฐานะและเล่อื นวิทยฐานะฯ

ในชว่ งระยะเวลาเปลยี่ นผา่ น

รายการที่ 7 ตัวอย่างการเขยี นข้อตกลงในการพฒั นางาน (PA)

คณะผู้จดั ทำ

ส่วนที่ ๑

บทนำ

ความสำคญั และความเปน็ มา

รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔ และหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
มาตรา ๒๕๘ จ. ดา้ นการศึกษา (๓) บัญญัติไว้ว่า “ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบ
วิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง
ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรม
ในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู” ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ ที่กำหนดให้ปฏิรูป
ประเทศไว้ ๖ ดา้ น หรอื ๖ ยทุ ธศาสตร์การปฏิรปู ประเทศ ตามยทุ ธศาสตรช์ าติ ๒๐ ปี กระบวนการปฏิรปู การศกึ ษา
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าสำคัญ
ต่อการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการบรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดไว้ในด้านต่าง ๆ
เนื่องด้วยการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ ได้กำหนดกิจกรรมและยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพของการจัด
การศึกษา (Enhance Quality of Education) ครอบคลุมผลลัพธ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ (Learning
Outcomes) ทั้งด้านความรู้ ทักษะเจตคติที่ถูกต้องและรู้จักดูแลสุขภาพ เพื่อการจัดการในเรื่องการดำรงชีวิต
ของตนเองและการใชช้ วี ติ รว่ มกบั ผอู้ ืน่ ตามเจตนารมณ์ของรฐั ธรรมนูญ รวมทงั้ ครู อาจารย์และบคุ ลากรทางการศึกษา
ที่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู สำหรับเรื่องและประเด็นปฏิรูป
ได้กำหนดแผนงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ๗ เรื่อง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาข้างต้น
ในเรื่องที่ ๔ : การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และอาจารย์
ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป ๕ ประเด็น ได้แก่ (๑) การผลิตครูและการคัดกรองครู เพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ
ตรงกับความต้องการของประเทศ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู (๒) การพัฒนาวิชาชีพครู (๓) เส้นทาง
วิชาชีพครู เพื่อให้ครูมีความก้าวหน้า ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม (๔) การพัฒนาผู้บริหาร
สถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา (๕) องค์กรวิชาชีพครู และการปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในส่วนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนา
ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของ
ข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา โดยพฒั นาระบบการประเมินตำแหนง่ และวทิ ยฐานะสำหรบั ตำแหน่ง
ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะ ๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ
หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและการแต่งตั้ง และกระทรวงศึกษาธิการ
มีนโยบายในการปรับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ต้องส่งผลไปถึงผู้เรียน มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาชีพ
มากกว่าการจัดทำผลงานวิชาการ มีการบูรณาการการทำงานที่เชื่อมโยงกัน โดยมีการประเมินที่ไม่ ยุ่งยาก
ไมซ่ ับซอ้ น และเปน็ ธรรม

จากงานวจิ ยั ในโครงการการสังเคราะห์ระบบและแนวทางการปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพครู : จากแนวคิด
การเรียนรู้เชิงวิชาชีพสู่การปฏิบัติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ซึ่งได้ศึกษาแนวคิด
และรายงานการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ และหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า จากรายงานของ OECD/UNESCO
เมื่อปี ๒๐๑๖ และจากผลการศึกษาของ Schleicher เมื่อปี ๒๐๑๒ พบว่าระบบการสนับสนุนการพัฒนา
ความก้าวหน้าในวิชาชีพนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรค เช่น การพัฒนาวิทยฐานะไม่ยึดโยงกับ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนไม่มีโครงสร้างเวลาพอที่ครูจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนการสอนในรูปแบบ



ชุมชนวิชาชีพ และผู้บริหารโรงเรียนยังขาดศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาครู
รูปแบบชุมชนวิชาชีพ และปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการพัฒนาวิชาชีพครู
คือ ภาวะผนู้ ำของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งต้องมีบทบาทในการบริหารหลักสูตร การกำกับและประเมินการสอนของครู
การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาครู และสนับสนุนวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียนแบบร่วมมือกัน
ตามลำดับ

ดังนั้น เพื่อความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายการศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี แผนปฏริ ูปการศึกษา และแนวนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.ค.ศ. จงึ ได้ใช้การวิจัยเป็นฐาน
ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ตลอดจนสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และผลการศึกษาวิจัยของประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มากำหนด
เป็นกรอบแนวคิดสำคัญ ในการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นหัวใจสำคัญที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่ ให้สอดคล้อง
กับเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ตอบสนองต่อนโยบาย รวมถึงหลักการและแนวคิดในเชิงวิชาการ เช่น
Back to school คุณภาพการศึกษาต้องเริ่มที่ห้องเรียน Focus on classroom การประเมินให้ดูที่ผล
การปฏิบัติงานของครูในห้องเรียนดูที่สมรรถนะในการปฏิบัติงานจริงของครู (Teacher Performance)
แผนการจัดการเรียนรู้ (Powerful Pedagogies) และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Students Outcomes)
Teacher as a Key of Success ซึ่งครูต้องมีการพัฒนาให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ตามระดับ
การปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะ ได้แก่ การปฏิบัติและเรียนรู้ ( Execute and Learn)
ปรับประยุกต์ (Apply and Adapt ) แก้ไขปัญหา (Solve the Problem) ริเริ่ม พัฒนา (Originate and
Improve) คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent and Transform) สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact)
สามารถสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากห้องเรียน สามารถสอนใหผ้ ู้เรยี นเกดิ แรงบันดาลใจในการเรียนรู้
School as an Organization การจัดระบบการบริหารการจัดการในสถานศึกษาต้องมุ่งเน้นงานหลักของครู
และผู้อำนวยการสถานศึกษา ลดความซ้ำซ้อน การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนกับการให้มี
หรือเลื่อนวิทยฐานะ (มาตรา ๕๔) และการคงวิทยฐานะ (มาตรา ๕๕) เป็นเรื่องเดียวกัน (ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน)
School Professional Community การจัดทำ PLC เปน็ หนา้ ทีข่ องผู้บริหารสถานศกึ ษาทจ่ี ะตอ้ งทำใหเ้ กิดข้ึน
ในโรงเรียน ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย Support System ควรเป็นระบบ
Online System เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการพัฒนาต่าง ๆ ครูต้องได้รับการพัฒนาตรงตามความต้องการ
จำเปน็ อย่างตอ่ เนอื่ งและเปน็ ระบบ

สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน เป็นหนว่ ยงานในสังกัดกระทรวงศกึ ษาธิการ รบั ผิดชอบ
เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ตระหนักถึง
ความสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 11 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564
ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวกำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดทำข้อตกลง
ในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ทุกปีงบประมาณ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษามีศักยภาพและสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นตามตำแหน่งและวิทยฐานะท่ี คาดหวัง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์
และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์ใหม่ (PA : Performance Agreement)



เพื่อให้ศกึ ษานิเทศก์มีความรู้ ความเขา้ ใจที่ชัดเจนและครอบคลุมเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะ รวมทั้งใช้เป็น
แนวทางการปฏิบัติให้กับทุกตำแหน่งและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำไปเป็นแนวทางหรือปรับประยุกต์
การจัดทำข้อตกลงในการพฒั นางาน (PA) โดยเชอ่ื มโยงบูรณาการกับการขอมีหรือเล่ือนวิทยฐานะการประเมิน
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเลื่อนเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์
และวธิ ีการท่ี ก.ค.ศ. กำหนด

มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.
ท่ี ศธ ๐๒๐๖.๔/ว ๓ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔)

ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และการให้ได้เงินเดอื นในตำแหน่งและวทิ ยฐานะของข้าราชการครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา
ท่มี ใี บอนญุ าตประกอบวิชาชพี โดยมผี ลบงั คับต้งั แต่บัดนี้เป็นต้นไป

1) ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ก่อน
วันทมี่ าตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะนี้ใช้บังคับให้ใช้คณุ สมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิม ได้อีกเพียง 1 ครั้ง ตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด
ไว้ในหลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารใหข้ า้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามวี ิทยฐานะและเล่ือนวิทยฐานะ

2) ผทู้ ีไ่ ด้รับการบรรจแุ ละแต่งต้ังใหด้ ำรงตำแหน่งเจ้าหน้าท่ีบรหิ ารการศึกษาขัน้ พื้นฐานและเจ้าหน้าท่ี
บริหารการศึกษา อยู่ก่อนวันที่มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะนี้ใช้บังคับ ให้ใช้มาตรฐานตำแหน่ง
และมาตรฐานวิทยฐานะเดิม และให้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดให้มีตำแหน่ง
เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานและเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐาน
วิทยฐานะเดมิ จนกวา่ จะพ้นจากตำแหนง่ เป็นการเฉพาะราย



มาตรฐานตำแหนง่

ช่อื ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์

หนา้ ทแ่ี ละความรบั ผดิ ชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการนิเทศการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

รวมทงั้ พัฒนาตนเองและวชิ าชพี และปฏิบัติงานอน่ื ตามทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย

ลกั ษณะงานทีป่ ฏบิ ัติ
การปฏิบัตงิ านของศึกษานิเทศก์ ตอ้ งมกี ารบรู ณาการงานทั้ง ๓ ดา้ น ใหเ้ ช่อื มโยงและสอดคล้องกัน ดงั นี้
๑. ดา้ นการนเิ ทศการศึกษา
๑.๑ ออกแบบ จดั ทำแผนการนเิ ทศการศกึ ษา ให้สอดคลอ้ งกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรฐานการศกึ ษา

ชาติและหลักสตู ร รวมทั้งนโยบาย จุดเน้น สภาพแวดล้อม ปัญหาและความต้องการจำเป็น ให้ครู สถานศึกษา
และหนว่ ยงานการศกึ ษา สามารถจดั การศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาสมรรถนะและผลลพั ธ์การเรยี นรู้ของผูเ้ รียน

๑.๒ คัดสรร สร้าง พัฒนา สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์
วิจัย หรือวิธีการอืน่ ๆ ที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา เพื่อช่วยเหลอื ส่งเสริม สนับสนนุ
ให้ครู สถานศึกษา และหนว่ ยงานการศึกษา สามารถจดั การศกึ ษาไดบ้ รรลุผล

๑.๓ นิเทศ ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยง ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนางานวชิ าการ
ประสานงานกบั หนว่ ยงาน สถานประกอบการ และผมู้ สี ว่ นเก่ยี วข้อง ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
ให้ครู สถานศึกษา และหนว่ ยงานการศึกษา สามารถจัดการศกึ ษาได้บรรลุผล

๑.๔ รายงานผลการนิเทศ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนผลการนิเทศต่อครู สถานศึกษา
หน่วยงาน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนางานวิชาการ และการจัด การศึกษา
ทเ่ี กิดผลสัมฤทธิส์ ูง

๒. ดา้ นการส่งเสริมและสนับสนุนการจดั การศึกษา
๒.๑ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและความต้องการจำเป็น สังเคราะห์สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

อยา่ งรอบด้าน เพื่อวางแผนการสง่ เสรมิ สนับสนุน และพฒั นาการจัดการศกึ ษา
๒.๒ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และสถานประกอบการ รวมถึงภูมิปัญญา

หรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับสถานศึกษา

๒.๓ ติดตามประเมินผลการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและหน่วยงาน
การศกึ ษา ให้สามารถจดั การศึกษาไดบ้ รรลผุ ลตามพันธกิจ

๓. ดา้ นการพฒั นาตนเองและวชิ าชีพ
๓.๑ พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะโดยเฉพาะ

อย่างย่ิงการใชภ้ าษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจทิ ัลเพื่อการศึกษาสมรรถนะ
ทางวชิ าชีพศึกษานิเทศก์ และความรอบรใู้ นเนื้อหาท่ีนเิ ทศใหส้ งู ขึน้

๓.๒ มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
และการจัดการศึกษา

๓.๓ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา
การนเิ ทศการศกึ ษา ทม่ี ผี ลตอ่ คณุ ภาพครแู ละผู้เรยี น



วนิ ัย คุณธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชพี
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง มีจติ สำนึกความรบั ผิดชอบในการนเิ ทศการศึกษา และมจี รรยาบรรณของวชิ าชีพ

คุณสมบตั เิ ฉพาะสำหรับตำแหนง่
๑. มใี บอนญุ าตประกอบวิชาชพี ศึกษานเิ ทศก์
๒. ดำรงตำแหนง่ หรอื เคยดำรงตำแหนง่ อย่างใดอย่างหน่ึง ต่อไปนี้
๒.๑ ตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะไม่ตำ่ กวา่ ครูชำนาญการ
๒.๒ ตำแหนง่ อนื่ ท่ี ก.ค.ศ. เทยี บเท่า

ความรู้และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
๑. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการนิเทศการศึกษา หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัด

การประเมินผลการศึกษา และเคร่ืองมือการนเิ ทศ
๒. มสี มรรถนะทจ่ี ำเป็นสำหรบั การปฏบิ ตั งิ านในตำแหน่ง



มาตรฐานวิทยฐานะ

ชอ่ื วิทยฐานะ ศึกษานเิ ทศกช์ ำนาญการ

หน้าท่ีและความรบั ผดิ ชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

และมภี าระงานนิเทศการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

คณุ ภาพการปฏิบัติงาน
มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา โดยแสดงให้เห็นว่ามีการออกแบบและจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา คัดสรร สร้าง
พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ส่งเสริมพัฒนางานวชิ าการของหน่วยงานการศึกษา ประสานงาน
กับหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วม และจัดทำรายงานผลการนิเทศการศึกษา
เพ่อื แกไ้ ขปัญหาและใหผ้ รู้ บั การนเิ ทศพัฒนาการจดั การเรียนร้ขู องผู้เรียนอยา่ งมีคณุ ภาพ

พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและพัฒนา
วิชาชีพมาใชใ้ นการแก้ปัญหาการนเิ ทศการศึกษาให้มีผลต่อคุณภาพครแู ละผเู้ รยี น

วินยั คุณธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวชิ าชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพยี ง มจี ติ สำนกึ ความรับผิดชอบในการนเิ ทศการศกึ ษา และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ

คุณสมบัตเิ ฉพาะสำหรบั วิทยฐานะ
๑. ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ไม่น้อยกว่า ๔ ปี หรือลดระยะเวลาจาก ๔ ปี เหลือ ๓ ปี ตามเงื่อนไข

ท่ี ก.ค.ศ. กำหนด และผ่านการประเมินตามหลกั เกณฑ์และวิธกี ารที่ ก.ค.ศ. กำหนด หรอื
๒. ดำรงตำแหน่งอืน่ ท่ี ก.ค.ศ. เทียบเทา่ หรอื
๓. ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีวิทยฐานะชำนาญการ



มาตรฐานวิทยฐานะ

ช่ือวทิ ยฐานะ ศึกษานเิ ทศก์ชำนาญการพเิ ศษ

หน้าที่และความรับผดิ ชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

และมภี าระงานนิเทศการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

คณุ ภาพการปฏิบตั งิ าน
มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา โดยแสดงให้เห็นว่ามีการออกแบบและจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา คัดสรร สร้าง
พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ส่งเสริมพัฒนางานวชิ าการของหน่วยงานการศกึ ษา ประสานงาน
กับหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วม และจัดทำรายงานผลการนิเทศการศึกษา
เพื่อแก้ไขปัญหา ริเริ่ม คิดค้น และพัฒนานวัตกรรมให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
อย่างมีคุณภาพสูงข้นึ

พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและพัฒนา
วชิ าชพี มาใชใ้ นการแก้ปญั หาและพัฒนาการนิเทศการศกึ ษาให้มีผลตอ่ คุณภาพครแู ละผเู้ รยี น เปน็ แบบอย่างทีด่ ี

วนิ ัย คณุ ธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพยี ง มจี ิตสำนกึ ความรบั ผดิ ชอบในการนิเทศการศึกษา และมจี รรยาบรรณของวิชาชีพ

คุณสมบตั ิเฉพาะสำหรับวทิ ยฐานะ
๑. ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ไม่น้อยกว่า ๔ ปี

หรือลดระยะเวลาจาก ๔ ปี เหลือ ๓ ปี ตามเง่ือนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์
และวธิ กี ารท่ี ก.ค.ศ. กำหนด หรือ

๒. ดำรงตำแหน่งอนื่ ที่ ก.ค.ศ. เทยี บเทา่ หรอื
๓. ดำรงตำแหนง่ อน่ื ท่ีมีวิทยฐานะชำนาญการพเิ ศษ



มาตรฐานวทิ ยฐานะ

ช่ือวทิ ยฐานะ ศกึ ษานเิ ทศกเ์ ช่ยี วชาญ

หน้าทีแ่ ละความรบั ผิดชอบ
มีห น ้าที่แล ะความร ับ ผ ิดชอบ แล ะลักษณะงาน ที่ป ฏิบั ติตามมาตรฐ าน ตำแห น ่งศึกษานิเทศก์

และมภี าระงานนิเทศการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

คณุ ภาพการปฏิบัตงิ าน
มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา โดยแสดงให้เห็นว่ามีการออกแบบและจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา คัดสรร สร้าง
พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ส่งเสริมพัฒนางานวิชาการของหน่วยงานการศึกษา ประสานงาน
กับหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วม และจัดทำรายงานผลการนิเทศการศึกษา
เพื่อแก้ไขปัญหา ริเริ่ม คิดค้น พัฒนา และปรับเปลี่ยนนวัตกรรมให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาการจัดการเรีย นรู้
ของผเู้ รียน อยา่ งมีคุณภาพสูงขึ้น

พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและพัฒนา
วชิ าชีพมาใช้ในการแกป้ ัญหาและพฒั นาการนิเทศการศึกษาให้มีผลตอ่ คุณภาพครูและผเู้ รยี น เป็นแบบอย่างที่ดี
เปน็ ผูน้ ำและสรา้ งผนู้ ำการเปล่ียนแปลงต่อเพอื่ นรว่ มวิชาชีพ

วนิ ยั คุณธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพยี ง มีจิตสำนึกความรับผดิ ชอบในการนเิ ทศการศึกษา และมีจรรยาบรรณของวชิ าชีพ

คณุ สมบตั ิเฉพาะสำหรบั วิทยฐานะ
1. ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า ๔ ปี

หรือลดระยะเวลาจาก ๔ ปี เหลือ ๓ ปี ตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์
และวธิ ีการท่ี ก.ค.ศ. กำหนด หรือ

๒. ดำรงตำแหน่งอ่นื ท่ี ก.ค.ศ. เทียบเทา่ หรอื
๓. ดำรงตำแหนง่ อ่ืนที่มวี ทิ ยฐานะเชย่ี วชาญ



มาตรฐานวิทยฐานะ

ชื่อวิทยฐานะ ศกึ ษานิเทศก์เชยี่ วชาญพิเศษ

หนา้ ท่ีและความรบั ผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

และมีภาระงานนเิ ทศการศกึ ษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

คณุ ภาพการปฏิบัติงาน
มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา โดยแสดงให้เห็นว่ามีการออกแบบและจัดทำแผนการนิเทศการศึกษา คัดสรร สร้าง พัฒนา
สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษา ส่งเสริมพัฒนางานวิชาการของหน่วยงานการศึกษา ประสานงาน
กับหน่วยงานและผู้มีส่วนเก่ียวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วม และจัดทำรายงานผลการนิเทศการศึกษา
เพื่อแก้ไขปัญหา ริเริ่ม คิดค้น พัฒนา ปรับเปลี่ยน เผยแพร่และขยายผลนวัตกรรมและงานวิจัย จนนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชพี

พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและพัฒนา
วชิ าชพี มาใช้ในการแกป้ ัญหาและพัฒนาการนิเทศการศกึ ษาให้มผี ลต่อคณุ ภาพครูและผู้เรียน เป็นแบบอย่างที่ดี
เป็นผู้นำและสร้างผูน้ ำการเปลย่ี นแปลงต่อวงวิชาชีพ

วินยั คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพยี ง มจี ติ สำนึกความรบั ผิดชอบในการนิเทศการศึกษา และมจี รรยาบรรณของวชิ าชีพ

คณุ สมบตั เิ ฉพาะสำหรับวิทยฐานะ
1. ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า ๔ ปี หรือลดระยะเวลา

จาก ๔ ปี เหลือ ๓ ปี ตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.
กำหนด หรือ

๒. ดำรงตำแหน่งอ่นื ท่ี ก.ค.ศ. เทยี บเทา่ หรอื
๓. ดำรงตำแหนง่ อื่นท่ีมวี ทิ ยฐานะเชย่ี วชาญพเิ ศษ
4. ผา่ นการพฒั นาก่อนแตง่ ตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธกี ารท่ี ก.ค.ศ. กำหนด

๑๐

ภาระงาน สำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันท่ี
30 สงิ หาคม 2564)

ก.ค.ศ. มีมติกำหนดภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
เพื่อประโยชน์ในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ โดยให้มีภาระงาน
ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา เต็มเวลา และมีการพัฒนาตนเอง
และวิชาชีพ

นยิ ามศพั ท์
ตามหลักเกณฑ์และวิธีประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ (หนงั สอื สำนกั งาน ก.ค.ศ. ท่ี ศธ ๐๒๐๖.๓/ว ๑๑ ลงวนั ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔)
๑) ผู้บังคับบัญชา หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชา

ของศึกษานเิ ทศกใ์ นเขตพื้นทก่ี ารศึกษาน้นั
๒) ผเู้ รียน หมายความวา่ นักเรยี น หรือผรู้ บั บรกิ าร
๓) ผู้รับการนเิ ทศ หมายความว่า ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา ครู บคุ ลากรทางการศึกษา และนกั เรยี น
๔) รอบการประเมิน หมายความว่า ช่วงระยะเวลาในการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง

ซึง่ กำหนดใหม้ ีการประเมินปงี บประมาณละ ๑ คร้ัง เมื่อส้นิ ปงี บประมาณ
๕) ผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา หมายความว่า ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการ

เรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา
ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษา
ที่รับผิดชอบ เมื่อได้มีการดำเนินการตามแผนการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี
ในการนิเทศการศึกษา หรือการพฒั นาสถานศกึ ษา หรือหนว่ ยงานการศึกษาทศ่ี ึกษานิเทศกไ์ ด้พัฒนาขึ้น

๖) ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลง
ที่ศึกษานิเทศก์ได้เสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรอื หนว่ ยงาน
การศึกษาไปในทางท่ีดีขนึ้ หรอื มีการพฒั นามากขนึ้ ส่งผลต่อคณุ ภาพผู้เรยี นในหนว่ ยงานการศึกษาที่รับผิดชอบ
โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่และสอดคล้องกับ
เป้าหมาย บริบทสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ
โดยผูบ้ ังคบั บญั ชาไดเ้ ห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

๗) ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal) เรียกโดยย่อว่า
ระบบ DPA หมายความว่า ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
แบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งผ่าน จัดการและประมวลผลข้อมูล การประเมินผล
การปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน รวมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษามวี ทิ ยฐานะและเลอ่ื นวิทยฐานะ

๘) ขอบข่ายภาระงานของศึกษานิเทศก์ หมายถึง บทบาท/ อำนาจ/ หน้าที่ตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย) และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิจัย พัฒนา
ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา การวิจัย พัฒนา
สง่ เสรมิ มาตรฐานการศกึ ษา และประกนั คณุ ภาพการศึกษา ประเมิน ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

๑๑

การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมและพัฒนาสื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา งานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และการปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุน การปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานอนื่ ท่ีเกี่ยวข้องหรือท่ไี ด้รบั มอบหมาย

สว่ นท่ี ๒
แนวทางการจดั ทำขอ้ ตกลงในการพฒั นางาน

ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.๓/ว 11 ลงวันท่ี
20 พฤษภาคม 2564) ที่มีรูปแบบที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่เคยกำหนด ซึ่งอาจทำให้ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา เกิดความสงสัย มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามหลักเกณฑ์ใหม่ (Performance Agreement : PA) เพื่อใช้เป็นแนวทางและนำไปปฏิบัติได้
ซึ่งศึกษานิเทศก์สามารถนำไปปรับปรุง หรือประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน
ได้ตามความเหมาะสม สำหรับส่วนที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สรุปเป็นประเด็น
ในส่วนทเ่ี กี่ยวขอ้ ง สามารถทำความเขา้ ใจ และนำปฏิบัติได้งา่ ยข้ึน ดังนี้

แนวทางการจัดทำขอ้ ตกลงในการพฒั นางาน
1. การจดั ทำข้อตกลงในการพฒั นางาน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลง

ในการพัฒนางาน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบ กรณีที่ศึกษานิเทศก์ย้ายระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
กับผู้บังคับบัญชาคนใหม่ ในหน่วยงานการศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน
ประกอบดว้ ย ๒ ส่วน ดังต่อไปน้ี

ส่วนที่ ๑ ขอ้ ตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหนง่ คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน
๑) การปฏิบตั ิงานตามมาตรฐานตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
๒) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

และด้านการพัฒนาตนเองและวชิ าชีพ
ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผเู้ รยี น คะแนนเตม็ ๔๐ คะแนน

การจดั ทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพอื่ ให้สามารถ
ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลง
ในการพฒั นางาน

2. คณะกรรมการประเมนิ ผลการพฒั นางานตามข้อตกลง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน

ตามขอ้ ตกลง จำนวน ๓ คน ประกอบดว้ ย
๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาน้ัน หรอื ผทู้ ีไ่ ดร้ ับมอบหมาย เปน็ ประธานกรรมการ
๒) ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม และดำรงตำแหน่ง

ไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มคี วามรู้ ความสามารถเหมาะสม จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ
ประเมนิ

๑๓

3. การประเมนิ ผลการพฒั นางานตามขอ้ ตกลง
๑) ให้คณะกรรมการประเมิน ตามข้อ ๓ ประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลงของศึกษานิเทศก์

ในแต่ละรอบการประเมิน โดยพิจารณาประเมินตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด

๒) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้รับการประเมิน เป็นผู้รับผิดชอบระบบ DPA และให้ผู้รับผิดชอบ DPA
นำข้อมูลผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงในแต่ละรอบการประเมินของศึกษานิเทศก์แต่ละราย
เข้าสูร่ ะบบดงั กลา่ ว เปน็ ประจำทกุ รอบการประเมิน โดยให้ดำเนนิ การตามค่มู ือการใชง้ านระบบ DPA ท่ี ก.ค.ศ.
กำหนด

๓) ศึกษานิเทศก์ ต้องมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมินการพัฒนางาน
ตามขอ้ ตกลง ผ่านเกณฑ์ โดยต้องไดค้ ะแนนจากกรรมการแตล่ ะคน ไมต่ ่ำกวา่ รอ้ ยละ ๗๐

4. การนำผลการประเมนิ การพัฒนางานตามข้อตกลงไปใชใ้ นการบริหารงานบุคคล
ให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงไปใช้ในการบริหารงานบุคคลของศึกษานิเทศก์

ดงั ตอ่ ไปน้ี
๑) ใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะของศึกษานิเทศก์

ตามหล ักเกณฑ์ แล ะว ิธ ี การป ระ เม ินต ำแห น่ง แล ะว ิท ยฐ าน ะ ข้ าร าช ก ารค รูแล ะ บุค ล า กรท าง การ ศ ึ ก ษ า
(หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๓/ว ๑๑ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔) ที่กำหนดในหมวด ๓
(หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะ
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการและเลื่อนเป็นวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ) - หมวด ๔ (หลักเกณฑ์
และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ เลื่อนเป็นวิทยฐานะ
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญและวิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ) และแนวปฏิบัติการดำเนินการ
ขอมวี ิทยฐานะและเล่อื นวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลยี่ นผ่าน ทีก่ ำหนดไวใ้ นหมวด ๕ แลว้ แตก่ รณี

๒) ใช้เป็นผลการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของศึกษานิเทศก์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งค วามรู้
ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
ตามนัยมาตรา ๕๕ ตามหลักเกณฑแ์ ละวธิ กี ารท่ีกำหนดไว้ในหมวด ๖

๓) ใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในการพิจารณา
เลอ่ื นเงินเดอื น

5. แบบขอ้ ตกลงในการพฒั นางาน
ในการจัดทำข้อตกลงข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับศึกษานิเทศก์ มีแบบข้อตกลง

ในการพัฒนางาน (PA) 5 แบบ ดงั นี้
๑) PA ๑/ศน. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
๒) PA ๑/ศน. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วทิ ยฐานะศกึ ษานเิ ทศก์ชำนาญการ
๓) PA ๑/ศน. ตำแหน่งศึกษานเิ ทศก์ วิทยฐานะศึกษานเิ ทศกช์ ำนาญการพเิ ศษ
๔) PA ๑/ศน. ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เช่ียวชาญ
๕) PA ๑/ศน. ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะศึกษานเิ ทศกเ์ ชย่ี วชาญพเิ ศษ
(รายละเอยี ดปรากฏในภาคผนวก รายการท่ี ๒)

๑๔

ขอ้ เสนอแนะแนวทางการดำเนินการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
แนวทางการดำเนินการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของตำแหน่ง

ศึกษานิเทศก์ ดงั น้ี
๑. รูปแบบการจดั ทำบันทึกแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (แบบ PA ๑) ใหเ้ ป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา

หรือหน่วยงานการศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง
ผู้บังคบั บัญชา และศึกษานิเทศก์ผ้จู ัดทำข้อตกลง

๒. ผู้จัดทำบันทึกแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ส่วนที่ ๑ ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐาน
ตำแหน่ง ในส่วนงาน (Tasks) ที่จะดำเนินการในการพัฒนาตามข้อตกลงใน ๑ รอบการประเมิน จะต้องเป็นงาน
ในหน้าที่รับผิดชอบหลัก ที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ของงาน ตามข้อตกลงที่คาดหวัง ให้เกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ
หรือสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
และคณะกรรมการประเมนิ ผลการพฒั นางานตามข้อตกลงสามารถประเมนิ ไดต้ ามแบบการประเมิน PA ๒

๓. ผู้จัดทำบันทึกแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ส่วนที่ ๑ ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐาน
ตำแหน่ง ในส่วน “ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators)” ไม่เน้นรูปแบบเอกสาร โดยให้ความสำคัญ
กับผลลัพธ์ของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ หรือสถานศึกษา หรือหน่วยงาน
ทางการศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรม และการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถ
ประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA ๒ จากการปฏิบัติงานจริง สภาพนิเทศการศึกษา ตามบริบทสถานศึกษา
หรือหน่วยงานการศึกษา และผลลัพธ์ในการนิเทศการศึกษา ที่ส่งต่อคุณภาพผู้เรียน ครู สถานศึกษา
และหน่วยงานการศกึ ษาทรี่ ับผดิ ชอบ

๔. ผู้จัดทำบันทึกแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานตำแหน่งและประเด็น
การเขียนขอ้ ตกลงในการพัฒนางาน ดังนี้

1) ด้านการนิเทศการศกึ ษา ๑๕

มาตรฐานตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏบิ ตั ติ ามมาตรฐานตำแหนง่

๑.๑) ออกแบบ จัดทำแผนการนิเทศการศกึ ษา 1.1) ออกแบบ จดั ทำแผนการนเิ ทศการศกึ ษา
ให้สอดคลอ้ งกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรฐาน
การศกึ ษาชาตแิ ละหลกั สตู ร รวมทง้ั นโยบาย จดุ เนน้ 1.2) คดั สรร สร้าง พฒั นา ส่อื นวัตกรรม
สภาพแวดล้อม ปญั หาและความตอ้ งการจำเปน็ และเทคโนโลยี
ให้ครู สถานศกึ ษา และสำนกั งานเขตพื้นที่
การศึกษา สามารถจัดการศกึ ษาเพอื่ พฒั นา 1.3) ปฏบิ ตั กิ ารนเิ ทศ
สมรรถนะ 1.4) การพัฒนางานวชิ าการ
และผลลัพธ์การเรยี นร้ขู องผเู้ รยี น 1.5) ประสานกบั หนว่ ยงาน สถานประกอบการ
1.6) ตดิ ตามและประเมนิ ผลการศึกษา
1.2) คัดสรร สรา้ ง พัฒนา สื่อ นวตั กรรม
และเทคโนโลยี โดยศึกษา ค้นควา้ วิเคราะห์ 1.7) รายงานผลการนเิ ทศ
สังเคราะห์ วจิ ัย หรอื วิธกี ารอ่นื ๆ ที่เหมาะสม
ให้สอดคล้องกบั แผนการนเิ ทศการศกึ ษา
เพ่อื ชว่ ยเหลอื ส่งเสรมิ สนับสนุนให้ครู สถานศกึ ษา
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ใหส้ ามารถจัด
การศกึ ษาได้บรรลผุ ล

1.3) นิเทศ ให้คำปรกึ ษา แนะนำ ช้แี นะ เปน็ พ่ีเลีย้ ง
สง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การพฒั นางานวชิ าการ
ประสานงานกบั หนว่ ยงาน สถานประกอบการ
และผมู้ ีส่วนเก่ยี วขอ้ ง ตดิ ตาม และประเมินผล
การจัดการศึกษาใหค้ รู สถานศกึ ษา และสำนักงาน
เขตพน้ื ทก่ี ารศึกษา สามารถจดั การศกึ ษาไดบ้ รรลผุ ล
จัดการศึกษาได้บรรลุผล

1.4) รายงานผลการนเิ ทศ โดยการวเิ คราะห์
สังเคราะห์ สะทอ้ นผลการนิเทศตอ่ ครู สถานศกึ ษา
หน่วยงาน หรือผู้มสี ่วนเก่ยี วขอ้ ง เพือ่ เปน็ ข้อมลู
สารสนเทศในการพฒั นางานวิชาการ และการจดั
การศึกษาท่เี กิดผลสมั ฤทธส์ิ ูงให้ครู สถานศึกษา
และสำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษา สามารถจัด
การศกึ ษาได้บรรลผุ ลจดั การศึกษาได้บรรลผุ ล

2) ด้านการสง่ เสรมิ สนับสนุนการจดั การศึกษา ๑๖

มาตรฐานตำแหนง่ ลักษณะงานท่ีปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหนง่

2.1) วเิ คราะหก์ ล่มุ เปา้ หมายและความต้องการจำเป็น 2.1) วางแผนการสง่ เสริม สนับสนุน และพัฒนา
สงั เคราะหส์ ารสนเทศท่เี กี่ยวขอ้ งอยา่ งรอบด้าน การจัดการศกึ ษา
เพอื่ วางแผนการสง่ เสรมิ สนบั สนนุ และพัฒนา
การจัดการศกึ ษาเรยี นร้ขู องผเู้ รียน

2.2) ประสานความร่วมมือกบั หนว่ ยงาน องคก์ ร 2.2) เสรมิ สรา้ งความเข้มแขง็ ให้กบั สถานศึกษา/
หรอื สถานประกอบการ รวมถงึ ภูมปิ ญั ญา หน่วยงานการศกึ ษา
หรือผทู้ รงคณุ วุฒิดา้ นตา่ ง ๆ ใหเ้ ขา้ มามีสว่ นร่วม
พัฒนาการจัดการศึกษา เพือ่ เสริมสร้าง 2.3) ตดิ ตามประเมินผลการสง่ เสริม สนบั สนุน
ความเขม้ แขง็ ใหก้ ับสถานศกึ ษาสนับสนนุ ใหค้ รู การจดั การศึกษา
สถานศกึ ษา และสำนกั งานเขตพน้ื ที่การศกึ ษา
สามารถจดั การศึกษาไดบ้ รรลผุ ล 2.4) จดั ทำรายงานสารสนเทศ
*2.4) เพ่มิ เติมจากมาตรฐานตำแหนง่
2.3) ตดิ ตามประเมนิ ผลการส่งเสริม สนับสนนุ
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาและสำนกั งาน
เขตพ้นื ทก่ี ารศึกษา ให้สามารถจดั การศึกษา
ได้บรรลผุ ลตามพนั ธกิจ

3) ดา้ นการพฒั นาตนเองและวชิ าชพี ๑๗

มาตรฐานตำแหนง่ ลักษณะงานท่ีปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหนง่

3.1) พฒั นาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3.1) พัฒนาตนเองใหม้ ีความรู้ ความสามารถ
เพือ่ ให้มคี วามรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ ทกั ษะ การใช้ภาษาไทย ภาษาองั กฤษเพ่ือการสื่อสาร
อย่างยงิ่ การใชภ้ าษาไทยและภาษาองั กฤษ การใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ิทลั เพอ่ื การศึกษา สมรรถนะ
เพอื่ การสอื่ สาร และการใช้เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ทางวชิ าชีพศกึ ษานเิ ทศก์ และความรอบรู้
เพื่อการศกึ ษา สมรรถนะทางวิชาชพี ศกึ ษานเิ ทศก์ ในเนอ้ื หาทีน่ เิ ทศ
และความรอบรใู้ นเน้อื หาท่นี เิ ทศใหส้ งู ขนึ้
3.2) เข้าร่วมแลกเปลย่ี นเรยี นรู้ทางวชิ าชพี
3.2) มสี ่วนรว่ ม และเปน็ ผูน้ ำในการแลกเปลยี่ น เพ่อื ปรบั ประยกุ ต์ในการจดั การเรยี นรู้
เรียนรู้ทางวิชาชพี เพ่ือพัฒนาการจัดการเรยี นรู้ และการจดั การศกึ ษา
และการจัดการศึกษาใหบ้ รรลผุ ล
3.3) นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ไดจ้ าก
3.3) นำความรู้ ความสามารถ ทกั ษะทไี่ ดจ้ าการพัฒนา การพฒั นาตนเองและวิชาชพี มาใชใ้ นการพัฒนา
ตนเองและวชิ าชีพมาใชใ้ นการพัฒนาการนเิ ทศ การจดั การเรยี นรู้ การพฒั นาคณุ ภาพผ้เู รยี น
การศกึ ษา ทีม่ ีผลต่อคณุ ภาพครูและผเู้ รียน รวมถงึ การพฒั นานวัตกรรมการจดั การเรียนรู้
ที่มผี ลตอ่ คณุ ภาพครแู ละผ้เู รยี น

3.4) เผยแพรอ่ งคค์ วามรู้ดา้ นการนเิ ทศ
การจัดการเรยี นร้แู ละการจัดการศกึ ษา
และบรกิ ารวิชาการแกส่ ำนักงานเขตพ้นื ท่ี
การศกึ ษาหรอื หนว่ ยงานต่างๆ

*3.4 เพมิ่ เติมจากมาตรฐานตำแหนง่

๑๘

4) ประเด็นและเนอ้ื หาในการเขียนขอ้ ตกลงในการพฒั นางาน

ประเด็นตามขอบขา่ ยตามมาตรฐานตำแหนง่ และภาระงาน กลุ่มเป้าหมาย

๑. บทบาท อำนาจ หน้าท่ี ตามประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร โรงเรยี นในสังกัด
ประกอบด้วย ๘ ประการ ซึ่งเกย่ี วกับ
โรงเรียนในสงั กดั
1) การประสาน ส่งเสรมิ สนับสนนุ และพฒั นาหลักสตู ร ตามกลุ่มเครอื ขา่ ยสถานศึกษา
การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน หลกั สูตรการศกึ ษาระดับก่อนประถมศึกษา ตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการ
(หลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย) และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ

2) การศึกษา วเิ คราะห์ วิจยั เพ่อื พัฒนาหลักสตู รการสอน
และกระบวนการเรยี นรขู้ องผู้เรียน

3) การวจิ ัย พฒั นา ส่งเสรมิ ติดตาม ตรวจสอบและประเมนิ ผล
เกยี่ วกบั การวัดและประเมนิ ผลการจัดการศึกษา

4) การวจิ ยั พฒั นา ส่งเสรมิ มาตรฐานการศึกษา
และประกนั คุณภาพการศกึ ษา ประเมิน ตดิ ตามและตรวจสอบ
คณุ ภาพการศึกษา

5) การนเิ ทศ ติดตามและประเมนิ ผลการจัดการศึกษา
6) การศกึ ษา วิเคราะห์ วจิ ยั พัฒนา ส่งเสรมิ และพัฒนาสือ่
นวัตกรรมและเทคโนโลยที างการศึกษา
7) งานเลขานกุ ารคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
และนเิ ทศการศึกษาของเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษา
8) การปฏบิ ัตงิ านร่วมกับ หรือสนบั สนนุ การปฏิบัตงิ าน
ของหน่วยงานอ่นื ทเี่ กยี่ วข้องหรือท่ไี ด้รบั มอบหมาย

๒. งานตามกลุม่ สาระการเรยี นรู้
๓. กลุม่ งานเครือขา่ ยสถานศกึ ษา

๔. งานพิเศษ งานโครงการพิเศษ นโยบายของสว่ นราชการ
และกระทรวงศึกษาธิการ

สว่ นท่ี ๓
แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน

การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานผู้เขียนต้องคำนึงถึงบริบท การจัดการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษา ทั้งนี้ งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน จะต้องสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติงาน
ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ และภาระงานตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย
ระดับชาติ ระดับกระทรวง ส่วนราชการและแนวนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ คณะกรรมการ
ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA ๒ ส่วนการนำเสนอ
และการประเมิน “ผลลัพธ์ (Outcomes) หรือตัวชี้วัด (Indicators)” ไม่เน้นรูปแบบเอกสาร ให้ใช้วิธีการนำเสนอ
และประเมินเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากการบริหารและการจัดการศึกษา จนมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ
ตามตัวชี้วัดท่ีกำหนดไว้ในข้อตกลง เป็นสำคัญ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้เสนอแนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน
เพื่อให้เป็นแบบอย่างให้ศึกษานิเทศก์ได้เป็นทางเลือกในการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานที่สอดคล้องกับบริบท
แต่ละพ้ืนทห่ี รอื สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษา

ขอบข่ายการจดั ทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ส่วนที่ ๑ ขอ้ ตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
๑.๑ การปฏบิ ตั ิงานตามมาตรฐานตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ และภาระงานตามท่ี ก.ค.ศ. กำหนด
๑.๒ ผลการปฏิบัติงาน ๑) ด้านการนิเทศการศึกษา ๒) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา และ ๓) ด้านการพฒั นาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
โดยศึกษานิเทศก์ต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือสร้าง
การเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา สถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ประเด็นที่ท้าทายเพื่อพัฒนา
คุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผรู้ ับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของผู้จัดทำ
ข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐาน
ตำแหน่ง ใหเ้ กิดการเปลีย่ นแปลงไปในทางที่ดีข้ึน หรอื มกี ารพัฒนามากข้ึน (ท้ังน้ี ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็น
ถึงระดบั การปฏิบัตทิ ี่คาดหวงั ทสี่ ูงกวา่ ได้) ดงั นน้ั การเขียนข้อตกลงในการพัฒนา (PA) มแี นวทางการเขียน ดังนี้

๒๐

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน
ส่วนท่ี ๑ ขอ้ ตกลงในการพฒั นางานตามมาตรฐานตำแหนง่
๑.๑ การปฏิบตั ิงานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์และภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
๑.๒ ผลการปฏิบัติงาน ๑) ด้านการนิเทศการศึกษา ๒) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดการศึกษา และ ๓) ด้านการพัฒนาตนเองและวชิ าชพี
โดยกำหนดแนวทางในการเขียนงาน (Tasks) ที่จะต้องดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลง

ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักและให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง
ที่คาดหวังให้เกิดกับผู้รับการนิเทศ หรือสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา รวมทั้ง ตัวชี้วัด (Indicators)
ที่เกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ หรือสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
ในทางที่ดีขน้ึ หรือการพฒั นามากขน้ึ หรือผู้เรยี นมีผลสัมฤทธิ์ที่สงู ข้นึ

ลักษณะงานท่ีปฏบิ ตั ิตามมาตรฐานตำ

ตำแหน่ง ระดบั การปฏบิ ตั ิ รายละเอยี ด
ทค่ี าดหวัง
ศึกษานเิ ทศก์ สามารถปรบั ประยุกต์
(ไม่มีวิทยฐานะ) ปรบั ประยกุ ต์ การนิเทศการศึกษา
(Apply & Adapt) และปฏบิ ตั ิงาน
เพอื่ ให้ผู้รบั การนเิ ทศ
สามารถพัฒนาการ
จดั การเรียนรูข้ องผู้เรยี น
ได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง

๒๑

ำแหน่งและระดบั การปฏิบตั ิท่คี าดหวัง

งาน (Tasks) ผลลัพธ์ (Outcomes) ตัวชีว้ ัด (Indicators)

ระบสุ ง่ิ ทต่ี ้องการพัฒนา ระบผุ ลของงาน (Tasks) กำหนดตวั ชี้วดั
ความสำเร็จ
หรอื ดำเนนิ การ เพอ่ื ปรบั ท่เี ป็นรปู ธรรม ท่เี กิดจากการ
ปรับประยุกต์
ประยุกตใ์ ห้สอดคล้องกับ ในการปรบั ประยุกต์ อย่างเป็นรปู ธรรม
(อาจเปน็ ร้อยละ)
งานในหนา้ ท่ี ตามข้อตกลงทค่ี าดหวงั ที่จะเกิดขน้ึ กับ
สำนักงานเขตพ้นื ที่
ความรบั ผิดชอบหลกั ให้เกิดข้ึนต่อ การศึกษา ผ้รู บั การนิเทศ
สถานศึกษา และตนเอง
ตามลกั ษณะงานทปี่ ฏิบตั ิ สำนักงานเขตพนื้ ที่ ทแ่ี สดงให้เหน็ ถึง
การเปลี่ยนแปลง
ตามมาตรฐานตำแหน่ง ผู้รบั การนเิ ทศ ในทางทีด่ ีขนึ้ หรือพฒั นา
มากขึน้ หรือผ้เู รียน
ในดา้ น สถานศกึ ษา มผี ลสมั ฤทธิ์สูงขนึ้

๑) ดา้ นการนิเทศ และตนเอง

การศกึ ษา

๒) ดา้ นการสง่ เสริม

และสนบั สนนุ

การจัดการศกึ ษา และ

๓) ดา้ นการพฒั นาตนเอง

และวชิ าชีพ

ทจี่ ะดำเนินการพฒั นา

ตามข้อตกลงใน ๑ รอบ

การประเมิน

ตำแหน่ง ระดับการปฏบิ ตั ิ รายละเอยี ด
ทค่ี าดหวงั
ศกึ ษานิเทศก์ สามารถแกป้ ัญหา
ชำนาญการ แก้ไขปญั หา การนิเทศการศึกษา
(Solve the Problem) ใหม้ ีผลตอ่ ผู้รับการนิเทศ
และผเู้ รียน

๒๒

งาน (Tasks) ผลลพั ธ์ (Outcomes) ตวั ชี้วัด (Indicators)

ระบสุ ่ิงท่ตี ้องการพฒั นา ระบผุ ลของงาน (Tasks) กำหนดตัวชว้ี ดั
ความสำเร็จ
หรอื ดำเนนิ การ ทเี่ ปน็ รปู ธรรม ที่เกดิ จากการ
แกไ้ ขปัญหา
เพือ่ แกไ้ ขปัญหา ในการแกไ้ ขปัญหา อยา่ งเปน็ รปู ธรรม
(อาจเป็นร้อยละ)
ให้สอดคล้องกับงาน ตามข้อตกลงทค่ี าดหวัง ท่จี ะเกิดข้ึนกบั
สำนักงานเขตพนื้ ที่
ในหน้าท่ีความรบั ผดิ ชอบหลกั ให้เกดิ ขึ้นต่อ การศกึ ษา ผรู้ ับการนเิ ทศ
สถานศึกษา และตนเอง
ตามลักษณะงานทปี่ ฏิบัติ สำนักงานเขตพ้นื ที่ ท่ีแสดงใหเ้ หน็ ถึง
การเปลย่ี นแปลง
ตามมาตรฐานตำแหนง่ การศกึ ษา ผรู้ ับการนิเทศ ในทางท่ีดีข้นึ หรอื พัฒนา
มากข้ึน หรือผเู้ รียน
ในดา้ น สถานศกึ ษา และตนเอง มผี ลสัมฤทธ์ิสงู ขนึ้

๑) ด้านการนเิ ทศ

การศึกษา

๒) ด้านการสง่ เสริม

และสนับสนุนการจัด

การศกึ ษา และ

๓) ดา้ นการพัฒนาตนเอง

และวิชาชพี

ที่จะดำเนนิ การพัฒนา

ตามข้อตกลงใน ๑ รอบ

การประเมิน

ตำแหน่ง ระดบั การปฏบิ ัติ รายละเอยี ด
ที่คาดหวงั
ศึกษานเิ ทศก์
ชำนาญการพิเศษ รเิ ร่มิ พัฒนา สามารถรเิ ร่ิม และพัฒนา

(Originate & Improve) นวัตกรรมให้ผ้รู ับการนเิ ทศ

พฒั นาการจัดการเรียนรู้

ของผเู้ รียน

๒๓

งาน (Tasks) ผลลัพธ์ (Outcomes) ตวั ช้ีวดั (Indicators)

ระบสุ ่ิงที่ต้องการพฒั นา ระบผุ ลของงาน (Tasks) กำหนดตัวชว้ี ัด
หรือดำเนินการ เพ่ือริเร่ิม ท่ีเปน็ รปู ธรรมในการรเิ ร่ิม ความสำเรจ็ ทเ่ี กิดจาก
พัฒนา ให้สอดคล้องกับ พัฒนา ตามข้อตกลง การรเิ ร่ิม พัฒนา
งานในหน้าที่ ทีค่ าดหวงั ให้เกดิ ขน้ึ อยา่ งเปน็ รูปธรรม
ความรบั ผดิ ชอบหลกั ต่อสำนักงานเขตพื้นที่ (อาจเปน็ ร้อยละ)
ตามลกั ษณะงานที่ปฏิบตั ิ การศกึ ษา ผรู้ ับการนเิ ทศ ทจ่ี ะเกิดขนึ้ กบั
ตามมาตรฐานตำแหน่ง สถานศกึ ษา และตนเอง สำนักงานเขตพน้ื ท่ี
ในดา้ น การศกึ ษา ผู้รบั การนเิ ทศ
๑) ดา้ นการนเิ ทศ สถานศกึ ษา และตนเอง
การศึกษา ทแ่ี สดงใหเ้ ห็นถึง
๒) ด้านการสง่ เสรมิ การเปลี่ยนแปลง
และสนับสนุนการจัด ในทางทด่ี ีข้ึน หรือพัฒนา
การศกึ ษา และ มากขน้ึ หรือผเู้ รียน
๓) ดา้ นการพัฒนาตนเอง มผี ลสมั ฤทธิ์สงู ขนึ้
และวิชาชีพ
ที่จะดำเนินการพัฒนา
ตามข้อตกลงใน ๑ รอบ
การประเมิน

ตำแหนง่ ระดับการปฏิบตั ิ รายละเอยี ด
ทคี่ าดหวงั
ศึกษานิเทศก์ สามารถคิดค้น
เช่ียวชาญ คิดค้น ปรับเปลย่ี น และปรับเปลี่ยนนวตั กรรม
(Invent & Transform) ใหผ้ ้รู บั การนิเทศ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้
ของผู้เรียน

๒๔

งาน (Tasks) ผลลพั ธ์ (Outcomes) ตวั ชว้ี ดั (Indicators)

ระบุสิ่งทตี่ ้องการพฒั นา ระบุผลของงาน (Tasks) กำหนดตัวชี้วัด
ความสำเรจ็
หรือดำเนนิ การ ทเ่ี ปน็ รปู ธรรม ทีเ่ กดิ จากการคดิ คน้
ปรบั เปล่ียน
เพ่อื คดิ ค้น ปรบั เปล่ียน ในการคิดค้น ปรับเปล่ียน อย่างเป็นรูปธรรม
(อาจเป็นร้อยละ)
ใหส้ อดคล้องกับงาน ตามข้อตกลง ทจ่ี ะเกิดขน้ึ กบั
สำนกั งานเขตพ้ืนท่ี
ในหนา้ ท่คี วามรับผิดชอบหลกั ที่คาดหวงั ใหเ้ กิดข้นึ การศกึ ษา ผู้รับการนเิ ทศ
สถานศึกษา และตนเอง
ตามลกั ษณะงานที่ปฏิบัติ ตอ่ สำนกั งานเขตพน้ื ท่ี ทีแ่ สดงให้เห็นถึง
การเปลยี่ นแปลง
ตามมาตรฐานตำแหน่ง การศึกษา ผ้รู บั การนิเทศ ในทางที่ดีขน้ึ หรือพัฒนา
มากขนึ้ หรือผู้เรียน
ในดา้ น สถานศึกษา และตนเอง มผี ลสมั ฤทธ์ิสูงขนึ้

๑) ด้านการนิเทศ

การศึกษา

๒) ด้านการส่งเสริม

และสนบั สนุน

การจดั การศึกษา และ

๓) ด้านการพัฒนาตนเอง

และวชิ าชพี

ท่จี ะดำเนินการพฒั นา

ตามข้อตกลงใน ๑ รอบ

การประเมนิ

ตำแหนง่ ระดบั การปฏบิ ตั ิ รายละเอียด
ทค่ี าดหวัง
ศึกษานิเทศก์ สามารถสร้าง
เชี่ยวชาญพิศษ สรา้ งการเปลีย่ นแปลง การเปล่ยี นแปลง
(Create an Impact) ในวงวชิ าชพี เผยแพร่
และขยายผลนวัตกรรม
และงานวจิ ัย
ให้ผรู้ บั การนิเทศ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้
ของผู้เรียน

๒๕

งาน (Tasks) ผลลัพธ์ (Outcomes) ตวั ช้ีวดั (Indicators)

ระบุสิ่งท่ตี ้องการพฒั นา ระบผุ ลของงาน (Tasks) กำหนดตัวชวี้ ดั
ความสำเรจ็ ทเี่ กิดจาก
หรือดำเนินการ ทเ่ี ปน็ รปู ธรรม การสรา้ งการเปลย่ี นแปลง
อย่างเป็นรูปธรรม
เพอ่ื สร้างการเปลีย่ นแปลง ในการสรา้ งการเปลี่ยนแปลง (อาจเป็นร้อยละ)
ทจี่ ะเกิดขึน้ กบั
ใหส้ อดคล้องกับงาน ตามข้อตกลงทคี่ าดหวัง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ผรู้ บั การนิเทศ
ในหน้าท่คี วามรับผิดชอบหลกั ให้เกดิ ขนึ้ ต่อสำนักงาน สถานศึกษา และตนเอง
ทแ่ี สดงใหเ้ ห็นถึง
ตามลกั ษณะงานท่ีปฏิบตั ิ เขตพ้ืนท่ีการศึกษา การเปล่ยี นแปลง
ในทางท่ดี ีข้นึ หรอื พัฒนา
ตามมาตรฐานตำแหน่ง ผูร้ บั การนเิ ทศ มากข้นึ หรือผเู้ รยี น
มผี ลสัมฤทธิส์ ูงขึน้
ในด้าน สถานศึกษา และตนเอง

๑) ดา้ นการนิเทศ

การศกึ ษา

๒) ด้านการสง่ เสริม

และสนบั สนุน

การจดั การศกึ ษา และ

๓) ด้านการพฒั นาตนเอง

และวิชาชีพ

ท่จี ะดำเนนิ การพัฒนา

ตามข้อตกลงใน ๑ รอบ

การประเมิน

๒๖

ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด
การเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผู้เรียน โดยศึกษานิเทศก์ต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น
ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย
บริบทของสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา สถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ ประเด็นที่ท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ
หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ต้องแสดง
ให้เหน็ ถึงระดับการปฏิบตั ิที่คาดหวงั ดงั นี้

ระดับการปฏิบตั ปิ ระเด

สภาพปัญหา

ตำแหนง่ ประเดน็ ท้าทาย ของการจัดการเรยี นรู้

ศึกษานิเทศก์ และการจดั การศกึ ษา
(ไม่มีวทิ ยฐานะ)
เร่ือง............................... ระบปุ ระเด็นปัญหา

(การตัง้ ชอ่ื ประเดน็ ท้าทาย ประเดน็ การพัฒนา

ต้องแสดงให้เห็นถงึ ปัญหาของผูร้ ับการนเิ ทศ

ระดบั การปฏบิ ัติ รปู แบบและวธิ ีการ

ท่คี าดหวัง แกป้ ัญหาของผูน้ เิ ทศ

(ปรับประยุกต์) รวมถึงแรงบนั ดาลใจ

ของประเด็นทา้ ทายนน้ั ๆ ใน การปรบั ประยุกต์

ชือ่ ประเด็นท้าทาย เพื่อแกป้ ญั หาหรือพัฒนา

อาจประกอบด้วย ประเด็นนั้น ๆ

รูปแบบ วธิ กี าร

แนวทางการปรับประยุกต์

และกล่มุ เป้าหมาย

เปน็ ตน้

๒๗

ดน็ ท้าทาย ตำแหนง่ ศกึ ษานเิ ทศก์

วิธกี ารดำเนนิ การ ผลลพั ธ์การพฒั นาทคี่ าดหวัง
ให้บรรลผุ ล
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
กำหนดวธิ ีการ แนวทาง
ขน้ั ตอนในการดำเนินการ ระบจุ ำนวนหรือรอ้ ยละ ระบผุ ลของ
พัฒนา การแกไ้ ขปัญหา
พรอ้ มท้ังระบกุ ลมุ่ เป้าหมาย ทีบ่ รรลเุ ปา้ หมาย ความสำเรจ็
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
ทีใ่ ชต้ ามประเดน็ ทา้ ทาย ได้ครบถว้ น ที่เปน็ รูปธรรม
ตลอดจนขัน้ ตอนการนำ
เคร่ืองมอื ไปปรบั ประยุกต์ เป็นรูปธรรม ครบถว้ น
เพอื่ แก้ปญั หาหรือพัฒนา
ประเดน็ นั้นๆ สรปุ ผล ตามข้อตกลง มคี วามถูกตอ้ ง
การนำไปใช้และจัดทำรายงาน
สารสนเทศ พรอ้ มท้งั ร่วม และมีความถูกตอ้ ง และเช่ือถือได้
แลกเปล่ียนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพ่อื ปรบั ประยุกต์ เชือ่ ถอื ได้ และปรากฏ
ในการจดั การเรียนรู้
และการจัดการศึกษา ต่อคุณภาพผเู้ รียน

ตามข้อตกลง

สภาพปญั หา

ตำแหนง่ ประเดน็ ทา้ ทาย ของการจัดการเรยี นรู้

ศกึ ษานิเทศก์ และการจดั การศึกษา
ชำนาญการ
เรื่อง............................... ระบุประเด็นปัญหา

(การตั้งชอื่ ประเด็นท้าทาย ประเด็นการพัฒนา

ต้องแสดงให้เหน็ ถงึ ปญั หาของผ้รู บั การนิเทศ

ระดบั การปฏบิ ตั ิ รูปแบบและวิธกี าร

ทคี่ าดหวงั (แกไ้ ขปญั หา) แกป้ ัญหาของผนู้ ิเทศ

ของประเด็นทา้ ทายนน้ั ๆ รวมถึงแรงบันดาลใจ

ชอื่ ประเดน็ ท้าทาย ในการ แก้ไขปัญหา

อาจประกอบดว้ ย เพ่ือแก้ปัญหาหรือพัฒนา

รปู แบบ วธิ ีการ แนวทาง ประเด็นน้ัน ๆ

การแก้ไขปัญหา

และกลุม่ เป้าหมาย

เป็นต้น

๒๘

วิธกี ารดำเนินการ ผลลัพธ์การพัฒนาทค่ี าดหวัง
ใหบ้ รรลุผล
เชงิ ปรมิ าณ เชงิ คุณภาพ
กำหนดวธิ ีการ แนวทาง
ข้ันตอนในการดำเนินการ ระบจุ ำนวนหรือร้อยละ ระบผุ ลของ
พฒั นา การแกไ้ ขปญั หา
พรอ้ มทัง้ ระบกุ ลุ่มเป้าหมาย ที่บรรลุเป้าหมาย ความสำเรจ็
การสร้างและพัฒนาเคร่ืองมอื
ที่ใช้ตามประเดน็ ทา้ ทาย ไดค้ รบถว้ น ที่เปน็ รปู ธรรม
ตลอดจนขัน้ ตอนการนำ
เครอ่ื งมือไป แก้ไขปัญหา เป็นรูปธรรม ครบถว้ น
เพือ่ แก้ปัญหาหรือพัฒนา
ประเดน็ น้ันๆ สรุปผล ตามข้อตกลง มคี วามถูกต้อง
การนำไปใช้และจดั ทำรายงาน
สารสนเทศ พรอ้ มทัง้ ร่วม และมีความถกู ตอ้ ง และเชื่อถือได้
แลกเปลย่ี นเรียนรู้ทางวชิ าชพี
เพ่ือแก้ไขปญั หา เชอื่ ถอื ได้ และปรากฏต่อ
ในการจดั การเรียนรู้
และการจัดการศึกษา คุณภาพผูเ้ รียน

ตามข้อตกลง

สภาพปญั หา

ตำแหน่ง ประเด็นทา้ ทาย ของการจดั การเรยี นรู้

ศกึ ษานเิ ทศก์ และการจดั การศึกษา
ชำนาญการพเิ ศษ
เรอื่ ง............................... ระบปุ ระเด็นปัญหา

(การตั้งชอ่ื ประเด็นท้าทาย ประเดน็ การพัฒนา

ตอ้ งแสดงให้เห็นถงึ ปญั หาของผ้รู บั การนเิ ทศ

ระดบั การปฏิบตั ิ รปู แบบและวธิ ีการ

ทค่ี าดหวัง (ริเริม่ พัฒนา) แก้ปญั หาของผู้นเิ ทศ

ของประเด็นทา้ ทายนัน้ ๆ รวมถงึ แรงบันดาลใจ

ช่ือประเดน็ ท้าทาย ในการรเิ ร่มิ พัฒนา

อาจประกอบด้วย เพือ่ แกป้ ัญหาหรือพฒั นา

รูปแบบ วธิ ีการ แนวทาง ประเด็นนนั้ ๆ

การริเรม่ิ พัฒนา

และกล่มุ เป้าหมาย

เปน็ ต้น

๒๙

วิธกี ารดำเนินการ ผลลัพธก์ ารพัฒนาท่ีคาดหวงั
ใหบ้ รรลผุ ล
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ

กำหนดวิธีการ แนวทาง ระบุจำนวนหรอื ร้อยละ ระบุผลของ

ขั้นตอนในการดำเนินการ ทบ่ี รรลเุ ป้าหมาย ความสำเร็จ

พัฒนา การแกไ้ ขปญั หา ได้ครบถว้ น เปน็ รูปธรรม ทีเ่ ป็นรปู ธรรม

พรอ้ มทั้งระบกุ ลุม่ เป้าหมาย ตามข้อตกลง ครบถว้ น

การสรา้ งและพฒั นาเคร่ืองมือ และมีความถูกต้อง มีความถูกตอ้ ง

ทใี่ ช้ตามประเด็นทา้ ทาย และเชอ่ื ถือได้ และเชือ่ ถือได้

ตลอดจนขน้ั ตอนการนำ และปรากฏต่อ

เครอื่ งมือไป รเิ รมิ่ พัฒนา คุณภาพผู้เรียน

เพื่อแก้ปญั หาหรือพฒั นา ตามข้อตกลง

ประเดน็ นนั้ ๆ สรปุ ผล

การนำไปใชแ้ ละจัดทำรายงาน

สารสนเทศเพ่ือเปน็ ข้อมูล

ในการพัฒนางานวชิ าการ

และการจดั การศึกษา พร้อมท้ัง

ร่วมเป็นผนู้ ำในการแลกเปลย่ี น

เรียนรู้ทางวิชาชีพ

และรเิ รม่ิ พฒั นา

ในการจัดการเรยี นรู้

และการจัดการศึกษา

สภาพปญั หา

ตำแหนง่ ประเดน็ ท้าทาย ของการจดั การเรียนรู้

ศกึ ษานเิ ทศก์ และการจดั การศึกษา
เช่ียวชาญ
เรอ่ื ง............................... ระบุประเดน็ ปัญหา

(การตั้งช่ือประเด็นท้าทาย ประเด็นการพฒั นา

ต้องแสดงให้เห็นถึง ปญั หาของผรู้ บั การนเิ ทศ

ระดบั การปฏบิ ัติ รูปแบบและวธิ กี าร

ทีค่ าดหวัง (คดิ ค้น แกป้ ญั หาของผู้นิเทศ

ปรับเปลย่ี น) ของประเด็น รวมถึง แรงบนั ดาลใจ

ทา้ ทายนน้ั ๆ ช่ือประเดน็ ใน การคิดค้น

ท้าทายอาจประกอบดว้ ย ปรับเปล่ียน

รูปแบบ วธิ ีการ เพอ่ื แก้ปัญหาหรือพฒั นา

แนวทางการคิดค้น ประเด็นนัน้ ๆ

ปรับเปลยี่ น

และกล่มุ เป้าหมาย

เปน็ ตน้

๓๐

วิธกี ารดำเนินการ ผลลพั ธ์การพัฒนาท่ีคาดหวัง
ให้บรรลุผล
เชิงปริมาณ เชงิ คณุ ภาพ

กำหนดวิธกี าร แนวทาง ระบุจำนวนหรือรอ้ ยละ ระบผุ ลของ

ขนั้ ตอนในการดำเนนิ การ ที่บรรลุเปา้ หมาย ความสำเรจ็

พัฒนา การแก้ไขปญั หา ได้ครบถว้ น เป็นรปู ธรรม ท่ีเปน็ รปู ธรรม

พรอ้ มทั้งระบกุ ลุ่มเป้าหมาย ตามขอ้ ตกลง ครบถ้วน

การสร้างและพัฒนาเคร่ืองมอื และมีความถกู ต้อง มีความถูกตอ้ ง

ท่ใี ชต้ ามประเด็นทา้ ทาย และเชอื่ ถือได้ และเช่ือถือได้

ตลอดจนขนั้ ตอนการนำ และปรากฏต่อ

เคร่อื งมือไป คิดค้น ปรบั เปลี่ยน คณุ ภาพผู้เรยี น

เพือ่ แกป้ ญั หาหรือพฒั นา ตามข้อตกลง

ประเด็นน้นั ๆ วิเคราะห์ข้อมูล

และจัดทำรายงานสารสนเทศ

ท่ีเป็นประโยชนต์ ่อการสง่ เสริม

และการสนบั สนนุ การจดั

การศกึ ษาต่อสถานศึกษา

พรอ้ มท้งั เป็นผูน้ ำและสรา้ งผู้นำ

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทางวชิ าชีพเพ่ือคิดคน้

ปรับเปล่ยี น ในการพัฒนา

การจัดการเรียนรู้

และการจัดการศึกษา

สภาพปญั หา

ตำแหนง่ ประเด็นทา้ ทาย ของการจดั การเรยี นรู้

ศึกษานิเทศก์ และการจดั การศกึ ษา
เช่ยี วชาญพิเศษ
เรื่อง............................... ระบุประเดน็ ปัญหา

(การตั้งช่ือประเด็นท้าทาย ประเดน็ การพัฒนา

ต้องแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ปัญหาของผูร้ บั การนิเทศ

ระดบั การปฏบิ ตั ิ รปู แบบและวิธกี าร

ทค่ี าดหวงั แกป้ ัญหาของผูน้ ิเทศ

(สร้างการเปลีย่ นแปลง) รวมถึงแรงบันดาลใจ

ของประเดน็ ท้าทายนนั้ ๆ ใน การสร้าง

ช่อื ประเดน็ ท้าทาย การเปลี่ยนแปลง

อาจประกอบดว้ ย เพื่อแกป้ ัญหาหรือพฒั นา

รูปแบบ วิธีการ ประเดน็ นัน้ ๆ

แนวทางการสร้าง

การเปล่ียนแปลง

และกลมุ่ เป้าหมาย

เป็นต้น

๓๑

วธิ ีการดำเนินการ ผลลพั ธ์การพฒั นาทีค่ าดหวัง
ใหบ้ รรลุผล
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ

กำหนดวิธีการ แนวทาง ระบจุ ำนวนหรือรอ้ ยละ ระบผุ ลของ
ข้นั ตอนในการดำเนินการ ทบี่ รรลเุ ปา้ หมาย ความสำเร็จ
พัฒนา การแกไ้ ขปญั หา ได้ครบถ้วน เป็นรูปธรรม ท่ีเป็นรปู ธรรม
พร้อมทัง้ ระบกุ ลมุ่ เป้าหมาย ตามข้อตกลง ครบถ้วน
การสรา้ งและพฒั นาเครื่องมือ และมีความถกู ต้อง มคี วามถูกตอ้ ง
ทใ่ี ช้ตามประเดน็ ท้าทาย และเชอื่ ถือได้ และเช่อื ถือได้
ตลอดจนขัน้ ตอนการนำ และปรากฏต่อ
เครอื่ งมือไปสร้างการเปลยี่ นแปลง คุณภาพผูเ้ รียน
เพื่อแก้ปัญหาหรือพฒั นา ตามข้อตกลง
ประเด็นนน้ั ๆ วิเคราะห์ขอ้ มูล
และจดั ทำรายงานสารสนเทศ
ที่เปน็ ประโยชนต์ ่อการสง่ เสรมิ
และสนับสนนุ การจัดการศึกษา
ตอ่ สถานศึกษา พร้อมทั้ง
เป็นผนู้ ำและสรา้ งผ้นู ำในการ
แลกเปลย่ี นเรียนรทู้ างวิชาชีพ
เพอ่ื สร้างการเปลี่ยนแปลง
ในการพัฒนาการจัดการเรยี นรู้
และการจดั การศึกษา

สว่ นท่ี ๔
แนวทางการประเมินการพัฒนางานตามขอ้ ตกลง

แนวทางการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.
ที่ ศธ 0206.4/ว 11 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 กำหนดให้ศึกษานิเทศก์จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ทุกปงี บประมาณ (1 ตุลาคม - 30 กนั ยายน ของปีถดั ไป) เพือ่ เสนอให้ผ้บู ังคบั บัญชาพิจารณาใหค้ วามเห็นชอบ
และเมื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้เสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาและการจัดการศึกษา
ตอ่ ผู้บังคบั บัญชาเพ่อื เสนอให้คณะกรรมการประเมนิ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง โดยมีรายละเอียด ดงั น้ี

องคป์ ระกอบการประเมินผลการพฒั นางานตามขอ้ ตกลง
การประเมินผลการพัฒนางาน ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง
จำนวน ๓ คน ประกอบดว้ ย

๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษานน้ั หรอื ผทู้ ่ไี ดร้ บั มอบหมาย เปน็ ประธานกรรมการ
๒) ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษาที่มคี วามรู้ ความสามารถเหมาะสม และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ หรือผทู้ รงคุณวุฒิท่มี ีความรู้ ความสามารถเหมาะสม จำนวน ๒ คน เปน็ กรรมการประเมนิ
ให้คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงของศึกษานิเทศก์ ตามระดับการปฏิบัติ
ที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ ก.ค.ศ. กำหนดในแบบประเมินนี้ โดยการประเมินผลการพัฒนางาน
ตามข้อตกลง ใหด้ ำเนินการประเมินตามองคป์ ระกอบทีก่ ำหนด
องคป์ ระกอบการประเมิน มี ๒ ส่วน ดังนี้
สว่ นท่ี ๑ ขอ้ ตกลงในการพฒั นางานตามมาตรฐานตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน) ประกอบดว้ ย

๑) การปฏิบตั งิ านตามมาตรฐานตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ และมภี าระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
๒) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์ เป็นการประเมินผล
การปฏิบตั งิ านตามหน้าทแี่ ละความรบั ผิดชอบของตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามท่ีกำหนดไว้ในมาตรฐานตำแหน่ง
ท้งั ๓ ดา้ น จำนวน ๑๕ ตัวช้วี ัด ดงั นี้

ด้านที่ ๑ ด้านการนเิ ทศการศึกษา จำนวน ๗ ตวั ช้ีวดั
1) ออกแบบ จดั ทำแผนการนเิ ทศ
2) คดั สรร สรา้ ง พัฒนา สอ่ื นวตั กรรมและเทคโนโลยี
3) ปฏิบัติการนเิ ทศ
4) การพฒั นางานวิชาการ
5) ประสานงานกบั หน่วยงาน สถานประกอบการ
6) ติดตามและประเมินผลการจดั การศกึ ษา
7) รายงานผลการนิเทศ

ด้านท่ี ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนนุ การจดั การศกึ ษา จำนวน ๔ ตวั ช้วี ดั
1) วางแผนการสง่ เสริม สนับสนนุ และพัฒนาการจัดการศึกษา
2) เสรมิ สรา้ งความเขม้ แขง็ ให้กบั สถานศกึ ษา/หนว่ ยงานการศึกษา
3) ติดตามประเมินผลการสง่ เสริม สนับสนุนการจัดการศกึ ษา
4) จดั ทำรายงานสารสนเทศ

๓๓

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ จำนวน ๔ ตัวชี้วดั
1) พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ การใช้ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพศึก ษานิเทศก์
และความรอบรู้ในเน้อื หาท่นี เิ ทศ

2) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อปรับประยุกต์ในการจัดการ
เรียนรู้ และการจดั การศกึ ษา

3) นำความรู้ ความสามารถ ทกั ษะท่ีได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้
ในการพฒั นาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจดั การเรียนรู้ที่มีผล
ต่อคุณภาพครูและผูเ้ รยี น

4) เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษา
และบริการวิชาการแกห่ น่วยงานการศึกษาหรอื หนว่ ยงานต่าง ๆ

ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อ
คณุ ภาพผู้เรียน (คะแนนเตม็ ๔๐ คะแนน)

โดยมีระดบั การปฏบิ ัตทิ ีค่ าดหวัง และระดับคะแนนและคุณภาพการประเมนิ ดงั นี้
๑) ระดับการปฏิบตั ิท่คี าดหวังในตำแหน่งและวิทยฐานะ

ก. กรณีท่ียังไมม่ ีวิทยฐานะ

ตำแหนง่ ระดับทคี่ าดหวัง รายละเอยี ด
ศึกษานเิ ทศก์
ปรับประยุกต์ สามารถปรับประยุกต์การนเิ ทศการศึกษา
(Apply & Adapt) และปฏิบตั ิงาน เพ่ือใหผ้ ้รู บั การนเิ ทศสามารถพฒั นา
การจัดการเรยี นรู้ของผู้เรียนได้ตามมาตรฐานตำแหนง่

ข. กรณีทม่ี วี ทิ ยฐานะ

ตำแหน่ง ระดับท่คี าดหวัง รายละเอียด

ศึกษานเิ ทศกช์ ำนาญการ แก้ไขปญั หา สามารถแก้ปัญหาการนเิ ทศการศึกษา

(Solve the Problem) ให้มีผลต่อผรู้ ับการนเิ ทศและผเู้ รยี น

ศกึ ษานิเทศกช์ ำนาญการพิเศษ ริเร่ิม พัฒนา สามารถริเร่ิม และพฒั นานวตั กรรม ใหผ้ ู้รับ

(Originate & Improve) การนิเทศพัฒนาการจดั การเรยี นร้ขู องผู้เรียน

ศกึ ษานเิ ทศกเ์ ชี่ยวชาญ คิดคน้ ปรับเปล่ียน สามารถคดิ คน้ และปรบั เปล่ยี นนวัตกรรม

(Invent & Transform) ให้ผู้รบั การนิเทศพฒั นาการจัดการเรียนรู้ของผเู้ รียน

ศึกษานเิ ทศกเ์ ชย่ี วชาญพเิ ศษ สร้างการเปลี่ยนแปลง สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชพี

(Create an Impact) เผยแพรแ่ ละขยายผลนวตั กรรม และงานวิจยั

ใหผ้ ู้รับการนิเทศ พัฒนาการจัดการเรียนร้ขู องผ้เู รยี น

๓๔

๒) ระดับคะแนนและคุณภาพการประเมนิ ในแตล่ ะวทิ ยฐานะ
ให้ผู้ประเมินพิจารณาผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ จากการปฏิบัติงานจริงที่ได้ปฏิบัติงาน

ตามลกั ษณะงานทีป่ ฏิบัตติ ามมาตรฐานตำแหน่ง โดยคำนงึ ถงึ สภาพการนเิ ทศการศึกษาตามบริบท สถานศึกษา
หรือหน่วยงานการศึกษา และผลลัพธ์ในการนิเทศการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู สถานศึกษา
และหนว่ ยงานการศกึ ษาท่รี ับผิดชอบ ท่เี กิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไมเ่ น้นการประเมิน
จากเอกสาร โดยตรวจสอบข้อมูลจากบุคคลและหรือหน่วยงาน และหลักฐาน ที่แสดงว่าผู้ขอรับการประเมิน
ได้ดำเนินการ ตามตัวชีว้ ัด เช่น แผนการนิเทศการศึกษา การสังเกตการณ์การนิเทศการศึกษา ผลงาน/ชิ้นงาน
ของผู้รับการนิเทศ และผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ก่อนตัดสินใจให้คะแนนตามระดับคุณภาพในแบบประเมิน
ผลการปฏบิ ตั งิ าน ดงั นี้

คะแนน ระดับคุณภาพ รายละเอียด

๑ ปฏบิ ตั ิได้ต่ำกว่าระดับ ไม่ปรากฏผลการปฏิบัตงิ านได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง/มาตรฐาน

ทคี่ าดหวงั มาก วิทยฐานะที่ดำรงอยู่

๒ ปฏิบตั ไิ ดต้ ำ่ กว่าระดบั มกี ารปฏบิ ัตงิ านตามมาตรฐานตำแหน่งในตัวชี้วดั น้ันอยูบ่ ้าง

ท่ีคาดหวัง แตไ่ ม่ครบถว้ นและไม่มคี ุณภาพตามมาตรฐานตำแหนง่ /มาตรฐาน

วิทยฐานะทด่ี ำรงอยู่

๓ ปฏบิ ตั ิไดต้ ามระดับ มกี ารปฏิบตั ิงานตามมาตรฐานตำแหน่งและมคี ุณภาพตามมาตรฐาน

ทค่ี าดหวงั ตำแหน่ง/มาตรฐานวทิ ยฐานะท่ีดำรงอยู่

๔ ปฏิบตั ิได้สูงกว่าระดบั มกี ารปฏบิ ัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งและมีคุณภาพสูงกว่า

ทค่ี าดหวงั มาตรฐานตำแหน่ง/มาตรฐานวทิ ยฐานะที่ดำรงอยู่

เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน
การให้คะแนนส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การจดั การเรยี นรู้ หรือการจดั การศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรอื พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหนว่ ยงานการศึกษา
ที่ส่งผลต่อคณุ ภาพผูเ้ รียน กำหนดให้มีเกณฑก์ ารให้คะแนนตามระดับคุณภาพ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3
ระดับ 2 และระดับ 1 ในแตล่ ะระดบั คณุ ภาพกำหนดค่าคะแนน ไว้ดังน้ี

ระดบั คุณภาพ ค่าคะแนนที่ได้

4 คะแนนเต็ม 10 คะแนนเต็ม 20
3 10.00 20.00
2 7.50 15.00
1 5.00 10.00
2.50 5.00

๓๕

วธิ ีการประเมิน เกณฑก์ ารประเมิน และเกณฑก์ ารตดั สนิ
วิธีการประเมนิ
การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ใหค้ ณะกรรมการประเมนิ ประเมินผลการพัฒนา

งานตามข้อตกลงของศึกษานเิ ทศก์ ในแต่ละรอบการประเมิน โดยพิจารณาประเมินตามระดับการปฏบิ ัติ
ทีค่ าดหวังของตำแหนง่ และวิทยฐานะตามแบบท่ี ก.ค.ศ. กำหนด ดงั นี้

ระดับการปฏิบตั ิที่คาดหวังของตำแหนง่
๑) ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ ไมม่ ีวทิ ยฐานะ
๒) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วทิ ยฐานะศึกษานิเทศกช์ ำนาญการ
๓) ตำแหน่งศกึ ษานเิ ทศก์ วิทยฐานะศกึ ษานเิ ทศกช์ ำนาญการพเิ ศษ
๔) ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะศึกษานเิ ทศก์เชย่ี วชาญ
๕) ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศกเ์ ชย่ี วชาญพเิ ศษ

เกณฑก์ ารประเมนิ
เกณฑก์ ารประเมนิ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) แบ่งออกเป็น ๒ สว่ น ดังนี้
สว่ นที่ ๑ ข้อตกลงในการในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหนง่ คะแนนเตม็ ๖๐ คะแนน ประกอบดว้ ย

๑) ดา้ นการนิเทศการศึกษา ๒๘ คะแนน
๒) ด้านการสง่ เสริมและสนบั สนุนการจดั การศกึ ษา ๑๖ คะแนน
๓) ดา้ นการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ๑๖ คะแนน
ส่วนที่ ๒ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
หรือการจัดการศึกษา ของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา
ที่ส่งผลตอ่ คุณภาพผู้เรยี น (๔๐ คะแนน) ประกอบดว้ ย
๑) วธิ ดี ำเนินการ ๒๐ คะแนน
๒) ผลลพั ธ์การเรยี นรขู้ องผูเ้ รยี นทีค่ าดหวัง ๒๐ คะแนน

เกณฑก์ ารตัดสนิ
ศึกษานิเทศก์ต้องมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมิน การพัฒนางาน
ตามขอ้ ตกลง ผ่านเกณฑ์ ต้องไดค้ ะแนนจากกรรมการแตล่ ะคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐

แบบประเมนิ ผลการพัฒนางานตามขอ้ ตกลง
แบบประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งศกึ ษานเิ ทศก์ มแี บบประเมนิ ผล และแบบสรุปผลการประเมนิ ดงั นี้
๑) PA ๒/ศน. ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์
๒) PA ๒/ศน. ตำแหนง่ ศกึ ษานเิ ทศก์ วิทยฐานะศกึ ษานิเทศก์ชำนาญการ
๓) PA ๒/ศน. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศกึ ษานิเทศกช์ ำนาญการพเิ ศษ
๔) PA ๒/ศน. ตำแหน่งศกึ ษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานเิ ทศก์เช่ยี วชาญ
๕) PA ๒/ศน. ตำแหน่งศกึ ษานิเทศก์ วทิ ยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพเิ ศษ
๖) PA ๓/ศน. แบบสรุปผลการประเมินผลการพฒั นางานตามขอ้ ตกลง (PA)
(รายละเอียดปรากฏในภาคผนวก รายการที่ ๓)

ส่วนท่ี ๕
การขอมีวทิ ยฐานะหรอื เลอ่ื นวิทยฐานะ

การประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดแบบเสนอขอ
รับการประเมินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ที่จะขอรับการประเมินต้องยึดรูปแบบ
ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนดเท่านั้น จึงจะได้รับการประเมิน ในส่วนที่ 5 ได้นำรูปแบบสำหรับตำแหน่ง
ศึกษานิเทศก์ เพื่อยื่นขอรับการประเมิน ตามแบบของสำนักงาน ก.ค.ศ. ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อน
วทิ ยฐานะศกึ ษานเิ ทศก์ มีขัน้ ตอนการขอมีวทิ ยฐานะหรือเล่ือนวทิ ยฐานะดังตอ่ ไปน้ี

คุณสมบตั ิของผ้ขู อรับการประเมนิ

กรณีปกติ
๑. ผูข้ อมวี ิทยฐานะศึกษานิเทศกต์ ้องมีคุณสมบตั นิ ับถึงวันทยี่ ่นื คำขอ ดงั ตอ่ ไปนี้

๑.๑ การขอมีวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์
มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปีติดต่อกัน หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า การขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะ
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์
ชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า การเลื่อนเป็น
ศกึ ษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วทิ ยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
มาแลว้ ไม่น้อยกวา่ 4 ปตี ดิ ต่อกัน หรือดำรงตำแหน่งอ่นื ที่ ก.ค.ศ. เทยี บเทา่ และการขอเล่อื นเปน็ ศึกษานิเทศก์
เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ มาแล้ว
ไม่น้อยกวา่ 4 ปีตดิ ต่อกนั หรอื ดำรงตำแหน่งอ่นื ที่ ก.ค.ศ. เทยี บเท่า สรปุ ดังตารางได้ดงั นี้

ขอมีวิทยฐานะ ขอเลอื่ นเป็นวิทยฐานะ ขอเลอื่ นเปน็ วิทยฐานะ ขอเลือ่ นเป็นวิทยฐานะ
ชำนาญการ ชำนาญการพเิ ศษ เชีย่ วชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ

ดำรงตำแหน่งศึกษานเิ ทศก์ ดำรงตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ ดำรงตำแหนง่ ศกึ ษานเิ ทศก์ ดำรงตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์
ไม่น้อยกว่า ๔ ปี วทิ ยฐานะชำนาญการ วิทยฐานะชำนาญการพเิ ศษ วทิ ยฐานะเชย่ี วชาญ
ไมน่ อ้ ยกวา่ ๔ ปี ไมน่ อ้ ยกวา่ ๔ ปี
ไม่น้อยกวา่ ๔ ปี

๑.๒ มีการพัฒนางานตามข้อตกลงในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน
โดยในแต่ละรอบการประเมินต้องมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ ๗๐

๑.๓ มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๔ ปี
ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่เคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดทางจรรยาบรรณวิชาชีพ
ที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ หากปีใดศึกษานิเทศก์ถูกลงโทษทางวินัยหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือถูกวินิจฉัยชี้ขาด
ทางจรรยาบรรณวิชาชีพท่หี นักกว่าภาคทัณฑ์ ไมใ่ ห้นำระยะเวลาในปีนนั้ มาใชเ้ ป็นคณุ สมบัติตามข้อน้ี

กรณีผู้ขอมีคณุ สมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือการดำรงวิทยฐานะ
ของผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ลดระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๑.๑
เหลือ ๓ ปีติดต่อกัน มีผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๑.๒ จำนวน ๒ รอบการประเมิน
และลดช่วงระยะเวลาตามหลกั เกณฑ์ข้อ ๑.๓ เหลือ ๓ ปี


Click to View FlipBook Version