The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2021-12-17 09:21:22

แนวทางนิเทศการจัดการเรียนรู้ Active Learning

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวทางการนิเทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรกุ

(Active Learning)

หน่ วยศึกษานิ เทศก์

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน

เอกสารลาดบั ที่ 4/2564

คำนำ

แนวทางการปฏริ ูปประเทศด้านการศกึ ษา กาหนดทิศทางการจัดการศกึ ษาให้ปฏิรปู การเรยี นการ
สอนเพื่อตอบสนองการเปลย่ี นแปลงในศตวรรษท่ี 21 โดยใหม้ กี ารปรบั ปรงุ หลกั สูตร ปรับปรุงการจดั การ
เรียนการสอน และการประเมินผลเพ่ือการเรียนรู้ท่ีมุ่งเน้นสมรรถนะ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ
กระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา การต้ังคาถามและแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้มากข้ึน ครูลดวิธีการสอนด้วยการบอกเล่า การให้
ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงไปเป็นการสอนแบบมีส่วนร่วม จัดกระบวนการเรยี นรู้และกิจกรรมที่ทาให้
ผู้เรียนกระตือรอื รน้ ในการเรยี นร้แู ละปฏิบัตกิ ิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ใหผ้ เู้ รยี นได้เรยี นรู้ด้วย
ตนเอง เป็นการจัดการเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยครูสามารถนาการเรยี นรูเ้ ชิงรกุ ไปใช้ในการ
จดั การเรยี นการสอนในกลุม่ สาระการเรยี นร้หู รอื รายวชิ า รวมถึงกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียนอ่ืน ๆ

การนิเทศการศึกษา เป็นกิจกรรมสาคัญในการใหค้ าแนะนะ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนการ
จัดการเรียนรูเ้ ชิงรกุ เป็นการนิเทศเพ่ือปรับเปล่ยี นพฤติกรรมการสอนของครูให้เป็นโค้ช (Coach) หรอื
ผู้แนะนาการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสรมิ การ
เรียนรู้อนื่ ๆ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน ได้จัดทาเอกสารการนิเทศการจดั การเรียนรู้
เชงิ รกุ (Active Learning) เพอื่ เปน็ แนวทางในการนเิ ทศ ติดตาม ช่วยเหลอื แนะนาการจัดการเรียนรเู้ ชงิ
รุกของศกึ ษานิเทศกแ์ ละผู้เก่ียวขอ้ งต่อไป

ขอขอบคุณคณะทางาน และผู้เก่ียวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมระดมความคิด ให้ความร่วมมือจัดทา
เอกสารฉบบั นี้ จนสาเร็จลุล่วงด้วยดี

สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน
พฤษภาคม 2564

สารบญั หน้า

คานา 1
สารบัญ 4
บทนา 20
การนิเทศการศกึ ษา 34
การจดั การเรยี นรเู้ ชิงรุก (Active Learning) 46
การนเิ ทศการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รกุ 53
เครื่องมือนเิ ทศการจัดการเรยี นรูเ้ ชิงรกุ 54
บรรณานกุ รม
ผจู้ ัดทา

สารบัญภาพ

ภาพท่ี 1 การเปลย่ี นแปลงของโลกและสงั คม 1
ภาพที่ 2 ความสมั พันธข์ องกระบวนการสาคัญในการจัดการศกึ ษา 2
ภาพท่ี 3 ความจาเปน็ ของการนิเทศการจดั การเรียนรู้เชิงรกุ 3
ภาพที่ 4 กรวยแห่งการเรียนรู้ 22
ภาพที่ 5 การเปดิ พ้นื ทีก่ ารเรยี นรู้และโอกาสของผู้เรยี น 29
ภาพที่ 6 หลกั การออกแบบการเรยี นรู้ในยุค new normal 30
ภาพที่ 7 ขั้นตอนการออกแบบการเรยี นรู้ในยุค new normal 31
ภาพท่ี 8 กระบวนการนเิ ทศการศกึ ษา 37
ภาพที่ 9 กระบวนการนิเทศทางไกล 45

ตอนท่ี 1
บทนำ

การเปลีย่ นแปลงของโลกและสังคม ภาพ 1 การเปลยี่ นแปลงของโลกและสังคม
สง่ ผลใหเ้ กดิ แนวคดิ เกย่ี วกบั กระแสโลกาภวิ ฒั น์
เปล่ียนวัฒนธรรมสื่อสารระดับโลก ระบบ
สารสนเทศ และวัฒนธรรมบริโภคแบบทุนนิยม
ก้าวสู่การปฏิวัติด้านเทคโนโลยี ดิจิตัล และ
ป ฏิ วั ติ ธุ ร กิ จ ค ร้ั ง ใ ห ญ่ มี ก า ร ส่ื อ ส า ร ไ ฮ เ ท ค
ดาวเทียมและคอมพิวเตอร์ ทาให้ติดต่อกันได้
รวดเร็ว ในด้านการศึกษามีการจัดการศึกษาที่
เป็นสากลมากข้ึน เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายด้วย
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้
ท่ีตอบสนองโลกยคุ ใหม่

การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กาหนดให้
มีการปรับเปลยี่ นบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบการ
เรียนรู้ เชิงบูรณาการที่เน้นลงมือปฏิบัติ การสะท้อนความคิด/ทบทวนไตร่ตรอง โดยเน้นการเรียน
การสอนทเ่ี สรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ิต และนามาใชต้ ่อยอดในการประกอบอาชพี ไดจ้ รงิ ปรับเปล่ยี นบทบาทเปน็
ครูยุคใหม่ จัดการเรียนการสอนเพ่ือส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 ครูต้อง
ปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
มีทักษะชีวิตและการทางาน ทักษะด้านสารสนเทศสอ่ื เทคโนโลยี ซ่ึงวิธีการจดั การเรยี นรู้ของครูยคุ ใหม่
และปรับเปลยี่ นวิธีการเรยี นร้ขู องผเู้ รียนท่สี าคัญ คือการจัดการเรียนรูเ้ ชิงรุก (Active Learning) ซึ่งเป็น
การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดข้ันสูง (Higher-
Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ ประเมินค่าและสร้างสรรค์ ไม่ได้เป็นแต่ผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่านเขียน
ตง้ั คาถามและถาม อภปิ รายร่วมกัน และลงมือปฏิบัติจรงิ

แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (พ.ศ.2561-2565) มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับ
การศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จาเป็นของโลกอนาคต ปรับตัว ส่ือสาร และทางานร่วม
กับผ้อู ่นื ได้ มวี ินัย มีนสิ ยั ใฝเ่ รียนรู้ต่อเนอ่ื งตลอดชีวติ เปน็ พลเมอื งท่รี ู้สทิ ธิและหนา้ ท่ี มีความรบั ผดิ ชอบ

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนร้เู ชงิ รุก (Active Learning) pg. 1

และมีจิตสาธารณะ โดยมีกิจกรรมปฏิรูปที่สง่ ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสาคัญ
(Big Rock)เร่ืองการจัดการเรียนการสอนเพ่ือตอบสนองการเปล่ียนแปลงในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติ เป็นผู้มีความรู้ มีทักษและใฝ่เรียนรู้
(Learning Skills) เชื่อมโยงความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง มีทักษะชีวิต (Life Skills) ในโลกยุคใหม่
เป็นพลเมืองท่ีตื่นรู้ (Active Citizen) ตัวช้ีวัดที่สาคัญ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการ
พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนา
สมรรถนะผเู้ รียนแบบ Active Learning

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กาหนดนโยบาย “การศึกษาข้ันพื้นฐานวิถีใหม่
วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาท่ีคุณภาพอยา่ งเท่าเทยี ม
บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พื้นท่ีเป็นฐานและใช้นวัตกรรมในการขับเคล่ือน และเพ่ิม
ประสิทธิภาพการนิเทศ ติดตามและประเมนิ ผลการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน ในการขับเคลื่อนนโยบายไปสกู่ าร
ปฏิบัติในระดับสานักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาและระดับสถานศึกษา ใช้กระบวนการคุณภาพ 3 ส่วน คือ
กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการนิเทศการศึกษา ซ่ึงมี
ความสัมพันธ์สอดคล้องเช่ือมโยงกัน ในกระบวนการนิเทศการศึกษา ศึกษานิเทศก์เป็นบุคลากรหลัก
ในการขับเคล่ือนนโยบายด้านการศึกษาไปส่กู ระบวนการจดั การเรยี นการสอน ด้วยกิจกรรมและวธิ ีการ
นเิ ทศทเี่ หมาะสม ผา่ นการวิเคราะห์ สงั เคราะห์ และวิจัย กาหนดแนวทาง วิธกี ารนิเทศ ประสาน สง่ เสรมิ
สนบั สนนุ ช่วยเหลอื แนะนา กากับ ตดิ ตามการดาเนินงานของสถานศกึ ษา เพอื่ พัฒนาคุณภาพการศกึ ษา
ใหม้ ีประสทิ ธิภาพสูงสดุ

ภาพ 2 ความสมั พันธ์ของกระบวนการสาคัญในการจดั การศึกษา

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรูเ้ ชงิ รกุ (Active Learning) pg. 2

กระบวนการนเิ ทศการศึกษา ศึกษานิเทศก์หรือผู้นเิ ทศตอ้ งมคี วามรู้ มีทักษะ เทคนคิ และวธิ ีการ
นิเทศท่ีหลากหลาย เพื่อให้ภารกจิ การนเิ ทศเกิดประสทิ ธิภาพสงู สดุ ช่วยเหลือครูผู้รับการนิเทศให้จดั การ
เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษานิเทศก์หรอื ผู้นิเทศทาหน้าทีเ่ ป็นพี่เล้ยี งผูส้ นับสนุนให้
คาแนะนา ช่วยเหลือในการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้รับการนิเทศอย่างต่อเน่ือง เพ่ือให้การพัฒนา
คุณภาพของผเู้ รียนตรงตามเป้าหมายท่ีกาหนดไว้

การนิเทศเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนปรับเปลย่ี นวิธีการจัดการเรียนรู้จากรูปแบบเดมิ
Passive Learning ไปเป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ศึกษานิเทศก์หรือผู้นิเทศต้องมี
ความรู้ความเขา้ ใจ ข้ันตอนการวิเคราะหห์ ลกั สูตร การออกแบบการจดั การเรยี นรู้ การวดั และประเมินผล
ที่ส่งเสริมการจัดการเรยี นรู้ท่ีมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะทีต่ ้องการด้วยกระบวนการเรียนรู้เชงิ รกุ
(Active Learning) รวมถงึ ต้องรูจ้ กั ขอ้ มูลพนื้ ฐานของครูและผเู้ รียน เพอื่ ช่วยสนบั สนุนการจัดการเรยี นรู้
ให้บรรลุเป้าหมาย และเกดิ ประโยชนต์ ่อผเู้ รยี น

จากนโยบายของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน ด้านประสทิ ธิภาพ ท่กี าหนดใหม้ ี
การเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการนิเทศ ติดตามและประเมนิ ผลการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน เพ่ือส่งเสริมการจดั การเรยี นรู้
ให้สอดคล้องกับการเปลย่ี นแปลงของโลก และการพัฒนาผูเ้ รียนให้เกิดทักษะท่ีจาเป็นในศตวรรษที่ 21
จึงจัดทาแนวทำงกำรนิเทศกำรจัดกำรเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขึ้น เพ่ือเป็นแนวทางให้กับ
ศึกษานเิ ทศกใ์ ช้ในการปฏบิ ัติงานนิเทศ และสง่ เสริม สนบั สนุนให้ศึกษานิเทศก์ใช้กระบวนการนเิ ทศ เพ่ือ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรยี นรู้ของครูใหเ้ ป็นครูยคุ ใหม่ เน้นให้ผู้เรยี นมปี ฏิสัมพันธ์กับการเรยี นรู้
เกิดกระบวนการคิดข้ันสูง ลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาผู้เรยี นให้เกิดทักษะที่จาเปน็ ต่อการใช้ชีวิตประจาวนั
และการประกอบอาชีพในอนาคต

ภาพ 3 ความจาเป็ นของการนิเทศการจดั การเรียนรู้เชิงรุก

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนรเู้ ชงิ รุก (Active Learning) pg. 3

ตอนท่ี 2
การนเิ ทศการศกึ ษา

1. ความร้เู บ้ืองต้นเกยี่ วกับการนเิ ทศการศกึ ษา
จากการเปล่ียนแปลงของสงั คมโลกในปัจจุบัน งานด้านการศึกษามีความเจรญิ ก้าวหนา้ มากมาย

มีการเปล่ียนแปลงในหลายด้าน เช่น การปรับเปล่ียนหลักสูตร ความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพ่ิมขึ้น
แนวความคิดและแนวการจัดการเรียนการสอนใหม่ ๆ เพ่ิมข้ึน มีการเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของการ
จัดการศึกษาให้ทันต่อยุคสมัย แต่ยังพบว่า บุคลากรท่ีเก่ียวข้อง อาทิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ
ผู้เก่ียวข้องอ่ืน ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการ การดาเนินงานให้ทันต่อความเปล่ียนแปลงและแก้ไข
ปัญหาได้ จาเป็นต้องมีบุคลากรท่ีสามารถเข้าไปช่วยเหลือ แนะนา ร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ซึ่งได้แก่ บคุ ลากรที่ทาหน้าท่เี ปน็ ผู้นเิ ทศ หรือศึกษานเิ ทศก์ ซงึ่ มีหนา้ ทีน่ เิ ทศ ช่วยเหลอื แนะนา รว่ มแกไ้ ข
ปัญหาทางการศึกษาใหค้ รมู ีความเจริญงอกงามทางวิชาการ สามารถพ่ึงตนเองได้ และนาความรเู้ หลา่ น้ี
ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น การนิเทศการศึกษา จึงมีความสาคัญ
ท่ีศึกษานิเทศก์ควรจะได้ศึกษาและทาความเข้าใจในหลักการ กระบวนการ และวิธีการของการนิเทศ
การศึกษา เพื่อใหเ้ กิดความเขา้ ใจเรอื่ งการนิเทศและสามารถนามาใช้ในการพฒั นาการเรยี นการสอนต่อไป

แนวคิดเก่ยี วกบั การนเิ ทศการศกึ ษา
ศาสตร์และวิธีการทางการนิเทศการศึกษา จากเอกสารตาราที่เผยแพรต่ ้ังแต่อดีตจนถงึ ปจั จบุ นั
ให้นิยามหรือให้ความหมายการนิเทศ รวมถึงบทบาทหน้าที่ และการปฏิบัติงานการนิเทศการศึกษา
แตกต่างกันไป ตามช่วงเวลา ปัจจุบันเมื่อพูดถึงคาว่านิเทศ (Supervision) หมายรวมถึงการนิเทศ
การศึกษาและนิเทศการสอน ซ่ึงมีเป้าหมายหลักเดียวกัน คือ คุณภาพการศึกษาและตัวบ่งชี้คุณภาพ
คุณภาพที่สาคัญ คือ คุณภาพของนักเรยี นหรอื ประสิทธิผลการเรยี นร้ขู องนักเรยี น ความหมายของคาวา่
การนิเทศการศึกษา (Educational Supervision) จึงมีความหมายกว้างกว่าการนิเทศการสอน
(Supervision of Instruction หรือ Instructional Supervision) เพราะในการนิเทศการสอน คาว่า
“การสอน” มคี วามหมายท่ีมงุ่ เน้นการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนโดยตรง การนเิ ทศการสอนจงึ เปน็
ส่วนย่อย (Subset) ท่ีสาคัญส่วนหน่ึงของการนิเทศการศึกษา หมายความว่า การนิเทศการศึกษาต้องมี
การนิเทศการสอนรวมอยู่ด้วย จึงจะทาให้เกิดการปรบั ปรงุ และพฒั นาในด้านการจัดการเรียนการสอน
โดยตรงได้ เนอ่ื งจากท้งั การนิเทศการศึกษาและการนเิ ทศการสอนมที ฤษฎี แนวทางการปฏบิ ัติ หลกั การ
แนวคิด เดยี วกัน (สน สวุ รรณ, 2556)

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) pg. 4

ในการนิเทศการศึกษา ต้องดาเนนิ การตามหลักวชิ าการท่ถี ูกต้อง มีแผนการดาเนินงานเป็นลาดบั
ข้นั ตอน ดว้ ยเหตนุ ้ี การนิเทศการศกึ ษาจึงเป็นทั้งศาสตรแ์ ละศลิ ป์ เปน็ กระบวนการที่ชว่ ยใหค้ รพู ฒั นาการ
จัดกิจกรรมการเรยี นร้แู ละปรับเปล่ียนกระบวนทศั น์ในการสอนให้ทันต่อการเปลยี่ นแปลง มีความพรอ้ ม
ในการพฒั นาผู้เรยี นให้มคี ณุ ภาพ มคี ณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ในฐานะเปน็ พลเมืองไทยและพลโลก

2. ความหมายของการนเิ ทศการศึกษา

นักการศึกษาให้ความหมายของการนิเทศการศึกษา (Educational Supervision) ตามความ
เชื่อและแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาท่ีมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ขึ้นอยู่กับ
จดุ มงุ่ หมายและแนวทางการจัดการศึกษาในแตล่ ะยคุ เช่นเดียวกับแนวคดิ การนเิ ทศการศึกษา ทงั้ ในและ
ต่างประเทศ เช่น กูด (Good, 1973) กล่าวว่าการนเิ ทศการศึกษา หมายถึง ความพยายามทุกชนดิ ของ
ฝ่ายการศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่นิเทศแนะนาครูหรือผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับการศึกษา ให้รู้จัก
ปรับปรุงวธิ สี อน ทาใหเ้ กดิ ความเจริญงอกงามทางดา้ นวชิ าชีพทางการศึกษา ช่วยพัฒนาครู ช่วยเหลือและ
ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา เนื้อหาและวิธีการสอน ช่วยเหลือและปรบั ปรุงการประเมินผลการ
เรียน ส่วน Harris (แฮร์ริส, 1985) ให้ความหมายว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง การท่ีบุคลากร
ในโรงเรยี นได้กระทากับบคุ คลหรอื สงิ่ อ่นื ใด เพ่ือคงไว้หรือเปลย่ี นแปลงการปฏิบัตงิ านของโรงเรยี น ซึง่ จะมี
ผลโดยตรงต่อการบรรลุเปา้ หมายทางการสอนของโรงเรียน นักการศึกษาในประเทศ เช่น ชารี มณีศรี
(2542) ให้ความหมายว่า การนิเทศการศึกษา คือ กระบวนการพัฒนาการสอนให้ดีข้ึน การร่วมมือกัน
ระหว่างผู้เกี่ยวข้องโดยใช้หลักประชาธิปไตยในการนิเทศ วัชรา เล่าเรียนดี (2550) ให้ความหมายว่า
การนเิ ทศ หมายถึง กระบวนการปฏิบัตงิ านร่วมกนั ช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมกันระหว่างผใู้ หก้ ารนเิ ทศ
และผูร้ ับการนเิ ทศ เพอื่ ท่ีจะพัฒนาหรือปรบั ปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ตอ้ งอาศัยความ
ร่วมมือของบุคลากรทุกฝา่ ยเพือ่ เป้าหมาย คือ คุณภาพการศึกษาและคุณภาพผเู้ รยี น เก็จกนก เอื้อวงศ์
(2564) กล่าววา่ การนิเทศการศึกษา คือ กระบวนการปฏิบตั งิ านร่วมกันระหว่างผูน้ เิ ทศกบั ผรู้ ับการนเิ ทศ
ท่ีจะช่วยเหลือ ให้คาปรึกษา แนะนาให้พัฒนาการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพ่ือให้เกิด
ความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนให้เปน็ ไปตามเป้าหมายของ
การศึกษา สอดคล้องกับสงัด อุทรานันท์ (2530) ที่สรุปประเด็นสาคัญไว้ว่า การนิเทศการศึกษาเป็น
กระบวนการทางานรว่ มกันของคณะครูและบคุ ลากรทางการศึกษา เพ่อื ใหไ้ ด้มาซึง่ ผลสัมฤทธส์ิ ูงสดุ ในการ
เรยี นของผู้เรยี น เป็นต้น

สรุปความหมายของการนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรูใ้ ห้ดีย่ิงข้ึน โดยใช้ทักษะ เทคนิคและ
วธิ ีการแนะนา ชว่ ยเหลอื ของผู้นิเทศผ่านการมสี ่วนร่วม การเคารพซงึ่ กนั และกนั ของผ้นู ิเทศและผรู้ บั การ
นิเทศ เพือ่ เพ่มิ ประสิทธิภาพการจดั การศกึ ษาที่สง่ ผลต่อคุณภาพของผู้เรยี น

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรูเ้ ชงิ รกุ (Active Learning) pg. 5

3. จดุ มงุ่ หมายของการนเิ ทศการศึกษา

การกาหนดจุดมงุ่ หมายของการนเิ ทศการศึกษา จะเปน็ แนวทางในการปฏิบตั ิการนเิ ทศใหบ้ รรลุ
จดุ มุง่ หมายน้ันได้อย่างมีประสทิ ธิผล มนี ักการศึกษาหลายท่านไดน้ าเสนอไว้ ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปน้ี

Glickmam and other (1990, 1995, 1997, 2001, 2010) ได้กาหนดเป้าหมายของการนเิ ทศ
แบบพัฒนาการ (Developmental Supervision) เพือ่ การปรบั ปรงุ การเรียนรู้ของนกั เรยี น (Improved
Student Learning) โดยผ่านการให้การนิเทศครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา ในสาคัญต่อไปน้ี คอื

1. การให้ช่วยเหลอื ครโู ดยตรง (Direct Assistance)
2. การพฒั นากลมุ่ (Group Development)
3. การพฒั นาหลกั สตู ร (Curriculum Development)
4. การพัฒนาวชิ าชีพ (Professional Development)
5. การวิจยั เชงิ ปฏิบัติการ (Action Research)
6. การสร้างชุมชนแห่งการเรยี นรู้ การส่งเสรมิ การเปลยี่ นแปลงทีค่ านึงถงึ ความ
แตกต่างกนั ในดา้ นต่าง ๆ (Building Community, Facilitating Change and Addressing Diversity)
สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการนิเทศไว้ว่า มีจุดมุ่งหมายสาคัญ 4
ประการ คอื
1. เพื่อพัฒนาคน เป็นกระบวนการทางานรว่ มกันกับครแู ละบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อใหค้ รูและบุคลากรเหล่าน้ัน ไดเ้ ปล่ยี นแปลงพฤตกิ รรมในทางทด่ี ีข้นึ
2. เพอื่ พฒั นางาน เป็นการพัฒนาท่ีมีเปา้ หมายสูงสดุ อย่ทู ี่ผู้เรียน ซึง่ เปน็ ผลผลติ จาก
การจดั กระบวนการเรยี นรู้ของครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา
3. เพือ่ สรา้ งการประสานสมั พนั ธ์ เป็นผลท่ีเกิดข้นึ จากการทางานรว่ มกนั ผลดั เปลีย่ น
กันเป็นผ้นู าและผ้ตู าม ซึง่ ไมใ่ ชเ่ ปน็ การทางานภายใต้การถูกบงั คับและคอยตรวจตรา
4. เพ่อื สร้างขวัญและกาลังใจ ซึง่ ถือวา่ ขวญั และกาลังใจเปน็ สิ่งสาคญั ทจี่ ะทาให้บคุ คล
มีความต้ังใจทางาน หากการนิเทศไม่ได้ทาการสร้างขวัญและกาลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว การนิเทศ
การศึกษาย่อมประสบผลสาเร็จไดย้ าก
วัชรา เล่าเรียนดี (2556) สรุปจุดมุ่งหมายการนิเทศไว้ว่า เพ่ือช่วยเหลือสนับสนุนให้ครู
สามารถพัฒนางานในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลถึงผู้เรียนและ
คณุ ภาพการศกึ ษาโดยรวมในท่ีสดุ

สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน มจี ดุ ม่งุ หมายการนิเทศการศึกษา คือ
1. เพ่ือใหโ้ รงเรียน บุคลากร และนกั เรยี นมคี ณุ ภาพและมาตรฐานตามท่กี าหนดในแตล่ ะระดับ
การศกึ ษาและสถานศึกษาแต่ละแห่ง

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรยี นรเู้ ชิงรุก (Active Learning) pg. 6

2. เพ่ือให้โรงเรียนสามารถนานโยบายสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลตาม
วัตถุประสงค์

3. เพ่ือให้โรงเรียนสามารถบริหารและจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายของ
หน่วยงานตน้ สังกัด โดยเปน็ ไปตามบริบทของแตล่ ะโรงเรียน

4. เพอ่ื ชว่ ยเหลอื ช้ีแนะและพฒั นาบุคลากรของโรงเรยี น ไดเ้ พม่ิ พูนความรู้ ทักษะในการจัดการ
จัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงานและการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ สามารถคิดสร้างสรรค์งานหรือ
นวัตกรรมทางการศกึ ษา เพ่ือให้เกดิ ประโยชน์สูงสดุ ต่อตนเอง ตอ่ ผู้เรียน และสว่ นรวม

5. เพ่ือให้มกี ารแลกเปล่ยี นเรียนรู้ เก่ยี วกบั การจดั การศึกษาทัง้ ภายในโรงเรยี น ระหว่างโรงเรยี น
และหนว่ ยงานต้นสังกดั

4. ความจาเปน็ ของการนิเทศการศึกษา
การนิเทศการศึกษา เป็นภารกิจของศึกษานิเทศก์ ที่ดาเนินการเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา

โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันทมี่ กี ารเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และการปรับเปล่ียนนโยบายของหน่วยงาน
ต้นสังกัด เช่น การปรับเปลี่ยนหลักสูตรที่มุ่งสู่สมรรถนะ และการปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
สถานศกึ ษาจงึ มคี วามจาเปน็ ท่ตี ้องไดร้ ับการนเิ ทศ ซึ่งมผี กู้ ล่าวถงึ ความจาเป็นในการนิเทศการศกึ ษา ดังนี้
(อญั ชลี ธรรมะวธิ กี ลุ , 2552)

1. การปฏิรูปการศึกษา การปรับนโยบายของรัฐบาล มีการปฏิรูปการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
การทางานของครใู นสภาพแวดลอ้ มทีก่ าลงั เปล่ียนแปลง ทง้ั ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีด้านดจิ ิทัล

2. การเปล่ียนแปลงทางสังคม การศึกษาจาเป็นต้องปรับเปล่ียนให้สอดคล้องกับการ
เปลย่ี นแปลงของสังคม การนเิ ทศการศกึ ษาจะชว่ ยทาใหเ้ กิดความเปลีย่ นแปลงข้ึนในองคก์ ารทเี่ กี่ยวข้อง
กบั การศึกษา คือโรงเรียนหรือสถานศึกษา

3. การเจริญก้าวหน้าของศาสตร์วิชาความรู้ ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ พัฒนาเพิ่มข้ึนโดยไม่
หยุดย้ัง แนวคิดในเรือ่ งการจดั กระบวนการเรียนรู้เกดิ ขน้ึ ใหม่อยู่ตลอดเวลา การนิเทศการศึกษาจะชว่ ย
ทาให้ครูมีความรู้ ทักษะที่ทนั สมัยอยูเ่ สมอ

4. การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งท่ีสังคมยอมรับว่าสามารถพัฒนางานได้ การแก้ไขปัญหาและ
อุปสรรคต่าง ๆ เพ่ือให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาข้ึน จาเป็นต้องได้รับการช้ีแนะหรือการนิเทศ
การศกึ ษา จากผ้ชู านาญการโดยเฉพาะ จึงจะทาใหแ้ ก้ไขปญั หาไดส้ าเร็จลุล่วง

5. การจัดการศึกษาของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ จะต้องมีการ
ควบคุม ดแู ลด้วยระบบการนิเทศการศึกษา ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) pg. 7

6. การนเิ ทศการศึกษาเป็นกจิ กรรมทมี่ ีความจาเป็นต่อการพัฒนาการทางานของครู แมว้ ่าครู
จะได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ครูก็จะต้องปรับปรุงฝึกฝนตนเองอยู่เสมอในขณะท่ีทางาน
ในสถานการณจ์ รงิ

7. มีความจาเป็นต่อการช่วยเหลือครูในการเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน่ืองจากครู
ต้องไดร้ บั การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ให้ทันตอ่ การเปล่ยี นแปลงและนวตั กรรมใหม่ ด้วยวธิ ีการท่ีหลากหลาย

8. การพัฒนาครูให้ทันสมัย การนิเทศการศึกษามีความจาเป็นต่อการส่งเสรมิ ให้ครูเป็นบคุ คล
แห่งการเรียนรู้ที่ทนั สมยั อยเู่ สมอ เนอื่ งจากการเปลี่ยนแปลงทางสงั คม วิทยากร เทคโนโลยีที่มอี ยูเ่ สมอ

สาหรับการนิเทศการจดั การเรียนการสอน เป็นการนิเทศเพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียน
การสอน การวัดและประเมินผล ทาให้ทราบว่าผ้เู รยี นบรรลุตามวัตถุประสงค์ท่กี าหนดไว้หรือไม่ หากไม่
บรรลผุ ลตามทกี่ าหนด จะต้องดาเนินการอย่างไร การนิเทศจงึ มีความจาเป็นอย่างยงิ่ ดว้ ยเหตุผลดังนี้

1) มคี วามจาเปน็ ท่ีจะให้บริการทางวชิ าการแก่ครู ท่มี อี ยเู่ ปน็ จานวนมากและมีความสามารถ
แตกต่างกัน ทั้งน้ี เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่สาคัญท่ีสุดในการพัฒนาผู้เรียน
มีความยุ่งยากและซับซอ้ น จึงตอ้ งอาศยั ผู้เช่ยี วชาญในด้านการสอนมาช่วยครูในการจดั การเรยี นการสอน
ให้ดีย่ิงข้ึน เป็นการทางานท่ีร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีเป้าหมายร่วมกัน คือ การพัฒนาให้มี
คุณภาพของผูเ้ รียน

2) มีความจาเป็นต่อความเจรญิ งอกงามของผสู้ อน เนอ่ื งจากการนเิ ทศเปน็ การชว่ ยเหลอื ผสู้ อน
ให้ได้รบั การฝึกฝน พฒั นาตนเองอย่เู สมอ ตอ้ งยอมรับว่าผู้สอนไดร้ บั การฝกึ ฝน อบรม ศึกษา เลา่ เรยี นจน
สาเร็จมากจากสถานศึกษาต่าง ๆ มาเป็นอย่างดีแล้ว เม่ือได้ไปปฏิบัติการสอนในสถานการณ์จริงและ
กาลเวลาผา่ นไป และความก้าวหนา้ ทางวิทยาการและแนวคดิ ใหม่ ๆ โดยเฉพาะในดา้ นการเรียนการสอน
มีพัฒนาการท่ีเปล่ียนแปลงไปอย่างมาก หากผู้สอนไดรับการนิเทศ ช่วยเหลือในการพัฒนาการจัดการ
เรยี นการสอน จะสามารถพฒั นางานอาชีพของตนเองได้เปน็ อย่างดี เกิดความเจริญงอกงามในอาชพี ครูได้

3) มคี วามจาเปน็ ต่อการชว่ ยเหลอื ผ้สู อนในการลดภาระการเตรียมการสอนได้ การนิเทศเปน็
การชี้แนะ ช่วยเหลือ แนะนาแนวทางพัฒนาการสอนของครูให้ตรงกับประเด็นปัญหาของผู้เรียน
ช่วยลดเวลาและภาระงานสอนได้ เพราะการสอนมีวธิ กี ารท่ีหลากหลาย สามารถเลือกไดต้ ามภาวะนน้ั ๆ

4) มีความจาเป็นต่อการทาให้ผู้สอนเป็นบุคคลท่ีทันสมัยอยู่เสมอ ความเจริญกา้ วหนา้ ของ
สังคมโลก วิทยาการและงานด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ เจริญรดุ หน้าตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากงานวิจยั
และข้อค้นพบในการตั้งสมมติฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อสรุป ข้อเสนอแนะจากการประชุมสัมมนาต่าง ๆ
เป็นจานวนมาก ดังน้ัน จึงมีความจาเป็นท่ีจะต้องมีผู้ให้ความช่วยเหลือครูให้มีความรู้ความเข้าใจ
ในเชิงวชิ าการทก่ี า้ วหนา้ ไปดว้ ยกนั

5) มคี วามจาเป็นตอ่ ภาวะผ้นู าทางวชิ าชีพในระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเปน็ รปู แบบ
หนึ่งของวิธีการทางาน โดยใช้สติปัญญา (Intelligence) ผู้นาในการนิเทศการศึกษาต้องใช้สติปัญญา

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) pg. 8

วธิ กี ารทางานท่ีเปดิ กว้าง ยอมรับฟงั ในการนาพาผู้สอนให้พฒั นาไปในทางทด่ี ขี ้นึ สร้างความเจรญิ งอกงาม
ในวิชาชีพในภาพรวม เนื่องจากการศึกษาจะบรรลุความสาเร็จได้ ต้องอาศัยผู้สอนเป็นจานวนมากและ
จะต้องรวมพลังสร้างสรรค์ ซึ่งการดาเนินการดังกลา่ วจะบรรลุผลสาเร็จได้ ตอ้ งอาศยั การนเิ ทศการศึกษา
เท่านน้ั (สันติ บญุ ภิรมย์, 2552)

5. กิจกรรมการนเิ ทศการศึกษา
กิจกรรมทีใ่ ช้ในการนิเทศการศึกษา เป็นเครื่องมือที่ช่วยใหก้ ารนิเทศให้บรรลุเป้าหมาย ผู้นิเทศ

สามารถเลือกใช้ใหเ้ หมาะสมกบั จุดมุ่งหมายของการนิเทศน้ัน ๆ เหมาะสมกบั ปัญหา ความต้องการและ
ความจาเป็นในการพฒั นาผรู้ ับการนิเทศ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประโยชนส์ ูงสดุ และสง่ ผลตอ่ ผู้เรยี น ดงั ต่อไปนี้

1. การให้คาปรึกษาแนะนา หมายถึง การพบปะ ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ
ซึ่งอาจทาได้หลายวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือช่วยให้การปฏิบัติงานไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เป็นการ
พัฒนางานให้เกิดความกา้ วหนา้ ทางวชิ าชีพ วธิ กี ารใหค้ าปรกึ ษาแนะนา มี 2 วิธี คือ

วิธที ่ี 1 การให้คาปรึกษาแนะนาแบบไม่เป็นทางการ โดยใช้เวลาวา่ งพดู คุยกัน
เชน่ เวลาว่างช่วงรบั ประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น วธิ ีนผ้ี ู้นิเทศสามารถใหค้ วามช่วยเหลอื ผรู้ บั การนเิ ทศ
ได้หลายลกั ษณะ เช่น บอกวิธีแก้ปญั หาโดยตรง เสนอข้อมลู และโอกาสให้ผ้รู ับการนิเทศวิเคราะห์ปัญหา
เอง และแบบผสมผสานทง้ั สองลกั ษณะ

วิธีท่ี 2 การให้คาปรึกษาแนะนาแบบเป็นทางการ ใช้ขั้นตอนของการนิเทศ
แบบโคชชิ่ง (Coaching) เขียนเป็นสัญลักษณ์ คือ CQCD ย่อมาจากคาต่อไปนี้ C - Compliment
(ชมเชย) Q - Question (สอบถาม) C - Correct (แก้ไข) และ D - Demonstrate (สาธติ )

2. การศึกษาเอกสารทางวชิ าการ หมายถงึ การมอบหมายเอกสารใหผ้ รู้ บั การนเิ ทศไปศกึ ษา
คน้ ควา้ แลว้ นาความรมู้ าถา่ ยทอด โดยมีวัตถปุ ระสงค์เพอ่ื ช่วยให้ผู้รับการนิเทศมโี อกาสไดศ้ กึ ษาหาความรู้
สร้างความเข้าใจด้วยตนเอง

3. การสนทนาทางวิชาการ หมายถึง การประชุมผู้สนใจในเร่ืองราวเดียวกัน โดยกาหนดให้
สนทนาในเรื่องที่กลุ่มสนใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรา้ งความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงาน เทคนิค
วิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้รับการนเิ ทศ

4. การเยี่ยมนิเทศช้ันเรียน หมายถึง การที่ผู้นิเทศพบปะ สังเกตการทางานของครู
ในช้ันเรียนเพื่อสารวจความต้องการพัฒนางาน ศึกษาปัญหา ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน ให้คาปรึกษาแนะนาแกค่ รู เพื่อกระตุ้นให้ครมู กี ารพัฒนา ปรับปรุงและแกไ้ ขปัญหาในการจัดการ
เรียนรู้

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรียนรู้เชงิ รกุ (Active Learning) pg. 9

5. การศกึ ษาดูงาน หมายถงึ การจดั ใหม้ กี จิ กรรมพาผูร้ บั การนเิ ทศ ครแู ละบุคลากรของโรงเรยี น
ไปศึกษา เรียนรู้ คน้ ควา้ และเพมิ่ พนู ประสบการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ โดยมวี ัตถุประสงค์ เพือ่ ใหไ้ ดพ้ ัฒนาตน
และพัฒนางานใหม้ ีคุณภาพ โดยข้นั ตอนการนิเทศแบบศกึ ษาดูงาน มดี ังนี้

5.1 เลอื กสถานที่ศกึ ษาดงู าน ท่ีตรงกับปญั หาและความต้องการพฒั นา
5.2 กาหนดวตั ถุประสงคข์ องการศึกษาดูงาน
5.3 วางแผน ประสานงาน กบั สถานทีท่ ี่จะไปศึกษาดูงาน
5.4 แจ้งให้หนว่ ยงานทจ่ี ะไปศกึ ษาดงู านบรรยายสรุปให้ฟงั
5.5 ควรใชเ้ วลาท่ีเหมาะสมในการศึกษาดงู าน เรียนรู้ เพิม่ ประสบการณ์
5.6 สรุปความรู้ แนวความคดิ ทีไ่ ด้ และวางแผนปรับปรุงงานต่อไป
6. การสังเกตการสอน หมายถงึ การจดั กิจกรรมให้ผนู้ ิเทศ ที่มีความรคู้ วามเขา้ ใจในเรอื่ งการจัด
กจิ กรรมการเรียนรู้ได้มาสังเกตพฤตกิ รรมการสอนในห้องเรียนของผ้รู ับการนิเทศในขณะจดั กิจกรรมการ
เรยี นรู้ โดยมีวตั ถปุ ระสงค์เพือ่ ใหค้ รสู ามารถพฒั นาหรือปรับปรุงการจดั การเรียนร้ใู หม้ ปี ระสทิ ธิภาพยิง่ ขน้ึ
7. การประชมุ นิเทศ หมายถงึ การใหข้ ้อมลู ปอ้ นกลบั แก่ผ้รู บั การนิเทศ เกีย่ วกบั ปญั หาที่เกิดขึ้น
โดยผนู้ เิ ทศไดศ้ กึ ษาแนวทางการแก้ปญั หา แลว้ มาแนะนาแกผ่ รู้ ับการนเิ ทศ หรือผนู้ เิ ทศและผรู้ ับการนเิ ทศ
ศึกษาและหาข้อสรุปในการแกป้ ัญหาทเ่ี ป็นประโยชน์ รว่ มกัน
8. การนิเทศแบบผู้ขายสินค้า หมายถึง การท่ีผู้นิเทศ ชี้แนะให้ผู้รับการนิเทศเห็นความสาคัญ
และความจาเป็นที่ตอ้ งดาเนินการหรอื แก้ไขปัญหาในการจดั การเรยี นการสอนท่ีเกดิ ขึ้นอย่างจริงจังและ
ตอ่ เนอื่ ง (กรองทอง จริ เดชากุล, 2550)

6. ทักษะและเทคนิคการนิเทศการศกึ ษา
ทกั ษะการนิเทศการศึกษา
ทักษะท่สี าคญั ในการนิเทศการศึกษา ควรจะมที ักษะ 3 ด้าน ท่ีผสมกลมกลนื ไป ไดแ้ ก่ ทักษะทาง

มนุษย์ (Human Skill) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skill) และทักษะทางการจัดการ
(Managerial Skill) มรี ายละเอียด ดังนี้

ทกั ษะทางมนุษย์ (Human Skill)
ทักษะทางมนุษย์ เป็นความสามารถที่จะทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิผล และสร้าง
ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสมาชิก รวมทั้ง การสร้างแรงจูงใจผู้อื่น พัฒนางานกลุ่มและ
ยอมรับความเปลย่ี นแปลง ลักษณะของผู้นิเทศการสอนทมี่ ที ักษะทางมนุษย์ หรือมีมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
ความเห็นอกเหน็ ใจ เปน็ ความเข้าใจถึงความรสู้ กึ ของบุคคลอ่ืน เป็นการให้ความนับถือใน ความคิดของ
ผู้อ่นื การระมดั ระวังตน การระวงั ความประพฤติ และคาพูดของตนเองท่จี ะไมท่ าร้ายผูอ้ ื่น ใหค้ วามสาคญั
กับทุกคน มคี วามจรงิ ใจตอ่ ผูอ้ น่ื ชมเชยให้เกยี รติในผลงานของผอู้ น่ื มอี ารมณข์ ันมองโลกในแง่ดี ตอ้ นรบั
ผู้อ่นื ดว้ ยสีหน้าย้ิมแย้ม มีคุณธรรม ไม่เอาเปรียบผ้อู นื่ ปรบั ปรงุ บคุ ลิกภาพของตนเสมอ

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนร้เู ชงิ รุก (Active Learning) pg. 10

ทกั ษะทางมนษุ ย์ (Human Skill) ทนี่ ามาใชใ้ นการนเิ ทศการศึกษา ไดแ้ ก่
1) การให้ความสาคัญและตอบสนอง ตอ่ ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล
2) การวิเคราะหจ์ ุดออ่ นและจุดแขง็ ของแตล่ ะบคุ คล
3) เห็นความสาคญั เห็นคุณค่าของแต่ละบคุ คล
4) มีการรบั รู้ทีช่ ดั เจน
5) สามารถสร้างความตระหนกั และความผูกพนั ของครู ต่อเปา้ หมายของสถานศกึ ษา
6) ทกั ษะในการนาการอภิปราย การฟงั เพื่อพฒั นางานไดอ้ ยา่ งราบรน่ื
7) การสร้างความรว่ มมือระหว่างกนั กระตนุ้ ใหเ้ กิดความร่วมมอื
8) การแกป้ ญั หาและความขัดแยง้
9) การเปน็ แบบอยา่ งที่ดขี องครู

ทักษะทางเทคนิค (Technical Skill)
ทักษะทางด้านเทคนคิ เป็นทักษะท่ีผสมระหว่างการนาความรแู้ ละความสามารถในการทางาน
ในหนา้ ท่ีของตน ในเร่ืองการสอน หลกั สูตร การวดั และประเมินผล ผู้นิเทศตอ้ งมีความรู้และประสบการณ์
เกี่ยวกบั การสอนในรายวิชาต่าง ๆ และต้องมคี วามชานาญในการสอนอยา่ งน้อย 1 วชิ า สว่ นผ้นู ิเทศดา้ น
ทักษะอาชพี ตอ้ งมคี วามรู้ดา้ นงานวชิ าชีพท้ังในทางทฤษฎีและปฏิบัติ และต้องมีทักษะและเทคนคิ ต่าง ๆ
ที่จะนามาใช้ในกระบวนการนิเทศ ได้แก่

1) การตงั้ เกณฑ์ในการเลอื กใช้วธิ ีสอนและส่ือการสอน
2) การวเิ คราะหข์ อ้ มูลท่ีไดจ้ ากการสังเกตการสอน
3) การสร้างและเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤตกิ รรม ทีช่ ดั เจน วดั ได้
4) การนางานวจิ ยั ทางการศกึ ษามาใช้ในการนเิ ทศ
5) การพฒั นากระบวนการวดั และประเมินผลการสอน
6) การสาธิตการสอนและการฝกึ ปฏบิ ตั ิการสอน

ทกั ษะทางการจดั การ (Managerial Skill)
ทกั ษะทางการจดั การ เปน็ ความสามารถของผู้นเิ ทศท่ีจะทาให้เกิดความร่วมมอื ของบคุ คลในการ
ทางานร่วมกัน การสรา้ งความกา้ วหนา้ และการพฒั นาการจัดการเรียนการสอน เพือ่ เกิดผลผลิตและความ
สัมฤทธ์ิผลของงานตามจุดมุ่งหมายของโรงเรียน ทักษะการจัดการของผู้นิเทศในบทบาทหน้าที่ผ้นู ิเทศ
ได้แก่ ทักษะการวางแผน การจัดสายงาน การจัดองค์การ การควบคุม และการตัดสินใจ ทักษะทางการ
จดั การท่นี ามาใชใ้ นการนเิ ทศการศกึ ษา ได้แก่

1) ความสามารถในการวิเคราะหค์ วามต้องการของสถานศึกษาและชมุ ชน
2) ประเมินค่าความต้องการของครูหรือผู้รับการนิเทศก่อนท่ีจะทาการนิเทศ

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรยี นรู้เชิงรกุ (Active Learning) pg. 11

3) การเป็นผู้นาด้านการจดั การเรียนการสอน
4) การวิเคราะหส์ ภาวะแวดลอ้ มในการจดั การเรียนการสอนและการศึกษา
5) การวางแผนงานอย่างมรี ะบบ
6) ความสามารถในการมอบหมายงาน
7) การร้จู ักใชเ้ วลาท่เี หมาะสม
8) การจัดสรรทรพั ยากรให้ทั่วถงึ
9) การลดความเครยี ดในการทางาน
(Mann, 1965)

เทคนคิ การนเิ ทศการศกึ ษา
การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจดั การเรียนการสอนนั้น ผู้นิเทศจาเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิควิธีการ
นิเทศในหลายสว่ น อาทเิ ชน่
1. เทคนคิ การสงั เกตและการวเิ คราะห์การสอน (Instruction Analysis and Observation)
2. เทคนิคการส่ือสารความหมาย (Communication Skill) และการสรา้ งความสมั พนั ธ์ทีด่ ตี ่อ
กัน (Interpersonal Skill) การใชภ้ าษาพูด (Verbal) และภาษาทา่ ทาง (Overbal)
3. เทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
4. เทคนิคการจัดการทางานกล่มุ (Group Processing Management)
(วัชรา เล่าเรียนด,ี 2556)

เทคนิคการสังเกตการสอน
การสังเกตการสอน เป็นกระบวนการนิเทศที่จัดใหบ้ ุคคลหน่งึ เป็นผ้สู ังเกต (ผู้นิเทศ) ที่มีความรู้
ความเข้าใจในเรื่องการจดั การเรียนรู้มาสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู (ผู้รับการนิเทศ) โดยเป็นการ
ทางานร่วมกันระหว่างผู้สังเกต (ผู้นิเทศ) กับผู้ถูกสังเกต (ผู้รับการนิเทศ) ในการสารวจ ตรวจสอบ
วเิ คราะห์สภาพการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน พฤติกรรมของผู้เรยี น ประสิทธภิ าพของบทเรยี น การมี
ปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อนาข้อมูลท่ีได้ไปวิเคราะห์ ปรับปรุงและพิจารณากาหนด
ยุทธวิธีการสอนและพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครู (ผู้รับการนิเทศ) ซ่ึงมีความสาคัญในการพัฒนา
คุณภาพการสอนให้ดีย่ิงข้ึน และส่งเสริมให้เกิดความเชี่ยวชาญในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน
การสังเกตการเรียนการสอนมจี ดุ ประสงค์ ดงั นี้
1. เพื่อสังเกต รวบรวมพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนและส่ิงท่ีเกิดขึ้นในช้ันเรียน ตามท่ี
กาหนดไว้ เชน่ เทคนิคหรอื วิธีการสอนของครู การจัดการผู้เรียน ประโยชนข์ องส่ือและอปุ กรณ์ พฤติกรรม
ตอบสนองของผู้เรียน และอ่ืน ๆ เปน็ ต้น

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) pg. 12

2. เพื่อทาความเข้าใจเกย่ี วกบั ลักษณะการจดั การเรยี นการสอนในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้สอนสนใจ
และมีการอภิปรายร่วมกันเพื่อหาทางปรับปรุงพัฒนา เช่น การปรับปรุงวิธีการสอน การปรับปรุง
พฤติกรรมการบรรยาย การปรับปรงุ กระบวนการสอน การใช้กิจกรรม สื่อ เครื่องมือหรือ คาถาม หรือ
คาสง่ั ใหผ้ ู้เรียนปฏบิ ตั กิ จิ กรรมตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

3. เพอื่ ใหส้ ามารถวเิ คราะห์ความแตกต่างของลกั ษณะการสอนรูปแบบตา่ ง ๆ ได้ท่ีมีประสทิ ธิภาพ
4. เพ่ือกาหนดวิธีการหรือเทคนิคการจดั การเรยี นการสอน ท่ีสามารถนามาปรบั ใช้ในหอ้ งเรยี น
ในครง้ั ต่อไปได้

ขนั้ ตอนการสงั เกตการเรียนการสอน
การสังเกตการเรียนการสอน มขี ้ันตอนโดยสรุป 3 ข้ันตอน ดงั น้ี
ขน้ั ท่ี 1 ข้นั ก่อนการสังเกต (Pre-observation orientation session) คอื การที่ครูผูส้ อน (ผู้รบั
การนิเทศ) และผู้สังเกต (ผู้นิเทศ) ร่วมวางแผน ประชุม อภิปรายและแสดงความเห็นในข้อตกลง
ท่ีกาหนดไว้ ทาความเข้าใจเรื่องท่ีจะสอน จุดประสงค์ของการสังเกตการเรียนการสอน ส่ิงที่ต้องการ
สังเกตหรือลักษณะการจัดการเรียนการสอน เทคนิคหรือวิธีการสอน ธรรมชาติของวิชา นักเรียน
ห้องเรียน เป็นต้น รวมถึงการทาความเข้าใจหรือแก้ไขปัญหา ข้อสงสัยในเรื่องต่าง ๆ ท่ีอาจเกิดข้ึนใน
ขั้นตอนการสังเกต การที่ทั้งสองฝ่ายทาความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ อย่างละเอียดเท่าไร จะช่วยทาให้
ปัญหาทีอ่ าจจะเกดิ ในขนั้ การสังเกตการเรียนการสอนลดน้อยลง ท้ังยงั ส่งเสริมบรรยากาศการสงั เกตการ
เรียนการสอนใหเ้ ป็นไปอย่างรายรนื่ และเข้าใจตรงกัน รวมท้ังการอธิบาย สร้างความเข้าใจแบบสงั เกต
และประเด็นสังเกต ผลการสงั เกตเทียบกับแผนการจดั การเรยี นรขู้ องผูส้ อน
ขั้นที่ 2 ขั้นการสังเกต (The observation) คือ ข้ันตอนการที่ผู้สังเกต (ผู้นิเทศ) อธิบาย
จุดประสงคก์ ารสงั เกตการเรียนการสอนให้แก่ครผู สู้ อนหรอื ผูถ้ กู สงั เกต (ผู้รับการนิเทศ) ผ้สู ังเกตนงั่ ประจา
ท่ีตามที่กาหนดและตกลงไว้ จากนั้นผู้ถูกสังเกตเร่ิมปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนตามปกติ โดยผู้สังเกต
เรม่ิ การสงั เกตการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน โดยบนั ทกึ และเก็บรวบรวมข้อมลู ลงในเคร่ืองมอื ท่เี ตรยี ม
ไว้ (เช่น แบบสังเกต ลักษณะการเรียนการสอนในประเด็นต่างๆ แบบันทึกรายการสอน เป็นต้น) ซ่ึง
ผูส้ ังเกตตอ้ งปฏิบัตติ ามข้อตกลงในทป่ี ระชุมกันอย่างเครง่ ครดั อีกทง้ั ตอ้ งแสดงถงึ ความเคารพและซ่อื สตั ย์
ตอ่ ส่งิ ที่ได้ตกลงไวใ้ นทป่ี ระชุม ความเป็นกลั ยาณมิตรในการนิเทศอยา่ งแท้จรงิ
ข้ันท่ี 3 ขั้นหลงั การสังเกต (Post-observation) คอื การทที่ ัง้ ผสู้ ังเกต (ผ้นู ิเทศ) และผถู้ ูกสงั เกต
(ผู้รับการนิเทศ) อภิปราย ปรึกษาหารือร่วมกนั โดยใช้ข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมบนั ทึกไว้ในเคร่อื งมือสังเกต
มาประกอบการอภิปราย ควรตระหนักและระลึกถึงจุดประสงค์ในการสังเกตในแต่ละคร้ัง อีกทั้ง ผู้ถูก
สังเกตต้องเตรียมอธิบายถึงความรู้สกึ ที่ถูกสังเกตในขณะจดั การเรยี นการสอน ท่ีผ่านมา และควรระบุถงึ
จุดด้อยหรือข้อควรปรับปรุงในขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน แล้วนาประเด็นปัญหา

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรูเ้ ชิงรุก (Active Learning) pg. 13

มาร่วมหาวิธีปรับปรงุ แก้ไข ปรับเปลีย่ นอย่างเหมาะสม เพ่ือนาไปใช้พัฒนาการจัดการเรยี นการสอนใน
ครั้งต่อไป นอกจากนี้ บรรยากาศในการประชุมอภิปรายหลังการสงั เกต จะไม่ใช่การประเมินหรอื ตดั สิน
การจัดการเรียนการสอนของผู้ถูกสังเกต แต่จะเป็นการสร้างความเชื่อใจ เคารพซึ่งกันและกัน และ
ปรารถนาดีต่อกัน โดยการที่ผู้สังเกต (ผู้นิเทศ) ควรกล่าวแต่สิ่งท่ีสร้างสรรค์ของผู้ถูกสังเกต (จุดดีของ
กิจกรรมการเรียนการสอน) จากนั้นกระตุ้นใหผ้ ถู้ ูกสังเกตสารวจดูว่ายังมีการสอนสว่ นใดของตนเอง ท่ียัง
ไม่พอใจหรือยังมีปัญหาและมีความต้องการท่ีจะแก้ไขหรือพัฒนาประเด็นปัญหานั้นๆ ให้ดีขึ้น แล้ว
นาเสนอความคิดเห็นน้ันออกมา เพื่อให้ผู้สังเกตได้รับทราบแล้วพยายามค้นหาแนวทางช่วยเหลือเพ่ือ
พัฒนา เป็นขอ้ สรุปและแนวทางปฏิบัติในการจัดการเรยี นการสอนครั้งต่อไป

วธิ ีสังเกตการสอน แบง่ ได้ 2 วธิ ี คอื
1. การสงั เกตแบบมีสว่ นร่วม (Participant Observation) คือ การทผี่ สู้ งั เกตทาตวั เป็นสมาชกิ
ในหอ้ งเรียน และมีสว่ นรว่ มในการจดั การเรยี นการสอน ช่วยให้ไดข้ อ้ เท็จจริงมากทีส่ ดุ แบง่ ได้ 3 แบบ คือ

1) แบบมสี ่วนร่วมสมบรู ณ์ (Complete Participant)
2) แบบมสี ว่ นร่วมในฐานะผสู้ งั เกต (Participant as Observation)
3) แบบไมม่ ีส่วนรว่ มโดยสมบรู ณ์ (Observation as Participant)
2. การสังเกตแบบไม่มีสว่ นรว่ ม (Non- Participant Observation) คือ การทผี่ สู้ งั เกตทาการ
สังเกตโดยไมไ่ ด้เขา้ รว่ มกิจกรรมตา่ งๆ ในช้นั เรยี น กล่าวคือ ไม่ไดท้ าการสอนและไม่ไดเ้ รียนเหมือนผเู้ รียน
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1) สงั เกตโดยไมใ่ หผ้ ถู้ กู สงั เกตร้ตู ัว
2) สังเกตโดยผูถ้ ูกสงั เกตรู้ตัว
สง่ิ ทต่ี ้องสังเกตในขณะทาการสงั เกตการสอน
1. พฤตกิ รรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนของนกั เรยี น
2. การจัดการในชน้ั เรียน เทคนิควิธที คี่ รูสรา้ งบรรยากาศเพ่อื การเรยี นรู้ของนักเรยี น
3. ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งบุคคลในชนั้ เรยี น ระหวา่ งครกู บั นกั เรียน และระหวา่ งนกั เรียน
กับนกั เรยี น
4. การมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการสอนของนักเรียน เช่น การถามและตอบคาถาม
การพูดคุยสนทนา การทางานท่ีไดร้ บั มอบหมาย
5. ความแตกตา่ งในด้านสถานที่ สภาพแวดล้อมและฐานะทางเศรษฐกจิ ของนกั เรยี น
6. ความแตกตา่ งของบทบาทของผูท้ เี่ ก่ียวขอ้ งทง้ั แบบถาวรและแบบช่ัวคราว
7. ความแตกตา่ งดา้ นปฏิสัมพันธข์ องบุคคล เวลา สถานที่

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) pg. 14

เทคนิคที่ใช้ในการสงั เกตการสอน
1. สงั เกตและจดบนั ทกึ สง่ิ ท่มี องเห็นในทกุ ขน้ั ตอนไดอ้ ย่างรวดเร็ว
2. สงั เกตและจดบันทกึ เหตุการณ์ทสี่ ะดุดตา หรอื จดุ เด่น
3. สังเกตและจดบันทกึ สงิ่ ทข่ี ดั แยง้ หรอื ส่งิ ทีแ่ ปลกใหม่ท่เี กดิ ขึ้น

หลักในการสงั เกตการสอน
1. ต้องรอบรใู้ นสง่ิ ทจี่ ะสงั เกต โดยศกึ ษาขอ้ มูลนั้น ๆ มากอ่ นล่วงหนา้
2. มจี ุดมงุ่ หมายการสงั เกตที่แน่นอน มขี อบเขตเร่อื งและระยะเวลาการสงั เกตชัดเจน
3. มีระบบในการสงั เกตที่ดี มีความต้งั ใจ ไม่สงั เกตแตเ่ พยี งผวิ เผนิ
4. ทาให้ผลการสังเกตเปน็ เชงิ ปริมาณ เพ่อื สะดวกตอ่ การแปลความหมายและนาไปใช้
5. บางเรอื่ งตอ้ งทาการสงั เกตหลายครง้ั เพื่อหาขอ้ สรปุ
6. วางตัวเป็นกลางไมล่ าเอียง บันทึกเหตุการณ์ตามการรบั รหู้ รอื ตามท่ีสงั เกตได้จรงิ

ขอ้ แนะนาท่ผี ้สู ังเกตการสอนควรปฏบิ ตั ิ
1. ควรกาหนดเพียงหนึ่งประเด็น หรือหน่ึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนต่อการ

สงั เกต 1 คร้ัง เช่น สังเกตการณใ์ ชค้ าถามของผูเ้ ข้ารบั การฝกึ การปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งนกั ศึกษา เปน็ ตน้
2. ทาหน้าทเ่ี ป็นผสู้ ังเกตเท่านัน้ จะไม่มสี ่วนร่วมในการสอนแต่อยา่ งใด
3. บันทึกขอ้ มูลทีเ่ ป็นจริงในฟอร์มการสังเกตเทา่ นัน้
4. อภิปรายแลกเปล่ียนข้อมลู ร่วมกับผถู้ ูกสงั เกต เพ่ือใหไ้ ด้ขอ้ มูลย้อนกลับท่สี ะท้อนภาพ

การจัดการเรียนการสอน ฝ่ายผู้ถูกสังเกตอาจเป็นฝ่ายเร่ิมก่อนหรือหลังก็ได้ ท้ังนี้ ประเด็นสาคัญ
อยู่ท่ีว่าฝ่ายผ้สู งั เกตควรใช้คาพูดท่ีใช้วิธีการสะท้อนภาพการจัดการเรียนการสอนของผูถ้ ูกสังเกตเหมอื น
กระจกเงา ใหผ้ ู้สงั เกตเหน็ ภาพเหตกุ ารณ์ในขณะสอนได้อยา่ งชดั เจน วา่ ตนเองได้ ทาอะไรในชนั้ เรียนบา้ ง
นับต้ังแต่เริ่มต้นจนส้ินสุดการสังเกต และผู้สังเกตควรดึงจุดท่ีเกิดขึ้นใน ช้ันเรียนมากล่าวเท่านั้น แล้ว
กระตุ้นใหผ้ ถู้ ูกสังเกตคิดหาวิธแี กไ้ ขปัญหาในจุดที่ยงั เปน็ ปญั หา หรอื ไม่พอใจในการจัดการเรยี น การสอน
ในช้นั เรยี นของตนเอง และผูส้ งั เกตไมค่ วรแนะนาวิธี การทคี่ วรจะเปน็ ตามความคิดเห็นของตนเอง ท้ังยงั
เปน็ การฝึกให้ผู้เข้ารบั การฝกึ ผถู้ กู สังเกตได้ ใช้ความคดิ ทบทวน ค้นหาวิธีการทเี่ หมาะสมตมสภาพชนั้ เรยี น
ทต่ี นเองเขา้ ใจทีส่ ดุ เพ่ือใหพ้ บแนวทางการแก้ปญั หาท่ีดที ่สี ดุ ด้วยตนเอง วธิ กี ารนไี้ มท่ าลายความร้สู กึ ผู้ถูก
สังเกต และไม่เกิดความรู้สึกอคติต่อผู้สังเกต ซึ่งเป็นการทางานร่วมกันภายใต้บรรยากาศที่ส่งเสริม
การพัฒนาการเรยี นการสอน

คุณสมบตั ิพน้ื ฐานของผ้สู งั เกต และผู้ถกู สงั เกตการสอน
การสังเกตการสอน เป็นการทางานร่วมกันเพื่อค้นหาจดุ เด่น จุดพัฒนาของการจดั การเรียนการ
สอน อภิปรายขอ้ มลู ยอ้ นกลับ สะท้อนภาพข้อมลู ท่ีได้จากการสงั เกต ทสี่ ่งเสริมบรรยากาศอยา่ งสรา้ งสรรค์

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) pg. 15

ไวว้ างใจกัน ก่อใหเ้ กิดการพัฒนาการจดั การเรยี นการสอนของผถู้ ูกสงั เกต ท้ังสองฝา่ ยจงึ ควร มคี ุณสมบตั ิ
พื้นฐาน 3 ประการ ไดแ้ ก่

ประการท่ี 1 ความเคารพซ่ึงกันและกัน (Respect) ผู้สังเกตต้องมีความเข้าใจยอมรับและให้
เกียรติผู้ถูกสังเกต ทั้งทางด้านความคิดและท่าทางที่แสดงออก โดยยอมรับความแตกต่าง
ในลกั ษณะเฉพาะส่วนบุคคล ปราศจากการประเมิน การตัดสนิ และการมอี คติ

ประการท่ี 2 ความเหน็ อกเห็นใจ (Empathy) ผู้สงั เกตยอมรบั ฟังทุกส่ิงทกุ อย่าง ในขอบเขตหรือ
ประเด็นของการแสดงความคิดเหน็ ต้องมีความเข้าใจในความรสู้ ึกของผู้ถูกสังเกตทกี่ าลังประสบปัญหา
ในอาชีพการสอนและมีความพยายามท่จี ะหาแนวทางแกไ้ ขใหเ้ หมาะสมท่สี ดุ ดงั นน้ั ผู้สงั เกตควรปฏิบตั ติ วั
ให้อกี ฝา่ ยรู้สกึ ผอ่ นคลาย สบายใจมากกวา่ การคาดหวัง หรอื คาดคน้ั ในสง่ิ ที่ควรจะเกิดขึ้นหรอื ถูกต้องที่สุด
ในการหาหนทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน

ประการท่ี 3 ความซ่ือสัตย์ (Honesty) ผู้สังเกตแสดงความเคารพและความเห็นอกเห็นใจผู้ถูก
สังเกตด้วยความจริงใจอย่างแท้จริง ไร้ส่ิงเคลือบแคลงสงสัยในความจริงใจนี้ ทาให้ผู้ถูกสังเกตนับถือ
ศรัทธาผสู้ งั เกต และมีความสุขในการทางานรว่ มกัน ไม่ใช่เป็นเพียงพฤตกิ รรมการเสแสร้งว่าเคารพและ
เห็นอกเห็นใจ อันเป็นสาเหตุหลัก และสาคัญอันย่ิงใหญ่ต่อการบั่นทอนและทาลายความสัมพันธ์ที่ดี
และความสามัคครี ะหว่างเพื่อนรว่ มงานในการทางานเพ่อื พัฒนาอาชพี ร่วมกนั

เทคนคิ การสือ่ สาร (communication)
การนิเทศเปน็ การใช้ท้ังศิลป์และศาสตร์ในการปฏิบตั ิงาน ศึกษานิเทศก์ควรมีทักษะและเทคนิค

ในการส่ือสารหลากหลายรูปแบบ เพื่อใช้ได้ในทุกโอกาสและทุกช่องทางอย่างเหมาะสมและ
มีประสิทธิภาพ สามารถทาเร่ืองยากใหเ้ ป็นเร่ืองงา่ ย เช่น มีทักษะในการพูด การเขียน การผลิตส่อื และ
ใชส้ ือ่ ท่ีสอดคล้องเหมาะสมกบั เรอื่ งท่ีนิเทศ

การส่ือสาร คือ กระบวนการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมหรือในกลุ่ม
เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขึ้นระหว่างผูเ้ กยี่ วขอ้ ง ซึ่งอาจจะเป็นทัง้ ผู้ส่งสารและรบั สารไปด้วยกัน ในลักษณะ
การส่ือสารแบบสองทาง (two-way Communication) ผูส้ ่อื สารทด่ี ีจงึ ต้องเปน็ ทั้งผู้สง่ สารท่ีดี และผู้รับ
สารท่ีดีในเวลาเดียวกัน องค์ประกอบในกระบวนการส่ือสาร อาจใช้วิธีทางตรง เช่น การพูด การอธบิ าย
การสนทนา หรอื ติดตอ่ ส่ือสารโดยใชอ้ ุปกรณอ์ นื่ ๆ มอี งคป์ ระกอบ 4 ส่วน คือ

1. ผู้สง่ คือผู้ทาหนา้ ท่กี ระจายขอ้ มูล เรมิ่ ต้นในการสอ่ื สาร
2. สาร คือ ข้อมูล ข้อความ ข้อเทจ็ จรงิ เนอื้ หาสาระทจ่ี ะถูกส่งไปยงั ผรู้ บั
3. สื่อ คอื ตวั กลางในการนาสารไปยงั ผู้รบั เปน็ ช่องทางในการนาสารจากผสู้ ง่ ไปยงั ผ้รู บั
4. ผูร้ บั คอื ผูท้ รี่ บั ข้อมลู จากผสู้ ง่ โดยผ่านตัวกลาง คือ สอื่

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรุก (Active Learning) pg. 16

ปจั จยั ทีม่ ผี ลตอ่ การสอ่ื สาร ประกอบดว้ ย 1) ความพร้อมของผสู้ ่งและผรู้ ับสาร : ผสู้ ง่ และผรู้ บั สาร
ต้องมีความพร้อมท้งั ดา้ นร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปญั ญา 2) สภาพของส่อื ส่ือท่ีดคี วร
มีลักษณะง่าย สั้น ไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาและท่าทางที่เข้าใจกัน บนพ้ืนฐานทางสังคมประเพณี วัฒนธรรม
ท่ีคลา้ ยๆ กัน 3) กระบวนการสอื่ สาร ในรปู ของเสยี ง คาพูด หรอื ภาษากาย ควรแสดงออกมาโดยชัดเจน
สามารถส่ง และรับสารได้ไม่ยาก เหมาะสมกับเนื้อหา เหตุการณ์ และโอกาส และ 4) สัมพันธภาพทีด่ ี
ตอ่ กันของผ้สู ง่ และผรู้ ับสื่อ

ทักษะในการสอื่ สารทีด่ ี
1. attending คอื การตงั้ ใจ ให้ความสาคัญต่อการส่งและรับสื่อ เชน่ การพดู อยา่ งต้งั ใจ
การแสดงความสนใจ การสบตา การแสดงทา่ ที่กระตือรอื ร้น สนใจ แสดงความเขา้ ใจ เปน็ ตน้
2. Paraphasing คือ การพดู ทวนการสะท้อนคาพูด เป็นการแสดงความสนใจและความ
ตอ้ งการทจ่ี ะรเู้ พิม่ เติม
3. Reflection of feeling คือ การสะท้อนอารมณท์ ี่อกี ฝ่ายแสดงออกมา ให้ผู้น้นั เขา้ ใจ
4. Summarizing คือ การสรุปความ ประเดน็ ท่สี าคัญเป็นระยะ เพ่ือความเข้าใจทตี่ รงกนั
5. Probing คือ การซกั เพมิ่ เติมประเดน็ ทีส่ นใจ เพอ่ื หาความชัดเจนเพ่มิ ขึน้
6. Self disclosure คอื การแสดงทา่ ทเี ปิดเผยเป็นมติ รของผสู้ ง่ สาร โดยการแสดงความคดิ เห็น
หรือความร้สู ึกของตน ทไ่ี มใ่ ช่การขดั แย้ง หรอื ตาหนิ
7. Interpretation คอื การอธิบายแปรความหมายในประสบการณ์ทอี่ ีกฝ่ายแสดงออกเพอ่ื ให้
เกิดความเขา้ ใจ รูใ้ นส่ิงทีม่ อี ยนู่ น้ั มากขน้ึ
8. Confrontation คอื การนาประเด็นที่ผู้สง่ สารพดู หรือแสดงออกด้วยทา่ ทาง ที่เกดิ จากความ
ขดั แย้ง สบั สน ภายในของผสู้ ่งสารเองกลับมา ใหผ้ ูส้ ่งสารไดเ้ ผชิญกับความขดั แยง้ สับสนทมี่ ีอย่ใู นตนเอง
เพอื่ นาไปสคู่ วามเข้าใจในตนเองเพิม่ ข้นึ (ธนู ชาติธนานนท์, 2552)
เทคนคิ การพดู ท่ีดี
การนิเทศการศกึ ษา ตอ้ งใช้การพูดเปน็ ทกั ษะและเทคนคิ เบอ้ื งต้นในการปฏิบตั ิกจิ กรรมการนเิ ทศ
โดยการพดู ทีด่ ี มีลกั ษณะดังนี้
1. ฝึกลลี าการพูด ฝกึ ใชน้ ้าเสยี งใหน้ า่ ฟัง
2. พูดชื่นชม หลกี เลี่ยงการพดู ตาหนิ
3. ไม่ควรพูดใหค้ นอื่นรู้สึกอับอาย
4. หลีกเล่ียงคาหยาบ หรือดา่ ทอ
5. ไมพ่ ดู วกวน เลน่ ล้ิน เล่นสานวน
6. พูดในเรื่องทผ่ี ้ฟู งั ชืน่ ชมยนิ ดี ชอบใจ ถกู ใจ และสบายใจ
7. อย่าพดู ผูกขาดคนเดยี ว

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรยี นรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) pg. 17

8. หลกี เล่ยี งการดดุ ่า บ่นว่า ใชก้ ารแนะนาหรือการเลา่ ใหฟ้ งั
9. ให้ความสนใจผูฟ้ งั โดยทั่วถึง และตลอดเวลาของการสนทนา

เทคนิคการใหข้ อ้ มลู ย้อนกลบั (Feedback giving)
กิจกรรมการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ที่ใช้กระบวนการโคช้ และการเปน็ พ่เี ล้ยี ง (Coaching

& Mentoring) จาเป็นต้องมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ หรือเรียกว่า ทักษะการให้ฟีดแบค
(Feedback) เป็นกระบวนการในการบอกถึงส่ิงที่เกิดขึ้น และมีการสะท้อนข้อมูลกลับท่ีช่วยให้เกิดการ
พัฒนา ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น เป็นการสะท้อนถึงกระบวนการ การกระทา พฤติกรรม ท่ีเป็นรูปธรรม
รวมถึงการสะท้อนด้วยข้อมูล ตัวเลข สถิติและส่ิงที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนใหด้ ี
ยิ่งข้ึน ลักษณะของการให้ขอ้ มลู ย้อนกลับ (Feedback ) ทีด่ ี มีดังนี้

1. เป็นการให้ข้อมลู ที่ให้ประโยชนต์ ่อผู้รบั สรา้ งบรรยากาศให้เปน็ มติ ร เกิดความไวว้ างใจตอ่ กัน
2. ผู้ให้ Feedback ต้องมีเป้าหมายและประเด็นทช่ี ัดเจนวา่ จะ Feedback เพ่ือใหเ้ กิดการพฒั นา
ไมใ่ ชเ่ พ่ือทาลายความมน่ั ใจของผู้รบั ไม่ใชค้ วามร้สู ึก อารมณ์ ความเชือ่ สว่ นตวั
3. ให้ Feedback ในสว่ นทกั ษะ กระบวนการ ทีเ่ ปน็ รูปธรรมและพฤตกิ รรมท่ีสามารถ ปรบั ปรงุ
และพฒั นาไดจ้ ริง
4. การให้ Feedback สรุปประเด็นข้อมลู ทคี่ วรเปลย่ี นแปลงและปรับปรงุ พฒั นาให้ดขี ึน้
5. หลงั จาก Feedback มีการตดิ ตามผล หากมพี ฒั นาท่ีดขี นึ้ ควรช่นื ชม ให้กาลังใจ
6. สรา้ งพื้นท่ปี ลอดภัย ไมก่ ดดนั ใชน้ า้ เสยี งและทา่ ทางที่เป็นมติ ร ตรงประเด็นทต่ี ง้ั เปา้ หมาย
สามารถแสดงลักษณะการให้ Feedback ไดด้ งั น้ี

Right Thing - • ถูกต้องตามสิ่งท่เี ปน็ ข้อกาหนด ถกู ตอ้ ง ตรงไปตรงมา

ถูกตอ้ ง

• ผูใ้ ห้ feedback ควรให้ Feedback กับผู้รบั Feedback ในสถานทส่ี ว่ นตัวไม่ใหใ้ นทสี่ าธารณะ เพราะผรู้ บั

Right Place - อาจจะเกดิ ความร้สู ึกอบั อาย หรือถูกประจาน และเกิดผลลัพธ์ในเชงิ ลบแทนทจ่ี ะพฒั นา

ถูกกาละเทศะ

Right Time - • ใหใ้ นเวลาท่ีเหมาะสม ไมป่ ล่อยเวลาลว่ งเลยเนิน่ นานเกินไป

ถกู เวลา

• ให้ Feedback ที่ตรงกบั พฤติกรรมหรือกระบวนการเพอื่ การพัฒนาชดั เจน ไมก่ วา้ งจนจบั ประเดน็ ไม่ได้ ไมใ่ ช้

Right Point - ความรู้สึก และไม่ม่งุ เน้นทผ่ี ลลัพธ์ (Result) เพียงอยา่ งเดียว

ถูกจุด

Right Mind- • ใหผ้ รู้ บั feedback แสดงความคิดเหน็ เพ่ือให้เขา้ ใจตรงกนั และรว่ มกนั ต้ังเป้าหมายและแก้ไขให้ดีกว่าเดมิ

ถูกใจ

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้เชงิ รุก (Active Learning) pg. 18

เทคนิคการจดั การทางานกลุ่ม
การทางานกลุ่มหรือการทางานเป็นทีม นับว่าเป็นการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพอย่างหน่ึง

ที่สามารถในมาใช้ในกิจกรรมการนิเทศการศึกษา เพราะจะช่วยให้ได้เรียนรู้บทบาทหลายอย่าง เช่น
การบรหิ ารจดั การ การเปน็ ผนู้ า การสอ่ื สาร และการแก้ปญั หาไดเ้ ป็นอย่างดี

เทคนิคการจัดการทางานกลุ่มท่ีควรนามาปรับใช้เพื่อให้การนิเทศการศึกษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ทน่ี ่าพึงพอใจ และประสบความสาเร็จตามเปา้ หมายท่ีกาหนด มีดงั นี้

1. กาหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน ในการนิเทศการศึกษาท่ีต้องใช้การทางานกลุ่มหรือ
กระบวนการทางานเป็นทีม ควรจะใช้เวลาพอสมควรในการประชุมตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายท่ีต้องการ
และใครควรมบี ทบาทอย่างไรบ้าง ทศิ ทางและเป้าหมายของการนิเทศจะเป็นไปอยา่ งไร

2. ม่ันใจว่าทุกคนมีส่วนร่วม การนิเทศที่ใช้กระบวนการทางานกลมุ่ อาจมีการกาหนดบทบาท
หน้าที่ใหส้ มาชกิ ตามความเหมาะสมกับงานและลักษณะของบคุ คล เช่น อาจมีคนกลางเป็นผ้ทู ค่ี อยประณี
ประนอม (Compromiser) มีผู้สนับสนุนผลักดัน (Encourager) ผู้ท่ีคอยตรวจสอบและประเมินผล
(Evaluator) มีผ้นู า (Leader) ผู้จดบันทกึ (Recorder) ผู้ท่ีสรุปผล (Summariser) เป็นต้น

3. หลีกเล่ียงพฤติกรรมหรือการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมในการทางานกลุ่ม เช่น เจ้าอารมณ์
เหวี่ยง ฉุนเฉียวมากเกินไป หรอื แสดงความไม่พอใจต่อสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่เคารพและให้เกยี รติผ้อู น่ื
ชอบวิพากษ์วิจารณ์โดยไมใ่ หค้ าแนะนาใด ๆ ทาให้คนอ่ืนเสียสมาธิ ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจส่วนรวม
ไม่ค่อยรบั ฟงั ผู้อนื่ และมกั จะพดู แทรก พูดมากเกินไป

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) pg. 19

ตอนที่ 3

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

(Active Learning)

กระบวนการเรียนรูใ้ นศตวรรษท่ี 21 เนน้ องค์ความรู้ ทักษะ ความเชย่ี วชาญและสมรรถนะที่เกิด
กับตัวผู้เรยี น เพ่ือใช้ในการดารงชีวิตในสังคมโลกท่มี กี ารเปล่ียนแปลงไปอย่างมาก โดยมีการพัฒนาจาก
เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ( Partnership For 21 st
Century Skills) ที่มชี อ่ื ย่อว่า เครือขา่ ย P21 ซง่ึ พัฒนากรอบแนวคดิ เพอ่ื การเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 โดย
ผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะดา้ น ความชานาญการและความรู้ที่เท่าทันในด้านตา่ ง ๆ เขา้ ด้วยกัน
โดยที่ครจู ะเป็นผู้สอนอยา่ งเดียวไม่ได้ ต้องใหน้ ักเรียนเปน็ ผเู้ รียนรู้ไดด้ ้วยตนเอง ครจู ะเป็นผู้ออกแบบและ
อานวยการเรียนรู้ ฝกึ ฝนใหต้ นเองเป็นโคช้ (Coach) และอานวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรยี นรู้
ของผเู้ รียน

1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้เชงิ รุก
การจัดการเรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) เปน็ การเรียนทเ่ี น้นใหผ้ เู้ รยี นมีปฏสิ ัมพนั ธก์ ับการ

เรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์
สังเคราะห์และประเมินค่า ใช้ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การฟัง การตั้งคาถาม และการ
อภิปรายร่วมกัน บูรณาการในการเรียนรู้ ผู้เรียนลงมือปฏิบตั จิ ริง โดยต้องคานึงถึงความรู้เดิมและความ
ต้องการของผู้เรียนเป็นสาคัญ ท้ังน้ี ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วม
ในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

กระบวนการเรยี นรู้เชิงรุก เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีครูผสู้ อนควรนามาใช้ในการจัดกิจกรรมการ
เรีนยรู้ โดยส่งเสริมให้ผเู้ รียนมไิ ด้เป็นเพยี งผูร้ ับความรหู้ รอื ข้อมูลที่ครูถ่ายทอดมาให้เทา่ น้ัน ผู้เรียนจะตอ้ ง
เปน็ ผเู้ รียนรูแ้ ละปฏบิ ตั กิ ิจกรรมด้วยตนเอง คอื มคี วามตืน่ ตัวท่ีจะศึกษาเรยี นรู้ จัดกระทาขอ้ มลู และสร้าง
ความเข้าใจในข้อมูลหรือความรู้นั้น ๆ ด้วยตนเอง เพื่อทาให้สิ่งที่เรียนรู้มีความหมายต่อตนเองอย่าง
ชัดเจน ส่งผลใหส้ ามารถนาความรู้นัน้ ไปใชป้ ระโยชน์ได้ ซงึ่ ในกระบวนการสร้างความเข้าใจให้แก่ตนเอง
จะต้องอาศยั กระบวนการเรียนรู้ที่ตนื่ ตัว (Active learning) ทง้ั ทางกาย (Physically active) สตปิ ัญญา

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรู้เชงิ รกุ (Active Learning) pg. 20

(Intellectually active) สังคม (Socially active) และอารมณ์ (Emotionally active) เป็นการให้
ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้ และเรียนรอู้ ย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความร้คู วามเขา้ ใจและนาไป
ประยุกต์ใช้ได้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือสร้างสรรค์ส่ิงท่ีได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง
อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม มีโอกาสร่วม
อภิปราย ฝึกทักษะในการสอื่ สารทาให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และการนาเสนองานท่ีเกิดจากการเรียนรู้
ในสถานการณ์จาลอง หรือการฝึกปฏิบัติในสภาพจริงท่ีมีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะทา
ให้ผลการเรยี นรูเ้ กิดขึน้ สงู ขึ้น

หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์ สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน (2562) ไดส้ รปุ วา่ การจดั การ
เรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผูเ้ รียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบตั ิหรือ
การลงมือทาด้วยตนเอง ความรู้ที่เกิดข้ึนเปน็ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการจดั กิจกรรมการ
เรียนรู้ท่ีผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือกระทามากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน
ไดก้ ารเรียนรโู้ ดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทัง้ ใหผ้ ูเ้ รยี นได้ใชก้ ระบวนการ
คดิ ขัน้ สูง ได้แก่ การวเิ คราะห์ การสงั เคราะห์ และการประเมินค่า Active Learning จึงเปน็ กระบวนการ
เรยี นรู้ทีใ่ ห้ผู้เรยี นไดเ้ รียนรู้อยา่ งมีความหมาย ในการน้ี ครูผู้สอนจึงต้องลดบทบาทในการสอนและการให้
ขอ้ ความรู้แกผ่ ู้เรยี นโดยตรง แต่ไปเพม่ิ กระบวนการเรยี นรู้ผ่านการปฏบิ ตั ิและกิจกรรมทจี่ ะทาใหผ้ ู้เรยี นลง
มือทา เกิดความกระตือรือร้นในการทากิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปล่ียน
ประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การโต้ตอบ การอภิปรายกบั เพื่อนๆ จัดกระบวนการเรยี นรู้ท่ีทาให้
ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้อ่ืน ๆ เพราะ
กระบวนการเรียนรู้ Active Learning จะสอดคล้องกับการทางานของสมองของผู้เรียนท่ีเก่ียวข้องกับ
ความจา โดยสามารถเก็บและจาส่ิงที่ได้เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครูผู้สอน
ส่ิงแวดล้อมต่าง ๆ และการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ไว้ในระบบความจาระยะยาว (Long Term
Memory) ทาให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ได้ในปรมิ าณท่ีมากกว่า ระยะยาวนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ท่ี
ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ (Passive Learning) ซ่ึงอธิบายไว้ เป็นแผนภาพ กรวยไตแห่งการเรียนรู้
(The Cone of Learning) โดยแบ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ เป็น 2 กระบวนการ คือ กระบวนการ
เรียนรู้ Passive Learning และกระบวนการเรียนรู้ Active Learning ดงั น้ี

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนร้เู ชงิ รกุ (Active Learning pg. 21

ภาพ 4 กรวยแห่งการเรียนรู้ (The Cone of Learning)

จากภาพจะเห็นได้ว่า กรวยแห่งการเรียนรู้ ได้แบ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็น 2 กระบวนการ
คือ กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning และกระบวนการเรียนรู้ Active Learning โดย
กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เป็นการเรยี นรโู้ ดยการอ่าน ท่องจา ผู้เรียนจะจาได้ในส่ิงทีเ่ รยี น
เพียง 20% การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยท่ีผู้เรียนไม่ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ในขณะท่ีครูสอน ผู้เรียนจะจาได้เพียง 20% หากผู้เรียนมโี อกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทาให้ผล
การเรียนร้คู งอยู่ได้เพิม่ ข้ึนเป็น 30% และในการเรยี นรู้ท่ผี ู้สอนจดั ประสบการณใ์ ห้กบั ผเู้ รียนเพิ่มข้นึ เช่น
การใหด้ ภู าพยนตร์ การสาธิต จัดนทิ รรศการใหด้ ู รวมทัง้ การนาผู้เรียนไปทศั นศึกษาหรอื ดงู าน ก็ทาใหผ้ ล
การเรียนรู้เพมิ่ ขน้ึ เป็น 50% แตใ่ นส่วนที่เปน็ การเรยี นรู้ Active learning จะมีลักษณะดงั นี้

1) ให้ผู้เรยี นมีสว่ นรว่ มในการอภิปราย (participation in a discussion) โดยการให้ผู้เรียนได้มี
บทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจแล้วนาไป
ประยุกต์ใช้ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือสร้างสรรค์ส่ิงต่างๆ และพัฒนาตนเองตาม
ความสามารถ รวมถึงการจดั ประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มโี อกาสร่วมอภิปรายให้มโี อกาสฝกึ ทักษะ
การสื่อสาร ทาให้ผลการเรยี นรู้เพมิ่ ขึน้ 70%

2) การเรยี นร้จู ากประสบการณ์จรงิ (doing the real thing) โดยให้ผ้เู รยี นไดม้ กี ารนาเสนองาน
ทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จาลอง ท้ังมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจรงิ มีการเช่ือมโยงกับสถานการณ์
ต่างๆ ซ่งึ จะทาให้ผลการเรียนรขู้ องผ้เู รียนเกิดความคงทนไดถ้ งึ 90%

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ชิงรุก (Active Learning pg. 22

2. ลักษณะของการจดั การเรยี นรู้เชิงรุก
ในการจัดการเรียนร้เู ชิงรกุ สถานศึกษาและครูผ้สู อนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชงิ รกุ ไดท้ ้ัง

ในหนว่ ยการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรยี นรู้ในรายวชิ าหรอื กลมุ่ สาระการเรียนรตู้ า่ ง ๆ และในกิจกรรม
พัฒนาผูเ้ รยี นหรือกจิ กรรมเสริมทักษะของสถานศกึ ษา ซงึ่ ควรมีลกั ษณะดงั น้ี

1. เป็นการพฒั นาศกั ยภาพการคดิ การแกป้ ัญหา และการนาาความร้ไู ปประยกุ ตใ์ ช้
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
ในรูปแบบของความร่วมมอื มากกว่าการแขง่ ขัน
3. เปิดโอกาสให้ผ้เู รียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรยี นร้สู ูงสดุ
4. เป็นกจิ กรรมที่ใหผ้ ูเ้ รยี นบรู ณาการขอ้ มูล ขา่ วสาร สารสนเทศ สทู่ ักษะการคดิ วเิ คราะห์
และประเมินค่า
5. ผู้เรียนไดเ้ รียนร้คู วามมวี ินยั ในการทางานร่วมกับผูอ้ ่ืน
6. ความรูเ้ กดิ จากประสบการณ์ และการสรุปของผเู้ รยี น
7. ผูส้ อนเป็นผ้อู านวยความสะดวกการจัดการเรยี นรู้ เพอ่ื ให้ผูเ้ รยี นเปน็ ผ้ปู ฏิบตั ิด้วยตนเอง
8. จัดกิจกรรมที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กนั ระหว่างผูเ้ รียนกบั ผู้สอนและระหว่างผเู้ รียนดว้ ยกนั

3. รูปแบบของการจดั การเรยี นรเู้ ชงิ รุก
นักวิชาการและนกั การศกึ ษา ได้สรปุ รปู แบบการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รุก ดังนี้
หนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน (2562) ไดส้ รุปรปู แบบ

การจัดการเรียนรู้เชิงรกุ ดงั น้ี
1. การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผูเ้ รยี นเกิด

การเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ทเี่ ป็นรปู ธรรมเพื่อนาไปสู่ความรู้ความเขา้ ใจเชิงนามธรรม เหมาะกบั รายวชิ า
ท่ีเน้นปฏิบัติหรือเน้นการฝึกทักษะ สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้ท้ังเป็นกลุ่ม และเป็นรายบุคคล
หลักการสอนคือ ผู้สอนวางแผนจัดสถานการณ์ให้ผเู้ รยี นมีประสบการณ์จาเป็นต่อการเรียนรู้กระตนุ้ ให้
ผู้เรียนสะทอ้ นความคิด อภิปราย สิ่งที่ได้รับจากสถานการณ์ ตัวอย่างเทคนิคการสอนทีใ่ ช้ในการจัดการ
เรียนร้แู บบเนน้ ประสบการณ์ ไดแ้ ก่ เทคนิคการสาธิต และเทคนคิ เน้นการฝกึ ปฏิบัติ

1.1 เทคนิคการสอนแบบการสาธิต ผู้สอนวางแผนการสอนและออกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ โดยแบง่ สัดส่วนเวลาสาหรับการบรรยายเน้อื และการสาธิต พรอ้ มกับคดั เลอื กวิธกี ารท่ีจะลงมอื
ปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่มจะต้องมีการวางโครงสร้างการทางานกลมุ่ การแบ่ง
หน้าที่ และมีการสลับหมุนเวียนกนั ทกุ ครั้ง จากนน้ั ดาเนนิ การบรรยายเนื้อหาและสาธติ โดยขณะสาธิตจะ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม ผู้สอบแนะนาเทคนิคปลีกย่อย จากนั้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและผู้สอน

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รุก (Active Learning pg. 23

ประเมินผเู้ รียนโดยการสงั เกตพรอ้ มกับใหค้ าแนะนาในจุดทบี่ กพร่องเป็นรายบคุ คลหรอื เปน็ รายกลุ่มเมื่อ
เสร็จสนิ้ การปฏบิ ัตกิ ิจกรรม ผู้สอน และผู้เรียนร่วมกนั อภปิ ราย สรปุ ผลสงิ่ ทไ่ี ดเ้ รยี นรจู้ ากการลงมอื ปฏบิ ัติ

1.2 เทคนิคการสอนแบบเน้นฝกึ ปฏิบตั ิ ผู้สอนวางแผนและออกแบบกิจกรรมทเี่ น้นการ
ฝึกทักษะ เช่น การฝึกทักษะทางภาษาโดยจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะช้าๆ อาจเป็น
ในลักษณะใช้โปรแกรมช่วยสอน สาหรับการฝึกโดยผู้สอนมีบทบาทให้คาแนะนาอานวยความสะดวก
กระตนุ้ ให้ผเู้ รยี นมสี ว่ นรว่ มในชน้ั เรียน

2. การสอนแบบโครงงาน (Project Based Learning) โดยการสอนแบบโครงงานสามารถ
จัดเป็นกิจกรรมกลุม่ หรอื กิจกรรมเดี่ยวก็ได้ ให้พิจารณาจากความยาก – ง่าย และความเหมาะสมของ
โจทย์งาน และคุณลักษณะท่ีต้องการพัฒนาวางแผนและกาหนดเกณฑ์อย่างกว้างๆ แล้วให้นักศึกษา
วางแผนดาเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองโดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คาปรึกษา จากนั้น
ให้นักศึกษานาเสนอแนวคิดการออกแบบชิ้นงานพร้อมให้เหตุผลประกอบจากการค้นคว้า ให้ผู้สอน
พิจารณาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนจากนั้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติทาช้ินงาน และส่งความคืบหน้า
ตามกาหนด การประเมินผลจะประเมินตามสภาพจริง โดยมีเกณฑ์การประเมินกาหนดไว้ล่วงหน้าและ
แจง้ ใหผ้ ู้เรียนทราบก่อนลงมือทาโครงการ และอาจมกี ารเชญิ ผู้ทรงคุณวุฒริ ่วมประเมนิ ผล

3. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เป็นการสอนท่ีส่งเสริมให้
ผูเ้ รียนเกิดจากเรียนรตู้ ามวัตถปุ ระสงคท์ ่ีกาหนด ด้วยการศึกษาปัญหาทีส่ มมตุ ิข้นึ จากความจริงแล้วผ้สู อน
กบั ผ้เู รียนรว่ มกนั วเิ คราะหป์ ญั หาเสนอวิธแี ก้ปญั หา หลักของการสอนแบบใชป้ ญั หาเปน็ ฐานคอื การเลือก
ปัญหาท่ีสอดคล้องกับเนื้อหาการสอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคาถาม วิเคราะห์ วางแผนกาหนดวิธี
แก้ปัญหาดว้ ยตนเอง โดยผู้สอนมีบทบาทใหค้ าแนะนาแกผ่ เู้ รยี นขณะลงมือแก้ปญั หาสดุ ทา้ ยเม่อื เสร็จส้ิน
กระบวนการแก้ปญั หา ผู้สอนและผเู้ รยี นร่วมกันสรปุ ผลการแก้ปัญหา และแลกเปลีย่ นเรียนรูถ้ ึงส่งิ ทไ่ี ด้
จากการลงมือแก้ปญั หา

4. การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning) เป็นกระบวนการสอน
ท่ีผู้สอนใช้เทคนิค วิธีการกระตุ้นให้ผเู้ รยี น คิดเป็นลาดับขั้นแลว้ ขยายความคิดต่อเนื่องจากความคดิ เดิม
พิจารณาแยกแยะอย่างรอบด้าน ด้วยให้เหตุผล และเชื่อมโยงกบั ความรเู้ ดิมที่มี จนสามารถสร้างส่งิ ใหม่
หรอื ตดั สนิ ประเมินหาข้อสรปุ แลว้ นาไปแก้ปญั หาอย่างมีหลกั การ

4.1 การคิดวเิ คราะห์ หมายถงึ การพิจารณาสง่ิ ต่างๆ ในส่วนย่อย ๆ ซง่ึ ประกอบด้วยการ
วิเคราะห์เน้ือหา ด้านความสัมพันธ์และด้านหลักการจัดการโครงสร้างของการสื่อความหมาย และ
สอดคล้องกบั กระบวนการคิดวเิ คราะห์ทางวิทยาศาสตร์ คือ การคดิ จาแนกเป็นหมวดหมู่ และจับประเดน็
ตา่ ง ๆ เชอื่ มโยงความสมั พนั ธ์ ดงั นั้น การคิดเชงิ วเิ คราะหเ์ ปน็ ทกั ษะทสี่ ามารถพฒั นาให้เกดิ กับผเู้ รียน

4.2 การคิดสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการคิดที่ดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มา
หลอมรวมกนั ภายใต้โครงรา่ งใหม่อย่างเหมาะสม เพ่ือให้เกิดส่งิ ใหมท่ ม่ี ลี ักษณะเฉพาะแตกตา่ งไปจากเดิม

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรเู้ ชิงรกุ (Active Learning pg. 24

การคดิ สงั เคราะหค์ รอบคลุมถึงการคน้ ควา้ รวบรวมขอ้ มูลทเี่ ก่ยี วขอ้ งกบั เรอื่ งท่จี ะคดิ ซ่งึ มีมากหรอื กระจาย
กันอยู่มาหลอมรวมกนั คนท่ีคิดสังเคราะห์ได้เรว็ กว่าย่อมไดเ้ ปรียบกว่าคนท่ีสงั เคราะหไ์ ม่ได้ ซึ่งจะทาให้
เข้าใจ และเห็นภาพรวมของสิ่งน้ันได้มากกวา่ การคิดสังเคราะห์แบง่ เปน็ 2 ลักษณะ คอื

1) การคดิ สังเคราะห์เพอ่ื สรา้ งสง่ิ ใหม่ เชน่ ประดษิ ฐส์ ง่ิ ของเครอ่ื งใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ
2) การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวคิดใหม่
ถ้าเราสามารถคิดสังเคราะหไ์ ดด้ ี จะทาให้พัฒนาความคิดหรอื สงิ่ ใหม่ ๆ ทเ่ี ป็นประโยชนต์ ่อสงั คม
4.3 การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดใหม่ ๆ มีแนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ
มีความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพธ์ของความคิดสร้างสรรค์ท่ีชัดเจน คือ การ
แสดงออกด้านดนตรี การแสดง ละคร วรรณกรรม ส่ิงประดิษฐ์ นวัตกรรมทางเทคนิค บางครั้งการคดิ
สร้างสรรค์ก็แสดงออกในรปู แบบอ่ืน ๆ เช่น การตั้งคาถามบางอย่างที่ช่วยขยายกรอบของแนวคิดท่ีให้
คาตอบบางอย่าง หรือการมองโลก หรือปัญหาในแนวนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความคิด
เชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆ ทาง เป็นการใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเปน็ ไปได้
ใหม่ ๆ และนอกกรอบ คัดสรรหาทางเลือกใหมแ่ ละพยายามปรบั ปรุงใหด้ ี ซ่ึงมีวธิ ีการอยู่ 6 ขัน้ ตอน คอื

1. แสวงหาขอ้ บกพรอ่ ง (Mess Finding)
2. รวบรวมข้อมูล (Data Finding)
3. มองปญั หาทกุ ด้าน (Problem Finding)
4. แสวงหาความคดิ ท่ีหลากหลาย (Idea Finding)
5. หาคาตอบทรี่ อบดา้ น (Solution Finding)
6. หาขอ้ สรปุ ทเ่ี หมาะสม (Acceptance Finding)
กระบวนการของความคดิ สรา้ งสรรค์ อาจเกดิ ขนึ้ โดยบงั เอญิ หรอื โดยความตงั้ ใจ ซ่ึงสามารถทาได้
ด้วยการศึกษา การอบรม ฝึกฝน การระดมสมอง (brain-storming) มากกว่าครึ่งหน่ึงของการค้นพบ
ทย่ี ิง่ ใหญข่ องโลก เกดิ จากการค้นพบโดยบังเอิญ (serenity) หรือการค้นพบสงิ่ หนึง่ ซึ่งใหมใ่ นขณะที่กาลัง
ตอ้ งการคน้ พบสงิ่ อืน่ มากกว่า
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562) ได้สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active
Learning ไว้ดังน้ี
การจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนเพอ่ื สง่ เสรมิ สนับสนุนการจดั การเรียนรแู้ บบ Active Learning
สามารถสร้างให้เกิดข้ึนได้ท้ังในและนอกห้องเรียน รวมท้ังสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ
ท้ังในการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ รูปแบบการจดั
กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกดิ การเรยี นรแู้ บบ Active Learning ไดด้ ี มีดังนี้

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning pg. 25

1. การเรยี นรแู้ บบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ท่ใี ห้
ผู้เรียนคิดเก่ียวกับประเด็นท่ีกาหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากน้ันใหแ้ ลกเปล่ียนความคิดกับเพอ่ื น
อีกคน 3-5 นาที (Pair) และนาเสนอความคิดเห็นตอ่ ผู้เรยี นทงั้ หมด (Share)

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่ให้ผ้เู รียนไดท้ างานร่วมกบั ผอู้ ่นื โดยจดั กลมุ่ ๆ ละ 3-6 คน

3. การเรยี นรแู้ บบทบทวนโดยผ้เู รียน (Student-led review sessions) คอื การจดั กจิ กรรมการ
เรียนรู้ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรม
การเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลอื กรณีทม่ี ีปญั หา

4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนร้ทู ี่ผ้สู อนนาเกมเข้ามาบรู ณา
การในการเรยี นการสอน ซึง่ ใชไ้ ดท้ ัง้ ในข้ันการนาเข้าสูบ่ ทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรอื
ข้ันการประเมินผล

5. การเรยี นรูแ้ บบวิเคราะหว์ ดี ีโอ (Analysis or reactions to videos) คอื การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่ให้ผู้เรยี นได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเก่ียวกับ
สิ่งที่ไดด้ ู อาจโดยวธิ กี ารพูดโต้ตอบกนั การเขียน หรอื การรว่ มกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีจัดให้ผู้เรียน
ไดน้ าเสนอข้อมลู ที่ไดจ้ ากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพ่ือยนื ยันแนวคดิ ของตนเองหรอื กลุ่ม

7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือ
การจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ ทใี่ หผ้ ู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากส่งิ ทไ่ี ด้เรยี นรมู้ าแล้ว

8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือ การจัด
กิจกรรมการเรยี นรูท้ ่ีอิงกระบวนการวิจยั โดยให้ผเู้ รียนกาหนดหวั ข้อทีต่ ้องการเรียนรู้ วางแผนการเรยี น
เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงานและสะท้อนความคิดในส่ิงที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่า
การสอนแบบโครงงาน (project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-
based learning)

9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างท่ีตอ้ งการศึกษา จากน้ันใหผ้ ู้เรยี นวิเคราะห์และแลกเปลย่ี นความคิดเห็นหรอื
แนวทางแก้ปญั หาภายในกลุ่ม แลว้ นาเสนอความคิดเห็นตอ่ ผเู้ รียนทงั้ หมด

10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรม
การเรียนรทู้ ีผ่ เู้ รียนจดบนั ทึกเรอ่ื งราวต่างๆ ทไ่ี ด้พบเห็น หรือเหตกุ ารณ์ทีเ่ กดิ ขึน้ ในแตล่ ะวัน รวมทั้งเสนอ
ความคดิ เห็นเพมิ่ เตมิ เกย่ี วกับบนั ทึกท่เี ขียนไว้

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning pg. 26

11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือ การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ
ข่าวสาร และเหตกุ ารณ์ที่เกดิ ขึ้น แล้วแจกจา่ ยไปยังบุคคลอนื่ ๆ

12. การเรียนรู้แบบแผนผงั ความคิด (Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรทู้ ใี่ ห้
ผ้เู รยี นออกแบบแผนผงั ความคิด เพื่อนาเสนอความคดิ รวบยอด และความเชอ่ื มโยงกนั ของกรอบความคิด
โดยการใช้เสน้ เป็นตัวเชื่อมโยง อาจจดั ทาเป็นรายบุคคลหรืองานกลมุ่ แลว้ นาเสนอผลงานตอ่ ผู้เรียนอน่ื ๆ
จากนัน้ เปิดโอกาสให้ผเู้ รยี นคนอืน่ ได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ท้ังน้ี วิธกี ารจัดกจิ กรรมการเรยี นรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) มีหลากหลายวิธี ขึน้ อยู่กบั บรบิ ทของผสู้ อน
ผู้เรียน และสถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดหลักการของการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันทากิจกรรม
มากกว่าการแข่งขัน ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบร่วมกันในการทางาน และรู้จักแบ่งหน้าที่ร่วมกันใน
การทางาน เช่น Peer Instruction (การเรียนร่วมกัน การเรียนรู้จากเพ่ือน เพ่ือนช่วยเพื่อน)
Class Debate (การอภิปรายในช้ันเรียน) Role-Playing (การแสดงบทบาทสมมติ) Case Studies
(กรณีศึกษา) Creative Scenarios and Simulations (กรณีศึกษาสมมุติเพ่ือใช้ในสถานการณ์
จาลอง) Think-Pair-Share (การเรียนการสอนรูปแบบแบ่งปันความคิด) Peer Review (การทบทวน
โดยผู้รู้เสมอกัน) Discussion Problem (การอภิปรายปัญหา) Game based Learning (การเรียนรู้
ผ่านเกม) เปน็ ต้น

4. การออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรูเ้ ชิงรุก
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรกุ หรือ Active Learning เป็นกระบวนการจดั การเรียนรู้

ที่ผู้สอนออกแบบกิจกรรมโดยคานึงถึงความสามารถและความแตกต่างของผู้เรยี นเป็นรายบคุ คล มุ่งเนน้
ให้ผู้เรียนได้ลงมือ กระทาด้วยตนเอง และ ได้ใช้กระบวนการคิดเก่ียวกับส่ิงที่เขาได้กระทาลงไป
(Bonwell, 1991) โดยผู้เรียนจะเปลีย่ นบทบาทจากผรู้ ับความรู้ (receive) ไปสู่การมีสว่ นรว่ มในการสรา้ ง
ความรู้ (Co-Creators) ความร้ทู ่ีเกิดขนึ้ จึงเปน็ ความรทู้ ่ีคงทน การออกแบบกจิ กรรมการเรียนรูห้ นว่ ยการ
เรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นข้ันตอนสาคัญท่ีสุด เพราะเป็นส่วนที่นามาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ
ในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง โดยครูผู้สอน ต้องศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด
อย่างเข้าใจ ชัดเจน เพ่ือนาไปสู่ปลายทางและทุกข้ันตอนของกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้
ต้องเชื่อมโยงสัมพันธก์ ันอย่างเป็นเหตเุ ป็นผล

1. การกาหนดหัวข้อเรื่อง (Theme) หัวขอ้ เรือ่ ง (Theme) เปน็ ข้อความที่เปน็ ประเดน็ ของเรื่อง
ที่ผู้เรียนจะทาการศึกษา โดยเป็นมโนทศั น์กว้าง ๆ ที่เอ้ือต่อการใช้ความรู้ และมุมมองหลายวิชารวมกนั
สื่อความหมายเป็นแนวคิดหรือความคิดรวบยอด (Concept) แก่ผู้เรียน ควรเป็นหัวข้อเร่ืองที่ทันสมัย

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนรู้เชงิ รุก (Active Learning pg. 27

น่าสนใจ และมีความหมายสาหรับผ้เู รียน ทาใหเ้ กิดความกระหาย อยากจะเรียนรู้ และพรอ้ มท่ีจะสืบสวน
(Inquiry) แสวงหาคาตอบด้วยตนเอง ซ่ึงผูอ้ อกแบบกิจกรรมควรพจิ ารณาในประเดน็ ต่อไปน้ี

1.1 หัวขอ้ เร่อื ง มีความยากงา่ ย เหมาะสมกบั ระดับความรู้ความสามารถของผเู้ รียน
ไม่ยุ่งยากหรอื ซบั ซ้อนจนเกินไป และทสี่ าคัญตอ้ งมีความเปน็ ไปได้

1.2 หวั ข้อเรื่อง มีแหลง่ ความรทู้ จ่ี ะศกึ ษาคน้ คว้า
1.3 หวั ขอ้ เรือ่ ง สอดคลอ้ งกบั ความถนดั ความสนใจ และความพรอ้ มของผ้เู รียน
2. การจดั กจิ กรรมการเรียนรูเ้ ชงิ รกุ มแี นวทางในการเลอื ก ดังนี้
2.1 เลอื กกิจกรรมทสี่ อดคลอ้ งกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรยี นรู้ สอดคล้อง
เชื่อมโยงกับมาตรฐานหรือตัวช้ีวัด หากเป็นทักษะ ควรเป็นทักษะที่ปฏิบัติแล้วผู้เรียนเปล่ียนแปลง
พฤติกรรมไดต้ ามวัตถุประสงค์
2.2 เลือกกิจกรรมท่ผี เู้ รยี นพึงพอใจ สนุก น่าสนใจ ไม่ซ้าซาก มปี ระโยชน์ตอ่ การนาไปใช้
ในชีวิตประจาวนั และทาใหผ้ เู้ รียนมีเจตคตทิ ด่ี ีตอ่ การเรียน
2.3 เลือกกจิ กรรมทเี่ หมาะสมกับความสามารถ ดา้ นร่างกายของผู้เรยี นที่จะปฏิบัติ
ได้ และควรคานึงถงึ ประสบการณ์เดิม เพอ่ื จัดกจิ กรรมใหมไ่ ดอ้ ยา่ งต่อเน่ือง
2.4 เลือกกิจกรรมทส่ี ่งเสรมิ จดุ มุง่ หมายในการจดั การเรียนรู้หลาย ๆ ดา้ น
2.5 เลอื กกิจกรรมใหห้ ลากหลาย คานงึ ถึงความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล เหมาะสมกับวยั
ความสามารถและความสนใจของผูเ้ รยี น ใหผ้ ู้เรยี นไดใ้ ชป้ ระสาทสมั ผัสในการเรยี นร้มู ากท่ีสดุ
2.6 ใช้สอื่ /แหล่งเรียนรูท้ ห่ี ลากหลายและเหมาะสม
2.7 ใชเ้ ทคนคิ วธิ กี ารเรยี นร้ทู ่หี ลากหลาย สง่ เสรมิ กระบวนการคิดและทกั ษะตา่ ง ๆ
2.8 ผเู้ รยี นมสี ่วนรว่ มในการทากจิ กรรมและการประเมินผล มกี ารวัดและประเมนิ ผล
ทห่ี ลากหลายและสอดคลอ้ งกับกิจกรรม
3. การวัดและประเมินผล การจัดการเรยี นรู้เชิงรุก การวัดและประเมนิ ผลการจัดการเรยี นรู้
เป็นกระบวนการในการตรวจสอบผลการดาเนนิ กิจกรรมว่าบรรลตุ ามเป้าหมาย ที่กาหนดไวห้ รอื ไม่ มีสว่ น
ใดต้องปรับปรุงแก้ไขเพ่ือพัฒนาต่อไป โดยประเมิน ทั้งกระบวนการในการจัดกิจกรรม และประเมิน
คุณภาพของผู้เรยี น ใช้การประเมินหลากหลายวิธี ให้ทุกฝา่ ยได้มโี อกาสในการประเมิน เช่น ครูประเมนิ
ผู้เรยี น ผู้เรยี นประเมนิ เพอ่ื น ผเู้ รยี นประเมนิ ตนเอง วิธีการในการประเมนิ ควรถกู ตอ้ งเหมาะสมกับความรู้
ทักษะ และคณุ ลกั ษณะของผู้เรียนทีก่ าหนดไวใ้ นเปา้ หมายของการจัดกิจกรรมนั้น ๆ
การประเมนิ ผลการเรียนรู้เชิงรกุ ควรใช้หลกั การประเมนิ ตามสภาพจรงิ และนาผลการประเมนิ
กลบั มาพัฒนาผเู้ รียนอยา่ งต่อเนื่อง โดยมลี กั ษณะ ดังน้ี
1) ใช้ผู้ประเมินจากหลายฝา่ ย เชน่ ผเู้ รยี น เพอื่ น ผสู้ อน ผู้เก่ียวข้อง ฯลฯ
2) ใช้วธิ ีการหลากหลายวธิ ี/ชนิด เช่น การสังเกต การปฏิบตั ิ การทดสอบ การรายงานตนเอง

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรูเ้ ชิงรกุ (Active Learning pg. 28

3) ประเมินหลายๆ ครั้ง ในชว่ งเวลาการเรยี นรู้ เชน่ ประเมนิ กอ่ นเรียน ระหว่างเรยี น และสน้ิ สุด
การเรยี น

4) สะท้อนผลการประเมินแก่ผเู้ รยี นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนาไปสู่การปรบั ปรุง แก้ไขและพัฒนา
ผู้เรียน
5. การออกแบบการเรียนร้เู ชงิ รกุ ในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) หรือ ในยุคปกติใหม่ (New normal)
การออกแบบการเรียนรใู้ นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา (Covid-19)

มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่มี Platform และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ควรออกแบบการเรียนรู้ให้
มุ่งเน้นการเปิดพื้นท่ีการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างสูงสุดในการเรียนรู้ และ
นาไปใชป้ ระโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ดงั แผนภาพ

ภาพ 5 การเปิ ดพนื้ ทีก่ ารเรียนรู้และโอกาสของผู้เรียน

จากแผนภาพ การเปิดพื้นท่ีการเรียนรู้ หมายถึง โอกาสที่ผู้เรียนได้รับจากครูผู้สอน ในการ
กาหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ ออกแบบและใช้วิธีการเรียนรู้ของตนเอง ประเมินเพ่ือปรับปรุงและ
พัฒนาตนเอง และสะท้อนคิดกลับมายังตนเอง (Self-reflection) ตลอดจนโอกาสท่ีจะนาสิง่ ท่ไี ด้เรยี นรู้
ไปทาประโยชน์ต่อส่วนรวม แลว้ กาหนดเป้าหมายการเรยี นรู้ใหมด่ ้วยตนเองอกี ครงั้ แล้วลงมอื เรยี นรู้ และ
เห็นคณุ คา่ ของการเรียนรูอ้ ย่างแท้จรงิ และใชห้ ลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งเปน็ รากฐานสาคัญในการ
เรยี นรูต้ อ่ ไปไม่มีทส่ี ิ้นสุด โดยมีหลกั การออกแบบการเรียนรใู้ นยุค New normal ดงั ต่อไปน้ี

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรกุ (Active Learning pg. 29

ภาพ 6 หลกั การออกแบบการเรียนรู้ในยุค new normal

จากภาพ การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal มีจดุ เนน้ อย่ทู ีก่ ารทาใหผ้ ู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ท่มี คี ณุ ภาพท่เี ป็นการเรียนรเู้ ชิงลกึ คอื รจู้ รงิ รูช้ ดั นาไปประยุกต์ใช้ และสร้างสรรคน์ วัตกรรมได้
การออกแบบการเรียนรู้ทีจ่ ะตอบสนองจดุ เนน้ ดงั กลา่ ว ควรดาเนินการตามข้นั ตอนดงั น้ี

1. วิเคราะหส์ ่งิ เรา้ แรงผลักดันของผเู้ รียน (Passion) วา่ อะไรทสี่ ามารถกระตุน้ ผู้เรียน
ให้มี Passion ในการเรียนรู้ ซ่ึงผู้เรียนแต่ละคนจะมีสิ่งกระตุ้นแตกต่างกัน หากผู้สอนค้นพบส่ิงกระตนุ้
ดังกล่าว จะเป็นจุดเร่ิมต้นของพฤติกรรมการเรยี นรู้อันพึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น ความกระตือรือร้น
การแสวงหาความรู้ การแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ เปน็ ต้น

2. วิเคราะหส์ าระและกิจกรรมการเรียนรู้ท่สี อดคลอ้ งกบั ส่ิงเร้า/แรงผลักดนั (Passion)
ของผู้เรียน คือ สาระและกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีตอบสนองความความสงสัยใคร่รู้ของผู้เรียน กิจกรรม
การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ Passion จะช่วยทาให้ผู้เรียนใช้พื้นท่ีการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเน่ือง
ตรงกันข้ามหากกจิ กรรมการเรียนรไู้ ม่สอดคล้องกบั Passion ผูเ้ รยี นจะมพี ฤตกิ รรมไมอ่ ยากเรยี นรู้

3. วเิ คราะห์รปู แบบ (Platform) และวิธีการเรียนร้ทู ่เี หมาะสมกบั ผู้เรยี น การวเิ คราะห์ในข้นั
ตอนนี้ ช่วยทาให้ผู้เรียนมีทางเลือกท่ีจะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง
(หลายเส้นทางเป้าหมายเดียวกัน) สาหรับ Platform การเรียนรู้น้ัน อาจจะเป็นการเรียนรู้บนโลก
ออนไลน์ การเรียนรู้ท่ีโรงเรียน การเรียนรู้ที่บ้านการเรียนรู้ที่ชุมชน ส่วนวิธีการเรียนรู้ควรเน้นวิธีการ
เรียนรู้ตามแนวทาง Active learning ในทุก Platform เพ่ือให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ สะท้อนคิด และ
ถอดบทเรยี นเปน็ แกน่ ของความรู้ ซ่งึ การถอดบทเรียนจะช่วยทาใหเ้ กิดการเรียนรเู้ ชิงลึก และจดจาไดด้ ี

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รุก (Active Learning pg. 30

4. เตรยี มทรัพยากรการเรียนรู้ สาหรับการเรียนรูใ้ นแตล่ ะ Platform และวธิ ีการเรยี นรู้จะช่วย
ทาให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกพื้นที่การเรียนรู้ของตนเองในลักษณะการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Personalized
learning) หรือการเรยี นรูท้ ตี่ อบสนองความต้องการส่วนบุคคลของผเู้ รียน ช่วยให้ผูเ้ รียน มีจิตใจจดจ่อ
และมงุ่ มนั่ อยูก่ บั การเรยี นรขู้ องตนเอง

5. จดั กิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะเปิดพ้นื ท่กี ารเรยี นรู้ 5 ประการ ได้แก่
1) เปิดโอกาสให้ผู้เรยี นกาหนดเปา้ หมายในการเรยี นรขู้ องตนเอง
2) เปิดโอกาสใหผ้ เู้ รียนออกแบบและใช้วิธกี ารเรียนร้ขู องตนเอง
3) เปิดโอกาสใหผ้ ู้เรยี นประเมนิ เพ่อื พฒั นาตนเอง
4) เปดิ โอกาสใหผ้ ูเ้ รียนนาสิง่ ทีไ่ ดเ้ รียนรูไ้ ปใชป้ ระโยชน์ตอ่ สว่ นรวม
5) เปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รียนสะทอ้ นคดิ ตนเอง เพื่อนาไปสู่การเรยี นรคู้ ร้งั ใหม่

6. ประเมินประสิทธิภาพของ Platform และวิธีการเรียนรู้ท่ีผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนรู้
วา่ ตอบสนองความตอ้ งการของผู้เรียนได้มากนอ้ ยเพยี งใด ซึง่ ผลการประเมินส่วนน้ีจะนาไปสู่การปรับปรุง
และพัฒนาการจดั การเรียนร้ใู หผ้ เู้ รยี นมพี น้ื ท่กี ารเรยี นรู้มากข้นึ

ขน้ั ตอนการออกแบบการเรยี นรู้ใน New normal แสดงได้ ดงั ภาพ

ภาพ 7 ขัน้ ตอนการออกแบบการเรียนรู้ในยุด new normal

จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมแบบเปิดพ้ืนท่ีการเรียนรู้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกาหนด
เปา้ หมายการเรียนรู้ การออกแบบและใช้วิธีการเรยี นรขู้ องตนเอง เปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รยี นประเมนิ เพอื่ พฒั นา
ตนเอง นาสง่ิ ท่ีได้เรยี นรู้ไปใช้ประโยชน์ รวมถึงผเู้ รยี นไดส้ ะทอ้ นความคดิ ของตนเอง เพอ่ื นาไปสกู่ ารเรยี นรู้
คร้ังใหม่ ซ่ึงสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ใช้ประสบการณ์เดิม ประยุกต์กับประสบการณ์ใหม่ สร้างเป็นองค์ความรแู้ ละสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
นาไปใชใ้ นการแก้ปัญหาและเชื่อมโยงกบั ชวี ิตจรงิ ไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพตอ่ ไป

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรยี นรเู้ ชงิ รกุ (Active Learning pg. 31

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-
19) ระลอกใหม่ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, 2564)

เนื่องดว้ ยสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่
ในปี 2564 ซึ่งมคี วามรนุ แรง แพร่กระจายและขยายตัวในวงกว้างและรวดเร็วมากกว่าคร้ังท่ีผา่ นมา และ
มีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดในโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศให้เล่ือนการเปิดภาคเรียนท่ี 1
ปกี ารศกึ ษา 2564 และได้เสนอแนะรปู แบบการจดั การเรยี นการสอนทางไกล ซง่ึ ในเขตพน้ื ท่ีควบคุมการ
แพร่ระบาดของโรคสงู สุด (พืน้ ที่สแี ดงเขม้ ) ใหใ้ ชร้ ูปแบบการเรียนการสอนทางไกล 4 รูปแบบ ยกเว้น On-
site สว่ นพน้ื ทีอ่ ่นื ใหส้ ถานศึกษาพิจารณาตามความพร้อม โดยใชร้ ปู แบบการจัดการเรยี นการสอนทางไกล
และต้องผ่านการประเมินความพร้อม ตามระบบ Thai Stop Covid Plus ของกรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุขเพื่อรตรวจสอบความพร้อมก่อนเปิดทาการของสถานประกอบการต่าง ๆ และต้องขอความ
เห็นชอบต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจงั หวดั เพื่อขอใชพ้ น้ื ทใี่ นการจัดการเรยี นการสอน

รปู แบบการจัดการเรียนการสอน สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) มีรายละเอียดดงั นี้

1. On-site การจัดการเรียนการสอนแบบปกติท่ีโรงเรียน (มาตรการ ศบค.) หมายถึงการ
จัดการเรียนการสอนแบบปกติท่ีโรงเรียนโดยโรงเรียนสามารถปฏิบัติตามข้อกาหนดของกระทรวง
สาธารณสขุ อย่างเคร่งครัด

2. On-air เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบทางเดียว ผ่านระบบสื่อสารช่องทางหลักโดยสง่
สัญญาณครูผู้สอนต้นทางมาจาก โรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซ่ึงเป็นช่องทางในการ
เผยแพร่การเรียนรู้ DLTV ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระดับ
อนบุ าลถงึ ชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ 3

3. On-demand การจัดการเรยี นการสอนผ่านสอ่ื อเิ ลคทรอนิกตา่ ง ๆ เรียนผา่ นเว็บไซต์ DLTV
/ DLIT / OBEC Content Center

4. On-Line การจัดการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ
วีดีโอคอนเฟอร์เร้นทแ์ ละรุปแบบการถ่ายทอดสด เป็นการจดั การเรยี นการสอนผา่ นเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ นต็
ในรูปแบบสอ่ื สารสองทาง (Video Conference) หรือรปู แบบสื่อสารทางเดียวในแบบถ่ายทอดสด (LIVE
Streaming) ระหว่างครูและนักเรียน โดยนักเรียนจะต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครือข่าย
อินเทอรเ์ นต็ เช่น Google Meet Microsoft Teem Zoom Meeting

5. On-hand การจัดการเรียนการสอนโดยจัดสง่ เอกสารให้เรียนท่ีบา้ น สาหรับนักเรียนท่ไี ม่มี
ความพร้อมเร่ืองวัสดุอปุ กรณ์เทคโนโลยีสาหรับการเรียนทางไกลรปู แบบอื่น ๆ เช่น หนังสือ แบบฝึกหดั
ใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชงิ รกุ (Active Learning pg. 32

ขอ้ เสนอแนะการจัดการเรยี นรูเ้ ชงิ รุกในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019
ในการจัดการเรียนรู้ในยุค new normal ยังคงจัดการเรียนรู้ตามรายวิชาหรือกลุ่มสาระการ

เรียนรู้เดิม เนื่องจากอาจจะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามปกติได้ จาเป็นต้องใช้การเรยี นการสอน
ทางไกลในรปู แบบต่าง ๆ การจดั การเรียนร้คู วรมุ่งเนน้ การปรบั เปลยี่ นผลลพั ธท์ ไี่ ดจ้ ากการเรยี นร/ู้ ผลผลติ
(OUTPUT / OUTCOME ) เลือกออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ให้เรียนรู้จากสถานการณ์จรงิ สรา้ งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของตนเอง เพ่ือให้ผเู้ รยี นไดม้ องเหน็ โลก
จริงทซ่ี ับซ้อน และหาทางแก้ไขปญั หาไดด้ ว้ ยตนเอง เพราะสถานการณจ์ รงิ ท่ีพบเหน็ จะกระตนุ้ การเรยี นรู้
ไดด้ ีกวา่ การเรียนรู้ในรายวชิ าแบบด้งั เดิมในห้องเรยี น ครูควรปรบั เปล่ียนวธิ ีการเรียนรู้จากเดมิ เปน็ วธิ ีการ
รับความรู้จากการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ครูจะไม่บอกคาตอบทันที เพราะจะทาให้นักเรียนไม่คิดหา
คาตอบเอง ครูควรออกแบบให้ผเู้ รยี นไปแสวงหาคาตอบ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยสรปุ ขนั้ ตอนการ
ออกแบบการเรียนรใู้ นยคุ new normal ไดด้ ังนี้

1 เปิ ดโอกาสใหผ้ ูเ้ รยี น กาหนด 2 เปิ ดโอกาสให้ผเู้ รียน ออกแบบ

เป้าหมายในการเรยี นรู้ของตนเอง และใช้วธิ ีการเรยี นรู้ของตนเอง

3 เปิ ดโอกาสให้ผู้เรยี น ประเมนิ 4 เปิ ดโอกาสใหผ้ ้เู รียน นาสิ่งทไี่ ด้
เพอื่ พฒั นาตนเอง เรียนรู้ไปใช้ประโยชนต์ ่อส่วนร่วม

5 เปิ ดโอกาสใหผ้ ู้เรยี น สะทอ้ น
ความคดิ ของตนเอง เพอื่ นาไปสู่

การเรียนรู้คร้ังใหม่

ทัง้ น้ี ครผู ู้สอนอาจรว่ มกันจดั ทาแผนการสอนหรือหนว่ ยการเรยี น ขอบข่ายการเรยี นท่ีมีเป้าหมาย ตัวชี้วดั
รว่ มกัน โดยออกแบบชิน้ งาน/ภาระงานเพยี ง 1 ชิน้ ใหม้ กี ารบูรณาการเรียนรใู้ นหลายสาระการเรยี นรู้หรอื
รายวิชา เพื่อลดขั้นตอนการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนทางไกลรูปแบบ On-hand
ครูควรกาหนดช้ินงานรว่ มกัน และระบุชัดเจนวา่ แตล่ ะวิชา ผ้เู รยี นต้องทาอะไรในชิ้นงานนน้ั ร่วมถึงครูควร
มีการปรึกษาหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอนทางไกลรว่ มกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนใน
รูปแบบและสถานการณ์ใหมๆ่ และบันทึกผลการจดั การเรียนการสอนทางไกล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ
ปรับปรุง พัฒนาตอ่ ไป

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รกุ (Active Learning pg. 33

ตอนท่ี 4

การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรกุ

การนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ปน็ กระบวนการสาคัญในการปรบั ปรุง พัฒนาการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนในช้ันเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน มีจุดมุ่งหมายสาคัญอยู่ที่ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของ
ผู้เรยี น ชว่ ยใหผ้ ู้เรยี นบรรลเุ ป้าหมายท่ีกาหนดไว้ในหลกั สูตร การนิเทศช่วยส่งเสริม สนับสนุนใหค้ รูเขา้ ใจ
สิ่งต่าง ๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ศักยภาพของครู ความรู้ความเข้าใจของครู เทคนิค
วธิ ีการจดั กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้เรยี น ความสามารถ ความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน การนิเทศการจัดการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ทาร่วมกันระหวา่ ง
ผูน้ ิเทศและผู้รับการนิเทศ โดยผูน้ ิเทศอาจเป็นศกึ ษานเิ ทศก์ ผบู้ ริหารโรงเรยี น ผูช้ ่วยฝ่ายวชิ าการ หวั หน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและรวมถึงครูทุกคน สาหรับผู้รับการนิเทศก็คือครผู ู้สอน
หรือผู้ท่ีจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้ ผู้นิเทศจะช่วยตรวจสอบว่าผู้รับการนิเทศได้ออกแบบ
กจิ กรรมการเรียนการสอนที่เนน้ พฒั นากระบวนการเรยี นรู้ของผู้เรยี น เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติท้ังในสถานการณ์จาลองและสภาพจริง สร้างองค์
ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งเป็น
ลักษณะของการจดั การเรยี นรู้เชิงรกุ (Active Learning) นั่นเอง

ในการนิเทศการจัดการเรียนรเู้ ชิงรุก มีเป้าหมายเพ่ือส่งเสริม สนับสนุน กากับ ติดตามครูผู้สอน
ให้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ในลักษณะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ได้ล งมือทา คิดวิเคราะห์ และ
แก้ปญั หา รวมท้งั เป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรเู้ ต็ม
ตามศักยภาพและความแตกต่างของแต่ละบุคคล มีพัฒนาการท่ีเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้งด้านความรู้
ความคิด คุณลักษณะ และทักษะกระบวนการ สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง
มคี วามสุข

1. กระบวนการนิเทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรุก (Active learning)
การเปลย่ี นแปลงในยคุ ศตวรรษท่ี 21 ส่งผลต่อผูเ้ รยี นในระบบการศึกษา จาเป็นตอ้ งมีการพัฒนา
เพื่อเท่าทันและตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงมุ่งเนน้
ให้ผู้เรียนได้เรยี นรจู้ ากประสบการณ์จริง ผ่านการลงมือปฏิบตั ิ และการสร้างแรงบันดาลใจไปพร้อมกนั
กล่าวคอื ผู้เรียนจะไม่เป็นเพียงผรู้ ับ (Passive Learning) แตจ่ ะได้เรียนรู้จากการกระทา และการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) โดยมีครูเป็นผู้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และเป็น
ผอู้ านวยการเรียนรู้ ครูผู้สอนตอ้ งไม่ตั้งตนเป็น “ผรู้ ู้”แต่ตอ้ งแสวงหาความรูไ้ ปพรอ้ ม ๆ กบั ผู้เรียนดว้ ยกัน

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้เชงิ รุก (Active Learning) pg. 34

การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 เป็นการก้าวข้ามการเรียนรู้ตาม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่ง
ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)” โดยครูเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ ในลักษณะการเป็นโค้ช
(Coach) และอานวยความสะดวก (Facilitator) (สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน 2560 : 1)
ด้วยเหตุน้ี การจดั การเรยี นรเู้ ชงิ รุก (Active Learning) จงึ เป็นกระบวนการทม่ี ุง่ เนน้ ใหผ้ เู้ รยี นสามารถนา
องค์ความรูท้ ีม่ อี ยทู่ กุ หนทกุ แหง่ บนโลกน้ี มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพอื่ ตอบสนองการเรียนรขู้ องตนเอง
ผู้เรียนสามารถพัฒนานวัตกรรม มีความสามารถในการคิดส่ิงใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการของสังคม
ซ่ึงภารกิจในการส่งเสริม ปรับเปล่ียนวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู เป็นบทบาทสาคัญของ
ศึกษานิเทศก์

กระบวนการนเิ ทศการศึกษาของศกึ ษานเิ ทศก์ เป็นกลไกลสาคัญในการพฒั นาและปรบั เปล่ียนวิธี
จัดกิจกรรมกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ให้เป็นครูยุคใหม่ การนิเทศช่วยให้ผู้สอนและบุคลากร
ทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้พัฒนาตนเองใหม้ ีสมรรถนะเพียงพอทจี่ ะนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ให้มี
ความร้คู วามสามารถ คุณลกั ษณะและทักษะที่จาเปน็ ในศตวรรษที่ 21 ซ่ึงการให้ความรู้แกผ่ ้สู อนโดยไม่มี
การนิเทศ กากับ และติดตามดูแล ชว่ ยเหลอื ผ้สู อนจะปรับเปลีย่ นพฤติกรรมใหม่ ๆ ยากมาก ผนู้ เิ ทศตอ้ ง
อาศัยวิธีการท่ีหลากหลาย และวิธีการหน่ึงท่ีจะช่วยให้ครูสามารถปรับวิธีเรียน เปล่ียนวิธีสอน พัฒนา
ตนเอง พัฒนางานในวิชาชีพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดประสิทธิผลสูงสูดต่อผู้เรียน คือ
การนิเทศช้ันเรียน โดยการสังเกตการสอน มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียน
การสอนทีพ่ ัฒนาทกั ษะของผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21 เป็นการพฒั นาผู้เรยี นเปน็ รายบคุ คลท่ีสอดคล้องกับ
บริบทของสถานศกึ ษาโดยใชก้ ระบวนการนเิ ทศและความร่วมมอื ของผ้สู อนและผบู้ รหิ ารสถานศึกษา

กระบวนการในการนิเทศการศกึ ษา มีนักการศกึ ษาหลายทา่ นได้นาเสนอกระบวนการในการนเิ ทศ
ไวห้ ลายท่าน ซ่งึ มคี วามหมายและความสาคญั พอสรุปได้ดงั น้ี

กระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นการออกแบบและวางแผนของการนิเทศการศึกษาท่ีผนู้ เิ ทศ
ได้จัดลาดับไว้อย่างต่อเน่ือง มีลาดับข้ันตอนในการดาเนินงานชัดเจน มีเหตุผลและสามารถดาเนินการ
ไดส้ อดคลอ้ ง เหมาะสมกับบรบิ ทในแต่ละพน้ื ท่ี เน่อื งจากการนเิ ทศการศึกษามคี วามสาคัญต่อการพัฒนา
ปรับปรุง และเพ่ิมประสิทธิภาพการศึกษาในสถานศึกษา มุ่งให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร
สามารถจดั การเรยี นการสอนไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ รวมทง้ั การบริหารจดั การ การจัดกิจกรรมการเรยี น
การสอนและปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ซ่ึงการนิเทศการศึกษาสามารถนารูปแบบและ
แนวคิดต่าง ๆ มาปรับประยุกต์ใช้เพ่อื ให้เกิดรปู แบบในการนิเทศท่ีหลากหลายตามสภาพและบรบิ ทของ
ผู้รับการนิเทศ ผู้นิเทศสามารถวางแผนและออกแบบการนิเทศได้ตามความเหมาะสม ซ่ึงในที่น้ี
ไดน้ าเสนอวงจรคณุ ภาพ PDCA หรือทเี่ รียกวา่ วงจรเดมงิ (Deming Cycle) หรือวงจรชูฮารต์ (Shewhart
Cycle) คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดกระบวนการนิเทศการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพมากข้นึ ดงั นี้

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรยี นรู้เชิงรกุ (Active Learning) pg. 35

1. Plan (วางแผน) หมายถงึ การวางแผนการดาเนนิ งานอย่างรอบคอบ ครอบคลมุ ถงึ
การกาหนดหัวข้อทต่ี ้องการปรับปรุงเปลยี่ นแปลง ซ่ึงรวมถึงการพฒั นาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาทเ่ี กิดขึน้
จากการปฏิบตั ิงาน อาจประกอบด้วย การกาหนดเปา้ หมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดาเนินงาน Plan
การจัดอันดับความสาคัญของ เป้าหมาย กาหนดการดาเนินงาน กาหนดระยะเวลาการดาเนินงาน
กาหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดาเนินการและกาหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจ
ปรับเปล่ียนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดาเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถ
คาดการณส์ ิง่ ที่เกิดข้ึนในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียตา่ งๆทีอ่ าจเกดิ ข้ึนได้

2. Do (ปฏบิ ัติตามแผน) หมายถึง การดาเนนิ การตามแผนอาจประกอบดว้ ยการมี
โครงสร้างรองรับการดาเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหนว่ ยงานของคณะ) มวี ิธีการ ดาเนนิ การ (เช่น
มีการประชุมของคณะกรรมการ มีการจดั การเรียนการสอน มีการแสดงความจานงขอรบั นกั ศึกษาไปยงั
ทบวงมหาวทิ ยาลยั ) และมีผลของการดาเนินการ (เช่น รายชือ่ นักศึกษาท่ีรบั ในแตล่ ะป)ี

3. Check (ตรวจสอบการปฏบิ ตั ิตามแผน) หมายถงึ การประเมนิ แผนอาจประกอบ
ด้วยการประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดาเนินการ การประเมินข้ันตอนการดาเนินงาน และการ
ประเมินผลของ การดาเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทาได้เองโดย
คณะกรรมการท่ีรับผิดชอบแผนการดาเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่
จาเป็นต้องต้ังคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จาเป็นต้องคิดเคร่ืองมือหรือแบบประเมิน
ที่ยงุ่ ยากซับซ้อน

4. Act (ปรบั ปรงุ แก้ไข) หมายถึง การนาผลการประเมนิ มาพฒั นาแผน ประกอบดว้ ย
การนาผลการประเมินมาวิเคราะหว์ ่ามีโครงสร้าง หรือข้ันตอนการปฏิบตั ิงานใดที่ควร ปรับปรุงหรอื พฒั นา
สิ่งท่ีดีอยู่แล้วให้ดีย่ิงข้ึนไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดาเนินการใหม่ท่ีเหมาะสม สาหรับการ
ดาเนินการ ในปตี ่อไป

จากการนาวงจรคุณภาพมาปรับประยุกต์ใช้เป็นกระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ซึ่งสามารถดาเนนิ การไดต้ ามกระบวนการนเิ ทศการศึกษา 5 ขัน้ ตอน ดังภาพต่อไปนี้

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรเู้ ชิงรุก (Active Learning) pg. 36

Plan 1. การเตรยี มการนิเทศ
วางแผน ทบทวนความรู้
สารวจข้อมลู สารสนเทศเพอื่ การนเิ ทศ
Do สร้างความเขา้ ใจ
ดาเนนิ การ ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้
ปรับปรงุ แกไ้ ข แผนการจดั การเรยี นรู้กอ่ นสังเกตการสอน
Check
ประเมินผล 2. การวางแผนการนิเทศ
กาหนดจุดมงุ่ หมาย
Act กาหนดทางเลือก ออกแบบการนเิ ทศ
ปรบั ปรงุ /พัฒนา จัดทาสื่อ เครือ่ งมือนเิ ทศ
กาหนดปฏิทินการนิเทศ
ประสานการนิเทศ

3. การดาเนินการนเิ ทศ
การชี้แจงขั้นตอนการนเิ ทศ
การนิเทศชั้นเรยี น
การสะทอ้ นผลการนิเทศชั้นเรียน

4. การประเมนิ ผลการนเิ ทศ

5. การสรุป รายงานผล ปรบั ปรุง และพัฒนา

ภาพ 7 กระบวนการนิเทศการศกึ ษา

จากภาพ เป็นการเสนอกระบวนการนเิ ทศการศกึ ษา 5 ขั้นตอน เพอ่ื สง่ เสรมิ ใหผ้ สู้ อนไดม้ กี ารจัดการ
เรียนรเู้ ชงิ รุก ท่ีเน้นใหผ้ เู้ รยี นมสี ่วนร่วมในการเรยี นรู้ เป็นการนเิ ทศทส่ี ง่ เสรมิ ใหค้ รเู ปน็ ผูอ้ านวยการการ
เรียนรูแ้ ละคอยแนะนาการเรียนรู้ใหก้ บั ผเู้ รยี น โดยมรี ายละเอยี ดดังน้ี

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนรู้เชงิ รุก (Active Learning) pg. 37

1. การเตรียมการนเิ ทศ
1.1 ทบทวนความรู้ เก่ยี วกบั การจัดการเรยี นรเู้ ชิงรกุ (Active Learning)
1.2 สารวจข้อมูลสารสนเทศเพ่ือการนิเทศ สภาพปัญหาและความต้องการจาเป็นใน

การนิเทศ โดยอาจเป็นปัญหาและความต้องการเฉพาะของสถานศกึ ษา ปัญหาเกีย่ วกับผ้เู รียน ขอ้ มูลหรอื
ปัญหาเก่ียวกับครูผรู้ บั การนิเทศ เช่น ข้อมูลบรบิ ทโรงเรยี น บริบทของผเู้ รียน ความรู้ความเข้าใจของครู
เกี่ยวกับการจัดทาแผนจัดการเรียนรทู้ ่ีเน้นการเรียนรเู้ ชิงรกุ ของกลุ่มสาระการเรยี นรู้ หรือ รายวิชาที่ทา
การนิเทศ การวิเคราะหม์ าตรฐาน และตัวช้ีวัด การออกแบบการจัดการเรยี นรเู้ ชิงรกุ ท่ีสอดคลอ้ งกับตัวชว้ี ัด
และจุดประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะและวิธีการสอน การมีส่วนร่วมของนักเรียน การใช้ตาราเรียน สื่อ
การสอน การประเมนิ ผลการเรยี นการสอน การรายงานผลการเรียน การสอนซอ่ มเสรมิ วิธแี ละการใช้เครอ่ื งมือ
ประเมินผลการนเิ ทศ โดยผู้นิเทศต้องรวบรวมข้อมลู วิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะปัญหา พร้อมทั้งจัดลาดับ
ความสาคัญและแนวทางแก้ไขเพ่ือนามาใชใ้ นการนเิ ทศ

1.3 สร้างความเข้าใจ โดยอธิบายถงึ ความสาคญั และความจาเปน็ ของการจดั การเรยี นรู้
เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้รับการนเิ ทศมีความเข้าใจ และตระหนักถึงการดาเนินการจัดการเรยี นรู้
เชิงรุก ซึ่งจะช่วยใหผ้ เู้ รียนสามารถรกั ษาผลการเรยี นรใู้ หอ้ ยู่คงทนได้มากกว่า และนานกว่ากระบวนการ
เรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรยี นร้เู ชิงรกุ สอดคลอ้ งกับการทางานของสมองทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
กับความจา โดยสามารถเกบ็ และจาส่งิ ทีผ่ ู้เรียนเรยี นรอู้ ย่างมีสว่ นรว่ ม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ครูผูส้ อน
ส่งิ แวดล้อม การเรยี นรไู้ ดผ้ า่ นการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจาในระบบความจา ระยะยาว (Long Term
Memory) ทาให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ผู้นิเทศต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ
รว่ มกนั กับครู ดว้ ยการ Coaching, Mentoring และ Supporting หรอื เทคนคิ อ่นื ๆ ที่เหมาะสม ผนู้ ิเทศ
ควรเป็นผู้ช้ีแนะอย่างใกล้ชิด เพ่ือชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนรู้เชิงรับ ( Passive
Learning) และการจดั การเรียนรเู้ ชงิ รุก (Active Learning) ดังน้ี

การจัดการเรยี นรู้เชงิ รับ (Passive Learning) การจัดการเรยี นร้เู ชงิ รุก (Active Learning)

 ครูเปน็ ผนู้ าการเรยี นรู้  ผูเ้ รยี นนาตนเอง (ผ่านกจิ กรรมต่าง ๆ )
 ครูผสู้ ั่งสอน/การบรรยาย  ครูเปน็ ผู้อานวยความสะดวกและชแี้ นะ
 ครูคือผู้รทู้ มี่ อี านาจ  ครกู ับผเู้ รยี นรว่ มมือกนั พฒั นาความรู้
 ครเู ป็นศูนย์กลาง  ผู้เรียนเปน็ ศูนยก์ ลาง
 ผเู้ รยี นอ่านและฟังจากส่ิงที่ผู้สอนพูด  ผ้เู รียนสบื เสาะหาความรไู้ ด้อยา่ งอสิ ระ
 ผู้เรยี นเรียนรู้เปน็ กลุม่ ใหญ่  ผเู้ รยี นเรียนรู้ผา่ นการทางานของแต่ละคน
 เนน้ การใหเ้ น้อื หาองความรแู้ ละข้อเทจ็ จริง
เปน็ กลุ่มเล็กๆ และการมีปฏิสมั พนั ธ์ในกลมุ่ ใหญ่
 เน้นการประยกุ ตใ์ ช้ความรู้

ทีม่ า : ประพนั ธศ์ ริ ิ สุเสารัจ คณะศกึ ษาศาสตร์ มศว.

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นร้เู ชงิ รุก (Active Learning) pg. 38

หัวใจสาคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) มุ่งเน้นที่กระบวนการจดั กิจกรรม
และ ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เช่น การเรียนรู้ท่ีจัดให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน กระตุ้นให้ผู้เรียน
เกิดกระบวนการคดิ ในระดับสงู (higher-order thinking) ไมเ่ พียงแต่ฟงั แต่ผู้เรยี นจะตอ้ งอ่าน เขียน ถาม
คาถาม อภปิ รายรว่ มกัน และลงมอื ปฏบิ ตั ิจริง ทง้ั นต้ี ้องคานงึ ถงึ ความรูเ้ ดมิ และความตอ้ งการของผเู้ รียน
เป็นสาคัญ ซ่ึงเป็นการสง่ เสริมทักษะพ้ืนฐานที่สาคัญของผู้เรียนสอดคลอ้ งกับแนวคิดการพัฒนาทกั ษะ
ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การพูด-การฟงั (talking and listening) การเขียน (writing) การอ่าน
(reading) และการสะท้อนคิด (reflection) ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สรุปและสร้างองค์ความรู้
ได้ดว้ ยตนเอง

1.4 ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ ของผ้รู บั การนเิ ทศ โดยการนัดหมายกับผรู้ บั การ
นิเทศร่วมกันวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้รับการนิเทศล่วงหน้า ก่อนท่ีจะดาเนินการนิเทศ
การสอนในชน้ั เรียนจริง (การสงั เกตการสอน) การตรวจสอบแผนการจดั การเรยี นรใู้ นประเด็น ต่อไปนี้

1.4.1 องค์ประกอบสาคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ จุดประสงค์
การเรยี นรู้ กจิ กรรมการเรยี นรู้ และการวดั และประเมนิ ผล

1.4.2 ความเช่อื มโยง สอดคล้องกันระหวา่ ง จุดประสงค์การเรยี นรู้ กิจกรรม
การเรียนรู้ และการวดั และประเมนิ ผล

1.4.3 ความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ กับตัวชี้วัด สามารถ
วัดพฤติกรรมไดอ้ ย่างชดั เจน

1.4.4 กิจกรรมการเรียนรู้นาไปสูก่ ารแสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามจุดประสงค์
การเรียนรู้

1.4.5 กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และ
ลงมอื ปฏบิ ัตมิ ากกวา่ การบรรยาย หรือให้ความรู้ของผู้สอน

1.4.6 กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์

1.4.7 กิจกรรมการเรียนรู้สนับสนุนให้ผู้เรียนต้ังคาถาม อภิปรายร่วมกัน
แลกเปลยี่ นเรียนรู้จนนาไปสู่การสรา้ งองค์ความรู้

1.4.8 วิธีการวัดผลและประเมนิ ผลสอดคล้องกับกิจกรรมการเรยี นรู้
1.4.9 เคร่ืองมอื การวดั ผลและประเมินผลสอดคล้องกับวธิ ีการทผ่ี ูส้ อนกาหนด
1.5 ปรับปรงุ แกไ้ ขแผนการจัดการเรียนรู้ ตามผลท่ผี ่านการวเิ คราะหร์ ่วมกันระหว่าง
ผ้นู เิ ทศและผู้รบั การนเิ ทศ พรอ้ มทง้ั นัดหมายการนิเทศชั้นเรยี น (การสงั เกตการสอน) ในครัง้ ตอ่ ไป

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรยี นรูเ้ ชิงรุก (Active Learning) pg. 39

2. การวางแผนการนเิ ทศ
หลังจากวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการ และเตรียมข้อมูลเพียงพอสาหรับการนิเทศแลว้
ผู้นิเทศควรวางแผนการนิเทศโดยการกาหนดจุดมุ่งหมาย กาหนดทางเลือก วางแผนและออกแบบ
การนเิ ทศ และจดั ทาสอื่ เคร่ืองมอื นเิ ทศ

2.1 กาหนดจุดมุ่งหมายของการนิเทศ หลักในการกาหนดจดุ มุง่ หมายของการนิเทศ
คือเป็นการกาหนดจดุ มงุ่ หมายร่วมกันระหว่างผูน้ ิเทศและผู้รบั การนิเทศ มีความเป็นไปได้โดยพิจารณา
จากความพรอ้ มของผู้นเิ ทศและผู้รับการนเิ ทศ กจิ กรรมและวธิ กี ารนเิ ทศ ทรพั ยากรทีใ่ ช้ในการนเิ ทศ และ
สอดคลอ้ งกบั ปญั หา เนือ้ เรอ่ื งหรอื ประเดน็ ในการนเิ ทศ

2.2 กาหนดทางเลือก และออกแบบการนิเทศ เพ่ือใหก้ ารนิเทศบรรเุ ปา้ หมาย จึงควร
มกี ารกาหนดรปู แบบ วิธกี ารนเิ ทศ ใหเ้ หมาะสมเพื่อดาเนนิ การใหบ้ รรลุผลสาเรจ็ โดยอาจใชว้ ิธีการนิเทศ
วิธีใดวธิ ีหน่งึ หรอื ใช้หลายวิธกี ไ็ ด้ ท้ังนี้ ขน้ึ อยู่กับสถานการณ์ ความถนัดของผนู้ ิเทศ และความพรอ้ มของ
ผู้รับการนิเทศ ผู้นิเทศต้องศึกษาข้อดี ข้อจากัดของวิธีการนิเทศแบบต่าง ๆ และเลือกวิธีการท่ีมีความ
เปน็ ไปไดส้ งู สุด มาออกแบบการนิเทศเพอ่ื นาไปสกู่ ารปฏิบตั ไิ ด้ การระบุทางเลอื กคือการหาทางแกป้ ญั หา
หรือหาวิธีการพัฒนาให้ดีย่ิงข้ึน ผู้นิเทศจึงต้องศึกษาหาข้อมูลเพ่ือให้ได้ทางเลือกในการนิเทศที่ดีท่ีสุด
เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาหรอื พัฒนาผ้รู ับการนิเทศ

การกาหนดทางเลือก หรือวิธีการนิเทศท่ีหลากหลาย โดยการมีสว่ นร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กับการนิเทศ มีการวางแผนด้วยการประชุมเตรียมการนิเทศ สร้างคณะนิเทศเป็นทีมงาน สร้างความรู้
ความเข้าใจร่วมกนั กาหนดประเดน็ เน้อื หาท่ีจะนเิ ทศ กาหนดระยะเวลาในการนเิ ทศ กาหนดวธิ กี ารและ
กิจกรรมในการนเิ ทศการศึกษาท่ีเหมาะสม เช่น Platform Online Face to Face การประชมุ สมั มนา
การแลกเปล่ียนเรียนรู้ การสังเกตชั้นเรียน การสาธิต การบันทึกวิดีโอและการถ่ายภาพ การสัมภาษณ์
การช้ีแนะและการเปน็ พีเ่ ลี้ยง Coaching & Mentoring ฯลฯ โดยเน้นการใช้ ICT ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การใช้ Line Application การใช้ Clip Video การ Conference การใช้ Video Line YouTube
Facebook Live การใช้นวัตกรรม Online รูปแบบต่างๆ เป็นต้น ท้ังน้ี อาจใช้กระบวนการชุมชนแห่ง
การเรียนรู้วิชาทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) และการศึกษาช้ันเรียน
(Lesson Study)

การออกแบบแผนการนิเทศ เป็นขน้ั ตอนการจัดทารายละเอียดแผนปฏิบตั ิการนิเทศ กาหนดวนั
เวลา หัวข้อ ประเด็นท่ีจะนิเทศ โดยจัดทาแผนปฏิบัติการนิเทศเฉพาะเร่อื งการจัดการเรียนรเู้ ชิงรกุ หรือ
เฉพาะประเด็นทตี่ ้องการนิเทศ หรือแผนนิเทศรายโรงเรยี น โดยอาจมอี งคป์ ระกอบ วันที่นิเทศ โรงเรยี น
ครูผ้รู ับการนิเทศ ประเดน็ หรือหัวขอ้ การนิเทศ กจิ กรรม วิธกี าร เทคนิค กระบวนการนเิ ทศท่ีใช้ สื่อและ
เครอื่ งมือนเิ ทศ ฯลฯ ดงั ตวั อยา่ งแผนปฏิบัติการนิเทศทไ่ี ด้นาเสนอต่อไปน้ี

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนรูเ้ ชิงรกุ (Active Learning) pg. 40

ตวั อยา่ ง แบบฟอรม์ แผนปฏิบัติการนเิ ทศการศกึ ษา

ตัวอย่างท่ี 1

ตัวอย่างที่ 2

การจัดทาแผนปฏบิ ัติการนเิ ทศการศึกษา อาจมกี ารปรบั เปลย่ี นได้ตามขอ้ ตกลงของศึกษานเิ ทศก์ในหน่วย
เดยี วกนั ซงึ่ อาจจัดทาแผนนิเทศท่ยี ดึ ผรู้ บั การนิเทศ โดยแยกเป็นรายโรงเรียน หรอื จดั ทาแผนนิเทศใน
ภาพรวมของศึกษานิเทศก์ หรอื คณะนเิ ทศ ตามทไี่ ดต้ กลงร่วมกัน

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) pg. 41

2.3 จัดทาส่ือและเคร่ืองมือนิเทศ ส่ือและเคร่ืองมือสาหรับใช้ในการนิเทศ
มีความสาคัญอยา่ งยง่ิ ตอ่ การปฏิบัตงิ าน ช่วยส่งเสริมในการถา่ ยทอดสาระของการนเิ ทศใหต้ รงกันระหว่าง
ผู้นิเทศ (ศึกษานิเทศก์) และผู้รับการนิเทศ (ครูผู้สอน) ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับเก่ียวกับการนิเทศ
ในแต่ละคร้ัง โดยอาจเป็นสื่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องท่ีนิเทศ และเป็นเครื่องมือตรวจสอบ
คณุ ภาพการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพการนเิ ทศ สิ่งท่ีตอ้ งตระหนกั ในการสร้างสื่อและเครื่องมือ
นิเทศ ได้แก่ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกบ็ รวบรวมข้อมูลทต่ี ้องการได้จรงิ และสรุปรายงานผลตาม
ประเด็นท่ีต้องได้ เคร่อื งมือที่จาเป็นตอ้ งใช้ในการนิเทศทุกคร้งั คือ แบบบนั ทกึ การนิเทศ ซึ่งผู้นิเทศจะใช้
เพ่ือจดบนั ทึกส่ิงทเ่ี กดิ ขนึ้ ระหว่างการนิเทศในแต่ละครงั้ (คล้ายกับการบนั ทึกหลังการสอนของครูในแผน
จัดการเรียนรู้) อาจจัดทาเป็นแบบบันทึกส้ัน ๆ หรือจัดทาแบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม (field note)
ของผนู้ เิ ทศ หรอื แบบฟอร์มทีก่ าหนดร่วมกนั ของคณะนเิ ทศ เพอื่ นาขอ้ มลู ไปใช้ในการการรายงานผล

2.4 กาหนดปฏิทินการนิเทศ และการกาหนดระยะเวลา ผู้นิเทศรวบรวมสารสนเทศ
ที่เกี่ยวขอ้ งและกาหนดปฏทิ ินการนิเทศโดยกาหนดวัน เวลา สถานที่ ผู้นิเทศและผูร้ ับการนิเทศ ให้ชดั เจน
อาจกาหนดว่าจะดาเนินการนิเทศเป็นรายภาคเรยี น ๆ ละ 2 คร้ัง หรือตามความเหมาะสม เพ่ือใหผ้ รู้ ับ
การนิเทศมีโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาเร่ืองที่ได้รบั การนิเทศและการจัดการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะ
ทเ่ี กดิ ขึน้ จากการนเิ ทศครง้ั กอ่ น

2.5 ประสานการนิเทศ จัดทาหนังสือราชการ เพื่อแจ้งปฏทิ ินการนิเทศใหผ้ ้รู บั การนเิ ทศ
และผู้เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า การประสานงานระหว่างผู้นิเทศกับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้รับ
การนเิ ทศ เพอ่ื ให้เตรียมความพร้อมรับการนิเทศตามกาหนดการนเิ ทศในแตล่ ะคร้งั

3. การดาเนินการนเิ ทศ
เป็นข้ันตอนท่ีผู้นิเทศเข้าพบผูร้ ับการนิเทศ ผ่านกิจกรรมการนิเทศ โดยใช้รูปแบบหรอื วิธกี ารที่
ผู้นิเทศนามาใช้ปฏิบัตจิ รงิ ซ่งึ จะช่วยให้การดาเนินการนิเทศบรรลเุ ปา้ หมาย กจิ กรรมการนิเทศมีมากมาย
ซึ่งผนู้ ิเทศสามารถเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับจดุ มงุ่ หมายของการนิเทศแต่ละครัง้ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประโยชน์สงู สดุ
แก่ผู้รับการนิเทศและผู้เรียน ดังนั้น ผู้นิเทศจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการนิเทศ
รปู แบบหรือ วิธกี ารนิเทศอยา่ งชัดเจนกอ่ นการนิเทศ และดาเนินการตามขน้ั ตอนดังน้ี

3.1 ช้ีแจงขน้ั ตอนการนิเทศ ทาความเขา้ ใจถึงสงิ่ ท่จี ะนเิ ทศวา่ มีข้ันตอนการดาเนินการ
อย่างไร และจะมีวิธีการทาให้การนเิ ทศครั้งนม้ี ีคุณภาพสูงสุด ต่อผู้บรหิ าร รองผู้อานวยการฝ่ายวิชาการ
ของโรงเรียน/หัวหน้างานวิชาการ หัวหนา้ กล่มุ สาระการเรยี นรู้ ครผู ู้สอนหรอื ผทู้ ่ไี ด้รับมอบหมายใหป้ ฏบิ ตั ิ
หนา้ ทหี่ ัวหนา้ งานวิชาการ/ครูผนู้ ิเทศ/หวั หน้าสายช้ัน และผรู้ บั การนเิ ทศอน่ื ๆ

3.2 การสังเกตชั้นเรียน การสังเกตการสอนของครูในช้ันเรียน โดยผู้นิเทศใช้ทักษะ
การสังเกต การฟัง จบั ประเดน็ พจิ ารณาความสอดคลอ้ งของกจิ กรรม การใช้ส่ือ การใชค้ าถาม ตลอดจน
การแลกเปลย่ี นเรียนรรู้ ะหว่างครูกับผ้เู รียน การสงั เกตชั้นเรียนผู้นิเทศต้องใช้เทคนิควิธีการหลากหลาย

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรียนรู้เชงิ รุก (Active Learning) pg. 42

เช่น เทคนิคการสอนแนะ (Coaching Techniques) การนิเทศแบบกัลยาณมิตร การนิเทศตาม
สถานการณ์ การนิเทศแบบช้ีแนะสะท้อนคิดและเปน็ พเ่ี ลยี้ ง (Reflective Coaching and Mentoring)
การนเิ ทศแบบสนทนากล่มุ เป็นต้น ซ่งึ ขณะทสี่ งั เกตการสอน ผนู้ เิ ทศควรบนั ทึกขอ้ คน้ พบอยา่ งละเอียด
หรอื ใช้วธิ กี ารบนั ทึกวิดโิ อ เพ่ือนามาประกอบการสะทอ้ นผลการนเิ ทศการจัดการเรยี นการสอน ภายหลัง
จากการดาเนินการสังเกตเสรจ็ สิ้น

3.3 การสะท้อนผลการนิเทศช้ันเรียน เป็นกิจกรรมการนิเทศทผี่ ู้นิเทศต้องใช้ ทักษะ
การพูดคุยตั้งคาถาม ให้ผู้รับการนิเทศทบทวน พิจารณาไตรต่ รองการจดั การเรียนรขู้ องตนเอง คาถาม
ที่ดีควรเป็นคาถามปลายเปิด (Open Question) ให้ผู้ถูกถามได้แสดงความคิดเหน็ เช่น การถามวา่ การ
จัดการเรยี นการสอนครงั้ น้บี รรลุจดุ ประสงคห์ รือไมอ่ ย่างไร ในการสอนครง้ั นค้ี ดิ ว่า ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง
คาถามน้ีจะสามารถดึงความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศออกมา เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่าง
ผ้นู ิเทศกับผรู้ บั การนเิ ทศ ผู้นเิ ทศควรใหข้ อ้ เสนอแนะ การปรับปรุงและพฒั นากจิ กรรมการจดั การเรียนรู้
ส่วนผู้รับการนิเทศควรนาขอ้ เสนอแนะ ไปปรับปรงุ และพฒั นาแผนการจดั การเรียนรู้ หากจดั การเรยี นการ
สอนใหน้ กั เรียนหลายกลุ่ม ควรนาแผนการจัดการเรยี นรูท้ ี่ปรับปรงุ แลว้ ไปใช้ในการจดั การเรยี นการสอน
กลุ่มอื่น ๆ ในเรื่องเดียวกัน สาหรับกรณีที่ผู้รับการนิเทศมีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเดียว ให้นา
ข้อเสนอแนะที่ไดร้ บั เป็นแนวทางในการปรับปรงุ และพัฒนาแผนการจัดการเรยี นร้อู ่นื ๆ ตอ่ ไป

4. การประเมนิ ผลการนเิ ทศ
เป็นข้ันตอนที่ผู้นิเทศประเมินผลการนิเทศว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาหรืออุปสรรคท่ีทาให้การ
ดาเนินงานไม่ประสบผลสาเร็จหรือไม่ ควรปรับปรุง แก้ไขอย่างไร โดยผลจากการนิเทศประกอบด้วย
ผลการตรวจสอบการออกแบบการจัดการเรียนรู้ พิจารณาจากแผนการจัดการเรียนรู้ และผลการ
ตรวจสอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ พิจารณาจากการนาแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจรรมใน
ชั้นเรียน ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศควรร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินที่ได้ หาจุดเด่นเพื่อส่งเสริม
ให้กาลังใจผรู้ บั การนเิ ทศ หาจดุ ท่คี วรพัฒนาเพื่อวางแผนในการปรับปรุงในครั้งตอ่ ไป
5. การสรุป รายงานผล ปรับปรงุ และพัฒนา
เปน็ กจิ กรรมท่ผี นู้ เิ ทศ นาข้อมลู ที่เปน็ ผลจากการนิเทศมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรปุ และรายงาน
ผลการนิเทศ ของผู้รับการนิเทศเก่ียวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ พร้อมท้ังเสนอประเด็นปัญหา อุปสรรคในการดาเนินงาน รวมถึงความ
พึงพอใจในการในการนิเทศ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสาหรับไว้เปน็ ประโยชน์ในการนเิ ทศครั้งต่อไป ทั้งนี้
รูปแบบการสรปุ และรายงานขนึ้ อยกู่ บั วตั ถุประสงค์ของการนาผลของการนเิ ทศไปใช้ เชน่ ในลกั ษณะของ
บทคัดยอ่ รปู แบบงานวิจัย หรือ จัดทาเปน็ สารสนเทศ เปน็ ตน้

แนวทาง การนเิ ทศการจดั การเรยี นรูเ้ ชงิ รุก (Active Learning) pg. 43

การนิเทศการจัดการเรยี นการสอนทางไกลในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรสั โคโรนา
2019 (COVID-19 )

ในสถานการณข์ องการแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19 ) ประเทศไทย
ไดม้ ีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉนิ ในทกุ เขตทอ้ งทท่ี ่ัวราชอาณาจกั ร ตัง้ แตว่ ันท่ี 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดย
ได้ดาเนินมาตรการควบคุมการแพรร่ ะบาดของเชื้อโรคและมาตรการด้านความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง
และจริงจงั เพื่อควบคุมและระงับยับย้งั การระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ในดา้ นการเรยี นการสอน กระทรวงศกึ ษาธกิ ารประกาศเลื่อนการเปดิ ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา
2564 ออกไป เนอื่ งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอก
ใหม่ทัว่ ประเทศ มีความรุนแรงอยา่ งต่อเน่ือง เพอ่ื ความปลอดภยั ของ นักเรยี น นักศกึ ษา ครู และบุคลากร
ทางการศึกษา ลดความเสีย่ งในการติดตอ่ ของเช้ือโรค สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน ได้
เสนอแนะแนวทางการจดั การเรียนการสอนทางไกลในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโค
โรนา 2019 (COVID - 19) เพ่อื สง่ เสริมสนบั สนุนและขบั เคล่ือนการจดั การเรยี นการสอนทางไกล กรณีที่
ไม่สามารถเปิดการเรยี นการสอนปกติได้ของสถานศึกษาในสงั กดั สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั
พนื้ ฐาน จานวน 5 รปู แบบ คือ On-site On-air On-demand On-line และ On-hand

การนิเทศ กากับ ติดตามและประเมนิ ผลการจัดการเรียนการสอนทางไกล ในสถานการณ์การ
แพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19 ) กรณไี มส่ ามารถเปดิ การเรยี นการสอนปกตไิ ด้
จึงควรใช้การนิเทศการศึกษาทางไกล โดยการท่ีผูนิเทศและผูรับการนิเทศไมสามารถพบกันซึ่งหน้า
แตยังคงสามารถให้การนิเทศ ชวยเหลือ แกปญหา ปรึกษาหารือซ่ึงกันและกันได โดยใช้กระบวนการ
นิเทศและสื่อ เคร่ืองมือนิเทศผ่านรปู แบบการนิเทศทางไกล หรอื การนิเทศออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน
หรือโปรแกรมส่ือสารออนไลน์ อาทิ LINE, Zoom Meeting, Skype, Microsoft Team, Google
Meet ฯลฯ กระบวนการนิเทศทางไกล หรือการนิเทศออนไลน์ มีขั้นตอนการดาเนินงานที่คล้ายกับ
กระบวนการนเิ ทศการศกึ ษาปกติ โดยอาจใชก้ ระบวนการนเิ ทศ 5 ข้ันตอน ดงั นี้

1. การศึกษาสภาพปจจบุ นั ปญหาและความตองการ
2. การวางแผนการนเิ ทศ
3. การสรางส่ือ เครอื่ งมือ รปู แบบ/วิธกี ารนเิ ทศ
4. การปฏบิ ัติการนเิ ทศ สรปุ ผล และให้ข้อมลู ยอ้ นกลบั
5. การประเมินผลและรายงานผล

รายละเอยี ดดังรปู ภาพตอ่ ไปนี้

แนวทาง การนิเทศการจดั การเรียนร้เู ชิงรุก (Active Learning) pg. 44

ภาพ 8 กระบวนการนิเทศทางไกล

ในการนิเทศทางไกล อาจมีการปรบั ไดต้ ามความเหมาะสม เช่น เริม่ ตน้ ด้วยการสารวจขอ้ มลู พ้ืนฐานและ
ความต้องการช่วยเหลือของโรงเรยี น ครู ผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง รวมถึงศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เก่ียวข้องกับเร่ืองที่จะนิเทศ ข้ันตอนที่สองควรมีการวางแผนการนิเทศ เลือกรูปแบบ วิธีการ
นเิ ทศทางไกล เพ่ือช่วยเหลอื แนะนา แกป้ ัญหาการจดั การเรียนการสอนตา่ ง ๆ ทาปฏิทนิ นเิ ทศ นดั หมาย
และประสานผู้เก่ียวข้อง ข้ันตอนที่สาม เป็นการสร้างสอื่ เครื่องมือนิเทศ หรือเลือกใช้ส่ือนิเทศทางไกล
ท่ีเหมาะสมกับวิธีการ รูปแบบท่ีกาหนดไว้ ข้ันตอนท่ีส่ี ปฏิบัติการนิเทศตามแผนที่กาหนดไว้ โดยมีการ
สรุปและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับการนิเทศด้วย และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการประเมินผล สรุปและ
รายงานผลการนิเทศเพ่อื นาข้อมูลไปใช้วางแผนพฒั นาการนเิ ทศในครั้งตอ่ ไป

แนวทาง การนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้เชิงรกุ (Active Learning) pg. 45

ตอนท่ี 5

เครื่องมือนเิ ทศ
การจดั การเรียนรูเ้ ชงิ รุก

เครื่องมอื นเิ ทศการศกึ ษา
สอื่ และเคร่ืองมอื (Tools and Media) มีความสาคัญต่อกระบวนการนเิ ทศการศึกษาอย่างมาก

เป็นองค์ประกอบหลกั ของการนิเทศ เป็นเครอื่ งมือในการถ่ายทอดสาระของการนิเทศใหต้ รงกันระหวา่ ง
ผนู้ เิ ทศ และผรู้ บั การนเิ ทศ ช่วยเกบ็ รายละเอยี ดที่ผู้รับการนิเทศไมส่ ามารถแสดงออกมาได้ สามารถเกบ็
ข้อมูลมาเปรียบเทียบผลท่ีเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และสร้างความเข้าใจตรงกันระหวา่ ง
ผูน้ เิ ทศและผรู้ ับการนเิ ทศ ตลอดจนให้ขอ้ มูลยอ้ นกลับเก่ียวกบั ผลการนิเทศ ช่วยใหก้ ารนิเทศ ตดิ ตามการ
บริหารโรงเรียน และการจัดการเรยี นการสอน ดาเนินการได้อย่างบรรลุเป้าหมาย เกิดประสทิ ธภิ าพสูงสุด

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2554) ได้ให้แนวคิดหลักในการสร้างสื่อและ
นวตั กรรมเพอื่ การนเิ ทศการศึกษา และข้อเสนอแนะการนาไปใชเ้ พื่อพฒั นานวตั กรรมของผ้นู เิ ทศ ดังน้ี
แนวคิดหลักการพฒั นาสอ่ื และนวัตกรรมการนเิ ทศการศึกษา

1. งานนิเทศการศึกษาเป็นงานพัฒนาวชิ าชพี มงุ่ พฒั นาใหค้ รูทกุ คนสามารถคดิ เอง ตัดสนิ ใจ
เอง ลงมอื ทาเอง พฒั นาใหดขี นึ้ เองได้อยเู สมอ การให้ผู้นิเทศมีภาพงานตลอดแนวของการสร้างนวตั กรรม
พัฒนาครกู ็เพ่อื ใหผ้ ู้นิเทศเป็นนักพฒั นาวิชาชีพครไู ดอ้ ย่างแท้จรงิ

2. การสร้างนวตั กรรมพฒั นาครคู วรมีแนวคดิ หลกั ดงั นี้
1) มงุ่ เนน้ ใหม้ กี ารเปลี่ยนแปลงความเชื่อพ้นื ฐานให้ครเู นน้ การพฒั นาผเู้ รยี น โดย

เชือ่ ว่าผูเ้ รยี นทกุ คนเรียนรไู้ ด้ พัฒนาได้และคานงึ ผลทจี่ ะเกดิ ข้ึนกับผูเรียนแป็นสาคญั
2) เสนอแนะวธิ กี ารทผี่ ้นู ิเทศสามารถจะสง่ เสรมิ ช่วยเหลือหืครดู แื สดงพฤติกรรม

สาคัญที่ส่งผลตอ่ การเรยี นรขู้ องผเู้ รียนรอบดา้ น
3) พัฒนารปู แบบการประเมินใหเ้ ป็นแบบการประเมนิ ตนเองและการประเมินอย่าง

สร้างสรรค์
3. การพัฒนาวชิ าชีพของผ้นู เิ ทศจาเปน็ ตองฝกึ ใหศ้ ึกษานเิ ทศก์ นานวตั กรรมไปทดลองใชใ้ นการ

นิเทศกบั ครใู ห้ตรงกบั ความต้องการในการพฒั นาของครไู ดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ ผู้นเิ ทศสามารถดดั แปลง พัฒนา
จนสามารถสรา้ งนวัตกรรมของตนเอง เพอ่ื พัฒนาครใู นความรับผิดชอบได้อยางมีประสิทธิภาพ

แนวทาง การนิเทศการจัดการเรยี นรูเ้ ชงิ รุก (Active Learning) pg. 46


Click to View FlipBook Version